เหรียญชินราชคุ้มเกล้า หลังภปร.พ.ศ. 2521

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Jumbo A, 8 พฤษภาคม 2019.

  1. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,211
    ค่าพลัง:
    +21,324
    ประวัติหลวงพ่อยิด จันทสุวัณโน วัดหนองจอก


    upload_2019-5-27_20-32-17.jpeg

    ประวัติ พระครูนิยุตธรรมสุนทร (หลวงพ่อยิด)

    พระครูนิยุตธรรมสุนทร มีนามเดิมว่า ยิด นามสกุล สีดอกบวบ เกิดที่บ้านดอนหัวกรวด ตำบลนาพันสาม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี จากใบสุทธิระบุว่าท่านกำเนิดเมื่อวันที่อังคาร ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 7 ปีชวด ตรงกับวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2467 แต่จากปากคำของท่านเล่าว่า ท่านเกิดวันจันทร์ ปีชวด พ.ศ. 2460 โยมบิดาชื่อ แก้ว โยมมารดาชื่อ พร้อย มีพี่น้องรวม 7 คน ท่านเป็นบุตรชายคนที่ 4




    ในวัยเยาว์ โยมบิดา-มารดาได้นำไปฝากเรียนหนังสือกับ หลวงพ่อหวล วัดนาพรม ที่มีศักดิ์เป็นน้าของท่าน จนมีอายุได้ 9 ขวบ จึงได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดนาพรม โดยมีหลวงพ่อหวล เป็นพระอุปัชฌาย์ ศึกษาอักขระสมัย อักขระขอม เลขยันต์ และแพทย์แผนโบราณ ภายหลังหลวงพ่อหวลได้พาไปฝากศึกษาต่อกับ หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เพื่อศึกษาด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน


    พออายุได้ 14 ปี ท่านได้ลาสิกขาบทออกมาช่วยโยมบิดา-มารดาประกอบอาชีพ เพราะครอบครัวย้ายไปประกอบอาชีพที่อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ขณะนั้นครอบครัวของท่านมีความลำบากยากจน ท่านจึงต้องช่วยครอบครัวประกอบอาชีพ....




    อายุได้ 20 ปี จึงได้บรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดนาพรม โดยมี หลวงพ่ออินทร์ วัดยาง (เจ้าคณะจังหวัดเพชรบุรีในขณะนั้น) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อหวล วัดนาพรม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอาจารย์พ่วง วัดสำมะโรง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา จนฺทสุวณฺโณ แปลว่า ผู้มีวรรณะดุจพระจันทร์


    ขณะบวชนั้น ท่านได้เดินทางไปศึกษาด้านวิปัสสนากัมมัฏฐานกับหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง ต่อมาโยมบิดาของท่านได้เสียชีวิตลง ท่านจึงลาสิกขาเพื่อกลับไปดูแลโยมมารดาและครอบครัว ภายหลังท่านได้แต่งงานมีครอบครัวกับนางธิต มีบุตรด้วยกัน


    แต่ด้วยจิตใจที่ใฝ่ทางธรรมและเห็นว่าบุตรของท่านเติบใหญ่เลี้ยงตนเอง ได้ ครอบครัวอยู่กินได้อย่างไม่เดือนร้อน ท่านจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุอีกครั้ง ณ พัทธสีมาวัดเกาะหลัก อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปี พ.ศ. 2517 และได้ไปจำพรรษาที่วัดทุ่งน้อย ตำบลเขาแดง อำเภอกุยบุรี


    ต่อมาได้มีผู้จิตศรัทธา 2 ท่าน คือ นางวง บุญมา และนางเอื้อน เกตุงาม มีความเคารพเลื่อมใสหลวงพ่อยิดเป็นอันมาก จึงได้ถวายที่ดินจำนวน 21 ไร่ 2 งาน ตั้งอยู่ที่เลขที่ 67 หมู่ที่ 3 ตำบลดอนยายหนู อำเภอกุยบุรี เพื่อให้หลวงพ่อยิดไปจำพรรษา กอปรกับหลวงพ่อยิดมีความคิดเห็นว่าญาติโยมในบริเวณนั้นต้องเดินทางไปทำบุญ ไกล ท่านจึงตัดสินใจสร้างสำนักสงฆ์ขึ้น ณ ที่ดังกล่าวเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 โดยให้ชื่อว่า สำนักสงฆ์พุทธไตรรัตน์


    แรกๆ หลวงพ่อยิดปลูกกระต๊อบหลังเล็กๆ เป็นที่อาศัย ท่านค่อยๆ ถากถางเรื่อยไป จนพื้นที่ที่เคยรกดูสะอาดเป็นสัดส่วนขึ้นตามลำดับ บรรดาลูกศิษย์ลูกหาเก่าๆ เมื่อทราบข่าวของท่าน จึงมาช่วยกันพัฒนาจนเป็นรูปเป็นร่าง และได้ขออนุญาตสร้างเป็นวัดเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2527 และได้รับอนุญาตให้ตั้งชื่อว่า วัดหนองจอก โดยใช้ชื่อของท้องถิ่นเป็นชื่อวัด ในปี พ.ศ. 2528

    ประสบการณ์ปลัดขิก
    พ.อ.อ.ศักดิ์ชัย ทรงโกมล
    สังกัด กองบิน 5 ประจวบฯ เล่าว่าลูกชายของเขาตอนอายุประมาณ 11 ขวบ ถูกต่อหัวเสือ 3 ตัว ต่อยเข้าที่ศีรษะ ร้องด้วยความเจ็บปวด จึงนึกถึงหลวงพ่อยิด จึงนำปลัดขิกของหลวงพ่อยิดขึ้นมาอาราธนาแล้วจิ้มลงไปที่บริเวณที่โดนต่อย ปรากฏว่าลูกชายหายปวดและหยุดร้องได้


    นอกจากนี้ยังมีพ่อค้าคนจีนทำอัญมณีส่งต่งประเทศ เมื่อส่งของไปแล้วถูกส่งกลับคืนมาอ้างว่าของไม่มีคุณภาพ พ่อค้าท่านนี้กลุ้มใจมาก มีคนนำไปหาหลวงพ่อยิด ท่านจึงมอบปลัดขิกและบอกให้นำไปทิ่มที่ของซึ่งเป็นชุดเดียวกับที่ถูกส่งกลับ คืน แล้วส่งไปอีกครั้ง ปรากฏว่าทางต่างประเทศชมมาว่าของชุดนี้ถูกใจมาก


    หลวงพ่อยิดเสกน้ำทะเลจืด
    เป็นที่รู้กันของชาว บ้านในแถบทุ่งน้อยและเขาแดงว่า หลวงพ่อยิดเสกน้ำทะเลจืดได้ จากปากคำของคุณวิเชียน อ่วมอ้อ เล่าว่า เมื่อครั้งหลวงพ่อยิดเป็นฆราวาส คุณวิเชียรยังมีอายุได้ 17 ปี ได้ตามหลวงพ่อยิดออกทะเลจับปลา จึงเตรียมน้ำจืดไปไว้ดื่มแต่ไม่เห็นหลวงพ่อยิดเตรียมน้ำไปด้วย ขณะพักกินข้าวกลางวันเห็นหลวงพ่อยิดเอามือกอบน้ำทะเลดื่ม จึงลองดื่มบ้างปรากฏว่า เค็ม บ้วนทิ้งแทบไม่ทัน หลวงพ่อยิดมองแล้วอมยิ้ม จากนั้นท่านจึงเอามือวนในน้ำทะเลเป็นวงกลม แล้วให้คุณวิเชียนเอามือกอบน้ำในวงกลมดื่ม ปรากฏว่าน้ำนั้นไม่เค็มเหมือนน้ำทะเลแต่จืดเหมือนน้ำบ่อ


    หลวงพ่อยิดสรงน้ำปีละครั้ง
    หลวงพ่อยิด เรียนคาถาเลขยันต์จากอาจารย์ของท่าน อาจารย์บอกว่าตะจ้องรับสัจจะว่าจะอาบน้ำ (สมัยฆราวาส) ปีละครั้ง ท่านก็รับปากอาจารย์จึงสอนวิชาให้ เมื่อท่านเรียนวิชาจบแล้วท่านก็อาบน้ำ จนกระทั่งบวชเป็นพระท่านก็สรงน้ำปีละครั้งตลอดมาในเดือน 4 วันอาทิตย์แรกของข้างแรม
    หลวงพ่อยิดสรงน้ำปีละครั้ง ลูกศิษย์และผู้ที่เคารพศรัทธาจะเอาแปรงทองเหลืองขัดตัวท่าน ท่านจะยิ้มเพราะไม่เจ็บไม่ระคายผิวหลังท่านเลย


    วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 หลวงพ่อยิดเกิดอาพาธ ปัจจุบันทันด่วน ด้วยโรคเส้นโลหิตในสมองแตก และได้เข้ารักษาตัวห้อง I.C.U โรงพยาบาบตำรวจและมรณภาพลงด้วยอาการสงบในวันที่ 31 กรกฏาคม พ.ศ. 2538 เวลา 03.50 น. คณะศิษย์ได้นำสังขารของท่านบรรจุไว้ในโลงแก้ว และได้รับพระราชทานเพลิงศพในวันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2540 เวลา 14.00 น. ณ เมรุวัดหนองจอก

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ


    เหรียญหลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า ระยอง
    ให้บููชา100 บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ(ปิดรายการ)

    ลพ.ยิด.jpg ลพ.ยิดหลัง.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤษภาคม 2019
  2. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,211
    ค่าพลัง:
    +21,324
    upload_2019-5-27_20-38-19.jpeg
    ประวัติหลวงพ่อเพี้ยน อัคคธัมโม
    หลวงพ่อเพี้ยน อัคคธัมโม หรือ พระครูวิมลสมณวัตร เป็นพระเกจิอาจารย์อาวุโสของเมืองลพบุรี อายุครบ 87 ปี เมื่อปีที่ผ่านมา เจ้าตำรับสุดยอดเครื่องรางของขลัง ตะกรุดโทน และ ผ้ายันต์แดง เสือ สิงห์ ที่ มีประสบการณ์พุทธคุณกล่าวขานเลื่องลือกันไปทั่ว ทั้งในด้านเมตตา ค้าขาย ปกป้องคุ้มภัย มหาอุด และคงกระพันชาตรี เรื่องราวชีวิตและบทบาทของท่านนับว่าน่าสนใจ เพราะเป็นพระของชาวบ้านโดยแท้ ประวัติ หลวงพ่อเพี้ยน เกิดในสกุล ยอดวัด เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ปีขาล พุทธศักราช 2470 ที่บ้านเกริ่นกฐิน ต.บ้านชี อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี ชีวิตในวัยเยาว์ หลังจบการศึกษาภาคบังคับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากนั้นก็ช่วยเหลือครอบครัวในการประกอบอาชีพทำนา จวบกระทั่งถึงวัยแห่งการครองเรือน แต่ภายหลังเกิดความเบื่อหน่าย จึงหันหน้าเข้าสู่เส้นทางธรรม ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2519 ณ พัทธสีมาวัดกำแพง อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี โดยมีหลวงพ่อเจือ เจ้าอาวาสวัดกำแพง เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายา อคฺคธมฺโม มีความหมายว่า ผู้มีธรรมอันยอดเยี่ยม ภาย หลังเข้ารับการอุปสมบท ได้ย้ายไปพำนักที่วัดเกริ่นกฐิน เพื่อบำเพ็ญสมณกิจ สวดมนต์ เจริญจิตตภาวนา และได้มีโอกาสได้ร่ำเรียนวิทยาคมจากหลวงพ่อปาน เจ้าอาวาสวัดเกริ่นกฐิน ในยุคนั้น รวมไปถึงการได้ทบทวนสรรพวิชาเข้มขลังจากแผ่นดินกัมพูชา ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากโยมบิดาของท่าน สำหรับหลวงพ่อปาน พระเกจิเรืองอาคม เป็นพระภิกษุที่สัญจรมาจากประเทศกัมพูชาเช่นกัน ซึ่งหลวงพ่อปานได้กล่าวเน้นย้ำเป็นการเตือนสติอยู่เสมอว่า คนเราจะทำการใดๆ ต้องมีจิตที่มุ่งมั่น ตั้งใจในการศึกษา หัวใจของการศึกษาวิชาอาคมให้บังเกิดผล ถึงความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ จะต้องเริ่มที่สติ เมื่อสติมั่นคงก็จะบังเกิดเป็นสมาธิ สมาธิจะทำให้เกิดปัญญา สามารถทำจิตให้เป็นหนึ่งเดียว และเมื่อถึงขั้นนั้น จะทำสิ่งใดๆ ย่อมได้ผลดังนั้น เมื่อท่านได้ฝึกจิตตามแนวทางของหลวงพ่อปาน ทำให้การเรียนด้านวิชาอาคม บังเกิดความก้าวหน้า และได้รับความศรัทธาจากชาวบ้านที่ประสบเคราะห์ซ้ำกรรมซัดต่างๆ นานา โดยท่านได้ใช้อำนาจแห่งพุทธคุณ ธรรมคุณ และสังฆคุณ รวมทั้งวิทยาคม ใครถูกคุณไสยมนต์ดำ อวิชชาชั้นต่ำไสยมนต์ดำ อวิชชาชั้นต่ำ สรรพวิญญาณดุร้ายเข้าสิงร่าง ใช้มนต์คาถากำราบ ใครเจ็บป่วยเป็นไข้ป่า ใช้ยาสมุนไพรรักษา สามารถพลิกผันเปลี่ยนขาวเป็นดำ บำบัดปัดเป่าเคราะห์ร้ายได้ผลเป็นที่น่าอัศจรรย์ ชื่อเสียงร่ำลือระบือไกล
    ปี พ.ศ.2521 วัดเกริ่นกฐิน ร้างเจ้าอาวาสปกครอง ญาติโยมได้พากันไปร้องต่อพระผู้ใหญ่จังหวัดลพบุรี ขอให้แต่งตั้งหลวงพ่อเพี้ยน เป็นเจ้าอาวาส ซึ่งได้รับการตอบสนองตามคำร้องขอเป็นอย่างดีภายใต้การปกครองดูแลวัดเกริ่นกฐิน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2521 จนถึงปัจจุบัน วัตรปฏิบัติของหลวงพ่อเพี้ยนไม่มีความเปลี่ยนแปลงใดๆ ดำรงตนอย่างสมถะ เป็นพระชาวบ้านธรรมดา แต่ว่าเข้าถึงจิตใจคนทุกระดับชั้น ไม่มีการเลือกชั้นวรรณะของผู้ที่ขอเข้าไปกราบนมัสการ หลวง พ่อเพี้ยน ได้ย้อนอดีตถึงปฐมเหตุแห่งการเป็นพระผู้เสก ว่า ในคราแรก เลือกมาพำนักที่วัดเกริ่นกฐิน ที่ตั้งโดดเด่นอยู่กลางทุ่งนา เพื่อปฏิบัติตามคำสอนของหลวงพ่อปาน ที่กำชับเอาไว้ สิ่งที่เริ่มต้น คือ การเจริญภาวนาทำให้เกิดจิตที่มั่นคง เป็นสมาธิ วันหนึ่ง ในราวพรรษาที่ 3 ท่านมีกิจนิมนต์ ต้องเดินทางจากวัดไปยัง อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี โดยเส้นทางจากหมู่บ้านเกริ่นกฐิน สู่ถนนสายหลักท่าโขลง-บ้านหมี่ ห่างไกลพอสมควร จำต้องเดินผ่านทุ่งนา ในบางช่วงต้องเดินผ่านป่าละเมาะ สองฟากทางรกทึบมาก หลวงพ่อเพี้ยน เดินทางออกจากหมูบ้านเกริ่นกฐินเพียงเล็กน้อย ได้พบเห็นการกระทำของโจรร้ายกำลังปล้นชิงทรัพย์ของชาวบ้าน แต่เจ้าทรัพย์ ต่อสู้ขัดขืน จึงถูกคนร้ายใช้มีดแทงจนถึงแก่ความตาย ไปต่อหน้าต่อตา ท่านบังเกิดความเวทนาต่อชาวบ้านผู้เคราะห์ร้ายเป็นยิ่ง นัก เมื่อเดินทางกลับวัด ได้ทบทวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จึงได้ความคิดว่า หากชาวบ้านผู้นั้นมีวัตถุมงคลคุ้มครองป้องกันตัว อาจแคล้วคลาดภยันตรายได้อย่างแน่นอน ความคิดดังกล่าว ทำให้หลวงพ่อเพี้ยน มุมานะในการพลิกฟื้นตำรา ทั้งของโยมบิดาและหลวงพ่อปาน ที่ได้กำชับถึงหัวใจแห่งการร่ำเรียนวิชา โดยเฉพาะพระคาถาอาคม เมื่อรำลึกถึงคำสอน หลวงพ่อจึงเร่งในการภาวนาจิตอย่างจริงจัง และเริ่มทำการจัดสร้างของขลังเป็นครั้งแรก เพื่อแจกจ่ายให้กับผู้ที่ใกล้ชิดเอาไว้เพื่อเป็นการป้องกันและคุ้มครองตัว เอง ได้แก่ "ตะกรุดโทน" กว่าจะสำเร็จเป็นตะกรุดโทน มิใช่เรื่องง่ายดาย แผ่นโลหะแต่ละแผ่น เมื่อได้จารอักขระเลขยันต์ตามตำรับ กว่าจะบรรลุเป้าหมายถึงขั้นนำไปใช้ได้ ต้องผ่านขั้นตอนพิธีกรรมอันสำคัญ คือ การจารตะกรุดใต้น้ำ หลวงพ่อเพี้ยนจะต้องดำลงใต้น้ำ เพื่อทำการจารอักขระ ซึ่งเป็นหัวใจของพระคาถาด้านมหาอุด และคงกระพันชาตรี ตะกรุดโทนหลวง พ่อเพี้ยน สร้างประสบการณ์ลือลั่นท้องทุ่งบ้านหมี่ รวมทั้งเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ในหมู่นักนิยมสะสมวัตถุมงคลของขลัง แต่ปัจจัยจากการเช่าบูชาทุกบาททุกสตางค์ หลวงพ่อไม่เคยนำเข้าพกเข้าห่อใช้จ่ายส่วนตัว แต่ท่านจะนำปัจจัยไปใช้ในด้านการพัฒนาวัดวาอาราม วัดเกริ่นกฐิน ในยุคหลวงพ่อเพี้ยน ปกครองเป็นเจ้าอาวาส ได้เกิดสิ่งใหม่ๆ มากมาย เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก อวดสายตาแก่ญาติโยม อาทิ ศาลาการเปรียญหลังใหญ่ 2 ชั้น หอฉัน หอสวดมนต์ หอระฆัง กุฏิสงฆ์ ศาลาอเนกประสงค์ อุโบสถ เมรุ เจดีย์พิพิธภัณฑ์ โดยตั้งกองทุนมาจากการสร้างพระกริ่งอัคคธัมโม และเหรียญบาตรน้ำมนต์ หลวงพ่อเพี้ยน มิได้มุ่งเน้นการพัฒนาภายในวัดของท่านเพียงอย่างเดียว ยังมองไปถึงปัญหาของชุมชนอีกด้วย อาทิ ได้สร้างถนนลาดยางจากถนนสายหลักท่าโขลง-บ้านหมี่ เข้าสู่หมู่บ้าน นอกจากนี้ ในด้านการศึกษา ยังได้จัดสร้างอาคารเรียนให้กับโรงเรียนวัดสระกระเบื้อง ใช้งบประมาณกว่า 2 ล้านบาท อีกด้วย เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2548 เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา หลวงพ่อเพี้ยน ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นโท ในราชทินนาม พระครูวิมลสมณวัตรเข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรพัดยศ ณ วัดไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2548 ที่ผ่านมา สร้างความปลาบปลื้มให้กับคณะศิษย์เป็นอย่างมากภายหลังเข้ารับการอุปสมบทได้ย้ายไปพำนักที่วัดเกริ่นกฐิน เพื่อบำเพ็ญสมณกิจ สวดมนต์ เจริญจิตตภาวนา และได้มีโอกาสได้ร่ำเรียนวิทยาคมจากหลวงพ่อปาน เจ้าอาวาสวัดเกริ่นกฐิน ในยุคนั้น หลวงพ่อปานได้กล่าวเน้นย้ำเป็นการเตือนสติอยู่เสมอว่า คนเราจะทำการใดๆ ต้องมีจิตที่มุ่งมั่น ตั้งใจในการศึกษา หัวใจของการศึกษาวิชาอาคมให้บังเกิดผล ถึงความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ จะต้องเริ่มที่สติ เมื่อสติมั่นคงก็จะบังเกิดเป็นสมาธิ ทำให้เกิดปัญญา สามารถทำจิตให้เป็นหนึ่งเดียว และเมื่อถึงขั้นนั้นจะทำสิ่งใดๆ ย่อมได้ผล ดังนั้น เมื่อหลวงพ่อเพี้ยนได้ฝึกจิตตามแนวทางของหลวงพ่อปาน ทำให้การเรียนด้านวิชาอาคม บังเกิดความก้าวหน้า และได้รับความศรัทธาจากชาวบ้านโดยทั่วไป เหรียญหลวงพ่อเพี้ยน รุ่นกฐิน จึงเป็นอีกเหรียญวัตถุมงคลที่ได้รับความศรัทธานิยมจากบรรดาเซียนพระเครื่อง ที่มีความเชื่อมั่นในพุทธาคมของหลวงพ่อเพี้ยนเป็นอย่างยิ่ง จึงเป็นเหรียญที่น่าเช่าหาบูชามาไว้ในครอบครอง

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญหลวงพ่อเพี้ยน วัดเกริ่นกฐิน ลพบุรี
    ให้บููชา100 บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ
    ลพ.เพี้ยน.jpg ลพ.เพี้ยนหลัง.jpg
     
  3. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,211
    ค่าพลัง:
    +21,324
    upload_2019-5-27_20-52-24.jpeg
    พระครูโสภณถิรคุณ (หลวงพ่อสุนทร จนฺทเถโร) เจ้าอาวาสวัดหนองสะเดา ต.หนองปลิง อ.หนองแค จ.สระบุรี ชาติกำเนิดเดิมเป็นชาวกัมพูชา ในตระกูล "วัฒนาสาคร" โยมบิดาชื่อ "คง วัฒนาสาคร" โยมมารดาชื่อ "ริม คงควร" เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ ๒ มีนาคม ๒๔๗๖ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาด้วยกัน ๕ คน คือ หลวงพ่อสุนทร จนฺทเถโร, นายจอน วัฒนาสาคร, นายหอม วัฒนาสาคร, น.ส.ราย วัฒนาสาคร และน.ส.สุวรรณ วัฒนาสาคร

    ครอบครัวของหลวงพ่อประกอบอาชีพทำนาและค้าขายในหมู่บ้าน สมัยนั้นท่านมักจะเที่ยวเล่นอยู่ในวัดตามประสาเด็กในชนบท จวบจนท่านอายุได้ ๑๒ ปี จึงได้ขอโยมบิดามารดาบรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดเวียนเภา ต.โพธิ์เรียง อ.โพธิ์เรียง จ.ไปรแวง ประเทศกัมพูชา เมื่ออายุครบบวช ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดเดิม โดยมีหลวงพ่อสุย ซึ่งเป็นสหายธรรมกับพระเทพรัตนากร วัดมหาธาตุ กรุงเทพฯ เป็นพระอุปัชฌาย์

    เมื่ออุปสมบทแล้วได้ศึกษาเล่าเรียนอยู่กับหลวงพ่อสุย ๑ พรรษา ในขณะเดียวกันบ้านเมืองกัมพูชาได้เกิดความแตกแยกและมีสงคราม ไม่เหมาะที่จะอยู่ปฏิบัติธรรม ประกอบกับเกิดความเบื่อหน่ายสังคมบ้านเมือง จึงคิดที่จะออกธุดงค์ เพื่อจะได้ไม่ต้องวุ่นวายหรือเกี่ยวข้องกับทางโลก ท่านได้ตัดสินใจออกจากบ้านเกิด โดยเดินธุดงค์มุ่งหน้าสู่เมืองไทย ผ่าน อ.ตาพระยา จ.ปราจีนบุรี
    ตลอดเส้นทาง ท่านได้แวะพักจำพรรษาตามวัดต่างๆ เช่น วัดหนองหัวลิง, วัดหนองตะเข้, วัดเสนานฤมิตร, วัดหนองตาน้อย, วัดกระทงลอย และวัดหนองสะเดา ต.หนองปลิง อ.หนองแค จ.สระบุรี

    ที่วัดแห่งนี้ท่านได้จำพรรษาเป็นการถาวร เพราะเห็นว่าเป็นสถานที่สงบ ไม่พลุกพล่าน เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม โดยอาศัยโบสถ์หลังเก่าเป็นที่จำพรรษา และประกอบกิจทางศาสนา ซึ่งขณะนั้นมีพระครูสุวรรณ เขมโก เป็นเจ้าอาวาส

    ต่อมาพระครูสุวรรณ ได้ลาสิกขา ชาวบ้านจึงได้นิมนต์ท่านขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสแทนจนถึงทุกวันนี้

    ขณะที่จำพรรษาอยู่ที่วัดหนองสะเดา ท่านได้รับความเมตตาและความไว้วางใจจากพระครูสรกิจพิจารณ์ (หลวงพ่อผัน) วัดราษฎร์เจริญ (วัดแปดอาร์) เช่น ให้ท่านลงอักขระตะกรุด และจัดทำเครื่องรางให้หลวงพ่อผันอยู่เสมอ
    หลวงพ่อสุนทร ได้ปฏิบัติศาสนกิจและบำรุงพระพุทธศาสนามาอย่างต่อเนื่อง จนปี ๒๕๓๘ ท่านได้ดำริที่จะก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่แทนหลังเดิมที่ชำรุดทรุดโทรมตามกาลเวลา แต่ยังขาดปัจจัยที่จะดำเนินการก่อสร้าง เนื่องจากเป็นวัดบ้านนอก ด้วยข้อจำกัดนี้ก็ไม่เป็นอุปสรรค ท่านตัดสินใจเดินหน้าก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ ด้วยคิดว่าเมื่อตั้งใจทำแล้วการใดที่เป็นบุญเป็นกุศลก็ต้องทำให้สำเร็จ

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญนาคปรกหลวงพ่อสุนทร วัดหนองสะเดา สระบุรี
    ให้บููชา100 บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ(ปิดรายการ)

    ลพ.สุนทร.jpg ลพ.สุนทรหลัง.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤษภาคม 2019
  4. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,211
    ค่าพลัง:
    +21,324
    วันนี้จัดส่ง

    EW 5733 6934 2 TH ปากเกร็ด

    EW 5733 6935 6 TH บางบัวทอง

    ขอบคุณครับ
     
  5. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,211
    ค่าพลัง:
    +21,324
    พระอุปัชฌาย์ศรีแก้ว พ.ศ. 2357 - พ.ศ. 2447
    วัดอรัญวาสิการาม (ห้วยเงาะ) ต.ทุ่งพลา อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี

    "บารมีธรรม" ไม่ว่าจะไกลแสนไกล จะใกล้แสนใกล้ บารมีธรรมก็คือบารมีธรรมย่อมไปถึงทุกแห่งหน
    บารมีธรรมเป็นของไม่ยาก มองกันง่ายเห็นกันง่าย แต่จะมีให้เห็น จะมีให้มองหรือไม่นั้น ไปอีกทำนองหนึ่ง หากใครเจอะเจอพบเห็น ถือได้ว่าบุคคลนั้นคนโชคดีคนหนึ่ง ในจำนวนอีกหลาย ๆ คน
    ผู้เห็นบารมีธรรม จำนวนเท่าที่เห็นจริงนั้น ส่วนใหญ่เจ้าของบารมีธรรมจะไม่อวดอ้างกลับอยู่นิ่งเฉย บางสถานที่ถึงกับกับถ่อมองค์อย่างไม่น่าเกลียด “ของจริงนิ่งเป็นใบ้” และผู้พบเห็นบารมีธรรมจริง ๆ ก็ย่อมรู้อยู่แก่ใจของเขาเองว่า “บารมีธรรมจะคงอยู่ในลักษณะอย่างไร”
    หลวงพ่อศรีแก้ว ท่านเปรียบประดุจดั่งช้างเผือก การเจอะเจอคนหมู่มากย่อมน้อย และหากใครได้เจอนับได้ว่ามีบุญวาสนาอยู่ในผู้นั้นมากพอสมควร ไม่จำเป็นที่จะต้องถึงกับเป็นการสำคัญที่จะต้องเข้าไปสักการบูชา กราบไหว้แนบชิดปลายจีวรกับตัวท่าน แต่เพียงขนาดเหรียญบูชารูปเหมือนของท่านหากมีอยู่ถือได้ว่า คนผู้นั้นเป็นผู้มีบุญอยู่ในข้อที่สามารถมีบานธรรมคุ้มครองตนเองอยู่แล้ว
    กล่าวเช่นนี้เนื่องเพราะว่า วัตถุมงคลอันเป็นสิ่งทดแทนในบารมีธรรมของท่านหลวงพ่อศรีแก้วนั้น กว่าจะมาเป็นหรือถึงจุดสูงพอจะรับบารมีธรรมเพื่อเป็นตัวแทนท่าน ทุกอย่างต้องพิถีพิถัน ถูกต้องตามกาลฤกษ์ตามประสาคนเฒ่าคนแก่บ้านนอกบ้านนา
    เพราะฉะนั้นทุกขั้นตอนการจัดทำจึงต้องประณีตละเอียดลออครบหลักสูตร พระเกจิที่เข้ามานั่งปรก นั่งแผ่เมตตาจิตมานั่งแผ่บารมีธรรม “ไม่ว่าจะเป็นชั้นเทพยวิมานในที่องค์ ท่านแผ่ไปนั้น ถึงไหน ทุก ๆ องค์ย่อมรู้อยู่แก่ในจิตใจขององค์ท่านเองดี ” ช้างเผือกย่อมอยู่ในป่า (ลึก)
    วัตถุมงคลของหลวงพ่อศรีแก้ว นับได้ว่าเป็นสิ่งวิเศษใหญ่หลวงแม้จะไม่เลอเลิศมากนัก แต่ทุกสิ่งทุกอย่าง ทุกขั้นตอนทั้งความมีบารมีธรรมในรูปเหมือนของวัตถุมงคลที่มีอยู่ในองค์ท่าน

    อีกทั้งได้รับการนั่งปรกปลุกเสกจากพระเกจิผู้เพียบพร้อมในรูปขององค์ท่านอยู่แล้ว พระเกจิอาจารย์ที่เข้าร่วมพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลหลวงพ่อศรีแก้วมีหลายรูปชื่อเสียงขององค์ท่านไม่ขจรขจายเป็นที่รู้จักของคนนอกพื้นที่มากนัก แต่ท่านเหล่านี้แหละเป็นพระเถระที่เข้าไปนั่งปรกในพิธีหลวงปู่ทวด 2497 วัดช้างให้ อยู่หลายรูป แต่องค์ท่านเหล่านี้ไม่ยอมเปิดเผยองค์ท่านต่อสาธารณชน คนนอกพื้นที่จริงไม่ทราบและไม่รู้จักองค์ท่านมากนัก นี่คือรูลักษณะของความจริงในวัตถุมงคลของหลวงพ่อศรีแก้ว คงไม่ต้องอธิบายอะไรมากนัก
    เป็นอย่างนั้นจริง ๆ มีบทพิสูจน์ที่รู้และทราบกันในละแวกท้องถิ่นและชนแดนไกล หรือแม้แต่ชาวต่างชาติและต่างศาสนา ที่เช่าหาวัตถุมงคลของหลวงพ่อไป ก็พบพานอภินิหาริย์มากมายด้วยเช่นเดียวกัน จะกล่าวให้ทราบในภายหลัง
    แม้ระยะทางจะไกลอยู่บ้างสำหรับพุทธชนทั่วแคว้นแดนไทย ที่จะมาสักการะองค์ท่านด้วยตนเอง ดังนั้นจึงมีการจัดทำรูปจำลองขององค์ท่านออกมาในรูปลักษณ์วัตถุมงคล เพื่อให้บารมีธรรมแห่งองค์หลวงพ่อศรีแก้วที่มีอยู่ ถูกบรรจุในวัตถุสิ่งนั้นได้คุ้มครองช่วยเหลือทุกท่านที่อยู่ไกลแสนไกลอย่างไร้กังวล
    ประวัติหลวงพ่อศรีแก้ว
    ชาติกำเนิด
    หลวงพ่อศรีแก้ว ท่านมีภูมิลำเนาอยู่ ณ บ้านโคกม่วง อ.เทพา จ.สงขลา ท่านเกิดประมาณ พ.ศ. 2357 นามบิดามารดาไม่ปรากฏทราบแต่เพียงว่ามีพี่น้อง 5 คน แต่มีบันทึกไว้เพียง 3 คน คือ ปู่ทวดพรหมทอง ทวดพัดทอง และหลวงพ่อศรีแก้ว
    เยาว์วัย
    ตั่งแต่เยาว์วัยเป็นเป็นเด็กที่อยู่ในโอวาทของบิดามารดา ขยันขันแข็ง รักในการทำงาน ชอบสันโดษอยู่กับธรรมชาติ เมื่ออายุได้ 16 ปี เด็กชายศรีแก้ว ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อจันทร์ วัดห้วยเงาะ (วัดทักษิณสาคร) ในสมัยนั้น เล่าต่อ ๆ กันว่า หลวงพ่อจันทร์ ท่านเดินจากวัดห้วยเงาะ ไปยังพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช เพื่อเข้าพิธียิ่งใหญ่ของพระธาตุ ซึ่งในสมัยก่อนนั้น พระเกจิท่านรู้กัน “นิมนต์การทางจิต ” หลวงพ่อจันทร์ท่านออกเดินทางจากวัดห้วยเงาะ ในเวลาบ่าย 2 โมงเย็น ถึงในพิธี ณ พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ในเวลาเกือบจะ 4 โมงเย็นของวันเดียวกัน ระยะทางจากวัดห้วยเงาะถึงพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ประมาณ 370 กม. นับว่าอัศจรรย์มาก เรื่องนี้เป็นที่โจษขานกันมากในยุคนั้น หลวงพ่อจันทร์ท่านยังมีวิชาแปรธาตุสภาพวัตถุให้เป็นสิ่งมีชิวิตได้ วิชานี้ชาวบ้านทั่วไปจะเห็นกันอยู่บ่อย ๆ เมื่อ ชาวบ้านนำของไปถวายแด่องค์ท่านหลวงพ่อจันทร์ เมื่อเข้าไปใกล้ ๆ ท่านเอ่ยวาจาว่า “นั้นสูเอาลูกไก่มาทำไม” เมื่อชาวบ้านก้มมองของที่นำมาถวายแก่หลวงพ่อจันทร์ ณ บัดนั้นได้กลายเป็นลูกไก่ร้องเจี๊ยบ ๆ เสียแล้ว และเมื่อมองอีกอีกครั้งหนึ่ง ลูกไก่เจี๊ยบ ๆ ได้กลายเป็นสิ่งของเหมือนเดิมเสียแล้ว วิชานี้ หลวงพ่อทวดสีพุฒ วัดกาโผะ อาจารย์ใหญ่ของ หลวงปู่แดง วัดศรีมหาโพธิ์ จ. ปัตตานี เคยใช้หยอกศิษย์ท่านเหมือน ในสมัยก่อนมีศิษย์ท่านได้นำภัตตาหารไปถวายหลวงพ่อทวดสีพุฒ ท่านเอ่ยวาจาประมาณว่า “สูเอานกมาทำไมนั้น” เมื่อศิษย์ท่านมองดูภัตตาหารได้กลายเป็น นกน้อยเสียแล้ว และในบันดล นกน้อย ก็ กลายเป็นภัตตาหารเหมือนเดิม นับว่าพระเกจิยุคเก่าก่อน น่าอัศจรรย์กันทุกองค์
    บรรพชา
    เมื่ออายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ นายศรีแก้วจึงได้รับการอุปสมบทในราว พ.ศ. 2378 ณ วัดห้วยเงาะ โดยมี หลวงพ่อจันทร์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์หลวงปู่หิด เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    พระศรีแก้วเป็นพระที่ใฝ่หาในวิทยาคมและขยันหมั่นเพียร เมื่อเป็นพระภิกษุท่านได้ศึกษาเวทย์จากหลวงพ่อจันทร์ จนบรรลุในจุดที่สามารถจะไปไหนมาไหนได้อย่างอาจารย์เมื่อถึงจุดหนึ่งพระศรีแก้วจึงออกธุดงค์ เพื่อเสาะหาอาจารย์ที่เรืองเวทย์ในสถานที่ต่าง ๆ กัน โดยไม่จำกัดว่าวิชาเหล่านั้นท่านได้มาจากเพศบรรพชิตหรือฆราวาส ตามประวัติท่านออกธุดงค์เงียบหายไปเป็นเวลานานมาก เงียบหายไปกับกาลเวลา
    พระศรีแก้ว กลับมาวัดห้วยเงาะอีกครั้งหนึ่ง แต่ครานี้ท่านกลับกลายเป็น หลวงพ่อศรีแก้วผู้เข้มขลังด้วยพระเวทย์ เต็มเปี่ยมเมตตาปรานี เพียบพร้อมด้วยไสยและโหราศาสตร์และวิชาแพทย์แผนโบราณ แต่น่าเสียดายที่สมุดบันทึกมิได้กล่าวถึงรายนามพระอาจารย์ของท่าน ที่ท่านออกธุดงค์ไปพบเจอพร้อมทั้งศึกษาไสยเวทย์ มาให้ชนรุ่นหลังได้ทราบ ทราบแต่เพียงว่าท่านธุดงค์ไปถึง ถ้ำผ่าปล่องสู่ถ้ำเชียงดาว ระยะทางจากปัตตานี ถึง เชียงใหม่ ในเวลานั้นจะ
    สุดยอดขนาดไหน ที่แน่ ๆ เส้นทางเมื่อ 100กว่า ปี ที่แล้วต้องเต็มไปด้วยป่าไม้รกทึบ ไข้ป่า สัตว์ป่านานาชนิดแน่นอน พระเวทย์ของพระเกจิอาจารย์ในสมัยก่อนสุดหยั่งจริง ๆ ยิ่งมีอยู่ในตัวเท่าไหร ยิ่งทำให้พระเกจิท่านนั้น ดูภูมิฐาน อิ่มเอิบสดใส คงเป็นไปได้ว่า พระเกจิสมัยก่อนนั้น ทุก ๆ ท่านหยั่งรู้ได้ทั้งอดีต ปัจจุบัน และ อนาคต เป็นแน่แท้
    พระเวทย์อีกวิชาหนึ่งซึ่งประจักษ์แก่สายตาชาวท้องถิ่น คือ วิชาสั่งกระสุน (ธนู) วิชานี้ท่านเอาไว้ใช้ปราบเด็กอันธพาลเกเร ที่ไม่เชื่อฟัง ในสมัยต้องมีวิธีการที่ใช้ปราบเด็กเกเรให้เด็ดขาด วิธี หลวงพ่อศรีแก้วท่านสั่งสอนแบบธรรมดา คือ ผู้ที่โดดลูกธนูของท่านก็จะไม่กระทำในสิ่งที่ผิดที่คิดจะกระทำอีก และทราบด้วยว่ากระสุนนั้นเป็นของใครทุกคนที่โดนจะต้องเข้าไปกราบไหว้ท่านและต้องกลับตัวเป็นคนดีประสอบการณ์เรื่องนี้มีมากมาย
    วิธีใช้ เมื่อท่านจะสั่งกระสุนไปโดนใคร (ลูกธนูดิน) ท่านจะนั่งบริกรรมพระคาถาอยู่ในกุฏิ คนที่จะกระทำผิดก็จะโดดลูกธนู พร้อมเสียงร้อง โอ๊ย ทุกคน
    วิชาสั่งกระสุนนี้ ชาวบ้านในแถบถิ่นรู้กันดี ว่าถ้าใครโดด คือ หลวงพ่อท่านเตือนแล้ว อย่าได้บังอาจคิดกระทำผิดอยู่ ฉะนั้นในละแวกวัดจึงมีแต่คนคิดดี ทำดี
    หลวงปู่แดง วัดศรีมหาโพธิ์ จ.ปัตตานี เคยกล่าวไว้เกี่ยวกับสายพระเวทย์ว่า “ วิชาไสยศาสตร์และคาถาอาคม เปรียญเหมือนมีดเราจะใช้ทำอะไรก็ได้ ฆ่าคน ทำร้ายคนหรือนำมาเป็นประโยชน์ป้องกันตัว ช่วยคน ตัดไม้ทำอาหาร มีดมิใช่ว่าใช้ทำร้ายคนอย่างเดียว ประโยชน์ต่าง ๆ ก็มีมากมาย”
    เป็นพระอุปัชฌาย์
    หลวงพ่อศรีแก้ว ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ ในรัชสมัยราชที่ 4 หลวงพ่อได้ให้การบรรพชาและอุปสมบทแก่กุลบุตร ผู้มีความศรัทธาอย่างกว้างขวางท่านต้องรับภาระหนักมาก ทุกปีจะต้องเดินทางไกลโดยใช้ช้างเป็นพาหนะ ช้างของท่านมีอยู่ 2 เชือก ชื่อ อ้ายหนุน เป็นช้างพราย และ บูดาหยัง เป็นช้างพัง
    ทำงานพระศาสนา
    หลวงพ่อผู้เปี่ยมด้วยเมตตาแก่ผู้เข้าสนทนาด้วยความปิติในศีลาจารวัตรว่า
    “ตลอดชีวิตของกู ทำนกบินหลาตาย ตัวเดียว”
    หลวงพ่อศรีแก้ว สมัยท่านยังมีชีวิตอยู่ หลังจากวันเพ็ญวิสาขะมาศ ท่านก็จะออกเดินทางจากวัดห้วยเงาะ โดยมีช้างเป็นพาหนะ รอนแรมไปตามทาง เพื่อให้การอุปสมบทแก่ชาวพุทธที่อาศัยอยู่ใน กลันตัน ปะริด ไทรบุรี ในสมัยนั้น กลันตัน ปะริด ไทรบุรี ยังเป็นเขตแดนไทยอยู่ เพราะ หลวงพ่อศรีแก้ว มีชีวิตอยู่ พ.ศ. 2357 – พ.ศ. 2447 แต่ไทยเสียดินแดน กลันตัน ปะริด ไทรบุรี ประมาณ พ.ศ 2451 เมื่อเสร็จภารกิจแล้ว ก็จะเดินทางอ้อมกลับไปทางสงขลา
    กว่าจะเดินทางมาถึงวัดห้วยเงาะ เป็นเวลาถึง 8 เดือน จึงให้การอุปสมบทแก่วัดค้างเคียงก่อน และจะอุปสมบท ที่วัดห้วยเงาะ เป็นครั้งสุดท้าย หลวงพ่อท่านจึงอธิษฐานเข้าพรรษา
    มรณภาพ
    หลวงพ่อศรีแก้วทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในภาคใต้ของไทยตลอดจน กลันตัน ปะริด ไทรบุรี จนกระทั่งได้ร่วงเลยมาถึงวัยชรา ท่านได้ถึงกาลมาณภาพ ในวัย 90 พรรษา พรรษาที่ 69
    หลวงพ่อศรีแก้วได้มรภาพลงแล้วชาวพุทธผู้ศรัทธาในองค์หลวงพ่อก็หล่งไหลไปนมัสการกราบไหว้บูชา บางคนมีเรื่องทุกข์ร้อน ก็บนหลวงพ่อของความเมตตา หากสิ่งใดเป็นไปเพื่อความสุจริต ก็จะสมปรารถสิ่งนั้นตามสมควร
    จึงมีคนพูดว่า “บนพ่อท่านในหีบ”
    http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=20110.0
    ไปอ่านแบบละเอียดในเวปนี้ครับ
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญพ่อท่านศรีแก้ว พ่อท่านเขียวปลุกเสกและพิธีใหญ๋ ปี๒๕๓๖
    ให้บููชา100 บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ

    พ่อท่านศรีแก้ว.jpg พ่อท่านศรีแก้วหลัง.jpg
     
  6. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,211
    ค่าพลัง:
    +21,324
    budd808.jpg
    ท่านหลวงปู่เอี่ยม เป็นพระผู้มีอาคมขลัง มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ มักน้อย ถือสันโดษ ด้วยเหตุนี้เองทำให้หลวงปู่เอี่ยม ท่านมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ทั้งชาวบ้านและเจ้านายผู้ใหญ่ในพระนครนับถือท่านมากจนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ก่อนที่หลวงปู่เอี่ยมจะมรณภาพด้วยโรคชรา นายหรุ่น แจ้งมา ซึ่งเป็นลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดคอยอยู่ปรนนิบัติท่านหลวงปู่เอี่ยมได้ขอร้องท่านว่า “ท่านอาจารย์มีอาการเต็มที่แล้ว ถ้าท่านมีอะไรก็กรุณาได้สั่ง และให้ศิษย์เป็นครั้งสุดท้าย” ซึ่งท่านหลวงปู่เอี่ยมก็ตอบว่า “ถ้ามีเหตุทุกข์เกิดขึ้นให้ระลึกถึงท่านและเอ่ยชื่อท่านก็แล้วกัน”หลวงปู่เอี่ยมท่านได้มรณภาพ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๙ รวมอายุได้ ๘๐ ปี บวชได้ ๕๙ พรรษา

    ก่อนที่ท่านจะมรณภาพได้มีศิษย์ผู้ใกล้ชิดเป็นตัวแทนของชาวบ้าน และผู้เคารพนับถือศรัทธา ที่มีและไม่มีของมงคลท่านไว้บูชา กราบเรียนถามหากว่าเมื่อหลวงปู่เอี่ยม ได้มรณภาพแล้วจักทำประการใด ท่านจึงได้มีปัจฉิมวาจาว่า " มีเหตุสุข ทุกข์ เกิดนั้น ให้ระลึกถึงชื่อของเรา"

    จึงเป็นที่ทราบและรู้กันว่า หากผู้ใดต้องการมอบตัวเป็นศิษย์หรือต้องการให้ท่านช่วยแล้วด้วยความศรัทธายิ่ง ก็ให้เอ่ยระลึกถึงชื่อของท่าน ท่านจะมาโปรดและคุ้มครองและหากเป็นเรื่องหนักหนาก็บนตัวบวชให้ท่าน รูปหล่อเท่าองค์จริงของหลวงปู่เอี่ยม ท่านประดิษฐานอยู่หน้าพระอุโบสถ สร้าง(หล่อ) ขึ้นเมื่อพ.ศ. 2480 ในสมัยหลวงปู่กลิ่น ผู้ปกครองวัดต่อจากท่าน เพื่อการสักการะบูชา ต่อมาจนทุกๆวันจะมีผู้ศรัทธาจากทุกสารทิศมากราบไหว้และบนบานฯ ตลอดเวลาตราบแสงอาทิตย์ยังไม่ลับขอบฟ้า ท่านชอบกระทงใส่ดอกไม้เจ็ดสี จะมีผู้นำมาถวายและแก้บนแทบทุกวันโดยเฉพาะในวันพระแม้แต่ผงขี้ธูปและน้ำในคลองหน้าวัดก็ยังมีความ"ขลัง" อย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง

    และหลังจากที่ท่านมรณภาพล่วงไปเนิ่นนานแล้วก็ตามที ด้วยความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน ผลปรากฏว่าฐานที่ท่าน เคยถ่ายทุกข์เอาไว้และปิดตาย คราวที่เกิดไฟไหม้ป่าช้า ฐานของหลวงปู่เอี่ยม เพียงหลังเดียวเท่านั้นที่ไม่ไหม้ไฟ

    เมื่อความอัศจรรย์ปรากฏขึ้นเช่นนั้น ผู้คนจึงค่อยมาตัดเอาแผ่นสังกะสีไปม้วนเป็นตะกรุดจนหมดสิ้น นอกจากนั้นแล้ว ยังมารื้อเอาตัวไม้ไปบูชาจนไม่เหลือหรอ ยิ่งไปกว่านั้น คนที่ไม่ได้อะไรเลยก็มาขุดเอาอุจจาระของท่านไปบูชา

    ถ้ามีเหตุสุข ทุกข์ เกิดนั้น ให้ระลึกถึงชื่อของเรา "
    ในบรรดาเครื่องรางของขลังหรือเบญจ ฯเครื่องรางของแวดวงนักสะสมเครื่องรางของขลัง ได้ให้การยอมรับและยกย่องให้ " ตะกรุดโทนมหาโสฬสมงคลของหลวงปู่เอี่ยม " วัดสะพานสูง ต. คลองพระอุดม อ.ปากเกร็ด จ. นนทบุรี ให้เป็นอันดับหนึ่ง และหายากที่สุดยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทรเสียอีก ไม่มีนักเลงพระคนใดจะไม่รู้จัก อย่างน้อยก็ต้องได้ยินนักเลงพระด้วยกันเล่าขานถึง ผู้ใดมีต่างก็หวงแหนเป็นอย่ายิ่ง

    ปรากฏกฤตยการแห่งตะกรุดโทนมหาโสฬสมงคลซึ่งชายชาติเสืออย่าง เสือจำเรียง ปางมณี หรือขุนโจร 5 นัดที่ยิ่งใหญ่, เสือผาด แก้วสนธิ , เสือเพี้ยน แดงสำวาลย์ และเสือแก่น ได้เคียนคาดอยู่แนบกายของเขาทั้งหลาย ได้สร้างความมหัสจรรย์และพรั่นรึงใจแก่บรรดาผู้ที่ได้รู้ได้เห็นมาแล้วในอดีตกาลเมื่อราว 40-50 ปี เป็นที่สำแดงและยืนยันถึงอำนาจพุทธาคมที่มีอยู่เหนือชั้นบรรยากาศของเมืองไทยว่าเป็นสิ่งที่มีจริง โดยปราศจากข้อกังขาใด ๆ เลย ซึ่งตะกรุดโทนของท่านได้รับการสร้างและปลุกเสกขึ้นมาด้วยอำนาจกฤตยะและพลังจิตพิเศษผ่านปลายเหล็กจารถ่ายทอดลงสู่แผ่นโลหะในรูปแบบเลขยันต์อักขระเลขาจารึกแห่งสูตรมหาโสฬสมงคลและพระไตรสรณคมน์ล้อมรอบด้วยบารมี 30 ทัศน์อันพิเศษสุด พร้อมด้วยมนต์ปัสสาสะปราณชีพอันเคร่งฉมังของหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง

    ครั้งเมื่อสำเร็จแล้วด้วยอิทธิเวทพุทธาคม กิตติคุณของตะกรุดโทนมหาวิเศษก็ขจรขจาย ควบคู่กันไปกับนามของหลวงปู่อย่างสุดหล้าฟ้าเมืองไทยเลยทีเดียว " ตะกรุดโทนของหลวงปู่เอี่ยมวัดสะพานสูงมีปาฏิหารย์ดุจดังเทวดาสร้างมีค่าควรเมืองหรือค่าพันตำลึงทอง ปลุกเสกองค์เดียวด้วยโองการมหาทะมึนให้ได้ครบ 10,000 จบเป็นเวลาถึง 3 ปี ( 3 พรรษา ) จะเห็นไม่อิทธิวัตถุของสำนักใด ๆ ที่มีการตั้งใจปลุกเสกอย่างลึกล้ำเสมอเหมือนพระปิดตาและพระตะกรุดโทนฯของหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูงเป็นแน่แท้ด้วยตัวของท่านเองโดยเฉพาะ " มีอานะภาพทุกด้านเรียกได้ว่าครอบจักวาล ผู้ใดมีไว้ครอบครองหมั่นบูชากราบไหว้ด้วยความศรัทธาและเชื่อมั่นจะเป็นสิริมงคงแก่ตัวและวงศ์ตระกูลและพ้นจากภับพิบัติต่าง ๆ ชีวิต จักไม่ตกต่ำเป็นมหามงคลยิ่งใหญ่มีเมตตามหานิยม , เจริญลาภผล จังงัง , กำบังภัย , แคล้วคลาด , คงกระพันชาตรี , บำบัดและป้องกันเจ็บไข้ เสนียดจัญไรโจรภัยกันไฟพ้นจากศัตรูหมู่สัตว์ร้าย อย่าว่าแต่ปืนผาหน้าไม้เลยแม้แต่อหิงสาหรือฟ้าผ่าก็ยังกันได้ แจ้งเหตุการณ์ให้ทราบก่อนล่วงหน้า ดลใจในทางที่ถูกที่ควร ถ้าอยู่ในบ้านเรือนบูชา ก็จะมีแต่ศิริมงคล แต่ที่สำคัญที่จะทำให้ผู้มีไว้ครอบครองได้สัมฤทธิ์ผล แห่งเดชานุภาพทั้งปวง แต่ต้องปฏิบัติตนให้อยู่ในศีลธรรม ตะกรุดฯ หลวงปู่เอี่ยมจึงเด่นขึ้นสู่ความนิยมสูงยิ่งเป็นอันดับหนึ่งของบรรดาเครื่องรางและตะกรุดมาเนิ่นนานกว่าใคร เป็นวัตถุมงคลที่มีสนนราคาสูงยิ่ง และหายากยิ่งจนมีผู้สืบเสาะอยากจะเป็นเจ้าของกันทั่วไป

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง นนทบุรี ออกวัดป่าเลไลย์ นนทบุรี
    ให้บููชา150 บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ

    ลป.เอี่ยม.jpg ลป.เอี่ยมหลัง.jpg
     
  7. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,211
    ค่าพลัง:
    +21,324
    26020105_0_20160524-215953.jpg
    ประวัติหลวงปู่สนิท วัดลำบัวลอย
    นามเดิมท่านชื่อ นายสนิท มีพงษ์
    กำเนิดเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2468 ( ในแผ่นดินรัชกาลที่ 6 )

    บิดาชื่อ นายบุญ มีพงษ์
    มารดาชื่อ นางเรือง มีพงษ์
    มีพี่น้อง จำนวน 7 คน ท่านเป็นบุตร คนที่ 4
    1. นางบุญเรือน
    2. นางทองชุบ
    3. นางละม้าย
    4. พระครูวรเวทย์นิวิฐ (หลวงพ่อสนิท)
    5. นางจิต
    6. นางลำจวน
    7.นางเตี้ย
    บ้านที่อยู่เดิม บ้านวังชัน ต.วังกุ้ง อ.ศรีมหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี
    กำพร้ามารดาเมื่อยังเยาว์วัย ต่อมาบิดา ถึงแก่กรรมได้ย้ายมาอยู่กับพี่สาวที่
    บ้านลำบัวลอย ตำบลท่าเรือ อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก
    เมื่ออายุครบบวชท่านได้บวชที่วัดท่าเรือ วันที่ 28 เมษายน พ.ศ.2490
    โดยมีท่าน พระครูอุทัยธรรมธารี ( หลวงพ่อตี่ สุริยวงศ์สวัสดี ) วัดท้าวอู่ทอง
    จังหวัดปราจีนบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการจรูญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการทองพูน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับ ฉายา " ยสินธโร"
    และได้จำพรรษา อยู่ที่วัดลำบัวลอยซึ่งวัดนี้ตั้งมาตั้งแต่ปี 2480 ยังเป็นวัดเล็กๆตั้งอยู่กลางทุ่งนา ระหว่างวัดเกาะกา ( ตั้งอยู่บ้านเกาะกา หมู่ที่ 1 ตำบลท่าเรือ อำเภอบางพลี จังหวัดนครนายก ) ขณะนั้นวัดลำบัวลอย ยังอยู่ในถิ่นทุรกันดาร และ การคมนาคม ก็ยังไม่สะดวกสบาย เหมือนดังทุกวันนี้ เพราะเพิ่งเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 และ สงครามมหาเอเซียบูรพา

    ประวัติการศึกษาของหลวงปู่สนิท วัดลำบัวลอย

    ด้านปริยัติธรรม
    เมื่อหลวงปู่สนิท อุปสมบทแล้วจึงเดินทางกลับวัดลำบัวลอย เป็นยุคที่วัดลำบัวลอยเสื่อมโทรมถึงที่สุด เพราะเจ้าอาวาสลาสิกขาบทไป เหลือแต่พระภิกษุหนุ่มและสามเณรน้อยดูแลความประพฤติกันเอง โดยมีภิกษุเพียง 2 พรรษา เป็นผู้ควบคุมดูแลหมู่คณะ ให้บังเกิดความสวยงามแห่งสมณะวิสัย
    เมื่อหลวงปู่สนิทครั้งยังเป็นหนุ่ม ภิกษุนวกะไม่ได้นิ่งนอน ทำวัตรสวดมนต์เสร็จกิจก็ท่องเจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน ครบถ้วนกระบวนความซึ่งเป็นเครื่องยังชีพ ที่ต้องออกไปสวด มนต์ฉลองศรัทธา ญาติโยม ที่มานิมนต์ นอกจากปัจจัยสี่ ประกอบด้วย ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ยรักษาโรค นอกจากร่ำเรียนเจ็ดตำนาน สิบสองตำนานแล้ว หลวงปู่ยังคงค้นคว้าร่ำเรียนพระธรรมวินัย อันเป็นคำสั่งสอนของเวไนยสัตว์ ให้หลุดพ้นจากกิเลสเครื่องตรึงรัดมัดจิตใจ ให้หลงในลาภ สักการะ และยศถาบรรดาศักดิ์ ต่างๆ และ เรียนรู้กฎระเบียบแห่งการปกครอง และคำบัญญัติ ข้อห้ามของพระภิกษุ สามเณร แต่ว่าไม่ได้สอบนักธรรม ในพรรษาแรก
    ในปี 2496 หลังจากหลวงปู่สนิท อุปสมบท ได้ 6 พรรษา หลวงปู่สนิท ได้สอนพระเณร ภายในวัด จนสอบได้นักธรรมตรี หลายองค์ ทางพระเถระชั้นผู้ใหญ่ก็ให้หลวงปู่สนิท สอบนักธรรม สนามหลวง หลวงปู่สนิท จึงลงสอบนักธรรมที่สนามหลวง ผ่านถึงนักธรรมชั้นโท ในปีหลังๆต่อมาท่านก็ไม่ได้เข้าร่วมสอบอีก คงรับหน้าที่ สั่งสอนพระ ลูกศิษย์ ลูกหาตลอดมา ส่วนการภาวนาปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐาน อุบายของท่านไม่ยุ่งยากอะไรเลย เพียงแต่ให้รู้จัก ถอนใจออกจากตัว อันเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวว่า ตัวกูของกู และ รู้จักทำใจให้เกิดความวิเวก แค่นี้พอ ถ้าท่านผู้ใด ปฎิบัติได้เพียงเท่านี้ ก็ถือว่าท่านได้สำเร็จ ไปขั้นหนึ่งแล้ว

    ด้านพระเวทย์วิทยาคม
    หลวงปู่สนิท มีความสนใจทางโหราศาสตร์ และทางไสยศาสตร์ จึงได้เสาะหาอาจารย์ เพื่อร่ำเรียน คัมภีร์เลขยันต์ คาถาอาคม สรรพวิทยาคุณต่างๆ และ แพทย์แผนโบราณ จนแตกฉาน ชำนิ ชำนาญ ในการแก้คุณไสย การถูกกระทำย่ำยีจากศัตรู รอบรู้การแก้ สรรพพิษ ยาเบื่อ ยาเมา ยาสั่ง ตลอดจนคนที่มีอาการผิดปกติ ทางประสาท ท่านก็เมตตารักษา โดยท่าน ไปขอร่ำเรียนจากครูบาอาจารย์ดังต่อไปนี้
    1. พระอาจารย์เส็ง ซื่อสัตย์ วัดสันทรีย์ วิชาจระเข้
    2. พระครูอุทัยธรรมธารี (หลวงพ่อตี่ สุริยวงศ์สวัสดี) วัดท้าวอู่ทอง จ.ปราจีนบุรี วิชาแพทยแผนโบราณ
    3.หลวงพ่อทองดำ วัดโคกหม้อ จ.นครสวรรค์ เรียนวิชาวิทยาคม และ ตำรายาไทย การสูญฝี และ การรักษาโรคต่างๆ
    4,หลวงพ่อดำ วัดกุฎิ หรือ วัดศรีมงคล ชื่อเดิม คือ วัดกฎิศรีธรรม จ.ปราจีนบุรี เจ้าตำหรับ การสร้างพระปิดตา ตะกั่วดำ พิมพ์ปักเป้า อันลือเลื่อง การป้องกันยาสั่ง และ คงกระพันชาตรี
    และ หลวงปู่ยังได้ เก็บสะสมตำราพระเวทย์ ของ ครูบาอาจารย์ แต่ก่อนเก่าอีกมากมาย ซึ่ง ท่านก็ได้ ศึกษา สอบทาน และมาช่วยสงเคราะห์ แก่ญาติโยม ที่ต้องการที่พึ่งทางใจ ในยุค ที่บ้านเมือง เต็มไปด้วยชุมโจร และ การรักษาพยาบาล ที่ทางการเข้าไปดูแลประชาชน ไม่ทั่วถึง หลวงปู่ได้ใช้สรรพวิชาที่เรียนมา ช่วยดูแลให้เขาเหล่านั้น หายจากโรคภัยไข้เจ็บ กลับไปประกอบอาชีพได้ดังเดิม.......
    ............................................................................................................
    ข้อมูลจากจากหนังสือ เปิดตำนาน สุดยอดวัตถุมงคล หลวงปู่สนิท เล่ม 1
    http://watlumbualoy.com/news-detail_3238_12025

    พระอาจารย์เส็ง ซื่อสัตย์ วัดสันทรีย์ ปรมาจารย์ สอนวิชาจระเข้โทนแก่ หลวงปู่สนิท วัดลำบัวลอย


    เมื่อครั้งสมัยหนุ่มแน่นนั้น หลวงปู่สนิท ยสินธโร เดินทางไปปราจีนบุรี เสาะหาอาจารย์ชื่อดังที่สร้างและปลุกเสก "จระเข้โทน" ก็ได้พบกับ พระอาจารย์เส็ง วัดสันทรีย์ ซึ่งมีศักดิ์ เป็นหลวงลุง ของหลวงปู่สนิท เมื่อได้พบกันแล้ว หลวงปู่สนิทจึงขอฝากตัวร่ำเรียนวิชาจระเข้โทน จนสำเร็จแล้ว ซึ่งต่อมาในบั้นปลายชีวิต ของหลวงปู่เส็ง ได้สึกออกมาเป็นฆราวาส ประกอบวิชาแพทย์แผนโบราณ รักษาผู้ป่วยที่มาเจ็บไข้ไม่สบาย ในละแวกบ้านลำบัวลอย

    หลวงปู่สนิทเคยเล่าให้ฟังว่า แรกๆท่านไม่เคยเชื่อเรื่องนี้เลย หลวงปู่เส็ง จึงพาท่านไปที่ริมแม่น้ำ และ หยิบจระเข้ออกจากย่ามมา 4 ตัว เป็นเนื้อไม้ทองหลาง เนื้อไม้คูณ จากนั้นหยิบมาบริกรรมพระคาถา สักพักและโยนลงน้ำ ทั้ง 4 ตัว สักพักเห็นเป็น จระเข้ใหญ่ๆ 4 ตัวลอยขึ้นเหนือน้ำ น่าเกรงขามมาก เพราะทุกตัวขยับเขยื้อนเหมือนมีชีวิตจริง สักพักหลวงลุงเส็ง เอามือตบที่ริมตลิ่งเบาๆ เพียงไม่นานจระเข้เหล่านั้นก็คลานเข้ามาใกล้ๆ แล้วก็กลายร่างเป็นจระเข้ ไม้ตามเดิม แต่คราวนั้น จระเข้ที่ว่ายกลับมาจริงๆ แค่ 2 ตัว ส่วนอีกสองตัวหายไปไม่กลับมา มองหาไปหามาก็ไม่เจอ หลวงลุงเส็งจึงบอกว่า จระเข้อาคมนี้จะอยู่ได้เพียง 7 วันหลังจากนั้นจะกลับกลายเป็นไม้ตามเดิม....

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ
    พระผงประธานพรหลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย ปี ๒๕๒๒
    ให้บููชา250 บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ


    ลพ.สนิท.jpg ลพ.สนิทหลัง.jpg

     
  8. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,211
    ค่าพลัง:
    +21,324
    วัดพระพุทธบาทตากผ้า ต.มะกอก อ.ป่าซาง จ.ลำพูน

    ข้อมูลจากเวบพระรัตนตรัย โพสท์โดย prt เมื่อ วันอังคาร 21 มิถุนายน 2005

    rosebar-2.gif

    kb-phromma-00.jpg

    นามเดิม : - พรหมา พิมสาร

    กำเนิด : - วันอังคารที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๑ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๐ (เดือน ๑๒ เหนือ ปีจอ พ.ศ. ๒๔๔๑) ณ บ้านป่าแพ่ง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน (ป่าซางปัจจุบัน)

    บิดา - มารดา : - พ่อเป็ง พิมสาร และแม่บัวถา พิมสาร มีพี่น้องร่วมกัน ๑๓ คน ท่านเป็นคนที่ ๗ คือ

    ๑. พ่อน้อยเมือง พิมสาร

    ๒. เป็นเด็กหญิง

    ๓. แม่อุ้ย หล้าดวงดี

    ๔. พ่อหนานนวล พิมสาร

    ๕. พ่อหนานบุญ พิมสาร

    ๖. พระสุธรรมยานเถร (ครูบาอินทรจักรรักษา)

    ๗. พระสุพรหมยานเถร (ครูบาพรหมมา)

    ๘. พระครูสุนทรคัมภีรญาณ (ครูบาคัมภีระ วัดดอยน้อย)

    ๙. พ่อหนานแสง พิมสาร

    ๑๐. แม่ธิดา สุทธิพงศ์

    ๑๑. แม่นางหลวง ณ ลำพูน

    ๑๒. เด็กหญิงตุมมา พิมสาร (ถึงแก่กรรมตั้งแต่เด็ก)

    ๑๓. นางแสนหล้า สุภายอง

    kb-intajakraksa.jpg
    ครูบาอินทจักรรักษา วัดน้ำบ่อหลวง เชียงใหม่
    บิดามารดาเป็นผู้มีฐานะพอมีอันจะกิน มีอาชีพทำนา ทำสวน ประกอบสัมมาอาชีวะ ไม่มีการยิงนกตกปลา ไม่เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ และไม่มีการเลี้ยงหมูขาย มีความขยันถี่ถ้วนในการงาน ปกครองลูกหลานโดยยุติธรรม ไม่มีอคติ หนักแน่นในการกุศล ไปนอนวัดรักษาศีลอุโบสถเป็นประจำทุกวันพระ

    บิดาท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ได้ถึงแก่กรรมในสมณเพศเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๔ อายุ ๙๐ ส่วนมารดาของท่านได้นุ่งขาวรักษาอุโบสถศีลทุกวันพระตลอดอายุ ได้ถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๗ อายุ ๗๐

    เมื่อเด็กชายพรหมาวัยพอสมควรได้ช่วยพ่อแม่ทำงาน ทำนา ทำสวน เลี้ยงวัว เลี้ยงควาย งานประจำคือตักน้ำ ตำข้าว ปัดกวาดทำความสะอาดบ้านเรือนเป็นการตอบแทนบุญคุณของบิดามารดาเท่าที่พอจะทำได้ตามวิสัยของเด็ก

    การศึกษา :

    - ท่านครูบาพรหมมาได้เรียนหนังสืออักษรลานนาและไทยกลางที่บ้านจากพี่ชายที่ได้บวชเรียนแล้วได้สึกออกไป เพราะสมัยนั้นตามชนบทยังไม่มีโรงเรียนสอนกันอย่างปัจจุบันแม้แต่กระดาษจะเขียนก็หายาก ผู้สอนคือพี่ชายก็มีงานมาก ไม่ค่อยได้อยู่สอนเป็นประจำ จึงเป็นการยากแก่การเล่าเรียน อาศัยความตั้งใจและความอดทนเป็นกำลังจึงพออ่านออกเขียนได้

    เหตุบรรพชา :

    - อาศัยที่ได้ติดตามบิดามารดาไปวัดบ่อยๆ ได้เห็นพระภิกษุสามเณรอยู่ดีกินดี มีกิริยาเรียบร้อยก็เกิดความเลื่อมใส ยิ่งได้เห็นพระพี่ชายที่บวชอยู่หลายรูปพากันมาฉันข้าวที่บ้านยิ่งเพิ่มความเลื่อมใสยิ่งขึ้น

    ต่อมาท่านก็จำได้ว่าปีนั้นเป็นปีชวด ปี พ.ศ. ๒๔๕๕ เป็นปีที่สงครามโลกครั้งที่ ๑ กำลังจะเกิด ปีนั้นดินฟ้าอากาศก็วิปริตผิดปกติ บ้านเรือนแห้งแล้ง ข้าวยากหมากแพง ผู้คนต่างถูกทุพภิกขภัยเบียดเบียนระส่ำระสาย ทั้งทางราชการก็เร่งรัดเกณฑ์ผู้คนไปเป็นทหารกันวุ่นวาย ท่านได้เห็นเหตุการณ์ดังนั้นก็รู้สึกไม่สบายใจ จึงน้อมใจไปในการบวชมากขึ้น ประกอบกับได้เห็นพวกเพื่อน ๆ ที่อยู่บ้านใกล้เรือนเคียงหนีไปบวชกันแทบทุกวัน จะเป็นการบวชหนีทหารหรือบวชผลาญข้าวสุก หรือบวชเพื่อความพ้นทุกข์อย่างไรไม่ทราบ

    บรรพชา :

    - เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๕ เวลา ๑๕.๐๐ น. อายุ ๑๕ ปี ท่านถือผ้าจีวรกับดอกไม้ธูปเทียนลงจากเรือนไปด้วยความอาลัยบิดามารดาเป็นที่สุด ขณะนั้นมีพี่ชายติดตามไปด้วย ครั้นไปถึงวัดป่าเหียง ตำบลแม่แรง อำเภอปากบ่วง (ป่าซางในปัจจุบัน) พระพี่ชายก็จัดการโกนหัวโกนคิ้วให้ แล้วบิดานำเด็กชายพรหมากราบขอบรรพชา ณ.วัดป่าเหียง ต.แม่แรง อ.ป่าซาง มีเจ้าอธิการแก้ว ขัตติโย เป็นพระอุปัชฌาย์

    ครั้นพระอุปัชฌาย์มอบผ้ากาสาวพัสตร์ให้แล้ว ก็มีพระพี่ชายกับใครอีกท่านหนึ่งได้มาช่วยกันนุ่งห่มให้ ในขณะนั้นได้ก้มมองดูผ้ากาสาวพัสตร์อันเหลืองอร่าม อันเป็นธงชัยของพระอรหันต์ ก็เกิดความรู้สึกซาบซึ้ง นึกว่าเป็นบุญลาภอันประเสริฐ ที่ได้เกิดเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนา จะขอบวชอุทิศตนต่อพระพุทธศาสนาจนกว่าชีวิตจะหาไม่

    เมื่อบวชแล้วพระอุปัชฌาย์ผู้เคร่งครัดในวินัยได้เมตตา แนะนำสั่งสอนศีลาจารวัตร พร้อมทั้งการปฏิบัติธรรม เมื่อเป็นสามเณรต้องท่องจำสวดมนต์ ๑๕ วาร ตั้งแต่ เยสันตา จนถึง มาติกามหาสมัย โดยเขียนใส่กระดานชนวนกว้าง ๑ คืบ ยาว ๑ ศอก กำหนดต้องท่องจำวันละ ๑ แป้น

    ท่านว่าชั้นแรกรู้สึกหนักใจ เห็นตัวหนังสือเล็กขนาดอ่านจนไม่ถนัด นึกว่าเราจะจำได้หรือไม่หนอ แต่เมื่อตั้งใจท่องอย่างจริงจัง ก็ได้วันละ ๑ แป้นจริง ๆ แป้นนั้นท่านยังเก็บไว้เป็นอนุสรณ์

    ขณะที่กำลังเรียนอยู่ได้พยายามหลีกเร้นหลบหนีหน้าคนอื่นเสมอ แม้เดินทางไปฉันข้าวยังบ้าน ก็พยายามไปคนเดียว เพื่อฉวยโอกาสสวดมนต์ไปตามทาง นอกจากนั้นสามเณรพรหมาได้เข้าโรงเรียนประชาบาล จนจบประถมศึกษาปีที่ ๓ ซึ่งเทียบกับประถมปีที่ ๔ สมัยนี้ เพราะเวลานั้นประถม ๔ ยังไม่มีสอนกัน

    เมื่ออายุย่างเข้า ๑๗-๑๘ ก็ได้ศึกษานักธรรมตรีตามลำพัง เพราะเวลานั้นยังไม่มีโรงเรียนและครูสอน หนังสือเรียนก็หายาก มีเพียงนวโกวาทกับธรรมนิเทศและวินัยวินิจฉัย ๒-๓ เล่มเท่านั้น ครั้นรอบปีมา ทางจังหวัดก็จัดให้มีการสอบครั้งหนึ่ง เป็นการสอบเฉพาะจังหวัด เพราะทางคณะสงฆ์ยังไม่ได้เปิดสนามสอบอย่างสมัยนี้ ใครสอบได้ก็ออกประกาศนียบัตรรับรองให้ ทำกันอย่างนี้เป็นเวลา ๒ ปี

    ต่อมาประมาณปี พ.ศ. ๒๔๕๙ จึงมีสำนักเรียนและครูสอนเป็นหลักแหล่ง โดนคณะสงฆ์ได้จัดตั้งสำนักเรียนที่วัดฉางข้าวน้อยเหนือ ซึ่งเป็นวัดเจ้าคณะอำเภอสมัยนั้น ท่านกับสามเณรมอน อินกองงาม ได้พากันเดินไปศึกษาตลอดพรรษา ซึ่งมีระยะทางไกลประมาณ ๓ กิโลเมตร ต้องเดินผ่านทุ่งนาการไปมาลำบากมาก ครั้นออกพรรษาแล้วก็ได้ย้ายไปอยู่วัดฉางข้าวน้อย เพื่อการศึกษาทั้งนักธรรมและวิชาสามัญ

    อุปสมบท :

    kb-keo-wat-pa-heang-1.jpg
    ท่านอธิการแก้ว ขัตติโย

    วัดป่าเหียง

    - อุปสมบทเมื่ออายุได้ ๒๐ ปี ณ พัทธสีมาวัดป่าเหียง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน เมื่อวันที่ ๑๖ ม.ค. ๒๔๖๑ เจ้าอธิการแก้ว ขัตติโย (ครูบาขัตติยะ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ฮอน โพธิโก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์สม สุวินโท เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "พรหมจักโก"

    เมื่อเป็นพระภิกษุท่านได้หมั่นเล่าเรียนศึกษาปฏิบัติ จนปี พ.ศ.๒๔๖๒ ทางการคณะสงฆ์ได้ทำการเปิดสอบนักธรรมสนามหลวงขึ้น ท่านก็ได้เข้าสอบนักธรรมสนามหลวง มีนักเรียนใน ๗ จังหวัดภาคพายัพ จำนวน ๑๐๐ รูป ได้มาสอบรวมแห่งเดียว จังหวัดลำพูนมีเข้าสอบ ๑๑ รูป ทำการสอบ ณ วัดเชตุพน จ.เชียงใหม่ พระมหานายกเป็นผู้นำข้อสอบมาเปิดสนามสอบ ในสมัยนั้นข้อสอบวิชาละ ๒๑ ข้อ ผลการสอบออกมามีผู้สอบได้ ๒ รูป คือครูบาพรหมา พรหมจักโก และพระทองคำ วัดเชตุพน นอกนั้นไม่ผ่าน สอบตกหมด นับว่าเป็นพระรูปแรกของจังหวัดลำพูนที่สอบได้

    ท่านพระมหานายก (พระมหานายกคือ พระปลัดขวาของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส) พร้อมคณะผู้นำข้อสอบมีความสนใจ ได้ติดตามมาถึงวัดป่าเหียง ซึ่งเป็นวัดเดิมของท่านพระภิกษุพรหมา ท่านพระมหานายกได้มาขอต่อพระอุปัชฌาย์และพ่อแม่พี่น้อง เพื่อจะรับไปศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ แต่พระอุปัชฌาย์และพ่อแม่พี่น้อง ต่างก็เป็นห่วงเป็นใย ไม่อนุมัติให้ไป โดยอ้างเหตุผลไปต่างๆ นานา มีตอนหนึ่งพระอุปัชฌาย์ได้หันมากล่าวแก่ท่านครูบาพรหมาว่า "ถ้ารักตัวก็จงตั้งใจปฏิบัติธรรม" ท่านครูบาระลึกถึงคำพระอุปัชฌาย์ เรื่องก็ยุติลงไป

    แต่ท่านก็รู้สึกเห็นใจ และขอบพระคุณพระมหานายกเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้กรุณามาขอถึงที่อยู่ด้วยความหวังดี แต่ท่านก็รู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจในตนเองที่มีบุญไม่ถึง จึงมีอุปสรรค ทำให้ไม่ได้ไปศึกษาต่อ ให้มีความรู้ทางธรรมเท่าที่ควร

    ต่อนั้นมาท่านก็ได้ระลึกถึงคำพูดของพระอุปัชฌาย์ที่ว่า "ถ้ารักตัวก็จงตั้งใจปฏิบัติธรรม" นั้นยังก้องอยู่ในหู ท่านจึงได้พยายามศึกษาหาความรู้ทางด้านการปฏิบัติธรรม จากครูบาต่างๆ หลายๆ องค์ อาทิ ท่านพระครูพิทักษ์พลธรรม (ครูบาหวัน มหาวโน) และพระครูภาวนาภิรัต (ครูบาอินทจักโก) ซึ่งเป็นพระพี่ชายที่อยู่สำนักเดียวกัน ยิ่งกว่านั้นยังได้เดินทางไปศึกษาหาความรู้ ในข้อวัตรปฏิบัติธรรม จากครูบาอาจารย์อีกหลายท่านคือ ท่านครูบาแสน ญาณวุฑฒิ วัดหนองเงือก ท่านครูบาบุญมา ปารมี วัดกอม่วง และท่านครูบาอนุ ธัมมวุฑฒิ วัดพานิช เป็นต้น เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาหาทางปฏิบัติที่ถูกต้อง พร้อมกับเวลานั้น ก็รู้สึกสังเวชในชีวิตของตน เนื่องด้วยชีวิตเป็นของไม่แน่นอน ความตายเป็นของแน่นอน ก่อนที่ยังไม่ถึงแก่ความตายนี้ ขอให้ได้บำเพ็ญสมณธรรมไว้ให้เต็มความสามารถ จะเป็นที่อุ่นใจและพอใจในชีวิต จึงได้น้อมจิตไปในทางปฏิบัติธรรม

    ออกอยู่ป่าถือธุดงค์

    อาศัยความตั้งใจ และความนึกคิดเป็นแรมปี ลุถึงอายุ ๒๔ พรรษาที่ ๔ วันอังคารที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๔ เดือนเพ็ญ ๘ (เดือน ๑๐ทางเหนือ) ซึ่งเป็นวันเข้าพรรษา ครูบาพรหมาได้ตัดสนใจกราบลาพระอุปัชฌาย์ โยมพ่อ โยมแม่ พร้อมทั้งญาติพี่น้อง เพื่อออกไปอยู่ป่าบำเพ็ญสมณธรรม เมื่อเดินทางออกจากวัด ท่านได้มุ่งตรงสู่ดอยน้อย ซึ่งตั้งอยู่ฝากแม่น้ำปิง เขต อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ระยะทางประมาณ ๑๒ กิโลเมตร มีสามเณรอุ่นเรือน (ต่อมาเป็นพระอธิการอุ่นเรือน โพธิโก วัดบ้านหวาย) ติดตามไปด้วย วันต่อมาก็มีท่านพระครูพิทักษ์พลธรรม (ครูบาหวัน วัดป่าเหียง) ได้กรุณาติดตามไปอีกท่าหนึ่ง โดยได้พักจำพรรษาอยู่ในศาลาเก่าคนละหลัง บำเพ็ญสมณธรรมได้รับความอุปถัมภ์จากญาติโยมที่อยู่แถวนั้นเป็นอย่างดี

    พอออกพรรษาท่านครูบาพร้อมคณะที่ติดตาม ได้พากันเดินทางกลับมาคารวะพระอุปัชฌาย์ พักอยู่ ๓ คืนก็ได้กราบลาท่านพระอุปัชฌาย์เพื่อเดินทางสู่ป่า พอได้เวลาประมาณตี ๓ ก็ถือเอาบาตร จีวรกับหนังสือ ๒-๓ เล่ม พร้อมทั้งกาน้ำและผ้ากรองน้ำและออกเดินทางเข้าสู่ป่า เพื่อแสวงหา ความสงบ บำเพ็ญสมณธรรมให้เต็มความสามารถ น้อมจิตไปในทางปฏิบัติ

    ภัยธรรมชาติ

    การอยู่ป่าปีแรกรู้สึกว่าลำบากมาก เนื่องจากเวลานั้นในจังหวัดภาคเหนือ ยังไม่ปรากฏว่าจะมีพระรูปไหนออกอยู่ป่ามาก่อน จึงทำให้ประชาชนเกิดความสนใจแล้วพากันมาดู ถามนั่น ถามนี่ บางพวกก็พากันมานั่งจ้องมองดูเป็นเวลานานตั้งครึ่งวัน ทำให้เกิดความรำคาญไม่สงบ จึงต้องมีการโยกย้ายมาเพื่อหลีกเร้นหลบหน้าผู้คนอยู่เสมอ บางครั้งก็มีเพื่อนสหธรรมิกได้ติดตามไปหลายรูป

    kb-phromma46.jpg
    หลวงพ่อ (องค์ขวาสุด) ถ่ายเมื่ออายุ ๒๖ พรรษา ๖

    พ.ศ. ๒๔๖๖ ระหว่างการเดินธุดงค์

    ในตอนแรกก็มีพระน้องชายกับโยมบิดาซึ่งได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว ได้ติดตามไปด้วย ในตอนหลังบางครั้งก็มีครูบาอาจารย์หลายๆ ท่าน อาทิ ท่านครูบาคำ คันธิโย วัดดงหลวงสิบลี้ เป็นต้น ได้กรุณาให้ความอบอุ่นไปอยู่ด้วย บางครั้งก็ได้ติดตามท่านครูบาภาวนาภิรัต (พี่ชาย) วัดวนารามน้ำบ่อหลวงไปเป็นครั้งเป็นคราว ตอนกลางคืนจะได้ยินเสียงร้องของสัตว์ เช่น เสือ นกปู่ต๊ก (นกถึดทือ) เป็นต้น พอถึงฤดูใบไม้ร่วงก็ร้อนจนเกือบจะไม่มีที่จะกำบัง มีครั้งหนึ่งฝนตกพื้นดินชื้นแฉะนอนไม่ได้ ก็ขึ้นไปนอนตามขอนไม้ แต่แล้วพอตื่นขึ้นก็ปรากฏว่าลงไปนอนอยู่ตามพื้นดินกันหมด บางครั้งต้องนอนในน้ำเหมือนควายนอนปลัก

    มีครั้งหนึ่งท่านครูบาพรหมาพร้อมด้วยคณะได้ไปอาศัยอยู่ป่า ไกลจากหมู่บ้านห้วยปันจ้อย อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ประมาณ ๒ กิโลเมตร ก็เกิดมีฝนห่าใหญ่หลั่งไหลตกลงมา พระทุกรูปไม่มีกลดไม่มีร่ม ต่างก็พากันลุกขึ้นไหว้พระ เอาผ้าคลุมศีรษะนั่งภาวนาอยู่ ในที่สุดก็นอนลง ทันใดนั้นก็มีน้ำป่าไหลหลากลงมา ทั้งฝนก็กระหน่ำตกไม่ขาดสาย พวกท่านก็ปล่อยเลยตามเลย นอนกันอยู่อย่างงั้น ก็เพราะต่างก็ง่วงเต็มแก่ พอตื่นขึ้นมาก็เป็นเวลาสว่าง ท่านครูบาพรหมาได้เหลือบตามองดูจีวรที่ห่มอันเปียกชุ่มว่ามันเป็นอย่างไร ปรากฏว่าเป็นดินทรายไปหมด ยกเกือบไม่ขึ้น น่าสังเวชใจในชีวิตของตนเป็นกำลัง นึกปลอบในตนเองว่าช่างมันเถอะ อะไรๆ ล้วนแต่อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาทั้งนั้น

    พอถึงเวลาภิกขาจารก็มีพวกศรัทธาชาวบ้านมากันมากหลายเพื่อตักบาตร พวกท่านก็เอาจีวรที่เปียกแฉะเป็นดินเป็นทรายนั่นแหละห่มคลุมไปบิณฑบาต ขณะนั้นมีคนแก่คนหนึ่งชื่อ พ่อพญาอักขระราชสาราจารย์ พอแกมองเห็นสภาพของพระธุดงค์เปียกม่อลอกเช่นนั้น แกก็ร้องไห้โฮออกมาด้วยความสงสารสภาพของพระธุดงค์ พลอยทำให้คนอื่นพลอยหลั่งน้ำตาลงด้วยเป็นแถว

    ครูบาท่านออกธุดงค์ ไปตามป่าเขาเกือบทุกจังหวัดในภาคเหนือ เดินทางเข้าไปเขตพม่า และจำพรรษาอยู่ในเขตพม่าเป็นเวลานาน ๕ ปี หรือตามหมู่บ้านกระเหรี่ยงชาวเขา จนท่านครูบาสามารถพูดภาษากระเหรี่ยงได้เป็นอย่างดี

    เมื่อคราวจำพรรษาอยู่ในที่ต่างๆ ท่านถือธุดงค์วัตร อยู่ป่าเป็นวัตร ออกบิณฑบาตเป็นกิจวัตร ฉันภัตตาหารวันละ ๑ มื้อ นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ภายหลังจากที่ท่านครูบาพรหมาได้ออกจาริกธุดงค์ไปตามป่า ตามนิคมต่างๆ หลายแห่งเป็นเวลา ๒๐ พรรษา ท่านได้ต่อสู้ฟันฝ่าอุปสรรคได้รับความสุข ความทุกข์ ความลำบาก บางครั้งไม่ได้ฉันภัตตาหาร ๑-๒ วัน ท่านเพียรพยายามอดทนด้วยวัตรปฏิบัติอันเคร่งครัดที่สุด

    http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/kb-bhroma/kb-bhroma_hist.htm อ่านเพิ่มเติมได้ในเวปนี้ครับ

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ
    พระผงเกษาครุบาพรหมา
    เกศาครูบาพรหมา วัดพระพุทธบาทตากผ้า รุ่น ๗ มหานคร\n\nพระเกศาครูบาพรหมา วัดพระพุทธบาทตากผ้า อริยสงฆ์เหยียบศิลาเป็นรอย *** มีมวลสารและพิธีกรรมดียิ่ง พระชุดนี้จึงได้รับความนิยมจากท้องถิ่นเเละเรียกพระชุดนี้ว่า พระเนื้อว่าน 7 นคร องค์ประกอบในการจัดสร้าง -เกศาท่านครูบาพรหมา -ผงธูปจากวัดที่เก่าแก่และศักดิ์สิทธิ์ ๗๐ จังหวัด อาทิ วัดพระธาตุดอยสุเทพ, วัดพระแก้ว, วัดพระธาตุพนม, วัดพระปฐมเจดีย์ ฯลฯ -ครั่ง -ชัน -แผ่นทองคำเปลว -ว่านเสน่ห์จันทร์ขาว -ว่านพญานางกวัก -ว่านสามพันตำลึง -ว่านนาคบ่วงบาศ -ว่านมหานิลดำ -ว่านทรหด -ว่านงาช้าง -ว่านหางช้าง -ดอกบัวสัตตบงกช -ดอกมะลิ -ดอกหอมไกล -ดอกราตรี -ดอกแก้ว -ดอกจำปา -ดอกจำปี -ดอกบุญนาค -ดอกสารภี -ส้มป่อย -ดิน ๗ มหานคร



    ให้บููชา300 บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ


    ครูบาพรหมจักร.jpg ครูบาพรหมจักรหลัง.jpg
     
  9. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,211
    ค่าพลัง:
    +21,324
    "
    พระครูสิริภัทรกิจ" หรือหลวงพ่อศรี ปริสุทโธ เป็นพระนักปฏิบัติ ที่มีความเคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีบารมีธรรมแห่งความเมตตาสูง เป็นที่นับถือศรัทธาจากพุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดสระบุรี

    ปัจจุบัน พระครูสิริภัทรกิจ สิริอายุ 81 พรรษา 61 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหน้าพระลาน และเจ้าคณะอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี

    อัตโนประวัติ มีนามเดิมว่า สมศรี ผาทอง เกิดเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2469 ที่บ้านสนามแจง ต.สนามแจง อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายหนา-นางเพียร ผาทอง

    ในช่วงวัยเยาว์ ได้อยู่ในความอุปการะของหลวงตาท่านหนึ่ง ที่วัดหนองมน อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี พร้อมกับศึกษาเล่าเรียนจนจบชั้นประถมปีที่ 4 ก่อนลาออกไปช่วยหาเลี้ยงครอบครัว

    กระทั่งอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดเขาวงกต ต.สนามแจง อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี โดยมีพระครูพรหมจริยานุวัตร วัดบ้านกล้วย เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์วัน คารโว เจ้าอาวาสวัดเขาวงกต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระปลัดสุต วัดปฐมพานิช เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    ได้รับฉายาว่า ปริสุทโธ หมายความว่า ผู้บริสุทธิ์

    หลังอุปสมบท ได้อยู่จำพรรษาที่วัดเขาวงกต โดยมีหลวงปู่เภา พระสายวิปัสสนาจารย์ แห่งวัดถ้ำตะโก ได้มาทำการฝึกอบรมทางด้านปฏิบัติด้วยตัวท่านเอง ช่วงเวลาดังกล่าวนับว่าสำนักปฏิบัติธรรมวัดเขาวงกต มีชื่อเสียงมิได้ด้อยไปกว่าวัดถ้ำตะโก

    หลวงพ่อศรี ได้รับแนวทางการปฏิบัติจิตภาวนาจากหลวงปู่เภา จนมีความเชี่ยวชาญ และอีกแนวทางหนึ่งคือ การเรียนรู้ด้านพระปริยัติธรรมควบคู่กันไปด้วย

    หลวงพ่อศรี สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ

    ภายหลังหลวงพ่อศรี ได้รับแต่งตั้งให้เป็นครูสอนนักธรรมพระภิกษุ-สามเณร และเป็นพระวิปัสสนาจารย์ ทำการสอนด้านปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน

    ทำให้สำนักเรียนและสำนักปฏิบัติธรรมวัดเขาวงกต มีชื่อเสียงมากยิ่งขึ้น

    พ.ศ.2509 หลวงปู่สุต พระอาจารย์ด้านฝึกจิตวิปัสสนากัมมัฏฐาน ได้ขอตัวหลวงพ่อศรี ให้ไปปกครองวัดหน้าพระลาน จ.สระบุรี

    ในห้วงเวลานั้น วัดหน้าพระลานอยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรม แต่ครั้นหลวงพ่อศรี ได้เข้ามาปกครองวัด ท่านได้ทำการพัฒนาเสนาสนะและดำเนินการสร้างอุโบสถจนแล้วเสร็จ

    ท่านได้ดำเนินงานพัฒนาวัดหน้าพระลาน จนเกิดเป็นรูปธรรม นอกจากอุโบสถที่สวยงาม ยังมีศาลาการเปรียญ อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก กุฏิ ศาลาธรรมสังเวช เมรุมณฑปประดิษฐานสมเด็จหลวงพ่อองค์ดำ ซุ้มประตู กำแพงวัด เป็นต้น

    นอกจากนี้ ท่านยังจัดตั้งกองทุนทางด้านการศึกษา ให้กับเด็กนักเรียน ที่มีฐานะยากจน แต่มีความพากเพียรขยัน เล่าเรียนดี มีการมอบทุนการศึกษาเป็นประจำทุกปี

    การเผยแผ่พระพุทธศาสนา หลวงพ่อศรีได้ชักชวนชาวบ้านในท้องถิ่นและใกล้เคียง เข้าวัดปฏิบัติธรรม อนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมประเพณี พร้อมสนับสนุนหน่วยงานราชการในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอีกด้วย

    ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ.2510 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดหน้าพระลาน พ.ศ.2520 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์

    พ.ศ.2539 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองเจ้าคณะอำเภอเมือง จ.สระบุรี

    พ.ศ.2541 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี

    ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2514 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ชั้นตรี ที่พระครูสิริภัทรกิจ

    พ.ศ.2520 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ชั้นโท ในราชทินนามเดิม

    พ.ศ.2546 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ชั้นเอก ในราชทินนามเดิม

    หลวงพ่อศรี ถือเป็นศิษย์สายตรงหลวงปู่เภา วัดถ้ำตะโก อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี ซึ่งท่านจะย้ำเตือนให้หลวงพ่อศรีรับฟังอย่าเสมอๆ ว่า...

    "การฝึกจิตตภาวนา โดยหมั่นทำ หมั่นปฏิบัติ จะทำให้จิตบังเกิดความสงบ สามารถเป็นปราการต่อต้านกองกิเลสได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะภาวะที่เข้าสู่จิตนิ่งสงบ จะทำการสิ่งใดก็จะเกิดปัญญา เกิดความสำเร็จ หากนำไปผสมผสานกับบทพระคาถา วิชาอาคมก็จะบังเกิดความขลังศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างดี..."

    ผลแห่งความพากเพียร ทำให้หลวงพ่อศรี ศึกษาสรรพวิชาสิ่งใด มักจะประสบกับความสำเร็จ เป็นที่ยอมรับนับถือของสาธุชนทั่วไป โดยเฉพาะบารมีด้านเมตตามหานิยมและเรื่องของฤกษ์ยามอันเป็นมงคล

    หลวงพ่อศรี เป็นเนื้อนาบุญของชาวเมืองสระบุรีอย่างแท้จริง

    หลวงปู่ศรี
    " สร้างโบสถ์ไว้เป็นสิบๆ หลัง แล้วตอนนี้กำลังสร้างหลังที่ 13 ไม่มีบารมีทำไม่ได้ ปัจจุบันอายุ 81 ปี จากประวัติระบุว่าท่านเกิดที่เมืองลพบุรี บวชที่เมืองลพบุรี ศึกษาสายตักกศิลาวัดเขาวงกต สายหลวงพ่อเภา ซึ่งมีหลวงพ่อสุต วัดปฐมพานิช เป็นพี่เลี้ยง ตอนอยู่ลพบุรีไปเรียนวิชาสายหลวงพ่อก๋ง วัดเขาสมอคอน ปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านได้รับความนิยมจากนักสะสมอย่างมาก

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ

    พระผงรูปเหมือนหลวงปู่ศรี วัดหน้าพระลาน

    ให้บููชา100 บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ

    ลป.ศรี.jpg ลป.ศรีหลัง.jpg
     
  10. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,211
    ค่าพลัง:
    +21,324
    upload_2019-5-27_22-57-30.jpeg

    พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)
    อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
    ชาตะ 8 กุมภาพันธ์ 2464
    มรณภาพ 15 พฤษภาคม 2542
    พระราชทานเพลิงศพ 31 พฤษภาคม 2543



    “หลวงพ่อพุธ ฐานิโย” หรือ “พระราชสังวรญาณ” เป็นลูกศิษย์รุ่นสุดท้ายของ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ท่านกำพร้าพ่อแม่มาตั้งแต่เด็ก




    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ท่านมีนามเดิมว่า พุธ อินทรหา ท่านเกิดเมื่อวันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2464 ณ หมู่บ้านชนบท ต.หนองหญ้าเซ้ง อ.หนองโดน จ.สระบุรี เป็นบุตรคนเดียวของบิดามารดา ครอบครัวมีอาชีพทำนาทำไร่ ในช่วงอายุได้ 4 ขวบ บิดามารดาได้ถึงแก่กรรม ท่านจึงย้ายมาอยู่กับญาติพี่น้องที่ หมู่บ้านโคกพุทรา ต.ตาลเนิ้ง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร



    อุปสมบท
    ในช่วงวัยเยาว์ ท่านได้ออกศึกษาหาความรู้ ในโรงเรียนประชาบาลวัดไทรทอง ท่านได้เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จึงได้ลาออกมาแล้วบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อปี พ.ศ. 2479 เมื่อมีอายุได้ 15 ปี ที่วัดอินทรสุวรรณ ซึ่งตั้งอยู่ภายในหมู่บ้านโคกพุทรา ต.ตาลเนิ้ง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร




    เรียนรู้ธรรม
    หลังจากบรรพชาแล้ว ท่านก็อาศัยอยู่กับท่านพระครูโพธิภูมิไพโรจน์ ท่านได้รับเมตตา จากพระอาจารย์ให้ได้ศึกษาทางด้านปริยัติธรรมด้วย และในพรรษาแรกนี้เอง สามเณรพุธสามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี และเริ่มรับการฝึกอบรมด้านปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จากท่านพระอาจารย์เสาร์เป็นครั้งแรก ต่อมาในปี พ.ศ.2483 ท่านพระอาจารย์เสาร์ ได้พาหลวงพ่อไปฝากตัวเป็นศิษย์ ท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถระ ณ วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร ซึ่งหลวงพ่อได้จำพรรษาเรื่อยมาจนอายุครบบวช 21 ปี จึงได้อุปสมบทเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 ณ วัดแห่งนี้ หลวงพ่อได้ปฏิบัติศาสนกิจช่วยงานพระศาสนาตลอดมา และในช่วงสงครามเอเซียบูรพา ท่านได้อพยพ กลับไปจำพรรษาที่วัดบูรพา จ.อุบลราชธานี และท่านได้อยู่จำพรรษาที่วัดแห่งนั้นจนถึงปี พ.ศ. 2489 ระหว่างนั้น ท่านได้อาพาธอย่างหนักด้วยวัณโรค มีหมอมารักษาตั้งหลายคน แต่แล้วก็สู้ไม่ไหว ต่อมาท่านได้พบกับ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร และหลวงปู่ฝั้นก็ได้ช่วยรักษาโดยการให้ตั้งใจเพ่งอาการ 32 โดยให้พิจารณาถึงความตายให้มากที่สุด ไม่ต้องพิจารณาเรื่องอื่น
    หลวงพ่อพุธทำตามอุบายของหลวงปู่ฝั้นทันที แรกๆ ดูเหมือนไม่มีอะไร แต่พอพิจารณาหนักเข้าๆ ปรากฏว่ามีผลมาก ท่านใช้เวลารักษาตัวอยู่ประมาณ 10 ปี โรคร้ายจึงหายขาด


    พอหายจากป่วยไข้ไม่นาน ก็ได้รับแต่งตั้งให้ดูแลการงานเกี่ยวกับคณะสงฆ์ตามลำดับดังนี้
    • ผู้ช่วยเจ้าคณะอำเภอวารินชำราบ เมื่อ พ.ศ. 2495
    • เจ้าอาวาสวัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อ พ.ศ. 2496
    • เจ้าคณะอำเภอวารินชำราบ เมื่อ พ.ศ. 2500
    • เจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ เมื่อ พ.ศ. 2511
    • เจ้าอาวาสวัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา เมื่อ พ.ศ. 2513
    และในปี พ.ศ. 2535 ท่านได้รับสมณศักดิ์เป็น “พระราชสังวรญาณ”


    หลวงพ่อพุธ เป็นผู้ที่ได้ทำคุณประโยชน์อย่างสูงต่อพระพุทธศาสนา ท่านปฏิบัติกิจของสงฆ์อย่างไม่หยุดยั้ง และทำหน้าที่เป็นวิทยากรบรรยายธรรม อบรมสมาธิภาวนาให้กับพุทธบริษัทในสถานที่ต่าง ๆ มาตลอด


    ละสังขาร
    หลวงพ่อพุธ ท่านได้ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ด้วยโรคมะเร็งในลำคอ รวมสิริอายุได้ 78 ปี

    http://www.thaniyo.com/typography/2009-04-13-03-31-02

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญหลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน
    ให้บููชา100 บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ(ปิดรายการ)

    ลพ.พุธ.jpg ลพ.พุธหลัง.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤษภาคม 2019
  11. wangbao

    wangbao Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2018
    โพสต์:
    190
    ค่าพลัง:
    +151
    ขออนุญาตจองครับ
     
  12. wangbao

    wangbao Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2018
    โพสต์:
    190
    ค่าพลัง:
    +151
    ขออนุญาตจองครับ
     
  13. wangbao

    wangbao Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2018
    โพสต์:
    190
    ค่าพลัง:
    +151
    ขออนุญาตจองครับ
     
  14. Karoonsur

    Karoonsur Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2018
    โพสต์:
    412
    ค่าพลัง:
    +211
    จองครับ
     
  15. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,211
    ค่าพลัง:
    +21,324
    upload_2019-5-28_12-26-47.jpeg

    ประวัติเกจิ หลวงปู่แดง สิริภทฺโท

    หลวงปู่แดง สิริภทฺโท



    หลวงปู่แดง สิริภทฺโท ปี 2555 อายุ 96 ดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสวัดห้วยฉลองราษฎร์บำรุง หมู่ที่ 2 บ้านห้วยฉลอง ต.ถ้ำฉลอง อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ อัตโนประวัติ เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 5 เมษายน 2459 ปีมะโรง ที่บ้านนาตารอด ต.หาดงิ้ว อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายพลอยและนางบาง เพ็ชรสวัสดิ์ เป็นบุตรคนที่ 7 ในจำนวนพี่น้อง 7 คน ช่วงอายุได้ 12 ปี บิดามารดาพาไปบวชเณรกับหลวงพ่อฮวบ เจ้าอาวาสวัดสามัคยาราม ต.บ้านด่าน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ เนื่องจากฐานะทางบ้านยากจน ช่วงที่บวชเณรอยู่นั้น ได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยและศึกษาตำราเรียนสมุนไพรจากใบลาน พร้อมทั้งศึกษาคาถาบาลี เลขยันต์จากหลวงพ่อฮวบ เป็นเวลา 4 ปี ก็ได้สึกออกมาช่วยเหลือพ่อแม่ทำงาน กระทั่งอายุครบได้ 20 ปี ก็ได้อุปสมบท มีหลวงพ่อไซร์ ติสฺสโร เจ้าอาวาสวัดช่องลม (วัดหนองเหี้ย) ต.แสนตอ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ เป็นพระครูอุปัชฌาย์ จากนั้นได้ศึกษาวิชาไสยเวท วิชาอาคมด้านแคล้วคลาด ผูกดวง ดูดวง พร้อมทั้งเรียนภาษาบาลีและตำรายาสมุนไพรเพิ่มเติมอย่างตั้งใจจนเรียนสำเร็จ และเรียนจนกระทั่งจบนักธรรมตรี บวชเรียนอยู่ได้นานเกือบ 8 ปี สึกออกมาและมีครอบครัวรวมระยะเวลาที่เล่าเรียนอยู่กับหลวงพ่อฮวบและหลวงพ่อไซร์(วัดชองลม)นานถึง 13 ปี เมื่อมีครอบครัวแล้ว ก็ได้นำวิชาที่เล่าเรียนมาประกอบอาชีพเป็นหมอสมุนไพรรักษาโรคทั่วไปและโรคร้ายให้กับชาวบ้าน โดยเฉพาะโรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษ ที่ใครเป็นแล้วก็ตามมักจะรักษาไม่หาย แต่เมื่อมาถึงหมอแดง โรคร้ายดังกล่าวจะหายไปทันที เพราะเชื่อกันว่าได้นำตัวยาสมุนไพรชนิดหนึ่งมาต้มพร้อมกับเป่ามนต์ไสยเวทไปด้วย ระหว่างที่เป่ามนต์ไสยเวทก็ได้ระลึกนึกถึงพระพุทธชินราช ซึ่งเป็นพระครูบาอาจารย์ใหญ่ประจำมณฑลภาคเหนือ ในระหว่างที่เคี่ยวตัวยาทำให้ได้ยาที่สมบูรณ์แบบ จนได้รับฉายาว่า พ่อเลี้ยงแดง มีชื่อเสียงโด่งดังไปในหมู่บ้านและดังไปไกลทั่วทุกสารทิศในภาคเหนือ อยู่กับครอบครัวจนมีบุตร-ธิดารวมกัน 4 คน ช่วงเวลาเช้าและเย็นมักจะหาเวลาเข้าวัดสม่ำเสมอเพื่อปฏิบัติธรรม ถือศีลภาวนา หรือแม้แต่อยู่ที่บ้านก็หาเวลานั่งสมาธิและปฏิบัติธรรมมิได้ขาด จนคนในหมู่บ้านเลือกให้เป็นมรรคนายกวัด ในช่วงมีพิธีงานบวช งานบุญก็จะเรียกหาใช้ให้เป็นผู้นำทางด้านศาสนพิธี ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ นำสวดมนต์เช้า สวดมนต์เย็น และนำสวดในพิธีต่างๆ ที่สำคัญทางศาสนา กระทั่งอายุได้ 73 ปี บุตร-ธิดา ได้โตจนมีครอบครัวสามารถเลี้ยงหาดูแลตนเองได้แล้ว ไม่น่าเป็นห่วงอะไรอีกต่อไป จึงได้บวชเป็นพระภิกษุอีกครั้ง โดยมี หลวงพ่อฟัก ภูริปัญโญ หรือ พระครูนิกรธรรมรักษ์ เจ้าอาวาสวัดหาดงิ้ว ต.หาดงิ้ว อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ เป็นพระครูอุปัชฌาย์ มีพระอาจารย์วิเชียร เจ้าอาวาสวัดเกาะเรไร และ พระอธิการอารมณ์ เจ้าอาวาสวัดช่องลม ต.แสนตอ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ เป็นพระคู่สวดกรรมวาจาจารย์-อนุสาวนาจารย์หลังจากที่บวชแล้วก็ได้มาอยู่ที่พักสงฆ์ห้วยฉลอง บ้านห้วยฉลอง หมู่ที่ 2 ต.ถ้ำฉลอง อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ โดยมีญาติโยมร่วมกันสร้างกุฏิมุงหลังคาสังกะสีให้จำพรรษาอยู่เพียงรูปเดียวพร้อมทั้งสร้างโรงอบยาสมุนไพร เพื่อรักษาโรคด้วยไสยเวทให้ชาวบ้านในหมู่บ้าน ทั้งได้นำวิชาความรู้ด้านอาคมแคล้วคลาด เมตตามหานิยม ผูกดวง ดูดวง ตามที่ได้เล่าเรียน หลวงปู่แดง กล่าวว่าการดำรงตนเป็นพระภิกษุต้องยึดเอาศีล 227 ข้อเป็นที่ยึดเหนี่ยว พร้อมกับหมั่นสวดมนต์ไหว้พระ นั่งภาวนาทำจิตสมาธิให้มั่นและแน่วแน่ นึกถึงครูบาอาจารย์ที่พร่ำสอนมา คติธรรมที่สั่งสอนลูกศิษย์ลูกหาคือผู้ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแล้ว ย่อมจะทำให้ชีวิตมีแต่ความก้าวหน้า มั่งมีศรีสุข ครอบครัวมีแต่ความอบอุ่นสำหรับสิ่งที่คนทั่วไปยกย่องเป็นเกจิอาจารย์นั้น หลวงพ่อแดงบอกว่ารู้สึกเฉยๆ ไม่ได้นิยมชมชอบกับสิ่งที่เยินยอออกมา ก็ได้แต่อุเบกขานิ่งเสีย เงินที่ได้มาก็ตั้งใจที่จะทำการสร้างอุโบสถให้สำเร็จลุล่วงเพียงอย่างเดียว ยึดมั่นในหลักคำสอน ทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้รับผลที่ไม่ดีตอบแทน กรรมเป็นเครื่องชี้วัดของคนทุกผู้ทุกนาม สำหรับมุมมองเครื่องรางของขลังและวัตถุมงคลต่างๆนั้น หลวงพ่อแดงบอกว่าเครื่องรางของขลังเป็นวัตถุอย่างหนึ่ง ที่สามารถเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของ
    คนให้มีสมาธิ จิตใจไม่ฟุ้งซ่าน เมื่อไม่ฟุ้งซ่านก็เกิดความศรัทธาในสิ่งนั้น ความศรัทธาบวกกับคุณงามความดีที่ได้สร้างสะสมเอาไว้ก็จะก่อให้เกิดพลังอำนาจ และพลังนี้จะเป็นผู้ทำลายสิ่งชั่วร้ายที่จะเกิดกับตน อยู่ที่ว่ามีความเชื่อมากน้อยแค่ไหน ผู้ที่มีวัตถุมงคลหรือเครื่องรางของขลัง จะต้องยึดมั่นถือมั่นทำในสิ่งที่ดี ถือศีล 5 ศีล 8 ผลดีก็จะตอบแทนภายหลัง แต่ถ้าทำชั่วเครื่องรางของขลังต่อให้ดีแค่ไหน ก็ใช่ว่าจะคุ้มครองคนชั่วได้!!


    ข้อมูลจากคอลัมน์ มงคลข่าวสด หนังสือพิมพ์ข่าวสด

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ

    พระพิมพ์ขุนแผนหลวงพ่อแดง
    ให้บููชา100 บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ

    ลพ.แดง..jpg ลพ.แดงหลัง..jpg

     
  16. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,211
    ค่าพลัง:
    +21,324
    1732-134e.jpg

    วัดไผ่โรงวัว
    ต.บางตาเถร อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี

    ข้อมูลประวัติ หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว จ.สุพรรณบุรี

    ไกลออกไปจากเมืองหลวง เมื่อหลายสิบปีที่แล้ว บริเวณทุ่งแถบนั้นเต็มไปด้วยต้นข้าวที่กำลังออกรวงเหลืองอร่าม ข้าวแต่ละรวงเบ่งบานและอวบโต จนลำต้นไม่อาจทานน้ำหนักของเมล็ดข้าวได้ ต้องโน้มตัวทอดลงสู่พื้นดิน บริเวณนั้นมีชื่อเรียกว่า "บ้านไผ่เดาะ" อยู่ในตำบลบางตะเคียน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดนี้เองนับแล้วคืออู่ข้าวอู่น้ำ ของเมืองไทยก็คงไม่ผิด
    บ้านไผ่เดาะ เป็นชุมชนที่หนาแน่นพอสมควร อาชีพหลักของผู้คนที่นั่นคือการทำนา อันเป็นอาชีพดั้งเดิมที่บรรพบุรุษมอบให้ไว้ เนื่องจากเป็นดินแดนอันอุดมสมบูรณ์ ทำนาได้ผลมากมาย ความสงบสุขจึงมีให้เห็นอยู่ทั่วไป
    ณ ที่นี่แหละ คือถิ่นกำเนิดของเด็กคนหนึ่ง ที่มีชื่อว่า "เป้า" เด็กชายเป้าผู้นี้เมื่อเติบใหญ่ได้กลายเป็นผู้ที่ได้รับการกล่าวขวัญถึง อย่างมาก น้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก แต่ก่อนที่จะถึงเวลานั้นขอให้เราย้อนกลับ ไปสู่ครั้งปฐมวัยของเด็กน้อยผู้นี้กันเถอะ
    เด็กชายเป้าเป็นบุตรของชาวนาโดยตรงผู้หนึ่ง บิดาชื่อว่า "นายช้าง" มารดาชื่อว่า "นางเปรม" มีพี่น้องรวมทั้งสิ้น ๘ คน เป้าเป็นบุตรคนที่ ๕ เมื่อเป้าเกิดทั้งพ่อแม่ญาติพี่น้อง ก็รู้ว่าเป้าไม่ใช่คนแข็งแรงอะไรนัก เพราะเป้าเป็นเด็กผอม พุงป่อง และเจ็บออดๆ แอดๆ เสมอแต่ว่าอาการนั้นก็ไม่หนักหนาอะไร คงเลี้ยงดูกันได้เรื่อยมา
    ชีวิตในวัยเด็กนั้นเป้าก็เหมือนกับเด็กอื่นๆทั่วไป คือชอบเล่นฝุ่นสนุกซุกซนตะลอนๆ ไปตามชายทุ่งและดำผุดดำว่ายอยู่ในคลองบึงที่ไม่ห่างจากบ้านนัก ทั้งๆที่เป็นเด็กซึ่งพ่อแม่ออกจะเป็นห่วงอยู่ เพราะเกรงว่าโรคภัยจะแทรกแซง เนื่องจากความอ่อนแอ แต่เป้าก็คงซุกซน และเจริญวัยเรื่อยมา พร้อมกับอายุที่เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ เป้าเริ่มมีภาระเล็กๆน้อยๆ คือติดตามผู้ใหญ่ออกไปทำนา ตามแรงความสามารถเท่าที่จะทำได้ ซึ่งก็ถือว่าเป็นการสอนวิชาชีพที่จะกลายเป็นสมบัติติดตัวไปวันข้างหน้าอีก วิธีหนึ่ง
    แต่กับพ่อกับแม่ของเป้าแล้วคิดไปไกลกว่านั้นอีก คือชีวิตของชาวนาจะมีอะไรไปมากกว่าตื่นเช้าออกสู่ทุ่งกว้าง เย็นลงก็กลับบ้าน วิชาความรู้อื่นนั้นคงไม่มี ในเมื่อหาเวลาที่จะร่ำเรียนไม่ได้ ความคิดที่วูบขึ้นมาเช่นนั้น ในขณะนั้นทำให้พ่อแม่ของเป้าตัดสินใจส่งลูกชายน้อยๆ ไปขอรับวิชาความรู้ จากแหล่งรวมของสรรพวิชาทั้งหลาย นั่นก็คือวัด วัดแรกที่เป้าได้ร่ำเรียนคือวัดใกล้ๆบ้านนั่นเอง เป้าได้รับรู้ธรรมเนียมใหม่ กล่าวคือเป้าต้องรับใช้ปรนนิบัติพระภิกษุผู้เป็นอาจารย์ด้วยหลังจากเลิก เรียนแล้ว ซึ่งก็หาทำให้เด็กน้อยเบื่อหน่ายไม่ การรับใช้อาจารย์ก็เหมือนกับรับใช้พ่อแม่ ดังนั้นเป้าจึงมิได้รังเกียจ ตรงกันข้ามกับมีความกระตือรือร้น เมื่ออาจารย์เรียกหาความรู้ในด้านอ่านออกเขียนภาษาไทยของเด็กชายเป้าก็ก้าว หน้าไปอย่างรวดเร็วอ่านเขียนได้คล่องแคล่ว และด้วยความกระตือรือร้นของเด็กผู้นี้ ทำให้อาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาบังเกิดความเมตตา สอนเด็กชายเป้าให้รู้จักอ่านเขียนภาษาขอมต่อไป
    ว่ากันว่าใครก็ตามในสมัยนั้นยุคนั้น ถ้าเรียนภาษาขอมก็ถือว่าเป็นการเรียนในชั้นสูง แต่เรียนไปได้ไม่นาน เป็นก็จำต้องย้ายวัดเพื่อการศึกษาต่อไป ตามธรรมเนียมของนักเรียนใหม่ พระอาจารย์ย่อจะปล่อยให้ผ่านไปไม่ได้ เป้าจึงต้องย้อนเรียนภาษาไทยอีกครั้งเป็นการทบทวน ดูเหมือนว่าความรู้ในภาษาไทยที่เป้ามีอยู่แล้วจะเป็นที่รับรองของพระอาจารย์ เป้าจึงได้ก้าวต่อไปสู่ชั้นสูงคือเรียนภาษาขอมอีกครั้ง
    ในครั้งนี้เด็กน้อยผู้นี้ได้แสดงความสามารถ ให้ประจักษ์อีกครั้งหนึ่งเพราะชั่วเวลาไม่นาน เป้าก็อ่านหนังสือของเลยหน้าเด็กๆรุ่นเดียวกันจนเป็นที่เลื่องลือยกย่อง อาจารย์เองก็ถึงกับออกปากชมไม่ขาดปากเลย เพื่อนๆของเป้าถึงกับออกปากอย่างล้อเลียน เป้าน่ากลัวไม่ใช่คนไทย แต่เป็นขอม จึงอ่านเขียนหนังสือขอมได้คล่องแคล่วนัก และแล้วฉายาว่า "ขอม" ก็ปรากฏขึ้นตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา แต่เมื่อเรียกกันไปนานๆ ชื่อเป้าก็ชักเลือนหายไปทุกที เพื่อนฝูงและผู้รู้จักมักคุ้นตลอดจนคนที่สูงอายุกว่า ต่างยอมรับเอาฉายาขอมเข้าไว้อย่างสะดวกปากคำหนึ่งก็ขอมสองคำก็ขอม ที่สุดชื่อเป้าอันเป้าชื่อเดิมของเด็กน้อยผู้นี้ ก็สูญหายไปจากปากอย่างเด็ดขาด กลายเป็นเด็กชายขอมขึ้นมาแทนที่
    กล่าวถึงการศึกษาที่วัด อันเสมือนโรงเรียนสำหรับยุคนั้น เปรียบได้กับการคึกษาของนักเรียนประจำในยุคนี้ กล่าวคือต้องพำนักอยู่ทีวัดตลอดไป โดยมีอาจารย์ที่เป็นทั้งครูและผู้ปกครองไปพร้อมๆกัน แต่นั่นก็หาใช่ว่านักเรียนของวัดจะไม่มีโอกาสได้กลับบ้าน ที่จริงเมื่อถึงเวลาอันสมควร นักเรียนวัดก็กลับบ้านกันทั้งนั้น เป้า หรือบัดนี้มีชื่อใหม่ตามความนิยมว่า "ขอม" ก็กลับบ้านเหมือนกัน เมื่อถึงบ้านความซุกซนแบบเดิมๆ ที่เป้าเคยเล่นซุกซนก็หายไป เป้าหรือขอมกลายเป็นเด็กที่มีระเบียบรู้จักการปรนนิบัติรับใช้ผู้สูงอายุ กว่า การพูดจาก็ฉาดฉานจะอ่านจะเขียนก็คล่องแคล่ว สร้างความชื่นใจให้กับผู้ที่เป็นพ่อแม่เป็นอย่างยิ่ง จนทำให้นายช้างและนางเปรมลงความเห็นพ้องต้องกันว่า ตนนั้นได้แก้วไว้ในมือแล้วสมควรที่จะได้รับการเจียรไนต่อไป ดังนั้นหลังจากที่ศึกษาอยู่ ณ วัดบางสามได้ระยะหนึ่งของก็ถูกส่งตัวเข้ากรุงซึ่งเป็นการเผชิญชีวิตครั้ง ใหญ่สำหรับเด็กเล็กๆ คนหนึ่งที่ไม่เคยจากบ้านไปไหนไกลเกินกว่าวัดบางสาม แต่การไปครั้งนี้หมายถึงอนาคตที่จะชี้บอกว่า ต่อไปจะได้เป็นเจ้าคนนายคน ดังคำเปรียบเทียบที่ผู้ใหญ่ชอบพูดกันหรือไม่ แทนที่จะเป็นเพียงชาวไร่ชาวนาดังบรรพบุรุษของตน และแน่ล่ะกรุงเทพฯ ช่างเป็นคำที่หวานหูเสียนี่กระไร สวรรค์สำหรับทุกคน ใครได้ไปแล้วมักไม่ยอมกลับกัน
    ขอมถูกพ่อแม่พามาฝากไว้วัดสระเกศ เนื่องจากมีภิกษุที่รู้จักคุ้นเคยกับทางบ้านจำพรรษาอยู่ที่นั่น วัดสระเกศก็เลยได้เป็นบ้านที่สองของเด็กชายขอม พร้อมๆ กับการเข้าโรงเรียนประถมศึกษาซึ่งตั้งอยู่ที่วัดนั้นด้วย บัดนี้แทนที่จะเรียนแบบแผนเก่า แต่ขอมได้เรียนหลักสูตรการศึกษา แบบใหม่ที่หลวงท่านกำหนดให้อนุชนได้เล่าเรียน ชีวิตอันเป็นประจำวันของขอม ในกรุงเทพฯ ก็เริ่มต้นด้วยการตื่นแต่เช้าตรู่ หาอาหารใส่ปากใส่ท้องแต่พออิ่ม แล้วก็มุ่งหน้าไปยังโรงเรียน คร่ำเคร่งอยู่กับการเรียนไปจนบ้ายคล้อยจึงกลับวัด คอยปรนนิบัติรับใช้พระอาจารย์ที่ขอมอาศัยอยู่ด้วย และได้อาศัยข้าวก้นบาตรของพระอาจารย์นั้นเอง เป็นอาหารยังชีพเรื่อยมา
    เวลาผ่านไปจากวันเป็นสัปดาห์ จากสัปดาห์เป็นเดือน และจากเดือนเป็นปี ขอมคงปฏิบัติตนเสมอต้นเสมอปลายกับการศึกษา ขณะที่การรับใช้พระอาจารย์ก็รักษาไว้มิให้ขาดตกบกพร่อง เป็นอยู่เช่นนี้ล่วงได้ ๓ ปี ขอมจบการศึกษาในชั้นประถมปีที่ ๓ ก็เดินทางกลับสู่อ้อมอกของพ่อแม่อีกครั้งหนึ่งขอมกลับบ้านอย่างคนที่ไปชุบ ตัวในเมืองหลวงมาแล้วเมื่อย่างก้าวไปที่ใด ก็มีแต่คนนิยมชมชอบ จะพูดจาก็มีคนนับถือ และแม้ว่าชีวิตเริ่มเข้าสู่วัยหนุ่ม ซึ่งก็หมายถึงวัยแห่งความกระตือรือร้น และการเที่ยวเตร่สนุกสนานเฮฮากับเพื่อนฝูงและสาวพื้นบ้านเป็นสิ่งที่หลีก เลี่ยงไม่ได้ก็ตามแต่หนุ่มน้อยขอมก็ไม่ยอมปล่อยใจให้ล่องลอยไปเกินกว่าขอบ เขต สิ่งที่ขอมคิดมากในขณะนั้นคือ ทำนาช่วยภาระของพ่อแม่ แต่เรานั้นหาได้เป็นคนโดยสมบูรณ์ไม่หากยังไม่ได้บวชเรียน ดังนั้นเมื่อขอมอายุครบบวช พ่อแม่ก็จัดการบวชให้ที่วัดบางสาม อันเป็นวัดใกล้บ้านและสถานศึกษาเดิมของขอม เพราะระยะเวลานี้ ขอมมีนิสัยไปในทางรักสันโดษ ชอบพินิจพิเคราะห์ตรึกตรองต่างกว่าเพื่อนวัยเดียวกันคนอื่นๆ
    พิธีอุปสมบทขอมจัดทำกันอย่างเต็มที่เท่าที่ฐานะจะอำนวยได้ และท่ามกลางความชื่นชมของทุกคนเนื่องจากพ่อแม่ของขอมเป็นผู้ที่กว้างขวางมี คนไปมาคบหาด้วยจำนวนมาก การบวชคราวนี้จึงมี พระครูวินยานุโยคแห่งวัดสองพี่น้อง เป็นองค์อุปัชฌาย์ พระอาจารย์กอนวัดบางสาม เป็นกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์เผือกวัดบางซอ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ขอมได้รับฉายาที่พระอุปัชฌาย์ตั้งให้คือ "อนิโชภิกขุ"
    นวกะภิกษุอนิโช หรือเด็กชายเป้าที่เพื่อนๆ เรียกกันว่า "ขอม" ก็ได้ก้าวเข้าสู่ร่มกาสาวพัตร์ ตั้งแต่บัดนั้น พระขอม หรือ อนิโชภิกษุ เมื่อจำพรราอยู่ที่วัดบางสามก็ตั้งหน้าตั้งตาศึกษาพระธรรมวินัยด้วยความ เอาใจใส่อย่างยิ่ง และได้ปฏิบัติตนในในศีลจารวัตร เป็นอย่างดีอยู่หลายปีจนกระทั่งเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงก็มาถึง ยังมีสำนักสงฆ์สร้างขึ้นใหม่แห่งหนึ่ง มีชื่อเรียกตามความนิยมของชาวบ้านว่า "วัดไผ่โรงวัว" ที่นี่ไม่มีสมภารเจ้าวัด บรรดาชาวบ้านย่านนั้นซึ่งจับตาดูพระขอมมาตั้งแต่ต้น ลงความเห็นพ้องต้องกันว่า ผู้ที่สมควรได้ตำแหน่งสมภารวัดใหม่นี้ไม่มีท่านใดเหมาะเท่าพระขอม เมื่อลงความเห็นกันดังนี้ ต่างก็พากันไปนิมนต์ อนิโชภิกษุหรือพระขอม ให้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดไผ่โรงวัวก่อน พระขอมซึ่งเคยเป็นที่คุ้นเคยกับพุทธบริษัทที่นั่นไม่อาจขัดศรัทธาได้ จึงได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดนั้นเป็นเวลา ๒ ปี
    ชีวิตของท่านอโชภิกษุในช่วงนี้ หากจะขาดก็คือขาดสถานศึกษาเล่าเรียน เพราะวัดไผ่โรงวัวเป็นวัดใหม่ ขาดสถานศึกษาเล่าเรียน สิ่งนี้ทำให้พระขอมได้พิจารณาตนเองและเห็นว่าอันธรรมวินัยของพระศาสดานั้น ท่านยังเข้าไม่ถึงพอที่จะเป็นสมภารเจวัดได้ หากผู้ศรัทธายังประสงค์จะให้ท่านเป็นผู้นำของวัดนี้อยู่ ท่านก็จำต้องเสาะแสวงหาความรู้เพิ่มเติม ดังนั้นท่านจึงขอย้ายไปจำพรรษาที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งอยู่ในตัวเมืองสุพรรณบุรี แล้วไปศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดประตูสารใกล้ๆกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ที่ท่านจำพรรษาอยู่นั่นเอง การศึกษาพระปริยัติธรรมของพระขอมดำเนินไป 3 ปี ก็สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก อันเป็นความรู้ชั้นเถรภูมิ
    คราวนี้ท่านกลับมาสู่วัดไผ่โรงวัวอีกครั้งหนึ่งอย่างสมภาคภูมิ กลับมาอย่างผู้พร้อมที่จะบริหารกิจให้พระศาสนาเต็มที่ ดังได้กล่าวมาแล้วว่าวัดไผ่โรงวัวเป็นวัดใหม่ ความใหม่นี้เอง เป็นความใหม่ที่ยังไม่ถึงพร้อมกล่าวง่ายๆ คือไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน กุฏิที่อยู่จำพรรษาของภิกษุ สามเณร ก็เป็นกระต๊อบมุงจากเก่าๆ มีอยู่เพียง ๒ หลัง ศาลาการเปรียญที่จะเป็นที่บำเพ็ญกุศลของทายก ทายิกา เป็นเพียงโรงทำด้วยไม้ไผ่หลังคามุงจาก อาศัยพื้นดินเป็นพื้นของศาลาน่าอนาถใจยิ่ง
    ภาระของพระขอม คือปรับปรุงศาสนาสถานแห่งนี้ให้น่าพักพิง สมกับเป็นวัดเสียก่อน เพื่อจะได้เป็นหนทางนำไปซึ่งการปรับปรุงจิตใจ ของชาวบ้านผู้ศรัทธาเป็นขั้นที่ สอง และเนื่องจากบรรดาชาวบ้านต่างก็มีศรัทธาพระขอมเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว งานปรับปรุงก่อสร้างชั้นแรกจึงผ่านไปได้ไม่ยาก เริ่มด้วยการถมดิน ไม่ให้น้ำท่วมวัดได้ เพราะบริเวณดังกล่าวนี้เป็นที่ลุ่มมาก ถึงฤดูฝนคราใดน้ำท่วมทุกปีและท่วมมากขนาดเรือยนต์เรือแจมแล่นถึงกุฏิได้ เมื่อถมดินเสร็จท่านได้จัดการขุดสระน้ำสำหรับเป็นที่สรงน้ำของพระภิกษุ สามเณร และเพื่อชาวบ้านทั้งหลายจะได้อาศัยอาบกินโดยทั่วไป แล้วซ่อมกฏิที่ชำรุด ทรุดโทรม สร้างศาลาการเปรียญ สร้างโบสถ์ จัดสรรให้เหมาะสมเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม สมกับคำว่า "วัด" ศรัทธาของประชาชนก็เพิ่มมากขึ้น
    นับแต่พระขอม สละเพศฆารวาสมาสู่พระพุทธศาสนา ท่านมีความตั้งใจมั่น ดังที่เรียกว่า มโนปณิธาน เรื่องนี้ท่านกล่าวกับผู้ใกล้ชิดว่า "..อาตมาได้ฟังพระท่านเทศน์ว่า บุคคลผู้ใดเลื่อมใส ได้สร้างพระพุทธรูปจะเล็กเท่าต้นคาก็ดี โตกว่าต้นคาก็ดี ผู้นั้นจะได้เป็นพรหมเป็นอินทร์ หมื่นชาติ แสนชาติ ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ หมื่นชาติแสนชาติ ผู้นั้นจะไม่เป็นผู้ตกต่ำเลยจนตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน ถ้าผู้ใดสร้างพระพุทธรูปด้วยทองคำ ผู้นั้นจะได้เกิดเป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า.." ด้วยมโนปณิธานนี้เองทำให้ท่านขอมคิดเริ่มสร้างพระพุทธโคดมด้วยทองสัมฤทธิ์ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก พ.ศ. ๒๕๑๒ ท่านขอมก็เริ่มบอกบุญแก่ญาติโยมใช้เวลา ๒ ปีกว่าจะเริ่มสร้างได้ เนื่องจากเป็นงานใหญ่นั่นเอง ถึงต้องใช้เวลาสร้างทั้งหมด ๑๒ ปี ด้วยกัน จะแล้วเสร็จ พ.ศ. ๑๕๑๒ หลังจากนั่นท่านขอมก็เริ่มสร้างสิ่งก่อสร้างอีกหลายอย่าง อาทิเช่น สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล แดนสวรรค์ นรกภูมิ เมืองกบิลพัสดุ์และอีกหลายๆ อย่างด้วยกัน ดังที่เป็นกันอยู่เท่าทุกวันนี้
    ถ้าถามว่าหลวงพ่อขอมจะสร้างสิ่งก่อสร้างไว้มากมายเพื่ออะไร ท่านก็ตอบว่า อาตมาสร้างไว้เพื่อให้ผู้ศรัทธาและอนุชนรุ่นหลัง ได้ศึกษาเรื่องราวของพุทธประวัติ นอกจากงานก่อสร้างแล้วหลวงพ่อขอมท่านก็ยังเป็นนักเขียน นักแต่งที่มีความสามารถไม่ยิ่งไม่หย่อนไปกว่าด้านงานก่อสร้าง ผลงานของท่านปรากฏอยู่หลายเรื่องเฉพาะ ที่จัดพิมพ์แจกเป็นธรรมทานไปแล้วก็มีเรื่อง ธรรมฑูตเถื่อน พุทธไกรฤกษ์ สมถะและวิปัสสนา
    จนมาถึงวันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๓ เวลา ๑๖.๔๕ น. หลวงพ่อขอมก็มรณภาพลงด้วยโรคหัวใจล้มเหลว รวมสิริอายุ ๘๘ ปี ๖๘ พรรษา ทำให้นักถึงคำปฏิญาณ ของท่านอนิโช ที่กล่าวไว้ ๕ ข้อ คือ
    ๑. ชีวิตของเราที่เหลือขอช่วยพระพุทธองค์ไปจนตาย
    ๒. เมื่อมีชีวิตอยู่ ถ้าเรามีเงิน ส่วนตัวสัก ๑ บาท เราก็จะอายพุทธบริษัทเป็นอย่างยิ่ง
    ๓. เราจะให้รูปพระองค์เกลื่อนไปในพื้นธรณี
    ๔. โอ..โลกนี้ ไม่ใช่ของฉัน
    ๕. เราต้องตาย ตายใต้ผ้าเหลืองของเรา
    บัดนี้ท่านอนิโชนั้น ได้ทำคำปฏิญาณของท่านได้สมบูรณ์แล้วทุกประการ ท่านพระครูผู้นี้จะเป็นใครไปไม่ได้นอกจากเด็กชายเป้าในอดีต ซึ่งบัดนี้สละทุกสิ่งเพื่อเจริญรอยตามบาทพระพุทธองค์ ท่านคือศิษย์พระคถาคต ผู้มุ่งมั่น


    ข้อมูลอ้างอิง : http://www.xn--42c2bfa2c2c2ad9v.com/profile.php?id=53
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ
    เหรียญหลวงพ่อขอม วัดโพธาราม(ไผ่โรงวัว)สุพรรณบุรี ปี ๒๕๐๗ สภาพผ่านการบูชา เหรียญอายุห้าสิบกว่าปี
    ให้บููชา100 บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ

    ลพ.ขอม..jpg ลพ.ขอมหลัง..jpg
     
  17. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,211
    ค่าพลัง:
    +21,324
    get_auc1_img.jpg

    พระอาจารย์หมอเล็กหรือหลวงพ่อหมอเล็ก นักบุญคนยากและพระนักสังคมสงเคราะห์ ศิษย์เอกของหลวงพ่ออุตตมะ "เทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำสามประสบ" ท่านได้ช่วยเหลื่อผู้ตกทุกข์ได้ยากด้วยความเมตตามาแล้วนับพันราย ทั้งเจ็บป่วยด้วยพิษงู โรคอัมพฤกษ์อัมพาต โรคกระดูก เส้นเอ็น ไทรอยด์ โรคเกี่ยวกับตา ฯลฯ หรือแม้แต่โดนคุณไสย ลมพัด ลมเพ โดยท่านมิได้มีการประกาศหรือโฆษณา แต่เกิดจากการบอกกันปากต่อปาก จนทำให้ทุกวันนี้ผู้ตกทุกได้ยากจากทั่วทุกสารทิศเดินทางเข้ามาขอให้หลวงพ่อช่วยเหลืออย่างมิได้ขาด
    หลวงพ่อหมอเล็กเป็นคนชาติมอญ ในอดีตก็ประกอบสัมมาอาชีพเยี่ยงคนปกติ แต่เนื่องจากเป็นคนซื่อ ขี้สงสาร จึงถูกหลอกและโกงตลอดมา จึงเริ่มเบื่อทางโลกและหันมาประพฤติตนแบบพราหมณ์หรือฤาษีอยู่หลายปี เช่นเดียวกับอาจารย์ของท่าน (ในช่วงก่อนอุปสมบทเป็นพระ) ซึ่งเป็นฤาษีชาวพม่าเชื้อแขกบำเพ็ญเพียรรักษาผู้ป่วยอยู่แถวแถบเทือกเขาหิมาลัย หลวงพ่อหมอเล็กถือศีลทำสมาธิ ดำเนินชีวิตอย่างสมถะ ทำตัวให้เป็นประโยชน์ต่อผู้คน ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้ตกทุกข์ได้ยาก สภาพอาจดูคล้ายคนสติไม่ดี ผมยาวรุงรัง เสื้อสีขาวมอซอ เป็นที่ชินตาของชาวหนองพง ชาวมะขาม จังหวัดจันทบุรี ที่มักเห็นชายหนุ่มผมยาวในชุดสีขาวเก่าๆ สภาพเหมือนคนบ้า เดินยิ้มอยู่ตลอดเวลา รักษาโรคให้กับคนยากจนทั่วไป จนกระทั่งมีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันดีในภาคตะวันออก โดยเฉพาะเรื่องถูกงูกัด ไม่ว่าจะเป็นงูเห่า งูจงอาง งูกะปะ และงูพิษอื่นๆ หากนำผู้ถูกกัดไปถึงมือท่านแล้วรับรองจะไม่มีตายเด็ดขาด แม้ผู้ว่าราชการจังหวัดตราดในอดีตยังนำน้องสาวที่ถูกงูพิษกัดมารักษากับหลวงพ่อ
    ทุกวันนี้แม้หลวงพ่อหมอเล็กจะเป็นพระเกจิชื่อดังแห่งภาคตะวันออก งานพุทธพิธีหรืองานปลุกเสกวัตถุมงคลใหญ่ๆจะขาดท่านมิได้และมักเกิดอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ ให้ผู้มีจิตศรัทธาได้พบเห็นบ่อยครั้ง แต่ทุกวันนี้ท่านก็ยังช่วยเหลื่อผู้ตกทุกข์ได้ยากอย่างมิได้ขาด ปัจจุบันท่านมีลูกศิษย์ลูกหามากมายกระจายอยู่ทั่วทั้งในและต่างประเทศ หลายคนประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน กิจการร้านค้าเจริญรุ่งเรืองและหลายคนหายจากโรคภัยไข้เจ็บซึ่งยากต่อการเยียวยา ส่วนใหญ่จะเดินทางกลับมากราบหลวงพ่อเพื่อเป็นสิริมงคลต่อชีวิตทุกๆปี ทุกครั้งที่มาวัดก็มักเช่าบูชาวัตถุมงคล ซึ่งหลวงพ่อปลุกเสกตามแบบฉบับของมอญโบราณโดยแท้ติดไม้ติดมือกลับไปมิได้ขาด จนเป็นที่ร่ำรือในพุทธคุณด้านแคล้วคลาดปลอดภัย เมตตามหานิยม รวมทั้งทางโชคลาภและการค้าขาย
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ
    พระผงอาจารย์หมอเล็ก
    ให้บููชา100 บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ

    อ.หมอเล็ก.jpg อ.หมอเล็กหลัง.jpg
     
  18. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,211
    ค่าพลัง:
    +21,324
    upload_2019-5-25_18-13-36-jpeg.jpg

    หลวงพ่อสร้อย ธมฺมรโส วัดเลียบราษฎร์บำรุง ซอยกรุงเทพ-นนท์ ๔๓ ถนนกรุงเทพ-นนท์ แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีลูกศิษย์มากมายมากราบไหว้ท่านตั้งแต่เช้ายันค่ำ เชี่ยญชาญในเรื่องวิชาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการถอนคุณไสย อยู่ยงคงกระพัน เมตตารวมไปถึงการทำนายทายทัก

    อีกทั้งท่านยังเป็นพระนักพัฒนาอีกด้วย เดิมทีท่านมีภูมิลำเนาอยู่บ้านใกล้เรือนเคียงอย่างประเทศกัมพูชา แต่ในอดีตเคยเป็นส่วนปกครองของประเทศไทย ซึ่งอาจจะกล่าวได้อีกอย่างว่า ภูมิลำเนาเดิมของท่านนั้นเป็นคนไทย แต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนการปกครองไปเป็นของประเทศกัมพูชาไปแล้ว เมื่อย้อนถึงอดีตความเป็นมานั้นบ้านเดิมของท่านเกิดที่กัมพูชา
    หลวงพ่อสร้อย เกิดเมื่อวันที่ ๒๑ เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๖ ที่บ้านโคกระวา ต.ละเวีย อ.ปวก จ.เสียมราฐ ประเทศกัมพูชา แต่ว่าในสมัยนั้นยังคงเป็นดินแดนปกครองของประเทศไทย เข้าสู่เส้นทางธรรมะภายใต้ร่มกาสาวพัสตร์ ที่พัธสีมาวัดละเวีย ต.หลักชัย อ.ไพรีฯ จ.พิบูลย์สงคราม (สมัยนั้นประเทศไทยปกครอง) ซึ่งเป็นสถานที่ที่ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัยและศึกษาวิชาต่างๆ ที่เป็นตำราโบราณสืบทอดกันมา พร้อมทั้งยังฝึกฝนวิชาต่างๆ จนเกิดความเชี่ยวชาญในการนั่งสมาธิ จนเป็นที่ยอมรับกันดีในประเทศกัมพูชา มีสรรพวิชาต่างๆ จนเป็นที่เลื่องลือและเชื่อกันว่าเสมือนหนึ่งสามารถรู้ถึงเหตุการณ์ข้างหน้า

    พ.ศ.๒๔๙๑ ท่านก็ได้เดินธุดงค์เรื่อยมาทางบ้านแดง อ.ละหานทราย ด้วยเท้าเปล่าจนเข้าเขตประเทศไทยและมาจำพรรษาอยู่ที่วัดแจ้ง อ.ประโคนชัย แต่ที่นั่นมีชาวกัมพูชาอยู่มาก การเทศนาหรือการให้พร การสวดต่างๆ ต้องใช้เป็นภาษาเขมรทั้งหมด ท่านก็ไม่ค่อยจะชอบเพราะอยู่ในประเทศไทยแล้วเทศน์แต่ภาษาเขมร จากนั้นท่านจึงเดินทางเข้าสู่กรุงเทพฯ แต่ท่านก็หาวัดจำพรรษาอยู่ไม่ได้ จนในที่สุดท่านก็เดินธุดงค์ต่อไปที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและจำพรรษาอยู่ที่วัดโพธิ์ศรี อ.เมือง จ.ขอนแก่น และมีโอกาสเรียนภาษาไทยตั้งแต่แรกเริ่มอย่างถูกต้อง

    หลวงพ่อสร้อยเดินธุดงค์ด้วยเท้าเปล่าเพื่อเสาะหาสัจธรรมและวิชาต่างๆ จากเกจิอาจารย์ทุกจังหวัดในประเทศไทย จากนั้นเดินเท้าเข้าสู่ประเทศพม่าและอยู่ที่นั่นถึง ๓ ปี ออกจากพม่าเข้าสู่ประเทศอินเดียและอยู่ที่นั่นอีก ๕ ปี ออกจากอินเดียต่อมายังประเทศจีนตอนล่างมายังเวียดนามตอนเหนือผ่านมายังประเทศลาวและสุดท้ายก็เข้าสู่มุกดาหาร

    พ.ศ.๒๕๐๐ ท่านมาปักกรดที่วัดร้างแห่งหนึ่ง ชื่อว่าวัดดอกบัว ท่านได้จำพรรษาอยู่ ๖ พรรษา ซึ่งบริเวณรอบๆ นั้น มีชาวบ้านอาศัยเพียงกว่าสิบหลังคาเรือนเท่านั้น ท่านได้พัฒนาวัดดอกบัวและให้การศึกษาพระธรรมวินัยให้แก่พระภิกษุและสามเณรที่วัดลานคา ในขณะนั้นมีญาติโยมมากมายมานิมนต์ท่านให้ไปจำพรรษาที่กรุงเทพฯ แต่ท่านก็อยู่ดูแลวัดจนถึง พ.ศ.๒๕๐๗ ท่านจึงมาศึกษาพระธรรมวินัยต่อที่กรุงเทพฯ โดยจำพรรษาที่วัดเลียบราษฎร์บำรุง จนกระทั่งเมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๒ ท่านมรณภาพ สิริอายุได้ ๗๖ ปี
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    พระผงรูปเหมือนหลวงพ่อสร้อยหลังพระแก้วมรกรต วัดเลียบ
    ให้
    บูชา300บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ รุ่นนี้มีข้อมูลว่าหลวงปู่สรวง บ้านละลมมาเสกให้ด้วย


    %E0%B8%A5%E0%B8%9E-%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2-jpg.jpg 5%E0%B8%9E-%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87-jpg.jpg

    เหรียญหลวงพ่อสร้อย วัดเลียบ
    ให้บูชา150บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ

    ลพ.สร้อย.jpg ลพ.สร้อยหลัง.jpg
     
  19. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,211
    ค่าพลัง:
    +21,324
    พระเดชพระคุณพระสุนทรธรรมากร (หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ) อายุ ๘๙ พรรษา ๕๙ (พ.ศ.๒๕๔๖) เจ้าอาวาสวัดธาตุมหาชัย บ้านมหาชัย ต.มหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม

    สถานะเดิม

    ชื่อ คำพันธ์ ศรีสุวงค์ เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๕๘ โยมบิดาชื่อ นายเคน ศรีสุวงค์ โยมมารดาชื่อ นางล้อม ศรีสุวงค์ เป็นบุตรคนโต มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดาเดียวกัน ๒ คน คือ

    ๑. พระเดชพระคุณพระสุนทรธรรมากร (คำพันธ์ ศรีสุวงค์)

    ๒. นายพวง ศรีสุวงค์ (ถึงแก่กรรม)

    และมีน้องร่วมมารดา แต่ต่างบิดากันอีก ๔ คน คือ

    ๑. นางสด วงษ์ผาบุตร (ถึงแก่กรรม เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๗)

    ๒. ด.ช.บด แสนสุภา (ถึงแก่กรรม)

    ๓. ด.ญ.สวย แสนสุภา (ถึงแก่กรรม)

    ๔. นางกดชา เสนาช่วย (ถึงแก่กรรม)

    การบรรพชา-อุปสมบท

    วันที่ ๗ กันยายน ๒๔๗๕ (อายุ ๑๗ปี) ได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดศรีบุญเรือง บ้านหนองหอย ต.นาแก อ.นาแก จ.นครพนม โดยมีพระอาจารย์เชื่อม เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากได้บรรพชาแล้วก็ได้ศึกษาอักษรธรรม และหนังสือสูตรคาม แบบโบราณ ในขณะเดียวกันก็ได้ฝึกปฏิบัติกัมมัฎฐานควบคู่ไปด้วย หลังจากบรรพชาได้ ๓ พรรษา ได้ออกเดินธุดงค์ทรงกรดไปที่จังหวัดเลย พร้อมกับพระภิกษุ ๒ รูป คือ พระภิกษุบุญ และพระภิกษุวัน ได้พบกับชีปะขาวคนหนึ่งชื่อว่าครุฑ ได้ศึกษาแนวทางการปฏิบัติจากชีปะขาวอยู่ประมาณ 3-4 เดือน ก่อนหน้าที่จะได้ฝึกปฏิบัติกัมมัฏฐานนั้น เคยได้รับความรู้เรื่องกัมมัฏฐานมาจาก พระอาจารย์เสาร์ ซึ่งท่านไปอบรมประชาชนที่วัดโพนเมือง ท่านอาจารย์เสาร์ให้แนวทางในการ ปฏิบัติกรรมฐานไว้ว่า ให้กำหนดลมหายใจออก ท่านอาจารย์เสาร์ได้ให้ข้อคิดต่อ ไปอีกว่า “ร่างกายของคนเรานั้น เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง มันทำงานอยู่ตลอดเวลา ลมหายใจเข้า-ออกนั้น มีความสำคัญมาก ถ้าลมไม่ทำงานคนเราจะตายทันที ดังนั้นจึงจำเป็นต้องกำหนดลมหายใจ” นอกจากนั้นท่านอาจารย์เสาร์ยังได้ย้ำอีกว่า “ให้คนเราตีกลองคือขันธ์ ๕ ให้แตก” ซึ่งก็หมาย ความว่า ท่านให้ทำความเข้าใจขันธ์ ๕ ให้จงดีให้เข้าใจตามสภาพที่เป็นจริง........

    หลวงปู่ได้ศึกษาภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติกับหลวงปู่เสาร์ประมาณ 1 ปี หลังจากนั้นหลวงปู่คำพันธ์ ก็ได้นำเอาแนวทางการปฏิบัติของอาจารย์ทั้ง 2 มาเป็นแนวทางปฏิบัติกัมมัฎฐาน

    หลวงปู่ได้จำพรรษาอยู่ที่จังหวัดเลยเป็นเวลา 1 ปี หลังจากนั้นได้เดินธุดงค์ไปยังจังหวัดเชียงรายประมาณ 3-4 เดือน โยมบิดาได้เสียชีวิตลง หลวงปู่จึงได้เดินทางกลับมาทำบุญงานศพบิดา และได้เดินธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆในเขตจังหวัดนครพนม สกลนคร อุดรธานี หนองคายและข้ามไปฝั่งลาวประมาณ 3-4 เดือน แต่ไม่ได้จำพรรษา แต่กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าบ้านเดิมอยู่ประมาณ 3 ปี และญาติโยชาวบ้านก็นิมนต์ท่านให้เข้ามาอยู่จำพรรษาที่วัดบ้านเพื่อโปรดญาติโยมชาวบ้านบ้าง หลังจากออกพรรษาแล้ว หลวงปู่ก็ออกเดินธุดงค์ต่อ จนอายุถึง 40 ปี จึงหยุดเดินธุดงค์ แต่ก็พยายามศึกษาปฏิบัติธรรมกัมมัฎฐานมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน

    พ.ศ. ๒๔๗๘ อายุ ๒๐ ปี ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ และเริ่มศึกษาพระปริยัติธรรม

    พ.ศ. ๒๔๘๒ อายุ ๒๔ ปี มารดาก็ถึงแก่กรรม เวลานั้นเหลือน้องผู้หญิง ๒ คน ซึ่งยังเล็กมาก จึงได้ลาสิกขาบทออกไปเลี้ยงดูน้อง

    พ.ศ. ๒๔๘๘ อายุ ๓๐ ปี ได้กลับเข้าอุปสมบทอีกครั้ง และได้ออกไปจำพรรษาที่วัดป่า เป็นเวลา ๓ พรรษา

    ต่อมาก็ได้ปฏิบัติกัมมัฏฐานพร้อมเป็นครูสอน พระปริยัติธรรมด้วยที่วัดพระพุทธบาทจอมทอง บ้านหนองหอยใหญ่ ต.นาแก อ.นาแก จ.นครพนม

    พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้นำญาติโยมประมาณ ๕ ครอบครัว จากบ้านหนองหอยใหญ่ อ.นาแก มาสร้างบ้านและวัดใหม่ ที่โนนมหาชัย และให้ชื่อบ้านว่า “บ้านมหาชัย” ในปัจจุบันนี้ ได้สร้างวัดธาตุมหาชัย (เดิมชื่อวัดโฆษการาม) จนเจริญรุ่งเรืองตราบถึงปัจจุบัน

    พระเดชพระคุณหลวงปู่เป็นพระมหาเถระ ที่มีอัธยาศัยใจคอกว้างขวาง เยือกเย็น มีความเมตตา กรุณาต่อศิษย์ ตลอดถึงญาติโยมทุกคนที่เข้าหาท่าน ใครก็ตามที่มีปัญหา หรือมีความทุกข์เข้าหาท่าน จะได้รับการต้อนรับจากท่านอย่างดียิ่ง เสมอกันหมด ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นใครก็ตาม ต่อครูบาอาจารย์ และพระเถระที่อาวุโสกว่า หลวงปู่จะแสดงอาการอ่อนน้อมถ่อมตนเสมอ โดยไม่เคยจะแสดงอาการ แข็งกระด้างใดๆเลย ด้วยเหตุนี้หลวงปู่จึงเป็นที่เคารพนับถือของ ศิษยานุศิษย์และญาติโยมโดย ทั่วไปเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้แล้ว หลวงปู่ก็ยังเป็นพระเถระที่มีความตั้งใจมั่นคง หนักแน่นอีกด้วย

    จะเห็นได้จากการที่ท่านตั้งใจจะทำสิ่งใดแล้ว จะต้องทำสิ่งนั้นให้สำเร็จให้จงได้ คงเป็นเพราะ ความตั้งใจจริงและความตั้งใจมั่นคงนี้เอง ที่ทำให้หลวงปู่ทำสิ่งใดก็สำเร็จลุล่วงด้วยดี และรวดเร็ว เกิน ความคาดหมายทุกประการ ตัวอย่างเช่น พระธาตุมหาชัย, อุโบสถวัดธาตุมหาชัย, กำแพง ล้อมรอบวัดธาตุมหาชัย และกุฏิสงฆ์หลังใหม่ ๒ หลัง ซึ่งสิ่งก่อสร้างแต่ละอย่างล้วน แต่ใช้ค่าก่อ สร้างจำนวนมากทั้งสิ้น เมื่อญาติโยมที่มีความเคารพนับถือในตัวหลวงปู่ทราบ ต่างก็มีจิตศรัทธา ช่วย กันสละกำลังทรัพย์มาช่วยในรูปของกฐินบ้าง ผ้าป่าบ้าง จนงานก่อสร้างดัง กล่าวสำเร็จรวดเร็วเกินคาด อีกประการหนึ่ง โดยอุปนิสัยแล้ว หลวงปู่ท่านถือการ ปฏิบัติกัมมัฏฐานเป็นประจำนับตั้ง แต่อุปสมบทพรรษาแรก จนกระทั่งมรณภาพ

    มรณภาพ

    พระสุนทรธรรมากร (หลวงปู่คำพัน โฆษปัญโญ) ได้มรณภาพลงดัวยอาการอันสงบ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน 2546 เวลาประมาณ 02.00 น. ที่วัดธาตุมหาชัย สิริรวมอายุ 88 ปี 71 พรรษา

    http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-kumpun_hist.htm อ่านประวัตโดยละเอียดตามเวปนี้ครับ

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ
    มีความรัก-ความพลัดพราก
    จากการที่ท่านลาสิกขาบทจากสมณะเพศ ออกมาเพื่อดูแลเลี้ยงดูน้อง ๆ เป็นเวลาถึง ๔ ปี
    ทำให้ท่านได้พบได้เห็นเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดกับตัวท่านในหลายด้าน

    ที่สำคัญ คือ ท่านได้มีความรัก เนื่องจากอยู่ในวัยหนุ่มแน่น ทำให้เกิดความรักกับหญิงสาวคนหนึ่ง
    ที่อยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน ชื่อ ศรีสุพรรณ แม้ว่าฐานะของท่านจะยากจนเป็นกำพร้า
    แต่พ่อแม่พี่น้องของสาวเจ้าก็ไม่เคยรังเกียจ เพราะท่านครองตนมีความขยันหมั่นเพียร ในการประกอบอาชีพ
    ไม่ทำให้ตนเป็นหนุ่มเสเพลดื่มเหล้าเมายา ผู้คนในหมู่บ้านก็ยกย่องในความขยันของท่านต่างก็ให้การสนับสนุน


    2015-04-15_174519.jpg
    หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ
    ลางร้ายบอกเหตุ
    เมื่อถึงเวลาที่นัดหมาย ได้ฤกษ์ยามงามดีแล้ว
    ก็ยกขันหมากไปสู่ขอตามประเพณี ในขณะนั้นขันหมาก(พาขวัญ)
    ไม่มีลมพัดอยู่ๆ ก็ล้มพังลง ฝ่ายแม่เจ้าสาว บอกว่าเป็นเหตุที่ไม่ดี
    ให้พักไว้ก่อน ได้เวลาที่ดี จะยกขันหมากไปเอง

    พิจารณาธรรม
    ในขณะที่รอฝ่ายเจ้าสาวหาฤกษ์ยามอยู่นั้น
    ท่านมีอุปนิสัยทางธรรมอยู่แล้ว ก็นั่งสมาธิพิจารณาธรรม

    พิจารณาถึงชีวิต มีครอบครัว

    มีลูกหลาน ชราความแก่เฒ่า ความตายไป
    เมื่อมาถึงตรงนี้ ความคิดดับวูบไป ความมืดมิดเข้ามาในสภาวะนั้น
    เกิดความคิดว่า ชีวิตของการครองเรือนคงไม่เจริญเป็นแน่

    พิจารณาถึงชีวิตของนักบวช

    แสวงหาโมกขธรรม
    ก็เกิดแสงโอภาส สว่างไสว พิจารณาธรรมไปเรื่อย
    แสงสว่างยิ่งเพิ่มขึ้นตามลำดับ
    ท่านเกิดความคิดว่า การครองเรือนเป็นหนทางที่มืดมน
    การบวช เป็นหนทางที่สว่างไสว ยิ่งแก่ชรา ธรรมะยิ่งสว่างไสว

    สู้กับกิเลส
    จึงตัดสินใจบวชอีกครั้ง บอกฝ่ายเจ้าสาวว่า บวชสักระยะหนึ่งก่อน
    โดยไม่ได้บอกวันลาสิกขา ท่านเล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า

    มีชายหลายคนมาสู่ขอก็ปฏิเสธ ยังคงรอหลวงปู่ฯ
    ใจหนึ่งเห็นถึงความรักจริงของหญิง อีกใจหนึ่งก็นึกถึงธรรมะที่เคยพิจารณา
    2015-04-15_174938.jpg
    หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ พ.ศ 2546
    สัจจะชีวิตความตาย
    เมื่อหลวงปู่ฯ บวชพระได้ ๕ พรรษา
    หญิงสาวก็ป่วยไข้ อาการไม่ดีขึ้น
    จึงฝากบอกข่าวมายังหลวงปู่ว่า

    อยากจะเห็นหลวงปู่เป็นครั้งสุดท้าย เมื่อรู้ว่าท่านมาแล้ว
    ก็ให้คนเอาใต้(คบเพลิง) มาที่หลวงปู่ เพื่อจะได้เห็นท่าน
    พอเยี่ยมไข้พอสมควรแก่เวลาแล้ว จึงเดินทางกลับวัด

    ขณะถึงวัดไม่นาน ก็มีความมาแจ้งข่าวว่า
    สาวศรีสุพรรณ เสียชีวิตแล้ว ท่านเล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า
    ความรู้สึกตัวเบา ใจสั่นหวิว เพราะท่านมีความรู้สึกรักและผูกพันอยู่บ้าง
    ซึ้งในความรักจริง เกิดความเมตตาสงสารจับใจ

    http://www.watpamahachai.net/wat8.htm
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ
    พระสมเด็จลป.คำพัน
    ให้บููชา 100 บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ

    %E0%B8%A5%E0%B8%9B-%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C1-jpg.jpg 4%E0%B8%B3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C1%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87-jpg.jpg 3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%871-jpg.jpg

    พระปิดตาลป.คำพัน
    ให้บููชา 100 บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ

    %E0%B8%A5%E0%B8%9B-%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C-jpg.jpg 84%E0%B8%B3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87-jpg.jpg B3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87-jpg.jpg

    เหรียญหลวงปู่คำพันธ์ เมตตาคุ้มภัย ให้ลาภ ปี๒๕๓๘
    ให้บููชา 150 บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ

    ลป.คำพันธ์.jpg ลป.คำพันธ์หลัง.jpg
     
  20. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,211
    ค่าพลัง:
    +21,324
    หลวงพ่อผัน วัดราษฎร์เจริญ(วัดแปดอาร์) ต.หนองแขม อ.หนองแค จ.สระบุรี หลวงพ่อผัน (พระครูสรกิจพิจารณ์) ท่านเกิดเมื่อวันศุกร์ที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๔๕๔ ปีกุน ณ บ้านหนองแขม หมู่ ๑ ต.หนองแขม อ.หนองแค จ.สระบุรี


    อุปสมบทเมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๔๗๔ ณ พัทธสีมาวัดหนองโสน ต.สนับทึบ อ.วังน้อย จ.พระ นครศรีอยุธยา โดยมี พระครูนิเทศธรรมคาถา วัดบ้านสร้าง เป็นพระอุปัชฌาย์ เจ้าอธิการจาด วัดวงษ์สวรรค์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการหนู วัดบ้านสร้าง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "จิณฺณธมฺโม" หลังจากนั้นได้มาจำพรรษาที่วัดราษฎร์เจริญ


    ในช่วงที่ หลวงพ่อผัน เข้ารับตำแหน่งเจ้าอาวาสครั้งแรก สภาพของวัดราษฎร์เจริญทรุดโทรมอย่างหนัก อาคารเสนาสนะต่างๆ ชำรุดมาก หลวงพ่อก็ได้บูรณปฏิสังขรณ์จนดีขึ้นตามลำดับ และมีความเจริญรุ่งเรืองครบถ้วนสมบูรณ์ในทุกๆ ด้าน หลวงพ่อผัน เป็นพระเถราจารย์ผู้มีประพฤติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบมาโดยตลอด และปฏิบัติกิจการพระศาสนาอย่างถูกต้อง


    อีกทั้งท่านยังมีเมตตาธรรมใน การปกครองคณะสงฆ์ งานด้านต่างๆ เช่น งานสาธารณูปการณ์ การก่อสร้างศาสนวัตถุต่างๆ ภายในวัด ท่านก็ได้เป็นผู้นำดำเนินการก่อสร้างเพื่อประโยชน์แก่พระศาสนาและพุทธ ศาสนิกชนมากมาย


    เช่น ก่อสร้างอุโบสถ ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ วิหารกุฏิ ฌาปนสถาน ซุ้มประตูหน้าวัด กำแพงรอบวัด เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการใช้สอยและความสวยงาม ร่มรื่นเป็นระเบียบเรียบร้อยในทุกๆ ด้าน
    นอกจากนี้ ท่านยังได้สนับสนุนในการก่อสร้างอาคารเรียนของ

    โรงเรียนวัดราษฎร์เจริญ เพื่อประโยชน์แก่ลูกหลานชาวบ้าน ตลอดทั้งให้ความเอื้อเฟื้อแก่ชุมชนชาวบ้านทุกครัวเรือน
    หลวงพ่อผันเป็นพระสุปฏิปัณโณ ผู้มีเมตตาธรรมสูง มีศีลบริสุทธิ์ ปฏิบัติกิจของพระศาสนาอย่างดีเยี่ยม จนเป็นที่เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชนทั่วไปทั้งใกล้และไกล


    และที่สำคัญอย่างยิ่งคือ หลวงพ่อผัน ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากท่านหนึ่งของ จ.สระบุรี ที่พุทธศาสนิกชนทั่วไปให้ความเคารพนับถือ และเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างมาก


    หลวงพ่อปฏิบัติตัวเป็นพระของ ชาวบ้านอย่างแท้จริง ไม่ถือตัว ไม่เลือกชั้นวรรณะ เวลามีญาติโยมมานิมนต์ให้ท่านไปงานบุญกุศลต่างๆ ท่านจะสนองศรัทธาถ้วนทั่วทุกบ้านเรือน โดยไม่ถือว่าจะเป็นบ้านของคนมั่งมี หรือบ้านของคนยากจน ท่านให้ความเสมอเหมือนกันหมด
    ส่วนจตุปัจจัยที่ท่านได้รับ จากการที่มีผู้ศรัทธาถวาย ท่านจะนำมาก่อสร้างถาวรวัตถุ เสนาสนะต่างๆ ภายในวัดราษฎร์เจริญ จนหมดสิ้น ไม่เก็บสะสมไว้เป็นสมบัติส่วนตัวแต่ประการใด จึงทำให้วัดมีความมั่นคงอยู่จนทุกวันนี้


    หลวงพ่อได้ละสังขารไปเมื่อ วันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๔๘สิริรวมอายุ ๙๔ ปี และได้เกิดปาฏิหาริย์พิเศษ คือ สรีระของหลวงพ่อ ไม่ปรากฏอาการเน่าเปื่อยแต่อย่างไร กลับแข็งเหมือนหิน มีลักษณะเป็นสีขาวเหมือนแป้ง


    ขณะเดียวกัน ได้ปรากฏในเวลาต่อมาว่า ทั้งเส้นผม และเล็กมือเล็บเท้าของหลวงพ่อได้งอกยาวออกมาจากเดิมอีกด้วย วัดจึงเก็บรักษาสรีระของหลวงพ่อไว้ในหีบแก้ว โดยตั้งบำเพ็ญกุศลเพื่อให้ศรัทธาสาธุชนทั่วไปสักการบูชาจนถึงทุกวันนี้


    ในส่วนวัตถุ มงคล หลวงพ่อผัน ท่านได้สร้างไว้หลายรุ่น ล้วนมีความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ในทุกๆ ด้าน ที่นิยมกันมาก คือ เหรียญรุ่นแรก ปี ๒๕๐๕ เป็นเหรียญเสมา รูปหลวงพ่อนั่งสมาธิเต็มองค์ ออกเนื่องในโอกาสได้รับพระราชทานสมณศักดิ์


    และเหรียญที่สร้างความโด่ง ดังให้หลวงพ่อมากเป็นพิเศษ คือ เหรียญรุ่นแทงคอหมู เป็นเหรียญรูปหลวงพ่อนั่งสมาธิเต็มองค์ อยู่ในซุ้มใบเสมา คล้ายๆ กับเหรียญรุ่นนั่งพานของพระเกจิอาจารย์บางท่าน เหรียญนี้ออกในโอกาสบูรณปฏิสังขรณ์วัด ปีใดไม่แน่ชัด
    สาเหตุที่ได้เรียกเหรียญรุ่นนี้ว่า "รุ่นแทงคอหมู" เนื่อง มาจากสมัยที่เหรียญรุ่นนี้ออกให้ทำบุญใหม่ๆ มีชาวบ้านคนหนึ่งได้รับเหรียญนี้มา แล้วเอาเหรียญใส่ไว้ในซองยาทัมใจ จากนั้นจึงเอาซองยาใส่ลงในกระเป๋าเสื้อตัวเอง


    ชาวบ้านคนนี้มีหน้าที่แทงคอหมู เพื่อชำแหละส่งขายตลาด วันนั้นหลังจากได้รับเหรียญหลวงพ่อผันแล้ว ก็ยังคงทำหน้าที่เพชฌฆาตตามปกติ
    ขณะที่เขาแบกหมูเอาไว้บนบ่า แล้วเหวี่ยงตัวหมูลงบนโต๊ะ เพื่อที่จะฆ่านั้นเอง ซองยาในกระเป๋าเสื้อของเขา ได้หลุดลอยตกลงบนโต๊ะฆ่าหมูก่อนแล้ว ทำให้ตัวหมูทับซองยานั้นพอดี


    จากนั้นเขาได้เอามีดปลายแหลมแทงเข้าที่คอหมู เหมือนอย่างที่เคยทำมาเป็นประจำ แต่วันนั้น...เกิด เหตุการณ์ประหลาด เพราะปลายมีดอันคมกริบ ไม่สามารถจะแทงคอหมูเข้าได้เลย จึงเปลี่ยนมุมแทงอีกด้านหนึ่ง ก็ปรากฏแทงไม่เข้าเหมือนเดิม
    เขาแปลกใจมาก จึงพลิกตัวหมูขึ้นมา ก็พบกับ ซองยาทัมใจที่ใส่เหรียญหลวงพ่อผัน ตกอยู่ใต้ตัวหมู จึงรู้ได้ทันทีว่า ที่แทงคอหมูไม่เข้า เพราะเหรียญหลวงพ่อผัน นี่เอง


    ตกลงว่า หมูตัวนั้น...รอดตายราวปาฏิหาริย์ และที่น่ายินดีอีกอย่าง คือ ชายคนนั้นเลิกอาชีพฆ่าหมูอีกต่อไป
    ปาฏิหาริย์เรื่อง "แทงคอหมู" ของ เหรียญหลวงพ่อผัน รุ่นนี้ลือกระฉ่อนไปทั่วหมู่ลูกศิษย์ และผู้เคารพศรัทธาในหลวงพ่อผัน ต่อมาได้ขยายสู่แวดวงนักสะสมพระเครื่องโดยทั่วไป จนทุกวันนี้ เหรียญรุ่นแทงคอหมู กลายเป็นเหรียญหายาก และมีราคาเช่าหาแพง อีกเหรียญหนึ่งของ...พระเกจิอาจารย์ดังแห่งเมืองสระบุรี



    54952-jpg-jpg.jpg





    54957-jpg-jpg.jpg



    https://www.tnews.co.th/contents/19...เมืองสระบุรีผู้ที่มีเเต่ความเมตตา(มีคลิป-ภาพ)

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    พระผงผสมเกษาหลวงพ่อผัน วัดแปดอา สระบุรี
    ให้บูชา200บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ

    e0-b8-a5-e0-b8-9e-e0-b8-9c-e0-b8-b1-e0-b8-99-jpg-jpg.jpg e0-b8-a5-e0-b8-9e-e0-b8-9c-e0-b8-b1-e0-b8-99-e0-b8-ab-e0-b8-a5-e0-b8-b1-e0-b8-87-jpg-jpg.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...