เอาลุงแมวดู พระพุทธเจ้าอึดอัดขยะแขยงต่อฤทธิ์อย่างไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย bigtoo, 31 สิงหาคม 2015.

  1. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    เกวัฏฏะ ! นี่ปาฏิหาริย์สามอย่าง ที่เราได้ทำให้
    แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้.
    ๓ อย่างอะไรเล่า ? ๓ อย่าง คือ :-
    ๑. อิทธิปาฏิหาริย์
    ๒. อาเทสนาปาฏิหาริย์
    ๓. อนุศาสนีปาฏิหาริย์
    (๑) เกวัฏฏะ! อิทธิปาฏิหาริย์นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?
    เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ กระทำอิทธิวิธีมีประการต่าง ๆ :
    ผู้เดียวแปลงรูปเป็นหลายคน, หลายคนเป็นคนเดียว, ทำที่
    กำบังให้เป็นที่แจ้ง ทำที่แจ้งให้เป็นที่กำบัง, ไปได้ไม่
    ขัดข้อง ผ่านทะลุฝา ทะลุกำแพง ทะลุภูเขา ดุจไปใน
    อากาศว่าง ๆ, ผุดขึ้นและดำรงอยู่ในแผ่นดินได้เหมือนในน้ำ,
    เดินไปได้เหนือน้ำ เหมือนเดินบนแผ่นดิน, ไปได้ใน
    อากาศเหมือนนกมีปีก ทั้งที่ยังนั่งสมาธิคู้บัลลังก์. ลูบคลำ
    ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์อานุภาพมาก ได้ด้วย
    ฝ่ามือ. และแสดงอำนาจทางกายเป็นไปตลอดถึงพรหม
    โลกได้. เกวัฏฏะ ! กุลบุตรผู้มีศรัทธาเลื่อมใสได้เห็นการ
    แสดงนั้นแล้ว เขาบอกเล่าแก่กุลบุตรอื่นบางคน ที่ไม่
    ศรัทธาเลื่อมใสว่าน่าอัศจรรย์นัก. กุลบุตรผู้ไม่มีศรัทธา
    เลื่อมใสนั้น ก็จะพึงตอบว่า วิชา ชื่อ คันธารี มีอยู่ ภิกษุ
    นั้นแสดงอิทธิวิธีด้วยวิชานั่นเท่านั้น. เกวัฏฏะ ! ท่านจะ
    เข้าใจว่าอย่างไร : ก็คนไม่เชื่อ ไม่เลื่อมใส ย่อมกล่าว
    ตอบผู้เชื่อผู้เลื่อมใสได้อย่างนั้น มิใช่หรือ ?
    “พึงตอบได้ พระเจ้าข้า !”
    เกวัฏฏะ!
    เราเห็นโทษในการแสดงอิทธิปาฏิหาริย์
    ดังนี้แล จึงอึดอัด ขยะแขยง เกลียดชัง ต่อ
    อิทธิปาฏิหาริย์.

    (๒) เกวัฏฏะ ! อาเทสนาปาฏิหาริย์นั้น เป็น
    อย่างไรเล่า?
    เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมทายจิต ทายความรู้สึก
    ของจิต ทายความตรึก ทายความตรอง ของสัตว์เหล่าอื่น
    ของบุคคลเหล่าอื่นได้ ว่า ใจของท่านเช่นนี้ ใจของท่าน
    มีประการนี้ ใจของท่านมีด้วยอาการอย่างนี้. ... ฯลฯ ...
    กุลบุตรผู้ไม่เชื่อ ไม่เลื่อมใส ย่อมค้านกุลบุตรผู้เชื่อผู้เลื่อมใส
    ว่า วิชา ชื่อ มณิกา มีอยู่ ภิกษุนั้น กล่าวทายใจได้เช่นนั้น ๆ
    ก็ด้วยวิชานั้น (หาใช่มีปาฏิหาริย์ไม่), เกวัฎฎะ ! ท่านจะ
    เข้าใจว่าอย่างไร : ก็คนไม่เชื่อ ไม่เลื่อมใส ย่อมกล่าวตอบ
    ผู้เชื่อผู้เลื่อมใสได้อย่างนั้น มิใช่หรือ?
    “พึงตอบได้ พระเจ้าข้า !”
    เกวัฏฏะ !
    เราเห็นโทษในการแสดง อาเทสนาปาฏิหาริย์
    ดังนี้แล จึงอึดอัด ขยะแขยง เกลียดชัง ต่อ
    อาเทสนาปาฏิหาริย์.

    (๓) เกวัฏฏะ! อนุศาสนีปาฏิหาริย์ นั้นเป็น
    อย่างไรเล่า?
    เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมสั่งสอนว่า “ท่านจงตรึก
    อย่างนี้ ๆ อย่าตรึกอย่างนั้น ๆ, จงทำไว้ในใจอย่างนี้ ๆ
    อย่าทำไว้ในใจอย่างนั้น ๆ, จงละสิ่งนี้ จงเข้าถึงสิ่งนี้ ๆ แล้ว
    แลอยู่” ดังนี้. เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์.
    เกวัฏฏะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้
    เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ
    ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนควรฝึกได้อย่างไม่มี
    ใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว
    จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์. ตถาคตนั้น ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้
    กับทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
    เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนผู้อื่น
    ให้รู้แจ้งตาม. ตถาคตนั้นแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น –
    ท่ามกลาง – ที่สุด, ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะ
    และพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง. คหบดีหรือบุตร
    คหบดี หรือผู้เกิดในตระกูลใดตระกูลหนึ่งในภายหลังก็ดี
    ได้ฟังธรรมนั้นแล้ว เกิดศรัทธาในตถาคต. เขาผู้ประกอบ
    ด้วยศรัทธา ย่อมพิจารณาเห็นว่า “ฆราวาสคับแคบ เป็นทาง
    มาแห่งธุลี, บรรพชาเป็นโอกาสว่าง; การที่คนอยู่ครองเรือน
    จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียว
    หมือนสังข์ที่เขาขัดแล้วนั้น ไม่ทำได้โดยง่าย. ถ้ากระไร
    เราจะปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือน
    บวชเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนเถิด”, ดังนี้. โดยสมัยอื่น
    ต่อมา เขาละกองสมบัติน้อยใหญ่และวงศ์ญาติน้อยใหญ่
    ปลงผมและหนวด ออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้อง
    ด้วยเรือนแล้ว. ภิกษุนั้น ผู้บวชแล้วอย่างนี้ สำรวมแล้วด้วย
    ความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและ
    โคจร, มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลาย แม้ว่าเป็นโทษ
    เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย, ประกอบ
    แล้วด้วยกายกรรม วจีกรรมอันเป็นกุศล, มีอาชีวะบริสุทธิ์,
    ถึงพร้อมด้วยศีล, มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย,
    ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ, มีความสันโดษ.
    เกวัฏฏะ ! ภิกษุถึงพร้อมด้วยศีล เป็นอย่างไรเล่า ?
    เกวัฏฏะ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละการทำสัตว์
    มีชีวิตให้ตกล่วงไป เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วาง
    ท่อนไม้และศัสตราเสียแล้ว มีความละอาย ถึงความเอ็นดู
    กรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงอยู่.
    เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์.
    เกวัฏฏะ ! ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใส
    ไม่มีกิเลสปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อนโยน
    ควรแก่การงาน ตั้งอยู่ได้อย่างไม่หวั่นไหว เช่นนี้แล้ว,
    เธอก็น้อมจิตไปเฉพาะต่ออาสวักขยญาณ. เธอย่อมรู้ชัด
    ตามที่เป็นจริงว่า “นี้ทุกข์, นี้เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์,
    นี้ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับ
    ไม่เหลือแห่งทุกข์”; และรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า “เหล่านี้
    อาสวะ, นี้เหตุเกิดขึ้นแห่งอาสวะ, นี้ความดับไม่เหลือแห่ง
    อาสวะ, นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ”.
    เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็พ้นจากกามาสวะ
    ภวาสวะ อวิชชาสวะ. ครั้นจิตหลุดพ้นแล้วก็เกิด ญาณหยั่งรู้
    ว่า “จิตพ้นแล้ว”. เธอรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่
    จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อ
    ความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้. เกวัฏฏะ ! เปรียบเหมือน
    ห้วงน้ำใสที่ไหล่เขาไม่ขุ่นมัว, คนมีจักษุดียืนอยู่บนฝั่งใน
    ที่นั้น, เขาเห็นหอยต่าง ๆ บ้าง กรวดและหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง
    อันหยุดอยู่และว่ายไปในห้วงน้ำนั้น, เขาจะสำเหนียกใจ
    อย่างนี้ว่า “ห้วงน้ำนี้ใส ไม่ขุ่นเลย หอย ก้อนกรวด ปลา
    ทั้งหลายเหล่านี้หยุดอยู่บ้าง ว่ายไปบ้าง ในห้วงน้ำนั้น” ดังนี้;
    ฉันใดก็ฉันนั้น. เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์.
    เกวัฏฏะ ! เหล่านี้แล ปาฏิหาริย์ ๓ อย่าง ที่เรา
    ได้ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้
    ตามด้วย.
    สี. ที. ๙/๒๗๓ – ๒๗๖/ ๓๓๙ –
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2015
  2. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    <center>
    พระพุทธเจ้า สรรเสริญอนุสาสนีปาฏิหาริย์ ว่าเป็นเยี่ยม


    อนุสาสนีปาฏิหาริย์ </center> [๓๔๑] ดูกรเกวัฏฏ์ ก็อนุสาสนีปาฏิหาริย์เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพร่ำ สอนอย่างนี้ว่า ท่านจงตรึกอย่างนี้ อย่าตรึกอย่างนั้น จงทำในใจอย่างนี้ อย่าทำในใจอย่างนั้น จงละสิ่งนี้ จงเข้าถึงสิ่งนี้อยู่เถิด นี้เรียกอนุสาสนีปาฏิหาริย์. [๓๔๒] ดูกรเกวัฏฏ์ อีกข้อหนึ่ง พระตถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึก บุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม พระองค์นั้นทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกให้แจ้งชัด ด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและ มนุษย์ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศ พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดี บุตรคฤหบดี หรือผู้ เกิดเฉพาะในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นฟังแล้ว ได้ศรัทธาในพระตถาคต เมื่อ ได้ศรัทธาแล้ว ย่อมเห็นตระหนักว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทาง ปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวช เป็นบรรพชิต สมัยต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและ หนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว สำรวมระวังในพระปาติ- *โมกข์อยู่ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษา อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรมที่เป็นกุศล มีอาชีพบริสุทธิ์ ถึงพร้อม ด้วยศีล คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นผู้สันโดษ.


    84000
     
  3. TheVisionMind

    TheVisionMind เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2014
    โพสต์:
    1,837
    ค่าพลัง:
    +2,233
    ตีความตามตัวอักษรตรงๆ โดยขาดความร้อยเรียงในความหมาย
    จึงทำให้ความเข้าใจคลาดเคลื่อน

    ข้อเสียของการแสดง อิทธิปาฏิหาริย์ นั้นมี
    แต่การนำประโยคว่า พระพุทธเจ้าทรงขยะแขยง แบบนี้ มันเป็นการถ่ายทอดเชิง drama
    ไม่ได้อยู่ในลักษณะของเหตุและผล ที่จะได้รับประโยชน์มากกว่า
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ควรใช้อย่างไรช่วยเสริมให้ประโยคสมบูรณ์ เชิญครับ :d
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ดูความหมายศัพท์ก่อน

    ปาฏิหาริย์ แปลว่า การกระทำที่ตีกลับ ขับไล่ หรือกำจัดเสียได้ซึ่งปฏิปักษ์
    อิทธิ หรือ ฤทธิ์ แปลว่า ความสำเร็จ
    อาเทสนา แปลว่า ระบุ อ้าง สำแดง ชี้บ่ง จะแปลว่า ปรากฏชัด ก็พอได้
    อนุสาสนี แปลว่า คำพร่ำสอน
     
  6. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,410
    ค่าพลัง:
    +12,662
    พระองค์แค่ทรงเซ็ง เมื่อเวลาสาวก
    ไปแสดงการสั่งธรรมด้วยการโชว์อิทธิ
    ปาฏิหารย์ แล้วถูกผู้ไม่เลื่อมใสกล่าวเก
    ทับทำนองว่าก็ทำได้แค่นั้นแหละ
    แต่ก็มีวิชาอื่นอีกนะที่ทำได้แบบนี้น่ะ

    ทรงเซ็งมีการเกทับกัน
    มากกว่าขยะแขยงอิทธิฤทธิ์ นะจ๊ะ
    ถ้าไม่มีการเกทับกัน จะไปหยะแหยงทำไม
     
  7. TheVisionMind

    TheVisionMind เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2014
    โพสต์:
    1,837
    ค่าพลัง:
    +2,233
    ควรจับใจความตรงส่วนที่เป็นเหตุผล ก็คือ ส่วนที่ผมทำสีแดง นะครับ

    สรุปข้อความส่วนสีแดง คือ คนที่ยังไม่มีศรัทธา เขาไม่ได้เห็นว่าอิทธิปาฏิหาริย์นั้นแปลก
    เพราะว่า อิทธิปาฎิหาริย์ นั้นนักบวชนอกศาสนาเขาทำกันได้มาก่อนนานแล้ว
    เพราะใช้ระดับสมาธิขั้นสูง

    และถ้าให้ภิกษุแสดงอิทธิปาฎิหาริย์ .. ก็เป็นไปได้ว่าต่อไปลูกศิษย์จะมีการพูดอวดใส่กันระหว่างสำนัก
    จนกลายเป็นว่าอาจจะต้องมีการจัดงานให้แต่ละสำนักมาแข่งกัน .. สุดท้ายมันจะดีขึ้นเหรอ?

    ถ้าชนะ .. ฝ่ายแพ้ก็ไปฝึกกลับมาแข่งใหม่
    แล้วถ้าแพ้ .. พุทธศาสนาจะเป็นอย่างไร?

    ลองพิจารณาดูครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2015
  8. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    บทนี้สรุปง่ายๆไม่ต้องคิดเยอะ พระองค์กล่าวชัดแล้วครับ. ทีนี้ก็ขึ้นอยู่ว่าใครจะดำเนินชีวิตอย่างไรก็ทำกันตามสบาย ส่วนตัวผมที่มีอยู่ชีวิตก็ยุ่งมากแล้วไม่รู้จะอยากได้มาเพื่ออะไร
     
  9. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ลุงก็มีสมองแค่นั้น. คนจะสนใจไยดีธรรมะก็ยากแล้ว. ยังจะมีอุปสรรคเพิ่ม. มองไม่เห็นโทษแห่งการเกิด. อยู่นานๆนะ
     
  10. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,410
    ค่าพลัง:
    +12,662
    คนสนใจธรรมะมากๆนี่เขาประพฤติศีล๕
    กันได้อย่างอัตโนมัติกี่ข้อแล้วจย๊ะ!!!
     
  11. TheVisionMind

    TheVisionMind เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2014
    โพสต์:
    1,837
    ค่าพลัง:
    +2,233
    พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ ขยะแขยงอิทธิฤทธิ์ ..
    ก็ในเมื่อท่านยังใช้ฤทธิ์ปราบองคุลีมาล, ปราบท้าวมหาพรหม
    มือซ้ายท่านก็คือ พระโมคคัลลานะ ก็เด่นทางด้านฤทธิ์

    แล้วถ้าท่านรังเกียจฤทธิ์ ท่านจะสถาปนา พระโมคคัลลานะ ทำไมครับ?

    สุดท้ายสิ่งที่ท่านรังเกียจคือ การแสดงอวดฤทธิ์ให้ประชาชนดู ..
    อันที่จริงมันก็ดูโง่เขลาเบาปัญญามากนะ สำหรับการทำอะไรที่ไร้เหตุผล
    พูดแล้วก็พอเริ่มเข้าใจคำว่า ขยะแขยง แระ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2015
  12. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ชัดอย่างนั้นก็ยังหาข้อแก้กันไปเนาะ
     
  13. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    อิทธิปาฏิหาริย์ ไม่ใช่ธรรมที่เป็นแก่นสาร

    ในสมัยพุทธกาล เคยมีบุตรคฤหบดีผู้หนึ่ง ทูลขอให้พระพุทธเจ้าแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ เขากราบทูลว่า

    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมืองนาลันทานี้ เจริญรุ่งเรือง มีประชาชนมาก มีผู้คนกระจายอยู่ทั่ว ต่างเลื่อมใสนักในองค์พระผู้มีพระภาค ขออัญเชิญพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้โปรดสั่งพระภิกษุสักรูปหนึ่ง ที่จะกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรมเหนือมนุษย์ โดยการกระทำเช่นนี้ ชาวเมืองนาลันทานี้ก็จักเลื่อมใสยิ่งนัก ในพระผู้มีพระภาคเจ้า สุดที่จะประมาณ”

    พระพุทธเจ้าได้ตรัสตอบบุตรคฤหบดีผู้นั้นว่า

    “นี่แนะเกวัฏฏ์ เรามิได้แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรมเหนือมนุษย์ แก่คนนุ่งขาวห่มขาวชาวคฤหัสถ์ทั้งหลาย”

    พระองค์ได้ตรัสแสดงเหตุผลต่อไปว่า ในบรรดาปาฏิหาริย์ ๓ อย่าง ทรงรังเกียจ ไม่โปรด ไม่โปร่งพระทัยต่ออิทธิปาฏิหาริย์ และอาเทสนาปาฏิหาริย์ เพราะทรงเห็นโทษว่า คนที่เชื่อ ก็เห็นจริงตามไป ส่วนคนที่ไม่เชื่อ ได้ฟังแล้ว ก็หาช่องขัดแย้งคัดค้านเอาได้ว่า ภิกษุที่ทำปาฏิหาริย์นั้น คงใช้คันธารีวิทยา และมณีกาวิทยา ทำให้คนมัวทุ่มเถียงทะเลาะกัน และได้ทรงชี้แจงความหมายและคุณค่าของอนุสาสนีปาฏิหาริย์ให้เห็นว่า เอามาใช้ปฏิบัติเป็นประโยชน์ ประจักษ์ได้ภายในตนเอง จนบรรลุถึงอาวักขัย อันเป็นจุดหมายของพระพุทธศาสนา
    (ดู เกวัฏฏสูตร ที.สี.9/338-350/273-283)


    อิทธิฤทธิ์ ชนิดอริยะ และชนิดอนารยะ

    บาลีแห่งหนึ่ง ชี้แจงเรื่องอิทธิวิธี (การแสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ) ว่ามี ๒ ประเภท คือ

    ๑. ฤทธิ์ ที่มิใช่อริยะ คือ ฤทธิ์ที่ประกอบด้วยอาสวะ ยังมีอุปธิ (มีกิเลสและทำให้เกิดทุกข์ได้) ได้แก่ ฤทธิ์อย่างที่เข้าใจกันทั่วๆไป

    ๒. ฤทธิ์ ที่เป็นอริยะ คือฤทธิ์ที่ไม่ประกอบด้วยอาสวะ ไม่มีอุปธิ (ไม่มีกิเลส ไม่ทำให้เกิดทุกข์) ได้แก่ การที่ภิกษุสามารถทำใจกำหนดหมายได้ตามต้องการ บังคับความรู้สึกของตนได้ จะให้มองเห็นสิ่งที่น่าเกลียด เป็นไม่น่าเกลียดก็ได้ เช่น เห็นคนหน้าตาน่าเกลียดชัง ก็วางจิตเมตตาทำใจให้รักใคร่มีไมตรีได้ เห็นสิ่งไม่น่าเกลียด เป็นน่าเกลียดก็ได้ เช่น เห็นคนรูปร่างน่ารักยั่วยวนให้เกิดราคะ จะมองเป็นอสุภะไป ก็ได้ หรือจะวางใจเป็นกลาง เฉยเสีย ปล่อยวางทั้งสิ่งที่น่าเกลียดและไม่น่าเกลียด ก็ได้ (ที.ปา. 11/90/122) เช่น ในกรณีที่จะใช้ความคิดพิจารณาอย่างเที่ยงธรรม ให้เห็นสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง เป็นต้น
    ฤทธิ์ที่สูงที่ดีตามหลักพระพุทธศาสนา ได้แก่ ความสามารถบังคับความรู้สึกของตนเองได้ หรือบังคับจิตให้อยู่ในอำนาจของตนได้ เป็นฤทธิ์ที่ไม่มีพิษมีภัยแก่ใครๆ ซึ่งผู้ได้ฤทธิ์อย่างต้นต้องทำไม่ได้ แถมบางครั้งผู้มีฤทธิ์อย่างต้นนั้นยังเอาฤทธิ์ของตนไปใช้เป็นเครื่องมือสนองกิเลส ตรงข้ามกับฤทธิ์อย่างที่สอง ที่เป็นเครื่องมือสร้างคุณธรรม กำจัดกิเลส มิให้จิตใจถูกล่อไปในอำนาจของราคะ โทสะ หรือโมหะ (วัตถุประสงค์ของการปฏิบัติเช่นนี้ ใน องฺ.ปญฺจก. 22/144/189 – ฤทธิ์ประเภทนี้ เป็นพวกเมตตาเจโตวิมุตติ ซึ่งถึงขั้นเป็นสุภวิโมกข์ เกิดจากเจริญโพชฌงค์ประกอบด้วยเมตตาก็ได้ (สํ.ม.19/597/164) เป็นผลของการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ก็ได้ - (สํ.ม.19/1253-1262/736-9) เป็นผลของการเจริญสมาธิก็ได้ - (สํ.ม.19/1332-6/401-3) บางแห่งเรียกผู้ปฏิบัติได้เช่นนี้ว่า อริยชนผู้เจริญอินทรีย์แล้ว (ม.อุ.14/863/546 )

    การที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุแสดงอิทธิปาฏิหาริย์แก่ชาวบ้าน ย่อมเป็นหลักฐานยืนยันถึงการที่ไม่ทรงสนับสนุนการให้อิทธิปาฏิหาริย์ (วินย. 7/33/16)
     
  14. arjhansiri

    arjhansiri เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 สิงหาคม 2013
    โพสต์:
    186
    ค่าพลัง:
    +148
    คนเราก็แปลกไปทำในสิ่งที่พระพุทธเจ้าห้ามแสดง
     
  15. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ปัจจุบัน ถ้าได้จริงมีฤทธิ์จริงๆ โดยเหาะขึ้นไปในอากาศ วนไปวนมาแล้วตะโกนว่า ข้าเหาะได้แล้วโว้ยย ต่อให้อยู่ซอกไหนมุมไหนของถ้ำของโลก ผู้คนคงดั้นด้นไปจนพบ จะเอาอะไรหาให้ทุกอย่าง นอกจากดาวกับเดือนเท่านั้น

    แต่ที่เห็นๆดูๆรู้ๆปัจจุบัน มันกาตูน .(หาเงิน) มายากลแสดงได้เนียนกว่าอีก แถวๆภาคเหนือนี่ทำท่าเด่งดึ่งๆๆ (deejai) พอไปดูที่เขาแข่งกันเด่ง เขาเด่งได้เข้าท่ากว่าอีก (deejai)

    ปล. เคยเห็นคนทำกัมมัฏฐานแล้วสติแตก ปีนขึ้นหลังคาสำนัก กางแขนกางขากูจะเหาะแล้วน้า หล่นตุ๊บลงมา ต้องช่วยกันหามส่งโรงหมอ คิกๆๆ
     
  16. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    อรรถกถา ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
    เกวัฏฏสูตร


    อรรถกถาเกวัฏฏสูตร

    เกวฏฺฏคหปติปุตฺตวตฺถุวณฺณนา
    เกวัฏฏสูตรมีบทเริ่มว่า ข้าพเจ้า (พระอานนท์เถระเจ้า) ได้สดับมาอย่างนี้ ฯเปฯ ใกล้เมืองนาลันทา.
    จะพรรณนาบทโดยลำดับในเกวัฏฏสูตรนั้น.
    บทว่า ปวาริกัมพวัน คือ สวนมะม่วงของปาวาริกเศรษฐี. บทว่า เกวัฏฏะนี้ เป็นชื่อของบุตรคฤหบดี.
    มีเรื่องเล่ามาว่า เกวัฏฏะบุตรคฤหบดีนั้นมีทรัพย์ประมาณ ๔๐ โกฏิ เป็นคฤหบดีผู้มั่งคั่ง ได้เป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส (พระพุทธศาสนา) เป็นอย่างยิ่ง เพราะเหตุที่เขามีศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง เขาจึงคิดว่า หากจะมีภิกษุสักรูปหนึ่งเหาะไปในอากาศ พึงแสดงปาฏิหาริย์หลายๆ อย่าง ระหว่างกึ่งเดือน หรือหนึ่งเดือน หรือหนึ่งปี มหาชนก็จะพากันเลื่อมใสยิ่งนัก ถ้ากระไร เราจะกราบทูลขอร้องพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้ทรงอนุญาตภิกษุรูปหนึ่งเพื่อแสดงปาฏิหาริย์ แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลอย่างนี้.
    บทว่า มั่งคั่ง คือ มั่งคั่งสมบูรณ์. บทว่า มั่งมี คือ ถึงความเจริญ เพราะมากด้วยภัณฑะนานาชนิด.
    บทว่า คับคั่งไปด้วยมนุษย์ อธิบายว่า จอแจไปด้วยหมู่มนุษย์สัญจรไปมา ดูเหมือนว่าไหล่กับไหล่จะเสียดสีกัน.
    บทว่า จงจัด หมายถึง ขอร้อง คือตั้งให้ดำรงตำแหน่ง.
    บทว่า ธรรมที่ยิ่งยวดของมนุษย์ อธิบายว่า ยิ่งกว่า ธรรมของมนุษย์ผู้ยิ่งยวด หรือธรรมของมนุษย์ อันได้แก่กุศล ๑๐.
    บทว่า เป็นอย่างยิ่ง สุดที่จะประมาณได้ อธิบายว่า จักเลื่อมใสอย่างยิ่งสุดที่จะประมาณได้ เหมือนดวงประทีปที่โชติช่วง แม้กว่าปรกติ เพราะได้เชื้อน้ำมัน.
    บทว่า เราไม่แสดงธรรมอย่างนี้ มีอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ในเรื่องราชคหเศรษฐี เพราะฉะนั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า เราไม่แสดงธรรมอย่างนี้.
    บทว่า เราไม่กำจัด อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เราจะไม่ทำลายโดยให้คุณธรรมพินาศไป คือให้ถึงการทำลายศีล แล้วลดลงจากฐานะสูง ตั้งอยู่ในฐานะต่ำโดยลำดับ โดยที่แท้เราหวังความเจริญของพระพุทธศาสนา จึงกล่าวดังนั้น.
    บทว่า แม้ครั้งที่ ๓ แล อธิบายว่า ไม่มีผู้สามารถจะกล่าวห้ามพระดำรัสของพระพุทธเจ้าถึง ๓ ครั้ง แต่เกวัฏฏะกราบทูลถึง ๓ ครั้งด้วยคิดว่า เราคุ้นเคยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นคนโปรด หวังต่อประโยชน์ ดังนี้.

    อิทฺธิปาฏิหาริยวณฺณนา
    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า อุบาสกนี้แม้เมื่อเราห้าม ก็ยังขอร้องอยู่บ่อยๆ ช่างเถิด เราจะชี้โทษในการแสดงปาฏิหาริย์แก่เธอ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ปาฏิหาริย์ ๓ อย่างแล.
    ในบทเหล่านั้น บทว่า อมาหํ ภิกฺขุ ํ ตัดบทเป็น อมุ ํ อหํ ภิกฺขุ ํ
    บทว่า วิชาชื่อคันธารี อธิบายว่า วิชานี้ ฤษีชื่อคันธาระเป็นผู้ทำ หรือเป็นวิชาที่เกิดขึ้นในแคว้นคันธาระ. มีเรื่องเล่ากันมาว่า ในแคว้นคันธาระนั้น พวกฤษีอาศัยอยู่มาก บรรดาฤษีเหล่านั้น ฤษีผู้หนึ่งทำวิชานี้ขึ้น.
    บทว่า เราอึดอัด อธิบายว่า เราอยู่อย่างอึดอัดคือราวกะว่าถูกบีบ.
    บทว่า เราระอา คือ ละอาย.
    บทว่า เรารังเกียจ คือ เราเกิดความรังเกียจเหมือนเห็นคูถ.
    บทว่า แห่งสัตว์อื่น คือ แห่งสัตว์ทั้งหลายเหล่าอื่น. บทที่ ๒ คือแห่งบุคคลอื่น เป็นไวพจน์ของบทนั้นนั่นแล.
    บทว่า ย่อมทาย คือ ย่อมกล่าว. บทว่า ความรู้สึกในใจ หมายถึง โสมนัสและโทมนัส.
    บทว่า ใจของท่านเป็นไปโดยอาการอย่างนี้ อธิบายว่า ใจของท่านตั้งอยู่ในโสมนัส โทมนัส หรือประกอบด้วยกามวิตกเป็นต้น. บทที่ ๒ เป็นไวพจน์ของบทนั้นแล.
    บทว่า จิตของท่านเป็นอย่างนี้ คือจิตของท่านเป็นเช่นนี้. อธิบายว่า จิตของท่านคิดถึงเรื่องนี้และเรื่องนี้เป็นไปแล้ว. บทว่า วิชาชื่อมณิกา ท่านชี้แจงว่า มีวิชาหนึ่งในโลกได้ชื่ออย่างนี้ว่า จินดามณี บุคคลย่อมรู้ถึงจิตของคนอื่นได้ ด้วยวิชาจินดามณีนั้น.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2015
  17. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    อรรถกถา x 2 ซุปเปอร์แซป

    บทว่า ระอา ต้องหมายเอาตามเหตุ ที่เกิดพระสูตร ดังนั้น ท่านทรงตรัสระอา การจะให้
    สาวกไปแสดงฤทธิ์ทุกกึ่งเดือน เพื่อให้ มหาชนเกิดศรัทธา [ แสดงการปฏิเสธ คำขอ คำอราธนา
    อย่างแข็งขัน แต่....ต้นเรื่องที่มาขอ ก็ยังไม่เลิก เว้าวอน ...ตามที่ อรรถกถาจารย์ อธิบาย ]


    พระองค์ไม่ได้ทรง ระอาฤทธิ์ จนไม่ประกอบ ไม่หมั่นซ่องเสพ ไม่ทำให้แจ้ง ซึ่งต่างจาก
    วัตถุประสงค์ของเจ้าของกระทู้ ที่ ยกอ้างกล่าวตู่ พระพุทธองค์ว่า ไม่ทรงฝึก หรือ
    ทรงมีเรื่องฤทธิ์

    เจ้าของกระทู้ เอามายก เพียงเพื่อ กลบเกลื่อน คุณธรรมของตน ที่หาไม่เจอ
    อ้างว่า ตนบรรลุฌาณสมาบัติ แต่ทว่า การแสดงฤทธิ์อะไรสักอย่าง ทำไม่ได้ หาไม่เจอ
    ไม่รู้ว่า จะมีได้อย่างไร ผิดกับ สาวกที่พระพุทธองค์ตรัสรับรองว่า สาวกของพระพุทธองค์
    ทรงแสดงฤทธิ์ได้ทุกองค์(ไม่เว้นแม้แต่ พวกสุขวิปัสสโก หากปราถนาจะใช้ฤทธิแล้ว
    แค่ คู้แขนเข้าเหยียดแขนออก ย่อมแสดงได้ หาก รู้ชัดว่า แสดงแล้ว จะมี คนบรรลุนิพพาน)


    เน้นอีกที ฤทธิที่แสดงด้วยอาการรู้ชัดว่า คนทัสนา จะมีอุปนิสัย น้อมไปนิพพาน พระพุทธองค์ไม่ห้าม
    หากไม่แสดงต่างหาก จะปรับอาบัติ ด้วยซ้ำ !!! (อุปมา คนมีของดี แล้วไม่รู้จักแบ่งปัน)

    แต่ก็ ....ผิดกับ พวกแสดงฤทธิ์บางจำพวก ที่อ้างว่า ตนไม่มี กามราคะ แต่พอได้ยินคำว่า คาปูชิโน่ น้ำลายก็ไหล พุงกระเพื่อม
    ยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ เกิดอาการ สรวญเสเฮาฮา อย่างคน ไม่มี สัจจวาจา มักมุสาวาทชอบคุยเล่น พอได้
    มวรสารก็เอาไปทุบ เอาไปเก็บ เอาไปอมไว้ อ้างโน้นอ้างนี้ หมักหมมเป็น หยากเยื่อขาวๆเหม็นๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2015
  18. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    สำหรับ เจ้าของกระทู้ ต้อง โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง



    เน้นนะครับว่า พระพุทธองค์ทรงทำให้แจ้ง ปาฏิหารย์ทั้ง3 อย่าง คือ ฝึกจนสำเร็จ
    แล้วแสดงได้

    อีกทั้ง สอนให้ สาวก ของพระองค์ ทำได้ด้วย


    ไม่ใช่ สลบเหมือดตื่นขึ้นมา " แบ๊ะ แบ๊ะ "
     
  19. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ไฉนเป็นอย่างนั้นไปได้ นี่เขาเรียกว่าไม่เข้าใจประเด็นที่พระองค์กล่าวจริงและไม่สำคัญว่า ฤทธิ์นั้นนอกจากประโยชน์น้อยมาก. แล้วยังจะพาคนไม่สนใจในอริยสัจน่าเสียดายจริงๆ
     
  20. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ไม่เคยนะสลบเหมือดนี่ มีแต่แทงตลอด เข้าสู่ความจริง ไม่ใช่มาเบะๆแบบเอกวีย์นะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...