เรื่องราวจริงๆของพระศรีอาริยเมตตรัยที่เป็นพุทธพจน์และพระพุทธเจ้า,ครูบาอาจารย์รับรอง

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย Wisdom, 11 พฤศจิกายน 2006.

  1. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    [​IMG]


    อุเทศเรื่อง พระศรีอริยเมตไตรยพุทธเจ้า


    พระศรีอริยเมตไตรย เป็นพระโพธิสัตว์จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตมาถือปฏิสนธิในครรภ์ของนางพรหมวดี ภรรยาของสุพรหมพราหมณ์ปุโรหิตของพระเจ้าสังขจักรพรรดิแห่งเกตุมดีนคร เมื่อทรงประสูติได้มีนิมิตมงคล 32 ประการปรากฏ แม้ปราสาท 3 หลังก็ปรากฏด้วยเพื่อเป็นที่ประทับ พระโพธิสัตว์ได้เสวยสุขเป็นอันมาก เมื่อพระชนมายุ 8,000 ปี ทอดพระเนตรเห็นนิมิตทั้ง 4 ทรงพอพระทัยในการบวช เสด็จขึ้นไปสู่ปราสาท ปราสาทก็ลอยขึ้นสู่อากาศมาลงที่ใกล้โพธิมณฑล ท้าวมหาพรหมอัญเชิญอัฏฐบริขารมาถวาย พระโพธิสัตว์ทรงเอาพระขรรค์แก้วตัดพระเมาลี ทรงรับเครื่องอัฏฐบริขารที่ท้าวมหาพรหมนำมาถวาย ผนวชแล้วบำเพ็ญเพียร มีคนบวชตามเป็นอันมาก พระโพธิสัตว์ประทับนั่งเหนืออปราชิตบัลลังก์ในปฐมยาม ทรงบรรลุบุพเพนิวาสานุสติญาณในมัชฌิมยาม ทรงทำให้แจ้งทิพยจักษุญาณในปัจฉิมยาม ทรงพิจารณาปัจจยาการ 12 ประการ ในเวลารุ่งอรุณ ทรงบรรลุซึ่งพระสัพพัญญุตญาณ อันไม่มีประมาณ

    กล่าวถึงประมาณแห่งพระวรกายของพระศรีอริยเมตไตรยพุทธเจ้า ทรงมีพระฉัพพรรณรังสีจากพระวรกาย ทำให้สว่างไสวทั้งกลางวันและกลางคืน คนทั้งหลายอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข ระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ บริโภคข้าวสาลีที่เกิดจากพระพุทธานุภาพ<O:p</O:p
    พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ได้ทูลถามถึงบุญบารมีที่พระศรีอริยเมตไตรยได้บำเพ็ญ พระพุทธเจ้าจึงตรัสเล่าถึงอดีตชาติของพระศรีอริยเมตไตรย เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นพระเจ้าสังขจักรพรรดิแห่งอินทปัตถนคร ในสมัยของพระสิริมิตรพุทธเจ้า วันหนึ่งได้พบสามเณรในสำนักพระสิริมิตรพุทธเจ้า จึงเสด็จมาเฝ้าพระพุทธเจ้าซึ่งประทับอยู่ที่บุพพาราม แม้ทรงลำบากพระวรกายก็ไม่ทรงท้อถอย พระพุทธเจ้าเนรมิตเพศเป็นมาณพ เนรมิตรถเสด็จออกไปรับพระโพธิสัตว์มาสู่บุพพาราม พระโพธิสัตว์ได้ถวายศีรษะของพระองค์แด่พระพุทธเจ้า บูชาพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระองค์ แล้วไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต ด้วยอานิสงส์บารมี จึงทำให้ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า


    [​IMG]

    <O:p
    อดีตกาลแห่งพระศรีอารย์โพธิสัตว์
    <O:p</O:p

    วันหนึ่ง พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ทูลถามพระบรมศาสดาว่า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 พฤศจิกายน 2006
  2. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    เพื่อวามเข้าใจอันถูกต้องและสัมมาทิฐิ

    อนาคตพุทธวงศ์ 10 พระองค์ มีดังนี้ :-
    1. พระศรีอริยเมตไตรย -จะตรัสรู้ที่ต้นกากะลิง
    2. พระรามเจ้า -จะตรัสรู้ที่ ต้นแก่นจันทน์แดง
    3. พระธรรมราช -จะ ตรัสรู้ที่ ต้นกากะลิง (อดีตคือ พระเจ้าปัสเสนทิโกสน)
    4. พระธรรมสามี -จะ ตรัสรู้ที่ ต้นรังใหญ่ (อดีตคือ พระยามาราธิราช)
    5. พระนารท -จะ ตรัสรู้ที่ ต้นแก่นจันทน์แดง (อดีตคือ อสุรินทราหู)
    6. พระรังศรีมุนี -จะ ตรัสรู้ที่ ต้นดีปลีใหญ่ (อดีตคือ โสณะพราหมณ์)
    7. พระเทวเทพ -จะ ตรัสรู้ที่ ต้นจำปา (อดีตคือ สุพะพราหมณ์)
    8. พระนรสีหะ -จะ ตรัสรู้ที่ ต้นไม้แคฝอย (อดีตคือ โตไทยพราหมณ์)
    9. พระติสสะ -จะ ตรัสรู้ที่ ต้นไทร (อดีตคือ ช้างธณะบานหัตถีนาลาคีรี)
    10. พระสุมังคะละ -จะ ตรัสรู้ที่ ต้นกากะลิง (อดีตคือ ช้างปาเลไลย)


    ต้นไม้ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์
    (นับตั้งแต่พระทีปังกรพุทธเจ้าที่ทรงทำนายพระสมณโคดมพุทธเจ้า
    เป็นครั้งแรกว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้าในกาลข้างหน้า)

    ในวงเล็บหลังพระนามพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์นั้นคือ
    จำนวนกาลเวลานับย้อนหลังไปนับแต่กัปนี้ค่ะ ใส่ไว้เพื่อจะได้
    เห็นชัดว่ากว่าจะมีพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์นั้นยาวนาน
    และยากเย็นเพียงใด ส่วนที่ขีดเส้นใต้คั่นไว้เป็นส่วนๆ นั้น
    พระพุทธเจ้าพระองค์ใดอยู่ภายในกรอบเดียวกันก็แสดงว่า
    ทรงอุบัติขึ้นในกัปเดียวกัน เส้นใต้ที่คั่นนั้นหมายถึงว่าการอุบัติขึ้น
    ของพระพุทธเจ้าองค์ต่อไป เกิดขึ้นในกัปอีกยาวนานหลังจาก
    ผ่านกาลเวลาเป็นกัปต่างๆ ยาวนานจนนับไม่ได้ (อันตรกัป)
    ที่โลกไร้ซึ่งพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าที่อุบัติในกัปเดียวกัน ก็จะมี
    ระยะเวลาห่างจากกัปปัจจุบันเท่ากัน จึงใส่เวลาไว้เฉพาะตรง
    พระองค์แรกของกัปนั้นๆ เท่านั้น พระองค์อื่นๆ ไม่ใส่เวลากำกับ
    เพราะว่าเหมือนกัน ส่วนที่ไม่มีวงเล็บเวลาเอาไว้นับแต่
    พระโกณฑัญญพุทธเจ้าไปจนถึงพระนารทพุทธเจ้า ก็เพราะ
    ในหนังสือที่อ้างอิงมา ไม่ได้ใส่กำกับไว้จึงไม่มีข้อมูลค่ะ

    สำหรับพระทีปังกรพุทธเจ้าซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์แรกที่
    ทรงทำนายว่าพระสมณโคดมพุทธเจ้าของเราทั้งหลายในปัจจุบัน
    จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอนนั้น ทรงอุบัติเป็นพระพุทธเจ้า
    พระองค์ที่ ๔ ในกัปที่มีพระพุทธเจ้า ๔ พระองค์ โดยพระพุทธเจ้า
    อีก ๓ พระองค์ก่อนหน้าในกัปเดียวกันกับพระทีปังกรพุทธเจ้า
    พระองค์แรกทรงพระนามว่า พระตัณหังกรสัมพุทธเจ้า
    พระองค์ที่สองทรงพระนามว่า พระเมธังกรสัมพุทธเจ้า
    และพระองค์ที่สามทรงพระนามว่า พระสุรณังกรสัมพุทธเจ้า

    (๑)
    พระทีปังกรพุทธเจ้า (กัปอันประมาณมิได้นับจากกัปนี้ย้อนไป)
    ปิปผลิ - ควงไม้ซีก
    _____________________________________________
    (๒)
    พระโกณฑัญญพุทธเจ้า
    ไม้สาละ
    _____________________________________________
    (๓)
    พระมงคลพุทธเจ้า
    ต้นกระทิง (กากะทิง)
    (๔)
    พระสุมนพุทธเจ้า
    ควงไม้กากะทิง
    (๕)
    พระเรวตพุทธเจ้า
    ควงไม้กากะทิง
    (๖)
    พระโสภิตพุทธเจ้า
    ควงไม้กากะทิง
    _____________________________________________
    (๗)
    พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า
    ต้นกุ่ม
    (๘)
    พระปทุมพุทธเจ้า
    ไม้อ้อยช้างใหญ่
    (๙)
    พระนารทพุทธเจ้า
    ไม้อ้อยช้างใหญ่
    _____________________________________________
    (๑๐)
    พระปทุมมุตรตรพุทธเจ้า (แสนกัป)
    ไม้สน
    _____________________________________________
    (๑๑)
    พระสุเมธพุทธเจ้า (๓๐๐๐๐ กัป)
    ต้นสะเดา
    (๑๒)
    พระสุชาตพุทธเจ้า
    ไม้ไผ่ใหญ่
    (ในหนังสือเล่มนี้เขียนขยายความไม้ใผ่ใหญ่ตรงนี้ไว้ด้วยว่า
    ลำต้นแข็ง ไม่เป็นโพรง มีใบแน่นหนา ลำต้นตรงใหญ่
    ดูน่าชม น่ารื่นรมย์ใจ ต้นหนึ่งเจริญงอกงามแล้วแตกกิ่ง
    สาขาออกไป ไม้โพธิพฤกษ์ (คือ ต้นไม้ที่ตรัสรู้) ย่อมงาม
    เหมือนดังหางนกยูงที่ผูกเป็นกำ ฉะนั้นไม้ไผ่นั้นมีนาม
    แม้ช่องใหญ่ก็ไม่มี มีกิ่งชิดไม่ห่าง เงาทึบ น่ารื่นรมย์ใจ)
    _____________________________________________
    (๑๓)
    พระปิยทัสสีพุทธเจ้า (๑๘๐๐ กัป)
    ต้นกุ่มสันทก
    (๑๔)
    พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า
    จำปา
    (๑๕)
    พระธัมมทัสสีพุทธเจ้า
    ติมพชาละ (มะพลับ)
    _____________________________________________
    (๑๖)
    พระสิทธัตถพุทธเจ้า (๙๔ กัป)
    กรรณิการ์
    _____________________________________________
    (๑๗)
    พระติสสพุทธเจ้า (๙๒ กัป)
    ไม้ประดู่
    (๑๘)
    พระปุสสพุทธเจ้า
    ไม้มะขามป้อม
    _____________________________________________
    (๑๙)
    พระวิปัสสีพุทธเจ้า (๙๑ กัป)
    ไม้แคฝอย
    _____________________________________________
    (๒๐)
    พระสิขีพุทธเจ้า (๓๑ กัป)
    บุณฑริก (ไม้กุ่มพก)
    (๒๑)
    พระเวสสภูพุทธเจ้า
    ไม้อ้อยช้างใหญ่
    _____________________________________________
    (๒๒)
    พระกุกกุสันธพุทธเจ้า (ภัทรกัปนี้)
    ไม้ซีก - ไม้ชีก
    (๒๓)
    พระโกนาคมนพุทธเจ้า
    ไม้มะเดื่อ
    (๒๔)
    พระกัสสปพุทธเจ้า
    นิโครธ
    (๒๕)
    พระโคตมพุทธเจ้า
    ควงไม้อัสสัตพฤกษ์ (โพธิ์)
    (๒๖)
    พระเมตไตรย์สัมพุทธเจ้า
    (ในอนาคตข้างหน้า)
    _____________________________________________
    ได้ใส่พระเมตไตรย์พุทธเจ้าไว้ด้วย เพื่อให้ครบพระพุทธเจ้า
    ๕ พระองค์ในภัทรกัปนี้ อันถือว่าเป็นกัปที่เจริญรุ่งเรืองที่สุด
    เพราะว่าในสังสารวัฏนี้ จะมีกัปจำแนกตามการอุบัติหรือ
    การมีขึ้นของพระพุทธเจ้า ก็จะจำแนกได้เป็น ๖ คือ
    (๑) สุญญกัป - กัปที่ไม่มีพระพุทธเจ้ามีตรัสรู้
    (๒) กัปที่มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ ๑ พระองค์ (จำศัพท์ไม่ได้ค่ะ)
    (๓) กัปที่มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ ๒ พระองค์
    (๔) กัปที่มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ ๓ พระองค์
    (๕) กัปที่มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ ๔ พระองค์
    (๖) ภัทรกัป - กัปที่มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ ๕ พระองค์

    ภัทรกัป หรือ ภัททกัปป์ นี้ เคยอ่านเจอรู้สึกจะในพระไตรปิฎก
    กล่าวไว้ว่า ถือเป็นกัปป์ที่เจริญรุ่งเรืองที่สุด เพราะมีพระพุทธเจ้า
    มาตรัสรู้ได้มากที่สุดแล้วคือ ๕ พระองค์ในกัปป์เดียวกัน

    เรื่องไม้ตรัสรู้นี้ พอดีเพิ่งได้หนังสือมาเล่มหนึ่งเมื่อวันเสาร์
    พบว่ามีข้อมูลนี้อยู่และจำได้ว่าคุณ woody เคยมาตั้งกระทู้เอาไว้
    ก็เลยนำมาใส่ไว้ตรงนี้เป็นข้อมูลด้วยค่ะ

    หนังสือชื่อ 'พระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์'
    ค้นคว้าและรวบรวมจากพระไตรปิฎกโดย วินัย อ. ศิวะกุล

    เจริญในธรรม


     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 พฤศจิกายน 2006
  3. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    พระโพธิสัตว์ คือ......

    <HR style="COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->"พระโพธิสัตว์" คือ ผู้ซึ่งจะได้มาตรัสรู้เป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคต ท่านอธิษฐานจิตถึงพระพุทธภูมิ ทุ่มเทปฏิบัติธรรม ช่วยผู้อื่นทั้งทางโลกและทางธรรม สะสมบารมี ๑๐ ทัศ ทุกๆคนเป็นพระโพธิสัตว์ได้ทั้งนั้น ถ้าหากว่าเขาผู้นั้นเป็นผู้มีจิตเมตตาประจำใจ ทำแต่คุณประโยชน์ช่วยเหลือคนทุกข์ยาก ไม่ประพฤติเบียดเบียนสนับสนุนผู้อื่นในทางผิดศีลธรรม


    คุณธรรมหลักของผู้ตั้งความปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์ คือ "มหาเมตตา" แปลว่า ปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข พระโพธิสัตว์จึงมีคุณธรรมอื่นๆต่อเนื่องกันคือ

    มหากรุณา คือความปราณีต่อสรรพสัตว์(หมายรวมมนุษย์) ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง สงสารผู้ยากลำบากทั้งหลาย เฝ้าตามช่วยแนะเพื่อความสุขของเขา เป็นความยินดีกรุณาของพระโพธิสัตว์ทั้งลาย

    มหาปัญญา คือเป็นผู้มีความรู้หรือศึกษาหาวิชาใส่ตัว ได้เป็นประโยชน์ส่วนตนเอง ส่วนผู้อื่นช่วยเหลือผู้อื่นต่อไปให้รู้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว

    มหาอุบาย คือรู้ในวิธีนำตนและผู้อื่นให้พ้นภัยและสัมฤทธิผลเข้าถึงในคุณธรรมต่างๆที่มีประโยชน์

    ความหมายของคำว่า
    "พระโพธิสัตว์"


    โพธิสัตว์ หรืออาจจะเขียนได้ว่า โพธิสัตต์ มาจากคำว่า โพธิ + สัตต

    "โพธิ" แปลว่า ความตรัสรู้หรือความรู้แจ้ง

    "สัตต" ตามบาลีไม่ได้หมายถึงสิ่งมีชีวิต (สัตวะ) หรือมนุษย์เพียงอย่างเดียว แต่เป็นการใช้ความหมายคล้ายคลึงกับ "สัตวัน" (Sattavan) ในคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์ ซึ่งหมายถึง ผู้ทรงพลัง ผู้นำ นักรบ "สัตต" ในคำว่า "โพธิสัตต์" จึงหมายถึง ผู้นำ หรือผู้มีใจเด็ดเดี่ยว กล้าหาญ องอาจ เยี่ยงนักรบ ซึ่งให้ความหมายเดียวกับคำว่า โพธิสัตต์ ในภาษาทิเบต คือ byan chub sems-dpah โดยคำว่า byan chub หมายถึง โพธิ (bodhi), sems หมายถึง จิต (mind) และ dpah หมายถึง วีรบุรุษ ผู้กล้า หรือผู้เข้มแข็ง

    "โพธิสัตต์" จึงแปลว่า ผู้มีใจยึดมั่นในสัมมาสัมโพธิญาณอย่างเด็ดเดี่ยว

    มหาปณิธานของพระโพธิสัตว์

    ๑. เราจะละกิเลสทั้งหลายให้หมด
    ๒. เราจะต้องตั้งใจศึกษาพระธรรมทั้งหลายให้เจนจบ
    ๓. เราจะไปโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลายให้สิ้น
    ๔. เราจะบำเพ็ญตนให้บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

    ทศภูมิของพระโพธิสัตว์

    ทศภูมิของพระโพธิสัตว์ คือภูมิจิตของพระโพธิสัตว์ มี ๑๐ ภูมิดังนี้
    ๑. มุทิตาภูมิ พระโพธิสัตว์มีความยินดีในความไร้ทุกข์ของสัตว์ (ภูมินี้บำเพ็ญหนักในทานบารมี)
    ๒. วิมลาภูมิ (ปราศจากมลทิน) พระโพธิสัตว์ละมิจฉาจริยาได้เด็ดขาด ปฏิบัติแต่ในสัมมาจริยา (ภูมินี้มีศีลบารมีเป็นใหญ่)
    ๓. ประภาการีภูมิ (มีความสว่าง) พระโพธิสัตว์ทำลายอวิชาได้เด็ดขาด มีความอดทนทุกประการ (ภูมินี้มีขันติบารมีเป็นใหญ่)
    ๔. อรรถจีสมดีภูมิ (รุ่งเรือง) พระโพธิสัตว์มีความเพียรในการบำเพ็ญธรรม (ภูมินี้มีวิริยะบารมีเป็นใหญ่)
    ๕. ทุรชยาภูมิ (ผู้อื่นชนะยาก) พระโพธิสัตว์ละสภาวะสาวกญาณ กับปัจเจกโพธิญาณ ซึ่งเป็นธรรมเครื่องกั้นพุทธภูมิ (ภูมินี้มีญาณบารมีเป็นใหญ่)
    ๖. อภิมุขีภูมิ (มุ่งหน้าต่อทางนิพพาน) พระโพธิสัตว์บำเพ็ญยิ่งในปัญญาบารมี เพื่อรู้แจ้งเห็นชัดในปฏิจจสมุปบาท (ภูมินี้มีปัญญาบารมีเป็นใหญ่)
    ๗. ทูรังคมาภูมิ (ไปไกล) พระโพธิสัตว์มีอุบายอันฉลาดแม้บำเพ็ญกุศลน้อย แต่ได้ผลแก่สรรพสัตว์มาก (ภูมินี้มีอุบายบารมีเป็นใหญ่)
    ๘. อจลาภูมิ (ไม่คลอนแคลน มั่นคง) พระโพธิสัตว์บำเพ็ญหนักในปณิธานบารมี
    ๙. สาธุบดีภูมิ พระโพธิสัตว์แตกฉานในอภิญญา และปฏิสัมภิทาญาณ (ภูมินี้บำเพ็ญหนักในพลบารมี)
    ๑๐. ธรรมเมฆภูมิ พระโพธิสัตว์บำเพ็ญหนักในญาณบารมีมีจิตอิสระ ไม่ติดในรูปธรรม นามธรรม (บำเพ็ญหนักญาณบารมี)

    เมื่อพระโพธิสัตว์บำเพ็ญทศภูมิเต็มบริบูรณ์แล้ว ย่อมมีพระคุณเทียบเท่าพระพุทธเจ้า เหลืออีกชาติเดียวก็จักตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เช่นเดียวกับพระศรีอริยเมตตไตรยโพธิสัตว์

    จริยธรรมของพระโพธิสัตว์ ๑๐ ประการ

    ๑. พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาเลยว่า ร่างกายจะไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ
    ๒. พระโพธิสัตว์ ครองชีวิตโดยไม่ปรารถนาเลยว่า จะไม่มีภยันตราย
    ๓. พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาเลยว่า จะไม่มีอุปสรรคในการชำระจิตให้บริสุทธิ์
    ๔. พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาเลยว่า จะไม่มีมารมาขัดขวางการปฏิบัติภารกิจ
    ๕. พระโพธิสัตว์ คิดว่าจะทำงานให้นานที่สุด โดยไม่ปรารถนาจะให้สำเร็จผลเร็ว
    ๖. พระโพธิสัตว์ จะคบเพื่อน โดยไม่ปรารถนาจะได้รับผล
    ๗. พระโพธิสัตว์ จะไม่ปรารถนาว่า จะให้คนอื่นต้องตามใจตนเองเสมอทุกอย่าง
    ๘. พระโพธิสัตว์ จะทำความดีกับคนอื่น โดยไม่ปรารถนาสิ่งตอบแทน
    ๙. พระโพธิสัตว์ เห็นลาภแล้ว ไม่ปรารถนาจะมีหุ้นส่วนด้วย
    ๑๐ พระโพธิสัตว์ เมื่อถูกใส่ร้ายป้ายสี ติเตียน นินทาแล้ว ไม่ปรารถนาจะโต้ตอบ หรือฟ้องร้อง

    อุดมการณ์โพธิสัตว์ มีหน้าที่หลัก ๒ ประการ

    ๑. โพธิสัตว์นอกจากจะมุ่งช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์แล้ว ยังมุ่งในความสุขและความเป็นอยู่ที่ดีในโลกนี้
    ๒. โพธิสัตว์ปรารถนาให้สรรพสัตว์ได้บรรลุนิพพาน โดยตนเองปฏิเสธการเข้าถึงนิพพานของตน เพื่อที่จะได้ยังมีโอกาสรับใช้ช่วยเหลือผู้อื่น แม้ว่าจะต้องยังอยู่ในที่แห่งความทุกข์ยาก เพื่อสร้างคุณความดีช่วยเหลือสรรพสัตว์ ซึ่งนับว่าเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่โดยตั้งปณิธานสำคัญว่า


    "ข้าฯจะไม่เข้าสู่ปรินิพพานจนกว่าสรรพสัตว์ทั้งหลายจะพ้นทุกข์
    ข้าฯจะยังคงอยู่ที่นี่ตราบจนวัฏสงสารจะสิ้นสุดลง
    แม้ว่าข้าฯยังจะต้องอยู่ที่นี่อีก แม้เพียงชีวิตใดชีวิตเดียว"

    ยาน (yanas) หรือเส้นทางซึ่งนำไปสู่การบรรลุโพธิ แบ่งเป็น ๓ ประเภท

    ๑. สาวกยาน คือ ยานของพระสาวกที่มุ่งเพียงอรหันตภูมิ ซึ่งรู้แจ้งในอริยสัจ ๔ ด้วยการสดับจากพระพุทธเจ้า
    ๒. ปัจเจกยาน คือ ยานของพระปัจเจกพุทธเจ้า ได้แก่ ผู้รู้แจ้งในปฏิจจสมุปบาทด้วยตนเอง แต่ไม่สามารถแสดงธรรมสั่งสอนสัตว์ให้บรรลุมรรคผลได้
    ๓. โพธิสัตวยาน คือ ยานของพระโพธิสัตว์ ซึ่งได้แก่ผู้มีจิตใจเมตตา ใจคอกว้างขวาง ประกอบด้วยมหากรุณาในสรรพสัตว์ ไม่ต้องการอรหันตภูมิ ปัจเจกภูมิ แต่ปรารถนาพุทธภูมิ เพื่อโปรดสัตว์ได้กว้างขวาง และเป็นรู้แจ้งในสุญญตธรรม

    โพธิสัตว์จะต้องมีจรรยา ๔ คือ

    ๑. โพธิปักขิยจรรยา คือ ปฏิบัติเพื่อความรู้แจ้ง อันประกอบด้วยคุณธรรม ๓๗ ประการ คือ
    ๑.๑ สติปัฏฐาน ๔ ได้แก่ กาย เวทนา จิต ธรรม
    ๑.๒ สัมมัปปธาน ๔ คือ ความเพียรอันบุคคลตั้งไว้ชอบ ได้แก่ สังวรปธาน(เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน), ปหาปธาน(เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว), ภาวนาปธาน(เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน) และอนุรักขนาปธาน(เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม)
    ๑.๓ อิทธิบาท ๔ ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
    ๑.๔ อินทรีย์ ๕
    ๑.๕ พละ ๕ ได้แก่ สัทธา, วิริยะ, สติ, สมาธิ และปัญญา
    ๑.๖ โพชฌงค์ ๗ ได้แก่ สติ(ความระลึกได้), ธัมมวิจยะ(ความเฟ้นหาธรรม), วิริยะ(ความเพียร), ปีติ(ความอิ่มใจ), ปัสสัทธิ(ความสงบใจ), สมาธิ(ความมีใจตั้งมั่น), อุเบกขา(ความมีใจเป็นกลางเพราะเห็นตามความเป็นจริง)
    ๑.๗ มรรค ๘ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ, สัมมาสังกัปปะ, สัมมาวาจา, สัมมากัมมันตะ, สัมมาอาชีวะ, สัมมาวายามะ, สัมมาสติ, สัมมาสมาธิ

    ๒. อภิญญาจรรยา คือ การปฏิบัติความรู้ทั้งมวล

    ๓. ปารมิจาจรรยา คือ ปฏิบัติเพื่อการสร้างสมบารมี ซึ่งในทางเถรวาทจะกล่าวถึงทศบารมี ๑๐ ประการ แต่ฝ่ายมหายานจะกล่าวถึงบารมีหรือปารมิตาที่สำคัญ ๖ ประการ ได้แก่ ทาน ศีล ขันติ วิริยะ ฌาน ปัญญา โดยสาระที่แท้จริงแล้วก็คือการพัฒนาหลัก ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นเอง ส่วนเนกขัมบารมี ซึ่งแม้จะไม่ได้ระบุไว้ในบารมีของฝ่ายมหายาน แต่เมื่อพิจารณาในรายละเอียด จะพบว่า ในการบำเพ็ญฌานบารมีนั้น เมื่อปฏิบัติในขั้นสูง ผู้ปฏิบัติจะรักษาพรหมจรรย์ ซึ่งใกล้เคียงกับการออกบวชในประเด็นที่เป็นผู้ออกจากกามเช่นกัน

    ๔. สัตตวปริปาจรรยา คือ การอบรมสั่งสอนสรรพสัตว์

    ประเภทของพระโพธิสัตว์

    ในทางพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน แบ่งพระโพธิสัตว์ออกเป็น ๒ ประเภท คือ

    ๑. พระฌานิโพธิสัตว์ เป็นพระโพธิสัตว์ซึ่งกำหนดไม่ได้ว่ามาเกิดในโลกมนุษย์เมื่อใด แต่เกิดขึ้นก่อนกาลแห่งพระศากยมุนีพุทธเจ้า ซึ่งพระโพธิสัตว์เหล่านี้ ท่านได้บรรลุพุทธภูมิแล้ว แต่ทรงมีความกรุณาในหมู่สัตว์ ทรงตั้งพระทัยไม่เข้าสู่พุทธภูมิ ประทับอยู่เพื่อโปรดสัตว์ในโลกนี้ต่อไป ดังเช่น

    - พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ เป็นพระโพธิสัตว์แห่งปัญญา ในหัตถ์ขวาทรงถือพระขันธ์เป็นสัญลักษณ์ในการทำลายล้างกิเลสตัณหาและอวิชาทั้งปวง และในหัตถ์ซ้ายถือคัมภีร์บนดอกบัว
    - พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ เป็นพระโพธิสัตว์ที่ทรงไว้ด้วยความกรุณา และได้ทรงตั้งปณิธานว่าจะช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นจากกิเลสความผูกพันทั้งปวง หน้าที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการรื้อสัตว์ ขนสัตว์จากนรก
    - พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ เป็นพระโพธิสัตว์แห่งความเมตตา จะลงมาจุติในโลกมนุษย์เป็นครั้งคราว เพื่อช่วยเหลือมนุษย์ให้พ้นภัย ความเมตตาของพระองค์แผ่ไปไกลและลึกแม้กระทั่งในดินแดนนรก ในประเทศจีนพระอวโลกิเตศวรเป็นที่รู้จักกันในปางสตรีคือ "เจ้าแม่กวนอิม" และชาวธิเบตเชื่อว่าองค์ประมุขทไลลามะ เป็นอวตารของพระโพธิสัตว์พระองค์นี้
    - พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ ทรงปัญญาเป็นเยี่ยม และทรงใช้ปัญญานี้เป็นเครื่อง บั่นทอนอวิชา
    - พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ ทรงตั้งปณิธานที่จะช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ยาก และเจาะจงช่วยโดยเฉพาะแก่เด็กและมิจฉาชน
    - พระเมตไตรยโพธิสัตว์ (พระศรีอริยเมตไตรย มหาโพธิสัตว์) เชื่อว่าเป็นองค์อนาคตพุทธเจ้า และจะลงมาตรัสรู้ในกาลข้างหน้า เป็นผู้เปี่ยมด้วยความเมตตา

    ๒. มนุษิโพธิสัตว์ คือ ผู้ปฏิบัติตนเพื่อบรรลุเป็นพระโพธิสัตว์ ปฏิบัติตนอยู่ในความบริสุทธิ์ ประกอบการบุญ เจริญศีล ทาน ภาวนา ทำประโยชน์แก่มวลมนุษย์ ช่วยชีวิตคนและสัตว์โลกให้พ้นจากกองทุกข์ กระทำกัลยาณวัตร และบำเพ็ญกุศลเพื่อบารมีแต่ละชาติไป โดยมุ่งหวังบรรลุพระโพธิญาณในขั้นสุดท้าย เช่น อดีตชาติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้นโพธิสัตว์ จึงเป็นอุดมการณ์ของชาวพุทธมหายาน ที่พยายามดำเนินรอยตามแนวทางพระยุคลบาทสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อครั้งทรงเป็นมนุษิโพธิสัตว์ เพื่อให้ได้ถึงพุทธภูมิในที่สุด

    และอุดมการณ์โพธิสัตว์นี้ยังมีสมบัติเป็นตัวเชื่อมทำให้ไม่มีช่องว่างมากนักระหว่างบรรพชิตกับฆราวาส เนื่องจากผู้ที่จะเป็นโพธิสัตว์ ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นบรรพชิต แม้ฆราวาสเองก็เป็นโพธิสัตว์ได้ (ไม่ใช่ด้วยความอยากจะเป็น) เช่นกัน โดยหัวใจของการเป็นโพธิสัตว์นั้นขั้นแรกต้องมี โพธิจิต คือจิตตั้งมั่น ยึดพุทธภูมิเป็นจุดมุ่งหมายของชีวิต มีศรัทธาในโพธิ หรือความรู้แจ้งว่าเป็นอุดมการณ์สูงสุด และมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าในการที่จะช่วยเหลือสรรพสัตว์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 พฤศจิกายน 2006
  4. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    การสร้างบารมีของพระพุทธเจ้า

    พระสมณโคดมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย
    ทรงใช้ระยะเวลาในการบำเพ็ญบารมีเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า
    มารวมเวลาทั้งหมด ๒๐ อสงไขยกำไรแสนกัป
    (กัปตรงนี้หมายถึงมหากัป)

    โดย
    เริ่มแรก
    ทรงปรารถนาว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าอยู่ในใจ
    เป็นระยะเวลา ๗ อสงไขยกำไรแสนกัป
    ต่อมา
    ทรงเปล่งเป็นวาจาออกมาว่าจะเป็นพระพุทธเจ้า
    เป็นระยะเวลาอีก ๙ อสงไขยกำไรแสนกัป
    สุดท้าย
    นับแต่ทรงได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรก
    จนกระทั่งตรัสรู้สำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณ
    เป็นระยะเวลาอีก ๔ อสงไขยกำไรแสนกัป

    หนึ่งอสงไขยในความหมายตรงนี้
    หมายถึงช่วงระยะเวลาที่ไม่มีพระพุทธเจ้า
    แม้แต่พระองค์เดียวมาตรัสรู้
    เป็นระยะเวลายาวนานที่เรียกว่าอสงไขยปี
    ครูบาอาจารย์อธิบายว่า คือ นับจนเลิกนับ
    คือ นับไม่ได้แล้ว
    หรือท่านว่า เอาอายุกัป+เลข ๐ อีก ๑๔๐ ตัว

    พระพุทธเจ้าขาดตอนยาวนานแบบนับเวลาไม่ได้นี้
    หนึ่งช่วง เรียกว่า หนึ่งอสงไขย ตามความหมายนี้

    + + + + + + + + + +
    คัดและเรียบเรียงจากหนังสือ
    ปรมัตถโชติกะ มหาอภิธัมมัตถสังคหฎีกา
    ปริจเฉทที่ ๕ เล่ม ๑
    ภูมิจตุกกะและปฏิสนธิจตุกกะ
    อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย
    มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    หน้า ๑๒๘-๑๓๑
    รจนาโดย
    พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ
    + + + + + + + + + +

    ขออนุญาตใส่ไว้ตรงนี้ด้วย เป็นข้อมูลที่จดๆ เอาไว้
    ว่า

    ช่วงระยะเวลา ๒๐ อสงไขยกำไรอีกสามแสนกัป
    ที่พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันของเราทั้งหลาย
    ใช้บำเพ็ญบารมีเพื่อเป็นพระพุทธเจ้านี้
    พระพุทธองค์ได้ทรงพบพระพุทธเจ้าองค์อื่นๆ
    รวมทั้งหมด ๕๑๒๐๒๘ พระองค์


    จากนี้ไป เป็นข้อมูลที่จดมาจากพระไตรปิฏก
    ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย (ฉบับที่มีอรรถกถา)
    ปีพุทธศักราช ๒๕๒๕
    เล่ม ๗๐

    หน้า ๒๗๑

    ความปรารถนา(จะเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า - deedi)
    ของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย
    ย่อมเป็นไป ๒ อสงไขยแสนกัป
    ไม่อาจต่ำกว่านั้น

    ความปรารถนา (จะเป็นพระอัครสาวก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 พฤศจิกายน 2006
  5. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    [​IMG]




    ท่านผู้ใดมีเรื่องราว จริง ที่เกี่ยวกับพระศรีอาริยเมตตรัยและพุทธวิสัยที่ชาวพุทธแท้ๆรู้จักมาช่วยกันโพสนะครับ เพื่อเป็นธรรมทานและเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่อันเป็นสัมมาทิฐิและถูกต้อง
    ขออนุโมทนากับทุกท่านล่วงหน้าครับ(f)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 พฤศจิกายน 2006
  6. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,671
    ค่าพลัง:
    +51,946
    **********
    พอรู้นิดหน่อย
    **********

    คำกล่าวจาก โลกุตตระ (พระไตรปิฎก)
    "กึ่งพุทธกาล ศาสนาหักกลาง ต้องมีผู้สืบทอดต่อไป จึงต้องลงมาปรากฏ เพื่อมอบแก่นสารของศาสนาให้กับบุรุษผู้หนึ่งที่ทำได้ เพื่อเผยแพร่ต่อไป"

    บุรุษผู้ที่ทำได้ กล่าวว่า
    "หมดยุคพระโคดมแล้ว กำลังเข้ายุคพระศรีอาร....พระศรีอารไม่มีตัวตน"

    ----------------
    เมื่อถึงเวลาสำคัญ
    ผู้นำประเทศจะเชื่อใน "สัจจะ"
    ประชาชนจะเข้าใจ "หลักสัจจะธรรม"
    จะเข้าถึง "หลักโลกุตตระ"
    และพบว่า "พระไตรปิฎก" มีจริง

    มนุษย์ถูกลิขิตทางเดินไว้แล้ว
    โลกุตตระ อยู่เหนือโลก เหนือลิขิต
    ลงมาบอกและเตือนให้ระวังกรรมที่กำลังปรากฏ
    โดยมอบหนทางเลี่ยงกรรมไว้แล้ว
    คือ "สัจจะ"
    อยู่ที่แต่ละท่านจะ "เชื่อ" หรือไม่
    หากไม่มี "การกระทำใหม่ในชีวิต" ก็ต้องเดินตามชะตาลิขิตเช่นเดิม
    หาก "เชื่อ และทำได้จริงตาม สัจจะ" ปฏิหาริย์ที่ยิ่งใหญ่จักปรากฏต่อคนทั้งโลก

    - "หนุมาน ผู้นำสาร"
     
  7. kook1519

    kook1519 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    874
    ค่าพลัง:
    +3,159
    เข้ามาหาความรู้เหมือนกัน ได้สาระมากค่ะ
    ขออนุโมทนา ค่ะ
     
  8. okilu220

    okilu220 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    312
    ค่าพลัง:
    +2,090
    สุดยอดครับ ขอบคุณที่ช่วยเพิ่มเติมความรู้ให้ผมนะครับ
     
  9. okilu220

    okilu220 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    312
    ค่าพลัง:
    +2,090
    อืม...คุณหนุมานครับกึ่งพุทธกาล ศาสนาหักกลางหมายความว่ายังไงเหรอครับช่วยชี้แนะผมหน่อยนะครับ ผมสนใจในคำพูดของคุณจริงๆ แล้วคำพูดที่ว่า
    "หมดยุคพระโคดมแล้ว กำลังเข้ายุคพระศรีอาร....พระศรีอารไม่มีตัวตน"
    มันหมายความว่ายังไงครับ ถ้ารู้ความหมายช่วยบอกด้วยนะครับ ค้างคาใจอย่างแรงถึงขั้นนอนไม่หลับครับ อิอิ(เก็บไปคิด)
     
  10. พรเทพ คชมาศ

    พรเทพ คชมาศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    352
    ค่าพลัง:
    +1,295
    หลายข้อความ น่าเชื่อถือกว่ากระทู้อื่นๆ ที่เคยผ่านมาครับ

    สาธุ.......................................................
     
  11. Tewadhol

    Tewadhol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    194
    ค่าพลัง:
    +694
    กระทู้ดีมีคุณภาพ ทั้งรูปแบบการนําเสนอและเนื้อหา
    ขอยกย่องครับ K.wisdom
     
  12. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    [​IMG]

    อนาคตพุทธวงศ์ 10 พระองค์ มีดังนี้ :-

    1. พระศรีอริยเมตไตรย -จะตรัสรู้ที่ต้นกากะลิง
    2. พระรามเจ้า -จะตรัสรู้ที่ ต้นแก่นจันทน์แดง
    3. พระธรรมราช -จะ ตรัสรู้ที่ ต้นกากะลิง (อดีตคือ พระเจ้าปัสเสนทิโกสน)
    4. พระธรรมสามี -จะ ตรัสรู้ที่ ต้นรังใหญ่ (อดีตคือ พระยามาราธิราช)
    5. พระนารท -จะ ตรัสรู้ที่ ต้นแก่นจันทน์แดง (อดีตคือ อสุรินทราหู)
    6. พระรังศรีมุนี -จะ ตรัสรู้ที่ ต้นดีปลีใหญ่ (อดีตคือ โสณะพราหมณ์)
    7. พระเทวเทพ -จะ ตรัสรู้ที่ ต้นจำปา (อดีตคือ สุพะพราหมณ์)
    8. พระนรสีหะ -จะ ตรัสรู้ที่ ต้นไม้แคฝอย (อดีตคือ โตไทยพราหมณ์)
    9. พระติสสะ -จะ ตรัสรู้ที่ ต้นไทร (อดีตคือ ช้างธณะบานหัตถีนาลาคีรี)
    10. พระสุมังคะละ -จะ ตรัสรู้ที่ ต้นกากะลิง (อดีตคือ ช้างปาเลไลย)

     
  13. ทิดหนึ่ง

    ทิดหนึ่ง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    102
    ค่าพลัง:
    +768
    สาธุ....ภันเต
    ดีแล้วท่านผู้เจริญ
    อนุโมทนา กับเพื่อนสหธรรมมิก เพื่อนร่วมเส้นทางบุญทุก ๆ ท่าน
    ทั้งผู้ตั้งกระทู้ รวมทั้งผู้ร่วมตอบ เสนอความเห็นทุก ๆ ท่าน
    อย่างน้อย ก็ดีใจ ที่มีผู้รู้จริง นำความรู้ต่าง ๆ อันเป็นแก่นสาร สาระ
    ที่มีประโยชน์ นำมาเผยแพร่ให้เพื่อน ๆ ได้รับรู้รับทราบ
    อันการสิ่งใด ที่ท่านทั้งหลายได้กระทำมาแล้ว อันเป็นประโยชน์น้อยใหญ่นี้ใซร้ การสิ่งนั้นย่อมได้ชื่อว่า เป็นบุญ เป็นกุศล
    ขอบุญกุศลในครั้งนี้ จงเป็นผลสะท้อนย้อนกลับไปสู่ตัว สู่ครอบครัว
    ของท่านทั้งหลาย ประสบกับความสุข ความเจริญ มีปัญญาเฉียบคม
    อันจะฟันฝ่า อุปสรรคแห่งห้วงวัฎฎสงสาร ทั้งชาตินี้ ภพภูมิหน้า
    ขอบารมีที่ท่านได้กระทำร่วมกัน จงส่งผลให้ร่วมภพ ร่วมชาติ เป็นกำลังแห่งธรรมตลอดกาล จนกว่า จะพ้นวาระแห่งโลก พานพบสิ่งอันเป็นที่สุดแห่งการเดินทางในห้วงจักรวาลน้อยใหญ่ โดยเร็วเทอญ
     
  14. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    สาธุโมทนาครับ
     
  15. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    ข้อมูลมีประโยชน์มาก ขออนุโมทนาด้วยครับ เราทำดีสร้างบารมีเข้าไว้ถ้าพระศรีอาริย์มาจุติเราก็คงจะได้เจอกับท่านเองน่ะครับ ผมว่า "การเป็นกับการคิดว่าเป็น" นั้นแตกต่างกันมากเลยนะครับ...........
     
  16. CHAYA MARUTY

    CHAYA MARUTY เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2007
    โพสต์:
    1,009
    ค่าพลัง:
    +10,787
  17. NiNe

    NiNe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,792
    ค่าพลัง:
    +7,482
    พระศีรอาริย์เมตไตรพุทธเจ้า ต้องเกิดในตระกูลกษัตริย์เท่านั้น
    <HR style="COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->พระกกุสันธพุทธเจ้า พระโกนาคมพุทธเจ้า และพระกัสสปพุทธเจ้าเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล

    ส่วนพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ที่นอกเหนือจากนี้ ล้วนแต่อยู่ในตระกูลของกษัตริย์ทั้งสิ้น...
     
  18. iofeast

    iofeast เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    4,193
    ค่าพลัง:
    +7,815
     
  19. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,671
    ค่าพลัง:
    +51,946
    ยุคนี้คือ ยุคที่พระธรรม คือ หลักสัจจะธรรม...ถูกบดบังด้วยความเชื่อ ความเห็นนอกศาสนาจำนวนมาก
    มากจน...ชาวพุทธเอง ยังมองไม่เห็น....สรณะหนทางตรงสู่การหลุดพ้น
    หันไปพึ่งสิ่งต่างๆ ไม่คิดพึ่งตนเอง พึ่งการกระทำของตนเอง
    ไม่มีผู้นำพาให้หลุดพ้นได้จริง
    สิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงจัดสรร...ให้เกิดการกระทำของพระศรีอารย์ มาแต่งเติม...แก่นสาร สิ่งที่ขาดหายไปในศาสนศาสตร์ คือ หลักสัจจะธรรม และ สัจจะปฏิบัติ

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 สิงหาคม 2007
  20. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,710
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,192
    พระโพธิสัตว์ทุกๆ พระองค์มีหน้าที่ต้องมาดูแล ปกป้อง คุ้มครอง พระพุทธศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้อยู่ยั่งยืนไปจนครบ 5,000 ปีตามที่พระสมณโคดมพระพุทธเจ้าได้อธิษฐานจิตเอาไว้

    พระศรีอาริยเมตไตรยเป็นพระโพธิสัตว์อันดับหนึ่ง ที่จะได้บรรลุเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อจากพระสมณโคดมพระพุทธเจ้า เมื่อได้เห็นศาสนาของพระสมณโคดมพระพุทธเจ้าเริ่มเสื่อมโทรมลงเพราะพุทธบริษัทสี่ ได้ประพฤติผิดไปจากพระธรรมวินัยที่ได้วางเอาไว้ มีหรือที่ท่านจะนิ่งดูดาย นอนเสวยสุขอยู่แต่ในทิพย์วิมาณของสวรรค์ชั้นดุสิต

    ท่านย่อมลงมาฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ให้กลับมารุ่งเรื่องขึ้นอีกอย่างแน่นอน แต่พระพุทธเจ้าจะมาบังเกิดซ้อนกันสองพระองค์ในโลกธาตุเดียวกันไม่ได้ ท่านจึงไม่ได้มาเป็นพระพุทธเจ้าดังที่หลายคนเข้าใจผิด เพราะเวลานี้ยังเป็นเขตประกาศพระศาสนาของพระสมณโคดมพระพุทธเจ้าอยู่ แต่ท่านจะมาในฐานะของพระมหาโพธิสัตว์ ในฐานะของพระยาธรรมิกราช ในฐานะของพระเจ้าจักรพรรดิปกครองโลกนี้ทั้งโลก เพื่อรวมทุกศาสนาในโลกนี้ให้กลับมาเป็นพุทธศาสนาเดิมแท้ เหมือนเมื่อในครั้งพุทธกาลที่พระสมณโคดมพระพุทธเจ้ายังมีพระชนม์ชีพอยู่
     

แชร์หน้านี้

Loading...