เรื่องเล่าจากพระป่า "ผจญพญาเสือโคร่ง"

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Faithfully, 24 ตุลาคม 2015.

  1. Faithfully

    Faithfully เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    656
    ค่าพลัง:
    +2,459
    เรื่องเล่าจากพระป่า
    โดย กัณหาชาลี (วารสารกระแสใจ)
    ผจญพญาเสือโคร่ง
    การได้อยู่กับตัวเองในป่านั้น นับเป็นสิ่ง ดีที่พระหนุ่มได้ทบทวนคำสั่งสอนของครู บาอาจารย์และพระธรรมขององค์พระสัมมา สัมพุทธเจ้าได้ฝึกดูจิตของตนเอง บางทีพระ หนุ่มก็หวนระลึกถึงตอนลาหลวงปู่พิมพาออก ธุดงค์ ภาพนั้นก็ปรากฏชัดอยู่ในใจ หลวงปู่ ถามว่า "คุณรู้วิธีธุดงค์แล้วหรือยัง" พระหนุ่ม ตอบว่า "ไม่รู้ขอรับ" แล้วหลวงปู่ก็บอกว่าให้ไป ท่องธุดงค์ ๑๓ ข้อให้เข้าใจ เมื่อท่องได้แล้วกลับ มาหาหลวงปู่ ตอนนั้นพระหนุ่มตั้งใจจะไป ธุดงค์อย่างเดียว แต่ลืมนึกไปว่าต้องทำความ เข้าใจให้ละเอียดถี่ถ้วนเสียก่อน หลวงปู่พูดขึ้น มาว่า ถ้าเป็นอย่างนี้ไปไม่รอดแน่ ถูกเสือกัด ตายแน่นอน หลวงปู่เลยอธิบายให้ฟังทั้ง ๑๓ ข้อ และอธิบายการเดินธุดงค์ให้พระหนุ่มฟังอย่าง ละเอียด เรื่องข้อวัตรปฏิบัติการเดินธุดงค์และ การปฏิบัติตัวอยู่ในป่าว่าควรทำอย่างไร ให้ได้ เข้าใจวิธีการ

    ธุดงควัตร คือ ข้อปฏิบัติที่เข้มงวดเป็นพิเศษ เพื่อ ความขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าไม่ได้ ทรงบังคับให้ภิกษุถือปฏิบัติ ใครจะปฏิบัติหรือ ไม่ก็ได้ ผู้ที่จะปฏิบัติธุดงควัตรนั้น สามารถเลือก ได้เองตามความสมัครใจ ว่าจะปฏิบัติข้อใดบ้าง เป็นเวลานานเท่าใด เมื่อจะถือปฏิบัติก็เพียงแต่ กล่าวคำสมาทานธุดงควัตรข้อที่ตนเลือก แล้ว ก็เริ่มปฏิบัติได้เลย

    ธุดงควัตรมี ๑๓ ข้อคือ
    ๑.) การถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร คือการใช้ แต่ผ้าเก่าที่คนเขาทิ้งเอาไว้ตามกองขยะบ้าง ข้างถนนบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง นำผ้าเหล่านั้นมา ซัก ย้อมสี เย็บต่อกันจนเป็นผืนใหญ่แล้วนำมา ใช้ งดเว้นจากการใช้ผ้าใหม่ทุกชนิด (บังสุกุล = คลุกฝุ่น)
    ๒.) การถือผ้า ๓ ผืน (ไตรจีวร) เป็นวัตร คือการใช้ผ้าเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น อันได้แก่ สบง(ผ้านุ่ง) จีวร(ผ้าห่ม) สังฆาฏิ(ผ้าสารพัดประโยชน์ เช่น คลุมกันหนาว ปูนั่ง ปูนอน ปัดฝุ่น ใช้แทน สบง หรือจีวรเพื่อซักผ้าเหล่านั้น
    ๓.) การถือบิณฑบาตเป็นวัตร คือการบริโภค อาหารเฉพาะที่ได้มาจากการรับบิณฑบาตเท่านั้น
    ๔.) ถือการบิณฑบาตตามลำดับบ้านเป็นวัตร คือ จะรับบิณฑบาตโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ไม่เลือกว่าเป็น บ้านคนรวยคนจน ไม่เลือกว่าอาหารดีไม่ดี มีใครใส่ บาตรก็รับไปตามลำดับ ไม่ข้ามบ้านที่ไม่ถูกใจไป
    ๕.) ถือการฉันในอาสนะเดียวเป็นวัตร คือ ในแต่ ละวันจะบริโภคอาหารเพียงครั้งเดียว เมื่อนั่งแล้วก็ฉัน จนเสร็จ หลังจากนั้นก็จะไม่บริโภคอาหารอะไรอีกเลย นอกจากน้ำดื่ม
    ๖.) ถือการฉันในบาตรเป็นวัตร คือจะนำอาหาร ทุกชนิดที่จะบริโภคในมื้อนั้น มารวมกันในบาตร แล้วจึง ฉันอาหารนั้น เพื่อไม่ให้ติดในรสชาติของอาหาร
    ๗.) ถือการห้ามภัตที่ถวายภายหลังเป็นวัตร คือ เมื่อรับอาหารมามากพอแล้ว ตัดสินใจว่าจะไม่รับอะไร เพิ่มอีกแล้ว ถึงแม้อาหารนั้นจะถูกใจเพียงใดก็ตาม
    ๘.) ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร คือจะอยู่อาศัยเฉพาะ ในป่าเท่านั้น จะไม่อยู่ในหมู่บ้านเลย เพื่อไม่ให้ความ พลุกพล่านวุ่นวาย รบกวนการปฏิบัติ
    ๙.) ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร คือจะพักอาศัยอยู่ ใต้ต้นไม้เท่านั้น งดเว้นจากการอยู่ในที่มีหลังคาที่สร้าง ขึ้นมามุงบัง
    ๑๐.) ถือการอยู่กลางแจ้งเป็นวัตร คือจะอยู่แต่ใน ที่กลางแจ้งเท่านั้น จะไม่เข้าสู่ที่มุงบังใดๆ เลย แม้แต่ โคนต้นไม้ เพื่อไม่ให้ติดในที่อยู่อาศัย
    ๑๑.) ถือการอยู่ในป่าช้าเป็นวัตร คือจะงดเว้นจาก ที่พักอันสุขสบายทั้งหลาย แล้วไปอาศัยอยู่ในป่าช้า เพื่อ จะได้ระลึกถึงความตายอยู่เสมอ และความไม่ประมาท
    ๑๒.) ถือการอยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดไว้ให้เป็นวัตร คือเมื่อใครชี้ให้ไปพักที่ไหน หรือจัดที่พักอย่างใดไว้ให้ก็พักอาศัยในที่นั้นๆ โดยไม่เลือกว่าสะดวกสบาย หรือ ถูกใจหรือไม่ และเมื่อมีใครขอให้สละที่พักที่กำลังพัก อาศัยอยู่นั้น ก็พร้อมจะสละได้ทันที
    ๑๓.) ถือการนั่งเป็นวัตร คือจะงดเว้นอิริยาบถ นอน จะอยู่ใน 3 อิริยาบถเท่านั้น คือ ยืน เดิน นั่ง จะไม่ เอนตัวลงให้หลังสัมผัสพื้นเลย ถ้าง่วงมากก็จะใช้การนั่ง หลับเท่านั้น เพื่อไม่ให้เพลิดเพลินในการนอน
    ข้อธุดงค์ทั้ง ๑๓ ข้อนี้ เมื่อสมาทานเลือกข้อใด ก็ถือปฏิบัติเคร่งครัดในข้อนั้น

    พบพญาเสือโคร่ง ๕ ตัว
    ในครั้งแรกพระหนุ่มคิดว่าการธุดงค์ในป่าก็ไม่ต่าง กันกับคนไปหาของป่าเท่าไรนัก พอหลวงปู่อธิบายให้ ฟังก็รู้สึกว่าต่างกันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการกิน การฉัน ไม่เหมือนอยู่ที่วัด มันแสนจะสุขสบาย แต่อยู่ใน ป่า ถ้าบิณฑบาตได้ก็ได้ฉัน บิณฑบาตไม่ได้ก็ไม่ได้ฉัน คืออดฉันมื้อนั้น ส่วนเรื่องการนอน เมื่อถึงเวลานอน จะนอนเลยก็ไม่ได้ ต้องไหว้พระสวดมนต์นั่งภาวนาจึง จะนอนได้ หากพูดถึงการเดินธุดงค์รูปเดียว ต้องเคร่ง ครัดชื่อสัตย์บริสุทธิ์กับตัวเองจริงๆจึงปลอดภัย ในช่วง นั้นพระภิกษุหนุ่มก็เดินธุดงค์หลงป่าไปเรื่อยๆค่ำไหน นอนนั้น

    พอฝนตกต้องหลบฝน บางครั้งฟ้าผ่าต้นไม้ บาง ทีฝนตกต้องหลบเข้าอาศัยอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ๆ บางครั้ง ก็ดีไม่มีอะไร บางทีมีเจ้าของคืองูใหญ่เขาอยู่ก่อนเรา เขาก็หวงที่ เขาก็ไล่ เราดูท่าไม่ดี เราก็ต้องไปต่อ บางครั้ง มีทั้งงู ทั้งผึ้ง ทั้งต่อ ทั้งรังแตนมากมายอยู่เป็นฝูง ก็ต้อง ยอมเขา เพราะเขามาจองที่ไว้ก่อน การเดินธุดงค์ไปที่ ภูพานในช่วงเวลานั้น พระหนุ่มก็เดินไปตามเทือกเขา เรื่อยๆ

    เช้าวันหนึ่งขณะที่พระหนุ่มออกบิณฑบาตเช้า ตั้งแต่ช่วงเวลา 06.30-09.30 น. ไม่ได้อาหารแม้แต่นิดเดียว แต่พระหนุ่มไม่เคยย่อท้อก็เดินไปเรื่อยๆจนถึงภู อธิษฐาน เหมือนพระบิณฑบาตทั่วไป เพียงแต่กำหนด จิตภาวนาอยู่ตลอดเวลา และทันใดนั้นพระหนุ่มก็ต้อง หยุดชะงักยืนตรงนิ่งเหมือนไม่ได้หายใจ ในป่านั้นเงียบ สงบไม่มีแม้แต่เสียงนกร้อง ลมก็ไม่พัด เมื่อมองไปข้าง หน้าประมาณ๕-๖ เมตร เห็นเจ้าป่าคือพญาเสือโคร่ง ยืนทะมึน หน้าตึงอยู่ตรงหน้า เหมือนว่ามันกำลังรอ เหยื่อที่จะขย้ำ พระภิกษุหนุ่มได้สติตั้งมั่นส่งกระแส จิตแผ่เมตตาจิตให้พญาเสือโคร่งทั้ง ๕ ตัว ประมาณสัก หนึ่งชั่วโมง เสือก็ไม่ยอมไปไหน พระภิกษุเห็นเสือทำท่า จะกระโจนเข้าขย้ำเหยื่อ ท่านก็น้อมระลึกถึงคุณงาม ความดีที่ได้ปฏิบัติมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันว่า "อาตมาพร้อมแล้วถ้าหากว่าพญาเสืออยากจะกินเรา เป็นอาหาร แต่มีข้อแม้ว่าต้องกินเราให้หมดอย่าให้หลง เหลือ เพราะถ้ากินไม่หมดจะทำให้คนมาเจอ เจ้าก็ถูก ล่า" แล้วท่านก็แผ่เมตตาจิตให้กับเทวดาที่รักษาดูแล เสืออยู่ "ขอให้เทวดาที่รักษาเสืออยู่จงเป็นสุข เป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย" แผ่เมตตา ประมาณสัก ๔๐ นาที พญาเสือทั้ง ๕ ตัวก็ผงกหัวแล้ว ถอยหลังหลีกไป พระภิกษุหนุ่มก็รอดตายมาได้อย่าง หวุดหวิดและเดินทางต่อไปโดยที่ไม่ได้ฉันภัตตาหารอยู่ ๓ วัน พอวันที่ ๔ ก็มีโยมมาใส่บาตรด้วยกล้วยหนึ่งหวี ข้าวหนึ่งทัพพี ซึ่งเป็นเหตุการณ์การเดินธุดงค์เดือนที่ ๔ ที่อยู่ในป่า

    บทเรียนนี้ทำให้พระหนุ่มเข้าใจว่าสติสัมปชัญญะ เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินชีวิตอยู่ในโลก พระ ที่เดินธุดงค์อยู่ในป่าจริงๆ คือเดินอยู่ในป่าลึก ในเขา ยิ่ง ต้องมีสติมากเพราะทุกย่างก้าวล้วนมีแต่อันตรายในป่า ลึกนั้น เวลาเดินเราไม่สามารถมองเห็นภัยที่จะมาถึงได้ สัตว์ทุกชนิดอสรพิษทุกตัว คอยจ้องเหยื่อที่ผ่านไปผ่าน มาอยู่ตลอดเวลา ตาทุกคู่คอยจ้องมองเราอยู่ ความ จริงข้อนี้พระธุดงค์ที่เดินอยู่ในป่าลึกหลายปีจะเข้าใจ ดีมาก

    พระพุทธเจ้าจึงตรัสธรรมบทนี้ว่าธรรมที่มีอุปการะ มากคือสติสัมปชัญญะ เปรียบเหมือนญาติโยมที่ขับรถอยู่ บนท้องถนน ถ้าหากขาดสติรถก็จะถูกชน หรือไปชนคนอื่น การยืน การนั่ง การนอน การกิน การดื่ม การพูด การคิด ต้องมีสติ นักปฏิบัติยิ่งต้องมีสติ และอย่าขาดสติ ถ้าขาดสติ แล้ว จะทำให้เกิดแต่ความคิด เกิดความคิดฟุ้งซ่าน หรือ เรียกว่านิวรณ์เข้าครอบงำ จิตก็ตกต่ำ ทำให้เราไปสู่นรก ทันที ศีลเป็นสิ่งสำคัญในการถือธุดงควัตร เพราะต้องอาศัย ถ้ำ อาศัยเงื่อมผาอยู่ ต้องอาศัยโคนต้นไม้ใหญ่ที่ไม่มีลูกอ่อน ไม่มีลูกสุก พระภิกษุที่ออกธุดงค์จะต้องมีความรู้มีความเข้า ใจในการออกธุดงค์ เช่น การอยู่โคนต้นไม้ ต้องสังเกตดูว่า มีลูกไม้หรือไม่ ถ้ามีเป็นอย่างไร มีลูกอาจมีสัตว์มากิน เช่น ลิงหรือชะนี มากินลูกไม้ที่สุกทำให้ตกลงมาถูกเราได้

    ดังนั้นพระธุดงค์จึงต้องทำความเข้าใจการถือข้อธุดงค์ ๑๓ ข้อ แล้วต้องมีความเข้าใจในสิ่งแวดล้อมของป่า รู้จัก สังเกตเหตุการณ์ สัตว์บอกทาง สัตว์บอกราง หรือเตือนภัย

    วิญญาณในป่า
    ส่วนเรื่องของจิตวิญญาณเป็นเรื่องปกติของพระ ธุดงค์ที่จะต้องพบต้องเห็นเป็นเรื่องธรรมดา มีอยู่วันหนึ่ง เวลาบ่าย ๓ โมงเย็น ขณะที่พระภิกษุหนุ่มเดินทางอยู่ในป่า ดงลึก ซึ่งมีต้นไม้ใหญ่อยู่รอบๆประมาณ ๑๐ กว่าต้น มีญาติ โยมกำลังแบกกล้วยป่าผ่านมา พระหนุ่มถามว่า "โยมแถว นี้มีธารน้ำหรือไม่" โยมก็ชี้ไปทางขวามือ พระภิกษุหนุ่มก็เดิน ตามทางเล็กๆ เป็นช่องทางเดินพอสังเกตได้เท่านั้น แต่ พอเดินไป กลับไม่มีทางเดินต่อ มีแต่ป่าไม้ ต้นไม้หนาทึบ ไปหมด พระภิกษุหนุ่มก็หันหลังกลับไปถามโยมอีกครั้งเพื่อ ความมั่นใจ ปรากฏว่าไม่เห็นโยมเสียแล้ว ถ้าเป็นคนก็ไม่ น่าจะหายไปได้เร็วขนาดนั้น แต่พระหนุ่มก็มิได้ใส่ใจ ได้แต่ ออกเดินธุดงค์ต่อไป....

    credit ภาพจาก www.isangate.com
    ที่มา: เรื่องเล่าจากพระป่า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      68.9 KB
      เปิดดู:
      61
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2015

แชร์หน้านี้

Loading...