เรื่องของกาม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย digimon1234, 25 สิงหาคม 2018.

  1. digimon1234

    digimon1234 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2017
    โพสต์:
    215
    ค่าพลัง:
    +35
    เหล่าๆท่านๆผู้ปฎิบัติทั้งหลาย พวกท่านพอมีวิธีใดในการทำให้จิตไม่เสวยอารมณ์ของกามบ้าง เราแค่อย่างจะถามเอาความรู้เฉยๆ เผื่อว่าจะทำให้คนอื่นนั้นได้เห็นหนทางกันบ้าง ที่ถามในวันนี้นั้นอาจเพราะเห็นคนรอบตัวเรานี้เองที่เป็นทุกกับเรื่องนี้อยู่ แงๆๆๆ
     
  2. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,019
    จะบอกว่าให้รู้จักคำว่าปล่อยวาง ก่อนจะอธิบายคำว่าปล่อยวาง
    ให้พิจารณาดู หัวข้อต่อไปนี้ประกอบการพิจารณาร่วมด้วย
    ๑.ดูช่วงอายุตามวัย เช่น วัยรุ่น วัยทำงาน วัยกลางคน วัยสูงอายุ
    ๒.ดูสภาพความแข็งแรงของร่างกายตามธรรมชาติ
    เช่น เป็นนักกีฬา หรือ ไม่เล่นกีฬาเลย หรือเล่นบ้างไม่เล่นบ้าง
    ๓. ดูความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงาน เช่น หมกหมุ่นกับการ
    ทำงานอย่างเดียวจนกลายเป็นคนเก็บกดเรื่องกาม
    หรือสายบันเทิงเน้นทั้งงานทั้งสนุกสนาน
    ๔.ความต้องการในสิ่งที่ตนต้องการจะเป็นเพื่อสนองสภาพแวดล้อมตน
    เช่น ติดสังคมว่าต้องมี ญ หลายคน หรือ มี ช หลายคนจะรู้สึกเท่ห์ มีเสน่ห์
    หรือ รู้สึกว่าตนเป็นคนมีปมด้อยมาในอดีตไม่มีทั้ง ช หรือ ไม่มี ญ มาสนใจ
    ๕.วิธีคิดเกี่ยวกับการได้มาเพื่อสนองเรื่องกาม เช่น โกหกสร้างภาพเพื่อให้ได้มา
    ใช้ทางลัดเพื่อให้ได้มา ใช้เหล่กลเพธุบายเพื่อได้มา ใช้ความจริงใจเพื่อได้
    ใช้ความดีเพื่อได้มา ใช้บุคคลิกหน้าตาเพื่อได้มา ฯลฯ
    ๖.ดูสภาพแวดล้อม ดูเหตุและปัจจัย ต่างๆ เช่น ทรัพสิน ความน่าเชื่อถือ
    หน้าตาในสังคม เป็นต้น

    คำวางปล่อยวาง ไม่ใช่ว่าอะไรมัน
    จะจืดชืดไปหมดนะครับ
    มะนาวก็ยังคงรสชาติเปรี้ยวอยู่
    น้ำตาลก็ยังคงมีรสชาติหวานอยู่
    เกลือมันก็ยังคงรักษาความเค็มเหมือนเดิม

    แต่ปล่อยวาง คือ
    ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น

    มะนาว ถ้าไม่เอามาโดนลิ้นเราก็ไม่รู้รสชาติเปรี้ยว
    น้ำตาล ถ้าเราไม่ชิม เราก็ไม่รู้สึกหวาน
    เกลือ ถ้าเราไม่เอานิ้วไปแตะแล้วมาชิมเราก็ไม่รู้สึกเค็ม.....

    เราไม่สามารถไปเปลี่ยนแปลงธรรมชาติเหล่านั้นได้
    หากสังเกตุ จะพบว่า มะนาว น้ำตาล เกลือ เป็นภายนอกที่
    มีธรรมชาติภายนอกของมันเป็นปกติ

    ร่างกายเราก็เช่นกัน
    ตาก็ดูไปหน้าที่มันคือมอง
    หูก็มีหน้าที่ฟังไป

    เพียงแต่ว่าใจเรานั้น ที่มองผ่านตา
    ได้ยินผ่านหูนั้น
    มันไปยินดี ไปยินร้าย กับภายนอกต่างๆ
    ที่มีเป็นธรรมชาติต่างๆเหล่านั้นด้วยหรือไม่


    ไม่ใช่จะไปปิดหูไม่ให้ได้ยิน
    ไปพยายามปิดตาเพื่อไม่ให้มองเห็น
    มันเป็นไปไม่ได้หรอก
    เพราะมันเป็นการฝืนธรรมชาติ....

    ส่วนคุณจะใช้วิธีการอะไรของใคร
    ท่านใดก็ตาม ซึ่งมีเยอะแยะ แล้วแต่ประสบการณ์
    ของผู้ถ่ายทอด ขอเพียงให้คุณเข้าใจ
    ในเรื่อง ของธรรมชาติภายนอกที่มีอยู่เป็นปกติก่อน
    และธรรมชาติภายในกายของเรานี้ให้ได้ในลำดับต่อมา
    เพื่อที่ต่อไป จะได้ค่อยๆลด ค่อยๆละ ค่อยๆคลาย
    การที่ใจไปยินดี ยินร้ายสิ่งต่างๆภายนอกเหล่านั้น
    เราก็จะมองเห็นหนทางที่จะไม่ไปยินร้ายได้เอง
    ในอนาคตต่อไปครับ


    แค่เพียงแต่เล่าให้ฟัง
     
  3. digimon1234

    digimon1234 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2017
    โพสต์:
    215
    ค่าพลัง:
    +35
    ขอบคุนกับคำตอบคับท่านนพ อ่านไปคงจะเกี่ยวกับเรื่องงานที่ทำมากไปดังนั้นน่าจะบันเทิงเยอะขึ้นมั้งคับ55 และชอบที่ไม่ต้องไปยินดียินร้ายกะมัน
     
  4. ชั่งเถอะ

    ชั่งเถอะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2017
    โพสต์:
    253
    ค่าพลัง:
    +339
  5. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,293
    ค่าพลัง:
    +12,622
    ถ้าคิดจะตัดภพตัดชาติ ก็หาทางต่อสู้กับธรรมชาตินี้เพราะมันเป็นสาเหตุหลักที่ต่อภพต่อชาติไม่จบ ฟังธรรมคำสอน
    เรื่องภพชาติเรื่องโทษของกามกิเลส
    บ่อยๆ จนมีความพอใจกับความสุข
    ทางสงบมากกว่ารสชาด
    ความซาบซ่านทางเนื้อนุ่มๆ
    หนังขาวๆนวลๆ
    แต่ถ้าไม่เอาจริงก็ให้ธรรมชาติมันลากถูไปจนเข้าวัยชราหมดเรี่ยวหมด
    กำลัง มันก็จะหันหลังให้กับเรื่องกามเอง
    แต่ไม่ได้มีผลดีต่อการตัดภพตัดชาติ
    เพราะแค่หมดแรงไม่ได้คิดละคิดปล่อยแค่หมดแรงแต่ก็
    ยังหลงเหมือนเดิมถ้าเกิดมาภพใหม่
    เป็นคนก็จะมางุนงงกันมันอีกคับ
     
  6. [-VaLentine-]

    [-VaLentine-] กระผมสมาธิและกำลังจิตกากสุดในเวปนี้

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    159
    ค่าพลัง:
    +486
    ยากมากครับเรื่องนี้
    ขออนุญาตเจ้าของกระทู้ถามในนี้เลยนะครับเพราะเกี่ยวเนื่องกันนิดหน่อย

    จะสอบถามพี่ๆว่า เรื่องกามจะส่งผลทำให้ กำลังจิต และ กำลังสมาธิ เราลดลงไหมครับ จะส่งผลเรื่องอนาคตในการใช้งานทางจิตไหมครับ สอบถามเป็นความรู้ในสายการปฏิบัติ (อิงตำราได้ แต่ไม่ขอแบบcopy แล้ววางนะครับ ) เอาสั้นๆเท่านี้ก่อนครับ
     
  7. digimon1234

    digimon1234 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2017
    โพสต์:
    215
    ค่าพลัง:
    +35
    เท่าที่สังเกตุดูอาการตอนนี้จะผ่านได้คงต้องควบคุมยานรึความว่างให้ดีแทบตลอดเวลา หรือมีสติตลอดเวลา สงสัยคงไม่ต้องทำมาหากินกันล่ะมั้งนิ เฮ้อออ จะให้เก็กไปถึงใหน
     
  8. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,567
    ค่าพลัง:
    +9,957
    +++ แน่นอน กำลังจิต/สมาธิ เกิดเพราะ "จิตไม่ส่งออก" "จิตหยุดอยู่" "จิตอยู่ใน วิหารธรรมเดียว"

    +++ กาม ย่อมหมายเอา "กาม โลก/ภพ/ภูมิ" ซึ่งก็คือ "กามาวจร 5"

    +++ เสพสุขทาง "ตา หู จมุก ลิ้น กาย รวม 5 ประการ" ตรงนี้ คือ "เสพกาม" ทั้งหมด
    +++ การใช้งานทางจิต "ณ ขณะใช้งานจริง" จะไม่มี "กามคุณ/โทษ 5 ประการ" เข้ามายุ่งเกี่ยวเลย แม้แต่น้อย

    +++ แม้กระทั้ง "สวดมนต์ (เสียง/หู) ก็ไม่สามารถเข้ามายุ่งเกี่ยวด้วยได้"
    +++ ดีแล้วที่สามารถ "ได้สติ" ตัดออกมาจาก "ไอ้พวก มารปัญญาอ่อน ปี้แปะ" ได้

    +++ ไม่งั้นโดนตัด "มรรคผล" รวมทั้ง "ความวิบัติฉิบหาย" มาเยือนเอาได้ง่าย ๆ ยินดีด้วยนะ...
     
  9. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,019
    ความสามารถทางจิต กำลังจิต หรือความสามารถพิเศษต่างๆ
    เกิดขึ้นได้หลายแบบ
    ๑.พวกที่เกิดมามีขึ้นได้เอง เราเรียกว่า พวกญานวิถีหรือวิถีญาน แล้วแต่จะเรียก
    แต่ก็มีข้อเสียตรง ถ้าจิตยังแยกรูปแยกนามไม่ได้ จะดูเหมือนเพี้ยนได้
    เพราะจะแยกไม่ออกระหว่างความจริงกับนามธรรม
    รู้เห็นอะไรก็จะยึดกลายเป็นตัวเองไปหมด พวกนี้พอหายแล้ว
    ส่วนมากมักจะไปทางผู้โปรด......
    ๒.พวกที่ได้มา จากการเกร๊งกล้ามตูด ฝึกสมาธิต่างๆ
    แบบนี้ มีเสื่อมได้ เป็นปกติ และถ้าเกิดตอนจิตไม่คลายตัว
    และไม่สนใจเรื่องปัญญา ก็จะมีเสื่อมเป็นปกติธรรมดา
    และจะมีข้อแม้เงื่อนไขเยอะในการเสื่อม เช่น ห้ามโน้นนี่นั้น สารพัดห้าม
    ถือว่าเป็นมิจฉาสมาธิอยู่
    ๓.ความสามารถทางจิตต่างๆ ถ้ามันมาหลังจากที่จิตเราคลายตัวได้
    (หรือจิตแยกรูปแยกนามได้แล้ว)
    และเดินปัญญาต่อมาซักระยะหนึ่งแล้ว
    ยังไงมันก็ไม่เสื่อมหรอก มีแต่จะพัฒนาขึ้น
    จากการที่เรามาเน้นด้านปัญญา เพื่อการ ลด ละ คลายกิเลส
    ยิ่งจิตเราคลาย การยินดี ยินร้าย ความยึดมั่นถือมั่นได้มากเท่าไร
    การพัฒนาทางจิต เรามันก็จะมีขึ้นเรื่อยๆตามลำดับนั้นหละ...
    ควรมีความเข้าใจในเบื้องต้นแบบนี้ไว้ก่อน



    ที่นี้เราก็มาดูว่า จิตเรามันไปยินดี ยินร้ายหรือไม่
    ดูสภาพแวดล้อม ดูทัศนคติ การใช้ชีวิตของเรา
    ร่วมกับเรื่องแบบนี้ร่วมด้วย......

    กำลังจิต หลักๆมันเกิดจากเราไปออกกำลังกายให้ตัวจิตมัน
    ด้วยการให้จิตมันสร้างภาพขึ้นมาแล้วไปเล่นกับภาพนั้น
    เหมือนร่างกาย ออกกำลังกายมาก ก็แข็งแรงมาก
    แต่ถ้ามากไปก็ไม่ดี......

    กำลังสมาธิได้จากการกดข่ม ขึ้นอยู่กับความชำนาญ
    ทั้งกำลังจิตและกำลังสมาธิ
    อย่าไปดึงเอา ภายนอกต่างๆเข้ามาขวาง
    วิถีในการสร้างกำลังจิต สร้างกำลังสมาธิก็พอ........

    แต่ที่ดีที่สุด คือ มันต้องเกิดจากการที่จิตคลายตัวเองได้
    จากการ ปล่อยวาง ความยึดมั่นถือมั่นต่างๆ
    และต้องเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติของมัน.....

    การกระทำใดๆ โดยที่ยังใช้ กำลังจิต ใช้จิต กำลังสมาธิ ความชำนาญ
    ในการนำเข้าไป เราถือว่าเป็นมิฉาทิฐิทั้งหมด แต่ก็จำเป็นในช่วงแรก
    และ มันสามารถนำไปใช้งานได้อยู่ ให้เกิดประโยชน์ได้อยู่
    เพียงแต่ต้องไม่ลืมว่า พุทธฯเน้นด้านไหนเป็นหลักพอ
    ถ้ามันมี เราชอบ มันก็เรื่องของเรา....แต่อย่าไปยึด ไปหลงกับมันก็พอ
    จะบอกว่า เป็นมิจฉาหรือสัมมา อย่าไปอ่าน ตำราโน้นนี่นั้น

    ให้ดูว่า เมื่อใช้งานได้แล้ว มันเสื่อม หรือ พัฒนาขึ้นได้เรื่อยๆ
    นั่นหละ จะเป็นตัวบอกเรา.....การฝึกปฏิบัติในระหว่าง
    ที่ยังไม่สำเร็จถึงขั้นใช้งานได้
    ยังตอบอะไรไม่ได้หรอก
    เรื่องมิจฉาหรือสัมมา บอกได้แค่ว่า มาถูกไม่ถูก
    หรือจะเอาอะไรมาเป็นองค์ประกอบ
    ว่ามันจะเสื่อมหรือไม่เสื่อม ก็ยังเอามาชี้วัดไม่ได้

    พอเข้าใจที่พูดเนาะ..

    อิอิ แอบขำคำว่า มารปัญญาอ่อน ปี๊แปะ ๕๕๕
     
  10. [-VaLentine-]

    [-VaLentine-] กระผมสมาธิและกำลังจิตกากสุดในเวปนี้

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    159
    ค่าพลัง:
    +486
    ขอบคุณพี่ ธรรมชาติ และพี่นพมากครับ

    - จิตคลายตัวจากการไม่ยึดมั่นถือมั่น (ยากแต่ลองวางไปเรื่อยๆ)
    - จิตมันสร้างภาพอละเล่นกับภาพ เปรียบเสมือนออกกำลังกาย มากไปก็ไม่ดี ( โดนตรงนี้ละครับ )
    - การกระทำใดๆ ที่ยังใช้กำลังจิต กำลังสมาธิ ในการเข้าไปยังถือเป็นมิจฉาทิฐิอยู่ (แต่จำเป็นช่วงแรก)
    - อย่าลืมว่าพุทธเราเน้นเรื่องอะไร (ตรงนี้เตือนสติได้ดีมากครับ ไม่งั้นผมนี้หลง.....สนุกเพลินไป )

    ปล.ผมฮาตรงเกร็งกล้ามตรูด กับ มารปัญญาอ่อนปี้แปะ ขอบคุณพี่ๆที่เข้ามาชี้แนะแนวทางนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 สิงหาคม 2018
  11. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    40031556_2100431233340880_1353574014374641664_n.jpg
    watthakhanun



    สำหรับวันนี้จะกล่าวถึงเรื่องของสมาธิ สมาธินั้นเป็นพื้นฐานใหญ่ที่จะสร้างปัญญาให้เกิด ก่อนที่ปัญญาจะเกิด สมาธิที่ทรงตัวตั้งมั่น ก็ยังมีอำนาจที่จะกดกิเลส รัก โลภ โกรธ หลง ให้ระงับลงไปได้ชั่วคราวด้วย การทรงสมาธิจึงสามารถทำให้เราปลอดภัยจากกิเลสได้ในระดับหนึ่ง จนกว่าสมาธินั้นจะคลายตัวลง กิเลสจึงงอกงามเหมือนเดิม

    ในการที่เราจะปฏิบัติสมาธิภาวนานั้น สิ่งที่ลืมไม่ได้เลย คือ ลมหายใจเข้าออก เพราะว่าลมหายใจเข้าออกนั้นเป็นพื้นฐานที่จะทำให้สมาธิของเราทรงตัวตั้งมั่นได้ สมาธินั้นประกอบไปด้วยขณิกสมาธิ คือ อารมณ์ที่ทรงตัวเป็นสมาธิเพียงเล็กน้อย ชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น

    อุปจารสมาธิ อารมณ์ที่ทรงสมาธิเริ่มแนบแน่นขึ้น แต่ว่ายังไม่ทรงตัวมั่นคง และอัปปนาสมาธิ สมาธิที่ทรงตัวแนบแน่น ตั้งแต่ระดับปฐมฌานขึ้นไป จนกระทั่งเป็นฌาน ๔ หรือสมาบัติ ๘ ก็ตาม

    ในส่วนของขณิกสมาธินั้น จะขอเว้นไว้ไม่กล่าวถึง เพราะว่าพวกเราทุกคนล้วนแล้วแต่กระทำได้ทั้งสิ้น จะมากล่าวถึงในส่วนของอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ ซึ่งสมาธินั้นในระดับขั้นต้น จะต้องดูองค์ประกอบ ๕ อย่าง คือ วิตก ความคิดนึกตรึกอยู่ว่าเราจะภาวนา วิจาร อารมณ์ที่ตามดูตามรู้ว่าตอนนี้ลมหายใจของเราเข้า ลมหายใจของเราออก จะแรงจะเบา จะยาวจะสั้น ก็รู้อยู่ ใช้คำภาวนาอย่างไรก็รู้อยู่

    ปีติ เกิดอาการต่าง ๆ ๕ ประการ ประการใดประการหนึ่งขึ้น ก็คือ ขณิกาปีติ รู้สึกขนลุกเป็นพัก ๆ ขุททกาปีติ มีน้ำตาไหล โอกกันติกาปีติ ร่างกายโยกไปโยกมา หรือว่าดิ้นตึงตังโครมครามเหมือนปลุกพระ อุเพ็งคาปีติ ร่างกายลอยขึ้นพ้นพื้น บางทีก็ลอยไปไกล ๆ ถ้าสมาธิจะเริ่มคลายตัวเมื่อไร ก็จะลอยกลับมายังที่เดิม ลงนั่งในท่าเดิมตั้งแต่ต้นทุกประการ และผรณาปีติ มีความรู้สึกซาบซ่าน บางทีก็รู้สึกว่าตัวพอง ตัวใหญ่ ตัวรั่วเป็นรู มีสิ่งนั้นสิ่งนี้ไหลออกจากร่างกายมามากมาย บางทีก็รู้สึกว่าร่างกายแตกระเบิดกลายเป็นผงไปเลยก็มี นี่ก็คือส่วนประกอบส่วนหนึ่งของสมาธิภาวนา ถ้าหากมาถึงระดับนี้สภาพจิตของท่านจะเป็นอุปจารสมาธิแล้ว

    ลำดับต่อไปก็คือสุข เมื่อสมาธิทรงตัวแนบแน่นขึ้น รัก โลภ โกรธ หลง ที่เป็นกองไฟแผดเผาเราอยู่ตลอดเวลา โดนอำนาจของสมาธิกดดับลง เราจะรู้สึกว่าความสุข สงบเยือกเย็น อย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน ได้มีขึ้นในใจของเรา หลายท่านเข้าใจผิดว่าบรรลุธรรมแล้ว ซึ่งความจริงยังเข้าไม่ถึงอัปปนาสมาธิขั้นแรกเลย อัปปนาสมาธิต้องมีองค์ประกอบสุดท้ายคือ เอกัคตารมณ์ เอกัคตารมณ์นั้น คืออารมณ์ตั้งมั่นเป็นหนึ่งเดียว จดจ่อแน่วแน่อยู่กับการตามดูตามรู้ลมหายใจและคำภาวนาของตน

    ถ้าเรามีองค์ประกอบครบทั้ง ๕ ประการคือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคตารมณ์ แปลว่า อารมณ์ของเราก้าวเข้าสู่ระดับอัปปนาสมาธิขั้นต้น คือ ปฐมฌานแล้ว บุคคลที่ก้าวเข้ามาถึงระดับนี้ มีสิทธิ์ทรงความเป็นพระโสดาบันได้อย่างสมบูรณ์ แต่ต้องใช้ปัญญาประกอบด้วย

    เนื่องเพราะว่า เมื่อความสุข ความสงบเยือกเย็นเกิดขึ้นแก่ตัวเรา ถ้าเราจะใช้ปัญญาประกอบด้วยการคิดต่อไปว่า ตัวเราที่เป็นโลกียฌานขั้นต้นเท่านั้น ยังมีความสุขเยือกเย็นขนาดนี้ บุคคลที่ทรงฌานที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ หรือสมาบัติ ๘ จะมีความสุขขนาดไหน ? แล้วบุคคลทั้งหลายเหล่านี้ ที่มีความสุขเยือกเย็นด้วยอำนาจของโลกียฌานนั้น พระโสดาบันที่ท่านเป็นโลกุตระ ก้าวขึ้นสู่เหนือโลกแล้ว ไม่ลงสู่อบายภูมิอย่างแน่นอนแล้ว ท่านจะมีความสุขขนาดไหนต่อความปลอดภัยในชีวิต ต่อความปลอดภัยในคติของตน ?

    แล้วพระสกิทาคามี ที่มีรัก โลภ โกรธ หลง อ่อนจางบางเบาลงไปมากกว่าพระโสดาบันหลายเท่า จะมีความสุขขนาดไหน ? พระอนาคามีที่ละทั้งราคะและโทสะอย่างสิ้นเชิงแล้ว รอเวลาตรัสรู้เข้าสู่พระนิพพาน ไม่ต้องลงมาเวียนว่ายตายเกิดอีก จะมีความสุขขนาดไหน ? แล้วพระอรหันต์ที่ท่านหลุดพ้นอย่างสิ้นเชิงจากกองทุกข์ทั้งปวง จะมีความสุขยิ่งขึ้นไปขนาดไหน ?

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เป็นจอมพระอรหันต์ทั้งปวง พระองค์ท่านมีความสามารถเหนือกว่าพระอรหันต์ทั่วไปจนนับประมาณไม่ได้ จะมีความสุขขนาดไหน ? เราใช้แค่ปัญญาเล็กน้อยนี้ตามดูตามมองไป เราก็จะเห็นคุณของพระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลายอย่างชัดเจน จิตของเราก็จะเกิดความเคารพในคุณของพระรัตนตรัยอย่างแน่นแฟ้น ไม่ล่วงเกินด้วยกาย ด้วยวาจา หรือด้วยใจ

    เราก็ใช้ปัญญาต่อไปอีกนิดหนึ่งว่า ตัวเรานี้เกิดมาแล้วจะต้องตายอย่างแน่นอน ตัวเราก็ตาย คนอื่นก็ตาย สัตว์อื่นก็ตาย ในเมื่อเราก้าวไปสู่ความตายอย่างแน่นอนเช่นนี้ ขึ้นชื่อว่าการเกิดมาใหม่ เพื่อพบกับความทุกข์อย่างนี้เราไม่พึงปรารถนาอีก เราต้องการอย่างเดียวคือพระนิพพาน

    เมื่อกำลังใจของเรามาถึงตรงจุดนี้ กำลังก็จะจดจ่อ แน่วแน่ มีความรักพระนิพพานเต็มอยู่ในจิตในใจของเรา ก็แปลว่าอำนาจสมาธิที่เราก้าวเข้ามา แม้เป็นเพียงอัปปนาสมาธิขั้นต้น ก็ยังมีอานิสงส์ถึงปานนี้ เราแค่ใช้ปัญญาประกอบเข้าไป ก็สามารถที่จะปิดอบายภูมิได้อย่างสิ้นเชิง เนื่องเพราะว่าก่อนจะก้าวมาถึงขั้นนี้ เรามีศีลบริสุทธิ์บริบูรณ์แล้ว มีสมาธิทรงตัวตั้งมั่นถึงระดับปฐมฌานเป็นอย่างน้อย และเห็นคุณพระรัตนตรัยอย่างแท้จริง

    เมื่อเป็นเช่นนั้น ถ้าเราไม่ปรารถนาการเกิด เราต้องการพระนิพพาน กำลังจิตของเราก็จะตัด จะละ ในส่วนที่รกรุงรังทั้งปวง มุ่งสู่พระนิพพานโดยตรง ไม่คดเคี้ยวลดเลี้ยวออกนอกทางไปไหน

    บุคคลที่ทรงอัปปนาสมาธิในระดับฌานที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็อยู่ในลักษณะเดียวกัน เพียงแต่กำลังสมาธินั้นสูงกว่า การตัดละมีได้มากกว่า ถ้าหากว่าท่านทรงฌาน ๔ ก็สามารถตัดกิเลสตั้งแต่ระดับพระอนาคามีขึ้นไปถึงพระอรหันต์ได้ ซึ่งสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นเราต้องไปศึกษาเพิ่มเติมกันในภายหลัง

    สำหรับตอนนี้ก็ให้ทุกคนเอาใจจดจ่อ ตามดูตามรู้ลมหายใจเข้าออกของตน ว่าลมหายใจตอนนี้แรงหรือเบา ยาวหรือสั้น ภาวนาว่าอย่างไร หรือกำหนดจับภาพพระไว้อย่างไร อย่าลืมเอาจิตสุดท้ายเกาะพระนิพพานเอาไว้ ตั้งใจว่าถ้าเราหมดอายุขัยตายลงไปก็ดี หรือเกิดอุบัติเหตุอันตรายใด ๆ ตายลงไปก็ดี เราขอไปอยู่กับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระนิพพานแห่งเดียว ให้ทุกคนเอากำลังใจจดจ่อตั้งมั่นไว้อย่างนี้ จนกว่าจะได้รับสัญญาณบอกว่าหมดเวลา

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านวิริยบารมี
    วันเสาร์ที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๕

    ที่มา www.watthakhanun.com
     
  12. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    ไม่ต้องเก้กหรอกครับ

    เพียงแต่ว่า ทำให้พอดี ไม่ใช่เรื่องเสียหาย

    ศีล5 ฆราวาส ก็บรรลุธรรมได้

    ทำอะไรอะไร อย่าให้เกินศีล5 พอ

    สัปปายะ 7
    ก็ยังอยู่ในส่วนของกามรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสที่พอดี
    ส่งผลให้ จิตเป็นสมาธิได้ง่าย

    คนเรามีความสุขแบบโลกๆ เป็นเหตุใกล้ให้เกิดสมาธิ

    เพราะว่าจิตไม่มีความกังวลตัดปลิโพธิ(ความกังลว)ออกได้
     
  13. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762




    [286] สัปปายะ 7 (สิ่งที่เหมาะกัน สิ่งที่เกื้อกูล ช่วยสนับสนุนในการบำเพ็ญภาวนาให้ได้ผลดี ช่วยให้สมาธิตั้งมั่น ไม่เสื่อมถอย — suitable things; things favorable to mental development)
    1. อาวาสสัปปายะ (ที่อยู่ซึ่งเหมาะกัน เช่น ไม่พลุกพล่านจอแจ — suitable abode)
    2. โคจรสัปปายะ (ที่หาอาหาร ที่เที่ยวบิณฑบาตที่เหมาะดี เช่น มีหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีอาหารบริบูรณ์อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลเกินไป — suitable resort)
    3. ภัสสสัปปายะ (การพูดคุยที่เหมาะกัน เช่น พูดคุยเล่าขานกันแต่ในกถาวัตถุ 10 และพูดแต่พอประมาณ — suitable speech)
    4. ปุคคลสัปปายะ (บุคคลที่ถูกกันเหมาะกัน เช่น มีท่านผู้ทรงคุณธรรม ทรงภูมิปัญญาเป็นที่ปรึกษาเหมาะใจ — suitable person)
    5. โภชนสัปปายะ (อาหารที่เหมาะกัน เช่น ถูกกับร่างกาย เกื้อกูลต่อสุขภาพ ฉันไม่ยาก — suitable food)
    6. อุตุสัปปายะ (ดินฟ้าอากาศธรรมชาติแวดล้อมที่เหมาะกัน เช่น ไม่หนาวเกินไป ไม่ร้อนเกินไป เป็นต้น — suitable climate)
    7. อิริยาปถสัปปายะ (อิริยาบถที่เหมาะกัน เช่น บางคนถูกกับจงกรม บางคนถูกกับนั่ง ตลอดจนมีการเคลื่อนไหวที่พอดี — suitable posture)


    ลองไปทบทวนดูนะครับ

    ยกตัวอย่าง ง่ายๆ
    โภชนสัปปายะ

    ว่าง่ายๆคือ อาหารที่ถูกใจ

    เมื่อได้อาหารที่ถูกใจ การภาวนาก็เป็นสมาธิได้ง่าย
    เพียงแต่ว่า ต้องอยู่ในความพอดี

    อะไรก็แล้วแต่หากอยู่ในความพอดี ย่อมไปสุดทาง
    ไม่ทำให้ สมาธิตกหล่น แต่กลับกัน ทำให้เป็นสมาธิได้ง่าย
    แต่หากว่า อะไรที่เกินพอดี
    อันนี้นั่นแหล่ะ(นันทิราคะ) จะทำให้เสียหาย ขัดขวางมรรคผล

    สมัยนึง ฆราวาสหญิง ฟังพระพุทธเจ้า จนบรรลุพระอนาคามี
    เห็นพระธุดงค์มาเป็นคณะ ปฏิบัติธรรมกลางป่า ใกล้บ้าน

    นางอนาคามี มีจิตหยั่งรู้วาระจิตของพระภิกษุ จึงใส่บาตรด้วยอาหารที่ถูกใจ
    ทำให้ภิกษุ ชอบใจ การปฏิบัติก็บรรลุธรรมได้เร็ว



    อาหารสิ่งที่ถูกใจนี่แหล่ะ คือ วัตถุกาม เพียงแต่บริโภค วัตถุกามด้วยความพอดีเท่านั้น
    มันจะไม่ขวางกั้นสมาธิ แต่จะส่งผลให้ได้ไวอีกตะหาก
     
  14. digimon1234

    digimon1234 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2017
    โพสต์:
    215
    ค่าพลัง:
    +35
    ช่วงนี้เริ่มจะหนักหน่อยๆ ตอนนี้ใจเหมือนเป็นประตูเชื่อมกับนรก ใครเข้าออกได้ตามสบาย
    เฮ้อเป็นงั้นไป เผลอหน่อยก็หลงไปกะมันแล้ว เผลอทีนิก็เกือบเป็นปีศาจล่ะ จะปิดประตูเลยก็ทำได้แต่เหมือนว่าเรายังทำไม่สุด คือสรุปคงดูมันไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหมดเวรกัมมั้งนิ
     
  15. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,567
    ค่าพลัง:
    +9,957
    +++ เป็นธรรมดา คำว่า "ใจ" ของคุณเป็นอาการของ "จุติจิต" หลักใหญ่ ก็จะเป็นการ "หลงลงไปในความคิด หรือ จะใช้ภาษาว่า หลงลงไปในมโน ก็ได้" ต้องระวังให้มาก ๆ

    +++ อาการ "หลงลงไปใน มโน" นั้น สาหัสกว่าการ หลง ทุกชนิด เพราะมันเป็นการหลงในระดับ "จิตใต้สำนึก/จิตไร้สำนึก" ไม่มีอะไรจะหลงลงไปมากกว่านี้แล้ว
    +++ ไม่เอา "นึก/คิด/มโน" ก็พอจะเอาตัวรอดได้ แต่ถ้า "นึก/คิด/มโน" มากไป จะกลายเป็น "ปัญญาอ่อน" โดยไม่รู้ตัว ต้องระวังให้ดี นะครับ
     
  16. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,019
    “ถ้าโสดต้องฝืน
    ถ้ามีคู่ก็อย่าไปยึด
    และธรรมชาติของกาย
    ก็อย่าไปทำร้ายมัน
    เพราะเราเรียนรู้ที่ไม่ยินดียินร้าย
    มันเป็นเรืองจิต แต่จิตนี้
    ก็ต้องอาศัยกายนี้อยู่
    ควรมีความสมดุลย์กัน”
     
  17. digimon1234

    digimon1234 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2017
    โพสต์:
    215
    ค่าพลัง:
    +35
    ขอบคุณสำหรับทุกคำตอบนะคับ ตอนนี้ก้ค่อยเป็นค่อยไป พอเริ่มจะมีทางให้ไปได้บ้างล่ะ
     
  18. ชมทรัพย์

    ชมทรัพย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2015
    โพสต์:
    552
    ค่าพลัง:
    +248
    สติปัฏฐานทุกบรรพ ละกามได้หมด เป็นทางอันเอก
     

แชร์หน้านี้

Loading...