แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา คืออะไร ??

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย กุศโลบาย, 31 มีนาคม 2015.

  1. กุศโลบาย

    กุศโลบาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2013
    โพสต์:
    323
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,604
    แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา

    ถาม : ขอถามเรื่องที่เกี่ยวกับหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นแก่นแท้ ...ถ้าเกิดมีคนถามผมว่า พระพุทธศาสนาสอนอะไร ผมก็เลย..?
    ตอบ : ถ้าในลักษณะนั้นให้ตอบว่า คำสอนของพระพุทธศาสนาที่เป็นหลักจริง ๆ ก็คือ “โอวาทปาติโมกข์”
    ท่านสอนว่า “ให้ทุกคนละความชั่วทั้งหมด ทำความดีให้ถึงพร้อม รักษาจิตใจของตนให้เบิกบานผ่องใสอยู่เสมอ” นี่เป็นเนื้อหาคำสอนหลักของท่าน
    แต่ว่าก่อนปรินิพพาน พระพุทธเจ้าท่านสรุปลงคำว่า “ไม่ประมาท” คำเดียว นั่นหนักเกินไป ต้องคนที่เข้าถึงธรรมะระดับที่เรียกว่าสูงมาก ถึงจะเห็นตัวนี้ชัดเจน
    ตอนที่แสดงโอวาทปาติโมกข์ พระองค์ท่านสรุปเอาไว้ดังนี้ว่า

    "ขันตี ปรมัง ตะโป ตีติกขา" ขันติเป็นตบะอย่างยิ่งของนักปฎิบัติ ก็หมายความว่า คนที่ปฎิบัติต้องอาศัยความอดทนเป็นหลักเลย
    "นิพพานังปรมัง วะทันติพุทธา" พระพุทธเจ้าทุกองค์ย่อมกล่าวถึงนิพพานเหมือนกัน
    "นะหิ ปัพพชิโต ปะรูปะฆาตี" การฆ่าผู้อื่นไม่ชื่อว่าบรรพชิต แตะนิดเดียวก็ไม่ได้นะ
    "สะมะโณ โหติ ปะรัง วิเหฐะยันโต" ผู้ที่ยังเบียดเบียนผู้อื่นอยู่ ไม่เรียกว่าสมณะ

    แล้วพระองค์ท่านก็บอกวิธีการปฏิบัติต่อไปว่าว่า "อนูปะวาโท" ต้องไม่ว่าร้ายใคร "อนูปะฆาโต" ต้องไม่ทำร้ายใคร

    "ปาฎิโมก เข จะสังวะโร" ให้สำรวมในศีลของเราเอาไว้ เรามี ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ อย่างไร ต้องระมัดระวังทุกสิกขาบทให้ดี

    "มัตตัญญุตา จะ ภัตตัสมิง" ต้องรับประทานอาหารแต่พอสมควร ไม่หลงในรสอาหารมากจนเกินไป กินอิ่มเกินไป ไม่พอเหมาะพอดี หรือว่าไม่ทรมานตัวเองเกินไป จนทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ต้องปฎิบัติได้ไม่ลำบาก ต้องพอดีสำหรับตัวเอง

    "ปันตัญจะ สะยะนาสะนัง" นั่งนอนหรืออาศัยอยู่ในที่สงัด เพื่อว่าจิตใจจะได้ไม่ฟุ้งซ่านไปกับสภาพรบกวนที่เข้ามาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

    "อะธิจิตเต จะ อาโยโค" สร้างกำลังใจของเราให้มั่นคงอยู่ในสมาธิให้ได้ตลอด

    แล้วพระองค์ท่านทรงสรุปว่า "สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง" ต้องละเว้นจากความชั่วทั้งทั้งปวง

    "กุสะลัสสูปะสัมปะทา" ต้องทำความดีให้ถึงพร้อม

    "สะจิตตะปะริโยทะปะนัง" ต้องทำกำลังใจของเราให้เบิกบานแจ่มใสอยู่เสมอ

    "เอตัง พุทธานะสาสะนัง" ท่านบอกว่าพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ สอนอย่างนี้เหมือนกันหมด

    เพราะฉะนั้น..ถ้าหากว่าหลักคำสอน เราเอาแค่นี้แค่ว่า “ละเว้นความชั่วทั้งปวง ทำความดีให้ถึงพร้อม ทำจิตใจให้ร่าเริงเบิกบานอยู่เสมอ”

    ถ้าจะไปสรุป บางครั้งคนไม่ได้เริ่มต้นเลย บอก “ไม่ประมาทคำเดียวเป็นแก่นแท้” ไม่ผิดหรอก แต่มีหวังหงายท้องอยู่ตรงนั้น...(หัวเราะ)....

    สนทนากับพระครูวิลาศกาญจนธรรม วัดท่าขนุน
    ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ เดือนกันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๔
    ที่มา :
     
  2. Piagk3

    Piagk3 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    607
    ค่าพลัง:
    +1,222
    อริยสัจสี่( เรื่องของ ทุกข์ สมุห์ทัย นิโรธ และมรรค) ที่พระพุทธเจ้า ทรงสอน และพุทธบริษัทเข้ามาเรียนรู้และเป็นเรื่องเร่งด่วนในชีวิต
     
  3. ชุนชิว

    ชุนชิว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    723
    ค่าพลัง:
    +782
    การเรียนรู้และเข้าใจในสมมติ และเพียร พยายามเพื่อที่จะพ้นออกไปให้ได้ ทุกสิ่งเป็นสมมติ แต่ทุกข์นี่แหละของแท้ ไม่มีอะไรนอกจากทุกข์ ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และก็ดับไป คุณจะเลือกทางไหน ระหว่างหยุดเสพทุกข์ หรือ เสพต่อไปเรื่อยๆก่อนจนเกินขนาดแล้วค่อยสำรอกมันออกมาที่หลังแล้วค่อยหยุดเสพมัน สุดท้ายจิตทุกดวงก็ต้องนิพพาน จะช้าจะเร็วก็อีกเรื่องหนึ่ง คนเราเกิดมาแล้วต้องตายฉันใด จิตทุกดวงก็ต้องนิพพานฉันนั้น บาปทั้งหลายล้วนนำความทุกข์มาให้ เมื่อทุกข์เกิดขึ้นจิตย่อมดิ้นรน กระสับกระส่ายและหาทางเพื่อที่จะให้พ้นไปจากทุกข์นั้นให้ได้ ฉะนั้นบ่อยครั้งที่คนที่เคยทำความชั่วมามากๆ มักจะนิพพานก่อนคนที่เคยทำความดีมากๆมาก่อน
     
  4. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,567
    ค่าพลัง:
    +9,957
    +++ แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา คือ สภาวะที่ "พระพุทธเจ้าทรง เพียรหา เพียรจนพบ แล้วนำวิธีมาบอกสอน"

    +++ สิ่งที่พระองค์ทรงค้นหาก็คือ "สภาวะที่ไม่ต้อง เกิด แก่ เจ็บ ตาย และ ไม่มีทุกข์แน่นอน" เท่านั้น นอกออกไปจากนี้ "พระองค์ ไม่ค้นหา"

    +++ ดังนั้น สภาวะนี้ "อยู่ที่ไหน" อยู่ "ข้างนอกตัวหรือไม่"

    +++ ยามใดก็ตามที่ สามารถรู้จัก "สติบริสุทธิ์" ได้แล้ว ก็จะรู้ได้เองว่า สติบริสุทธิ์ นี้ ไม่สามารถทำให้ "เกิด แก่ เจ็บ ตาย" ได้ รวมทั้ง "ทุกข์ ไม่สามารถตั้งอยู่ได้" เช่นกัน

    +++ หากรู้จัก "อาการของ สติ ที่แท้" เมื่อไร ก็ลองทำให้มัน "ทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย" ดูซิ "มันไม่มีวันทำได้หรอก"

    +++ แล้วก็จะรู้ได้ชัดเจนเองว่า "สติที่แท้ ก็คือ ตัวเรานั่นเอง" แต่เป็นแบบ "ของจริงนิ่งเป็นใบ้ ของพูดได้ไม่ใช่ของจริง"

    +++ ให้ "ตั้งสติ" จนกลายมาเป็น "สติที่แท้" เท่านั้น จึง "รู้" และเป็น "สภาวะรู้" ได้

    +++ ตรงนี้ "ต้องทำเอา" "คิดเอาเอง" ไม่ได้ นะครับ
     
  5. patdorn

    patdorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +227
    แก่นคำสอนคือนิพพาน
     

แชร์หน้านี้

Loading...