เศียรพระธรรมิกราชกับปริศนากำเนิดอยุธยา

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 15 ธันวาคม 2005.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,172
    [​IMG]ในความรับรู้ของคนทั่วไปเกี่ยวกับความเป็นมาของกรุงศรีอยุธยา ส่วนหนึ่งของความทรงจำอันรุ่งโรจน์ที่มีต่ออดีตราชธานีแห่งนี้ย่อมหนีไม่พ้นการถือกำเนิดของกรุงเก่า


    โดยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า 'พระเจ้าอู่ทอง' เมื่อพ.ศ.1893 และถือเอาความทรงจำนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของอดีตนครอันยิ่งใหญ่
    หากในวงวิชาการประวัติศาสตร์รับรู้กันมานานแล้วว่า กรุงศรีอยุธยาไม่ได้เพิ่งกำเนิดขึ้นในปีดังกล่าว ไม่ได้ถูกสร้างจากพื้นที่ว่างเปล่าที่ไม่มีอะไรเลย และไม่ได้จู่ๆ ก็เกิดขึ้นเองประดุจเทพยดาประทานมาให้ แต่กรุงศรีอยุธยาเดิมที่นักประวัติศาสตร์หลายท่านเรียกว่า 'อโยธยาศรีรามเทพนคร' มีพัฒนาการยาวนานกว่านั้น อาจนานพอที่จะทำให้นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีเชื่อว่า เศียรพระสัมฤทธิ์องค์หนึ่งที่ถูกค้นพบ ณ วัดธรรมิกราช เมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 อาจเป็นกุญแจไขคำตอบนี้ได้
    ด้วยเหตุดังกล่าว สำนักศิลปวัฒนธรรม และกรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ 3 และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา จึงร่วมกันจัดงานภูมิสังคมเสวนาสาธารณะในหัวข้อ 'กำเนิดกรุงศรีอยุธยา ธรรมิกราช มาจากไหน' เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ที่ผ่านมา บริเวณลานวิหารหลวง วัดธรรมิกราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ประชาชนรู้คุณค่าของโบราณสถานและรักษามรดกทางวัฒนธรรมนี้ให้สืบทอดต่อชนรุ่นหลัง
    จุดสนใจของงานอยู่ที่การเสวนาวิชาการเรื่อง 'กำเนิดกรุงศรีอยุธยากับเศียรพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ ธรรมิกราช' ซึ่งมีเหล่าวิทยากรผู้ทรงความรู้ อาทิ ผศ.ดร.สืบแสง พรหมบุญ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยรังสิต พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมศิลปากร รศ.สุรพล นาถะพินธุ คณบดีคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ชาตรี ประกิตนนทการ อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มาร่วมอภิปราย โดยมี อ.สมฤทธิ์ ลือชัย นักวิชาการอิสระเป็นผู้ดำเนินการเสวนา
    ประเด็นสำคัญของการเสวนาครั้งนี้อยู่ที่คำถามในเรื่องของความเป็นมาของเศียรพระธรรมิกราช ซึ่งทางผู้ดำเนินการเสวนาได้ตั้งประเด็นว่า เศียรพระพุทธรูปองค์นี้มีที่มาอย่างไร และเรื่องราวของมันสะท้อนให้เห็นจุดกำเนิดของกรุงศรีอยุธยาได้อย่างไร
    "ประเด็นที่น่าสนใจในวันนี้ ทำไมเราต้องมาสนใจเศียรของพระพุทธรูปองค์นี้ สิ่งที่น่าสนใจก็คือว่า พระพุทธรูปองค์นี้มาจากไหน? ใครเป็นคนสร้าง? สร้างที่อยุธยาจริงหรือเปล่า? หรือเอามาจากที่อื่นแล้วที่อื่นนี่ที่ไหน และเมื่อรู้ถึงความเป็นมาของพระพุทธรูปมันน่าจะโยงไปถึงผู้คน และแผ่นดินอยุธยาก็ได้เพราะว่าเศียรพระพุทธรูปนี้น่าจะไขปริศนาการก่อเกิดของอยุธยา"
    อาจารย์พิเศษ หนึ่งในผู้ร่วมอภิปรายได้อธิบายเป็นคนแรกโดยกล่าวว่า เศียรพระองค์นี้เป็นศิลปะอู่ทองสร้างขึ้นช่วงเวลาใกล้เคียงกับหลวงพ่อโตวัดพนัญเชิง ซึ่งเป็นเวลาก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาในพ.ศ.1893
    "มันค่อนข้างชัดเจนว่าพระพุทธรูปองค์นี้เป็นศิลปะอู่ทอง สร้างขึ้นตามคติของพุทธศาสนาแบบเถรวาท ขณะที่ศิลปะลพบุรีก่อนหน้านี้เป็นแบบมหายาน และน่าจะเก่ากว่า พ.ศ.1950 อันเป็นช่วงที่ศิลปะอู่ทองได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย
    ก่อนหน้านี้ศิลปะอู่ทองถูกกั้นด้วยเส้น พ.ศ.1893 อันเป็นปีที่กำเนิดอยุธยาทำให้ศิลปะอู่ทองไม่สามารถเก่าได้ไปกว่านั้น พระพนัญเชิงก็ก่อนพ.ศ.1893 ถือเป็นศิลปะอู่ทองด้วย ดังนั้นเศียรพระธรรมิกราชจึงเป็นไปได้ที่น่าจะสร้างมาก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา และเศียรพระองค์นี้ยังเป็นการแสดงว่าก่อนกรุงศรีอยุธยาจะถูกสถาปนา ในบริเวณนี้ต้องมีบ้านเมืองขนาดใหญ่พอสมควรอยู่ก่อนแล้ว"
    ขณะที่ ผศ.ดร.สืบแสง กล่าวว่า เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเศียรพระธรรมิกราชกับหลวงพ่อโตวัดพนัญเชิงแล้ว จะพบว่ามีทั้งลักษณะที่เหมือนและแตกต่างกัน
    "ลักษณะที่ร่วมกันเพราะเป็นศิลปะสมัยก่อนอยุธยา แต่ที่ต่างคือพระเศียรองค์นี้มีศิลปะหนักไปทางละโว้ลพบุรี เขมรมากกว่า มีพระพักตร์เข้มดุ เมื่อดูจากอารมณ์ของพระเศียรแล้วผมมองว่าต่างจากหลวงพ่อโตที่วัดพนัญเชิงอย่างแน่นอน"
    "ในการตีความทางประวัติศาสตร์ การที่มีหลักฐานแบบนี้แสดงให้เห็นว่า อยุธยาที่เรารู้จักกันในเพดานความคิดว่าเริ่มที่ พ.ศ.1893 ไม่ถูกต้องครับ แต่ไม่ได้หมายความว่าผิดนะ หากหมายความว่ามันมีมากกว่านั้น เพราะอยุธยาที่เรารับรู้กันถูกตั้งจากจุดที่พระเจ้าอู่ทองมาตั้งเมืองที่นี่ ย้ายมาจากโรคห่าระบาด หลักฐานที่บอกว่าย้ายมาตั้งหนองโสนนี่เป็นการบอกว่าต้องมีบ้านเมืองที่เป็นเรื่องเป็นราวมาก่อนแล้ว ถ้าโดยหลักฐานตามต่างประเทศโดยเฉพาะจีน ยืนยันว่าบ้านเมืองแถบนี้ มีความเจริญและมีรัฐเกิดขึ้นแล้ว" อาจารย์สืบแสงกล่าว
    ทางด้านคณบดี คณะโบราณคดีแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ตั้งเงื่อนไขในการอธิบายว่า จะขออธิบายในแง่มุมของนักโบราณคดีและประวัติศาสตร์ศิลปะ
    "เมื่อพิจารณาจากคุณลักษณะของพระเศียรที่ถ้าสมบูรณ์จะมีขนาดมโหฬารมากแล้ว น่าจะเป็นองค์สำคัญ เพราะพระพุทธรูปขนาดนี้พบในประเทศไทยไม่มากนัก มันจึงแสดงถึงความสำคัญของชุมชนที่ครอบครองซึ่งน่าจะมีความสำคัญมาก และมีอิทธิพลมีอำนาจ เพราะการก่อสร้างองค์พระต้องใช้วัตถุดิบจำนวนมหาศาล ซึ่งต้องใช้โลหะอย่างดีบุกและทองแดงจำนวนมากเป็นส่วนผสม และถ้ายิ่งเป็นประติมากรรมที่ใหญ่โตและซับซ้อนมาก ช่างไทยมักจะผสมตะกั่วลงไปด้วย เพื่อช่วยให้สำริดไหลเต็มแม่พิมพ์ได้ง่าย งานที่ออกมาจึงสมบูรณ์ไร้ตำหนิ"
    "ประเด็นคือโลหะพวกนี้ไม่มีในอยุธยา ต้องได้มากจากที่อื่นๆ การได้มาน่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนมากกว่าจะไปปล้นแย่งชิง ซึ่งก่อน พ.ศ.1893 นั้น แหล่งผลิตทองแดงสำคัญอยู่ที่ลพบุรี ในพงศาวดารพม่าก็บอกว่า บ้านปอหิด แขวงเมืองลพบุรีส่งส่วยทองแดงให้อยุธยา ทองแดงที่ใช้หล่อพระธรรมิกราชก็น่าจะมาจากที่นี่ ดังนั้นในด้านนัยความหมายผมเชื่อว่า ก่อนจะมีกรุงศรีอยุธยา มันน่าจะมีเมืองสำคัญมาก่อนและเป็นพันธมิตรกับชุมชนที่อยู่ในย่านลพบุรีด้วย" อาจารย์สุรพลอธิบาย
    วิทยากรได้แสดงความคิดเห็นไปทางเดียวกันว่า เศียรพระธรรมิกราชองค์นี้ต้องมีอายุเก่าแก่กว่าพ.ศ.1893 อันเป็นปีที่พระเจ้าอู่ทองสถาปนากรุงศรีอยุธยา ซึ่งได้สะท้อนสภาพการณ์ต่างจากที่คนทั่วไปเข้าใจมาตลอดว่า ก่อนการเกิดกรุงศรีอยุธยาบริเวณแทบนี้ไม่มีบ้านเมืองอยู่เลย ในความเป็นจริงแล้วในอาณาบริเวณนี้ มีพัฒนาการของชุมชนซึ่งมีความสามารถในการสร้างบ้านแปลงเมืองและสามารถสั่งสมภูมิปัญญาของสังคม จนสามารถรังสรรค์พระพุทธรูปขนาดใหญ่ เช่น พระธรรมิกราชขึ้นได้ถึงแม้ว่าหลักฐานที่หลงเหลือปรากฏอยู่จะมีเพียงแค่เศียรพระก็ตาม
     
  2. Aunyasit

    Aunyasit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    1,312
    ค่าพลัง:
    +13,053
    เรื่องของพระยาธรรมมิกราชนั้น คนโบราณเขาก็รู้กันดีนะ และก็เกี่ยวข้องกับพระเจ้าอู่ทองด้วย ดังนั้นจึงไม่แปลกใจที่ครูบาอาจารย์ท่านไปอธิษฐานที่วัดชุมพลนิยาการาม ใกล้ๆพระราชวังบางปะอิน แล้วถ่ายภาพออกมาปรากฏเป็น "ไม้เท้าพระพุทธเจ้าห้าพระองค์" ที่วัดนี้มีรูปปั้นของพระเจ้าอู่ทอง และด้านหน้าโบสถ์เก่ามีรูปปั้นพระศรีฯ อยู่ ซึ่งพระศรีฯก็คือพระยาธรรมมิกราชในอนาคตอันใกล้นั่นเอง

    พระยาธรรมิกราช ท่านลงทำบารมีเป็นกษัตริย์และเป็นพระสงฆ์สลับกันไปมาตลอด และถ้าหากบอกว่าพระศรีฯที่เราคุ้นเคยกันมากที่สุด ก็คือ "พระพุทธเจ้าหลวง" นั่นเอง

    คนโบราณเขาตั้งชื่อวัด ให้เกียรติพระศรีฯกันเป็นส่วนใหญ่ แม้แต่ "อโยธยาศรีรามเทพนคร"หรือ กรุงศรีอยุธยา วัดพระศรีมหาธาตุ วัดพระศรีสรรเพชร เป็นต้น แม้แต่วัดพระแก้ว ก็เป็นวัดพระศรีรัตนศาสดารามและมีภาพประวัติรามเกียรติ์ ซึ่งเป็นการทำบารมีของพระศรีฯ

    แต่คนปัจจุบันส่วนใหญ่ก็ยังไม่เข้าใจกัน ว่าคนโบราณนั้น เขาบูชา พระศรีฯกันมาก่อนแล้ว เขาสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่อง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระศรีฯทั้งนั้น แม้แต่ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ก็ยังมีการสร้างพระทรงเครื่องกันอยู่ มาในยุคหลังๆก็มีการเปลี่ยนแปลง อันเนื่องมาจากเหตุผลทางการเมือง ก็อธิบายคร่าวๆไว้แค่นี้แล้วกันนะ

    หากอยากจะรู้ประวัติศาสตร์กันจริงๆ ก็ต้องทำอตีตังให้ชัด หรือไม่ก็สอบถามเทวดาที่ท่านรักษาพระพุทธรูปหรือชิ้นส่วนของพระพุทธรูปอยู่ในยุคต่างๆนั่นแหละ
     
  3. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,172
    [​IMG]*สำนักงาน "ช่างไม้" 51 หมู่ 6 ต.จรเข้สามพัน อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี 72160 โทร.0-1290-7862, 0-2555-2674



    เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2547 มีงานภูมิสังคมเสวนาสาธารณะ กำเนิดกรุงศรีอยุธยา "ธรรมิกราช" มาจากไหน ใต้ร่มไม้ใหญ่อันร่มรื่นแห่งลานวิหารหลวง วัดธรรมิกราช ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

    องค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นเจ้าภาพจัดงานร่วมกับหน่วยงานให้การสนับสนุนประกอบด้วย ธนาคารศรีอยุธยา, TOYOTA, สำนักงานศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา, กระทรวงวัฒนธรรม

    ผู้เข้าร่วมสัมมนามีหลากลายตั้งแต่นักเรียนระดับประถมศึกษาไปจนถึงนักศึกษาระดับอุดมศึกษา นักวิชาการ และประชาชนผู้สนใจทั่วไป บรรยากาศช่วงเช้าดำเนินไปด้วยความรื่นเริง บันเทิงอารมณ์พอสมควร เนื่องจากมีการบรรเลงปี่พาทย์ประโคมโหมโรงจากวงศิษย์วัดไก่จ้น

    จากนั้นจึงเข้าสู่ช่วงสำคัญของงาน เริ่มด้วยการขับลำนำบทกวีของท่านอังคาร กัลยาณพงศ์ ซึ่งน้ำเสียง ลีลา ท่าทางของท่านกล่อมให้ผู้มาร่วมงานหลอมรวมความรู้สึกเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เสียงเย็นลึก สะท้านสะเทือนถึงมิติลึกเร้นทางจิตวิญญาณได้อย่างยอดเยี่ยม จากนั้นก็คลี่คลายด้วยการเอื้อนบทกวีของท่านเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ซึ่งให้ภาพและอารมณ์เชิงประวัติศาสตร์เชื่อมโยงแนวคิดทางพระพุทธศาสนาได้อย่างลึกซึ้ง เรียกว่าเต็มอิ่มสมบูรณ์แบบแห่งสุนทรียภาพ

    วิทยากรบนเวทีอภิปรายมี อาจารย์พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมศิลปากร ผศ.ดร.สืบแสง พรหมบุญ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยรังสิต รศ.สุรพล นาถะพินธุ คณบดีคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และอาจารย์เสนอ นิลเดช ที่ส่งตัวแทนคืออาจารย์ชาตรี ประกิตนนทการ คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร มานำเสนอข้อมูลวิชาการและฟันธงในประเด็นสำคัญเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของเศียรธรรมิกราช โดยมีพิธีกรหนุ่ม/สาวชาวเชียงรายลุ่มน้ำแม่กก 2 ท่าน คือ คุณสมฤทธิ์ ลือชัยและคุณนิรมล เมธีสุวกุล ดำเนินการเสวนาอย่างมีรสชาติตลอดงาน

    ในฐานะที่เข้าร่วมสัมมนา หลังจากได้รับฟังข้อมูลจากวิทยากรแล้วก็ได้แสดงความคิดเห็นบนเวทีสัมมนา แต่เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านเวลาและสถานที่จึงไม่สามารถให้รายละเอียดหรือเหตุผลสนับสนุนสมบูรณ์นัก จึงขอใช้เวทีภูมิสังคมวัฒนธรรมแห่งนี้เป็นสถานที่สื่อความหมายต่อเนื่องจากงานดังกล่าว

    ผู้เขียนเดินทางจากลุ่มน้ำจรเข้สามพัน อู่ทอง สุพรรณบุรีด้วยความตื่นเต้น เนื่องจากเมื่อคืนที่ผ่านมา(ก่อนนอนตั้งใจว่าจะมาร่วมงานนี้ให้ได้) ได้ฝันแปลกประหลาดที่สุดคือ ฝันว่าในเวลาประมาณเช้าตรู่ มีสามเณรรูปหนึ่งตื่นขึ้นไปตีระฆังทองเหลืองขนาดใหญ่และเสียงนั้นดังกังวานมาก นอกจากนี้สามเณรยังรีบร้อนไปตามกุฏิต่างๆ พลางวิ่ง ร้องบอกพระว่าตื่นๆ ญาติโยมจะมากันแล้ว

    จากความฝันนี้ดลใจให้ผู้เขียนมีความรู้สึกเหมือนกำลังเดินทางไปสู่อดีต จึงถือพวงมาลัยเข้าไปในวัดธรรมิกราช ถวายแด่ศาลท้าวธรรมิกราชใต้ร่มโพธิ์ขนาดใหญ่ด้านหลังพระอุโบสถ นอกจากนี้ ก่อนจะเดินเข้าสู่บริเวณงานยังมีโอกาสพูดคุยกับชาวบ้านหลายคนที่มารอฟังการพูดของนักวิชาการ ซึ่งความคิดของชาวบ้าน รวมทั้งคนขายผลไม้ดองยังแว่วอยู่ในโสตประสาทตลอดเวลา



    เศียรธรรมิกราช ไม่มีองค์

    ข้อมูลของท่านวิทยากรในวันนั้นแสดงความพยายามในการอธิบายว่า เศียรพระธรรมิกราชนี้มีองค์พระที่สมบูรณ์ในลักษณะประทับนั่งหรือยืน? อยู่ที่วัดธรรมิกราชนี้หรือเคลื่อนย้ายมาจากหนใด? มีอายุประมาณเท่าใด? แม้ว่าจะมีความเห็นแตกต่างกันบ้างในบางประเด็น แต่ที่มีความเห็นสอดคล้องกันอยู่คือเศียรพระธรรมิกราชนี้มีองค์ประกอบด้านศิลปกรรมที่แสดงว่ามีมาแล้วก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

    ดังนั้น เมื่อผนวกกับข้อมูลเอกสารที่แจกในงานสัมมนาครั้งนี้(สุจิตต์ วงษ์เทศ : บรรณาธิการ) โดยคัดจากพงศาวดารอโยธยาศรีรามเทพนคร ฉบับ มานิต วัลลิโภดม ดินแดนแห่งนี้มีบ้านเมืองที่เข้มแข็งสืบเนื่องมาจากอารยธรรมทวารวดี โดยมีรายนามพระมหากษัตริย์ก่อนยุคกรุงศรีอยุธยา

    จากข้อมูลดังกล่าวพบว่า ในแผ่นดินสมัยพระเจ้าธรรมิกราช พ.ศ. 1708-1748 นั้นตรงกับสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มหาราชองค์สุดท้ายของราชอาณาจักรกัมพูชา ผู้เนรมิตสถาปนาปราสาทบายนและเมืองนครธม ซึ่งในสมัยนั้นถือได้ว่าเป็นจุดสูงสุดของลัทธิมหายาน และลัทธิเทวราชแห่งกัมพูชา ดังนั้น จึงยากที่จะปฏิเสธว่าเศียรพระเจ้าธรรมิกราชจะไม่ได้รับอิทธิพลจากศิลปบายน เพราะเขมราภิวัตน์ย่อมมีอิทธิพลต่อดินแดนน้อยใหญ่ใกล้เคียงอย่างไม่ต้องสงสัย

    กล่าวได้ว่าระยะเวลานั้นเป็นยุคหัวเลี้ยวหัวต่อการเมืองของกรุงศรีอยุธยาที่กำลังจะก้าวสู่การมีอำนาจ ในขณะที่อาณาจักรกัมพูชาอยู่ในจุดอิ่มตัวและกำลังเสื่อมอำนาจลง ใบหน้าบายนที่แสดงแสนยานุภาพไปทั่วทุกสารทิศก็คือพลังบารมีมหายานของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แต่ครั้นเข้าสู่ยุคเสื่อม อำนาจทางการเมืองก็เริ่มคลอนแคลน ชุมนุมตามลุ่มน้ำต่างๆ ก็เริ่มเข้มแข็งหรืออย่างน้อยที่สุดก็สามารถปกป้องคุ้มครองตัวเองได้ วิธีหนึ่งคือแสดงปฏิกิริยาด้วยศิลปะ ซึ่งเศียรพระธรรมิกราชคือสิ่งที่บ่งบอกลักษณะนั้นได้ชัดเจนที่สุด ดังจะพบว่า เศียรพระธรรมิกราชมีร่องรอยความขัดแย้ง 2 ลักษณะคือ

    ลักษณะใบหน้าเหลี่ยม และคิ้วเป็นสันคม แสดงความเป็นมหายานขอมที่มีพลังอำนาจลึกลับสื่อไปทางไสยศาสตร์ ในขณะเดียวกันนัยน์ตากลับเป็นเส้นหรี่ลงเล็กน้อย(ในขณะที่เศียรบายนลืมตา) ริมฝีปากอิ่ม ยิ้มแย้มในลักษณะของความผ่อนคลาย บอกนัยว่าได้มองเห็นสิ่งสำคัญที่กำลังเป็น "ลาง" ของกรุงกัมพูชา และรุ่งอรุณของแผ่นดินอยุธยาในอนาคต

    กล่าวได้ว่า เศียรพระธรรมิกราชได้รับอิทธิพลจากเศียรบายนทั้งรูปแบบศิลปกรรมและแบบแผนความเชื่อ และใช้แสดงพลังกิริยาโต้ตอบแบบหนามยอกเอาหนามบ่ง

    นั่นคือ เศียรพระธรรมิกราชถูกประดิษฐ์คิดสร้างขึ้นมาให้มีเฉพาะเศียรเท่านั้น ไม่มีองค์สมบูรณ์แบบยืน นั่งหรือนอนแต่อย่างใด

    ทั้งนี้ เพื่อแสดงอุดมการณ์ทางการเมืองของชุมชนลุ่มน้ำเจ้าพระยาโต้ตอบอำนาจเก่าว่า บัดนี้ใบหน้าเถรวาทบนรากฐานทวารวดีพร้อมแล้วสำหรับการสถาปนาอาณาจักรของตัวเองขึ้นอย่างสุขุมลุ่มลึก แต่ทว่า, เกรียงไกรยิ่งนัก ไม่ยอมอยู่ภายใต้ใบหน้ามหายานบายนอีกต่อไป รอยยิ้มและใบหน้าถมึงทึงของ "หลวงพ่อแก่" จึงมิใช่อื่นไกล แท้จริงแล้วคือความ "แก่กล้า" ของมโนธรรม การขบคิดและความมุ่งมั่นในอิสรภาพของชุมชนลุ่มน้ำเจ้าพระยา



    แหล่งเรียนรู้ของชาวบ้าน

    ข้อมูลชาวบ้านที่ได้คุยกันก่อนเข้าร่วมวงสัมมนาว่า ทุกคนเชื่อว่าเศียรพระธรรมิกราชถูกสร้างมาสำเร็จเท่านี้ เพราะแต่ไหนแต่ไรมาก็เห็นกันอยู่เท่านี้

    ความทรงจำของชาวบ้านอาจขัดแย้งกับทฤษฎีหรือข้อมูลทางวิชาการจากสำนักต่างๆ แต่การมาบรรจบพบกันของความคิดส่วนบนและล่าง ณ ลานวิหารหลวงในครั้งนี้อาจเป็นพลังช่วยเปิดประตู หน้าต่างและเพดานด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดีให้มีการถกเถียง แลกเปลี่ยน และสร้างองค์ความรู้ด้านนี้ให้กว้างขวางและเป็นที่สนใจมากยิ่งขึ้น

    อาจเป็นไปได้ว่าการจัดงานเสวนาในวันนี้ ชุมชนชาวเมืองกรุงเก่าได้ลุกขึ้นมาตีระฆัง เพื่อกระจายสัญญาณนี้ออกไปทั่วแผ่นดินไทยว่า ขอให้ทุกคนตื่นขึ้นมาทำความเข้าใจต่อภูมิปัญญาแผ่นดิน อันเป็นต้นทุนของสังคมและนำไปหล่อหลอมให้ชุมชนไทยมีพลังเข้มแข็งที่สุดในการรับมือกับคลื่นอำนาจโลกาภิวัตน์ที่โหมกระหน่ำมาทั่วสารทิศ
     
  4. มงกุฎเพชร

    มงกุฎเพชร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +71
    'งั้นบายศรี ก็น่าจะใช่ด้วยละสิ

    เพิ่งจะรู้ว่าพระศรีของคุณนี่ขยันเกิดจริงๆ
     
  5. เมทิกา

    เมทิกา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    954
    ค่าพลัง:
    +2,392

    ใช่....ขยันเกิด เนื่องจากท่านเป็นพระมหาโพธิสัตว์ที่มีบารมีมากมายมหาศาล

    บารมีท่านอยู่ในทุกหนทุกแห่งทุกที่... และเมื่อใจเราน้อมไปเมื่อใด เราก็จะสัมผัสได้ถึงพลังงาน (บารมี) ของท่านเสมอ


    แสงดว่าคุณต้องปฏิบัติกรรมฐานมามากมายแน่ๆ ถึงได้พูดแล้วแม่นอย่างกะตาเห็น ^^
     
  6. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    ในพุทธทำนาย ในพระปริตร" อภยปริตร" มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของพระยาธรรมิกราช ไม่ใช่เรื่องที่แต่งขึ้น พระยาธรรม คือผู้รู้และเห็นธรรมเดียวกันกับที่พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ทรงตรัสรู้เห็น แต่ไม่มีทศพลณญาน10 และมหาปุริลักษณะ บารมีก็ไม่อาจนำไปเปรียบเทียบกับพระพุทธทั้งหลายได้ พระยาธรรมิกราชเป็นผู้มีปฎิสัมภิทาญานอย่างไม่ต้องสงสัย ชัดเจนเด็ดขาด เป็นผู้มีฤทธานุภาพ ชี้แจงแก้ไขพระไตรปิฎกที่ถูกตีพิมพ์และจารึกเขียนขึ้นได้อย่างชัดเจนตามแบบพระธรรมแม่บทฉบับทิพย์ เป็นผู้ลงทัณฑ์สงฆ์ผู้ล่วงละเมิดสิกขาบททั้งหลาย โดยฐานะกรรมบันดาล เป็นผู้รู้ทิพย์ภาษาเป็นผู้ประกาศธรรมเหนือโลก เหนือลัทธิความเชื่อมายาคติต่างๆจะพีงพินาศเป็นผู้รวบรวมจักรวรรดิธรรม จากแตกแยกนิกายเป็นหนึ่งเดียว เป็นผู้ช่วยบอกทางและสรรเสริญในพระธรรมอย่างที่สุด แม้มีใครชื่นชมท่าน ท่านก็จะชี้แนะให้สรรเสริญแด่พระธรรม พระพุทธ และพระสงฆ์ผู้อยู่ในสารคุณเพียงเท่านั้น! ตราบใดที่ยังไม่ปรากฎปาติหาริ์ย3 ตราบนั้น พระยาธรรมิกราชก็จะยังไม่ปรากฎ ผู้ใดที่แสดงปาติหาริ์ย3ในพระธรรมได้ พึงสำเหนียกไว้ว่าเป็นผู้เข้าใกล้ชิดพระยาธรรม กิจต่างๆย่อมเกิดขึ้นตามการ ภาระเป็นไปตามกรรม เมื่อพระธรรมิกราชปรากฎ. อวิชาและอาสวะกิเลสทั้งมวลจะสิ้นไปในผู้ที่สั่งสมบุญบารมีมาดีแล้ว. พึงเข้าใจเถิดว่า. ในยุคนี้ ผู้ที่แสดงพุทธภาษิต แค่เพียงภาษิตเดียว ก็ยังไม่สามารถแสดงได้เทียบเทียมพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย พระขีณาสพและพระอรหันต์ผู้ที่อยู่ในสารคุณ ให้ผู้รับฟังได้เข้าใจแจ่มแจ้งเข้าถึงวิมุติได้เลยแม้สักผู้เดียว (เมื่อผู้เสวยวิมุติแสดงธรรม ธรรมนั้นย่อมเป็นวิมุติ). ผู้ไม่รู้จริงไม่ควรแก้อรรถที่เราแสดง เหล่าสหชาติของพระยาธรรมเป็นผู้มีบุญรู้ธรรมตามกาลเป็นอย่างยิ่ง. สาธุธรรม ขออนุโมทนาบุญ ขอจงเจริญในภาวะธรรมตามกาล
     
  7. มิกราช

    มิกราช สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2018
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +1
    https://drive.google.com/drive/folders/1t2GhfSg_DDfW_DEyXvSfzQhnTCEN9Bvr?usp=sharing



    ------พระธรรมิกราช พรรคพิทักษ์ไทย สหชาติธรรมิกราช,มาจากไหน มาจาก พุทธพยากรณ์ของพระศาสดา และ พยากรณ์ถิ่นกาขาว –นารีขี่ม้าขาว ของพระเถระผู้ทรงธรรมฤทธิ์ ที่ได้แสดงอย่างชัดเจน รับรอง กลุ่มสหชาติธรรมิกราชทำงานในนาม พระธรรมิกราช (ในรอบพุทธศาสนา5,000ปี มีการรับรองพียงครั้งเดียวในโลกและโอกาสเดียวเท่านั้น ที่พุทธบริษัท จะมีข้ออ้างในการ สังคายนาและปฏิรูปพุทธศาสนาให้ถูกต้อง(ธรรมตามกาล )และปกป้องศาสนาจากศัตรูต่างๆได้ หากพุทธบริษัท4 พลาดโอกาสนี้ ที่พระศาสดาและพระเถระผู้ทรงธรรมฤทธิ์รับรองไปแล้ว พุทธศาสนาจะไม่มีข้ออ้างไดรวมศาสนา และปฏิรูปสังคายนาให้ถูกต้องอีกเลย ////(หลักการพุทธศาสนาแท้จริง คือทุกข์ สมุทัย นิโรท มรรค – ให้ยึดถือการวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อปล่อยวางจิตให้เป็นกลาง ไม่ยึดมั่นถือมั่นในตัวตน และสิ่งได ดังนั้นทุกสถานธรรม เช่นวัด ต้องมีสถานที่วิปัสสนากรรมฐานเป็นหลัก และรับ ผู้เดินทางมาเยื่ยมเยือน ทุกนิกายเพื่อแนะแนวทางวิปัสสนากรรมฐาน ส่วนการปกครอง ให้เป็นไปตาม ระบบการปกครองประเทศ และผู้มีอำนาจในถิ่นๆนั้นกำหนด พระภิกขุสงฆ์ คือประชาชนผู้ร่วมปกครองจึงสามารถยุ่งการเมืองได้ย่อมมีสิทธิ์เสรีภาพในการเลือกผู้นำประเทศ หรือเลือกตั่งได้ นี่คือธรรมตามกาล)//// ที่พระพุทธองค์เจตนา ให้ปฏิบัติในกึ่งพุทธกาลนี้ โดยพระศาสดาและพระเถระผู้ทรงธรรมฤทธิ์ ยุ่งการเมืองได้ )////หากไม่ทำตามพระพุทธองค์ศาสนาจะถึงกาลอวสานไม่นานโดยศัตรูทางศาสนาจะเข้ามาทำลายหมดสิ้นเพราะชาวพุทธจะปกป้องตัวเองไม่ได้ และการเข้าใจผิดหลักการพุทธบริษัททำให้ศาสนาพุทธสลายไป---สมาชิก สหชาติธรรมิกราช หน้าที่คือแก้ไข ปฏิรูป สังคายนา เพื่อปกป้องพระศาสนาและประชาชนสำหรับประเทศไทย (ส่วนที่อื่นๆธรรมตามกาล ตามดุลพินิจ ของผู้นำในแต่พื้นที่แต่ละประเทศแต่ละกลุ่มซึ่งแตกต่างกันไป แต่ต้องรักษาหลักการพุทธศาสนาไว้ )การรับรองพระธรรมิกราช พุทธศาสนาคือศาสนาจริงพระผู้มีพระภาคเจ้ามีตัวตนและอิทธิฤทธิ์ต่างๆจริง (แต่พระอรหันได้เข้านิพพานไปแล้วไม่มายุ่งทางโลกอีกเลย ดังนั้นหน้าที่ปกป้องพระศาสนาจึงเป็นของคนที่มีกิเลสทำงานคือพุทธบริษัท พระโพธิสัตว์และพระอริยะ) อนาคตพุทธศาสนาจะเป็นที่ยอมรับของประชาชนทั้งโลก ด้วยหลักฐานพุทธพยากรณ์ รับรองนี้ ผู้คนจะยกย่องบูชาพระพุทธเจ้ามานับถือพุทธมากยิ่งขึ้น ดังนั้นบุคคลที่ต่อต้าน คำบอกสอนของพระศาสดาคือมาร แท้จริง ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นใครและชาวพุทธต้องต่อต้าน

    ----วิธีเข้าร่วมและการเป็นสมาชิก สหชาติธรรมิกราช คือการร่วมกระจายข่าวสารทั่วโลก เข้าร่วมขบวนการขี่ม้าขาว ร่วมฟ้องคดีกบฏโจรกาขาว ต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ และไทยเพื่อปกป้องพระศาสนา ประชาชนและประเทศ นิรโทษกรรมทางการเมืองโดยใช้ข้อมูลฟ้องของผม ธานนท์ คนขยัน ซึ่งแปลแล้วตรงกับคำพยากรณ์พระเถระผู้ทรงธรรมฤทธิ์ ในนาม สหชาติธรรมิกราช คนหนึ่ง (แกนนำและที่ปรึกษาพิเศษของ ขบวนการขี่ม้าขาว ซึ่งจะตรงกัน ตามคำพยากรณ์ พระเถระผู้ทรงธรรมฤทธิ์ พยากรณ์ถิ่นกาขาว นารีขี่ม้าขาว (สมเด็จพุทธาจารย์โต -หลวงพ่อฤษีลิงดำ และ อีกองค์ไม่แสดงชื่อ) ซึ่งปรากฏเป็นผู้ร่วมพยากรณ์นารีขี่ม้าขาว เป็นหลักฐานยืนยัน ตัวตนพระธรรมิกราชโพธิญาณ คือกลุ่มอุดมการณ์ทางการเมือง (หนึ่งนารีขี่ม้าขาว)--หน้าที่ของสมาชิก สหชาติธรรมิกราช (ปกป้องศาสนาและประชาชน แก้ไขกฎหมายการเมืองประเทศ ปฏิรูปพุทธศาสนา สังคายนาพระไตยปิฏก(ธรรมตามกาล) ร่วมจัดตั่งพรรค พิทักษ์ไทย สหชาติธรรมิกราช และสมาชิกท่านไดมีความพร้อมสามารถจัดตั่งพรรคได้เลยทันทีไม่ต้องปรึกษาผม และปฏิบัติงานในนาม พระธรรมิกราช ได้ต่อไปตามนโยบายพรรคและหลักการพุทธศาสนา—การช่วยเหลือประชาชนปกป้องพระสงฆ์ ประเทศชาติ ให้พ้นภัย โดยการประชาสำพันธ์ความจริงคดี กบฏกาขาว ย่อมได้กุศลมหาศาล-สหชาติธรรมิกราช ปกป้องพระศาสนา มารจะทำลายพระศาสนาไม่ได้ วัดได ต้องคดี กลุ่มการเมืองได มีภัยเพราะกบฏรัฐอิสลาม พวกกาขาว แค่เอาข้อความแผ่นพลับ (หนึ่งนารีขี่ม้าขาว) ไปแจก รอบวัด ให้คนข้างวัดรับรู้ให้ทั่วถึง ให้นักการเมืองรู้ข่าว ความศรัทธา ต่อพระสงฆ์ และพระพุทธศาสนา ความสามัคคีของประชาชนในชาติจะกลับคืนมาทันที ศัตรูทางศาสนาจะไม่สามารถแตะต้องได้ นี่คือจุดประสงค์ ของพระศาสดา และ พระเถระผู้ทรงธรรมฤทธิ์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 5.jpg
      5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      601.9 KB
      เปิดดู:
      74

แชร์หน้านี้

Loading...