เรื่องพิเศษ - รวมรวมบัญชี ช่วยเหลือน้ำท่วมปี 2554 และเรื่องต้องรู้เกี่ยวกับน้ำท่วม

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 9 ตุลาคม 2011.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    สปส. ลดจ่ายประกันสังคม ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย



    [​IMG]

    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม


    สปส. เตรียมออกนโยบายช่วยเหลือลูกจ้าง-นายจ้าง ที่ประสบภาวะน้ำท่วม โดยจะลดจ่ายประกันสังคมเหลือร้อยละ 3 และเตรียมปล่อยกู้วงเงินรวม 1 หมื่นล้านบาท

    วันนี้ (30 พฤศจิกายน) นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงานในฐานะประธานคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) เปิดเผยว่า ผลประชุมคณะกรรมการประกันสังคมเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายนที่ผ่านมา มีผลว่า ที่ประชุมได้อนุมัติโครงการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย 2 เรื่อง ซึ่งเตรียมจะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบต่อไป ดังนี้

    1. ลดเงินกองทุนประกันสังคมของนายจ้างและลูกจ้าง จากร้อยละ 5 เหลือร้อยละ 3 เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม- มิถุนายน 2555 และจ่ายร้อยละ 4 ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2555

    2. โครงการสินเชื่อให้ผู้ประกอบการ วงเงิน 1 หมื่นล้านบาท สามารถเริ่มกู้ได้ 1 มกราคม 2555 ดอกเบี้ยร้อยละ 3 ในระยะเวลา 3 ปี ซึ่งผู้กู้ต้องมีหลักทรัพย์ประกัน ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ประกันจะเสียดอกเบี้ยร้อยละ 5 และผู้มีสิทธิ์กู้ต้องเป็นสมาชิกกองทุนประกันสังคมไม่ต่ำกว่า 3 เดือน โดยสามารถกู้ได้ 3 ธนาคารคือ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

    ทั้งนี้ สถานประกอบการที่จะสามารถกู้เงินตามโครงการดังกล่าวแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ...

    [​IMG] 1. ลูกจ้างไม่เกิน 50 คน กู้ได้ไม่เกิน 1 ล้านบาท

    [​IMG] 2. ลูกจ้าง 51-200 คน กู้ได้ไม่เกิน 2 ล้านบาท

    [​IMG] 3. ลูกจ้าง 200 คนขึ้นไปกู้ได้ไม่เกิน 4 ล้านบาท




    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก กรุงเทพธุรกิจ
    [​IMG]


    -http://thaiflood.kapook.com/view34430.html-


    .
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    'บีเอส' จุลินทรีย์ฆ่ายุงรำคาญตัวร้าย...ตายเรียบ

    วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม 2554 เวลา 08:20 น.



    หลายคนคงได้ติดตามการรายงานข่าวภาวะน้ำท่วมใหญ่ใจกลางเมืองหลวงของไทย ผ่านทางสื่อต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง จนถึงวันนี้ระดับน้ำหลายพื้นที่ลดลง คิดว่าปัญหาน่าจะเบาบางลงบ้าง แต่ก็ไม่ใช่เลย เพราะในความเป็นจริงที่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมต้องประสบพบเจอ นอกจากปัญหาข้าวของเครื่องใช้เสียหาย ไหนจะเชื้อราหรือสารพัดสิ่งสกปรกที่เปรอะเปื้อนทิ้งไว้เป็นคราบให้ได้รู้สึก เหนื่อยอกเหนื่อยใจกับการปรับปรุงซ่อมแซมกันครั้งใหญ่แล้ว สิ่งหนึ่งที่หลายพื้นที่ชุมชนต้องประสบอยู่เป็นปัญหาใหญ่ที่ทั้งหนักหนาและ สาหัส นั่นคืออาการคันที่ไม่ได้มาจากเชื้อราใด ๆ ทั้งสิ้น แต่เป็น “ยุง” สัตว์ที่ร้ายกว่าเสือ และมีอยู่ชุกชุมมากผิดปกติในช่วงนี้นั่นเอง
    ข้อมูลตามการบอกเล่าของ ศ.ดร.วัฒนาลัย ปานบ้านเกร็ด อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เกี่ยวกับยุงที่มีมากในระยะนี้ว่า ส่วนใหญ่เป็นยุงรำคาญ จะพบเกิดขึ้นในชุมชนที่มีน้ำเน่าขังจะมีลักษณะตัวเล็กแต่กัดเจ็บเหลือเกิน โทษร้ายของมันสามารถเป็นพาหะในการนำเชื้อโรคโรคเท้าช้างและโรคไข้สมองอักเสบ มาสู่คนได้ แต่ภัยของมันที่ชัดเจนที่สุดเห็นจะเป็นความรำคาญ เพราะอาการคันที่เกิดจากการถูกกัด
    “การแพร่พันธุ์ของยุงชนิดนี้ทำได้ไวไม่แพ้ยุงสายพันธุ์อื่น คิดดูว่าโดยปกติยุงรำคาญตัวเมียมีชีวิตอยู่ได้เป็นเดือนและสามารถวางไข่ใน น้ำได้ทุก 2 วัน ส่วนยุงตัวผู้จะอยู่นาน 7 วันตามวงจรชีวิตของมัน และแม้ว่ายุงจะใช้เวลาราว ๆ 10 วันกว่าจะเจริญเติบโต แต่ต้องไม่ลืมว่าปริมาณในการวางไข่ได้แต่ละครั้งมีจำนวนมหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับภาวะที่มีแหล่งเพาะพันธุ์ คือน้ำเน่า น้ำขังเต็มไปหมด ก็ยิ่งช่วยให้เพิ่มปริมาณยุงได้มากขึ้นไปเรื่อย ๆ”
    แน่นอนว่าวิธีเบื้องต้นที่ใช้จัดการกับเจ้ายุงร้ายในบ้านเรือนคือการฉีด พ่นยาฆ่าแมลง แต่เนื่องจากปริมาณของยุงมีมาก และยังสามารถเกิดได้เรื่อย ๆ แบบนี้ วิธีที่เหมาะสมกว่าคือการกำจัดต้นตอของยุงตั้งแต่แรกเกิด..
    ศ.ดร.วัฒนาลัย กล่าวว่า ด้วยลักษณะการวางไข่ของยุงรำคาญ จะวางไข่เป็นแพบนผิวน้ำ ดังนั้นจึงง่ายต่อการกำจัดด้วยการฉีดพ่นเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า บีเอส “BS” หรือ Bacillus sphaericus ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง สามารถสร้างสารพิษที่ไม่เป็นอันตรายต่อคน สัตว์ สิ่งแวดล้อม และเป็นสารพิษที่ได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลกแล้วถึงประสิทธิภาพใน การควบคุมปริมาณยุงรำคาญได้
    “เนื่องจากธรรมชาติของลูกน้ำยุงจะกินอาหารในลักษณะดูดน้ำเข้าไปและกิน แบคทีเรีย ยีสต์ และสาหร่ายเล็ก ๆ ที่ดูดเข้ามาพร้อมกับน้ำเป็นอาหาร โดยหากินและขึ้นมาหายใจอยู่ในระดับผิวน้ำ ดังนั้นการควบคุมลูกน้ำยุง จึงควรฉีดพ่นเชื้อให้กระจายบนผิวน้ำ หรืออาจใช้ของแขวนลอย เช่นฟองน้ำชุบเชื้อวางลงไปบนผิวน้ำที่เห็นมีลูกน้ำยุงว่ายอยู่ ซึ่งภายหลังจากที่ลูกน้ำยุงดูดกินเชื้อเข้าไป หากกินเข้าไปมากก็จะตายภายในไม่กี่ชั่วโมง แต่ถ้ากินเชื้อเข้าไปน้อยลูกน้ำยุงจะตายภายใน 1-2 วัน ทั้งนี้จะต้องขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ หากปริมาณน้ำท่วมขังลึกสูง เชื้อแบคทีเรียที่ฉีดพ่นอาจจมทำให้ต้องมีการฉีดพ่นซ้ำบ่อยครั้ง จากปกติที่ต้องใส่เชื้อเดือนละครั้งหรือทุก 2 สัปดาห์ กรณีที่เห็นว่ามีลูกน้ำยุงรำคาญเพิ่มขึ้นมา”
    สำหรับแบคทีเรียบีเอส ที่กล่าวถึงนี้ ได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงานในการดำเนินการ เริ่มตั้งแต่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มอบงบประมาณ 4 แสนบาทสำหรับการว่าจ้างบริษัทเอกชนในการผลิตเพื่อเพิ่มปริมาณเชื้อ ให้ได้จำนวน 7 พันลิตร หรือคิดเป็นปริมาณการใช้งานจริงได้ประมาณ 60 ชุมชน ขนาดชุมชนละ 300-400 หลังคาเรือน พื้นที่แต่ละหลังคาเรือนประมาณ 25x30 ตารางเมตร นอกจากนี้ยังให้ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นผู้ตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ จากนั้นคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จะลงพื้นที่เพื่อทดสอบฤทธิ์ในการฆ่าลูกน้ำยุงรำคาญต่อไป
    “อย่างไรก็ตามการผลิตเชื้อบีเอส เพื่อลดปริมาณลูกน้ำยุงรำคาญ ขณะนี้ยังอยู่ในขั้นการสุ่มตัวอย่างพื้นที่ดำเนินการ โดยกรมควบคุมโรคจะเลือกพื้นที่ 60 ชุมชน ในจังหวัดปทุมธานีและพระนครศรีอยุธยา ที่มีชุมชนเครือข่ายซึ่งสามารถที่จะช่วยเก็บข้อมูลประกอบการทดลองใช้ ผลิตภัณฑ์เพื่อวัดผลสำเร็จของการดำเนินการ ส่วนการผลิตเชื้อบีเอส เพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชนทั่วไป คาดว่าต้องใช้งบประมาณ 2-3 ล้านบาท หากได้รับการอนุมัติก็จะสามารถเร่งผลิตได้ทันต่อการใช้งานจริงภายในเดือน ธันวาคมนี้”
    ในขณะที่ รศ.ดร.ชำนาญ อภิวัฒนศร หัวหน้าภาควิชากีฏวิทยาการแพทย์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล เล่าว่า จากการทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อบีเอสในเบื้องต้น บริเวณพื้นที่ ม.มหิดล ศาลายา นครปฐม พบว่าเชื้อดังกล่าวใช้ได้ผลดี โดยดูจากการสำรวจตัวอย่างน้ำก่อนฉีดพ่นเชื้อ จะพบว่าในน้ำจากแหล่งน้ำท่วมขัง 1 กระบวย หรือคิดเป็น 1 หน่วย พบปริมาณลูกน้ำราว 200-300 ตัว และเมื่อฉีดพ่นเชื้อแบคทีเรียแล้วตรวจวัดซ้ำในเวลาไม่กี่ชั่วโมงพบว่าปริมาณ ลูกน้ำยุงลดลงประมาณ 100 ตัว และภายใน 1-2 วันเห็นผลได้จริงว่าลูกน้ำยุงตายทั้งหมด
    “ทั้งนี้คงต้องมีการประชาสัมพันธ์ด้วยว่า เชื้อดังกล่าวใช้กำจัดได้เฉพาะลูกน้ำยุงรำคาญเท่านั้น ขณะที่เรายังคงตรวจสอบอยู่ว่าแหล่งน้ำขังที่ได้มีการฉีดพ่นเชื้อและทำลายลูก น้ำยุงไปแล้ว นานเท่าใดกว่าที่ยุงจะสามารถบินกลับมาวางไข่ซ้ำได้ นอกจากนี้การฉีดพ่นเชื้อเพื่อฆ่าลูกน้ำยุง ชาวบ้านจะไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงในระยะแรก เนื่องจากไม่ได้ลดปริมาณของยุงที่เป็นตัวโตเต็มวัย ดังนั้นหากจะให้ได้ผลรวดเร็ว จะต้องมีการฉีดพ่นหมอกควันเพื่อกำจัดยุงรำคาญ โดยปัญหาอยู่ที่การทำความเข้าใจการฉีดพ่นว่าต้องทำในเวลากลางคืนเท่านั้น เพราะเป็นเวลาที่ยุงจะออกหากิน หากสามารถใช้ 2 วิธีนี้ควบคู่กันก็จะยิ่งลดปริมาณยุงได้รวดเร็วยิ่งขึ้น”
    แต่อย่างไรก็ตามยังมีข่าวดีและข่าวร้ายอีกนิดเกี่ยวกับการคงอยู่ของเจ้า ยุงรำคาญในช่วงนี้ ข่าวร้ายคือจากการสำรวจในพื้นที่พบยุงชนิดนี้สามารถบินได้ไกลถึง 3 กิโลเมตร ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่จะยังพบยุงบินมาจากแหล่งอื่นเพื่อสร้างความรำคาญ ส่วนข่าวดีคือยุงชนิดนี้เกิดและเจริญเติบโตเฉพาะน้ำขังและเน่าเหม็น ดังนั้นหากมีระบบการระบายน้ำที่ท่วมขังออกได้ ปัญหานี้ก็จะหมดไปในที่สุด
    เช่นกัน.
    จินดาวัฒน์ ลาภเลี้ยงตระกูล



    -http://www.dailynews.co.th/education/1257-

    .
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    3 เรื่องที่คนเป็น "พ่อ" ในยุควิกฤตน้ำท่วมควรตระหนัก <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">1 ธันวาคม 2554 11:57 น.</td> </tr></tbody></table>

    [​IMG] <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Left" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="250"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="250"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">นพ.โกวิทย์ นพพร จิตแพทย์โรงพยาบาลมนารมย์</td></tr> </tbody></table></td> <td width="5">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> แม้วิกฤตอุทกภัยครั้งใหญ่จะ ถาโถม ทำให้ผู้ที่ทำหน้าที่หัวหน้าครอบครัวในบทบาทของ "พ่อ" ต้องแบกรับกับการตัดสินใจ การแก้ไขปัญหา การเผชิญหน้ากับอุปสรรคมากมาย แต่ในบทบาทของความเป็นพ่อซึ่งไม่เพียงเป็นผู้ให้กำเนิด และผู้เลี้ยงดู แต่ยังต้องเป็นต้นแบบที่ดีให้ลูกเห็นด้วย

    ในประเด็นนี้ นพ.โกวิทย์ นพพร จิตแพทย์ โรงพยาบาลมนารมย์ กล่าวว่า คนเป็นพ่อจะต้องให้ความสำคัญต่อการเป็นตัวอย่างให้กับลูก โดยเฉพาะลูกชายในเรื่องของการวางตัว การมีสติ การตัดสินใจ และการใช้อารมณ์ เพื่อให้ลูกก้าวสู่การเป็นผู้ใหญ่ที่ดี และเป็นพ่อที่ดีต่อไปในอนาคต โดยการเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกของพ่อแต่ละคนนั้นอาจแตกต่างกันไป แต่สิ่งที่เหมือนกัน และเป็นพื้นฐานของการเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกก็คือเรื่องของการบริหารชีวิต เพราะการบริหารชีวิตที่ดีย่อมนำพาชีวิตไปสู่ความสำเร็จ

    "เมื่อเราเป็นคนดี มีศีลธรรมก็จะสามารถอดทน อดกลั้น ฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ ในยามวิกฤตได้ ในขณะที่ความขยันหมั่นเพียร มีสัมมาอาชีวะ สามารถสร้างสิ่งที่ดี ๆ ส่งต่อไปยังอนุชนรุ่นหลังได้ ซึ่งต้องพึงระลึกว่าการสอนให้ลูกเป็นอย่างที่ตัวเองเป็นนั้นคือการทำตัวให้ เป็นแบบอย่างที่ดีควบคู่ไปกับการสอนสิ่งที่ถูกต้องให้แก่ลูกด้วย" จิตแพทย์รายนี้เผย

    สำหรับการทำตัวให้เป็นแบบอย่างที่ดีแม้จะต้องเจอกับวิกฤตน้ำท่วมที่ ถาโถมเข้ามาในช่วงท้ายปี 2554 และอาจจะต่อเนื่องยาวไปจนถึงปี 2555 นั้น นพ.โกวิทย์ แนะว่าผู้ที่ทำหน้าที่พ่อควรใช้ช่วงวิกฤตินี้ถ่ายทอดแบบอย่างที่พึงประสงค์ เพื่อให้ลูกสามารถเติบโตและฝ่าวิกฤตไปได้เมื่อโตขึ้น โดยมีหัวใจที่สำคัญ 3 ประการคือ

    1. รู้จักตั้งสติที่ดีไม่ตื่นตระหนกเกินไป เช่น เวลาที่เกิดปัญหา พ่อต้องแสดงให้ลูกเห็นว่าจะต้องมีสติ ไม่ตื่นตระหนกจนทำอะไรไม่ถูก มีความอดทนอดกลั้นต่อสภาวะที่ประสบอยู่ แม้ว่าน้ำท่วมจะทำให้เราเดือดเนื้อร้อนใจ แต่ถ้าเราไม่อดทน มัวแต่ตกใจจนทำอะไรไม่ถูก เราก็จะแก้ปัญหาแบบไร้ทิศทาง ฉะนั้นการที่เรามีความสุขุม จะทำให้เราค่อย ๆ แก้ไขปัญหาได้

    2. มีจริยธรรม มีการตัดสินใจแก้ปัญหาที่ดี ด้วยพฤติกรรมที่เหมาะสม เช่น ถ้าเราเป็นคนที่มีความมานะอุตสาหะ เราก็จะไม่ได้เป็นคนที่นั่งรอคอยความช่วยเหลือแล้วก็โวยวายไปว่าทำไมไม่มี ใครมาช่วย เมื่อมีคนมาช่วยเหลือแล้ว ก็เผื่อแผ่แบ่งปันเจือจานให้คนข้างหลัง ได้รับการช่วยเหลืออย่างทั่วถึง ความคิดที่ว่าฉันเดือดร้อนแล้ว แต่เธอยังสบายอยู่หรือเดือดร้อนน้อยกว่า ฉันไม่ยอม ฉันต้องทำให้เธอเดือดร้อนลำบากด้วย ไม่ใช่โมเดลที่ดีที่จะแสดงให้ลูกได้เห็น และไม่ควรไปแสดงให้ใครเห็น

    3. ไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา เพราะ การใช้ความรุนแรง ไม่ได้ทำให้สิ่งที่ตัวเองประสบอยู่นั้นทุเลาเบาบางลงไป ควรใช้สติปัญญา ในการตัดสินและแก้ไขปัญหา ซึ่งน่าจะเป็นต้นแบบที่ดีให้กับลูก และเมื่อเขาเรียนรู้จากพ่อแม่ ในอนาคตเมื่อเขาพบปัญหาลักษณะเดียวกันเขาจะได้ยึดหลักการตัดสินใจและแก้ไข ปัญหาตามแบบพ่อแม่

    "ยอมรับว่า บทบาทของการเป็นพ่อในปีนี้มันยากกว่าปีก่อน เพราะวิกฤตที่ค่อนข้างจะผิดปกติ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ทำหน้าที่พ่อ ก็จะต้องมีสติในการค่อย ๆ แก้ปัญหา การแสดงให้ลูกเห็นถึงความอดทน ความพยายามในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้เป็นตัวอย่างที่ดีที่จะทำให้เราเห็นว่าคนที่เป็นผู้นำของครอบ ครัวก็จะต้องใช้คุณสมบัติทั้งหลายที่เราพูดกันในการที่จะค่อยๆแก้ปัญหา กระทั่งสามารถที่จะอยู่กับสภาพแบบนั้นได้ดีพอสมควร เมื่อเขาโตขึ้น เขาก็จะยึดแนวทางแบบนี้"

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td width="5">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="250"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="250"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> นอกจากนี้ นพ.โกวิทย์ ยัง ให้คำแนะนำหลักปฏิบัติสำคัญพื้นฐานสำหรับการเลี้ยงดูลูกในบทบาทของพ่อ เพื่อให้ลูกได้ซึมซับและเป็นแบบอย่างของการเป็นพ่อที่ดีในอนาคต ดังนี้

    1. พ่อจะต้องมีอารมณ์ที่มั่นคง คงเส้นคงวา อย่าเป็นพ่อที่อารมณ์เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย เพราะจะทำให้ลูกสับสนว่าทำไมทำแบบเดียวกัน แต่เดี๋ยวพ่อก็ดุด่า บางทีก็เฉยๆ ไม่สนใจ และบางทีก็ยิ้มและยิ่งถ้าพ่อควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้แล้วใช้ความรุนแรง เช่น ถ้าทำผิดอย่างเดียวกัน วันนี้พ่อตีเสียตัวลาย อีกวันพ่อทำเป็นมองไม่เห็น อีกวันก็กลับชมเสียอีก เด็กก็จะสับสน ในแง่หนึ่งคือเด็กเรียนรู้ ว่าตกลงจะเอายังไง ในวันที่พ่อทำโทษแรงๆ เด็กก็จะมองว่าพ่อไม่รัก เรื่องนี้มีผลกระทบกับลูกมาก เด็กจะไม่รู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ควรทำ อะไรไม่ควรทำ ที่สำคัญอารมณ์ที่ไม่คงเส้นคงวาอาจทำให้ลูกไม่ค่อยกล้าเข้าหาพ่อเพราะไม่แน่ ใจว่าวันนี้เข้าหาพ่อแล้วพ่อจะดีหรือร้าย

    2. พ่อจะต้องลดความคาดหวังที่มีต่อลูกลงบ้าง เช่น คาดหวังว่าลูกจะต้องเก่ง จะต้องเป็นคนโดดเด่นกว่าเพื่อนในโรงเรียน เหล่านี้อาจทำให้เด็กไม่มีความสุขในชีวิตได้

    "เท่าที่เห็นในสังคมทุกวันนี้ พ่อแม่ค่อนข้างจะคาดหวังจากลูกมาก คาดหวังว่าจะเรียนรู้เยอะ เข้าโรงเรียนดี ๆ แข่งขันกับเพื่อนได้ ฉะนั้นพ่อแม่ก็เลยพยายามยัดเยียดสิ่งต่าง ๆ ที่คิดว่าดีให้ลูก เน้นเรื่องการให้การศึกษา ผลักดันให้ลูกได้รับการศึกษามาก ๆ ให้ลูกเป็นคนที่โดดเด่นกว่าคนอื่น โดยไม่มองว่า สิ่งเหล่านั้นเหมาะสมกับลูกแค่ไหน เมื่อพยายามผลักดันแล้ว พ่อแม่ก็จะทุ่มเททุกอย่าง พยายามผลักดันให้ลูกทำอย่างเดียวก็คือเรียนหนังสือ

    นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงการเรียนนอกเวลา เรียนพิเศษอย่างอื่น ๆ ทั้งดนตรี กีฬา ศิลปะ ทำให้เด็กไม่ได้ถูกฝึกให้มีความรับผิดชอบในชีวิตประจำวันด้านอื่นๆ หลายรายติดสินบนลูก ด้วยของเล่นหรือด้วยรางวัลอย่างอื่นซึ่งบางทีมันก็ไม่เหมาะกับอายุเด็ก และอาจทำให้เด็กกลายเป็นคนที่ติดวัตถุมากกว่าทางด้านจิตใจ เมื่อเด็กโตขึ้นเขาจะไม่สามารถเป็นโมเดลที่ดีให้กับคนรุ่นต่อไปได้ กลายเป็นว่าได้เรียนรู้สิ่งผิด ๆ และทำสิ่งผิด ๆ ตามแบบที่ซึมซับมาอีก" นพ.โกวิทย์ทิ้งท้าย

    สำหรับผู้ทำหน้าที่ "พ่อ" ที่กำลังมีความวิตกกังวล ไม่สบายใจ ทุกข์ใจ หรือมีความเครียดจากวิกฤติน้ำท่วม หากต้องการคำปรึกษาจากนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ สามารถใช้บริการสายด่วน "มนารมย์ร่วมใจช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม" ที่ 02-725-9555 ได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 8.00-18.00 น. หรือศึกษาข้อมูลการสร้างสุขภาพจิตที่ดี รวมถึงทำแบบทดสอบประเมินความเครียดด้วยตัวเองที่



    -http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9540000152933-
    </td></tr></tbody></table>
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    น้ำท่วมทำระบบเศรษฐกิจไทยพัง 2.5 แสนล้าน



    [​IMG]


    น้ำท่วมทำระบบ ศก.ไทยเสียหาย 2.5 แสนล้าน (ไอเอ็นเอ็น)

    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก foto76 /Shutterstock.com


    สศค. เผยน้ำท่วม ทำระบบเศรษฐกิจไทยเสียหาย 2.5 แสนล้าน เร่งช่วยประชาชนผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 5 แห่ง

    นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า จากวิกฤติอุทกภัย สร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจไทยด้านภาคการผลิต ซึ่งประกอบด้วย ภาคการเกษตร อุตสาหกรรม บริการและการท่องเที่ยว สศค. ได้ประเมินมูลค่าความเสียหายเบื้องต้นอยู่ที่ 127,162 - 254,324 ล้านบาท และ ส่งผลกระทบต่อภาวะการจ้างงาน ซึ่งสอดคล้องกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้รายงานวิกฤติอุทกภัย ทำให้อัตราการว่างงานในไตรมาสที่ 4 อยู่ที่ระดับร้อยละ 1.8 - 2.3 หรืออยู่ที่ประมาณ 730,000 - 920,000 คน และส่งผลให้ประชาชนมีรายได้ลดลง ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ โดยคาดว่าอาจมีประชาชนบางส่วนที่หันไปพึ่งพาแหล่งเงินกู้นอกระบบเพิ่มมาก ขึ้น

    ทั้งนี้ สศค. ตระหนักถึงปัญหา ได้เตรียมการแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องตามแผนแม่บทการเงินระดับฐานราก ที่มีเป้าหมายสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจ โดยผ่านกระบวนการสร้างความเข้มแข็งขององค์กรการเงินภาคประชาชน ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ และพัฒนาบทบาทของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อเติมเต็มช่องว่างในระบบการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    โดย สศค. มีมาตรการรองรับการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ร่วมกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 5 แห่ง ประกอบด้วย

    [​IMG] 1. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โทร. 0 - 2280 - 0180 ต่อ 2352
    [​IMG] 2. ธนาคารออมสิน โทร. 1115
    [​IMG] 3. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย โทร. 1302
    [​IMG] 4. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย โทร. 1357
    [​IMG] 5. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ โทร. 0 - 2645 - 9000


    ไอ.เอ็น.เอ็น.
    [​IMG]


    -http://thaiflood.kapook.com/view34561.html-


    .
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    ผู้เชี่ยวชาญแนะวิธี “3 ไม่” เมื่อ “ฮาร์ดดิสก์” จมน้ำ <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">3 ธันวาคม 2554 23:25 น.</td> </tr></tbody></table>

    [​IMG] [​IMG]


    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td class="body" align="left" valign="baseline"> แม้ ข้าวของหลายอย่างจะเสียหายไปพร้อมกับการมาเยือนของน้ำ แต่เราก็อาจกู้ “ข้อมูล” ที่มีค่าต่อธุรกิจหลายพันล้าน หรืออาจเป็นข้อมูลที่มีค่าต่อจิตใจจนประเมินค่าไม่ได้ เพียงแค่เราปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ 3 อย่าง นั่นคือ ไม่ลองเปิดใช้งาน ไม่เปิดฝาดูเองและไม่เป่าลมให้แห้ง

    “ส่วนอื่นแห้งได้หมด ยกเว้นฮาร์ดดิสก์” คือคำแนะนำจาก ฉัตรณรงค์ ทรงสกุล นักวิจัยจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ซึ่งกล่าวขึ้นภายในกิจกรรมให้ความรู้ด้านข้อปฏิบัติเบื้องต้นในการกู้ข้อมูล ฮาร์ดดิสก์สำหรับผู้ประสบอุทกภัย ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3 ธ.ค.54 ณ ลานกิจกรรมศูนย์การค้าฟอร์จูนทาวน์ โดยทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ได้เข้าร่วมในกิจกรรมดังกล่าวด้วย

    เหตุผลที่ฉัตรณรงค์ไม่แนะนำให้เป่าแห้งฮาร์ดดิสก์ที่จมนั้น เนื่องจากจะทำให้คราบสกปรกที่มาพร้อมกับน้ำติดแน่นอยู่กับแผ่นจานบันทึก ข้อมูล ทำความสะอาดได้ลำบากขึ้นและบางครั้งอาจจะทำให้ไม่สามารถกู้ข้อมูลสำคัญกลับ มาได้ ซึ่งทางด้าน ไพโรจน์ เตียมังกรพันธุ์ จากบริษัท อินเตอร์ ดาต้า รีคัฟเวอรี จำกัด ตัวแทนจากภาคธุรกิจด้านการกู้ข้อมูลจากสื่อบันทึกข้อมูลดิจิทัล ได้แนะวิธีสั้นๆ ในการป้องกันข้อมูลเสียหายจากกรณีฮาร์ดดิสก์จมน้ำ คือ 1.ไม่เปิดเครื่องจ่ายกระแสไฟฟ้าให้ฮาร์ดดิสก์ 2.ไม่เปิดฝาฮารดดิสก์เอง และ 3.ไม่ทำให้ฮาร์ดดิสก์แห้ง

    “ห้ามเปิดเครื่องเพราะน้ำและฝุ่นที่เข้าไปจะทำลายจานจนเสีย ทุกชิ้นส่วนเปลี่ยนได้ ยกเว้น จานบันทึกข้อมูล อย่าพยายามทำให้แห้ง หากน้ำแห้งข้างในจะทำให้ตะกอนติดอยู่และการทำความสะอาดจะยากกว่าเดิม และอย่าเปิดฝาเอง ซึ่งการเปิดฝาฮาร์ดดิสก์นั้นต้องอยู่ภายในห้องปลอดฝุ่น (Clean Room) ระดับคลาส 100 เท่านั้น ฮาร์ดดิสก์ที่จมน้ำนั้นยังอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ก่อนจมน้ำ จึงยังกู้ได้อยู่ เมื่อเทียบกับกรณีฮาร์ดดิสก์ตกแล้ว ฮาร์ดดิสก์ที่ตกจะเกิดรอยขึ้นบนแผ่นทำให้โอกาสในการกู้คืนแทบเป็นไปไม่ได้ เลย” ไพโรจน์กล่าว

    ไพโรจน์กล่าวว่าน้ำที่เข้าในฮาร์ดดิสก์นั้นจะไม่ทำอันตรายจานบันทึก ข้อมูลซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่เก็บข้อมูลอันมีค่าไว้ เมื่อส่งถึงผู้เชี่ยวชาญแล้ว ผู้เชี่ยวชาญจะล้างเอาน้ำออกก่อนที่จะบันทึกข้อมูล แต่กรณีที่น้ำเป็นกรดหรือด่างเข้าไปในฮาร์ดดิสก์หรือแผ่นจานทำปฏิกิริยากับ อากาศแล้วจะเป็นปัญหาต่อการกู้ข้อมูล หรือในกรณีเลวร้ายอาจไม่สามารถกู้ข้อมูลคืนได้ โดยโอกาสที่จะกู้ข้อมูลคืนนั้นขึ้นอยู่กับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับจาน บันทึกข้อมูล หากจานถูกทำลายแล้วมีโอกาสที่จะกู้คืนได้น้อย ทั้งนี้ การกู้คืนข้อมูลต้องเป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญ มีสถานที่และอุปกรณ์พร้อม

    ส่วนฉัตรณรงค์นั้นเสริมว่า การแจ้งเหตุที่ถูกต้องแก่เจ้าหน้าที่จะช่วยได้มาก เพราะเจ้าหน้าที่จะได้แก้ไขตามขั้นตอนที่ถูกต้อง เช่น กรณีตกน้ำเจ้าหน้าที่จะได้ไม่เสียบไฟจ่ายกระแสไฟฟ้า พร้อมทั้งบอกด้วยว่าฮาร์ดดิสก์ที่เหมือนใช้งานไม่ได้แล้ว เช่น ตกน้ำ หรือฟอร์แมตหลายๆ ครั้งนั้น ยังสามารถกู้ข้อมูลกลับมาได้อยู่ โดยการฟอร์แมตก็เหมือนการลบดัชนีรายชื่อหนังสือในห้องสมุด แต่หนังสือยังคงอยู่

    พร้อมกันนี้ ดร.ศิริเดช บุญแสง รองคณบดี วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการข้อมูล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง อธิบายว่าชั้นเก็บข้อมูลนั้นมีความหนาในระดับอังสตรอม หรือ 10^-10 เมตร ซึ่งเล็กกว่าระดับนาโนเมตร โดยการเก็บข้อมูลบิต 0 และ 1 นั้นจะอยู่ในรูปสนามแม่เหล็กไฟฟ้า แต่ในการเขียนอ่านข้อมูลนั้นหัวอ่านจะไม่สัมผัสกับจานบันทึกข้อมูลแต่จะลอย อยู่เหนือแผ่นเหมือนเครื่องบินรอนไปมาในระยะห่างที่น้อยกว่าความกว้างของ เส้นผม ซึ่งหากมีสิ่งสกปรกเข้าไปอยู่ตรงส่วนดังกล่าวจะทำให้ฮาร์ดดิสก์พังได้ อย่างไรก็ดี โอกาสที่ฝุ่นหรือสิ่งสกปรกจะเข้าไปในฮาร์ดดิสก์นั้นน้อยมาก แต่อากาศยังคงเข้าไปได้

    “เมื่ออากาศเข้าไปได้ น้ำก็เข้าไปได้เช่นกัน ก็ภาวนาว่าน้ำเน่าดำๆ ในภาคกลางนั้นไม่เป็นกรดมาก ถ้าเป็นกรดแล้วแย่เลย” ดร.ศิริเดชกล่าว

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="500"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="500"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">ไม่เปิดเครื่อง ไม่เป่าแห้ง และไม่เปิดฝาฮาร์ดดิสก์เอง </td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="330"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="330"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">ควรนำฮาร์ดดิสก์จมน้ำใส่ซอง ผนึกแล้วส่งให้ผู้เชี่ยวชาญ </td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="437"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="437"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="375"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="375"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">กรณีแผ่นจานบันทึกข้อมูลมีรอยขีดข่วนจะไม่สามารถกู้ข้อมูลคืนได้ </td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="500"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="500"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">ฮาร์ดดิสก์ที่โดนไฟไหม้ยังกู้ข้อมูลคืนได้ หากจานบันทึกข้อมูลยังไม่เสียหาย</td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="600"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="600"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">วิทยากร (ซ้ายไปขวา) ณรงค์เดช, ไพโรจน์ และ ดร.ศิริเดช</td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>

    -http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000154312-

    .
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    จัดการบ้าน หลังน้ำลด ระบบสุขาภิบาล


    [​IMG]



    จัดการบ้าน หลังน้ำลด ระบบสุขาภิบาล (ไทยโพสต์)

    [​IMG] รางระบายน้ำรอบบ้าน

    ให้เริ่มจากทำความสะอาดระบบระบายน้ำภายนอกก่อน โดยไล่จากจุดต่อระหว่างท่อระบายน้ำทิ้งของบ้านที่ต่อกับท่อน้ำทิ้งภายนอก ให้โกยสิ่งสกปรกต่าง ๆ ออกเพื่อให้น้ำไหลได้ จากนั้นให้เปิดฝาท่อระบายน้ำบริเวณบ้านทุกจุดที่มี แล้วตัดดินโคลนและเศษขยะออกให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ โดยใส่ในถุงขยะนำไปทิ้งต่อไป อย่าพยายามดันขยะออกทางน้ำสาธารณะ เพราะจะทำให้ท่อระบายน้ำสาธารณะตันและทำให้น้ำไม่มีทางระบาย ก่อปัญหาให้กับสิ่งแวดล้อมและเพื่อนบ้าน

    ถ้าท่อระบายน้ำบริเวณบ้านตัน ให้ใช้ไม่ไผ่ยาวๆ ทะลวงท่อ ไม่แนะนำให้ใช้น้ำฉีด เพราะเปลืองน้ำและมักไม่ค่อยได้ผล เมื่อทำความสะอาดเสร็จแล้วให้ตรวจดูว่าน้ำไหลได้ดีหรือไม่
    [​IMG] ระบบสุขาภิบาล




    [​IMG]



    [​IMG] ส้วม

    ให้ตรวจสอบว่าท่อส้วมตันหรือไม่ โดยกดน้ำที่โถส้วมหลาย ๆ ครั้ง ถ้ากดน้ำไม่ลงให้ใช้ที่ปั๊มส้วมลองกดอีกหลายๆ ครั้ง ถ้าน้ำยังไม่ไหลลงไปอีกให้ลองใช้ที่ฉีดน้ำแรงดันสูงดันสิ่งสกปรกออก แต่ถ้ายังไม่ไหลอีกคงต้องให้ช่างมาช่วยทะลวงท่อด้วยงูเหล็กต่อไป

    ถ้าระบบท่อส้วมมีสิ่งสกปรกอุดตันมากให้ลองเปิดถังบำบัดดูว่าสภาพภายในมี ขยะหรือสิ่งของที่มาตามน้ำท่วมเข้าไปในบ่อมากน้อยเพียงใด ถ้าพบว่ามีมากแนะนำให้ท่านสูบน้ำและสิ่งปฏิกูลที่อยู่ในบ่อส้วมออกให้หมด เพื่อระบบบำบัดน้ำเสียทำงานได้อย่างสมบูรณ์อีกครั้ง ถ้าเป็นระบบบ่อซึมควรดูดน้ำในบ่อซึมออกทั้งหมดเพื่อให้ระบบทำงานได้อีกครั้ง

    [​IMG] ท่อระบายน้ำในบ้าน

    ดำเนินการเหมือนระบบท่อส้วม โดยเริ่มจากเปิดฝาปิดช่องระบายน้ำที่พื้นออกก่อน แล้วลองลาดน้ำลงไปตามจุดระบายน้ำทุกจุดดูว่าน้ำไหลหรือไม่ ถ้าน้ำไม่ไหลใช้ที่ปั๊ม ถ้าไม่ไหลอีก คงต้องตามช่างมาแก้ไขต่อไป

    [​IMG] ระบบประปา

    เริ่มต้นจากสูบหรือระบายน้ำในถังเก็บน้ำใช้ออกให้หมดอย่าเสียดายน้ำ ล้างบ่อน้ำใช้หรือถังน้ำใช้ให้สะอาด แล้วรองน้ำใหม่ลงในถังเพื่อให้พร้อมใช้งาน จากนั้นเปิดจุดน้ำประปาทุกจุดเพื่อให้ระบายน้ำออกจากท่อให้หมดเพื่อให้ท่อ สะอาด

    [​IMG] ประตูหน้าต่าง

    ปัญหาที่เจอบ่อยคือ บานประตูและหน้าต่างตกและบวม เนื่องจากแช่น้ำเป็นเวลานาน ให้รอจนกว่าความชื้นระเหยออกให้หมด ถ้าอาการยังไม่หายคงต้องเปลี่ยนประตูหน้าต่างที่ชำรุดเหล่านั้น

    อุปกรณ์ของประตูหน้าต่าง เช่น บานพับ ลูกบิด กุญแจที่ทำด้วยโลหะให้เช็ดให้แห้งสนิท จากนั้นพ่นด้วยสเปรย์ไล่ความชื้น เพื่อหล่อลื่นและกำจัดสนิม ให้ลองเสียบและไขกุญแจทุกดอกเพื่อให้อุปกรณ์ต่าง ๆ เคลื่อนไหว เป็นการทำให้น้ำยาหล่อลื่นเข้าได้อย่างทั่วถึง ชิ้นส่วนใดเป็นสนิมให้ขัดออกและทาสีกันสนิมทับ

    ส่วนเหล็กดัดนั้นให้ดูว่าส่วนใดมีสนิมให้ขัดออกให้เรียบร้อย เช็ดให้แห้งแล้วทาสีกันสนิมทับ ส่วนประตูหน้าต่างไม้นั้นต้องดูว่าเมื่อแห้งแล้วบิดตัวมากเพียงใด ถ้าบิดตัวมากจนปิดเปิดไม่ได้อาจจะต้องเปลี่ยนประตูหน้าต่างใหม่

    [​IMG] พื้น



    [​IMG]


    [​IMG] พื้นหินธรรมชาติ

    ถ้าเป็นพื้นหินธรรมชาติอาจจะมีปัญหามากที่สุด เพราะน้ำท่วมจะทำให้พื้นเป็นรอยคราบน้ำที่กำจัดไม่ได้ คงต้องปล่อยเลยตามเลย ถ้าท่านทำใจไม่ได้คงต้องรื้อหินแผ่นที่เสียหายแล้วปูหินแผ่นใหม่แทน แต่ก่อนปูต้องแน่ใจว่าพื้นคอนกรีตด้านล่างสนิทแล้วจริง ๆ ก่อนเสมอ

    [​IMG] พื้นไม้ปาเก้ พื้นไม้จริง

    สำหรับพื้นไม้ปาเก้ที่หลุดออกให้นำไปผึ่งลมอย่าตากแดด เมื่อไม้แห้งแล้วจึงนำมาประกอบกลับด้วยกาวปูไม้อีกครั้ง ส่วนไม้ปาเก้ที่ติดอยู่ แต่มีอาการปูดบวม ให้เลาะไม้นั้น ๆ ออกให้หมด โดยเฉพาะเศษกาวของเดิมโดยต้องขูดจนถึงเนื้อพื้นปูน ถ้าจะปูไม้กลับเข้าไปใหม่ต้องรอให้พื้นแห้งสนิทจริง ๆ ก่อน ซึ่งน่าจะกินเวลามากกว่า 1 เดือนเลยทีเดียว

    สำหรับพื้นไม้จริง ตรวจสอบว่าไม้แผ่นใดโก่งงอให้ถอดไม้นั้นออกเพื่อเปิดโอกาสให้พื้นนั้นมีช่อง ระบายความชื้นออกได้ง่ายขึ้น เมื่อพื้นข้างใต้นั้นแห้งสนิทแล้วจึงติดตั้งพื้นไม้ใหม่ใกล้เข้าไปแทนพื้น ไม้ที่เสียหายนั้น ก่อนที่จะทากาวด้วยน้ำยาย้อมไม้หรือน้ำยาเคลือบไม้ตามแบบเดิมให้ขัดผิวไม้ นั้นออกให้หมดก่อน เพื่อให้สีของไม้สม่ำเสมอหลังจากทำผิวไม้แล้ว

    [​IMG] พื้นไม้เทียม

    สำหรับพื้นที่ปูด้วยไม้เทียมที่ถูกน้ำท่วมนั้น โอกาสที่จะเสียหายจนซ่อมแซมไม่ได้นั้นมีมากกว่าวัสดุปูพื้นชนิดอื่นๆ เพราะตัวไม้ด้านหลังเป็นแผ่นไม้อัด ซึ่งไม่ทนน้ำมักจะบวมเมื่อถูกความชื้น ให้ท่านรื้อแผ่นพื้นทั้งหมดออกไปก่อน เพื่อให้ความชื้นที่พื้นคอนกรีตด้านล่างระเหยออกไปได้หมด จากนั้นจึงปูพื้นลงไปใหม่ แต่ถ้าแผ่นพื้นเดิมเสียหายอาจจะต้องสั่งแผ่นพื้นใหม่มาทดแทนของเดิม หรือเปลี่ยนเป็นวัสดุปูพื้นชนิดอื่น ๆ แทน


    [​IMG]


    [​IMG] พื้นกระเบื้อง

    พื้นกระเบื้องเซรามิกที่แช่น้ำนานๆ ถ้าเป็นเซรามิกที่มีคุณภาพดีมักไม่ค่อยพบปัญหามากนัก แต่ปัญหาส่วนใหญ่นั้นจะเกิดที่ร่องยาแนวกระเบื้องทั้งบริเวณพื้นและผนังที่ สกปรก เนื่องจากเศษดินโคลนที่มากับน้ำท่วม แนวทางการแก้ปัญหาด้วยตนเองในเบื้องต้นคือ

    ควรทำความสะอาดทันทีหลังน้ำลด ถ้าปล่อยให้พื้นแห้งจะทำความสะอาดยาก ให้เริ่มจากกวาดขยะและทำความสะอาดด้วยไม้กวาดทางมะพร้าวและขัดด้วยแปรง จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาด แล้วตรวจสอบบริเวณยาแนวที่มีคราบสกปรกฝังแน่น รวมทั้งความเสียหายของกระเบื้องและยาแนวที่หลุดล่อน

    การจัดการคราบสกปรกที่ยาแนวกระเบื้องให้ลาดด้วยน้ำยาทำความสะอาดที่มี ฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ บริเวณคราบดำ โดยแบ่งการทำความสะอาดเป็นห้องๆ ควรสวมถุงมือยางและใส่หน้ากากหรือผ้าปิดจมูกเพื่อป้องกันการสัมผัสและสูดดม น้ำยาทำความสะอาดโดยตรงและระวังน้ำยากระเด็นเข้าตาหรือปาก



    [​IMG]


    ทิ้งให้น้ำยาทำปฏิกิริยากับคราบสกปรกประมาณ 5 นาที จากนั้นใช้แปรงพลาสติกขัดทำความสะอาดที่บริเวณนั้น โดยให้ออกแรงกดตอนขัดเพื่อให้คราบสกปรกหลุดออก ลาดด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ใช้พัดลมเป่าบริเวณทำความสะอาดให้แห้ง ถ้าคราบสกปรกไม่ออกจะต้องขูดยาแนวนั้นทิ้งและลงยาแนวใหม่

    การซ่อมยาแนวที่มีคราบดำหรือหลุดล่อน ให้ขูดร่องยาแนวเก่าด้วยเหล็กขูดร่องยาแนวหรือไขควง ล้างทำความสะอาดยาแนวเดิมให้สะอาดแล้วเช็ดด้วยผ้าแห้ง ปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง ผสมปูนยาแนวโดยดูจากคำแนะนำของผู้ผลิตที่แสดงไว้ที่หีบห่อ ผสมปูนยาแนวสำเร็จรูปในแก้วหรือถ้วยพลาสติกที่ใช้แล้ว โดยทำตามคำแนะนำของผู้ผลิตที่แสดงอยู่ข้างถุง

    ยาแนวด้วยนิ้วโดยกดให้ปูนยาแนวเต็มร่อง จากนั้นใช้นิ้วปาดยาแนวให้เรียบ เช็ดทำความสะอาดด้วยฟองน้ำทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง ใช้ฟองน้ำชุบน้ำให้หมาด ๆ แล้วเช็ดร่องยาแนวให้เรียบ ทำความสะอาดคราบปูนยาแนวที่เลอะบริเวณผิวกระเบื้องด้วยผ้าแห้งเช็ดอีกครั้ง ต้องทิ้งไว้ 12 ชั่วโมงก่อนใช้งานพื้นที่นั้น

    การซ่อมกระเบื้องแตกร้าวและหลุดล่อน ให้รื้อกระเบื้องที่แตกหรือร้าวออก จากนั้นสกัดพื้นผิวซีเมนต์ที่เรารื้อกระเบื้องนั้นออก สกัดปูนออกให้เท่ากับความหนาของกระเบื้องรวมกับความหนาของกาวซีเมนต์ ซึ่งจะหนาประมาณ 1.5 เซนติเมตร และทำความสะอาดเศษซีเมนต์ออกให้หมด

    ผสมกาวซีเมนต์สำเร็จรูปที่ใช้ปูกระเบื้องโดยเฉพาะ ใช้เกรียงตักกาวซีเมนต์ทาลงบริเวณผิวซีเมนต์ที่สกัดไว้ นำกระเบื้องที่ลวดลายและสีเดียวกันหรือใกล้เคียงกับกระเบื้องที่เสียหายมา ติดบนกาวซีเมนต์ เคาะให้แน่นด้วยด้ามเกรียงจนระดับกระเบื้องเรียบเท่ากันกับกระเบื้องเดิม โดยต้องจัดให้ร่องยาแนวกระเบื้องเท่ากันทุกด้าน อาจใช้เศษกระดาษแข็งคั่นเป็นแนวไว้

    ปาดกาวซีเมนต์ที่ล้นจากร่องยาแนวโดยใช้เกรียงไม้หรือไม้ชิ้นเล็ก ๆ ทิ้งให้ปูนแห้ง 12 ชั่วโมงก่อนใช้งาน จากนั้นทำการยาแนวกระเบื้องตามวิธีที่แสดงไว้ก่อนหน้านี้

    การซ่อมแซมกระเบื้องและร่องยาแนวให้ระวังขอบกระเบื้องบาดมือ เมื่อใช้ปูนกาวซีเมนต์และปูนยาแนวเสร็จให้ล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง อย่าปล่อยทิ้งไว้ ส่วนน้ำยาทำความสะอาดถ้าถูกผิวหนังอาจเกิดการระคายเคือง ต้องล้างออกทุกครั้งที่สัมผัสโดยตรง



    [​IMG]



    [​IMG] พื้นพรม

    พื้นพรมต้องลอกออกให้หมดเพื่อส่งไปซัก ตากแดดให้แห้ง ก่อนนำกลับมาปูใหม่ โดยต้องตรวจสอบว่าพื้นคอนกรีตแห้งสนิทก่อน

    แต้ถ้าพื้นที่ปูพรมจมอยู่ใต้น้ำท่วมเป็นน้ำเสีย แนะนำว่าควรทิ้งไปไม่ควรเสียดาย เพราะพรมที่ชื้นนั้นเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคต่างๆ ได้เป็นอย่างดี น่าจะถือโอกาสนี้เปลี่ยนวัสดุปูพื้นเป็นอย่างอื่น ๆ เช่น กระเบื้องเคลือบหรือวัสดุที่ทนความชื้นได้ดี จะส่งผลดีกับท่านในระยะยาว

    [​IMG] ผนัง


    [​IMG]


    [​IMG] ผนังก่ออิฐ

    ผนังอาคารส่วนที่เป็นผนังก่ออิฐหรือคอนกรีตบล็อกฉาบปูนทาสีแนะนำว่าให้ทำ ความสะอาด ขัดด้วยแปรงพลาสติก ไม่ใช้แปรงลวด แล้วทิ้งไว้โดยยังไม่ต้องทาสี เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1-2 เดือน เพื่อให้แน่ใจว่าผนังนั้นแห้งสนิทจริง ๆ การทาสีก่อนเวลาความชื้นในผนังไม่สามารถระเหยออก ทำให้ความชื้นค้างอยู่ภายในและจะก่อปัญหาได้มากในภายหลัง

    [​IMG] ผนังเบา

    ผนังเบาพวกยิปซั่มบอร์ด ให้กรีดส่วนที่แช่น้ำและบวมน้ำออกให้หมด ซ่อมแซมด้วยแผ่นยิปซั่มบอร์ดแผ่นใหม่ แต่ก่อนซ่อมต้องแน่ใจว่าโครงภายในแห้งสนิทดีแล้ว สำหรับผนังเบาอื่น ๆ เช่น แผ่นซีเมนต์บอร์ด หรือกระเบื้องแผ่นเรียบ ควรเจาะรูให้น้ำที่ขังอยู่ภายในไหลออกจากช่องด้านในให้หมด ถ้าสามารถเปิดผนังออกเพื่อให้โครงภายในระบายน้ำออกได้จะทำให้โครงภายในผนัง แห้งเร็วยิ่งขึ้น

    [​IMG] วอลเปเปอร์

    สำหรับผนังบุวอลเปเปอร์นั้นคงต้องลอกส่วนที่โดนน้ำท่วมออก เพื่อให้ความชื้นในผนังระเหยออกได้สะดวก เมื่อแห้งแล้วจึงนำวอลเปเปอร์แผ่นใหม่มาปิดทับให้สวยงามต่อไป ถ้าผนังโดนความชื้นมากๆ ต้องลอกวอลเปเปอร์ออกให้หมดเพื่อให้ผนังที่ชื้นสามารถระเหยออกได้ดี โดยต้องรอให้ผนังแห้งจริงๆ อย่างน้อย 1 อาทิตย์ แล้วจึงจะปิดวอลเปเปอร์ใหม่ลงไป

    [​IMG] ผ้าม่าน

    สำหรับผ้าม่านต้องส่งซักทำความสะอาดให้เรียบร้อย แต่ผ้าม่านส่วนใหญ่หลังจากซักแล้วมักจะไม่ได้รูปทรงของเดิม ท่านต้องตัดสินใจว่าจะส่งซักหรือซื้อใหม่ อย่างไหนจะคุ้มค่ากว่ากัน

    [​IMG] ฝ้าเพดาน

    ฝ้าเพดานที่ถูกน้ำท่วมถึง ถ้าเป็นฝ้าเพดานยิปซั่มบอร์ดต้องรื้อส่วนที่ชื้นออกทั้งหมดแล้วทำใหม่ เพราะซ่อมแซมไม่ได้ แต่ถ้าเป็นฝ้าเพดานท้องพื้นคอนกรีต ให้ทำความสะอาดและปล่อยให้แห้งจึงค่อยทาสีในภายหลังต่อไป

    ส่วนฝ้าแผ่นโลหะและโครงโลหะให้เช็ดทำความสะอาดให้แห้ง ขัดสนิมออกด้วยกระดาษทรายแล้วจึงทาสีทับ

    สำหรับโครงฝ้าเพดานที่เป็นไม้ ต้องตรวจสอบว่าน้ำทำให้โครงแอ่นหรือไม่ ต้องปรับระดับแก้ไขก่อนจึงจะติดตั้งแผ่นฝ้าแผ่นใหม่



    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก -http://thaipost.net/x-cite/011211/48972-
    [​IMG]



    -http://thaiflood.kapook.com/view34466.html-

    .
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ชาวบ้านบ่น ประปาเก็บค่าน้ำย้อนหลังช่วงน้ำท่วม


    [​IMG]


    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

    ชาวบ้านโอด การประปาบางเขนเรียกเก็บค่าน้ำย้อนหลังเดือน ต.ค.-พ.ย. โดยการหาค่าเฉลี่ยน้ำ เหตุเข้าไปจดมิเตอร์ไม่ได้

    วันนี้ ( 6 ธันวาคม) รายการเรื่องเล่าเช้านี้ ได้นำเสนอเรื่องที่การประปาเขตบางเขน ได้เรียกเก็บค่าน้ำประปา ประจำเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน 2554 โดย ที่การประปาระบุว่า เนื่องจากไม่สามารถเข้าไปจดมาตรวัดน้ำได้ จึงได้ใช้วิธีการหาค่าเฉลี่ยการใช้น้ำ 3 เดือนย้อนหลัง แล้วเรียกเก็บกับประชาชนแถวเขตบางเขน

    ทั้งนี้ การที่การประปาเขตบางเขนเรียกเก็บค่าน้ำประปาย้อนหลังกับประชาชนในช่วงที่ ประสบเหตุอุทกภัย สร้างความไม่พอใจให้ชาวบ้านเป็นอย่างมาก เพราะว่าบางคนไม่ได้อยู่บ้านในช่วงเวลาที่เกิดเหตุน้ำท่วม หรือบางคนอยู่บ้าน แต่ก็ใช้น้ำน้อยลง มิหนำซ้ำ น้ำประปาที่ทางการประปาจ่ายให้เดือนก่อน บางครั้งก็มีกลิ่นเหม็น และบางครั้งก็มีสีเหลือง ซึ่งเป็นน้ำประปาที่ไม่ได้มาตรฐาน ชาวบ้านจึงวอนภาครัฐเข้ามาตรวจสอบเรื่องนี้และช่วยเหลือชาวบ้านด่วน



    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
    [​IMG] [​IMG]


    -http://thaiflood.kapook.com/view34717.html-

    .
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ช็คสภาพ 'ยาสามัญประจำบ้าน' หลังน้ำลด

    วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2554 เวลา 00:00 น.


    -http://beta.dailynews.co.th/article/822/1895-


    [​IMG]



    เผยวิธีสังเกตคุณภาพของยาประเภทต่างๆ ที่มีใช้กันโดยทั่วไปในแต่ละบ้าน



    เช็คสภาพ 'ยาสามัญประจำบ้าน' หลังน้ำลด

    วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2554 เวลา 00:00 น.
    [​IMG]



    เผยวิธีสังเกตคุณภาพของยาประเภทต่างๆ ที่มีใช้กันโดยทั่วไปในแต่ละบ้าน

    การกลับเข้าบ้าน หลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมคลี่คลาย จำเป็นต้องตรวจสอบคุณภาพยาสามัญประจำบ้านด้วย เพราะการนำยาที่เสื่อมสภาพ เสีย หรือหมดอายุไปใช้หรือรับประทาน อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้
    ทั้งนี้ ระหว่างการเสวนา เข้าบ้านหลังน้ำลดอย่างไร...ให้ปลอดภัย โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้เผยวิธีสังเกตคุณภาพของยาประเภทต่างๆ ที่มีใช้กันโดยทั่วไปในแต่ละบ้าน เริ่มจาก "ยาเม็ดหรือยาแคปซูลแบ่งบรรจุ" ต้องไม่มีสีและลักษณะเปลี่ยนแปลงไป เช่น รอยด่าง เม็ดยาบวม แคปซูลไม่ติดกัน กลิ่นไม่แปลกไปจากเดิม ซึ่งโดยทั่วไปยาเม็ดแบ่งบรรจุจะมีอายุประมาณ 6 เดือน นับจากวันที่ได้รับยาแบ่งบรรจุ
    ด้าน "ยาเม็ดหรือยาแคปซูลในแผงบรรจุสำเร็จรูป" ลักษณะบรรจุภัณฑ์ แผงยาต้องไม่มีรอยฉีกขาด ยังอยู่ในสภาพที่ดี และยายังไม่หมดอายุ
    สำหรับ "ยาน้ำ" ลักษณะของสี กลิ่น รส ปกติ ไม่มีลักษณะขุ่น ไม่มีตะกอน หรือสิ่งแปลกปลอมในยา รวมทั้งบริเวณฝาขวด-ปากขวด และภายในบรรจุภัณฑ์ต้องไม่มีตะกอนหรือผลึกน้ำตาลเกาะอยู่
    ขณะที่ "ยาแขวนตะกอน" จะต้องไม่เกิดก้อนแข็ง สามารถเขย่าแล้วกลับมาแขวนลอยได้อีก รวมถึงสี กลิ่น รส ต้องไม่เปลี่ยนแปลง ส่วน "ยาครีม" ลักษณะของครีมต้องคงเดิม ทั้งความข้นหนืด สี กลิ่น
    สุดท้าย "ยาขี้ผึ้ง" ต้องไม่มีของเหลวแยกออกมาจากยาขี้ผึ้ง ความข้นหนืดคงเดิม ไม่มีเม็ดหยาบในยาขี้ผึ้งที่แสดงถึงการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์
    ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง อาทิ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง ที่โดยปกติจะต้องรับประทานยาเป็นประจำ แต่ขาดยาในช่วงน้ำท่วม ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายหลังน้ำลดและสามารถเดินทางได้ เนื่องจากแพทย์อาจต้องปรับยาให้เหมาะสมกับสภาวะของผู้ป่วย และเพื่อควบคุมอาการของโรค จะเป็นการดีกว่าที่ตัวผู้ป่วยจะหาซื้อยาเดิมมารับประทานเองหลังการขาดยาไป.
    ทีมเดลินิวส์ออนไลน์
    takecareDD@gmail.com



    .
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    เปิดคู่มือรู้สู้เชื้อรา ! วิธีทำความสะอาดและกำจัดเชื้อราอย่างปลอดภัย



    ในระยะหลังน้ำท่วม จะพบเชื้อราขึ้นเกิดขึ้นมากมาย ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในอาคาร รวมทั้งอุปกรณ์เครื่องใช้ ในครัวเรือน โรงเรียน สำนักงาน และสถานที่ต่างๆ


    การสำรวจเบื้องต้นของกระทรวงสาธารณสุขและหลายหน่วยงาน พบว่า เชื้อราส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้น ไม่ใช่เชื้อชนิดที่ก่อโรคในคน แต่เป็นเชื้อชนิดที่มีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ ซึ่งเกิดขึ้นมากกว่าปกติ เพราะความชื้นจากน้ำท่วม



    คนทั่วไปที่มีสุขภาพแข็งแรง หากสัมผัสกับเชื้อราเหล่านี้ มักไม่มีปัญหาต่อสุขภาพ ส่วนคนที่อาจมีปัญหาสุขภาพจากเชื้อราได้แก่

    ผู้ ที่เป็นภูมิแพ้ เช่น แพ้อากาศ แพ้ฝุ่น แพ้ละอองเกสร ก็อาจแพ้เชื้อราด้วย หากสูดหายใจเอาละออง (สปอร์) ของเชื้อราเข้าไป โดยอาจเกิดอาการโพรงจมูกอักเสบ เยื่อจมูกอักเสบ ระคายเคืองนัยน์ตา หอบหืด หรือปอดอักเสบจากการแพ้ เป็นต้น



    ผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น ผู้ที่ใช้ยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยมะเร็งที่กำลังรับเคมีบำบัด ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ที่เคยเป็นวัณโรคหรือโรคปอดเรื้อรัง รวมทั้งผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอหรือผู้สูงอายุ อาจติดเชื้อราในปอด ซึ่งบางรายอาจมีอาการรุนแรงได้ แต่ปัญหาเหล่านี้พบไม่มากนัก



    ปัญหาสุขภาพจากเชื้อราจะเกิดมากหรือน้อย ขึ้นกับโอกาสการสัมผัสกับเชื้อรา ดังนั้น จึงต้องทำความสะอาด ทุกอาคารบ้านเรือนรวมทั้งเครื่องใช้ต่างๆ ที่เคยถูกน้ำท่วม และกำจัดเชื้อราออกให้มากที่สุด โดยผู้ที่ทำความสะอาดจะต้องใช้อุปกรณ์ป้องกัน และใช้วิธีทำความสะอาดอย่างถูกต้อง
    จะทำความสะอาดและกำจัดเชื้อรา อย่างปลอดภัย อย่างไร

    ผู้ ที่ทำความสะอาด ต้องสวมหน้ากากอนามัย และถุงมือยางหรือถุงมือพลาสติกสำหรับทำงานบ้าน ควรสวมรองเท้าบู๊ตหากพื้นยังเปียกหรือมีน้ำขัง และหากหาได้ควรสวมแว่นตาครอบรอบตากันฝุ่นเข้าตา ในขณะทำความสะอาดต้องเปิดประตูหน้าต่างเพื่อระบายอากาศ ระหว่างทำความสะอาดอาจเปิดพัดลมเพื่อช่วยระบาย ด้วย


    เนื่องจากเชื้อราเจริญได้ในที่ชื้น ดังนั้นแนวทางหลักในการกำจัดเชื้อรา คือ การล้างหรือเช็ดเอาเชื้อราออกให้มากที่สุด และทำให้แห้ง สำหรับ ผนัง พื้น เครื่องใช้ อุปกรณ์ ควรล้างด้วยน้ำและสบู่ หรือผงซักฟอก หรือน้ำยาล้างจาน เพื่อขจัดสิ่งสกปรกออกให้มากที่สุด พร้อมทั้งเปิดประตู หน้าต่าง เพื่อลดความชื้นและช่วยให้แห้ง เร็ว


    ในบริเวณที่มีความชื้นอยู่เสมอ เช่น ห้องน้ำ ฯลฯ อาจล้างด้วยสารที่ช่วยฆ่าเชื้อรา เช่น น้ำยาซักผ้าขาว หรือผงฟอกขาว (ใช้ผงฟอกขาว1 ส่วน ผสมกับน้ำ 10 ส่วน) ทั้งนี้ต้องสวมอุปกรณ์ ป้องกัน เพราะสาร ดังกล่าว มีพิษระคายเคืองต่อผู้ใช้ได้ เสื้อผ้าที่จมน้ำควรซักให้สะอาด แล้วลวกน้ำร้อน ภาชนะและอุปกรณ์เกี่ยวกับอาหาร ควรล้างใหม่ให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ หรือผงซักฟอก หรือ น้ำยาล้างจาน


    สิ่งของที่ล้างแล้วควรทิ้งให้แห้งสนิท หากสามารถผึ่งแดดหรือใช้พัดลมเป่าด้วย ก็จะช่วยให้แห้งเร็วขึ้น

    วัสดุที่มีรูพรุน ซึ่งไม่สามารถชำระล้างได้ทั่วถึงและทำให้แห้งได้ จะกลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อรา หากทิ้งได้ก็ควร ทิ้ง



    ผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ หรือมีร่างกายไม่แข็งแรง ตามที่กล่าวข้างต้น ไม่ควรร่วมในการทำความสะอาด กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำการการเฝ้าระวังโรคอย่างต่อเนื่อง และยังไม่พบการป่วยรุนแรงจากเชื้อราในระหว่างน้ำท่วมและในระยะน้ำลด อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุขจะติดตามเฝ้าระวัง และศึกษาปัญหาสุขภาพจากเชื้อรา เพื่อเป็นฐานความรู้สำหรับการป้องกันและดูแลสุขภาพในระยะต่อไป


    -http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1323418180&grpid=&catid=19&subcatid=1904-


    .
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    สมอ.เตือนซ่อมบ้านช่วงน้ำลด ให้ตรวจสอบผู้รับเหมาเข้มงวด



    [​IMG]


    สมอ.เตือนซ่อมบ้านช่วงน้ำลด ให้ตรวจสอบผู้รับเหมาเข้มงวด (ไทยโพสต์)

    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก รายการครอบครัวข่าว 3

    สมอ.เตือน ซ่อมบ้านช่วงน้ำลด ให้ตรวจสอบผู้รับเหมาเข้มงวด หลังพบมีการแห่ซื้อเหล็กเส้นไม่ได้มาตรฐานมาใช้กันมาก เหตุราคาถูกกว่า 40% ผนึกดีเอสไอ-ตำรวจไล่จับ ด้าน กนอ.ฟุ้ง "บางชัน" รอด พยุงเศรษฐกิจปีละ 1.28 แสนล้านบาท

    นายชัยยง กฤตผลชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เปิดเผยว่า ได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ สมอ.ติดตามโรงงานผลิตเหล็กและร้านจำหน่ายเหล็กเส้นอย่างใกล้ชิด เนื่องจากมีช่างรับเหมาก่อสร้างบางรายเริ่มสั่งซื้อเหล็กเส้นที่ไม่ได้ มาตรฐานจากโรงงานที่มีราคาถูกกว่าเหล็กที่ได้รับเครื่องหมาย มอก.ถึง 40% เพื่อนำมาสร้างบ้านและซ่อมแซมบ้านของประชาชนที่ถูกน้ำท่วม

    ดัง นั้น ต้องการเตือนให้ประชาชนที่จะสร้างบ้าน ต้องตรวจสอบเหล็กที่ช่างรับเหมานำมาสร้างบ้านด้วยว่ามีเครื่องหมาย มอก.หรือไม่ ซึ่งหากเป็นเหล็กไม่ได้มาตรฐาน อาจอันตรายต่อชีวิตได้

    "ช่วงนี้ประชาชนต้องเร่งซ่อมแซมบ้านจำนวนมากหลังจากที่ถูกน้ำท่วม ดังนั้น การจ้างช่างผู้รับเหมาต้องพิจารณาให้รอบคอบ โดยเฉพาะเรื่องการซื้อเหล็กเส้นที่ไม่ได้มาตรฐาน เนื่องจากมีต้นทุนที่ต่ำกว่าเหล็กมาตรฐานถึง 40% เพราะหากเหล็กไม่มีมาตรฐานหากเกิดน้ำท่วมอีกก็จะชำรุดได้ง่ายกว่าบ้านที่ใช้ เหล็กมาตรฐาน" นายชัยยงกล่าว

    สำหรับ โรงงานที่ผลิตหรือจำหน่ายเหล็กไม่ได้มาตรฐาน ส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็กอยู่ในบริเวณปริมณฑล เช่น จังหวัดปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เป็นต้น โดยโรงงานเหล่านี้ตั้งถูกต้องตามกฎหมาย และได้รับใบอนุญาตจากกรมโรงงานทุกอย่าง แต่ขั้นตอนการผลิตเหล็กไม่ได้รับใบอนุญาตจาก สมอ. ซึ่งเป็นผู้อนุมัติมาตรฐาน มอก.

    นายชัยยง กล่าวว่า ใน ปี 2554 สมอ.ได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่จากรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และเจ้าหน้าที่ตำรวจ สามารถจับกุมโรงงานที่ผลิตเหล็กไม่ได้มาตรฐานแล้ว 5,000-6,000 ตัน ซึ่งสูงกว่าปีก่อนมาก เนื่องจากมีการประเมินว่าในปีนี้จะมีการสร้างบ้านและซ่อมแซมบ้านกันมาก ส่วนใหญ่เป็นเหล็กข้ออ้อยขนาดใหญ่สำหรับงานโครงสร้างขนาดใหญ่ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณขึ้นรูปเย็น เป็นต้น

    ล่าสุด วันที่ 7 ธ.ค.ที่ผ่านมา สมอ.ร่วมกับดีเอสเข้าไปตรวจคันสถานประกอบการย่านถนนพระราม 2 เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ สามารถจับกุมเหล็กที่ไม่ได้มาตรฐานในการก่อสร้างหลายรายการ น้ำหนัก 750 ตัน มูลค่า 19 ล้านบาท ซึ่งโรงงานนี้เป็นที่พักสินค้ามาจากที่อื่น แสดงว่ามีการดำเนินการเป็นขบวนการ

    สำหรับความผิดของผู้ผลิตเหล็กที่ไม่ได้มาตรฐานจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำและปรับ หากเป็นผู้จำหน่ายมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับตั้งแต่ 5,000-50,000 บาท อย่างไรก็ตาม หากพบว่ามีการผู้บริโภคได้รับเหล็กไม่ได้มาตรฐาน หรือมีการเลียนแบบตราเครื่องหมายมาตรฐาน มอก. สามาถแจ้งมายัง สมอ. 0-2793-9300

    นาง มณฑา ประณุทนรพาล ผู้ว่าการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า นิคมอุตสาหกรรมบางชัน สามารถรับมือกับสภาวะน้ำท่วมได้แล้ว ขณะนี้ผู้ประกอบการทั้ง 93 ราย รวมจำนวนแรงงาน 13,844 คน พร้อมเข้าสู่ภาคการผลิตได้ปกติ โดยสามารถรักษามูลค่าทางเศรษฐกิจได้เฉลี่ยปีละไม่ต่ำกว่า 1.28 แสนล้านบาท และขณะนี้อยู่ระหว่างหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนและออกแบบแนวป้องกันน้ำในอนาคตที่เป็นรูปธรรม เพื่อทำให้นักลงทุนยังคงมั่นใจและขยายฐานมายังประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง


    ขอขอบคุณข้อมูลจาก ไทยโพสต์
    [​IMG]

    -http://thaiflood.kapook.com/view34935.html-
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    กรมขนส่งเตือน! ซื้อรถมือสองเจอรถจมน้ำ





    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

    ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล

    จาก สถานการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินประชาชนเป็นอย่างมาก รวมถึงรถยนต์ที่หนีน้ำท่วมไม่ทันต้องเสียหายไปหลายคัน แต่รถยนต์จมน้ำที่ผ่านมา กลับกำลังเป็นที่ต้องการของอู่ซ่อมรถ หรือ เต้นท์รถมือสอง ที่ต้องการซื้อรถในราคาถูก แต่เมื่อนำไปปรับปรุงสภาพหรือถอดชิ้นส่วนขยาย สามารถทำกำไรได้อย่างดี ทำ ให้นายอัฌษไธค์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก ออกมาเตือนผู้กำลังคิดจะซื้อรถมือสองให้ระวังรถประเภทดังกล่าว อาจจะมีปัญหาตามมาภายหลัง โดยจะต้องให้ผู้ที่มีความรู้ในเรื่องของรถยนต์ หรือให้อู่ซ่อมรถเข้าไปพิจารณาด้วย

    โดย นายอัฌษไธค์ กล่าวถึงรถที่มีความเสี่ยงว่าจะเป็นรถที่ถูกน้ำท่วมคือ รถ ที่ขายผ่านบริษัทประกันภัย เพราะหากมีน้ำท่วมรถจนไม่สามารถใช้งานได้ บริษัทประกันภัยจะซื้อเป็นซากกลับไปเพื่อปรับปรุงแล้วเอาไปประกาศขายต่อ โดยรถยนต์ที่ขายผ่านบริษัทประกันภัย จะมีอยู่ 2 กรณี คือ

    1. ถูกน้ำท่วม โดยส่วนใหญ่จะเป็นรถใหม่ ประมาณ 80-90% เนื่องจากต้องทำประกันภัยชั้น 1 เท่านั้น

    2. เกิดอุบัติเหตุจนพังทั้งคัน

    นอก จากนี้ หากในกรณีที่รถถูกจำหน่ายผ่านช่องทางอื่น ๆ เช่น เต้นท์รถยนต์ หรือเจ้าของขายเอง ก็ให้สังเกตบริเวณหัวน็อตหรือแบตเตอรี่ ซึ่งถ้าเป็นรถถูกน้ำท่วมก็จะมีคราบสนิมเกาะอยู่

    อย่างไรก็ตาม ทางกรมขนส่งทางบก ได้ประสานไปยังบริษัทรับซ่อมรถยนต์ รวมถึงอู่ซ่อมรถประมาณ 10 กว่าราย เพื่อให้บริการประชาชนที่จะมาลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนน โดยจะมอบบัตรส่วนลด 10-30% ทั้งในส่วนของการเช็กสภาพรถยนต์ และซ่อมแซมรถที่ถูกน้ำท่วม จะช่วยให้ประชาชนประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้น

    ด้านนายกิจ มหาจุนทการ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า จากสถานการณ์น้ำท่วม ส่งผลให้ตลาดรถยนต์มือสองขาดตลาด ตลาดรถยนต์มือ 1 ไม่สามารถส่งมอบรถได้ ทำให้ลูกค้าที่มีความต้องการนำรถยนต์เก่ามาแลกซื้อรถยนต์ใหม่ไม่ได้รับความ ชัดเจนในการรอ ส่งผลให้ลูกค้าต้องใช้รถเก่าไปก่อน และความต้องการซื้อลดลง

    นอกจากนี้ นายกิจ กล่าวต่อว่า ปัจจุบัน ตลาดรถมือสองเริ่มต้องการรถปิกอัพมากขึ้นเพราะคาดว่าลูกค้าต้องการนำไปใช้ งาน โดยพบว่าราคารถปิกอัพมือสองในตอนนี้เริ่มสูงขึ้น และในลานประมูลรถมือสองมีการแย่งกันซื้อขายรถปิกอัพ ซึ่งเป็นผลมาจากรถใหม่ไม่มีในตลาด อีกทั้งยอดขายรถปิกอัพมือสองก็เพิ่มมากขึ้นด้วย

    อย่างไรก็ตาม ขณะนี้โชว์รูมขายรถมือสองโตโยต้า สาขาใหญ่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ไม่สามารถเปิดบริการได้หลายแห่ง โดยความต้องการรถยนต์มือสองได้ไปเติบโตขึ้นในภาคอื่น ๆ ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เช่น ภาคเหนือ ภาคอีสาน โดยเฉพาะภาคอีสาน ที่เป็นฐานใหญ่ของลูกค้ารถยนต์มือสอง


    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก -http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1323408793&grpid=03&catid=&subcatid=-

    [​IMG]


    -http://thaiflood.kapook.com/view34930.html-


    .
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .






    จัดสรรแข่งเดือดปี 2555 แพงขึ้นอีก 10%ชูจุดขาย 'น้ำไม่ท่วม' <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="body" align="left" valign="middle">โดย ผู้จัดการ 360° รายสัปดาห์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">8 ธันวาคม 2554 11:22 น.</td></tr></tbody></table>


    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="450"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="450"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> - ต้นทุนเพิ่มทุกด้าน พร้อมสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมในโครงการ
    - ส่วนกลยุทธ์การตลาดแข่งเดือด ต้องเลือกใช้วลีเด็ด ' น้ำไม่ท่วม' ดูดลูกค้ารายใหม่
    - ขณะที่คอนโดมิเนียมเก่า-ใหม่ ในทำเลน้ำไม่ท่วมได้รับอานิสงค์หลังน้ำลด
    - ย่านซีบีดี-เมืองท่องเที่ยวหัวหิน พัทยา ฮอตสุด

    ความเสียหายของโครงการจัดสรรมากกว่า 1 ล้านหน่วย ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติน้ำท่วมครั้งใหญ่ในรอบ 50 ปีไม่ได้เพียงแค่ทำให้บ้านเรือนเสียหายเท่านั้น แต่ยังกระทบต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างรุนแรงในช่วงปลายปีนี้ต่อเนื่อง ถึงปีหน้า ซึ่งคาดการณ์ว่าจะรุนแรงกว่าภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง การชุมนุมทางการเมือง รวมถึงกำลังซื้อถดถอยในช่วงปีก่อน

    นั่นเป็นเพราะว่าการตัดสินใจซื้อบ้านในอนาคตนั้น ผู้ซื้อจะไม่ได้พิจารณาแค่ทำเลที่มีศักยภาพการเดินทางสะดวกตั้งอยู่ใกล้ระบบ ขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ทั้งรถไฟฟ้า โครงข่ายทางด่วน รูปแบบโครงการ ราคา และมาตรการสนับสนุนการขายต่างๆจากทั้งภาครัฐและเอกชนเท่านั้น แต่ปัจจัยสำคัญที่ผู้ซื้อจะคำนึงถึงเป็นปัจจัยแรกคือ โครงการน้ำท่วมหรือไม่ ถ้าเป็นทำเลที่น้ำท่วมถึงผู้ประกอบการจะต้องทำอย่างไรให้ผู้ซื้อมั่นใจว่า น้ำจะไม่ท่วม ซึ่งนั่นคือ โจทย์ใหญ่ที่ผู้ประกอบการต้องแก้ให้ได้ ไม่เช่นนั้นต่อให้โครงการหรูหราแค่ไหนก็ไม่มีใครสนใจซื้อ

    แน่นอนแนวทางแก้ไขก็คือ ต้องปรับแผนการก่อสร้างโครงการใหม่ทั้งหมด ตั้งแต่บริเวณรอบโครงการ ภายในโครงการ ตัวบ้าน ระบบระบายน้ำและระบบไฟฟ้า ซึ่งแม้ว่าจะไม่ใช่เรื่องยากแต่สิ่งเหล่านั้นล้วนเป็นต้นทุนการก่อสร้างที่ เพิ่มขึ้น และงบดังกล่าวไม่เคยถูกตั้งขึ้นมาใช้ในการลงทุนมาก่อน ที่สำคัญเป็นต้นทุนที่ค่อนข้างสูง และในที่สุดผู้ประกอบการก็จะผลักภาระไปให้ผู้ซื้อ ซึ่งจะทำให้ราคาบ้านสูงขึ้นอย่างน้อย 5-10%

    เอ็น.ซี.ปรับแผนลงทุน

    สมเชาว์ ตัณฑเทอดธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.เฮ้าส์ซิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ NCHกล่าวว่า จากวิกฤติน้ำท่วมครั้งใหญ่นี้ ทำให้ผู้ประกอบการทุกรายต้องปรับตัวครั้งใหญ่ โดยการลงทุนโครงการใหม่และเฟสใหม่ที่อยู่ระหว่างดำเนินการจะต้องลงทุนทำระบบ ป้องกันน้ำท่วมภายในโครงการ เพื่อสร้างความมั่นใจในผู้ซื้อว่าน้ำจะไม่ท่วม

    ในส่วนของบริษัท เอ็น.ซี.เฮ้าส์ซิ่ง อยู่ระหว่างการศึกษาว่าจะใช้วิธีใดในการป้องกันน้ำท่วมให้ได้ผลดีที่สุด ระหว่างทำเขื่อนรอบโครงการเพื่อเป็นพื้นที่กักน้ำไม่ให้ท่วมโครงการ ทำประตูระบายน้ำซึ่งสามารถเปิดปิดได้เช่นเดียวกับประตูระบายน้ำทั่วไป รวมถึงการติดตั้งเครื่องสูบน้ำภายในโครงการ หรือบริเวณรั้วรอบโครงการอาจจะต้องมีระบบระบายน้ำ แต่สิ่งที่สำคัญอันดับแรกคือการถมดินให้สูงขึ้นจากถนนอย่างน้อย 20-40 เซนติเมตร ซึ่งจะทำทั้งโครงการใหม่และโครงการที่อยู่ระหว่างการดำเนินงาน เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้ซื้อ

    สมเชาว์ กล่าวอีกว่า นโยบายการลงทุนของ เอ็น.ซี.เฮ้าส์ซิ่ง จะเลือกในทำเลที่น้ำไม่ท่วมหรือมีโอกาสท่วมน้อย โดยทำเลที่จะไม่ไปลงทุนคือ บางบัวทอง บางกรวย- ไทรน้อย และรัตนาธิเบศร์ เพราะเป็นพื้นที่ต่ำมีปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำ แม้ว่าจะไม่ได้ปริมาณน้ำฝนจำนวนมากกว่าภาวะปรกติ

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="430"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="430"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">ชายนิด โง้วศิริมณี- สมเชาว์ ตัณฑเทอดธรรม </td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> “แม้ว่าแผนป้องกันน้ำท่วมจะถูกนำมาใช้ในโครงการใหม่ในปีหน้า และเฟสใหม่ในโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ แต่บริษัทเชื่อว่าจะไม่ได้สร้างความมั่นใจให้กับลูกค้ามากนัก บริษัทจึงเตรียมปรับแผนการตลาดใหม่ทั้งหมด โดยชูจุดขายโครงการน้ำไม่ท่วม ซึ่งจะต้องมีการอบรมพนักงานขายให้มีความรู้และเชี่ยวชาญเกี่ยวกับน้ำ ซึ่งอาจจะจัดทำเป็นคู่มือสำหรับพนักงานขายเลย”

    กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.เฮ้าส์ซิ่ง กล่าวอีกว่า แม้ว่าบริษัทจะเตรียมความพร้อมรับมือกับน้ำท่วม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า แต่เชื่อว่าการสร้างยอดขายจะไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะแผนการรับมือครั้งนี้ ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2-3 % ไม่รวมต้นทุนที่จะเพิ่มขึ้นจากราคาวัสดุก่อสร้างปรับตัวสูงขึ้นนับตั้งแต่ เกิดปัญหาน้ำท่วมเมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา และมีแนวโน้มว่าจะปรับขึ้นราคาอีก จากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นและค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันที่อยู่ ในเกณฑ์สูง ทั้งปูนซิเมนต์ อิฐ หิน ทราย และวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง

    รวมถึงค่าแรงงานที่รอปรับเป็นวันละ 300 บาท และปริญญาตรีเดือนละ 15,000 บาทในต้นปีหน้า และต้นทุนดอกเบี้ยที่อยู่ในภาวะขาขึ้นแต่ยังคาดการณ์ไม่ได้ว่าจะปรับขึ้นมาก น้อยแค่ไหน ซึ่งจะทำให้ต้นทุนโดยรวมปรับขึ้นมากกว่า 5% ขณะที่กำลังซื้อลดลง ดังนั้น จึงเชื่อว่าธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะซบเซาอย่างน้อย 6 เดือนและจะเริ่มฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลังของ 2555

    ชูระบบป้องกันน้ำท่วมจากอังกฤษ

    ด้านขจร แซ่เอ็ง กรรมการผู้จัดการ บริษัทไซมิส แอสเสท จำกัด กล่าวว่า บริษัทอยู่ระหว่างศึการูปแบบป้องกันน้ำท่วม คือ ระบบ Self Closing Flood Barrier จากประเทศอังกฤษ มาใช้ในโครงการใหม่ที่จะลงทุน ระบบดังกล่าวจะเป็นระบบป้องกันน้ำที่ผนังป้องกันน้ำจะมีลักษณะเหมือนกำแพงจะ ถูกฝังอยู่ใต้ดินบริเวณหน้าโครงการ ซึ่งผนังจะมีความสูงตามที่ต้องการขึ้นอยู่กับว่าจะสั่งซื้อขนาดความสูง เท่าใด อาจจะมีความสูงแค่ 80 เซ็นติเมตร หรือ 2-3 เมตรก็ได้ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า

    สำหรับโครงการไชมิส จอยญ่า ตั้งอยู่ในซอยสุขุมวิท 39 ซึ่งเป็นซอยที่ต่ำมีน้ำท่วมขังประมาณครึ่งชั่วโมงเป็นประจำในช่วงฤดูฝน แต่โครงการของบริษัทก็ไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม เพราะก่อนลงทุนโครงการดังกล่าว บริษัทออกแบบทำเป็นสวนล้อมรอบโครงการสูง 80 เซนติเมตร ซึ่งสวนเป็นเสมือนคันดินรอบโครงการทำให้น้ำไม่ท่วมโครงการ

    ส่วนโครงการใหม่ที่เพิ่งเปิดตัว คือ โครงการ ไชมิส 39 ตั้งอยู่บริเวณถนนสุขุมวิท 39 เป็นคอนโดมิเนียมสูง 7 ชั้น มีชั้นใต้ดินอีก 2 ชั้นขนาด 40-70 ตารางเมตร ราคาตารางเมตรละ 89,500 บาท ก็อยู่ระหว่างศึกษารูปแบบว่าจะใช้วิธีป้องกันน้ำท่วมในลักษณะใด อาจจะเป็นคันดินสูงรอบโครงการ หรือนำระบบ Self Closing Flood Barrier มาใช้ในโครงการ

    พฤกษาประเมินระดับน้ำท่วมใหม่

    ทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ ประธานกรรมการ บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ PS กล่าวว่า จะเพิ่มระบบป้องกันน้ำท่วมในโครงการบ้านจัดสรรมากขึ้น ตั้งแต่ถมที่ดิน จากเดิมให้สูงกว่าสถิติรอบ 10 ปีที่ผ่านมา โครงการใหม่จะใช้ค่าระดับน้ำสูงสุดในรอบ 50 ปี สูงขึ้นกว่าเดิมอีก 30-80 เซ็นติเมตร หรือเพิ่มขึ้นเป็น 0.50-1.10 เมตร เพื่อป้องกันน้ำเข้าโครงการ

    ขณะเดียวกัน ก็จะติดตั้งระบบปั๊มสูบน้ำประจำทุกโครงการ ทั้งที่อยู่ระหว่างเปิดขาย 140 โครงการ และโครงการที่จะลงทุนใหม่ในอนาคต ส่วนตัวบ้านจะยกระดับสายไฟ ปลั๊กไฟ และจุดวางคอมเพรสเซอร์แอร์ให้สูงกว่าพื้นตั้งแต่ 80-100 เซ็นติเมตรขึ้นไป

    เพอร์เฟคสร้างระบบป้องกัน 3 ชั้น

    ด้านชายนิด โง้วศิริมณี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด(มหาชน) หรือ PFกล่าวว่า บริษัทมีแผนจะสร้างความมั่นใจให้ลูกค้าว่าโครงการของบริษัทน้ำจะไม่ท่วม ทั้งโครงการใหม่และเฟสใหม่ในโครงการอยู่ระหว่างเปิดขาย ด้วยการพัฒนาระบบป้องกันน้ำท่วม 3 ระดบ ตั้งแต่ระดับโครงการ รั้วบ้าน และตัวบ้าน มีระดับป้องกันน้ำสูง 1 เมตร

    ระดับโครงการ คือ 1 จะทำเนินบริเวณทางเข้าสูง 1.10 เมตร 2 ถมที่ดินในโครงการสูงกว่าถนนสาธารณะ 30 เซ็นติเมตร จากเดิมเท่ากับระดับถนน ยกเนินบริเวณทางเข้าให้สูงกว่าระดับถนนภายนอก 1.1 เมตร 3 ติดตั้งสถานีเครื่องสูบน้ำประจำโครงการ จัดทำประตูเปิดปิดบ่อพักสาธารณะ และ 4 ออกแบบรั้วโครงการให้ป้องกันน้ำจากใต้ดิน วิธีการคือใช้แผ่นคอนกรีตฝังลงในดิน

    ส่วนระดับรั้วบ้านจะออกแบบรั้วบ้านเป็นเสาเหล็กรูปตัว C เพื่อใช้เป็นช่องเสียบแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์บอร์ดและอุดกาวซิลิโคนเพื่อป้องกัน น้ำ สำหรับระดับตัวบ้าน จะถมที่ดินพื้นบ้านชั้นล่างให้สูงจากถนนสาธารณะ 80 เซ็นติเมตร ติดตั้งวาล์วปิด-เปิดท่อน้ำทิ้งก่อนลง บ่อพัก และติดตั้งช่องเสียบแผ่นซีเมนต์บอร์ดที่บ่อพักช่วยป้องกันน้ำไหลย้อน

    “การวางแนวป้องกันดังกล่าวทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะค่าถมดิน เพิ่มไร่ละ 1 แสนบาท ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนก่อสร้างปรับขึ้น 5-10% ขึ้นอยู่กับระบบป้องกัน และจะกระทบราคาบ้านประมาณ 2-3% อย่างไรก็ตาม ในระยะเวลาอันใกล้นี้ผู้ประกอบการจะยังไม่สามารถปรับขึ้นราคาบ้านได้ เนื่องจากภาวะตลาดไม่เอื้ออำนวย และจะส่งผลกระทบต่อกำไรสุทธิของผู้ประกอบการลดลง แต่เชื่อว่าผู้ประกอบการจะแบกรับภาระได้ เพราะในปีหน้ารัฐบาลจะปรับลดภาษีรายได้ลงจาก 30% เหลือ 23%” ชายนิด กล่าว

    แสนสิริทบทวนแผนสู้น้ำท่วม

    ด้านอุทัย อุทัยแสงสุข รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สายงานพัฒนาธุรกิจและพัฒนาโครงการคอนโด มิเนียม บริษัท แสนสิริ จำกัด(มหาชน)หรือ SIRI กล่าวว่า บริษัทอยู่ระหว่างจัดทำแผนธุรกิจในปีหน้า เพราะน้ำท่วมครั้งนี้มีหลายปัจจัยที่จะต้องมาดูและทบทวนกันใหม่ ประกอบด้วย 1 หาทำเลที่น้ำไม่ท่วม เช่น แนวรถไฟฟ้า และขยายการลงทุนไปยังต่างจังหวัดมากขึ้นที่พัทยา หัวหิน เขาใหญ่ 2 ศึกษาระดับความสูงของน้ำ เดิมใช้สถิติปี 2538 ในการลงทุนแต่โครงการใหม่จะนำสถิติของปีนี้มาเป็นตัวชี้วัด พื้นที่ไหนต่ำจะถมที่ดินสูงขึ้น 3 รูปแบบดีไซน์ จะเสริมแนวป้องกันน้ำท่วม เช่น รั้วจากเดิมโปร่งโล่ง จะสร้างทึบ หรือระบบไฟฟ้าภายใน จะออกแบบไว้บนที่สูง ระบบเปิด-ปิดปั๊มน้ำ เป็นต้น

    อย่างไรก็ตาม ในวิกฤตครั้งนี้ ยังมีโอกาสอยู่ด้วย เพราะค่ายจัดสรรที่ดูแลลูกบ้านและในชุมชนใกล้เคียงเป็นอย่างดี จะสร้างความประทับใจให้กับลูกบ้าน ซึ่งจะช่วยบอกต่อกันไปว่าโครงการที่ตัวเองพักอาศัยอยู่ได้รับการเอาใจใส่จาก เจ้าของโครงการเป็นอย่างดี ซึ่งจะช่วยให้การทำการตลาดในอนาคตง่ายขึ้น

    เอพีระดมช่วยลูกบ้าน

    นำโดยบริษัท เอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ APซึ่งเมื่อเกิดปัญหาน้ำท่วมบริษัทไม่รอให้ลูกบ้านร้องขอความช่วยเหลือ ซึ่งเข้าไปช่วยเหลือลูกบ้านและชุมชนใกล้เคียงทันที โดยวิทการ จันทวิมล ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ กล่าวว่า ทิศทางการให้ความช่วยเหลือในกรณีมหาอุทกภัยในครั้งนี้ บริษัทได้แบ่งช่วงเหตุการณ์ให้ความช่วยเหลือเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงน้ำท่วม และช่วงน้ำลด โดยในช่วงที่เผชิญกับสภาวะน้ำท่วมบริษัทได้โฟกัสการให้ความช่วยเหลือที่ ลูกค้าเป็นอันดับแรก จากนั้นจะในส่วนของพนักงาน คู่ค้า และสังคม ตามลำดับ

    วิทการกล่าวว่า ได้มอบหมายให้บริษัท สมาร์ท เซอร์วิส แอนด์ เมเนจเม้นท์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำหน้าที่บริหารจัดการโครงการในเครือ โดยตั้งแต่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมบริษัทฯ ได้มีนโยบายการบริหารจัดการ ดังนี้

    1.การเตรียมการเฝ้าระวังตรวจสอบช่องทางที่น้ำจากภายนอกจะเข้ามายัง พื้นที่โครงการ และเตรียมถุงทรายกันทุกบริเวณเสี่ยงขุดลอกท่อระบายน้ำภายในโครงการ เพื่อเตรียมรับปริมาณน้ำฝนที่อาจมีมากกว่าปกติและก่อสร้างคันดินกันน้ำ เตรียมปั๊มน้ำสำหรับเพื่อระบายน้ำออกนอกโครงการ ตรวจสอบบริเวณที่อาจจะมีน้ำไหลเข้าโครงการเพิ่มเตรียมอุดท่อระบายน้ำ จัดตั้งทีมงานรักษาความปลอดภัย และเฝ้าระวังตลอด 24 ชม.จัดตั้งทีมงานเฉพาะกิจในแต่ละโครงการ เพื่อตรวจสอบความเรียบร้อยและระดับน้ำในบริเวณรอบๆ

    2.จัดตั้งทีมงานวิศวกรเฉาะกิจ เฝ้าระวังเป็นพิเศษสำหรับโครงการในพื้นที่เสี่ยงเป็นทีมเฉพาะกิจตรวจสอบความ พร้อมเครื่องปั๊มน้ำที่ติดตั้งไว้ตามโครงการที่มีความเสี่ยงที่จะได้รับผล กระทบเป็นทีมเคลื่อนย้ายเครื่อง ปั๊มน้ำเพื่อให้ความช่วยเหลือโครงการที่น้ำท่วมเข้าถึงพื้นที่ในโครงการ กรณี ปั๊มน้ำที่ประจำโครงการไม่เพียงพอเป็นทีมช่วยสนับสนุนเรื่องจัดหาน้ำมัน เชื้อเพลิงเครื่องปั๊มน้ำโครงการที่มีน้ำเข้าท่วมพื้นที่และมีน้ำมันเชื้อ เพลิงไม่เพียงพอกับการใช้งานเป็นทีมเคลื่อนย้ายเครื่องปั๊มน้ำหรือ อุปกรณ์เครื่องจักรงานวิศวกรรมภายในโครงการที่มีน้ำท่วมเข้าท่วมพื้นที่ (กรณีควดว่าเครื่องจักรจะได้รับความเสียหาย)เป็นทีมประสานงานหรือเข้าดำเนิน การตัดกระแสไฟฟ้ากรณีระดับน้ำภายนอกกำลังเข้าใกล้

    3. กรณีฉุกเฉิน ภายในโครงการได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมประกาศอพยบลูกบ้านอย่างเร่งด่วย พร้อมจัดเตรียมรถขนาดใหญ่เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกบ้านโครงการที่ได้รับ ผลกระทบจากการปิดถนนในบางเส้นทาง เพื่อให้สามารถเดินทางจากโครงการที่มีปัญหาน้ำท่วมบริเวณถนนหน้าโครงการที่ รถเล็กไม่สามารถสัญจรได้

    สำหรับลูกบ้านในโครงการที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในขั้นวิกฤต จนต้องอพยบออกมาอาศัยอยู่ภายนอก บริษัทได้มีการประสานงานเบื้องต้นกับ 8 โรงแรมที่อยู่นอกพื้นที่เสี่ยง เพื่อเป็นข้อมูลให้กับลูกค้ากรณีที่หาที่พักสำรองไม่ได้ และสนับสนุนค่าห้องพักบางส่วน เป็นระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน ต่อบ้านที่ประสบภัย 1 หลัง พร้อมทั้งจัดเตรียมรปภ. พร้อมเฝ้าระวังทรัพยสินของลูกบ้าน กรณีที่อพยบออกจากโครงการ จัดเตรียมเครื่องอุปโภคบริโภค ยารักษาโรค อาหารแห้ง สุขาเคลื่อนที่ เรือ เสื้อชูชีพ และเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติมไว้ส่วนกลาง เพื่อช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน

    สำหรับการรับมือกับมหาอุทกภัย บริษัทกำหนดระดับการประเมินสถานการณ์ออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับที่ 1 ปลอดภัย ยังไม่ได้รับผลกระทบ แต่เฝ้าระวังเตรียมความพร้อม ระดับที่ 2ระดับน้ำภายนอกกำลังใกล้ถึงพื้นที่ในโครงการ แต่ภายในโครงการยังไม่มีน้ำเอ่อล้นเข้ามา และระดับที่ 3 น้ำท่วมเข้าถึงพื้นที่ในโครงการแล้ว เตรียมการอพยบลูกบ้านในทันที

    โดยจะสื่อสารกับลูกค้า-ลูกบ้าน 2 ช่องทาง ได้แก่ 1.Off-line เป็นการสื่อสารสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นผ่านทางผู้จัดการนิติ / ผู้จัดการหมู่บ้าน บอร์ดประชาสัมพันธ์ในภายในโครงการ AP Call Service 02-260-7777SMS 2.On-Line Update สถานการณ์ผ่านhttp://www.ap -hai.com/apfloodcare/www.facebook.com/apthai

    เปิดทำเลทองไม่จมน้ำ
    นักพัฒนาย้ายฐานลงทุนโครงการ

    เปิดพื้นที่ทำเลทองรอดน้ำ ท่วม - จมน้ำ ธุรกิจอสังหาฯ กระจายความเสี่ยง ย้ายทำเลการลงทุน นักวิชาการประเมินน้ำท่วมครั้งใหญ่ ส่งผลกระทบในเชิงจิตวิทยาเพียงระยะสั้น เชื่อ 6 เดือนสถานการณ์พลิกฟื้นกลับคืนสู่ปรกติ พฤติกรรมคนซื้อบ้านจะกลับมา ส่วนโครงการบ้านเตรียมแข่งชูจุดขายน้ำไม่ท่วม จัดเต็ม “ลด -แลก-แจก-แถม” ไม่อั้น

    นับตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นมา ที่มีเหตุการณ์น้ำท่วมในกรุงเทพฯครั้งใหญ่ จากพื้นที่ 50 เขตนั้นมี 27 เขตที่สามารถรอดจากวิกฤตการจมน้ำมาได้ ซึ่งในจุดนี้ก็มีเฉพาะจุดที่มีน้ำท่วม โดยแบ่งเป็นพื้นที่กรุงเทพฯฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่ฝั่งตะวันตก และพื้นที่เขตเศรษฐกิจชั้นใน

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="450"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="450"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> หลายๆ เขตในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นพื้นที่รอดจากน้ำท่วม กลายเป็นทำเลทองในการซื้อ-ขายที่ดินในอนาคต ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีระบบการระบายน้ำที่ดี และตั้งอยู่ใกล้คลองสายหลักและประตูประบายน้ำ ซึ่งเป็นป้อมปราการป้องกันไว้ ซึ่งมีระดับน้ำทรงตัวมาโดยตลอดไม่ล้นตลิ่ง

    ทั้งนี้ ในบางจุดแม้จะเป็นทางน้ำและเสี่ยงน้ำท่วม บางแห่งนั้นรอดจากน้ำท่วมมาได้ เพราะมาตราการรักษาพื้นที่อันเนื่องมาจากการเป็นเส้นเลือดเศรษฐกิจกรุงเทพฯ เหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้รอดจากน้ำท่วมครั้งนี้ อาทิ คลองบางซื่อเส้นทางระบายน้ำให้กับพื้นที่กรุงเทพฯในฝั่งตะวันตก ถือเป็นจุดสำคัญที่ทำให้ถนนสุทธิสาร เขตดินแดง รอดจากการจมน้ำมาได้ และในพื้นที่เขตบางกะปิ บนถนนรามคำแหงบางช่วงรอดจากน้ำท่วม เพราะติดกับคลองแสนแสบ และมีนิคมอุตสาหกรรมบางชันเป็นพื้นที่ที่ต้องรักษาเอาไว้ ส่วนในเขตธนบุรี บนถนนเส้นเพชรเกษมบางแห่งรอดจากน้ำท่วม นั่นเป็นเพราะมีคลองสายหลัก

    ขณะที่พื้นที่ฝั่งตะวันออกในเขตบางนา และเขตลาดกระบัง ซึ่งถือเป็นทำเลที่ดินตั้งอยู่ใกล้สถานที่สำคัญ คือ สนามบินสุวรรณภูมิ นิคมและอุตสาหกรรมลาดกระบัง

    ทำเลทองรอดจมน้ำ

    จากการติดตามสถานการณ์น้ำท่วม และหลังจากระดับน้ำได้เริ่มคืนสู่ปรกติแล้ว พบว่ามี พื้นที่ที่รอดจากการจมน้ำ โดยแบ่งเป็นพื้นที่กรุงเทพฯฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา และพื้นที่ชั้นในเขตเศรษฐกิจ ที่กำลังจะ เป็นทำเลทองในอนาคต ได้แก่ เขต 1.บางซื่อ 2.ดุสิต 3.วังทองหลาง 4.ห้วยขวาง 5.ดินแดง 6.พญาไท 7.ราชเทวี 8.ปทุมวัน 9.ป้อมปราบ 10.บางรัก 11.สาทร วัฒนา 12.คลองเตย 13.บางคอแหลม 14.ยานนาวา 15.คลองสาน 16.พระโขนง 17.สวนหลวง 18.ประเวศ และ19.บางนา

    ส่วนพื้นที่ด้านฝั่งตะวันตกของเจ้า พระยา ที่รอดจากน้ำท่วม ได้แก่ เขต 20.บางกอกน้อย 21.ภาษีเจริญ 22.ธนบุรี 23.จอมทอง 24.บางบอน 25.บางขุนเทียน 26. ราษฎร์บูรณะ และ 27. ทุ่งครุ

    ที่ดินเสี่ยงและมีน้ำท่วม

    ส่วนในพื้นที่อีก 20 กว่าเขต ที่บางจุดมีน้ำท่วมเต็มเกือบทั้งหมด 100 % และน้ำท่วมเฉพาะพื้นที่กทม.ได้ประกาศให้เป็นพื้นที่เสี่ยง ภัยและมีการอพยพ เพราะได้รับผลกระทบจากการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำ ส่งผลทำให้ระดับน้ำในพื้นที่นั้นๆเพิ่มสูงขึ้นจนไม่สามารถควบคุมได้ อาทิ เขตดอนเมือง หลักสี่ บางเขน มีนบุรี คันนายาว จตุจักร ลาดพร้าว สายไหม รามอินทรา คลองสามวา หนองจอก ลาดกระบัง ทวีวัฒนา หลักสี่ บางพลัด บางแค ภาษีเจริญ และตลิ่งชัน

    ธุรกิจอสังหาฯย้ายการลงทุน

    จากเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้ประกอบการในวงการอสังหาริมทรัพย์ เริ่มหันมาหาพื้นที่การลงทุนในทำเลใหม่ เช่นเดียวกับ บริษัท เอ็น.ซี. เฮ้าส์ซิ่ง จำกัด (มหาชน) ล่าลุดนั้น สมเชาว์ ตันฑเทอดธรรม กรรมการผู้จัดการ บอกว่า จากเหตุการณ์น้ำท่วมผ่านมา ทำให้บริษัทได้มีการปรับกลยุทธ์การลงทุน ซึ่งจากเดิมธุรกิจการพัฒนาอสังหาฯเน้นจับพื้นที่ในโซนรังสิต-ลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี นั้น สำหรับนโยบายล่าสุดปรับมามาเป็นการลงทุนในพื้นที่ดังกล่าวให้เหลือในสัดส่วน เพียง 50% และหันมาให้ความสำคัญกับการลงทุนในพื้นที่รอบๆ กรุงเทพฯ ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่ให้มากขึ้น

    กระทบคนซื้อบ้านระยะสั้น

    ในอีกมุมมองเห็นว่าน้ำท่วมไม่มีผลต่อ การเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินและทำเล โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (AREA) บอกว่า เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อการย้ายทำเลในการปลูกสร้างบ้านนัก ทั้งนี้อาจมีผลกระทบในเชิงจิตวิทยาระยะสั้น แต่เชื่อว่าในระยะไม่เกิน 6 เดือนสถานการณ์จะกลับคืนมาสู่ปรกติ และมีการปรับตัวยอมรับความจริงได้ว่าน้ำท่วมเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ได้เกิดขึ้น บ่อย

    ส่วนการเคลื่อนไหวของผู้ประกอบการใน ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์หลังเหตุการณ์น้ำท่วม คาดว่าจะมีการทำการตลาดกันอย่างรุนแรง ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นการซื้อของลูกค้าที่ออกมาในรูปแบบของการลด แลก แจก แถม หรือประชาสัมพันธ์โครงการด้วยการชูจุดขายว่า พื้นที่ตั้งโครงการมีระบบการป้องกันน้ำท่วมอย่างดี

    ขณะเดียวกันทางด้านราคาซื้อ - ขายที่ดินนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงราคา โดยในพื้นที่กลางใจเมืองมีราคาแพงกว่า ส่วนรอบนอกก็ยังคงมีราคาต่ำกว่าเช่นที่ผ่านมา อาทิ ราคาที่ดินสยามสแควร์จากปีนี้มีการซื้อขายกันที่ตารางวาละ 1 ล้าน 4 แสนบาทในปี 2555 จะเพิ่มขึ้นไปถึงราคาประมาณ 1 ล้าน 7 แสนบาท

    ธุรกิจคอนโดรับอานิสงส์น้ำลด
    ซีบีดี-หัวหิน พัทยา ทำเลฮอต

    วิกฤตน้ำท่วมใหญ่ทั้ง กรุงเทพฯและปริมณฑลใกล้เคียง แม้ว่าได้สร้างความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินรวมหลายมูลค่านับแสนล้านบาท แต่ในทางตรงกันข้ามกลับสร้างโอกาสทองให้กับธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “คอนโดมิเนียม” ที่อยู่ในทำเลน้ำไม่ท่วมและย่านศูนย์กลางธุรกิจหรือซีบีดีของกรุงเทพ ฯ และย่านบางนา-ตราด และแจ้งวัฒนะ ทำเลดาวรุ่งมาแรง ขณะที่ต่างจังหวัดที่อยู่อาศัย-คอนโดมิเนียมในหัวหิน พัทยา และจังหวัดใกล้เคียงกรุงเทพฯ กลายเป็นทำเลฮอตที่มีแนวโน้มได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้น

    งานนี้จากการวิเคราะห์ของบริษัทที่ ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำ 2 แห่ง “ค่ายซีบี ริชาร์ด เอลลิส และไนท์แฟรงค์ ชาร์เตอร์ (ประเทศไทย)” รวมทั้งมุมมองของ ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์อย่างค่ายพรีบิลท์ จำกัด (มหาชน) ต่างให้ภาพทิศทางของธุรกิจคอนโดมิเนียมหลังน้ำลดไปในทิศทางเดียวกัน

    ทั้งนี้ ค่ายซีบี ริชาร์ด เอลลิส บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำระดับโลก ระบุว่า วิกฤตน้ำท่วมครั้งนี้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบความต้องการที่พัก อาศัยในเรื่องทำเลที่ตั้งและลักษณะที่พักอาศัย โดยทำเลที่ตั้งย่านใจกลางธุรกิจหรือซีบีดี ได้แก่ ลุมพินี เพลินจิต สีลม สาทร และสุขุมวิทในตอนต้น น่าจะเป็นย่านที่ลูกค้าให้ความสนใจและนิยมสูงขึ้น

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="420"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="420"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> เนื่อง จากทำเลดังกล่าวเป็นเขตศูนย์ กลางธุรกิจที่จะได้รับการป้องกันพิเศษ ทำให้น้ำไม่ท่วม ในขณะที่ทำเลอื่นจะมีการประเมินอีกครั้ง หลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมได้ผ่านพ้นไปแล้วว่าทำเลใดปลอดภัยจากน้ำท่วมมากกว่า

    จึงเป็นไปได้ว่า ความต้องการที่พักอาศัยแนวสูงหรือคอนโดมิเนียมที่เป็นอาคารสูงจะมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้น เนื่องจากประชาชนอาจจะต้องการซื้อ เพื่อใช้เป็นบ้านหลังที่สองในย่านใจกลางเมืองเพื่อเป็นที่พักสำรอง

    “ผู้ที่จะซื้อที่พักอาศัยในอนาคตจะ ให้ความสำคัญกับการออกแบบโครงการที่คำนึงถึงการป้องกันน้ำท่วม และจะพิจารณามาตรการในการป้องกันน้ำท่วมของแต่ละอาคารเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการในตลาดบ้านพักอาศัยโดยเฉพาะโครงการใหม่จำเป็นต้องสร้างความมั่น ใจให้กับผู้ซื้อด้วยการออกแบบของโครงการที่คำนึงถึงความเสี่ยงที่จะเกิดจาก น้ำท่วมในอนาคต”

    ไม่เพียงกรุงเทพฯ ซีบีดีที่คาดว่าจะได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้นนั้น ในต่างจังหวัดใกล้เคียงนอกเขตกรุงเทพฯที่อยู่ในระยะขับรถประมาณ 2-3 ชั่วโมง ชลบุรี หัวหิน ชะอำ และจังหวัดอื่นๆ ในละแวกใกล้เคียง โดยเฉพาะบ้านพักตากอากาศจะได้รับประโยชน์จากวิกฤตในครั้งนี้ เนื่องจากวิกฤตน้ำท่วมกรุงเทพฯ ครั้งนี้ ยังทำให้คนกรุงส่วนใหญ่อพยพไปเมืองตากอากาศริมทะเล ทำให้ความนิยมซื้อบ้านหลังที่สองในเมืองแถบชายทะเล เช่น พัทยา หัวหิน และชะอำจะสูงขึ้น ทำให้คาดการณ์ว่าแนวโน้มที่จะซื้อบ้านพักตากอากาศของลูกค้าที่มีกำลังซื้อ จากกรุงเทพมหานครมากขึ้น

    ทำเลไม่ติดคลอง
    ใกล้รถไฟฟ้ามาแรง

    เช่นเดียวกับบริษัทที่ปรึกษาด้าน อสังหาริมทรัพย์อีกรายหนึ่ง ไนท์แฟรงค์ ชาร์เตอร์ (ประเทศไทย) ระบุด้วยว่า ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ ครั้งนี้ ทำให้เจ้าของโครงการทั้งหลาย เลือกสร้างคอนโดมิเนียมในบริเวณที่น้ำเข้าไม่ถึง รวมทั้งทำเลที่มีศักยภาพจะเป็นบริเวณใจกลางกรุงเทพฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณลุมพินี ที่ไม่ได้ตั้งอยู่ใกล้คลอง

    “ทำเลเยี่ยมสำหรับทำคอนโดมิเนียมจะ เปลี่ยนไป เนื่องจากปัญหาน้ำท่วมกรุง ทำให้เจ้าของโครงการทั้งหลายเลือกทำเลสร้างคอนโดมิเนียมในบริเวณที่น้ำเข้า ไม่ถึง โดยทำเลที่มีศักยภาพจะเป็นบริเวณใจกลางกรุงเทพฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณลุมพินีที่ไม่ได้ตั้งอยู่ใกล้คลอง ส่วนสุขุมวิทยังคงเป็นเขตเสี่ยง เนื่องจากตั้งอยู่ถัดจากคลองแสนแสบ”

    ที่ผ่านมา สำหรับทำเลศรีนครินทร์และบางนาเป็นพื้นที่ใหม่การพัฒนาคอนโดมิเนียม ขณะที่ราคา คอนโดฯ โดยรวมเพิ่มขึ้น 6% แม้ว่าจะมีการแข่งขันกันสูงในตลาดคอนโดมิเนียม แต่ยังคงมีซัปพลายที่เปิดตัวในครึ่งปีแรก ประมาณ 32,549 ยูนิต จากจำนวนซัปพลายทั้งหมด 251,327 ยูนิต

    ทั้งนี้ จำนวนยูนิตเปิดตัวใหม่ แบ่งออกเป็น 3 พื้นที่ ในเขตซีบีดี 19% รอบนอกซีบีดี 23% และรอบนอกกรุงเทพฯ 58% ทำเล “ศรีนครินทร์-บางนา” เป็นพื้นที่ใหม่ในการพัฒนาโครงการคอนโดฯ มียูนิตเปิดตัวใหม่ครึ่งแรกของปีนี้ ประมาณ 7,933 ยูนิต คิดเป็น 42% ของจำนวนรวมซัปพลายในเขตรอบนอกกรุงเทพฯ

    “ทำเลที่ยังคงได้รับความนิยมยังคงหนี ไม่พ้นเรื่องของการคมนาคมขนส่ง สาธารณูปโภคพื้นฐานที่ช่วยอำนวยความสะดวกต่อการใช้ชีวิต โดยเฉพาะที่ติดกับสถานีรถไฟฟ้าซึ่งนอกจากได้รับความสนใจเป็นพิเศษแล้ว ราคาก็ยังสูงตามไปด้วย” โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหารศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (AREA) ให้มุมมองสอดคล้องกับความเห็นของ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พรีบิลท์ จำกัด (มหาชน) ชัยรัตน์ ธรรมพีร ที่ระบุว่า

    สำหรับตลาดคอนโดมิเนียม และคอนโดมิเนียมแนวรถไฟฟ้าคึกคัก ประกอบกับคาดการณ์ว่าแนวโน้มความต้องการที่ดินในเขตเมืองจะมีมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อราคาที่ดินจะปรับตัวเพิ่มขึ้น และส่งผลกระทบไปยังราคาคอนโดมิเนียมในอนาคตด้วย

    “หลังจากน้ำลด ทุกคนก็ต้องการจะซ่อมบ้าน แน่นอนว่าเมื่อมีความต้องการมาก ของก็ขาดแคลน แนวโน้มราคาวัสดุก่อสร้างจึงน่าจะปรับตัวสูงขึ้น จากนโยบายการปรับค่าแรงขั้นต่ำ ซึ่งจะส่งผลต่อต้นทุนการสร้างบ้านและคอนโดมิเนียม เพิ่มขึ้นราว 10% ราคาบ้านและคอนโดมิเนียมจึงน่าจะปรับสูงขึ้นอย่างแน่นอน” ซีอีโอของค่ายพรีบิลท์ จำกัด (มหาชน) บอก

    บางนา - แจ้งวัฒนะ ทำเลดาวรุ่ง

    สำหรับทำเล "ถนนบางนา-ตราด" เป็นบริเวณที่เหมาะแก่การพัฒนา คอนโดฯ เนื่องจากมีศูนย์การค้าหลายแห่งที่จะเปิดตัวในระหว่างนี้จนถึงปี 2556 การขยายตัวของรถไฟฟ้าจากอ่อนนุชถึงสถานีแบริ่ง ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่ง โดยทำเลที่น่าสนใจคือ "แจ้งวัฒนะ" อยู่ที่ 7,395 ยูนิต คิดเป็น 39.1% ของจำนวนซัปพลายใหม่ในบริเวณนอกเมือง ซึ่งถือว่ามีการเปิดตัวค่อนข้างมาก

    ส่วนบริเวณรอบนอกซีบีดี ทำเล "พระราม 9-รัชดาภิเษก" มีจำนวนซัปพลายใหม่ 5,276 ยูนิต คิดเป็น 72% ของซัปพลายใหม่ในบริเวณรอบนอก ซีบีดี เพื่อรองรับดีมานด์ใหม่ที่เกิดขึ้นมา

    ทั้งนี้ ราคาที่ดินในบริเวณที่น้ำท่วมไม่ถึง ถูกคาดการณ์ว่าจะมีราคาสูงขึ้น เนื่องจากผู้คนส่วนใหญ่เชื่อว่าปัญหาอุทกภัยมีโอกาสที่จะกลับมาอีกในอนาคต รูปแบบลักษณะของการสร้างตึกก็จะต้องออกแบบให้ปลอดภัยจากภาวะน้ำท่วม การดีไซน์โครงสร้างตึกใหม่ๆ จะไม่มีชั้นจอดรถชั้นใต้ดิน เนื่องจากการก่อสร้างมีราคาสูง และไม่ปลอดภัยจากภาวะน้ำท่วม

    สำหรับความต้องการโดยรวมของตลาด คอนโดมิเนียมในกรุงเทพฯ บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ ไนท์แฟรงค์ ระบุว่า ลดลงจาก 48.3% ในครึ่งปีหลังของปีที่แล้ว มาอยู่ที่ 45.8% ในครึ่งแรกของปีนี้ จาก 24,895 ยูนิต มาอยู่ที่ 14,907 ยูนิต เนื่องจากตลาดระดับกลางและล่างถดถอยลง ขณะที่ราคาคอนโดมิเนียมภาพรวม พบว่าราคาห้องชุดเกรดบีที่อยู่รอบนอกซีบีดีเพิ่มขึ้นสูงสุด โดยเฉพาะรัชดาภิเษก เพิ่มประมาณ 10% จากปีที่แล้ว เขตรอบนอกกรุงเทพฯ ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก บางโครงการอาจเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย แค่ 1% ในขณะที่คอนโดฯที่อยู่ในเขตซีบีดี ราคาเพิ่มขึ้น 5% อย่างไรก็ตาม ตลาดระดับพรีเมียมมีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจากกรุงเทพฯยังคงเป็น 1 ใน 3 เมืองน่าอยู่ ในสายตาของนักลงทุน

    คอนโดไตรมาส 3 ลดฮวบ

    ด้านข้อมูล AREA ให้ภาพของตลาดคอนโดมีเนียมครึ่งแรกของปี 2554ว่า มีอุปทานใหม่ 26,000 หน่วย (เฉลี่ย 4,300 หน่วยต่อเดือน) เทียบกับครึ่งปีหลังของปี 53 ที่มีอุปทานใหม่ถึง 42,000 หน่วย ลดลงถึง 40% แต่หากเทียบในช่วงเวลาเดียวกันคือ ครึ่งปีแรกของปี 2553 ที่มีจำนวน 20,000 หน่วย ก็ยังนับว่าเพิ่ม 30%

    แต่ในไตรมาส 3 ของปีนี้ AREA รายงานว่าในไตรมาส 3 มีคอนโดฯเปิดใหม่รวมกันเพียง 6,300 หน่วยเท่านั้นนับว่าลดลงอย่างน่าใจหายเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ตลาดคอนโดฯ อาจได้ผลกระทบน้อยกว่าบ้านแนวราบ เนื่องจากส่วนใหญ่อยู่ในเขตชั้นในได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมน้อยกว่า คงต้องเป็นที่จับตาว่าหลังน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้จะเป็นตัวช่วยตลาดคอนโดฯ อีกรอบได้หรือไม่

    รวมทั้งรูปแบบการพัฒนาที่อยู่อาศัยใน ยุคหลังน้ำท่วม คงจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ บ้านชั้นเดียวอาจต้องเป็นบ้านใต้ถุนสูง อาจต้องขายบ้านแถมเรือ ตลาดคอนโดฯ ที่คาดว่าจะได้เปรียบก็ไม่แน่ เพราะอาคารชุดส่วนใหญ่ระบบไฟฟ้า กล่องดวงใจของอาคารตั้งอยู่ชั้นล่างหรือชั้นใต้ดิน (ต่อไปอาจยกไปชั้นสอง) แต่ที่คาดว่าแน่ๆ กำลังซื้อคงซึมยาว หวังว่าจะมีมาตรการป้องกันน้ำท่วมที่เป็นระบบเสียที รวมทั้งมาตรการช่วยเหลืออสังหาริมทรัพย์ที่อาจกลับมาใหม่</td></tr></tbody></table>


    -http://www.manager.co.th/mgrweekly/ViewNews.aspx?NewsID=9540000156174-


    .
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    รัฐบาลระดมฟื้น7นิคมอุตสาหกรรม หวั่นนักลงทุนทนไม่ไหวย้ายฐานหนี

    วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม 2554 เวลา 00:00 น.

    [​IMG]



    หลังจาก “มหาอุทกภัย” ครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทยได้สร้างความเสียหายอย่างสาหัส


    คิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 1.3 ล้านล้านบาท ทำให้บรรดานักลงทุนเริ่มคิดหนักและตัดสินใจย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อน บ้านแทน ทั้งเวียดนาม กัมพูชา หรือฟิลิปปินส์ เพื่อกระจายความเสี่ยงหรือบางธุรกิจก็ตัดสินใจย้ายฐานการผลิตได้เร็วขึ้น ทันที หลังจากที่ก่อนหน้านี้เพียงแค่อยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะย้ายหรือไม่ย้ายเท่า นั้น แต่เมื่อธุรกิจต้องจมน้ำจนหมดเนื้อหมดตัว ก็ทำให้ตัดสินใจได้ทันที

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า จากแดนซากุระ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งถือได้ว่าได้รับความเสียหายมากที่สุด เบื้องต้นมีการประเมินกันว่า บริษัทที่เป็นของนักลงทุนญี่ปุ่นที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรม 7 แห่ง ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดปทุมธานี ที่ถูกน้ำท่วม มีทั้งหมด 441 ราย มีเงินลงทุนมากถึง 199,364 ล้านบาท

    ด้วยเหตุนี้บรรดา “ซีอีโอ” ของบริษัทข้ามชาติจำนวนมาก จึงต้องเข้ามาสอบถามความชัดเจนถึงแนวทางการฟื้นฟูอุตสาห กรรมที่จมอยู่ใต้บาดาล รวมไปถึงแนวทางป้องกันปัญหาน้ำท่วมใหญ่ของประเทศในอนาคต กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่เว้นแม้แต่ตัวนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นข้อมูลตัดสินใจว่าจะยังใช้ไทยเป็นฐานในการผลิตอีกต่อไปหรือไม่ ที่สำคัญทุกซีอีโอยังพูดไปในทิศทางเดียวกันว่าหากแนวทางที่ออกมาไม่มี มาตรฐานที่ดีพอที่สร้างความมั่นใจให้กับธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนเป็นพันเป็น หมื่นล้านบาท ก็อาจทำให้นักลงทุนเหล่านี้ตัดสินใจเลือกใช้ประเทศเพื่อนบ้านเป็นฐานการผลิต แทน

    ดังนั้นมาตรการเยียวยาฟื้นฟูเพื่อสร้างแรงดึงดูดก่อนนักลงทุนจะย้ายฐาน หนี ก็พรั่งพรูกันออกมาแบบนับไม่ถ้วน ทั้งการยกเว้นภาษีนำเข้าเครื่องจักรเพื่อนำมาทดแทนเครื่องจักรเก่าที่เสีย หาย การยกเว้นภาษีนำเข้าชิ้นส่วนประกอบ หรือแม้แต่การยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าสำเร็จรูป เพื่อนำมาทดแทนสินค้าที่ผลิตเดิมอยู่แล้วแต่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม โดยเฉพาะรถยนต์ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีของคณะกรรมการส่งเสริม การลงทุน (บีโอไอ) รวมไปถึงการช่วยเหลือเรื่องของสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้แก่โรงงานที่ถูกน้ำ ท่วม และอีกหลายมาตรการ

    ส่วนแผนการสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมในอนาคตในนิคมอุตสาหกรรมนั้น รัฐบาลยังให้ธนาคารออมสินเป็นผู้ปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำมากเพียง 0.01% เป็นเวลา 7 ปี โดยเตรียมวงเงินไว้ให้มากถึง 15,000 ล้านบาท เพื่อให้นิคมฯกู้ไปสร้างเขื่อนกั้นน้ำแบบถาวร โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญจากญี่ปุ่นทั้งจากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย หรือเอดีบี ทั้งจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น หรือไจก้า มาร่วมกันวางแผนให้คำปรึกษาในการสร้างเขื่อนตามนิคมฯเพื่อสร้างความเชื่อ มั่นให้กับนักลงทุน

    ส่วนหน่วยงานที่กำกับดูแลนิคมฯอย่าง การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ยังได้ร่วมมือกับ 16 นิคมฯ ทั่วประเทศ เพื่อจัดหาที่ว่างของโรงงาน คลังเก็บสินค้า สถานที่เก็บเครื่องมือและอุปกรณ์เครื่องจักรต่าง ๆ ให้กับผู้ประกอบการที่ประสบกับสภาวะน้ำท่วม ได้มีแหล่งผลิตและจัดเก็บอุปกรณ์เครื่องจักร และสินค้าชั่วคราว ขณะที่รัฐบาลได้จัดตั้งคณะกรรมการสารพัดชุดขึ้นมาเพื่อพิจารณาเยียวยาฟื้นฟู ในทุกด้านตั้งแต่ด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและความเป็นอยู่ของประชาชน ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านฟื้นฟูจิตใจ รวมไปถึงการเชิญกูรูชื่อดังอย่าง ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา มาเป็นที่ปรึกษาให้กับคณะกรรมการเพื่อวางระบบน้ำของประเทศ หรือแม้แต่ ดร.โกร่ง-วีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกฯ มาเป็นประธานคณะกรรมการเพื่อฟื้นฟูและสร้างอนาคตของประเทศ

    เรียกได้ว่าจนถึงทุกวันนี้รัฐบาลได้ผุดสารพัดมาตรการออกมาเยียวยาฟื้นฟู ด้วยความหวังที่ว่าจะหยุดยั้งความไม่เชื่อมั่นใน ’ฝีมือ” ของรัฐบาลจนทำให้นักลงทุนต้องล่าถอยถอนทัพออกไปจนหมดสิ้น หลังจากรัฐบาลไม่สามารถบริหารจัดการจนทำให้กรุงเทพฯและอีกหลายจังหวัดต้องจม น้ำนานหลายเดือน
    อย่างไรก็ตามในแง่ของนักลงทุนทั้ง 852 ราย ใน 7 นิคมฯ ซึ่งมีมูลค่าเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 530,000 ล้านบาท ต่างพยายามพลิกฟื้นกู้โรงงานของตัวเองให้กลับมาเดินหน้าผลิตสินค้าเพื่อลด ความเสียหายที่เกิดขึ้นให้ได้มากที่สุด โดยคาดว่าภายในปลายเดือนธ.ค.นี้ ไปจนถึงกลางเดือน ม.ค. 55 โรงงานต่าง ๆ จะกลับมาเดินเครื่องผลิตได้เกือบหมด ส่วนการสร้างระบบเขื่อนกั้นน้ำถาวรในทุกนิคมฯ ที่เชื่อว่าสามารถสร้างเสร็จได้ภายในเดือน ก.ค.– ส.ค. 55 ก่อนที่ฤดูฝนจะย่างกรายมาถึง

    ทั้งนี้เมื่อแยกเป็นรายนิคมฯ จะพบว่า นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร นั้นได้สูบน้ำออกจนแห้งเมื่อวันที่ 4 ธ.ค.ที่ผ่านมาจากนั้นได้ซ่อมแซมระบบไฟฟ้า ระบบประปา ไปจนถึงการทำความสะอาดพื้นที่และฟื้นฟูโรงงาน โดยผู้ประกอบการจะเริ่มเดินเครื่องผลิตโรงงานแรกได้ในวันที่ 13 ธ.ค.นี้ เช่นเดียวกับ เขตประกอบการอุตสาหกรรมโรจนะ ที่ได้รับความช่วยเหลือจากไจก้าที่มอบรถสูบน้ำให้จำนวน 10 คัน จึงทำให้น้ำแห้งหมดตั้งแต่วันที่ 29 พ.ย. มีการปรับปรุงระบบไฟฟ้า ขณะที่การซ่อมแซมระบบน้ำประปาผิวดินและระบบบำบัดจะแล้วเสร็จภายในเดือน ม.ค. 55 แต่จนถึงขณะนี้มีหลายบริษัทที่ได้เปิดเดินเครื่องการผลิตไปบ้างแล้ว

    ด้าน นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) ซึ่งเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญของโลก ได้คาดการณ์ว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติภายในเดือน ก.พ.-มี.ค. 55 หลังจากที่ได้ระดมสูบน้ำออกจนแห้งสนิทไปตั้งแต่วันที่ 26 พ.ย. โดยได้รับสรรพกำลังจากกองทัพบกที่ส่งทหารจำนวน 541 นาย มาระดมช่วยกู้วิกฤติ เช่นเดียวกับนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน ที่มีหลายโรงงานได้เริ่มเดินเครื่องการผลิตไปบ้างแล้วโดยเฉพาะ ’บริษัท เมเดน อิเล็กทริก” ที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับอุปกรณ์ตู้คอนโทลระบบไฟฟ้าโรงงาน ที่ได้เปิดแบบเต็มระบบแล้ว หลังจากทำความสะอาดพื้นที่ในโรงงาน ปรับ ปรุงซ่อมแซมระบบไฟฟ้า น้ำประปา การสื่อสาร ไปหมดแล้ว

    ส่วน เขตประกอบการแฟคทอรี่แลนด์ ที่เป็นแหล่งรวมตัวของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่มีโรงงานขนาดเล็กทำให้ฟื้นฟูได้ง่าย จนกลายเป็นนิคมฯแห่งแรกที่ทุกโรงงานสามารถเดินเครื่องการผลิตได้ทั้งหมดแล้ว ทั้ง 93 โรงงาน ด้าน สวนอุตสาหกรรมนวนคร นั้นคาดกันว่าจะเริ่มจัดงาน “บิ๊ก คลีนนิ่งเดย์” ได้ในวันที่ 14 ธ.ค.นี้ หลังจากที่หลายหน่วยงานได้เข้ามาระดมให้ความช่วยเหลือโดยใช้เครื่องสูบน้ำ 69 ตัว และรถสูบน้ำจากไจก้าอีก 2 คัน จนน้ำแห้งหมดวันที่ 9 ธ.ค. จากนั้นจะทำการซ่อมแซมระบบสาธารณูปโภคไปจนถึงวันที่ 15 ม.ค. 55

    ขณะที่ สวนอุตสาหกรรมบางกะดี ได้รับการสนับสนุนการช่วยเหลือจากทหาร 500 นาย และไจก้ามอบรถสูบน้ำให้ 7 คัน จนสามารถสูบน้ำแห้งหมดแล้วตั้งแต่วันที่ 4 ธ.ค. 54 จากนั้นได้ซ่อมแซมระบบไฟฟ้า พร้อมเปิดให้ผู้ประกอบการเข้าไปทำความสะอาดและฟื้นฟูโรงงาน รวมถึงการจัดกิจกรรม บิ๊กคลีนนิ่งเดย์ คาดว่าภายในวันที่ 13 ธ.ค. จะสามารถซ่อมแซมสาธารณูปโภคได้ทั้งหมด

    แม้ว่ารัฐบาลได้เร่งระดมแผนฟื้นฟูทั้ง 7 นิคมฯ ที่จมน้ำเพื่อเรียกความเชื่อมั่นจากนักลงทุนกลับมาโดยเร็วที่สุด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่านักลงทุนจะเชื่อในสิ่งที่ดำเนินการ เพราะตราบใดที่แผนบริหารจัดการน้ำทั้งระบบของรัฐบาลทั้งระยะสั้นและระยะยาว ยังไม่ปรากฏออกมาให้นักลงทุนได้เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน เชื่อได้ว่า…อีกไม่นานนักลงทุนคงแห่ปิดกิจการ ทิ้งคนงาน ก่อนไปแสวงหาแหล่งผลิตในประเทศอื่นที่มีปัจจัยเสี่ยงที่น้อยกว่าแน่!!!.

    มนัส แวววันจิตร




    -http://www.dailynews.co.th/businesss/2611-

    .

    http://www.dailynews.co.th/businesss/2611

    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...