เวลานั่งสมาธิท่านใช้คำบริกรรมว่าอะไรกันบ้าง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย eka.11@hotmail.com, 4 พฤษภาคม 2008.

  1. eka.11@hotmail.com

    eka.11@hotmail.com Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2008
    โพสต์:
    105
    ค่าพลัง:
    +53
    เวลาผมนั่งถ้าใช้คำบริกรรมเดิมซ้ำอยู่ประมาณอาทิตย์ก็จะเริ่มไม่นิ่งแล้วครับมันจะคิดฟุ้งซ่านไปเรื่อย ต้องเปลี่ยนเป็นคำอื่น เป็นเพราะอะไรครับ
     
  2. nuttadet

    nuttadet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +6,454
    ไว้ว่างๆ ผมชวนไปทำสมาธิด้วยกันไหมครับ

    คำบริกรรม ไม่จำเป็นเลยครับ สุดท้ายแล้ว มันก็เป็นแค่ วิธีการขั้นต้น
     
  3. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,077
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,669
    พุท โธ
    ยุบ พอง
    เข้า ออก
    ใช้น้อมจิตให้เข้าสู่สมาธิ อิ่งกับ ลมหายใจ ครับ
     
  4. GoonS

    GoonS เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +2,682
    คำภาวนาไม่สำคัญเลย จะใช้อะไรก็ได้คับ

    อย่าลืมลมหายใจด้วยละอันนี้สำคัญ

    ผมก็ใช้หลายๆอย่าง ถ้าฟุ้งก็กำหนดพองหนอ-ยุบหนอ
     
  5. iofeast

    iofeast เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    4,199
    ค่าพลัง:
    +7,815


    จะใช้อะไรก็ได้ เอาที่ถูกจริตกะตน พอจิตรวมแล้วคำบริกรรมก็จะหายไปเองจ๊ะ เชี่ยวชาญแล้วก็ไม่ต้องบริกรรมแล้วจ๊ะ
     
  6. อยาก เวียนว่าย

    อยาก เวียนว่าย สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +17
    ถ้าปกติ สบายๆ ผมก็จะใช้ พุท-โธ
    แต่ถ้าวันไหนฟุ้งมากๆ จะกดฟุ้ง ผมจะทิ้งลมหายใจไปเลย
    แล้วภาวนา(นับ) 123...9แล้ววนอยู่อย่างนี้ซัก 6-7 รอบ บางทีก็
    สัมปจิตฉามิ แบบปืนกล คือไม่ผูกกะลมหายใจ จิตผูกกับคำภาวนาอย่างเดียว

    ถ้ายังเอาไม่อยู่อีกก็จะเปลี่ยนมาเป็นวิปัสสนาแบบตามรู้ ตามดู คือปล่อยเค้า
    ฟุ้งแต่ก็ตามดูไปเรื่อยๆส่วนใหญ่ ซักพักก็เชื่องครับ
     
  7. เด็กโชว์พาว

    เด็กโชว์พาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,082
    ค่าพลัง:
    +470
    คำภาวนาก็สำคัญครับ คำภาวนาบางคำท่องแล้วจิตนิ่งมากแต่ของมันแรง เสี่ยงต่อการเป็นบ้า หุๆ
     
  8. แผ่บุญ

    แผ่บุญ ชอบ~ศรัทธา 40 อสงไขย

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2018
    โพสต์:
    355
    ค่าพลัง:
    +307
    คำบริกรรมจะมีผลต่อจิตสภาพความคิดโดยรวมและอนาคตของชีวิตเราที่จะกำลังแปรเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างมากมายครับ สำหรับส่วนตัวใช้คำภาวนาที่เกี่ยวกับการแผ่เมตตาควบไปกับเสริมฐานของบุญให้มั่นคง พอบริกรรมไปเรื่อยๆความรู้สึกนึกคิดต่างๆก็จะมีแนวโน้มไปทางนั้นครับ ผมก็สังเกตุนิสัยและวิธีชีวิตตัวเองมาด้วยเรื่อยๆตลอด ความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนคือภาพอนาคตในจิตเราครับ เราจะเห็นว่าอนาคตเราจะมีชีวิตเป็นทำนองอย่างไร มันเห็นจริงครับ ของคนอื่นผมไม่รู้ว่าเขาเป็นยังไงเป็นแบบผมหรือเปล่า มันเป็นภาพซ้อนในจิตขึ้นมาว่าอนาคตเราจะไปทางนี้แนวนี้จะมีเป็นอย่างนี้ๆ ทุกๆครั้งที่ภาวนาครับ สรุปคำบริกรรมมีผลโดยตรงต่อจิตเราและจะเหนี่ยวนำการดำเนินชีวิตให้ไปตามความหมายของคำที่ใช้บริกรรมแน่นอนครับ ของแบบนี้เห็นผลช้าไวเข้าใจมากน้อยนั้นขึ้นอยู่กับตัวบุคคลปัจจัตตังรู้ได้เห็นได้เข้าใจด้วยตนเองครับ
     
  9. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    คำบริกรรมเป็นเครื่องมือที่ใช้เชื่อมโยงจิต
    ให้เกิดความสงบในเบื้องต้น

    แต่คำบริกรรมจะได้ผลก็ต่อเมื่อ
    อยู่ในโหมดที่จิตมีความเป็นทิพย์
    และจิตเริ่มมีกำลังเพียงพอใช้งานได้แล้ว

    เราจะบริกรรมอะไรก็ได้แล้วแต่ชอบ
    ถ้าบริกรรมแล้ว ส่งผลต่อร่างกายหรือฟุ้ง
    แสดงว่า กำลังสมาธิสะสมเราไม่เพียงพอแล้ว เสริมการเจริญสติ
    และเดินจงกลมเข้าไป

    ถ้าบริกรรมแล้ว รู้สึกแน่นที่อก หรือบริเวณร่างกาย ตึงปวดระหว่างเหนือคิ้ว
    ตึงศรีษะ แสดงว่า ระบบหายใจเรายังไม่ดี
    และยังเผลอไปดึงความคิดจากสมอง
    ที่เป็นสัญญาในอดีตและที่สร้างใหม่มาร่วม

    ให้แก้ด้วย ทำความรู้สึกรับรู้ว่ามีลม
    เข้าและออกหยุดที่ปลายจมูกพอ
    แต่ให้ดันลมหายใจเข้าและออกให้ลึกถึงท้อง
    คือหายใจเข้าท้องพอง หายใจออกท้องยุบ
    และห้ามไปตามลมหายใจเป็นอันขาด
    เพราะจะตันที่ปฐมฌานทั้งชาติ
    ส่วนสายตาปกติถ้าหลับตา
    ให้โน้มมามองที่ลิ้นปี่(สังเกตุสายตาพระพุทธรูป) มันจะรู้สึกว่ามีอีกตาบริเวณเหนือคิ้วเอง
    ถ้าจะมองอะไรให้มองผ่านตรงนี้
    ห้ามใช่สองตาปกติเพราะมันจะดึง
    ความคิดจากสมองมาร่วมทันที

    ถ้าลืมตา ให้ทำตานิ่งๆห้ามขยับซ้าย
    (เพราะจะดึงความคิดในอดีต)และขวา
    (เพราะจะสร้างความคิดใหม่)
    ถ้าล้าก็พัก.

    หลับตานั่งไม่สงบ ก็ลืมตานั่ง
    ถ้านั่งไม่ได้ ก็ลุกไปหาอะไรทำ
    แต่ให้รักษาระบบหายใจไว้
    นั่งฝึกแบบท่ามารตรฐานไม่ได้ ก็นั่งพิง
    หลังปล่อยขาตามสบาย ถ้าไม่ได้ ก็เดินจงกลม ถ้า เดินจงกลมไม่ได้ก็นอนฝึก
    ถ้าไม่ชอบซักท่า ก็มาเจริญสติในชีวิตประจำวันให้ต่อเนื่องเอา
    ให้ทำสลับกันไปแบบนี้ ตามความเหมาะสม
    อย่าอเมริกัน
    ลูกทุ่ง ซื้อบื่อ
    ลุยต่อด้วยวิธีการเดิมๆ
    มันบอกว่าเราไม่ค่อยมีความ
    เฉลียวฉลาด
    ในการฝึกสมาธิ

    ส่วนเห็นลมหายใจเป็นเส้น เป็นละออง
    เห็นโน้นนี่นั้น
    มันเป็นผลจากความสงบ จากสมถะ
    ห้ามสนใจทุกๆกรณี เพราะมันเป็นแค่มายาจิต หากเห็นสิ่งที่ชอบ แล้วโน้มจิตเข้า
    ไปยอมรับ จะกลายเป็นสกดจิตตนเอง
    เด่วจะได้เปิดตำหนัก เพราะจะไม่ต่าง
    จากร่างทรง ให้เลิกสนใจการเห็นนามธรรม
    แบบนี้ทุกกรณี ยกเว้นว่าจะฝึกขึ้นด้วยภาพ
    ก็ค้องเป็นภาพตรง เพราะภาพหลอกจะสวยกว่าเสมอ. เห็นแสงสว่างมากๆ
    เหมือนสปอร์ตไลท์ แต่ไม่เย็น
    แค่ติตทำงานได้แบบมีแสงนำชั่วคราว
    กำลังแค่ปฐมฌาน ก็เห็นได้ ให้เลิกสนใจ
    เพราะจะถูกหลอกในสมาธิได้
    และจะหลงว่าตนเองบรรลุธรรม
    ทั้งที่ชีวิตปกติไม่มีความสามารถใดๆ

    แต่ถ้ารู้ว่าลมหายใจออกร้อน
    ลมหายใจเข้าเย็น แบบนี้ดี
    เป็นทางวิปัสสนา มีประโยชน์ในการ
    พัฒนาต่อ

    ถ้าจะไปต่ออย่าสนลมหายใจ
    ว่าจะภาวนาอะไร ลืมแล้วก็ไม่ต้อง
    ระลึกภาวนาต่อ ปล่อยไปเลย

    คำบริกรรมไม่หายไป
    เพียงแต่จิตเห็นว่าหยาบไปเลยไม่สน
    ดังนั้นอย่าระลึกถึงอีกถ้าข้ามไปแล้ว
    และอย่าเผลอลืมตาระลึกด้วย

    ปล สุดท้าย จิตต้องพอทำงานได้บ้าง
    ถึงจะพอทราบว่า คำบริกรรมส่งผลอะไร
    และมีความเป็นทิพย์ร่วมด้วย กับกำลังสติ
    ทางธรรมที่ได้จากการเจริญสติในชีวิต
    ประจำวัน
    และต่อไปไม่จำเป็น เราทำเพียงระลึก
    รู้ว่าลมหายใจเข้าและออก
    หยุดที่ปลายจมูกพอ(ตามที่บอกไปก่อนหน้า)

    จิตถ้าทำงานได้แล้ว ครั้งต่อไปมันจะรู้เอง
    เร็วกว่าความคิดอีก

    แล้วค่อยมาดูว่า จะใช้คำบริกรรม
    เพื่อในไปใช้ประโยชน์ด้านใด
    ค่อยว่ากันอีกทีในอนาคตครับ

    แค่เพียงแต่เล่าให้ฟัง
     
  10. Username-chatreekain

    Username-chatreekain ใต้สรวงสวรรค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2018
    โพสต์:
    104
    ค่าพลัง:
    +58
    ปกติผมจะนั่งสมาธิวันละประมาณ 1 ชั่วโมง
    บางครั้งจะใช้คำภาวนา ว่า เข้า-ออก
    บางครั้งจะใช้คำภาวนาว่า พุธ-โท
    บางครั้งอยากใช้ทั้ง 2 อย่าง...สับสนครับ
    ช่วยนะนำหน่อยครับ
     
  11. Username-chatreekain

    Username-chatreekain ใต้สรวงสวรรค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2018
    โพสต์:
    104
    ค่าพลัง:
    +58
    อ้างอิงจาก : ความคิดเห็นที่ 2 โดย oom
    ในพระไตรปิฎกไม่มีสอนให้ใช้คำบริกรรม แต่ปัจจุบันตามสถานที่สอนปฏิบัติวิปัสสนา-กรรมฐานให้ตามรู้ฐานทั้ง 4 คือ ยืน เดิน นั่ง นอน เช่น เวลานั่งสมาธิให้รู้ตามอาการของท้องที่พอง ว่าพองหนอ และอาการที่ยุบ ว่ายุบหนอ ตามความเป็นจริง ถือว่าเป็นสติหรือไม่


    ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

    ก่อนอื่นต้องรู้จักคำว่าสติก่อนครับ สติในภาษาไทยที่เราใช้กัน เช่น รู้ว่ากำลังทำอะไร

    เป็นสติ เป็นต้น แต่ความเป็นจริงแล้ว สติเป็นธรรมฝ่ายดี เกิดกับกุศลจิต เป็นต้นครับ

    ดังนั้น การรู้ว่าทำอะไร เช่น รู้ว่าเดิน รู้ว่ายุบ พอง ไม่ได้หมายถึงสติ แต่ขณะนั้นมีความ

    ต้องการที่จะทำ จดจ้องในขณะที่พอง ยุบไหม ความต้องการไม่ใช่สติครับ เป็นโลภะ

    ดังนั้น เราจึงต้องศึกษาให้เข้าใจก่อนครับ ไม่เช่นนั้นก็แยกไม่ออกระหว่างหนทางถูก

    และผิด แม้แต่คำว่าสติก็ต้องศึกษาให้เข้าใจครับ



    เชิญคลิกฟังที่นี่ครับ......ขณะที่สติเกิด เป็นไปในทางที่ดี สติเป็นไฉน

    wannee.s
    u0000495dc2631.jpg
    วันที่ 17 ม.ค. 2551
    บริกรรม แปลว่า ปรุงแต่งให้เกิด เช่น ในฌานวิถี ถ้าบริกรรมไม่เกิด จิตขณะต่อไปจนกระทั่งถึงอัปปนาจิตก็จะเกิดไม่ได้

    คำว่า บริกรรม ภาษาบาลีคือ ปริกมฺม แปลว่า การกระทำรอบ อันนวด การนวด การบริกรรม ในภาษาไทย บริกรรม เป็นคำกิริยา หมายถึง ท่องบ่น เสกเป่า ตกแต่ง กำหนดใจ นวดฟั้น ฉาบทา แต่ถ้า บริกรรม ในฌานวิถี มรรควิถี หมายถึง ปรุงแต่งให้เกิด...
     
  12. Username-chatreekain

    Username-chatreekain ใต้สรวงสวรรค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2018
    โพสต์:
    104
    ค่าพลัง:
    +58
    จะใช้ ยุบหยอ พองหนอ หรือ พุธ โท ก็ได้ไม่มีใครว่าอยู่แล้วเป็นก็เป็นด้วยของคนเองอะไรจะเกิดก็เกิดด้วยตัวเอง ส่วนตัว พุธ โท แล้วรู้สึกเย็นๆดีชอบ หรือ ยุบหนอ พองหนอ ก็ได้ไม่มีใครมาว่า
    ดูเป็นเรื่องที่ยุ่งยากหรือเปล่าคะ ธรรม หรือเป็นเรื่องใหม่ที่เราไม่เคยได้ฟัง แล้วเราก็มาเข้าใจขึ้นทีละเล็กทีละน้อยว่า สิ่งที่เราเคยเข้าใจผิด ผิดเพราะว่าเรายังไม่ได้เริ่มเรียน แต่ถ้าเริ่มเรียนแล้ว เราก็สามารถจะเข้าใจได้ แล้วความเข้าใจของเราจะชัดเจนด้วย แม้แต่คำว่า “สติ” ต่อไปนี้เราก็จะรู้ ขณะใดที่เป็นกุศล ขณะนั้นจึงเป็นสติ ถ้าไม่ใช่กุศล ขณะนั้นจะใช้คำว่าสติก็ใช้ในภาษาไทยกันเองแต่ไม่ใช่สภาพชองสติ สติจริงๆต้องระลึกเป็นไปในกุศล กำลังโกรธ สติเกิดไหมคะ ไม่เกิด แต่พอระลึกได้ว่าไม่ดี โกรธนี้ คนที่เราโกรธเขากำลังสบาย กำลังเป็นสุขสนุกสนาน เราคนเดียวกำลังเดือดร้อน กำลังไม่สบายเลยสักนิด จิตใจกำลังขุ่นมัวเต็มที่ แล้วใครทำให้ เราทำเอง ถ้ามีปัญญาจริงๆ เห็นโทษของอกุศล ขณะนั้นเป็นสติ ไม่ใช่เราอีกเหมือนกัน
     
  13. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    เป้าหมายเพื่ออะไร?
    พึ่งระลึกไว้ก่อนเบื้องต้นครับ
    เพื่อเป็นแนวทางให้จิต ได้มีปลายทาง
    ณ เวลานั้นที่ชัดเจนก่อน
    ส่วนคำภาวนาใช้
    คำภาวนาที่เราชอบได้หมด
    หรือไม่ใช้เลยก็ได้ เพราะไม่ใช่ประเด็นหลัก
    แต่ควรเป็นคำที่แปลความหมายให้ระลึก
    ถึงความดี จิตเราจะสงบได้เร็ว
    เพราะการระลึกถึงสิ่งดีๆใจเราจะสงบได้ง่าย
    ยกเว้นว่าเรามีเป้าเพื่อที่จะ
    ยกระดับสมาธิให้สูงขึ้น
    แต่ก็ต้องละทิ้งคำภาวนาเช่นกันไม่งั้นจะแป๊กที่ปฐมฌาน

    ถ้าสมมุติว่าเราต้องการกำลังสมาธิที่สูงขึ้น
    เพื่อความได้เปรียบทางด้านภูมิต้านทาน
    จากสิ่งกระทบภายนอกต่างๆ
    หรือเพื่อความละเอียดในการเข้าใจ
    ทางด้านนามธรรมต่างๆที่ดีขึ้นนั้นจำเป็น
    ที่จะต้องย้อนมาดูพื้นฐานที่สำคัญ
    ๒ ถึง ๓ อย่างก่อนคือ
    ๑.ระบบลมหายใจของเรา ปัจจุบัน
    เข้าออกลึกถึงท้องหรือยัง
    แม้ว่าเวลนั่งสมาธิ และใช้ชีวิตปกติประจำวัน
    ถ้าลมยังถึงเพียงหน้าอก ก็ยากที่จะไปต่อได้
    เพราะฐานความละเอียดของลมและจิต
    มันจะไม่เพียงพอต่อการยกระดับสมาธิครับ
    ส่วนนี้ถ้ามองข้าม อาจจะติดที่ระดับ
    ปฐมฌานได้ตลอดทั้งชีวิต อย่างคาดไม่ถึง
    แม้เราจะฟิตแค่ไหนก็ตาม ตรงนี้ไม่ต้องรีบ
    ให้เวลาร่างกายปรับด้วย
    ประทาน๒ เดือนก็จะเป็นปกติ
    ไม่ขาดๆเกินๆ

    ๒ การวางสายตาของเราเวลานั่งสมาธิ
    เราโน้มสายตาคู่ปกติลงมาที่ลิ้นปี่ และเลิกใช้สายตาปกติมองอะไรเวลาหลับตานั่งสมาธิหรือยัง เพื่อตัด
    การไปดึงความคิดจากสมอง เหมือนเวลาใช้ใช้ชีวิตปกติทั่วไป (มันจะเหมือนมีตาเดียวเหนือระหว่างคิ้วขึ้นมาอัตโนมัติเอง)

    ถ้าลืมตาก็ดูว่า ได้เผลอขยับลูกตาซ้ายขวาไหม. ถ้าเผลอสัปหงก ได้ทำหลังตรง
    โดยไม่บืมตาไหม หรือลืมตานั่งต่อ
    ซึ่งจะทำให้หลุดจากอารมย์และเป็นเหตุให้
    ใจไม่สงบ

    ๓ เรามีการสร้างสะสมสติและกำลังสมาธิระหว่างสันเพื่อมาหนุ่น
    การนั่งแบบพิธีการไหม ด้วยการเจริญสติในชีวิตประจำวันให้ต่อเนื่อง หรือเวลานิ่งๆ
    ก็ระลึกรู้ลมที่ปลายจมูกเอาแค่จิตสงบ
    ได้ทำตรงนี้ไหม ถ้าไม่ทำก็ยากที่จะไปต่อ
    เพราะกำลังสมาธิมันจะหายไป จากการใช้ชีวิตประจำวันเราได้ครับ เวลามานั่ง
    แย่างเป็นทางการมันจึงเหมือนการเริ่มต้น
    ใหม่ทุกครั้ง เปรียบถ้า
    สังเกตุวันไหนไม่ได้ทำอะไรเลย
    เราจะนั่งได้ดี
    แต่ความเป็นจริงไม่ใช่
    เราจึงต้องมาเสริมสะสมตรงนี้
    เช่น เดินไปเข้าห้องน้ำ รู้ไหมกี่ก้าว
    เวลานิ่งๆ ระลึกรู้ลมกี่นาที
    ส่วนทำงานก็ตั้งใจทำไปเอาการงาน
    เป็นการฝึกสมาธิแบบจดจ่อภายนอกไป

    ปรับพื้นฐานแบบที่ว่าได้
    จะไปถึงแยกรูปแยกนาม
    กำลังสูงก็ได้ จะไปฝึกกรรมฐานอะไรก็ง่าย
    ความเข้าใจนามธรรมก็จะดี
    เห็นนามธรรมง่าย มันก็จะเอื้อ
    ต่อการเดินปัญญา วิปัสสนา
    เพราะเราจะเข้าใจสภาวะที่จิต
    เป็นกลางที่ใช้สำหรับ
    การเดินปัญญาได้แบบที่จะไม่เป็นวิปัสสนึก
    ในอนาคตด้วยครับ จะฝึกกรรมฐานอะไร
    โอกาสสำเร็จก็สูง ใช้งานได้จริง
    จะไม่ติดนิมิต ไม่ หลงตัวเองแม้ใช้งาน
    จากผลกรรมฐานไม่ได้ ก็จะไม่หลงตัวเอง
    หรือแม้ใช้งานได้ ก็ยังมีตัวควบคุม
    จากกำลังของมันที่ได้ ไปต่อทางปัญญาญาน
    ก็มีโอกาสสูงเพราะจะเห็นนามธรรมได้ชัดเจนกว่ากำลังสมาธิที่ไม่มาก
    และถ้าใช้งานก็จะใช้
    ในทางที่เป็นอกุศลครับ

    แค่เพียงแต่เล่าให้ฟังครับ
     
  14. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,312
    ค่าพลัง:
    +3,090
    คำบริกรรมคือเครื่องช่วยฝึก หากคล่องแล้วคำบริกรรมก็ไม่จำเป็น ฝึกใหม่ ๆ ฟุ้งซ่านมาก มากจนท้อ หากอดทนจนผ่านไปได้ อาการฟุ้งซ่านนั้น ๆ จะไม่เกิดอีกเลย เหมือนผู้ปั่นจักรยานสองล้อได้แล้ว ย่อมถอดล้อเสริมทิ้ง และไม่หวนกลับไปใช้มันอีก และไม่มีวันล้มเพราะหวาดกลัวจากการปั่นอีกเลย
     
  15. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ "คำบริกรรม+ภาวนา" เป็นการใช้ "วจีจิตตะสังขารขันธ์" ให้ท่องบ่นอยู่ ณ "คำ ๆ เดียว"
    +++ ไม่ต้องการให้ "ท่องบ่นแบบ สเปะสปะ จนกลายเป็น ฟุ้งซ่าน" เป็น "อุปกรณ์ ในการต่อต้าน ฟุ้งซ่าน"
    +++ หากบุคคลใด "ไม่สามารถใช้อุปกรณ์นี้ สยบความฟุ้งซ่านได้" ก็ให้พิจารณาใช้อย่างอื่น ๆ แทน
    +++ ใน "นิวรณ์ 5" ฟุ้งซ่านเป็น ตัวที่ 3 หากสามารถสยบได้ ย่อมเห็น "ลังเล ในระดับ จิตส่งอก" ไปยังเรื่องต่าง ๆ

    +++ สำหรับบุคคลที่ "อุปกรณ์" นี้สามารถใช้งานได้ ในระดับ "เห็นจิตส่ง ออก/ไม่ออก (ลังเล)"
    +++ หากนับในระดับสติ ก็จะเป็น "จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน" โดย "รู้ อาการส่งออก" ที่เรียกว่า "กิริยาจิต"
    +++ จนกว่า "กิริยาจิต พ้นออกจาก ความเป็นตน" ณ ตรงนั้น ก็จะเข้าใจคำว่า "พ้นแล้ว จากความเป็นสัตว์" ได้เอง

    +++ สำหรับบุคคลที่ "อุปกรณ์" นี้สามารถใช้งานได้ ในระดับ "จิตส่ง ไม่ออก (พ้นลังเล)"
    +++ ก็จะเข้าสู่ ธัมมารมณ์ที่ไร้ขอบเขต (อรูป) "ถีนมิทธะ (ง่วงซึม)" ก็จัดเป็น ธัมมารมณ์ ชนิดหนึ่ง เหมือนกัน
    +++ หากสามารถ "อยู่" ในธัมมารมณ์ได้ ตรงนี้จะเป็น "ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน" ซึ่งเป็น "อัปปนาสมาธิ" ตลอดเวลา

    +++ เรื่องของ "คำบริกรรม" เอาไว้แค่นี้ก่อน ก็แล้วกันนะ
     
  16. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ ในพระไตรปิฎก "มีระบุเรื่อง คำบริกรรม" เหมือนกัน ลองไปค้นในเรื่อง "รโชหรณัง" ดูนะ
    +++ อาการที่ "รู้ตามอาการ เท่านั้นที่เป็น สติ" ส่วนคำที่ท่องว่า "หนอ เป็นคำบริกรรม" เช่นกันครับ
     
  17. jetrockman

    jetrockman สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2011
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +21
    สติเราสามารถเกาะติดกับอาการของลมหายใจนั้นได้ยิ่งดีนะ เพราะการกำหนด หรือจิตที่เกาะติดกับอาการนั้น เขาเรียกว่าเป็นการกำหนดได้ปัจจุบัน ยิ่งเห็นการเปลี่ยนแปลง เห็นความเกิดดับหรือเปลี่ยนแปลง เห็นความแตกต่างกันมากเท่าไหร่ สติเราก็จะอยู่กับปัจจุบันมากเท่านั้น หลักของวิปัสสนาคือ การกำหนดรู้การเกิดดับการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นอารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นจะตั้งอยู่ในกฎของไตรลักษณ์ คือ การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป หน้าที่ของเราคือ เข้าไปรู้ถึงธรรมชาติของเขาเท่านั้นเอง เข้าไปรู้ถึงลักษณะการเกิด การตั้งอยู่ และดับไป โดยไม่ต้องบังคับ และการเข้าไปรู้ ไม่ใช่เพียงเป็นผู้ดูอยู่ห่างๆ หรืออยู่ไกลๆ ต้องเข้าไปเกาะติดกับอาการ เราถึงจะเห็นชัด เขาเรียกการยกจิต ก็คือการยกจิตขึ้นสู่อาการนั้น วิจารณ์คือเกาะติดกับอาการ ดูการเปลี่ยนแปลง ดูการเปลี่ยนแปลงของสภาวะเหล่านั้นไปเรื่อยๆ ดูว่าเขาเป็นอย่างไร ไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นก็ตาม


    สภาวะที่เกิดขึ้นในขณะที่เรานั่งปฏิบัติ หรือเจริญกรรมฐานนั้น อารมณ์หลักๆที่เกิดเป็นประจำ หรือต้องเกิดอย่างแน่นอน ซึ่งเรียกว่าอารมณ์หลัก ก็คือ ๑. ลมหายใจเข้าออก หรือพองยุบ ๒. ก็คือเวทนา เวทนาหมายถึงความปวด ความเมื่อย อาการชา อาการคัน อันนี้เรียกว่าเวทนา อีกอย่างหนึ่งก็คือ ความคิด เวลาเรานั่งแล้วมีความคิดเกิดขึ้น เวลาปฏิบัติเมื่อไหร่ก็จะมีความคิดแว่บไปโน่น แว่บไปนี่ เปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อย ไม่อยู่กับที่ สภาวะเหล่านี้จะเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น ๓ - ๔ อย่าง อีกอย่างหนึ่งก็คือสีสัน สีสันต่างๆ หรือว่านิมิตที่เกิดขึ้นในขณะที่เรานั่งสมาธิ ตรงนี้เรียกว่าอารมณ์หลัก

    เรามีหน้าที่ตามกำหนดรู้ แต่ต้องรู้ให้ชัด ไม่งั้นนี่จะหลับนะ ถ้าดูเผินๆ ไม่ได้ใส่ใจ ดูแค่รู้เฉยๆ ไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง พอสมาธิมากขึ้น ก็จะทำให้ง่วง แล้วหลับ เพราะฉะนั้นต้องเกาะติดนะ ใช้ความรู้สึกที่เบาเกาะติดอาการ

    ที่มา พระอาจารย์ประเสริฐ ฐานังกโร โครงการอบรมกรรมฐาน ณ ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย บรรยายธรรม วันที่ 23 มกราคม 2559
     
  18. T2plus

    T2plus ธรรมชาติสมดลอยู่แล้ว รู้แล้ววาง แค่นั้นเอง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กุมภาพันธ์ 2019
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +1
    มีวิธีรับมือกับจิตซนได้ดีมากเลยครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...