เรื่อง คุณประโยชน์ของธรรม โดย พระราชสุทธิญาณมงคล

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 12 มิถุนายน 2006.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,024
    v<table style="font-size: 12px;" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="560"><tbody><tr style="font-size: 12px;" valign="top"><td style="font-size: 12px;" class="title" height="65" width="278">:<!-- InstanceBeginEditable name="groupname" -->: ธรรมบรรยาย พระเทพสิงหบุราจารย์ ::<!-- InstanceEndEditable --></td> <td style="font-size: 12px;" class="txt9" align="right" width="282"><!-- InstanceBeginEditable name="name" -->เรื่อง คุณประโยชน์ของธรรม
    โดย พระราชสุทธิญาณมงคล<!-- InstanceEndEditable --></td> </tr> <tr style="font-size: 12px;" valign="top"> <td style="font-size: 12px;" colspan="2"><!-- InstanceBeginEditable name="txt" --> <table style="font-size: 12px;" border="0" cellpadding="10" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;" width="10%">[​IMG]</td> <td style="font-size: 12px;" width="90%">ทุกวันนี้คนกลับนำเอากิเลสมาเป็นสติ นำเอามาเป็นพื้นฐานของชีวิต มาเป็นกาลีบ้านกาลีเมือง เป็นอกุศลกรรม คนบ้านนั้นจึงวุ่นวายอยู่ไม่ได้ แต่ถ้าบ้านใดมีพื้นฐานด้วยกุศลกรรม บ้านนั้นจะเจริญรุ่งเรืองด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา คนบ้านนั้นจะมีสติปัญญาแก้ไขปัญหาได้อย่างแน่นอน
    </td> </tr> </tbody></table> เมื่อสมัยที่พระพุทธองค์ประทับที่เมืองอาฬาวี อาฬวกยักษ์ได้ไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าถึงที่ประทับ แล้วกราบทูลพระพุทธองค์เชิงขับไล่ว่า "จงออกไปเถิดสมณะ"
    <table style="font-size: 12px;" border="0" cellpadding="10" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;" width="75%">พระพุทธองค์ตรัสว่า "ดีละท่าน" แล้วก็ได้เสด็จออกไป อาฬวกยักษ์ได้กราบทูลว่า "ขอจงเข้ามาเถิดสมณะ" พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า "ดีแล้วท่าน" แล้วก็ได้เสด็จเข้ามา เรียกว่าเชิญเข้ามาก็มา เชิญออกไปก็ออก ทำอย่างนี้ถึง ๓-๔ ครั้ง แต่พระพุทธเจ้าก็ไม่ทรงย่อท้อ อดทนและในครั้งที่ ๔ พระพุทธองค์ตรัสว่า "ดูกรท่าน เราตถาคตจักไม่ออกไปละ ท่านจงกระทำกิจที่ท่านจะพึงกระทำเถิด"
    อาฬวกยักษ์กราบทูลว่า "ดูกรสมณะ ข้าพเจ้าจะถามปัญหากับท่าน ถ้าว่าท่านจะไม่พยากรณ์แก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะควักดวงจิตของท่านออกโยนทิ้งเสีย จักฉีกหัวใจของท่าน หรือจักจับที่เท้าทั้งสองของท่านแล้วขว้างไปที่ฝั่งแม่น้ำคงคงให้จงได้"
    </td> <td style="font-size: 12px;" align="right" width="25%">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table style="font-size: 12px;" background="../images/dot02.gif" border="0" cellpadding="10" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;">พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า "เราตถาคต เรายังไม่มองเห็นบุคคลที่จะพึงควักดวงจิตของเราตถาคตออกโยนทิ้ง จะพึงฉีกหัวใจของเราตถาคต หรือจะพึงจับเท้าทั้งสองแล้วขว้างไปที่ยังฝั่งแม่น้ำคงคาได้ ในโลกพร้อมทั้งมารโลก พรหมโลก ในบรรดาหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ดูกรท่าน ท่านหวังจะถามปัญหา ก็จงถามเถิด อย่าประดักประเดิดแต่ประการใด"
    </td> </tr> </tbody></table> ต่อจากนั้น อาฬวกยักษ์ถูกถามพระพุทธเจ้าต่อไปด้วยคำถามที่ว่า "อะไรหนอเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจของคนในโลกนี้
    อะไรเล่าที่บุคคลประพฤติดีแล้วย่อมนำความสุขมาให้ อะไรเล่าเป็นรสยังประโยชน์ให้สำเร็จกว่ารสทั้งหลาย นักปราชญ์ทั้งหลายได้กล่าวถึงชีวิตของบุคคลผู้เป็นอยู่อย่างไรว่าประเสริฐสุด"
    <table style="font-size: 12px;" border="0" cellpadding="10" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;" background="../images/dot02.gif">[​IMG]</td> <td style="font-size: 12px;" background="../images/dot02.gif">พระพุทธองค์ตรัสตอบด้วยคาถาว่า "ศรัทธาเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจ อันประเสริฐสุดของคนในโลกนี้ นี่แหละท่านสาธุชนโปรดจำไว้ต้องมีศรัทธา ถ้าท่านมาเจริญพระกรรมฐานต้องมีศรัทธา ธรรมะที่บุคคลประพฤติดีแล้วนำความสุขมาให้ ความสัตย์นั่นแหละ เป็นรสอันประเสริฐและยังประโยชน์ให้สำเร็จกว่ารสทั้งหลาย นักปราชญ์ทั้งหลายได้กล่าวถึงชีวิตความเป็นอยู่ของบุคคลด้วยปัญญาว่าประเสริฐสุด"
    </td> </tr> </tbody></table> อาฬวกยักษ์ทูลถามว่า "คนข้ามโอฆะได้อย่างไรหนอ คนย่อมข้ามอรรณพได้อย่างไร คนย่อมล่วงทุกข์ได้อย่างไร และคนย่อมบริสุทธิ์ได้อย่างไร"
    พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า "คนข้ามโอฆะด้วยศรัทธา ข้ามอรรณพได้ด้วยความไม่ประมาท ล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร และความบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา"
    อาฬวกยักษ์ทูลถามว่า "คนได้ปัญญาอย่างไรหนอ ทำอย่างไรจึงจะหาทรัพย์ได้ คนได้ชื่อเสียงอย่างไรหนอ ทำอย่างไรจึงจะผูกมิตรไว้ได้ คนละโลกนี้ ไปสู่โลกหน้า ทำอย่างไรจะไม่เศร้าโศก"
    <table style="font-size: 12px;" border="0" cellpadding="10" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;">พระพุทธองค์ตรัสตอบทันทีโดยบอกชื่อธรรมะพระอรหันต์ทั้งหลาย เพื่อบรรลุนิพพาน เป็นผู้ไม่ประมาท มีปัญญาเป็นเครื่องสอดส่อง ฟังอยู่ด้วยดี ย่อมได้ปัญญาและมีวิจารณ์ คนผู้มีธุระทำเหมาะสม ไม่ทอดธุระ เป็นผู้มีความเพียร ย่อมหาทรัพย์ได้ คนได้ชื่อเสียงเพราะความสัตย์ ผู้ให้ย่อมผูกมิตรไว้ได้
    บุคคลใดอยู่ครองเรือนประกอบด้วยศรัทธา มีธรรมะ ๔ ประการนั้นคือ สัจจะ ทมะ ธิติ จาคะ ผู้นั้นแหละละโลกนี้ไปแล้วย่อมไม่เศร้าโศก ถ้าว่าเหตุแห่งการได้ปัญญา ยิ่งไปกว่าทมะก็ดี เหตุแห่งการหาทรัพย์ได้ยิ่งไปกว่าขันติก็ดี มีอยู่ในโลกนี้แล้วไซร้ เชิญท่านถามสมณะพราหมณ์เป็นอันมากเหล่าอื่นดูเถิด"
    </td> <td style="font-size: 12px;">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> อาฬวกยักษ์กราบทูลว่า "ทำไมหนอ ข้าพระองค์จึงมีต้องถามสมณะพราหมณ์ เป็นอันมากในบัดนี้เล่า วันนี้ ข้าพระองค์ได้ทราบชัด ถึงประโยชน์อันเป็นไปในภพหน้า พระพุทธเจ้าเสด็จมาอยู่เมืองอาฬวี ก็เพื่อประโยชน์แก่ข้าพระองค์โดยแท้ วันนี้ ข้าพระองค์ทราบชัดถึงพระทักขิไนยบุคคลผู้เลิศ ที่บุคคลถวายทานแล้ว เป็นทานที่มีผลมาก ข้าพระองค์จักนอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระธรรม ซึ่งเป็นธรรมดี ขณะที่พระองค์เที่ยวไปจากบ้านสู่บ้าน จากเมืองสู่เมือง"
    สรุปข้อธรรมจากอาฬวกยักษ์ หัวข้อธรรมที่พึงนำมาประพฤติปฏิบัติแบ่งเป็น ๒ หมวด คือ
    หมวดที่ ๑ มี ๔ ประการ คือ สัจจะ ทมะ ธิติ และจาคะ
    หมวดที่ ๒ มี ๔ ประการ คือ สัจจะ ทมะ ขันติ และจาคะ
    <!-- InstanceEndEditable --></td> </tr> </tbody></table>
    อธิบายหัวข้อธรรมประการ
    ๑. คำว่า สัจจะ แปลว่า ความสัตย์ซื่อต่อกัน มีลักษณะ ๓ อย่างคือ
    ๑)สัจจะ มีลักษณะเป็นความจริง ไม่หลอกไม่ลวง เป็นของจริง
    ๒)สัจจะ มีลักษณะเป็นความตรง มีความประพฤติทางกาย ทางวาจาและทางใจ ซื่อตรงไม่คดโกงหรือบิดพริ้วเบี่ยงบ่ายจากความถูกหรือความเที่ยง
    ๓)สัจจะ มีลักษณะเป็นความแท้ ไม่ปลอม ไม่เหลาะแหละในกิจกรรมอันเป็นหน้าที่ชัดเจน
    <table style="font-size: 12px;" border="0" cellpadding="10" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;">[​IMG]</td> <td style="font-size: 12px;">สัจจะซึ่งมีลักษณะดังกล่าวนี้ ผู้ครองเรือนพึงตั้งหรือกำหนดใน ๕ สถานนี้คือ
    ๑)ตรงต่อหน้าที่ คือปฏิบัติหน้าที่ให้เต็มตามหน้าที่
    ๒)ตรงต่อการงาน คือตั้งใจทำงานให้ดี
    ๓)ตรงต่อวาจา คือรักษาคำมั่นสัญญา
    ๔)ตรงต่อบุคคล คือประพฤติดีต่อคนอื่น
    ๕)ตรงต่อความดี คือยึดมั่นอยู่ในความประพฤติปฏิบัติ อีกประการหนึ่งก็คือ สัจจะคือความจริงใจ ซึ่งหมายความว่า ความเป็นคนมีจิตใจแน่วแน่ มุ่งมั่นในสิ่งที่ตนปรารถนา แล้วก็ทำตนเห็นผล เช่น เป็นนักเรียนเรียนวิชาใดก็เรียนจนได้ความรู้จริงในวิชานั้น ผู้รักษาศีลประการใดก็ตั้งใจรักษาศีลประภทนั้นให้จงได้ ให้ได้จริง หรือผู้เป็นนักบวชที่ดีจริง เป็นต้น ไม่ใช่บวชปลอม เดี๋ยวนี้บวชปลอมกันมาก
    </td> </tr> </tbody></table> <table style="font-size: 12px;" background="../images/dot02.gif" border="0" cellpadding="10" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;">คุณธรรม คือ สัจจะ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตทั้งทางโลก ทางธรรม จึงกล่าวได้ว่า ใครก็ตามที่ขาดสัจจะในใจเสียอย่างเดียว เอาดีไม่ได้เลย จะเล่าเรียนก็ไม่จริงจัง จะรักใคร ๆ ก็รักไม่จริงจัง จะแต่งงานกับใครก็ไม่จริงจัง จะเป็นพลเมืองของประเทศใดก็ไม่จริงจัง จะปฏิบัติธรรมก็ไม่จริงจัง เป็นต้น คนประเภทนี้จะเอาดีได้อย่างไร ในทางตรงกันข้าม คือ คนที่มีสัจจะ คุณธรรม คือสัจจะนั่นเอง จะเป็นหลักประกันประจำตัวให้คนอื่นเชื่อถือไว้วางใจ จะทำการสิ่งใดก็เจริญ เพราะได้รับการสนับสนุนจากคนทั้งหลาย
    ข้อสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ จิตใจที่มีสัจจะ อันอบรมดีแล้ว คือ การเจริญพระกรรมฐานดีตลอดมา คือมีความจริงใจจนติดเป็นนิสัยมั่นคง ความจริงใจนั้นจะเป็นเหตุ ทำให้จิตใจมีพลัง ฟันฝ่าอุปสรรคเหมือนกระสุนที่ถูกยิงไปด้วยพลังอย่างสูง ย่อมแหวกว่ายเจาะไชเอาชนะสิ่งที่ขวางหน้าไปจนได้ และเพราะค่าที่สัจจะเป็นกำลังส่งจิตใจให้บรรลุเป้าหมายได้ แม้แต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้บรรลุพระอรหันต์สัมมาสัมโพธิญาณ ก็ด้วยสัจจะนี้
    </td> </tr> </tbody></table> ดังนั้นสัจจะท่านจึงจัดไว้เป็นบารมีอย่างหนึ่งในบารมีสิบประการที่พระโพธิสัตว์จะขาดเสียมิได้ เรียกว่า พระโพธิสัตว์บารมี
    วิธีตั้งสัจจะไว้ในใจมี ๒ วิธีคือ
    ๑. สัจจะธิษฐาน คือ อธิษฐานด้วยใจ ตั้งใจให้แน่วแน่ว่าตนมีความปรารถนาอย่างนั้น โดยทั่วไปนิยมตั้งสัจจาธิษฐาน ต่อจากได้ไหว้พระสวดมนต์ประจำวัน หรือได้ทำบุญสุนทานแล้ว ดังจะเห็นได้จากคำถวายทานต่าง ๆ ซึ่งมักจะมีคำสัจจานิษฐานลงท้ายเสมอ เช่น "อาสวกฺขยาวหํ นิพฺพานํ โหตุ" หรือ "นิพฺพานปัจฺจโย โหตุ" ซึ่งแปลว่า ขอให้ผลบุญนี้ทำให้ตนสิ้นกิเลสาสวะ บรรลุพระนิพพานเถิด ความปรารถนาเหล่านี้ บางคนเข้าใจว่าเป็นคำอ้อนวอนแบบศาสนาอื่นอ้อนวอนพระเจ้า แต่ความจริงไม่ใช่ ที่ถูกแล้วเราปฏิบัติตามคุณธรรม คือ สัจจะนี้ นั่นเอง
    ๒. สัจจะปฏิญาณ คือ การเปล่งวาจา ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลายโปรดพินิจพิจารณาด้วย อันออกด้วยวาจาให้คนอื่นได้ยิน เหมือนอย่างเช่น โยมกรวดน้ำต้องพูดให้ได้ยิน เปรตถึงจะได้รับผล ถ้าหากพูดไม่ได้ยิน เปรตไม่รู้เรื่อง ไม่ได้อะไรเลย ตรงนี้ชาวพุทธโปรดพิจารณาด้วย การที่ต้องทำอย่างนี้เพื่อให้เกิดความมั่นใจแก่ผู้อื่นด้วย และเพื่อให้เกิดความละอายแก่ใจของตน เมื่อจะพลั้งเผลอ ละเมิด สัจจะนั้น คือความนึกคิดที่ตั้งไว้ในใจนั่นเอง ให้เกิดความรู้สึกละอายใจ
    <table style="font-size: 12px;" border="0" cellpadding="10" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;">คุณของความมีสัจจะ เช่น
    ๑. เป็นคนหนักแน่น อดทน
    ๒. มีความเจริญก้าวหน้าในธุรกิจ
    ๓. การงานหรือกิจที่ทำนั้นได้ผลดีเป็นพิเศษ
    ๔. มีคนเชื่อถือ และยำเกรง
    ๕. ทำความมั่นคงให้เกิดแก่ครอบครัวของตน
    ๖. ทำดีไม่ท้อถอย
    </td> <td style="font-size: 12px;">โทษของการขาดสัจจะ เช่น
    ๑. เหลาะแหละ เหลวไหล
    ๒. ตกต่ำ หายนะ
    ๓. ล้มเหลว กิจการล้มเหลวหมด
    ๔. คนเหยียดหยาม ไม่เชื่อถือ
    ๕. ความเจริญใจบรรดามีตั้งอยู่ไม่ได้
    ๖. หาความสุขในครอบครัวไม่ได้
    </td> </tr> </tbody></table> ๒. คำว่า ทมะ แปลได้หลายอย่าง แปลว่า ฝึก,ข่ม รวมความแล้วก็คือ การปรับปรุงตัวเองให้ก้าวหน้าเหมาะสมกับการงาน และสังคม นั่นเอง ในทางปฏิบัติ ทมะมีลักษณะ ๓ อย่างคือ
    <!-- InstanceEndEditable -->
    ๑. ทมะ มีลักษณะเป็นความฝึก
    ๒. ทมะ มีลักษณะเป็นความหยุด
    ๓. ทมะ มีลักษณะเป็นความข่ม
    <table style="font-size: 12px;" background="../images/dot02.gif" border="0" cellpadding="10" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;">ทมะ มีลักษณะเป็นความฝึก หมายความว่า ฝึกทำงานให้เป็น เพราะในสังคมนั้นมีงานมากมายหลายอย่างต่าง ๆ กัน เช่น งานทำนา งานทำสวน งานช่างไม้ งานช่างเหล็ก งานช่างปูน เป็นต้น ถ้าเราเองเกิดมาในลักษณะเป็นคนทำงานไม่เป็น และเราก็มีชีวิตอยู่ในสังคมทั้ง ๆ ที่เราทำงานไม่เป็นอย่างนี้ ย่อมเป็นอันตรายแก่ตัวเอง และเป็นภาระแก่สังคมอย่างยิ่ง เพราะคนที่ทำอะไรไม่เป็นเลยนั้น จะทำได้มากที่สุดอย่างหนึ่ง คือ ทำความลำบากแก่คนอื่น เพราะฉะนั้น พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้มี ทมะ คือ ฝึกหัดอบรมตนเองให้เป็นงาน นำมาหาเลี้ยงชีพเป็น จะฝึกตนได้อย่างนี้ ก็ต้องข่มใจ ฝึกใจตนเองอยู่อย่างสม่ำเสมอ คือ พระกรรมฐาน กำหนดอยู่ตลอดเวลารับรองได้ผลแน่ ข่มจิตตึ้งจิตตั้งสติหันเหไปในทางที่ผิดหนักเข้าก็จะนำความลำบากเดือดร้อนกลับมาสู่ตนและครอบครัวตลอดจนสังคม เช่นถ้าตัวเราจะกลายเป็นคนติดสุรา เป็นนักเลงการพนัน เป็นนักเลงเจ้าชู้ เป็นต้น เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ทั้งนั้น
    </td> </tr> </tbody></table> ถ้าเราไม่รู้จักยับยั้งตัวเอง ความหยุดจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ในคราวที่เราจะถลำไปสู่ความชั่ว ในคราวผิดพลาด ตัวอย่างเช่นในคราวทะเลาะวิวาทกั้น จะคิดทำทุจริต จะตกไปสู่อบายมุขและจะหันไปสู่ความเป็นคนเลว เมื่อถึงคราวอย่างนั้นก็จะต้องรู้จักหยุดข่มใจตัวเองตั้งสติไว้ รู้หนอ
     
  2. เสขะ

    เสขะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +1,077
    อนุโมทนา สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...