เอกสารเกี่ยวกับการชำระและการพิมพ์พระไตรปิฎก ในรัชกาลที่ ๕

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 3 กรกฎาคม 2005.

  1. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,687
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,012
    จากหนังสือกฎหมายรัชกาลที่ ๕ หน้า ๘๓๘</FONT>

    หลวงรัตนาญัปติ (เปล่ง) อธิบดีกรมอัยการรวบรวม

    -----------------------------------

    การสาสนูปถัมภกคือการพิมพ์พระไตรปิฎก


    ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริห์จะทรงทนุบำรุงพระพุทสาศนาให้เจริญวัฒนายิ่งขึ้นไปประการใด ท่านทั้งหลายก็คงแลเห็นในการที่ทรงบำเพ็ยพระราชกุศลสิ่งที่เป็นถาวรวัตถุให้เป็นภาชนรับรองพระพุทธศาสนาประการหนึ่ง ทั้งเอนกทานบริจากของประณีตต่าง ๆ ฤาการยกย่องโดยสมณศักดิ์ ซึ่งเป็นเสบียงกำลังแก่พระภิกษุสงฆ์ทั้งปวง ผู้ทรงวิไนยบัญญัติ ของพระพุทธเจ้าให้ดำรงค์อยู่ แลเป็นผู้แนะนำชาวสยามให้ประพฤติการละบาปบำเพญบุญนั้นก็มีเป็นอันมากในปีหนึ่ง ๆ ก็อีกประการหนึ่งที่ทรงบริจากทั้งสองอย่างนั้น ปีหนึ่งก็สิ้นพระราชทรัพย์เป็นอันมาก เพราะเหตุด้วยทรงเลื่อมใสในคุณพระรัตนไตรยนั้น บัดนี้ทรงพระราชดำริห์ถึงพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นพุทธภาสิตเป็นที่ร่ำเรียนศึกษาของผู้ที่นับถือพระพุทธสาศนานั้นด้วยเหตุอย่างไร คงปรากฏในกระแสพระราชดำรัสแก่พระเถรานุเถร ซึ่งจะมีต่อไปในน่ากระดาษนี้แล้ว เพราะฉะนั้นจึ่งจะโปรดให้ผเดียงพระสงฆ์ เถรานุเถรที่ชำนาญในพระไตรปิฎกอันมีสมณศักดิ ๑๑๐ พระองค์ เป็นผู้ตรวจแก้ฉบับพระไตรยปิฎกที่จะตีพิมพ์ โปรดให้พระบรมวงษานุวงษข้าราชการฝ่ายคฤหัฐเป็นกรรมสัมปาทิกสภา จัดการพิมพ์พระไตรยปิฎกให้สำเร็จทันในสมัยเมื่อเสด็จดำรงค์ศิริราชสมบัติครบ ๒๕ ปี จะได้มีการมหกรรมฉลองพระไตรยปิฎกนี้ในมงคลสมัย ผู้ซึ่งรับพระบรมราชโองการจัดการพิมพ์พระไตรยปิฎกฝ่ายคฤหัฐซึ่งเป็นกรรมสัมปาทิกสภาพ นั้นคือ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ กรมพระภาณุพันธุวงษวรเดช สภานายก พระเจ้าน้อยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ หม่อมเจ้าประภากร พระยาภาสกรวงษที่เกษตราอธิบดี พระยาศรีสุนทรโวหาร ครั้น ณ วันที่ ๗ เดือน ๓ แรมค่ำ ๑ ปีชวดสัมฤทธิศก โปรดให้เชิญเสด็จพระบรมวงษานุวงษ ที่ทรงพระผนวชได้ดำรงค์สมณศักดิ์เป็นประธานสงฆ์ คือ กรมพระปวเรศร์วริยาลงกรณ์ และกรมหมื่นวชิรญาณวโรรส พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากรกับหม่อมเจ้าที่เป็นราชาคณะทั้งปวง นิมนต์พระราชาคณะผู้ใหญ่มีสมเด็จพระพุทธโฆษาทั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ผู้น้อย ที่มีประโยคเป็นผู้ทรงพระไตรปิฎกกับทั้งพระสงฆ์เปรียญประโยคสูงจบเปรียญ ๓ ประโยค ทั้งในกรุงแลหัวเมืองมีจำนวนพระสงฆ์ ๑๑๐ องค์ ประชุมพร้อมกันในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนสาศดาราม แล้วพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปประทับพร้อมด้วยพระบรมวงษานุวงษ ข้าราชการเฝ้าในที่นั้น เมื่อทรงนมัสการพระรัตนไตรยแล้ว ขุนสุวรรณอักษร กรมพระอาลักษณ์ อ่านประกาศตามกระแสพระบรมราชโองการ อาราธนาพระสงฆ์ให้สอบแก้พระไตรยปิฎกซึ่งตีพิมพ์ ดังจะได้เหนต่อไปในน่าหลัง ครั้นเมื่อประกาศจบแล้ว พระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปประทับที่น่าอาศนสงฆ์ ทรงแสดงพระราชดำริห์ด้วยพระองค์เองแก่พระสงฆ์ พระราชดำริห์นั้นก็เป็นที่ยินดีของ พระสงฆ์มากแล้ว จึงทรงประเคนขวดหมึกกับปากกาแก่พระเถรานุเถระทั้งปวง ได้รับพระราชทานทั่วกัน เพื่อจะได้ใช้ตรวจแก้ทานฉบับพระไตรยปิฎกต่อไป ทรงประเคนเสร็จแล้ว พระสงฆ์ถวายอดิเรก ถวายพระพรลากลับไป พระเจ้าอยู่หัว เสด็จกลับพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ต่อนี้ไปพระเถรานุเถระผู้ใหญ่จะได้แบ่งเป็นกอง ๆ มีพระราชาคณะเปรียญผู้น้อย แลพระเปรียญผู้ช่วยเป็นพนักงานดังนี้คือ พระเจ้าบรมวงษเธอ กรมพระปวเรศร์วริยาลงกรณ์ เป็นประธานาธิบดีในการที่จะตรวจแบบฉบับพระไตรยปิฎกพระองค์หนึ่ง พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ๑ สมเด็จพระพุทธโฆษจารย์ ๑ เป็นรองอธิบดีจัดการทั้งปวง ๒ พระองค์ มีแม่กองใหญ่ ๘ กอง คือ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นแม่กองตรวจพระวินัยปิฎกกอง ๑ พระธรรมไตรโลกย์แม่กองกอง ๑ พระธรรมราชาแม่กองกอง ๑ พระเทพโมลีแม่กองกอง ๑ ตรวจพระอภิธรรมปิฎก ๒ กอง คือ พระพิมลธรรมแม่กองกอง ๑ พระธรรมวโรดมแม่กองกอง ๑ กับพระบรมวงษานุวงษ ข้างราชการฝ่ายคฤหัฐที่เป็นกรรมสัมปาทิกสภาพจะได้จัดการตีพิมพ์พระไตรยปิฎกให้สำเร็จ ๑,๐๐๐ ฉบับ ทันพระบรมราชประสงค์ หนังสือพิมพ์พระไตรยปิฎกนี้ ได้ทราบว่าจบหนึ่ง ๔๐ เล่ม จะตีพิมพ์จบก็เป็นหนังสือถึง ๔๐,๐๐๐ เล่ม พระราชทรัพย์หลวงที่จะใช้ในค่าหนังสือนี้คงไม่ต่ำกว่า ๒,๐๐๐ ชั่ง เมื่อจะคิดเทียบกับการที่จานลงใบลานแล้ว ถ้าจะสร้าง ๑,๐๐๐ จบ คงเป็นเงินหลายหมื่นชั่ง ทั้งจะเป็นหนังสือกองโต จนไม่มีที่เก็บไว้ได้ แลช้านับด้วยหลายสิบปีจึงจะแล้วสำเร็จ ทั้งจะเคลื่อนคลาดไม่ถูกต้องกันได้สักฉบับเดียวด้วย เมื่อได้ตีพิมพ์เย็บเป็นเล่มสมุทอย่างนี้ ถ้าตรวจฉบับให้ดีถูกต้องแล้ว ก็จะเป็นการเรียบร้อยเหมือนกันทั้ง ๑,๐๐๐ จบ และการที่จะเก็บรักษาก็ไม่เปลืองที่มาก ถ้าเก็บดี ๆ ก็ทนได้ไม่ผิดกับใบลานมากนัก ในเวลาทำการก็ได้เร็วกว่า ราคาก็ต่ำกว่าที่จะจ้างช่างจานทำหลายสิบเท่า แลเป็นที่น่าจะชื่นชมยินดีของชนทั้งหลาย ที่นับถือพระพุทธสาศนาอย่างยิ่ง ด้วยว่าตั้งแต่พระพุทธสาศนาได้แพร่หลายมาถึงเมืองเราจนกาลบัดนี้ เหนจะไม่เคยมีพระไตรยปิฎก ในหมู่ชาวเราจบมากเท่าครั้งนี้เลย ข้าพเจ้าเชื่อว่าพระไตรยปิฎก ๑,๐๐๐ จบอย่างนี้ คงไม่เคยมีพระเจ้าแผ่นดินที่นับถือพระพุทธสาศนา ประเทศใดได้บริจากพระราชทรัพย์สร้างขึ้นเท่านี้เลย เพราะเหตุนั้น จึงเป็นที่ชื่นชมโสมนัสเป็นอันมาก ขอผลอันดียิ่งจงมีในพระเจ้าอยู่ของเรา แลพระราชอาณาจักรสยามยิ่งขึ้นทุกเมื่อเทอญ.
     
  2. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,687
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,012
    ประกาศสังคายนาย



    -----------------------------------
    ศุภมัสดุ พระพุทธสาศนากาล เป็นอดิดภากล่วงแล้ว ๒๔๓๑ พรรษา ปัตยุบันกาล มนุสิกะสังวัจฉระ มาฆมาศกาฬปักษ ปฏิบทโสรวารปริจเฉทกาลกำหนด พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริห์ด้วยทรงพระราชศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธสาศนาว่า เป็น นิยานิกธรรม ทรงเหนว่าพระปริยัติไตรยปิฎกเป็นมูลรากแห่งพระพุทธสาศนา. เพราะว่าผู้ปฏิบัติเพื่อทางสุคติ แลจะทำกองทุกข์ทั้งปวงให้ดับสิ้นสูนไปให้บันลุพระนฤพาน ก็ย่อมอาไศรยปริยัติธรรมคำสอนซึ่งเป็นบรมพุทโธวาท ชี้แสดงทางธรรมปฏิบัติ เนื่องอยู่ในพระปริยัติธรรมทั้งสิ้น อนึ่ง ทรงทราบในพระราชหฤทัยว่า แต่ในครั้งพุทธกาล เมื่อสมเด็จพระพุทธเจ้ายังดำรงค์พระชนม์อยู่นั้น พระปริยัติธรรมตกแพร่หลายอยู่ในหมู่สาวกมณฑล พระอริยสงฆ์สาวกจำทรงไว้ได้ขึ้นปากขึ้นใจ แตกฉานชำนาญด้วยกันเป็นอันมาก ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคย์เสด็จปรินิพพานแล้ว พระเจ้าแผ่นดินซึ่งนับถือพระพุทธสาศนา ทรงพระราชศรัทธาเป็นสาสนุปถัมภกทนุบำรุงให้กำลังแก่พระสงฆ์พุทธสาวก ได้ทำสังคายนายชำระพระไตรยปิฎกปริยัติธรรมสืบอายุพระพุทธสาศนา นี้เป็นขัติยประเพณีสืบ ๆ มา แลเป็นการพระราชกุศลอันใหญ่ด้วย แลการสร้างพระคัมภีร์พระไตรยปิฎกด้วยอักษรขอมจานลงในใบลาน เหมือนที่สร้างมาแต่โบราณนั้น ก็เป็นของถาวรมั่นคงดีอยู่ แต่ช่างจานกว่าจะจานได้แต่ละคัมภีร์ ๆ นั้น ช้านานนัก พระคัมภีร์จึงไม่ค่อยจะมีมากแพร่หลายไปได้ ช่างจานทุกวันนี้ก็หายากมีอยู่น้อยนัก อนึ่ง อักษรของก็มีผู้รู้อ่านได้นอ้ยกว่าอักษรไทย แลในการสร้างพระไตรยปิฎกนี้ตัวอักษรก็ไม่เป็นประมาณไม่เป็นการสำคัญอะไรนัก ประเทศที่นับถือพระพุทธสาศนา คือ ลาว มอน พะม่า ลังกา เป็นต้น ก็สร้างพระไตรยปิฎกด้วยอักษรตามประเทศ ตามภาษาของตนทุก ๆ ประเทศ ในสยามรัฐมณฑลนี้ แต่เดิมมิได้ลอกคัดพระคัมภีร์ อักษรเขมรเป็นแบบฉบับมา ชนชาวสยามจึงได้นิยมนับถืออักษรขอมเป็นที่เคารพ ว่าอักษรขอมเป็นของรองรับเนื้อความพระพุทธสาศนา เมื่อจะกล่าวโดยที่จริงเข้าแล้ว ตัวอักษรไม่เป็นประมาณ อักษรใด ๆ ก็ควรใช้ได้ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น ถ้าได้ตีพิมพ์พระไตรยปิฎกด้วยอักษรสยาม เป็นคัมภีร์ละเล่มหนึ่งบ้างสองเล่มบ้างจะเป็นประโยชน์มาก เรียงพิมพ์ขึ้นครั้งหนึ่งจะตีสักหลาย ๆ ร้อยฉบับก็ได้ ผู้ที่จะเล่าเรียนถึงจะไม่รู้จักอักษรขอมก็จะดูได้โดยสดวก แลจะหยิบยกไปมาก็ไม่เป็นการลำบาก ท่านผู้ที่จะดูสอบสวนก็เป็นการง่าย เพราะหนังสือคัมภีร์หนึ่งก็รวบรวมอยู่ในเล่มเดียวกัน ไม่กระจัดกระจายขาดตกบกพร่อง ถึงแม้ว่ากระดาษจะไม่เป็นของมั่นคงถาวร เหมือนใบลานก็จริงอยู่ แต่ตีพิมพ์ครั้งหนึ่งมากกว่าใบลานหลายสิบเท่า ก็ถ้าเก็บรักษาไว้ดี ๆ แล้ว ก็ทนนานได้เหมือนกัน เมื่อฉบับใดเป็นประโยชน์ที่พระสงฆ์จะเล่าเรียนมาก ก็ตีพิมพ์เพิ่มขึ้นอีกได้มาก ๆ เร็วกว่าที่จะจานด้วยใบลาน พระคัมภีร์ปริยัติธรรมก็จะแพร่หลายสมบูรณ์ในสยามรัฐมณฑลสืบไปภายน่า ทรงพระราชดำริห์เหนประโยชน์เช่นนี้จึงโปรดเกล้า ฯ ให้ตีพิมพ์พระไตรยปิฎกขึ้นในครั้งนี้ให้แล้วสำเร็จทันกำหนดการบำเพ็ญพระราชกุศลสมโภชศิริราชสมบัติ ในกาลเมื่อบรรจบครบ ๒๕ ปี แล้วจะได้มหกรรมฉลองพระไตรยปิฎก ที่โปรดเกล้า ฯ ให้ตีพิมพ์ขึ้นนั้นแล้วจะได้จำหน่ายไปตามพระอารามต่าง ๆ เป็นประโยชน์แก่พระสงฆ์สามเณร ที่จะเล่าเรียนสืบไป แต่ทรงพระราชดำริห์ว่า ฉบับหนังสือที่จะตีพิมพ์ครั้งนี้ จะเป็นของมั่นคงถาวรและแพร่หลายไปมาก ถ้าพิมพ์คลาดเคลื่อนไปก็หาเป็นการสมควรไม่ จะต้องตรวจแก้ต้นฉบับให้ถูกถ้วนแล้วจึงส่งไปลงพิมพ์ แล้วต้องตรวจตราแก้ไขตัวพิมพ์มิให้ผิดเพี้ยนได้ จึงมีพระบรมราชโองการให้อาราธนาพระราชวงษานุวงษซึ่งทรงผนวช และพระราชาคณะผู้ใหญ่ผู้น้อย ฐานานุกรมเปรียญ บันดาที่มาสันนิบาทในที่ประชุมนี้ ช่วยการพระพุทธสาศนาเป็นภาระรับชำระฉบับซึ่งจะไปลงพิมพ์แลสอบทานตรวจหนังสือที่ตีพิมพ์ขึ้นใหม่ให้ถูกถ้วน อย่าให้มีวิปลาสคลาดเคลื่อนได้จงทุก ๆ พระคัมภีร์ ให้เหมือนหนึ่งพระเถรานุเถระแต่ปางก่อน ประชุมกันทำสังคายนายพระไตรยปิฎกทุก ๆ ครั้ง ฉนั้น เพื่อบำรุงพระปริยัติธรรมคำสอนของพระอรหังสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้เจริญรุ่งเรืองสืบสาศนายุกาลให้ถาวรไปสิ้นกาลนาน.
     
  3. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,687
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,012
    ขอชี้แจงเพิ่มเติม แต่พระเถรานุเถระ แลพระสงฆ์ทั้งปวง ซึ่งได้ประชุมกันในที่นี้อีกหน่อยหนึ่งว่า การซึ่งมีความประสงค์จะให้ตรวจสอบพระไตรยปิฎกลงพิมพ์ไว้ในครั้งนี้นั้น ด้วยเหนว่าแต่ก่อนมาประเทศที่นับถือพระพุทธสาศนา ยังมีอำนาจปกครองบ้านเมืองโดยลำพังตัว พระเจ้าแผ่นดินเป็นผู้นับถือพระพุทธสาศนา ได้ทำนุบำรุงอุดหนุนการสาศนาอยู่หลายประเทศด้วยกัน คือ เมืองลังกา เมืองพม่า เมืองลาว เมืองเขมร แลกรุงสยาม เมื่อเกิดวิบัติอันตราย พระไตรยปิฎกขาดสูญบกพร่องไปในเมืองใด ก็ได้อาไศรยหยิบยืมกันมา ลอกคัดคงฉบับบริบูรณ์ถ่ายกันไปกันมาได้ แต่ในกาลทุกวันนี้ ประเทศลังกา แลพม่าตกอยู่ในอำนาจอังกฤษ ผู้ปกครองรักษาบ้านเมืองไม่ได้นับถือพระพุทธสาศนา ก็ทำนุบำรุงแต่อาณาประชาราษฎรไพร่บ้านพลเมือง หาได้อุหนุนการพระพุทธสาศนาอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ พระสงฆ์ซึ่งปฏิบัติตามพระพุทธสาศนา ก็ต่างคนต่างประพฤติตามลำพังตน คนที่ชั่วมากกว่าดีอยู่เป็นธรรมดาก็ชักพาให้พระปริยัติธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าวิปริตผิดเพี้ยนไปตามอัธยาไศรย ส่วนเมืองเขมรนั้นเล่าก็ตกอยู่ในอำนาจของฝรั่งเศษ ไม่มีกำลังที่อุดหนุนพระพุทธสาศนาให้เป็นการมั่นคงถาวรไปได้ ส่วนเมืองลาวอยู่ในพระราชาอาณาเขตร เจ้านายแลไพร่บ้านพลเมืองก็นับถือพระพุทธสาศนาวิปริตแปรปรวนไป ด้วยเจือปนผีสางเทวดาจะเอาเป็นหลักฐานมั่นคงก็ไม่ได้ ถ้าพระไตรยปิฎกวิปริตเคลื่อนคลาดไปในเวลานี้ จะหาที่สอบสวนลอกคัดเหมือนอย่างแต่ก่อนนั้นไม่มีแล้ว การพระพุทธสาศนายังเจริญมั่นคงถาวรอยู่แต่ในประเทศสยามนี้ประเทศเดียว จึงเป็นเวลาสมควรที่จะสอบสวนพระไตรยปิฎกให้ถูกต้องบริบูรณ์ แล้วสร้างขึ้นไว้ให้มากฉบับแพร่หลาย จะได้เป็นหลักฐานเชื้อสายของสาสนธรรมคำสั่งสอนแห่งพระพุทธเจ้าสืบไปภายน่า ก็ธรรมอันใดที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสสั่งสอน ย่อมเป็นธรรมอันวิเสศอุดมยิ่ง ซึ่งจะทำให้สัตว์พ้นจากทุกข์ภัยโดยแท้จริง เป็นธรรวเสศเที่ยงแท้ย่อมจะเป็นที่ปรารถนาของผู้มีปัญญาได้เล่าเรียนตริตรอง แล้วปฏิบัติตามที่ได้รับผลมากน้อยตามประสงค์ ก็คงจะยังมีผู้ซึ่งจะอยากเรียนรู้ เพื่อปฏิบัติตามสืบไปภายน่าเป็นแท้ จึงเป็นธรรมที่ควรสงวนไว้ให้เป็นประโยชน์แก่ชนภายน่า จึงได้คิดจัดการครั้งนี้ เพื่อจะรักษาพระไตรยปิฎกไว้มิให้วิปริตผิดผัน เป็นการยกย่องบำรุงพระพุทธสาศนาให้ตั่งมั่นถาวรสืบไป เพราะฉะนั้นจึงขออาราธนาพระเถรานุเถระแลพระสงฆ์ทั้งปวง ให้ปลงใจเหนแก่พระพุทธสาศนา แลมีความเมตตากรุณาแก่ชนทั้งปวง ช่วยชำรสอบสวนพระไตรยปิฎกให้ถูกต้องบริบูรณ์ เป็นเครื่องเกื้อกูลแก่ความตั้งมั่นของคำสอน แห่งพระพุทธเจ้าสืบไปภายน่า อีกประการหนึ่งการซึ่งจะลงพิมพ์พระไตรยปิฎกครั้งนี้ ได้มีเจตนามุ่งหมายจะใคร่ให้ได้สำเร็จลงทันกำหนด ซึ่งตั้งใจไว้ว่า ถ้าอยู่ในราชสมบัติได้ถึง ๒๕ ปี จะมีการมหกรรมฉลองพระไตรยปิฎกนี้ ให้ป็นการกุศลในมงคลสมัย ก็การซึ่งจะอยู่ได้มีได้จนถึงกำหนดที่ว่านั้น ก็เอาเป็นประมาณแน่ไม่ได้โดยธรรมดา แต่เหนว่าการซึ่งคิดปรารภตรวจสอบพระไตรยปิฎก แลสร้างขึ้นให้แพร่หลายนี้จะเป็นการมีคุณแห่งชนทั้งปวงทั่วไป นับว่าเป็นกองการกุศลอันใหญ่เป็นไปในทางที่ชอบธรรม จะเป็นเครื่องอุปถัมภ์ให้ได้สำเร็จดังความปรารถนา เป็นความมุ่งหมายเพื่อประโยชน์ในส่วนตนอยู่อย่างหนึ่งดังนี้ด้วย ขอให้พระเถรานุเถระแลพระสงฆ์ทั้งปวง จงเหนแก่ตัวหม่อมฉัน ผู้มีความเลื่อมใสอัสุจริต ตั้งใจจัดการทั้งปวงให้เป็นไปตามความประสงค์ทันกำหนด ซึ่งได้ขออาราธนามาแล้วนั้น ด้วยอาไศรยเหตุสองประการนี้ ขอให้พระสงฆ์เถรานุเถระทั้งปวง จงสมักสโมสรพร้อมเพรียงกันแบ่งปันหมวดหมู่ เป็นน่าที่ตรวจสอบพระไตรยปิฎกให้ทั่วถึงโดยลเอียดแล้ว จะได้ลงพิมพ์ไว้ให้สืบอายุพระพุทธสาศนาถาวรไปภายน่าด้วยความมุ่งหมายเหนแต่พระพุทธสาศนา แลตัวหม่อมฉันดังได้ขออาราธนามานี้ เทอญ.
     

แชร์หน้านี้

Loading...