เอาตัวรอดอย่างไรหากเกิดแผ่นดินไหวในบ้านเรา

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 30 ตุลาคม 2019.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    e0b8a3e0b8ade0b894e0b8ade0b8a2e0b988e0b8b2e0b887e0b984e0b8a3e0b8abe0b8b2e0b881e0b980e0b881e0b8b4.jpg

    วันที่ 30 ต.ค. 2562 เวลา 16:05 น.


    Views

    เมื่อวานนี้เกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 6.6 ที่เกาะมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตถึง 7 คน บ้านเรือนเสียหายราว 1,200 หลัง โรงเรียนอีก 10 แห่ง หลังจากก่อนหน้านั้นที่เกาะแห่งเดียวกันนี้เอง เพิ่งเกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 6.3 เมื่อวันที่ 19 ตุลาคมที่ผ่านมา จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 5 ราย ต้องยอมรับว่าแผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติที่น่ากลัวไม่แพ้สึนามิหรือพายุเฮอริเคนเลยทีเดียว

    ฟิลิปปินส์เป็นหนึ่งในประเทศที่เจอกับภัยธรรมชาติมากที่สุด ทั้งแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิด เนื่องจากตั้งอยู่ในบริเวณวงแหวนแห่งไฟ แปซิฟิก ส่วนประเทศไทยบ้านเรา แม้ไม่ค่อยเกิดเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ แต่ก็มีข่าวแผ่นดินไหวบ้างเป็นระยะๆ เมื่อเร็วๆนี้ก็มีข่าวแผ่นดินไหวที่เชียงใหม่และเลย ทำให้ชาวไทยส่วนหนึ่งวิตกกังวลไม่น้อยว่าหากเกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ขึ้น ควรทำตัวอย่างไรเพื่อหลีกเลี่ยงความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน

    เรื่องนี้กรมทรัพยากรธรณีมีคำแนะนำไว้ดังนี้ครับ

    ปกติแผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติที่ไม่สามารถพยากรณ์ได้อย่างแม่นยำ แต่นักวิทยาศาสตร์พยายามในการศึกษาวิเคราะห์ถึงลักษณะต่าง ๆ ในบริเวณที่เกิดแผ่นดินไหว โดยศึกษาคุณลักษณะทางกายภาพของเปลือกโลก การเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็ก การเคลื่อนตัวของเปลือกโลกเป็นหลัก

    ส่วนชาวจีนใช้การสังเกตจากน้ำใต้ดินจากบ่อน้ำก่อนการเกิดแผ่นดินไหว เช่น น้ำขุ่นขึ้น มีการหมุนวนของน้ำ ระดับน้ำเปลี่ยนแปลง มีฟองอากาศ และมีรสขม นอกจากนี้ยังอาจสังเกตได้จากพฤติกรรมของสัตว์หลายชนิดที่มีการรับรู้ถึงภัยก่อนเกิดแผ่นดินไหว เช่น มีจำนวนมากวิ่งเพ่นพ่าน สุนัข เป็ด ไก่ ตื่นตกใจ หนู งูวิ่งออกมาจากรู ปลากระโดดขึ้นจากผิวน้ำ เป็นต้น

    สิ่งที่ต้องปฏิบัติก่อนการเกิดแผ่นดินไหว
    ควรมีไฟฉายพร้อมถ่านและกระเป๋ายาเตรียมไว้ในบ้านและให้ทุกคนทราบว่าอยู่ที่ไหน
    ศึกษาการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    เตรียมเครื่องมือดับเพลิงไว้ในบ้าน เช่น ถังดับเพลิง ถุงทราย
    ควรทราบตำแหน่งของวาล์วน้ำ วาล์วปิดแก๊ส สะพานไฟฟ้า สำหรับตัดกระแสไฟฟ้า
    อย่าวางของหนักบนชั้นหรือหิ้งสูง ๆ เพราะเมื่อเกิดแผ่นดินไหวอาจตกลงมาเป็นอันตราย
    ผูกเครื่องใช้หนัก ๆ ให้แน่นกับพื้นผนังบ้าน
    ควรมีการวางแผนเรื่องจุดนัดหมายเมื่อเกิดการพลัดหลงกัน
    สร้างอาคารบ้านเรือนให้เป็นไปตามกำหนด สำหรับพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว
    ผูกเครื่องใช้หนัก ๆ ให้แน่นกับพื้นผนังบ้าน
    ผูกเครื่องใช้หนัก ๆ ให้แน่นกับพื้นผนังบ้าน
    ผูกเครื่องใช้หนัก ๆ ให้แน่นกับพื้นผนังบ้าน

    ระหว่างเกิดแผ่นดินไหวต้องทำอย่างไร
    อย่าตื่นตกใจ พยายามควบคุมสติให้สงบ ถ้าอยู่ในบ้านก็ให้อยู่ในบ้าน ถ้าอยู่นอกบ้านก็ให้อยู่นอกบ้าน เพราะส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บเพราะวิ่งเข้าออกบ้าน
    ถ้าอยู่ในบ้านให้ยืนหรือหมอบอยู่ในส่วนที่มีโครงสร้างแข็งแรง และให้อยู่ห่างจากประตู ระเบียง หน้าต่าง
    ถ้าอยู่ในอาคารสูงควรรีบออกจากอาคารโดยเร็วและหนีห่างจากสิ่งที่อาจจะล้มทับได้
    ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้งให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้าและสิ่งห้อยแขวนต่าง ๆ
    ห้ามใช้เทียน ไม้ขีดไฟ ไฟแช็ก หรือสิ่งที่ทำให้เกิดประกายไฟ เพราะอาจมีก๊าซรั่วและทำให้ติดไฟได้
    หากกำลังขับรถอยู่ให้หยุดรถและอยู่ในรถ จนการสั่นสะเทือนหยุด
    ห้ามใช้ลิฟต์โดยเด็ดขาดในขณะที่เกิดแผ่นดินไหว
    หากอยู่ชายหาดให้อยู่ห่างจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง

    หลังจากเกิดแผ่นดินไหวแล้วต้องปฏิบัติตัวอย่างไร
    หลังเกิดแผ่นดินไหวควรตรวจสอบดูว่าตนเองและคนข้างเคียงได้รับบาดเจ็บหรือไม่
    หากบาดเจ็บให้ทำการปฐมพยาบาลในขั้นต้นจากนั้นให้นำตัวผู้บาดเจ็บส่งสถานพยาบาลหรือหน่วยแพทย์ที่ใกล้ที่สุด
    หากอยู่ในอาคารที่ได้รับความเสียหายควรรีบออกจากอาคารทันที เพราะหากเกิดแผ่นดินไหวตามมาอาจทำให้อาคารพังลงมาทับ ทำให้ได้รับบาดเจ็บได้
    ควรสวมใส่รองเท้าหุ้มส้น เพราะอาจมีเศษแก้วหรือวัตถุแหลมคมอื่น ๆ ทำให้ได้รับบาดเจ็บ
    ตรวจสอบความเรียบร้อยของสายไฟ ท่อน้ำ ท่อแก๊ส ถ้าแก๊สรั่วให้ปิดวาล์วถังแก๊ส ยกสะพานไฟ และอย่าจุดไฟจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีแก๊สรั่ว
    หากแก๊สรั่วภายในบ้านให้เปิดประตูหน้าต่างทุกบานเพื่อระบายอากาศ
    ให้ออกจากบริเวณที่มีสายไฟขาดหรือสายไฟพาดถึง
    ให้เปิดฟังวิทยุเพื่อฟังคำแนะนำฉุกเฉิน แต่อย่าใช้โทรศัพท์นอกจากมีความจำเป็น
    สำรวจความเสียหายของท่อน้ำ ท่อน้ำทิ้ง ท่อส้วม ก่อนใช้
    ห้ามเข้าไปมุงหรือเข้าไปในเขตที่มีความเสี่ยงหรือมีอาคารพัง
    ห้ามเผยแพร่ข่าวลือ

    การปฏิบัติตัวทั้งก่อนและหลังการเกิดแผ่นดินไหวเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เรารอดพ้นจากอันตรายที่มากับแผ่นดินไหว แต่ควรเตรียมถุงยังชีพและยาที่ใช้ในการปฐมพยาบาลในเบื้องต้นไว้ด้วยเพื่อเอาไว้ในยามจำเป็น ขอยกตัวอย่างประเทศที่เตรียมพร้อมและประชาชาชนมีวินัยจนสามารถหลีกเลี่ยงความสูญเสียจากภัยธรรมชาติได้เป็นอย่างดี คือประเทศญี่ปุ่นเพื่อนบ้านร่วมทวีปเอเชียของเรานี่เอง

    ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในประเทศที่ประสบกับวาตภัยและเหตุแผ่นดินไหวบ่อยที่สุด โครงสร้างอาคารออกแบบมาเพื่อรองรับเหตุแผ่นดินไหวเป็นอย่างดี หันกลับมามองบ้านเราทุกครั้งที่มองเห็นคอนโดสูงเสียดฟ้าในกรุงเทพฯ อดเสียวสันหลังไม่ได้ว่า หากเกิดเหตุแผ่นดินไหวจะเป็นเช่นไร แม้จะรู้ดีว่าโอกาสเกิดเหตุแผ่นดินไหวใหญ่ในบ้านเรามีน้อยมากก็ตาม และมาตรฐานการก่อสร้างในยุคปัจจุบันของไทยก็ไม่น้อยหน้าชาติอื่นใดเช่นกัน

    เพื่อนร่วมงานคนหนึ่ง เคยเดินทางไปทำงานที่ญี่ปุ่นในช่วงที่เกิดเหตุแผ่นดินไหวช่วงกลางคืน และบอกว่าตนเองกับแขกชาวต่างชาติส่วนใหญ่ในโรงแรม แตกตื่นวิ่งหนีลงมาด้านล่างชนิดแทบจะเหยียบกันตาย แต่ชาวญี่ปุ่นเจ้าถิ่นดูเหมือนจะคุ้นเคยกับเหตุการณ์เป็นอย่างดี และรู้ว่าจะต้องทำอะไรในสถานการณ์ที่เกิดภัยธรรมชาติแบบนี้ สติและการเตรียมพร้อมรับมือคือคำตอบครับ แต่ความประมาทคือหนทางแห่งหายนะ เตรียมตัวให้พร้อมรับมือไว้ดีที่สุด อะไรๆเกิดขึ้นได้เสมอครับ!

    Tag : แผ่นดินไหว เอาตัวรอด ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น บ้านเรา



    ขอบคุณที่มา
    https://news.ch7.com/detail/372500
     

แชร์หน้านี้

Loading...