เรื่องของวิเวก : นาวาเอก (พิเศษ) วุฒิ อ่อนสมกิจ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย วิญญาณนิพพาน, 9 ธันวาคม 2017.

  1. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,309
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,002
    A3258655.jpg

    เ รื่ อ ง ข อ ง วิ เ ว ก
    นาวาเอก (พิเศษ) วุฒิ อ่อนสมกิจ

    คำว่า “วิเวก” ในพจนานุกรม
    หมายถึง ความเงียบสงัด การปลีกตัวไปอยู่ที่ที่สงัด
    ทำให้รู้สึกเปล่าเปลี่ยวแต่สงบใจ

    ในทางศาสนาแยกวิเวกเป็น ๓ ลักษณะ คือ

    กายวิเวก : ความสงัดกาย

    หมายถึงการปลีกตัวไปอยู่ในสถานที่สงัด

    จิตวิเวก : ความสงบทางจิต ไม่ฟุ้งซ่าน

    และ

    อุปธิวิเวก : ความสงบจากกิเลสทั้งปวง

    ในชีวิตฆราวาส มองเผิน ๆ ก็ดูเหมือนว่าไม่จำเป็น

    แต่ถ้าพิเคราะห์ให้ถี่ถ้วนแล้ว
    การดำเนินชีวิตแบบผู้ครองเรือนยังต้องการวิเวก และจิตวิเวกอยู่ไม่น้อย
    ยิ่ง อุปธิวิเวก คือการไม่ปล่อยให้กิเลสท่วมทับตัวเองเกินไป
    เป็นสิ่งจำเป็นยิ่ง

    เมื่อเวลาทุกข์หนัก อยากแก้ปัญหาชีวิต
    เรามักปลีกตัวไปอยู่ที่สงัดตามลำพัง ลูกเมีย ตลอดเพื่อนฝูง
    มักถูกปฏิเสธด้วยคำว่า “ผมอยากอยู่คนเดียวสักพัก”
    แล้วปิดประตูขังตัวเองแสดงว่านั่น คือ

    ความวิเวกทางกายเป็นความสุขอย่างหนึ่งของมนุษย์ที่ยังครองเรือน
    และเมื่อหาความสงบทางกายได้
    ความสงบทางจิตที่ฟุ้งซ่านก็ทำได้ง่ายขึ้น
    และเป็นผลทำให้บรรเทากิเลสความฟุ้งซ่านลงได้ด้วย

    การอยู่ร่วมเป็นสังคม คนมีกายวิเวกและจิตวิเวก
    ทำให้เกิดความรู้เขารู้เรา
    และเกิดความสว่างในการแก้ปัญหาต่าง ๆ

    พระพุทธองค์จึงสอนให้ฝึกทางวิเวก
    คือความสงบกายสงบใจบ้าง
    มิใช่ฟุ้งฟูไปตามกิเลสอยู่ตลอดเวลา
    ซึ่งจะทำให้ตนเองเดือดร้อน เป็นทุกข์กระวนกระวาย
    มีจิตซัดส่ายคล้ายวิกลจริตจนไม่สามารถแก้ไขได้

    ดังนั้น พระองค์จึงตรัสว่า
    เว้นจิตวิเวกเสีย จะไม่พบกับความสงบสุขเลย

    การปลีกวิเวก คือหลีกจากสิ่งแวดล้อมที่วุ่นวายเพื่อไปหาความสงบนั้น
    อาจได้รับรสความสงบชั่วคราว
    เมื่อกลับมาอยู่ในสิ่งแวดล้อมเดิมอีก ก็อาจฟุ้งซ่านเหมือนเดิม

    แต่ถ้าจะให้เกิดวิเวกถาวร
    ก็ต้องทำให้กายวาจาสงบด้วยการรักษาศีล
    และทำจิตให้สงบด้วยบำเพ็ญสมาธิ

    ถ้าปฏิบัติมั่นคงอยู่ในศีล สมาธิตลอดไป
    แม้จะอยู่ในท่านกลางสิ่งแวดล้อมที่วุ่นวายก็จะอยู่ได้อย่างสงบสุข
    และจะได้รับรสวิเวกอย่างถาวร

    (ที่มา : “เรื่องของวิเวก” ใน นิตยสาร “ธรรมจักษุ” ฉบับเดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๖)

    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14982
     

แชร์หน้านี้

Loading...