เรื่องพิเศษ - รวมรวมบัญชี ช่วยเหลือน้ำท่วมปี 2554 และเรื่องต้องรู้เกี่ยวกับน้ำท่วม

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 9 ตุลาคม 2011.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    คิดดี : การซ่อมแซมบ้านหลังน้ำลด


    วิธีการซ่อมแซมบ้านหลังน้ำลดนั้น ไล่ตั้งแต่พื้น ผนัง หลังคา ซึ่งแต่ละพื้นที่มีความเสียหายไม่เท่ากัน บางพื้นที่น้ำเข้าท่วมภายในบ้าน บางพื้นที่น้ำไม่เข้า หรือเข้าถึงแล้วอาจมีระดับน้ำสูง-ต่ำไม่เท่ากัน ความเสียหายก็ไม่เท่ากัน โดยเราเริ่มตรวจสอบบ้านจาก ภายนอกบ้าน ก่อน คือ

    1. ถนนในบ้าน ถ้าหากเกิดการแตก ต้องลอกหน้าออกแล้วเทพื้นใหม่ แต่ต้องทำตอนที่ถนนและชั้นดินแห้งสนิท เพื่อไม่ให้ทรุดตัว

    2. ต้นไม้รอบบ้าน ไม่ว่าจะเป็นต้นหญ้า ต้นไม้ประดับ ต้องรื้อทิ้งแล้วปลูกใหม่ทั้งหมด เพราะต้นไม้ที่อยู่ในบริเวณที่น้ำเน่าเสียเป็นเวลานานนับเดือน มันจะส่งกลิ่นเหม็นเน่ามาก ยกเว้นในกรณีต้นไม้ที่ทนน้ำได้ เช่น ต้นโมก ต้นหูกระจง ต้นลีลาวดี เป็นต้น (บ้านผู้เขียนแถวแจ้งวัฒนะ 14 ต้นไม้เหล่านี้ยังสวยงามอยู่)

    3. อย่าลืมลงน้ำยาฆ่าปลวกใหม่ เพราะน้ำยาเดิมหรือผงหรือโฟมที่ฆ่าปลวกได้สลายไปหลังน้ำลดแล้ว ปลวกต้องกลับมาใหม่แน่นอน

    4. งานไฟฟ้านอกตัวบ้าน ควรรื้อและทำใหม่

    5. งานสีผนังภายนอก ห้ามทาทันที ต้องล้างบริเวณที่ล้างตะไคร่คราบสกปรก และควรจะขูดออกก่อนและทิ้งไว้ให้แห้ง ก่อนที่จะทารองพื้นปูนเก่าและทาสีจริงทับอีกสองเที่ยว

    6. บ่อพักภายนอกต้องดูดน้ำทิ้งออกให้หมด ล้างโคลนออกและกำจัดเศษขยะให้สะอาด

    7. ถังบำบัดของเสีย ต้องดูดทิ้งและใส่จุลินทรีย์เพิ่ม

    8. ถังเก็บน้ำใต้ดิน ควรจะเลิกใช้และให้ใช้ถังเก็บน้ำบนดินแทน

    9. ควรตรวจประตูรั้วด้วย สำหรับที่เป็นเหล็กก็ขูดสนิมออกให้หมด แล้วทาสีใหม่ ส่วนบานพับก็หาน้ำมันหล่อลื่นมาหยอดเพื่อที่จะได้เปิด-ปิดได้สะดวก ถ้าหากเป็นประตูรีโมตรั้ว ต้องควรระวังไฟรั่ว และเรียกช่างมาเปลี่ยนใหม่

    ภายในบ้าน


    1. พื้นบ้านล้างให้สะอาด ถ้าเป็นพื้นกระเบื้อง หากไม่แตกก็สามารถใช้งานได้ตามปกติ แต่หากเกิดการแตกของกระเบื้องต้องลอกทิ้งเกือบทั้งหมด หรือทั้งหมด และทิ้งให้พื้นแห้งและลอกหน้า ก่อนปูกระเบื้องใหม่

    2. พื้นไม้ปาร์เกต์ ไม้จะหลุดล่อนง่ายเมื่อโดนน้ำท่วม เพราะติดกับพื้นคอนกรีตด้วยกาว วิธีแก้ก็คือ ถ้าแผ่นปาร์เกต์ไม่เสียหายมากก็ผึ่งลมให้แห้งก่อน รวมถึงพื้นคอนกรีตด้วย แล้วจึงทาด้วยกาวลาเท็กซ์ หนา 1-2 มิลลิเมตร ค่อย ๆ กดลงไปที่เดิมให้แน่น ทิ้งไว้อย่างน้อย 15 วันจึงใช้งานได้ ถ้าเสียหายมากจะเปลี่ยนใหม่ต้องใช้ไม้ชนิดเดียวกับของเดิม

    3. ผนังแตกร้าวต้องโป๊ว putty หรืออะคริลิก ทาสีใหม่ทั้งหมด แต่ต้องล้างทำความสะอาด ทิ้งไว้ให้แห้งก่อนเริ่มลงมือทำ

    4. วอลเปเปอร์ต้องลอกทิ้ง ติดตั้งใหม่ โดยเฉพาะบริเวณที่มีเชื้อรา ต้องขูดออกทั้งหมด

    5. ผนังเบาที่เกิดอาการปูดบวม ให้เจาะซ่อมและทาสีใหม่

    6. หลังคารั่วก็ต้องเช็กความชัน ว่าชันถูกต้องไหม ถ้าน้อยไปให้แก้ที่จันทัน เก้าจันทันได้ ต้องไปรื้อแผ่นที่มีปัญหา แก้ทีละจุด บางที่อาจจะรั่วจากลูกหมุนระบายอากาศ ต้องติดแผ่นรองข้างใต้หลังคา

    7. สุขภัณฑ์ ท่อน้ำทิ้งให้หยอดจุลินทรีย์ ล้างท่อและขัดให้สะอาด ถ้าแตกต้องเปลี่ยนใหม่

    8. กรณีที่น้ำท่วมถึงฝ้า ถ้าเป็นฝ้าเพดานยิปซัมบอร์ด หรือกระดาษอัด ถ้าเปื่อยยุ่ยมากเพราะอมน้ำ ก็ควรเลาะออกแล้วจึงเปลี่ยนแผ่นใหม่เลย ทิ้งไว้ให้ทั้งหมดแห้งสนิทจริง ๆ แล้วจึงทาสีทับ อย่างเช่น ลำลูกกา บางบัวทอง

    9. ประตูภายใน ถ้าเป็นไม้จริงแช่น้ำไม่นานมาก ก็รอให้ไม้หดตัว ขัดลอกสีเก่าแล้วทาสีใหม่แค่นี้ก็สามารถใช้งานได้แล้ว หากประตูเกิดอาการบิดตัวมาก ก็ต้องเปลี่ยนใหม่ ประตูที่ทำจากไม้อัด จะลอกหน้าบิดหมดต้องเปลี่ยนใหม่

    10. เช็กระบบงาน ซีซีทีวี งานประตู รีโมต ไฟฟ้าสำรอง ปั๊มน้ำ ต้องตรวจสอบว่าต้องซ่อมแซมหรือซื้อใหม่อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ เช่น เครื่องซักผ้า ตู้เย็น เตาอบ โต๊ะ-เก้าอี้ ฯลฯ เขื่อนกั้นรอบบ้าน ก่อนอื่นต้องทิ้งเอาไว้ให้แห้งสนิทจริง ๆ บางส่วนถึงถอดออกได้ ก็ควรเปิดออกมาตากลมให้แห้งก่อน และถ้าแห้งสนิทแล้ว ก็ลองเปิดเครื่องดู ถ้ามีความผิดปกติก็ควรดับเครื่องทันที หากผุมากจนใช้การไม่ได้ก็ขายซาก ถ้าซ่อมได้ก็ซ่อม แต่ต้องระวังสัตว์ร้ายต่าง ๆ ที่แอบแฝงหรือซ่อนอยู่ตามตู้ตามซอกต่าง ๆ ภายในบ้านด้วย.

    ภาณุวัฒน์ สินธวัชต์
    ณัฐพล ปิยะตันติ
    -lifeimage_ar@yahoo.com-

    -http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=494&contentId=177956-

    .
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    [FONT=Tahoma,]ดูแลสุขภาพจิตในภาวะน้ำท่วม

    คอลัมน์ สดจากจิตวิทยา
    นฤภัค ฤธาทิพย์/กรมสุขภาพจิต


    สถานการณ์ น้ำในปัจจุบันได้ท่วมไปทั่วทุกพื้นที่ ส่งผลให้แต่ละคนต่างเครียด วิตกกังวล และตื่นตกใจไปกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น กรมสุขภาพจิตได้ให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพจิตตนเองที่สำคัญคือ

    1.สำรวจอารมณ์ตนเอง สร้างความพร้อมทางจิตใจ เมื่อเกิดปัญหาการมองโลกในแง่ร้าย การคิดถึงแต่เรื่องร้าย จะเพิ่มความกดดัน จึงควรสำรวจจิตใจตนเองเรียกสติให้คืนมาโดยการนับลมหายใจ จะช่วยให้จิตใจสงบและสามารถยอมรับเพื่อเผชิญกับปัญหาได้ดีขึ้น

    2.ยอมรับและเผชิญความจริงเพื่อแก้ปัญหา เมื่อมีจิตใจที่สงบเพียงพอจะสามารถยอมรับและเผชิญกับปัญหาได้มีประสิทธิภาพ มากขึ้น ให้พยายามคิดถึงการคลี่คลายปัญหาทีละขั้นตอน โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของชีวิตเป็นสำคัญ จากนั้นจึงหาวิธีดูแลทรัพย์สินเท่าที่ทำได้

    3.มีเครือข่ายร่วมแก้ปัญหา การแสวงหาเครือข่ายการให้ความช่วยเหลือแก่กัน การดูแลกันของครอบครัว เพื่อนบ้าน ชุมชนเป็นวิธีการสำคัญที่ช่วยให้มีพลังมากขึ้น

    4.ผ่อนคลายความตึงเครียดด้วยวิธีที่เหมาะสม ดูแลสุขภาพและพักผ่อนให้เพียงพอ การเผชิญปัญหา ร่างกายจะเกิดความอ่อนล้า จึงจำเป็นจะต้องดูแลสุขภาพให้แข็งแรง รับประทานอาหารและพักผ่อนให้เพียงพอ
    [/FONT]


    -http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3dPREkyTVRFMU5BPT0=&sectionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1TMHhNUzB5Tmc9PQ==-


    .
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เตือนภัย : เฟอร์นิเจอร์ หลังน้ำลด เสี่ยงล้มทับ พังถล่ม



    เตือนภัย : เฟอร์นิเจอร์ หลังน้ำลด เสี่ยงล้มทับ พังถล่ม (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย)

    กระทรวง มหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เตือนอันตรายจากการนำเฟอร์นิเจอร์ที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมมาใช้งาน พร้อมแนะให้รีบขจัดความชื้น และตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงก่อนนำมาใช้งาน โดยเฉพาะเฟอร์นิเจอร์ประเภทที่ติดกับผนัง ให้ตรวจสอบระบบไฟฟ้า เพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูด ไฟฟ้าช็อต

    นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เตือนอันตรายจากการนำเฟอร์นิเจอร์ที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมมาใช้งาน เพราะเฟอร์นิเจอร์ที่แช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานาน จะผุพัง และไม่แข็งแรง หากนำมาใช้งานโดยไม่แก้ไขให้ถูกวิธีและประเภทของเฟอร์นิเจอร์ จะก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้งานได้ โดยภายหลังน้ำลด ให้รีบขจัดความชื้นออกจากเฟอร์นิเจอร์ให้ได้มากที่สุด พร้อมตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงก่อนนำมาใช้งาน โดยเฉพาะ

    เฟอร์นิเจอร์ประเภทที่ติดกับผนัง (Built In) ที่อาจทรุดตัวหรือพังถล่มลงมา ควรตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้าง ซึ่งต้องยึดติดกับผนังและพื้นบ้านอย่างแน่นหนา รวมถึงตรวจสอบระบบไฟฟ้า เพราะสายไฟที่ติดมากับเฟอร์นิเจอร์จะเปื่อยยุ่ย และหลุดลอก เมื่อเปิดใช้งาน จะมีกระแสไฟฟ้ารั่วไหล ทำให้ได้รับอันตรายจากไฟฟ้าดูด ไฟฟ้าช็อตได้ ควรให้ช่างไฟฟ้ามาตรวจสอบและแก้ไขให้อยู่ในสภาพปลอดภัย

    เฟอร์นิเจอร์ไม้ ห้ามนำไปตากแดดอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้บิด งอ บวม และแตกหักได้ง่าย หากนำมาใช้งาน อาจได้รับอันตราย ควรนำไปวางไว้ในที่ร่ม ซึ่งอากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อระบายความชื้นที่อยู่ในไม้ ในการทดสอบความชื้นในไม้ ให้ใช้แผ่นพลาสติกและแผ่นเทปกาวปิดไว้กับเฟอร์นิเจอร์ประมาณ 1 – 2 วัน หากยังมีไอน้ำแสดงว่ายังมีความชื้นอยู่

    เฟอร์นิเจอร์ ประเภทโลหะ เช่น เหล็ก ทองแดง ทองเหลือง อาจเป็นสนิทได้ ให้ขัดสนิมออกและหมั่นสังเกตเฟอร์นิเจอร์ หากผุกร่อนบริเวณข้อต่อหรือบานพับเปิดปิด ให้ทำการซ่อมแซมและแก้ไข

    เฟอร์นิเจอร์ประเภท ที่บุด้วยผ้านวม หรือนุ่น ห้ามนำกลับมาใช้งานอีก เพราะแม้จะตากแดดแห้งแล้ว ก็ยังเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค ที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ
    <hr align="center" size="2" width="100%">
    ขอขอบคุณข้อมูลจาก

    กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

    วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

    -http://icare.kapook.com/content_detail.php?t_id=0&id=3244-

    .
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    การฟื้นฟูและทำความสะอาดภายหลังเหตุการณ์น้ำท่วม (ตอนที่ 1)


    การฟื้นฟูและทำความสะอาดภายหลังเหตุการณ์น้ำท่วม (ตอนที่ 1)

    โดย ปราโมทย์ โอภาสมงคลชัย

    น้ำ ท่วมนอกจากจะก่อให้เกิดความเสียหายนานับประการกับทรัพย์สินแล้ว มากไปกว่านั้นยังส่งผลต่อการติดเชื้อ และโรคร้ายต่างๆที่มากับน้ำ ตลอดจนแมลง สัตว์ กัด ต่อย เช่น ยุง หรือแม้กระทั่งสุนัข แมว หนูที่เกิดความเครียดไม่แพ้กับคนก็อาจจะเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของโรคพิษสุนัข บ้า(Rabies) ได้ ที่นำไปสู่การเป็นอัมพาตที่กล้ามเนื้อ และระบบทางเดินหายใจ

    สิ่งแรกที่ต้องคิดคือการปกป้องตัวของเราเอง (Protect Yourself)

    ทุกครั้งที่ทำความสะอาด ฟื้นฟูสภาพต่างๆภายหลังน้ำท่วม สิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ โดยให้น้ำไหลผ่าน โดยเฉพาะช่วงพักเบรก พักรับประทานอาหาร หรือภายหลังเลิกงาน และต้องมั่นใจด้วยว่าน้ำที่เอามาล้างต้องสะอาดและได้รับการับรอง หรือผ่านการต้มเดือดนานเกินกว่า 10 นาที

    พนักงานที่ทำหน้าที่ทำความสะอาดและฟื้นฟูจะต้องสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล (PPE) ในการปกคลุมร่างกาย โดยต้องเข้าใจว่าสารปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกายได้ 3 ทาง คือ การสัมผัสร่างกาย หายใจ และกลืนกิน อุปกรณ์พื้นฐานประกอบไปด้วย ชุดคลุมร่างกาย, ครอบตานิรภัย, ถุงมือยาง, รองบู้ท และอุปกรณ์อื่นๆเพิ่มเติมที่ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน

    น้ำท่วม (Flood water)

    ส่วนใหญ่น้ำท่วมจะมีพวกจุลชีพ รวมไปถึงเชื้อแบคทีเรีย เช่น E. coli, Salmonella และ Shigella; ไวรัสตับอักเสบ A (Hepatitis A Virus) เชื้อไทฟรอย์ กับพาราไทฟรอย์ (Typhoid and paratyphoid) และ บาดทะยัก (tetanus) สัญญาณที่บ่งบอกว่าเราเริ่มจะเป็นผู้ป่วยแล้ว คือ คลื่นไส้ (nausea), อาเจียน (vomiting), ท้องเสีย (diarrhea), ตะคริวที่ท้อง (Abdominal cramps), ปวดกล้ามเนื้อ (muscle aches) และมีไข้ (fever) อาการเหล่านี้ส่วนใหญ่เกิดจากการกลินกินน้ำที่ท่วมโดยที่ไม่ตั้งใจจากการ เปื้อนที่มือ หรือภาชนะและหยิบจับมารับประทาน แต่บาดทะยัก (Tetanus) จะเกิดจากการที่เชื้อแบคทีเรียแกรมบวกชนิดที่ไม่ต้องการออกซิเจนชื่อว่า Clostridium tetani แทรก ซึมเข้าไปในชั้นของผิวหนังที่ฉีกขาด ขีดข่วน ถลอก หรือเป็นแผล บาดทะยักเป็นเชื้อที่มีผลต่อระบบประสาท และกล้ามเนื้อในส่วนต่างๆ โดยอาการเริ่มแรกจะมีอาการปวดศีรษะก่อน และจะเริ่มกลืนกินลำบาก และอ้าปากไม่ได้ ซึ่งแท้ที่จริงไม่ใช้เกิดจากเหล็กที่มีสนิมแต่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ ตะหาก

    นอก จากนี้น้ำท่วมยังมีการปนเปื้อนของเสียจากการเกษตร และสารเคมีจากอุตสาหกรรม ผู้ป่วยจะมีอาการตามชนิดของสารเคมีที่สัมผัส โดยส่วนใหญ่จะมีอาการที่เกิดจากแพ้พิษสารเคมี ปวดศีรษะ เป็นผดที่ผิวหนัง คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย หรือตื่นตระหนกตกใจ

    การฟื้นฟู และทำความสะอาดภายหลังน้ำท่วม (Flood Cleanup and recovering)

    แม้ว่าน้ำท่วมส่วนใหญ่จะไม่ทำให้เกิดโรคระบาดร้ายแรง หรือเกิดพิษจากสารเคมีมากนัก แต่ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการเจ็บป่วยของผู้ปฏิบัติงานที่สัมผัสกับมัน อันเกิดจากอันตรายจากไฟฟ้า และอัคคีภัยได้จากการเชื่อมโยงกับสายไฟฟ้า

    ยุง และแมลงกัดต่อยสามารถป้องกันได้โดยการสวมเสื้อคลุมยาว (long-sleeved shirts) และ กางเกงขายาวคลุม (long pants) และ ยาทา หรือฉีดกันยุงพอช่วยได้บ้าง อย่าลืมล้างมือด้วยน้ำสะอาดด้วยสบู่ก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง และภายหลังการเข้าห้องน้ำ สำหรับเด็กเล็กต้องป้องกันไม่ให้เข้าไปเล่นในที่น้ำท่วมโดยเด็ดขาด และของเล่นที่โดนน้ำท่วมต้องล้างให้สะอาด และฆ่าเชื้อด้วย

    ถ้ามีอาการตามที่กล่าวมา

    ให้ปฐมพยาบาลเบื้องต้น และไปพบแพทย์ ถ้าพบบาดแผลฉีกขาด ถลอก ที่อาจนำไปสู่การเป็นบาดทะยักจำเป็นต้องรับวัคซีนป้องกันการเกิดบาดทะยัก ถ้าวัคซีนที่เคยได้รับมาแล้วนานกว่า 5 ปี

    จำไว้ว่า

    • ก่อนที่จะเข้าทำงานในพื้นที่น้ำท่วม ต้องแน่ใจว่าวัคซีนที่เราเคยได้รับจากการป้องกันเชื้อบาดทะยักยังมีภูมิ ป้องกันให้เราอยู่
    • น้ำมีความไม่ปลอดภัย จนกว่าได้รับการประกาศ ยืนยัน และได้รับการรับรองแล้วจากเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจในท้องถิ่น
    • ไม่ใช้น้ำเหล่านี้ชำระล้างร่างกาย ภาชนะ เตรียมอาหาร แปรงฟัน หรือทำน้ำแข็ง
    • เตรียมน้ำสะอาดให้เพียงพอสำหรับบริโภค และอุปโภค
    • กระตือรือร้นในการป้องกันในกรณีที่สารเคมีปนเปื้อน หรือเชื้อโรคมากับน้ำท่วม
    • ทำ ป้ายเตือนในพื้นทีที่อาจมีความเสี่ยงจากสารเคมี ไฟฟ้า อัคคีภัย เช่น ถังโพรเพน หรือวัตถุมีพิษ หรือไวไฟควรได้รับการดำเนินการป้องกันโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    <hr align="center" size="2" width="100%">
    ขอขอบคุณข้อมูลจาก

    Blog : Safety Officer Thailand

    วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

    -http://icare.kapook.com/content_detail.php?t_id=0&id=3242-

    .
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    การฟื้นฟูและทำความสะอาดภายหลังเหตุการณ์น้ำท่วม (ตอนที่ 2)



    การฟื้นฟูและทำความสะอาดภายหลังเหตุการณ์น้ำท่วม (ตอนที่ 2)

    โดย ปราโมทย์ โอภาสมงคลชัย

    จาก ตอนที่แล้วเราทราบแล้วว่าน้ำท่วมทำให้เกิดโรคร้ายที่ตามมาเช่น บาดทะยัก ฉี่หนู ไทฟอยด์ ไวรัสตับอักเสบ ไข้หวัดชนิดต่างๆ สำหรับตอนที่ 2 นี้เราจะเพิ่มสิ่งที่ควรระมัดระวังขึ้นอีก คือ “เชื้อ รา (fungi)” ที่ เป็นสาเหตุให้เกิดการเจ็บป่วยได้ เชื้อราเกิดขี้นบนพื้นผิวของวัสดุ และโครงสร้างต่างๆที่ถูกทำลาย หรือปนเปื้อนจากน้ำท่วม หรือการเน่าของผัก ขยะ ซากต่างๆ เชื้อราสามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจของเราได้จากการหายใจเข้า แต่อย่างไรก็ตามเชื้อราส่วนใหญ่ไม่มีอันตรายร้ายแรงนัก แต่บางชนิดก็ก่อให้เกิดความผิดปกติต่อระบบทางเดินหายใจได้ โดยเฉพาะกับผู้ที่ปฏิบัติงานฟื้นฟู ซ่อมแซมภายหลังภาวะน้ำท่วมที่อาจมีอาการแพ้ได้ เช่น หอบ หืด หายใจลำบาก ระคายตา หายใจมีเสียงวี๊ดๆ ในกรณีที่เป็นโรคภูมิแพ้อยู่แล้วจะเกิดได้รุนแรงมากขึ้น ดังนั้นหน้ากาก ถุงมือ และอุปกรณ์ป้องกันดวงตาจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ และต้องสัมผัสกับสิ่งเหล่านี้ให้น้อยที่สุด การสัมผัสนานๆและบ่อยๆ อย่างต่อเนื่องและมีเหงื่อออกด้วยอาจนำไปสู่การติดเชื้อที่ผิวหนังได้ แต่ปัญหาเหล่านี้สามารถบรรเทาลงได้โดยการทำความสะอาดร่างกายอย่างถูกวิธี ด้วยน้ำอุ่น และสบู่อ่อนๆ แล้วเช็ดให้แห้ง

    จำไว้ว่า


    - ต้องหลีกเลี่ยง เชื้อราที่เกิดจากต้นเหตุที่กล่าวมา
    - ใช้หน้ากากมาตรฐาน N-95 NIOSH
    - ทิ้งของเสียทั้งหมดที่ชำรุด เพื่อลดการติดเชื้อ ถ้าอันไหนไม่มั่นใจก็ให้ทิ้งไป
    - พื้นผิวใดที่มีราไม่มากนักให้ขัดออกด้วยน้ำอุ่น และน้ำยาฆ่าเชื้อ
    - ภายหลังเสร็จงานให้ล้างนิ้ว มือและหนังศีรษะด้วย
    - ถ้าพบว่าอาหารและน้ำดื่มมีการปนเปื้อนให้ทิ้งไป

    สำหรับผู้ปฏิบัติงานให้พิจารณาสิงต่อไปนี้


    - ถ้าน้ำท่วมถึงขนาดที่ทำลายบ้านเรือนได้ ย่อมมีโอกาสที่เชื้อราเติบโตได้มากให้ปรึกษาบริษัทประกัน หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านเชื้อรา
    - ต้อง สวมใส่หน้ากากมาตรฐาน NIOSH-approved Respiratory มาตรฐาน N-95 ตามข้อกำหนด ของ OSHA’s Respiratory Protection Standard (29CFR 1910.134) และสวมใส่ถุงมือยาง และแว่นตานิรภัย
    - กำจัดซากที่เปียกชื้น และมีเชื้อราโดยทิ้งในถุง และผูกให้เรียบร้อย หรือถุงที่ปิดฝามิดชิด
    - ถอด และทิ้งพวกวัสดุที่ทำงานสารอินทรีย์และมีพื้นผิวเป็นรูพรุน (porous organic materials) เพราะพวกนี้จะปนเปื้อนไปด้วยเชื้อราจำนวนมาก เช่น ฉนวน ระบบระบายอากาศ พรม เบาะ และที่นอน
    - ทำความสะอาดพวกวัสดุที่ไม่ทำจากสารอินทรีย์ (non-porous organic materials) ด้วยผงซักฟอก หรือคลอรีนเจือจาง
    - การ ใช้สารเคมีในการกำจัดเชื้อเหล่านี้ อย่าลืมสวมหน้ากาก NIOSH-approved ที่เหมาะสมและใช้คู่กับตลับกรองอากาศที่ถูกต้องตามชนิดของสารเคมี อย่าลืมแว่นตานิรภัย และถุงมือด้วยครับ
    <hr align="center" size="2" width="100%">
    ขอขอบคุณข้อมูลจาก

    Blog : Safety Officer Thailand

    วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

    -http://icare.kapook.com/content_detail.php?t_id=0&id=3243-

    .
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    เตือนภัยฤดูหนาวสภาพอากาศแห้งเสี่ยงเพลิงไหม้






    [​IMG]
    เตือนภัยฤดูหนาวสภาพอากาศแห้งเสี่ยงเพลิงไหม้ (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย)

    กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย เตือนฤดูหนาวสภาพอากาศแห้งเสี่ยงเพลิงไหม้สูง พร้อมแนะประชาชนเพิ่มความระมัดระวังในการประกอบกิจกรรมเกี่ยวกับไฟทุกประเภท ปิดสวิทซ์ไฟ ถอดปลั๊กไฟ ปิดวาล์วถังก๊าซหุงต้มให้สนิททุกครั้ง กรณีก่อกองไฟ เผาขยะ สูบบุหรี่ จุดธูปเทียนบูชาพระ ควรดับไฟให้สนิท ตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย ติดตั้งระบบป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร พร้อมจัดสิ่งของภายในบ้านให้เป็นระเบียบ ไม่กีดขวางทางหนีไฟ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยในช่วงฤดูหนาว

    นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า สภาพ อากาศในฤดูหนาวจะแห้งแล้ง มีความชื้นต่ำ และลมกระโชกแรง ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยมากกว่าปกติ เมื่อเกิดเพลิงไหม้จึงลุกลามอย่างรวดเร็วและยากต่อการควบคุม กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จึงขอเตือนประชาชนให้เพิ่มความระมัดระวังในการประกอบกิจกรรมเกี่ยวกับไฟทุก ประเภท ดับไฟ ธูปเทียนให้เรียบร้อย ปิดสวิทซ์ไฟ ถอดปลั๊กไฟ และปิดวาล์วถังก๊าซหุงต้มให้สนิททุกครั้ง ห้ามเปิดใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าทิ้งไว้ เช่น เครื่องต้มน้ำไฟฟ้า เปิดพัดลม เป็นต้น ไม่ปล่อยให้ถ่านในเตาไฟมอดดับไปเองอย่างเด็ดขาด ไม่อุ่นอาหารทิ้งไว้ ดับก้นบุหรี่ให้สนิท ไม่โยนก้นบุหรี่ที่ยังไม่ดับลงบนพื้นบ้าน กองหญ้า หรือแหล่งเชื้อเพลิงอย่างเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ ไม่เผาขยะและหญ้าแห้งในที่โล่งแจ้งบริเวณที่มีลมพัดแรง และดูแลอย่างใกล้ชิด พร้อมจัดเตรียมถังใส่น้ำไว้ใกล้ๆ เพื่อป้องกันไฟลุกลาม พร้อมตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าและสายไฟฟ้าให้อยู่สภาพปลอดภัย หาก ตรวจสอบพบว่าชำรุดให้รีบซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่ในทันที ไม่เสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิดในเต้าเสียบเดียวกัน เพิ่มความระมัดระวังในการก่อกองไฟเพื่อผิงไฟให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ห้ามก่อกองไฟบริเวณใกล้บ้าน ที่นอน พงหญ้าแห้ง เพราะสะเก็ดไฟอาจกระเด็นไปติด ทำให้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นได้ ควรดับไฟให้สนิทก่อนเข้านอน เพราะหากเผลอหลับในขณะที่ไฟยังติดอยู่ อาจถูกไฟคลอกเสียชีวิตได้ สุดท้ายนี้ เพื่อลดความเสี่ยงและความสูญเสียที่เกิดจากอัคคีภัย ควรติดตั้งระบบป้องกันเพลิงไหม้ และเครื่องดับเพลิงไว้ประจำบ้าน โดยติดตั้งไว้ในจุดที่สามารถใช้งานได้ง่าย รวม ทั้งจัดสภาพบ้านเรือนให้เป็นระเบียบเรียบร้อย กำจัดวัสดุที่เป็นเชื้อเพลิง จัดเก็บสิ่งของให้เป็นระเบียบไม่กีดขวางประตู เส้นทางอพยพหนีไฟ หากเกิดเพลิงไหม้จะได้อพยพหนีไฟได้ทันท่วงที
    <hr align="center" size="2" width="100%">
    ขอขอบคุณข้อมูลจาก

    กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

    วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2554


    -http://icare.kapook.com/content_detail.php?t_id=0&id=3241-

    .
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border:1px inset"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    .

    เตือนภัยฤดูหนาวสภาพอากาศแห้งเสี่ยงเพลิงไหม้






    [​IMG]
    เตือนภัยฤดูหนาวสภาพอากาศแห้งเสี่ยงเพลิงไหม้ (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย)

    กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย เตือนฤดูหนาวสภาพอากาศแห้งเสี่ยงเพลิงไหม้สูง พร้อมแนะประชาชนเพิ่มความระมัดระวังในการประกอบกิจกรรมเกี่ยวกับไฟทุกประเภท ปิดสวิทซ์ไฟ ถอดปลั๊กไฟ ปิดวาล์วถังก๊าซหุงต้มให้สนิททุกครั้ง กรณีก่อกองไฟ เผาขยะ สูบบุหรี่ จุดธูปเทียนบูชาพระ ควรดับไฟให้สนิท ตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย ติดตั้งระบบป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร พร้อมจัดสิ่งของภายในบ้านให้เป็นระเบียบ ไม่กีดขวางทางหนีไฟ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยในช่วงฤดูหนาว

    นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า สภาพ อากาศในฤดูหนาวจะแห้งแล้ง มีความชื้นต่ำ และลมกระโชกแรง ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยมากกว่าปกติ เมื่อเกิดเพลิงไหม้จึงลุกลามอย่างรวดเร็วและยากต่อการควบคุม กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จึงขอเตือนประชาชนให้เพิ่มความระมัดระวังในการประกอบกิจกรรมเกี่ยวกับไฟทุก ประเภท ดับไฟ ธูปเทียนให้เรียบร้อย ปิดสวิทซ์ไฟ ถอดปลั๊กไฟ และปิดวาล์วถังก๊าซหุงต้มให้สนิททุกครั้ง ห้ามเปิดใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าทิ้งไว้ เช่น เครื่องต้มน้ำไฟฟ้า เปิดพัดลม เป็นต้น ไม่ปล่อยให้ถ่านในเตาไฟมอดดับไปเองอย่างเด็ดขาด ไม่อุ่นอาหารทิ้งไว้ ดับก้นบุหรี่ให้สนิท ไม่โยนก้นบุหรี่ที่ยังไม่ดับลงบนพื้นบ้าน กองหญ้า หรือแหล่งเชื้อเพลิงอย่างเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ ไม่เผาขยะและหญ้าแห้งในที่โล่งแจ้งบริเวณที่มีลมพัดแรง และดูแลอย่างใกล้ชิด พร้อมจัดเตรียมถังใส่น้ำไว้ใกล้ๆ เพื่อป้องกันไฟลุกลาม พร้อมตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าและสายไฟฟ้าให้อยู่สภาพปลอดภัย หาก ตรวจสอบพบว่าชำรุดให้รีบซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่ในทันที ไม่เสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิดในเต้าเสียบเดียวกัน เพิ่มความระมัดระวังในการก่อกองไฟเพื่อผิงไฟให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ห้ามก่อกองไฟบริเวณใกล้บ้าน ที่นอน พงหญ้าแห้ง เพราะสะเก็ดไฟอาจกระเด็นไปติด ทำให้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นได้ ควรดับไฟให้สนิทก่อนเข้านอน เพราะหากเผลอหลับในขณะที่ไฟยังติดอยู่ อาจถูกไฟคลอกเสียชีวิตได้ สุดท้ายนี้ เพื่อลดความเสี่ยงและความสูญเสียที่เกิดจากอัคคีภัย ควรติดตั้งระบบป้องกันเพลิงไหม้ และเครื่องดับเพลิงไว้ประจำบ้าน โดยติดตั้งไว้ในจุดที่สามารถใช้งานได้ง่าย รวม ทั้งจัดสภาพบ้านเรือนให้เป็นระเบียบเรียบร้อย กำจัดวัสดุที่เป็นเชื้อเพลิง จัดเก็บสิ่งของให้เป็นระเบียบไม่กีดขวางประตู เส้นทางอพยพหนีไฟ หากเกิดเพลิงไหม้จะได้อพยพหนีไฟได้ทันท่วงที
    <hr align="center" size="2" width="100%">
    ขอขอบคุณข้อมูลจาก

    กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

    วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2554


    -http://icare.kapook.com/content_detail.php?t_id=0&id=3241-

    .
    </td> </tr> </tbody></table>

    .

    ไม่อยากไฟไหม้บ้านต้องอ่าน!!!!!


    [​IMG]

    ไม่อยากไฟไหม้บ้านต้องอ่าน!!!!! (Forward Mail)

    ผม เป็นคนชอบ”ไฟฉาย”มาก ๆ และตามท้องตลาดเดี๋ยวนี้ก็มี”ไฟฉาย”ที่ผลิตมาจาก”จีน”มากมาย โดยเฉพาะชนิดที่ชาร์ทแบตเตอรี่กับไฟบ้านได้นั่นแหละผมชอบซื้อมาใช้จริงๆ ราคาก็ประมาณกระบอกละ 100-150 บาท

    เช้า วันนั้นประมาณกลางเดือนตุลาคม 2552 นี้ที่ผ่านมา ผมตื่นขึ้นมาก็เอาไฟฉายไปเสียบชาร์ทแบตกับปลั๊กแล้วก็เดินไปเข้าห้องน้ำ ทำธุระส่วนตัวแล้วก็กินกาแฟ สักพักก็ได้กลิ่นไหม้โชยมาพร้อมกับเขม่าสีดำ ใน ใจก็นึกไปว่า...คงเป็นการเผาขยะจากข้างบ้านเพราะเค้ามักจะเผาอยู่บ่อยๆ แต่ก็ยิ่งแปลกใจเพราะว่าทำไม่มันกลิ่นแรงและมีเขม่าเข้ามามากอย่างนี้ และ ดูเหมือนเขม่าจะออกมาจากจุดที่ผมชาร์ตไฟฉายเอาไว้ ผมเลยรีบเดินมาดูตรงจุดที่ชาร์ทไฟฉายเอาไว้ ...ปรากฏว่าเปลวไปกำลังลุกติดปลั๊ก ลามมาติดชั้นลิ้นชักพลาสติกอย่างน่ากลัว ตอนนั้นรู้สึกตกใจมากแต่ก็พยายามคุมสติ แล้วก็รีบวิ่งไปเอาหม้อที่แขวนไว้ตักน้ำจากถังมาดับได้ทันที

    หาก ผมเห็นช้ากว่านี้แค่ไม่กี่นาที ป่านนี้ผมคงไม่มีบ้านอยู่แล้ว เพราะจุดที่ผมชาร์ทไฟฉายมีทั้งลิ้นชักพลาสติก หนังสือ กระดาษต่างๆและเสื้อผ้าที่ล้วนแต่เป็นเชื้อไฟอย่างดี

    ผมจึงอยากขอเตือนเพื่อนๆทุกคนที่ซื้อสินค้าจาก”จีน” ชนิดที่ชาร์ทแบตเตอรี่กับไฟบ้านได้ ไม่ว่าจะเป็น ไฟฉาย,ไม้ตียุง,โคมไฟหรือแม้กระทั่งแบตฯมือถือ ของพวกนี้มีอันตรายอย่างคาดไม่ถึง อาจทำให้ไฟไหม้บ้านง่ายๆ ทางที่ดีอย่าไปซื้อมาใช้เลย หรือถ้าใครซื้อมาใช้แล้วถ้าจะชาร์ทไฟก็ขอให้นำมาชาร์ทตรงที่โล่ง ไม่มีสิ่งใดติดไฟได้ และที่พลาดไม่ได้คือ......ต้องนั่งเฝ้า อย่าให้คลาดสายตาในขณะที่เสียบชาร์ทไฟ แบตฯพวกนี้ชาร์ทประมาณ 30 นาทีก็เต็มแล้วเพราะเป็นแบตฯคุณภาพต่ำมาก ๆ

    [​IMG]

    รูปที่ 1 ให้ดูอีกมุมหนึ่งของ”ไฟฉาย”มฤตยู


    [​IMG]

    รูปที่ 2 นี่คือลิ้นชักพลาสติกที่อยู่ติดกับปลั๊ก ลุกติดไฟอย่างรวดเร็ว

    คำแนะนำ และข้อควรระวัง

    สำหรับอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยโลหะ หากมีเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้น เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร ข้อควรระวัง และคำแนะนำ มีดังนี้
    1. ห้ามตักน้ำมาราดดับไฟที่ลุกกับปลั๊กไฟ เนื่องจากน้ำอาจไหลมาถูกตัวเรา และเป็นสื่อของไฟฟ้าได้
    2. การดับไฟ ให้ใช้ของแห้ง ๆ เช่น ทรายหรือน้ำตาลทรายมากลบถ้าอยู่กับพื้น หรือใช้ผ้าแห้งมาตบเพื่อให้เปลวไฟดับ
    3. ทางที่ดีที่สุด ควรรีบสับคัตเอาท์ เพื่อตัดแหล่งกำเนิดไฟฟ้าให้เร็วที่สุด

    <hr align="center" size="2" width="100%">
    ข้อมูล และภาพประกอบจาก Forward Mail

    วันอังคารที่ 27 ธันวาคม 2553

    -http://icare.kapook.com/caution.php?ac=detail&s_id=19&id=3061-

    .
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    กรมควบคุมโรค แนะไม่ควรแจกข้าวกล่องปรุงไว้นานกว่า 4 ชั่วโมง
    ให้ผู้ประสบภัย เสี่ยงอาหารเป็นพิษ อุจาระร่วง


    นายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า ได้รับรายงานการระบาดของโรคอุจจาระร่วง ในศูนย์อพยพผู้ประสบภัยน้ำท่วม 2 แห่ง ขณะนี้ได้เข้าควบคุมสถานการณ์ และหยุดการระบาดได้แล้วภายใน 24 ชั่วโมง สาเหตุมาจากการที่ผู้ประสบภัยรับประทานข้าวบูดจากข้าวกล่องที่มีผู้นำไปแจก โดยไม่รู้ว่าอาหารนั้นบูดหรือเสียแล้ว ทั้งนี้ได้แจ้งให้ผู้ที่นำอาหารไปแจกจ่ายให้กับผู้ประสบภัย ไม่ควรนำข้าวกล่องหรืออาหารที่ปรุงไว้ล่วงหน้านานกว่า 4 ชั่วโมงไปแจก เพราะอาจเป็นอาหารที่เสีย หรือมีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วงได้ ถ้าเป็นไปได้แนะนำให้ตั้งจุดเป็นครัวปรุงในพื้นที่ เพื่อให้ได้อาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ จะช่วยป้องกันอาหารเป็นพิษ ที่นำไปสู่การเกิดอุจจาระร่วง

    นอกจากนี้ สิ่งที่น่าเป็นห่วงอีกเรื่องหนึ่งขณะนี้ คือ การจมน้ำเสียชีวิต ซึ่งจากจำนวนผู้เสียชีวิตจากสถานการณ์น้ำท่วมกว่า 300 คน พบว่า มีสาเหตุจากการจมน้ำมากถึง 85 % ส่วนใหญ่เกิดจากเมาแล้วพลัดตกน้ำ, ทอดแหหรือหาปลาแล้วเจอน้ำวน, กระโดดลงไปช่วยคนที่ตกน้ำและเด็กลงเล่นน้ำ จึงอยากเตือนสติผู้ประสบภัยว่าอย่าประมาท อย่าปล่อยให้เด็กลงไปเล่นน้ำ หรือผู้ใหญ่ไม่ควรทอดแหหรือจับปลา เพราะไม่รู้ว่าสภาพด้านล่างของน้ำที่ลงไปนั้น เป็นหลุมหรือมีน้ำวนหรือไม่ ส่วนกรณีเจอคนตกน้ำ ให้โยนเชือกให้เกาะแทนการลงไปช่วยด้วยตนเอง

    อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวด้วยว่า สำหรับโรคที่พบมากในศูนย์อพยพผู้ประสบภัยในพื้นที่ต่างๆ และต้องเฝ้าระวังขณะนี้มี 4 โรคหลัก คือ โรคเท้าเปื่อยหรือเท้าอักเสบ ประชาชนที่เดินย่ำน้ำ ควรล้างด้วยน้ำสะอาด หากไม่มีจะต้องเช็ดเท้าให้แห้ง และทายาที่หน่วยแพทย์จากให้ทันที โรคไข้หวัด และไข้หวัดใหญ่ ซึ่งต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด หากมีผู้ป่วยเพียง 1 คน จะลามให้คนอื่นติดเชื้อและป่วยเป็นจำนวนมาก ผู้ที่มีอาการป่วยควรใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปให้ผู้อื่น โรคตาแดง ผู้ป่วยควรแยกตัวเองออกจากผู้อื่น และโรคอุจจาระร่วง ซึ่งที่พบระบาดแล้วในศูนย์อพยพ 2 แห่ง
    ส่วนประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ที่น้ำเริ่มลด ไม่ควรชะล่าใจ เมื่อต้องเดินในพื้นที่ที่มีความเฉอะแฉะ ต้องใส่รองเท้าป้องกันเชื้อโรคฉี่หนู ซึ่งมักพบในช่วงหลังน้ำลด เมื่อขึ้นจากการลุยน้ำหรือพื้นที่เปียก ต้องรีบล้างด้วยน้ำสะอาด และเช็ดให้แห้งโดยเร็วที่สุด และหากพบว่ามีอาการเป็นไข้ ตาแดง ปวดกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณน่องให้รีบไปพบแพทย์ เพราะโรคฉี่หนูสามารรักษาให้หายขาดได้ หากพบแพทย์ทันท่วงที

    -http://dpc9.ddc.moph.go.th/crd/news/tv/2554_10_20_dia.html-

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG] Spot วิทยุอุจจาระร่วง [​IMG] บทความวิทยุอุจจาระร่วง


    <fieldset class="fieldset"> <legend>ไฟล์แนบข้อความ</legend> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="3"> <tbody><tr> <td>[​IMG]</td> <td>water_flood1.pdf (571.8 KB, 0 views)</td> </tr> </tbody></table> </fieldset> __________________

    .
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    สิ่งที่ชาวญี่ปุ่นใช้รับมือกับภัยธรรมชาติร้ายแรงที่สุดในรอบศตวรรษ

    ที่มา : Forward Mail

    TNN ติดตาม ข่าวแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของญี่ปุน อย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันแรกด้วยความรู้สึกตกตะลึงและตามมาด้วยความน่า สะพรึงกลัวต่อพลังมหาศาลของธรรมชาติด้วย ความสงสาร และ เห็นใจอย่างจับใจ ต่อทุกข์แสนสาหัส ที่ประชาชนญี่ปุ่นประสบอยู่ในปัจจุบัน

    ในระหว่างติดตามดูข่าวทางโทรทัศน์ และ อินเตอร์เนตเหล่านี้... ท่าม กลางความโหดร้ายน่ากลัว เรากลับพบความดีงามที่ทำให้เรารู้สึกทึ่งและชื่นชม นั่นคือ ความสงบ นิ ่งของชาวญี่ปุ่น ภายหลังเหตุการณ์รุนแรง ที่ทำลายชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีพ เราไม่พบข่าวการบุกทุบร้านสะดวกซื้อ เพื่อแย่งชิงอาหาร น้ำ ฯลฯ ทั้งที่ทุกแห่ง ต่างขาดแคลนอย่างสาหัส แต่สิ่งที่เราพบเห็นตามข่าว ก็คือ “วินัย”ของชาวญี่ปุ่น ที่อดทน รอคอย และ ร่วมด้วยช่วยกัน ทำให้รู้สึกว่าสิ่งนี้นั่นเองที่จะเป็น “เคล็ดลับ” สำคัญที่สุด ที่ชาวญี่ปุ่นใช้เพื่อรับมือกับภัยธรรมชาติร้ายแรงในครั้งนี้

    ลองจินตนาการดูนะคะว่า หากปราศจาก ความอดทน วินัย เช่นนี้ สถานการณ์ที่เลวร้ายในปัจจุบัน จะยิ่งเพิ่มความร้ายแรงมากขึ้นเพียงใด ???

    วันนี้ OPEN UP ขอ เผยแพร่เรื่องราวน่าประทับใจที่ได้ไปอ่านเจอ จากนักเรียนไทยในญี่ปุ่ นที่เปิดเผยบรรยากาศหลังเกิดแผ่นดินไหวใหญ่และคลื่นยักษ์สึนามิถล่มใน Twitter ของเขา และมีคนนำมาแปลเป็นภาษาไทยค่ะ

    เรื่องราวดี ๆ ที่เกิดขึ้นท่ามกลางวิกฤติการณ์ในประเทศญี่ปุ่น

    เรื่องที่หนึ่ง ข้าพเจ้าได้เห็นเด็กน้อยพูดกับพนักงานรถไฟ “ขอบคุณค่ะ/ครับ ที่เมื่อวานพยายามอย่างสุดชิวิตทำให้รถไฟเดินรถได้อีกครั้ง”พนักงาน รถไฟร้องไห้ ส่วนข้าพเจ้าร้องไห้ฟูมฟายไปแล้ว (คืนวันที่เกิดแผ่นดินไหว รถไฟซึ่งเป็นการคมนาคมหลักของชาวญี่ปุ่นหยุดวิ่ง กว่าจะวิ่งได้ก็หลังเที่ยงคืนไปแล้ว)

    เรื่อง ที่สอง ที่ดิสนีย์แลนด์ คนติดกลับบ้านไม่ได้จำนวนมาก และทางร้านขายของก็ได้เอาขนมมาแจกนักท่องเที่ยว ก็ได้มีนร.ม.ปลายหญิงกลุ่มหนึ่งไปเอามาจำนวนมาก มากเกินพอ แว่บแรกที่ข้าพเจ้ารู้สึกทันทีคือ อะไรวะ เอาไปซะเยอะ! แต่วินาทีต่อมากลายเป็นความรู้สึกตื้นตันใจ เพราะเด็กกลุ่มนั้นเอาขนมไปให้เด็ก ๆ ซึ่งพ่อแม่ไม่สามารถไปเอาเองได้เพราะต้องอยู่ดูแลลูก ๆ

    เรื่องที่สาม ใน ซุปเปอร์มาร์ทแห่งหนึ่ง ของตกระเกะระกะเพราะแรงแผ่นดินไหว แต่คนซื้อก็เดินไปช่วยกันเก็บของ แล้วก็หยิบส่วนที่ตนอยากซื้อไปต่อคิวจ่ายเงิน ในรถไฟที่เพิ่งเปิดให้ใช้บริการ และคนที่ตกค้างจำนวนมากกำลังเดินทางกลับ ก็ได้เห็นคนแก่คนหนึ่งลุกให้สตรีมีครรภ์นั่ง คนญี่ปุ่นแม้ในภาวะฉุกเฉินเช่นนี้ ก็ยังมีน้ำใจ มีระเบียบ

    เรื่อง ที่สี่ ในคืนแรกที่เกิดแผ่นดินไหว รถไฟไม่วิ่ง ทำให้คนจำนวนมากต้องเดินกลับบ้านแทนการนั่งรถไฟ ขณะที่ข้าพเจ้าต้องเดินกลับจากมหาวิทยาลัยมายังที่พัก ร้านรวงก็ปิดหมดแล้ว ข้าพเจ้าได้ผ่านร้านขนมปังร้านหนึ่งซึ่งปิดไปแล้ว แต่คุณป้าเจ้าของร้านก็ได้เอาขนมปังมาแจกฟรีแก่คนที่กำลังเดินกลับบ้าน ในภาวะฉุกเฉินเช่นนี้ น้ำใจที่มีให้กันทำให้หัวใจข้าพเจ้าอบอุ่น ตื้นตัน

    เรื่องที่ห้า ในขณะที่รอรถไฟให้กลับมาวิ่งได้ ข้าพเจ้าก็ได้รออยู่ในอาคารสถานีอย่างเหน็บหนาว โฮมเลสก็ได้แบ่งปันแผ่นกล่องกระดาษให้ โฮมเลสที่ข้าพเจ้ามองด้วยหางตาทุกวันที่มาใช้สถานี คืนนั้นทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกอบอุ่นอย่างประหลาด

    เรื่องที่หก (เรื่องราวคืนรถไฟไม่วิ่งเยอะหน่อยนะครับ) ด้วยระยะเวลาสี่ชั่วโมงที่ต้องเดินเท้ากลับบ้าน ก็ได้ผ่านหน้าบ้านหลังหนึ่ง ตาก็ไปสะดุดกับแผ่นกระดาษที่เขียนว่า “เชิญใช้ห้องน้ำได้ค่ะ”หญิง สาวท่านหนึ่งได้เปิดบ้านตัวเองให้แก่คนที่กำลังเดินกลับบ้านได้ใช้ วินาทีที่ได้เห็นแผ่นกระดาษนั้น น้ำตามันก็ไหลออกมาเอง น้ำใจคนญี่ปุ่น

    เรื่องที่เจ็ด แม้ ว่าไฟดับ ก็ยังมีคนที่สู้ทำงานให้ไฟกลับมาติด น้ำไม่ไหลก็ยังมีคนไม่ยอมแพ้ทำให้น้ำกลับมาไหล เกิดปัญหากับโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ก็มีคนที่พร้อมจะเข้าพื้นที่เพื่อซ่อมมัน ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ได้กลับมาสู่สภาพปกติด้วยตัวมันเอง ขณะที่พวกเราอยู่ในบ้านอันอบอุ่นแล้วก็พร่ำบ่นว่าเมื่อไรไฟมันจะติด น้ำจะไหลน้า ก็มีคนที่อยู่ข้างนอกท่ามกลางความหนาวเหน็บกำลังพยายามสู้อยู่

    เรื่องที่แปด ในจังหวัดจิบะ คน ลุงคนหนึ่งที่หลบภัยอยู่ก็ได้เปรยออกมาว่า ต่อจากนี้ไปจะเป็นอย่างไรน้า เด็กหนุ่มม.ปลายก็ตอบกลับไปว่า ไม่เป็นไร ไม่ต้องห่วง ต่อจากนี้ไปเมื่อเป็นผู้ใหญ่ พวกผมจะทำให้มันกลับมาเหมือนเดิมแน่นอน (ไม่เป็นไร พวกเรายังมีอนาคต!!!)

    เรื่องที่เก้า ขณะที่กำลังได้รับความช่วยเหลือ หลังจากที่ติดอยู่บนหลังคาบ้านมากว่า 42 ชั่วโมง คุณลุงก็ได้กล่าวว่า “ไม่เป็นไร ไม่เป็นไรครับ เคยมีประสบการณ์สึนามิที่ชิลีมาแล้ว ต่อจากนี้ไปพวกเรามาช่วยฟื้นฟูบ้านเมืองกันนะ”แกกล่าวด้วยรอยยิ้ม (สิ่งสำคัญสำหรับพวกเราคือ ต่อจากนี้ไปเราจะทำอะไรต่างหาก)

    OPEN UP หวัง ว่าเรื่องราวต่าง ๆ เหล่านี้ จะสะท้อนใจให้เราเห็นถึงสิ่งสำคัญที่ช่วยให้สถานการณ์ที่เลวร้ายคลี่คลายและ ผ่านพ้นไป นั่นก็คือ น้ำใจ วินัย และ สปิริต ค่ะ สำหรับใครที่อยากจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือชาวญี่ปุ่นในครั้งนี้ มีหลายหน่วยงานนะคะที่พวกเราจะสามารถไปร่วมบริจาคเงินหรือสิ่งของ ตลอดจนช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่เปิดโอกาสให้เรามีส่วนร่วมในการช่วยเหลือค่ะ ถ้ามีกำลังและโอกาส...ก็ร่วมด้วยช่วยกันนะคะ 
    <hr align="center" size="2" width="100%">
    Forward Mail

    วันที่ 25 เมษายน 2554
    -http://icare.kapook.com/content_detail.php?t_id=0&id=3117-

    .
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ทีมกรุ๊ป เสนอโมเดลมอเตอร์เวย์น้ำ แก้น้ำท่วมภาคกลาง


    [​IMG]


    [​IMG]


    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก TEAM Group

    ทีม กรุ๊ปเสนอแนวทางแก้น้ำท่วมภาคกลาง-กทม. ทั้งระยะสั้น กลาง ยาว – หนุนระบบระบายน้ำมอเตอร์เวย์ คาดสามารถระบายน้ำได้ 100 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน

    วันนี้ (26 พฤศจิกายน) ทีมกรุ๊ปได้เสนอแก้ไขปัญหาอุทกภัยในภาคกลางเชิงบูรณาการอย่างยั่งยืน ในพื้นที่ภาคกลาง และกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้จากความเสียหายครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้น ทางรัฐจึงต้องมีการดำเนินการก่อสร้างโครงการต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเช่นที่เกิดในปี 2554 ขึ้นอีก

    โดยทีมกรุ๊ป ระบุว่า จากการศึกษาของทีมกรุ๊ป โดยใช้แบบจำลองชลศาสตร์-อุทกวิทยาที่สร้างขึ้นมาเป็นการเฉพาะสำหรับลุ่มน้ำ เจ้าพระยา พบว่า มีความจำเป็นที่จะต้องก่อสร้างระบบระบายน้ำ เพื่อให้สามารถเร่งการระบายน้ำลงสู่ทะเลได้อย่างรวดเร็วทั้งในช่วงก่อน ระหว่าง และหลังจากมวลน้ำขนาดใหญ่ไหลเข้าสู่พื้นที่ในเขตภาคกลาง และกรุงเทพมหานคร

    ทั้งนี้ การก่อสร้างดังกล่าวประกอบด้วย 7 โครงการหลักที่สำคัญ แบ่งเป็นแผนการดำเนินงานในระยะสั้น กลาง ยาว ได้ดังนี้


    แผนระยะสั้น ระยะเวลาดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 1-2 ปี

    (1) การปรับปรุงระบบระบายน้ำในปัจจุบัน : ประกอบด้วย การขุดลอกคูคลอง ปรับปรุงพนังกั้นน้ำ ประตูระบายน้ำ และสถานีสูบน้ำ

    การปรับปรุงคลอง : มีคูคลองจานวนมากที่มีการตกตะกอน รวมทั้งการที่ประชาชน รุกล้าเข้าไปอยู่อาศัยในเขตคลอง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการขุดลอกตะกอนดินอย่างสม่าเสมอ และป้องกันไม่ให้ประชาชนเข้าไปอาศัยอยู่ในเขตคลอง โดยเฉพาะคลองสายหลัก และสายอื่นๆ ที่ใช้ในการระบายน้ำลงสู่ทะเล ซึ่งจากประสบการณ์น้ำท่วมในปี พ.ศ 2554 นี้ก็สามารถจะกำหนดได้ว่าคลองใดบ้างที่จะต้องใช้เป็นคลองระบายน้ำลงสู่แม่ น้าเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน เพื่อระบายลงสู่ทะเล ในบางแห่งจะต้องขยายคลองปรับเปลี่ยนจากคลองส่งน้ำมาเป็นคลองระบายน้ำด้วย อย่างไรก็ตามการขุดลอกคูคลองนี้มีความจำเป็นต้องดาเนินการในทุกๆ คลอง หมุนเวียนกันไปโดยจะต้องกำหนดไว้ว่าคลองใดจะเป็นคลองสายหลัก และ คลองสายรองที่จะใช้ระบายน้ำเพื่อจะได้จัดเรียงลำดับความสำคัญก่อนหลังในการ ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    การปรับปรุงพนังกั้นน้ำ : จะต้องมีการปรับปรุงพนังกั้นน้ำต่างๆ ที่เสียหายจากน้ำท่วมใหญ่ในปี 2554 นี้ รวมทั้งในจุดที่มีความสาคัญมีความเสี่ยง ควรมีการเสริมความแข็งแรงของพนังกั้นน้ำ และพิจารณาความสูงให้เหมาะสม เป็นไปตามหลักวิชาการ และสอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์เพื่อสามารถป้องกันน้ำท่วม ในภาพรวมให้แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้อย่างแท้จริง

    การปรับปรุงประตูระบายน้ำ : จะต้องมีการบารุงรักษาให้ประตูระบายน้ำสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อยู่เสมอ ปรับปรุงบานและเครื่องกว้านให้มีขนาดเพียงพอในการรองรับปริมาณน้ำในปริมาณ มากๆ เท่ากับในปี 2554 นี้ได้อย่างเพียงพอ โดยที่สามารถใช้งานได้ทั้งการส่งน้ำ และระบายน้ำ ซึ่งในบางแห่งอาจจะต้องมีการขยายเพิ่มขนาดบานและอาคารด้วย นอกจากนี้ ในส่วนอาคารโครงสร้าง ชุดเครื่องกว้าน บานระบาย ก็จำเป็นต้องมีการซ่อมบำรุงให้มีสภาพดี แข็งแรง สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา

    สถานีสูบน้ำ : จะต้องมีการบำรุงรักษา และซ่อมแซม ปรับปรุงเครื่องสูบน้ำและอาคารประกอบให้มีความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นชนิดและขนาดของเครื่องสูบน้ำจะต้องมีความเหมาะสมทั้งที่จะใช้ในการสูบ ส่ง และการสูบระบาย

    อนึ่งการปรับปรุงคูคลองทั้งหมดนี้ย่อมจะมีปัญหาด้านมวลชนที่อาศัยอยู่ในเขต คลอง จะต้องมีการศึกษาด้านการเวนคืน การจ่ายค่าชดเชย ซึ่งในปี 2554 ที่เกิดวิกฤติน้ำท่วมใหญ่นี้ถือเป็นโอกาสหนึ่งที่รัฐจะทำความเข้าใจกับ ประชาชนได้ง่ายขึ้น เพราะทุกคนได้เห็นถึงผลเสียหายที่เกิดขึ้นจากการบุกรุกที่ดินเขตคลองและการ สร้างโรงงาน อาคาร และบ้านเรือนที่อยู่อาศัยอยู่ในเส้นทางน้ำ (Floodway) ที่จะระบายลงสู่ทะเล


    แผนระยะกลาง ระยะเวลาดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 2-5 ปี

    (1) พัฒนาพื้นที่ลุ่มต่ำเป็นพื้นที่แก้มลิง : จะต้องมีการกำหนดให้พื้นที่เกษตรกรรมที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำที่มีศักยภาพที่ จะเป็นพื้นที่แก้มลิง ซึ่งจากผลการศึกษาของทีมกรุ๊ปร่วมกับกรมชลประทานพบว่า สามารถดำเนินการ โดยแบ่งพื้นที่เป็น 2 ส่วน คือพื้นที่ตอนบน บริเวณเหนือจังหวัดนครสวรรค์ และพื้นที่ตอนล่าง บริเวณจังหวัดอ่างทอง และจังหวัดพระนครศรีอยุธยาซึ่งในปัจจุบันในส่วนนี้ได้ศึกษากำหนดพื้นที่ไว้ แล้ว รวม 8 พื้นที่ ศึกษาถึงระบบพนังของพื้นที่ปิดล้อม และระบบประตูระบายน้ำต่างๆ อย่างครบถ้วน และได้กำหนดค่าชดเชยให้แก่ประชาชนที่เป็นเจ้าของพื้นที่การเกษตรในพื้นที่ แก้มลิงดังกล่าว โดยได้ทำความเข้าใจจนเป็นที่ยอมรับว่าเกษตรกรสามารถเพาะปลูกพืชต่างๆ ไปตามปกติ และหากปีใดที่มีน้ำปริมาณมาก ก็จะขอใช้พื้นที่ดังกล่าวเป็นแก้มลิงเพื่อใช้ในการตัดยอดน้ำหลากในภาวะ วิกฤติ แล้วทางรัฐก็จะจ่ายค่าชดเชยให้ในราคาที่เหมาะสมกับความเสียหายในปีนั้นๆ ต่อไป จากการศึกษาพบว่าสามารถใช้พื้นที่แก้มลิงซึ่งมีความจุรวมประมาณ 1,000 ล้าน ลูกบาศก์เมตร ดังกล่าวในการตัดยอดน้ำ ลดความลึกของน้ำท่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    (2) ปรับปรุงคลองบางแก้ว-แม่น้ำลพบุรี : จะต้องปรับปรุงและขยายคลองบางแก้ว-แม่น้ำลพบุรี และเพิ่มช่องการระบายน้ำของ ปตร.ปากคลองบางแก้ว ปตร.ปากคลองพระครู และ ปตร.ปลายคลองบางแก้ว และปลายแม่น้ำลพบุรี เพื่อให้สามารถเร่งการระบายน้ำลงสู่มอเตอร์เวย์น้าได้อย่างรวดเร็ว เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะสามารถลดระดับน้ำท่วมในพื้นที่อาเภอเมืองอ่างทองลง ได้ 49 เซ็นติเมตร และสามารถลดระยะเวลาการท่วมในพื้นที่ดังกล่าวลงได้ 18 วัน

    (3) ขุดช่องลัดแม่น้ำท่าจีนและก่อสร้างประตูระบายน้ำควบคุม 4 แห่ง : เป็นการเร่งระบายน้ำทางฝั่งตะวันตก โดยน้อมนำพระราชดาริที่ดำเนินการที่บางกระเจ้า โดยการขุดคลองลัดโพธิ์ และก่อสร้างบานประตูเพื่อควบคุมและระบายน้ำ เพื่อการบรรเทาอุทกภัย ได้น้อมนำเอาแนวพระราชดำริดังกล่าวมาใช้ในแม่น้ำท่าจีน เพื่อช่วยให้ระบายน้ำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

    จากการศึกษาพบว่า มีความเหมาะสมที่จะขุดช่องลัดในคุ้งน้ำที่คดเคี้ยวของแม่น้ำท่าจีน จานวน 4 แห่ง และก่อสร้างประตูน้ำในทุกๆ ช่องลัด เพื่อควบคุมการปิด-เปิด ระบายน้ำให้สอดคล้องกับจังหวะการขึ้น-ลง ของน้ำทะเล จะลดระยะทางการไหลของน้ำในส่วนดังกล่าวจาก 48 กิโลเมตร ลดลงเหลือ 10 กิโลเมตร ซึ่งจะสามารถเร่งการระบายน้ำลงสู่ทะเลได้เพิ่มมากขึ้นอีกวันละ 10 ล้านลูกบาศก์เมตร


    แผนระยะยาว ระยะเวลาดำเนินการแล้วเสร็จมากกว่า 5 ปี

    (1) การก่อสร้างมอเตอร์เวย์น้ำ : เนื่องจากปริมาณการจราจรของเส้นทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความ หนาแน่น โดยเฉพาะในช่วงธัญญบุรี ถึงลาดกระบังซึ่งได้มีการขยายเส้นทางไปแล้ว แต่ก็ยังไม่พอเพียง จึงมีความจาเป็นต้องพัฒนาโครงการก่อสร้างถนนวงแหวนรอบที่ 3 ในขณะเดียวกันในด้านการระบายน้ำทางฝั่งตะวันออกนั้นก็จำเป็นจะต้องเพิ่มการ ระบายน้ำ เพื่อทดแทนทางน้ำหลาก (Floodway) ที่มีอยู่ในสมัยโบราณ เนื่องจากแม่น้ำเจ้าพระยาสามารถระบายน้ำได้สูงสุด 300 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวันเท่านั้น

    ในปี พ.ศ. 2542 ทีมกรุ๊ปได้เคยร่วมกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency- JICA) ศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในภาคกลางและได้ร่วมกันวางแนวทางในการก่อ สร้างคลองผันน้ำขนาดใหญ่จากบางไทรระบายลงไปสู่อ่าวไทยผ่านทุ่งตะวันออก ของกรุงเทพฯ

    จากปัญหาน้ำท่วมใหญ่ในปี 2554 นี้ ทำให้เห็นว่ามีความจำเป็นจะต้องหาวิธีการเร่งระบายน้ำในพื้นที่ภาคกลางตอน ล่างและกรุงเทพมหานครเพิ่มเติมนอกเหนือจากการระบายน้ำผ่านทางแม่น้ำเจ้า พระยา และแม่น้ำท่าจีนเท่านั้น
    ทีมกรุ๊ปได้เคยศึกษาการก่อสร้างมอเตอร์ เวย์น้ำ ควบคู่ไปกับถนน วงแหวนรอบที่ 3 ไว้ก่อนหน้านี้แล้ว จึงเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องเร่งการก่อสร้างโครงการดังกล่าว

    อนึ่งในอดีตได้เคยมีการศึกษาเรื่องการก่อสร้าง Floodway แบบธรรมชาติ โดยวิธีการนี้จะใช้พื้นที่เป็นบริเวณกว้างประมาณ 2-5 กิโลเมตร เพื่อเป็นทางน้ำผ่านระบายน้ำจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผ่านทางทุ่งรังสิต หนองเสือ และผ่านทุ่งด้านตะวันออกของกรุงเทพฯ ลงไปสู่ทะเล ซึ่งในปัจจุบันสภาพการใช้ที่ดินได้เปลี่ยนแปลงไปมากมีสิ่งปลูกสร้างต่างๆ เป็นจำนวนมาก การก่อสร้างทางน้ำหลาก (Floodway) ในพื้นที่บริเวณกว้างจะทำได้ยากขึ้น และทางน้ำอาจจะคดเคี้ยวเนื่องจากต้องหลบสิ่งปลูกสร้างต่างๆ เหล่านั้น ทีม กรุ๊ปจึงได้เสนอแนวทางในการก่อสร้างมอเตอร์เวย์น้ำ ซึ่งกำหนดไว้เป็นการขุดคลองระบายน้ำ ในขนาด 1,150 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที สามารถระบายน้ำได้ 100 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน

    มอเตอร์เวย์น้ำ จะขุดเป็นคลองที่มีความกว้าง 180 เมตร ลึกประมาณ 8 เมตร มีประตูควบคุมน้ำที่ตอนเหนือบริเวณบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และมีประตูควบคุมน้ำที่บริเวณท้ายน้ำ รวมทั้งมี ประตูเรือ (Navigation Lock) ที่ให้เรือผ่านเข้าออกได้ ใช้เป็นเส้นทางเดินเรือบรรทุกสินค้าขนาด 3,000 ตันได้ ซึ่งจะทาให้ลดปริมาณการจราจรทางน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาได้อีกทางหนึ่ง นอกจากนี้น้ำในคลองจะถูกเก็บกักและควบคุมให้เป็นน้ำจืดที่สามารถใช้เป็นน้ำ สำรองสาหรับใช้เป็นแหล่งน้ำดิบในการผลิตน้ำประปาสำหรับกรุงเทพฯ ด้านฝั่งตะวันออกได้อีกด้วย

    มอเตอร์เวย์น้ำ นี้จะก่อสร้างคู่ขนานไปกับถนนวงแหวนรอบที่ 3 โดยมีคลองอยู่ตอนกลาง ซึ่งจะมีส่วนของถนนที่ใช้เป็นทางด่วนเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางอยู่ด้านหนึ่ง และมีถนนคู่ขนาน (Local Road) สองข้าง สามารถบริการประชาชนได้โดยไม่เก็บค่าธรรมเนียม

    ส่วนที่ดินบริเวณสองข้างของถนนคู่ขนานเลียบมอเตอร์เวย์น้ำนี้ จะมีโอกาสพัฒนาให้มีความเจริญขึ้น ทั้งทางด้านการพัฒนาเป็นชุมชนที่พักอาศัยที่ทันสมัย อยู่ใกล้คลองที่จะมีน้ำอยู่ตลอดปี และพื้นที่ใกล้เคียงถัดออกไปสามารถใช้ในการเกษตรกรรมแผนใหม่ โดยในปัจจุบันบริษัท บางจาก ปิโตรเลียม จากัด (มหาชน) ได้เริ่มมีการส่งเสริมให้ปลูกต้นปาล์มแทนสวนส้มที่ได้รับความเสียหายใน พื้นที่บริเวณทุ่งหนองเสือ โดยจะใช้น้ำมันปาล์มมาผลิตเป็น Bio Diesel ต่อไป

    นอกจากนี้ยังพัฒนาด้านการท่องเที่ยวทางน้ำได้อีกด้วย และส่วนของทางด่วนนั้นจากการศึกษาพบว่าจะสามารถเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางได้ ประมาณ 3,500 ล้านบาท ต่อปีอีกด้วย

    จากการใช้แบบจำลองชลศาสตร์-อุทกวิทยา (River Network Model) ที่ทีมกรุ๊ปได้พัฒนาขึ้นมาเป็นการจำเพาะสาหรับลุ่มน้ำเจ้าพระยาซึ่งได้สอบ เทียบ และใช้งานอย่างได้ผลดีมาตลอด 30 ปี และในการศึกษา ระบบระบายน้ำที่ปรับปรุงใหม่นี้ทั้งระบบดังกล่าวแล้วพบว่าการใช้มอเตอร์เวย์ น้ำเป็นทางระบายน้ำหลักอีกสายหนึ่งบูรณการร่วมกับแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และการปรับปรุงทั้งระบบแล้วจะสามารถระบายน้ำจากตอนเหนือ และจากลุ่มน้าเจ้าพระยาทั้งหมดได้รวม 550 ล้าน ลบ.ม./วัน สามารถบริหารจัดการน้ำท่วมใหญ่ที่มีมวลน้ำที่มากมายทั้งในสภาพปี พ.ศ. 2538 และปี พ.ศ. 2554 นี้ได้อย่างเพียงพอแน่นอน ไม่เกิดความเสียหายอย่างที่เกิดในปีพ.ศ. 2554 อีกต่อไป

    (2) ปรับปรุงคลองชัยนาท-ป่าสัก : จะต้องปรับปรุงคลองชลประทานชัยนาท-ป่าสัก ซึ่งปัจจุบันมีขนาดความจุ 210 ลบ.ม./วินาที ส่งน้ำได้วันละ 18 ล้านลูกบาศก์เมตร ขยายขนาดคลองและปรับเปลี่ยนไปเป็นคลองระบายน้ำขนาด 500 ลบ.ม./วินาที ระบายน้ำได้วันละ 43 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อเร่งการระบายน้ำจากนครสวรรค์และชัยนาท ไม่ให้เกิดการสะสมในทุ่ง โดยก่อสร้างให้ไปเชื่อมต่อกับมอเตอร์เวย์นำ เพื่อเร่งการระบายน้ำลงสู่ทะเลต่อไป

    (3) การก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น และเขื่อนแม่วงก์ : จะต้องพิจารณาคัดเลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดในการพัฒนาโครงการก่อสร้าง เขื่อนแก่งเสือเต้นที่มีความจุอ่างเก็บน้ำ 730 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนแม่วงก์ ที่มีความจุอ่างเก็บน้ำ 230 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อใช้เป็นแหล่งเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง และสามารถใช้บรรเทาอุทกภัยได้ในฤดูฝนอีกด้วย



    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก กรุงเทพธุรกิจ

    [​IMG]


    -http://thaiflood.kapook.com/view34151.html-

    .
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    น้ำท่วมนาน ระวังยุง! หวั่นไข้เลือดออกสายพันธุ์ใหม่



    [​IMG]


    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุุกดอทคอม

    กระทรวง สาธารณสุข เตือนภาวะน้ำท่วมขังต่อเนื่องนาน ระวังยุงลาย-ยุงรำคาญ ด้าน ผอ.โรคทางสมอง จุฬาฯ หวั่นไวรัสไข้สมองอักเสบ-ไข้เลือดออกสายพันธุ์ใหม่แพร่เข้าไทย

    เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน นพ.วิชัย สติมัย ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์อุทกภัย ซึ่งประชาชนต้องประสบกับภาวะน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน ส่งผลให้ทุกพื้นที่ในขณะนี้เกิดปัญหายุงแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็ว และสร้างความดือดร้อนรำคาญให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก

    ทั้งนี้ ประชาชน จึงต้องระวังยุงลาย ซึ่งก่อโรคไข้เลือดออก โดยเฉพาะในศูนย์พักพิงที่หากมีผู้ป่วยติดเชื้อ อาจแพร่ไปยังคนอื่นได้ ดังนั้น จึงต้องนอนในมุ้ง ทายากันยุงป้องกัน นอกจากนี้ ต้องระวังยุงรำคาญด้วยเช่นกัน เนื่องจากโรคจากยุงรำคาญจะเป็นไข้สมองอักเสบ เท้าช้าง แต่น้อยมาก อย่างไข้สมองอักเสบ ไม่ต้องกังวล เพราะมีการฉีดวัคซีนป้องกันแต่เด็กๆ แล้ว

    ณะที่ทางด้าน ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการโรคทางสมอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า สิ่ง ที่เป็นกังวลมากในเวลานี้ คือ เรื่องของเชื้อโรคที่มียุงเป็นพาหะ โดยเฉพาะโรคไข้สมองอักเสบที่เกิดจากยุงรำคาญ และไข้เลือดออกสายพันธุ์ใหม่ ล่าสุด มีรายงานอย่างไม่เป็นทางการของวงการแพทย์ของแอฟริกาและมาเลเซียว่าพบคนไข้ ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกที่เกิดจากยุงลายที่มีสายพันธุ์มาจากป่า (sylvatic) เดิม ยุงชนิดนี้จะกัดและปล่อยเชื้อเฉพาะในสัตว์ป่า เช่น ลิง เท่านั้น แต่ยังไม่มีใครทราบสาเหตุที่ชัดเจนว่า ผู้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกจากยุงที่มีสายพันธุ์จากป่า ได้อย่างไร เป็นเรื่องของวิวัฒนาการของยุงที่กลายพันธุ์หรือไม่ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์กำลังเร่งค้นคว้าหาข้อมูลอยู่

    ส่วนไวรัสไข้สมองอักเสบพันธุ์ใหม่ ที่เกิดจากยุงรำคาญที่ชื่อ เวสต์ ไนล์ ไวรัส (west nile virus) เริ่มระบาดครั้งแรกประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 1999 และหลังจากนั้นภายในเวลา 3 ปี ก็ลุกลามทั่วสหรัฐ กระทั่งเวลานี้ได้เริ่มระบาดเข้ามาในภูมิภาคเอเชียแล้ว กลัวว่าช่วงเวลาที่จำนวนยุงรำคาญเพิ่มขึ้นสูง อาจจะมีกลไกบางอย่าง ทำให้ไข้สมองอักเสบพันธุ์ใหม่ระบาดเข้ามาในไทยช่วงเวลานี้ อย่างไรก็ตาม ศูนย์ปฏิบัติการโรคทางสมองได้เตรียมแผนเพื่อรองรับการระบาดของทั้งสองโรคนี้ เอาไว้แล้ว


    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก มติชนออนไลน์

    [​IMG]



    -http://thaiflood.kapook.com/view34168.html-

    .
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    <table class="mainmap" border="0" cellpadding="0" cellspacing="5" width="100%"><tbody><tr><td width="62%">สธ.เปิดสายด่วน เยียวยาผู้ประสบภัยน้ำท่วม

    </td> <td width="32%">
    </td> </tr> </tbody></table>
    [​IMG]

    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม


    หลัง จากที่สถานการณ์น้ำท่วมในหลาย ๆ พื้นที่ เริ่มลดระดับลงอย่างต่อเนื่องบ้างแล้วนั้น ล่าสุดวันนี้ (26 พฤศจิกายน) ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ออกมาแจ้งว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดให้บริการโทรศัพท์สายด่วน เพื่อรับปรึกษาและให้คำแนะนำปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ ซึ่งหวังว่าจะสามารถช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบอุทกภัย หลังจากน้ำลดได้

    ทั้งนี้ บริการโทรศัพท์สายด่วน มีหมายเลขต่าง ๆ ดังนี้...

    [​IMG] สายด่วนสุขภาพจิต โทรศัพท์ที่หมายเลข 1323

    [​IMG] สายด่วนกรมควบคุมโรค โทรศัพท์ที่หมายเลข 1422

    [​IMG] สายด่วนผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ประสบอุทกภัยน้ำท่วม โทรศัพท์ที่หมายเลข 1668 กด 1

    [​IMG] สายด่วนอุบัติเหตุฉุกเฉิน โทรศัพท์ที่หมายเลข 1669

    [​IMG] ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม กระทรวงสาธารณสุข โทรศัพท์ที่หมายเลข 0 2590 1994




    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก ข่าวสด
    [​IMG]

    -http://thaiflood.kapook.com/view34173.html-

    .
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    กรมวิทย์แนะ 5 ขั้นตอนกำจัดเชื้อราในบ้านหลังน้ำลด <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">26 พฤศจิกายน 2554 09:14 น.</td></tr></tbody></table>

    [​IMG] <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="400"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="400"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">บ้านขึ้นราทำไงดี?</td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> กรม วิทยาศาสตร์การแพทย์ แนะ 5 ขั้นตอนในการกำจัดเชื้อราในบ้านหลังน้ำลด เพื่อป้องกันสุขภาพของเจ้าของบ้าน พร้อมเตือนประชาชนอย่าเสียดายเฟอร์นิเจอร์ที่มีพื้นผิวเป็นรูพรุน ไม่สามารถทำความสะอาด และทำให้แห้งได้ เพราะจะกลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อรา

    นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข อธิบดี กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า จากภาวะอุทกภัยส่งผลให้บ้านเรือนของประชาชนถูกน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน เมื่อน้ำลด บ้านและเครื่องเรือนต่างๆ ที่ถูกน้ำท่วมจะมีความชื้นสูงทำให้เชื้อราเจริญเติบโตได้ดี เราสามารถมองเห็นกลุ่มก้อนของเชื้อราอยู่บนพื้นผิวของวัสดุได้ด้วยตาเปล่า กลุ่มของเชื้อรามักมีรอยจุด สีต่างๆ เช่น สีดำ สีน้ำตาล สีเขียว สีแดง สีเหลือง สีขาว เป็นดวง และมีกลิ่นเหม็นอับ หรือเหม็นคล้ายกลิ่นดิน เชื้อรามักจะเจริญเติบโตซ่อนอยู่ตามที่ต่างๆ ภายในบ้าน เช่น ฝ้าเพดาน ผนังใต้พื้น ใต้พรม วอลเปเปอร์ ตู้เสื้อผ้า ฟูก หมอน เครื่องหนัง เป็นต้น เมื่อประชาชนเข้าไปทำความสะอาดบ้านเรือนของตนเองก็อาจจะสูดหายใจสปอร์ของ เชื้อราที่ปลิวอยู่ในอากาศภายในบ้านเข้าไป ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น เกิดโรคภูมิแพ้ มีไข้ จาม น้ำมูกไหล โรคปอดอักเสบจากภูมิแพ้ โรคหอบหืด ก่อให้เกิดระคายเคืองต่อตา จมูก หลอดลม ทำให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อน และอาการแพ้เป็นผื่นลมพิษ

    กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีข้อแนะนำในการกำจัดเชื้อราสำหรับประชาชนที่จะเข้าไปทำความสะอาดบ้านเรือนหลังน้ำลด 5 ขั้นตอน ดังนี้

    1.การป้องกันตนเอง ควรสวมรองเท้าบูตยาง สวมถุงมือยาง
    เพื่อ ป้องกันเชื้อราสัมผัสผิวหนังโดยตรง ใส่แว่นตาป้องกันเชื้อกระเด็นเข้าตา และใส่ผ้าปิดปากปิดจมูกป้องกันการหายใจเอาสปอร์เชื้อราและไอระเหยสารเคมี เข้าสู่ร่างกาย

    2.การระบายอากาศ ใน ระหว่างทำความสะอาดควรเปิดประตู หน้าต่าง ม่าน เพื่อให้อากาศถ่ายเทและให้มีแสงแดดส่องถึงที่สำคัญไม่ควรเปิดแอร์ และพัดลมในระหว่างการทำความสะอาดเพราะจะทำให้สปอร์ของเชื้อราฟุ้งกระจายได้

    3.การทำความสะอาด ให้ ทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์ให้เร็วที่สุดภายใน 24-48 ชั่วโมงหลังน้ำลด โดยให้ล้างด้วยน้ำและสบู่เพื่อขจัดสิ่งสกปรกออกก่อน หลังจากนั้น ให้ล้างด้วยน้ำยาโซเดียมไฮโปคลอไรต์ หรือผงปูนคลอรีน 0.5 เปอร์เซ็นต์ หรือใช้ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปน้ำยาซักผ้าขาวที่มีส่วนผสมของโซเดียมไฮโปคลอไรต์ ซึ่งสามารถหาซื้อได้ที่ซุปเปอร์มาเก็ตทั่วไป นำมาผสมกับน้ำในอัตราส่วนน้ำยาซักผ้าขาว 3-5 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 1 แกลลอน (ประมาณ 3.8 ลิตร) สำหรับเชื้อราที่ขึ้นเป็นจุดๆ บนวอลเปเปอร์และผนัง ให้เช็ดด้วยแอลกอฮอล์ล้างแผล 70 เปอร์เซ็นต์ ผสมกับกรดซาลิไซลิกในอัตราส่วน 5 ต่อ 1 แต่หากพบว่ามีเชื้อราเป็นจำนวนมาก ควรเปลี่ยนวอลเปเปอร์และผนังใหม่ ส่วนเชื้อราบนเครื่องหนังให้ใช้น้ำส้มสายชูเช็ดถูหลายๆ ครั้ง เมื่อเครื่องหนังแห้งแล้วให้เช็ดด้วยน้ำยาทำความสะอาดอีกครั้งและใช้ครีม เช็ดรองเท้าเช็ดถูปิดท้าย หลังจากการทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ เสร็จแล้ว ให้ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อราเช็ดหรือพ่นบริเวณที่มีเชื้อราเจริญต่อเนื่องทุกวันจน เชื้อราหายไป จากนั้นเว้นระยะเช็ดหรือพ่นเป็นสัปดาห์ละครั้งเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ เชื้อราเจริญเติบโตอีก

    อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าว เพิ่มเติมว่า สำหรับเฟอร์นิเจอร์ที่ไม่สามารถกำจัดเชื้อราและทำให้แห้งได้ เช่น พรม เบาะผ้า ที่นอน ฟูก วอลเปเปอร์ ฯลฯ ไม่ควรเก็บไว้ใช้ต่อควรทิ้งโดยใส่ในถุงพลาสติกและมัดอย่างดีเพื่อป้องกันการ แพร่กระจายของเชื้อราสู่อากาศ

    4.การทำให้แห้ง หลังทำความสะอาดและฆ่าเชื้อราในบ้านเสร็จแล้วให้เปิดพัดลมเป่าในบ้านและอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
    เปิดหน้าต่าง ประตู เพื่อให้อากาศถ่ายเทเอาสปอร์ของเชื้อราออกจากตัวบ้านจนมั่นใจว่าบ้านและ อุปกรณ์ต่างๆ แห้งสนิท

    5.ตรวจสอบเชื้อรา หลัง จากทำความสะอาดไปแล้ว 2-3 วัน ให้สังเกตว่ามีเชื้อราเจริญเติบโตอีกหรือไม่ ถ้ายังพบว่ามีเชื้อราให้ทำความสะอาดซ้ำ หากมีเชื้อราเกิดขึ้นอีกให้ประชาชนตรวจสอบระบบระบายอากาศ ระบบแอร์ทั้งหมด และระดับความชื้นภายในบ้านด้วย


    -http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000150614-

    .
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    กำจัดยุงตัวร้ายด้วย “ถุงดักยุก”

    [​IMG]


    น้ำท่วมขังแบบนี้ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงชั้นเยี่ยม วันนี้แนะนำอีกหนึ่งวิธีในการกำจัดยุงตัวจิ๊ดแต่ฤทธิ์เยอะ

    ช่วงนี้หลายพื้นที่น้ำท่วม ปัญหาหนึ่งที่แม้ว่าจะดูไม่ใหญ่โต แต่ก็ก่อให้เกิดความรำคาญอย่างใหญ่หลวง นั่นก็คือ ถูกยุงกัด เพราะแหล่งน้ำขังทั้งหลาย เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำ ที่จะเจริญเติบโตต่อไปกลายเป็นยุงได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งยุงบางชนิดไม่เพียงแค่ทำให้เราแสบ ๆ คัน ๆ เท่านั้น แต่สามารถเป็นพาหะก่อให้เกิดโรคร้ายแล้วแต่ชนิดของยุง เช่น โรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย ไข้สมองอักเสบ โรคเท้าช้าง ฯลฯ เพื่อป้องกันตัวเองและคนที่คุณรักไว้แต่เนิ่น ๆ “กรมควบคุมโรค” ได้แนะนำวิธีในการทำ “ถุงดักยุง” มาฝาก โดยอุปกรณ์ที่ใช้ทำ “ถุงดักยุง” นั้น มีไม่มากและหาได้ง่าย คือ ถุงดำ ขวดน้ำพลาสติก และเสื้อผ้าที่ใส่แล้ว

    ขั้นตอนแรกเป็นวิธีล่อยุง ให้นำเสื้อผ้าที่ใส่แล้ว ใส่ลงไปในถุงดำ แล้วยุงจะได้กลิ่นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ระเหยออกมาจากผิวหนังมนุษย์แล้ว ติดอยู่กับเสื้อผ้าเหล่านั้น เสร็จแล้วทำปากถุงให้เป็นลักษณะท่อ โดยใช้ขวดพลาสติกที่เตรียมไว้ หรืออาจจะใช้แกนทิชชู่ก็ได้ เนื่องจากพฤติกรรมโดยทั่วไปของยุงจะชอบบินเข้าที่แคบ ๆ

    ขั้นตอนต่อมา เป็นขั้นตอนสำคัญ นั่นก็คือ “การดักยุง” ให้นำถุงที่เตรียมไว้แล้วไปวางไว้ในบริเวณที่มืด ๆ ไม่พลุกพล่าน เพียงเท่านี้ เจ้ายุงทั้งหลายก็จะบินเข้ามายังกับดักที่จัดไว้เอง

    วิธีสุดท้าย “การกำจัดยุง” เมื่อยุงเข้ามาสู่ “ถุงดักยุง” แล้ว ให้ปิดปากถุง แล้วนำไปวางกลางแดดสัก 1-2 ชั่วโมง แสงแดดจะช่วยแผดเผาจนยุงตาย เพียงแค่นี้ก็กำจัดยุงได้แล้ว แถมยังนำอุปกรณ์ทั้งหมดกลับมาใช้ใหม่ได้อีกต่างหาก เป็นวิธีที่สุดแสนประหยัดจริง ๆ.


    -http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=424&contentId=178171-

    .
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    กรมควบคุมโรคแนะวิธีปฏิบัติหลังน้ำลด ห่วงที่สุด "ไฟช็อต-ดูด-โรคฉี่หนู"


    นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ ในฐานะโฆษกกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า ขณะนี้พื้นที่ในหลายจังหวัดสถานการณ์น้ำท่วมเริ่มลดลงและกลับเข้าสู่ภาวะ ปกติ กรมจึงมีข้อแนะนำในการปฏิบัติตัวหลังน้ำลด โดยในส่วนของการดูแลบ้านเรือนสิ่งของ เครื่องใช้ และอาหาร ทุกครอบครัวต้องทำความสะอาดเสื้อผ้า เครื่องใช้ภายในบ้านและบริเวณบ้านให้สะอาด จากนั้นตรวจสอบความเรียบร้อยของอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่างๆ ให้แน่ใจว่าปลอดภัยก่อนนำกลับมาใช้งาน เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องตรวจเช็กปลั๊กไฟ สายไฟ เครื่องใช้ไฟฟ้าให้มั่นใจว่าสามารถใช้งานได้ปกติเหมือนเดิมและปลอดภัยหรือ ไม่

    "สิ่งที่ห่วงที่สุดคือ หลังน้ำลดประชาชนส่วนมากจะชะล่าใจ จนละเลยการป้องกันตนเอง โดยเฉพาะในเรื่องของการถูกไฟช็อต ไฟดูด ซึ่งหลังน้ำลดโอกาสที่จะเกิดขึ้นยังมีอยู่เช่นเดียวกับช่วงน้ำท่วม จึงควรสับคัตเอาต์ลงหรือแจ้งช่างให้เข้าไปตรวจสอบก่อน รวมทั้งโรคฉี่หนูที่ส่วนใหญ่จะมาหลังน้ำลด ประชาชนที่จะเข้าไปทำความสะอาดบ้าน ต้องใส่รองเท้าบูต ถุงมือและเครื่องป้องกันอื่นๆ เพื่อความปลอดภัย ปลอดโรค" นพ.รุ่งเรืองกล่าว


    -http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1322378955&grpid=&catid=19&subcatid=1904-

    .
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    <table class="mainmap" border="0" cellpadding="0" cellspacing="5" width="100%"><tbody><tr><td width="62%">คู่มือการทำความสะอาดบ้านหลังน้ำลด

    </td> <td width="32%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" width="33%">
    </td> <td align="center" width="33%">
    </td> <td align="center" width="33%">
    </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> </tbody></table>

    [​IMG]



    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุุกดอทคอม
    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช),

    ถึงตอนนี้ เชื่อว่าระดับน้ำในหลายพื้นที่คงเริ่มลดกันไปบ้างแล้ว หลายครอบครัวก็เริ่มทยอยกลับเข้าบ้านกันอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อทุกคนกลับเข้าบ้าน อาจจะต้องผงะกับสิ่งที่เห็น... เพราะบ้านบ้านหลังเดิมอาจจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป!!!

    เพราะไม่เพียงแต่น้องน้ำจะเคลื่อนย้ายทุกสิ่งทุกอย่างในบ้านไปคนละทิศคนละ ทางแล้ว แต่ยังฝากขยะและคราบสกปรกทิ้งไว้ตามพื้น กำแพง รวมถึงเฟอร์นิเจอร์ทั้งหลายที่อยู่ในบ้าน ซึ่งเป็นบ่อเกิดของเชื้อโรคอีกด้วย

    ดังนั้น ภารกิจการทำความสะอาดบ้านครั้งนี้ ดูท่าจะเป็นงานที่หนักเอาการน่าดู แค่คิดก็เหนื่อยแล้ว ... แต่เพื่อน ๆ ไม่ต้องกังวลไป เพราะในวันนี้ เรามีวิธีในการทำความสะอาดบ้านอย่างครบครันทุกซอกทุกมุมมาฝากกันค่ะ

    [​IMG] เตรียมพร้อมก่อนเข้าบ้าน

    - เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม อาทิ แว่นตาช่าง, หน้ากากกรองฝุ่น, ผ้าปิดปากปิดจมูก, ถุงมือยาง, รองเท้าบูท, ไฟฉาย และหมวกนิรภัย

    - จากนั้นแต่งกายให้พร้อมก่อนเข้าไปในตัวบ้าน สิ่งสำคัญคือห้ามประมาทและอย่าเข้าไปคนเดียว ต้องมีคนไปเป็นเพื่อน และต้องมีคนรออยู่ด้านนอก เผื่อเกิดเหตุฉุกเฉินที่ไม่คาดคิดขึ้น



    [​IMG]



    [​IMG] ขั้นตอนก่อนเข้าไปยังตัวบ้านให้ปฏิบัติ ดังนี้

    1.ก่อนเข้าไปในตัวอาคารบ้านเรือน ให้เดินดูบริเวณรอบ ๆ บ้านก่อน โดยสำรวจพิจารณาดูโครงสร้างที่อาจจะเสียหายเป็นอันตรายก่อนตัดสินใจที่จะ เข้าไป

    2.ระวังเรื่องสัตว์มีพิษต่าง ๆ ที่อาจหนีน้ำเข้าไปอาศัยอยู่ในตัวบ้าน

    3.สังเกตดูรอยร้าว หรือการบิดตัวของโครงสร้างก่อนตัดสินใจเข้าไป

    4.ตรวจดูที่จัดเก็บถังแก๊ส มองหาสิ่งผิดปกติที่อาจจะมีการรั่วซึม

    5.ตรวจสอบการจ่ายไฟให้แน่ใจว่า ไฟฟ้ายังไม่ได้จ่ายกระแสเข้าไปในบ้าน โดยการดูที่คัตเอาท์ว่ายังมีการสับสวิตช์ลงอยู่หรือไม่

    6.เปิดประตูให้เกิดการถ่ายเทอากาศ อย่าเหยียบเข้าบ้านทันที ให้สังเกตพื้นบ้าน ลองค่อย ๆ ใช้เท้าทิ้งน้ำหนักเพื่อทดสอบก่อน

    7.สังเกตดูเพดานว่ามีการอมน้ำ แอ่นท้องช้าง หรือมีคราบน้ำอยู่หรือไม่ เพราะเพดานอาจพังทลายลงมาได้เมื่อมีการเคลื่อนไหวให้ระมัดระวัง

    [​IMG] ตรวจเช็คเชื้อโรค-ระบบไฟฟ้า

    1.การป้องกันตนเอง เช่น การใส่ถุงมือยาง และรองเท้าบูท ที่จะช่วยป้องกันการติดเชื้อโรคเชื้อรา, ป้องกันการสัมผัสสารเคมี รวมถึงป้องกันไฟดูด รวมทั้งคาดผ้าปิดจมูกและปากที่ช่วยป้องกันการหายใจเอาสปอร์ของเชื้อราและไอ ระเหยของสารเคมีเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ

    2.ในระหว่างการทำ ความสะอาดควรเปิดประตูหน้าต่างให้อากาศระบายได้มากที่สุด โดยอาจเปิดพัดลมเพดานช่วยระบายอากาศ

    3.ห้ามเปิดเครื่องปรับอากาศ เพราะเชื้อโรคต่าง ๆ จะถูกดูดเข้าไปอยู่ในระบบปรับอากาศ และจะกลายเป็นที่เพาะพันธุ์เชื้อราต่อไป ถือเป็นภัยเงียบที่เรามองไม่เห็น

    4.จากนั้นก็มาเริ่มที่ระบบไฟฟ้าของทั้งบ้าน ซึ่งจะต้องถูกปิดทันทีที่น้ำท่วมบ้าน ดังนั้น ระบบไฟฟ้าจึงเป็นสิ่งแรก ๆ ที่จะต้องจัดการทันทีที่น้ำลด โดยให้ช่างไฟฟ้ามืออาชีพมาตรวจสอบและซ่อมแซมให้หมดก่อนจึงจะสามารถกลับไปใช้ ไฟฟ้าได้

    5.บางครั้งจำเป็นอย่างมากที่จะต้องเดินสายไฟใหม่ทั้งหมด และสายไฟจะต้องแห้งสนิท รวมทั้งสวิตช์ไฟ, เต้าเสียบปลั๊กไฟต่าง ๆ ที่จมอยู่ใต้น้ำอาจจะมีโคลนตมและตะกอนที่มากับน้ำเข้าไปอยู่ จึงต้องมีการตรวจเช็กระบบอย่างละเอียด

    6.ระบบเครื่องปรับอากาศ หลังน้ำลดต้องเรียกช่างแอร์มืออาชีพมาตรวจเช็คระบบเครื่องปรับอากาศภายใน บ้านทั้งหมด พร้อมทั้งทำความสะอาดท่อต่าง ๆ, แผ่นกรองอากาศ เปลี่ยนฉนวนกันความร้อนที่จมน้ำ ฯลฯ เมื่อช่างแก้ไขให้เสร็จเรียบร้อยแล้วให้ซีลปิดไว้ก่อนจึงจะเริ่มการทำความ สะอาดบ้าน

    7.อย่าลืมว่าก่อนจะเปิดเครื่องปรับอากาศต้องทำความสะอาดบ้านจนเสร็จเรียบร้อยพร้อมกลับเข้าไปอยู่แล้วเท่านั้น

    [​IMG] จัดพื้นที่เก็บขยะ

    1.แน่นอนว่าจะมีขยะทั้งของบ้านเราเองและบ้านคนอื่น เลือกที่พักขยะหรือที่แขวนถุงขยะ เพราะสิ่งที่ลำบากที่สุดหลังน้ำลดก็คือปริมาณขยะมากกว่าคนจะมาเก็บขยะ ดังนั้นจึงต้องใช้เวลา

    2.เรียงลำดับ แยกประเภทขยะ เพราะกำลังเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ ทิ้งขยะที่จะเน่าได้ก่อน เช่น เศษอาหาร ส่วนขยะบางประเภทเก็บไว้ในบริเวณบ้านก่อนได้แล้วค่อยทยอยทิ้งทีหลัง เช่น โฟม พลาสติก เฟอร์นิเจอร์ที่พังเสียหาย ส่วนขยะอันตราย จำพวกเครื่องใช้ไฟฟ้า หลอดไฟ (ที่ยังไม่แตก) ควรคัดแยกไว้ต่างหาก แล้วหาวิธีจัดการอย่างเหมาะสมเป็นลำดับถัดไป

    [​IMG] วิธีเลาะซิลิโคน ที่เราอัดรูระหว่างประตู ตอนน้ำท่วม มีดังนี้...

    1. ใช้มีดปลายแหลมกรีดตามรอยซิลิโคนที่ยิง

    2. เมื่อเอากำแพงออกจะมีรอยเลอะและคราบของซิลิโคนติดอยู่

    3. ใช้มีดปลายแหลมลอกซิลิโคนออก (ถ้าไม่มีเครื่องมือข้างต้น อาจจะใช้คัตเตอร์ หรือมีดแทนได้)

    4. ใช้มีดปลายแหลมขูดเศษของซิลิโคนออกอีกรอบ

    5. ทำความสะอาดลอกซิลิโคนออกจากกำแพงกั้นน้ำสังกะสีหรือแผ่นโพลีคาร์บอเนตด้วยความปราณีตเผื่อได้ไว้ใช้งานต่อ

    6. เก็บกวาดอีกครั้งก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย



    [​IMG]


    [​IMG] การทำความสะอาด

    1. พื้น


    ด้านนอกอาคาร ทำ ความสะอาดโดยการฉีดน้ำล้าง การขัด และใช้น้ำยาทำความสะอาดต่างๆ สามารถ ล้างแบบเปียกได้แล้วทิ้งให้แห้ง สามารถใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรครวมด้วยเพื่อความสะอาด

    ด้านในอาคาร เช็ด ทำความสะอาด หากคราบฝังแน่น ขัดด้วยแปรงหรือแผ่นขัด และใช้น้ำยาทำความสะอาดต่าง ๆ สามารถใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรครวมด้วยเพื่อความสะอาดเพื่อทำความสะอาด

    *หมายเหตุ หากพื้นที่กว้างสามารถใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง หรือเครื่องขัดพื้น ช่วยทำความสะอาดจะลดเวลาทำงานได้มาก

    - พื้นไม้ สะสมความชื้นสูง ควรใช้น้ำยาทำความสะอาดและน้ำยาฆ่าเชื้อโรคทำความสะอาด ล้าง หรือเช็ดถู

    - พื้นพรม หากสะสมความชื้นสูง แนะนำให้เปลี่ยนใหม่จะดีกว่า เพื่อความสุขภาพของผู้อยู่อาศัย หากไม่ชื้นมากให้ใช้เครื่องซักพรมทำความสะอาด หรือซักล้างด้วยแปรงขัดล้างทำความสะอาด แล้วใช้เครื่องดูดฝุ่นดูดน้ำเพื่อดูดน้ำกลับ ระวังพรมบางประเภทไม่ทนต่อน้ำ กาวหรือขนพรมอาจหลุดได้

    2. กำแพง

    ด้านนอกอาคาร ทำ ความสะอาดโดยการฉีดน้ำล้าง การขัด และใช้น้ำยาทำความสะอาดต่างๆ สามารถ ล้างแบบเปียกได้แล้วทิ้งให้แห้ง สามารถใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรครวมด้วยเพื่อความสะอาด

    ด้านในอาคาร เช็ด ทำความสะอาด หากคราบฝังแน่น ขัดด้วยแปรงหรือแผ่นขัด และใช้น้ำยาทำความสะอาดต่าง ๆ สามารถใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรครวมด้วยเพื่อความสะอาดเพื่อทำความสะอาด แต่สีผนังอาจหลุด จะต้องแต่งใหม่

    วอลเปเปอร์ เช็ดทำความสะอาด และฆ่าเชื้อโรค

    3. เฟอร์นิเจอร์

    ตู้บิลอิน เช็ดถูทำความสะอาด และฆ่าเชื้อโรค เปิดหน้าบานระบายความชื้น

    เฟอร์นิเจอร์ลอยตัว ฉีด ล้างทำความสะอาด นำตากแดด หากเป็น เฟอร์นิเจอร์ผ้าจะเปียกและสะสมความชื้นสูง แนะนำให้เปลี่ยนใหม่จะดีกว่า เพื่อความสุขภาพของผู้อยู่อาศัย หากไม่ชื้นมากให้ซักล้างด้วยแปรงขัดล้างทำความสะอาด แล้วใช้เครื่องดูดฝุ่นดูดน้ำเพื่อดูดน้ำกลับ

    4. เครื่องใช้ต่าง ๆ

    เครื่องครัว แช่ทำความสะอาดในน้ำคลอรีนผสม หรือ แอลกอฮอล์ เพื่อฆ่าเชื้อโรค แล้วนำไปแช่ในน้ำเดือดต้มทำความสะอาดอีกครั้ง

    เครื่องเงินและโลหะ แช่ในน้ำเดือด เพื่อเป็นการต้มทำความสะอาด



    [​IMG]



    [​IMG] ถึงเวลาลงมือทำ

    หลังจากตรวจเช็กทุกอย่างจนแน่ใจแล้ว ก็มาถึงวิธีการทำความสะอาดขนานใหญ่ โดยเริ่มตามโปรแกรมดังนี้

    1. เริ่มด้วยการขนย้ายสิ่งของต่าง ๆ ภายในบ้านออกมาให้ได้มากที่สุด เพื่อสะดวกในการจัดการกับโคลนตมที่มากับน้ำ ให้ใช้พลั่วตักดินโคลนออกจากพื้นบ้านให้ได้มากที่สุด

    2. ใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง (ถ้ามี) หรือสายยางฉีดน้ำเพื่อชะล้างโคลนออกจากพื้นผิว อุปกรณ์อย่างหนึ่งที่จะช่วยผ่อนแรงได้มากคือ ไม้ปาดน้ำ หากไม่มีและพื้นที่ไม่ใหญ่มากนัก สามารถใช้ผ้าขนหนูทำเป็นผ้าลากน้ำได้ โดยเน้นการกำจัดดินโคลนออกไปให้หมด

    3. เรื่องของพื้น หากพื้นบ้านของท่านมีการใช้วัสดุต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ไวนิล, เสื่อน้ำมัน, พรม, ปาร์เกต์ ฯลฯ มีความจำเป็นที่จะต้องรื้อวัสดุปูพื้นเหล่านั้นออกเพื่อให้พื้นด้านล่างแห้ง ซึ่งกว่าจะแห้งสนิทอาจใช้ระยะเวลานานพอสมควร

    4. การทำความสะอาดพื้นทุกชนิด ต้องพิจารณาดูตามความเหมาะสมของพื้น โดยทั่วไป ๆ สามารถใช้น้ำผสมคลอรีนในอัตราส่วน 0.1% (1 CC ต่อน้ำ 1,000 CC) ฉีดพ่นให้ทั่วบริเวณก่อนแล้วจึงขัดถูพื้นด้วยน้ำยาล้างจานหรือผงซักฟอก ขัดถูให้ทั่วบริเวณแล้วจึงราดด้วยน้ำร้อนเดือด ๆ หรือใช้ผลิตภัณฑ์น้ำยาเคมีทำความสะอาดที่สามารถฆ่าเชื้อต่าง ๆ ได้ ซึ่งต้องอ่านฉลากวิธีใช้ให้ละเอียดและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

    5. หากเป็นไปได้ควรใช้ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อกำจัดกลิ่นที่เป็นสารชีวภาพเอนไซม์ ซึ่งมีประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อ กำจัดกลิ่น กำจัดคราบไขมันได้

    - ข้อดี คือ สารชีวภาพเอนไซม์นั้นจะยังคงมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อที่จะเกิดขึ้นใหม่ จากความชื้นต่อไปได้อีกนานประมาณ 3-6 เดือน ตราบที่พื้นยังมีความชื้นอยู่ และที่สำคัญสารชีวภาพเอนไซม์นั้นไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

    6. สำหรับพื้นบ้านที่ปูพรม ถ้าพื้นบ้านที่ปูพรมจมอยู่ใต้น้ำท่วมหรือน้ำเสีย ควรจะตัดใจกำจัดทิ้งไปเพื่อความปลอดภัยของสุขภาพ เพราะพรมเป็นแหล่งเพาะเชื้อราอย่างดี

    - การทำความสะอาดพรมด้วยตัวเองเป็นเรื่องยาก ต้องใช้มืออาชีพที่เชื่อถือได้ว่าจะใช้น้ำยาซักพรมที่ฆ่าเชื้อกำจัดกลิ่น และใช้เครื่องมือซักพรมชนิดพิเศษที่สามารถทำความสะอาดได้ล้ำลึก แต่ค่าใช้จ่ายในการทำความสะอาดค่อนข้างสูง ควรพิจารณาให้ดี



    [​IMG] วิธีกำจัดเชื้อราในบ้าน



    [​IMG]



    [​IMG] ข้อแนะนำ 1. การป้องกันร่างกายให้ถูกต้อง เช่น สวมถุงมือยาง (เช่น ถุงมือล้างจานที่แม่บ้านใช้) สวมรองเท้าบูทยาง สวมหน้ากาก (mask) สวมเสื้อผ้ามิดชิด เพื่อป้องกันไม่ให้ความสกปรกมาถูกตัว ถูกผิวหนัง/แผล หรือน้ำกระเด็นเข้าปาก/น้ำเข้าตา ต้องล้างมือล้างเท้าด้วยน้ำสะอาดและสบู่บ่อย ๆ ต้องคำนึงว่ากำลังทำงานอยู่กับของสกปรก

    2. ใช้น้ำยาที่ใช้อยู่ตามปกติ ทำความสะอาดคราบต่าง ๆ (คราบดิน/โคลน คราบน้ำ) ก่อนในขั้นแรก เพื่อเอาความสกปรกออกให้ได้มากที่สุด เช่น น้ำยาล้างบ้าน ล้างพื้นห้องน้ำ ผงซักฟอก เป็นต้น แต่ต้องปฏิบัติตามฉลากของนำยาเหล่านั้นให้ถูกต้อง เช่น อะไรใช้กับไม้ กับกระเบื้อง กับ โลหะ (= ต้องอ่านฉลาก)

    3. ควรทำในที่ที่อากาศถ่ายเทดี (ห้ามเปิดพัดลม หรือเครื่องปรับอากาศ เพราะจะทำให้เชื้อราฟุ้งกระจายในอากาศ)

    [​IMG] ขั้นตอนการทำความสะอาดเชื้อราในแต่ละส่วน

    1. เมื่อเกิดเชื้อราขึ้นกับวัสดุที่เป็นพื้นแข็ง ให้ ใช้น้ำสบู่ แอลกอฮอล์ หรือน้ำยาขัดห้องน้ำล้าง และขัดให้ด้วยแปรงชนิดแข็งจนเชื้อราออกจนหมดจด จากนั้นใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดหลาย ๆ รอบจนกว่าจะแน่ใจว่าสะอาด

    2. วัสดุที่เป็นเนื้ออ่อน เช่น หนังสือ กระดาษมัน พลาสติก กล่อง ให้ใช้สำลีชุบฟอร์มาลีนเช็ด แล้วตามด้วยผ้าชุบน้ำสะอาด จากนั้นนำไปวางไว้ในที่ที่อากาศถ่ายเท และมีแสงแดดส่องถึงเล็กน้อย แล้วปล่อยให้แห้ง


    [​IMG]


    3. พรม ฝ้า หรือที่นอน หากมีเชื้อราขึ้น ให้โยนทิ้งจะปลอดภัยที่สุด เพราะวัสดุที่มีรูอย่างพรม ฝ้า และที่นอนนี้ เป็นวัสดุที่ล้างเชื้อราออกได้ยากมาก และแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะสามารถล้างออกได้หมดจด 100% ซึ่งถ้าหากยังดันทุรังใช้ต่อไป ความชื้นในห้องก็อาจจะทำให้เชื้อราลุกลาม ฟักตัวได้กว้างขึ้น ทำให้เกิดโรคและเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจของผู้อยู่อาศัยไม่รู้ตัว ซึ่งแน่นอนว่ามันไม่คุ้มกันเลยล่ะ


    [​IMG]


    4. อย่าทาสีหรือแลคเกอร์ทับในบริเวณที่เกิดเชื้อรา ให้ล้างออกให้สะอาดหมดจดก่อน จากนั้นค่อยเริ่มทาสีหรือแลคเกอร์

    5. กรณีที่เชื้อราผุดให้เห็นในข้าวของเครื่องใช้ประเภทเครื่องหนัง ให้ใช้น้ำส้มสายชูเช็ดหลาย ๆ ครั้ง จนแน่ใจว่าสะอาด จากนั้นเช็ดครั้งสุดท้ายด้วยน้ำสะอาด น้ำส้มสายชูจะช่วยกำจัดเชื้อราได้เป็นอย่างดี

    6. เฟอร์นิเจอร์ หรือของใช้ที่เป็นไม้เนื้ออ่อน โดย ปกติวัสดุเหล่านี้จะเสี่ยงต่อการขึ้นราเมื่อมีความชื้นอยู่แล้ว ซึ่งมันจะไม่เป็นอะไรมากนักหากนำมาล้างทำความสะอาดภายใน 24-48 ชั่วโมงที่พบเชื้อ หรือเริ่มสังเกตเป็นดอกเป็นดวงขึ้น แต่ในกรณีที่น้ำท่วมแล้วปล่อยบ้านไว้นานเป็นเดือน ๆ ขอแนะนำให้ทิ้งข้าวของเครื่องใช้ที่ทำด้วยไม้เนื้ออ่อนเหล่านั้นไปอย่างไม่ ต้องเสียดาย เพราะอาจจะฟักตัวเป็นเชื้อราที่อันตรายมากขึ้นได้

    7. ย้ายเฟอร์นิเจอร์ หรือเครื่องใช้ที่มีราขึ้น (และตอนนี้ได้ทำความสะอาดแล้ว) ไป อยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก หรือที่แสงแดดส่องถึงสักระยะหนึ่ง คือประมาณ 1-2 สัปดาห์ แล้วหมั่นคอยตรวจสอบว่า หลังจากทำความสะอาดแล้วยังมีเชื้อราขึ้นอยู่อีกหรือไม่ หากไม่มีก็แสดงว่าสามารถแน่ใจแล้วว่าเราได้ทำความสะอาดเชื้อราออกไปได้อย่าง หมดจดแล้วจริง ๆ แต่หากยังพบร่องรอยของเชื้อรา ขอให้นำมาทำความสะอาดใหม่ เพราะมันจะลามได้ง่ายมากถ้าหากวันหนึ่งอากาศชื้นอีกครั้ง

    8. วอลเปเปอร์ ใช้ กรดซาลิไซลิด ผสมกับแอลกอฮอล์ในอัตราส่วน 1:5 จากนั้นนำผ้ามาชุบไปเช็ดวอลเปเปอร์ซ้ำ ๆ ประมาณ 2 รอบ แต่ถ้าหากว่ามีเชื้อราอยู่มาก แนะนำให้รื้อทิ้งแล้วเปลี่ยนวอลเปเปอร์ใหม่จะดีกว่า

    9. เสื้อผ้า ผ้าม่าน และผ้าห่ม หากพบเชื้อรา สามารถฆ่าเชื้อเบื้องต้นได้โดยใช้น้ำร้อน จากนั้นขยี้แล้วซักให้สะอาดหลาย ๆ ครั้ง และตากในที่ที่มีแสงแดดเท่านั้น เพื่อเป็นการฆ่าเชื้ออีกที

    10. งดกิจกรรมที่จะก่อให้เกิดความชื้นภายในบ้าน หาก ตัวบ้านเพิ่งมีราขึ้นและได้รับการทำความสะอาดไปใหม่ ๆ ไม่ควรต้มน้ำ ซักผ้า ตากผ้า เปิดเครื่องปรับอากาศเย็นจัด แต่ควรเปิดให้อากาศภายนอกได้ระบายเข้ามาบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันแดดจัด แม้ว่าจะทำให้คุณร้อนอบอ้าวไปบ้าง แต่แสงแดดจะช่วยฆ่าเชื้อราได้ดีเลยทีเดียว


    [​IMG] เตรียมพร้อมรับมืออยู่กับน้ำ (ในคราวหน้า)

    1. หากเลือกได้ ปูพื้นบ้านด้วยกระเบื้องดูจะเป็นทางเลือกที่ง่ายต่อการทำความสะอาดที่สุด

    2. ถังส้วม อย่าฝังไว้ในดิน ลองประยุกต์พื้นที่จัดวาง เช่น ใต้บันได

    3. กล่องไฟแยกระบบชั้นบน-ชั้นล่างชัดเจน ถึงเวลาน้ำมาตัดไฟชั้นล่าง ใช้ชีวิตชั้นบนได้ตามปกติ

    4. ทุกชุมชนควรกำหนดพื้นที่พักขยะหรือซากปรักหักพังเมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติไว้ อย่างชัดเจน ขยะจะได้ไม่ล้นทะลัก และช่วยให้ง่ายต่อการจัดการในภายหลัง



    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก ประชาชาติธุรกิจ
    [​IMG] , สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช), 108clean.com, มูลนิธิโลกสีเขียว



    -http://thaiflood.kapook.com/view34082.html-

    .
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    รู้ไหมว่า...ยุงรำคาญเป็นพาหะของโรคใดบ้าง? <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">28 พฤศจิกายน 2554 14:18 น.</td> </tr></tbody></table>

    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center" valign="baseline">ภาพวิวาดทางวิทยาศาสตร์ของยุงรำคาญสกุล คูเลกซ์ ควินคิวแฟสเวียตัส เพศผู้ (ซ้าย) และ เพศเมีย (ขวา)</td> </tr> </tbody></table>

    ภาวะหลังน้ำท่วมใหญ่ในหลายภาคของประเทศไทย ทำให้เกิดมีน้ำท่วมขังตามแหล่งต่าง ๆ ในวงกว้างที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของยุงหลายชนิด ที่กำลังเป็นปัญหาหนักในขณะนี้คือการมีกลุ่มยุงรำคาญจำนวนมากในทุกพื้นที่ ที่มีน้ำท่วมขัง ยุงรำคาญมีหลายสกุล แต่ที่พบมากในขณะนี้คือ คูเลกซ์ ควินคิวแฟสเวียตัส (Culex quinquefasciatus) ที่พบในแหล่งน้ำขังที่เป็นน้ำเน่าเสีย ยุงรำคาญอีก 2 สกุล ที่พบได้มากในประเทศไทย ได้แก่ เจลิดัส (Cx. Gelidus) และ ไตรเตนิโอรินคัส (Cx. Tritaeniorhynchus) ซึ่งเป็นยุงรำคาญที่พบลูกน้ำอยู่ในหนองน้ำ น้ำขังตามไร่นา น้ำตามรอยเท้าสัตว์ กลุ่มยุงรำคาญเหล่านี้เป็นพาหะนำโรคไข้สมองอักเสบ โรคเท้าช้างในคน และโรคพยาธิหนอนหัวใจในสุนัข ยุง ที่นำโรคที่สำคัญอีก 3 กลุ่มคือ กลุ่มยุงลาย สองสกุลที่สำคัญคือ Aedes aegypti (ยุงลายบ้าน) และ Ae. albopictus (ยุงลายสวน) ที่นำเชื้อไข้เลือดออกที่ลูกน้ำอาศัยอยู่ในน้ำสะอาด เช่น ตามลุ่มน้ำ ภาชนะใส่น้ำ อื่น ๆ กลุ่มยุงก้นปล่อง (Anopheles) ที่นำเชื้อไข้มาลาเรีย และกลุ่มยุงเสือ (Mansonia) ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่ายุงทั้ง 3 กลุ่มข้างต้น ที่นำเชื้อโรคเท้าช้าง ยุงเหล่านี้อาจสามารถนำโรคอื่น ๆ เช่น ยุงลายแม้จะเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก แต่ก็มีรายงานว่าสามารถนำโรคเท้าช้างได้ เป็นต้น

    โดยทั่วไปยุงจะมีการเจริญเติบโตเป็น 4 ระยะ คือ ระยะเป็นไข่ ลูกน้ำ ตัวโม่ง และตัวเต็มวัย โดยที่ในระยะลูกน้ำจะแบ่งการเจริญเติบโตออกเป็น 4 วัย คือ วัย 1-4 ลูกน้ำจะมีการลอกคราบเมื่อเข้าสู่ระยะต่าง ๆ โดยมีระยะการเจริญเติบโตในระยะลูกน้ำประมาณ 7-10 วัน อาจช้าหรือเร็วกว่านี้ขึ้นกับชนิดของลูกน้ำ อุณหภูมิและอาหาร ขณะที่ระยะตัวโม่งจะใช้เวลา 2-3 วัน ซึ่งในระยะตัวโม่งนี้จะไม่กินอาหารใดๆ และจากตัวโม่งจะลอกคราบออกมาเป็นยุง ในระยะตัวเต็มวัยที่เป็นยุงนี้ ตัวผู้จะมีชีวิตอยู่ได้ราว ๆ 7 วัน ขณะที่ยุงตัวเมียจะมีชีวิตอยู่ได้นานนับเดือน โดยยุงทั้ง 2 เพศ จะใช้น้ำหวานจากดอกไม้ดำรงชีวิต ขณะที่ยุงตัวเมียจะต้องการโปรตีนจากเลือดมนุษย์และสัตว์เพื่อการสร้างไข่ที่ จะกลายเป็นลูกน้ำยุงต่อไป

    ยุงมีถิ่นอาศัยที่ต้องเพาะพันธุ์ตามแหล่งน้ำหลายชนิด โดยยุงก้นปล่องวางไข่ใบเดี่ยว ๆ บนผิวน้ำ ยุงลายวางไข่ใบเดี่ยวๆ ตามขอบเหนือระดับน้ำ ยุงรำคาญวางไข่เป็นแพบนผิวน้ำและยุงเสือวางไข่ติดกันเป็นกลุ่มติดกับใบของ พืชน้ำ เมื่อไข่ฟักออกมาเป็นตัวจะได้ลูกน้ำวัย 1 และลอกคราบตามระยะ ลูกน้ำจะลอยขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำ ส่วนลูกน้ำยุงเสือจะหายใจโดยเจาะเอาออกซิเจนจากรากพืชน้ำ ลูกน้ำยุงจะกินอาหารพวกแบคทีเรีย ยีสต์ สาหร่ายเล็ก ๆ เป็นต้น ในการควบคุมประชากรยุง มักจะควบคุมในระยะที่เป็นลูกน้ำ โดยใช้แบคทีเรียฆ่าลูกน้ำยุง หรือควบคุมระยะที่เป็นตัวยุงโดยใช้สารเคมีฆ่ายุงหรือหมอกควันที่ใช้ไล่ยุง (แต่อาจกำจัดยุงไม่ได้มากนัก เพราะยุงอาจบินหนีไปอยู่ที่อื่น)

    ข้อมูล - คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    -http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000151523-

    . __________________


    สื่อนอกเผย “ยุงร้าย” เป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ในวิกฤตอุทกภัยไทย <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">28 พฤศจิกายน 2554 21:09 น.</td></tr></tbody></table>


    วอลล์สตรีทเจอร์นัล/ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ขณะระดับน้ำกำลังจะลดลงในหลายพื้นที่ ปัญหาใหม่ที่มาไล่ๆ กับวิกฤตอุทกภัยไทยในเวลานี้ คือ ฝูงยุงจำนวนมหาศาลที่เกิดในช่วงน้ำท่วม และกำลังเป็นภัยคุกคามสุขภาพของผู้ประสบภัย เว็บไซต์หนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์นัลรายงานสถานการณ์ภัยร้ายจากยุงหลัง น้ำท่วมในบทความเรื่อง “New Scourge for Flooded Thailand: Mosquitoes” วันนี้ (28)

    “ยุงบินว่อนเต็มบ้านไปหมด ทั้งบนเพดานและตามผนังห้อง” น.ส.ธัญญาทิพย์ เนติชัยเศรษฐ์ คุณแม่ลูกสองวัย 48 ปี บรรยายความทุกข์ร้อน บ้านของครอบครัวนี้เป็นทาวน์เฮาส์ 3 ชั้น ซึ่งถูกน้ำท่วมขังในบางส่วนมานานกว่า 2 สัปดาห์

    ระดับน้ำค่อยๆ ลดลง หลังจากอุทกภัยครั้งเลวร้ายพรากชีวิตผู้คนไปแล้วเกินกว่า 600 ราย แต่พื้นที่อีกหลายส่วนรอบกรุงเทพฯ ยังจมอยู่ใต้บาดาล และอาจต้องใช้เวลาอีกหลายสัปดาห์ก่อนบ้านเรือนและร้านรวงต่างๆ จะกลับมาแห้งสนิททุกหลัง

    อย่างไรก็ตาม แม้ระดับน้ำกำลังจะแห้งหาย แต่ปัญหาก็ไม่หมดไป เนื่องจากฝูงแมลงต่างๆ ที่มาพร้อมน้ำท่วม ขณะเดียวกัน แอ่งน้ำขังอุณหภูมิอุ่นที่หลงเหลือหลังน้ำลดก็เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงชั้น ดี

    การรุกรานจากแมลงกำลังเป็นปัญหาที่อาจลุกลามเป็นการระบาดของความเจ็บ ไข้ได้ป่วย โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออก ทั้งนี้ ไทยเป็นหนึ่งในชาติที่มีการพัฒนามากที่สุดในภูมิภาค แต่กลับปรากฏรายงานการเจ็บป่วยด้วยไข้เลือดออกมากที่สุดในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ตลอดหลายปีที่ผ่านมา โดยมีการระบาดครั้งสำคัญในปี 1987, 1998 และ 2001 การระบาดใหญ่แต่ละครั้งมีผู้ป่วยมากกว่า 125,000 ราย แม้จะสามารถรักษาได้ แต่โรคไข้เลือดออกก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่เป็นเด็ก

    องค์การบรรเทาทุกข์ต่างๆ เช่น ยูนิเซฟ พยายามแจกจ่ายมุ้งหลายหมื่นหลังช่วยเหลือผู้ประสบภัย ในบางกรณีหน่วยงานของไทยก็เสนอให้ใช้ยาฆ่าแมลง ส่วนผู้เชี่ยวชาญต่างก็แนะนำให้ผู้ประสบภัยกางมุ้งนอน และใช้ผลิตภัณฑ์กันยุงในช่วงกลางวัน เนื่องจากยุงลาย พาหะนำโรคไข้เลือดออก มักออกหากินตอนกลางวัน

    แต่เมื่อทุกๆ พื้นที่ยังมีแอ่งน้ำท่วมขังหลงเหลืออยู่จำนวนมาก จึงไม่น่าแปลกใจที่การรับมือกับยุงและแมลงต่างๆ จะกลายเป็นปัญหาใหญ่

    อีกมุมหนึ่ง นางวรรณากร ขาวฉัตรชัย แม่ค้าดอกไม้และพวงมาลัยวัย 43 ปี กล่าวว่า เธอดีใจที่กลับมาขายของได้อีกครั้ง หลังตลาดถูกน้ำท่วมมานาน 2 สัปดาห์ แต่เมื่อน้ำลด วรรณากรกำลังประสบกับปัญหาใหม่จากฝูงยุงจำนวนในมากตลาด

    “ฉันไม่เคยเห็นยุงมากขนาดนี้มาก่อนเลย” นางวรรณากรเล่าว่า ต้องเริ่มตั้งแผงตั้งแต่ 4.00 น. โดยอาศัยยาจุดกันยุงที่จุดทิ้งไว้ทั้งคืน ส่วนตอนกลางวันก็จุดตลอดเวลา แต่ดูเหมือนจะไร้ผล วรรณากรจึงหันมาใช้ยาฉีดกันยุงและพัดลมช่วย ซึ่งก็ไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้น

    “ยุงเยอะมากกว่าปกติ พวกมันไม่กลัวคนเลย มันกัดเราทั้งตัว ... บางทีมันถึงกับบินเข้าปาก ฉันทำได้แค่หาทางกำจัดมัน จะได้ไม่เป็นไข้เลือดออก แต่ยุงก็ไม่เคยลดลงเลย”

    ส่วนบ้านทาวน์เฮาส์ 3 ชั้น ของคุณแม่ลูกสองอย่างธัญญาทิพย์ก็ถูกยุงโจมตีหนักเช่นกัน เธอเล่าว่าฉีดยากันยุงไปแล้ว 4 กระป๋อง แต่มันก็ยังกลับมาอีก และดูเหมือนจะรุนแรงกว่าเดิม

    “เหมือนกับยุงมันโตเร็วมาก” น.ส.ธัญญาทิพย์ เนติชัยเศรษฐ์ กล่าว “ฉันฉีดยากันยุงในห้องชั้นล่าง ปิดประตู แล้วขึ้นไปอยู่ชั้นสาม รอจนครบชั่วโมงค่อยลงมาดู มียุงกองเกลื่อนพื้น น่าจะมีเป็นพันๆ ตัวทีเดียว”

    “ฉันคิดว่าคงจัดการพวกมันได้แล้ว แต่พอรุ่งเช้า ก็มียุงอีกมากมายเข้ามาอีก”

    คุณแม่ธัญญาทิพย์กังวลเรื่องสุขภาพของลูกทั้งสองคนเป็นพิเศษ ทั้งคู่ยังอายุไม่ถึง 5 ปี เธอเกรงว่า ลูกๆ อาจเป็นไข้เลือดออก ธัญญาทิพย์ลองเทสารเคมีลงท่อระบายน้ำตามที่เจ้าหน้าที่แนะนำ เธอตัดพ้อว่า มันช่วยได้เพียงช่วงหนึ่งเท่านั้น อีกไม่นานยุงมหาศาลก็จะกลับมารังควานบ้านหลังนี้อีกครั้ง


    -http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9540000151755-


    .
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ดันผลิตเชื้อจุลินทรีย์กำจัด “ยุงรำคาญ” ระดับอุตสาหกรรม <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">28 พฤศจิกายน 2554 14:17 น.</td></tr></tbody></table>
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center" valign="baseline">ยุงรำคาญพบได้มากช่วงหลังน้ำลดและในน้ำเน่าขัง</td> </tr> </tbody></table>


    คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย - สวทช.-มหิดล-กรม วิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมผลิตแบคทีเรียผลิตสารพิษกำจัดยุ่งก้นปล่องและยุงลายที่แพร่พันธุ์มากใน ช่วงน้ำลดหลังน้ำท่วม โดยจ้างภาคเอกชนผลิตเชื้อในระดับอุตสาหกรรมและจะนำไปทดสอบภาคสนาม แต่เชื้อดังกล่าวไม่ผลิตสารที่เป็นอันตรายต่อคนและสัตว์เลี้ยง

    ทั้งนี้ จากสภาวะน้ำท่วมใหญ่ ทำให้เกิดน้ำท่วมขัง และน้ำเน่าเสียปริมาณมากทำให้มีการแพร่ระบาดของประชากรยุงรำคาญหลายสกุล เช่น เจลิดัส(Cx. Gelidas), ควินคิวแฟสเวียตัส (Cx. Quinquefasciatus), ไตรเตนิโอนิโอรินคัส (Cx. Tritaeniorhynchus), วิชนูอิ (Cx. Vishnui), วิทมอริไอ (Cx. Whitmorei) รวมทั้งยุงเสือ แมนโซเนีย ยูนิฟอร์มิส (Mansonia uniformis) ส่วนยุงลายและยุงก้นปล่องที่ต้องการน้ำสะอาดในการ วางไข่อาจมีการแพร่ระบาดได้น้อยกว่ามาก ดังนั้นยุงที่ชุมอยู่มาก ๆ ตามแหล่งน้ำท่วมขณะนี้ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มยุงรำคาญมากที่สุด

    สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล กรมควบคุมโรค และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ผลิตเชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส สเฟียริคัส (Bacillus sphaericus) ควบคุมลูกน้ำยุงรำคาญ โดย สวทช. ให้เงินสนับสนุนในการจ้างบริษัทเอกชนผลิตเชื้อ บาซิลลัส สเฟียริคัส ซึ่งจะเรียกชื่อย่อว่า บีเอส (BS.) และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลจะเป็นผู้ให้เชื้อและช่วยในการดูแลการผลิต ส่วนกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จะตรวจคุณภาพของผลิตภัณฑ์บีเอส คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล และกรมควบคุมโรคจะช่วยในการทดสอบฤทธิ์การฆ่าลูกน้ำยุงรำคาญของเชื้อที่ผลิต และการใช้ในภาคสนามพร้อมทั้งติดตามประสิทธิภาพของการฆ่าลูกน้ำยุงในการใช้ใน ภาคสนาม

    สำหรับเชื้อสเฟียริคัส (B. sphaericus) เป็นแบคทีเรียที่สร้างสารพิษที่ไม่เป็นอันตรายต่อคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม แต่สารพิษดังกล่าวสามารถฆ่าลูกน้ำยุงรำคาญและลูกน้ำยุงก้นปล่องได้ และเป็นเชื้อที่ได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลกในการใช้ควบคุมลูกน้ำยุง ทั้งสองสกุลนี้ โดยที่ลูกน้ำยุงรำคาญจะแพร่ระบาดในแหล่งน้ำท่วมขังที่เป็นน้ำเสีย น้ำครำ ซึ่งคาดกันว่าในช่วงนี้และช่วงหลังน้ำลด ยุงรำคาญจะแพร่ระบาดมาก ขณะที่ยุงก้นปล่องจะแพร่ระบาดในแหล่งน้ำสะอาดโดยเฉพาะในป่าเขา ลำธาร สารพิษของเชื้อสเฟียริคัส (B.sphaericus)จะเป็นพิษต่อลูกน้ำยุงลายค่อนข้างต่ำมาก หากต้องการควบคุมยุงลายจะต้องใช้แบคทีเรียชนิดอื่น

    เนื่องจากธรรมชาติของลูกน้ำจะกินอาหารโดยใช้ลักษณะดูดน้ำ เข้าไปและกินแบคทีเรีย ยีสต์ และ สาหร่ายเล็ก ๆ ที่ดูดเข้ามาพร้อมกับน้ำเป็นอาหาร โดยหากินและขึ้นมาหายใจอยู่ในระดับผิวน้ำ ดังนั้นการควบคุมลูกน้ำยุงจึงควรฉีดพ่นบนผิวน้ำหรือใช้ของแขวนลอยชุบเชื้อ วางลงไปบนผิวน้ำที่เห็นมีลูกน้ำยุงว่ายอยู่ หลังจากลูกน้ำยุงกินเชื้อเข้าไปจะทำให้ลูกน้ำตายซึ่งจะตายช้าหรือเร็วขึ้น กับปริมาณเชื้อที่ลูกน้ำยุงกินเข้าไป หากกินเชื้อเข้าไปมากลูกน้ำยุงจะตายภายในไม่กี่ชั่วโมง หากกินเชื้อบีเอสเข้าไปน้อย ลูกน้ำยุงจะตายภายใน 1-2 วัน เป็นต้น

    เชื้อบีเอสจะทนแสงแดดได้ดี ทนอยู่ในธรรมชาติและสามารถเพิ่มจำนวนของเชื้อในธรรมชาติได้ดี หากน้ำท่วมขังไม่ลึกมาก (10-20 ซม.) อาจใส่เชื้อประมาณเดือนละ 1 ครั้ง หรือใส่เชื้อเมื่อเห็นว่ามีลูกน้ำยุงรำคาญเพิ่มขึ้นมาในบริเวณน้ำท่วมขังแต่ หากน้ำท่วมขังเป็นน้ำลึกอาจใส่เชื้อบ่อยขึ้น เช่น ใส่เชื้อทุก 2 อาทิตย์ เชื้อบีเอสที่ผลิตได้มีความเข้มข้นสูงจึงควรเจือจางโดยใช้ผลิตภัณฑ์ 1 ส่วนผสมกับน้ำ 9 ส่วน โดยน้ำที่ใช้อาจเป็นน้ำประปาหรือน้ำฝน แต่ไม่ควรใช้น้ำแกว่งสารส้ม เพราะสารส้มจะทำให้เชื้อตกตะกอนและจะลดประสิทธิภาพในการกำจัดลูกน้ำยุง เนื่องจากการแพร่ระบาดของยุงรำคาญเกิดในวงกว้าง ดังนั้นต้องมีการผลิตเชื้อแบคทีเรียจำนวนนับแสนลิตรในอนาคต

    -http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000151526-

    .
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เตือนยุงรำคาญนาข้าว ระบาด! เสี่ยงโรคไข้สมองอักเสบ



    [​IMG]


    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม



    เตือนยุงรำคาญนาข้าว ระบาดช่วงน้ำท่วม ชี้เสี่ยงต่อโรคไข้สมองอักเสบ เผยบินได้ไกลกว่า 3 กิโลเมตร เปลี่ยนพฤติกรรมกินเลือดคนแทนเลือดสัตว์

    วิกฤติการณ์น้ำท่วมในขณะนี้ในบางพื้นที่สถานการณ์ก็เริ่มคลี่คลายแล้ว ส่งบางพื้นที่ก็ต้องทนอยู่กับน้ำท่วมขังมานานนับเดือน และแน่นอนนอกจากปัญหาน้ำเน่าเสียที่ส่งกลิ่นเหม็นรบกวนจิตใจแล้ว ยังมีเจ้าตัวร้ายอย่าง "ยุง" พาหะนำโรคมาสร้างความรำคาญใจให้อีก โดย รศ.ชำนาญ อภิวัฒนศร หัวหน้าภาควิชากีฏวิทยาการแพทย์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดเผยว่า ถึงแม้ว่าโรคไข้เลือดออกที่คาดว่าจะระบาดในช่วงน้ำท่วมนั้นจะไม่ค่อยน่าเป็น ห่วงเท่าไร เพราะในช่วงนี้ยุงลายไม่ค่อยขยายพันธุ์มากเท่าฤดูฝน และไม่ใช่ยุงที่มากับน้ำท่วม

    สำหรับยุงที่มากับน้ำท่วมนั้น รศ.ชำนาญ กล่าวว่า เป็น "กลุ่ม ยุงรำคาญนาข้าว" หรือมีชื่อเรียกทางวิชาการว่า "ยุงพาหะรำคาญ" (Culex tritaeniorhynchus) เป็นพาหะโรคไข้สมองอักเสบ ก่อให้เกิดเชื้อไวรัสมากมาย ทั้งเชื้อไวรัสแจแปนิส เอ็นเซฟาไลติส หรือเจอี ซึ่งเชื้อไวรัสดังกล่าวส่วนมากพบในพื้นที่ทำนา และที่เลี้ยงสัตว์ โดย ยุงดังกล่าว สามารถแพร่ขยายพันธุ์ได้ดีในบริเวณที่มีน้ำท่วมขัง หรือน้ำเน่าเสีย และพบมากบริเวณนาข้าวที่เกิดจากการหมักเน่า และจมน้ำ อีกทั้งยังมีวงจรชีวิตได้ยาวนานกว่ายุงปกติ มีพฤติกรรมออกหากินในช่วงกลางคืน และสามารถบินไกลได้ถึง 3 กิโลเมตรเลยทีเดียว ทั้งนี้จากเหตุการณ์น้ำท่วมในภาคกลางและภาคเหนือนั้น ทำให้ยุงแพร่พันธุ์ได้ดี ซึ่งขณะนี้ยุงรำคาญนาข้าวกำลังแพร่กระจายไปยังกรุงเทพฯ

    รศ.ชำนาญ ยังกล่าวว่า นอกจากนี้พฤติรรมของยุงยังได้เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อม จาก เดิมกินเลือดสัตว์ เช่น วัว ควาย ของชาวบ้านที่เลี้ยงไว้ และเมื่อเหตุการณ์น้ำท่วมเกิดขึ้น มีการอพยพย้ายสัตว์ไปยังทีต่าง ๆ อีกทั้งยังมีพื้นที่น้ำท่วมขังขยายวงกว้าง ทำให้ยุงเปลี่ยนไปกินเลือกคนแทน ซึ่ง ถ้าเป็นเช่นนั้นโอกาศของชาวบ้านที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคไข้สมองอักเสบก็ จะมีมากขึ้นอย่างแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคดังกล่าว

    แต่อย่างไรก็ดี ทางกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้เด็กแรกเกิดทุกคนจำเป็นต้องได้รับวัคซีน ป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเป็นมาตรฐานการป้อนกันโรคอยู่แล้ว จึงทำให้อัตราการเป็นโรคนี้ไม่เสี่ยงเท่าไรนัก

    หัวหน้าภาควิชากีฏวิทยาการแพทย์ ม.มหิดล ยังกล่าวต่อว่า ขณะนี้ในทางกระทรวงสาธารณสุขได้ทำการควบคุมการแพร่พันธุ์ของยุงทุกชนิดที่มา กับน้ำท่วมขังอยู่แล้ว แต่ทางเจ้า หน้าที่ไม่สามารถเข้าไปฉีดกำจัดยุงได้ในเวลากลางคืน ซึ่งเป็นเวลาออกหากิน เนื่องจากประชาชนไม่เข้าใจ และไม่สะดวกที่จะให้เจ้าหน้าที่เข้าไปกำจัด ทั้งนี้ ตนจึงอยากให้ประชาชนทำความเข้าใจข้อมูลต่าง ๆ เพื่อจะได้ช่วยกันตัดวงจรชีวิตยุงรำคาญนาข้าวเสีย เพื่อจะได้ไม่ส่งผลกระทบยาวนานข้ามปี

    ทางด้าน นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมากรมควบคุมโรคได้รับการสนับสนุนมุ้งชบสารเคมีฆ่ายุงจากองค์การ อนามัยโลก จำนวน 75,700 หลัง และจากองค์การยูนิเซฟ จำนวน 20,000 หลัง รวมทั้งหมด 95,700 หลัง เพื่อนำไปแจกยังศูนย์พังพิงต่าง ๆ แต่ถ้าหากที่ได้ยังไม่ได้รับ ให้เจ้าหน้าที่นำรายชื่อมาขอรับมุ้งดังกล่าวได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลฮอตไลน์ กระทรวงสาธารณสุข โทรศัพท์ 1422 และศูนย์ปฏิบัติการกรมควบคุมโรค โทรศัพท์ 0 2590 3333



    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก กรุงเทพธุรกิจ
    [​IMG]


    -http://thaiflood.kapook.com/view34339.html-
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    เผยร่างผังเมือง กทม. ฉบับใหม่ กระทบหลายต่อ






    [​IMG]


    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร

    เผย ร่างผังเมือง ส่งผลกระทบในการพัฒนาเมืองในอนาคต จำกัดการสร้างอาคาร กลายเป็นการขยายเมืองไม่มีที่สิ้นสุด ด้านนักวิชาการออกมาให้ความเห็นในการย้ายเมือง ชี้จะย้ายไม่ย้ายควรรีบทำ ดีกว่ารอให้น้ำท่วมก่อน

    จากการดำเนินการเสวนาวิชาการเรื่อง "ราคาค่าก่อสร้าง อัตราผลตอบแทน ผังเมืองและราคาประเมินราชการ" เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายนที่่ผ่านมา ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ได้เชิญ ผศ.อัศวิน พิชญโยธิน ร่วมวิเคราะห์ผังเมืองกรุงเทพฯ ที่กำลังร่างกันอยู่ในขณะนี้ว่า ผังเมืองรวมกรุงเทพฯ พ.ศ. 2549 - 2554 ได้หมดอายุลงไปเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ที่ผ่านมา และได้รับการต่ออายุ 1 ปี เนื่องจากยังร่างฉบับใหม่ไม่เสร็จ

    ทั้งนี้ ร่างผังเมืองฉบับล่าสุดได้สร้างข้อจำกัดในการก่อสร้างอาคารมากมาย ซึ่งถ้าหากจะต้องใช้จริง ๆ จะส่งผลกระทบต่อเจ้าของที่ดิน และนักลงทุนอย่างแน่นอน ที่สำคัญที่สุดคือ ประชาชนทั่วไปที่ไม่อาจะมีที่อยู่อาศัยใกล้เมือง ทำให้คนกรุงเทพฯ ต้องออกไปอยู่นอกเขต ซึ่งเป็นการสร้างปัญหาให้กับการขยายเมืองออกสู่ชนบท และทำลายพื้นที่สีเขียว

    โดยร่างผังเมืองได้กำหนดไว้ว่า ในเขตตลิ่งชัน ทวีวัฒนา บางแค(บางส่วน) สายไหม คลองสามวา(บางส่วน) มีนบุรี(บางส่วน) สะพานสูง(บางส่วน) หนองจอก(บางส่วน) ได้เปลี่ยนแปลงความสูงในการสร้างอาคารจากเดิมคือ ไม่เกิน 23 เมตร เปลี่ยนเป็น 12 เมตร ส่วนทางด้านในเขตตัวเมืองนั้น ต่อไปนี้ห้ามสร้างอาคารที่อยู่อาศัยที่มีพื้นที่เกินกว่า 2,000 ตารางเมตร ส่วนพื้นที่ วังทองหลาง ลาดพร้าว บึงกุ่ม บางเขน และบางเขตอื่น ๆ ร่างผังเมืองได้กำหนดให้ก่อนสร้างอาคารขนาด 2,000-4,999 ตารางเมตร และต้องตั้งอยู่บนถนนที่มีเขตทางเกินกว่า 16 เมตร ทั้งที่ปัจจุบันกำหนดไว้เพียง 10 เมตร ส่วนอาคารขนาดใหญ่กว่านี้ห้ามสร้างอย่างเด็ดขาด

    นอกจากนี้ในเขตที่อาศัยหนาแน่นมากใจกลางเมือง ร่างผังเมืองได้กำหนดไว้ว่า ถ้าจะสร้างอาคารเกิน 10,000 ตารางเมตรได้นั้น จะต้องสร้างอยู่บนถนนซอยที่มีความกว้างเกิน 16 เมตร ทั้ง ๆ ที่ในปัจจุบันกำหนดให้สร้างได้หากที่ดินติดถนนแปลงนั้น ที่มีความกว้างเพียง 6 เมตร

    ดัง นั้นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย และไม่ได้ศึกษาผังเมืองให้ดี ก็เท่ากับว่า ใจกลางเมืองอาจจะไม่สามารถสร้างอะไรได้เลย และต้องพัฒนากระจายไปสร้างนอกเมือง ซึ่งจะทำให้ปัญหาจราจรติดขัดกระจายวงกว้างไปสู่นอกเมือง และเป็นการขยายเมืองอย่างไม่มีที่สิ้นสุด และที่สำคัญผังเมืองดังกล่าวยังไม่ได้วางแผนเกี่ยวกับน้ำท่วม การสร้างเขื่อนกันน้ำท่วม หรือสร้างพื้นที่น้ำหลาก ฯลฯ ซึ่งจากร่างผังเมืองดังกล่าวต้องเวนคืนที่ดินอีกเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังไม่สอดคล้องต่อแผนพัฒนาสาธารณูปโภคของกิจการไฟฟ้า ประปา ทางด่วน ระบบขนส่งมวลชน ระบบรถโดยสารประจำทาง เป็นต้น

    จะเห็นได้ว่าจากร่างผังเมืองดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเมืองในอนาคต ซึ่งจากประเด็นนี้ทำให้หลายคนคิดว่า "การย้ายเมืองหลวง" อาจเป็นอีกวิธีหนึ่งที่แก้ปัญหาดังกล่าว อีกทั้งยังมี ส.ส. พรรคเพื่อไทย ได้เสนอญัตติศึกษาการย้ายเมืองหลวง ไปที่ จ.นครนายก หรือ จ.เพชรบุรี เพื่อหนีน้ำท่วม

    เกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้มีนักวิชาการออกมาแสดงความคิดเห็นทั้งสนับสนุนและไม่สนับสนุนในการย้ายเมืองหลวง อาทิ รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม นักวิชาการอิสระ ด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี, รศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล นักวิชาการหน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศเชิงพื้นที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ผู้บริหารโรงเรียนสัตยาไส จ.ลพบุรี

    โดย รศ.ศรีศักร นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี กล่าวว่า การย้ายเมืองหลวงในครั้งนี้มีความไปได้ แต่ถ้าจะย้ายเมืองหลวงไป จ.นครนายกนั้น เป็นเรื่องที่ต้องคิดใหม่ เพราะเท่าที่ผ่านมา นครนายกก็เป็นจังหวัดที่ถูกน้ำท่วมมาแล้ว ทั้งนี้ถ้าหากไม่มีการย้ายเมืองหลวง ตนก็ขอแนะนำให้เอาแผนผังสมัยรัชกาลที่ 5 มาทบทวนเรื่องคูคลองระบายน้ำใหม่ จาก เหตุการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้ไม่ได้เป็นความผิดของใคร แต่เกิดขึ้นจากการบริหารจัดการน้ำเป็นสำคัญ น้ำที่ไหลมาทางทิศตะวันออกไหลลงสู่ทะเลไม่สะดวกเพราะติดนิคมอุตสาหกรรม แต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการต่อคลองเพื่อให้น้ำไหล น้ำหลากลงมาตามธรรมชาติ

    ส่วนทางด้านตะวันตกนั้น เป็นพื้นที่ปลูกข้าวต้องการมีการเก็บรักษาพื้นที่ส่วนนั้นไว้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า คนเราเห็นความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจมากกว่าการใช้ชีวิตของคน ในอดีตเราต่างก็ประสบภาวะน้ำท่วมกันมาแล้ว แต่ก็สามารถผ่านพ้นมันมาจนได้ ทั้งนี้ ถ้าจำเป็นต้องย้ายเมืองหลวงจริง ๆ จังหวัดที่น่าจะเลือกเป็นเมืองหลวง นั้นก็คือ จังหวัดระยอง หรือชลบุรี เพราะน้ำท่วมไม่ถึง ส่วนทาง กทม. ก็ปล่อยให้เป็นเมืองท่าใหญ่ อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงถ้าต้องการจะรักษา กทม.ไว้ ก็คงทำไม่ได้ เพราะว่า สภาพภูมิอากาศแปรปรวนหมด เกิดมรสุมมาบ่อยขึ้น แนวโน้มน้ำทะเลสูงขึ้น ซึ่งตามการพยากรณ์บอกว่า อีก 50 ปีก็อยู่ไม่ได้แล้ว หรือทั้งภาคกลางจมน้ำหมด

    ทางด้าน รศ.ดร.ธนวัฒน์ แสดงความเห็นว่า ไม่ควรย้ายเมืองหลวง เพราะจะมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจอย่างมาก อีกทั้งกรุงเทพฯ เป็นเมืองเก่าที่ก่อตั้งมากกว่า 200 ปี สำหรับ แนวคิดในการแก้ปัญหา คือ การบีบเมืองหลวงไม่ให้โต แต่ไปโตที่เมืองบริวาร ที่อยู่ห่างจาก กทม.ประมาณ 100 กิโลเมตร มีด้วยกัน 4 เมือง คือ สุพรรณบุรี สระบุรี ฉะเชิงเทรา และราชบุรี และใช้รถไฟความเร็วสูง 200 กม./ชม. สำหรับคนที่อยู่เมืองบริวารใช้เวลาโดยสารมาทำงานใน กทม. ประมาณ 30 นาที ส่วนประโยชน์อีกประการ คือ ศูนย์อำนาจจะกระจายออกไป เช่น จ.สุพรรณบุรี อาจจะเป็นเมืองการศึกษา อย่างไรก็ตาม เราไม่ควรทิ้งเมืองหลวง เพื่อเป็นเพียงการเตรียมการป้องกันน้ำท่วมที่อาจจะมาถึง แต่ต้องมีระบบป้องกันน้ำท่วมแบบครบวงจร เช่น ซุปเปอร์เอ็กซเพรส ฟลัดเวย์ (Super express Floodway) เส้นทางด่วนพิเศษสำหรับน้ำท่วมไหลหลาก

    ขณะที่ ดร.อาจอง ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวคิดที่เสนอการย้ายเมืองหลวงว่า ตนพูดมานานแล้วว่า กทม. จะถูกน้ำทะเลท่วม เพราะแผ่นดินทรุดตัว ทำให้น้ำทะเลหนุนสูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งถ้าหากเมื่อไรที่น้ำทะเลสูงถึง 7 เมตร กทม. นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี (บางพื้นที่) และลพบุรี (บางพื้นที่) ต้องไม่รอดแน่ เพราะปีหน้าจะมีน้ำจากทางเหนือมามากขึ้น เนื่องจากภาวะโลกร้อน น้ำทะเลระเหย น้ำแข็งละลายที่ขั้วโลกเหนือไหลลงสู่ทะเล

    ส่วนการเลือกพื้นที่ที่เหมาะสำหรับการย้ายเมืองหลวง ดร.อาจอง แนะนำว่า ควรหาพื้นที่ที่จะรอดพ้นภาวะน้ำท่วม ซึ่งคงจะต้องมีความสูงประมาณ 100 เมตร จากระดับน้ำทะเล และไม่มีรอยเลื่อนของเปลือกโลก ฉะนั้น ควรหลีกเลี่ยงพื้นที่ทางภาคเหนือ เพราะมีรอยเลื่อนมาก ส่วนพื้นที่ที่ไม่มีรอยเลื่อน คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางตอนเหนือ และจังหวัดทางภาคใต้ อาทิ ประจวบคีรีขันธ์ กระบี่ และประการสำคัญที่สุด คือจะต้องเลือกจังหวัดที่ไม่มีแผ่นดินไหวด้วย อย่างไรก็ตาม ถ้าหากทางรัฐบาลจะย้ายหรือไม่ย้ายเมืองหลวง คงจะต้องรีบตัดสินใจในเร็ววันนี้ เพราะว่าดีกว่ารอให้น้ำท่วมแล้วค่อยดำเนินการ



    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก กรุงเทพธุรกิจและมติชนออนไลน์

    [​IMG] [​IMG]

    -http://hilight.kapook.com/view/65211-

    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...