แก้กรรม เกลื่อนแผง วิถี(แก้)จิตตกของสังคมไทย?

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 12 กันยายน 2009.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,172
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ถ้าโลกนี้มีดัชนีวัดความสุข ตัวเลขดัชนีโดยรวมของคนไทยในช่วงเวลาสั้นๆ ที่ผ่านมา คงลดลงฮวบฮาบอย่างน่าใจหาย และสารพันปัญหาที่รุมเร้า ทำให้หลายคนๆ พยายามหาสารพัดทางออก เพื่อคลี่คลายความทุกข์

    ซึ่งศาสนาก็เป็นเสมือนหนึ่งในทางสว่างนั้น มีข้อพิสูจน์มากมายถึงการดับทุกข์ด้วยธรรม ที่ความสำเร็จกลายเป็นส่วนหนึ่งของบทบันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยเฉพาะตั้งแต่เจอวิกฤตฟองสบู่ หนังสือแนวธรรมะก็ขายดิบขายดีพิมพ์ซ้ำแล้วซ้ำอีกอย่างไม่เสื่อมความนิยม แม้เวลาจะผ่านมากว่าทศวรรษแล้วก็ตาม

    แต่ช่วงปัญหาซ้ำรอยเดิมอย่างนี้ มีหนังสืออีกประเภทหนึ่งที่จี้ตามธรรมะ (แท้) มาแบบติดๆ และเบียดขึ้นอันดับเบสท์เซลเลอร์ตามร้านหนังสือดังๆ หลายแห่ง นั่นคือ "หนังสือแนวแก้กรรม"

    จริงๆ นี่ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะศาสนาพุทธในสังคมไทยนั้น มีรากฐานหนึ่งคือความเชื่อในเรื่องผี ซึ่งเป็นความเชื่อฝังรากมาก่อนที่ชนชาติไทยจะนับถือศาสนาด้วยซ้ำ

    จึงไม่แปลกที่จะพบเห็นการสะเดาะเคราะห์ รดน้ำมนต์ ปล่อยนกปล่อยปลา ในพิธีพุทธ ซึ่งคาบเกี่ยวระหว่างการทำบุญทำทานและการแก้ไขเรื่องร้ายให้เบาบางลง

    แต่ที่ผ่านมายังเป็นเพียงการปฏิบัติในมวลชนเท่านั้น ไม่ใช่บันทึกเป็นลายลักษณ์ชัดเจนขนาดนี้

    เพียงสามเดือนที่ผ่านมา หนังสือแนวแก้กรรมจากสำนักพิมพ์น้อยใหญ่ออกมาตีตลาดกว่าห้าสิบรายชื่อ อาทิ แก้กรรม 12 นักษัตร, 99 วิธีแก้กรรมด้วยตัวเอง, ขับวิญญาณรักษาโรคกรรม, คนเห็นกรรม, เลิกบาป สั่งสมบุญ เพื่อแก้ลิขิตแห่งกรรม, สแกนกรรม, เบิกบุญให้พ้นวิบากกรม, แก้กรรมทำให้รวย เล่ม1-2, แก้กรรมด้วยตัวเอง, แก้กรรมเนื้อคู่ เป็นต้น

    เนื้อหาส่วนใหญ่ของหนังสือจะเริ่มต้นถึงชีวิตที่พบเจอแต่อุปสรรค อาทิ ไม่มีคู่ จนหนี้สินรุงรัง มีปัญหาชีวิตนั่น-โน่น-นี่ ตลอดเวลา ก่อนที่จะโยงว่าเกิดขึ้นเพราะอะไร เช่น เคยทำแท้ง เคยลักขโมยเงินพ่อแม่ ชาติที่แล้วอาจจะเจ้าชู้ทำให้คนอื่นเสียใจ ชาตินี้เลยต้องชดใช้ และสรุปวิธีแก้กรรมตามแต่ละตำราที่แตกต่างกันออกไป
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    จริงอยู่ นั่นคือวิจารณญาณหรือความเชื่อส่วนบุคคล แต่ในอีกแง่หนึ่ง สามารถบ่งได้หรือไม่ว่าสังคมไทยกำลังตกอยู่ในสภาวะใด ในวันที่การแก้ปัญหาด้วย "ธรรมะ" เบียดเคียงมากับการแก้ปัญหาด้วย "การแก้กรรม"

    ในมุมมองของจิตแพทย์ แพทย์หญิงพรรณพิมล หล่อตระกูล ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล มองว่าปรากฏการณ์นี้เกิดข้นจากสองสาเหตุหลัก อย่างแรกคือ เป็นความเชื่อพื้นฐานที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย เพราะกระบวนการของศาสนาพุทธในไทยนั้นยึดติดในพิธีกรรมอยู่แล้ว และอย่างที่สองคือ สะท้อนสภาวะอ่อนไหวของคนในสังคม

    เพราะฉะนั้น ถึงคนไทยยุคนี้จะเล่นไฮไฟว์ เฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ แต่ก็ยังแก้กรรม

    "ความอ่อนไหวนำไปสู่ความต้องการที่จะแก้ปัญหาแบบสำเร็จรูป จนไปยึดบางสิ่งที่คิดว่าทำได้ไม่ยากและนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงในเวลาอันรวดเร็ว เหมือนเป็นการหาคำตอบง่ายๆ ด้วยพิธีกรรมบางอย่าง แล้วการแก้กรรมเชื่อมโยงกับความเชื่อดั้งเดิมอยู่แล้ว เลยไม่ยากที่จะยอมรับ"

    อีกฝ่ายที่คุณหมอมองว่าช่วยย้ำความเชื่อนี้ คือการเล่นประเด็นทางการตลาดและการขายผ่านสื่อกระแสหลัก ซึ่งทำให้หนังสือแนวแก้กรรมติดตลาดอย่างรวดเร็วและประสบความสำเร็จจนมีหลายๆ เล่มๆ ตามมาให้อ่านกันไม่หวาดไม่ไหว

    คุณหมอยังบอกอีกว่า แม้จะเป็นเรื่องส่วนบุคคล แต่นี่คือประเด็นทางสังคมที่ควรจะพิจารณากันให้มาก เพราะแนวคิดเชิงนี้เป็นทัศนคติที่เจ้าตัวมองว่า "อันตราย" ต่อกระบวนการเรียนรู้ของสังคมไทย

    "ต้องถามตัวเองว่านี่คือแนวคิดทางศาสนาจริงๆ หรือเปล่า หรือแค่ความสบายใจชั่วครู่ชั่วยาม บางคนอธิบายว่าการแก้กรรมจะทำให้คนมีกำลังใจไปทำอะไรที่ดีขึ้นหลังจากสบายใจแล้ว มันง่ายไปสำหรับคำอธิบายแบบนี้ ขยันออกกันจังแล้วชี้ว่าโปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน ดูแล้วไม่ต้องรับผิดชอบเลยกับการตอกย้ำซ้ำๆ อย่างนี้

    "ศาสนาให้ใช้ปัญญาแก้ไขปัญหา แต่ตรงนี้เหมือนเดินไปยังไงก็ตาม ตามใจ เข้าข้างตัวเอง ต่อไปการเรียนรู้ของเราจะเป็นยังไง เหมือนมีปัญหาทางเศรษฐกิจ เงินไม่พอใช้ซะที ก็ไม่ต้องหากันที่เหตุว่าการกระทำเราเป็นอย่างไร เกิดขึ้นเพราะอะไร ไม่ต้องเรียนรู้ให้มาก แต่แก้ปัญหากันง่ายๆ อย่างนั้นหรอ แทนที่จะอยู่กับหลักเหตุและผลของกรรม ซึ่งก็คือการกระทำ"

    นั่นเป็นมุมมองทางสังคม

    ในมุมมองของนักวิชาการด้านวรรณกรรม ศ.ดร.รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์ ภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยรามคำแหง มองว่าการที่หนังสือแนวแก้กรรมเกลื่อนแผง และมียอดพิมพ์ซ้ำแล้วซ้ำเล่านั้น คือไม้บรรทัดที่ชี้ให้เห็นเลยว่า "สังคมกำลังจิตป่วย"

    เพราะผู้คนหวาดหวั่นไม่มั่นใจต่อชะตากรรมความเปลี่ยนแปลงในสังคม และหาทางออกไม่ได้

    "เราเชื่อเรื่องกรรมมาแต่เดิมอยู่แล้ว มีอยู่ในระบบสังคมไทย อย่างรดน้ำมนต์ สะเดาะเคราะห์ ดูดวงก็เป็นนะ แต่ถ้ามองอีกแง่ทางออกด้วยการแก้กรรม คือคำตอบของคนที่เหว่ว้า ความเชื่อนี้คนใหญ่คนโตก็เชื่อ ไม่ใช่แค่ชาวบ้าน มีบทบาทมีความคิดอ่านที่แสดงต่อสังคมชัดเจน"

    นี่จึงไม่ใช่คำตอบใหม่ของสังคมไทย

    "อย่างปี 2540 ก็เคยมีหนังสือของแม่ชีทศพรที่ดังมากๆ แต่ช่วงนี้คือเต็มร้านและมีคนเขียนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มองว่าเป็นการอาศัยเวลาสั่งสมบ่มเพาะความนิยมขึ้นมา และสำนักพิมพ์เองก็สนับสนุน"

    แม้จะไม่ใช่เรื่องที่ไม่เคยรู้ แต่สิ่งที่น่าสังเกตก็คือการกลายความเชื่อเป็นวรรณกรรมลายลักษณ์นั้น เป็นเสมือนหลักฐานยืนยันสิ่งที่มีอยู่ และการขยายในวงกว้าง

    "พอตีพิมพ์เป็นหนังสือ เป็นวรรณกรรมมวลชนขึ้นมา ความเชื่อก็แพร่หลายในวงกว้างมากขึ้น เหมือนเมื่อก่อนเป็นภาคปฏิบัติแต่นี่เป็นลายลักษณ์อักษร เลยดูน่าตกใจขึ้น อะไรก็ตามที่เป็นวรรณกรรมลายลักษณ์ก็จะบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ของสังคมด้วย"

    ศ.ดร.รื่นฤทัยยังมองว่า ถึงแม้หนังสือจะมีมากเพียงไหนก็ไม่น่าจะก่อเกิดผลกระทบของสังคม เพราะคนที่เชื่อก็ยังเชื่อ ส่วนคนที่ไม่เชื่อก็ไม่เชื่ออยู่ดี ที่น่าสนใจคือ สำนักพิมพ์มองสิ่งนี้อย่างไร

    "เพราะสิ่งหนึ่งที่ต่างจากช่วงแรกคือสำนักพิมพ์ที่พิมพ์ไม่ใช่สำนักพิมพ์เล็กๆ อีกแล้ว แต่เป็นสำนักพิมพ์ใหญ่หลายแห่งด้วย ต้องถามว่าสำนักพิมพ์มีทรรศนะอย่างไรที่ผลิตตามๆ กันมา หรือเป็นเพราะคนอ่านอ่านมากเลยขายได้ จึงเร่งผลิตกันและสนับสนุนหาคนมาเขียน แต่ถ้ามองลึกๆ จะเห็นว่านี่ไม่ใช่การสร้างคนเขียน ทว่าเป็นการสร้างความคิดความเชื่อขึ้นมา

    "เป็นการมองในแง่บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ ว่าให้ผลประโยชน์กับใครมากกว่าระหว่างผู้อ่านและผลกำไรทางธุรกิจ"

    เพราะงั้นจะอ่าน-จะเชื่อคำใคร "สติ" คงนำประโยชน์มาให้ผู้อ่านเหนือกว่าสิ่งใดแน่นอน

    ....

    พระมหาวุฒิชัย วชิระเมธี ผู้ก่อตั้งสถาบันวิมุตาลัยและพระนักเทศน์ชื่อดัง อธิบายเรื่องการแก้กรรมไว้โดยย่อว่า

    "พิธีแก้กรรมไม่มีอยู่ในหลักพุทธศาสนา แต่ถือเป็นลัทธิกรรมพาณิชย์ หนทางแก้กรรมต้องทำที่ตัวเอง พระพุทธเจ้าไม่เคยแสดงธรรมคำสอนเรื่องกรรมว่า ผู้อื่นสามารถแก้กรรมของตนได้ ให้ดูชีวิตในปัจจุบันว่าหว่านพืชชนิดใดก็ย่อมได้ผลเช่นนั้น

    "การแก้กรรมคือการแก้ความหลงผิด เลิกทำความชั่ว แก้พฤติกรรม ดังนั้น การแก้กรรมจึงไม่ใช่สำเร็จที่การสะเดาะเคราะห์หรือทำพิธีจากเกจิ


    ˹ѧ
     
  2. tax108

    tax108 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +86
    "การแก้กรรมคือการแก้ความหลงผิด เลิกทำความชั่ว แก้พฤติกรรม ดังนั้น การแก้กรรมจึงไม่ใช่สำเร็จที่การสะเดาะเคราะห์หรือทำพิธีจากเกจิ
    .................................................
    มีสติรู้เท่าทันปัญหา-ปัญญาก็เกิด ผมเคยร่วมงานกับคนที่ไปแก้กรรม มาก็หลายคนครับ แต่บางคนก็ดีขึ้นผิดหูผิดตา แต่บางคนก็ทรงๆ-ทรุดๆ ก็ไม่รู้ว่าเป็นเรื่องจังหวะชีวิตหรือผลของการแก้กรรม แต่บทสรุปที่ได้คือ สวดมนต์ กรวดน้ำ นั่งแผ่อุทิศส่วนกุศล จะเป็นบทสรุปของทุกสำนัก..
     
  3. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,275
    ค่าพลัง:
    +82,733
    หากการแก้กรรมสามารถทำได้โดยง่ายดาย...
    ใครไหนเลยจะเกรงกลัวต่อการทำบาป
    กราบอนุโมทนาสาธุค่ะ
     
  4. 5th-Lotus

    5th-Lotus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +306

แชร์หน้านี้

Loading...