เศรฐกิจพอเพียง แนวคิด-ประสบการณ์การปฏิบัติ กับพลวัตแห่งสุขภาพกาย จิต ศาสนา สังคม

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย Attawat_Rx, 2 เมษายน 2007.

  1. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,400
    หลากหลายสื่อสังคม หลากหลายนักวิชาการ กล่าวถึงแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงเปี่ยมไปด้วยพระอัจฉริยะภาพนี้ แต่การปฏิบัตจริงยังเห็นมีน้อยในสังคมไทย ผมขอเป็นฟันเฟืองเล็ก ๆแห่งแรงผลักดันนี้ เล่าประสบการณ์การปฏิบัติจริง แนวคิด และการปรับใช้ ในทุกสาขาอาชีพที่ผมคิดว่าทุกคนทำได้ หากแม้ทำได้เพียง 25 % ในสังคมแล้ว สังคมไทยจะกลับมาบริบูรณ์ และสงบสุขอีกครั้ง ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะฯ....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 20 เมษายน 2008
  2. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,400
    ขอเชิญชวนเพื่อนสมาชิก ที่มีความศรัทธาในแนวพระราชดำริ " เศรษฐกิจพอเพียง " ทุกท่านมาร่วมกันโพสท์ข้อมูล และร่วมแบ่งปันประสบการณ์การปฏิบัติจริง พร้อมทั้งเล่าผลการปฏิบัติ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้คนในสังคมไทยท่านอื่นได้ดูเป็นตัวอย่าง สร้างแรงศรัทธาแก่กันและกัน เพื่อให้แนวพระราชดำรินี้เกิดการนำมาใช้ปฏิบัติจริงอย่างกว้างขวาง เป็นการแสดงความจงรักภักดีต่อพ่อหลวงของปวงชนชาวไทยอย่างแท้จริง

    ปล. หากท่านเห็นว่ากระทู้นี้เป็นกระทู้ที่น่าติดตาม ขอได้โปรดตั้งเป็นกระทู้ติดตาม โดยการคลิกที่

    คำสั่งเพิ่มเติม ----> ติดตามอ่านกระทู้นี้ ----> เพิ่มการติดตามอ่าน

    คอยเช็คดูโดยการคลิกที่ แผงควบคุมส่วนตัว เพื่อดูการเคลื่อนไหว ของกระทู้ ซึ่งผมจะพยาม UPDATE ข้อมูลทุก ๆวัน

    กระทู้นี้เป็นพลวัตแบบองค์รวม จึงมิได้มีเนื้อหาเพียงมิติเดียวอย่างที่คาดการณ์กัน ขอเชิญชวนให้ติดตามครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 เมษายน 2007
  3. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,400
    ผมเองจะพยายามโพสท์ข้อมูลวันละเล็กละน้อย อย่างต่อเนื่อง ในกรอบ " เศรฐกิจพอเพียง แนวคิด-ประสบการณ์การปฏิบัติ กับพลวัตแห่งสุขภาพกาย จิต ศาสนา สังคม "

    แรก ๆหลายท่านอาจจะแย้งว่า ดูไม่เกี่ยวกับแนวพระพุทธศาสนาในเว็บนี้เลย แต่สักวันท่านจะเข้าใจว่า เกี่ยวข้องกันอย่างแน่นแฟ้น เป็นพลวัตสัมพันธ์กันและกัน ขอผลบุญอันใดที่เกิดจากโครงการนี้ ขอผลบุญนั้นข้าพเจ้าบูชาแด่พระรัตนตรัย และพระโพธิสัตว์ทั้งหมดทั้งปวง ตั้งแต่อดีต ปัจจุบันและอนาคต สาธุ สาธุ สาธุ....
     
  4. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,400
    เศรษฐกิจพอเพียง
    “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ

    ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
    เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
    <TABLE cellPadding=7 width="80%" align=center bgColor=#f2f2f2><TBODY><TR><TD> ประมวลและกลั่นกรองจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งพระราชทานในวโรกาสต่าง ๆ รวมทั้งพระราชดำรัสอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำไปเผยแพร่ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2542 เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของทุกฝ่ายและประชาขนโดยทั่วไป </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ที่มา : http://www.doae.go.th/report/SE/html/01.htm
     
  5. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,400
    <TABLE borderColor=#006600 cellSpacing=0 cellPadding=7 width="80%" align=center bgColor=#eafff1 border=1><TBODY><TR><TD>
    " เศรษฐกิจพอเพียง แปลว่า Sufficiency Economy
    … คำว่า Sufficiency Economy นี้ไม่มีในตำราเศรษฐกิจ.
    จะมีได้อย่างไร เพราะว่าเป็นทฤษฎีใหม่
    … Sufficiency Economy นั้น ไม่มีในตำรา
    เพราะหมายความว่าเรามีความคิดใหม่ …
    และโดยที่ท่านผู้เชี่ยวชาญสนใจ ก็หมายความว่า
    เราก็สามารถที่จะไปปรับปรุง หรือไปใช้หลักการ
    เพื่อที่จะให้เศรษฐกิจของประเทศและของโลกพัฒนาดีขึ้น. "
    พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 23 ธันวาคม 2542 ​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ที่มา : http://www.doae.go.th/report/SE/html/01.htm
     
  6. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,400
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=760><TBODY><TR><TD vAlign=top width=600><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%"><TBODY><TR><TD><TABLE borderColor=#006600 cellSpacing=0 cellPadding=7 width="80%" align=center bgColor=#eafff1 border=1><TBODY><TR><TD>
    " อันนี้เคยบอกว่า ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่า
    ทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว
    จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไป
    แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอ จะต้องมีความพอเพียงพอสมควร
    บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการ ก็ขายได้
    แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก "
    พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2540 ​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ที่มา : http://www.doae.go.th/report/SE/html/01.htm
    <!-- InstanceEndEditable -->
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR><TR><TD> </TD><TD>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,400
    หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง ​
    การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ

    ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
    มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน ดังนี้ ​

    กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สมารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อ ความมั่นคง และ ความยั่งยืน ของการพัฒนา
    คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
    คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กัน ดังนี้ <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="70%" align=center><TBODY><TR><TD>• ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ </TD></TR><TR><TD>• ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ </TD></TR><TR><TD>• การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล </TD></TR></TBODY></TABLE>• เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="70%" align=center><TBODY><TR><TD>• เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ </TD></TR><TR><TD>• เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต </TD></TR></TBODY></TABLE>
    แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี
    <TABLE borderColor=#006600 cellSpacing=0 cellPadding=7 width="80%" align=center bgColor=#eafff1 border=1><TBODY><TR><TD>
    " ถ้าไม่มี เศรษฐกิจพอเพียง เวลาไฟดับ …
    จะพังหมด จะทำอย่างไร. ที่ที่ต้องใช้ไฟฟ้าก็ต้องแย่ไป.
    … หากมี เศรษฐกิจพอเพียง แบบไม่เต็มที่
    ถ้าเรามีเครื่องปั่นไฟ ก็ให้ปั่นไฟ
    หรือถ้าขั้นโบราณกว่า มืดก็จุดเทียน
    คือมีทางที่จะแก้ปัญหาเสมอ.
    … ฉะนั้น เศรษฐกิจพอเพียง นี้ ก็มีเป็นขั้น ๆ
    แต่จะบอกว่า เศรษฐกิจพอเพียง นี้
    ให้พอเพียงเฉพาะตัวเองร้อยเปอร์เซ็นต์ นี่เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้.
    จะต้องมีการแลกเปลี่ยน ต้องมีการช่วยกัน.
    …… พอเพียงในทฤษฎีหลวงนี้ คือให้สามารถที่จะดำเนินงานได้. "
    พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนพรรษา 23 ธันวาคม 2542 ​
    </TD></TR></TBODY></TABLE><!-- InstanceEndEditable -->

    ที่มา : http://www.doae.go.th/report/SE/html/02.htm
     
  8. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,400
    เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ ​

    เศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางปฏิบัติของ ทฤษฎีใหม่ เป็นแนวทางในการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเอง ในระดับต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน โดยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับความผันแปรของธรรมชาติ หรือการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่าง ๆ โดยอาศัยความพอประมาณและความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ ความเพียรและความอดทน สติและปัญญา การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสามัคคี
    เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายกว้างกว่าทฤษฎีใหม่โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการและแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ในขณะที่ แนวพระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรอย่างเป็นขั้นตอนนั้น เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ ที่เป็นรูปธรรมเฉพาะในพื้นที่ที่เหมาะสม
    ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ อาจเปรียบเทียบกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบพื้นฐานกับแบบก้าวหน้า ได้ดั้งนี้
    ความพอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัวโดยเฉพาะเกษตรกร เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน เทียบได้กับทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ที่มุ่งแก้ปัญหาของเกษตรกรที่อยู่ห่างไกลแหล่งน้ำ ต้องพึ่งน้ำฝนและประสบความเสี่ยงจากการที่น้ำไม่พอเพียง แม้กระทั่งสำหรับการปลูกข้าวเพื่อบริโภค และมีข้อสมมติว่า มีที่ดินพอเพียงในการขุดบ่อเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าวจากการแก้ปัญหาความเสี่ยงเรื่องน้ำ จะทำให้เกษตรกรสามารถมีข้าวเพื่อการบริโภคยังชีพในระดับหนึ่งได้ และใช้ที่ดินส่วนอื่น ๆ สนองความต้องการพื้นฐานของครอบครัว รวมทั้งขายในส่วนที่เหลือเพื่อมีรายได้ที่จะใช้เป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ไม่สามารถผลิตเองได้ ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวให้เกิดขึ้นในระดับครอบครัว
    อย่างไรก็ตาม แม้กระทั่ง ในทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ก็จำเป็นที่เกษตรกรจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากชุมชนราชการ มูลนิธิ และภาคเอกชน ตามความเหมาะสม
    ความพอเพียงในระดับชุมชนและระดับองค์กรเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 2 เป็นเรื่องของการสนับสนุนให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ หรือการที่ธุรกิจต่าง ๆ รวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายวิสาหกิจ
    กล่าวคือ เมื่อสมาชิกในแต่ละครอบครัวหรือองค์กรต่าง ๆ มีความพอเพียงขั้นพื้นฐานเป็นเบื้องต้นแล้วก็จะรวมกลุ่มกันเพื่อร่วมมือกันสร้างประโยชน์ให้แก่กลุ่มและส่วนรวมบนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนกัน การแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามกำลังและความสามารถของตนซึ่งจะสามารถทำให้ ชุมชนโดยรวมหรือเครือข่ายวิสาหกิจนั้น ๆ เกิดความพอเพียงในวิถีปฏิบัติอย่างแท้จริง
    ความพอเพียงในระดับประเทศ เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 3 ซึ่งส่งเสริมให้ชุมชนหรือเครือข่ายวิสาหกิจสร้างความร่วมมือกับองค์กรอื่น ๆ ในประเทศ เช่น บริษัทขนาดใหญ่ ธนาคาร สถาบันวิจัย เป็นต้น
    การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในลักษณะเช่นนี้จะเป็นประโยชน์ในการสืบทอดภูมิปัญญา แลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยี และบทเรียนจากการพัฒนา หรือร่วมมือกันพัฒนา ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ประเทศอันเป็นสังคมใหญ่อันประกอบด้วยชุมชน องค์กร และธุรกิจต่าง ๆ ที่ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงกลายเป็นเครือข่ายชุมชนพอเพียงที่เชื่อมโยงกันด้วยหลัก ไม่เบียดเบียน แบ่งปัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ในที่สุด

    ที่มา : http://www.doae.go.th/report/SE/html/03.htm
     
  9. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,400
    <TABLE borderColor=#006600 cellSpacing=0 cellPadding=7 width="80%" align=center bgColor=#eafff1 border=1><TBODY><TR><TD>
    " … ขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทยพออยู่พอกิน
    มีความสงบและทำงานตั้งอธิษฐาน ตั้งปณิธาน
    ในทางนี้ ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพอกิน
    ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่มีความความพออยู่พอกิน มีความสงบ
    เปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้
    เราก็จะยอดยิ่งยวดได้ …
    ฉะนั้นถ้าทุกท่านซึ่งถือว่าเป็นผู้มีความคิดและมีอิทธิพล
    มีพลังที่จะทำให้ผู้อื่น ซึ่งมีความคิดเหมือนกัน
    ช่วยกันรักษาส่วนรวมให้อยู่ดีกินดีพอสมควร ขอย้ำพอควร
    พออยู่พอกิน มีความสงบ ไม่ให้คนอื่นมาแย่งคุณสมบัตินี้จากเราไปได้
    ก็จะเป็นของขวัญวันเกิดที่ถาวรที่จะมีคุณค่าอยู่ตลอดกาล "
    พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนพรรษา 23 ธันวาคม 2542 ​
    </TD></TR></TBODY></TABLE><!-- InstanceEndEditable -->

    ที่มา : http://www.doae.go.th/report/SE/html/03.htm
     
  10. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,400
    การสร้างขบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง

    สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอให้ริเริ่มการสร้างขบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสานต่อความคิดและเชื่อมโยงการขยายผลที่เกิดจาการนำหลักปรัชญาฯ ไปใช้อย่างหลากหลาย รวมทั้งเพื่อจุดประกายให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่งจะนำไปสู่การยอมรับ และการนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติในทุกภาคส่วนของสังคมอย่างจริงจัง
    <TABLE borderColor=#006600 cellSpacing=0 cellPadding=7 width="80%" align=center bgColor=#eafff1 border=1><TBODY><TR><TD>
    " … ในการพัฒนาประเทศนั้นจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น
    เริ่มด้วยการสร้างพื้นฐาน คือความมีกินมีใช้ของประชาชนก่อน
    ด้วยวิธีการที่ประหยัดระมัดระวัง แต่ถูกต้องตามหลักวิชา
    เมื่อพื้นฐานเกิดขึ้นมั่งคงพอควรแล้ว
    จึงค่อยสร้างเสริมความเจริญขั้นสูงขึ้นตามลำดับต่อไป
    … การถือหลักที่จะส่งเสริมความเจริญ ให้ค่อยเป็นไปตามลำดับ
    ด้วยความรอบคอบระมัดระวังและประหยัดนั้น
    ก็เพื่อป้องกันความผิดพลาดล้มเหลว
    และเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จได้แน่นอนบริบูรณ์"
    พระบรมราชโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 19 กรกฎาคม 2517 ​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ที่มา : http://www.doae.go.th/report/SE/html/04.htm
     
  11. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,400
    จากพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของพระองค์ นับตั้งแต่ปี 2517 เป็นต้นมา จะพบว่าพระองค์ท่านได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการพัฒนาที่อยู่บนพื้นฐานของการพึ่งตนเอง ความพอมีพอกิน พอมีพอใช้ การรู้จักความพอประมาณ การคำนึงถึงความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว และทรงเตือนสติประชาชนคนไทยไม่ให้ประมาท ตระหนักถึงการพัฒนาตามลำดับขั้นตอนที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ตลอดจนมีคุณธรรมเป็นกรอบในการดำรงชีวิตซึ่งทั้งหมดนี้เป็นที่รู้กันภายใต้ชื่อว่า เศรษฐกิจพอเพียง
    สศช. จึงได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากสาขาต่าง ๆ มาร่วมกันกลั่นกรองพระราชดำรัสฯ สรุปเป็นนิยาม ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และได้อัญเชิญมาเป็นปรัชญานำทางในการจัดทำ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกระดับมีความเข้าใจและนำไปประกอบการดำเนินชีวิต
    การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง มีเป้าหมายหลักเพื่อสร้างเครือข่ายเรียนรู้ ให้มีการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เป็นกรอบความคิด เป็นแนวทางในการปฏิบัติ ตลอดจนเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนไทยในทุกภาคส่วน
    วัตถุประสงค์ของการขับเคลื่อนเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้ประชาชนทึกคนสามารถนำหลักปรัชญาฯ ไปประยุกต์ให้ได้อย่างเหมาะสม และปลูกฝังปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการดำรงชีวิตให้อยู่บนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง
    ตลอดจนนำไปสู่การปรับแนวทางการพัฒนาให้อยู่บนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง
    การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการเสริมพลังให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาไปได้อย่างมั่นคงภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ โดยให้ความสำคัญกับการสร้างฐานรากทางเศรษฐกิจและสังคมให้เข้มแข็งรักษาความสมดุลของทุนและทรัพยากรในมิติต่าง ๆ ตลอดจนสามารถปรับตัวพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้อย่างเท่าทัน และนำไปสู่ความเอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนชาวไทย
    การขับเคลื่อนจะเป็นลักษณะเครือข่ายและระดมพลังจากทุกภาคส่วน แบ่งเป็น 2 เครือข่ายสนับสนุนตามกลุ่มเป้าหมายเบื้องต้น ได้แก่
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="70%" align=center><TBODY><TR><TD>• เครือข่ายด้านประชาสังคมและชุมชน
    • เครือข่ายธุรกิจเอกชน
    นอกจากนี้แล้วยังมีเครือข่ายสนับสนุนตามภารกิจ ได้แก่
    • เครือข่ายวิชาการ
    • เครือข่ายสร้างกระบวนการเรียนรู้
    • เครือข่ายเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ทั้งนี้แกนกลางขับเคลื่อนมี 3 ระดับได้แก่ คณะที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง และกลุ่มงานเศรษฐกิจพอเพียงใน สศช. ซึ่งจะเป็นหน่วยปฏิบัติงานในการขับเคลื่อนและจะทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายผลการดำเนินงานเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา ครบรอบ 80 พรรษา ในเดือนธันวาคม 2550

    ที่มา : http://www.doae.go.th/report/SE/html/04.htm
     
  12. vnss

    vnss เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    415
    ค่าพลัง:
    +2,557
    ({) ถ้าเพื่อน ๆ เคยประสบปัญหาว่าทำไมเงินถึงไม่เหลือเก็บ แถมยังไม่พอใช้อีกต่างหาก


    ^-^ ก็อยากให้ทุกคนลองทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย กันค่ะ แค่สมุดหนึ่งเล่ม รับเข้าเท่าไหร่ และแต่ละวันจ่ายอะไรไปบ้าง


    ;) นัสเองก็ทำทุกวันค่ะ บันทึกลงคอมพิวเตอร์ คุมยอดรายรับ,รายจ่าย,และยอดเงินในบัญชีแต่ละธนาคารด้วยค่ะ เพียงแค่เปิดหน้าจอดูก็จะรู้ยอดจ่ายแต่ละวัน และยอดคงเหลือทั้งเงินสดและในบัญชีธนาคารด้วยค่ะ


    (*) นอกจากนี้ก็ยังเปิดบัญชีอีกธนาคารหนึ่งไว้เก็บเงินสำรองด้วย (บัญชีนี้ไม่ทำ ATM จะได้ไม่เผลอกดมาใช้หมด)


    เรื่องทำบุญก็หยอดกระปุกค่ะ มีกระปุกสะสมบุญอยู่ 1 ใบ บางวันก็ใส่มากบ้างน้อยบ้าง สิ้นเดือนก็นำเงินนั้นไปทำบุญค่ะ


    เพื่อน ๆ ใช้วิธีไหนกันบ้างคะ
     
  13. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,400
    การทำเช่นนี้ทำให้เกิดสติในการใช้จ่ายที่ยอดเยี่ยมมาก และแน่นอนสติในการดำเนินชีวิตอย่างอื่นก็จะตามมา โมทนาครับ

    มีคำพูดคำพูดหนึ่งที่จับใจผมมากและยึดถือมาตลอด ก็คือ " ถึงเราจะไม่รวย เราก็สร้างประโยชน์ได้ เนื่องเพราะประโยชน์ที่แท้จริง ต้องใช้ปัญญานำ...ยิ่งทรัพยากรจำกัด ยิ่งต้องใช้ปัญญาให้มาก การสร้างสรรค์สิ่งยิ่งใหญ่ด้วยทุนเพียงน้อยนิดได้ ถือว่าเป็นยอดคน..."
     
  14. KomAon11

    KomAon11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    4,810
    ค่าพลัง:
    +18,982
    พูดถึงเศรษฐกิจพอเพียงนี่ ก็เป็นปัญหาของผมตอนนี้เหมือนกัน -*- ถ้าจะพอเพียงจริงๆนี่ สงกะสัยต้องเลิกเรียนไปเลย หึหึ..
     
  15. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,400
    5555 เข้าใจครับ มิใช่จะทำกันได้ทีเดียวกันทุกคน ต้องมีเหตุ ปัจจัย วาระด้วย ก็ทำนองว่า จะอดตายอยู่แล้ว จะพอเพียงได้ที่ไหนนั้นแหละ ทุกคนย่อมมีทางแก้หลากหลาย ตรงนี้จะใช้หลักพอเพียงที่ว่า ไม่เบียดเบียนตัวเองและผู้อื่นจนเกินพอดี ไม่มีก็ไม่ต้องแสวงหาเกินกำลัง เกินตัว

    สู้ ๆนะ ตอนพี่เรียนก็สาหัสเหมือนกัน เรียนหนักแล้วยังตังไม่มีอีก ....เชื่อไหมกว่าจะเรียนจบพี่หมดนาไปเป็นแปลง (ขายนาส่งควายเรียน 555) เข้าใจความลำบากดีครับ
     
  16. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,400
    หลักธรรมนำสู่เศรษฐกิจพอเพียง
    Sufficient Economic Principle
    สมหวัง วิทยาปัญญานนท์
    20 มีนาคม 2549
    Font : CordiaUPC<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    พอเพียง แต่ต้องไม่ชะล่าใจ จนไม่ห่วงวันหน้า พร้อมที่จะมีวันขาด ช่วยเหลือตัวเองได้ และก็ช่วยเหลือคนอื่นได้ ต้องขยัน ประหยัด อดออม ออมวันนี้ มีกินวันหน้า ต้องไม่กินสุรุ่ยสุร่าย
    ทุกศาสนา พอกิน การกินอาหารมี 3 ส่วน มีอาหาร น้ำ และลม เม็ดข้าวเม็ดสุดท้ายกินให้หมด กินอาหารให้หยุด แล้วตามด้วยน้ำก็จะพอดี อิ่มไม่อึดอัด
    เศรษฐกิจพอเพียง ต้องพอเพียงที่ใจก่อน ไม่อยากเด่น อยากมี อยากดัง พอแล้วไม่ใช่ยกเลิก จงพลิกมือล่างเป็นมือบนจากมือหงายเป็นมือคว่ำ มือบนคือผู้ให้ให้โอกาส ให้กำลังใจ ให้ความรู้ หากเราพอ เราจะไม่โลภ เวลาเราทุกข์เป็นการทดสอบ เวลาสุขจะมีไม่นาน ในช่วงถึงปีอด คนจนคนรวยก็จะฝึกอดเหมือนกัน เราจงรู้จักความทุกข์ เราจะได้รู้จักสุขได้อย่างไร
    คนจะให้ก็จะต้องไปหา ยิ่งให้ก็ยิ่งขยันหา ยิ่งขยันหา ก็ยิ่งชำนาญ ก็ยิ่งมี ที่เรียกว่ายิ่งให้ยิ่งรวย
    เศรษฐกิจพอเพียง ก็ต้องทำสวน จะได้กินได้ใช้ ตอนสึนามิมา หาใครก็ไม่ให้ ไปหาอำเภอก็ไม่ได้ หาวัดก็ไม่ได้ ไปหาคริตส์ เขาให้ เขาก็เลยเปลี่ยนศาสนาเลย การศาสนาต้องไปกับปากท้องด้วย
    คนชราตามสถานสงเคราะห์ ก็ควรหาโอกาสให้เขามีโอกาสปฎิบัติกิจตามศาสนาของเขา
    คำว่าจนนั้นคือไม่พอ หากจัดไม่พอก็ต้องหายิ่งดิ้น ยิ่งแน่น ยิ่งรัด ขยายกิจการไปเรื่อยๆ จนเป็นหนี้
    หากเราปลูกเอง พริก มะนาว ผัก ปลูกเองกินเอง ก็จะประหยัดได้มาก สมัยนี้เด็กๆ ชอบขอเงินร้อยสองร้อยไปซื้อของจากห้าง หากพ่อแม่ปลูกผักเอง ลูกจะไม่กล้าขอ
    เศรษฐกิจพอเพียงนั้นต้องฝึกใจก่อน คนทำไป มักจะห่วงเตรียมที่ดิน สะสม แต่ไม่ได้เตรียมจิตใจ
    ทำอะไรต้องเอาความสำเร็จของงานก่อน ระหว่างเอาเงินเข้ากระเป๋าก่อน หรือ สะสมให้องค์กรไปขยายก่อน ก็จะมีคนหลายประเภท พวกหาเช้ากินค่ำก็จะเอาเข้ากระเป๋าก่อน
    โครงการใหญ่แบบเมกะโปราเจ็ด ตัวหนี้หากไม่มากและคุ้มค่า เอากลับมาได้ ถือว่าเป็นการลงทุน
    เป็นหนี้ในการสร้างคุณธรรมในสังคมเดี๋ยวนี้จะลดการขอ จะใช้วิธีหาเงินมา อย่านึกว่านักการศาสนา ไม่ใช่ผู้รับ ผู้ตาย ผู้บริโภค แต่จะเป็นผู้หา ผู้ผลิต ผู้นำได้ ไม่ได้สอนให้ขี้เกียจ
    สั้นโดดไม่ใช้ขี้เกียจ เป็นนักพัฒนา

    ที่มา : http://www.budmgt.com/budman/bm01/suff-econ-principle.html
     
  17. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,675
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ที่ชัดเจน เรียบง่ายเข้าใจง่าย
    เป็นสิ่งที่สำคัญในการเห็นภาพรวมการใช้ชีวิตของตนเอง
    แล้วจะได้หาวิธีการปรับปรุงแก้ไขที่เหมาะสม
    ได้ง่ายขึ้นเมื่อเห็นภาพรวม

    โมทนากับหมวดด้วยครับ
    ที่ริเริ่มกระทู้นี้ พวกเราจะได้มาแลกเปลี่ยน
    ความรู้-ประสบการ์ณกัน

    (verygood)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 เมษายน 2007
  18. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,400
    [​IMG]


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle>
    “ความเจริญของประเทศ ต้องอาศัยความเจริญของภาคเกษตรเป็นสำคัญ”

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวข้างต้นนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความสำคัญของภาคการเกษตรที่มีต่อประเทศชาติและประชาชนชาวไทย
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> เกษตรกรรมเป็นอาชีพพื้นฐานของคนในสังคมไทยมาทุกยุคทุกสมัย ประชากรประมาณสองในสามอยู่ในภาคเกษตร การพัฒนาการเกษตรเป็นเป้าหมายที่สำคัญของการพัฒนาประเทศมาตลอด สาขาการเกษตรเป็นสาขาที่ได้รับความสำคัญอย่างสูงในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทุกฉบับ

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> แนวพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ คือ การที่ทรงเน้นในเรื่องของการค้นคว้า ทดลอง และวิจัยหาพันธุ์พืชต่างๆ ใหม่ๆ ทั้งพืชเศรษฐกิจ เช่น หม่อนไหม ยางพารา ฯลฯ ทั้งพืชเพื่อการปรับปรุงบำรุงดิน และพืชสมุนไพร ตลอดจนการศึกษาเกี่ยวกับแมลงศัตรูพืช ทั้งนี้รวมพันธุ์สัตว์ต่างๆ ที่เหมาะสม เช่น โค กระบือ แพะ แกะ พันธุ์ปลา ฯลฯ และสัตว์ปีกทั้งหลายด้วย เพื่อแนะนำให้เกษตรกรนำไปปฏิบัติได้ราคาถูก ใช้เทคโนโลยีที่ง่าย และไม่สลับซับซ้อน ซึ่งเกษตรกรจะสามารถรับไปดำเนินการเองได้และที่สำคัญ คือ พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ หรือเทคนิควิธีการดูแลต่างๆ นั้น จะต้องเหมาะสมกับสภาพสังคมและสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นนั้นๆ ด้วย
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> อย่างไรก็ตาม มีพระราชประสงค์เป็นประการแรก คือ การทำให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้โดยเฉพาะในด้านอาหารก่อนเป็นอันดับแรก เช่น ข้าว พืชผัก ผลไม้ ฯลฯ
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="50%"><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=200 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=371 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left height=140> แนวทางที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือการที่ทรงพยายามเน้นมิให้เกษตรกรพึ่งพาอยู่กับพืชเกษตรแต่เพียงอย่างเดียว เพราะจะเกิดความเสียหายง่าย เนื่องจากความแปรปรวนของตลาดและความไม่แน่นอนของธรรมชาติ ทางออกคือทรงสนับสนุนให้ทำการเกษตรผสมผสาน เพื่อลดความเสี่ยงและมีรายได้ตลอดปี ขณะเดียวกันเกษตรกรควรจะต้องมีรายได้เพิ่มขึ้นนอกเหนือไปจากภาคเกษตร เช่น การอุตสาหกรรมในครัวเรือน ดังเช่นในมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงสนับสนุนให้เกษตรกรได้ทำงานหัตถกรรม โดยใช้วัสดุในท้องถิ่น ซึ่งทำให้เกิดรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=550 border=0><TBODY><TR><TD> นอกจากนั้นทรงเห็นว่า การพัฒนาฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติจะมีผลโดยตรงต่อการพัฒนาการเกษตร จึงทรงมุ่งที่จะให้มีการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศในระยะยาว ทรงสนพระราชหฤทัยอย่างยิ่งต่อการที่จะทำนุบำรุง ปรับปรุงสภาพของทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ ที่ดิน แหล่งน้ำ ฯลฯ ให้อยู่ในสภาพที่จะมีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอย่างมากที่สุด

    จากแนวทางและเป้าหมายต่างๆ ดังกล่าว มีแนวพระราชดำริที่ถือเป็นหลักเกณฑ์หรือเทคนิควิธีการที่จะบรรลุถึงเป้าหมายนั้นหลายประการ
    ประการแรก ทรงเห็นว่าการพัฒนาการเกษตรที่จะได้ผลจริงนั้น จะต้องลงมือทดลองค้นคว้า ต้องปฏิบัติอย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังพระราชดำรัวความว่า
    “...เกษตรกรรมนี้ หรือความเป็นอยู่ของเกษตรนั้นขอให้ปฏิบัติ ไม่ใช่ถือตำราเป็นสำคัญอย่างเดียว...”
    และเป็นที่ทราบกันดีว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงทำให้อาณาเขตพระราชฐานพระตำหนักจิตรลดารโหฐานบางส่วนเป็นสถานีค้นคว้า ทดลอง ทางการเกษตรในทุกๆ ด้านมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๕
    สำหรับการค้นคว้าทดลองนั้น ได้ทรงเน้นให้มีทั้งก่อนการผลิตและหลังการผลิต คือ พิจารณาดูตั้งแต่เรื่องความเหมะสมของพืช ความเหมาะสมของดิน พืชอย่างใดจะเหมาะสมกับดินประเภทใด รวมทั้งการค้นคว้าเกี่ยวกับความต้องการของตลาด คือ การปลูกพืชที่ตลาดต้องการ ผลิตออกมาแล้วมีที่ขาย ส่วนการค้นคว้าวิจัยหลังการผลิต คือ การดูเรื่องความสอดคล้องของตลาด เรื่องคุณภาพของผลผลิต หรือทำอย่างไรจึงจะให้เกษตรกรได้มีความรู้เบื้องต้นในด้านการบัญชีและธุรกิจเกษตรในลักษณะที่พอจะทำธุรกิจแบบพึ่งตนเองได้ สำหรับในเรื่องนี้ทรงเห็นว่า การรวมกลุ่มของเกษตรกรเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่จะช่วยได้เป็นอย่างดี

    อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตนั้น ทรงให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในระยะยาวพระราชประสงค์ของพระองค์ที่จะให้เกษตรกรได้มีความเจริญก้าวหน้าอย่างค่อยเป็นค่อยไปและมีสภาพชีวิตที่มีความสุขไม่เคร่งเครียดกับการเร่งรัดให้เกิดความเจริญโดยรวดเร็ว นอกเหนือจากเรื่องที่ทรงเน้นในเรื่องการผลิตอาหารให้เพียงพอแล้ว จะเห็นได้ชัดเจน จากพระราชดำรัสความตอนหนึ่งที่ว่า
    “...ไม่จำเป็นต้องส่งเสริมผลผลิตให้ได้ปริมาณสูงสุดแต่เพียงอย่างเดียว เพราะเป็นการสิ้นเปลืองค่าโสหุ้ยและทำลายคุณภาพดิน แต่ควรศึกษาสภาวะตลาดการเกษตร ตลอดจนการควบคุมราคาผลิตผล ไม่ให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน...”
    เทคนิควิธีการในการพัฒนาการเกษตรของพระองค์อีกประการหนึ่ง คือ การที่ทรงเน้นการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติให้มากที่สุด เช่น การใช้ที่ดินที่ปล่อยทิ้งไว้ว่างเปล่าให้เป็นประโยชน์ หรือการมองหาประโยชน์จากธรรมชาติในสิ่งที่ผู้อื่นนึกไม่ถึง เช่น ครั้งหนึ่งทรงสนับสนุนให้มีการทำครั่งจากต้นจามจุรีที่ขึ้นอยู่ ริมทางหลวงที่จะเสด็จฯ ไปวังไกลกังวล มีพระราชดำรัสความว่า
    “...เกิดจากความคิดที่จะเอาต้นก้ามปูมา ทำให้ประชาชนมีงานทำแล้วรวมเป็นกลุ่ม...”
    การมุ่งใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ ยังมีลักษณะสอดคล้องกับวิธีการที่สำคัญของพระองค์อีกประการหนึ่ง คือ การประหยัด ทรงเน้นความจำเป็นที่จะลดค่าใช้จ่ายในการทำมาหากินของเกษตรกรลงให้เหลือน้อยที่สุด โดยอาศัยพึ่งพิงธรรมชาติเป็นปัจจัยสำคัญ วิธีการของพระองค์มีตั้งแต่การสนับสนุนให้เกษตรกรใช้ โค กระบือในการทำนามากกว่าให้ใช้เครื่องจักร ให้มีการปลูกพืชหมุนเวียน การใช้พืชตระกูลถั่วเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน หรือกรณีที่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยจะทรงสนับสนุนให้เกษตรใช้ปุ๋ยธรรมชาติแทนปุ๋ยเคมี ซึ่งมีราคาแพง และมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและคุณภาพของดินในระยะยาว นั่นคือทรงสนับสนุนให้ทำการเกษตรอย่างยั่งยืน นอกจากนั้นยังทรงแนะนำในเรื่องการผลิตก๊าซชีวภาพ อันจะมีผลดีทั้งในด้านเชื้อเพลิงและปุ๋ย รวมทั้งได้ทรงเน้นอยู่เสมอที่จะให้เกษตรกรมีรายได้เสริมหรือรายได้นอกการเกษตร เพื่อเพิ่มรายได้ของตนเอง

    โครงการพัฒนาด้านการเกษตรอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้น ประกอบด้วยงานหลายประเภท ซึ่งโดยทั่วๆ ไปแล้วจะเป็นงานเกี่ยวกับการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัยหาพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ต่างๆ ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่นั้นๆ ซึ่งส่วนใหญ่ดำเนินการอยู่ในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และนำผลสำเร็จจากการศึกษาทดลอง ไปถ่ายทอดสู่ประชาชน ด้วยการฝึกอบรมให้เกษตรกรมีความรู้ในวิชาการเกษตรแผนใหม่ นอกจากนั้นยังประกอบด้วยโครงการเพื่อการส่งเสริมการเกษตร เช่น โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวและทำนาขั้นบันได อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส โครงการพัฒนาแบบเบ็ดเสร็จ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณวัดมงคลชัยพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสระบุรี โครงการสาธิตทฤษฎีใหม่ บ้านแดนสามัคคี อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นต้น

    โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในด้านการพัฒนาการเกษตรที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ ได้ส่งผลโดยตรงต่อความกินดีอยู่ดีของเกษตรกรเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นโครงการที่มุ่งแก้ปัญหาหลักด้านการพัฒนาการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำให้เกษตรกรได้มีโอกาสเช่นนี้มาก่อน รวมทั้งยังได้มีโอกาสเรียนรู้และเห็นตัวอย่างของความสำเร็จของการผลิตในพื้นที่ต่างๆ และสามารถนำไปปรับใช้ในการเพาะปลูกของตนเองอย่างได้ผล ความเจริญของภาคเศรษฐกิจแขนงอื่น และของประเทศชาติโดยส่วนรวมด้วย
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff> </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    ที่มา : http://www.rdpb.go.th/rdpb/TH/BRANDSITE/theproject_rdp07_2.aspx
     
  19. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,487
    ชุมชนคนไร้สาร ...พอเพียงในวิถีพุทธ



    รู้จักพึ่งตนเองด้วยการลด ละ เลิก อบายมุข ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

    <O:p
    [​IMG]
    </O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 เมษายน 2007
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เศรษฐกิจพอเพียง/Sufficient Economy ๑๑๑

    ให้ปฏิบัติเพียงครึ่งเดียว คือไม่ต้องทั้งหมด หรือ แม้จะเศษหนึ่งส่วนสี่ก็พอ หมายความว่า ถ้าทำได้เศษหนึ่งส่วนสี่ของประเทศก็จะพอ ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง แ ล ะทำได้เศษหนึ่งส่วนสี่ก็ พอนั้นไม่ได้แปลว่าเศษหนึ่งส่วนสี่ของพื้นที่แต่เศษหนึ่งส่วนสี่ของการกระทำ

    (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑)

    …… ที่บอกว่าพูดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อแปลแล้วเป็นภาษาอังกฤษก็ไม่เข้าใจความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง ก็เลย บอกแล้วว่า ถ้าไม่เข้าใจจะอธิบายใหม่ ก็ได้อธิบายใหม่ เมื่อปีที่แล้ว วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑ ก็ได้อธิบาย ก็รู้สึกว่าได้อธิบายอย่างแจ่มแจ้ง ยืดยาว ก็ดูใครต่อใครก็พยักหน้าว่าเออดี ทำไปทำมาก็ถามกันว่า จะทำอย่างไรสำหรับเศรษฐกิจพอเพียงของพระเจ้าอยู่หัว ก็มีการสัมมนากัน มีรายการวิทยุ ผู้เชี่ยวชาญหลายคนถามกันไปถามกันมาว่า เศรษฐกิจพอเพียงของพระเจ้าอยู่หัวนี่เป็นอย่างไร เขาบอกว่า ....... ดี จะทำให้ประเทศชาติรอดพ้นจากวิกฤตการณ์ได้ บางคนก็คัดค้าน
    บอกว่าไม่ดี ไม่ใช่ว่าผู้ที่กล่าวถึง เศรษฐกิจพอเพียง เป็นคล้ายๆ เป็นทฤษฎีใหม่ จะน้อยใจไม่น้อยใจ ดีใจที่ท่านผู้ที่เป็นนักเศรษฐกิจ ผู้ที่เป็นอาจารย์เศรษฐกิจ เศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียง เขาอุตส่าห์ อ้างถึงเอ่ยถึงเศรษฐกิจพอเพียงของพระเจ้าอยู่หัว ถ้าเขาไม่เห็นว่า มีดี เขาไม่พูดเลย ถ้าพูดเดี๋ยวหาว่ามาติเตียนพระเจ้าอยู่หัวไม่ดี ….. มีคนหนึ่งพูด เป็นดอกเตอร์ เขาพูดว่า เศรษฐกิจพอเพียง นี่ภาษาอังกฤษว่าอย่างไร แหมคันปากอยากจะพูดที่จริงที่คันปากที่จะพูดเพราะว่าตอบแล้ว อย่างที่เห็นในทีวีรายการใหญ่ เขาพูดถามโน่นถามนี่ เราดูแล้วรำคาญเพราะว่าตอบแล้ว ตอบเสร็จแล้วก็ถามใหม่เมื่อ ตอบอีกก็บอกว่าทำไมพูด คราวนี้เราฟังเขา แล้วเขาถามว่าภาษาอังกฤษจะแปลเศรษฐกิจพอเพียงว่าอย่างไร ก็อยากจะตอบว่า มีแล้วใน หนังสือ ในหนังสือไม่ใช่หนังสือตำราเศรษฐกิจในหนังสือพระราชดำรัส ที่อุตส่าห์พิมพ์ และนำมาปรับปรุงดูให้ฟังได้ และแปลเป็นภาษาอังกฤษ เพราะว่าคนที่ฟังภาษาไทย บางทีไม่เข้าใจภาษาไทย ก็ต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษ และเน้นว่า เศรษฐกิจพอเพียง แปลว่า Sufficiency Economy โดยเขียนเป็นตัวหนาในหนังสือ เสร็จแล้ว เขาก็มาบอกว่า คำว่า Sufficiency Economy ไม่มีในตำรา เศรษฐกิจ จะมีได้อย่างไร เพราะว่าเป็นทฤษฎีใหม่ เป็นตำราใหม่ ถ้ามีอยู่ในตำราก็หมายความว่าเราก๊อปปี้มา เราลอกเขามา เราไม่ได้ลอก ไม่อยู่ในตำราเศรษฐกิจ เป็นเกียรติที่เขาพูดอย่างที่เขาพูดอย่างนี้ว่า Sufficiency Economy นั้นไม่มีในตำรา การที่พูดว่าไม่มีในตำรานี่

    ที่ว่าเป็นเกียรตินั้นก็หมายความว่า เรามีความคิดใหม่ โดยที่ท่านผู้เชี่ยวชาญสนใจ ก็หมายความว่า เราก็สามารถที่จะคิดอะไรได้ จะถูก จะผิดก็ช่างแต่ว่าเขาสนใจ แล้วก็ถ้าเขาสนใจ เขาก็สามารถที่จะไปปรับปรุงหรือไปใช้หลักการ เพื่อที่จะให้เศรษฐกิจของประเทศ และของโลกพัฒนาดีขึ้น ..... เศรษฐกิจพอเพียงก็มีเป็นขั้นๆ แต่ว่าต้อง ดูว่าเศรษฐกิจพอเพียงนี้ที่จะมาบอกว่าให้พอเพียงเฉพาะตัวเอง ๑๐๐ % เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ จะต้องมีการแลกเปลี่ยน ต้องมีการช่วยกัน ถ้ามีการช่วยกันแลกเปลี่ยนไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียงแล้ว แต่ว่า พอเพียงในทฤษฎีหลวงนี้คือสามารถที่จะดำเนินงานได้ เมืองไทยไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียงนี้ ไม่ได้ตำหนิ ไม่เคยพูด นี่เพิ่งพูดวันนี้ พูดเวลานี้ ขณะนี้ว่า ประเทศไทยไม่ใช้เศรษฐกิจพอเพียงค่อนข้างจะแย่ เพราะว่าจะทำให้ล่มจม เศรษฐกิจพอเพียง ที่หมายถึงนี้ คือว่า อย่างคนที่ทำธุรกิจก็ย่อมต้องไปกู้เงิน เพราะว่าธุรกิจหรือกิจการอุตสาหกรรมสมัยใหม่ คนเดียวไม่สามารถที่จะรวบรวมทุนมาสร้างกิจกรรมที่ใหญ่ เช่นเรื่องเขื่อนป่าสักคนเดียวทำไม่ได้ หรือแม้หน่วยราชการหน่วยเดียวทำไม่ได้...........ถ้านับดูปีนี้น่าจะมีความเสียหาย หมื่นล้านไม่ต้องเสีย และที่ไม่ต้องเสียนี้ก็ทำให้เกิดมีผลผลิต โดยเฉพาะอย่างเกษตรเขาก็มีผลผลิตได้ แม้จะปีนี้ซึ่งเขื่อนยังไม่ได้ทำงาน ในด้านชลประทาน ก็ทำให้ป้องกันไม่ให้มีน้ำท่วม ทำให้เกษตรกรเพาะปลูกได้ ก็เป็นเงินหลายพันล้านเหมือนกัน ฉะนั้นในปีเดียว เขื่อนป่าสักนี้ได้คุ้มแล้ว คุ้มค่าที่ได้สร้าง 2 หมื่นล้านนั้น ……

    ก็หมายความว่ากิจการเหล่านี้ไม่ได้อยู่ในเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน แต่ว่าเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ก็พอเพียงเพราะว่าถ้าทำแล้ว คนอาจจะเกี่ยวข้องกับกิจการนี้มากมาย แต่ว่าทำให้ส่วนรวมได้รับประโยชน์และจะทำให้เจริญ ....... แต่ว่าถ้ากิจการที่ทำไม่มีนโยบายที่แน่วแน่ ที่สอดคล้องกัน มัวแต่ทะเลาะกัน ไม่สำเร็จ ก็ถือว่าไม่ได้ประโยชน์จากกิจการที่คิด เมื่อไม่มีประโยชน์ จากกิจการที่คิด ป่านนี้เราจะจนลงไป เงินสองหมื่นล้านที่ไปลงในการสร้างนั้น เงินสองหมื่นล้านก็หมดไปแล้ว หมดไปโดยไม่มีประโยชน์ หมดไปโดยได้ทำลาย เพราะว่าเดือดร้อน เกษตรกรเดือดร้อน ชาวกรุงเดือดร้อน ฉะนั้นก็ต้องมีเหมือนกันโครงการต่างๆ หรือเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่ต้องมีการสอดคล้องกันดี ที่ไม่ใช่เพียงแต่เหมือนทฤษฎีใหม่ ๑๕ ไร่ ๑๕ ไร่ แล้วก็สามารถที่จะปลูกข้าวพอกิน ไอ้นี่มันใหญ่กว่า แต่อันนี้ก็เป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกันคือ คนที่ไม่เข้าใจว่า กิจการใหญ่ๆ เหมือนสร้างเขื่อนป่าสัก เขานึกว่าเป็นเศรษฐกิจ สมัยใหม่ เป็นเศรษฐกิจที่ไกลจากเศรษฐกิจพอเพียง นี่เราวัด ได้ว่าเป็นเศรษฐกิจพอเพียง อันนี้เป็นตัวอย่างในทางบวก...............เศรษฐกิจพอเพียงอีกอย่างหนึ่งไม่ค่อยอยากพูด เช่นการแลก เปลี่ยนเงิน ค่าแลกเปลี่ยน นี่ได้พูดมา 2 ปี บอกว่าขอให้เงิน ค่าของเงิน จะสูงจะต่ำเท่าไหร่ ก็ไม่ค่อยขัดข้อง แต่ว่าถ้าไม่สมดุลมันไม่ดี

    (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา: ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๒


    แต่ว่าเมื่อตะกี้ เมื่อเข้ามานี้ มีคนพูดแทน ก็หวังว่าเป็นการพูดแทน ของประชาชนจริงๆ เพราะเค้าบอกว่าเค้า พูดในนามของประชาชน คนไทย ว่าจะทำตามเศรษฐกิจพอเพียง ของพระเจ้าอยู่หัว อันนี้ไม่ทราบว่าเค้า รู้เรื่องดีอย่างไร ถึงว่าเศรษฐกิจพอเพียง ของพระเจ้าอยู่หัวคืออะไร แต่ก็ ควรจะรู้ หรืออย่างน้อยที่สุด ท่านผู้ใหญ่ที่นั่งอยู่ ข้างในนี้ ก็น่าจะรู้ น่าจะเข้าใจ เพราะว่าจำนวนมากส่วนใหญ่ ได้ฟังพูดถึงเศรษฐกิจพอเพียง และ ทฤษฎีใหม่มาหลายต่อหลายครั้ง แล้วไม่ได้คัดค้านว่าใช้ไม่ได้ ทำไม่ได้ มีบางคนพูดบอกว่า เศรษฐกิจพอเพียง นี้ไม่ถูก ทำไม่ได้ ไม่ดี ได้ยินคนเค้าพูด แต่ว่าส่วนใหญ่บอกว่าดี แต่พวกส่วนใหญ่ที่บอกว่าดีนี้ เข้าใจแค่ไหนก็ไม่ทราบ แต่ยังไงก็ตาม เศรษฐกิจพอเพียงนี้ ขอย้ำว่า เป็นการทั้งเศรษฐกิจ หรือ ความประพฤติ ที่ทำอะไรเพื่อให้เกิดผลโดยมีเหตุและผล คือเกิดผลมันมาจากเหตุ ถ้าทำเหตุที่ดี ถ้าคิดให้ดีให้ผลที่ออกมา คือสิ่งที่ติดตามเหตุ การกระทำ ก็จะเป็นการกระทำที่ดี และผลของการกระทำนั้น ก็จะเป็นการกระทำที่ดี ดีแปลว่ามีประสิทธิผล ดีแปลว่ามีประโยชน์ ดีแปล ว่าทำให้มีความสุข

    (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๔๓)

    ทั้งหมดนี้พูดอย่างนี้ก็คือเศรษฐกิจพอเพียงนั้นเอง เศรษฐกิจพอเพียงที่ได้ย้ำแล้วย้ำอีกแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า sufficiency economy ใครต่อใครก็ ต่อว่า ว่าไม่มี sufficiency economy แต่ว่าเป็นคำใหม่ของเราก็ได้ก็หมายความว่า ประหยัด แต่ไม่ใช่ขี้เหนียว ทำอะไร ด้วยความอะลุ้มอล่วย กัน ทำอะไรด้วยเหตุและผล จะเป็นเศรษฐกิจพอเพียง แล้ว

    ทุกคนจะมีความสุข แต่พอเพียง เศรษฐกิจพอเพียงนี้ เป็นสิ่งที่ ปฏิบัติยากที่สุดเพราะว่าคนหนึ่งนั่งอยู่ที่นี้ อีกคนอยากจะนั่งเก้าอี้เดียวกัน นั่งได้ไหม ไอ้นี่ก็พูดมามาหลายปีแล้ว ก็ แต่ละคนก็สั่นหัวว่านั่งไม่ได้ เพราะว่าเดือดร้อนเบียดเบียน

    (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๔๓)

    เมืองไทยเนี่ยมีทรัพยากรดี ๆ ไม่ทำไม่ใช้ เดี๋ยวต้องไปกู้เงินอะไรที่ไหนมา มาพัฒนาประเทศ จริงสุนัขฝรั่งก็ต้องซื้อมา ต้องมี แต่ว่าเรามีของทรัพยากรที่ดี เราต้องใช้ ไม่ใช่สุนัขเท่านั้น อื่น ๆ ของอื่นหลายอย่าง แล้วก็ที่นายกฯ พูดถึงทฤษฎีใหม่ พูดถึงเศรษฐกิจพอเพียง ไอ้เนี่ยเราไม่ได้ซื้อจากต่างประเทศ แต่ว่าเป็นของพื้นเมือง แล้วก็ไม่ได้ อาจจะอ้างว่า เป็นความคิดของพระเจ้าอยู่หัว ไม่ใช่ทำมานานแล้ว ทั้งราชการ ทำราชการ ทั้งพลเรือน ทั้งทหาร ทั้งตำรวจ ได้ใช้เศรษฐกิจพอเพียงมานานแล้ว อย่างตำรวจไปเปิดโรงเรียนที่บนภูเขา ใช้เศรษฐกิจพอเพียงแท้ โรงเรียนสร้างโรงเรียนใช้ไม้ผุ ๆ พัง ๆ ก็ไปเลือกมา แล้วก็คนที่เป็นครู ก็เป็นตำรวจ ๒ คน ได้เลี้ยงดู สอนเด็ก ๑๐ คน ๑๕ คน แล้วก็นอกจากเลี้ยงดู ยังเป็นบุรุษพยาบาลด้วย ดูผู้ที่เป็น เออ มาลาเรียตรวจเลือด ตำรวจพวกนี้เขาตรวจเลือดแล้วก็เมื่อเป็นยังไง เขาก็ส่งผู้ที่ป่วย ช่วยชีวิตเด็กและผู้ใหญมากมาย แต่อย่างนี้ถือว่า เถื่อน หาว่าเถื่อน หาว่าตำรวจป่าเนี่ย เขาเรียกว่า ตำรวจป่า พวกตำรวจชายแดนนี่ ตำรวจป่า เขา คนอื่นในกรุง หาว่าเป็นตำรวจป่า แต่ที่จริง ตำรวจป่าเนี่ยเขาช่วยชีวิตคนมากมาย มากหลาย

    (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕)

    วิธีปลูกข้าวไม่เหมือนของเรา เราเพิ่งพบวิธีปลูกข้าวในพรุ ทำให้นราธิวาสมีกินแล้วขายได้ อันนี้นี้หมายความว่า ต้องสอนให้เด็กๆ มีจินตนาการ ตอนนี้ฝ่ายมลายูเขาก็มีเทคโนโลยีสูง เราก็ชื่นชมรัฐบาลมาเลเซียเขาเก่ง มีความสามารถ ฉลาด แต่ตอนนั้นเขาปลูกข้าวไม่เป็น ต้องเอาคนไทยไปสอน แต่ที่เราสอนได้ จากคนที่มีความรู้แล้วเรียนเกี่ยวกับการเกษตร แล้วมาพลิกแพลงให้สามารถทำให้ดินมีผลิตผลได้ อันนี้เป็นสิ่งสำคัญเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ สามารถเลี้ยงตัวได้ถึงมาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ที่ก้าวหน้าไม่ใช่เพียงแต่ปลูกพอกินอย่างนั้น มันต้องมีพอที่จะตั้งโรงเรียน แม้แต่ศิลปะเกิดขึ้น ประเทศชาติถือว่าประเทศไทยเจริญในทุกทาง ไม่หิว มีกิน คือไม่จน มีกิน มีอาหารใจ หรืออะไรอื่นๆ ให้มากๆ

    (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๔๖)

    ความสะดวกจะสามารถสร้างอะไรได้มาก นี่คือเศรษฐกิจพอเพียง สำคัญว่าต้องรู้จักขั้นตอน ถ้านึกจะทำอะไรให้เร็วเกินไปไม่พอเพียง ถ้าไม่เร็ว ช้าไปก็ไม่พอเพียง ต้องให้รู้จักก้าวหน้า โดยไม่ทำให้คนเดือดร้อน อันนี้เศรษฐกิจพอเพียงคงได้ศึกษามาแล้ว เราพูดมาแล้ว ๑๐ ปี ต้องปฏิบัติด้วย

    (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๔๖)

    http://www.sufficiencyeconomy.org
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 เมษายน 2007

แชร์หน้านี้

Loading...