แก้ พ.ร.บ.สงฆ์ ถวายพระราชอำนาจ แต่งตั้งมหาเถร

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 23 มิถุนายน 2018.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    b89a-e0b8aae0b887e0b886e0b98c-e0b896e0b8a7e0b8b2e0b8a2e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8a3e0b8b2e0b88ae0b8ad.jpg

    กฤษฎีกาประกาศรับฟังความเห็นแก้ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ปรับองค์ประกอบมหาเถรฯ ยกเลิกเกณฑ์ตั้งสมเด็จพระราชาคณะเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง ชี้สมเด็จพระราชาคณะส่วนใหญ่ชราภาพ มีปัญหาสุขภาพ เข้าประชุมไม่สม่ำเสมอ โดยให้การแต่งตั้ง-ปลด กรรมการมหาเถรฯทุกรูป รวมถึงเจ้าคณะใหญ่ เจ้าคณะภาค เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์

    วันที่ 23 มิ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา www.krisdika.go.th ประกาศการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 โดยระบุว่า ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเมื่อวันที่ 19 มิ.ย.2561 รับหลักการให้มีการจัดทําร่างกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ในประเด็นเกี่ยวกับมหาเถรสมาคม (มส.) ในฐานะองค์กรปกครองคณะสงฆ์นั้น เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมติ ครม.วันที่ 4 เม.ย.2560 ประกอบกับมติ ครม.วันที่ 19 มิ.ย.2561 ดังกล่าว จึงเปิดรับฟังความเห็นประกอบการจัดทําร่างกฎหมายดังกล่าวเป็นเวลา 7 วัน ดังนี้ สภาพปัญหา มหาเถรสมาคม ตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ประกอบด้วย สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานกรรมการ สมเด็จพระราชาคณะทุกรูปเป็นกรรมการโดยตําแหน่ง และพระราชาคณะอีกไม่เกิน 12 รูป ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้งเป็นกรรมการและมีวาระ 2 ปี

    แต่ในทางปฏิบัติ ปรากฏว่า สมเด็จพระราชาคณะ ซึ่งเป็นกรรมการโดยตําแหน่ง มักเป็นผู้เจริญพรรษายุกาล จึงชราภาพ และอาจมีปัญหาเรื่องสุขภาพ ทําให้ไม่อาจเข้าร่วมประชุมได้สม่ำเสมอ บางครั้งจําเป็นต้องลาการประชุมติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เหตุอย่างเดียวกันอาจเกิดได้แม้กับกรรมการอื่น ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้ง นอกจากนี้ กรรมการบางรูปในขณะนี้ต้องคดีอาญา หรือมีข้อกล่าวหาจนต้องพ้นจากตําแหน่ง จึงไม่ตั้งอยู่ในที่ศรัทธาเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชน ทั้งที่องค์กรนี้จะต้องเป็นหลักในการปกครองคณะสงฆ์ และก่อให้เกิดการปฏิรูปหรือการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในสังฆมณฑล

    จึงสมควรปรับปรุงแก้ไขที่มาและองค์ประกอบของมหาเถรฯ เสียใหม่ เพื่อให้ได้พระภิกษุผู้มีพรรษาอันสมควร มีจริยวัตรที่เหมาะสมแก่การปกครองคณะสงฆ์มาเป็นกรรมการและผู้ปกครองคณะสงฆ์ในลําดับชั้นต่างๆ ตลอดจนชักนําให้เกิดการปฏิรูปหรือการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการปกครองคณะสงฆ์และการจัดระเบียบต่างๆ เกี่ยวกับวัดและวัตรปฏิบัติของพระภิกษุให้เรียบร้อยดีงามตามพระธรรมวินัย กฎหมายของบ้านเมือง ความคาดหมายของพุทธศาสนิกชน และจารีตประเพณีอันดีงามของชาติ[​IMG] [​IMG]

    หลักการใหม่ ให้ยกเลิกองค์ประกอบกรรมการ มส. โดยตําแหน่ง ทั้งนี้ ยังคงให้มีกรรมการอื่นนอกจากประธานกรรมการในจํานวนเท่าเดิม (20 รูป) แต่ถวายพระมหากษัตริย์ให้ทรงแต่งตั้งจากพระภิกษุผู้มีพรรษาอันสมควร และมีจริยวัตรที่เหมาะสมแก่การปกครองคณะสงฆ์ และทรงมีพระราชโองการให้กรรมการดังกล่าวพ้นจากตําแหน่งได้ โดยให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ หลักเดียวกันนี้ใช้กับการแต่งตั้งและถอดถอนเจ้าคณะใหญ่และเจ้าคณะภาคด้วยตามที่มีพระราชดําริเห็นสมควร

    ให้กรรมการ มส.ซึ่งดํารงตําแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่กฎหมายคณะสงฆ์ที่แก้ไข เพิ่มเติมใหม่ใช้บังคับ ยังคงดํารงตําแหน่งต่อไปจนกว่าจะทรงแต่งตั้งกรรมการ มส.ขึ้นใหม่ตามกฎหมายนี้ จึงขอเชิญพระภิกษุและบุคคลทั่วไปแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักการตามประเด็นดังกล่าวเข้ามาได้ทางเว็บไซต์สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา www.krisdika.go.th ตั้งแต่บัดนี้จนถึง วันที่ 27 มิ.ย.2561

    ด้านนายบรรจบ บรรณรุจิ ประธานสมาพันธ์ชาวพุทธแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เมื่อถวายเป็นพระราชอำนาจในการแต่งตั้งกรรมการ มส. ก็นับเป็นสิ่งที่ดี เพราะเราเชื่อว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ทรงธรรม และที่ผ่านมาก็มีการเสนอให้แก้ไขเรื่อง มส. กันมาอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว เนื่องจากประสบปัญหาทั้งสมเด็จพระราชาคณะอาพาธ ทำให้งานบางอย่างไม่บรรลุเป้าหมาย และนับเป็นเรื่องที่ดีที่คณะกรรมการกฤษฎีกา เปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นพระ ฆราวาส ก่อนสรุปผลในการแก้ไขในหมวดดังกล่าวต่อไป

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_1253438
     

แชร์หน้านี้

Loading...