เหรียญชินราชคุ้มเกล้า หลังภปร.พ.ศ. 2521

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Jumbo A, 8 พฤษภาคม 2019.

  1. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,212
    ค่าพลัง:
    +21,324
    พระสมเด็จค่ายอดิศร สระบุรี พิธีเดียวกับพระกริ่งตากสิน พระเทริด(เซิด)ขนนก หรือพระขนนก สระบุรี และ เหรียญพระเจ้าตากสิน ค่ายอดิศร ชุดนี้มีพิธีพุทธาภิเษก-มังคลาภิเษกที่ยิ่งใหญ่มาก พิธีสุดเข้มขลังเกิดขึ้นเมื่อปี ๒๕๑๔ ในพิธีนี้หลวงพ่อกวย ได้แสดงอภิญญาเหนือธรรมชาติให้ปรากฎ และท่านได้นั่งปรกปลุกเสกพระเครื่องทั้งหมดอยู่ในพิธีจนกระทั่งรุ่งแจ้ง โดยไม่ลุกไปไหนเลยตลอดคืน ถือเป็นพระที่ปลุกเสกนอกวัดอีกรุ่นนึงของหลวงพ่อกวย บรรดาลูกศิษยษลูกหาและผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาหลวงพ่อกวย แย่งกันหาใช้หาเก็บอยู่ครับ
    ".....เอาเป็นว่า พระชุดนี้พิธีดีเยี่ยม พุทธคุณสุดยอดก็แล้วกัน ประสบการณ์มีกันให้เห็นบ่อย ๆ โดยเฉพาะที่หลานครูอำพล เจน ไป เจอมากับตัวเองจัง ๆ ขนาดหยุดกระสุนปืนไว้ตรงหน้าผากได้อย่างเหมาะเจาะ ถ้าทะลุกระจกบาง ๆ เข้ามาได้คงตายไปนานแล้ว..." ก็ใส่พระเทริดขนนกอยู่ เพียงองค์เดียว มีก็อาราธนาแขวนเถิดครับ "คุ้มภัยก็ได้ กราบไหว้ก็บุญ" ครับ
    ใน วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๔ โดยมี พล.อ เปรม ตินสูลานนท์ (ยศ ขณะนั้นยังเป็นพลตรี ตำแหน่งผู้บังคับการจังหวัดทหารบก สระบุรี)เป็นประธาน ฝ่ายฆราวาส และมีอาจารย์ไสว สุมโณ วัดราชนัดดา เป็นเจ้าพิธี ในการสร้างได้มีการผสมเนื้อชนวนโลหะจากบรรดาคณาจารย์ต่าง วัตถุประสงค์เพื่อมอบให้แก่ผู้มีจิตศัทธา บริจาคเงินร่วมสมทบทุน สร้างโรงพยาบาลอดิศร จ.สระบุรี ได้ทำการรวมแผ่นยันต์ชนวนมวลสารโลหะทั่วประเทศ ออกแบบโดยนายช่างเกษม มงคลเจริญ ควบคุมและเป็นเจ้าพิธีในการหล่อพระกริ่งคือพระอาจารย์ไสว สุมโน วัดราชนัดดา เป็นพิธีมหาพุทธาภิเษกอันยิ่งใหญ่มากๆ พิธีหนึ่งแห่งยุคนั้น ที่ไม่เป็นรองใคร ที่บรรดาครูบาอาจารย์มากันทั่วประเทศ นิมนต์สุดยอดพระเกจิในยุคนั้นร่วมพุทธาภิเศกถึง ๗๙ รูป ได้แก่
    หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
    หลวงพ่อแพ วัดพอกุลทอง

    หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
    พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา
    หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตฯ
    หลวงปู่ชา วัดหนองป่าพง

    "..... ตามปากคำคนรุ่นเก่ารวมทั้งอนุศาสนา จารย์ประจำค่ายอดิศรก็บอกอย่างนั้นครับ ที่น่าแปลกคือหลวงปู่เกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ อ.เมือง จ.ลำปาง เมตตารับนิมนต์มา "มนต์" พระให้ด้วยครับ แต่พอเช็คไปทางเจ้าประ เวทย์ ณ ลำปาง และคณะศิษย์รับใช้ ปรากฏว่าหลวงปู่อยู่ประจำที่สุสานไม่ได้ออกไปที่ไหนเลย โดยเฉพาะวันที่ประกอบพิธีพุทธาภิเษกนั้นหลวงปู่ยังรับแขกอยู่ที่สุสานเลย คนเป็นพยานกันนับร้อย แต่ที่งานค่ายอดิศร คนก็เป็นพยานได้นับร้อยเช่นกันว่าหลวงปู่เกษมมา เรื่องจึงกลายเป็นว่า "ต่างคนต่างจริง" ไปได้อย่างน่าประหลาด..
    พระดี พิธีใหญ่ ของจังหวัดสระบุรี พุทธาภิเษก ณ ค่ายอดิศร ศูนย์การทหารม้า เมื่อ 16 ม.ค.2514 ตรงกับ วันเสาร์ แรม 5 ค่ำ เดือน ยี่ ปี จอ (พิธีเดียวกันกับพระกริ่งตากสินและพระชัยวัฒน์ตากสิน) ด้านหลังมีโค๊ด มะ ลึกๆ สวยๆ
    พิธีปลุกเสกมี สมเด็จพระวันรัต วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นประธานแห่งสงฆ์ พลตรี เปรม ติณสูลานนท์ เป็นประธานฝ่ายฆราวาส
    รายนามสมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะและพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ เจริญพระพุทธมนต์ในพิธี ดังนี้
    สมเด็จพระวันรัต วัดพระเชตุพนฯ ประธานจุดเทียนชัย
    พระเทพวิมลโมลี วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร สระบุรี
    พระราชโมลี วัดพระเชตุพนฯ
    พระครูญาณมุนี วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร สระบุรี
    พระครูมงคลวิจารย์ วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร สระบุรี
    พระครูสิทธิพิมล วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร สระบุรี
    พระครูสมโพธิวรกิจ วัดศรีบุรีรัตนาราม สระบุรี
    พระครูวรเขตพิศาล วัดวิหารแดง
    พระครูวิมลสมณวัตต์ วัดสูง
    พระครูสรกิจพิมล วัดมงคลทีปาราม
    พระเกจิชื่อดังทั่วฟ้าเมื่อไทยนั่งเจริญภาวนาปลุกเสกในพิธี ดังนี้
    1.พระราชปัญญาโสภณ หลวงพ่อสุข วัดราชนัดดาราม
    2.พระราชมุนี หลวงพ่อโฮม วัดประทุมวนาราม
    3.พระรักขิตวันมุนี หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์
    4.พระวิบูลเมธาจารย์ วัดดอนเจดีย์
    5.พระโพธิวรคุณ หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธินิมิต
    6.พระครูสุตาธิการี หลวงพ่อทองอยู่ วัดหนองพะอง
    7.พระครูพิริยะกิตติ หลวงพ่อโต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
    8.พระครูศรีพรหมโสภิต หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
    9.พระครูประภาสธรรมคุณ หลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ
    10.พระครูประสาทวิทยาคม หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ
    11.พระครูพิพิธวิหารการ หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช
    12.พระครูประสาทวรคุณ หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์
    13.พระครูสุวรรณวุฒาจารย์ หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่
    14.พระครูพินิจสมาจารย์ หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูม
    15.พระครูปัญญาโชติวัฒน์ หลวงพ่อเจริญ วัดทองนพคุณ
    16.พระครูพิทักษ์วิหารกิจ หลวงพ่อสา วัดราชนัดดาราม
    17.พระครูนนทกิจวิมล หลวงพ่อชื่น วัดตำหนักเหนือ
    18.พระครูอุดมไวทวรคุณ หลวงพ่อเมือง วัดท่าแหน
    19.พระครูรัตนสารวิสุทธิ์ หลวงพ่อเชื่อม วัดแก่นเหล็ก
    20.พระครูศรีปริยัติยานุรักษ์ หลวงพ่อไฝ วัดพันอัน
    21.พระครูประภาสธรรมาภรณ์ หลวงพ่อลำยอง วัดสุนทรประดิษฐ์
    22.พระครูสาธุกิจวิมล หลวงพ่อเล็ก วัดหนองดินแดง
    23.พระครูจันทรโสภณ หลวงพ่อนาก วัดทัศนารุณสุนทริการาม
    24.พระครูญาณวิษฏิ หลวงพ่อทรงชัย วัดพุทธมงคลนิมิต
    25.พระครูอุดมบุญญกิจ หลวงพ่อบุญ วัดน้ำใส ลับแล
    26.พระครูโอภาสธรรมคุณ หลวงพ่อพร วัดบ้านคอหวาง
    27.พระครูสุวรรณประภาส วัดธาตุสว่าง
    28.พระครูพิพัฒน์นวกรณ์ หลวงพ่อจรูญ วัดตึก
    29.พระครูอาทรสิกขการ หลวงพ่อโต๊ะ วัดสระเกษ
    30.พระครูภาวนานุโยค หลวงพ่อหอม วัดซากหมาก
    31.หลวงพ่อเชน วัดสิงห์
    32.หลวงพ่อผาง จิตตศุตโต วัดอุดมคงคาคีรีเขต
    33.หลวงพ่อศรีทัศวิปัสโน วัดธาตุบ้านแก้งสามหมื่น
    34.หลวงพ่อชื่น วัดคุ้ง
    35.หลวงพ่อเปี่ยม วัดเทพธิดาราม
    36.หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง
    37.หลวงพ่อเชย วัดแสมดำ
    38.พระครูพิพัฒน์ศิริธร หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน
    39.หลวงพ่อนำ ชินวโร วัดดอนศาลา
    40.หลวงพ่อหมุน ยสโร วัดเขาแดง
    41.หลวงพ่อแดง วัดบางเกาะเทพย์กษัตริย์
    42.พระอาจารย์บุญเลิศ วัดเทพธิดารามวรวิหาร
    43.พระอาจารย์สมวงษ์ วัดวังแดงเหนือ
    44.หลวงพ่อคำมี วัดปากช่อง
    45.หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค
    46.หลวงพ่อปี้ วัดบ้านด่านลานหอย
    47.หลวงพ่อบาวัง วัดบ้านเด่นกระต่าย
    48.พระครูนันทิยคุณ หลวงพ่อบาตัน วัดเชียงทอง
    49.หลวงพ่อเกตุ วัดศรีเมือง
    50.หลวงพ่อชา วัดหนองป่าพง
    51.พระอาจารย์เกษม เขมะโก สถานไตรรัตน์
    52.พระอาจารย์ชุบ ทินนะโก วัดเกาะวารุการาม
    53.หลวงพ่อคูณ วัดสระแก้ว
    54.พระครูนิเทศธรรมยาน หลวงพ่อพุ่ม วัดเนินหอม
    55.พระครูศิริธรรมสาร หลวงพ่อบาง วัดหนองพลับ
    56.พระครูอนุวัตรสมณคุณ หลวงพ่อสิมมา วัดบ้านหมอ
    57.พระครูกสิณสังวร หลวงพ่อปาน วัดโบสถ์
    58.พระครูอัตถจริยานุกูล หลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง
    59.พระครูสรกิจพิจารย์ หลวงพ่อผัน วัดราษฎร์เจริญ
    60.พระครูสมบูรณ์ศีลวัตร์ หลวงพ่อสมบูรณ์ วัดแก่งคอย
    61.พระครูวิบูลสมาธิวัตร หลวงพ่อรัตน์ วัดเขาพระ
    62.พระครูวิธานสรคุณ หลวงพ่ออินทร์ วัดไก่เส่า
    63.พระครูชินธรรมประกาศ หลวงพ่อถิร วัดหนองสรวง
    64.พระครูศีลโสภิต หลวงพ่อแถม วัดทองพุ่มพวง
    65.พระครูสังวรวุฒิคุณ หลวงพ่อออน วัดศาลาแดง
    66.หลวงพ่อย้อย ปุญญมี วัดอัมพวัน
    67.พระครูอุดมสารคุณ หลวงพ่อคร้าม วัดกุ่มหัก
    68.พระมหาทองย้อย วัดศรีบุรีรัตนาราม
    69.หลวงพ่ออำพล วัดหนองคณฑี
    70.หลวงพ่อวัน วัดถ้ำยอ
    71.หลวงพ่อแอ วัดราษฎร์ศรัทธาธรรม
    72.หลวงพ่อมงคล วัดบ้านโคก
    73.พระอาจารย์เปรม วัดบำรุงธรรม
    74.หลวงพ่อบุศร์ วัดหน้าพระลาน
    75.พระครูปิยะธรรมโสภิต หลวงพ่อคำ วัดบำรุงธรรม
    76.หลวงพ่ออวน วัดหนองพลับ
    77.พระอาจารย์สุนทร วัดหนองสะเดา

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ

    พระซุ้มกอค่ายอดิศณ ให้บูชา500บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ (ปิดรายการ)

    ซุ้มกอศม..JPG ซุ้มกอศม.หลัง.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤษภาคม 2019
  2. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,212
    ค่าพลัง:
    +21,324
    upload_2019-5-20_21-9-5-jpeg.jpg

    ประวัติหลวงพ่อรวย วัดท่าเรือ (พระครูสุนทรธรรมานุศาสก์ ) จนุทสิริ


    หลวงพ่อรวย นามเดิม ชื่อ รวย ประกอบเกื้อ เกิดเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2449 ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเมีย ในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (ตรงกับวันคล้ายวัดเกิดของท่าน พระสุนทรโวหาร (สุนทรภู่) อย่างที่เราท่านรู้จักกัน) ณ บ้านหนองสะพาน หมู่ 3 ตำบล ชากพง อำเภอ แกลง จังหวัด ระยอง เป็นบุตรโทนของ นาย ชั้น และนาง เอื้อม ประกอบเกื้อ ในสมัยเด็ก หลวงพ่อรวย มิได้เรียนหนังสือที่โรงเรียนหรือที่วัดเหมือนเด็กอื่นๆ แต่โยมบิดาเป็นผู้สอนให้จนอ่านออกเขียนได้ จนเมื่อเติบโตเป็นหนุ่ม ก็เป็นผู้อ่านบทละครตามที่ต่างๆ ตลอดจนเมื่ออายุได้ 21 ปีจึงทำการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ 2471 ตรงกับแรม 9 ค่ำ เดือน 6 ณ อุโบสถวัดเขาดิน (วัดเก่า) ซึ่งตั้งอยู่หลังวัดท่าเรือปัจจุบัน โดยมี พระครูสมุทรสมานคุณ (หลวงพ่อแอ่ว) วัดป่าประดู่ และเจ้าคณะจังหวัดเป็น พระอุปัชฌาย์ พระอธิการแห่งวัดป่าประดู่ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการฟู วัดท่าเรือแกลง เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    พ.ศ 2475 วัดท่าเรือ เริ่มทำการก่อสร้างพระอุโบสถขึ้น หลวงพ่อรวย ได้รับมอบหมายจากพระอธิการฟู เจ้าอาวาส ให้เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างจนสำเร็จเรียบร้อยในปีต่อมา และทำการฝังลูกนิมิตในปี 2477

    พ.ศ 2485-2487 พระอธิการฟูได้ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาส เนื่องจากปัญหาสุขภาพ หลวงพ่อรวย จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการแทนในตำแหน่งเจ้าอาวาส และได้ขึ้นเป็น พระอธิการรวย เจ้าอาวาสวัดท่าเรือ ในปีต่อมา

    – โรงเรียนวัดท่าเรือ ซึ่งก่อตั้งขึ้น ในยุคของ พระอธิการฟู เจ้าอาวาสรุ่นก่อน มีอาคารเรียนไม่เพียงพอต่อความต้องการของชุมชนในสมัยนั้น หลวงพ่อรวย พร้อมคณะจึงร่วมกันสร้างอาคารเรียนแบบ ป.2 จำนวน 8 ห้องเรียน และทำพิธีเปิดใช้อาคารหลังนี้เป็นสถานที่เรียนเมื่อ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2490 โดยข้าหลวงประจำจังหวัดระยอง โดยใช้นามโรงเรียนว่า “ โรงเรียนประชาบาลตำบลแกลง 1 (ท่าเรือวิทยาคาร) ต่อมาเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2495 กระทรวงศึกษาธิการอนุญาตให้ใช้นามว่า โรงเรียนวัดท่าเรือ (ท่าเรือวิทยาคาร) ปี พ.ศ. 2504 “พระครูสุนทรธรรมานุศาสก์” เจ้าอาวาสวัดท่าเรือ(ยศในขณะนั้น) พร้อมด้วยคณะกรรมการ และนายลำพูน สังข์สุวรรณ ครูใหญ่โรงเรียนวัดท่าเรือ ได้ร่วมกันบริจาคทรัพย์สร้างอาคารเรียนเพิ่มเติม และยังคงใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน จึงถือได้ว่า หลวงพ่อเป็นพระนักพัฒนาด้วยเช่นกัน

    การเริ่มสร้างวัตถุมงคล

    หลังจากโยมแม่ของหลวงพ่อถึงแก่กรรมในปี พ.ศ 2487 ท่านได้ตัดสินใจและลั่นวาจาว่าจะครองเพศบรรพชิตไปตลอดชีวิต โดยยกสมบัติทั้งหมดให้โยมผู้น้องคือนายเรียน ประกอบเกื้อ ซึ่งแสดงถึง การตัดซึ่งกิเลส ทางโลก มุ่งศึกษาพระธรรม เจริญสมาธิเจริญกรรมฐาน และออกธุดงค์ไปยังเขาต่างๆ หลายปี ซึ่งระหว่างนี้เองที่หลวงพ่อได้มีโอกาสฝากตัวเป็นศิษย์และได้สืบทอดยอดวิชาจากสุดยอดเกจิอาจารย์ทั้งสองท่านไว้นั่นคือ หลวงปู่โต วัดเขากระโดน หรือวัดเขาบ่อทอง ซึ่งมีขื่อเสียงเลื่องลือในพุทธเวทย์อย่างสูง ตลอดจน หลวงปู่หิน วัดหนองสนม หนึ่งในเกจิดังแห่งเมืองระยองที่มีชื่อเสียงเลื่องลือมาจนถึงปัจจุบัน

    และฆารวาส ชื่อจันทร์เมือง สอนในเรื่องสีผึ้ง อันโด่งดัง โดยเฉพาะสีผึ้งดำซึ่งใช้ในการขึ้นโรงขึ้นศาล ชะงัดนัก ส่วนสีขาวอมเหลืองจะ ใช้เจรจาค้าขาย ปัจจุบันหายากพอๆกับ สีผึ้งหลวงพ่อทาบ เพราะสร้างน้อยมากๆ( สีผึ้งทั้งสองสีของหลวงพ่อรวย มีกฎข้อห้ามสำคัญคือห้ามนำเข้าห้องน้ำพร้อมกับปลดทุกข์ ไม่เช่นนั้นจะเสื่อมหมด )จึงไม่น่าแปลกใจที่วัตถุมงคลของหลวงพ่อรวย จะมีปาฎิหารย์เกิดขึ้นเป็นเรื่องเล่าขานกับคนในพื้นที่และผู้ที่บูชาไปอยู่เนืองๆ
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญหลวงพ่อรวย วัดท่าเรือ ให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ

    ลพ.รวย.jpg ลพ.รวยหลัง.jpg
     
  3. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,212
    ค่าพลัง:
    +21,324
    lp-kumpong-008-02-jpg.jpg

    http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-kumpong/lp-kumpong_hist.htm
    วันนั้นหลวงปู่อ่อนศรีเป็นหัวหน้านำลงอุโบสถ ท่านบ่นถึงเรื่องที่ท่านไม่สบายอยู่ และพระลูกวัดสวดปาฏิโมกข์ไม่ได้ (สวดวินัยสงฆ์ ๒๒๗ ข้อเป็นภาษาบาลี สวดองค์เดียวให้พระที่ลงอุโบสถฟัง ใช้เวลาประมาณ ๑ ชั่วโมง จึงจะครบทุกข้อที่พระพุทธองค์บัญญัติ) ท่านบอกว่า

    “เรานี่เลี้ยงลูกศิษย์ลูกหามาทำไม เลี้ยงมาแล้วทำไมไม่ช่วยเราสวดบ้าง จะให้ไอ้เฒ่านี้สวดไปถึงไหน เราจะตายอยู่แล้ว คนอื่นทำไมไม่เรียนกันบ้าง ศึกษากันบ้าง”

    คำพูดนี้มันเสียบเข้าไปในหัวใจหลวงพ่อ

    “เมื่อไหร่หนอเราจะอ่านหนังสือออกบ้าง ถ้าเราอ่านหนังสือออก เราจะสวดปาฏิโมกข์ถวายท่าน แต่เราก็ยังอ่านไม่ออก”

    พอลงอุโบสถเสร็จหลวงพ่อท่านขอหนังสือปาฏิโมกข์จากท่านเล่มหนึ่ง บอกท่านว่า

    “จะเอาไปบูชา”

    ท่านไม่อยากให้ ท่านว่า “จะเอาไปกินสิงกินแสงอะไร เขียนชื่อเจ้าของก็ไม่ได้ จะเอาไปทำอะไร”

    หลวงพ่อยืนยันว่า “จะเอาไปบูชา”

    ท่านก็เฉย ขออยู่ ๒-๓ ครั้ง ท่านโมโห หรือว่าอย่างไรก็ไม่รู้ ท่านให้เหมือนประชด ทิ้งหนังสือเพล๊ะ

    “เอ้า ไปกินขี้ไต้ไปเสีย” ว่างั้น

    ได้หนังสือแล้วกราบลาท่าน ๓ ครั้ง สะพายย่ามกับบาตรขึ้นเขาไป
    lp-kumpong-016-01-jpg.jpg

    (๘) เหตุอัศจรรย์ที่ถ้ำพระ (พรรษาที่ ๓ พ.ศ. ๒๔๘๘)

    พอขึ้นมาถึงถ้ำพระไม่รู้จะทำอย่างไรเอาหนังสือปฏิโมกข์วางไว้บนหัวนอน แล้วตั้งจิตอธิษฐานว่า

    “ถ้าหาก….ข้าพเจ้า จะได้สืบพระพุทธศาสนา ยังจะเป็นครูบาอาจารย์ ยังจะเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของหมู่คณะ และจะยังรักษาพระธรรมวินัย ขอให้ข้าพเจ้าอ่านหนังสือออกด้วยเถิด ข้าพเจ้าอยากได้ หากเป็นไปไม่ได้ ข้าพเจ้าไม่สามารถจะคุ้มครองพระธรรมวินัย ไม่สามารถรักษาหมู่คณะได้ ก็ขออย่าให้ข้าพเจ้าได้ หากจะเป็นไป ก็ขอให้ข้าพเจ้าได้”

    จบคำอธิษฐาน ทำสมาธิทำใจให้เป็นกลางอย่างเด็ดขาด ไม่อยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งใดๆ ทั้งสิ้น

    พลัน…..ก็ปรากฏภาพนิมิตในสมาธิ

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับอยู่ด้านหน้าท่ามกลางแสงฉัพพรรณรังสีสาดสว่างทั่วถ้ำ ประทับอยู่ด้านหน้าตู้พระไตรปิฎก พระองค์ยื่นหนังสือสามเล่ม มอบกับหลวงพ่อ คือ พระสูตร ๑ พระวินัย ๑ พระปรมัตถ์ ๑ แล้วพระองค์เสด็จกลับขึ้นไปบนฟ้า แสงฉัพพรรณรังสีกระจายเต็มท้องฟ้าลับหายจากสายตาไป

    หลังจากนั้นอีก ๒-๓ วัน ขณะที่หลวงพ่อทำสมาธิภาวนาจนจิตสงบเป็นสมาธิแน่วแน่ จะเป็นเพราะแรงอธิษฐานหรืออะไรไม่ทราบ มาดลบันดาลให้หลวงพ่อเห็นเป็นตัวหนังสือคล้าย ๆ กับที่เขียนไว้บนฝาผนังเป็นแถว ๆ แถวนี้อ่านอย่างนี้ ตัวนี้อ่านอย่างนี้ อ่านไปอ่านไปก็หมดให้เห็น แต่จำได้ว่า ตัวนี้อ่านอย่างนี้ ตัวนั้นอ่านอย่างนั้น ก็จำไว้

    ทีหลังอยากจะได้ต่อไปอีก ก็ขออีก ได้ยินในหู เสียงให้อ่านอย่างนั้น อ่านตามเสร็จก็หมดไป หมดปัญญาที่จะอ่านอีก ก็อาศัยคำอธิษฐานว่า “ขอให้ข้าพเจ้ารู้” ก็ได้ยินเสียงอ่านอีก ว่ากันไปเรื่อย ๆ นานเข้า ๓-๔ วัน ตัวเก่าที่เคยอ่านไว้ ก็จำไว้ได้ว่า ออกเสียงอย่างนี้เป็นตัวนี้ อันนี้เป็นตัว ก.ไก่ เหมือนกัน เพราะอ่านออกเสียง ก. เหมือนกัน ตัวที่อ่านไม่ได้ ก็มีเสียงมาบอก ตกลงอ่านไป สวดไป ราวสักเดือนหนึ่ง ก็จบปาฏิโมกข์

    (๙) สอบทานการสวดปาฏิโมกข์ (พรรษาที่ ๓ พ.ศ. ๒๔๘๘)

    เมื่อสวดปาฏิโมกข์ด้วยเหตุอัศจรรย์ที่ถ้ำพระ หลวงพ่อก็ถือหนังสือ สะพายบาตรลงมาหาหลวงปู่อ่อนศรี เพื่อให้ท่านช่วยสอบทานให้ว่าถูกต้องเป็นความจริงไหม พอจะสวดให้ท่านฟัง ท่านก็ว่าเอา

    “พระผีบ้า มาสวดอุตริเอาอะไร หนังสือก็อ่านไม่ออกสักตัว จะมาอ่านปาฏิโมกข์ได้อย่างไร”

    หลวงพ่อก็เฉย แต่ตั้งใจว่า ถ้าท่านไม่อ่านทานให้ก็จะไม่ขึ้นเขาขึ้นถ้ำ จะนอนเฝ้าอยู่ที่วัดล่างนี้จนกว่าท่านจะสอบทานให้

    ค่ำลงก็ไปนวดท่าน เล่าให้ท่านฟังและขอให้หลวงปู่สอบทานให้พรุ่งนี้ ท่านก็นอนเสีย ท่านไม่พูด หันไปพูดเรื่องอื่น นวดไปนวดมาจนถึงเที่ยงคืน ท่านก็บอกให้เลิก เลิกมาแล้วหลวงพ่อก็ยังมานั่งคิดว่า ท่านจะสอบทานให้หรือเปล่าหนอ คิดทวนหน้าทวนหลังอยู่อย่างนั้น

    พอรุ่งเช้าฉันข้าวแล้วไปกราบท่านอีก ให้ท่านสอบทานให้ ทนฟังหลวงพ่ออ้อนวอนไม่ได้ ท่านก็ว่า “เอามาได้จริงๆ หรือ”

    หลวงพ่อถือหนังสือไปกราบลงถวายท่าน หลวงพ่อสวด ท่านก็อ่านสอบทานให้ ตัวไหนผิดท่านก็บอกให้ ตัวไหนลงไม่ถึงฐานอย่างตัว ถ. ถุง ตัว ฐ. ฐาน ตัว ณ เณร เป็นต้น เสียงออกจมูกไม่ค่อยถึงฐาน ท่านก็บอกว่าฐานไม่ถึง

    หลังจากนั้น พอมีผู้รับรองว่าอ่านถูกต้อง ก็บอกกับตนเองว่า “ทีนี้ล่ะ เราจะอ่านเจ็ดตำนาน อ่านสัมพุทโธ โยจักขุมา ไปสวดกับเขาบ้าง เราอ่านหนังสือออกแล้วทีนี้”

    ตกลงตั้งแต่นั้นมาอ่านหนังสือออกได้เรื่อยมา
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ
    เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่คำพองแบบมีห่วงปี ๒๕๒๙ ให้บูชา 100 บาทค่าจตัดส่งEMS50 บาทครับ

    อ.คำพอง.jpg อ.คำพองหลัง.jpg
     
  4. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,212
    ค่าพลัง:
    +21,324
    upload_2019-5-21_23-43-50-jpeg-jpg.jpg
    เมื่อ สามเณรวิริยังค์บรรพชาเป็นสามเณรประมาณเดือนเศษ พระอาจารย์กงมาฯ มีกิจนิมนต์ต้องไปกรุงเทพฯ ด้วยความเป็นห่วงท่านจึงนำ สามเณรวิริยังค์ไปฝากไว้ที่พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ที่วัดป่าศรัทธารวม อ.เมือง จ.นครราชสีมา เป็นวัดป่าที่อยู่ใกล้กองทหารและก็เป็นการฝึกฝนตนอีกครั้งหนึ่งกับพระอาจารย์ฝั้นฯ ของสามเณรวิริยังค์

    วันหนึ่ง สามเณรวิริยังค์ก็ต้องแปลกใจ เพราะเห็นแมวตัวหนึ่งเป็นตัวผู้สีขาวแดงใหญ่ เดินจงกรมตามพระอาจารย์ฝั้นฯ หลังจากท่านเดินจงกรมเสร็จ สามเณรวิริยังค์ได้เข้าไปคอยฟังโอวาท เสร็จแล้วก็ทำการบีบนวดถวาย

    สามเณรวิริยังค์ได้ถามว่า “ทำไมแมวมันจึงเดินตามท่านอาจารย์”

    ท่านอาจารย์ตอบว่า “สอนมัน”

    สามเณรวิริยังค์ทวนคำ สอนแมวไม่ใช่ของง่าย ไม่เหมือนสุนัข ถ้าเป็นสุนัข สามเณรวิริยังค์จะไม่สงสัย สามเณรวิริยังค์จึงถามต่อไปว่า “ทำไมท่านอาจารย์จึงสอนแมวได้”

    ท่านตอบว่า “เอาใจสอน”

    เป็นอันว่าสามเณรวิริยังค์เข้าใจ

    วันหนึ่ง สามเณรวิริยังค์คิดว่า พระอาจารย์ฝั้นฯ นี้ จะเก่งเท่ากับพระอาจารย์ของสามเณรริริยังค์หรือเปล่าหนอ แต่เห็นฝึกแมวได้ ชักเชื่อว่าเก่งพอสมควรทีเดียว สามเณรวิริยังค์นี้เป็นผู้ที่ได้ฝึกจิตมาพอสมควรแล้ว และตั้งใจว่าจะศึกษาไปให้มากที่สุด ดังนั้นเมื่อได้มาอยู่กับพระอาจารย์ฝั้นฯ สามเณรวิริยังค์ก็พยายามที่จะเข้าใกล้ชิดให้มากที่สุด จึงได้ขอเข้าทำการบีบนวดก็ให้โอกาส เป็นอันว่าสามเณรริริยังค์ได้อยู่ใกล้ชิดสมความตั้งใจ แม้จะเป็นระยะอันสั้น สามเณรริริยังค์ก็พยายามศึกษาอย่างเต็มที่

    อยู่มาวันหนึ่ง มันเป็นเวลาดึกแล้ว สามเณรวิริยังค์อยู่เพียงลำพังผู้เดียวที่คอยปฏิบัติท่าน เพราะสามเณรอื่นพากันขี้เกียจ กลับไปนอนหมด สำหรับสามเณรวิริยังค์นั้นเป็นผู้มาใหม่ รู้สึกว่าท่านจะเกรงใจบางอย่าง หรือท่านอาจจะเข้าใจในตัวท่านว่า เราฝึกศิษย์ไม่ดีพอจึงทำให้ศิษย์ของท่านไม่เอาใจใส่ท่าน อาจจะเข้าใจว่าสู้ศิษย์ของท่านอาจารย์กงมาฯ เช่นกับ สามเณรวิริยังค์ไม่ได้ ครั้นจะให้ สามเณรวิริยังค์ไปตามพวกเณรเหล่านั้นมา ก็รู้สึกว่ายิ่งจะเป็นการเสียหายต่อท่านมากขึ้น

    ขณะนั้น สามเณรวิริยังค์จำต้องแปลกใจเหลือหลายอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเห็นสมเณรท่านองค์หนึ่ง เดินขึ้นบันไดมาโดยอาการมึนงง ตาก็ลืมนิดๆ เดินตรงรี่เข้ามาหา สามเณรวิริยังค์แล้วมองไปที่อาจารย์ฝั้นฯ เห็นท่านยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ แล้วสามเณรรูปนั้น ก็เดินไปที่กระติกน้ำร้อน จัดการชงชาพร้อมทั้งยกถวาย ท่านพระอาจารย์ฝั้นฯ ก็รับ รับแล้วก็ฉัน สามเณรวิริยังค์ยิ่งงงยิ่งขึ้นเมื่อสามเณรรูปนั้นขณะที่ทำงานทุกอย่างตาก็ลืมนิดๆ บางทีตาลืมขึ้นมามากแต่ก็ไม่มองอะไร สามเณรวิริยังค์สังเกตดูตาช่างไม่มีแววเอาเลย เอ นี่มันยังไงกัน หลังจากสามเณรทำทุกอย่างเกี่ยวกับถวายน้ำชาและเก็บกาน้ำถวายชาล้างเรียบร้อยแล้ว สามเณรรูปนั้นก็ทำตาปรือๆ เดินกลับกุฏิไป

    ท่านอาจารย์ฝั้นฯ ก็เอนหลังลงให้ สามเณรวิริยังค์บีบนวดต่อไป สามเณรวิริยังค์ทนไม่ไหวที่เห็นอากัปกิริยาของสามเณรรูปนั้นทำแปลก ยังกับไม่มีชีวิตจิตใจ จึงถามท่านอาจารย์ฝั้นฯว่า

    “ท่านอาจารย์ทำยังไง เณรจึงทำท่าทางเหมือนไม่มีจิตใจอย่างนั้น”

    ท่านตอบว่า “มันอยากขี้เกียจ ต้องทรมานมันมั่ง”

    “ทรมาน” สามเณรวิริยังค์ทวนคำ

    “หมายความว่า ท่านอาจารย์สะกดจิตอย่างนั้นหรือ” สามเณรวิริยังค์ถาม

    “ใช่” แล้วท่านก็ไม่พูดอะไรปล่อยให้สามเณรวิริยังค์บีบนวดจนเกือบเที่ยงคืน

    เมื่อท่านอนุญาตให้กลับแล้ว สามเณรวิริยังค์ได้ไปที่กุฏิสามเณรรูปนั้นด้วยความสงสัยอยากรู้ พอเปิดประตูเข้าไปสามเณรรูปนั้นหลับเงียบ สามเณรวิริยังค์คิดว่าไม่รบกวนละ พรุ่งนี้จะถามแต่เช้าทีเดียว

    http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-phun/lp-phun-hist-07-01.htm

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ
    เหรียญหลวงปู่วิริยังมี ๒๕๒๓ ให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ(ปิดรายการ)

    อ.วิริยัง.jpg อ.วิริยังหลัง.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤษภาคม 2019
  5. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,212
    ค่าพลัง:
    +21,324
    https://palungjit.org/threads/บันทึ...์ขลัง-สายเขาอ้อ-พ่อท่านแปลก-เคราเหล็ก.496523/

    พ่อท่านแปลก เคราเหล็ก...วัดปากปรน จังหวัดตรัง

    พ่อท่านแปลก มีวิชาอาคมเก่งกาจเพียงใด แม้แต่เคราท่านก็ไม่โกนเนื่องจากมีดโกนที่ว่าคมกริบ ก็ไม่สามารถที่จะโกนหนวดโกนเคราของท่านได้ จึงเป็นฉายาท่านอีก



    6a591900a913f0dd508340d6990cb0be-jpg.jpg

    พ่อท่านแปลก



    ฉายาว่า " พ่อท่านแปลก เคราเหล็ก "

    พ่อท่านแปลก..เกจิอาจารย์ผู้เข้มขลังและปฏิบัติดีปฏิบัติ ชอบ ท่านถือสันโดษและปฏิบัติธรรมด้วยการพิจารณาอสุภกรรมฐาน เป็นเนืองนิจมีกระแสจิตแก่กล้า แต่มีความเมตตาเป็นเลิศ นับเป็นเกจิอาจารย์อีกองค์หนึ่งของภาคใต้ ที่น่าเคารพและศรัทธายิ่ง …



    2108_1-jpg.jpg

    พ่อท่านแปลกวิชาที่ท่านได้เรียนมาจาก สำนักเขาอ้อ แล้ว วิชาบางส่วนท่านได้มาจากตำราที่ชาวบ้านพบในถ้ำแล้วเอามาถวายท่าน ด้วยใจที่สนใจไสยศาสตร์มาแต่เดิม จึงทำให้ท่านมุ่งมั่นฝึกฝนจนสามารถปฏิบัติได้จริง มีลูกศิษย์ของท่านหลายคนยืนยันว่า เคยเดินไปกับท่าน ฝนตกลงมา คนที่ร่วมเดินไปพร้อมกับท่านทุกคนเปียกฝนชุ่มโชก แต่ตัวท่านไม่มีฝนตกถูกจีวรเลยแม้แต่เม็ดเดียวสร้างความประหลาดใจให้กับทุกคน เมื่อผู้เขียนถามท่านถึงเรื่องนี้ ท่านได้แต่หัวเราะ และเมื่อถามมาก ๆ ท่านก็ยอมรับว่า ท่านมีพุทธคุณปกป้องคุ้มครองอยู่ หลังจากนั้นไม่นาน พ่อท่านแปลก ได้เล่าถึง คาถาอิติปิโส หลายบท และได้เน้นที่บท ฝนแสนห่า ท่านว่าใช้ทางแคล้วคลาด พร้อมทั้งเปรยว่า ฝนแสนห่า ตกลงมาไม่ถูก อย่าง.. พระอาจารย์ศรีเงิน วัดดอนศาลา ศิษย์เขาอ้อ ซึ่งล่วงลับไปแล้ว ได้เคยเล่าว่า ตะกรุด ที่ท่านลงให้ในทางแคล้วคลาดนั้นชื่อ ตะกรุด ฝนแสนห่า ลงด้วยคาถา ฝนแสนห่า แบบฉบับของ สำนักเขาอ้อ ซึ่งมีเคล็ดพิธีกรรมอีกแบบหนึ่งไม่เหมือนใคร
    พุทธคุณของคาถา ฝนแสนห่า นั้น เปรียบประดุจ ฝนแสนห่า ตกลงมาไม่ถูกกาย ใช้ทางแคล้วคลาดจากภัยอันตรายทั้งหลายทั้ง ในเรื่องนี้ปรากฏว่า วิชาที่ท่านเรียนมาเหมือนกับที่ อาจารย์ศรีเงิน ได้เล่าให้ฟัง เมื่อครั้งท่านมีชีวิตแสดงว่า พ่อท่านแปลก ได้สำเร็จวิชานี้ และสามารถทำได้ขลังมีผลให้เห็นเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง
    ท่านเล่าว่านอกจากจะได้วิชามาแล้ว หากไม่ฝึกปฏิบัติทางจิตจนเข้มแข็ง ก็ไม่สามารถทำได้ตามตำราที่เรียนมา…สายวิชาเขาอ้อมีเคล็ดลับสำคัญตั้งแต่ โบราณกาล ทรงความขลังอย่างอมตะตลอดกาล เช่นการ"หุงวิชชา" สำนักตักสิลา เขาอ้อ เป็นพิธีกรรมหนึ่งในศาสตร์ไสยเวทย์ของตักสิลา เขาอ้อ เป็นกุญแจสำคัญ นำมาซึ่งความศักดิ์สิทธิ์มาตั้งแต่ครั้งโบราณจนตราบเท่าปัจจุบัน..


    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ

    พระปิดตามหาลาภพ่อท่านแปลก วัดปากปรน ตรัง ให้บูชา300บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ

    9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%81-jpg.jpg 88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87-jpg.jpg
     
  6. supachaipnu

    supachaipnu ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,476
    ค่าพลัง:
    +7,307
    Transfer ... 250.01 ... 25-5-2019 ...22:29
     
  7. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,212
    ค่าพลัง:
    +21,324
    เหรียญหลวงพ่อจุ่น วัดเขาสะพพายแร้ง ท่ามะกา กษญจนบุรี ลองหาประวัติท่านอ่านดุตามเวปไซท์ครับ วัตถุมงคลมากประสพการณ์ในพื้นที่

    ให้บูชา150บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ

    ลพ.จุ้น.JPG ลพ.จุ้นหลัง.JPG
     
  8. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,212
    ค่าพลัง:
    +21,324
    ประวัติพระครูนิมาการโสภณ

    (หลวงพ่อครูบาสร้อย ขนฺติสาโร)

    วัดมงคลคีรีเขตร์ ตำบลท่าสองยาง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก



    เทพเจ้าแห่งท่าสองยาง บ้านมะตะวอ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก เป็นพระอาจารย์ที่ได้รับการยกย่องจากลูกศิษย์ทั้งหลายว่า เป็นหลวงพ่อที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งบ้านมะตะวอ เป็นศิษย์เอกของหลวงพ่อสุข แห่งวัดโพธิ์ทรายทอง จังหวัดบุรีรัมย์ เจ้าของรูปหล่ออันดับหนึ่งของภาคอีสาน และเป็นสหธรรมมิกกับหลวงปู่หงส์ พรหมปัญญา เทพเจ้าแห่งสุสานทุ่งมน จังหวัดสุรินทร์ เป็นอย่างมาก

    หลวงพ่อสร้อย เป็นชาวละหานทราย เกิดปีมะเส็ง วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2472 มีนามเดิมชื่อว่าสร้อย นามสกุล ศิริวรรณ์ บิดาชื่อ นายวัน ศิริวรรณ์ มารดาชื่อ นางจรจศิริวรรณ์ บ้านโคกใหม่ หมู่ที่ 1 ตำบลละหานทราย อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มีพี่สาวเพียงคนเดียว ภายหลังท่านได้กำเนิดมาได้ 7 วัน บิดาของท่านได้ถึงแก่กรรม ต่อมาเมื่อท่านอายุได้ 7 ขวบ มารดาของท่านก็ได้ถึงแก่กรรมอีก หลังจากนั้นท่านได้อยู่กับคุณยาย ซึ่งเป็นผู้ดูแลท่านตลอดเรื่อยมา โดยปกติแล้วคุณยายเป็นคนที่ชอบเข้าวัดฟังธรรม จึงพาท่านไปด้วยเสมอ ทำให้ท่านใกล้ชิดกับวัด นับตั้งแต่วัยเด็ก จนกระทั่งท่านเรียนจบประถม 4 จึงได้ขออนุญาตคุณยายบวชเป็นสามเณร ที่วัดชุมพร ตำบลละหานทรายโดยมีหลวงพ่อมั่น เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อสุข วัดโพธิ์ทรายทองเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อนุด เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 พ.ศ. 2494 ได้รับฉายาว่า ขันติสาโร หลังจากนั้นหลวงพ่อได้ไปอยู่กับหลวงพ่อสุข โพธิ์ทรายทอง ในช่วงนั้นหลวงพ่อสุขได้ให้ท่านขึ้นครูกรรมฐาน โดยเน้นหนักในเรื่องปฏิบัติกรรมฐาน หลวงพ่อเล่าให้ฟังว่า ท่านปฏิบัติจนมีความสุข บางทีถึงกับไม่ได้หลับได้นอน แต่ก็แปลกไม่ง่วงนอนแต่อย่างไรเลย ต่อมาหลวงพ่อทองสุขได้สอนวิชาที่สำคัญให้กับท่านคือ วิชาการตรวจดูบุญวาสนา และเวรกรรมของผู้ป่วยเพื่อรักษาโรคต่าง ๆ ให้กับผู้ป่วย มีอยู่ครั้งหนึ่ง ขณะที่ท่านปฏิบัติสมาธิอยู่บนศาลาได้มีอาการปวดศีรษะจึงขอหลวงพ่อสุขไปนอนเพื่อพักผ่อน ในระหว่างนอนหลับ วิญญาณของท่านได้หลุดจากร่างไปเหมือนมรณภาพไปได้ 7 วันเต็ม ในระหว่างนั้นหลวงพ่อสุขได้ทำพิธีช่วยพาวิญญาณท่านกลับมาเหมือนเดิม ซึ่งเป็นวิชาเดียวกันกับที่ท่านได้ช่วยชีวิตเด็กชาวกระเหรี่ยงให้ฟื้นคืนชีพกลับคืนมาแล้ว หลวงพ่อท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดโพธิ์ทรายทองได้ 2 พรรษา หลังจากนั้นได้มาศึกษาประวัติธรรมที่วัดกลางนางรองอีก 2 พรรษา

    ต่อจากนั้นในปี พ.ศ. 2497 หลวงพ่อกับพระอาจารย์ดำ เจ้าอาวาสวัดกลางนางรอง ได้เข้ามาสู่กรุงเทพฯ เพื่อศึกษาอบรมวิปัสสนากรรมฐาน ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์ โดยมีพระอาจารย์แฝ่ง พระอาจารย์โชดก เป็นอาจารย์ใหญ่ช่วยอบรมสั่งสอนได้ 7 เดือน แล้วจึงลากลับสู่จังหวัดบุรีรัมย์ โดยอยู่จำพรรษาเป็นเพื่อนกับพระเล็ก ที่วัดกลางนางรอง เพราะท่านเจ้าอาวาสองค์ก่อนได้ลาสิกขาออกไปและท่านได้สอนอบรมธรรมปฏิบัติกับหมู่คณะที่มาปฏิบัติธรรม จนหมดความสามารถของตนที่ได้ศึกษามา

    ในช่วงธุดงด์ หลังจากออกพรรษา จึงอำลาเจ้าคณะอำเภอนางรอง คือ พระครูสามารถ วัดขุนก้อง อำเภอนางรอง พร้อมทั้งพระอธิการเล็ก เพื่อออกจาริกธุดงค์ โดยมุ่งไปทางวัดสำโรง ในระหว่างทางได้พักวัดหนองหมีและมาพักที่วัดสำโรงได้ 2 คืน ต่อจากนั้นเดินทางมายังวัดโพธิ์ทรายทอง โดยมีพระติดตามอีก 4 รูป ได้มากราบหลวงพ่อสุข ซึ่งเป็นพระกรรมวาจาจารย์ตอนที่หลวงพ่ออุปสมบทเป็นพระและได้พักที่วัดนั้นเป็นเวลา 3 คืน หลังจากนั้นได้กราบลา หลวงพ่อสุขเพื่อออกเดินทางจาริกธุดงค์มุ่งหน้าต่อไป เข้าสู่วัดชุมพร เพื่อนมัสการหลวงพ่อมั่น ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ แต่อนิจจาหลวงพ่อมั่นได้มรณภาพไปแล้ว ต่อจากนั้นธุดงค์ไปยังเขาพระวิหาร และไปศรีษะเกษ, อุบลราชธานี, นครพนม, หนองคาย, อุดรธานี, ขอนแก่น, นครราชสีมา, เพชรบูรณ์, นครสวรรค์, อุตรดิตถ์, ลำปาง, ลำพูน จนถึงเชียงใหม่ ในขณะที่ท่านอยู่จังหวัดเชียงใหม่ได้พบกับหลวงปู่แหวนและได้ขอศึกษาวิชาจากหลวงปู่แหวนอีกด้วย หลังจากนั้นได้ลาหลวงปู่แหวนไปแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอนต่อ โดยจำพรรษาอยู่ที่วัดศรีบุญเรือง

    เข้าสู่ท่าสองยาง หลังจากออกจากวัดศรีบุญเรืองแล้วมุ่งหน้าเข้าสู่อำเภอท่าสองยาง โดยผ่านเส้นทางนับว่าลำบากมาก โดยผ่านทางจากตำบลแม่กะต่วน (ซึ่งตรงกับวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 8 พ.ศ. 2498) จนมาถึงบ้านท่าเรือแม่ระมา ต่อจากนั้นได้ต่อเรือมาถึงบ้านแม่วะหลวง ซึ่งเป็นอันว่าเข้าเขตอำเภอท่าสองยางแล้ว จากนั้นเดินทางมาถึงบ้านซอแขระ จนกระทั่งถึงวัดท่าสอง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ในปี พ.ศ. 2498

    เมื่อมาถึงวัดท่าสองยางแล้ว หลวงพ่อได้พบกับพระรูปหนึ่ง ชื่อครูบาเสือ หรือชาวบ้านเรียกตุ๊เจ้าเสือ จำวัดอยู่เพียงรูปเดียว ซึ่งวัดนี้ยังไม่มีกุฏิ มีเพียงกระต๊อบเก่าๆเท่านั้น ในบรรดาศรัทธาของชาวบ้านท่าสองยางนี้ เมื่อเห็นหลวงพ่อมาถึงวัดนี้ จึงพากันมาเที่ยวหาหลวงพ่อประมาณ 4 – 5 คน และถามหลวงพ่อว่าท่านจะไปไหน หลวงพ่อตอบว่า “อาตมาภาพจะไปที่ แม่ระมาดและแม่สอด แต่จะขอพักที่วัดนี้สักหนึ่งคืนพรุ่งนี้ อาตมาจะเดินทางต่อไป” คืนนั้นหลวงพ่อได้สนทนากับครูบาเสือพอสมควรและขอให้ครูบาเสือหาคนให้เพื่อนำทางส่ง แต่ครูบาเสือท่านกลับไปบอกกำนันจันทร์ แสนไชย ครูปลั่ง คำใส ลุงนนท์ เรืองใจ หมู่สมมะโนวงศ์ หมอสิงทอง วงศ์นิล ลุงดำ ซึ่งกลุ่มชาวบ้านเหล่านี้และอีกหลายคนได้มาขอให้หลวงพ่อจำพรรษาที่วัดนี้ เมื่อหลวงพ่อเห็นว่าคณะศรัทธาทุกคน มีเจตนาที่ดีในทางพุทธศาสนา หลวงพ่อจึงตัดสินใจรับนิมนต์ของคณะศรัทธาของชาวบ้านและจำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้ตลอดเรื่อยมา จนทำให้มีคณะศรัทธาต่างๆหลายคณะมาทำบุญที่วัดอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในวันสำคัญต่าง ๆ เช่น วันลอยกระทง วันสงกรานต์ เป็นต้น ต่อจากนั้นมาในปี พ.ศ. 2500 ได้มีคณะศรัทธาทายก ทายิกา ได้นำเด็กมาฝากไว้เป็นศิษย์ 10 คน เพื่อจะบวชเรียนเป็นสามเณร ทำให้หลวงพ่อต้องเดินทางไปขอใบใบอนุญาตบรรพชา อุปสมบท สามเณร ซึ่งในครั้งนี้ได้แสดงถึงความตั้งใจ ความอดทน และอดกลั้น ด้วยความมุ่งมานะของหลวงพ่อกว่าจะได้ไปขออนุญาตมาต้องเดินทางไปที่หลายแห่งใช้เวลาหลายวัน โดยเริ่มจากไปที่แม่ต้านแล้วไปแม่ระมาด และเข้าตัวเมืองอำเภอแม่สอด และยังได้ไปกราบครูบากัญไชย ที่วัดมาตานุสรณ์ อำเภอแม่สอด ได้พูดคุยกันและขออนุญาตจำวัตรที่นั่นหนึ่งคืน ซึ่งครูบากัญชัยได้ให้การหลวงพ่อเป็นอย่างดี ได้พูดกับหลวงพ่อว่า

    “ท่านไม่ต้องเกรงใจอะไรหรอกเราถือกันแบบเป็นกันเองเถอะ เพราะเราเป็นลูกของพระพุทธเจ้าเดียวกัน” คำพูดนี้เป็นคำพูดที่ออกมาจากใจของครูบากัญไชย ทำให้หลวงพ่อรู้สึกเย็นซาบซ่าไปตามตัวเลยทีเดียว ต่อจากนั้นได้เดินทางเข้าสู่แม่สอดไปพบกับเจ้าคณะอำเภอและไปหาท่านเจ้าคุณที่วัดมณีไพรสณฑ์ จนได้รับการอนุญาตในการบวชพระบวชเณร ซึ่งในการเดินทางไปขอแต่ละครั้งแต่ละที่ต้องผ่านขั้นตอนอุปสรรคต่าง ๆนานานับประการ ต้องผ่านทางธุรกันดารและไกลมาก แต่หลวงพ่อคิดอยู่ในใจว่า เมื่อเราไม่ได้รับอนุญาตกลับไป ศรัทธาของคนผู้จะบรรพชาจะเสียและของที่จะทำทานก็จะเสียทั้งสิ้น อีกทั้งจะเสียพระพุทธศาสนาอีกด้วย เมื่อหลวงพ่อกลับไปที่วัดท่าสองยาง เมื่อได้ใบอนุญาตมาแล้วจึงทำการ บรรพชาสามเณร 5 รูป และได้อุปสมบทพระภิกษุ 2 รูป ในปี พ.ศ. 2500 เสร็จพิธีบรรพชาอุปสมบทและทำบุญเป็นปฐมฤกษ์แล้ว นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา คนทั้งหลายในหมู่บ้าน ทั้งท่าสองยาง แม่ต้าน แม่สะเรียง ค่อย ๆ รู้จักวัดและตัวหลวงพ่อมากขึ้น

    หลวงพ่อได้อยู่ที่วัดแห่งนี้ได้พัฒนาวัดให้มีความเจริญเป็นอย่างมาก เช่น ได้สร้างกุฏิขึ้นใหม่ มีการปรับปรุงที่ดินวัด ทำรั้ววัด ทำถนนไปสู่หมู่บ้าน และต่อมาในปี พ.ศ. 2503 ทางคณะสงฆ์และเจ้าคณะอำเภอแม่ระมาด ท่าสองยาง จังหวัดตาก ได้มีมติเอาวัดท่าสองยางเข้าบัญชีในเขตการปกครองของอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก และท่านก็ตั้งชื่อวัดนี้ใหม่ว่า วัดมงคลคีรีเขตร์เป็นต้นมา

    ช่วงชีวิตบั้นปลาย หลวงพ่อสร้อยท่านได้ตรากตรำทำงานหนักอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงวัยชรา จนกระทั่งวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ลูกศิษย์ได้พาท่านไปทำการรักษาตัวที่โรงพยาบาลนครธน พระราม 2 จนถึงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2541 และหลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ จ.สุรินทร์ ท่านได้มาเยี่ยมหลวงพ่อและในนิมิตเห็นว่า หลวงพ่อสร้อยท่านได้กระโดดจากเตียง และได้กล่าวกับหลวงปู่หงษ์ว่า จะขอลาแล้ว ขอลามรณภาพจะได้ไหม ซึ่งหลวงปู่หงษ์ท่านก็นิ่งแล้วเดินทางกลับ ต่อจากนั้นวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2541 หลวงพ่อสร้อยได้เรียก พระลูกวัดที่อยู่ที่นั้นมารวมตัวกันและกล่าวว่า “ต่อไปเราจะไม่ได้เจอกันอีกแล้วนะ ให้ปฏิบัติตัวกันให้ดีขยันทำงาน มีอะไรก็ทำไป ให้ประหยัด และอดทนทุกคนนะ” ต่อมาวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2541 หลวงพ่อได้สั่งให้ลูกศิษย์ นับเงินที่ลูกศิษย์ร่วมกันมาทำบุญกับท่านเพื่อเตรียมเป็นค่าใช้จ่ายให้กับโรงพยาบาล ซึ่งทำความประหลาดใจและตกใจให้กับลูกศิษย์ของหลวงพ่อเป็นอย่างมาก เนื่องจากอาการของหลวงพ่อยังไม่หายและแถมอาการยังจะทรุดหนักขึ้นเรื่อย ๆ แต่หลวงพ่อจะออกจากโรงพยาบาล พอช่วงกลางคืนวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2541 หลวงพ่อได้สำลักเสมหะ ท่านได้เข้าสมาธิ ในช่วงเวลาตี 3 ถึง ตี 4 และพระทุกรูปได้ร่วมกันนั่งสมาธิภาวนาอยู่ที่หน้าห้องของหลวงพ่อจนถึงเวลา 07.19 น. ของวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2541 หลวงพ่อท่านได้ถึงมรณภาพลง สร้างความโศกเศร้าให้กับบรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายเป็นอย่างยิ่ง สิริอายุ 69 ปี เหลือไว้แต่คุณงามความดีของหลวงพ่อที่ทำไว้ และยังคงประทับอยู่ในหัวใจของลูกศิษย์ทุกๆคน



    เหตุการณ์และประสบการณ์ที่สำคัญของหลวงพ่อครูบาสร้อย

    1. ในช่วงออกเดินธุดงค์เข้าไปในป่าเขาดงกันดาลกับหลวงพ่อสุข วัดโพธิ์ทรายทอง ขณะที่เป็นสามเณรอยู่ ผจญกับฝูงควายป่าอย่างจัง ๆ แต่ก็พ้นอันตรายมาได้ด้วยพลังจิตของหลวงพ่อที่กล้าแข็งมาก และในช่วงที่ท่านธุดงค์มาอยู่ที่ป่าช้าร้าง ที่วัดมงคลคีรีเขตร์ ซึ่งตอนนั้นยังเป็นวัดร้างอยู่ ท่านมาปักกรดอยู่ที่โคนต้นตะเคียนในป่าช้าซึ่งเป็นที่ตั้งเผาศพของชาวมะตะวอ สมัยสามสิบกว่าปีที่แล้ว บ้านมะตะวะน่ากลัวมาก ยิ่งเมื่อตอนที่ท่านมาอยู่ใหม่ ๆ ท่านได้เคยโดนลองวิชาจากพวกที่เล่นคุณไสย์ดำ ขนาดเอาเลือดหมาดำมาสาดใส่ท่านเพื่อจะทำให้วิชาอาคมของท่านเสื่อม แต่ปรากฏว่าหลวงพ่อได้ใช้อำนาจพลังจิต พลังอิทธิอาคมของท่านป้องกันไว้ และไม่สามารถทำอันตรายท่านได้แม้แต่อย่างใด บางคืนชาวบ้านมะตะวอจะได้ยินเสียงผู้หญิงร้องไห้กันโหยหวน บางครั้งวิญญาณของหญิงสาวมานั่งอยู่ที่ต้นตะเคียนแต่หลวงพ่อไม่เคยหวาดหวั่นเกรงกลัวอันใด ท่านยังคงปฏิบัติบำเพ็ญเพียรศิลของท่านไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งชาวบ้านพากันมาอารธนานิมนต์ท่านให้มาอยู่ข้างบนวัด ในคืนก่อนที่ท่านจะไป จากโคนต้นตะเคียนที่ท่านพำนักปักกลดอยู่วิญญาณที่สิงสถิตอยู่ที่ต้นตะเคียนได้ส่งเสียงไห้อย่างโหยหวน เสียใจที่ท่านจะไป ตอนเช้าเมื่อท่านมาบิณฑบาตในหมู่บ้าน ชาวบ้านถามท่านว่า เมื่อคืนได้ยินเสียงคนร้องไห้ในป่าช้า ใครร้องไห้ หลวงพ่อตอบด้วยอาการสำรวมว่า “ต้นไม้ร้องไห้” พอท่านขึ้นมาอยู่ข้างบนวัด ต้นตะเคียนต้นนั้นก็หักโค่นลงทันทีในวันนั้น ซึ่งซากตะเคียนต้นนั้นยังอยู่มาจนทุกวันนี้ เมื่อหลวงพ่อมาอยู่ข้างบนวัดก็มีความวิตกอยู่ว่า บนวัดล้วนเต็มไปด้วยหินก้อนใหญ่มาก และจมอยู่ในดินลึกมาก จะทำอย่างไรดี ขณะที่ท่านนั่งคิดอยู่นั้น ก็ได้ปรากฏวิญญาณของหญิงสาว 2 คน นุ่งห่มผ้าสไบเฉียงนั่งพนมมืออย่างนอบน้อม บอกว่าเป็นวิญญาณที่ได้รักษาดูแลสถานที่นี้มาช้านานแล้ว จะมาช่วยสร้างวัด ขอให้ท่านสร้างวัดนี้ด้วย หลวงพ่อบอกว่า ท่านคงทำไม่ไหว เพราะเต็มไปด้วยก้อนหินใหญ่ ๆ ทั้งนั้น วิญญาณเจ้าที่ทั้งสองนางบอกท่านว่า ไม่ต้องกลัวหรอก ถ้าท่านจะทำก็จะให้ควายเหล็กมาขวิดเอาหินพวกนี้ออกไปให้เอง หลังจากนั้นเพียงไม่กี่สัปดาห์ก็ปรากฏว่าทางราชการได้เอารถไถไปไถเอาก้อนหินเหล่านั้นออกไปให้จนหมด เป็นควายเหล็ก ช่วยมาขวิดให้จริง ๆ

    2. เรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของท่านนั้นเป็นที่เลื่องลือกันมาช้านานที่บ้านมะตะวอ ซึ่งเป็นบ้านในท้องถิ่นที่กันดาร ติดกับชายแดนพม่า พื้นที่ตรงนั้นมักเกิดการสู่รบยิงถล่มกันอยู่เสมอ ระหว่างพม่ากับชาวกะเหรี่ยง เวลายิงกันผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนมากที่สุดก็คือชาวบ้านและเด็ก ๆ ทั้งหลายที่อาศัยอยู่ใกล้ ๆบริเวณ วัด เคยมีเด็กนักเรียนไปอาศัยหลบอยู่ใต้ถุนกุฏิของหลวงพ่อ ท่านจะไม่ยอมจำวัดไม่ยอมฉันอาหาร แต่ท่านจะกำหนดจิตเอาสายสิญจน์มาขึงล้อมรอบบริเวณวัดและบริเวณกุฏิของท่าน แล้วท่านจะเดินจงกลมรอบ ๆ นั้น ชาวบ้านมะตะวอทุกคนยืนยันกันว่า มีลูกระเบิดหลายลูกยิงเข้ามาตกในบริเวณวัด ระเบิดทุกลูกที่ตกลงมานั้นทุกลูกด้านหมด ไม่ระเบิดแม้แต่ลูกเดียว เหมือนสมัยสงครามโลกครั้งที่สองหรือสงครามอินโดจีน เครื่องบินพันธมิตรได้บอมประเทศไทยหลายจุด หลายแห่ง เกจิย์ฯ ชื่อดังหลายรูปในยุคนั้นมีด้วยกันหลายรูป ซึ่งบางรูปได้บริกรรมคาถา บางรูปใช้ธงโบกไม่ให้ลูกระเบิดตกลงในบริเวณวัดก็มี หรือตกลงในวัดลูกระเบิดด้านหมด แสดงว่าให้เห็นว่าหลวงพ่อครูบาสร้อย เป็นเกจิย์ฯ ที่ไม่ใช่ธรรมดารูปหนึ่งที่ สามารถสะกดลูกระเบิดได้เหมือนกัน

    3. เรื่องของหลวงพ่อถอดจิต ถอดกายทิพย์ ไปดูนรกสวรรค์ ได้เห็นคนที่ทำความผิด ทำบาปทำกรรมไว้มาก ก็ไปตกนรกวิญญาณถูกทรมาทรกรรมน่าสังเวชยิ่งนัก

    4. เรื่องโดนของ โดนคุณไสย์ โดนกระทำ บางคนเจ็บป่วยถึงตายก็มี มาหาหลวงพ่อ หลวงพ่อเคยใช้วิชาอาคมของท่านช่วยให้คนเหล่านั้นรอดพ้นจากอันตรายที่เกิดขึ้นมากมาย

    5. เรื่องโดนรุมยิง มีตำรวจท่านหนึ่งไปหาหลวงพ่อ หลวงพ่อทักว่าจะมีอันตราย และได้ให้วัตถุมงคลของท่านไปเพื่อป้องกันตัว ปรากฏว่ามีกลุ่มคนร้ายได้รุมยิงกระหน่ำรถตำรวจผู้นั้นจนรถพรุนไปหมด แต่ตำรวจท่านั้นกลับไม่เป็นอะไรเลย ด้วยอิทธิฤทธิ์อนุภาพอันศักดิ์สิทธิ์ของวัตถุมงคลของหลวงพ่อที่สามารถคุ้มครองป้องกันอันตรายจากคมกระสุนไว้ได้จริงๆ





    wt.jpg

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญครูบาสร้อยให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ

    ครูบาสร้อย.JPG ครูบาสร้อยหลัง.JPG
     
  9. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,212
    ค่าพลัง:
    +21,324
    ประวัติพอสังเขป
    พระมงคลวิสุต (หลวงปู่ครูบาดวงดี)



    1894322.jpg




















    บุญผู้เจริญรอยตามครูบาเจ้าศรีวิชัย ผู้เป็นพระอาจารย์

    หลวงปู่ครูบาดวงดี สุภทโท ถือกำเนิดที่บ้านท่าจำปี ตำบลทุ่งสะโตก อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นคนพื้นเพบ้านท่าจำปีมาแต่กำเนิด บิดามารดา เป็นชาวไร่ชาวนา โยมบิดาชื่อ พ่ออูบ โยมมารดาชื่อ แม่จั๋นติ๊บ (สมัยนั้นยังไม่มีการใช้นามสกุล) หลวงปู่ถือกำเนิดในแผ่นดินรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ตรงกับสมัยพ่อเจ้าอินทวิชยานนท์(เจ้ามหาชีวิต) เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๒๖ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๔๙ หลวงปู่มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๘ คน เป็นชาย ๔ คน เป็นหญิง ๔ คน หลวงปู่เป็นลำดับที่ ๗ และมีน้องสุดท้องชื่อแม่นิน

    เริ่มต้นชีวิตในผ้ากาสาวพัตร

    เมื่อหลวงปู่อายุได้ ๑๑ ปี ได้ติดตามพ่อแม่ไปทำบุญตักบาตรถวายภัตตาหารแด่ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย ซึ่งขณะนั้นท่านครูบาถูกทางการจังหวัดลำพูน นำตัวมากักขังบริเวณที่วัดพระธาตุเจ้าหริภุญชัย (วัดหลวงลำพูน) ในข้อหาเป็นพระอุปัชฌาย์เถื่อนไม่มีหนังสืออนุญาตบวชพระ เมื่อท่านครูบาเจ้าฯได้เห็นเด็กชายดวงดี ท่านก็มีเมตตาอย่างสูงเรียกเข้าไปหาพร้อมกับบอกพ่อแม่ว่า "กลับไปให้เอาไปเข้าวัดเข้าวา ต่อไปภายหน้าจะได้พึ่งพาไหว้สามัน" นับเป็นพรอันประเสริฐ ยิ่งในการที่ท่านครูบาเจ้าฯได้พยากรณ์พร้อมกับประสาทพรให้หลวงปู่ตั้งแต่ยังเด็ก
    หลังจากที่เดินทางกลับถึงบ้าน ไม่กี่วันต่อมา บิดาก็นำขันข้าวตอกดอกไม้ พร้อมกับนำตัวเด็กชายดวงดีไปถวายฝากตัวเป็นศิษย์(ขะโยม)ในท่านครูบาโปธิมา ซึ่งเป็นอธิการวัดท่าจำปี ใกล้ๆบ้านนั่นเอง ครูบาโปธิมาก็ได้พร่ำสอนหนังสือของทางการบ้านเมืองสมัยนั้น หลังจากสั่งสอนเด็กชายดวงดีจนพออ่านออกเขียนได้ ท่านครูบาโปธิมาก็ย้ายจากวัดท่าจำปีไปเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีบุญเรือง ห่างจากวัดท่าจำปีไปเล็กน้อย ท่าครูบาสิงหะ เจ้าอาวาสท่านต่อมาได้ให้เด็กชายดวงดีศึกษาเป็นขะโยม(เด็กในวัด) อยู่กับคณูบาสิงหะได้ไม่นาน ครูบาสิงหะก็มรณภาพ คงเหลือสามเณรสิงห์แก้วดูวัดท่าจำปีแทนและทำหน้าที่สั่งสอนลูกศิษย์ไปด้วย หลังจากทำบุญประชุมเพลิงครูบาสิงหะแล้วสามเณรสิงห์แก้วก็ลาสิกขาจึงทำให้วัดท่าจำปีร้างรกไม่มีเจ้าอาวาสติดต่อกันถึง ๓ ปี ในขณะที่วัดร้างรานั้น หลวงปู่หรือเด็กชายดวงดีขณะนั้นก็ทำหน้าที่ดูแลวัดอย่างที่เคยปฏิบัติมา เช่น ปัดกวาดกุฏิวิหาร จัดขันดอกไม้บูชาพระ ตักน้ำคนโท(น้ำต้น)ถวายพระพุทธรูปตลอดเวลา

    ต่อมาคณะศรัทธาวัดท่าจำปี ได้อาราธนานิมนต์ท่านครูบาโสภามาเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าจำปี เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่จึงได้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะตำบลทุ่งสะโตกอีกตำแหน่งด้วย ทำให้วัดท่าจำปีเกิดความสำคัญขึ้นมาอย่างยิ่ง เพราะนอกจากท่านครูบาโสภณจะเป็นเจ้าคณะตำบลแล้ว ท่านยังเป็นพระสหธรรมมิกที่มีอายุพรรษารุ่นราวคราวเดียวกันกับม่านคณุบาศีลธรรมศรีวิชัย มีผู้คนเคารพนับถือมากมายถึงกับขนานนามท่านว่า "ตุ๊เจ้าตนบุญตนวิเศษแห่งล้านนา" จริงๆ เพราะท่านมีบุญญาอภินิหารปรากฏแก่สายตาคนทั้งหลาย ซึ่งเป็นที่ร่ำลือถึงเหตุการณ์ต่างๆอย่างไม่ลดละตราบจนทุกวันนี้

    หลังจากเด็กชายดวงดีศึกษาภาษาพื้นเมืองได้คล่องแคล่ว อายุได้ ๑๓ ปีพอดีท่านครูบาโสภาจึงนำเด็กชายดวงดีไปปรึกษากับท่านครูบาศรีวิชัย ซึ่งขณะนั้นท่านได้ขึ้นมาบูรณะปฏิสังขรณ์ทางเมืองเชียงใหม่ พ.ศ.๒๔๖๒ ท่านครูบาศรีวิชัยมีความพอใจเด็กชายดวงดีมาก ท่านครูบาโสภาก็เล่าเรื่องการบวชเณรให้ท่านครูบาศรีวิชัยฟัง ท่านก็บอกกับครูบาโสภณว่า "ถ้าบวชพระแล้วก็หื้อขึ้นมาจำพรรษาอยู่วัดพระสิงห์นี่แหละ จะได้เป็นเพื่อนกับนายสิงห์ดำ" (ซึ่งเป็นหลานแท้ๆของท่านครูบาศรีวิชัย)ซึ่งมีหน้าที่ปลงเกศาให้กับท่านครูบาศรีวิชัย

    ครั้นหลวงปู่ดวงดีบรรพชาเป็นสามเณรแล้วโดยมีท่านครูบาโสภาเป็นพระอุปัชฌายะบรรพชา ได้ไม่กี่วันก็ส่งตัวเข้ามาในเมืองเชียงใหม่ อยู่จำพรรษาและช่วยเหลือท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย คอยปฏิบัติพัดวีตามอาจาริยวัตรที่ครูบาอาจารย์ในยุคสมัยนั้นสั่งสอน ไหว้พระสวดมนต์ นั่งกรรมฐาน บูชาขันดอกไม้ และช่วยเหลืองานก่อสร้างต่างๆ ซึ่งในขณะนั้นท่านครูบาเจ้าศริวิชัยต้องเดินทางไปทุกหนทุกแห่ง เพื่อสร้างสรรค์บูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุ วัดวาอารามต่างๆทุกจังหวัดในภาคเหนือ เมื่อหลวงปู่ดวงดีอายุครบ ๒๑ ปี จึงได้กลับไปนมัสการพระอาจารย์ท่านครูบาโสภาที่วัดท่าจำปีเพื่อปรึกษาเรื่องอุปสมบทเป็นพระภิกษุ จากนั้นท่านครูบาโสภาจึงได้เดินทางไปขออนุญาตกับครูบาเจ้าศรีวิชัย เรื่องส่งมาจำพรรษาอยู่กับท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยเหมือนเดิม

    ลุ วันอาทิตย์ เดือน ๖ เหนือ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีเมืองเหม้า(ปีเถาะ) ตรงกับวันที่ ๑๒ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๔๗๐ สามเณรดวงดีจึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาอย่างสมบูรณ์ โดยมีท่านครูบาโสภาเป็นพระอุปัชฌายะ ท่านครูบาธัมมะเสน วัดดอนบินเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และท่านพระครูปัญญา วัดมะกับตองหลวง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ณ พระอุโบสถวัดสารภี ตำบลทุ่งรวงทอง กิ่งอำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ได้นามฉายาว่า "สุภทโท" หลังจากอุปสมบทแล้ว หลวงปู่ดวงดีก็เดินทางไปอยู่จำพรรษากับท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยเช่นเดิม โดยเป็นกำลังสำคัญในการปฏิบัติอุปฐากบำรุง
    ช่วงของการปฏิสังขรณ์วัดท่าจำปีในเวลาของหลวงปู่

    ในขณะที่หลวงปู่อยู่จำพรรษากับท่าครูบาเจ้าศรีวิชัยนับตั้งแต่เป็นสามเณรใหม่ๆนั้นและเดินทางปฏิบัติเล่าเรียนอยู่กับท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยนั้น ท่านอายุได ๒๘ ปี เป็นช่วงที่ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยต้องอธิกรณ์ข้องกล่าวหาต่างๆนาๆ เช่นการบุกรุกป่าสงวน ซ่องสุมผู้คน ตั้งตนเป็นผีบุญ จนถึงกับถูกจับส่งตัวไปตัดสินความที่กรุงเทพฯ เนื่องจากถูกกลั่นแกล้ง ซึ่งเรื่องนี้ทำให้เกิดเหตุการณ์ใหญ่โต เมื่อคณะสงฆ์ในเขตปกครองแขวงบ้านแมง (อ.สันป่าตอง)ขอลาออกจากการปกครองเมืองเชียงใหม่ถึง ๖๐ วัด ท่านครูบาโสภาวัดท่าจำปี ท่านครูบาปัญญา วัดท่ากิ่งแลหลวง ก็ถูกไต่สวนจนต้องนำคณะศิษย์หนีหนีไปแสวงบุญก่องสร้างวิหานพระพุทธบาทฮังฮุ้ง ในเขตประเทศพม่าจนไม่ยอมกลับมาอีกเลย บรรดาลูกศิษย์ลูกหาของท่านครูบาศรีวิชัยต้องแยกย้ายกันไปแสวงบุญคนละทิศละทาง คงค้างแต่ท่านครูบาขาวปีทำหน้าที่ดูแลวัดสิงห็ และเป็นหัวแรงในการก่อสร้างวัดวาอารามที่ค้างไว้

    ลุ พ.ศ. ๒๔๘๐-๒๔๘๑ ท่านครูบาศรีวิชัยถูกชำระความพ้นผิดเดินทางกลับเมืองลำพูนอยู่ได้ไม่นาน ก็ถึงแก่มรณภาพที่วัดจามเทวี เมื่ออายุได้ ๖๑ ปี ๕ เดือน กับ ๒๑ วัน ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่ดวงดีอายุได้ ๓๒ ปี หลวงปู่ได้เดินทางไปก่อสร้างวัดวาอารามเจริญรอยตามท่านครูบาศรีวิชัยผู้เป็นพระอาจารย์ หลังจากนั้นก็ติดตามครูบาเจ้าอภิชัยผ้าขาวปีมาสร้างวิหารวัดท่าจำปี
    ลุ พ.ศ.๒๔๘๔ ขณะพลวงปู่อายุได้ ๓๕ปี หลังจากถวายพระเพลิงปลงศพท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยเสร็จแล้วนั้น ท่านครูบาเจ้าอภิชัยผ้าขาวได้เชิญอัฐิธาตุของท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยส่วนที่เป็นกระโหลกเท่าหัวแม่มือส่วนหนึ่งหลวงปู่นำมาเก็บรักษาสักการะบูชาจนถึงทุกวันนี้ หลวงปู่ได้อยู่ช่วยครูบาอภิชัยผ้าขาว สร้างอนุสาวรีย์บรรจุอัฐิธาติของท่าครูบาเจ้าศรีวิชัยทั้งที่วัดสวนดอกและวัดหมื่นสารแล้ว ก็รับขันดอกนิมนต์จากคณะศรัทธาป่าเมี้ยงป๋างมะกล้วย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ไปสร้างวัดป่าเมี้ยงป๋างมะกล้วย เนื่องจากอารามอยู่ในป่าดง เหมาะที่จะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานซึ่งถูกกับจริตวิสัยของหลวงปู่เป็นอย่างยิ่ง หลวงปู่อยู่ปฏิบัติกรรมฐานที่วัดนี้นานถึง ๗ ปี ท่านครูบาโสภาก็ขอให้หลวงปู่ลงมาก่อสร้างวัดท่าจำปีต่อจากท่าน เนื่องจากวัดท่าจำปีมีศรัทธาญาติโยมน้อยเพียง ๒๐ หลังคาเรือนเท่านั้น

    หลวงปู่เดินทางกลับมาก่อสร้างวัดท่าจำปี ขณะนั้นอายุได้ ๔๒ ปีได้รับตำแหน่งเจ้าคณะตำบลทุ่งสะโตกจากท่านครูบาโสภาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แม้ว่าหลวงปู่จะมีตำแหน่งหน้าที่ทางการคณะสงฆ์ก็ตาม ท่านก็มิได้ละเลยข้อวัตรปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งท่านมีความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว ในระหว่างที่มาดำรงค์ตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อจากท่านครูบาโสภา หลวงปู่ก็มิได้สร้างแต่เฉพาะวัดท่าจำปีเท่านั้น ทุกวัดในละแวกเดียวกันหลวงปู่ก็ช่วยเหลือเป็นแรงสำคัญไม่ว่าถนนหนทาง อุโบสถ วิหาร เจดีย์ สะพาน หรือแม้แต่โรงเรียน โรงพยาบาล หลวงปู่ก็ให้ความอุปถัมภ์บำรุง แม้กระทั่งวัดในเขตอำเภอสันป่าตอง หรือต่างอำเภอ หรือต่างจังหวัด จนไม่สามารถนำมาบรรยายได้ทั้งหมด
    http://www.krubaduangdee.com/history.htm

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญครูบาดวงดี ปี ๒๕๒๘ ออกแบบสวย ยุคต้นๆของท่านชื่อมงคล
    ให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ

    ครูบาดวงดี.JPG ครูบาดวงดีหลัง.JPG
     
  10. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,212
    ค่าพลัง:
    +21,324

    large_kitti29.jpg
    ทุกๆปีจะมี กิจนิมนต์ ไปสอนวิปัสสนา ที่วัดพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี


    หลวงพ่อ กิตติศักดิ์ กิตติสาโร เจ้าอาวาสวัดป่าหนองหลุบ
    นามเดิม ภุชงค์เฉลิมศักดิ์ ผิวเหลือง
    บิดา นายณรงค์ ผิวเหลือง
    มารดา นางทองถิน ผิวเหลือง ตอนหลังได้ บวชชี จนสิ้นชีวิตเมื่อปี ๒๕๕๒ อายุ ๙๑ ปี
    สถานที่เกิด บ้านหนองหลุบ ต.บ้านทุ่ม อ. เมือง จ. ขอนแก่น
    เมื่อวันจันทร์ ที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๔๘๘ ตรงกับ วันขึ้น ๙ ค่ำ ปีระกา เดือน ๑๑ เวลาราว ๐๖.๐๐ น. ช่วงเช้าขณะพระบิณฑบาตถึงหน้าบ้านพอดี
    ///การศึกษาทางโลก///
    เรียนถึงมัธยมศึกษาปีที่ ๘ สมัยเก่า แต่สอบผ่านไม่ได้ ที่โรงเรียนขอนแก่นวิทยายนซึ่งเป็โรงเรียนประจำ จังหวัดขอนแก่น
    การทำงานเมื่อก่อนเป็นนักดนตรีเพราะชอบเล่นกีตาร์ ร้องเพลงเองได้ เมื่อสมัยเป็นนักเรียน ได้เล่นดนตรีตามบาร์ฝรั่ง(สแนคบาร์) ไนท์คลับ เขียนเพลงขายบ้าง เพราะได้ศึกษา โน้ตสากล
    หากแต่ป่วยบ่อยๆ เคยถูกผ่าตัด กลัวตายจึงตัดสินใจออกบวชเพราะอยากบวชมานานแล้ว ก่อนที่จะออกบวชเป็นผู้ที่ชอบนั่งสมาธิ ศึกษาธรรมะและประวัติพระเถระ ในอดีตชอบปฏิปทาพระธุดงค์มาก เวลานอนหลับก็ฝันว่าบวชบ่อยมาก เมื่อตอนเด็กๆเคยฝันว่าเป็นพระเหาะลงมาจากสวรรค์ในท่านั่งสมาธิ มาพร้อมกันสามองค์ ยังจำได้ไม่เคยลืม
    ///สถานที่บวช///
    บวชที่วัดพระธาตุเสด็จ ต.เสด็จ อ. เมือง จ. ลำปาง โดยมีพระครูวิมลปัญญา เป็นพระอุปัชฌาย์ (มรณภาพแล้ว) พระครูคำอ้ายสุภทฺโท เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ขณะนี้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุเสด็จ พระอินสม จนฺทโชโต เป็นพระอณุสาวนาจารย์
    วันที่บวชบวชในวันอาสาฬหบูชา เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๒๔ เวลา ๑๒.๐๔ น. อายุ ๓๖ ปี อยู่จำพรรษาที่วัดพระธาตุเสด็จ ๑ พรรษา
    เมื่อออกพรรษาแล้วลาหลวงพ่อเจ้าอาวาส ออกศึกษาธรรมทางภาคเหนือ เช่น หลวงปู่สิมพุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง หลวงปู่ครูบาธรรมไชย ครูบาไชยวงษา ที่อำเภอลี้ จ.ลำพูน แล้วลงภาคกลาง ศึกษากับหลวงพ่อฤาษีวัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี
    หลังจากนั้นเข้าศึกษาวิปัสสนาที่วัดมหาธาตุกับท่านเจ้าคุณลุง (พระธรรมธีรราชมหามุนี) พระอาจารย์ใหญ่ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ อยู่นานถึง ๘ เดือน แล้วลาท่านเข้าจำพรรษาที่เกาะสีชัง ๑ พรรษา อยู่องค์เดียวทางเชิงเขาด้านเกือบติดทะเล

    https://www.gotoknow.org/posts/438483 ประวัติโดยละเอียดเข้าไปอ่านได้ครับ พระปฎิบัติดีปฎิบัติชอบ

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญหลวงพ่อกิตติศํกดิ์ วัดป่าหนองหลุบ มี2เหรียญ
    (ปิดรายการ)

    ลพ.กิตติศักดิ์.JPG ลพ.กิตติศักดิ์หลัง.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤศจิกายน 2019
  11. Karoonsur

    Karoonsur Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2018
    โพสต์:
    412
    ค่าพลัง:
    +211
    จองครับ
     
  12. Karoonsur

    Karoonsur Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2018
    โพสต์:
    412
    ค่าพลัง:
    +211
    จองครับ
     
  13. Karoonsur

    Karoonsur Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2018
    โพสต์:
    412
    ค่าพลัง:
    +211
  14. Karoonsur

    Karoonsur Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2018
    โพสต์:
    412
    ค่าพลัง:
    +211
  15. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,212
    ค่าพลัง:
    +21,324
    upload_2019-5-26_22-16-41.jpeg
    https://palungjit.org/threads/หลวงปู่สาย-วัดดอนกระต่ายทอง-จ-อ่างทอง-พระอภิญญาเสกพระจนไฟลุกจากมือ-ประชาชนเห็นกัน-ลือไปทั้งบาง.176134/

    สิ้นเกจิดังลุ่มน้ำเจ้าพระยา!!หลวงปู่สาย มรณภาพอย่างสงบภายในกุฏิวัดดอนกระต่ายทอง เมืองอ่างทอง ?ไวยาวัจกร? เผยเห็นหลวงปู่ ฉันอาหารเสร็จเข้าไปจำวัดก่อนจะสิ้นลม ระบุเป็นพระที่มีวิชาอาคม จนทำให้มีลูกศิษย์มากมาย ขณะน้องสาว บอกเป็นพระที่มีความเมตตาไม่เคยบ่น หรือต่อว่าใคร

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อเวลา 08.30 น. วันที่ 12 ธ.ค. หลวงปู่สาย ขันติโก หรือ พระครูสุนทร ขันติคุณ เจ้าอาวาสวัดดอนกระต่ายทอง ตั้งอยู่หมู่ 1 ต.ราชสถิตย์ อ.ไชโย จ.อ่าง ทอง วัย 92 ปี พรรษา 74 ได้มรณภาพด้วยอาการสงบภายในกุฏิ เมื่อไปตรวจสอบพบบรรดาลูกศิษย์จำนวนมากกำลังเคารพศพ และกรรมการวัด รวมทั้งชาวบ้านกำลังจัดเตรียมสถานที่ในการจัดพิธีอาบน้ำศพ ซึ่งจากการสอบถาม นายดำรงชัย ภู่ขาว อายุ 54 ปี ไวยาวัจกรวัด กล่าวว่า หลวงปู่ป่วยด้วยโรคชรามาประมาณ 3 เดือน โดยก่อนที่ท่านจะมรณภาพเมื่อเวลา 07.30 น. ยังสามารถฉันอาหารได้ จากนั้นจึงเข้าจำวัดแล้วมรณภาพไปอย่างสงบโดยไม่มีการเจ็บปวดแต่อย่างใด

    ด้าน นางสำราญ กลิ่นขจร อายุ 80 ปี น้องสาว กล่าวว่า หลวงปู่สายเป็นพระที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ที่มีลูกศิษย์มากมาย โดยเฉพาะข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ทั่วประเทศ ซึ่งท่านเป็นพระที่มีความเมตตามากน้อยคนนักที่จะโดนดุด่า สำหรับพิธีการคณะพระชั้นผู้ใหญ่กำลังประชุมการจัดงานกันอยู่

    สำหรับหลวงปู่สาย หรือพระครูสุนทร ขันติคุณ นั้น เดิมชื่อ สาย จีพขจร เกิดเมื่อ 19 ก.พ. 2459 เป็นบุตรของนายพลอย จีพขจร และนางสิน จีพขจร อุปสมบทเมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2477 ที่วัดสกุณาราม อ.ไชโย เป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อซวง วัดชีปะขาว จ.สิงห์บุรี โดยหลวงปู่ได้สืบสายวิชาอาคมพลังพุทธคุณ จาก อดีตเจ้าอาวาสวัดดอนกระต่ายทอง ซึ่งเป็นลูกศิษย์สายของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) มีชื่อเสียงในเรื่องคาถาอาคม และยังเป็นพระนักพัฒนา ทำให้มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ซึ่งตลอดเวลาที่อยู่ในร่มกาสาวพัสตร์ หลวงปู่ไม่เคยบ่นหรือต่อว่าใคร มีแต่ให้อย่างเดียว

    ส่วนวัตถุมงคลที่หลวงปู่ได้ทำการจัดสร้างขึ้นมีมากมายหลายรุ่น อาทิ เหรียญพุทธซ้อนบัลลังก์พุทธคุณ, มีดหมอ บรมครู 95, ผงพุทธคุณ 9, ผงมหาพุทธาคม, เกศาหลวงปู่สาย อานุภาพ, ตะกรุดใบลาน, พระธาตุข้าว, พระธาตุสีวลี, พระธาตุปัจเจกพุทธเจ้า และ เหรียญเฮง.

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญหลวงปู่ปั้น สมเด็จโตหลวงปู่สายวัดดอนกระต่ายทองเสก วัตถุมงคลเหรียญยุคแรกก่อน เหรียญรุ่นแรกขององค์หลวงปู่สายเอง
    ให้บููชา เหรียญละ 150 บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ(ปิดรายการ)

    ลป.สาย.jpg ลป.สายหลัง.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤษภาคม 2019
  16. ลืมจัง

    ลืมจัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    326
    ค่าพลัง:
    +821
    จองครับ
     
  17. wangbao

    wangbao Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2018
    โพสต์:
    190
    ค่าพลัง:
    +151
    ได้รับพระเรียบร้อยแล้วครับ
    ขอบคุณมากครับ
     
  18. wangbao

    wangbao Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2018
    โพสต์:
    190
    ค่าพลัง:
    +151
    ขออนุญาตจองครับ
     
  19. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,212
    ค่าพลัง:
    +21,324
    a.jpg

    จากหนังสือพระอภิญญา (ในเครือโลกทิพย์) เล่ม 10 ตีพิมพ์เมื่อ 10 กรกฏาคม 2529 เขียนโดยคุณ ชิณะ สิงขรต้องขอขอบคุณมาไว้ ณ ที่นี้

    เกิดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ.2456
    บิดาของท่านชื่อ นายสน มารดาชื่อ นางนาค นามสกุล ตรวจนอก
    วัยเด็กเรียนหนังสืออยู่ที่โรงเรียนวัดบ้านใหม่ จนกระทั่งอ่านออกเขียนได้
    เมื่ออายุครบบวชก็ทำการอุปสมบท ที่วัดบ้านใหม่(กลอ) เมื่อวันที่ 7 กรกฏาคม พ.ศ. 2478
    โดยมีท่านพระ ปลัดแจ้งเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์อยู่เป็นอนุสาวนาจารย์ พระอาจารย์เปียเป็นพระกรรมวาจาจารย์(ประวัติตรงนี้ไม่ตรงกับหนังสือพระยอดนิยมภาคอีสาน ชุด วัฒนธรรมขอม ... มรดกพระเครื่อง)
    เมื่อท่านบวชแล้วท่านก็มุ่งหน้าเสาะหาครูบาอาจารย์ ปรมาจารย์สององค์แรก ก็มี หลวงพ่อเมฆ หลวงพ่อคง(บางเล่มก็บอกหลวงพ่อคง วัดตะคร้อ) ซึ่งอยู่ที่วัดบ้านใหม่นั่นเอง
    จากนั้นท่านก็ไปขอเรียนวิชากับพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม แม่ทัพธรรมสายหลวงปู่มั่น หลวงพ่อรอด วัดพะเนา หลวงพ่อปุก วัดพุทธา ที่สำคัญก็คือ หลวงพ่อสอน วัดเสิงสาง ผู้มีอำนาจจิตอันแก่กล้า
    หลังจากที่ได้เรียนวิชากับครูบาอาจารย์ต่างๆ ท่านได้กลับมาจำพรรษาที่วัดบ้านใหม่ จนกระทั่งได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส
    เสียดายที่ว่าหนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นก่อนท่านมรณภาพ จึงไม่ได้บันทึกวันมรณภาพของท่านไว้ จากความทรงจำเลาๆ ของผมเอง ท่านน่าจะมรณภาพประมาณปี 2531 -2532
    ข้างล่างคือปาฏิหารย์บางส่วนของท่านที่เล่าไว้ในหนังสือเล่มนี้

    สิ่งหนึ่งที่หลวงพ่อสังข์ ถืออย่างเคร่งครัด ก็คือห้ามกินเหล้าในวัดอย่างเด็ดขาด แต่ก็ยังมีคนลองดีจนได้
    ในวันหนึ่งขณะที่มีงานฉลองวัดบ้านใหม่ มีชายผู้หนึ่ง ชื่อนายสด มากับคณะกลองยาวที่มาในงานวัด
    นายสดเป็นคนอวดดี รู้ว่าวัดนี้หลวงพ่อห้ามไม่ให้กินเหล้าในวัด กลับดื้อรั้นชวนเพื่อนนั่งกินเหล้าอยู่ข้างอุโบสถ
    แต่พอนายสดกับเพื่อนกินเหล้าได้ไม่ทันหมดแก้ว ทั้ง2 คนกลับมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ถึงกับต้องหามส่งโรงพยาบาล
    ทางโรงพยาบาลตรวจแล้วไม่พบสาเหตุอะไร นายสดสำนึกได้ว่าคงเป็นเพราะเขาไปฝืนข้อห้ามของหลวงพ่อ เขาจึงจุดธูปขอขมาลาโทษ
    หลังจากจุดธูปยังไม่หมดดอกดีนัก อาการปวดท้องกลับหายเป็นปลิดทิ้ง
    รถคว่ำหลวงพ่อออกมานั่งยองๆอยู่ข้างถนน

    ประมาณปี 2516 ท่านคิดจะทำเหรียญไว้แจกญาติโยม ท่านจึงชวน ท่านผู้ใหญ่บ้าน สมศักดิ์ เข็มสร่าง นั่งรถปิคอัพไปกรุงเทพฯ เพื่อสั่งทำเหรียญ โดยมีพระลูกศิษย์ติดตามไป 1 คน
    ตอนขากลับจากกรุงเทพฯ ท่านให้พระลูกศิษย์นั่งข้างหน้ากับผู้ใหญ่บ้านที่เป็นคนขับ ส่วนท่านขอนั่งข้างหลัง
    พอรถวิ่งเลยนครราชสีมา เลยบ้านจอหอไปประมาณ 6 กิโลเมตร เหลือระยะทางไม่ถึง 20 กิโลเมตรจะถึงวัด ผู้ใหญ่สมศักดิ์ เกิดหลับใน วูบไปไม่ทันรู้ตัว ทำให้รถเสียหลักแฉลบพลิกลงข้างทาง
    รถพลิกคว่ำ 3 ตลบ จึงสิ้นฤทธิ์ เมื่อได้สติทุกคน ก็ถามถึงหลวงพ่อว่าหลวงพ่อจะเป็นอย่างไรบ้าง พอเปิดประตูได้ก็วิ่งย้อนหลังไปดูกัน
    ปรากฏว่าพบหลวงพ่อนั่งยองๆ อยู่ข้างทางอย่างสบายใจ ผู้ใหญ่ตรงเข้าไปกราบ พร้อมละล่ำละลักขอโทษ
    ท่านก็หัวเราะ "อาตมาไม่เป็นไรหรอก กลับวัดกันเถอะ"
    วันนั้นทุกคนไม่มีใครบาดเจ็บเป็นอะไร รถก็ไม่เสียหายมากขับกลับวัดมาได้ปกติ
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญหลวงพ่อสังข์ วัดบ้านใหม่กลอ ปี2530
    ให้บููชา 300 บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ

    ลพ.สังข์.jpg ลพ.สังข์หลัง.jpg
     
  20. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,212
    ค่าพลัง:
    +21,324
    upload_2019-5-27_20-27-44.jpeg

    https://palungjit.org/threads/หลวงปู่คร่ำ-วัดวังหว้า-ศิษย์-หลวงปู่ทิม-วัดระหารไร่.537732/
    ลวงปู่มีนามเดิมว่า “คร่ำ” นามสกุล “อรัญวงศ์” เกิดเมื่อวันพุธ แรม 10 ค่ำ เดือน 11 ปีระกา ตรงกับวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2440 ที่บ้านวังหว้า ตำบลวังหว้า อำเภอแกลง จังหวัดระยอง โยมบิดาชื่อนายครวญ อรัญวงศ์ โยมมารดาชื่อ นางต้อย อรัญวงศ์ เป็นบุตรคนโต มีน้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 3 คน เป็นชาย 2 หญิง 1

    เมื่อครั้งเยาว์วัย อายุได้ 11 ขวบ...บิดานำไปฝากวัดวังหว้าเพื่อรับการศึกษาตามประเพณีนิยมสมัยนั้น กล่าวคือเรียนอักษรสมัยในแบบ ปฐม ก กา และศึกษาหนังสือขอมจนมีความสามารถอ่านเขียนได้เป็นอย่างดี

    อายุครบ 20 ปี ได้อุปสมบท ในวันจันทร์ แรม 7 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 11 มิถุนายน 2460 ได้รับฉายาว่า “ยโสธโร” แปลว่า ...ผู้ทรงไว้ซึ่งยศ โดยมีพระครูสังฆการบูรพทิศ (ปั้น อินทสโร) เป็นพระอุปัชฌาย์

    “หลวงปู่คร่ำ”...ได้มรณภาพในวันจันทร์ ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 1 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 1 ธันวาคม 2540 เวลา 14.20 น. ด้วยอาการสงบ ณ โรงพยาบาลสมิติเวชศรีราชา รวมอายุได้ 100 ปี 41 วัน

    วิชาร่ำเรียนสั่งสม จนได้ชื่อว่าเป็นพระนักปฏิบัติ อีกทั้งยังตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัยจนสอบได้ประโยคนักธรรมโท บวกกับความเพียรพยายามค้นคว้าตำรับตำราวิชาการต่างๆ แล้วก็ได้เดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อเล่าเรียนพระกรรมฐานและวิทยาคุณกับหลวงพ่อโต วัดเขาบ่อทอง หรือวัดเขาชากโดน
    หนึ่งในพระอาจารย์ดังในด้านสมถะ วิปัสสนากรรมญาณ มีจิตตานุภาพ วิทยาคมเข้มขลัง เป็นที่เล่าลือกันมากในยุคสมัยนั้น ครั้นเล่าเรียนสำเร็จตาม ความมุ่งหมายใจปรารถนาได้กราบลาอาจารย์ออกจาริกธุดงค์เพื่อทดสอบกำลังใจ ฝึกฝนจิตให้ก้าวหน้า ใช้เวลาอยู่นานพอสมควรก็กลับวัดวังหว้า

    คำสอน “หลวงปู่คร่ำ”...ตราตรึงอยู่ในใจผู้ฝักใฝ่ในธรรม ยึดมั่นถือมั่นในหลักคุณธรรมแห่งความดีงาม ภายใต้ร่มกาสาวพัสตร์ท่านได้ปฏิบัติตนเป็นผู้สำรวมในศีลอย่างยิ่งยวด เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเหล่าบรรดาศิษย์หลากหลายสาขาอาชีพ...หลากหลายฐานะ ได้ยึดถือปฏิบัติเป็นตัวอย่าง

    “มนต์ หลวงปู่เฮี้ยน” หนึ่งในเรื่องเล่าลือเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์ ย้อนไปราว 24 ปีที่แล้ว ยุคสมัยที่รัฐบาลจะตั้งกระทรวงแรงงานฯขึ้นมาใหม่ จำเป็นต้องมีเจ้ากระทรวง บรรดา ส.ส. ผู้ทรงเกียรติก็ต่างตั้งความหวังที่จะได้เป็นเจ้ากระทรวงใหม่นี้กันสักครั้ง ก่อนหน้าที่จะมีการประกาศรายชื่อไม่กี่วัน นายเสริมศักดิ์ การุณ ส.ส.ระยอง กับ นายไพฑูรย์ แก้วทอง ส.ส.พิจิตร ก็ได้พากันไปกราบหลวงปู่คร่ำ

    ให้....หลวงปู่ฯเจิมหน้าผาก รดน้ำมนต์ เป่ากระหม่อม

    หลังจากนั้น...ไม่กี่วัน หนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ไทยรัฐก็พาดหัวข่าวหน้าหนึ่งเลยว่า “มนต์หลวงปู่เฮี้ยน...” ปรากฏว่า ส.ส.ทั้งสองท่านได้เป็นรัฐมนตรี

    อีกเรื่อง...ครั้งหนึ่งในการแต่งตั้งอธิบดีกรมตำรวจ มรสุมชีวิต พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ รุมเร้า ก็ได้ไปรดน้ำมนต์ เป่ากระหม่อมเช่นกัน ปรากฏว่า...เมื่อผลการแต่งตั้งออกมาได้ตำแหน่งมาจริงๆอย่างไม่น่าเชื่อ

    “มนต์หลวงปู่เฮี้ยน...” ก็ยิ่งเฮี้ยนเข้าไปใหญ่ ตอกย้ำบารมี ความศรัทธายิ่งนัก

    ใครๆต่างก็รู้กันว่าหลวงปู่คร่ำ...เป็นพระที่มีจิตใจเมตตาแก่ผู้ตกทุกข์ได้ยาก โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคกระดูกเรื้อรัง ท่านจะใช้น้ำมันมนต์รักษา...คนที่ขา แขน กระดูกส่วนอื่นหัก ต่อให้หายมาแล้วมากมาย

    หลวงปู่คร่ำเป็นพระสงฆ์ร่วมยุคพระอาจารย์ทิม ธัมมธโร วัดช้างให้, หลวงปู่ศรีจันทร์ วัดเลยหลง จ.เลย, หลวงปู่ม่น วัดเนินตามาก อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี, หลวงปู่บุดดา วัดกลางชูศรีเจริญสุข, หลวงพ่อ แพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี, หลวงพ่อเกษม เขมโก จ.ลำปาง, หลวงปู่จู วัดเขียนเขต จ.ปทุมธานี

    เกจิเชี่ยวชาญวิทยาคม วัตถุมงคลที่โด่งดัง ได้รับความนิยม อาทิ ผ้ายันต์พัดโบก ผ้ายันต์แม่ทัพ น้ำมันนเรศวรออกศึก น้ำมันจอมพล ตะกรุด เหรียญ พระเครื่องรุ่นต่างๆ

    “ศรัทธา” นำมาซึ่ง “ปาฏิหาริย์” ถ้ามีโอกาสเชิญแวะไปพิสูจน์ศรัทธากันด้วยตัวเอง
    https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/1019596
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญหลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า ระยอง
    ให้บููชา100 บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ(ปิดรายการ)

    ลป.คร่ำ.jpg ลป.คร่ำหลัง.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤษภาคม 2019

แชร์หน้านี้

Loading...