เรื่องของการนอนกรน

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย กระเจียว, 4 มกราคม 2005.

  1. กระเจียว

    กระเจียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,354
    ค่าพลัง:
    +2,010
    หมู่นี้ท่านผู้อ่านจะเห็นการโฆษณาเกี่ยวกับเรื่องกานนอนกรนตามหน้าหนังสือพิมพ์ สะท้อนให้เห็นอย่างน้อย 2 อย่างคือ ประการแรกมีการหยิบยกเรื่องการนอนกรน มาพิจารณากันอย่างเป็นเรื่องเป็นราว ซึ่งเป็นผลจากเหตุผล ประการที่สองคือ วงการแพทย์มีแนวทางแก้ไขเรื่องนอนกรนได้ดีขึ้นจนออกมาป่าวประกาศหาลูกค้า

    เรื่องนอนกรนนั้น ผู้คนส่วนใหญ่ที่ต้องอยู่ใกล้ชิดกับคนที่นอนกรนอย่างคู่สมรสนั้น ส่วนใหญ่จะทำใจได้แม้จะรำคาญมากแค่ไหนก็ตาม แต่ในความรำคาญนั้นอาจมีเรื่องร้ายแรง ที่พร้อมจะเกิดขึ้น กล่าวคือ การนอนกรนที่เป็นอยู่อาจเกี่ยวข้องกับภาวะความผิดปกติ ของการนอนหลับชนิดหนึ่งซึ่งเรียกว่า sleep apnea (อ่านว่า สลีป-แอ้บ-เนีย) อันเป็นภาวะอันตรายต่อชีวิตเพราะว่าผู้ที่เป็นโรคนี้จะหยุดหายใจขณะนอนหลับ อยู่เป็นเวลานานกว่า 10 วินาที ไปจนถึง 2 นาที โดยบางครั้งเกิดถี่ถึง 300 ครั้งต่อวัน

    การหยุดหายใจนานๆ เช่นนี้ไม่ใช่เรื่องสนุกเลย เพราะนั่นหมายถึงการอุดตัน ของทางเดินหายใจส่วนบน หรืออาจเป็นความผิดปกติภายในสมอง หรือทั้งคู่ผสมผสานกัน แต่ที่พบบ่อยที่สุดคือทางเดินหายใจอุดตัน ซึ่งจะพบมากในคนที่อ้วนมากๆ แล้วมีความผิดปกติของปอดตามมา คนที่เป็นภาวะนี้จะมีแผงเนื้อเยื่อบริเวณเพดานปาก และลิ้นไก่หย่อนยานมากจนทำให้ทางเดินหายใจแคบ หายใจเข้าออกลำบาก

    การหยุดหายใจนานๆ ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน ทำให้คนๆ นั้นตื่นนอนขึ้นมา เพื่อหายใจอย่างแรงพร้อมกับเสียงกรนอย่างดัง

    ทำไมจึงมีการนอนกรน ?

    เวลาคนง่วงนอนจนผลอยหลับไป เริ่มจากการหลับๆ ตื่นๆ ไปจนหลับสนิทนั้น กล้ามเนื้อบริเวณเพดานปาก (ส่วนที่เป็นเพดานอ่อน) ลิ้นและคอหอยจะผ่านคลาย ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณดังกล่าวหย่อนตัวลง ถ้าหย่อนมากๆ ก็จะไปอุดกั้นทางเดินหายใจบางส่วน ทางลมหายใจไหลผ่านบริเวณที่มีเนื้อเยื่อหย่อนตัวลงมาขวางทางลมก็จะเกิดการสั่นสะเทือน ของเนื้อเยื่อแผงนี้ตามจังหวะการหายใจเข้าออก ยิ่งทางเดินหายใจแคบลงเพียงใด ก็ยิ่งต้องอาศัยแรงดันสูงขึ้นในการทำให้อากาศไหลผ่านไปได้

    การสั่นสะเทือนก็จะแรงขึ้นจนเกิดเสียงดังของการนอนกรน

    บางคนมีโครงสร้างทางกายวิภาคผิดปกติไปเล็กน้อย เช่น เพดานอ่อน และย้อยลงมาต่ำ หรือมีต่อมทอนซิลและต่อมอดีนอยด์โต ลิ้นไก่ยาวผิดปกติ กล้ามเนื้อลำคออ่อนแอและห้อยตัวมากขึ้น

    แนวทางแก้ไข เพื่อลดเสียงกรน
    1. ลดความอ้วน
    2. เปลี่ยนท่านอนเป็นตะแคง
    3. รักษาภาวะอุดตันหรือการคั่งในจมูก โดยใช้ยารับประทานหรือยาพ่น
    4. เลิกดื่มสุรา ยากล่อมประสาทและยาแก้แพ้ ซึ่งจะกดระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวมากเกินไป
    5. การผ่าตัด เพื่อกำจัดเนื้อเยื่อส่วนเกินโดยใช้แสงเลเซอร์ ยกเว้นคนที่เป็นสลีปแอบเนีย ซึ่งต้องรักษาด้วยการสวมหน้ากากควบคุม ความดันอากาศครอบจมูกขณะหลับ
    ทั้งหลายนี้ ท่านจะสามารถขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมจากโรงพยาบาลใหญ่ๆ ที่มีศูนย์บริการความผิดปกติของการนอนหลับ ซึ่งมีเพียงไม่กี่แห่งในเมืองไทย



    (update 30 พฤศจิกายน 2001)
    [ ที่มา..หนังสือ นิตยสารใกล้หมอ ปีที่ 25 ฉบับที่ 9 กันยายน 2544 ]
     

แชร์หน้านี้

Loading...