เรื่องพิเศษ - รวมรวมบัญชี ช่วยเหลือน้ำท่วมปี 2554 และเรื่องต้องรู้เกี่ยวกับน้ำท่วม

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 9 ตุลาคม 2011.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    "โรคเครียด" จาก "น้ำท่วม" จิตแพทย์แนะ "ทำใจ"


    ศิราณี วงษ์โซ : เรื่อง

    กว่า 2 สัปดาห์ที่อุทกภัยครั้งใหญ่พัดพาน้ำไหลบ่าเข้าท่วมเกือบทุกหัวระแหงของ ประเทศไทย ตั้งแต่ภาคเหนือลงมาถึงที่ราบลุ่มภาคกลาง มวลน้ำมุ่งเข้าโจมตีเมืองหลายแห่งจนฝาย เขื่อน คันกั้นน้ำพังทลาย น้ำก้อนใหญ่ทะลักเข้าท่วมตัวเมือง แผ่ขยายทั่วอาณาบริเวณ หลายพื้นที่กลายเป็นทะเลในชั่วข้ามคืน

    ไม่ว่าจะเป็นนิคมอุตสาหกรรม ขนาดใหญ่ไปจนถึงร้านค้าขนาดเล็กและบ้านเรือนประชาชนล้วนได้รับความเดือดร้อน กันถ้วนหน้า ไร้ที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน เครื่องอุปโภคบริโภค หยุดงาน ขาดรายได้

    ผู้ประกอบการรายเล็กรายน้อยไปจนถึงรายใหญ่แทบสิ้นเนื้อประดาตัวไปตาม ๆ กัน

    เนื่องจากขนย้ายสิ่งของหนีน้ำไม่ทัน หรือย้ายทันแต่ไม่รู้จะขนไปเก็บไว้ที่ไหน ก็ได้แต่นั่งมองข้าวของค่อย ๆ จมน้ำ

    บางคนต้องสูญเสียคนที่รัก สัตว์ที่เลี้ยง เพราะกระแสน้ำที่เชี่ยวกรากพรากพวกเขาจากไปอย่างไม่มีวันกลับมา

    ต่างกับกระแสน้ำที่ยังท่วมขังและไม่รู้ว่าน้ำจะกลับมาอีกเมื่อไหร่

    หลายชีวิตต้องอาศัยพื้นถนนหลับนอน ศูนย์อพยพหลายแห่งมีผู้คนเข้าไปพักพิงจนแน่น

    นี่คือสภาพน้ำท่วมในเดือนตุลาคมปี พ.ศ. 2554

    ผู้ประสบภัยย่อมเกิดความเครียด สิ้นหวัง หดหู่ จากการสูญเสียครั้งนี้

    ยากที่จะทำใจรับได้ในทันทีทันใด

    ขณะที่ชาวเมืองหลวงผู้รับข่าวสารจากทุกทาง ตกอยู่ในภาวะตื่นตระหนก เฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำที่กำลังมุ่งเข้าสู่กรุงเทพฯแบบนาทีต่อนาที

    หลายครอบครัวเร่งกักตุนสินค้า วิ่งหาที่ปลอดภัยจอดรถกันให้วุ่น จนอาคารสูงหลายแห่งเต็มจนล้นเกือบทุกแห่ง

    ภาวะเช่นนี้ก่อให้เกิดความวิตกกังวลไปทุกหย่อมหญ้า เกิดความเครียดสะสม...จนถึงระดับคิด "ฆ่าตัวตาย"

    ทั้งหมดขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของภัยพิบัติที่แต่ละคนได้รับและรับได้

    ฉะนั้น ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงจะเกิดความเครียด จิตตก วิตก กังวล ซึ่งควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อป้องกันเหตุที่ไม่คาดคิด

    กลุ่มเสี่ยง "วัยทำงาน-คนแก่"

    น.พ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข อธิบายว่า กลุ่มคนที่มีอาการเครียดเพราะน้ำท่วมเป็นกลุ่มคนที่กรมสุขภาพจิตเฝ้าระวัง คือ คนที่เครียดมากถึงมากที่สุด โดยเฉพาะผู้ที่เคยมีภาวะทางจิตเวชมาก่อน

    "สำหรับ คนทั่วไปที่ประสบอุทกภัย ในเวลานี้ยังไม่ถึงเวลาที่เค้าอยากจะฆ่าตัวตาย แต่จะเกิดหลังจากเหตุการณ์ผ่านไปซักระยะหนึ่งแล้ว ฉะนั้นเราต้องเฝ้าดูคนเหล่านั้น ถ้าเขาไม่สนุกสนาน ร่าเริง แยกตัว บางครั้งก็พูดเรื่องความตาย ฝากลูกฝากหลาน พูดทำนองที่ว่า ถ้าเขาไม่อยู่แล้วจะทำอย่างไร รวมทั้งคนที่พอเครียดแล้วก็ดื่มเหล้า เครียดแล้วก็ดื่มเหล้า

    คนเหล่านี้ก็อาจทำร้ายตัวเองได้"

    เจ้า หน้าที่จำต้องเข้าไปดูเป็นพิเศษในพื้นที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ทำแบบประเมินแนวโน้มการฆ่าตัวตาย และเจ้าหน้าที่ทุกคนมีแบบประเมินในพื้นที่มีปัญหาก็จะเลื่อนตามระดับน้ำลงมา เรื่อย ๆ

    น.พ.อภิชัยบอกว่า โรคเครียดเกิดขึ้นได้กับหลายช่วงอายุ แต่ที่เฝ้าระวังคือ คนที่มีแนวโน้มฆ่าตัวตายแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 75-85 ปี กับกลุ่มวัยแรงงานอายุ 25-45 ปี โดยกลุ่มผู้สูงอายุจะมีสัดส่วนการฆ่าตัวตายสูงที่สุด ขณะที่คนวัยทำงานจะมีจำนวนการฆ่าตัวตายมากที่สุดจึงต้องดูแลกลุ่มนี้เป็น พิเศษ

    "ผู้สูงอายุจะเกิดอาการซึมเศร้า ห่วงบ้าน ห่วงข้าวของเครื่องใช้ ส่วนกลุ่มคนทำงานก็กังวลเรื่องรายได้ ครอบครัว อนาคตเพราะกำลังอยู่ในช่วงสร้างเนื้อสร้างตัว แต่ทุกอย่างต้องจมหายไปกับน้ำ ทำให้สองกลุ่มนี้อาจเกิดภาวะเครียดจนถึงขั้นฆ่าตัวตายได้" อธิบดีกรมสุขภาพจิตกล่าว

    ฉะนั้นขอให้ทุกคนมีความหวัง ให้เวลาเยียวยาทุกสิ่งทุกอย่างจะดีขึ้น ขอเพียงแค่ทุกคนยังมีชีวิตอยู่

    ทางบรรเทาทุกข์

    น.พ.ไกร สิทธิ์ นฤขัตพิชัย กรรมการผู้จัดการ โรงพยาบาลมนารมย์ กล่าวว่า ตอนนี้คนที่ประสบปัญหาเรื่องน้ำท่วมต้องเผชิญปัญหาหลายด้านพร้อมกัน ความไม่สะดวกในการดำรงชีวิต ความเสียหายของบ้าน รถยนต์ และทรัพย์สินเงินทอง พื้นที่ทำการเกษตรที่เสียหาย มีภาระหนี้สิน หรือบางคนเกิดการเจ็บป่วย สูญเสียญาติพี่น้อง ทำให้เกิดความเครียดอย่างรุนแรง วิตกกังวล และป่วยเป็นโรคซึมเศร้าตามมาได้

    "แต่ละคนสามารถรับมือกับความเครียดได้ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับต้นทุนพื้นฐานด้านจิตใจแต่ละคนว่าแข็งแรงแค่ไหน"

    ความ เครียดสามารถแสดงอาการออกมาได้หลายรูปแบบ เบื้องต้นมักแสดงออกมาในรูปของความไม่สบายทางกาย เช่น นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ใจสั่น หายใจไม่ออก ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน ท้องเดิน บางรายถ้าอาการรุนแรงจนไม่สามารถควบคุมตัวเองได้จะเกิดอาการกลัว วิตกกังวลอย่างรุนแรง มีอาการตื่นตระหนก หายใจเร็วกว่าปกติ ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว เกร็งตามมือและเท้า กลัวว่าตัวเองกำลังจะตาย

    "แรง ปะทะจากเหตุการณ์อันเดียวกันบางคนล้ม บางคนไม่ล้ม คนที่ไม่โดนน้ำท่วมก็อาจจะเอื้อเฟื้อให้เพื่อนบ้านที่เดือดร้อน มีบ้านชั้นเดียวมาอาศัยให้ใช้ห้องน้ำ ห้องครัว มีอะไรก็แบ่งปันกันไป หรือไม่ก็ให้เวลารับฟังปัญหา ความรู้สึก ความคับข้องใจและเป็นกำลังใจซึ่งกันและกัน เราทุกคนอยู่ในเรือลำเดียวกัน เป็นผู้ร่วมชะตากรรม จำเป็นต้องช่วยเหลือดูแลเอาใจใส่กัน"

    "ไม่ใช่ เราคนเดียวที่ถูกน้ำท่วม ธรรมชาติไม่ได้คิดที่จะทำร้ายเราคนเดียว และทุกอย่างก็ต้องมีเวลาสิ้นสุด เราจะเห็นว่าเป็นเรื่องใหญ่เมื่อเห็นภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ เราจะเห็นว่าเขาได้รับทุกข์ที่ใหญ่กว่า" พ.ญ. ขนิษฐา อุดมพูนสิน แพทย์ประจำแผนกจิตเวช โรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียล พหลโยธิน กล่าว

    4 วิธีรับมือวิกฤต

    1.ยอม รับสิ่งที่เกิดขึ้น ทำความเข้าใจและยอมรับ ภัยพิบัติไม่ได้เกิดกับเราคนเดียว แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นทั่วโลก ไม่ใช่ว่าเราเป็นผู้เคราะห์ร้ายอยู่คนเดียว ยังมีเพื่อนร่วมชะตากรรมอีกมาก อาจจะต้องใช้เวลาบ้าง

    "ท้อแท้ได้ แต่อย่านาน และต้องลุกขึ้นเดินต่อ"

    2.จัด ลำดับความสำคัญของปัญหา พยายามนั่งพักให้จิตใจนิ่งแล้วรวบรวมสติมองปัญหาว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง แล้วจัดลำดับความสำคัญของปัญหา เช่น แก้ปัญหาเฉพาะหน้า การอยู่ การกิน การนอน เรื่องการขับถ่าย

    3.พยายามใช้ชีวิตเรียบง่าย คนที่ประสบกับปัญหาจะต้องปรับวิธีคิด และปล่อยวางเรื่องทรัพย์สินสิ่งของนอกกาย อนาคตยังมีโอกาสหาใหม่ได้ พยายามใช้ชีวิตเรียบง่ายเพื่อลดความรู้สึกเครียดลงบ้าง

    บางคนห่วงทรัพย์สินจนไม่ยอมอพยพ ควรมีการชั่งน้ำหนัก "ชีวิตเป็นสิ่งที่สำคัญกว่า"

    4.เอาใจ ใส่ ดูแลกันและกัน คนที่แข็งแรงต้องช่วยคนที่อ่อนแอ ต้องคอยให้กำลังใจกับคนที่รู้สึกหมดแรง ท้อแท้ ได้ระบายความรู้สึก แล้วก็ให้กำลังใจกัน

    วิกฤตครั้งนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่รุนแรงมากใน ประวัติศาสตร์ของประเทศ ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะผ่านไปได้สำเร็จ ต้องใช้เวลายอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น แล้วก็ตั้งหลัก ตั้งสติให้ได้

    "ทุกคนต้องร่วมมือกัน...เพื่อฟันฝ่าวิกฤตครั้งนี้ไปให้ได้"

    ระวังภัย 5 โรคที่มากับน้ำ

    กระทรวง สาธารณสุขแจ้งเตือนประชาชนเรื่องโรคระบาด ต้องเฝ้าระวังในเรื่องสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม คือเรื่องขยะ สิ่งขับถ่าย รวมถึงน้ำดื่มต้องสะอาด

    โรคระบาดที่มากับน้ำท่วมต้องเฝ้าระวัง 5 โรคหลัก ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง โรคฉี่หนู ไข้หวัด ตาแดง และไข้เลือดออก ส่วนโรคที่ป่วยกันมากคือ โรคน้ำกัดเท้า ให้ดูแลอย่าให้มีบาดแผลที่เท้า และให้ล้างเท้าให้สะอาดหลังจากลุยน้ำแล้วทุกครั้ง

    -http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1318851957&grpid=&catid=12&subcatid=-

    .
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    นอภ.พุทธมณฑล ประกาศอพยพภายใน 24 ชั่วโมง <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody> </table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr><td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">18 ตุลาคม 2554 17:23 น.</td></tr></tbody> </table>

    นายอำเภอพุทธมณฑล นครปฐม ให้เจ้าหน้าที่แจ้งไปยังผู้ใหญ่บ้านและผู้นำชุมชนว่าให้แจ้งประชาชนว่าน้ำ อาจจะขึ้นอีก 1 เมตร ภายใน 24 ชม. จึงขอให้ประชาชนให้ขนย้ายสิ่งของ และเร่งทำแนวป้องกัน หากใครไม่สามารถอยู่ได้ให้อพยพไปยังศูนย์ที่เตรียมไว้

    สำหรับจุดอพยพของ อ.พุทธมณฑล 1.รร.กาญจนาภิเษกวิทยาลัย ต.ศาลายา ติดต่อ รองผอ. 084-6626298 รับคนได้ 1,000 คน รถ 400 คัน 2.มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ต.ศาลายา ติดต่อนายธนากร 086-8807238 รับได้ 500 คน รถ 400 คัน

    -http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9540000132923-



    นอภ.ปากเกร็ด ประกาศอพยพคน 3 ตำบลด่วน ชี้น้ำสูงต่อเนื่อง

    <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr><td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">18 ตุลาคม 2554 17:29 น.</td> </tr></tbody> </table>

    นายอำเภอปากเกร็ด สั่งอพยพ 3 ตำบล "คลองพระอุดม-บางตะไนย์-คลองข่อย" หลังระดับน้ำท่วมเพิ่มสูงต่อเนื่อง เตรียมศูนย์อพยพ 2 จุด "ร.ร.สวนกุหลาบ นนท์- ร.ร.ปากเกร็ด" รับคน ขณะที่ประตูน้ำพระยาบรรลือ-พิมลราช น้ำล้นบางบัวทองท่วมหนัก

    วันนี้(18 ต.ค.) นายวิสิทธิ์ พวงเพชร นายอำเภอปากเกร็ด จ.นนทบุรี กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมใน จ.นนทบุรี ว่า ขณะนี้ได้ประกาศให้ชาวบ้านใน อ.ปากเกร็ด 3 ตำบล คือ ต.คลองพระอุดม ต.บางตะไนย์ และ ต.คลองข่อย ขนย้ายทรัพย์สินอพยพออกจากบ้านเรือนเป็นการด่วน หลังจากที่เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ระดับน้ำที่ท่วมอยู่ได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีน้ำจาก จ.ปทุมธานี ไหลอ้อมผ่านมาทางพื้นที่ อ.บางบัวทองและเข้าสู่เขต อ.ปากเกร็ด ส่งผลให้แนวคันดินกั้นน้ำที่สร้างกั้นน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาไว้พังหลายจุด ทำให้เกิดน้ำท่วมสูงตามถนนและบ้านเรือนของประชาชนทั้ง 3 ตำบล ทางอำเภอต้องขอกำลังเจ้าหน้าที่ทหารนำเรือและอุปกรณ์เข้าไปช่วยเหลือชาวบ้าน ที่ถูกน้ำท่วมสูงและต้องการอพยพออกจากที่อยู่อาศัยตลอดทั้งวัน

    "ระดับน้ำในวันนี้มีความสูงถึง 3 เมตร 8 เซนติเมตร ทางอำเภอต้องประกาศให้ชาวบ้านอพยพหนีน้ำออกมาเพื่อความปลอดภัยทันที โดยได้เตรียมสถานรองรับให้กับประชาชนที่อพยพไว้แล้วด้วยกัน 2 จุด คือที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยนนทบุรีและที่โรงเรียนปากเกร็ด ขณะเดียวกันทาง อบต.บางพลับ ก็กำลังเร่งเสริมแนวกันน้ำเพิ่มขึ้นเพื่อรับมือกับน้ำที่กำลังสูงขึ้น ซึ่งขณะนี้เหลือเพียง ต.บางพลับเพียงตำบลเดียวที่ยังสามารถกันน้ำเอาไว้ได้"นายวิสิทธิ์กล่าว

    นอกจากนี้เมื่อเวลา 15.00 น. ปริมาณน้ำจำนวนมากที่ไหลมาจาก จ.ปทุมธานี ได้ล้นประตูระบายน้ำพระยาบรรลือ และ ประตูระบายน้ำ พิมลราช ในอ.บางบัวทอง ส่งผลให้น้ำเริ่มไหลเข้าท่วมหลายพื้นที่ใน อ.บางบัวทองเป็นวงกว้างแล้ว


    -http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9540000132926-

    .
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    ประกาศห้ามจอดรถบนทางด่วน เจอปรับแน่!


    [​IMG]


    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ไอเอ็นเอ็น

    รอง ผบช.น. ประกาศ สถานการณ์น้ำท่วมกรุงเทพฯ ยังไม่น่าเป็นห่วง จึงห้ามประชาชนจอดรถบนทางด่วน เพราะสร้างปัญหาด้านการจราจร หากฝ่าฝืนจะถูกยกรถออกพร้อมปรับ 500 บาทเป็นอย่างต่ำ

    จากสถานการณ์น้ำท่วมขณะนี้ ซึ่งน้ำได้ทะลักท่วมเข้าใกล้เขตกรุงเทพฯ มากขึ้นเรื่อย ๆ ล่าสุดเป็นนิคมอุตสาหกรรมนวนครที่่กำลังถูกน้ำทะลักเข้าท่วม ขณะที่ประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ เกิดความกังวลต่อสถานการณ์ว่าน้ำจะไหลเข้าท่วมเมืองหลวงหรือไม่ ทำให้ประชาชนทยอยเก็บข้าวของขึ้นที่่สูง ส่วนคนที่มีรถก็นำไปฝากไว้กับสถานที่รับฝากรถช่วยผู้ประสบภัย

    อย่างไรก็ตาม มีประชาชนบางคนที่ไม่ทราบว่าจะนำรถไปจอดไว้ที่ไหน เนื่องจากบางสถานที่่ที่จอดรถสำหรับน้ำท่วมเต็มแล้ว จึงได้นำรถไปจอดไว้บนทางด่วนกันเป็นจำนวนมาก

    ซึ่งเรื่องนี้ทำให้ พล.ต.ต.ภาณุ เกิดลาภผล รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (รอง ผบช.น.) ได้ออกมากล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วมในกรุงเทพฯ ในขณะนี้ยังไม่ถึงขั้นวิกฤติ ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาก็ยังไม่น่าเป็นห่วง ดังนั้นประชาชนยังสามารถใช้เส้นทางได้ตามปกติ ยกเว้นน้ำท่วมขังบริเวณย่านชานเมืองที่มาจากฝนที่ตกกระหน่ำเหมือนวันศุกร์ ที่ 14 ตุลาคม ที่ผ่านมา ที่น้ำท่วมขังแยกเกษตรและลาดปลาเค้า ส่งผลให้รถติดถึงแยกสะพานควาย

    ทั้ง นี้ ถ้าสถานการณ์ไม่ถึงขั้นวิกฤติจริง ๆ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะไม่อนุญาตให้ประชาชนนำรถไปจอดบนทางด่วน เนื่องจากอาจจะทำให้การลำเลียงของช่วยเหลือผู้ประสบภัยในต่างจังหวัดมีปัญหา ได้ ถ้าหากละเมิดจะถูกเจ้าหน้าที่ยกรถออกไปทันทีและปรับขั้นต่ำ 500 บาท



    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก มติชนออนไลน์

    [​IMG]

    -http://hilight.kapook.com/view/63823-

    .
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    “ปู”สั่งเปิดประตูระบายน้ำคลอง 1-6


    นายกฯ สั่งเปิดประตูระบายน้ำคลอง 1-6 เร่งระบายน้ำเหนือ ส่ง “ยงยุทธ” เจรจา วอนประชาชนให้ความร่วมมือ
    ที่ ศปภ. ดอนเมือง วันนี้(18 ต.ค.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังเดินทางกลับจากตรวจสถานการณ์น้ำและแนวคันกั้นน้ำรอบ กทม. ว่า เท่าที่ดูสภาพน้ำตลอดแนวตั้งแต่คลองเปรมประชากร ไปจนถึงคลองระพีพัฒน์ ได้ข้อสรุปที่ให้เปิดประตูระบายน้ำทุกบาน ตั้งแต่คลอง1 ถึงคลอง 6 โดยทางกรมชลประทานจะพยายามประสานงานให้ปริมาณน้ำมีความสัมพันธ์กัน และมอบหมายให้นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย ไปเจรจาและทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ ซึ่งคาดว่าคงจะให้ความร่วมมือ เพราะถ้าเราเปิดประตูระบายน้ำได้ ก็จะสามารถระบายน้ำออกได้ ขณะเดียวกันก็จะมีการเสริมแนวป้องกันบริเวณคลองรังสิตประยูรศักดิ์ให้แข็ง แรงขึ้น ส่วนบริเวณศูนย์อพยพภายในม.ธรรมศาสตร์รังสิตนั้น ทางศปภ.ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปช่วยป้องกันจำนวน 200 นายแล้วตามคำขอ เชื่อว่าจะสามารถป้องกันได้ ส่วนนิคมอุตสาหกรรมนวนครแม้ภาพรวมน้ำจะเข้าไปแล้วแต่ยังมีแนวคันกั้นของแต่ ละโรงงานที่น่าจะสามารถกอบกู้ได้ โดยเบื้องต้นมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ไปดูเครื่องจักร หากจุดใดขนย้ายได้ก็ให้เร่งดำเนินการ นอกจากนี้ยังได้บินสำรวจคันกั้นน้ำบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่ง รมว.คมนาคมได้ทำไว้ถึง 2 ชั้นและยังมีแนวคันชั้นนอกอีกก็น่าจะแข็งแรงพอ

    เมื่อถามว่าการเปิดประตูระบายน้ำทั้ง 6 ประตู จะส่งผลกระทบต่อประชาชนหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เราจะพยายามปล่อยน้ำลงตามแนวคลองออกไปทางด้านขวา ซึ่งอาจมีผลกระทบกับประชาชนบ้าง เราก็จะไปทำความเข้าใจกับประชาชน เพราะสิ่งที่เราพยายามทำคือขอเปิดประตูระบายน้ำเพื่อใช้เป็นทางผ่านน้ำให้ น้ำระบายออกจากนิคมนวนครไปได้อย่างรวดเร็ว และเราก็จะระดมเครื่องสูบน้ำเร่งสูบน้ำทั้งหมดออกไปทางฝั่งตะวันออก ถ้าประชาชนและทุกหน่วยงานให้ความร่วมมือก็จะทำให้ระบายน้ำออกไปได้เร็วขึ้น ส่วนที่ผู้ว่ากทม.ขอกระสอบทรายจำนวน 1 ล้านกระสอบเพื่อทำคันกั้นน้ำให้สูงขึ้นนั้น ได้ให้ความร่วมมือจัดส่งไปหมดแล้ว ส่วนจะป้องกันพื้นที่กทม.ไว้ได้หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับการที่เราจะขอร้องประชาชนในการเปิดประตูระบายน้ำทั้ง 6 ประตูได้หรือไม่

    น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังกล่าวถึงสาเหตุที่ไม่สามารถสู้กับน้ำได้เลยแม้แต่จุดเดียว ว่า เพราะน้ำมามากกว่าทุกปีถึง 3 เท่า และเราไม่สามารถระบายออกไปได้เลย ขณะเดียวกันก็มีพายุสะสมมา 2-3 เดือนแล้ว จะมาให้แก้ในเดือนที่ 3 คงเป็นไปไม่ได้ และสภาพภูมิประเทศปัจจุบันก็ไม่เอื้อต่อการระบายน้ำ ซึ่งในระยะยาวต้องมาวางแผนในภาพรวมให้ทิศทางการไหลของน้ำมีความสัมพันธ์กัน กับการวางผังเมือง เมื่อถามว่าตอนนี้ประชาชนเริ่มไม่เชื่อข้อมูลจากรัฐบาลโดยเฉพาะชาว กทม.ที่ไม่แน่ใจว่ารัฐบาลจะรักษาพื้นที่ได้ เพราะที่ผ่านมาบอกว่าจะรักษาพื้นที่จุดนั้นจุดนี้ได้ แต่ทำไม่ได้ตามที่พูดเลย น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ก็ต้องขอความเห็นใจจากประชาชนด้วย เพราะมันเป็นปัญหาใหญ่ และมีความเสียหายมากจริง ๆ การให้ข้อมูลแจ้งเตือนอย่างเป็นทางการของ ศปภ.จะแถลงข่าวผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ส่วนการให้ข้อมูลความเคลื่อนไหวนั้น วันนี้มีหลายหน่วยงาน ซึ่งก็ต้องขอความร่วมมือจากทุกๆฝ่าย และบางครั้งก็มีเรื่องของข่าวลือเกิดขึ้น หรือบางครั้งสิ่งที่เราเตือนไปแต่ประชาชนอาจเห็นว่าน้ำยังไม่มาทั้งๆที่ความ จริงภาวะน้ำวันนี้มาเร็วกว่าที่คิด ประชาชนอาจรู้สึกว่าภาครัฐไม่ได้เตือน แต่ความจริงเราได้เตือนแล้ว บางจุดเราก็มีการเตือนไปยังหน่วยงานโดยตรง แต่อาจไม่คิดว่าจะเกิดเหตุการณ์ขึ้น จึงไม่ได้ปฏิบัติตาม ดังนั้นเราอาจจะต้องคุยกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น.


    -http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=420&contentID=170578-

    .
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    กทม.เตรียมเปิดประตูชั้นในระบายน้ำเหนือ

    ผู้ว่าฯกทม.เผยเตรียมเปิดประตูชั้นในระบายน้ำเหนือออกทะเลหลังปริมาณฝนลด เตือนประชาชนเฝ้าระวังคันกั้นน้ำทุกจุดใกล้ชิด


    [​IMG]
    แผนที่แสดงแนวกั้นกระสอบทรายบริเวณคลองหกวาสายล่าง ที่ป้องกันน้ำท่วมเขตสายไหม


    ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า ภาพรวมสถานการณ์น้ำในวันที่ 18 ต.ค.ยังคงปกติ โดยคาดว่าปริมาณฝนจะลดลง กทม.จึงเตรียมเปิดประตูระบายน้ำในเขตพื้นที่ชั้นใน เพื่อเร่งระบายน้ำจากด้านเหนือลงสู่ด้านใต้ ซึ่งจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในย่านปริมณฑล โดยระดมกำลังทุกภาคส่วนป้องกันเขตสายไหม เสริมกระสอบทรายสูงอีก 50 ซม.
    ทั้งนี้ การเสริมแนวคันกั้นน้ำบริเวณคลองหกวาสายล่าง (ถนนเลียบคลองสอง) เขตสายไหม โดยต้องใช้กระสอบทรายถึง 2 ล้านใบ โดย กทม.ได้รับการประสานจากรัฐบาลว่าจะมอบกระสอบทรายจำนวน 1 ล้านใบ และภายในวันนี้รัฐบาลจะจัดส่งถุงใส่ทรายจำนวน 8 แสนใบ รถบรรทุกทราย 25 คัน รวม 1 หมื่นคิว และยังมีรถบรรทุกทรายของ กทม.ที่จะทยอยส่งมายังสถานที่บรรจุทรายอีก 50 คัน
    "ขณะนี้ความเสี่ยงของ กทม.อยู่ที่แนวคันกั้นน้ำชั่วคราวทุกแห่ง เช่น ที่คลองรังสิตประยูรศักดิ์ เขตเทศบาลตำบลหลักหก คลองหกวาสายล่าง เขตสายไหม เพราะหากแนวคันกั้นน้ำพังจะทำให้น้ำทะลักเข้ามาได้ กทม.ขอความร่วมมือจากประชาชนให้ช่วยดูแลด้วย" ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าว
    <ins>ยกระดับถ.เลียบคลองสองแล้วเสร็จวันนี้</ins>
    ในส่วนของความคืบหน้าการยกระดับถนนเลียบคลองสอง ให้สูงขึ้นอีก 30 ซม. นั้นคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในวันนี้ และจะเคลื่อนย้ายกำลังเจ้าหน้าที่ไปทำถนนยกระดับเพื่อเป็นแนวคันกั้นน้ำใน บริเวณซอยสายไหม 85 ให้สูงขึ้นอีก 30 ซม. โดยคาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 1 วันครึ่ง
    <ins>วอนประชาชนเฝ้าระวังแนวคันกั้นน้ำอย่างใกล้ชิด</ins>
    สำหรับแนวคันกั้นน้ำทั้งหมดมีความเสี่ยงในการถูกทำลาย ขอความร่วมมือให้ประชาชนร่วมเฝ้าระวังแนวคันกั้นน้ำ ซึ่งกรุงเทพมหานครเองก็ได้จัดกำลังเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมทำความเข้าใจแก่ประชาชนในพื้นที่ด้วย
    ขณะที่ศูนย์ป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานครระบุว่า เมื่อน้ำเข้าสู่คลองรังสิตกรุงเทพมหานครได้เตรียมตั้งรับที่ประตูระบายน้ำ หลัก 6 อย่างเต็มที่ เพื่อไม่ให้น้ำทะลักเข้าพื้นที่ตอนเหนือของดอนเมือง และหากน้ำผ่านคันกั้นนี้มาแล้ว กรุงเทพมหานครยังมีถนนเป็นแนวกั้นอีกชั้นที่ถนนแจ้งวัฒนะ
    ส่วนด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานคร หากน้ำทะลักเข้ามาพื้นที่คลอง 1-10 น้ำจะลงมาที่คลองรังสิตเช่นกัน หากคลองรังสิตไม่สามารถรับน้ำไว้ได้ น้ำจะทะลักเข้ามาที่คลองหกวา ซึ่งทางกรุงเทพมหานครได้เร่งเสริมคันกระสอบทรายเพิ่มขึ้นอย่างเร่งด่วนแล้ว

    -http://www.posttoday.com/%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1.-%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84/%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1./116956/%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1-%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B9%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B8%AD-

    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ตุลาคม 2011
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    น้ำท่วมกายแต่ไม่ท่วมใจ พี่น้องไทย...สู้ๆๆ


    น้ำท่วมไทยปี 2554 สาหัสสากรรจ์นัก ตั้งแต่เกิดมาครั้งนี้ถือว่าหฤโหดสุด ตอนนี้คนที่ประสบภัยน้ำท่วมต้องเผชิญปัญหารอบด้าน
    โดย...หาตุ้ย
    น้ำท่วมไทยปี 2554 สาหัสสากรรจ์นัก ตั้งแต่เกิดมาครั้งนี้ถือว่าหฤโหดสุด ตอนนี้คนที่ประสบภัยน้ำท่วมต้องเผชิญปัญหารอบด้าน ทั้งความไม่สะดวกในความเป็นอยู่ การกิน การนอน รวมไปถึงการขับถ่าย หลายครอบครัวทั้งบ้าน รถยนต์ ทรัพย์สินเงินทอง พื้นที่การเกษตรเสียหายสิ้น หนี้สินจ่อท่วมตัว เกินที่จะทำใจยอมรับได้ บางคนต้องสูญเสียคนที่รัก เกิดเจ็บป่วย นานาปัญหาประดังเข้ามาพร้อมๆ กัน ทำให้เกิดความเครียดอย่างรุนแรง บางคนเกิดอาการวิตกกังวลและป่วยเป็นโรคซึมเศร้า!!

    [​IMG]

    ภายใต้สภาวการณ์ความทุกข์บีบคั้นรอบทิศเช่นนี้ อย่าเพิ่งท้อแท้และสิ้นหวัง ชีวิตต้องก้าวต่อและขอให้เชื่อมั่นว่าทุกปัญหาย่อมมีทางแก้ และลองเอาคำแนะนำดีๆ ของบุคคลต่อไปนี้ไปปฏิบัติดู เชื่อว่าจะสามารถผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้
    ทำใจรับภัยน้ำท่วมด้วยพุทธวิธี
    คนไทยเดือดร้อนถ้วนหน้าจากวิกฤตน้ำท่วมครั้งใหญ่คราวนี้ การเยียวยาปัญหาต้องทำทั้งเฉพาะหน้าและหลังจากนั้นซึ่งเป็นเรื่องในระยะยาว แต่ในส่วนของการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือ ว.วชิรเมธี ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย แนะนำให้เรียนรู้วิกฤตน้ำท่วมใหญ่ด้วย “พุทธวิธีทำใจรับภัยน้ำท่วม”
    ประการแรก ถือหลักตนเป็นที่พึ่งของตนไว้ให้มั่น เพราะการมาของน้ำนั้นรวดเร็ว รุนแรง ไม่สนว่าเป็นกลางคืน กลางวัน ห้ามยาก หากมัวแต่รอรับความช่วยเหลือจากภาครัฐก็จะทำให้แก้ปัญหาอะไรไม่ทัน ต้องพึ่งตนเองก่อนที่จะขอความช่วยเหลือจากคนอื่นต่อไป

    [​IMG]

    สอง...ต้องยอมเสียส่วนน้อยเพื่อรักษาส่วนใหญ่ หรือยอมสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต ต้องไม่ลืมว่าวัตถุทรัพย์สินเสียไปแล้วหาใหม่อีกเมื่อไหร่ก็ได้ แต่ถ้าชีวิตเสียไปแล้วก็เหมือนกับจบสิ้นทุกอย่าง อย่าเสียดายสมบัติยิ่งไปกว่าชีวิต ควรดูแลตนเองให้อยู่ในที่ที่ปลอดภัยที่สุด
    สาม...รักษากำลังใจเอาไว้ให้ดี อย่าสูญเสียกำลังใจเพราะการสูญเสียกำลังใจก็เหมือนการสูญเสียทุกอย่าง
    ประการสุดท้าย รู้จักเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส ด้วยการเรียนรู้ว่าปัญหาน้ำท่วมมาจากสาเหตุอะไร แล้วช่วยกันแสวงหาวิธีแก้ไขที่ยั่งยืนสืบไปในอนาคต เหมือนคำกล่าวที่ว่า...ความทุกข์มาปลุกให้เราตื่น!
    “น้ำท่วมคราวนี้คนไทยควรจะตื่นตัวขึ้นมาอย่างพร้อมหน้าเพื่อร่วมกันแสวง หาวิธีรับมือภัยน้ำท่วมที่ได้ผลในอนาคต จงเรียนรู้จากน้ำ มองน้ำเป็นครู เพื่ออยู่ร่วมกับน้ำอย่างปลอดภัยไม่ยอมให้เกิดวิกฤตซ้ำซากจนกลายเป็นเทศกาล”
    อดได้ ทนได้ รอได้ ด้วยใจดี
    พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก วัดสุนันทวนาราม จ.กาญจนบุรี ให้กำลังใจในมุมธรรมะว่า สถานการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นครั้งนี้เมื่อมองในแง่ธรรมะก็ถือว่าเป็น “เทวทูต” คือเทวดามาเตือนสติว่าชีวิตก็เป็นอย่างนี้ เป็นทุกข์ ไม่มีอะไรแน่นอน จึงไม่ควรใช้ชีวิตอยู่บนความประมาท การสูญเสียทรัพย์สินเงินทองเป็นความทุกข์ แต่ทุกข์มากกว่านั้นก็ยังมี สิ่งนั้นคือความตาย สูญเสียชีวิต และสิ่งนี้ก็จะต้องเกิดขึ้นกับมนุษย์ทุกคนและทุกชีวิต
    “การดำเนินชีวิตหรือการปฏิบัติธรรม ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม ไม่ว่าจะทุกข์ขนาดไหนก็ตาม เราตั้งมั่นอยู่ในความดีความถูกต้องในทุกสถานการณ์ อดได้ ทนได้ รอได้ ด้วยใจดี
    อดได้ คือ สิ่งที่เราต้องการแต่ไม่มี ทนได้ คือ มีในสิ่งที่เราไม่ต้องการ รอได้ คือ อยากจะได้ อยากจะทำเดี๋ยวนี้ แต่ยังทำไม่ได้ ด้วยใจดี คือ ด้วยใจสงบ ไม่ยินดี ยินร้าย หนักแน่น ไม่หวั่นไหว

    [​IMG]

    พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ความรักเสมอตนไม่มี หมายความว่า ให้เรารู้จักรักและเมตตาต่อตัวเอง คือทำจิตใจให้มีความสุขได้ในทุกสถานการณ์ พร้อมกันนี้ก็ให้มีสติระลึกรู้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง หรือนอน ให้เอาลมหายใจเป็นกัลยาณมิตร คือมีลมหายใจเป็นเพื่อนที่ดีอยู่ภายในจิตใจของเราเสมอ แม้แต่ในท่ามกลางวิกฤตการณ์ก็ตาม
    “จงยิ้มน้อยๆ ในใจ หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ หายใจเข้าสบาย หายใจออกสบาย ทำใจสบายๆ และขอให้ทุกคนมีความหวังและมั่นใจว่าจะผ่านพ้นอุปสรรคครั้งนี้ไปได้ด้วยจิต ใจที่ดี อดได้ ทนได้ รอได้ ถึงแม้ว่าจะต้องตายก็พร้อมที่จะตายด้วยใจดี นี่คือความสำเร็จของชีวิต”
    น้ำท่วมบ้านหลังนอกได้ แต่อย่าให้ท่วมหลังใน (ใจ)
    ตั้งแต่สถานการณ์น้ำถล่ม จ.พระนครศรีอยุธยา เรื่อยมาถึงวันนี้ แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต แห่งเสถียรธรรมสถาน ต้องเดินทางไปให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ตลอด ทำให้ได้เห็นความทุกข์ของผู้ประสบภัยจริงๆ ซึ่งนอกจากสิ่งของที่ขนไปช่วยแล้วท่านยังได้เรียนรู้ที่จะเยียวยาจิตใจเขา เหล่านั้นไปพร้อมๆ กันด้วย
    “มีคุณยายคนหนึ่งหนึ่งน้ำกัดที่มือมากเลย บอกว่า แกหมดตัวแล้ว ไม่มีอะไรเหลือแล้ว...คุณแม่ก็เลยบอกคุณยายว่า คุณยายขา คุณยายยังเหลือชีวิตที่นั่งอยู่ตรงนี้ ถ้าคุณยายยังเหลือชีวิตอยู่ เรายังจะได้ทั้งหมดกลับคืนมานะคะ
    น้ำเปียกกายเราได้ แต่อย่าให้ใจเปียก น้ำท่วมบ้านหลังนอกเราได้ แต่อย่าให้ท่วมบ้านหลังในหรือใจของเรา ปรากฏว่าคุณยายจากที่หน้าตาเศร้าหมอง ไม่มีชีวิตชีวา ก็กลับมาสดใสขึ้นในทันที”
    แม่ชีย้ำอีกครั้งว่า เรื่องจิตใจหรือกำลังใจเป็นเรื่องสำคัญมาก ในยามทุกข์ยากลำบาก ทุกคนอย่าได้ท้อแท้ สิ้นหวัง แต่จงเข้มแข็ง อดทน ถึงจะไม่เหลืออะไร ก็ขอให้ “เหลือชีวิต” แล้วเชื่อว่าทั้งหมดจะได้คืนกลับมา
    รู้สึกเครียดก็จงระบายออกมาเถิด
    นพ.ไกรสิทธิ์ นฤขัตพิชัย จิตแพทย์โรงพยาบาลมนารมย์ แนะวิธีตั้งสติรับวิกฤตที่เกิดขึ้น โดยเริ่มต้นจากการยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นว่าภัยพิบัติครั้งนี้ไม่ได้เกิด กับเราคนเดียว แต่มีเพื่อนร่วมชะตากรรมอีกเยอะ พร้อมคิดว่าปัญหาที่เกิดขึ้นที่สุดจะต้องผ่านไปได้ จากนั้นให้รวบรวมสติมองปัญหาว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง แล้วจัดลำดับความสำคัญของปัญหาเพื่อช่วยลดความวิตกกังวลที่จะเกิดขึ้น

    [​IMG]


    “ปัญหามีหลายเรื่อง มีเรื่องสำคัญน้อยแต่ด่วน เช่น การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเรื่องการอยู่ การกิน การนอน ห้องน้ำ การขับถ่าย ปัญหาสำคัญต้องแก้ไขในระยะยาวก็มี เช่น การป้องกันน้ำท่วมจะทำอย่างไร ซึ่งก็เป็นเรื่องใหญ่แต่ไม่ด่วน การช่วยเหลือจากรัฐบาลหลังน้ำลด การเตือนภัย และอื่นๆ ซึ่งถือเป็นปัญหาที่ต้องแก้แต่ก็ยังไม่ด่วนเท่าชีวิตความเป็นอยู่ในช่วงที่ ประสบกับปัญหา”
    การจัดลำดับความสำคัญจะช่วยลดความวิตกกังวลไปได้ เรื่องไม่ด่วนวางไว้ก่อน อะไรด่วนมากที่สุดค่อยๆ แก้ไปทีละข้อ เพราะการที่แก้ปัญหาได้สำเร็จไปทีละอย่างจะช่วยทำให้เกิดความมั่นใจ กำลังใจก็จะค่อยๆ เกิดขึ้นจนกลายเป็นความเชื่อมั่นว่าจะสามารถผ่านวิกฤตนี้ไปได้
    “คนที่ประสบภัยต้องปรับวิธีคิดและปล่อยวางเรื่องทรัพย์สินสิ่งของนอกกาย อนาคตยังมีโอกาสหาใหม่ได้ พยายามใช้ชีวิตเรียบง่ายเพื่อลดการที่จะทำให้รู้สึกเครียดลงไป เพราะหลายคนเครียดเพราะเป็นห่วงทรัพย์สิน นอกจากนี้ก็ให้เอาใจใส่ดูแลกันและกัน คนแข็งแรงต้องช่วยคนที่อ่อนแอ ต้องคอยให้กำลังใจคนที่รู้สึกหมดแรง ท้อแท้ ให้คนที่รู้สึกเครียดได้ระบายความรู้สึก รับฟัง และให้กำลังใจเขา แค่นี้ก็จะช่วยให้พวกเขารู้สึกดีขึ้น”
    ขอเป็นกำลังใจให้พี่น้องผู้ประสบภัยน้ำท่วมสู้ต่อไปครับ อย่าท้อแท้สิ้นหวัง เราคนไทยทั้งประเทศของเป็นกำลังให้ด้วยจิตเคารพ...สู้ๆ ครับ


    -http://www.posttoday.com/%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B9%8C/%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C/116837/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%88-%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%86%E0%B9%86-


    http://www.posttoday.com/%E0%B9%84%E...B9%86%E0%B9%86
    .
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    พระเทพฯพระราชทานของช่วยน้ำท่วม

    [​IMG]



    สมเด็จพระเทพฯ มีรับสั่งให้จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วมภายในที่ดิน ของมูลนิธิชัยพัฒนา รวมถึงสถานที่ราชการที่มีศักยภาพรองรับผู้ประสบภัย

    เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะข้าราชการกองราชเลขานุการในพระองค์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นำโดย นายประดิษฐ์ อารย์โพธิ์ทอง นักวิเคราะห์นโยบายและแผนเชี่ยวชาญ สำนักราชเลขาธิการ ช่วยราชการกองราชเลขานุการในพระองค์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ลงพื้นที่ประสบอุทกภัย จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อนำสิ่งของพระราชทานไปมอบให้ผู้ประสบภัย ได้แก่ ศูนย์ป้องกันภัยทางอากาศ อ.วังน้อย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ.วังน้อย ประชาชนในพื้น อ.บ้านแพรก วัดชูจิตรธรรมาราม อ.วังน้อย วัดมฤคทายวัน ต.เทพมงคล อ.บางซ้าย และพระตำหนักสวนปทุม จ.ปทุมธานี เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย


    พร้อมกันนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์ประธานกรรมการมูลนิธิชัยพัฒนา มีพระราชกระแสรับสั่งให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบ อุทกภัย โดยการจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วมของมูลนิธิชัยพัฒนา ในที่ดินของมูลนิธิชัยพัฒนา ที่มีความพร้อมและอยู่ใกล้พื้นที่ประสบอุทกภัย รวมถึงสถานที่ราชการที่มีศักยภาพสามารถรองรับผู้ประสบอุทกภัยได้ ปัจจุบันมูลนิธิชัยพัฒนามีศูนย์ช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วมรวม 5 ศูนย์ ได้แก่ 1.ศูนย์ช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วมของมูลนิธิชัยพัฒนา ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต.ลำไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา 2.ศูนย์ช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วมของมูลนิธิชัยพัฒนา ในที่ดินของมูลนิธิชัยพัฒนา ณ โรงสีข้าวมูลนิธิชัยพัฒนา (ศูนย์สาธิตและพัฒนาพลังงานทดแทนแบบครบวงจร) อ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา 3.ศูนย์ช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วมของมูลนิธิชัยพัฒนา ณ โรงเรียนนารายณ์ศึกษา อ.เมือง จ.ลพบุรี 4.ศูนย์ช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วมของมูลนิธิชัยพัฒนา ณ ศูนย์ต่อสู้ป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพภาคที่ 1 ประจำพื้นที่ภาคกลาง อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา 5.ศูนย์ช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วมของมูลนิธิชัยพัฒนา ในที่ดินของมูลนิธิชัยพัฒนา ณ โครงการอุทยานการอาชีพชัยพัฒนา ต.บ่อพลับ อ.เมือง จ.นครปฐม
    ทั้งนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริให้ใช้ที่ดินของมูลนิธิชัยพัฒนาในที่ต่างๆ ในการดำเนินการให้ประชาชนสามารถใช้เป็นที่อพยพ และติดต่อประสานความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบอุทกภัยด้วย

    -http://www.komchadluek.net/detail/20111018/112194/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%AF%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1.html-

    .
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ปราโมทย์ ไม้กลัด : แก้วิกฤตน้ำท่วมไม่น่าวิตกเลย จะสู้ไม่ได้เพราะปอดแหกกัน <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody> </table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr><td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">18 ตุลาคม 2554 16:47 น.</td></tr></tbody> </table>


    "พระเจ้าอยู่หัวท่านสร้างหลักว่าจะทำอะไรต้องเข้าใจและเข้า ถึง ปัญหาคือตอนนี้ทุกคนไม่รู้ว่าปัญหามันมาจากอะไร เพราะอะไร ธรรมชาติในแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน สภาพภูมิประเทศ ภูมิศาสตร์ แต่ละพื้นที่แต่ละลุ่มน้ำแตกต่างกัน และพฤติกรรมของน้ำในแต่ละพื้นที่ก็แตกต่างกัน งานนี้ยังไงก็ต้องมีแม่ทัพ หากไม่มีผู้บัญชาการอย่างคนที่รู้จริงๆ แล้วจะแก้ปัญหาได้อย่างไร เวลานี้แก้ปัญหาเลอะเทอะสะเปะสะปะกันไปหมด"

    หมายเหตุ - ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (TCIJ) สัมภาษณ์ “ปราโมทย์ ไม้กลัด” อดีตอธิบดีกรมชลประทาน บุคคลอีกผู้หนึ่งที่เฝ้าติดตามวิกฤตปัญหาน้ำท่วมมาอย่างต่อเนื่อง แม้ปัจจุบันจะเกษียณอายุมาเป็นเวลานานถึง 12 ปีแล้ว แต่ด้วยประสบการณ์ที่ทำงานเกี่ยวกับเรื่องน้ำมาตลอดชีวิต จนถึงทุกวันนี้ หากไม่ติดตามปริมาณน้ำในเขื่อนอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ที่บ้าน ก็มักจะเดินทางเข้ามาสำรวจปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาหน้าเขื่อนกรมชลประทาน แทบทุกวัน ก่อนให้ข้อมูลด้วยความมั่นใจว่า ประชาชนในกทม.ไม่ควรตื่นตระหนกกับสถานการณ์ในขณะนี้เกินเหตุ

    00 อยากให้อาจารย์ประเมินสถานการณ์น้ำในกทม.จะรุนแรงอย่างที่หลายฝ่ายวิตกหรือไม่

    ปริมาณน้ำที่ไหลผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาผ่านกรมชลประทาน ผ่านสะพานพระพุทธยอดฟ้าขณะนี้เป็นกรณีเหมือนที่เคยเกิดในอดีต เป็นปกติไม่ได้มากมายชนิดที่จะต้องหวาดวิตก หากดูปริมาณน้ำที่ไหลผ่านเขื่อนบางไทรซึ่งเป็นต้นทางที่จะเข้า จ.ปทุมธานี นนทบุรีและกรุงเทพก็ไม่ได้มีแนวโน้มที่จะแปรผันอย่างวิปริต แล้วน้ำที่ไหลจากเจ้าพระยาที่จะเข้ากรุงเทพฯ ก็ไม่ได้ไหลพรวดพราด เหมือนน้ำที่ นครสวรรค์ และอยุธยา ระดับจะค่อยๆ เปลี่ยนไป ปริมาณจะค่อยๆ เปลี่ยนไป

    เวลานี้เราต้องดูระดับน้ำที่ผ่านสะพานพระพุทธยอดฟ้า ต้องตรวจวัดกันทุกวัน ในช่วงที่จะขึ้นสูงสุดทุกวัน ซึ่งระดับน้ำตรงนี้จะเปลี่ยนแปลงทุกวัน หากมีน้ำทะเลหนุนสูงก็จะมีช่วง 14-15 ต.ค. ซึ่งน้ำทะเล จะหนุนสูงที่ป้อมพระจุลจอมเกล้าที่สันดอน ที่ช่วงนี้จะหนุนสูงกว่าปกติประมาณ 20 เซนติเมตร ระดับความสูงจะค่อยๆ เรียงลงมา ระดับอาจจะขึ้นสูงสุดในวันที่ 15 ต.ค. (ณ วันที่ 18 ต.ค. 2554 กทม.ระบุว่าน้ำทะเลจะหนุนสูงอีกครั้งช่วง 28-30 ต.ค. 2554)

    00 แสดงว่าปริมาณน้ำในขณะนี้ไม่น่าวิตกและไม่จำเป็นต้องประกาศแผนฉุกเฉิน

    วิเคราะห์ตัวเลขแล้วไม่เห็นจะน่าวิตกเลย และตัวเลขแบบนี้ก็ไม่จำเป็นต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน เพราะเมื่อก่อนยิ่งกว่านี้อีก การ ประกาศภาวะฉุกเฉินต้องหมายความว่ากทม.ล้มระเนระนาด เอาไม่อยู่ ผมก็สงสัยว่าเอาไม่อยู่คืออะไร ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม.และผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำกทม.ก็ยืนยันมาโดยตลอดว่า คันกั้นน้ำของเขาระดับที่กทม.ที่สะพานพระพุทธยอดฟ้าสูง 2.50 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง แล้วขึ้นเรื่อยไปที่ปทุมธานีและนนทบุรี แล้วยังไงต่อ จะบอกไม่แน่ใจไม่ได้ เพราะการจัดการน้ำไม่ใช่เรื่องของปีนี้ปีเดียว

    00 พายุบันยังที่กำลังจะมาทำให้คาดเดาปริมาณฝนเพิ่มขึ้นหรือไม่

    ยังไม่มาหรอก พายุจะเข้าหรือไม่ยังไม่ทราบ มันอยู่ไกลตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะมินดาเนา และเวียดนามอาจต้องรับเคราะห์ก่อนเรา ทิศทางของพายุเราจะโดนแค่หางๆ อาจจะผ่านภาคกลางหรือกทม.ฝนตกตรงๆ คงจะไม่เข้าไปที่ภาคเหนือแน่นอน เพราะร่องความกดอากาศมันเปลี่ยน ทิศทางเกิดในละติจูด 5 องศา ใกล้กับแนวศูนย์สูตรแล้ว แต่ตรงนี้จะทำให้เกิดฝนตก น้ำขัง ล้อมรอบสนามบินหนองงูเห่า ซึ่งขังก็ต้องสูบออกในพื้นที่ภาคตะวันออกนอกคันกั้นน้ำจะเกิดน้ำขัง ตั้งแต่เขต มีนบุรี หนองจอก ลาดกระบัง บึงกุ่ม พื้นที่พวกนี้จะเกิดน้ำขัง

    ซึ่งต้องเข้าใจว่า น้ำฝนขังมันคนละน้ำกับแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งอาจจะทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเปลี่ยนแปลงนิดหน่อย เพราะฝนตกแผ่กระจายลงไปในทุ่ง ตกในกทม.ก็จะไม่ออกแม่น้ำ เพราะน้ำเยอะ ก็ต้องเกิดน้ำท่วมขัง กทม.ก็ต้องสูบออก มันแยกน้ำกันอยู่ในตัวแล้ว

    น้ำแม่น้ำเจ้าพระยาจะมาจากอยุธยา สิงห์บุรี อ่างทอง ฝนตกในภาคกลางจะตกอยู่ในพื้นที่รวมกอง ทำให้มีน้ำขัง ออกเจ้าพระยาไม่ได้ เพราะเจ้าพระยาสูง และเหตุการณ์ที่จะเกิดไม่ใช่ 2-3 วันนี้ แต่อีก 7 วันข้างแน่นอน แต่ถ้าพายุมาเวียดนามจะต้องรับเคราะห์ก่อนไทย ดังนั้นการแก้ปัญหาต้องมีสติแยกน้ำให้ออก ผมไม่กลัวหรอกหากฝนตกตรงๆ ในพื้นที่ขัง มันสูบออกได้ น้ำที่ผ่านกทม.เป็นน้ำข้างบนจากแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน อย่างเดียว ซึ่งยังไม่เคลื่อนลงมาเต็มๆ มันยังไม่รวมตัวเป็นจุดใหญ่ทีเดียวที่นครสวรรค์ ที่ต้องจับตาคือ แม่น้ำปิง ซึ่งเป็นสายน้ำที่แปรผัน เนื่องจากฝนตกที่ จ.กำแพงเพชร จ.ตาก

    เวลานี้มวลน้ำแม่น้ำปิงกำลังเคลื่อนย้ายมานครสวรรค์ ผมก็ตรวจสอบปริมาณน้ำที่นครสวรรค์ทุกชั่วโมง มันไม่มีขยับยังคงที่ 4,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แม่น้ำปิงมวลใหญ่มาก็ต้องขยับ แต่ตรงนี้อย่างนำไปโยงกับเขื่อนคันกั้นน้ำที่นครสวรรค์แตก เราต้องดูตัวมวลน้ำว่ามันขยับขึ้นหรือไม่ เป็น 4,600 -4,700 ลูกบาศก์เมตร ต่อวินาที ก็ลงมาที่เขื่อนชัยนาท ซึ่งคงที่มาหลายวันที่ระดับ 3,640 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที นี่คือมวลน้ำที่จะเข้ามาต่อเนื่องที่กทม.และมวลนี้จะมาสมทบกับแม่น้ำป่าสัก ตอนล่าง แม่น้ำป่าสักถ้าพายุไม่เข้าปริมาณน้ำก็ลงลงทุกวัน น้ำมวลนี้ไปไหนไม่ได้ ก่อนที่มากรุงเทพ ถึงเขื่อนเจ้าพระยา เขาก็แจกมาข้างๆ ลง ท่าจีน บางปะกง ก็เหลือผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาในระดับคงที่

    00 ถ้าระดับน้ำไม่น่าวิตกเหตุใดประชาชนจึงแตกตื่นมาก

    ปัญหาหลักเกิดจากพื้นที่ 3 จุดใหญ่ๆ นครสวรรค์ ลพบุรี อยุธยา ระเบิดเอาไม่อยู่ คันกั้นน้ำพัง ก็เลยมาวาดภาพว่ากทม.คงจะเหมือนกัน ผมก็บอกหลายครั้งแล้วว่าไม่เหมือนมันคนละพฤติกรรมน้ำและคนละพฤติกรรมพื้นที่ บ้านหมี่ ท่าวุ้ง ลพบุรี พื้นที่เป็นท้องกะทะใหญ่ มีคันกั้นน้ำสู้ แต่ประตูระบายน้ำคันมันขาด ทำมาเป็น 10 ปีแล้ว

    00 ทำไมรัฐบาลจึงไม่อธิบายให้ประชาชนเข้าใจเหมือนอย่างที่อาจารย์กำลังอธิบาย

    ผมก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่ากรมชลประทานไปไหนหมด ทำไมไม่พูด ธรรมดาเวลาเกิดเหตุการณ์วิกฤติอย่างนี้ต้องมีแม่ทัพน้ำ คอยบัญชาเหตุการณ์วิกฤติทั้งเรื่องน้ำและที่กั้นน้ำ จะมาบอกที่โน่นที่นี่พังของประชาชนพังก็ต้องบอกว่าที่พังของประชาชน กทม.ต้องตรวจสอบระบบคันกั้นน้ำของตัวเองว่าอยู่ดีหรือไม่ ก็ไม่พูด ผู้ว่าฯกทม.บอกว่า แข็งแรงๆ ก็ต้องกล้าฟันธง และต้องเชื่อมโยงไปที่นนทบุรี ปทุมธานีด้วยว่าสภาพคันน้ำน้ำยังดีอยู่หรือไม่ แข็งแรงหรือไม่ ตอนนี้ใครเป็นแม่ทัพน้ำ

    ในยุคก่อน ผู้หลักผู้ใหญ่ของกรมชลประทานจะมาบัญชาการเอง เพราะรู้เรื่องน้ำดีที่สุด แต่เวลานี้ไม่รู้อะไร และทำอะไรไม่ได้ นอกจากสู้ ก็ต้องถามว่าจะสู้หรือไม่ สู้ก็ต้องถามว่าสู้อย่างไร ทำไมไม่เอาเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ มาวางแนวทางกั้นน้ำฝนกทม.ที่เชื่อมกับปริมณฑล ต้องรู้ว่า น้ำท้ายคลองรังสิต เป็นอย่างไร ระบบวางไว้ให้แล้ว การป้องกันอยู่ที่ไหน ตรงไหนจำเป็นต้องเสริม ต้องซ่อมแซม ขณะนี้ไม่มีใครตอบได้

    00 ขณะนี้ดูเหมือนว่าระบบการบริหารจัดการและการป้องกันน้ำของแต่ละจังหวัดล้มเป็นโดมิโน

    มันต้องล้มครับ เพราะทุกแห่งสู้น้ำหมด ผมก็บอกว่าสู้ไม่ได้ทั้งหมด เพราะน้ำไม่สามารถไปอยู่ที่ที่เคยอยู่หรือที่ที่เคยรวมกองได้ มันก็สร้างตัวเองขึ้นมาเป็นระดับน้ำสูงพลังมันก็เยอะ คันทำไว้ไม่ดีก็ล้มระเนระนาดจนดูเหมือนน้ำเยอะ ทั้งๆ ที่มวลน้ำมันก็เท่าเดิม แต่ความสูงมันเยอะ แต่ทีนี้พอมาถึงกทม.มวลน้ำก็มวลเดิม แต่ความสูงไม่ได้เป็นอย่างนั้น มันแผ่กระจายลงมา สถานการณ์น้ำเป็นเรื่องที่ต้องเกาะติดเพื่อจะบอกเหตุการณ์ ว่าอะไรสำคัญที่สุด แต่ละจังหวัดที่เหตุการณ์เกิดขึ้น 10 กว่าปีไม่ใครสนใจจะแก้ปัญหาเลย ไม่มีจริง เมื่อปีกลายก็มีปัญหา ให้รวมตัวสร้างหลักคิด หลักทำ

    พระเจ้าอยู่หัวท่านก็สร้าง หลักว่า จะทำอะไรต้องเข้าใจและเข้าถึงนะ ปัญหาคือ ตอนนี้ทุกคนไม่รู้ว่าปัญหามันมาจากอะไร เพราะอะไร ธรรมชาติในแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน สภาพภูมิประเทศ ภูมิศาสตร์ แต่ละพื้นที่แต่ละลุ่มน้ำแตกต่างกัน และพฤติกรรมของน้ำในแต่ละพื้นที่ก็แตกต่างกัน งานนี้ยังไงก็ต้องมีแม่ทัพ หากไม่มีผู้บัญชาการอย่างคนที่รู้จริงๆแล้วจะแก้ปัญหาได้อย่างไร เวลานี้แก้ปัญหาเลอะเทอะสะเปะสะปะกันไปหมด

    00 รัฐบาลยังพอมีเวลาที่จะแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าหรือไม่

    ตอนนี้ทำอย่างนี้ถูกแล้ว คือ เผชิญภัย ด้วยการช่วยเหลือผู้ประชาชนไปก่อน โดยให้มหาดไทยเป็นแกน เมื่อเหตุการณ์คลี่คลายรัฐบาลต้องตั้งสติว่า ในอนาคตข้างหน้าจะทำอย่างไร ไม่ใช่คิดแบบเดิม อยากจะทำอะไรต้องตั้งงบประมาณ เสนอครม.มาทำยังนี้ไม่สำเร็จ เพราะถ้าคิดโดยไม่รู้ ก็ทำอะไรไม่สำเร็จ ผมบอกได้เลยว่า สตางค์ แก้ปัญหาไม่ได้หรอก ตอนนี้หากเขื่อนหยุดพร่องน้ำลงมาก็อาจจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น

    00 การตั้งศูนย์ปฎิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย จะช่วยแก้ปัญหาได้หรือไม่

    ดูองค์ประกอบแล้วไปไม่ได้หรอก แต่ถ้าแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการช่วยเหลือประชาชนก็พอไปได้ แต่ควรให้มหาดไทยเป็นผู้ดูแล เพราะตอนนี้งานหลัก คือ การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยส่วนกรมชลฯควรจะถอยออกมาก่อน ส่วนกรมชลจะต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องว่า สถานการณ์เป็นอย่างไร ประเมินให้เขาให้ถูก และต้องมีกระบวนการตั้งรับที่ชัดเจน คันกั้นน้ำ ที่ไหนมีจุดอ่อน ต้องสำรวจ เฝ้าระวัง วิธีการที่ดีที่สุดในเวลานี้ คือ ปกป้องไม่ให้น้ำแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าไปในเขตเศรษฐกิจ

    00 การพบปะระหว่างอดีตนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์กับยิ่งลักษณ์จะทำให้เหมือนมีการร่วมมือแก้ปัญหาหรือไม่

    แก้ปัญหาต้องดูว่าแก้ปัญหา อะไร แก้ปัญหาแบบนักการเมือง มันต้องมาแก้ปัญหาด้านเทคนิคการสู้น้ำกันก่อน ต้องเข้าใจระบบการแก้ไขปัญหาและการป้องกันของกทม. สมัยก่อนอุปกรณ์ไม่พร้อม เราก็สู้ได้ แต่ทีนี้จะสู้ไม่ได้ก็เพราะปอดแหกกัน ออกข่าวมา ระดับน้ำทะเลหนุนสูง มวลน้ำป่าสักมามากจะเกิดปัญหา พายุลูกใหม่กำลังจะเข้ามา พูดทิ้งไว้อย่างนี้ประชาชนก็กังวล

    00 แสดงว่าการแก้ไขปัญหาในอนาคตเราก็ต้องมาบริหารจัดการใหม่ โดยเฉพาะเรื่องชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม

    เราต้องเอาของจริงมาคิด ว่าตัวน้ำแต่ละปีเป็นยังไง ต้องเข้าภูมิประเทศแห่งนั้น ๆ เข้าภูมิประเทศของกทม. ทั้งฝั่งตะวันออก และตะวันตก กทม.เชื่อมกับสมุทรปราการ ออกปากอ่าว จะปกป้องกทม.ยังไงไม่ให้กระทบกับที่อื่น จะทำคันกั้นน้ำอย่างไรให้ไม่ให้กระทบถ้า อ่างทองทำคันกั้นน้ำ สิงห์บุรีทำคันกั้นน้ำ มันก็จะกระทบตลอดมาด้านล่าง กทม.เป็นพื้นที่แบนราบ ก็ต้องแยกเป็น 2 ส่วนว่า ด้านตะวันออกเป็นเขตเศรษฐกิจหรือเปล่า

    00 นักการเมืองไม่ควรเข้ามายุ่งเรื่องการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมหรือไม่

    ถ้าเป็นเรื่องเทคนิคคงต้องปล่อยให้ผู้มีความรู้เรื่องน้ำเป็นผู้ ตัดสินใจ แต่นักการเมืองต้องมาเป็นตัวช่วยในการช่วยเหลือประชาชน อนุมัติงบประมาณ พิจารณาหลักการในการแก้ไขปัญหาในครม. โดยต้องรับฟังความคิดเห็นจากนักเทคนิค แต่ขณะนี้ปัญหากลายเป็นว่าแม่ทัพน้ำในระบบราชการถูกนักการเมืองครอบงำหมด แล้ว จึงทำให้ไม่กล้าตัดสินใจทั้งที่การแก้ปัญหาอุทกภัยหรือภัยธรรมชาติ นักน้ำ ผู้เชี่ยวชาญน้ำ จะต้องเป็นผู้ควบคุมสถานการณ์หลัก

    ในหลวงเคยตรัส เมื่อปี 2533 ว่า ไม่มีใครต้องการให้เกิดภัยธรรมชาติ แต่เมื่อเกิดแล้วเราต้องเข้าใจภัยธรรมชาติ และให้ภัยธรรมชาติเป็นครูที่จะสอนเรา ซึ่งผู้ปฏิบัติหรือผู้มีหน้าที่โดยตรงต้องนำไปแปลว่าจะทำอย่างไรการแก้ไข เรื่องน้ำ จะเดาส่งแบบหมอดูไม่ได้ กรมชลประทานในฐานะนักเทคนิค จะต้องมีบทบาทในการให้ความรู้ความเข้าใจกับนักการเมืองไม่ให้ถูกครอบงำได้ โดยนักการเมืองที่เป็นรัฐบาลจะต้องเป็นฝ่ายอำนวยการมีบทบาทในการประสานเพื่อ ให้อำนวยความสะดวกให้คล่องตัว

    (ที่มา : ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (TCIJ) เผยแพร่เมื่อวันที่ 13 ต.ค. 2554)


    -http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9540000132873-

    .
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    พื้นที่ กทม.23 แห่งที่คาดว่าเสี่ยงน้ำท่วม


    พื้นที่ กทม.23 แห่งที่คาดว่าเสี่ยงน้ำท่วม (ไทยพีบีเอส)

    [​IMG]



    ศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต ระบุว่าจะมีน้ำท่วมเพิ่มใน 23 แห่งของกทม.ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า คันกั้นน้ำแตก พร้อมให้เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วม กทม.จนถึงปลายเดือนนี้

    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    แบบจำลองสถานการณ์น้ำท่วมของศูนย์การเปลี่ยน แปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต แสดงให้เห็นว่ามวลน้ำขนาดใหญ่ที่กำลังไหลอยู่ทางตอนเหนือของ กทม. ที่อาจจะเข้าท่วมพื้นที่กทม.เพิ่มขึ้นอีก 23 แห่ง ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าคันกั้นน้ำหรือพนังกันน้ำไม่สามารถกั้นน้ำ หรือคันกันน้ำแตก แต่เครื่องสูบน้ำทุกแห่ง ต้องทำงานได้จริง

    โดย ฝั่งพระนครคาดว่าจะมีน้ำท่วม 6 แห่ง ได้แก่ ดอนเมือง หลักสี่ สายไหม บางคอแหลม ยานนาวา ยานนาวา และสาธร เนื่องจากเป็นพื้นที่ต่ำ น้ำท่วมขังได้ สูงประมาณ 1-2 เมตร ส่วนใหญ่ต่ำกว่า 1 เมตร

    [​IMG]

    ส่วนฝั่งธนบุรี คาดว่าจะมีน้ำท่วม 17 แห่ง ได้แก่ ตลิ่งชัน อรุณอัมรินทร์ บางพลัด บางขุนนนท์ บางขุนศรี จอมทอง บางประกอกในเขตราษฎร์บูรณะ บางขุนเทียน บางกอกใหญ่ บางกอกน้อย ธนบุรี บางแวกในเขตภาษีเจริญ หลักสอง บางแคและบางแคเหนือ และบางบอน เนื่องจากน้ำจากจังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี อาจจะไหลบ่าล้นคันกั้นน้ำลงมาและไหลเข้าท่วมพื้นที่ได้


    ทั้งนี้ทีมข่าวไทยพีบีเอสลงพื้นที่เขตบางคอแหลม พบว่า ประชาชน ที่อาศัยอยู่ระหว่างแนวถนนเจริญกรุงกับแม่น้ำเจ้าพระยา ได้นำกระสอบทรายทำเป็นคันกั้นน้ำ ขณะที่บางคนก่อคันคอนกรีตถาวรไว้ป้องกันน้ำท่วม แม้ว่าชุมชนวัดลาดบัวขาวจะอยู่ในแนวคันกั้นน้ำถาวร แต่พบปัญหาว่ามีน้ำเอ่อล้นมาตามท่อระบายน้ำ และเข้าท่วมในบางจุดของชุมชนแห่งนี้ ซึ่งชาวชุมชนที่นี่ยังมองว่าเป็นเรื่องปกติเพราะเป็นสภาพที่เกิดขึ้นทุกปี แต่ไม่ประมาท และติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด

    ขณะ ที่เขตสาทรเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่ถูกคาดการณ์ว่าจะเกิดน้ำท่วม เนื่องจากมีพื้นที่ที่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ระยะทาง 945 เมตร ซึ่งมีบางพื้นที่ไม่มีแนวคันกั้นน้ำ จึงเป็นจุดเสี่ยงน้ำท่วม ซึ่งกระสอบทรายที่วางเป็นคันกั้นน้ำชั่วคราวซึ่งระดับเดียวกันกับคันกั้นน้ำ ถาวรของ กทม. เป็นแนวทางที่สำนักงานเขตสาทร มั่นใจว่าจะป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ได้ ขณะที่ปัจจัยของปริมาณน้ำฝน ก็เป็นสิ่งที่ทางสำนักงานเขตเป็นห่วง เพราะหากฝนตกหนักก็จะทำให้น้ำท่วมขังได้ แต่ น.ส.พรรณทิพา งามญาณ ผู้อำนวยการเขตสาทร ได้ทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่รวมถึงเตรียมแผนในการอพยพไว้แล้ว


    ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก

    [​IMG]

    -http://news.thaipbs.or.th/content/%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A123-%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1-

    -http://hilight.kapook.com/view/63840-

    .
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ดูแลสุขภาพด้วย “สมุนไพรไทย”สู้พิบัติภัยน้ำท่วม <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody> </table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr><td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">19 ตุลาคม 2554 02:19 น.</td> <td align="left" valign="middle">


    </td></tr></tbody> </table>

    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr><td class="body" align="left" valign="baseline"> นอก จากวิกฤตการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ของประเทศ กรมอุตุวิทยา แจ้งเตือนว่าฤดูหนาวในปีนี้กำลังจะเริ่มแล้ว ในช่วงกลางเดือน ต.ค. - เดือนก.พ.55 และจะมีอากาศหนาวเย็นกว่าปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะบริเวณประเทศไทยตอนบน ทำให้เราต้องเตรียมร่างกายให้พร้อมสู้โรคภัยไข้เจ็บ โดยเฉพาะโรคหวัด หรือ ไข้หวัดใหญ่ พร้อมทั้งศึกษาวิธีดูแลรักษาเบื้องต้นด้วยตนเอง และคนในครอบครัวได้ด้วยสมุนไพรไทย

    ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร จากมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระอภัยภูเบศร กล่าวว่า ทั้ง จากอุทกภัยน้ำท่วมและอากาศที่เริ่มเย็นลงในช่วงนี้ เพื่อให้ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตัวเอง โดยให้สังเกต อาการที่เกิดกับร่างกาย โรคหวัด จะมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว ไอ จาม น้ำมูกไหล อ่อนเพลีย ปวดศีรษะเล็กน้อย เบื่ออาหาร หรือ มีไข้ร่วมด้วย เรา สามารถใช้สมุนไพรไทยที่หาง่ายใกล้ตัว ดังนี้ ฟ้าทะลายโจร โดยตำรับยาไทย มีขนาด และวิธีการใช้ฟ้าทะลายโจรเพื่อการรักษา 4 วิธี คือ ยาชง ใช้ใบ 5-7 ใบ จะเป็นใบสดหรือแห้งก็ได้ แต่ใบสดจะมีสรรพคุณดีกว่า เติมน้ำเดือดลงไปจนเกือบเต็มแก้ว ปิดฝาทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมงหรือพอให้ยาอุ่นแล้วรินน้ำกิน ครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3-4 ครั้งก่อนอาหาร

    ยาต้ม ใช้ฟ้าทะลายโจรทั้งต้นและใบจำนวน 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 3-4 แก้ว ให้เดือดนาน 10-15 นาที ถ้าต้มให้เดือดไม่นานพอ ยาจะมีกลิ่นเหม็นเขียว กินยาก ควรกินยาในขณะที่น้ำยาอุ่น กินครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3-4 ครั้งก่อนอาหาร สามารถกลบรสขมได้ด้วยการกินของรสเปรี้ยว เค็มตาม

    ยาเม็ด นำมาทำเป็นยาเม็ดได้ด้วยการเด็ดใบสดมาล้างให้สะอาด ตากแดด 1-2 วัน จนใบแห้งกรอบสีเขียวเข้ม บดเป็นผงให้ละเอียด ปั้นกับน้ำผึ้งหรือน้ำเชื่อมเป็นเม็ดขนาดเท่าเม็ดถั่วเหลือง แล้วผึ่งลมให้แห้ง เพราะถ้าปั้นกินขณะที่ยังเปียกอยู่จะขมมาก กินครั้งละ 5-10 เม็ด วันละ 3-4 ครั้งก่อนอาหาร

    ยาแคปซูล ปัจจุบันเป็นที่นิยมมากเนื่องจากสะดวก ด้วยการเอาผงยาที่ได้เหมือนยาเม็ดมาปั้นเล็กๆ ใส่แคปซูลเพื่อช่วยกันรสขมของยา แคปซูลที่ใช้ ให้ใช้ขนาดเบอร์ ๐ หรือประมาณ 400-500 มิลลิกรัมของผงแห้ง กินครั้งละ 2-4 แคปซูล วันละ 3-4 ครั้งก่อนอาหาร

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td width="5">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="350"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="350"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">ขิง</td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> การใช้ฟ้าทะลายโจรที่ให้ผลดีและออกฤทธิ์ได้เร็วที่สุดในการแก้ไข้ หวัดคือถ้าเริ่มรู้สึกว่าครั่นเนื้อครั่นตัวทำท่าว่าจะเป็นไข้ ให้รีบรับประทานทันที

    ฟ้าทะลายโจรนอกจากจะมีสรรพคุณในการลดไข้ แก้หวัดแล้ว ยังเป็นสมุนไพรที่สามารถรักษาอาการท้องเสียโดยไม่ทำให้หยุดถ่ายทันทีได้ วิธีใช้คือเมื่อเริ่มมีอาการให้รีบผสมผงเกลือแร่ดื่มทันทีไม่ควรรับประทานยา แก้ท้องเสียหรือยาปฏิชีวนะ แล้วใช้ฟ้าทะลายโจรขนาด 2 กรัมต่อวันแบ่งให้ 2 ครั้ง เป็นเวลา 2 วัน ฟ้าทะลายโจรจะทำให้การขับถ่ายเป็นปกติและมีประสิทธิภาพในการรักษาดีกว่าการ ใช้ยาปฏิชีวนะ ยกเว้น ในรายที่ติดเชื้ออหิวาตกโรค ควรนำส่งโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลโดยด่วน

    ขิง สมุนไพรในครัว ก็นำมาใช้แก้หวัดได้ เราสามารถทำน้ำขิง พิชิตหวัด และแก้ไอ ตามตำรายาพื้นบ้านไทย ได้ไม่ยากนัก ด้วยการใช้ขิงแก่สดล้างสะอาดทุบให้พอบุบ โดยไม่ต้องขูดเปลือกทิ้ง ประมาณ 1 ถ้วย น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ และน้ำสะอาด 3 ลิตร ต้มให้เดือดแล้วลดไฟลง เคี่ยวด้วยไฟอ่อนไปเรื่อยๆ จนน้ำขิงกลายเป็นสีเหลือง เติมน้ำตาลหรือน้ำผึ้งตามใจชอบ เพียงเท่านี้เราก็จะได้เครื่องดื่มที่มีสรรพคุณต้านหวัดได้

    กระเทียม สมุนไพร สารพัดประโยชน์ คู่ครัวไทยอีกหนึ่งตัว เพียงรับประทานกระเทียมสดเป็นประจำสามารถป้องกันหวัดและลดระยะเวลาการเป็น หวัดได้ ในฤดูกาลที่มีการระบาดของหวัดควรรับประทานกระเทียมในรูปแบบต่างๆเป็นประจำ กระเทียมช่วยทำให้การหายใจโล่งขึ้นอีกด้วย

    ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ยังแนะนำวิธีป้องกันไม่ให้เกิดโรคหวัดอย่างง่ายๆ ด้วย การทำให้ร่างกายแข็งแรง ไม่ให้เชื้อเข้าสู่ร่างกาย ใช้ผ้าปิดปากเวลาไอจาม ล้างมือให้สะอาด ใช้ช้อนกลาง รวมทั้ง พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานเครื่องเทศที่มีรสเผ็ดร้อน สมุนไพรที่มีฤทธิ์เพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย อย่าง ตระไคร้ กระเพรา บัวบก พลูคาว หรือ หอมแดง หอมใหญ่ ผักชีฝรั่ง ใบหม่อน และใบฝรั่ง ที่อุดมด้วยสาร Queritin รวมทั้งผัก ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงๆ อย่าง มะขามป้อม มะนาว ส้ม ผลยอ หรือ ผลไม้ที่มีสีแดง เป็นสมุนไพรที่ควรจะนำมารับประทานเป็นประจำในช่วงนี้ และ ดื่มน้ำอุ่นมากๆ นอกจากนี้การออกกำลังกายสม่ำเสมอ และการได้รับแสงแดดบ้างจะช่วยเพิ่มวิตามินดี ทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทาน และภูมิคุ้มกันดีขึ้น

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td width="5">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="360"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="360"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">ยาเม็ดสมุนไพร</td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> นอกจากนี้ยังมีการใช้สมุนไพรทาภายนอก หากถูกแมลงสัตว์กัดต่อย มีอาการปวดบวมแดงร้อนบริเวณถูกกัดต่อย ควรรีบทำความสะอาด และใช้สำลีหรือผ้าก๊อซชุบน้ำสมุนไพรที่มีความเป็นกรด เช่น น้ำมะนาว น้ำส้ม มะขามเปียกโปะไว้ หรือ นำส่วนที่ถูกกัดจุ่มไว้จนกว่าจะหายปวด ซึ่งพิษของสัตว์มีพิษทุกชนิดเป็นสารพวกโปรตีนจึงถูกทำลายได้ด้วยสารที่มี ฤทธิ์เป็นกรด ซึ่งในสมัยก่อนนิยมใช้เขาสัตว์ ขนเม่น เปลือกหอย หรืออะไรที่มีแคลเซียมฝนกับน้ำมะนาว ทาบ่อยๆ หรือใช้ มะขามเปียกผสมปูนแดงเล็กน้อย ทาแปะไว้ ซึ่งหลังถูกกัดต่อยควรรีบทำทันทีก่อนที่พิษจะก่อให้เกิดการอักเสบมากขึ้น หรืออาจใช้สมุนไพรที่มีฤทธิ์ลดการอักเสบตำพอก เช่น ใบเสลดพังพอนทั้งตัวเมียและตัวผู้ ใบตำลึง ใบรางจืด ตำหรือปั่นให้ละเอียดผสมน้ำเล็กน้อยพอกไว้ หรือ สามารถใช้ใบรางจืดประมาณ 7-10 ใบต้มน้ำกิน แต่ถ้ามีอาการมากควรใช้การตำหรือปั่นใส่น้ำซาวข้าวกินด้วย เพื่อลดความรุนแรง

    สมุนไพรจำพวก ตะไคร้หอม ใบกระเพรา ใบเสลดพังพอนตัวผู้หรือตัวเมีย ตำ คั้นน้ำ หรือ นำไปตากในที่ร่มแล้วบดเป็นผง นำมาทาตัวเพื่อป้องกันยุงกัดได้ ยุง เป็นสัตว์พาหะที่มักจะมาพร้อมกับน้ำท่วมขัง หากยุงกัดเป็นตุ่ม บวม แดง ให้ใช้สมุนไพรที่มีฤทธิ์ลดการอักเสบทาบริเวณที่เป็น ที่นิยมคือ ปูนแดง ซึ่งได้จากปูนขาวผสมกับขมิ้น หรืออาจใช้ผงขมิ้นละลายน้ำ ขมิ้นเป็นสีย้อมอาจทำให้เลอะเปรอะเปื้อนเสื้อผ้าได้ เพียงเท่านี้เราก็สามารถใช้ภูมิปัญญาไทยดูแลรักษาสุขภาพของตนเองและคนในครอบ ครัวเบื้องต้นได้

    หากต้องการสอบถามเรื่องการ ใช้สมุนไพรเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร โทร 037-211-288-9 ทุกวันในเวลาราชการ</td></tr></tbody> </table>

    -http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000132997-


    .
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>ย้อนรอยน้ำท่วมกรุงเทพฯจากอดีตถึงปัจจุบัน...รัฐบาลอย่าตกใจ ประชาชนจะดูแลท่านเอง!!</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD height=40><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>19 ตุลาคม 2554 16:11 น.</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> โดย : หนุ่มลูกทุ่ง

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=450>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>น้ำท่วมบริเวณพระรูปทรงม้า(23 ต.ค. 2485)</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ณ วันนี้เวลานี้ฉันเชื่อว่าชาวกทม.ส่วนใหญ่คงเตรียมอพยพ กั้นกระสอบทราย ก่อคันปูน ขนย้ายข้าวของหนีน้ำท่วม ที่ตอนนี้ได้เริ่มไหลบ่ามาท่วมถนนพระอาทิตย์หน้าออฟฟิศของฉันแล้ว

    งานนี้พิสูจน์ให้เห็นถึงกึ๋นของรัฐบาลที่บ้อท่าอย่างชัดเจน โดยเฉพาะกับศปภ.ที่มักจะออกมาให้ข่าวทำประชาชนสับสนอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งสุดท้ายแล้วประชาชนตาดำๆอย่างเราๆท่านๆคงต้องพึ่งตัวเองเป็นดีที่สุด ต้องมีสติ ตื่นตัว แต่ไม่ตื่นตระหนก เพราะวันนี้แม้จะอยู่ในกรุงเทพฯก็มีความเสี่ยงต่อน้ำท่วมไม่แพ้กัน

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=450>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>น้ำท่วมบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย(12 ต.ค. 2485)</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> อย่างไรก็ตามหากมองจากลักษณะทางกายภาพของกรุงเทพฯ ที่เป็นพื้นที่ราบลุ่มภาคกลางริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระ กอปรกับเป็นบริเวณที่ถูกน้ำทะเลหนุน เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในจุดที่มีร่องมรสุมพาดผ่าน ทำให้นับตั้งแต่ตั้งเมืองบางกอกหรือกรุงเทพมหานครขึ้นเป็นเมืองหลวงแห่งสยามประเทศเมื่อ 200 กว่าปีที่แล้ว กรุงเทพฯได้ผ่านเหตุการณ์น้ำท่วมมาหลายครั้งหลายคราด้วยกัน

    แต่ดูเหมือนว่าเหตุการณ์น้ำท่วมในอดีตดูจะแตกต่างจากเหตุน้ำในวันนี้อย่างสิ้นเชิง เพราะในอดีตกรุงเทพฯยังเป็นเมืองที่มากมายไปด้วยแม่น้ำลำคลอง วิถีชีวิตของผู้คนผูกพันกับสายน้ำทั้งการเกษตร การสัญจร มีการใช้เรือเป็นหลักในการสัญจรไปมาและติดต่อค้าขาย

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=450>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>น้ำท่วมบริเวณสนามหลวง(13 ต.ค. 2485)</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้กรุงเทพฯมีลักษณะของความเป็น“เมืองน้ำ” จนต่างชาติยกให้กรุงเทพฯเป็นดัง “เวนิสตะวันออก” แต่เมื่อบ้านเมืองเจริญ(ทางวัตถุ)ขึ้น ผู้คนหันไปเดินตามวิถีตะวันตกมากขึ้น วิถีชีวิตของชาวกรุงเทพฯก็ค่อยๆเปลี่ยนไป เปลี่ยนจากวิถีเมืองน้ำมาเป็นวิถี“เมืองบก” ที่ยังคงอยู่ในพื้นที่รับน้ำเช่นเดิม นั่นจึงทำให้ให้บริบทของเหตุการณ์น้ำท่วมกรุงเทพฯมีความแตกต่างกันออกไปตามยุคสมัย

    สำหรับเหตุน้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพฯนั้น จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่า ได้เกิดขึ้นในทุกรัชกาล โดยมีการบันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมกรุงเทพฯครั้งแรกในสมัยพระปฐมบรมราชจักรีวงศ์ ได้แก่

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=450>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>น้ำท่วมบริเวณอนุสาวรีย์ชัย(14 ต.ค. 2485)</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> สมัยรัชกาลที่ 1 : พ.ศ.2328 ระดับน้ำที่ท้องสนามหลวงสูงถึง 8 ศอก 10 นิ้ว วัดปริมาณน้ำภายในพระบรมมหาราชวังบริเวณพื้นท้องพระโรงพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานได้ถึง 4 ศอก 8 นิ้ว
    สมัยรัชกาลที่ 2 : วันที่ 28 ต.ค. 2362 ส่งผลให้เกิดปัญหาข้าวยากหมากแพง
    สมัยรัชกาลที่ 3 : วันที่ 4 พ.ย. 2374 น้ำท่วมกรุงเทพทั่วพระนคร และมากกว่าปี 2328
    สมัยรัชกาลที่ 4 : เกิดน้ำท่วมใหญ่ 2 ครั้ง วันที่ 25 พ.ย. 2402 และ วันที่ 1 พ.ย. 2410
    สมัยรัชกาลที่ 5 : วันที่ 13 พ.ย. 2422 น้ำท่วมสูงถึงขอบประตูพิมานไชยศรี(ประตูทิศเหนือ พระบรมมหาราชวัง)
    สมัยรัชกาลที่ 6 : พ.ศ. 2460 น้ำท่วมไปถึงลานพระบรมรูปทรงม้า ถึงขั้นมีการแข่งเรือได้
    สมัยรัชกาลที่ 8 : เกิดน้ำท่วมนานถึง 2 เดือน ปริมาณน้ำมากกว่าเมื่อปี 2460 เกือบเท่าตัว และในปี 2485 ตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน น้ำท่วมบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า สูงถึง 1.50 ม. และท่วมนานถึง 3 เดือน รวมถึงพื้นที่สำคัญๆอีกหลายแห่งเช่น สถานีรถไฟหัวลำโพง ถ.เยาวราช อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ภูเขาทอง ถ.ราชดำเนิน อนุสาวรย์ชัยสมรภูมิ พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นต้น นับเป็นเหตุการณ์น้ำท่วมที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ ก่อนที่จะมีการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่อย่างเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ เพื่อมากักเก็บน้ำ

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=450>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>น้ำท่วมบริเวณหัวลำโพง(17 ต.ค. 2485)</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> มาในสมัยรัชกาลปัจจุบัน น้ำท่วมยังคงเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติซึ่งสร้างความเดือดร้อนแก่ชาวกรุงเทพฯอย่างต่อเนื่อง

    ในพ.ศ.2518 : พายุดีเปรสชั่นได้พาดผ่านตอนบนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้มีปริมาณน้ำสูงทางภาคกลางตอนบน จนเป็นเหตุให้น้ำไหลทะลักเข้าท่วมกรุงเทพฯ

    พ.ศ.2521 : พายุลูกใหญ่ 2 ลูก คือ "เบส" และ "คิท" ได้พาดผ่านพื้นที่ตอนบนลุ่มน้ำปริมาณสูง รวมไปถึงปริมาณน้ำจากแม่น้ำป่าสักไหลบ่าเข้าท่วมเป็นจำนวนมาก ทำให้ด้านตะวันออกของกรุงเทพฯถูกน้ำท่วมไปโดยปริยาย

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=450>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ผู้คนในนวนครอพยพหลังน้ำเข้าท่วมหนัก(18 ต.ค. 54)</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> พ.ศ.2523 : ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ทวีระดับความสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนที่สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ 2.00 ม. ระดับน้ำสูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 2 ม. ประกอบกับมีฝนตกในพื้นที่กรุงเทพฯถึง 4 วัน 4 คืน ทำให้เกิดน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่

    พ.ศ.2526 : พายุหลายลูกพัดผ่านเข้าภาคเหนือ และภาคกลางในช่วงก.ย. - ต.ค. ทำให้น้ำท่วมในครั้งนี้ถือว่ารุนแรงมากอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งวัดปริมาณฝนตลอดทั้งปีได้ 2,119 มม. จากค่าฝนเกณฑ์เฉลี่ยอยู่ที่ 1,200 มม. ส่งผลให้พื้นที่ส่วนใหญ่ของกรุงเทพฯและปริมณฑล น้ำท่วมเป็นเวลานานที่สุดถึง 4 เดือน

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=450>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสวนสันติฯมองดูคล้ายทะเล(19 ต.ค. 54)</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> พ.ศ.2529 : ฝนตกหนักติดต่อกันหลายวันที่กรุงเทพฯในหลายพื้นที่ ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน โดยเฉพาะที่เขตราษฎร์บูรณะ ถ.วิภาวดีตั้งแต่ช่วงสะพานลอยเกษตรเข้าไป ย่านถ.สุขุมวิท ย่านรามคำแหง ย่านบางนา ทำให้การจราจรติดขัดมาก แต่อย่างไรก็ดีในครั้งนั้นอยู่ในช่วงที่น้ำทะเลไม่ได้หนุน ทำให้มีการระบายน้ำออกเป็นไปอย่างรวดเร็ว

    พ.ศ.2533 : เดือนตุลาคม พายุโซนร้อน "อีรา" และ "โลล่า" ได้พัดผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ทำให้ฝนตกหนักที่กรุงเทพฯถึง 617 มม. ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขังสูงประมาณ 30-60 ซม. ในหลายพื้นที่ ทั้งบริเวณเขตมีนบุรี, หนองจอก, บางเขน, ดอนเมือง, บางกะปิ, พระโขนง, ลาดกระบัง, ลาดพร้าว, บึงกุ่ม และปริมณฑล โดยน้ำท่วมขังเป็นเวลานานกว่า 1 เดือน

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=450>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ระดับน้ำบริเวณถ.วิภาวดีหน้าห้างฟิวเจอร์ (18 ต.ค. 54)</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> พ.ศ.2537 : พายุฝนฤดูร้อน ถล่มกรุงเทพฯและปริมณฑล ในเดือนพฤษภาคม โดยเฉลี่ยในทั่วเขตกรุงเทพฯมีปริมาณน้ำฝน 200 มม. ถือว่ามากที่สุดในประวัติการณ์ จนเรียกได้ว่าเป็น “ฝนพันปี” ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันที่บริเวณถ.จันทร์ เขตยานนาวา ถ.พหลโยธิน ตั้งแต่ย่านสะพานควาย ถ.ประดิพัทธ์ สวนจตุจักร ถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซ.สุทธิสารตลอดทั้งซอย รวมไปถึงถ.วิภาวดีรังสิตและรัชดาภิเษก ถ.ลาดพร้าว ถ.สุขุมวิท ตั้งแต่ย่านพระโขนง จนถึงอ.สำโรง สมุทรปราการ ส่วนถ.สาธร โดยเฉพาะซ.เซ็นต์หลุยส์ มีน้ำท่วมขังมากที่สุดประมาณ 50 ซม. ส่งผลให้การจราจรเป็นอัมพาต เกิดไฟฟ้าดับหลายจุด สร้างความเดือดร้อนทั่วทุกพื้นที่

    พ.ศ.2538 : เกิดน้ำท่วมใหญ่อีกครั้ง โดยพายุหลายลูกได้พัดผ่านทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะพายุโอลิส ที่ถล่มกระหน่ำทำให้เกิดในตกหนักอย่างต่อเนื่องหลายวัน วัดปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อวันที่เมื่อวันที่ 27 ต.ค. ได้สูงถึง 2.27 ม. เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งถือว่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ (เท่าน้ำท่วมปี 2485) ทำให้คันกั้นน้ำริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาถูกน้ำทะลักเข้าท่วมพื้นที่อย่างหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝั่งธนบุรีระดับความสูงถึง 1 ม. รวมระยะเวลาน้ำท่วมประมาณ 2 เดือน การคมนาคมเป็นไปอย่างยากลำบากต้องอาศัยเรือในการเดินทาง เพราะเกือบจะทั่วทุกพื้นที่กลายเป็นคลองไปหมด อีกทั้งยังมีน้ำเหนือหลากเข้าท่วมพื้นที่จังหวัดโดยรอบอีกด้วย

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=450>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ถนนกลายเป็นที่สัญจรทั้งรถและเรือในย่านบางบัวทอง(19 ต.ค. 54)</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> พ.ศ.2539 : มีฝนตกหนักในภาคเหนือ และภาคกลาง ในช่วง พ.ย.ทำให้ระดับน้ำสูงล้นแนวป้องกันน้ำท่วมเข้าท่วมพื้นที่ริมแม่น้ำฝั่งธนบุรี บริเวณ ถ.จรัญสนิทวงศ์ ถ.เจริญนคร ฝั่งพระนคร บริเวณ ถ.สามเสน ถ.พระอาทิตย์ ซึ่งน้ำได้ท่วมขังกินระยะเวลานาน 2 เดือน

    พ.ศ.2549 : เกิดอุทกภัยใน 47 จังหวัด ทั่วประเทศ ส่งผลให้หลายพื้นที่มีสภาพน้ำท่วมขัง ประกอบกับมีการผันน้ำเข้าเก็บกักเอาไว้ในพื้นที่ว่างเพื่อบรรเทาปัญหาน้ำ ท่วมโดยเฉพาะพื้นที่การเกษตรในหลายจังหวัดภาคกลาง แต่เมื่อจังหวัดนั้นๆไม่สามารถรับนํ้าได้ไหว นํ้าจึงไหลเข้าท่วมขังที่กรุงเทพฯ เกือบ 1 ม. นานกว่าสัปดาห์

    และในพ.ศ.2554 นี้ ถึงแม้ว่าน้ำจะยังไม่ทะลักเข้าท่วมกรุงเทพฯ แต่มีความเป็นไปได้สูงว่ากรุงเทพฯจะประสบปัญหาน้ำท่วม และอาจรุนแรงเทียบเท่าปี 2538 เลยก็ว่าได้ เพราะพื้นที่โดยรอบกรุงเวลานี้ได้จมอยู่ใต้น้ำกันหมดแล้ว เราๆชาวกรุงก็ต้องลุ้นกับอย่างอกสั่นขวัญแขวนกันว่ารัฐบาลชุดนี้จะจัดการกับวิกฤตอุทกภัยนี้อย่างไร อย่าดีแต่แถลงข่าวสร้างความสับสนให้ประชาชน จนประชาชนชาวไซเบอร์ต้องออกมาบอกว่า “รัฐบาลอย่าตกใจ ขอให้มีสติ ประชาชนจะดูแลท่านเอง!!”

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=450>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>น้ำทะลักท่วมถ.พระอาทิตย์(19 ต.ค. 54)</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    ข้อมูลของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(18 ต.ค. 54) มีผู้เสียชีวิต 315 ราย สูญหาย 3 คน กระทบ 62 จังหวัด 621 อําเภอ ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 2,742,310 ครัวเรือน 8,795,516 คน

    สภาวะระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณหน้ากองบัญชาการกองทัพเรือ โดยกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ในวันนี้ (19 ต.ค. 54) น้ำขึ้น 2 ครั้ง ในเวลา 13.02 น. คาดว่าจะสูงกว่าระดับทะเลปานกลาง 2.03 ม. และในเวลา 20.19 น. คาดว่าจะสูงกว่าระดับทะเลปานกลาง 1.96 ม. และจากปริมาณการระบายน้ำในปัจจุบัน คาดว่าในช่วงน้ำทะเลหนุนสูงในวันที่ 27-30 ต.ค. 54 จะสูงกว่าระดับทะเลปานกลางประมาณ 2.30-2.35 ม. ซึ่งระดับน้ำยังคงต่ำกว่าสันเขื่อนกันน้ำกรุงเทพมหานคร ซึ่งสูงกว่าระดับทะเลปานกลาง 2.50 ม.

    HotLine สายด่วนน้ำท่วม
    สำนักนายกรัฐมนตรี โทร.1111
    สายด่วน ปภ. (กรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย) โทร.1784
    บริการแพทย์ฉุกเฉิน และนำส่งโรงพยาบาล ฟรี โทร.1669
    ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท โทร.1146
    ตำรวจทางหลวง สอบถามเส้นทางน้ำท่วม ได้ตลอด 24 ชั่วโมง โทร.1193
    การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร.1690
    สายด่วน กฟภ. โทร.1129
    ท่าอากาศยานไทย โทร.0-2535-1111
    ศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ โทร.0-2243-6956
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>


    -http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9540000133431-

    .
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    บทสัมภาษณ์ ปราโมทย์ ไม้กลัด ไขแนวทางแก้วิกฤติน้ำท่วม กทม.

    -http://hilight.kapook.com/view/63862-




    [​IMG]

    [​IMG]



    จากสถานการณ์น้ำท่วมที่นับวันจะทวีความรุนแรงและขยายวงกว้างไปยังพื้นที่ต่าง ๆ และล่าสุด จังหวัดบ้านใกล้เรือนเคียง กทม. อย่างจังหวัดปทุมธานีก็ถูกน้ำไหลบ่าเข้าท่วมไปเรียบร้อยแล้ว คน กทม. จึงเกิดคำถามที่มาพร้อมกับความหวาดวิตกว่า แล้วน้ำเหล่านี้จะทะลักเข้าท่วมกทม.หรือไม่ หรือ สถานการณ์น้ำตอนนี้เป็นอย่างไร และคำถามอีกมากมายที่ประชาชนชาวกทม. ต้องการคำตอบก่อนที่จะเกิดความตื่นตระหนกไปกว่านี้

    ในวันนี้ เรามีบทสัมภาษณ์ของ คุณปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทาน ที่ได้ให้สัมภาษณ์ไปเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม เกี่ยวกับการประเมินสถานการณ์น้ำใน กทม. ว่าจะรุนแรงอย่างที่หลายฝ่ายวิตกหรือไม่ จากเว็บไซต์ ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง มาให้ได้อ่านกัน ซึ่งบทสัมภาษณ์ดังกล่าวคงช่วยไขความกระจ่างในวิกฤตการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้ พร้อมทั้งไขข้อข้องใจให้กับชาว กทม. ทั้งหลายได้ไม่น้อยเลยทีเดียว

    [​IMG] อยากให้อาจารย์ประเมินสถานการณ์น้ำใน กทม. จะรุนแรงอย่างที่หลายฝ่ายวิตกหรือไม่

    ปริมาณน้ำทีไหลผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาผ่านกรมชลประทาน ผ่านสะพานพระพุทธยอดฟ้าขณะนี้เป็นกรณีเหมือนที่เคยเกิดในอดีต เป็นปกติไม่ได้มากมายชนิดที่จะต้องหวาดวิตก หากดูปริมาณน้ำที่ไหลผ่านเขื่อนบางไทรซึ่งเป็นต้นทางที่จะเข้า จ.ปทุมธานี นนทบุรีและกรุงเทพก็ไม่ได้มีแนวโน้มที่จะแปรผันอย่างวิปริต แล้วน้ำที่ไหลจากเจ้าพระยาที่จะเข้ากรุงเทพก็ไม่ได้ไหลพรวดพราด เหมือนน้ำที่ นครสวรรค์ และอยุธยา ระดับจะค่อยๆเปลี่ยนไป ปริมาณจะค่อยๆเปลี่ยนไป

    เวลานี้เราต้องดูระดับน้ำที่ผ่านสะพานพระพุทธยอดฟ้าว่าก็ตรวจวัดกันทุกวัน ในช่วงที่จะขึ้นสูงสุดทุกวัน ซึ่งระดับน้ำตรงนี้จะเปลี่ยนแปลงทุกวัน หากมีน้ำทะเลหนุนสูงก็จะมีช่วง 14-15 ตุลาคม ซึ่งน้ำทะเล จะหนุนสูงที่ป้อมพระจุลจอมเกล้าที่สันดอน ที่ช่วงนี้จะหนุนสูงกว่าปกติประมาณ 20เซนติเมตร ระดับความสูงจะค่อยๆเรียงลงมา ระดับอาจจะขึ้นสูงสุดในวันที่ 15 ตุลาคม (วันที่ 19 ตุลาคม ระดับน้ำทะเลหนุนสูงเวลา 13.02 น. ระดับ +1.00 ม.รทก. และเวลา 20.19 น. ระดับ +0.93 ม.รทก. อ้างอิงจาก ศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วม กรุงเทพมหานคร ประจำวันที่ 19 ตุลาคม 2554 เวลา 06.00 น.)


    [​IMG] แสดงว่าปริมาณน้ำในขณะนี้ไม่น่าวิตกและไม่จำเป็นต้องประกาศแผนฉุกเฉิน

    วิเคราะห์ตัวเลขแล้วไม่เห็นจะน่าวิตกเลย และตัวเลขแบบนี้ก็ไม่จำเป็นต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน เพราะเมื่อก่อนยิ่งกว่านี้อีก การประกาศภาวะฉุกเฉินต้องหมายความว่ากทม.ล้มระเนระนาด เอาไม่อยู่ ผมก็สงสัยว่าเอาไม่อยู่คืออะไร ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม .และผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ กทม. ก็ยืนยันมาโดยตลอดว่า คันกั้นน้ำของเขาระดับที่กทม.ที่สะพานพระพุทธยอดฟ้าสูง 2.50เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง แล้วขึ้นเรื่อยไปที่ปทุมธานีและนนทบุรี แล้วยังไงต่อ จะบอกไม่แน่ใจไม่ได้ เพราะการจัดการน้ำไม่ใช่เรื่องของปีนี้ปีเดียว



    [​IMG]


    [​IMG] พายุบันยังที่กำลังจะมาทำให้คาดเดาปริมาณฝนเพิ่มขึ้นหรือไม่

    ยังไม่มาหรอก พายุจะเข้าหรือไม่ยังไม่ทราบ มันอยู่ไกลตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะมินดาเนา และเวียดนามอาจต้องรับเคราะห์ก่อนเรา ทิศทางของพายุเราจะโดนแค่หางๆ อาจจะผ่านภาคกลางหรือ กทม. ฝนตกตรงๆคงจะไม่เข้าไปที่ภาคเหนือแน่นอน เพราะร่องความกดอากาศมันเปลี่ยน ทิศทางเกิดในละติจูด 5 องศา ใกล้กับแนวศูนย์สูตรแล้ว แต่ตรงนี้จะทำให้เกิดฝนตก น้ำขัง ล้อมรอบสนามบินหนองงูเห่า ซึ่งขังก็ต้องสูบออกในพื้นที่ภาคตะวันออกนอกคันกั้นน้ำจะเกิดน้ำขัง ตั้งแต่เขต มีนบุรี หนองจอก ลาดกระบัง บึงกุ่ม พื้นที่พวกนี้จะเกิดน้ำขัง

    ซึ่งต้องเข้าใจว่า น้ำฝนขังมันคนละน้ำกับแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งอาจจะทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเปลี่ยนแปลงนิดหน่อย เพราะฝนตกแผ่กระจายลงไปในทุ่ง ตกในกทม.ก็จะไม่ออกแม่น้ำ เพราะน้ำเยอะ ก็ต้องเกิดน้ำท่วมขัง กทม.ก็ต้องสูบออก มันแยกน้ำกันอยู่ในตัวแล้ว

    น้ำแม่น้ำเจ้าพระยาจะมาจากอยุธยา สิงห์บุรี อ่างทอง ฝนตกในภาคกลางจะตกอยู่ในพื้นที่รวมกอง ทำให้มีน้ำขัง ออกเจ้าพระยาไม่ได้ เพราะเจ้าพระยาสูง และเหตุการณ์ที่จะเกิดไม่ใช่ 2-3วันนี้ แต่อีก 7วันข้างแน่นอน แต่ถ้าพายุมาเวียดนามจะต้องรับเคราะห์ก่อนไทย ดังนั้นการแก้ปัญหาต้องมีสติแยกน้ำให้ออก ผมไม่กลัวหรอกหากฝนตกตรงๆในพื้นที่ขัง มันสูบออกได้ น้ำที่ผ่านกทม.เป็นน้ำข้างบนจากแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน อย่างเดียว ซึ่งยังไม่เคลื่อนลงมาเต็มๆ มันยังไม่รวมตัวเป็นจุดใหญ่ทีเดียวที่นครสวรรค์ ที่ต้องจับตาคือ แม่น้ำปิง ซึ่งเป็นสายน้ำที่แปรผัน เนื่องจากฝนตกที่ จ.กำเพชร ตาก

    เวลานี้มวลน้ำแม่น้ำปิงกำลังเคลื่อนย้ายมานครสวรรค์ ผมก็ตรวจสอบปริมาณน้ำที่นครสวรรค์ทุกชั่วโมง มันไม่มีขยับยังคงที่ 4,000ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แม่น้ำปิงมวลใหญ่มาก็ต้องขยับ แต่ตรงนี้อย่างนำไปโยงกับเขื่อนคันกั้นน้ำที่นครสวรรค์แตก เราต้องดูตัวมวลน้ำว่ามันขยับขึ้นหรือไม่ เป็น 4,600 -4,700ลูกบาศก์เมตร ต่อวินาที ก็ลงมาที่เขื่อนชัยนาท ซึ่งคงที่มาหลายวันที่ระดับ 3,640ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที นี่คือมวลน้ำที่จะเข้ามาต่อเนื่องที่กทม.และมวลนี้จะมาสมทบกับแม่น้ำป่าสักตอนล่าง แม่น้ำป่าสักถ้าพายุไม่เข้าปริมาณน้ำก็ลงลงทุกวัน น้ำมวลนี้ไปไหนไม่ได้ ก่อนที่มากรุงเทพ ถึงเขื่อนเจ้าพระยา เขาก็แจกมาข้างๆลง ท่าจีน บางปะกง ก็เหลือผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาในระดับคงที่


    [​IMG] ถ้าระดับน้ำไม่น่าวิตกเหตุใดประชาชนจึงแตกตื่นมาก

    ปัญหาหลักเกิดจากพื้นที่ 3จุดใหญ่ ๆ นครสวรรค์ ลพบุรี อยุธยา ระเบิดเอาไม่อยู่ คันกั้นน้ำพัง ก็เลยมาวาดภาพว่ากทม.คงจะเหมือนกัน ผมก็บอกหลายครั้งแล้วว่าไม่เหมือนมันคนละพฤติกรรมน้ำและคนละพฤติกรรมพื้นที่ บ้านหมี่ ท่าวุ้ง ลพบุรี พื้นที่เป็นท้องกะทะใหญ่ มีคันกั้นน้ำสู้ แต่ประตูระบายน้ำคันมันขาด ทำมาเป็น 10 ปีแล้ว



    [​IMG]


    [​IMG] ทำไมรัฐบาลจึงไม่อธิบายให้ประชาชนเข้าใจเหมือนอย่างที่อาจารย์กำลังอธิบาย

    ผมก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่า กรมชลประทานไปไหนหมด ทำไมไม่พูด ธรรมดาเวลาเกิดเหตุการณ์วิกฤติอย่างนี้ต้องมีแม่ทัพน้ำ คอยบัญชาเหตุการณ์วิกฤติทั้งเรื่องน้ำและที่กั้นน้ำ จะมาบอกที่โน่นที่นี่พังของประชาชนพังก็ต้องบอก ว่าที่พังของประชาชน กทม.ต้องตรวจสอบระบบคันกั้นน้ำของตัวเองว่าอยู่ดีหรือไม่ ก็ไม่พูด ผู้ว่าฯกทม.บอกว่า แข็งแรงๆ ก็ต้องกล้าฟันธง และต้องเชื่อมโยงไปที่นนทบุรี ปทุมธานีด้วยว่าสภาพคันน้ำน้ำยังดีอยู่หรือไม่ แข็งแรงหรือไม่ ตอนนี้ใครเป็นแม่ทัพน้ำ

    ในยุคก่อน ผู้หลักผู้ใหญ่ของกรมชลประทานจะมาบัญชาการเอง เพราะรู้เรื่องน้ำดีที่สุด แต่เวลานี้ไม่รู้อะไร และทำอะไรไม่ได้ นอกจากสู้ ก็ต้องถามว่าจะสู้หรือไม่ สู้ก็ต้องถามว่าสู้อย่างไร ทำไมไม่เอาเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ มาวางแนวทางกั้นน้ำฝนกทม.ที่เชื่อมกับปริมณฑล ต้องรู้ว่า น้ำท้ายคลองรังสิต เป็นอย่างไร ระบบวางไว้ให้แล้ว การป้องกันอยู่ที่ไหน ตรงไหนจำไหนต้องเสริม ต้องซ่อมแซม ขณะนี้ไม่มีใครตอบได้


    [​IMG] ขณะนี้ดูเหมือนว่าระบบการบริหารจัดการและการป้องกันน้ำของแต่ละจังหวัดล้มเป็นโดมิโน

    มันต้องล้มครับ เพราะทุกแห่งสู้น้ำหมด ผมก็บอกว่าสู้ไม่ได้ทั้งหมด เพราะน้ำไม่สามารถไปอยู่ที่ที่เคยอยู่หรือที่ที่เคยรวมกองได้ มันก็สร้างตัวเองขึ้นมาเป็นระดับน้ำสูงพลังมันก็เยอะ คันทำไว้ไม่ดีก็ล้มระเนระนาดจนดูเหมือนน้ำเยอะทั้งๆที่มวลน้ำมันก็เท่าเดิม แต่ความสูงมันเยอะ แต่ทีนี้พอมาถึงกทม.มวลน้ำก็มวลเดิม แต่ความสูงไม่ได้เป็นอย่างนั้น มันแผ่กระจายลงมา สถานการณ์น้ำเป็นเรื่องที่ต้องเกาะติดเพื่อจะบอกเหตุการณ์ ว่าอะไรสำคัญที่สุด แต่ละจังหวัดที่เหตุการณ์เกิดขึ้น 10กว่าปีไม่ใครสนใจจะแก้ปัญหาเลย ไม่มีจริง เมื่อปีกลายก็มีปัญหา ให้รวมตัวสร้างหลักคิด หลักทำ

    พระเจ้าอยู่หัวท่านก็สร้างหลักว่า จะทำอะไรต้องเข้าใจและเข้าถึงนะ ปัญหาคือ ตอนนี้ทุกคนไม่รู้ว่าปัญหามันมาจากอะไร เพราะอะไร ธรรมชาติในแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน สภาพภูมิประเทศ ภูมิศาสตร์ แต่ละพื้นที่แต่ละลุ่มน้ำแตกต่างกัน และพฤติกรรมของน้ำในแต่ละพื้นที่ก็แตกต่างกัน งานนี้ยังไงก็ต้องมีแม่ทัพ หากไม่มีผู้บัญชาการอย่างคนที่รู้จริงๆแล้วจะแก้ปัญหาได้อย่างไร เวลานี้แก้ปัญหาเลอะเทอะสะเปะสะปะกันไปหมด


    [​IMG] รัฐบาลยังพอมีเวลาที่จะแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าหรือไม่

    ตอนนี้ทำอย่างนี้ถูกแล้ว คือ เผชิญภัย ด้วยการช่วยเหลือผู้ประชาชนไปก่อน โดยให้มหาดไทยเป็นแกน เมื่อเหตุการณ์คลี่คลายรัฐบาลต้องตั้งสติว่า ในอนาคตข้างหน้าจะทำอย่างไร ไม่ใช่คิดแบบเดิม อยากจะทำอะไรต้องตั้งงบประมาณ เสนอครม.มาทำยังนี้ไม่สำเร็จ เพราะถ้าคิดโดยไม่รู้ ก็ทำอะไรไม่สำเร็จ ผมบอกได้เลยว่า สตางค์ แก้ปัญหาไม่ได้หรอก ตอนนี้หากเขื่อนหยุดพร่องน้ำลงมาก็อาจจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น


    [​IMG] การตั้งศูนย์ปฎิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย จะช่วยแก้ปัญหาได้หรือไม่

    ดูองค์ประกอบแล้วไปไม่ได้หรอก แต่ถ้าแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการช่วยเหลือประชาชนก็พอไปได้ แต่ควรให้มหาดไทยเป็นผู้ดูแล เพราะตอนนี้งานหลัก คือ การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยส่วนกรมชลฯควรจะถอยออกมาก่อน ส่วนกรมชลจะต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องว่า สถานการณ์เป็นอย่างไร ประเมินให้เขาให้ถูก และต้องมีกระบวนการตั้งรับที่ชัดเจน คันกั้นน้ำ ที่ไหนมีจุดอ่อน ต้องสำรวจ เฝ้าระวัง วิธีการที่ดีที่สุดในเวลานี้ คือ ปกป้องไม่ให้น้ำแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าไปในเขตเศรษฐกิจ



    [​IMG]


    [​IMG] การพบปะระหว่างอดีตนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์กับยิ่งลักษณ์จะทำให้เหมือนมีการร่วมมือแก้ปัญหาหรือไม่

    แก้ปัญหาต้องดูว่าแก้ปัญหาอะไร แก้ปัญหาแบบนักการเมือง มันต้องมาแก้ปัญหาด้านเทคนิคการสู้น้ำกันก่อน ต้องเข้าใจระบบการแก้ไขปัญหาและการป้องกันของกทม. สมัยก่อนอุปกรณ์ไม่พร้อม เราก็สู้ได้ แต่ทีนี้จะสู้ไม่ได้ก็เพราะปอดแหกกัน ออกข่าวมา ระดับน้ำทะเลหนุนสูง มวลน้ำป่าสักมามากจะเกิดปัญหา พายุลูกใหม่กำลังจะเข้ามา พูดทิ้งไว้อย่างนี้ประชาชนก็กังวล


    [​IMG] แสดงว่าการแก้ไขปัญหาในอนาคตเราก็ต้องมาบริหารจัดการใหม่ โดยเฉพาะเรื่องชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม

    เราต้องเอาของจริงมาคิด ว่าตัวน้ำแต่ละปีเป็นยังไง ต้องเข้าภูมิประเทศแห่งนั้น ๆ เข้าภูมิประเทศของกทม. ทั้งฝั่งตะวันออก และตะวันตก กทม.เชื่อมกับสมุทรปราการ ออกปากอ่าว จะปกป้องกทม.ยังไงไม่ให้กระทบกับที่อื่น จะทำคันกั้นน้ำอย่างไรให้ไม่ให้กระทบถ้า อ่างทองทำคันกั้นน้ำ สิงห์บุรีทำคันกั้นน้ำ มันก็จะกระทบตลอดมาด้านล้าง กทม.เป็นพื้นที่แบนราบ ก็ต้องแยกเป็น 2ส่วนว่า ด้านตะวันออกเป็นเขตเศรษฐกิจหรือเปล่า


    [​IMG] นักการเมืองไม่ควรเข้ามายุ่งเรื่องการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมหรือไม่

    ถ้าเป็นเรื่องเทคนิคคงต้องปล่อยให้ผู้มีความรู้เรื่องน้ำเป็นผู้ตัดสินใจ แต่นักการเมืองต้องมาเป็นตัวช่วยในการช่วยเหลือประชาชน อนุมัติงบประมาณ พิจารณาหลักการในการแก้ไขปัญหาในครม. โดยต้องรับฟังความคิดเห็นจากนักเทคนิค แต่ขณะนี้ปัญหากลายเป็นว่าแม่ทัพน้ำในระบบราชการถูกนักการเมืองครอบงำหมดแล้ว จึงทำให้ไม่กล้าตัดสินใจทั้งที่การแก้ปัญหาอุทกภัยหรือภัยธรรมชาติ นักน้ำ ผู้เชี่ยวชาญน้ำ จะต้องเป็นผู้ควบคุมสถานการณ์หลัก

    ในหลวงเคยตรัส เมื่อปี 2533 ว่า ไม่มีใครต้องการให้เกิดภัยธรรมชาติ แต่เมื่อเกิดแล้วเราต้องเข้าใจภัยธรรมชาติ และให้ภัยธรรมชาติเป็นครูที่จะสอนเรา ซึ่งผู้ปฏิบัติหรือผู้มีหน้าที่โดยตรงต้องนำไปแปลว่าจะทำอย่างไรการแก้ไขเรื่องน้ำ จะเดาส่งแบบหมอดูไม่ได้ กรมชลประทานในฐานะนักเทคนิค จะต้องมีบทบาทในการให้ความรู้ความเข้าใจกับนักการเมืองครอบงำได้ โดยนักการเมืองที่เป็นรัฐบาลจะต้องเป็นฝ่ายอำนวยการมีบทบาทในการประสานเพื่อให้อำนวยความสะดวกให้คล่องตัว


    ขอขอบคุณข้อมูลจาก -http://www.tcijthai.com/interview-piece/902-

    [​IMG]




    .
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    แถลงการณ์ฉบับที่ 1 โดย Thaiflood.com




    [​IMG]
    (คลิกที่ภาพ เพื่อดูภาพขนาดใหญ่)


    แถลงการณ์ฉบับที่ 1 โดยศูนย์ข้อมูลเพื่อการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย - Thaiflood.com

    แถลงการณ์นี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ชาวกรุงเทพเตรียมรับมือสถานการณ์ในอีก 24 ชั่วโมง (ช่วยบอกต่อให้ได้มากที่สุด)

    1. เฝ้าระวังระดับน้ำที่ปากเกร็ด หากยกตัวขึ้นสูงผิดปกติ ให้เร่งเตือนชุมชนริมฝั่งเจ้าพระยาตลอดสายลงมา

    2. ชุมชนรังสิต คลอง 2-6 ทั้งนอกและในคันกั้นน้ำ ให้รีบยกของขึ้นชั้นสองทันที เฝ้าระวังจุดนี้เป็นพิเศษ

    3. ขอเรียกร้องให้รัฐบาลรีบเปิดประตูระบายน้ำทุกคลองรังสิต ทำตอนนี้ยังไม่สาย ชุมชนริมคลองจะได้รับผลกระทบบ้าง

    4. ขอให้รัฐบาลเปลี่ยนยุทธศาสตร์ใหม่ บอกความจริงทั้งหมดกับประชาชนเพื่อเฉลี่ยทุกข์สุข เราจะผ่านเรื่องนี้ไปด้วยกันได้

    5. รอฟังรายงานสถานการณ์ฉบับเต็มจากเครือข่ายภาคประชาชนได้ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส คืนนี้ เวลาประมาณ 22.00 น.

    ประกาศ ณ วันที่ 19 ต.ค. 2554 เวลา 14.40 น.



    -http://hilight.kapook.com/view/63875-



    .
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    รศ.ดร.เสรี ยัน กทม.รอดแน่ หากคันกั้นน้ำไม่มีปัญหา

    [​IMG]


    [​IMG]


    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

    ขอขอบคุณจาก Youtube.com โพสต์โดย thaitvnewstube

    เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผอ.ศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และผอ.ศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งเป็นหนึ่งในวิศวกรผู้เชี่ยวชาญภัยพิบัติอันดับต้น ๆ ของเมืองไทย ได้ออกมาวิเคราะห์สถานการณ์น้ำท่วมผ่านสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส โดยชี้แจงว่า

    ขณะนี้ น้ำที่เข้าท่วมนวนครกำลังหลากมาด้านล่าง หากยังไม่สามารถกู้สถานการณ์ได้น้ำจะเต็มนวนครทั้ง 6,000 ไร่ ความสูงประมาณ 1.5 เมตร โดยคันกั้นน้ำที่เป็นถนนทั้งสองฝั่งสายเอเชียและคลองเปรมจะตีบลงเรื่อย ๆ ทำให้น้ำมาเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งประมาณวันที่ 20 ตุลาคม น้ำจะเข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และจะเข้าหมู่บ้านรัตนโกสินทร์ในวันที่ 23 ตุลาคม โดยมีระดับความสูงของน้ำประมาณ 1 เมตร ดังนั้น ขณะนี้ทุกบ้านต้องเตรียมการ ยกทรัพย์สินอยู่ในที่สูง และย้ายรถไปไว้ที่สูง

    สำหรับการประเมินสถานการณ์น้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้นในเขตกรุงเทพฯ นั้น รศ.ดร.เสรี กล่าวว่า กทม.ต้องเผชิญความเสี่ยงสูงต่อเนื่องไปอีก 10 วัน โดยขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงเร่งระบายน้ำ ซึ่งทางนครสวรรค์มีระดับน้ำลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจน ประกอบกับช่วงนี้ประเทศไทยมีร่องความกดอากาศสูงพัดผ่านเข้ามาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งก็หมายความว่า จะไม่มีฝนตกหนักอีก และอากาศจะหนาวขึ้น แต่ทั้งนี้ กทม.ก็ยังต้องเฝ้าระวังต่อไป เนื่องจากน้ำทะเลจะหนุนสูงขึ้นอีกครั้งอีกครั้งในวันที่ 27-31 ตุลาคมนี้

    ส่วนปทุมธานียังคงวิกฤติเนื่องจากมีพนังกั้นน้ำแตกหลายจุดด้วยกัน จึงทำให้คลองรังสิตรับภาระอย่างหนัก ดังนั้นขณะนี้ต้องเร่งระดมเครื่องสูบน้ำเพื่อผันลงจ.นครนายก ทั้งนี้ ต้องรักษาคันกั้นน้ำของคลองรังสิตเอาไว้ให้ได้ เนื่องจากเป็นด่านปราการสุดท้ายก่อนที่น้ำจะเข้าสู่กรุงเทพฯ ประกอบกับคันกั้นน้ำกทม. 2.50 เมตรของกทม. หากรับมือไหว กรุงเทพฯ ชั้นในก็จะปลอดภัย

    ขณะที่จังหวัดนนทบุรี ซึ่งบริเวณบางบัวทองได้เกิดน้ำท่วมอย่างหนัก และน้ำก้อนนี้จะเข้าไปที่ลาดหลุมแก้ว ไทรน้อย บางเลน และลงมาที่แม่น้ำท่าจีน จุดนี้ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงสำหรับ กทม.มากเช่นกัน เพราะคลองต่าง ๆ ที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีนต้องรับน้ำจากทั้ง 2 ด้าน ทำให้น้ำอาจจะตลบหลังเข้ามา และเข้าท่วมฝั่งธนฯ ได้ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ก็ยังคงต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดเป็นระยะ ๆ



    <EMBED src=http://www.youtube.com/v/O2AcQMGkCqM?version=3&hl=th_TH&rel=0 width=600 height=477 type=application/x-shockwave-flash></EMBED>
    คลิป รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ประเมินสถานการณ์ น้ำท่วม 17/10/11

    <EMBED src=http://www.youtube.com/v/XNWaCK_DB3o?version=3&hl=th_TH&rel=0 width=600 height=477 type=application/x-shockwave-flash></EMBED>
    คลิป รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ประเมินสถานการณ์ น้ำท่วม 18/10/11




    -http://hilight.kapook.com/view/63871-

    .
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    หลากวิธีป้องกันน้ำท่วมเข้าบ้านอย่างได้ผล



    [​IMG]

    เกริ่นนำโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก คุณอนันต์ แก้วร่วมวงศ์, คุณ ทองกาญจนา, คุณสะใภ้อินเตอร์

    น้ำทะลัก! คันกั้นน้ำแตก! ตลิ่งพัง! น้ำจ่อท่วม ...เวลานี้คงจะต้องติดตามข่าวสารอุทกภัยกันนาทีต่อนาที เพราะสถานการณ์น้ำดูจะเลวร้ายขยายวงกว้างมากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับใคร ที่บ้านอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม มวลน้ำยังมาไม่ถึง แต่ส่อเค้าหรือเริ่มมีน้ำส่งสัญญาณมาบ้างแล้วนั้น คงจะนิ่งนอนใจไม่ได้อีกต่อไป เพราะถ้าช้า...ไม่แน่ว่า บ้านของเราอาจจมน้ำภายในพริบตา!!!

    สิ่งที่ต้องทำในเวลานี้สำหรับผู้คนในพื้นที่เสี่ยงภัย นอกจากการเตรียมอาหาร และเก็บข้าวของเตรียมพร้อมอพยพทุกเมื่อแล้ว หากยังพอมีเวลาเราสามารถป้องกันน้ำท่วมบ้านได้ ซึ่งวันนี้เรามีวิธีป้องกันไม่ให้น้ำท่วมบ้านอย่างได้ผล จากคุณ ทองกาญจนา ผู้ที่เคยผ่านประสบการณ์น้ำท่วมบ้านในจังหวัดเชียงใหม่ และอีกแนวคิดดี ๆ ในการป้องกันน้ำท่วมบ้านโดยไม่ใช้กระสอบทรายจาก คุณอนันต์ แก้วร่วมวงศ์ มาบอกต่อ ... นอกจากนี้ยังมีวิธีดี ๆ และได้ผลของคุณสะใภ้อินเตอร์ ที่ต้องประสบปัญหาน้ำท่วมมาตลอด 4 ปี แต่ปีนี้มีวิธีป้องกัน และน้ำไม่ท่วมเข้าบ้านมาฝากกันจ้า


    วิธีป้องกันน้ำท่วมให้อยู่หมัด หลังน้ำท่วมมา 4 ปี by คุณสะใภ้อินเตอร์


    คุณสะใภ้อินเตอร์ผู้ที่ผ่านประสบการณ์น้ำท่วมมาถึง 4 ครั้ง น้ำได้ไหลทะลักเข้าไปในตัวบ้านจนข้างของเสียหายมาหลายครั้ง วิธีป้องกันน้ำท่วมหลายต่อหลายวิธี คุณสะใภ้อินเตอร์ก็ได้ลองทำมาหมด ไม่ว่าจะเป็นตั้งกระสอบทราย หรือดินน้ำมัน แต่วิธีเหล่านั้นก็ไม่สามารถป้องกันน้ำไม่ให้ไหลทะลักเข้ามาได้ ... มาวันนี้ จากประสบการณ์ 4 ปีที่เคยผ่านน้ำท่วมมา คุณสะใภ้อินเตอร์ จึงมีวิธีป้องกันน้ำท่วมอย่างอยู่หมัดมาฝากกันค่ะ

    [​IMG]
    สระว่ายน้ำก่อนถูกน้ำท่วมเมื่อปีที่แล้ว 2553

    [​IMG]
    สระว่ายน้ำก่อนถูกน้ำท่วมเมื่อปีที่แล้ว 2553

    [​IMG]

    [​IMG]
    สระว่ายน้ำก่อนถูกน้ำท่วมเมื่อปีที่แล้ว 2553

    [​IMG]
    สภาพน้ำตอนถูกน้ำท่วมเมื่อปีที่แล้ว 2553

    [​IMG]
    สภาพน้ำตอนถูกน้ำท่วมเมื่อปีที่แล้ว 2553

    [​IMG]
    ปีนี้เลยกั้นเหล็กให้สูงขึ้น


    [​IMG]
    และหาวิธียึดให้ติดกำแพงเพื่อป้องกันแรงกระแทกของน้ำจากรถที่วิ่งผ่านโดยจะใช้วิธีทำเป็นเหล็กยันไว้

    [​IMG]
    แล้วยึดด้วยกลอนสองชั้น


    [​IMG]
    วิธีเข้าบ้านต้องเข้าแบบนี้ (อาจจะไม่เหมาะกับผู้สูงอายุ)

    [​IMG]
    ภายในบ้านในน้ำแผ่นพลาสติกอันซิลิโคนตามร่อง

    [​IMG]
    จะเห็นได้ว่า น้ำไม่สามารถเข้าบ้านได้

    [​IMG]
    อย่าลืมอัดซิลิโคนที่ประตูหลังด้วย

    [​IMG] [​IMG]
    ภาพด้านซ้ายคือ ภาพรถที่ไม่ได้ป้องกันน้ำท่วม ส่วนภาพด้านขวาเลยหาคันยก และยกให้สูงขึ้น


    [​IMG]


    [​IMG]
    การอัดซิลิโคนตามร่อง

    [​IMG]
    ภาพน้ำท่วมเมื่อปีก่อน ๆ ใช้ดินน้ำมันอุด แต่ไม่สามารถกั้นน้ำได้

    [​IMG]
    ส่วนภาพนี้ใช้กระสอบทราย ซึ่งก็มีน้ำไหลซึมตลอดเวลา




    วิธีป้องกันไม่ให้น้ำท่วมบ้านอย่างได้ผล by คุณทองกาญจนา

    [​IMG]

    [​IMG] เตรียมการก่อน

    ประสบการณ์ จากน้ำท่วมเมื่อครั้งที่แล้ว พบว่าถึงแม้จะกั้นกระสอบทรายไว้ที่ประตูรั้ว แต่ก็ไม่สามารถกั้นน้ำเข้าบ้านได้ เพราะ (1) บริเวณสนามหญ้าและลานอิฐบล็อกภายในบริเวณบ้านจะมีน้ำปุดทะลุพื้นดินขึ้นมา (2) กระสอบทรายไม่มีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอ เมื่อถูกคลื่นที่เกิดจากรถยนต์วิ่งฝ่าเข้ามาในถนนที่น้ำท่วม จะมีแรงดันมหาศาลทำให้กำแพงกระสอบทรายพัง และน้ำไหลเข้าบริเวณบ้านได้ในที่สุด

    [​IMG] จากประสบการณ์ดังกล่าวผมได้เตรียมการไว้หลังจากน้ำลดครั้งที่แล้ว ดังนี้

    [​IMG] (1) ปรับปรุงพื้นรอบ ๆ บริเวณบ้านใหม่ โดยทำพื้นให้เรียบและเทพื้นด้วยคอนกรีตซีแพ็คลงไปจนเต็มชิดรั้วทุกด้าน

    [​IMG] (2) ทำบานเหล็กสำหรับกั้นน้ำพร้อมอุปกรณ์ติดตั้ง โดยทำกรอบรางเหล็กสำหรับสวม ติดถาวรไว้ที่ประตูรั้วบ้านทั้งซ้ายและขวา ส่วนบานเหล็กและเสาค้ำยันถอดออกได้ เพื่อให้สามารถใช้ประตูบ้านได้ในยามปกติ

    [​IMG] (3) ซื้อเครื่องสูบน้ำชนิดแช่ขนาดเล็กที่เรียกว่า ไดรโว่ ราคาประมาณ 1,500-2,000 บาท เครื่องสูบน้ำชนิดนี้จะขาดตลาดทันทีที่เกิดน้ำท่วม จึงต้องซื้อเก็บไว้ล่วงหน้า แล้วก็ไม่ลืมสายไฟพร้อมปลั๊กที่จะใช้ต่อพ่วงมาจากตัวบ้านจนถึงประตูรั้ว

    [​IMG] (4) ดินน้ำมันจำนวนหนึ่ง ใช้สำหรับอุดในช่องว่างที่ประกอบบานเหล็กกั้นน้ำเข้ากับประตูรั้วบ้าน

    [​IMG] น้ำมาแล้ว

    เสียง ประกาศเตือนภัยจาก อบต. ตั้งแต่เช้า แจ้งว่าน้ำคงจะเข้าท่วมหมู่บ้านในช่วงบ่าย ขอให้ประชาชนเตรียมป้องกันทรัพย์สินของตนเอง ผมนำรถยนต์ออกจากบ้านไปจอดไว้ยังที่ปลอดภัยนอกหมู่บ้าน กลับเข้ามาก็เริ่มติดตั้งบานเหล็กเข้ากับประตูรั้วบ้าน ติดตั้งเสาค้ำยัน ใช้ดินน้ำมันอุดตามรอยต่อระหว่างบานกับกรอบรางเหล็ก นำเครื่องสูบน้ำไดรโว่มาวางไว้ใกล้ประตูรั้วในตำแหน่งที่คาดว่าน้ำจะซึมเข้า มาและท่วมขังอยู่ ต่อสายไฟพร้อมใช้งาน แล้วรอน้ำที่กำลังเริ่มไหลเข้ามาในหมู่บ้านอย่างใจจดใจจ่อ

    เวลา ประมาณ 16.00 น. น้ำท่วมถนนภายในหมู่บ้านทุกถนนแล้ว มีน้ำซึมผ่านบานเหล็กที่ประตูรั้วเข้ามาในบ้านของผมปริมาณหนึ่ง แต่เมื่อเปิดเครื่องสูบน้ำก็สามารถควบคุมระดับน้ำไม่ให้สูงจนเกิดความเสีย หายได้ เมื่อน้ำในถนนลดลง ผมไม่ต้องลำบากในการทำความสะอาดบริเวณบ้าน ที่มีดินโคลนตกค้างจากน้ำท่วมขัง เหมือนน้ำท่วมเมื่อครั้งก่อนอีกแล้ว

    [​IMG] ภาพบรรยากาศ

    ติดตั้งบานเหล็กเข้ากับเสาประตูรั้วบ้าน พร้อมติดตั้งเสาค้ำยัน

    [​IMG]

    เข้า-ออก จากบ้านต้องใช้เก้าอี้บันไดตัวนี้ สังเกตระดับน้ำภายนอกบ้านเริ่มสูงมากแล้ว

    [​IMG]

    ขณะที่ถนนด้าน นอกระดับน้ำสูงถึง 60 ซม. แต่ภายในบ้านมีน้ำรั่วซึมเข้ามาเพียงเท่านี้ และเมื่อเปิดเครื่องสูบน้ำ น้ำก็จะแห้งภายใน 5 นาที

    [​IMG]

    ลุยน้ำออกไปถ่ายจากนอกบ้านเข้ามา สภาพประตูกั้นน้ำจะมีลักษณะนี้

    [​IMG]

    บ้านข้าง ๆ ก็ติดตั้งบานประตูกั้นน้ำเช่นเดียวกัน

    [​IMG]

    อีกภาพหนึ่ง

    [​IMG]

    หวัง ว่าบันทึกนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่มีบ้านในหมู่บ้านจัดสรร ที่น้ำเคยท่วมแล้ว จะได้เป็นแนวทางในการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับบ้านแสนรักในครั้ง ต่อไปได้บ้างตามสมควรครับ


    วิธีป้องกันน้ำเข้าบ้านง่าย ๆ แบบไม่ใช้กระสอบทราย by คุณอนันต์


    จากวิกฤติน้ำท่วม อย่างร้ายแรงที่เกิดขึ้นในประเทศไทยปีนี้ สร้างความสูญเสียให้กับประชาชนผู้ประสบภัยในหลายพื้นที่อย่างที่ไม่เคยเกิด ขึ้นมาก่อน และหลังจากที่มีข่าวมาว่า หลายเขื่อนรองรับน้ำอย่างเต็มพิกัดแล้ว ประกอบกับสภาพอากาศที่มีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ ก็คงทำให้คนในพื้นที่เฝ้าระวังต่าง ๆ รวมถึงคนในกรุงเทพฯ ล้วนตื่นตัว และไม่รอช้าที่จะเตรียมรับมือเป็นอย่างดี เพื่อป้องกันเหตุน้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ

    ด้วยเหตุนี้ ของที่สำคัญในการป้องกันน้ำท่วมอย่าง "กระสอบทราย" รวมถึงอิฐบล็อกต่าง ๆ จึงขาดตลาด แต่เพื่อน ๆ ก็ไม่ต้องหนักใจไป เพราะในวันนี้เรามีวิธีป้องกันน้ำเข้าบ้าน แนวคิดดี ๆ จาก คุณอนันต์ แก้วร่วมวงศ์ ที่จะใช้วัสดุง่าย ๆ ในการป้องกันน้ำท่วม แบบไม่ต้องใช้กระสอบทราย มาแนะนำกันค่ะ

    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]



    [​IMG]




    -http://hilight.kapook.com/view/63607-

    .
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ระทึก! น้ำเหนือมาเร็ว ถึงคลองรังสิตคืนพฤหัสนี้


    [​IMG]



    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม


    ระทึก! น้ำเหนือมาเร็วกว่าที่คาด ชี้น่าจะถึงคลองรังสิตคืนวันพฤหัสบดีนี้ ก่อนลงคลองหกวาศุกร์นี้ พร้อมประกาศอพยพประชาชนริมคลอง 6 ใน 24 ชั่วโมงคาดปริมาณน้ำสูง หลังก่อนหน้านี้ ประกาศ 7 เขต เสี่ยงน้ำท่วม

    เมื่อเวลา 15.30 น. วันนี้ (19 ตุลาคม) ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. ได้ออกแถลงรอบ 2 โดยประกาศให้อพยพประชาชน 200 ครัวเรือน บริเวณริมคลอง 6 นอกคันกั้นน้ำ ย้ายไปยังศูนย์พักพิงที่โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย และโรงเรียนสายไหม ภายใน 24 ชั่วโมง เนื่องจากเป็นจุดเสี่ยงที่คาดว่าจะมีปริมาณน้ำมาก ภายใน 24 ชม.

    โดย ก่อนหน้านี้ ทางผู้ว่าฯ กทม. ได้ออกแถลงว่า สถานการณ์น้ำท่วมในประเทศไทยมีแนวโน้มจ่อทะลักเข้าเขตพื้นที่กรุงเทพฯ มากขึ้นเรื่อย ๆ ล่าสุดพบว่าการระบายน้ำคลอง 3-6 จ.ปทุมธานี มีปัญหา ทำให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) ประกาศเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ตอนเหนือและตะวันออกรวม 7 เขต ได้แก่ สายไหม คลองสามวา บางเขน หนองจอก มีนบุรี ลาดกระบัง และคันนายาว ให้ขนของขึ้นที่สูงและเตรียมแผนอพยพอย่างรอบคอบ

    ทั้งนี้ กทม. ระบุว่า ถ้าหากประเมินแล้วพบว่าเหตุการณ์ไม่ปลอดภัยจะแจ้งเตือนประชาชนล่วงหน้า 12 ชั่วโมง และจะติดตามสถานการณ์ในพื้นที่ทุก ๆ 3 ชั่วโมง

    ต่อมา ในเวลา 16.30 น. ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการ กทม. ได้แถลงข่าวเป็นครั้งที่ 3 ระบุว่า ขณะนี้น้ำจากทางตอนเหนือของ กทม.เคลื่อนตัวลงมาเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งมีทั้งน้ำจากนิคมอุตสาหกรรมนวนคร และน้ำจากคลองระพีพัฒน์ โดยคาดว่าน้ำจะมาถึงคลองรังสิตในคืนวันพรุ่งนี้ (20 ต.ค.) และจะไหลลงมายังคลองสอง และคลองหกวา ในคืนวันศุกร์นี้ (21 ต.ค.)

    ด้วยเหตุนี้ ผู้ว่าฯ กทม.จึงสั่งเร่งเสริมคันกั้นน้ำที่เลียบคลองหกวาโดยด่วน โดยเพิ่มความสูงจากเป็น 3.5 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง จากเดิมกั้นที่ระดับ 2.5 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง พร้อมกับเพิ่มความหนาของกระสอบให้เป็นสามกระสอบด้วย คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในวันพรุ่งนี้



    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก สำนักข่าวไทย , มติชนออนไลน์ และ คมชัดลึก

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]


    -http://hilight.kapook.com/view/63235-


    .
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    Thaiflood เปิดแถลงการณ์ฉบับที่ 2-3 เรื่องน้ำท่วม


    [​IMG]







    แถลงการณ์ฉบับที่ 2 โดยศูนย์ข้อมูลเพื่อการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย - Thaiflood.com

    แถลงการณ์นี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ชาวกรุงเทพเตรียมรับมือสถานการณ์ในอีก 24 ชั่วโมง (ช่วยบอกต่อให้ได้มากที่สุด)

    1. ผู้ปฎิบัติการช่วยเหลือผู้อื่น ให้เร่งทำภารกิจแรกคือ ดูแลครอบครัวให้ปลอดภัย ท่านจะมีแรงกายแรงใจไปช่วยคนได้อีกมาก

    2. ขอให้ทุกภาคส่วนลดภารกิจการแจกถุงยังชีพตามบ้าน เพิ่มภารกิจการสนับสนุนศูนย์พักพิงให้มีศักยภาพ รีบพาคนออกมาให้เร็ว

    3. เตรียมพลังงานสำรอง เช่น แบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือชาร์จให้เต็ม ไฟฉายฉุกเฉิน ไฟแช็คจุดไฟ สำรองน้ำมันในถังที่ปลอดภัย

    4. เร่งสำรองน้ำสะอาดในภาชนะเท่าที่หาได้ เลี่ยงการบริโภคน้ำที่สงสัยว่าจะปนเปื้อนสารเคมี จนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติม

    5. ขอให้รัฐบาลประกาศแผนการอพยพที่มีข้อมูลละเอียดชัดเจน ต้องร่วมบูรณาการกับภาคเอกชนและประชาชนในพื้นที่เสี่ยงทุกแห่ง


    ประกาศ ณ วันที่ 20 ต.ค. 2554 เวลา 16.00 น.


    [​IMG]






    -http://hilight.kapook.com/view/63908-

    .

     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    แนะวิธีหุงข้าวสวย ที่เก็บได้นานโดยไม่บูด



    [​IMG]


    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณข้อมูลจาก คุณลูกหมูใจดี

    วิกฤติน้ำท่วมในขณะนี้ ยังคงทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ และไม่มีวี่แววว่าสถานการณ์จะคลี่คลายลงได้เลย บรรดาประชาชนผู้ประสบภัยหลายคนต้องอพยพไปยังศูนย์พักพิงที่ทางการได้จัดตั้ง รองรับไว้ แต่ก็ยังมีประชาชนบางส่วนที่ไม่สามารถอพยพออกจากพื้นที่ได้ ต้องทนอาศัยอยู่บนบ้านชั้นสอง หรือตามวัดวาอารามต่าง ๆ ทั้ง นี้ พวกของใช้ เสื้อผ้าต่าง ๆ ถ้าเก็บขึ้นไว้บนที่สูงไม่ทัน ก็ต้องจมอยู่ใต้บาดาล หรือไม่ก็ลอยไปกับกระแสน้ำ ... ประชาชนเหล่านี้ทำได้เพียง รอถุงยังชีพที่ทางรัฐบาลจะส่งมาช่วยเหลือเพียงเท่านั้น...

    มาว่ากันด้วยถุงยังชีพ ส่วนมากอาหารที่ถูกบรรจุในนั้น มักจะมีแต่ข้าวสาร บะหมี่สำเร็จรูป ที่ต้องทำให้สุกก่อนถึงจะทานได้ ทั้งนี้ผู้ประสบภัยหลาย ๆ คนที่ไม่มีครัวสำหรับหุงหาอาหาร ก็ต้องทนกินบะหมี่สำเร็จรูปดิบ ๆ หรือปลากระป๋องอย่างเดียวซึ่งไม่อิ่มท้อง ส่วนข้าวสวยบรรจุกระป๋อง ก็มีราคาแพงและปริมาณน้อย วันนี้ คุณลูกหมูใจดี จากเว็บไซต์พันทิป ก็ใจดีแนะวิธีหุงข้าวสวยที่เก็บไว้ได้หลายวันโดยไม่บูด ให้เพื่อน ๆ ทั้งหลายได้ทำกักตุนเก็บไว้เป็นเสบียง หรือว่านำไปช่วยผู้ประสบภัยก็ได้มาฝากกันค่ะ ...

    คุณลูกหมูใจดีบอกเล่าวิธีว่า ปกติที่บ้านของเขาเวลาหุงข้าวสวย จะใส่น้ำส้มสายชูลงไปด้วย 1 ช้อนชาเป็นประจำสม่ำเสมออยู่แล้ว เพราะข้าวสวยที่หุงโดยการเติมน้ำส้มสายชูลงไป สามารถอยู่ได้หลายวันโดยที่ไม่บูด ซึ่งก่อนหน้านี้ คุณลูกหมูใจดีเคยหุงข้าวแล้วลืมทิ้งไว้ในหม้อข้าวนาน 4 วัน แต่เมื่อมาเปิดดูก็พบว่า ข้าวก็ยังคงอยู่ในสภาพดี ไม่บูด ไม่มีกลิ่น และไม่แฉะด้วย

    จากนั้นคุณลูกหมูใจดี ก็หุงข้าว โดยเติมน้ำส้มสายชูมาตลอด แล้วปล่อยคาหม้อทิ้งไว้ 4 - 5 วัน ไม่ต่ำกว่า 5 ครั้ง เพื่อพิสูจน์ว่า การหุงข้าวแล้วใส่น้ำส้มสายชู ทำให้ข้าวไม่บูดจริง แล้วสามารถนำมาทานได้ตามปกติ ส่วนวิธีทำก็ง่าย ๆ เพียงแค่เติมน้ำส้มสายชูไปประมาณ 1 ช้อนชาลงไปในหม้อหุงแล้ว และเมื่อข้าวสุกก็ตักใส่ถุง อย่าเพิ่งรัดยาง รอให้ไอน้ำระเหยก่อน เพราะถ้ารัดยางในขณะนั้นอาจจะทำให้ข้าวเป็นราได้

    เอ้า!... ใครที่อยู่ในพื้นที่สุ่มเสี่ยงก็เอาวิธีนี้ไปใช้ได้นะคะ หรือว่าใครจะนำข้าวสวยไปแจกจ่ายแก่ผู้ประสบภัยก็ดีเยี่ยมไปเลยค่ะ


    -http://hilight.kapook.com/view/63865-


    .

     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    วิธีดูแลรถหลังจมน้ำ-แนะดูรถย้อมแมวขาย หลังน้ำท่วม




    [​IMG]


    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม


    ผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องยนต์ ม.รังสิต เผยวิธีดูแลรถยนต์หลังจมน้ำ ระบุควรปลดแบตตัดการจ่ายไฟ-ถ่ายน้ำมันออกให้หมดเพราะอาจเกิดสนิม พร้อมแนะวิธีดูว่ารถมือสองว่าถูกย้อมแมวขายหลังจมน้ำหรือไม่

    ปัญหาอุทกภัยในขณะนี้ได้สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อทรัพย์สิน สิ่งใดสามารถเคลื่อนย้ายได้ก็ย้าย แต่ถ้าหากเคลื่อนย้ายไม่ได้ ก็ต้องปล่อยให้จมน้ำตามสภาพการณ์ ซึ่งถ้ามองดูแล้วทรัพย์สินจำพวกรถยนต์ เป็นทรัพย์สินที่ผู้คนหวงมากเป็นลำดับต้น ๆ เพราะมีมูลค่าสูง ไม่สามารถยกขึ้นที่สูงหนีน้ำได้และถ้าจมน้ำ ย่อมหมายถึงการเสียหายในทันที ดัง นั้นจะเห็นได้ว่า หลายคนจึงนำรถไปจอดบนอาคารสูงหนีน้ำท่วมก่อน ใครสามารถจอดทันก็โชคดี แต่ถ้าจอดไม่ทันขึ้นมาล่ะ? ก็คงหนีไม่พ้นการจมน้ำ

    ด้วยเหตุนี้ อ.รักชาติ แสงวงศ์ หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์และหัวหน้าศูนย์บริการยานยนต์ มหาวิทยาลัยรังสิต จึงได้แนะนำถึงวิธีดูแลรถยนต์หลังจากผ่านการจมน้ำเบื้องต้น ผ่านศูนย์ข่าวอาร์เอสยูนิวส์ มหาวิทยาลัยรังสิต ดังนี้

    [​IMG] ควรปลดขั้วแบตเตอรี่ออกก่อนเพื่อตัดระบบการจ่ายไฟ และไม่ควรสตาร์ทรถ เนื่องจากปัจจุบันมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นสมองกล ซึ่งระบบเหล่านี้จมน้ำเพียง 5 นาที ก็เกิดความเสียหาย ถ้าหากจมน้ำ 1-2 วัน ระบบอาจจะเป็นสนิมได้

    [​IMG] จากนั้นเช็คเครื่องยนต์และทำการเป่าหรือใช้สเปรย์ไล่ความชื้น เพราะในช่วงที่ดับเครื่อง กระบอกสูบบางกระบอกยังทำงาน อาจทำให้น้ำเข้าได้ และค่อยถ่ายน้ำมันทุกชนิดออกทันที เนื่องจากถ้าน้ำผสมกับน้ำมัน จะทำให้เกิดสนิม
    [​IMG] ในปกติค่าซ่อมแซมรถยนต์ที่ถูกจมน้ำ จะมีราคาประมาณ 3 แสนบาท เนื่องจากทุกอย่างจะเสียหมด และยังต้องผ่าเครื่องยนต์ดูอีกว่ามีน้ำขังหรือไม่ และแม้ว่าเสียเงินซ่อม สภาพก็ไม่ 100 เปอร์เซ็นต์เหมือนเดิม เพราะมีอุปกรณ์บางตัวไม่สามารถนำออกมาได้ ทั้งนี้ แนะนำว่า ควรส่งซ่อมที่ศูนย์ของรถยนต์ยี่ห้อนั้นๆ แต่ถ้าจะซ่อมอู่ ก็ควรเลือกอู่ที่มีมาตรฐาน มีผู้เชี่ยวชาญควบคุม ถ้าหากเป็นรถยนต์ประกันชั้น 1 บริษัทประกันจะรับผิดชอบทั้งหมด

    [​IMG]

    นอกจากนี้ อ.รักชาติ ยังได้แนะนำข้อควรระวังการซื้อรถยนต์มือสองว่าเป็นรถที่ถูกน้ำท่วมหรือไม่ โดยให้สังเกตจากสิ่งต่อไปนี้...

    [​IMG] สิ่งแรกที่ตรวจได้คือ เปิดประตูรถเข้าไปจะได้กลิ่นอับในทันที เพราะน้ำท่วมไม่ใช่น้ำสะอาด ซ่อมดีอย่างไรก็ไม่สามารถลบกลิ่นอับออกไปได้ในระยะเวลาอันสั้น

    [​IMG] จากนั้นตรวจที่ระบบจ่ายไฟว่ามีความขัดข้องหรือไม่ เพราะรถยนต์ที่จมน้ำ ระบบจ่ายไฟจะมีสภาพไม่เหมือนก่อนจม

    [​IMG] สิ่งสุดท้ายที่ตรวจสอบได้คือ ดูน็อตขันเครื่องยนต์ว่าเป็นสนิมหรือไม่

    สำหรับใครที่มีแผนจะซื้อรถยนต์มือสองในระยะเวลาอันใกล้นี้ ก็คงต้องตรวจสอบกันให้ดี ๆ นะจ๊ะ จะได้ไม่ถูกหลอกซื้อรถที่จมน้ำ ไม่เช่นนั้น อาจจะต้องขับไปซ่อมไปนะเออ







    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
    rsunews.net



    -http://hilight.kapook.com/view/63876-

    .
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .



    สั่งยกรถจอดเลน 2 ทางด่วนงามวงศ์วาน-แจ้งวัฒนะแล้ว



    [​IMG]

    บริเวณทางขึ้น - ลง ทางด่วนแจ้งวัฒนะ ภาพถ่าย ณ วันที่ 20 ตุลาคม 2554 เวลา 06.43 น.


    [​IMG]

    บริเวณทางขึ้น - ลง ทางด่วนแจ้งวัฒนะ ภาพถ่าย ณ วันที่ 20 ตุลาคม 2554 เวลา 06.45 น.


    [​IMG]

    บริเวณทางขึ้น - ลง ทางด่วนแจ้งวัฒนะ ภาพถ่าย ณ วันที่ 20 ตุลาคม 2554 เวลา 06.46 น.


    [​IMG]

    บริเวณทางขึ้น - ลง ทางด่วนแจ้งวัฒนะ ภาพถ่าย ณ วันที่ 20 ตุลาคม 2554 เวลา 06.47 น.


    [​IMG]

    บริเวณทางขึ้น - ลง ทางด่วนแจ้งวัฒนะ ภาพถ่าย ณ วันที่ 20 ตุลาคม 2554 เวลา 07.00 น.



    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก pantip.com โพสต์โดย คุณ เฒ่าน้อย

    คน แห่จอดรถริมสะพานหนีน้ำคลองประปา ทำรถติดหนัก รองภาณุประกาศให้นำรถออกจากทางด่วน-สะพานกลับรถ ฝ่าฝืนเจอยกรถ ด้าน กทพ.รับห้ามลำบาก วอนให้จอดช่องทางฉุกเฉินทางซ้ายสุดเท่านั้น

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงเช้ามืดของวันนี้ (20 ตุลาคม) ได้มีประชาชนจำนวนมากริมคลองประปา นำรถยนต์ไปจอดทิ้งบนสะพานข้ามแยก สะพานกลับรถ และทางด่วน ทั้งในบริเวณแจ้งวัฒนะ ต่างระดับงามวงศ์วานและประชาชื่น สะพานข้ามแยกประชานุกูล สะพานข้ามต่างระดับรัชวิภา ส่งผลให้การจราจรในบริเวณดังกล่าวติดขัดอย่างหนัก

    ล่าสุด พล.ต.ภาณุ เกิดลาภผล รอง ผบช.น.กำกับดูแลด้านจราจร กล่าวว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่ได้ตระเวนประชาสัมพันธ์ให้เจ้าของรถกลับไปนำรถออกมาแล้ว และประกาศว่าจะนำรถยกของทางการมายกรถที่จอดขวางเส้นทางจราจรออก โดยเฉพาะที่กลับรถแถวแฟชั่นไอส์แลนด์ สะพานข้ามต่างระดับรัชวิภา เพราะการนำรถมาจอดสร้างความเดือดร้อนให้ผู้ที่ใช้รถใช้ถนนเป็นอย่างมาก พร้อมกับแนะนำให้นำรถไปจอดในแนวถนนกาญจนาภิเษก ซึ่งเป็นจุดที่มีถนนสูง และในช่องทางคู่ขนานสามารถจอดรถได้เป็นหมื่นคัน

    ทั้ง นี้ พล.ต.ภาณุ ยังเตือนด้วยว่าไม่ให้นำรถขึ้นไปจอดบนทางยกระดับ หรือทางด่วนอย่างเด็ดขาด เพราะต้องใช้เป็นเส้นทางลำเลียงขนส่งไปช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อน หากนำรถไปจอดขวางจะยิ่งสร้างปัญหา ดังนั้น หากมีการฝ่าฝืน เจ้าหน้าที่จะยกรถไปเก็บที่สถานีตำรวจทันที

    ด้านนายมณเฑียร กุลธำรง รองผู้ว่าการฝ่ายปฏิบัติการ รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ทาง กทพ.ไม่อนุญาตให้นำรถยนต์ส่วนตัวขึ้นไปจอดบนสะพานต่างระดับ และทางด่วน แต่เมื่อคืนที่ผ่านมาเกิดปัญหาน้ำทะลักเข้ามายังคลองประปา ทำให้ประชาชนนำรถขึ้นมาจอดบนทางด่วนเป็นจำนวนมาก และยอมรับว่าเข้าไปห้ามลำบาก จึงต้องขอ ความร่วมมือจากประชาชนให้จอดเฉพาะช่องฉุกเฉินทางซ้ายสุดเท่านั้น แต่จอดล้ำออกมายังช่องทางที่ 2 ทาง กทพ.จำเป็นต้องใช้รถยกออกไป เพื่อเปิดทางจราจร

    อย่างไรก็ตาม เมื่อช่วงเที่ยงที่ผ่านมา ทวิตเตอร์ จส.100 ได้รายงานว่า การทางพิเศษแห่งประเทศไทยยืนยันจะยกรถที่จอดทิ้งบนทางด่วนช่วงงามวงศ์วานและ แจ้งวัฒนะแถวที่สองทั้งหมด เพราะเป็นสาเหตุทำให้รถติดขัดมาก


    [​IMG]

    บริเวณสะพานข้ามรัชวิภา ภาพถ่าย ณ วันที่ 20 ตุลาคม 2554


    [​IMG]

    บริเวณสะพานข้ามรัชวิภา ภาพถ่าย ณ วันที่ 20 ตุลาคม 2554


    [​IMG]

    บริเวณสะพานข้ามรัชวิภา ภาพถ่าย ณ วันที่ 20 ตุลาคม 2554 ​




    ทั้งนี้ กทพ.ได้จัดสถานที่จอดรถให้ใน 9 จุด ใต้ทางด่วน ซึ่งยังมีที่ว่างอยู่ถึง 2,700 คัน ประกอบด้วย

    [​IMG] 1. ใต้ทางด่วนด่านฯ งามวงศ์วาน 200 คัน
    [​IMG] 2. ใต้ทางด่วนด่านฯ รัชดาภิเษก 100 คัน
    [​IMG] 3. ลานกีฬาใต้ทางด่วนหลัง รพ.พระมงกุฎเกล้า 200 คัน
    [​IMG] 4. ที่จอดรถใต้ทางด่วนด่านฯ อโศก 1 จอดได้ 100 คัน
    [​IMG] 5. ใต้ต่างระดับวัชรพล ถนนรามอินทรา (ฝั่งเหนือ) 200 คัน
    [​IMG] 6. ใต้ทางด่วนรามอินทรา ตั้งแต่จุดกลับรถ 1,000 คัน
    [​IMG] 7. ใต้ทางด่วนด่านฯ พระราม 9-1 จอดได้ 500 คัน
    [​IMG] 8. ใต้ทางด่วนสาธุประดิษฐ์ 100 คัน
    [​IMG] 9. ใต้สะพานพระราม 9 ฝั่งธนบุรี 300 คัน







    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก มติชนออนไลน์ , ไทยPBS , เดลินิวส์ และ @js100radio

    [​IMG] [​IMG] [​IMG], @js100radio



    .

    -http://hilight.kapook.com/view/63823-


    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...