แข่งโพน-ลากพระ วิถีบุญ...เทศกาลออกพรรษา 'คนเมืองลุง'

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 24 กันยายน 2009.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,172
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]

    <SCRIPT type=text/javascript>var id='29639';function count(){$.ajax({ type: "POST", url: "http://www.komchadluek.net/counter_news.php", data: "newsid="+id, success: function(txt){ var counter_=parseInt(txt); $('#counters').html('จำนวนคนอ่าน '+counter_+' คน'); } });} featuredcontentslider.init({ id: "slider1", contentsource: ["inline", ""], toc: "markup", nextprev: ["Previous", "Next"], revealtype: "click", enablefade: [true, 0.1], autorotate: [true, 8000], onChange: function(previndex, curindex){ }})</SCRIPT>คมชัดลึก : ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ หรือ วันออกพรรษา เหล่าพุทธศาสนิกทั่วทุกภูมิภาค ไม่เพียงแค่หิ้วปิ่นโตเดินทางเข้าวัดฟังเทศน์ฟังธรรม เท่านั้น แต่ละพื้นที่ยังมีกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพุทธประวัติ ที่ถ่ายทอดเรื่องราวสมัยพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้า เสด็จกลับจากจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลงมายังโลกมนุษย์ แตกต่างกันไปตามแต่วัฒนธรรมประเพณีในแต่ละท้องถิ่น จะปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาหลายชั่วอายุคน
    <SCRIPT type=text/javascript><!--google_ad_client = "pub-1044823792492543";/* Kom-newdesign338x280story */google_ad_slot = "7614892621";google_ad_width = 336;google_ad_height = 280;//--></SCRIPT><SCRIPT type=text/javascript src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/expansion_embed.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/test_domain.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT>

    สำหรับ ภาคใต้ ประเพณีอันงดงามในห้วงเวลาดังกล่าว และเป็นที่กล่าวขานอย่างกว้างขวาง นั่นคือ งานประเพณี “ลากพระ” ซึ่งเป็นงานบุญที่เหล่าพุทธบริษัทต่างร่วมแรงแข่งขันตกแต่ง และประดับประดาเรือพระที่วัดใกล้บ้าน ก่อนนำออกแห่แหน ในวันออกพรรษา อย่างวิจิตรตระการตา

    และสิ่งหนึ่ง ที่สำคัญชนิดขาดไม่ได้ และอยู่คู่ เรือพระปักษ์ใต้ เสมอมานั้นก็คือ โพน เครื่องดนตรีไทย ที่มีรูปร่างคล้ายกลองทัด และถือเป็นเอกลักษณ์สำคัญที่เรือพระแต่ละลำจะต้องมีมือโพนตีให้เกิดเสียงดังกึกก้อง เพื่อเป็นสัญญาณบอกให้ผู้คนรู้ว่า เสียงโพนที่กังวาลอยู่นั่น เป็นเสียงจากเรือพระวัดใดวัดหนึ่ง
    ด้วยเหตุนี้ที่ จ.พัทลุง ในยามเทศกาลออกพรรษามาถึง จะมี ประเพณีแข่งโพนในงานลากพระ
    และเป็นงานเดียวในภาคใต้ ที่ได้รับการยอมรับว่า เปี่ยมไปด้วยเอกลักษณ์ และคงไว้ซึ่งวัฒนธรรมดั้งเดิม ตั้งแต่ครั้งโบราณไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุด จนมีคำกล่าวกันว่า "จะร้อยพันแม้นหมื่นเสียงตะโกน ฤๅจะสู้เสียงแข่งโพนที่เมืองลุง"
    นับเป็นการสะท้อนภาพความยิ่งใหญ่ของงานนี้ได้อย่างชัดเจน
    การแข่งโพน เป็นประเพณีที่สืบเนื่องมาจากการหุ้มโพน เมื่อแต่ละวัดซึ่งอยู่ห่างกันหุ้มโพนใบใหม่ ก็ต้องมีการตีเพื่อทดลองเสียง มีเสียงดังได้ยินออกไปไกล จึงมีการท้าประลองกันว่า โพนของใครเสียงดังกว่ากัน และขยายวงกว้างออกไป จนเป็นประเพณี
    ในอดีต การแข่งโพนนิยมกันในเวลากลางคืน ชาวบ้านจะนำโพนมาจากทุกสารทิศ ไปยังจุดนัดหมายบริเวณที่โล่งง่ายต่อการนำโพนไปถึง เพื่อง่ายต่อการฟังเสียง
    ส่วนการตัดสิน เป็นที่ยอมรับกันเอง ในหมู่ผู้เข้าแข่งขัน ฝ่ายใดเสียงดังกว่า เป็นฝ่ายชนะ
    โดยเทคนิคความสำเร็จอยู่ที่การ หุ้มโพน หรือ ทำโพน ส่วนใหญ่จะทำกันในบริเวณวัด ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้ในกิจกรรมของวัด อาทิ ตีเป็นสัญญาณบอกเวลาเพล และใช้ตีควบคุมจังหวะการลากพระ ในวันออกพรรษา
    นายโกสินทร์ ไพศาลศิลป์ นายกเทศมนตรีเมืองพัทลุง บอกว่า การแข่งโพนแบ่งได้ ๒ ประเภทด้วยกัน คือ การแข่งขันมือ หรือ ตีทน
    การแข่งขันมือ ไม่ค่อยได้รับความนิยม เนื่องจากต้องใช้เวลาตีนาน เพราะต้องแข่งขันกันจนกว่าผู้ตีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะหมดแรง หรือมืออ่อนลงไปเอง จึงตัดสินรู้แพ้รู้ชนะได้
    อีกประเภทหนึ่งคือ การแข่งขัน "จันเสียง" การแข่งขันประเภทนี้ จะได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เพราะสามารถตัดสินผู้ชนะได้ง่าย และใช้เวลาไม่นาน
    การแข่งขันโพน ของ จ.พัทลุง ในปีนี้ จะเริ่มขึ้นในช่วงปลายเดือน ๑๐ และสิ้นสุดในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันออกพรรษา
    การแข่งโพนในปีนี้ จะมีการนำผู้ชนะเลิศแข่งโพน ๔ อันดับแรก จากสนามแข่งขันรอบคัดเลือก ๔ สนามที่เริ่มดำเนินการในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา ประกอบด้วย
    ๑.สวนสาธารณะ เฉลิมพระเกียรติฯ เทศบาลตำบลมะกอกเหนือ ซึ่งจัดขั้นในวันที่ ๒๗-๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๒
    ๒.วัดไสหมากจันทาราม อบต.ท่าแค จัดการแข่งขันวันที่ ๓-๕ กันยายน ๒๕๕๒
    ๓.จัดที่โรงเรียนวัดตะแพน อบต.ตะแพน วันที่ ๑๐-๑๒ กันยายน ๒๕๕๒
    และ ๔.จัดขึ้นที่สนามหน้า อบต.เขาเจียก ในระหว่างวันที่ ๑๗-๑๙ กันยายน ๒๕๕๒
    โดยจะมาแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ เพื่อชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
    ณ เวทีหน้าสำนักงานเทศบาลเมืองพัทลุง ก่อนจะเข้าร่วมพิธีรับถ้วยพระราชทาน ในวันที่เสาร์ ๕ ตุลาคม ๒๕๕๒

    ๙ โพนมหามงคล
    การหุ้มโพน จะเกิดจากความร่วมแรงของชาวบ้านละแวกวัด พระ และสามเณร จะร่วมมือกันทำโพน โดยอาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สืบทอดต่อกันมาหลายชั่วอายุคน
    แต่ละชุมชนจะมีเทคนิคพิเศษ อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวแตกต่างกันไป ตั้งแต่การเลือกไม้ มาเจาะเป็นตัวโพน การนำหนังมาหุ้มโพน การขึงหนังให้ตึงอย่างเต็มที่ การเจาะรูเพื่อใส่ลูกสักที่สวยงาม ตลอดถึงการแต่งโพน (คัดขอบ หรือคัดคิ้ว) เพื่อให้ได้เสียงตามที่ต้องการ
    ลักษณะของโพน มี ๓ ขา ตีด้วยไม้แข็ง ๒ มือ ตัวโพนทำด้วยการขุดเจาะไม้จากต้นตาล ไม้ขนุน มีขนาดรูปร่างต่างกัน ส่วนใหญ่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ ๓๕-๘๐ ซม. หน้าโพนนิยมหุ้มด้วยหนังควาย ทั้ง ๒ หน้า ไม้โพนกลึงด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้สาวดำ ไม้หลุมพอ เป็นต้น
    ทั้งนี้ เทศบาลเมืองพัทลุง ได้จัด สร้างหอโพนทรงไทย เป็นสัญลักษณ์ของ จ.พัทลุง จำนวน ๙ จุด ตั้งอยู่ภายในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง และเพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ เมืองแห่งโพน
    ถ้าหากท่านผู้ใด มาเยือน จ.พัทลุง แล้วไม่ได้มาตีโพนทั้ง ๙ ลูก ก็เหมือนมาไม่ถึง จ.พัทลุง โดยสมบูรณ์
    ที่สำคัญ โพน ทุกลูกยังมีชื่ออันเป็นมงคลร้อยเรียงกันทั้ง ๙ ลูก คือ
    ลูกที่ ๑ ชื่อ โพนก้องฟ้า อยู่ที่วัดอินทราวาส ลูกที่ ๒ โพนสุธาสนั่น อยู่ที่สวนกาญจนาภิเษก ลูกที่ ๓ โพนขวัญเมือง อยู่ที่หน้าศาลาจตุรมุข ลูกที่ ๔ โพนเรืองเดชา อยู่ที่สวนเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ลูกที่ ๕ โพนมหามงคล อยู่ที่ลานหน้าเขาวังเนียง ลูกที่ ๖ โพนมนต์เทวัญ ตั้งอยู่ที่ศูนย์ภูมิปัญญาผู้สูงอายุ ลูกที่ ๗ โพนอนันตชัย อยู่ที่สวนเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ ลูกที่ ๘ โพนพิชิตไพรี ตั้งอยู่ที่ถ้ำเทพนิมิต และ ลูกที่ ๙ โพนศรีไพศาล ตั้งอยู่ที่หาดแสนสุขลำปำ
    เรื่อง - ภาพ... "สุพิชฌาย์ จันต๊ะปา"
     

แชร์หน้านี้

Loading...