เรื่องกรรมเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ที่คนต้องการความสุข ความเจริญ ต้องรู้!!!

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย บ้องแบ้ว, 3 มีนาคม 2017.

  1. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,295
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    FB_IMG_1488519928452.jpg

    เรื่องกรรมเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
    ที่คนต้องการความสุข
    ความเจริญ ต้องรู้!!!

    เรามักตั้งข้อสงสัยเสมอเกี่ยวกับเรื่องกรรมและกฎแห่งกรรม เวลาที่เราทำสิ่งใดแล้วยังไม่ประสบความสำเร็จ ถูกเบียดเบียน ถูกทำให้เป็นทุกข์ ถูกทำให้คับข้องใจ ถูกบีบคั้น เรามักตัดพ้อว่า เรามีกรรมอันใด เป็นเวรกรรมอันใดที่ทำให้เราต้องทุกข์เช่นนั้น

    อันว่าความทุกข์นั้นเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับชีวิต คือเป็นเรื่องธรรมดาอยู่แล้วที่มนุษย์ต้องทุกข์ ความทุกข์ถือเป็นเรื่องปกติ แต่เมื่อจิตของมนุษย์ชอบสุข ชอบสบาย จิตและความเป็นธรรมดานี้จึง "ขัดแย้งต่อกัน" ทำให้มนุษย์พยายามวิ่งหนีทุกข์ และขวนขวายหาแต่สุข

    กรรมที่ได้กระทำนั้นเองจะนำพาไปสุ่ทั้ง ทุกข์และสุข ดังนั้้น เรื่องกรรมจึงเป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ควรทำความเข้าใจ แต่ไม่ใช่การมัวคิดแบบคร่ำครวญ หรือมัวแต่ตั้งคำถามไปเรื่อยๆ จนไม่ได้ลงมือพัฒนาตนเอง ซึ่งจะทำให้เป็นบ้าได้

    พระพุทธองค์ตรัสว่า

    ภิกษุ ทั้งหลาย. กรรมเป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ
    นิทานสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิดพร้อม) แห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ
    เวมัตตตา (ความมีประมาณต่างๆ) แห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ
    วิบาก (ผลแห่งการกระทำ) แห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
    กัมมนิโรธ (ความดับไม่เหลือแห่งกรรม) เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,

    กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกรรม) เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ ...... คำที่
    เรากล่าวแล้วดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวเล่า ?

    ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวซึ่ง "เจตนา" ว่าเป็น กรรม
    เพราะว่าบุคคลเจตนาแล้ว ย่อมกระทำซึ่งกรรม ด้วยกายด้วยวาจา ด้วยใจ

    ภิกษุทั้งหลาย นิทานสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิดพร้อม)แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
    ภิกษุทั้งหลาย.นิทานสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิดพร้อม)แห่งกรรมทั้งหลาย คือ ผัสสะ.

    ภิกษุ ทั้งหลาย เวมัตตตา (ความมีประมาณต่างๆ)แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?

    ภิกษุ ทั้งหลาย. กรรมที่ทำให้สัตว์เสวยเวทนาในนรกมีอยู่,
    กรรมที่ทำให้สัตว์เสวยเวทนาในกำเนิดเดรัจฉานมีอยู่,
    กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในเปรตวิสัย มีอยู่,
    กรรมที่ทำสัตว์เสวยเวทนาในมนุษย์โลก มีอยู่,
    กรรมที่ทำสัตว์เสวยเวทนาในเทวโลก มีอยู่.
    ภิกษุ ทั้งหลาย เรากล่าวว่า เวมัตตตาแห่งกรรมทั้งหลาย.

    ภิกษุ ทั้งหลาย.วิบาก (ผลแห่งการกระทำ) แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
    ภิกษุ ทั้งหลาย.เรากล่าววิบากแห่งกรรมทั้งหลายว่ามี
    อยู่ ๓ อย่าง คือ

    วิบากในทิฏฐธรรม (คือ ผลกรรมที่เห็นทันควัน) หรือว่า
    วิบากในอุปปัชชะ (คือผลกรรมที่เห็นในเวลาต่อมา) หรือว่า
    วิบากในอปรปริยายะ (คือในเวลาต่อมาอีก).
    ภิกษุ ทั้งหลายนี้เรากล่าวว่าวิบากแห่งกรรมทั้งหลาย.

    ภิกษุ ทั้งหลาย. กัมมนิโรธ (ความดับไม่เหลือแห่งกรรม)เป็นอย่างไรเล่า ?
    ภิกษุ ทั้งหลายความดับแห่งกรรมทั้งหลาย ย่อมมีเพราะความดับแห่งผัสสะ.
    ภิกษุ ทั้งหลาย กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกรรม)เป็นอย่างไรเล่า ?

    ภิกษุ ทั้งหลาย.อริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรคมีองค์แปด)
    นี้นั่นเองคือ กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา ;
    ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ คือ
    สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)
    สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ)
    สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ)
    สัมมากัมมันตะ (การทำการงานชอบ)
    สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ)
    สัมมาวายามะ (ความพากเพียรชอบ)
    สัมมาสติ(ความระลึกชอบ)
    สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ).

    ภิกษุ ทั้งหลาย.เมื่อใดอริยสาวก ย่อมรู้ชัดซึ่ง กรรมอย่างนี้,
    รู้ชัดซึ่ง นิทานสัมภวะแห่งกรรม อย่างนี้,รู้ชัดซึ่ง เวมัตตตาแห่งกรรม อย่างนี้,
    รู้ชัดซึ่ง วิบากแห่งกรรม อย่างนี้,
    รู้ชัดซึ่ง กัมมนิโรธ อย่างนี้,
    รู้ชัดซึ่ง กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา อย่างนี้ ;
    อริยสาวกนั้น ย่อม รู้ชัดซึ่งพรหมจรรย์นี้ว่าเป็น
    เครื่องเจาะแทงกิเลส เป็นที่ดับไม่เหลือแห่งกรรม.

    ภิกษุ ทั้งหลาย ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า

    “กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ"
    นิทานสัมภวะแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
    เวมัตตตาแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
    วิบากแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
    กัมมนิโรธ เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
    กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ” ดังนี้นั้น เราอาศัยความข้อนี้กล่าวแล้ว.

    พุทธวจนในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ***********
    ธ.ธรรมรักษ์
     
  2. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    พระสูตรนี้ งดงาม สาธุ พระพุทธองค์ตรัสไว้ชอบแล้ว
     
  3. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    ขอเสริม
    ปัญหาคือ บุคคลทั่วไปจะทราบได้อย่างไรว่า เหตุต้นผลกรรมนั้นเป็นอย่างไร

    ตอบว่า
    ผลกรรม นั้นมีรส คือ เวทนา อันนำไปสู่ ภพ (ติดอยู่ในการใช้ชีวิต) ชาติ ชรา มรณะ
    หากผู้ใดเจริญ สติปัฎฐาน ย่อมทราบว่า เมื่อสัมผัสกับสิ่งใด เวทนาอย่างไรเกิดขึ้น ผลพวงจากเวทนานั้นคืออะไร เมื่อทราบเหตุแล้วย่อมดับเหตุได้ ยกตัวอย่างเช่น คนเคยลิ้มรสหวาน (ผัสสะ) เกิดความชอบ (เวทนา) เกิดการยึดติด โหยหา (ตัณหา) นำไปสู่การเกิดภพ คือ ใช้ชีวิตเพื่อหาความหวานนั้นมาหล่อเลี้ยง จากนั้นก็จะเป็นกรรมสืบเนื่องไปในทิศทางต่างๆนาๆ ถ้าเปรียบความหวานดังรสกามหญิงชาย ก็จะเห็นได้ว่า หลายๆคนทำสิ่งต่างๆก็เพื่อให้ได้มาซึ่งรสกาม วนเวียนอยู่กับ เรื่องคู่ จนนำไปสู่การ ทำร้ายกันบ้าง ฆ่าฟัน การแย่งชิง ต่างๆ มากมาย

    เมื่อทราบเหตุแต่เบื้องต้นได้ ย่อมสังเกตุผลตามมาที่พัวพันได้ ด้วยสติปัญญา ญาณทัศนะ และการช่างสังเกตุ ว่าเหตุที่ตนประสบพบเจอเป็นสายใยผูกพันจนถึงภพ ชาติ ชรา มรณะ คืออะไร
    ผู้ที่ทราบกรรม ย่อมหลีกเลี่ยงเหตุที่จะนำไปสู่ภัย และส่งเสริมกรรมที่จะนำไปสู่ภพภูมิที่ดียิ่งๆขึ้นไปจนถึงพระนิพพาน
     

แชร์หน้านี้

Loading...