เรื่องเด่น เรื่องเล่าของ พระอินทร์ กับ 7 หลักปฏิบัติของคนดี

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย ษิตา, 15 กันยายน 2018.

  1. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,174
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,647
    เรื่องเล่าของ พระอินทร์ กับ 7 หลักปฏิบัติของคนดี

    picture031.png


    พระอินทร์ หรือนามในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเรียกว่า “ท้าวสักกเทวราช” ในคติพระพุทธศาสนาเชื่อว่าพระองค์ทรงเป็นพระราชาแห่งเทวดาบนสวรรค์ชั้นที่สองคือ “ดาวดึงส์” มีความหมายว่า “สามสิบสาม” เพราะสวรรค์ชั้นนี้พระอินทร์ทรงปกครองสวรรค์ร่วมกับเทวดาที่เป็นพระสหายอีก 32 พระองค์ แล้วเวลาเสด็จไปไหนพร้อมกับพระสหายจะประทับบนช้างเอราวัณ ช้างสวรรค์เชือกนี้ไม่ใช่ช้างธรรมดา แต่เป็นเทพบุตรที่จำแลงกายเป็นช้างให้พระอินทร์และพระสหายทรงเวลาเดินทางไปในที่ต่าง ๆ

    %E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C-3.jpg
    พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
    พระอินทร์มีผิวกายสีเขียวมรกต สถิตในปราสาทนามว่า “ไพชยนตปราสาท” ภายในดินแดนที่พระอินทร์ปกครอง คือ “เมืองสุทัศน์” ประกอบด้วยอุทยาน 6 แห่ง ได้แก่ อุทยานนันทวัน อุทยานปารุสกวัน อุทยานจิตรลดาวัน อุทยานมิสกวัน อุทยานมหาวัน และอุทยานปุณฑริกะ ล้วนแต่เป็นอุทยานที่รื่นรมย์ เป็นที่พักผ่อนหย่อมใจของเหล่าเทวดาและนางฟ้า ทรงมีพระแท่นศิลาเป็นบัลลังก์ชื่อว่า “บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์” และมีต้นดอกทิพย์ที่เกิดจากบุญของพระองค์คือ “ต้นปาริชาติ” มีคุณวิเศษคือ หากผู้ใดได้กลิ่นของดอกปาริชาติผู้นั้นจะสามารถระลึกชาติได้ พระองค์ทรงมีพระมเหสีทั้งหมด 4 นาง ได้แก่ สุธรรมา สุจิตรา สุนันทา และสุชาดา ล้วนแต่มีรูปงามไม่แพ้กัน

    %E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C-1.jpg
    พระอินทร์นำพระเขี้ยวแก้วไปบรรลุภายในพระจุฬามณีเจดีย์บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
    พระอินทร์ทรงมีสรวงสวรรค์และสมบัติทิพย์อันวิเศษเช่นนี้ เป็นผลมาจากการทำความดีตอนเป็นมนุษย์ ปฐมเทวสูตร กล่าวถึงพระพุทธเจ้าตรัสสอนหลักธรรมที่ทำให้ผู้ปฏิบัติสามารถเป็นพระอินทร์ได้ไว้อย่างน่าสนใจว่า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพเมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ได้ปฏิบัติวัตรบท 7 ประการไว้อย่างบริบูรณ์ เพราะเป็นผู้ที่ปฏิบัติตามวัตรบท 7 ประการนี้ จึงได้เป็นท้าวสักกะ วัตรบท 7 ประการประกอบด้วย

    (1) เราพึงเลี้ยงมารดาบิดาจนตลอดชีวิต

    (2) เราพึงประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูลจนตลอดชีวิต

    (3) เราพึงพูดวาจาอ่อนหวานตลอดชีวิต

    (4) เราไม่พึงพูดวาจาส่อเสียดตลอดชีวิต

    (5) เราพึงมีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทินอยู่ครองเรือน มีการบริจาคอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่มยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการแจกจ่ายทานตลอดชีวิต

    (6) เราพึงพูดคำสัตย์ตลอดชีวิต

    (7) เราไม่พึงโกรธตลอดชีวิต ถ้าแม้ความโกรธพึงเกิดขึ้นแก่เรา เราพึงกำจัดมันเสียโดยฉับพลันทีเดียว

    วัตรบท 7 เป็นหลักปฏิบัติของคนดี หรือที่พระพุทธศาสนาเรียกว่า “สัตบุรุษ” หรือ “สัปบุรุษ” คือ “คนดี”

    %E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C-2.jpg
    พระอินทร์ทรงพิณสามสายถวายพระพุทธเจ้า
    หลักธรรมนี้จึงเป็นหลักการของการเป็นคนดี อดีตชาติของพระอินทร์ตอนเป็นมนุษย์มีปรากฏในอรรถกถาธรรมบทโดยมีความว่า

    พระอินทร์กำเนิดเป็นมนุษย์มีนามว่า “มฆมานพ” เป็นคนแคว้นมคธ วันหนึ่งมฆมานพและสหายอีก 32 คนร่วมช่วยกันถางทางเป็นถนนให้คนทั้งหลายเดินทางสะดวก แต่ผู้คนไม่เข้าใจการทำสาธารณประโยชน์ของพวกเขา จึงห้ามปราม ชายทั้ง 33 คนก็ไม่ฟัง หัวหน้าหมู่บ้านจึงออกมาห้ามปราม เห็นว่าควรนำเวลาไปทำมาหากินจะดีกว่ามาขุดถางทางเช่นนี้ ชายทั้ง 33 คนก็ไม่ยอมฟัง หัวหน้าหมู่บ้านโกรธเคืองมฆมานพและเพื่อนทั้ง 32 จึงทูลพระราชาว่า มฆมานพและเพื่อนเป็นโจร พระราชาโปรดให้นำมฆมานพและเพื่อนถูกช้างเหยียบ แต่ปรากฏว่าช้างไม่ยอมเหยียบชายทั้ง 33 พระราชาจึงทรงสอบสวนจนพบว่าชายทั้ง 33 ไม่ได้เป็นโจร แต่เพียงจะถางทางเพื่อทำถนนเท่านั้น พระองค์ทรงปล่อยชายทั้ง 33 แล้วพระราชทานช้างเชือกนี้ให้ พร้อมกับช่างฝีมือดีหนึ่งคน จากนั้นมฆมานพและเพื่อนช่วยกันสร้างศาลาเพื่อเป็นที่พักผ่อนแก่ผู้คนที่สัญจรไปมา นายช่างที่พระราชาประทานให้ได้สร้างศาลาไม้ขึ้น นางสุธรรมา ภรรยาของนายมฆมานพอยากมีส่วนร่วมจึงสร้างชูฟ้าประดับศาลาแล้วสลักชื่อของนางไว้ ศาลานี้จึงมีชื่อว่า “ศาลาสุธรรมา” ส่วนภรรยาอีกสองนางคือ สุนันทากับสุจิตราร่วมตกแต่งศาลาหลังนี้ให้งดงามด้วยสระน้ำและสวน เมื่อบุคคลเหล่านี้สิ้นบุญจึงบังเกิดเป็นเทวดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ สมบัติทิพย์ได้แก่เทวสมาคม คือ ศาลาสำหรับเทวดามาฟังธรรมจึงบังเกิดจากบุญของนางสุธรรมา อุทยานทั้ง 6 ในดาวดึงส์เกิดขึ้นจากบุญของนางสุจิตรา สระน้ำสวรรค์บังเกิดขึ้นจากบุญของนางสุนันทา และสมบัติทิพย์อื่นก็เกิดขึ้นจากบุญของมฆมานพและสหายทั้ง 32 คน

    %E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C-4.jpg

    จะเห็นว่าอดีตชาติของพระอินทร์ที่เป็นมฆมานพนั้น เป็นคนที่มีความเสียสละเวลาส่วนตัวมาทำสาธารณประโยชน์ให้ส่วนรวม ด้วยการสร้างถนนและศาลา รวมทั้งนายมฆมานพเป็นผู้ปฏิบัติหลักวัตรบท 7 ประการ หรือหลักสัตบุรุษ 7 ประการ เป็นหลักของการเป็นคนดี 7 ประการ ผู้ที่ปฏิบัติได้ตามนี้ก็ไม่ต่างจากการเป็นคนดีที่สุดยอด (1) เป็นลูกกตัญญู (2) อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ (3) พูดจาอ่อนหวาน (4) ไม่พูดจาส่อเสียด (5) ไม่ตระหนี่ (6) พูดแต่คววามจริง และ (7 )ไม่โกรธ พูดได้ว่ามฆมานพเป็นตัวอย่างของการประพฤติตนเป็นสุดยอดคนดีเลยทีเดียว

    ข้อมูลจาก 84000.org

    ภาพจาก สรยุทธ พุ่มภักดี ใน นิตยสาร Secret ปี 2559 ฉบับที่ 200 (26 ต.ค. 59) หน้า 30-33, Reurnthai, Khaosod, Silpathai และ Silpa-mag



    ขอบคุณที่มา
    https://goodlifeupdate.com/healthy-mind/92138.html
     
  2. ศิริมันตรา

    ศิริมันตรา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2018
    โพสต์:
    162
    ค่าพลัง:
    +602
    สาธุอนุโมทนาบทความค่ะ

    เพิ่งระลึกถึงท่าน หนึ่งปีที่เคยนิมิตเห็น
    เลยเป็นแฟนคลับพระอินทร์ท่านนับแต่นั้นมา ..:D

    แล้ววันรุ่งขึ้น ก็มี ผู้แสดงนาฏศิลป์กรมสังคีต ผู้มีชื่อ ท่านแอดเฟสเรามา ท่านเป็นผู้ร่ายรำเป็นพระอินทร์ในงานพระบรมศพในหลวงรัชกาลที่ 9 ค่ะ ขนลุกเลยตอนนั้น เพราะ ไม่มีต้นสายปลายเหตุ และ ปรมาจารย์อีกต่างหาก แท้ทรูเลย 0_o
     
  3. Norawon

    Norawon สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กุมภาพันธ์ 2018
    โพสต์:
    197
    ค่าพลัง:
    +208
    สาธุคับ
     
  4. mrmos

    mrmos Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2016
    โพสต์:
    1,190
    ค่าพลัง:
    +1,095
    sa383.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...