เรื่องของลม : ท่านพ่อลี

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 6 พฤษภาคม 2011.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ฉลาดปรับแต่งลม
    พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์


    (
    ท่านพ่อลี ธมฺมธโร )


    ในการกำหนดลมหายใจนี้ เราจะต้องใช้ความสังเกตพิจารณา เป็นข้อใหญ่ และรู้จักการตบแต่ง ขยับขยายลมหายใจให้เป็นไปโดยความพอเหมาะพอดีจึงจะได้ผลเป็นที่สบายกาย สบายจิต คือ สังเกตการเดินลมหายใจตั้งแต่ปลายจมูก จนถึงที่สุดของลมหายใจ นับแต่จากคอหอยผ่านไปทางหลอดลม หัวใจ ปอด ลงไปจนถึงช่องท้อง มีกระเพาะอาหาร และลำไส้ เบื้องบน ตั้งแต่ศรีษะเลื่อนลงมาถึงบ่า ทั้งสอง ช่องซี่โครง กระดูกสันหลังจนถึงก้นกบ ลมที่ออกตามปลายมือ ปลายเท้า ตลอดทั่วสรีระร่างกายทุกขุมขน


    ให้สมมุติตัวเรานี้เหมือนกับเทียนหรือตะเกียงเจ้าพายุ ลมเหมือนกับไส้ตะเกียง สติเป็นตัวเชื้อเพลิงที่ทำให้เกิดแสง ร่างกายของเราตั้งแต่โครงกระดูกจดผิวหนัง เหมือนกับเนื้อของเทียนที่หุ้มไส้เทียนอยู่ เราจะต้องพยายามทำให้ดวงจิตของเราเกิดแสงสว่าง เหมือนกับดวงเทียนจึงจะนับว่าเป็นผลดี

    .......

    ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกจะต้องมีของที่เป็นคู่กันเสมอ เช่น มีมืดก็ต้องมีสว่าง มีพระอาทิตย์ ก็มีพระจันทร์ มีเกิดก็มีดับ มีเหตุก็มีผล ฉะนั้น ในการทำลมนี้ ก็มีจิตเป็นตัวเหตุ มีสติเป็นตัวผล คือจิตเป็นผู้ทำ มีสติเป็นผู้รู้ สติจึงเป็นผลของจิต ส่วนธาตุ ดิน น้ำลม ไฟ ก็เป็นของกาย เหตุของกายคือ ธาตุลม เมื่อจิตเป็นผู้ทำเหตุดี ผลทางกายก็เกิดรัศมีจากธาตุทั้ง ๔ ร่างกายก็สบายแข็งแรงปราศจากโรค ผลที่จะเกิดขึ้นจากทางกาย และจิตนี้ก็เนื่องด้วยการกระทำเป็นเหตุการณ์สังเกตเป็นผล ขณะที่นั่งสมาธินี้ เราจะต้องสังเกตดูลมที่หายใจเข้าและหายใจออกนั้นว่าลักษณะของลมที่เดินเข้าไปมีอาการอย่างไร เกิดความไหวสะเทือนแก่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างไรและเกิดความสบายอย่างไรบ้าง เช่น หายใจเข้ายาว หรือหายเข้าสั้น ออกยาวสะดวกสบาย ? หายใจเข้าเร็ว ออกเร็วสบาย หรือหายใจเข้าช้าออกช้าสบาย? หายใจหนักสบาย หรือหายใจเบาสบาย ? ฯ ล ฯ



     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เหล่านี้เราจะต้องใช้ความสังเกตพิจารณาด้วยตนเอง และรู้จักปรับปรุงแก้ไข ลดหย่อน ผ่อนผันให้ลมคงที่เสมอกันพอเหมาะพอดี เป็นต้นว่าช้าไปไม่สะดวกสบาย ก็แก้ไขเปลี่ยนให้เร็วขึ้น , ถ้ายาวไปไม่สบายก็เปลี่ยนให้เป็นสั้น ถ้าลมอ่อนไป เบาไป ไม่ดี ทำให้ง่วงให้เผลอ ก็เปลี่ยนให้เป็นลมหนักและแรงขึ้น เหมือนกับเราสูบลมเข้าไปเลี้ยงน้ำมันให้พอดีกับนมหนูในไส้ตะเกียง ถ้าได้ส่วนกับลมแสงไฟก็จะมีกำลังเต็มที่เป็นสีนวลสว่างจ้า สามารถส่องรัศมีไปได้ไกล ฉันใดก็ดี ถ้าเรามีสติกำกับแน่นกับลมหายใจเข้าออกอยู่เสมอ และรู้จักบริหารให้ถูกต้องกับส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จิตของเราก็จะมีอาการเที่ยงตรงเป็นหนึ่งไม่วอกแวกไปในสัญญาอารมณ์ใดๆ และมีอำนาจชนิดหนึ่งเกิดขึ้นเป็นแสงสว่าง คือ ตัวปัญญา หรือจะเรียกว่าเป็นผล คือวิชชาก็ได้ วิชชาอันนี้เป็นความรู้พิเศษอย่างหนึ่งไม่ใช่เกิดจากครูบาอาจารย์สั่งสอน หรือมีใครแนะนำแต่เป็นความรู้ความเห็นพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญเรียกว่า สัมมาทิฏฐิความเห็นอันนี้ ประกอบไปด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นสัมมาสติ เป็นสัมมาสมาธิด้วย จิตที่เป็นสัมมาสมาธินี้เมื่อมีกำลังกล้าแข็งยิ่งขึ้น ก็เกิดผลเป็นวิปัสสนาญาณ” เป็น “ญาณทัสนะ” ถึงวิมุติธรรมเป็นที่สุดปราศจากความสงสัยใด ๆ
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สมบัติสาม
    พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์​
    ( ​
    ท่านพ่อลี ธมฺมธโร )


    การกำหนดรู้ ลม เป็น ​
    วัตถุสมบัติติดอยู่กับลมตามเข้าออก ไม่เผลอเป็น เจตนาสมบัติความไม่สกดลม กลั้นลมไว้ ปล่อยไปตามสบายให้ใจเป็นอิสระ หายใจโปร่งใส เบิกบาน เป็น คุณ สมบัติกิริยาที่นั่งขัดสมาธิเท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ตั้งตัวตรงตาหลับเป็น กิริยาทั้งหมดนี้เรียกว่า ปุญญกิริยาวัตถ

    ๑​
    . เจตนาสมบัติ หมายถึง ความตั้งใจ คือเราตั้งใจว่า เราจะพยายามปลดปล่อยสัญญา อารมณ์ที่เกี่ยวกับเรื่องของโลกทั้งหมด ไม่เก็บมานึกคิดเลย สัญญาใด ๆ ที่เป็นอดีตก็ดี เป็นเรื่องของโลกไม่ใช่เรื่องของธรรม สิ่งที่เราตั้งใจจะทำในเวลานี้ขณะนี้ คือ กิจของพระศาสนาอย่างเดียวเท่านั้น คือ ปัจจุบันธรรม นี่เป็นตัว เจตนาสมบัติ

    ๒​
    . วัตถุสมบัติ หมายถึงสถานที่ตั้งของดวงจิต ในที่นี้หมายถึง ธาตุววัฏฐานหรืออธิบายตามพยัญชนะได้แก่ กายานุปัสสนาสติปัฏฐานคือ ธาตุ ๔ ซึ่งประกอบขึ้นแห่งร่างกายของเรา ได้แก่ ธาตุ ดิน น้ำ ไฟ ลม ธาตุดินก็เป็นกระดูกที่แค่นแข็ง ธาตุน้ำก็เป็น น้ำมูตร น้ำลาย น้ำเลือด น้ำหนอง ธาตุไฟ ก็คือ ความร้อน ความอบอุ่นในร่างกาย ธาตุลมก็คือ ส่วนที่พัดไปมา ทั้งหมดนี้ส่วนที่สำคัญที่สุดกว่า ส่วนใดอื่นคือธาตุลม เพราะร่างกายนี้ถึงแม้ว่าตาจะบอด หูจะหนวก แขนขาจะหักก็ยังมีชีวิตอยู่ได้ แต่ถ้าขาดธาตุลมอย่างเดียว ร่างกายจะตั้งอยู่ไม่ได้ ต้องตาย ฉะนั้น ลมหายใจจึงเป็นตัววัตถุสำคัญเพราะเป็นสถานที่ตั้งของดวงจิต

    ๓​
    .
    คุณสมบัติ หมายถึง ความสบายหรือไม่สบายที่เกิดขึ้นแก่ร่างกาย ในการบริหารลมหายใจเข้าออกให้เดินไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายนี้ได้เกิดผลอันใดขึ้นบ้าง ต้องสังเกตดูร่างกายและจิตใจของเรา ได้รับผลดีหรือไม่ดี ร่างกายเบาสบาย โปร่งโล่งหรืออึดอัด คับแคบ ใจสงบ สบาย เย็น หรือหงุดหงิด ฟุ้งซ่าน วุ่นวาย ถ้ากายสบาย จิตสบาย ก็เป็นผลดี ถ้าตรงกันข้าม ก็เป็นผลร้าย ฉะนั้นเราจะต้องรู้จักการปรับปรุงลมหายใจ และแก้ไขตกแต่งให้เป็นที่สบายคุณสมบัติของจิตก็คือ สติ กับ สัมปชัญญะ

    ให้พยายามรักษาหลักสั้น ๆ ทั้ง ๓ ประการ นี้ไว้ในการเจริญสมาธิทุกครั้งไป จึงจะมีผลเป็นไปโดยถูกต้องสมบูรณ์ ส่วนอานิสงส์ในการนั่งสมาธินั้นมีมากมาย ก็จักเกิดขึ้นตามกำลังของดวงจิต แห่งผู้บำเพ็ญภาวนานี้​
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เรื่องของลม
    พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์


    (
    ท่านพ่อลี ธมฺมธโร )



    หน้าที่ของเราในการทำสมาธิมีอยู่ ๔ อย่าง คือ


    . รู้ลมเข้าออก ๒. รู้จักปรับปรุงลมหายใจ ๓. รู้จักเลือกว่าลมอย่างไหนสบาย ไม่สบาย ๔. ใช้ลมที่สบายสังหารเวทนาที่เกิดขึ้น รู้กายในกาย นี้เป็น กายคตาสติ คือ รู้ลมในร่างกายของเราตั้งแต่เบื้องสูงจดเบื้องต่ำ เบื้องต่ำขึ้นไปหาเบื้องสูง กระจายลมให้เต็มทั่วร่างกายเหมือนกับน้ำที่เต็มอ่าง ก็จะได้รับความเย็นตลอดทั่วร่างกาย สติ เป็นชีวิตของใจ ลม เป็นชีวิตของกาย


    การที่เรารักษาลมหายใจไว้ด้วยความมีสตินี้ เหมือนกับเราได้รักษาความเป็นอยู่ของเราไว้ทั้ง ๓ วัย คือเมื่อเป็นเด็กก็รักษาความเจริญของวัยเด็กไว้ เมื่อเติบโตขึ้นก็รักษาความเจริญของความเป็นผู้ใหญ่ไว้ และเมื่อแก่ก็รักษาความเจริญของวัยชราไว้อีก


    ให้เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความมีสติสัมปชัญญะบริบูรณ์ ทำอย่างนี้ให้ติดต่อไม่ขาดระยะ ตลอดวันคืนทุกอิริยาบถ


    ลม

    เหมือน สายไฟ , สติ เหมือน ดวงไฟฟ้า ถ้าสายไฟดี ดวงไฟก็สว่างแจ่ม

    ลม


    ปราบเวทนา สติ ปราบนิวรณ์

    การทำสมาธิ ต้องตั้งจิตของเราให้เที่ยง ตรงแน่วอยู่กับลมหายใจ เหมือนนายพรานที่เล็งธนู จะต้องเล็งให้แม่น จึงจะยิงได้ตรงถูกจุดหมาย

     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การเชื่อมประสานลม ขยายลมไปตามธาตุต่าง ๆ ตลอดทั้งอวัยวะเส้นเอ็นทุกส่วนในร่างกาย ก็เหมือนกับเราทำการตัดถนนสายต่าง ๆ ให้ติดต่อถึงกัน ประเทศใดเมืองใด ที่มีถนนหนทางมาก ก็ย่อมมีตึกร้านบ้านเรือนแน่นหนาขึ้น เพราะมีการคมนาคมสะดวก บ้านนั้น เมืองนั้นก็ย่อมจะมีความเจริญมากขึ้น ฉันใด ร่างกายของเราก็เช่นเดียวกัน ถ้าเรามีการปรับปรุงแก้ไขลมในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้ดีอยู่เสมอแล้วก็เปรียบเหมือนกับเราตัดตอนต้นไม้ส่วนที่เสียให้กลับงอกงามเจริญขึ้นฉันนั้น

    ลมภายนอกกับภายในนั้นต่างกัน ลมภายนอกนั้นแต่งไม่ได้ ต้องเป็นไปตามธรรมชาติ ลมภายในนั้นแต่งได้ ปรับปรุงแก้ไขได้ เพราะเป็นลมที่อาศัยวิญญาณหรือจะเรียกว่า วิญญาณอาศัยลม ก็ได้

    รู้ลมเป็น
    วิตกรู้ลักษณะของลมเป็น วิจารปล่อยให้กระจายซาบซ่านไปทั่วเป็น ปิติ

    สบายกายสบายจิต เป็น ​
    สุขจิต อยู่กับลมเป็นอันเดียว ขาดจากนิวรณ์ เป็น เอกัคคตา(เข้าในสติสัมโพชฌงค์)

     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ลมหนักหายใจแคบก็ได้ ถ้าลมเบาต้องหายใจให้กว้าง ถ้าเบามากจนละเอียด ไม่ต้องหายใจทางจมูกเลย

    จะรู้ลมเข้าลมออกได้ทุกขุมขนทั่วสรรพางค์กายลมในกายตัวเรานี้ มิใช่มีแต่เฉพาะที่พุ่งเข้าพุ่งออกจากทางจมูกอย่างเดียว ลมในร่างกายนี้ ระบายออก
    ได้ทั่วทุกขุมขน เหมือนกับไอน้ำที่ระเหยออกจากก้อนน้ำแข็ง และมีลักษณะละเอียดมากว่าลมภายนอก เมื่อมันกระจายออกมากระทบกันเข้า จะเกิดเป็นผลสะท้อนกลับเข้าสู่ร่างกายอีก เรียกว่า
    ลมอุ้มชูเป็นลมที่ช่วยให้จิตใจและร่างกายสงบเยือกเย็น ฉะนั้นเวลาหายใจเข้าไป จึงควรทำลมให้เต็มกว้างภายใน และเวลาหายใจออกก็ให้มันเต็มกว้างทั่วบริเวณตัวเอง

    ควรมีสติ” รู้ลมหายใจเข้าออกนี้อย่างหนึ่งกับ “สัมปชัญญะ” ความสำรวจรู้ในกองลมที่เดินขยับขยายไปทั่วร่างกาย รู้ว่ากว้างหรือแคบ ลึกหรือตื้น หนักหรือเบา เร็วหรือช้า ฯ ล ฯ นี้อย่างหนึ่ง ๒ อย่างนี้เป็นองค์ภาวนา”

     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การที่เรามานั่งตั้งสติ กำหนดอยู่กับลมหายใจด้วยคำภาวนาว่า
    พุท เ ข้า โธ ออก ไม่ลืม ไม่เผลออย่างนี้ก็จัดว่าเป็น พุทธคุณ เมื่อจิตของเราไม่มีสัญญาอารมณ์ใดๆ มาเกาะเกี่ยว เกิดความความสว่างไสว อิ่มเอิบ ขึ้นในดวงใจ นี่ก็จัดว่าเป็น ธรรมคุณ การขยับขยายลมหายใจเข้าออก ให้มีสติสัมปชัญญะบริบูรณ์ทั่วตัว

    อันนี้จัดว่าเป็น
    สังฆคุณ รวมความก็คือ เกิดความรู้ความสว่างเป็นตัว พุทธะ จิตเที่ยงเป็นตัว ธรรมมะ รักษาความดีและเพิ่มความดีที่มีอยู่แล้วให้มีมากขึ้นเป็นตัว สังฆะ ฯ

    ลม
    เป็นพี่ชายใหญ่ เพราะลมช่วยไฟ ไฟช่วยน้ำ น้ำช่วยดิน มันสงเคราะห์กันเป็นสามัคคีธาตุดังนี้

    ทำลมให้มันหนัก แน่น เหนียว ​
    เหมือนยางรถยนต์ที่เส้นมันแบบบางนิดเดียว แต่สามารถบรรทุกคนได้ตั้ง ๔๐ ๕๐ คน นั้นก็เพราะอำนาจของลม ฉะนั้น ลมแน่นจึงมีอำนาจที่จะบังคับอะไร ๆ ได้ทุกอย่าง

     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การที่เรามานั่งภาวนากันอยู่นี้ เปรียบเหมือนกับเรามาขัดสีข้าวเปลือกในยุ้งของเราให้เป็นข้าวสาร จิตของเราเปรียบด้วยเมล็ดข้าว นิวรณ์ทั้ง ๕ เปรียบเหมือนกับเปลือกที่หุ้มเมล็ดข้าวอยู่ เราจะต้องกะเทาะเอาเปลือก นอกนี้ออกจากเมล็ดข้าวเสียก่อน แล้วขัดสีเอาคราบที่ไม่สะอาดออกอีกชั้นหนึ่ง ต่อจากนี้เราจะได้ข้าวสารที่ขาวบริสุทธ์ิ วิธีขัดสีนั้นก็ได้แก่ วิตก วิจาร
    วิตก ​
    ได้แก่การที่เรากำหนดจิตให้รู้อยู่กับลมหายใจเข้าออก ลักษณะอย่างนี้เหมือนกับเรากอบเมล็ดข้าวใส่ลงในฟันสี เราก็จะต้องคอยดูอีกว่า ฟันสีของเรานั้นดีหรือไม่ดี ถ้ารู้แต่ลมเข้า ไม่รู้ลมออกเพราะเผลอหรือลืมเสีย ก็เท่ากับฟันสีของเรามันกร่อนหรือหักไปต้องจัดการแก้ไขทันที คือเอาสติมาตั้งอยู่ กับลมหายใจปัดสัญญาอารมณ์ต่าง ๆ ทิ้งให้หมด

    วิจาร ​
    ได้แก่โยนิโสมนสิการ คือการสังเกต ตรวจตราลมที่หายใจเข้าไปนั้นว่า มีลักษณะอย่างไร สะดวกหรือไม่สะดวก โปร่งโล่ง หรือขัดข้องอย่างไรบ้าง กระจายลมให้ทั่วเพื่อขับไล่ลมร้ายออกจากตัว ขจัดส่วนที่เป็นโทษออกให้เกลี้ยง เหลือแต่ส่วนที่ดีไว้ ธาตุต่างๆทุกส่วนในร่างกายของเราก็จะกลายเป็นธาตุบริสุทธ์ิ จิตก็จะใส ใจก็จะแจ่ม ร่างกายก็จะเย็นสบาย มีแต่ความสุข

     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ลมที่หายใจเข้าไปในร่างกายนี้ เราจะต้องขยับขยายส่งไปเชื่อมต่อกับธาตุต่างๆ ทุกส่วนในร่างกายให้ทั่วธาตุลมก็ให้มันไปเชื่อมกับธาตุไฟ ธาตุไฟเชื่อมกับธาตุน้ำ ธาตุน้ำเชื่อมกับธาตุดิน ธาตุดินเชื่อมกับธาตุอากาศ อากาศเชื่อมกับวิญญาณ ทำธาตุทั้ง ๖ ให้เป็นสามัคคีกลมเกลียวกัน ร่างกายของเราก็จะได้รับความสุขสมบูรณ์ เหมือนกับเราบัดกรีขัน (ขันธ์) ของเราไม่ให้แตกร้าว ขันนั้นก็จะบรรจุน้ำได้เต็มทั้งใสและเย็นด้วย ความเต็มนี้ ได้แก่บุญกุศล ความใส เกิดจากจิตที่เที่ยง ไม่เอนเอียง ความเย็น ได้เพราะขันน้ำ ตั้งอยู่ภายใต้ต้นไม้ที่มีร่มเงา คือพระพุทธคุณ ธรรมคุณ และสังฆคุณ



    สติปัฏฐาน ๔ คือ ลมหายใจเป็น
    กาย สบายไม่สบายเป็น เวทนา ความบริสุทธ์ิผ่องใสเป็น จิต ความตั้งเที่ยงของจิตเป็น ธรรม



    ลมร้อน สร้างโลหิตดำ ลมอุ่น สร้างโลหิตแดง ลมเย็น สร้างโลหิตขาว


     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พุทโธ” เป็น คำภาวนา การมีสติรู้ลมหายใจเข้าออก เป็นองค์ภาวนา เป็นตัว “พุทธะ” เมื่อจิตอยู่ทิ้งคำภาวนาได้ คำภาวนาเหมือนเหยื่อหรือเครื่องล่อ เช่นเราอยากให้ไก่เข้ามาหาเรา เราก็หว่านเมล็ดข้าวลงไป เมื่อไก่วิ่งเข้ามาหาแล้ว เราก็ไม่ต้องหว่านอีกฉันใดก็ฉันนั้น

    เจ็บตรงไหน ให้เพ่งลมให้เลยไปจากที่นั่นจึงจะได้ผลเหมือนเราเจ็บตรงหัวเข่า ต้องเพ่งให้เลยไปถึงปลายเท้า เจ็บที่ไหล่ต้องเพ่งให้ลงไปถึงแขน

    การภาวนา
    พุทโธ ฯเป็นคำนาม ความรู้สึกตามคำภาวนาเป็น พุทธะสติคือเชือก จิตเหมือนลูกโค ลมเป็นหลัก ต้องเอาสติผูกจิตไว้กับลม จิตจึงจะไม่หนีไปได้ สูบลมหายใจให้เหมือนกับชักว่าว ถ้าลมอ่อนต้องดึงเชือกให้สั้น ลมแรงต้องผ่อนให้ยาว หายใจให้เหมือนกับรินน้ำออกจากถ้วยแก้ว ถ้าเราไม่รินมันมันก็ไม่ออกหรืออีกอย่างหนึ่งก็เหมือนกับรดน้ำต้นไม้หรือรดน้ำถนน

     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พูดถึงการ ภาวนาซึ่งเราจะพากันทำต่อไปนี้ ก็เป็นบุญอย่างยอด เราไม่ต้องลงทุนอะไรมากด้วยเพียงแต่นั่งให้สบาย จะขัดสมาธิหรือพับเพียบก็ได้แล้วแต่จะเหมาะแก่สถานที่และสังคม มือขวาวางทับมือซ้าย แล้วก็ตั้งใจหายใจเข้าออก ด้วยการระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์


    ภาวนา” ไม่ใช่เป็นเรื่องของพระธุดงค์ หรือเป็นของพระของเณร เป็นคนโง่คนฉลาดหรือคนมีคนจน แต่เป็นของซึ่งทุกคน ทุกเพศ ทุกชั้น ทุกวัยทำได้ คนเจ็บคนไข้นั่งนอนอยู่กับบ้านก็ทำได้ และทำได้ไม่เลือกกาลเลือกเวลา เราเสียสละเพียงเล็กน้อยเพื่อแลกกับความดีอันนี้ คือ เสียสละเวลา สละการนอน สละความเจ็บปวดเมื่อย



    ต้องใช้ความอดทนพยายาม สละกายบูชาพระพุทธ สละวาจาบูชาพระธรรม สละใจบูชาพระสงฆ์ เรียกว่า ปฎิบัติบูชาตั้งใจอุทิศตัวของเราให้เป็นกุฎิ แล้วก็นิมนต์พระพุทธเจ้า เสด็จเดินจงกรมเข้าไปในช่องจมูกด้วยลมหายใจเข้า พุทออก โธทำดังนี้ พระพุทธเจ้าก็ต้องมาอยู่กับตัวเรา ช่วยคุ้มครองรักษาเรา เราก็จะมีแต่ความสุขร่มเย็น และเบิกบานแจ่มใส


    ลมร้อนเป็นลมสังหาร ทำเวทนาให้เกิดก่อความทรุดโทรมของร่างกาย ลมเย็นเป็นลมสร้าง ลมอุ่นเป็นลมรักษา​



     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ลมหยาบ มีลักษณะยาวและช้า ลมละเอียดมีลักษณะสั้น และ เบา สามารถแทรกซึมเข้าไปในตัวได้ทุกต่อมโลหิต เป็นลมที่มีคุณภาพดียิ่ง การทำลมยาวเกินไปก็ไม่ดี มักมีนิวรณ์ สั้นมากเกินไปก็ไม่ดี ควรทำให้พอเหมาะพอดีกับตัว เป็นมัชฌิมาปฏิปทา จึงจะดี

    เมื่อ
    จิตของเราไม่เกาะเกี่ยวกับสัญญาอารมณ์ใดๆ เพ่งเฉพาะอยู่แต่ลมเข้าลมออกอย่างเดียว จิตนั้น ก็ย่อมจะเกิดแสงสว่างขึ้น คือ วิชาเหมือนลูกปืนที่แล่นไปในอากาศ ย่อมจะเกิดเป็นไฟ คือ แสงสว่างขึ้นเช่นเดียวกัน

    กายสงบ ก็ได้วิชาจากกาย จิตสงบก็ได้วิชาจากจิต ลมสงบก็ได้วิชาจากลม
     
  13. mssuporn

    mssuporn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +368
    มีประโยชน์มากค่ะ ขอบคุณและอนุโมทนากับการนำเรื่องดีๆมาให้อ่านเสมอๆ
     
  14. อ_เอกวัฒน์

    อ_เอกวัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    279
    ค่าพลัง:
    +270
    ขอกราบอนุโมทนาในธรรมท่านพ่อลี ธรรมใดที่ท่านพ่อลีรู้ถึงธรรม ขอให้จิตนี้รู้ตามด้วยเทอญ สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...