เรื่องจริงของพระศาสดากับ องคุลีมาล จากพระไตรปิฎก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย roserasa, 19 พฤศจิกายน 2013.

  1. roserasa

    roserasa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    111
    ค่าพลัง:
    +243
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
    มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์




    หน้าที่ ๓๕๘

    ๖. อังคุลิมาลสูตร


    พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดองคุลิมาลโจร
    [๕๒๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:
    สมัย

    หนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
    เขต

    พระนครสาวัตถี. ก็สมัยนั้นแล ในแว่นแคว้นของพระเจ้าปเสนทิโกศล มีโจรชื่อว่าองคุลีมาล
    เป็นคนหยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ปักใจ มั่นในการฆ่าตี ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้ง

    หลาย.
    องคุลิมาลโจรนั้น กระทำบ้านไม่ให้เป็นบ้านบ้าง กระทำนิคมไม่ให้เป็นนิคมบ้าง

    กระทำชนบท
    ไม่ให้เป็นชนบทบ้าง. เขาเข่นฆ่าพวกมนุษย์แล้วเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงทรงไว้.



    ครั้งนั้นแล ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไป
    บิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ครั้นแล้วในเวลาปัจฉาภัต เสด็จกลับจากบิณฑบาตแล้ว ทรง

    เก็บ
    เสนาสนะ ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จดำเนินไปตามทางที่องคุลิมาลโจรซุ่มอยู่. พวกคน

    เลี้ยงโค
    พวกคนเลี้ยงปศุสัตว์ พวกชาวนาที่เดินมา ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จดำเนินไป

    ตามทางที่
    องคุลิมาลโจรซุ่มอยู่

    ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่สมณะ อย่าเดินไปทางนั้น
    ที่ทางนั้นมีโจรชื่อ

    ว่าองคุลิมาลเป็นคนหยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ปักใจในการฆ่าตี ไม่มีความ
    กรุณาใน

    สัตว์ทั้งหลาย องคุลิมาลโจรนั้น กระทำบ้านไม่ให้เป็นบ้านบ้าง กระทำนิคมไม่ให้เป็น
    นิคม

    บ้าง กระทำชนบทไม่ให้เป็นชนบทบ้าง

    เขาเข่นฆ่าพวกมนุษย์แล้วเอานิ้วมือร้อยเป็นพวง
    ทรงไว้ ข้าแต่สมณะ พวกบุรุษสิบคนก็ดี

    ยี่สิบคนก็ดี สามสิบคนก็ดี สี่สิบคนก็ดี ย่อมรวม
    เป็นพวกเดียวกันเดินทางนี้ แม้บุรุษผู้นั้น

    ก็ยังถึงความพินาศ เพราะมือขององคุลิมาลโจร.
    เมื่อคนพวกนั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้

    มีพระภาคทรงนิ่ง ได้เสด็จไปแล้ว.


    [๕๒๒] แม้ครั้งที่สอง พวกคนเลี้ยงโค พวกคนเลี้ยงปศุสัตว์ พวกชาวนาที่เดินมา
    ได้กราบ

    ทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่สมณะ อย่าเดินไปทางนั้น ที่ทางนั้นมีโจรชื่อว่าองคุลิมาล






    เป็นคนหยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ปักใจในการฆ่าตี ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย
    องคุลิมาลโจรนั้น กระทำบ้านไม่ให้เป็นบ้านบ้าง กระทำนิคมไม่ให้เป็นนิคมบ้าง กระทำ

    ชนบท
    ไม่ให้เป็นชนบทบ้าง เขาเข่นฆ่าพวกมนุษย์แล้วเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงทรงไว้

    ข้าแต่สมณะ
    พวกบุรุษสิบคนก็ดี ยี่สิบคนก็ดี สามสิบคนก็ดี สี่สิบคนก็ดี ย่อมรวมเป็นพวก

    เดียวกันเดิน
    ทางนี้ ข้าแต่สมณะ แม้บุรุษพวกนั้นก็ยังถึงความพินาศเพราะมือขององคุลิมาล

    ดังนี้. ครั้งนั้น
    พระผู้มีพระภาคทรงนิ่ง ได้เสด็จไปแล้ว.


    [๕๒๓] แม้ครั้งที่สาม พวกคนเลี้ยงโค พวกคนเลี้ยงปศุสัตว์ พวกชาวนาที่เดิน

    มา
    ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่สมณะ อย่าเดินไปทางนั้น ที่ทางนั้นมีโจรชื่อว่า

    องคุลิมาล
    เป็นคนหยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ปักใจในการฆ่าตี ไม่มีความกรุณาในสัตว์

    ทั้งหลาย
    องคุลิมาลโจรนั้น กระทำบ้านไม่ให้เป็นบ้านบ้าง กระทำนิคมไม่ให้เป็นนิคมบ้าง

    กระทำชนบท
    ไม่ให้เป็นชนบทบ้าง

    เขาเข่นฆ่าพวกมนุษย์แล้วเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงทรงไว้ ข้าแต่สมณะ
    พวกบุรุษสิบคนก็ดี

    ยี่สิบคนก็ดี สามสิบคนก็ดี สี่สิบคนก็ดี ย่อมรวมเป็นพวกเดียวกัน
    เดินทางนี้ ข้าแต่สมณะ

    แม้บุรุษพวกนั้นก็ยังถึงความพินาศเพราะมือขององคุลิมาลโจร ดังนี้.
    ครั้งนั้น พระผู้มีพระ

    ภาคทรงนิ่ง ได้เสด็จไปแล้ว.


    *[๕๒๔] องคุลิมาลโจรได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล. ครั้นแล้วเขาได้มีความ
    ดำริ

    ว่า น่าอัศจรรย์จริงหนอ ไม่เคยมีเลย พวกบุรุษสิบคนก็ดี ยี่สิบคนก็ดี สามสิบคนก็ดี
    สี่สิบ

    คนก็ดี ก็ยังต้องรวมเป็นพวกเดียวกันเดินทางนี้ แม้บุรุษพวกนั้นยังถึงความพินาศเพราะ
    มือ

    เรา เออก็สมณะนี้ผู้เดียว ไม่มีเพื่อนชรอยจะมาข่ม ถ้ากระไร เราพึงปลงสมณะเสียจาก

    ชีวิต
    เถิด.
    ครั้งนั้น องคุลิมาลโจรถือดาบและโล่ห์ผูกสอดแล่งธนู ติดตามพระผู้มีพระภาคไปทาง
    พระ

    ปฤษฎางค์. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงบันดาลอิทธาภิสังขาร
    โดยประการที่องคุลิมาลโจร
    จะวิ่งจนสุดกำลัง ก็ไม่อาจทันพระผู้มีพระภาคผู้เสด็จไปตาม

    ปกติ.

    ครั้งนั้น องคุลิมาลโจรได้มีความดำริว่า น่าอัศจรรย์จริงหนอ ไม่เคยมีเลยด้วยว่าเมื่อก่อน
    แม้ช้างกำลังวิ่ง ม้ากำลังวิ่ง รถกำลังแล่น เนื้อกำลังวิ่ง เราก็ยังวิ่งตามจับได้ แต่ว่าเราวิ่งจน

    สุดกำลัง ยังไม่อาจทันสมณะนี้ซึ่งเดินไปตามปกติ ดังนี้ จึงหยุดยืนกล่าวกะพระผู้มีพระ

    ภาคว่า
    จงหยุดก่อนสมณะ จงหยุดก่อนสมณะพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เราหยุดแล้ว องคุลิ

    มาล ท่านเล่า
    จงหยุดเถิด.


    องคุลิมาลโจรละพยศ
    [๕๒๕] ครั้งนั้น องคุลิมาลโจรดำริว่า สมณศากยบุตร

    เหล่านั้นมักเป็นคนพูดจริง
    มีปฏิญญาจริง แต่สมณะรูปนี้เดินไปอยู่เทียว กลับพูดว่า เรา

    หยุดแล้ว องคุลิมาล ท่านเล่าจง
    หยุดเถิด ถ้ากระไร เราพึงถามสมณะรูปนี้เถิด.
    ครั้ง

    นั้น องคุลิมาลโจรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถา ความว่า


    ดูกรสมณะ ท่านกำลังเดินไป ยังกล่าวว่า เราหยุดแล้ว และ
    ท่านยังไม่หยุด ยังกล่าว

    กะข้าพเจ้าผู้หยุดแล้วว่าไม่หยุด ดูกร
    สมณะ ข้าพเจ้าขอถามเนื้อความนี้กะท่าน ท่าน

    หยุดแล้วเป็น
    อย่างไร ข้าพเจ้ายังไม่หยุดแล้วเป็นอย่างไร?


    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    ดูกรองคุลิมาล เราวางอาชญาในสรรพสัตว์ได้แล้ว จึงชื่อว่า


    หยุดแล้วในกาลทุกเมื่อ ส่วนท่านไม่สำรวมในสัตว์ทั้งหลาย
    เพราะฉะนั้นเราจึงหยุดแล้ว

    ท่านยังไม่หยุด.
    องคุลิมาลโจรทูลว่า
    ดูกรสมณะ ท่านอันเทวดามนุษย์บูชาแล้ว

    แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
    มาถึงป่าใหญ่เพื่อจะสงเคราะห์ข้าพเจ้าสิ้นกาลนานหนอ ข้าพเจ้า


    นั้นจักประพฤติละบาป เพราะฟังคาถาอันประกอบด้วยธรรม
    ของท่าน

    องคุลิมาลโจรกล่าวดังนี้แล้ว ได้ทิ้งดาบและอาวุธ
    ลงในเหวลึกมีหน้าผาชัน
    องคุลิมาลโจรได้ถวายบังคมพระบาท
    ทั้งสองของพระสุคต แล้วได้ทูลขอบรรพชากะ

    พระสุคต ณ ที่


    นั้นเอง. ก็แลพระพุทธเจ้าผู้ทรงประกอบด้วยพระกรุณา ทรง
    แสวงหาคุณ

    อันยิ่งใหญ่ เป็นศาสดาของโลกกับทั้งเทวโลกได้


    ตรัสกะองคุลิมาลโจรในเวลานั้นว่า ท่านจงเป็นภิกษุมาเถิด
    อันนี้แหละเป็นภิกษุภาวะ

    ขององคุลิมาลโจรนั้น ดังนี้.
    ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีพระองคุลิมาลเป็น

    ปัจฉาสมณะ เสด็จจาริกไปทางพระนคร
    สาวัตถี เสด็จจาริกไปโดยลำดับ เสด็จถึงพระ

    นครสาวัตถีแล้ว.


    พระเจ้าปเสนทิโกศลเข้าเฝ้า
    [๕๒๖] ได้ยินว่า ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ

    พระเชตวัน อารามของท่าน
    อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ก็สมัยนั้น หมู่

    มหาชนประชุมกันอยู่ที่ประตูพระราชวัง
    ของพระเจ้าปเสนทิโกศล ส่งเสียงอื้ออึงว่า ข้าแต่

    สมมติเทพ ในแว่นแคว้นของพระองค์ มีโจร
    ชื่อว่าองคุลิมาล เป็นคนหยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อน

    เลือด ปักใจในการฆ่าตี ไม่มีความกรุณาในสัตว์
    ทั้งหลาย

    องคุลิมาลโจรนั้น กระทำบ้านไม่ให้เป็นบ้านบ้าง กระทำนิคมไม่ให้เป็นนิคมบ้าง
    กระทำ

    ชนบทไม่ให้เป็นชนบทบ้าง เขาเข่นฆ่าพวกมนุษย์แล้วเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงทรงไว้ ขอ
    พระองค์จงกำจัดมันเสียเถิด.

    ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จออกจากพระนครสาวัตถี ด้วยกระบวนม้าประมาณ
    ๕๐๐

    เสด็จเข้าไปทางพระอารามแต่ยังวันทีเดียว เสด็จไปด้วยพระยานจนสุดภูมิประเทศที่ยาน

    จะ
    ไปได้ เสด็จลงจากพระยานแล้ว ทรงพระราชดำเนินด้วยพระบาทเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ

    ภาคถึงที่
    ประทับ ครั้นแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.


    [๕๒๗] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะพระเจ้าปเสนทิโกศลผู้ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง
    หนึ่ง

    แล้วว่า ดูกรมหาบพิตร พระเจ้าแผ่นดินมคธจอมเสนา ทรงพระนามว่า พิมพิสาร ทรงทำ
    ให้พระองค์ทรงขัดเคืองหรือหนอ หรือเจ้าลิจฉวี เมืองเวสาลี หรือว่าพระราชาผู้เป็นปฏิปักษ์
    เหล่าอื่น?



    พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าแผ่นดินมคธ จอม
    เสนาทรงพระนามว่า พิมพิสาร มิได้ทรงทำหม่อมฉันให้ขัดเคือง แม้เจ้าลิจฉวีเมืองเวสาลี
    ก็มิได้ทรงทำให้หม่อมฉันขัดเคือง แม้พระราชาที่เป็นปฏิปักษ์เหล่าอื่น ก็มิได้ทำให้หม่อม

    ฉัน
    ขัดเคือง

    แต่ข้าพระองค์ผู้เจริญ ในแว่นแคว้นของหม่อมฉัน มีโจรชื่อว่าองคุลิมาล เป็นคน
    หยาบช้า มี

    ฝ่ามือเปื้อนเลือด ปักใจในการฆ่าตี ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย องคุลิมาล
    โจรนั้น

    กระทำบ้านไม่ให้เป็นบ้านบ้าง กระทำนิคมไม่ให้เป็นนิคมบ้าง กระทำชนบทไม่ให้
    เป็น

    ชนบทบ้าง เขาเข่นฆ่าพวกมนุษย์แล้วเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงทรงไว้ หม่อมฉันจักกำจัด
    มัน

    เสีย.


    ภ. ดูกรมหาราช ถ้ามหาบพิตรพึงทอดพระเนตรองคุลิมาลผู้ปลงผมและหนวด นุ่งห่ม
    ผ้า

    กาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เว้น
    จากการพูดเท็จ ฉันภัตตาหารหนเดียว ประพฤติพรหมจรรย์ มหาบพิตรจะพึงทรงกระทำ

    อย่างไร
    กะเขา?


    ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันพึงไหว้ พึงลุกรับ พึงเชื้อเชิญด้วยอาสนะ พึง
    บำรุงเขา

    ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หรือพึงจัดการรักษา
    ป้องกัน

    คุ้มครองอย่างเป็นธรรม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่องคุลิมาลโจรนั้น เป็นคนทุศีล
    มีบาปธรรม

    จักมีความสำรวมด้วยศีลเห็นปานนี้ แต่ที่ไหน?


    ทรงเห็นพระองคุลิมาลแล้วตกพระทัย
    [๕๒๘] ก็สมัยนั้น ท่านพระองคุลิมาล นั่งอยู่

    ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาค
    ทรงยกพระหัตถ์เบื้องขวาขึ้นชี้ตรัสบอกพระเจ้า

    ปเสนทิโกศลว่า ดูกรมหาราช นั่นองคุลิมาล.
    ลำดับนั้นพระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงมีความกลัว

    ทรงหวาดหวั่น พระโลมชาติชูชันแล้ว.

    พระผู้มี
    พระภาคทรงทราบว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงกลัว ทรงหวาดหวั่น มีพระโลมชาติ

    ชูชันแล้ว
    จึงได้ตรัสกะพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า อย่าทรงกลัวเลย มหาราช อย่าทรงกลัวเลย

    มหาราช
    ภัยแต่องคุลิมาลนี้ไม่มีแก่มหาบพิตร. ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงระงับ

    ความกลัว ความ


    หวาดหวั่น หรือโลมชาติชูชันได้แล้ว จึงเสด็จเข้าไปหาท่านองคุลิมาลถึงที่

    อยู่ ครั้นแล้วได้
    ตรัสกะท่านองคุลิมาลว่า ท่านผู้เจริญ พระองคุลิมาลผู้เป็นเจ้าของเรา.


    ท่านพระองคุลิมาลถวายพระพรว่า อย่างนั้น มหาราช.


    ป. บิดาของพระผู้เป็นเจ้ามีโคตรอย่างไร มารดาของพระผู้เป็นเจ้ามีโคตรอย่างไร?


    อ. ดูกรมหาบพิตร บิดาชื่อ คัคคะ มารดาชื่อ มันตานี.


    ป. ท่านผู้เจริญ ขอพระผู้เป็นเจ้าคัคคะมันตานีบุตร จงอภิรมย์เถิด ข้าพเจ้าจักทำ
    ความขวน

    ขวาย เพื่อจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร แก่พระผู้เป็นเจ้า
    คัคคะ

    มันตานีบุตร.
    ก็สมัยนั้น ท่านองคุลิมาล ถือการอยู่ในป่าเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาต

    เป็นวัตร ถือผ้า
    บังสุกุลเป็นวัตร ถือผ้าสามผืนเป็นวัตร. ครั้งนั้น ท่านองคุลิมาลได้ถวาย

    พระพรพระเจ้าปเสนทิ
    โกศลว่า อย่าเลย มหาราช ไตรจีวรของอาตมภาพบริบูรณ์แล้ว.


    [๕๒๙] ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
    บังคมพระผู้มีพระภาคแล้วจึงประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. แล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่
    พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์นัก ไม่เคยมีมา ที่พระผู้มีพระภาคทรงทรมานได้ซึ่งบุคคลที่

    ใครๆ
    ทรมานไม่ได้ ทรงยังบุคคลที่ใครๆ ให้สงบไม่ได้ ให้สงบได้ ทรงยังบุคคลที่ใครๆ

    ให้ดับไม่ได้
    ให้ดับได้
    เพราะว่าหม่อมฉันไม่สามารถจะทรมานผู้ใดได้ แม้ด้วยอาชญา แม้ด้วยศาตรา ผู้นั้น
    พระ

    ผู้มีพระภาคทรงทรมานได้โดยไม่ต้องใช้อาญา ไม่ต้องใช้ศาตรา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
    หม่อมฉันขอทูลลาไปในบัดนี้ หม่อมฉันมีกิจมาก มีกรณียะมาก

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ขอ
    มหาบพิตรจงทรงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด ลำดับนั้น พระ

    เจ้าปเสนทิโกศลเสด็จลุกจากที่
    ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วเสด็จหลีกไป.



    พระองคุลิมาลโปรดหญิงมีครรภ์
    [๕๓๐] ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระองคุลิมา

    ลครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรและจีวร
    เข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี. กำลังเที่ยว

    บิณฑบาตตามลำดับตรอกอยู่ในพระนครสาวัตถี



    ได้เห็นสตรีคนหนึ่งมีครรภ์แก่หนัก. ครั้นแล้วได้มีความดำริว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้า

    หมอง
    หนอ สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมองหนอ ดังนี้. ครั้งนั้น ท่านพระองคุลิมาลเที่ยว

    บิณฑบาต
    ในพระนครสาวัตถี เวลาปัจฉาภัตกลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ

    ภาคถึงที่ประทับ
    ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

    ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์
    ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เวลาเช้า ข้า

    พระองค์ครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรและจีวร
    เข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี กำลัง

    เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกอยู่ในพระนครสาวัตถี
    ได้เห็นสตรีคนหนึ่งมีครรภ์แก่หนัก.

    ครั้นแล้วได้มีความดำริว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมองหนอ
    สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมอง

    หนอ ดังนี้.


    [๕๓๑] พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ดูกรองคุลิมาล ถ้าอย่างนั้น เธอจงเข้าไปหาสตรีนั้น
    และกล่าวกะสตรีนนอย่างนี้ว่า ดูกรน้องหญิง ตั้งแต่เราเกิดมาแล้วจะได้รู้สึกว่าแกล้งปลง

    สัตว์
    จากชีวิตหามิได้ ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่าน ขอความสวัสดีจงมีแก่

    ครรภ์
    ของท่านเถิด.


    ท่านพระองคุลิมาลกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อาการนั้นจักเป็นอันข้าพระองค์
    กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่เป็นแน่ เพราะข้าพระองค์แกล้งปลงสัตว์เสียจากชีวิตเป็นอันมาก.


    ภ. ดูกรองคุลิมาล ถ้าอย่างนั้น เธอจงเข้าไปหาสตรีนั้น แล้วกล่าวกะสตรีนั้น
    อย่างนี้ว่า

    ดูกรน้องหญิง ตั้งแต่เราเกิดแล้วในอริยชาติ จะได้รู้สึกว่าแกล้งปลงสัตว์เสียจาก
    ชีวิตหามิได้

    ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่าน ขอความสวัสดีจงมีแก่ครรภ์ของ
    ท่านเถิด.


    พระองคุลิมาลทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว เข้าไปหาหญิงนั้นถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าว
    กะ

    หญิงนั้นอย่างนี้ว่า ดูกรน้องหญิง ตั้งแต่เวลาที่ฉันเกิดแล้วในอริยชาติ จะแกล้งปลงสัตว์
    จากชีวิตทั้งรู้หามิได้ ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่าน ขอความสวัสดีจงมีแก่

    ครรภ์
    ของท่านเถิด.
    ครั้งนั้น ความสวัสดีได้มีแก่หญิง ความสวัสดีได้มีแก่ครรภ์ของ

    หญิงแล้ว.





    พระองคุลิมาลบรรลุพระอรหัต
    [๕๓๒] ครั้งนั้น ท่านพระองคุลิมาล หลีกออกจากหมู่อยู่

    แต่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท
    มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่ไม่นานนัก ก็กระทำให้แจ้งซึ่ง

    ที่สุด พรหมจรรย์อันไม่มีธรรมอื่น
    ยิ่งกว่าที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวชเป็น

    บรรพชิตต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน
    แล้วเข้าถึงอยู่ ได้รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว

    พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่น
    เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกมิได้มี ดังนี้.

    ก็ท่านพระองคุลิมาลได้เป็นอรหันต์องค์หนึ่งในจำนวนพระ
    อรหันต์ทั้งหลาย.


    [๕๓๓] ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระองคุลิมาลนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไป
    บิณฑบาตใน

    พระนครสาวัตถี. ก็เวลานั้นก้อนดิน ... ท่อนไม้ ... ก้อนกรวดที่บุคคลขว้างไปแม้
    โดย

    ทางอื่นก็มาตกลงที่กายของท่านพระองคุลิมาล ท่านพระองคุลิมาลศีรษะแตก โลหิตไหล
    บาตรก็แตก ผ้าสังฆาฏิก็ฉีกขาด เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ.

    พระผู้มีพระภาคได้ทอด
    พระเนตรท่านพระองคุลิมาลเดินมาแต่ไกล
    ครั้นแล้วได้ตรัสกะท่านพระองคุลิมาลว่า เธอจงอด
    กลั้นไว้เถิดพราหมณ์ เธอจงอดกลั้นไว้

    เถิดพราหมณ์ เธอได้เสวยผลกรรมซึ่งเป็นเหตุ จะให้เธอ
    พึงหมกไหม้อยู่ในนรกตลอดปี

    เป็นอันมาก ตลอดร้อยปีเป็นอันมาก ตลอดพันปีเป็นอันมาก
    ในปัจจุบันนี้เท่านั้น.




    พระองคุลิมาลเปล่งอุทาน
    [๕๓๔] ครั้งนั้น ท่านพระองคุลิมาลไปในที่ลับเร้นอยู่

    เสวยวิมุติสุข เปล่งอุทานนี้ใน
    เวลานั้นว่า
    ก็ผู้ใด เมื่อก่อนประมาท ภายหลัง ผู้นั้น ไม่

    ประมาท เขา
    ย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง ดังพระจันทร์ซึ่งพ้นแล้วจากเมฆ ฉะนั้น


    ทำกรรมอันเป็นบาปแล้ว ย่อมปิดเสียได้ด้วยกุศล ผู้นั้น
    ย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง ดุจพระจันทร์

    ซึ่งพ้นแล้วจากเมฆ ฉะนั้น
    ภิกษุใดแล ยังเป็นหนุ่ม ย่อมขวนขวายในพระพุทธศาสนา






    ภิกษุนั้น ย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง ดุจพระจันทร์ซึ่งพ้นแล้วจากเมฆ
    ฉะนั้น ขอศัตรูทั้งหลายของ

    เรา จงฟังธรรมกถาเถิด ขอศัตรูทั้ง
    หลายของเรา จงขวนขวายในพระพุทธศาสนาเถิด ขอ

    มนุษย์ทั้ง
    หลายที่เป็นศัตรูของเรา จงคบสัตบุรุษผู้ชวนให้ถือธรรมเถิด
    ขอจงคบความ

    ผ่องแผ้วคือขันติ ความสรรเสริญคือเมตตาเถิด


    ขอจงฟังธรรมตามกาล และจงกระทำตามธรรมนั้นเถิด ผู้ที่เป็น
    ศัตรูนั้น ไม่พึงเบียดเบียน

    เราหรือใครๆ อื่นนั้นเลย ผู้ถึงความ
    สงบอย่างยิ่งแล้ว พึงรักษาไว้ซึ่งสัตว์ที่สะดุ้งและที่มั่นคง

    คนทด
    น้ำ ย่อมชักน้ำไปได้ ช่างศร ย่อมดัดลูกศรได้ ช่างถาก ย่อมถาก
    ไม้ได้ ฉันใด

    บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมทรมานตนได้ ฉันนั้น

    คน
    บางพวก ย่อมฝึกสัตว์ ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยขอบ้าง ด้วยแส้
    บ้าง
    เราเป็นผู้ที่พระผู้มีพระภาคทรงฝึกแล้ว โดยไม่ต้องใช้อาญา
    ไม่ต้องใช้อาวุธ เมื่อก่อน

    เรามีชื่อว่าอหิงสกะ แต่ยังเบียดเบียน
    สัตว์อยู่ วันนี้ เรามีชื่อตรงความจริง เราไม่เบียด

    เบียนใครๆเลย
    เมื่อก่อน เราเป็นโจร ปรากฏชื่อว่าองคุลิมาล ถูกกิเลสดุจ
    ห้วงน้ำใหญ่พัด

    ไป มาถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะแล้ว เมื่อก่อน
    เรามีมือเปื้อนเลือด ปรากฏชื่อว่า องคุลิมาล

    ถึงพระพุทธเจ้า
    เป็นสรณะ จึงถอนตัณหาอันจะนำไปสู่ภพเสียได้

    เรากระทำ
    กรรมที่จะให้ถึงทุคติเช่นนั้นไว้มาก อันวิบากของกรรมถูกต้อง
    แล้ว
    เป็นผู้ไม่มีหนี้ บริโภคโภชนะ พวกชนที่เป็นพาลทราม
    ปัญญา ย่อมประกอบตามซึ่งความ

    ประมาท ส่วนนักปราชญ์
    ทั้งหลาย ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้ เหมือนทรัพย์อัน


    ประเสริฐ ฉะนั้น ท่านทั้งหลาย จงอย่าประกอบตามซึ่งความ
    ประมาท

    อย่าประกอบตามความชิดชมด้วยสามารถความยินดี

    ในกาม เพราะว่าผู้ไม่ประมาทแล้ว

    เพ่งอยู่ ย่อมถึงความสุข
    อันไพบูลย์

    การที่เรามาสู่พระพุทธศาสนานี้นั้น เป็นการมาดีแล้ว

    ไม่คิดผิด บรรดาธรรมที่พระผู้
    มีพระภาคทรงจำแนกไว้ดีแล้ว เราก็ได้เข้าถึงธรรมอัน

    ประเสริฐ
    สุดแล้ว ( นิพพาน) การที่เราได้เข้าถึงธรรมอันประเสริฐสุดนี้
    นั้น
    เป็นการถึงดีแล้ว ไม่ปราศจากประโยชน์ ไม่เป็นการคิด
    ผิด วิชชา ๓ เราบรรลุแล้ว
    คำสอนของพระพุทธเจ้าเรากระทำ
    แล้วดังนี้.


    จบ อังคุลิมาลสูตร ที่ ๖.
     
  2. roserasa

    roserasa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    111
    ค่าพลัง:
    +243
    ท่านองคุลีมาล ไม่ได้บรรลุพระอรหันต์ในทันที แต่ภายหลังท่านมีความเพียร
    เจริญมรรคอยู่ ไม่ประมาท จึงบรรลุได้ ในเวลาต่อมา
    ดังนั้นการบรรลุธรรม ในฉับพลัน โดยไม่ต้องทำอะไรสักอย่าง
    ไม่ต้องภาวนาเลย ไม่มีทางทำได้ การสอนว่านิพพานอยู่แล้ว จึงเป็นไปไม่ได้
     
  3. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090
    การบรรลุธรรม ในฉับพลัน โดยไม่ต้องทำอะไรสักอย่าง
    ไม่ต้องภาวนาเลย การสอนว่านิพพานอยู่แล้ว


    อ่านแล้วก็งง ต้องการจะบอกอะไรหรือครับ?
    มีใครบอกว่านิพพานได้โดยไม่ต้องทำอะไรหรือครับ?
    ถ้าหมายถึงลัทธิอื่นก็ นานาจิตตัง ช่างเขาเถิดครับ
    ธรรมะของเราเรารู้ดีว่า จะนิพพานได้ต้องมีความเพียร
     
  4. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    เข้าใจว่า ที่คุณ rasa กล่าว คงหมายถึง ว่ามีตำราบางเล่ม กล่าวว่า พอพระพุทธเจ้าเทศน์จบ ทำให้ องคุลีมาลสำเร็จเป็นพระอรหันต์ทันที
    ซึ่งไม่ตรงความจริงกับในพระไตรปิฎกที่พระองคุลีมาล แค่สำนึกผิด แต่ยังไม่บรรลุอรหันต์ ต้องปฏิบัติธรรมไปสักพักหนึ่งแล้วจึงบรรลุอรหันต์ครับ
     
  5. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    นอกจากนี้ ยังมีตำราบางเล่มที่กล่าวไว้ผิดว่า

    พอพระองคุลีมาลสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว กรรมทั้งหลายที่เคยฆ่าคนนั้นก็กลายเป็นอโหสิกรรม ไม่ต้องชดใช้ผลจากการฆ่าคนใดๆ ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิด แท้จริงแล้ว หลังจากที่พระองคุลีมาลสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ท่านได้รับกรรมดังนี้

    เวลาไปไหน ก้อนดิน ... ท่อนไม้ ... ก้อนกรวดที่บุคคลขว้างไปแม้โดยทางอื่นก็มาตกลงที่กายของท่านพระองคุลิมาล ท่านพระองคุลิมาลศีรษะแตก โลหิตไหลบาตรก็แตก ผ้าสังฆาฏิก็ฉีกขาด

    พระพุทธเจ้าตรัสตรัสกะท่านพระองคุลิมาลว่า เธอจงอดกลั้นไว้เถิดพราหมณ์ เธอจงอดกลั้นไว้ เถิดพราหมณ์ เธอได้เสวยผลกรรมซึ่งเป็นเหตุ จะให้เธอ พึงหมกไหม้อยู่ในนรกตลอดปี เป็นอันมาก ตลอดร้อยปีเป็นอันมาก ตลอดพันปีเป็นอันมาก ในปัจจุบันนี้เท่านั้น.
     
  6. AYACOOSHA

    AYACOOSHA เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    368
    ค่าพลัง:
    +2,253
    ส่วนตัวผมเชื่อนะเรื่องการสำเร็จหลังจากฟังพระพุทธเจ้าเทศน์เสร็จ.....ดังตัวอย่างของท่านอื่นๆ.....แต่ก็ใช่ว่าจะไม่ได้ทำอะไรเลยนะ.....เพียงแต่เป็นการให้ผลของกรรมที่ไว้ในชาติก่อนๆ...จึงส่งผลให้ชาติสุดท้ายได้บรรลุธรรมเพียงแค่ฟังพระพุทธองค์เทศนาเพียงครั้งเดียว.....ยกตัวอย่างเช่นพระ ยสสะกุลบุตรเป็นต้น.....หรือถ้าไม่นับระดับถึงขั้น....อรหัตผลแล้วล่ะก็....ระดับตั้งแต่โสดาบันก็มีอยู่ในพุทธประวัติอีกมากมาย.....ยกตัวอย่างเช่นนางวิสาขาได้สำเร็จโสดาปัตติผลตั้งแต่อายุเพียงเจ็ดขวบ.....โดยส่วนตัวแล้วการที่คนเราได้ตั้งแต่โสดาปัตติผล.....ผมก็คิดว่ามันก็คือการได้บรรลุธรรมขั้นนึงแล้ว.....ส่วนจะได้ขั้นอื่นๆ....จนถึงขั้นสำเร็จเป็นพระอรหันต์ หรือไม่นั้นก็อยู่ที่ความเพียรพยายามของแต่ล่ะบุคคล.....ในส่วนที่กล่าวถึงพระองคุลีมารนั้นได้กล่าวไว้ชอบแล้ว....คือไม่ได้สำเร็จในทันที.....แต่ต้องมาฝึกอบรมบำเพ็ญเพียรภาวนาทางจิตจึงได้สำเร็จในตอนหลัง.....แต่ท่านเจ้าของกระทู้ไม่ควรกล่าวว่าไม่มีใครที่สามารถบรรลุธรรมได้เพียงแค่ฟังพระพุทธเจ้าเทศนาเพียงครั้งเดียว....เพราะมันเป็นเรื่องของแต่ล่ะบุคคลที่ได้กระมาในอดีตชาติ....ส่วนในปัจจุบันนี้คงจะเป็นไปได้ยากมากในเรืองนี้.....สวัสดี
     
  7. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    การบรรลุธรรมขัันอรหันต์ในฉับพลัน หลังจากพระพุทธเจ้าเทศน์จบ เท่าที่จำได้ก็มี
    ท่านพาหิยะ พระนางเขมา (มเหสีพระเจ้าพิมพิสาร ถ้าจำไม่ผิด) สันตติมหาอำมาตย์ (มีบันทึกในอรรถกถา) พระมหากัจจายนะ และอีกหลายท่านที่ไม่ระบุนาม

    แต่ท่านเหล่านี้เคยบำเพ็ญบารมีอย่างอุกฤติมาแล้วในชาติก่อน อย่างเช่น ท่านพาหิยะ เคยขึ้นไปปฏิบัติธรรมบนยอดเขากับเพื่อนเมื่อพุทธกาลที่แล้ว และตั้งสัจจะว่า ถ้าไม่บรรลุธรรมก็จะไม่กินอะไรเลย จนกระทั่งตายก็ไม่ได้บรรลุ พอมาชาตินี้ฟังธรรมแล้วบรรลุอรหันต์เลย แต่ก็เห็นด้วยกับ เจ้าของกระทู้ที่ว่า ไม่ทำอะไรเลยคงไม่บรรลุ แต่เข้าใจว่า ท่านพาหิยะ ท่านคงฟังธรรมไปปฏิบัติไปในขณะนั้นเลยบวกกับบารมีเก่าที่เต็มที่แล้ว จึงบรรลุอรหันต์ได้ทันทีหลังจากพระพุทธเจ้าเทศน์จบ
     
  8. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090
    ขอแสดงความคิดเห็นนะครับ
    การสำเร็จอรหันต์ไม่ใช่ว่ากรรมที่ทำไว้แล้วจะได้ชดใช้หมดสิ้นในช่วงที่จะอรหันต์
    แม้อรหันต์ไปแล้ว ถ้ายังมีชีวิต ก็ยังต้องรับวิบากกรรมต่อไป
    เช่น พระโมคคัลลานะ อรหันต์แล้ว แต่ภายหลังยังโดนไล่ฆ่าจนต้องละสังขาร
    เพราะเป็นวิบากกรรมที่เคยฆ่าพ่อฆ่าแม่ของตนในอดีตชาติ
    องคุลิมานเองถ้าหากไม่บรรลุธรรมสูงสุด
    หรืออย่างน้อยเป็นโสดาบันเสียก่อน
    มีโอกาสที่จิตเศร้าหมองได้ และหากพลาดลงนรกขึ้นมา
    กรรมที่ฆ่าคนมาถึง ๙๙๙ ศพ ก็ยังต้องชดใช้อยู่
    เพียงแต่ผลการกระทำการฆ่าคน ๙๙๙ คนนั้น
    ยังผลให้พ่อแม่พี่น้องผู้ตายโกรธแค้น แล้วกระทำการดังกล่าว(ปาหิน)
    ซึ่งเป็นผลกรรมที่ต้องชดใช้ในชาตินี้
    แต่เพราะองคุลิมานมีดวงตาเห็นธรรมแล้ว
    สำนึกในกรรมชั่วแล้ว ละวางจากความยึดมั่นในกรรมชั่วแล้ว
    ผู้มีจิตใจไม่เศร้าหมองไม่ยึดติดกรรมชั่วที่ตนเคยกระทำ
    ย่อมห่างจากอบายภูมิ ไม่ต้องไปชดใช่กรรมอีกต่อไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤศจิกายน 2013
  9. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    ถูกต้องครับ อย่าว่าแต่พระอรหันต์ทั่วๆไปเลยครับ แม้แต่พระพุทธเจ้ายังต้องรับกรรมเช่นกัน เช่น

    - โดนเทวทัตลอบฆ่าโดยเอาหินทุ่มจนสะเก็ดหินถูกเท้าห้อพระโลหิต เพราะชาติก่อนเคยเอาผลักน้องต่างแม่ลงเหวแล้วเอาหินทุ่มฆ่าให้ตายเพราะชิงสมบัติ
    - แผลที่โดนหินทุ่มนั้นกำเริบ เพราะชาติก่อนเคยเป็นทหารนำทัพฆ่าคนจำนวนมาก
    - กระหายน้ำสั่งพระอานนท์ไปตักน้ำแต่พระอานนท์ไม่ได้ตักให้ เพราะน้ำขุ่น จึงต้องให้ไปตักใหม่ เนื่องจากชาติก่อนเคยห้ามวัวที่หิวน้ำไม่ให้กินน้ำ เพราะน้ำขุ่น
    - ปวดหลังเพราะชาติก่อนเคย จงใจกระแทกหลังนักมวยปล้ำคู่แข่งจนหัก
    - ปวดพระเศียร ตอนพระวิฑูฑะภะฆ่าญาติชาวศากยะ เพราะชาติก่อนเคยเป็นลูกนักประมง แล้ว มีใจยินดีตอนที่ญาติฆ่าปลาได้เยอะ
    - ใช้เวลาค้นหาวิธีตรัสรู้อย่างลำบากนานถึง 6 ปี เพราะเคยไป บริภาษ พระพุทธเจ้าองค์ก่อนหน้านี้ (พระกัสสปะพุทธเจ้า) ว่า การตรัสรู้เป็นของยาก ท่านไปตรัสรู้ใต้ควงไม้โพธิ์ที่ไหนกัน
    ฯลฯ

    ส่วนกรรมที่ได้รับนั้น ไม่ใช่แค่ผู้ที่ญาติของตนเคยถูกโจรองคุลีมาลฆ่าตายเท่านั้นที่ปาหิน
    แม้แต่คนอื่น ที่ไม่ได้เจตนา จะปาท่าน พอปาหินไปทางอื่น แต่ด้วยอำนาจกรรมก็ทำให้ หินนั้นมาตกโดนท่านองคุลีมาล ด้วยเหมือนกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 20 พฤศจิกายน 2013
  10. roserasa

    roserasa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    111
    ค่าพลัง:
    +243
    ขอบพระคุณทุกความเห็นค่ะ สมัยนี้ มีการสอนที่บอกว่า ไม่ต้องเจริญมรรค เพราะเป็นการเจริญตัณหา บางที่ก็สอนแปลกๆ ว่านิพพานเป็นสถานที่ วิมาน มีการเข้าทรง ไม่ขอเอ่ยชื่อค่ะ จึงอยากให้สอนตามพุทธพจน์ ยึดอริยสัจเป็นหลักค่ะ เพื่อความถูกต้อง

    ท่านที่บรรลุธรรม ในขณะฟังธรรมจากพระศาสดามีหลายท่าน แต่ท่านต้องเจริญมรรคไปด้วยในขณะนั้นพร้อมๆกัน ไม่ใช่ฟังธรรมอย่างเดียว ต้องประกอบด้วย สมถะ และ วิปัสสนา ที่เข้าคู่กันได้อย่างแน่นแฟ้น สาธุค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...