เสียงสวดมนต์ MP3 - 5 พระสูตรหลัก เสียงสวดจากวัดโสมนัสวิหารราชวรวิหาร

ในห้อง 'รวมบทสวดมนต์และคาถา' ตั้งกระทู้โดย patz_bkk, 3 กันยายน 2014.

  1. patz_bkk

    patz_bkk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    2,754
    ค่าพลัง:
    +5,657
    ด้วย จขกท ตั้งปณิธานไว้ว่า ก่อนสิ้นลมจะสวดมนต์ทั้ง 5 พระสูตรนี้ให้ได้
    ขณะนี้สามารถสวดแล้วจำไ้ด้แล้ว 2 พระสูตรแรก เหลืออีก 3 พระสูตร
    การเผยแผ่บทสวดมนต์นี้อาจจะช่วยให้ จขกท บรรลุในสิ่งที่ตั้งใจไว้
    จึงขอนำบทสวดมนต์ทั้ง 5 พระสูตร มาเผยแพร่ให้ทุกท่านสนใจนำไปสวด
    ขออนุโมทนากับทุกท่านครับ
    โหลดไฟล์ไหนไม่ได้ช่วยแจ้งให้ด้วยครับ จะได้แก้ไขครับ

    1. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (40Mb)
    01.พระธรรมจักกัปปวัตตนสูตร
    [MUSIC]http://mfi.re/listen/o5dwgl1vlz4iw8u/01.พระธรรมจักกัปปวัตตนสูตร.mp3[/MUSIC]
    [MUSIC]http://www.mediafire.com/view/o5dwgl1vlz4iw8u/01.พระธรรมจักกัปปวัตตนสูตร.mp3[/MUSIC]


    2. อนัตตลักขณสูตร (31Mb)
    02.อนัตตลักขณสูตร

    3. อาทิตตปริยายสูตร (25Mb)
    03.อาทิตตปริยายสูตร

    4. ธัมมนิยามสูตร (8Mb)
    04.ธัมมนิยามสูตร

    5. สะติปัฏฐานะปาโฐ (18Mb)
    05.สติปัฏฐานปาฐะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กันยายน 2014
  2. patz_bkk

    patz_bkk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    2,754
    ค่าพลัง:
    +5,657
    บทสวดธัมมจักกัปปวัตนสูตร พร้อมคำแปล

    arsaraha1.jpg

    เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย ฯ ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ ฯ

    เทวเม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค หีโน คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต ฯ


    เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนุปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ


    กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถา คะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ


    อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ เสยยะถีทัง ฯ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ


    อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ


    อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยัะสัจจัง ฯ ชาติปิ ทุกขะ ชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง โสกะปะริเทวะ ทุกขะ โทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกยา ฯ


    อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุมะโย อะริยะสัจจัง ฯ ยายัง ตัณหา โปโนพภะวิกา นันทิราคะสะหะคะตา ตัตระ ตัตราภิ นันทินี ฯ เสยยะถีทัง ฯ กามะตัณหา ภะวะตัณหา วิภะวะตัณหา ฯ


    อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง ฯ โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย ฯ


    อิ ทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะ สัจจัง ฯ


    อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ เสยยะถีทัง ฯ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมา อาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสมาธิ ฯ


    อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ


    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิญานัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ


    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญาอุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ


    อิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ


    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทมะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ


    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทมะโย อะริยะสัจจัง ปะหีนันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ


    อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ฯ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ


    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจจิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ


    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจจิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ


    อิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ


    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ


    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิวิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ


    ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ


    เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ


    ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติ ปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ


    อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ


    ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ ฯ


    อิทะมะโว จะ ภะคะวา ฯ อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิ ภัญญะมาเน อายัสมะโต โกณฑัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ ฯ


    ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ ฯ


    ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา จาตุมมะหาราชิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา พรัหมะกายิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
    เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย
    อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา
    พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ ฯ


    อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิฯ
    อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิฯ
    อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง ฯ
    อะถะโข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญติ ฯ
    อิติหิทัง อายัสมะโต โกณฑัญญัสสะ อัญญาโกณฑัญโญ เตววะ นามัง อะโหสีติ ฯ


    ที่มา : http://www.dmc.tv/pages/praying/Dhammajak.html



    <center>คำแปล </center><center>
    </center> [๑๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ที่สุด สองอย่างนี้อันบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ

    การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย เป็นธรรมอันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑

    การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตน เป็นความลำบาก ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบ ด้วยประโยชน์ ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น นั่นตถาคตได้ ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาสายกลางที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตา ให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน นั้น เป็นไฉน?

    ปฏิปทาสายกลางนั้น ได้แก่อริยมรรค มีองค์ ๘ นี้แหละ คือปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ เจรจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ตั้งจิตชอบ ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือปฏิปทาสายกลางนั้น ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.

    [๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขอริยสัจ คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขสมุทัยอริยสัจ คือตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบ ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ตัณหานั่นแลดับ โดยไม่เหลือ ด้วยมรรคคือวิราคะ สละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แหละ คือ ปัญญาเห็นชอบ ๑ ... ตั้งจิตชอบ ๑.

    [๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล เราก็ได้กำหนดรู้แล้ว.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละเสีย.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล เราได้ละแล้ว

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล เราทำให้แจ้งแล้ว.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล ควรให้เจริญ.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล เราให้เจริญแล้ว.

    <center>ญาณทัสสนะ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒

    </center> [๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเราในอริยสัจ ๔ นี้ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ ยังไม่หมดจดดีแล้ว เพียงใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังยืนยันไม่ได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ใน หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเรา ในอริยสัจ ๔ นี้ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ หมดจดดีแล้ว

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงยืนยันได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์.

    อนึ่ง ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความพ้นวิเศษของเราไม่กลับกำเริบ ชาติ นี้เป็นที่สุด ภพใหม่ไม่มีต่อไป. ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับเป็นธรรมดา.

    [๑๗] ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว เหล่าภุมมเทวดาได้ บันลือเสียงว่า นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือ ใครๆ ในโลก จะปฏิวัติไม่ได้.

    เทวดาชั้นจาตุมหาราช ได้ยินเสียงของพวกภุมมเทวดาแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไป.
    เทวดาชั้นดาวดึงส์ ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไป.
    เทวดาชั้นยามา ...
    เทวดาชั้นดุสิต ...
    เทวดาชั้นนิมมานรดี ...
    เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวดี ...
    เทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหม ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวดีแล้ว ก็ บันลือเสียงต่อไปว่า นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก จะปฏิวัติไม่ได้.

    ชั่วขณะการครู่หนึ่งนั้น เสียงกระฉ่อนขึ้นไปจนถึงพรหมโลก ด้วยประการฉะนี้แล.
    ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้ได้หวั่นไหวสะเทือนสะท้าน ทั้งแสงสว่างอันยิ่งใหญ่หาประมาณมิได้ ได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย.
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งพระอุทานว่า ท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ ท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ เพราะเหตุนั้น คำว่า อัญญาโกณฑัญญะนี้ จึงได้เป็นชื่อ ของท่านพระโกณฑัญญะ ด้วยประการฉะนี้. <center>ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร จบ </center>

    ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=04&A=355&Z=445

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กันยายน 2014
  3. patz_bkk

    patz_bkk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    2,754
    ค่าพลัง:
    +5,657
    บทสวดอนัตตลักขณสูตร พร้อมคำแปล

    Anattalakkhaa%20Sutta02.jpg

    เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ, อิสิปะตะเน
    มิคะทะเย , ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคียเย ภิกขู อามันเตสิ ,
    รูปัง ภิกขะเว อนัตตา, รูปัญจะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ , นะยิทัง รูปัง อาพาธา ยะ สังวัตเตยยะ, ลัพเภถะ จะ รูเป, เอวัง เม รูปัง โหตุ เอวัง เม รูปัง มาอโหสีติ,ยัสมา จะ โข ภิกขะเว รูปัง อนัตตา ตัสมา รูปัง อาพาธายะสังวัตตะติ, นะ จะ ลัพภะติ รูเป, เอวัง เม รูปัง โหตุ เอวัง เม รูปังมาอโหสีติ

    เวทนา อนัตตา , เวทนา จะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ, นะยิทังเว
    ทะนา อาพาธายะ สังวัตเตยยะ, ลัพเภถะ จะ เวทะนายะ, เอวัง เม เวทะนา โห
    ตุ เอวัง เม เวทะนา มา อโหสีติ , ยัสมา จะ โข ภิกขะเว เวทะนา อนัตตา, ตัส
    มา เวทนา อาพาธายะ สังวัตตะติ, นะจะ ลัพภะติ เวทะนายะ,
    เอวัง เมเวทนา โหตุ เอวัง เม เวทะนา มา อโหสีติ,

    สัญญา อนัตตา , สัญญา จะ หิทังภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ, นะยิทัง
    สัญญา อาพาธายะ สังวัตเตยยะ, ลัพเภถะ จะสัญญายะ, เอวัง เม สัญญา โห
    ตุ เอวัง เม สัญญา มา อโหสีติ, ยัสมา จ โขภิกขะเว สัญญา อนัตตา, ตัสมา
    เอวัง เม สัญญา โหตุ เอวัง เม สัญญา มาอโหสีติ,

    สังขารา อนัตตา , สังขารา จะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสังสุ, นะ ยิทัง
    สังขารา อาพาธายะ สังวัตเตยยุง, ลัพเภถะ จะ สังขาเรสุ, เอวัง เมสังขารา
    โหนตุ เอวัง เม สังขาร มา อเหสุนติ, ยัสมา จะ โข ภิกขะเว สังขาราอนัตตา
    ตัสมา สังขารา อาพาธายะ สังวัตตันติ. นะ จะ ลัพภะติ สังขาเรสุ.เอวัง เม
    สังขารา โหนตุ เอวัง เม สังขารา มา อเหสุนติ.

    วิญญาณังอนัตตา. วิญญานัญ จะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ . นะยิทัง
    วิญญาณังอาพาธายะ สังวัตเตยยะ. ลัพเภถะ จะ วิญญาเน. เอวัง เม วิญญา
    นัง โหตุ เอวังเม วิญญานัง มา อโหสีติ. ยัสมา จะ โข ภิกขะเว วิญญานัง
    อนัตตา. ตัสมาวิญญาณัง อาพาธายะ สังวัตตะติ. นะ จะ ลัพภะติ วิญญาเน.
    เอวัง เม วิญญาณังโหตุ เอวัง เม วิญญาณัง มา อโหสีติ.

    ตังกิง มัญญะถะ ภิกขะเว
    รูปัง นิจจัง วา อนิจจัง วา ติ. อนิจจัง ภันเต. ยัมปะนา
    นิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ. ทุกขัง ภันเต. ยัมปะนา นิจจัง ทุกขังวิปะริณา
    มะธัมมัง. กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง. เอตัง มะมะ เอโสหะมัสมิเอโส เม
    อัตตาติ. โน เหตัง ภันเต.

    ตังกิง มัญญะถะ ภิกขะเว
    เวทะนานิจจา วา อนิจจา วาติ. อนิจจา ภันเต. ยัง
    ปะนา นิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขังวาติ. ทุกขัง ภันเต. ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะ
    ริณามะธัมมัง. กัลลัง นุตัง สะมะนุปัสสิตุง . เอตัง มะมะ เอโส หมัสมิ เอโส
    เม อัตตาติ. โน เหตังภันเต.

    ตังกิง มัญญะถะ ภิกขะเว
    สัญญา นิจจา วา อนิจจา วาติ. อนิจจา ภันเต.ยัมปะ
    นานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ. ทุกขัง ภัน เต . ยัมปะนานิจจังทุกขัง วิปะริ
    ณามะธัมมัง. กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง. เอตัง มะมะ เอโสหะมัสมิ เอโส เม
    อัตตาติ. โน เหตัง ภันเต.

    ตังกิง มัญญะถะ ภิกขะเว
    สังขารา นิจจา วา อนิจจา วาติ. อนิจจา ภันเต. ยัม
    ปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตังสุขัง วาติ. ทุกขัง ภันเต. ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะริ
    ณามะธัมมัง.กัลลังนุตัง สะมะนุปัสสิตุง . เอตัง มะมะ เอโสหะมัสมิ เอโส เม
    อัตตาติ. โนเหตะง ภันเต.

    ตังกิง มัญญะถะ ภิกขะเว
    วิญญาณัง นิจจังวา อนิจจัง วาติ.อนิจจัง ภันเต.
    ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ. ทุกขัง ภันเต.ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วิ
    ปะริณามะธัมมัง. กัลลังนุตังสะมะนุปัสสิตุง. เอตังมะมะ เอโสหะมัสมิ เอโส เม
    อัตตาติ. โน เหตัง ภันเต.

    ตัสมาติหะ ภิกขะเว
    ยังกิญจิ รูปัง
    อตีตานาคะตะปัจจุปันนัง. อัชฌัตตัง วา
    พหิทธา วา. โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา. หีนัง วา ปณีตัง วา. ยันทูเร สันติเกวา.
    สัพพัง รูปัง. เนตัง มะมะ เนโสหะมัสมิ นะ เมโส อัตตาติ. เอวะ เมตังยะถาภู
    ตัง . สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง

    ยากาจิ เวทะนา
    อตีตานาคะตะปัจจุปปันนา. อัชฌัตตา วา
    พหิทธา วา. โอฬาริกา วา สุขุมา วา.หีนา วา ปณีตา วา. ยันทูเร สันติเก วา.
    สัพพา เวทะนา. เนตัง มะมะเนโสหะมัสมิ นะ เมโส อัตตาติ. เอวะ เมตัง ยะถา
    ภูตัง . สัมมัปปัญญายะทัฏฐัพพัง

    ยากาจิ สัญญา
    อตีตานาคะตะปัจจุปปันนา. อัชฌัตตา วา
    พหิทธา วา. โอฬาริกา วา สุขุมา วา. หีนา วา ปณีตา วา. ยันทูเร สันติเก วา.
    สัพพา สัญญา. เนตัง มะมะ เนโสหะมัสมิ นะ เมโส อัตตาติ. เอวะ เมตัง ยะถา
    ภูตัง . สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง

    เยเกจิ สังขารา
    อตีตานาคะตะปัจจุปปันนา. อัชฌัตตา วา
    พหิทธา วา. โอฬาริกา วา สุขุมา วา.หีนา วา ปณีตา วา. เยทูเร สันติเก วา.
    สัพเพ สังขารา. เนตัง มะมะเนโสหะมัสมิ นะ เมโส อัตตาติ. เอวะ เมตัง ยะถา
    ภูตัง . สัมมัปปัญญายะทัฏฐัพพัง

    ยังกิญจิ วิญญาณัง
    อตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง. อัชฌัตตัง วาพะหิทธา วา .
    โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา. หีนัง วา ปณีตัง วา . ยันทูเรสันติเก วา . สัพพัง
    วิญญาณัง. เนตัง มะมะ เนโสหะมัสมิ นะ เมโส อัตตาติ.เอวะเมตัง ยะถาภูตัง
    สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง.

    เอวังปัสสัง ภิกขะเว สุตตะวา อะริยะสาวะโก.
    รูปัสสะมิงปิ นิพพินทะติ.
    เวทะนายะปิ นิพพินนะติ.
    สัญญายะปิ นิพพินทะติ.
    สังขาเรสุปิ นิพพินทะติ.
    วิญญานัสมิงปิ นิพพินทะติ.
    นิพพินทัง วิรัชชะติ. วิราคา วิมุจจะติ.
    วิมุตตัสมิง วิมุตตะมีติ ญาณัง โหติ. ขีณา ชาติ. วุสิตัง พรัหมจริยัง.
    กะตัง กะระณียัง. นาปะรัง
    อิตถัตตายาติ ปะชานาตีติ. อิทะมะโวจะ ภะคะวา.
    อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง.
    อิมัสสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิง ภัญญะมาเน.
    ปัญจะวัคคิยานังภิกขูนัง อะนุปาทายะ อาสะเวหิ จิตตานิ วิมุตจิงสูติ.

    ที่มา : http://www.suadmonnetwork.com/2013/04/blog-post_7153.html


    คำแปล

    ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร

    [๒๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็น อนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูปนี้ไม่พึงเป็นเพื่ออาพาธ และบุคคล พึงได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้นรูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

    เวทนาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเวทนานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว เวทนานี้ไม่พึง เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในเวทนาว่า เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของ เราจงอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเวทนาเป็นอนัตตา ฉะนั้น เวทนาจึง เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนาว่า เวทนาของเรา จงเป็นอย่างนั้นเถิด เวทนา ของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

    สัญญาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสัญญานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สัญญานี้ไม่พึง เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสัญญาเป็นอนัตตา ฉะนั้น สัญญาจึงเป็นไป เพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

    สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสังขารเหล่านี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สังขารเหล่านี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของ เราจงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะ สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ฉะนั้น สังขารทั้งหลายจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้ เป็นอย่างนั้นเลย.

    วิญญาณเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าวิญญาณนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว วิญญาณนี้ ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะวิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้น วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.


    <center>ตรัสถามความเห็นของพระปัญจวัคคีย์

    </center> [๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง? พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
    ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
    นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
    ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
    ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
    ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
    นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
    ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
    ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
    ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
    นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
    ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. สังขารทั้งหลายเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
    ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
    ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
    นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
    ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
    ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
    ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
    ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

    <center>ตรัสให้พิจารณาโดยยถาภูตญาณทัสสนะ

    </center> [๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใด อย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือ ประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่ารูป เธอทั้งหลายพึงเห็นรูปนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.

    เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าเวทนา เธอทั้งหลาย พึงเห็นเวทนานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.

    สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบ หรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าสัญญา เธอทั้งหลายพึง เห็นสัญญานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่น ไม่ใช่ตนของเรา.

    สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าสังขาร เธอทั้งหลาย พึงเห็นสังขารนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.

    วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าวิญญาณ เธอทั้งหลาย พึงเห็นวิญญาณนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.

    [๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร ทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

    [๒๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดี เพลิดเพลิน ภาษิตของพระผู้มีพระภาค. ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของพระปัญจวัคคีย์ พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.

    ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=04&A=479&Z=575

    คำอธิบาย และ ที่มา

    สมเด็จพระศาสดาทรงเข้าพรรษาอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวันเป็นพรรษาแรก ทรงสั่งสอนปัญวัคคีย์ที่เหลืออีก ๔ ท่านด้วยพระธรรมเทศนาเบ็ดเตล็ดเรียกว่า “ปกิณณกเทศนา” ยังผลให้ได้บรรลุพระโสดาปัตติผลได้ดวงตาเห็นธรรมเช่นเดียวกับท่านอัญญาโกณ ฑัญญะโดยลำดับ ท่านวัปปะ บรรลุในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ท่านภัททิยา บรรลุในวันแรม ๒ ค่ำ ท่านมหานามะ บรรลุในวันแรม ๓ ค่ำ และท่านอัสสชิ บรรลุในวันแรม ๔ ค่ำ และต่างได้รับการอุปสมบทด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา ครั้นถึงวันแรม ๕ ค่ำเดือน ๘ พระบรมศาสดาได้ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร อันมีใจความเกี่ยวกับ ความไม่ใช่ตัวตนของ รูป คือ ร่างกาย เวทนา คือ ความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉย ๆ สัญญา คือ ความจำได้หมายรู้ สังขาร คือ ความคิดหรือเจตนา วิญญาณ คือ ความรู้อารมณ์ทางตา หู เป็นต้น หรือเรียกอีกประการหนึ่งว่า อายตนะทั้ง ๖ อันได้แก่สัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ฯลฯ โปรดพระปัญจวัคคีย์ภิกษุทั้ง ๕ รูปนั้นให้บรรลุพระอรหันต์เป็น อเสขอริยบุคคล คือ บุคคลผู้ไม่ต้องศึกษา หรือ ผู้จบการศึกษา คือ ผู้สำเร็จบรรลุแล้ว ในพระพุทธศานา ดังนั้นจึงได้มีพระอรหันต์บังเกิดขึ้นในโลกรวม ๖ องค์ คือ พระบรมศาสดา และพระสาวกอีก ๕ องค์

    สำหรับพระอัญญาโกณฑัญญะนั้น ต่อมาท่านได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดาว่าเป็น เอตทัคค แปลว่า ผู้เชี่ยวชาญ หรือ ผู้ยอดเยี่ยมในทางใดทางหนึ่ง เป็นเลิศในด้านรัตตัญญู แปลว่า ผู้รู้ราตรี หรือ ผู้มีประสบการณ์ผ่านชีวิตมามาก และท่านมีน้องสาวคนหนึ่งชื่อนางมันตานีซึ่งมีบุตรชื่อปุณณมาณพ ต่อมาพระอัญญาโกณฑะได้อุปสมบทให้แก่หลานของท่านอันปรากฏชื่อภายหลังว่า พระปุณณะ มันตานีบุตร ซึ่งเป็นพุทธสาวกองค์หนึ่งที่มีความรู้ทางพระพุทธศาสนาแตกฉานมาก เพราะได้ศึกษาจากท่านอัญญาโกณฑัญญะนั่นเอง แม้พระสารีบุตรยังปรารถนาจะสนทนาธรรมกับพระปุณณะ มันตานีบุตรซึ่งต่อมาได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดาว่าเป็นเอตทัคคะเลิศในทางพระธรรมกถึก คือ ผู้แสดงธรรม
    อนัตตลักขณสูตร

    อนัตตลักขณสูตร
    แปลว่า พระสูตรที่แสดงลักษณะ คือ เครื่องกำหนดหมายว่าเป็นอนัตตา มิใช่อัตตาตัวตน พระสูตรนี้มีใจความโดยย่อดังต่อไปนี้

    ตอนที่ ๑ พระบรมศาสดาได้ทรงแสดง รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นอนัตตา มิใช่อัตตาตัวตน
    ถ้าทั้งห้านี้ พึงเป็นอัตตาตัวตน ทั้งห้านี้ก็ถึงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลก็จะพึงได้ในส่วนทั้งห้านี้ว่า
    ขอให้เป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย แต่เพราะเหตุว่าทั้งห้านี้มิใช่อัตตาตัวตน ฉะนั้น
    ทั้งห้านี้จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลก็ย่อมไม่ได้ส่วนทั้งห้านี้ว่า ขอให้เป็นอย่างนี้เถิด
    อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

    ตอนที่ ๒ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอบความรู้ความเห็นของท่านทั้งห้านั้น ตรัสถามว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร
    วิญญาณ ทั้งห้านี้เที่ยงหรือไม่เที่ยง ท่านทั้งห้า ทูลตอบว่า ไม่เที่ยง ตรัสถามอีกว่า สิ่งใดไม่เที่ยง
    สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ท่านทั้งห้ากราบทูลว่าเป็นทุกข์ ก็ตรัสถามต่อไปว่า สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์
    มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควรหรือจะเห็นสิ่งนั้น.

    ตอนที่ ๓ พระพุทธเจ้าได้ตรัสรุปลงว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทั้งห้านี้ที่เป็นส่วนอดีตก็ดี
    เป็นส่วนอนาคตก็ดี เป็นส่วนปัจจุบันก็ดี เป็นส่วนภายในก็ดี เป็นส่วนภายนอกก็ดี เป็นส่วนหยาบก็ดี
    เป็นส่วนละเอียดก็ดี เป็นส่วนเลวก็ดี เป็นส่วนประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี อยู่ในที่ใกล้ก็ดี
    ทั้งหมดก็สักแต่ว่าเป็นรูป เป็นเวทนา เป็นสัญญา เป็นสังขาร เป็นวิญญาณ ควรเป็นด้วยปัญญาชอบ
    ตามที่เป็นแล้วว่า นี่ไม่ใช่ของเรา เราไม่ใช่นี่ นี่ไม่ใช่ตัวตนของเรา.

    ตอนที่ ๔ พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงผลทีเกิดแก่ผู้ฟังและเกิดความรู้เห็นชอบดั่งกล่าวมานั้นต่อไปว่า อริยสาวก คือ
    ผู้ฟังผู้ประเสริฐซึ่งได้สดับแล้วอย่างนี้ ย่อมเกิดนิพพิทา คือ ความหน่ายในรูป หน่ายในเวทนา หน่ายใน
    สัญญา หน่ายในสังขาร หน่ายในวิญญาณ เมื่อหน่ายก็ย่อมสิ้นราคะ คือ สิ้นความติด ความยินดี ความ
    กำหนัด เมื้อสิ้นราคะ ก็ย่อมวิมุตติ คือ หลุดพ้น เมื่อวิมุตติ ก็ย่อมมีญาณ คือความรู้ว่าวิมุตติ หลุดพ้นแล้ว
    และย่อมรู้ว่า ชาติ คือ ความเกิดสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
    ที่จะพึงทำเพื่อความเป็นเช่นนี้อีกต่อไป.

    พระ ธรรมสังคาหกาจารย์ หรือ พระอาจารย์ผู้ทำสังคายนาร้อยกรองตั้งเป็นพระบาลีไว้ ได้กล่าวไว้ในตอนท้ายพระสูตรว่า เมื่อท่านทั้ง ๕ ได้สดับสูตรนี้จบแล้ว ก็มีใจปีติโสมนัสแนบแน่น จิตของท่านของทั้ง ๕ ก็พันจากอาสวกิเลส คือได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ทั้ง ๕ รูป

    พระสูตรที่ ๒ นี้มีใจความดังที่ย่อมากล่าวนั้น แต่ก็ควรทำความเข้าใจสืบต่อไป

    จุดมุ่งของพระสูตรนี้ ต้องการที่จะชี้อนัตตา เพราะได้มีความเข้าใจในเรื่องอัตตาที่แปลกันว่า ตัวตน และมีความเชื่อมั่นกันอยู่หลายแห่ง แต่เมื่อสรุปแล้วก็มักจะมี ทิฏฐิ คือ ความเห็นกันอยู่ ๒ อย่าง
    ๐ สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง อย่าง ๑
    ๐ อุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญอย่าง ๑

    สัสสตทิฏฐิ ความ เห็นว่าเที่ยงนั้น คือ เห็นว่าในปัจจุบันชาตินี้ก็มีอัตตา คือ ตัวตน เมื่อสิ้นชีวิตไปแล้วอัตตาคือตัวตนก็ยังไม่สิ้น ยังจะมีสืบภพชาติต่อไป มีชาติหน้าเรื่อยไปไม่มีขาดสูญ แปลว่า มี อัตตา คือ ตัวตนยืนที่ตลอดไป นี้เรียกว่า สัสสตทิฏฐิ คือความเห็นว่าเที่ยง ส่วนที่มีความเห็นว่าขาดสูญอันเรียกว่า
    อุจเฉททิฏฐิ นั้น คือเห็นว่ามีอัตตาตัวตนอยู่ แต่ในปัจจุบันชาตินี้เท่านั้น เมื่อสิ้นชีวิตไปแล้วอัตตาตัวตนก็สิ้นไป ไม่มีอะไรเหลืออยู่ที่จะให้ไปเกิด ดั่งที่เห็นว่า ตายสูญ นี่เรียกว่าอุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ

    ในทางพระพุทธศาสนาแสดงว่า ความเห็นทั้ง ๒ นี้เป็น มิจฉาทิฏฐิ คือความเห็นผิด ทั้ง ๒ อย่าง คือเห็นว่าเที่ยงก็ผิด
    เห็นว่าขาดสูญก็ผิด เพราะทางพระพุทธศาสนาไม่ยอมชี้ว่ามีอะไรเป็นอัตตาคือตัวตน ที่จะให้เป็นที่ตั้งของอุปาทาน
    คือ ความยึดถืออยู่ในสิ่งนั้นเองยังมีอุปาทานคือความยึดถืออยู่ ก็ยังไม่สิ้นกิเลสและสิ้นทุกข์ เพราะความยึดถือนั้น
    เป็นตัวกิเลส แต่ว่าได้แสดงเป็นหลักเหตุผลในปฏิจจสมุปบาท ยกมากล่าวเฉพาะที่เกี่ยวข้องว่า เมื่อยังมีอวิชชา
    เป็นต้น ก็ยังต้องมีชาติคือความเกิด เมื่อสิ้นอวิชชาเป็นต้น ก็สิ้นชาติคือความเกิด ทางพระพุทธศาสนาแสดง
    เหตุผลดั่งนี้ และไม่ชี้ด้วยว่า จะเป็นชาติอดีต ชาติอนาคต หรือชาติปัจจุบัน สุดแต่ว่าจะยังมีเหตุมีผลดั่งกล่าวนี้
    สัมพันธ์กันอยู่อย่างไรเท่านั้น กาลเมื่อไรไม่เป็นข้อสำคัญ สำคัญอยู่แต่ว่า เมื่อยังมีเหตุก็มีผล เมื่อสิ้นเหตุก็สิ้นผล

    คราว นี้ผู้ที่ยังมีความเห็นว่ามี อัตตา คือมี ตัวตน นั้น จะเป็นอัตตาคือตัวตนเฉพาะในปัจจุบันหรือจะสืบต่อไปในอนาคตก็ตาม ก็จะต้องมีความเห็นสืบต่อไปว่าอะไรคืออัตตาตัวตน โดยมากนั้นย่อมมีความยึดถืออยู่ในรูปบ้าง ในเวทนาบ้าง ในสัญญาบ้าง ในสังขารบ้าง ในวิญญาณบ้าง ว่าเป็นอัตตาคือตัวตน

    รูปนั้น ก็ได้แก่รูปกายทั้งหมด ที่ประกอบด้วยอาการต่าง ๆ ทั้งภายนอกทั้งภายใน ดั่งที่เรียกว่าอาการ ๓๑ หรือ ๓๒ หรือจะแยกให้ละเอียดไปกว่านั้นในทางสรีรวิทยาก็ตาม หรือว่าจะกล่าวโดยสรุปก็ได้แก่ มหาภูตรูป รูปที่เป็นใหญ่ มุ่งถึงส่วนที่เป็นธาตุทั้ง ๔ และ อุปาทายรูป รูปอาศัย เช่นประสาทต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่กับรูปใหญ่นั้นก็ตาม ทั้งหมดรวมเรียนกว่ารูป เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า รูปขันธ์ แปลว่า กองรูป หรือ หมวดรูป เพราะว่ามีลักษณะอาการ มีส่วนประกอบมากมายด้วยกัน ตามตำราศัพท์เล่าว่า ครั้งเดิมทีเดียว คนเราสังเกตเอาว่าเมื่อหัวใจยังเต้นตุ๊บ ๆ อยู่ ก็ยังมีชีวะหรือยังมีอัตตาตัวตนอยู่ เมื่อดับลมหายใจเสียแล้ว ก็สิ้นชีวะ อัตตาตัวตนก็ดับ จึงเรียกลมหายใจว่า อัตตา ในสันสกฤตเรียกว่า อามตัน บาลีก็เป็น อัตตา อาตมันนี้ก็ไปตรงกับศัพท์กิริยาในภาษาเยอรมัน แปลว่า หายใจเหมือนกัน แล้วก็เขียนอ่านว่าเป็นอาตมัน เหมือนอย่างสันสกฤต นี่แสดงว่าคนครั้งดั้งเดิมนั้น เข้าใจว่าอัตราก็อยู่ที่ลมหายใจนี่แหละ ตั้งชื่อเรียกว่า อาตมัน มาตรงกับบาลีว่า อัตตา นี่เข้าใจแต่รูปเท่านี้

    อนึ่ง ก็เข้าใจว่าอัตตาอยู่ที่เวทนา เวทนาก็ได้แก่ความเสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง เป็นกลาง ๆ ไปทุกข์ไม่สุขบ้าง ลำพังรูปแม้จะยังหายใจอยู่ ถ้าไม่มีเวทนาก็ยังไม่รู้สึกว่าเป็นทุกข์เป็นสุขอย่างไร แต่ว่าเพราะมีเวทนานี่แหละ จึงจะรู้สึกว่าเป็นสุขเป็นทุกข์ ฉะนั้น จึงได้เลื่อนความเข้าใจว่า อัตตาคือตัวตนนั้น ก็ได้แก่เวทนานี่เอง เพราะว่าเป็นสภาพที่คอนกินสุขกินทุกข์ และก็แปล อัตตา ว่า ผู้กิน อันหมายความว่า กินสุขกินทุกข์ก็ได้แก่เวทนานี่เอง

    อนึ่ง มีความเข้าใจเลื่อนไปถึงสัญญา สัญญาก็ได้แก่ความจำหมาย คือความจำได้หมายรู้ต่าง ๆ มีมากด้วยกัน จึงเรียกว่า สัญญาขันธ์ แปลว่า กองสัญญา หรือว่า หมวดสัญญา เห็นว่าลำดังแก่กินสุขกินทุกข์ กินแล้วก็ลืม จำอะไรไว้ไม่ได้ก็ไม่ยั่งยืนอะไร ความยั่งยืนมาอยู่ที่ความจำได้หมายรู้ ฉะนั้น สัญญาคือความจำได้หมายรู้จึงเป็นอัตตาตัวตน

    อนึ่ง มีความคิดเลื่อนไปอีกว่า สังขาร คือ ความคิดปรุงหรือปรุงคิด เป็นอัตตาคือตัวตน เพราะลำพังสัญญาคือความจำได้หมายรู้นั้น ก็สักแต่ว่าจำ ๆ เท่านั้น ถ้าจำแล้วไม่เอาไปคิดอ่านให้เป็นเรื่องเป็นราวอะไรต่อไป ก็ไม่ได้เรื่องได้ราวอะไรติดต่อกัน แต่การที่จะเป็นเรื่องเป็นราวอะไรติดต่อกัน ก็ต้องมีความคิดปรุง หรือความปรุงคิด ตัวตามคิดปรุง หรือความปรุงคิดนี้ จึงเป็นอัตตาตัวตน และความคิดปรุง หรือความปรุงคิดนี้ก็มีมาก จึงเรียกว่า สังขารขันธ์ กองสังขาร หรือหมวดสังขาร

    อนึ่ง มีความคิดสืบเข้าไปอีกว่า วิญญาณ นี่เป็นอัตตาตัวตน วิญญาณนี้ หมายถึงใจหรือหมายถึงสิ่งที่จะไปเวียนก็มี หมายเพียงความรู้สึกเห็นรูป รู้สึกได้ยินเสียง ในเวลาที่ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง เป็นต้นก็มี ฝ่ายที่มีความเห็นว่าวิญญาณเป็นอัตตานั้น ก็ด้วยมีความเข้าใจว่า วิญญาณก็คือใจที่เป็น (ไม่ตาย) ล่องลอยไปไหนก็ไปได้ เหมือนอย่างเราอยู่ที่นี้ แต่ว่าใจล่องลอยไปอยู่ที่โน้นที่นี้ ไปไกลเท่าไรก็ได้ และไปได้อย่างรวดเร็ว และถ้ายิ่งมีความเข้าใจว่า เมื่อตายไปแล้ว วิญญาณเป็นตัวไปเกิด ก็ยิ่งจะมีความเห็นกระชับลงไปว่า นี่เองเป็นอัตตาตัวตน และความเข้าใจของคนโดยมากก็เข้าใจดั่งนี้ คือเมื่อเรียกว่าวิญญาณก็เข้าใจว่าได้แก่ใจที่ล่องลอยไปไหนก็ได้ หรือว่าเป็นตัวที่จะไปเกิดต่อไป

    ในคนเราก็มีสิ่งทั้งห้านี้ คือ มีรูป ได้แก่รูปกายหรือรูปขันธ์ กองรูป มีเวทนาขันธ์ กองเวทนา มีสัญญาขันธ์ กองสัญญา มีสังขารขันธ์ กองสังขาร มีวิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ มีอยู่ด้วยกันทั้งห้า และที่เข้าใจกันว่าเป็นตัวเป็นตน ก็เข้าใจกันอยู่ที่สิ่งทั้งห้านี้ ในเวลาที่สิ่งทั้งห้านี้ยังมีอยู่บริบูรณ์ ก็เข้าใจว่ามีตัวตนบริบูรณ์ ถ้าพิการก็เข้าใจว่าอัตตาพิการ เช่น ถ้ารูปขันธ์พิการเสีย อย่างเช่น ตาบอด หูหนวก จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่ได้รส กายเป็นอัมพาต ก็หมดเรื่องกันเท่านั้น ถ้ายิ่งสลบไสลไปด้วยเสียอีก ก็ยิ่งไม่รู้อะไร ฉะนั้น เพียงแต่รูปขันธ์อย่างเดียวเท่านั้น ก็เป็นข้อสำคัญ เมื่อยังมีอยู่บริบูรณ์ ทุก ๆ คนจึงมีความสึกอะไรต่อมิอะไร คิดอะไรต่อมิอะไรอยู่ได้ อีก ๔ อย่างนั้นก็เหมือนกัน เพราะมีเวทนาอยู่ จึงมีความสุขทุกข์หรือไม่สุขไม่ทุกข์อะไรต่าง ๆ มีวิญญาณอยู่ จึงมีความรู้สึกต่าง ๆ ถ้าอาการเหล่านี้เสียไปอย่างใดอย่างหนึ่งก็เป็นความบกพร่อง ถ้าขาดไปเสียทั้งหมดก็เลยเป็นผู้มีความไม่รู้สึกอะไรเลย เพราะฉะนั้น ที่บุคคลยังมีความสึกเป็นตัวตนอยู่ มีชีวะอยู่อย่างบริบูรณ์ ก็เพราะมีอาการทั้ง ๕ นี้ ประกอบกันอยู่อย่างสมบูรณ์ และเป็นไปโดยสะดวกไม่ขัดข้อง ฉะนั้น จึงยึดถืออาการทั้ง ๕ เหล่านี้นี่เองว่าเป็นอัตตาตัวตน ถ้าหากว่าสิ้นอาการทั้ง ๕ เหล่านี้ ก็ไม่มีอะไรให้ยึดถือ และไม่มีอะไรที่จะให้มีความคิดในการที่จะให้ยึดถือ ในสมัยพุทธกาลหรือสมัยไหน ๆ ก็คงเป็นเช่นนี้ ในปัจจุบันก็เป็นเช่นนี้ และพระปัญจวัคคีย์นั้นก็ย่อมมีความยึดถืออยู่เช่นนี้อย่างมั่นคง เพราะฉะนั้น เมื่อฟังธรรมจักร ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะจึงได้ดวงตาเห็นธรรมเพียงรูปเดียว เมื่อพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมอบรมอีก จึงได้ดวงตาเห็นธรรมจนครบทั้ง ๕ รูป แต่ก็ได้เพียงดวงตาเห็นธรรม เท่ากับว่าเห็นทุกขสัจ ความจริงคือทุกข์ขึ้นเท่านั้น พระพุทธเจ้าจึงได้ทรงแสดงพระสูตรที่ ๒ ชี้ลักษณะของอาการทั้ง ๕ เหล่านี้ว่าเป็น อนัตตา คือ ไม่ใช่ตัวตนโดยชัดเจน

    อธิบายเบญจขันธ์ได้ เล่าถึงเรื่องพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง อนัตตลักขณสูตร ได้ย่อความของพระสูตรนั้น และได้อธิบายเรื่อง รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าแต่ละอย่างมีลักษณะอย่างไร จึงขอสรุปความในตอนนั้นว่า สิ่งทั้งห้าเหล่านั้น แต่ละสิ่งมีมากด้วยกัน ฉะนั้นจึงเรียกว่า ขันธ ที่แปลว่า กอง หรือ หมู่หมวด คือเรียกว่า รูปขันธ์ กองรูป เวทนาขันธ์ กองเวทนา สัญญาขันธ์ กองสัญญา สังขารขันธ์ กองสังขาร วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ รวมเรียกว่า ปัญจขันธ์ แปลว่าในกองทั้งห้า หรือเรียกว่าเป็นไทยว่า เบญจขันธ์ คำนี้จะได้พบในหนังสือทางพระพุทธศาสนาหรือในเทศนาเป็นอันมาก เพราะฉะนั้น ก็ควรที่จะกำหนดชื่อไว้และทำความเข้าใจ

    ทุก ๆ คน เมื่อกล่าวถึงอัตตาตัวตน โดยปรกติก็จะต้องมุ่งไปที่ปัญจขันธ์นี้ เพราะเว้นจากปัญจขันธ์นี้แล้ว ก็ไม่มีในอะไรที่จะสมมติบัญญัติว่าเป็นอัตตาตัวตน ฉะนั้น ความเข้าใจว่าอะไรเป็นอัตตาตัวตน จึงเข้าใจกันที่ปัญจขันธ์นี้ และก็ยึดกันที่ปัญจขันธ์นี้ว่า เป็นอัตตาตัวตน ฉะนั้น จึงมีคำเรียกอีกคำหนึ่งว่า ปัญจอุปาทานขันธ์ ปัญจะ ก็แปลว่า ๕ อุปาทาน ก็แปลว่า เป็นที่ยึดถือ ขันธ์ ก็แปลว่า ขันธ์ แปลรวมกันว่า ขันธ์เป็นที่ยึดถือ ๕ ประการ คือเป็นที่ยึดถือว่าเป็นอัตตาตัวตนดั่งกล่าว ในพระสูตรนี้ พระพุทธเจ้าได้ทรงยกเอาปัญจขันธ์นี้ขึ้นชี้ว่า เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน เป็นการค้านการยึดถือของภิกษุปัญจวัคคีย์และของคนทั่วไป ได้ทรงแสดงเหตุผลในข้อนี้ไว้ว่า ถ้าปัญจขันธ์จะพึงเป็นอัตตาตัวตนไซร้ ปัญจขันธ์ก็จะไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และใคร ๆ ก็จะพึงได้ในปัญจขัน์ว่า ขอให้เป็นอย่างนี้ ขออย่าให้เป็นอย่างนั้น แต่เพราะเหตุที่ปัญจขันธ์เป็นไปเพื่ออาพาธ และใคร ๆ ก็ไม่ได้ในปัญจขันธ์ว่า ขอให้ปัญจขันธ์เป็นอย่างนี้ อย่าเป็นอย่างนั้น ฉะนั้น จึงเป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวตนนี้เป็นเหตุผลที่ทรงชี้ในพระสูตรนี้

    คำว่า เป็นไปเพื่ออาพาธ โดยทั่วไปหมายความว่า เป็นไปเพื่อความเจ็บไข้ เหราะอาพาธใช้ในความหมายว่า เจ็บไข้ แต่คำว่า อาพาธ อาจอธิบายให้เห็นความหมายกว้างไปกว่านั้นคือ คำว่า อาพาธ แปลว่า เป็นที่ถูกเบียดเบียน เป็นที่ถูกทำลายให้หมดสิ้น เมื่อให้คำแปลอย่างนี้ก็อาจอธิบายกว้างออกไปอีกว่า ปัญจขันธ์เมื่อเกิดขึ้นก็จะต้องถูกความแก่เบียดเบียน ถูกพยาธิคือความป่วยไข้เบียดเบียน ตลอดจนถึงถูกความตายเบียดเบียน รวมความว่า เมื่อเกิดขึ้นมาก็ต้องมีแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปจนถึงดับในที่สุด ฉะนั้น จึงต้องถูกความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงและถูกความดับเบียดเบียนทำลายล้างให้หมด สิ้น

    จะพึงเห็นได้ว่า รูปขันธ์ กองรูป ก็เปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ ตั้งแต่เกิดมาจนบัดนี้ก็เปลี่ยนแปลงเรื่อยมา แต่อาศัยบุคลลบริโภคอาหารเข้าไปทำนุบำรุง คอยซ่อมส่วนที่สึกหรออยู่เสมอ จึงรู้สึกมีความสืบต่อเรื่อยมา แม้แต่ในทางการแพทย์ปัจจุบันก็รับรองว่า แม้ส่วนที่แข็งที่สุดในร่างกาย เช่น กระดูก ก็เปลี่ยนไปอยู่ กระดูกเมื่อเกิดกับกระดูกในบัดนี้ก็เป็นคนละส่วนแล้ว ส่วนที่อ่อนกว่านั้น เช่น เนื้อหนัง ก็ยิ่งจะเปลี่ยนไปได้เร็ว ฉะนั้น รูปขันธ์ก็มีความเกิดดับอยู่เรื่อย แต่อาศัยที่มี สันตติ คือความสืบต่อ เพราะชีวิตยังดำรงอยู่ จึงยังเป็นไปได้ เวทนาขันธ์ กองเวทนา ปรากฏเกิดดับเห็นได้ชัด อย่างเช่นความสุขเกิดขึ้นแล้วหายไป ความทุกข์เกิดขึ้นแล้วก็หายไป ความเป็นกลาง ๆ เกิดขึ้นแล้วก็หายไป เปลี่ยนกันไปอยู่เสมอ สัญญาขันธ์ กองสัญญา ความจำหมาย ก็เกิดดับอยู่เสมอ สังขารขันธ์ คือความคิดปรุง หรือคามปรุงคิด เป็นเรื่องต่าง ๆ ก็กัดดับอยู่เสมอ วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณก็เกิดดับอยู่เสมอ

    คราวนี้ ควรจะทำความเข้าใจคำว่า วิญญาณ ได้เคยให้ความหมายทั่ว ๆ ไปไว้แล้วว่า หมายถึง ใจ หมายถึง สภาพที่จะไปเกิดต่อไป หมายถึง ความรู้สึกเห็นรูป ได้ยินเสียง เป็นต้น ที่หมายถึงใจหรือหมายถึงสภาพที่จะเวียนเกิดต่อไปนั้น เป็นความหมายที่เข้าใจกันอยู่ ที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไป แม้ในเรื่องทางพระพุทธศาสนาเองที่เป็นเรื่องเล่า เมื่อเล่าถึงสิ่งที่จะไปเวียนเกิดใช้คำว่า วิญญาณ ก็มี แต่ความหมายในปัญจขันธ์นี้ ไม่ใช่หมายความถึงสภาพเช่นนั้น แต่หมายถึงความรู้สึกเห็นรูป ในเรื่องตากับรูปกระทบกัน อันเรียกว่า จักขุวิญญาณ ความรู้สึกได้ยินเสียง ในเวลาที่หูกับเสียงกระทับกัน เรียกว่า โสตวิญญาณ ความรู้สึกได้กลิ่น ในเมื่อฆานะกับกลิ่นกระทบกัน เรียกว่า ฆานวิญญาณ ความรู้สึกในรส ในเมื่อลิ้นกับรสกระทบกัน เรียกว่า ชิวหาวิญญาณ ความรู้สึกถูกต้องที่กายถูกต้อง ในเวลาที่กายกับสิ่งที่ถูกต้องกายกระทบกัน เรียกว่า กายวิญญาณ ความรู้สึกในเรื่องที่มโนหรือมนะรู้ ในเวลาที่มนะกับเรื่องกระทบกัน เรียกว่า มโนวิญญาณ วิญญาณในปัญจขันธ์ หมายถึงวิญญาณ ๖ คือความรู้สึกที่เกิดขึ้นทางอายตนะทั้ง ๖ ดั่งกล่าวแล้ว ฉะนั้น ความรู้สึกดั่งกล่าวนี้จึงมีมาก เมื่อตาเห็นรูป เกิดความรู้สึกเห็นรูป นี้ก็เป็นจักขุวิญญาณ ครั้นหูได้ยินเสียง ก็เกิดความรู้สึกได้ยินเสียงขึ้น ก็เป็นโสตวิญญาณเป็นต้น เพราะฉะนั้น จึงมิใช่มีหนึ่ง แต่ว่ามีมาก จึงเรียนกว่าเป็นวิญญาณขันธ์ ดั่งที่กล่าวมาแล้ว วิญญาณขันธ์ที่มีอธิบายอย่างนี้ ก็เป็นสิ่งที่เกิดดับอยู่เสมอ

    ฉะนั้น ปัญจขันธ์ จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ คือต้องถูกเบียดเบียน คือต้องถูกทำลายล้างให้สิ้นไป ด้วยอำนาจของความแก่ เจ็บ ตาย หรือว่า เกิด ดับ อยู่เสมอ ใคร ๆ จะบังคับให้เป็นไปตามปรารถนาไม่ได้ คือบังคับให้เป็นอย่างนี้ อย่าให้เป็นอย่างนั้น ก็บังคับไม่ได้ อย่างเช่น รูปขันธ์ จะบังคับว่าจะต้องให้คงอยู่อย่างนั้น อย่าให้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่นก็ไม่ได้ ดังที่จะพึงเห็นได้ว่า เมื่อเกิดขึ้นมาก็เปลี่ยนแปลงมาจนถึงที่สุด ใครจะชอบใจในระยะไหนและปรารถนาจะให้คงอยู่ระยะนั้นก็ปรารถนาไม่ได้ กองเวทนาก็เหมือนกัน ก็ย่อมปรารถนาสุข แต่จะบังคับให้เป็นสุขอยู่เสมอไม่ได้ ทุกข์ก็เหมือนกัน เมื่อทุกข์เกิดขั้น โดยปรกติก็ไม่ชอบ แต่ทุกข์นั้นก็ต้องถูกเบียดเบียนเหมือนกัน คือว่าเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ต้องหายไป แล้วเกิดอย่างอื่นขึ้นแทน กองสัญญาก็เหมือนกัน จะบังคับให้จำได้หมายรู้อยู่ตลอดไปก็ไม่ได้เหมือนกัน กองสังขารคือความคิดปรุงหรือความปรุงคิด ก็ไม่ได้เหมือนกัน และกองวิญญาณคือความรู้ทางอายตนะ ดั่งกล่าวมานั้น ก็เหมือนกัน บังคับให้เป็นไปตามความปรารถนาไม่ได้ เพราะเหตุที่บังคับไม่ได้ดั่งกล่าวมานี้ ปัญจขันธ์ต้องเป็นไปเพื่ออาพาธ ต้องเป็นไปตามคติธรรมดา ฉะนั้น จึงเป็น อนัตตา ไม่ใช่ อัตตาตัวตน

    ตาม ลักษณะนี้พึงเห็นว่า สิ่งที่จะเป็นอัตตาตัวตนนั้น ก็ควรจะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ เป็นสิ่งที่บังคับให้เป็นไปตามปรารถนาได้ ถ้าไม่เป็นเช่นนั้นก็ไม่ชื่อว่าอัตตา ดั่งเช่นปัญจขันธ์ ซึ่งเป็นที่ยึดถือว่าเป็นอัตตา เมื่อพิจารณาแล้วก็จะพึงเห็นว่าไม่ใช่ แต่เป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวตน ด้วยเหตุผลดั่งทีกล่าวมานี้

    ที่มา : ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า
    พระนิพนธ์ใน สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
    วัดบวรนิเวศน์วิหาร

    ที่มา : http://www.dmc.tv/pages/praying/Dhammajak.html

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กันยายน 2014
  4. patz_bkk

    patz_bkk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    2,754
    ค่าพลัง:
    +5,657
    บทสวดอาทิตตปริยายสูตร พร้อมคำแปล

    [​IMG]

    เอวัมฺเม สุตัง. เอกัง สะมะยัง ภะคะวา คะยายัง วิหะระติ คะยาสีเส สัทฺธิง ภิกฺขุสะหัสฺเสนะ.
    ตัตฺตะระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันฺเตสิ.ฯ
    สัพฺพัง ภิกฺขะเว อาทิตฺตัง. กิญฺจิ ภิกฺขะเว สัพฺพัง อาทิตฺตัง. จักฺขุง ภิกฺขะเว อาทิตฺตัง. รูปา
    อาทิตฺตา จักฺขุวิญฺญาณัง อาทิตฺตัง จักฺขุสัมฺผัสฺโส อาทิตฺโต ยัมฺปิทัง จักฺขุสัมฺผัสฺสะปัจจะยา
    อุปปัชชะติ เวทะยิตัง. สุขัง วา ทุกฺขัง วา อะทุกฺขะมะสุขัง วา ตัมฺปิ อาทิตฺตัง. เกนะ อาทิตฺตัง.
    อาทิตฺตัง ราคัคฺคินา โทสัคฺคินา โมหัคฺคินา อาทิตฺตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ โสเกหิ ปะริเทเวหิ
    ทุกเขหิ โทมะนัสฺเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตฺตันฺติ วะทามิ.ฯ
    โสตัง อาทิตฺตัง สัทฺทา อาทิตฺตา โสตะวิญฺญาณัง อาทิตฺตัง โสตะสัมฺผัสฺโส อาทิตฺโต ยัมฺปิทัง
    โสตะสัมฺผัสฺสะปัจฺจะยา อุปฺปัชฺชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา ทุกฺขัง วา อะทุกฺขะมะสุขัง วา ตัมฺปิ
    อาทิตฺตัง. เกนะ อาทิตฺตัง. อาทิตฺตัง ราคัคฺคินา โทสัคฺคินา โมหัคฺคินา อาทิตฺตัง ชาติยา ชรามะระเณนะ โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกฺเขหิ โทมะนัสฺเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตฺตันฺติ วะทามิ.ฯ
    ฆานัง อาทิตฺตัง คันฺธา อาทิตฺตา ฆานะวิญฺญาณัง อาทิตฺตัง ฆานะสัมฺผัสฺโส อาทิตโต. ยัมปิทัง
    ฆานะสัมผัสสะปัจจะยา อุปฺปัชฺชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา ทุกฺขัง วา อะทุกฺขะมะสุขัง วา ตัมฺปิ อาทิตฺตัง.
    เกนะ อาทิตฺตัง. อาทิตฺตัง ราคัคฺคินา โทสัคฺคินา โมหัคฺคินา อาทิตฺตัง ชาติยา ชรามะระเณนะ โสเกหิ
    ปะริเทเวหิ ทุกฺเขหิ โทมะนัสฺเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตฺตันฺติ วะทามิ.
    ชิวฺหา อาทิตฺตา ระสา อาทิตฺตา ชิวฺหาวิญฺญาณัง อาทิตฺตัง ชิวฺหาสัมฺผัสฺโส อาทิตฺโต ยัมฺปิทัง
    ชิวฺหาสัมฺผัสฺสะปัจฺจะยา อุปฺปัชฺชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกฺขะมะสุขัง วา ตัมฺปิ อาทิตฺตัง. เกนะ อาทิตตัง. อาทิตฺตัง ราคัคฺคินา โทสัคฺคินา โมหัคฺคินา อาทิตฺตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกฺเขหิ โทมะนัสฺเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตฺตันฺติ วะทามิ.
    กาโย อาทิตฺโต โผฐฺทัพฺพา อาทิตฺตา กายะวิญฺญาณัง อาทิตฺตัง กายะสัมฺผัสฺโส อาทิตฺโต ยัมฺปิทัง กายะสัมฺผัสฺสะปัจฺจะยา อุปฺปัชฺชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา ทุกฺขัง วา อะทุกฺขะมะสุขัง วา ตัมฺปิ อาทิตฺตัง. เกนะ อาทิตฺตัง. อาทิตฺตัง ราคัคฺคินา โทสัคฺคินา โมหัคฺคินา อาทิตฺตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกฺเขหิ โทมะนัสฺเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตฺตันฺติ วะทามิ.ฯ
    มะโน อาทิตฺโต ธัมฺมา อาทิตฺตา มะโนวิญฺญาณัง อาทิตฺตัง มะโนสัมฺผัสฺโส อาทิตฺโต ยัมฺปิทัง
    มะโนสัมฺผัสฺสะปัจฺจะยา อุปฺปัชฺชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา ทุกฺขัง วา อะทุกฺขะมะสุขัง วา ตัมฺปิ อาทิตฺตัง. เกนะ อาทิตฺตัง. อาทิตฺตัง ราคัคฺคินา โทสัคฺคินา โมหัคฺคินา อาทิตฺตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกฺเขหิ โทมะนัสฺเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตฺตันฺติ วะทามิ.(หยุด)
    เอวังฺ ปัสฺสัง ภิกขะเว สุตฺตะวา อะริยะสาวะโก จักฺขุสฺสะมิงฺปิ นิพฺพินฺทะติ รูเปสุปิ นิพฺพินฺทะติ
    จักฺขุวิญฺญาเณปิ นิพฺพินฺทะติ จักฺขุสัมฺผัสฺเสปิ นิพฺพินฺทะติ ยัมฺปิทัง จักฺขุสัมฺผัสฺสะปัจฺจะยา อุปฺปัชฺชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา ทุกฺขัง วา อะทุกฺขะมะสุขัง วา ตัสฺสะมิงปิ นิพฺพินฺทะติ.ฯ
    โสตัสฺสะมิงปิ นิพฺพินฺทะติ สัทฺเทสุปิ นิพฺพินฺทะติ โสตะวิญฺญาเณปิ นิพฺพินฺทะติ โสตะสัมฺผัสฺเสปิ
    นิพฺพินฺทะติ ยัมฺปิทัง โสตะสัมฺผัสฺสะปัจฺจะยา อุปฺปัชฺชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา ทุกฺขัง วา อะทุกฺขะมะสุขัง วา ตัสฺสะมิงปิ นิพฺพินฺทะติ.ฯ
    ฆานัสฺสมิงปิ นิพฺพินฺทะติ คันฺเธสุปิ นิพฺพินฺทะติ ฆานะวิญฺญาเณปิ นิพฺพินฺทะติ ฆานะสัมฺผัสฺเสปิ นิพฺพินฺทะติ ยัมฺปิทัง ฆานะสัมฺผัสฺสะปัจฺจะยา อุปฺปัชฺชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา ทุกฺขัง วา อะทุกฺขะมะสุขัง วา ตัสฺสะมิงปิ นิพฺพินฺทะติ.ฯ
    ชิวฺหายะปิ นิพฺพินฺทะติ ระเสสุปิ นิพฺพินฺทะติ ชิวฺหาวิญฺญาเณปิ นิพฺพินฺทะติ ชิวฺหาสัมฺผัสฺเสปิ นิพฺพินฺทะติ ยัมฺปิทัง ชิวฺหาสัมฺผัสฺสะปัจฺจะยา อุปฺปัชฺชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา ทุกฺขัง วา อะทุกฺขะมะสุขัง วา ตัสฺสะมิงปิ นิพฺพินฺทะติ.ฯ
    กายัสฺสะมิงปิ นิพฺพินฺทะติ โผฐฺทัพฺเพสุปิ นิพฺพินฺทะติ กายะวิญฺญาเณปิ นิพฺพินฺทะติ กายะสัมฺผัสฺเสปิ
    นิพฺพินฺทะติ ยัมฺปิทัง กายะสัมฺผัสฺสะปัจฺจะยา อุปฺปัชฺชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา ทุกฺขัง วา อะทุกฺขะมะสุขัง วา ตัสฺสะมิงปิ นิพฺพินฺทะติ.ฯ
    มะนัสฺสะมิงปิ นิพฺพินฺทะติ ธัมฺเมสุปิ นิพฺพินฺทะติ มะโนวิญฺญาเณปิ นิพฺพินฺทะติ มะโนสัมฺผัสฺเสปิ
    นิพฺพินฺทะติ ยัมฺปิทัง มโนสัมฺผัสฺสะปัจฺจะยา อุปฺปัชฺชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา ทุกฺขัง วา อะทุกฺขะมะสุขัง วา ตัสฺสะมิงปิ นิพฺพินฺทะติ.ฯ
    นิพฺพินฺทัง วิรัชฺชะติ. วิราคา วิมุจฺจะติ. วิมุตฺตัสฺสะมิง วิมุตฺตะมีติ ญาณัง โหติ ขีณา ชาติ วุสิตัง
    พฺรหฺมะจะริยัง กะตัง กะระณียัง นาปะรัง อิตฺถัตฺตายาติ ปะชานาตีติ.ฯ
    อิทะมะโวจะ ภะคะวา. อัตฺตะมะนา เต ภิกขู ภะคะวะโต อะภินันฺทุง. อิมัสฺมิญฺจะ ปะนะ
    เวยฺยากะระณัสฺสะมิง ภัญฺญะมาเน ตัสฺสะ ภิกฺขุสะหัสฺสัสฺสะ อะนุปาทายะ อาสะเวหิ จิตฺตานิ วิมุตฺจิงสูติ.

    ที่มา : http://www.kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=5849



    คำแปล

    เอวัมเม สุตัง,
    >ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้,
    เอกัง สะมะยัง ภะคะวา,
    >สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า,
    คะยายัง วิหะระติ คะยาสีเส,
    >เสด็จประทับอยู่ที่คยาสีสะประเทศใกล้ แม่น้ำคยา,
    สัทธิง ภิกขุสะหัสเสนะ,
    >กับด้วยพันแห่งพระภิกษุ,
    ตัต๎ระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ,
    >ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสเตือนพระภิกษุทั้งหลายให้ตั้งใจฟังภาษิตนี้ว่า,
    สัพพัง ภิกขะเว อาทิตตัง,
    >ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน,
    กิญจะ ภิกขะเว สัพพัง อาทิตตัง,
    >ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวง,
    จักขุง ภิกขะเว อาทิตตัง,
    >ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, จักษุ (คือนัยน์ตา) เป็นของร้อน,
    รูปัง อาทิตตา,
    >รูปทั้งหลาย เป็นของร้อน,
    จักขุงวิญญาณัง อาทิตตัง,
    >วิญญาณ อาศัยจักษุเป็นของร้อน,
    จักขุสัมผัสโส อาทิตโต,
    >สัมผัสอาศัยจักษุเป็นของร้อน,
    ยัมปิทัง จักขุสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง,
    >ความรู้สึกอารมณ์ (คือเวทนา), เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด,
    สุขัง วา ทุกขัง วา, อะทุกขะมะสุขัง วา,
    >เป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี, ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี,
    ตัมปิ อาทิตตัง,
    >แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน,
    เกนะ อาทิตตัง,
    >ร้อนด้วยอะไร อันอะไรมาเผาให้ร้อน,
    อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา, อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ, โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตตันติ วะทามิ,
    >เรา กล่าวว่า ร้อนด้วยไฟ คือ ราคะ, ด้วยไฟคือ โทสะ ด้วยไฟคือ โมหะ, ร้อนด้วยความเกิดด้วยความแก่แล ความตาย, ร้อนด้วยความโศก ด้วยความร่ำไรรำพัน, ด้วยความเจ็บกาย ด้วยความเสียใจ ด้วยความคับแค้นใจทั้งหลาย,
    โสตัง อาทิตตัง,
    >โสตะ (คือหู) เป็นของร้อน,
    สัททา อาทิตตา,
    >เสียงทั้งหลายเป็นของร้อน,
    โสตะวิญญาณัง อาทิตตัง,
    >วิญญาณอาศัย โสตะเป็นของร้อน,
    โสตะสัมผัสโส อาทิตโต,
    >สัมผัสอาศัย โสตะเป็นของร้อน,
    ยัมปิทัง โสตะสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง,
    >ความรู้สึกอารมณ์ (คือเวทนา) เกิดขึ้นเพราะโสตะสัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด,
    สุขัง วา ทุกขัง วา, อะทุกขะมะสุขัง วา,
    >เป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี, ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี,
    ตัมปิ อาทิตตัง,
    >แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน,
    เกนะ อาทิตตัง,
    >ร้อนด้วยอะไร อันอะไรมาเผาให้ร้อน,
    อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา, อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ, โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตตันติ วะทามิ,
    >เรา กล่าวว่า ร้อนด้วยไฟ คือ ราคะ, ด้วยไฟคือ โทสะ ด้วยไฟคือ โมหะ, ร้อนด้วยความเกิด ด้วยความแก่ แลความตาย, ร้อนด้วยความโศก ด้วยความร่ำไรรำพัน, ด้วยความเจ็บกาย ด้วยความเสียใจ ด้วยความคับแค้นใจทั้งหลาย,
    ฆานัง อาทิตตัง,
    >ฆานะ (คือ) จมูกเป็นของร้อน,
    คันธา อาทิตตา,
    >กลิ่นทั้งหลายเป็นของร้อน,
    ฆานะวิญญาณัง อาทิตตัง,
    >วิญญาณ อาศัย ฆานะเป็นของร้อน,
    ฆานะสัมผัสโส อาทิตโต,
    >สัมผัส อาศัย ฆานะเป็นของร้อน,
    ยัมปิทัง ฆานะสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง,
    >ความรู้สึกอารมณ์ (คือ เวทนา) เกิดขึ้นเพราะฆานะสัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด,
    สุขัง วา ทุกขัง วา, อะทุกขะมะสุขัง วา,
    >เป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี, ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี,
    ตัมปิ อาทิตตัง,
    >แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน,
    เกนะ อาทิตตัง,
    >ร้อนด้วยอะไร อันอะไรมาเผาให้ร้อน,
    อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา, อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ, โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตตันติ วะทามิ,
    >เรา กล่าวว่า ร้อนด้วยไฟ คือ ราคะ, ด้วยไฟคือ โทสะ ด้วยไฟคือ โมหะ, ร้อนด้วยความเกิด ด้วยความแก่แล ความตาย, ร้อนด้วยความโศก ด้วยความร่ำไรรำพัน, ด้วยความเจ็บกาย ด้วยความเสียใจ ด้วยความคับแค้นใจทั้งหลาย,
    ชิวหา อาทิตตา,
    >ชิวหา (คือลิ้น) เป็นของร้อน,
    ระสา อาทิตตา,
    >รสทั้งหลายเป็นของร้อน,
    ชิวหาวิญญาณัง อาทิตตัง,
    >วิญญาณอาศัยชิวหาเป็นของร้อน,
    ชิวหาสัมผัสโส อาทิตโต,
    >สัมผัสอาศัยชิวหาเป็นของร้อน,
    ยัมปิทัง ชิวหาสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง,
    >ความรู้สึกอารมณ์ (คือเวทนา), เกิดขึ้น เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยนี้ แม้อันใด,
    สุขัง วา ทุกขัง วา, อะทุกขะมะสุขัง วา,
    >เป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี, ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี,
    ตัมปิ อาทิตตัง,
    >แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน,
    เกนะ อาทิตตัง,
    >ร้อนด้วยอะไร อันอะไรมาเผาให้ร้อน,
    อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา, อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ, โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตตันติ วะทามิ,
    >เรา กล่าวว่า ร้อนด้วยไฟ คือ ราคะ, ด้วยไฟคือ โทสะ ด้วยไฟคือ โมหะ, ร้อนด้วยความเกิดด้วยความแก่แลความตาย, ร้อนด้วยความโศก ด้วยความร่ำไรรำพัน, ด้วยความเจ็บกายด้วยความเสียใจ ด้วย ความคับแค้นใจทั้งหลาย,
    กาโย อาทิตโต,
    > กายเป็นของร้อน,
    โผฏฐัพพา อาทิตตา,โผฏฐัพพะ
    >(คืออารมณ์ที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย) เป็นของร้อน,
    กายะวิญญาณัง อาทิตตัง,
    >วิญญาณอาศัยกายเป็นของร้อน,
    กายะสัมผัสโส อาทิตโต,
    >สัมผัสอาศัยกายเป็นของร้อน,
    ยัมปิทัง กายะสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง,
    >ความรู้สึกอารมณ์ (คือเวทนา), เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด,
    สุขัง วา ทุกขัง วา, อะทุกขะมะสุขัง วา,
    >เป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี, ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี,
    ตัมปิ อาทิตตัง,
    >แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน,
    เกนะ อาทิตตัง,
    >ร้อนด้วยอะไร อันอะไรมาเผาให้ร้อน,
    อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา, อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ, โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตตันติ วะทามิ,
    >เรา กล่าวว่า ร้อนด้วยไฟ คือ ราคะ, ด้วยไฟคือ โทสะ ด้วยไฟคือ โมหะ, ร้อนด้วยความเกิด ด้วยความแก่แล ความตาย, ร้อนด้วยความโศก ด้วยความร่ำไรรำพัน, ด้วยความเจ็บกาย ด้วยความเสียใจ ด้วยความคับแค้นใจทั้งหลาย,
    มะโน อาทิตโต,
    >มนะ (คือใจ) เป็นของร้อน,
    ธัมมา อาทิตตา,
    >ธรรมทั้งหลาย (คืออารมณ์ที่เกิดกับใจ) เป็นของร้อน,
    มะโนวิญญาณัง อาทิตตัง,
    >วิญญาณ อาศัย มนะเป็นของร้อน,
    มะโนสัมผัสโส อาทิตโต,
    >สัมผัส อาศัย มนะ เป็นของร้อน,
    ยัมปิทัง มะโนสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทยิตัง,
    >ความรู้สึกอารมณ์ (คือเวทนา), เกิดขึ้นเพราะ มโนสัมผัส เป็นปัจจัยนี้ แม้อันใด,
    สุขัง วา ทุกขัง วา, อะทุกขะมะสุขัง วา,
    >เป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี, ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี,
    ตัมปิ อาทิตตัง,
    >แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน,
    เกนะ อาทิตตัง,
    >ร้อนด้วยอะไร อันอะไรมาเผาให้ร้อน,
    อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา, อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ, โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตตันติ วะทามิ,
    >เรา กล่าวว่า ร้อนด้วยไฟ คือ ราคะ, ด้วยไฟคือ โทสะ ด้วยไฟคือ โมหะ, ร้อนด้วยความเกิด ด้วยความแก่แล ความตาย, ร้อนด้วยความโศก ด้วยความร่ำไรรำพัน, ด้วยความเจ็บกาย ด้วยความเสียใจ ด้วยความคับ แค้นใจทั้งหลาย,
    เอวัง ปัสสัง ภิกขะเว สุต๎วา อะริยะสาวะโก,
    >ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อริยสาวก ผู้ได้สดับแล้ว มาเห็นอยู่อย่างนี้,
    จักขุส๎มิงปิ นิพพินทะติ,
    >ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในจักษุ,
    รูเปสุปิ นิพพินทะติ,
    >ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในรูปทั้งหลาย,
    จักขุวิญญาเณปิ นิพพินทะติ,
    >ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในวิญญาณ อาศัยจักษุ,
    จักขุสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ,
    >ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในสัมผัส อาศัยจักษุ,
    ยัมปิทัง จักขุสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง,
    >ความรู้สึกอารมณ์ (คือเวทนา) เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด,
    สุขัง วา ทุกขัง วา, อะทุกขะมะสุขัง วา,
    >เป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี, ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี,
    ตัส๎มิงปิ นิพพินทะติ,
    >ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในความรู้สึกนั้น,
    โสตัส๎มิงปิ นิพพินทะติ,
    >ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในโสตะ,
    สัทเทสุปิ นิพพินทะติ,
    >ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในเสียงทั้งหลาย,
    โสตะวิญญาเณปิ นิพพินทะติ,
    >ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในวิญญาณ อาศัยโสตะ,
    โสตะสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ,
    >ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในสัมผัส อาศัยโสตะ,
    ยัมปิทัง โสตะสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง,
    >ความรู้สึกอารมณ์ (คือเวทนา), เกิดขึ้น เพราะโสตะสัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด,
    สุขัง วา ทุกขัง วา, อะทุกขะมะสุขัง วา,
    >เป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี, ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี,
    ตัส๎มิงปิ นิพพินทะติ,
    >ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในความรู้สึกนั้น,
    ฆานัส๎มิงปิ นิพพินทะติ,
    >ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในฆานะ,
    คันเธสุปิ นิพพินทะติ,
    >ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในกลิ่นทั้งหลาย,
    ฆานะวิญญาเณปิ นิพพินทะติ,
    >ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในวิญญาณ อาศัยฆานะ,
    ฆานะสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ,
    >ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในสัมผัส อาศัยฆานะ,
    ยัมปิทัง ฆานะสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง,
    >ความรู้สึกอารมณ์ (คือเวทนา), เกิดขึ้น เพราะฆานะสัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด,
    สุขัง วา ทุกขัง วา, อะทุกขะมะสุขัง วา,
    >เป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี, ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี,
    ตัส๎มิงปิ นิพพินทะติ,
    >ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในความรู้สึกนั้น,
    ชิวหายะปิ นิพพินทะติ,
    >ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในชิวหา,
    ระเสสุปิ นิพพินทะติ,
    >ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในรสทั้งหลาย,
    ชิวหาวิญญาเณปิ นิพพินทะติ,
    >ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในวิญญาณอาศัยชิวหา,
    ชิวหาสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ,
    >ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในสัมผัสอาศัยชิวหา,
    ยัมปิทัง ชิวหาสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง,
    >ความรู้สึกอารมณ์ (คือเวทนา), เกิดขึ้นเพราะชิวหา สัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด,
    สุขัง วา ทุกขัง วา, อะทุกขะมะสุขัง วา,
    >เป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี, ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี,
    ตัส๎มิงปิ นิพพินทะติ,
    >ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในความรู้สึกนั้น,
    กายัส๎มิงปิ นิพพินทะติ,
    >ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในกาย,
    โผฎฐัพเพสุปิ นิพพินทะติ,
    > ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในโผฎฐัพพะทั้งหลาย,
    กายะวิญญาเณปิ นิพพินทะติ,
    >ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในวิญญาณอาศัยกาย,
    กายะสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ,
    >ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในสัมผัสอาศัยกาย,
    ยัมปิทัง กายะสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง,
    >ความรู้สึกอารมณ์ (คือเวทนา), เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด,
    สุขัง วา ทุกขัง วา, อะทุกขะมะสุขัง วา,
    >เป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี, ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี,
    ตัส๎มิงปิ นิพพินทะติ,
    >ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในความรู้สึกนั้น,
    มะนัส๎มิงปิ นิพพินทะติ,
    >ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในมนะ,
    ธัมเมสุปิ นิพพินทะติ,
    >ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในธรรมทั้งหลาย,
    มะโนวิญญาเณปิ นิพพินทะติ,
    >ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในวิญญาณอาศัยมนะ,
    มะโนสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ,
    >ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในสัมผัสอาศัยมนะ,
    ยัมปิทัง มะโนสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง,
    >ความรู้สึกอารมณ์ (คือเวทนา), เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด,
    สุขัง วา ทุกขัง วา, อะทุกขะมะสุขัง วา,
    >เป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี, ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี,
    ตัส๎มิงปิ นิพพินทะติ,
    >ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในความรู้สึกนั้น,
    นิพพินทัง วิรัชชะติ,
    >เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด,
    วิราคา วิมุจจะติ,
    >เพราะคลายกำหนัด จิตก็พ้นจากความถือมั่น,
    วิมุตตัส๎มิง วิมุตตะมีติ ญาณัง โหติ,
    >เมื่อจิตพ้นแล้วก็เกิดญาณรู้ว่าเราพ้นแล้ว ดังนี้,
    ขีณา ชาติ วุสิตัง พรัหม๎ จะริยัง, กะตัง กะระณียัง, นาปะรัง อิตถัตตายาติ ปะชานาตีติ,
    >อริย สาวกนั้น ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว, พรหมจรรย์เราได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ เราทำเสร็จแล้ว, กิจอื่นอีก เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี,
    อิทะมะโวจะ ภะคะวา,
    >พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสธรรมปริยายอันนี้แล้ว,
    อัตตะมะนา เต ภิกขู ภะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง,
    >พระภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นก็มีใจยินดี, เพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า,
    อิมัส๎มิญจะปะนะ เวยยากะระณัส๎มิง ภัญญะมาเน,
    >ก็แลเมื่อไวยากรณ์นี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่,
    ตัสสะ ภิกขุสะหัสสัสสะ อะนุปาทายะ อาสะเวหิ จิตตานิ วิมุจจิงสูติ.
    > จิตของพระภิกษุพันรูปนั้นก็พ้นจากอาสวะทั้งหลาย, ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน แล.

    ที่มา : http://www.kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=5849
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กันยายน 2014
  5. patz_bkk

    patz_bkk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    2,754
    ค่าพลัง:
    +5,657
    บทสวดธัมมนิยามสูตร พร้อมคำแปล

    a48.jpg


    ..........เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ
    เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม ฯ ตัต์ระ โข ภะคะวา ภิกขุ
    อามันเตสิ ภิกขะโวติ ฯ ภะทันเตติ เต ภิกขุ ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง ฯ
    ภะคะวา เอตะทะโวจะ
    ..........อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง อะนุปปาทา วา
    ตะถาคะตานัง ฐิตา วะ สา ธาตุ ธัมมัฏฐิตะตา ธัมมะนิยามะตา สัพเพ
    สังขารา อะนิจจาติฯตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ อะภิ-
    สัมพุชฌิต์วา อะภิสะเมต์วา อาจิกขะติ เทเสติ ปัญญะเปติ ปัฏฐะเปติ
    วิวะระติ วิภะชะตะ อุตตานีกะโรติ สัพเพ สังขารา อะนิจจาติ ฯ
    ..........อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง อะนุปปาทา วา ตะถาคะ-
    ตานัง ฐิตา วะ สา ธาตุ ธัมมะนิยามะตา สัพเพ สังขารา
    ทุกขาติ ฯ ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ อะภิสัมพุช-
    ฌิต์วา อะภิสะเมต์วา อาจิกขะติ เทเสติ ปัญฐะเปติ วิวะระติ
    วิภะชะติ อุตตานีกะโรติ สัพเพ สังขารา ทุขาติ ฯ
    ..........อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง อะนุปปาทา วา ตะถาคะ-
    ตานัง ฐิตา วะ สา ธาตุ ธัมมะนิยามะตา สัพเพ สังขารา
    อะนัตตาติ ฯ ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ อะภิสัมพุช-
    ฌิต์วา อะภิสะเมต์วา อาจิกขะติ เทเสติ ปัญฐะเปติ วิวะระติ
    วิภะชะติ อุตตานีกะโรติ สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ฯ อิทะมะโว จะ
    ภะคะวา ฯ อัตตะมะนา เต ภิกขุ ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุนติ ฯ

    ที่มา : https://sites.google.com/site/pradhatchedeenoy/bth-swd-thamma-niyam-sutr


    คำแปล

    อันข้าพเจ้า(คือพระอานนทเถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่งพระผุ้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับในพระวิหารเชตวัน อันเป็นอารามของอนาถบิณฑิกคฤหบดีสร้างถวาย ใกล้เมืองสาวัตถี ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือนพระภิกษทั้งหลาย (ให้ตั้งใจสดับพุทธภาษิตนี้)ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้นของพระตถาคตเจ้าทั้งหลายหรือความไม่เกิดของพระตถาคตเจ้าทั้ง หลาย ธาตุอันนั้นตั้งอยู่มีอยู่ นิยมอยู่แล้ว เป็นธรรมดาว่า สังขารรูปนามของมีเหตุ อันอวิชชา ตัณหา กรรม ปรุงแต่งขึ้นทั้งสิ้น ไม่เที่ยง เราตถาคตรู้พร้อมเฉพาะอยู่ ถึงพร้อมเฉพาะอยู่ ส่วนธาตุนั้น ครั้นรุ้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว บอกกล่าวแสดงบัญญัติแต่งตั้งเปิดเผย จำแนกทำความให้ตื้นขึ้นว่า สังขารรูปนามของมีเหตุ อันอวิชชา ตัณหา กรรม ปรุงแต่งขึ้นทั้งสิ้น ไม่เทียง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แปรปรวน ดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้นของพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย หรือความไม่เกิดของพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย ธาตุอันนั้นตั้งอยู่มีอยู่ นิยมอยู่แล้ว เป็นธรรมดาว่า สังขารรูปนามของมีเหตุ อันอวิชชา ตัณหา กรรม ปรุงแต่งขึ้นทั้งสิ้น เป็นทุกข์เหลือทน ทนของเบียดเบียนอยู่ไม่ได้ เราตถาคตรู้พร้อมเฉพาะอยู่ ถึงพร้อมเฉพาะอยู่ ส่วนธาตุนั้น ครั้นรุ้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว บอกกล่าวแสดงบัญญัติแต่งตั้งเปิดเผย จำแนกทำความให้ตื้นขึ้นว่า สังขารรูปนามของมีเหตุ อันอวิชชา ตัณหา กรรม ปรุงแต่งขึ้นทั้งสิ้น เป็นทุกข์เหลือทน ทนของเบียดเบียนอยู่ไม่ได้ ดังนี้

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้นของพระตถาคตเจ้าทั้งหลายหรือความไม่เกิดของพระตถาคตเจ้าทั้ง หลาย ธาตุอันนั้นตั้งอยู่มีอยู่ นิยมอยู่แล้ว เป็นธรรมดาว่า สังขารรูปนามของมีเหตุ อันอวิชชา ตัณหา กรรม ปรุงแต่งขึ้น เป็นอนัตตา ไม่ใช่ของเรา ไม่มีตัวเรา ไม่มีอะไรเป็นแก่นสารของเราดังนี้ เราตถาคตรู้พร้อมเฉพาะอยู่ ถึงพร้อมเฉพาะอยู่ ส่วนธาตุนั้น ครั้นรุ้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว บอกกล่าวแสดงบัญญัติแต่งตั้งเปิดเผย จำแนกทำความให้ตื้นขึ้นว่า สังขารรูปนามของมีเหตุ อันอวิชชา ตัณหา กรรม ปรุงแต่งขึ้น เป็นอนัตตา ไม่ใช่ของเรา ไม่มีตัวเรา ไม่มีอะไรเป็นแก่นสารของเรา ดังนี้

    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสธรรมเทศนานี้จบลงแล้ว ภิกษุทั้งหลายนั้น มีใจยินดีเพลิดเเพลิน ภาษิตของสมเด็จพระผุ้มีพระภาคเจ้า ด้วยประการ ดังนี้.

    ที่มา : http://www.watphut.com/2010/12/blog-post_8348.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กันยายน 2014
  6. patz_bkk

    patz_bkk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    2,754
    ค่าพลัง:
    +5,657
    บทสวดสะติปัฏฐานะปาโฐ พร้อมคำแปล


    profile.jpg


    ..........อัตถิ โข เตนะ ภะคะวะตา ชานะตา ปัสสะตา อะระหะตา
    สัมมาสัมพุทเธนะ เอกายะโน อะยัง มัคโค สัมมะทักขาโต
    สัตตานัง วิสุทธิ ยา โสกะปะริเทวานัง. สะมะติกกะมายะ
    ทุกขะโทมะนั สสานัง อัตถังคะมายะ ญายัสสะ อะธิคะมายะ
    นิพพานัสสะ สัจฉิกิริยายะ ยะทิทัง จัตตาโร สะติ ปัฏฐานา,
    กะตะเม จัตตาโร.

    ..........อิธะ ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ อาตาปี สัมปะชาโน
    สะติมา วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง. เวทะนาสุ
    เวทะนานุปัสสี วิหะระติ อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ
    โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง. จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ อาตาปี
    สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง. ธัมเมสุ
    ธัมมานุปัสสี วิหะระติ อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ
    โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง.

    ..........กะถัญจะ ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ. อิธะ ภิกขุ อัชฌัตตัง
    วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ พะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี
    วิหะระติ. อัชฌัตตะพะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ
    สะมุทะยะธัมมานุ ปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ วะยะธัมมานุปัสสี
    วา กายัส๎มิง วิหะระติ สะมุทะยะวะยะธัมมานุ ปัสสี วา กายัส๎มิง
    วิหะระติ อัตถิ กาโยติ วา ปะนัสสะ สะติ ปัจจุ ปัฏฐิตา โหติ
    ยาวะเทวะญาณะมัตตายะ ปะฏิสสะติมัตตายะ อะนิสสิโต
    จะวิหะระติ นะจะ กิญจิ โลเก อุ ปาทิ ยะติ. เอวัง โข ภิกขุ
    กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ.

    ..........กะถัญจะ ภิกขุ เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ .
    อิธะภิกขุ อัชฌัตตัง วา เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ พะหิทธา วา
    เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิ หะระติ. อัชฌั ตตะพะหิ ทธา วา
    เวทะนาสุ เวทะนานุปั สสี วิหะระติ สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา
    เวทะนาสุ วิหะระติ วะยะธัมมานุปัสสี วา เวทะนาสุ วิหะระติ
    สะมุทะยะวะยะธัมมานุ ปัสสี วา เวทะนาสุ วิหะระติ อัตถิ
    เวทะนาติ วา ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิ ตา โหติ ยาวะเทวะ-
    ญาณะมัตตายะ ปะฏิสสะติมัตตายะ อะนิ สสิโต จะ วิหะระติ
    นะ จะ กิ ญจิ โลเก อุ ปาทิยะติ. เอวัง โข ภิกขุ เวทะนาสุ -
    เวทะนานุปัสสี วิหะระติ.

    ..........กะถัญจะ ภิกขุ จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ. อิธะ ภิกขุ อัชฌัตตัง
    วา จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ พะหิทธา วา จิตเต จิตตานุปัสสี
    วิหะระติ . อัชฌั ตตะพะหิ ทธา วา จิ ตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ
    สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา จิตตัส๎มิง วิหะระติ วะยะธัมมานุปัสสี
    วา จิตตัส๎มิง วิหะระติ สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา จิตตัส๎มิง
    วิหะระติ อัตถิ จิตตันติ วา ปะนั สสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ
    ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะฏิสสะติมัตตายะ อะนิสสิโต จะ
    วิหะระติ นะจะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ. เอวัง โข ภิกขุ จิตเต
    จิตตานุปัสสี วิหะระติ.

    ..........กะถั ญจะ ภิกขุ ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ. อิ ธะ ภิ กขุ
    อัชฌัตตัง วา ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ พะหิทธา วา ธัมเมสุ
    ธัมมานุปัสสี วิหะระติ. อัชฌัตตะพะหิทธา วา ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี
    วิ หะระติ . สะมุ ทะยะธัมมานุ ปัสสี วา ธัมเมสุ วิ หะระติ
    วะยะธั มมานุปั สสี วา ธัมเมสุ วิหะระติ สะมุ ทะยะวะยะ-
    ธัมมานุปัสสี วา ธัมเมสุ วิหะระติ อัตถิ ธัมมาติ วา ปะนัสสะ
    สะติ ปั จจุ ปัฏฐิตา โหติ ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ
    ปะฏิสสะติมั ตตายะ อะนิสสิโต จะ วิหะระติ นะ จะ กิญจิ โลเก
    อุปาทิยะติ. เอวัง โข ภิกขุ ธั มเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ.

    ..........อะยั ง โข เตนะ ภะคะวะตา ชานะตา ปัสสะตา อะระหะตา
    สัมมาสัมพุทเธนะ เอกายะโน มัคโค สัมมะทักขาโต สั ตตานัง
    วิ สุทธิ ยา โสกะปะริเทวานั ง สะมะติ กกะมายะ ทุ กขะ-
    โทมะนัสสานัง อัตถังคะมายะ ญายัสสะ อะธิคะมายะ
    นิพพานัสสะ สัจฉิกิริยายะ ยะทิทัง จัตตาโร สะติปัฏฐานาติ.

    ...เอกายะนัง ชาติขะยันตะทัสสี
    ..มัคคัง ปะชานาติ หิตานุกัมปี
    ..เอเตนะ มัคเคนะ ตะริงสุ ปุพเพ
    .ตะริสสะเร เจวะ ตะรันติ โจฆันติ.

    คำแปล
    อัตถิ โข เตนะ ภะคะวะตา ขานะตา
    > หนทางสายนี้ ซึ่งเป็นทางไปสายเอก

    ปัสสะตา อะระหะตา สัมมาสัมพุทเธนะ
    > ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้แจ้งเห็นจริง
    เอกายะโน อะยัง มัคโค
    > อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ได้ตรัสไว้โดยชอบ
    สัตตานัง วิสุทธิยา
    > เพื่อความหมดจดวิเศษของสัตว์ทั้งหลาย
    โสกะปะริเทวานัง สะมะติกะมายะ
    > เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร
    ทุกขะโทมะนัสสังนัง อัตถังคะมายะ
    > เพื่อความอัศดงค์ดับไปแห่งทุกข์และโทมนัส
    ญายัสสะ อะธิคะมายะ
    > เพื่อบรรลุญายธรรม
    นิพพานัสสะ สัจฉิกิริยายะ
    > เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน มีอยู่แล
    ยะทิทัง จัตตาโร สติปัฏฐานะ
    > หนทางสายนี้ ก็คือ สติปัฏฐาน ๔
    กะตะเม จัตตาโร
    > สติปัฏฐาน ๔ มีอะไรบ้าง
    ๑.อิธะ ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ
    > ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้พิจารณา
    อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา
    > เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียร
    วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง
    > เครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ
    ๒. เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ
    > ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้
    อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา
    > เธอย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
    วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง
    > มีความเพียรเครื่องเผากิเลสมีสัมปชัญญะ มีสติ
    ๓. จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ
    > ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้
    อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา
    > เธอย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำมีสัมปชัญญะ มีสติ
    วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง
    > ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้
    .ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
    > เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่เป็น
    อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา
    > ประจำ มีสัมปชัญญะ มีสติ
    วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง
    > ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้
    ๕. กะถัญจะ ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ อัชฌัตตังวา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ
    > ภิกษุย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยุ่เป็นประจำอย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายในกายเป็นภายในบ้าง
    พะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ
    > ย่อมพิจารณาเห็นกายในภายนอกบ้าง
    อัชฌัตตะพะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ
    > ย่อมพิจารณาเห็นกาย ทั้งกายในและภายนอกบ้าง
    สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา อายัสมิง วิหะระติ
    > ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง
    วะยะธัมมานุปัสสี วา กายัสมิง วิหะระติ
    > ย่อมพิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมไปในกายบ้าง
    สะมุทะยะวะธัมมานุปัสสี วา กายัสมิง วิหะระติ
    > ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในกายบ้าง
    อัตถิ กาโยติ วา ปะนัสสะ
    > ก็หรือว่า ความระลึกว่ากายมีอยู่ เข้าไปตั้งอยู่
    สติปัจจุปัฏฐิตา โหติ
    > เฉพาะหน้าแก่เธอนั้น
    ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะฏิสะติมัตตายะ
    > แค่เพียงสักว่าเป็นทีอาศัยระลึกแค่เพียงสักวาเป็นที่รู้
    อะนิสสิโต จะ วิหะระตินะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ
    > เธอย่อมไม่ติดอยู่และย่อมไม่ยึดมั่นถือมั่นไรๆ ในโลก
    เอวัง โข ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ
    > ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้แล
    ๖. กะถัญจะ ภิกขุ เวทะนาสื
    > ก็ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
    เวทะนานุปัสสี วิหะระติ
    > ทั้งหลายอยู่เนืองๆ อย่างไรเล่า
    อิธะ ภิกขุ อัชฌัตตั้ง วา เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ
    > ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายเป็นภายในบ้าง
    พะหิทธา วา เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ
    > ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายเป็นภายนอกบ้าง
    อัชฌัตตะพะหิทธา วา เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ
    > ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาทั้งหลาย ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
    สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา เวทะนาสุ วิหะระติ
    > ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือความเกิดขึ้นในเวทนาทั้งหลายบ้าง
    วะยะธัมมานุปัสสีวา เวทนาสุ วิหะระติ
    > ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือความเสื่อมไปแห่งเวทนาบ้าง
    สุมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา เวทะนาสุ วิหะระติ
    > ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมไปแห่งเวทนาบ้าง

    อัตถิ เวทะนาติ วา ปะนัสสะ สติปัฏจุปัฏฐิตา โหติ
    > ก็หรือความระลึกว่ากายมีอยู่ เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะหน้าแก่เธอนั้น
    ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะฏิสสะติมัตตายะ
    > แค่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แค่เพียงสักว่าเป็นที่อาสัยระลึก
    อะนิสสิโต จะ วิหะระติ นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ
    > เธอย่อมไม่ติดอยู่และย่อมไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรๆ ในโลก
    เอวัง โข ภิกขุ เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสิ วิหะระติ
    > ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เนืองๆ อย่างนี้ แล
    ๗. กะถัญจะ ภิกขุ จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ
    > ก็ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆอยู่เป็นอย่างไร
    อิธะ ภิกขุ อัชฌัตตัง วา จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ
    > ภิกษุโนธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเป็นภายในบ้าง
    พะหิทธา วา จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ
    > ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเป็นภายนอกบ้าง
    อัชฌัตตะพะหิทธา วา จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ
    > ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งเป็นภายใน ทั้งเป็นภายนอกบ้าง

    สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา จิตตัสมิง วิหะระติ
    > ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือ ความเกิดขึ้นในจิตบ้าง
    วะยะธัมมานุปัสสีวา จิตตัสมิง วิหะระติ
    > ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือความเสื่อมไปในจิตบ้าง
    สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา จิตตัสมิง วิหะระติ
    > ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมไปในจิตบ้าง
    อัตถิ จิตตันติ วา ปะนัสสะ สะติ
    > ก็หรือว่า ความระลึกว่า มีจิตๆ ย่อมปรากฏอยู่
    ปัจจุปัฏฐิตา โหติ
    > เฉพาะหน้าเธอนั่น
    ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ
    > เพียงแต่สักรู้ว่า เพียงแต่สักว่า

    ปะฏิสสะติมัตตายะ
    > เป็นที่อาศัยระลึก
    อะนิสสิโต จะ วิหะระติ
    > เธอย่อมไม่ติดอยู่
    นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ
    > และย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก
    เอวัง โข ภิกขุ จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ
    > ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เนืองๆ อย่างนี้แล
    ๘. กถัญจะ ภิกขุ ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
    > ก็ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายเนื่องๆ อยู่อย่างไร
    อิธะ ภิกขุ อัชฌัตตัง วา ธัมเมสุ
    > ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นธรรมใน
    ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
    > ธรรมทั้งหลาย เป็นภายในบ้าง
    พะหิทธา วา ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
    > ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายเป็นภายนอกบ้าง
    อัชฌัตตะพะหิทธา วา ธัมเมสุ
    > ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายทั้ง
    ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
    > ภายในทั้งภายนอกบ้าง
    สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา ธัมเมสุ วิหะระติ
    > ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือ ความเกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายบ้าง
    วะยะธัมมานุปัสสี วา ธัมเมสุ วิหะระติ
    > ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือความเสื่อมไปในธรรมทั้งหลายบ้าง
    สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา ธัมเมสุ วิหะระติ
    > ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในธรรมทั้งหลายบ้าง
    อัตถิ ธัมมาติ วา ปะนัสสะ สะติ
    > ก็หรือว่า ความระลึกว่า
    ปัจจุปัฏฐิตา โหติ
    > ธรรมทั้งหลายมีอยู่
    ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ
    > ย่อมปรากฏอยู่ต่อหน้าเธอ
    ปะฏัสสะติมัตตายะ
    > เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่า
    อะนิสสิโต จะ วิหะระติ
    > เป็นที่อาศัยระลึกเท่านั้น
    นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ
    > เธอย่อมไม่ติดอยู่ และย่อมไม่ยึดมั่นถือมั่นสิงไรๆ ในโลก
    เอวัง โข ภิกขุ ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
    > ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายเนืองๆ อยู่อย่างนี้แล
    อะยัง โข เตนะ ภะคะวะตา ชานะตา
    > หนทางสายนี้แหละ เป็นหนทางสายเอก
    ปัสสะตา อะระหะตา สัมมาสัมพุทเธนะ เอกายะโน มัคโค สัมมะทักขาโต
    > ซึ่งพระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้แจ้งเห็นจริง อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบ
    สัตตานัง วิสุทธิยา
    > เพื่อความหมดจดวิเศษของสัตว์ทั้งหลาย
    โสกะปะริเทวานัง สะมะติกกะมายะ
    > เพื่อความก้าวล่วงความเศร้าโศกและความคร่ำครวญพิไรรำพัน
    ทุกขะโทมะนัสสานัง อัตถังคะมายะ
    > เพื่อความอัศดงค์ดับไปแห่งทุกข์และโทมนัส
    ญายัสสะ อะธิคะมายะ นิพพานัสสะ สัจฉิกิริยายะ
    > เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อกระทำพระนิพพานให้แจ้ง
    ยะทิทัง จัตตาโร สติปัฏฐานาติ
    > หนทางที่กล่าวถึงซึ่งเป็นหนทางสายเอกนี้ก็คือ สติปัฏฐาน ๔
    เอกายะนัง ชาติขะยันตะทัสสี
    > พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เล็งเห็นพระนิพพาน
    มัคคัง ปะชานาติ หิตานุกัมปี
    > ผู้ทรงอนุเคราะห์หมู่สัตว์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล
    เอเตนะ มัคเคนะ ตะริงสุ ปุพเพ
    > ย่อมทรงรู้แจ้งซึ่งหนทางสายเอก ในอดีต อนาคต
    ตะริสสะเร เจวะ ตะรันติ โจฆันติ
    > หรือแม้กระทั่งในปัจจุบัน สัตว์ทั้งหลายล้วนใช้หนทางสายเอกนั้นข้ามห้วงน้ำคือกิเลส

    ที่มา : http://www.kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=5851
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กันยายน 2014
  7. Kob

    Kob เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    6,159
    ค่าพลัง:
    +19,884
    อนุโมทนาสาธุกับคุณแพท ที่นำบทสวดพระสูตรที่สำคัญทางพระพุทธศาสนามาเผยแพร่ พร้อมคำแปล
    และมี mp3 ให้เปิดฟังประกอบด้วย สาธุค่ะ

    (f)(f)(f)(f)
     
  8. suadmon

    suadmon Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2015
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +26
    อนุโมทามิ สาธุครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...