แจกฟรี หนังสือวิธีทำสมาธิ โดยหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ปฏิบัติแนวโลกุตระ

ในห้อง 'แจกฟรี' ตั้งกระทู้โดย wmt, 22 ตุลาคม 2011.

  1. warodomsathan

    warodomsathan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    1,123
    ค่าพลัง:
    +1,032
    ขออนุโมทนาบุญทั้งหมดทั้งมวลด้วยครับ

    วันนี้ได้รับหนังสือวิธีทำสมาธิฯ แล้วครับ
     
  2. ๆ

    สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +0
    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1>
    <!-- google_ad_section_start -->ขอ2ชุดคะ
    ทิตยา เเซ่เดี่ยว
    17ม.5ต.เชียรเขา อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.นครศรีธรรมราช
    80190
    ขอบพระคุณมากค่ะขอไห้ทานมีความสุขความเจริญยิ่งๆขึ้นไปค่ะ
     
  3. จาพิ

    จาพิ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +40
    ขอรับ 1 ชุด ค่ะ
    ทองมี จินารัตน์
    เลขที่ 16 ม.2 ซ.ประชาแสนสุข 11
    ต.แสนสุข อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี 34190

    อนุโมทนาสาธุ............../\
     
  4. ton2499

    ton2499 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,036
    ค่าพลัง:
    +256
    ดีครับ
    ขออนุโมทนานะครับ
    ผมขอรับด้วยนนะครับ
    ผมชื่อ วงศกร พรหมเสนะ (น้องต้น)
    บ้านเลขที่ 81/1 วชิรา ซอย16 ถนนทะเลหลวง
    ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง
    จังหวัดสงขลา 90000
    ขอบคุณนะครับ
     
  5. wmt

    wmt เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    242
    ค่าพลัง:
    +1,432
    แจ้งความคืบหน้า การจัดส่งหนังสือวิธีทำสมาธิ

    ทางทีม wmt ได้จัดส่งหนังสือ วิธีทำสมาธิ โดยหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ให้กับผู้ที่ลงชื่อไว้ดังกล่าวข้างต้นทั้งหมดแล้ว เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2554

    ขออวยพรให้ทุกท่านดื่มด่ำในธรรม ที่ปฏิบัติและได้ผลตามกำลังของใครของเรา

    อนุโมทนา สาธุๆๆ
     
  6. คนฝึกจิต

    คนฝึกจิต สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กันยายน 2009
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +15
    อนุโมทนา หากหนังสือยังมีเหลืออยู่ กระผมขอรับ 1 ชุดครับพรนที บุญยืนบ.เมืองไทยประกันภัย จำกัด1446/53 ถ.ยุวพัฒนา ต.ธาตุเชิงชุมอ.เมือง จ.สกลนคร47000ขอความเจริญทั้งหลายจงมีแก่ท่าน สาธุ
     
  7. narakdejung

    narakdejung สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +3
    โมทนาบุญด้วยครับ ถ้ายังเหลือ ขอรับ2เล่มครับ
    นายเกียรติภูมิ ศิริคชพันธุ์ 221 ม.1 ต.บัวชุม อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี 15130
     
  8. nspparama

    nspparama เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +178
    ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ ถ้ายังทันขอรับ 1 ชุดครับ
    กรุณาส่งที่ นาย ปรมะ วุฒิกรดิษกุล
    โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์(มัธยมวัดหัตถสารเกษตร)ในพระราชูปถัมภ์
    34 หมู่ 8 ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
     
  9. แสงเทียนทอง

    แสงเทียนทอง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    86
    ค่าพลัง:
    +126
    ขออนุโมทนาบุญครับ ขอรับ 1 ชุดครับ
    กรุณาส่งที่ นายภานุพงศ์ นิธิเจริญ
    49/70 หมู่ 4 ต.ท่าสาย อ.เมือง จ.เชียงราย 57000
     
  10. saintyom

    saintyom เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    286
    ค่าพลัง:
    +776
    ขอรับ1เล่มครับ
    ชัยยม ปุยงาม
    37/2435 หมู่4 ต.คลองสาม อ.คลองหลวง
    ปทุมธานี 12120
    อนุโมทนาครับ
     
  11. big2544

    big2544 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 เมษายน 2008
    โพสต์:
    60
    ค่าพลัง:
    +83
    ขออนุโมทนาบุญครับ ขอรับ 1 ชุดครับ
    กรุณาส่งที่ นายวีระชัย กาญจนภิญโญยิ่ง
    49/84 หมู่บ้านทวีทอง5 หมู่6 ถ.เทพารักษ์
    ต.บางเมืองใหม่ อ.เมือง
    จ.สมุทรปราการ 10270
     
  12. nong@

    nong@ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    152
    ค่าพลัง:
    +603
    ขอโมทนาสาธุ ด้วยจากใจจริง
    ผมขอรับ 1 เล่มและอยากทำบุญด้วยทำยังไงครับ
    ชินทัต สุนารักษ์
    259/43 หมู่บ้านเพิ่มพลรัตน ถ.อนามัย อ.ในเมือง ต.ในเมือง จ.ขอนแก่น 40000
     
  13. ครูเรือง

    ครูเรือง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2010
    โพสต์:
    976
    ค่าพลัง:
    +686
    ขออนุโมทนา ค่ะ
    หนูขอรับ 1 เล่ม ค่ะ
    นางสมบูรณ์ ธานี โรงเรียนบ้านนาหว้า ต.โพธิ์ศรี
    อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี 34110

    หนูขอรับ 1 เล่ม ค่ะ
    นางสุวณีย์ เสตเตมิย์ โรงเรียนบ้านสนามชัย ต.โพธิ์ไทร
    อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี 34110

    ผมขอรับ 1 เล่ม ครับ
    นายมหา เสมา โรงเรียนบ้านปากบุ่ง ต.คันไร่
    อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี 34350

    ผมขอรับ 1 เล่ม ครับ
    นายสมาน ทองขาว โรงเรียนบ้านแหลมทอง ต.โนนก่อ
    อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี 34350

    ได้รับหมดทุกคนแล้ว ครับ (ขอบพระคุณมาก)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มกราคม 2012
  14. mommamdog

    mommamdog Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +45
    วันนี้ได้รับหนังสือแล้วนะครับ ขอบคุณมากครับ ได้รับเมื่อวันที่ 19-12-54 เวลา 12.30 น. ขอให้ผลบุญในการแจกธรรมะเป็นธรรมทานในครั้งนี้บันดาลให้คุณและคณะผู้จัดทำจงมีความสุขความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป สาธุ สาธุ สาธุ

    ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว อมตะธรรม
     
  15. thepabut

    thepabut Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    125
    ค่าพลัง:
    +32
    ขอรับ1ชุดครับ และขออนุโมทนาด้วยครับ
    ธนกฤษ ตันสิรานนท์
    10/392 หมู่9 ถ.นวลจันทร์ คลองกุ่ม บึงกุ่ม กทม10230
     
  16. อุดม

    อุดม สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +11
    อนุโมทนาและขอรับหนังสือ 1 ชุดครับ
    อุดม วงศ์ษา
    560 ซอยจรัญฯ40
    แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด
    กรุงเทพฯ 10700
     
  17. RUJIRADA

    RUJIRADA สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    28
    ค่าพลัง:
    +0
    ขอรับ 1 เล่ม ครับ จะได้นำมาปฏิบัติ ศึกษาเพื่อปฏิบัติเจริญสมาธิ
    ยงยุทธ รุจิรดานนท์
    105/399 ซอยนวมินทร์ 57
    ถนนนวมินทร์
    แขวงคลองกุ่ม
    เขตบึงกุ่ม
    กรุงเทพฯ
    10240
     
  18. ครูเรือง

    ครูเรือง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2010
    โพสต์:
    976
    ค่าพลัง:
    +686
    ขออนุโมทนา
    ขอรับ 3 เล่ม
    เจ้าอาวาสวัดห้วยไผ่ หมู่ 12 ต.กุดชมภู อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี 34110

    ขอรับ 3 เล่ม
    เจ้าอาวาสวัดโนนโพธิ์ทอง บ้านโนนโพธิ์ ต.กุดชมภู อ.พิบูลมังสาหาร
    จ.อุบลราชธานี 34110

    ขอรับ 3 เล่ม
    เจ้าอาวาสวัดป่าเหล่าคำ บ.แก้งน้อย ต.โนนก่อ อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี 34350

    ขอรับ 3 เล่ม
    วัดป่าวังแคน (ธ) หมู่ 7 ต.โพธิ์ไทร อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี 34110

    ขอรับ 3 เล่ม
    พระอาจารย์โก วัดป่าปากโดม บ.ปากโดม ต.โพธิ์ไทร อ.พิบูลฯ จ.อุบลฯ 34110

    ขอรับ 3 เล่ม
    วัดป่าปทุมวัน บ.ดอนบาก หมู่ 5 ต.โพธิ์ไทร อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลฯ 34110

    ขอรับ 3 เล่ม
    พระอาจารย์ปุ้ม วัดป่าภูมน บ.พลาญชัย ต.โนนก่อ อ.สิรินธร อุบลราชธานี 34350

    ได้รับทุกวัดแล้ว ครับ ขออนุโมทนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กุมภาพันธ์ 2012
  19. thamaratt

    thamaratt Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    117
    ค่าพลัง:
    +27
    อนุโมทนา ขอรับ1ชุดครับ
    ธรรมรัตน์ สุรพิทักษ์พงศ์
    379/24 ซ.เจริญนคร28 แขวงบางลำภูล่าง เขตคลองสาน กทม.10600
     
  20. wmt

    wmt เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    242
    ค่าพลัง:
    +1,432
    ฐิตวิริยาจารย์เทศนา (ฉบับย่อ จัดทำโดยพระอาจารย์บุญฤทธิ์ วัดเขาสุกิม)

    ธรรมะหายากกว่าวัตถุ ชุด ฐิตวิริยาจารย์เทศนา (หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย )
    บทความต่อไปนี้ เป็นบทความของพระอาจารย์บุญฤทธิ์ ....ซึ่งท่านเป็นศิษย์อีกรูปหนึ่งที่ได้ดำเนินรอยตามคำสอนขององค์ หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย มีความตั้งใจต่อการปฏิบัติ ตามที่องค์หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ได้อบรมสอนพระภิกษุ สามเณร แม่ชี ผู้ปฏิบัติธรรม ตามแนวทางที่ท่านได้รับความเมตตา ชี้แนะการปฏิบัติ ขัดเกลา จากองค์พระอรหันต์แห่งสยาม หลวงปู่มั่น ภูริทัตตะเถระ ที่เป็นครูบาอาจารย์ของท่านฯ ซึ่งองค์หลวงปู่ฯ มักจะกล่าวยกย่องให้ศิษย์ทั้งบรรพชิตและฆารวาส ฟังอยู่เสมอๆ

    จากสามเณรน้อยจวบจนปัจจุบัน ท่านพระอาจารย์บุญฤทธิ์ ได้ประพฤติปฏิบัติ ตามแนวสอนได้รับผลที่ดี ท่านฯ จึงได้แบ่งปันอนุเคราะห์ให้กับญาติโยม โดยคัดเอาหลักคำสอน แก่นแท้ของการปฏิบัติสมาธิจิต จากเทปบันทึกออกมาเป็นบทความดังกล่าวข้างล่างนี้ต่อไป ( เทปบันทึก ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๐๘ - ๒๕๔๒ )

    (บทความ หนังสือฐิตวิริยาจารย์เทศนานี้ ได้ขออนุญาต พระอาจารย์บุญฤทธิ์ เพื่อนำมาเผยแพร่ เป็นธรรมทาน )


    ฐิตวิริยาจารย์เทศนา
    (ฉบับย่อ)


    จัดทำขึ้น
    เพื่อรวบรวมธรรมคำสอนของ หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย
    แล้วนำมาย่อให้สั้นกระชับที่สุด โดยไม่ให้เสียเนื้อหาแก่นแท้ของคำสอน
    โดยยึดจากหนังสือฐิตวิริยาจารย์เทศนา เป็นหลัก



    ๔๑ “ดูกรสารีบุตร ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย มีสติเข้าไปรับรู้อยู่ที่จิต เอาสติห้ามความรักความชังของจิตอยู่เสมอไม่เผลอ กิเลสเครื่องประกอบจิตหรือเครื่องย้อมจิตทั้งปวง ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เราเรียกผู้นั้นว่าผู้ถึงฝั่ง”

    คติธรรมของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

    การบำรุงรักษาสิ่งใด ๆ ในโลก
    การบำรุงรักษาตนคือใจเป็นเยี่ยม
    จุดที่เยี่ยมยอดของโลก คือใจ
    ควรบำรุงรักษาด้วยดี
    ได้ใจแล้วได้ธรรม
    เห็นใจแล้วคือเห็นธรรม
    รู้ใจแล้วคือรู้จักธรรมทั้งมวล
    ถึงใจตนแล้วคือถึงพระนิพพาน
    การดูกิเลส และการแสวงหาธรรม


    ท่านทั้งหลายอย่ามองข้ามใจ ซึ่งมันเป็นที่อยู่ของกิเลส และเป็นที่สถิตย์อยู่แห่งธรรมทั้งหลาย กิเลสก็ดี ธรรมก็ดี มิได้อยู่กับสถานที่ใด ๆ ทั้งสิ้น แต่อยู่ที่ใจ คือเกิดขึ้นที่ใจ และดับลงที่ใจดวงรู้ นี้เท่านั้น การแก้กิเลสที่อื่น และแสวงหาธรรมที่อื่น แม้จนวันตายก็ไม่พบ ตายแล้วเกิดก็เล่า ก็จะพบแต่กิเลสที่เกิดจากใจ ซึ่งกำลังเสวยทุกข์เพราะมันนี้เท่านั้น แม้กรรม ถ้าแสวงหาที่ใจก็จะมีวันพบโดยลำดับของความพยายาม สถานที่กาลเวลานั้น เป็นเพียงเครื่องส่งเสริมและเครื่องถ่วงกิเลสและธรรมให้เจริญขึ้น และเสื่อมไปเท่านั้น


    หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

    จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย
    ผลที่เกิดจากจิตส่งออกนอก เป็นทุกข์
    จิตเห็นจิต เป็นมรรค
    ผลที่เกิดจากจิตเห็นจิต เป็นนิโรธ

    อย่าปล่อยให้จิตปรุงแต่งมากนัก ข้อสำคัญให้รู้จักจิต
    ของเรานั้นเอง เพราะว่า จิตคือ “ตัวหลักธรรม” นอกจากจิตแล้วไม่มีหลักธรรมใด ๆ เลย ภาวนามาก ๆ แล้วจะรู้ถึงความเป็นจริงเท่านั้นเอง ไม่มีอะไรมากมาย..มีเท่านี้”



    หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย

    มีสติควบคุมอาการที่แสดงออกทางกายและวาจา
    ให้เหมาะสมกับเพศ..วัย..ฐานะ
    พร้อมทั้งปัญญารู้เท่าทันกิริยาของจิตที่แสดงออก
    ต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน แล้ววางเฉยต่อสิ่งเหล่านั้นได้


    ฐิตวิริยาจารย์เทศนา
    (ฉบับย่อ)

    ๓๐๓ ขออย่าลืมอย่างเดียวว่าการปฏิบัติของพวกเรานี่ต้องพยายามดำเนินตามพระอริยเจ้าให้ถูกต้อง ต้องศึกษาให้เข้าใจ อย่าทำด้วยความเดาสุ่ม ทำด้วยความลูบ ๆ คลำ ๆ งม ๆ งาย ๆ อย่าไปทำอย่างนั้น ต้องศึกษาให้เข้าใจเสียก่อน เมื่อเข้าใจดีแล้วเราถึงดำเนิน แต่บางผู้บางคนหาเป็นเช่นนั้นไม่ ศึกษายังไม่ได้ความชัด แล้วพากันดำเนิน จึงมักจะบ้าบอกันเยอะแยะไป เมื่อหากเข้าใจถูกต้องชัดเจน ก็ไม่มีทางบ้า เราจะก้าวไปแบบไหน ก้าวที่ ๑ ก้าวที่ ๒ ก้าวที่ ๓ ขอให้พวกเราจงตั้งใจศึกษาให้เข้าใจ



    หรือถ้าจะแยกสมมุติออกมันก็ไม่มีอะไร อย่างพระพุทธเจ้าพระองค์แยกออกในยุคสมัยนั้นให้ได้ใจความ สติก็เป็นอันหนึ่งเสีย ปัญญาก็เป็นอันหนึ่งเสีย สัมปชัญญะก็เป็นอันหนึ่งเสีย แท้ที่จริงมันก็อันเดียวกัน แต่แยกออกอยากจะให้ได้ใจความ ท่านยกรูปเปรียบง่าย ๆ ตัวอย่างคล้ายกันกับว่า

    สติ เท่ากับ ตุลาการ

    ท่านว่าปัญญาเท่ากันกับผู้พิพากษา อะไรในทำนองนี้

    ท่านว่านะ สติคล้ายกันกับจับโจร จับมาเลย นี้ได้แต่ ตุลาการ เขาจับโจรมา

    เมื่อจับโจรได้แล้ว ก็ส่งให้ผู้พิพากษาพิจารณาลงโทษตามแต่ผู้พิพากษา ผิดถูกอย่างไรแล้วแต่ ฉันใดก็ดี สติตัวกางกั้น สติตัวจับกิริยาอาการเคลื่อนไหวทั้งหมดจับไว้แล้ว ปัญญาเป็นตัวพิสูจน์ ควรไม่ควรดีอย่างไรมาจากไหนอะไร พูดถึงเรื่องตัวบัญชา ตัวไหนกันแน่ พิจารณาถึงผลเสียผลดีอะไรประกอบ อันนั้นเป็นตัวผู้พิพากษา ถ้าเราไม่สมมุติให้สติเป็นตัวหนึ่ง ให้เป็นปัญญาตัวหนึ่งแล้ว เราพูดเพียงที่ว่า สติ ตัวเดียวซะ ก็มีเพียงสติตัวเดียว คือ ตัวระลึกรู้ เมื่อเราระลึกรู้ รั้งเอาไว้ หรือเป็นเบรกกัน แล้วก็ใช้สติ ระลึกสอดส่องถึงโทษคุณอีกเหมือนกัน ก็เป็นอันว่าป้องกันได้ทุกทาง ขอให้มันรวมกันก็แล้วกัน อย่าให้มันกว้างอย่าให้มันมาก ผู้ปฏิบัติทำไป ทำไป มันจะหมดไป หมดไป น้อยไป น้อยไป


    การรักษาศีล ก็มารวมอยู่ที่สติ คือ สติวินัย ข้อปฏิบัติทั้งหมดซึ่งอุบายวิธีทั้งหมดก็รวมลงมาให้เหลือได้ในเพียงสติ อัฏฐังคิกมรรค ๘ ทั้ง ๘ องค์ รวมสรุปขอให้ลงมาสู่สติ อันเดียวประกอบ เรียกว่าสมังคี รวมเป็นอันเดียวกันได้ ทีแรกก็ว่ามาก ตั้งแต่ สัมมาทิฏฐิจนกระทั่งถึงสัมมาสมาธิ สรุปตั้งแต่สัมมาทิฏฐิถึงสัมมาสมาธิ แยกออกเป็น ๓ ฐาน

    ตอนต้นเป็นส่วนปัญญา คือ สัมมาทิฏฐิกับสัมมาสังกัปโป

    สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว นี้ เป็นส่วนศีล

    สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ๓ นี้ เรียกว่าสมาธิ

    เพราะฉะนั้น รวมมรรค ๘ ลงมาได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ศีล จะสมบูรณ์บริบูรณ์ได้ เนื่องจากสติ สมาธิที่จะต้องอยู่ได้เนื่องจากสติ ปัญญาที่จะเป็นไปได้เนื่องจากสติ สรุปแล้ว ศีล สมาธิ ปัญญา ทั้ง ๓ รวมกันเรียกว่า ไตรสิกขา สิกขาเรียกว่าวินัย วินัยที่จะสมบูรณ์ได้ สรุปแล้วมาอยู่ที่สติ ตัวสติตัวระลึกรู้ ระลึกรู้ในตามองเห็นรูปไม่ให้ดีใจเสียใจ หูได้ยินอย่าให้ดีใจเสียใจ จมูกสูดกลิ่นไม่ให้ดีใจเสียใจ ลิ้นได้ลิ้มรสอย่าให้ดีใจเสียใจ กายถูกต้องสัมผัสอย่าให้ดีใจเสียใจ อารมณ์ใดทั้งหมดที่เกิดขึ้นทางใจ ก็จัดสรรหักห้ามได้ ผู้ที่มีสติเข้ามาสังวรณ์ บังคับไม่ให้มีความเสียดีใจในสิ่งที่รู้เห็นอะไรทั้งปวงทั้งหมดนี้ ท่านเรียกว่าเป็นผู้มีสติสังวร เป็นผู้มีสติจับรู้ในอาการอันนั้น โดยหักห้ามไม่ให้ดีใจเสียใจ อันนี้เรียกว่าศีลของพระอริยเจ้า เรียกว่า อริยะกันตศีล มันขึ้นอยู่ที่สติ


    ผลสุดท้ายสรุปรวมแล้วลงเข้าไปสู่จิต จะดีใจเสียใจได้ต้องจิต ผู้ที่มีสติสมบูรณ์จริง ต้องดูจิตจริง พอเขาด่าปุ๊บไม่ได้ไปมองเหตุการณ์มุ่งจะเอาชนะตัวเอง จับที่จิตปุ๊บ จับจิตทันทีเลย จับอยู่ที่จิต จิตจะเคลื่อนไหวอย่างไร ให้เอาชัยชนะ ไม่มุ่งเอาชัยชนะใครทั้งหมดในโลก อันนี้ท่านเรียกว่าตัวพระอริยเจ้าเป็นบาทฐานแห่งโสดา เขาชมก็จับจิต เขาด่าก็จับจิต ไม่ได้มองที่กาย ไม่ได้มองเหตุการณ์มองอยู่ที่จิต ว่าปฏิกิริยาของจิตที่แสดงต่อสิ่งกระทบมันแสดงแบบไหน มุ่งเอาชนะตัวเอง นี่ท่านเรียกว่าบาทฐานของโสดาบันบุคคล


    ๓๐๐เมื่อจิตของเรากำหนดที่ลมหายใจเข้า หายใจออก หายใจเข้า หายใจออก สามารถประคองจิตของเราให้อยู่ในจุดได้สมปรารถนา เราจะมาเอากำลังตรงนี้ กำลังอันนี้ได้แก่สติ ทีนี้มีกำลังอีกชนิดหนึ่ง เมื่อจิตเคลื่อนออกไปสู่อารมณ์ เมื่อระลึกรู้แล้วมันมีปัญญาชนิดหนึ่งเกิดขึ้นเพื่อทำการแก้ไข มีเหตุผลมาแก้กัน แล้วก็จิตมันวางจากอารมณ์ชนิดนั้น มันแก้กันอยู่อย่างนั้นแหละ มันก็วาง มันก็แก้มันก็วางมันก็แก้ อยู่อย่างนั้นเรียกว่าปัญญา เมื่อสติกับปัญญาสมังคีกันดีแล้ว สมควรแล้ว เราทำการปฏิวัติตัณหาได้ ตัวที่นำจิตของเราให้เป็นไปแต่ก่อนนั้น เราก็เข้าไปดูจิตโดยตรง เมื่อมันบัญชาวูบขึ้น มันจะให้พูด หยุด เราไม่พูด ปฏิวัติเลยไม่พูด รอดูเสียก่อนเมื่อเราจะพูดเราต้องพูดด้วยคำสั่งของเรา ต้องพูดอย่างนี้ มันถึงจะพอดีกับเพศ วัย ฐานะของเรา


    ๓๐๘พูดถึงลัทธิข้อปฏิบัตินี้มันก็เป็นของประเสริฐ เป็นของลึกซึ้ง จะว่าง่ายก็ถูกจะว่ายากก็ถูก แต่ก็ไม่เหลือวิสัยสำหรับผู้ศึกษาและปฏิบัติ มันขึ้นอยู่กับบุญญาวาสนานั้นเป็นประการหนึ่ง แล้วขึ้นอยู่กับการฟังออกนี้ประการหนึ่ง … เมื่อมีความขัดข้องสงสัยเป็นส่วนภายในแล้วยากที่พวกเราจะไปศึกษาจากครูบาอาจารย์อื่น ๆ เพราะท่านผู้ที่เข้าใจในข้อปฏิบัติแบบเดียวกันนี้มีอยู่จำนวนน้อย และพวกท่านทั้งหลายเหล่านี้ก็มักเข้าไปในป่า มุ่งเพื่อจะเอาตนรอดเท่านั้น ไม่ออกมาแสดงตนในที่ชุมชน การนำพาให้พระพุทธศาสนามีอายุยืดยาวนั้น พวกท่านทั้งหลายเหล่านั้นเท่าที่สังเกตดูแล้วไม่คิด เพราะท่านว่าอยู่ในยุคพระพุทธ ศาสนา คล้อยเอียงนักไม่มีความ สามารถจะ แบกหรือต้านทานได้



    เมื่อต่อไปครูบาอาจารย์ไม่มีแล้วจะไปหวังพึ่งครูบาอาจารย์องค์อื่น ที่เข้าใจในลัทธิข้อปฏิบัติแบบพวกเรา ๆ มีจำนวนน้อยเหลือเกิน และโอกาสที่พวกเราจะแสวงหานั้นไม่สะดวกเท่าที่ควร ปัจจุบันนี้สะดวกมากซึ่งพวกเราจะจับกลุ่มกันอยู่สถานที่นี้แล้วก็ตั้งหน้าบำเพ็ญประพฤติปฏิบัติไป หากในเมื่อขัดข้องสงสัยว่าอะไร ซึ่งเป็นผลของสมาธิส่วนลึกลับส่วนภายในก็ยังสะดวกสบาย เพราะครูบาอาจารย์ยังมีอยู่ พอที่จะชี้แจงแนวทางให้ได้ ว่าอันไหนถูกอันไหนผิด ควรจะดำเนินการอย่างไร ไม่จำเป็นพวกเราจะปล่อยให้เนิ่นช้า จนกระทั่งขาดครูบาอาจารย์ไปแล้วพวกเราแตกแยกกันแล้ว ไม่รู้จะไปพึ่งพาครูบาอาจารย์ที่ไหน อันนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นมาก เพราะฉะนั้นขอให้พวกเราตั้งใจเถอะ รีบเร่งเถอะ

    ทีนี้ในอุบายวิธีการทำสมาธินี้ต้องพยายามสร้างกำลังอำนาจคุ้มครองให้พอ แล้วก็สร้างกำลังอริยมัคคุเทศก์ที่จะประหาร หรือว่าตัดกระแสความในระหว่างจิตกับอารมณ์ให้ได้ พยายามเร่งขึ้นมาให้พอกับความต้องการ การบำเพ็ญตปธรรมนี้ไม่ใช่ของง่ายนัก เป็นของยาก อย่างที่พวกเราทำอยู่นี้และ จนกว่าจะเก็บกิริยาอาการทุกอย่าง ซึ่งแสดงออกไม่ให้เป็นไปตามธรรมชาติธรรมดา สามารถจับแต่งให้เหมาะสมให้ควรกับเพศวัยฐานะ อันไหนควรอันไหนไม่ควร อันไหนประกอบด้วยบาป อันไหนประกอบด้วยบุญ... จนกระทั่งกิริยาของกายวาจาพร้อมทั้งวาระกระแสของจิตที่ได้ประสบเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะยังให้เป็นไป มุ่งด้วยอำนาจของความโกรธของความรักอะไรเหล่านี้เป็นต้น


    ทุกกิริยาและทุกวาระของจิตที่มีต่ออารมณ์นั้น จะไม่เป็นไปตามลำพังของเขาเลย จะมีอำนาจตัวคุ้มนี้เข้าถึงปุ๊บอยู่ทุกครั้งจนสามารถตัดกระแส และแก้ไขได้อย่างละเอียดลออ เพราะมีความเกี่ยวกับปัญญา ซึ่งเป็นตัวนำทาง เรียกว่า โลกวิทูของจิต จึงสามารถเพิกถอนจิตของตัวเองออกจากทางที่เป็นโทษได้ มีสติปัญญาที่สร้างสมอบรมในปัจจุบันนี้สร้างอย่างสมบูรณ์ จึงจะสามารถตัดกระแสของจิตที่จะไปต่อในทางที่เป็นภพ ในทางที่เป็นโลก ในทางที่จะก่อให้ความเกิดได้ พร้อมทั้งการจองกรรม จองเวรกับบุคลผู้อื่น แม้แต่กิริยาเดียวของจิตนี้จะไม่มีโอกาสเป็นได้ จึงจะคู่ควรแก่การตรัสรู้ธรรมเป็นพระอรหันต์


    ๒๓๙ การทำสมาธิโดยจุดประสงค์ มันก็เหมือนกันบ้าง ไม่เหมือนกันบ้าง คือว่าบางคนก็สำคัญในสงบผล บางคนก็สำคัญในสงบฐาน แต่ถ้าจะพูดแล้ว คำที่ว่าสงบผลและสงบฐานนี้ก็คล้ายกันกับว่าอาตมานี้บัญญัติศัพท์พูด สำหรับผู้ต้องการสงบฐานนั้น เขาจะต้องจดจ้องจ่ออย่างนี้ เช่น เขาให้คำบริกรรมในการภาวนา หรือเขาจะสร้างกำลังตปธรรมขึ้นมา แล้วเอามาบังคับจิต ไม่ให้ต่ออารมณ์ส่วนภายนอก เขาให้รับรู้เฉพาะจุดหรือเป้าหมายที่เขาตั้งใจไว้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวอะไรทำนองนี้ เมื่อบังคับผลักดัน ผลักดันบังคับไว้ จนจิตระลึกรู้เฉพาะจุดที่เขาตั้งเอาไว้ ความสงบก็ดิ่ง ๆ ลง ก็รู้สึกมันโปร่งโล่ง ก็มองดู อ้อ..โปร่งดีสบายดี เขาก็พยายามมอง ความโปร่งโล่งแล้วก็อยู่สบาย แต่สำหรับส่วนภายนอกที่จะแก้ไข ปรับปรุง ไม่สู้จะคำนึงเท่าไรนัก สนใจเฉพาะสิ่งอย่างนี้ แล้วก็เอาเฉพาะอย่างนี้ อันนี้เรียกว่าสงบฐาน


    ถ้าจะพูดกันในทางที่ดีแล้วเรื่องสงบฐานก็เป็นของดี เพราะจะเป็นสถานที่จุดแวะอาศัยในเมื่อหากมันเหน็ดเหนื่อย คือเราเอาจิตทำงานนะ เราจะต้องไปพักอาศัย ในสมาธิจิตอันดับต่าง ๆ แต่ถ้าจะพูดถึงผลที่แท้จริงแล้วมันต้องอาศัยสงบผล เพราะว่าการสงบผลเป็นบาทแห่งการตรัสรู้ธรรม หรือเป็นอุบายวิธีที่จะทำลายสิ่งก่อกวนได้แก่อาสวะกิเลส หรือความรู้สึกฝ่ายต่ำของจิต อะไรทำนองนี้


    เพราะเหตุนั้น ผู้ปฏิบัติถ้าจะพูดกันในทางที่ถูกแล้วให้สนใจในทางที่สงบผลนี่ จะดีมาก เพราะเราเห็นผลง่ายกว่า และผลนั้นไม่ค่อยจะตกไม่ค่อยจะหล่นด้วย พูดถึงความสงบฐานนี้มันตกหล่นเก่ง เช่นตัวอย่าง วันนี้แหม เรากำหนดได้ดีเหลือเกิน จิตตกกระแสโน้น ตกกระแสนี้ วันนี้รู้สึกโปร่งโล่งในหน้าอก โอ้โฮ วันนี้มีแสงสว่างรอบด้าน วันนี้มีแสงสว่างวูบขึ้น วันนี้รู้สึกมันวูบลงไป อ้อวันนี้รู้สึกมันถอยออกมาได้ลึกดี อะไรในทำนองนี้ เมื่อหากเรากำหนดอย่างนี้ โดยส่วนมาก มันจะขโมยเข้าไปชั่วครู่ชั่วคราว หรือเผลอ ๆ อะไรอย่างนี้มันถึงจะเข้าไป ในระยะที่คุมกันจริง ๆ แข็งแรงอยู่มันก็ไม่เข้า โดยส่วนมากนะ แต่ความสุขมันก็มีอยู่เหมือนกัน แต่ว่าความสุขในลักษณะดังกล่าวนี้ มันเป็นความสุขเกิดมาจากกำลังของปีติเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นอาตมาว่า ในเรื่องความสงบนี่ ควรมาสำคัญอยู่ที่สงบผลมากกว่า แต่สงบฐานก็สำคัญเหมือนกันเพราะเป็นสถานที่พักอาศัยในเมื่อจิตมันเหน็ดเหนื่อย อะไรในทำนองนี้


    ๒๔๗สำหรับสงบผลนั้น ความหมายในที่นี้คือสงบจากบาป คำที่ว่าบาปในที่นี้ก็หมายถึงความชั่ว คำที่ว่าความชั่วในที่นี้ก็คือความรู้สึกของจิตเป็นบาทเบื้องต้น สมมุติอย่างนี้นะ เช่น เวลานี้มีคนคนหนึ่งมันด่าเรา ทีนี้เราเกิดมีความโมโหวูบ ขึ้นมาในทางจิต เราก็อยากจะด่าตอบ ตามธรรมดา แต่เราไม่ทำอย่างนั้น หมายความว่าเอากำลังของตปธรมโหมมันไว้เลย ไม่ให้พูดออกมาตามจิตที่มันปรากฏ ไม่ให้พูดออกมา อย่างนั้น ให้พูดดี เขาด่าเราเราก็ต้องพูดดีต่อ เขาแสดงบทบาทที่ไม่ดีต่อเรา เราก็ต้องแสดงบทบาทมารยาททางกายและวาจาที่ดีออกตอบ อะไรในทำนองนี้บังคับไว้


    ทีนี้อาตมาจะอธิบายเรื่องความรู้สึกอย่างนี้ให้ฟังเป็นลำดับ เช่นความรู้สึกของสัตว์เดรัจฉาน ขอโทษเถอะนะ อย่าว่าอาตมาเอาสัตว์เดรัจฉานมาเทียบเลย เมื่อมันมีความรู้สึกอย่างไรนั้น มันไม่ได้ทบทวน และไม่มีกำลังของสติและปัญญา ซึ่งเป็นกำลังตปธรรมอย่างที่พวกเราสร้างขึ้นมานี้มันไม่มี เพราะฉะนั้น ความรู้สึกที่ปรากฏขึ้น เขาไม่มีกำลังอะไรทบทวน เมื่อจะเป็นไปอย่างไรเขาก็เป็นไปตามความรู้สึกของเขา นี่เป็นส่วนมากของสัตว์เดรัจฉาน


    ทีนี้ขึ้นมาถึงมนุษย์เรา หากมนุษย์ใดมีความรู้สึกแล้ว ปล่อยให้ความรู้สึกอันนั้นแหละ เข็นเอาอาการทั้งหมดให้เป็นไปตามอำนาจของมันได้ อันนี้เรียกว่า สัตว์มนุษย์ เพราะมีสัตว์เดรัจฉานเจืออยู่


    สำหรับความรู้สึกของโลกียชนนี่ จะมีการเข้าข้างกิเลสบ้าง หรือบางทีก็มีการทบทวนบ้าง แต่บางทีเมื่อรุนแรงก็ไม่มีความสามารถจะยับยั้งไว้ได้ หรือบางทีตั้งใจไว้ดีแล้ว ว่าจะไม่ให้เป็นไปอย่างนั้น ทั้ง ๆ ที่ตัวเองตั้งใจไว้แล้ว แต่แล้วก็ปล่อย อันนี้ท่านเรียกว่าปุถุชนหรือโลกียชน


    ทีนี้สำหรับกัลยาณปุถุชนไม่เป็นอย่างนั้น คือว่าตั้งใจจะเอาชัยชนะมันอยู่เสมอ ๆ พยามยามอยู่เสมอ ไม่ยอมเอนเอียงเข้าข้างมัน แต่เมื่อเหตุการณ์มันรุนแรงมันก็สู้ไม่ไหว มันรุดเข้าไปต่อสู้กับเหตุการณ์เลย ในเมื่อหล่นไปแล้วก็รู้สึกมีความละอายภายในจิตใจอันนี้ท่านเรียกว่า กัลยาณปุถุชน


    ทีนี้ เมื่อผู้ใดมีความรู้สึกขึ้นมาแล้ว ความรู้สึกของจิตจะรุนแรงก็ตาม ไม่รุนแรงก็ตาม แต่สามารถบังคับอาการทั้งสองของกายและวาจาไม่ให้เป็นไปตามความรู้สึกได้อยู่ตลอดเวลา พร้อมทั้งความรู้สึกของจิตที่มันรุนแรงอยู่ก็สามารถบังคับให้เบาลงได้ แต่ไม่ขาดสูญ..คือมีอุบายวิธีหรือกำลังทำให้มันตกด้วยอำนาจตปธรรมนั้นจริงอยู่ แต่ไม่ทันท่วงที ไม่เก่งที่สุด แต่สามารถบังคับได้ จนเป็นเหตุไม่ให้คนนั้นผูกโกรธเลยเป็นอันขาด ไม่มีทางผูกโกรธได้ มีแต่ความรู้สึก วูบขึ้นก็ตก มีความรู้สึกวูบขึ้นก็เอากำลังเข้าไปยับยั้งตก ความรู้สึกวูบขึ้นเอาไปยับยั้งก็ตก อยู่ในลักษณะนี้แล เรียกว่าโสดาบันบุคคล


    เพราะฉะนั้นจะย้อนมาอธิบายเปรียบเทียบเหมือน เหมือนน้ำกะฉอกอยู่ในขันนะ อันหนึ่งมันกะฉอกกระเด็นออกข้างนอก หมายถึงความรู้สึกของปุถุชน ถ้ามันออกแรงนะ ถ้าออกเบาเขาเรียกว่ากัลยาณปุถุชน ถ้ามันกระเพื่อมหรือมันดิ้นอยู่ จริงอยู่ แต่ไม่กระเด็นออก เป็นลักษณะของโสดาปัตติมรรค ทีนี้ความรู้สึกที่ปรากฏขึ้นบังคับได้เลย บังคับได้ไม่ให้รุนแรง และไม่ให้มันหยุดเอง อะไรในทำนองนี้ เป็นโสดาปัตติผล นี่ อยู่ในทำนองนี้ ถ้าไวไฟจนถึงขนาดที่เรียกว่ามีความรู้เป็นเอกรัตติงของจิต สว่าง แจ่ม เหมือนกันกับเรามองไฟอย่างนี้ เราไม่ต้องตั้งปัญหาถามตัวเองหรอกว่าเราจับแล้วไฟมันจะไหม้มือเราไหม ไม่ต้อง สติมันเป็นชวนะ แพล็บ รู้เลย ไม่สามารถจะจับไฟได้ ฉันใด อารมณ์ที่จะนำพาไปสู่ความเศร้าหมอง อารมณ์ที่จะนำพาไปสู่ความดิ้นรน หรือเป็นไปเพื่อความทุกข์นั้นรู้แพล็บ อ่านตลอดหัว ตลอดหางชัชวาล อยู่ตลอดเวลา อันนั้นเป็นลักษณะของอรหันตบุคคล


    เพราะฉะนั้น ถ้าจะพูดถึงเรื่องมรรคผลแล้วหมายถึงความสงบอะไร ก็หมายถึงความสงบผลดังกล่าว จึงเป็นไปเพื่อมรรคเป็นไปเพื่อผล แต่ความสงบในลักษณะที่เรียกว่า สงบฐานนั้นก็ไม่เห็นท่านเทียบเท่ามรรคผลตรงไหนเลย...ฉะนั้นพวกเรา ผู้ต้องการมรรค ผู้ต้องการผล ต้องให้สนใจที่สุดในเรื่องสงบผล ต้องพยายามมองเสมอ เราจะไปไหนเราจะมาไหน เราก็ต้องพยายามมองดูอยู่ที่ความรู้สึกของเรา ในเมื่อเราไปประสบอะไรทั้งหมด เราอย่ามองเหตุการณ์ ต้องมองดูจิตเสมอ


    ถาม : กระผมขอโอกาส เวลารวมสติได้แก่กล้าแล้วก็ใช้ปัญญาประคองสติพิจารณาค้นคว้าใช่ไหมครับ”


    ตอบ : ไม่ต้องค้น ไม่ต้องค้น


    ถาม : เอาสตินั้นมารับรู้อยู่ที่กิริยาทุก ๆ อย่างหรือครับ


    ตอบ : ใช่ เขาเรียกว่ากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน กิริยาเคลื่อนไหวทุก ๆ อย่างเอาสติมารับรู้ แล้วมีเหตุการณ์อย่างนี้ สมมุติเขาด่าเรา เขาชมเรา ความรู้สึกชนิดนี้จิตมันจะเป็นอย่างไร เราไม่ต้องค้น เราเห็นเลยตัวความรู้สึก เราเอากำลังส่วนนี้เข้าห้ามปรามทันทีเลย “เราเป็นศิษย์ที่มีครูบาอาจารย์ ถ้าเราแพ้เหตุการณ์แล้ว ขายหน้าครูบาอาจารย์เรา” ว่ามันอย่างนี้ จิตมันจะกลัวเราไหม ถ้าอำนาจส่วนนี้กระตุ้นปุ๊บ มันกลัวทันทีเลย อยู่ ไม่เอา


    ถาม : แต่สอนใจได้ใช่ไหมครับ


    ตอบ : พยายามสอนใจเราได้


    ถาม : แต่ทีนี้เราไม่ค้นเราจะเกิดปัญญาอย่างไร


    ตอบ : พุทโธ่ จิตของเรามันนิ่งเมื่อไร เดี๋ยวมันก็เกิดนึกถึงอันนั้น นึกถึงอันนี้ เราก็คอยห้ามปรามคอยเตือนมันอยู่ พอมันนึกถึงอารมณ์อันที่น่าเกลียดน่ากลัว มันก็เกลียดกลัว เราก็จะได้สอนมัน บังคับมัน เมื่อมันนึกถึงอารมณ์ที่น่ารัก มันก็รัก เราก็จะได้หาวิธีสอนมัน งานนี้ทำได้ทั้งวัน เพราะจิตของเรามันนิ่งเมื่อไร แม้แต่นอนหลับมันยังฝันอีก มันฝันก็คือมันคิดนั่นเอง นู่นนะ มันนิ่งเมื่อไรจิต เราทำงานได้ทั้งวัน ไม่ว่าเราจะลุก จะเหิน จะเดิน จะนั่ง หรือทำงานอะไรก็แล้วแต่ เราก็พยายามกำหนดรับรู้อยู่ในงานของเราอยู่ตลอดเวลา ต้องพยายามลองดูเถอะน่า แค่นี้พอเลยแหละ ลองดู หลักสูตรของอาตมาง่าย ๆ นะ ฟังง่าย ๆ แล้วก็ทำง่าย ๆ ด้วย....

    พูดถึงการนั่งสมาธิของเรา ถ้าเราเข้าใจแบบนี้ไม่จำเป็นที่เราจะต้องไปนั่งขัดสมาธิตั้งหกชั่วโมง ไม่มีครับ มันฉลาดรับ พอเรานั่งเหนื่อยเราก็ลุกเดิน เพราะโดยจุดประสงค์ต้องการจะประคองสติของเราให้อยู่ในจุดที่เราต้องการ เดินก็เอาสัมผัส ก็เรามุ่งแค่นั้น ต่อจากนั้นไปเราก็นั่งบ้าง นอนบ้าง ไม่มีโอกาสใดที่เราจะบังคับตัวเองจนขนาดที่เรียกว่าให้เป็นโรคเหน็บชา ไม่มี เพราะไม่ใช่ว่าพระพุทธเจ้าสอนให้เรานั่งทรมานนั่งจนให้มันตาย ไม่ใช่อย่างนั้นนะ ให้ฉลาดในการเปลี่ยนอิริยาบถ จึงจะเป็นไปเพื่อความสำเร็จ


    เราพยายามกำหนดไว้ ให้จิตของเรารู้อยู่ในจุดนั้น ๆ เราก็เปลี่ยนอยู่เรื่อย ๆ ครับ ถ้าเรานั่งปุ๊บ ก็เอาปลายจมูก เรายืนปุ๊บ ก็เอาปลายจมูก เมื่อเวลาเราเดินทำ เดินจงกรมเราก็เอาสัมผัสของขาที่ก้าวลงกับพื้น เหยียบ บริกรรมพุทโธ ๆ ไป ก็แค่นี้แหละครับ แล้วก็ระวังอย่างเดียวอย่าไปกดดันตัวเองนะครับ พอมันแก่กล้าไปกดไม่ได้นะ นึกดูเถิดครับ โรคที่มีเชื้ออย่างโรคมะเร็งปีกมดลูก เผาทีเดียวมันยังตายได้ เราเอามาสะกดเราทีเดียวประสาทจะไม่แย่หรอกหรือ นี่ให้ระวังเท่านี้แหละ ถ้าครูบาอาจารย์บอกว่า ถ้ามันทื่อมันชามันแน่น เข้าซี่ นิพพานมันอยู่เลยตาย อย่านะ อย่าทำนะ ตายจริง ๆ นะ ถ้าสติแก่กล้าจริง ๆ ตายจริง ๆ ไม่ใช่ตายเล่นนะ


    ถาม : เวลาจะเคลื่อนไหวกับอิริยาบถต่าง ๆ มันมักจะมารวมอย่ที่จุดที่สำรวมไว้ครับ ตอนนั่งกำหนดที่ปลายจมูก เวลาเดินก็ใช้อิริยาบถตามสัมผัสนี้มันมักจะมารวมที่ปลายจมูกอย่างเดิม จะแก้ไขอย่างไรครับ


    ตอบ : เราต้องหาวิธี คือว่าถ้าเรารวมอยู่จุดเดียวมันไม่ค่อยจะเกิดปัญญา การจับแต่งไม่เก่ง เราต้องพยายามหมุนให้ได้รอบด้าน เช่น เราจะหยิบของให้มันเกิดมีความรู้ขึ้นทันที ปุ๊บ มันเกิดระลึกรู้ ปุ๊บ แต่มันรู้ขึ้นที่จิตนี่แหละ ให้เราระลึกให้ทัน และเวลาเราเดินเราก็ต้องฝึก ก้าว พุทโธ ๆ ให้มันได้ ถ้าทำไม่ได้มันอยู่ที่ปลายจมูกตลอดเวลา เราจะใช้งานไม่ทัน เราต้องให้ทัน

    เวลาจะกราบขอให้เราเอาจุดที่ตั้ง เช่น พอเราจะกราบปุ๊บ เราต้องนึกถึงท่าเบญจางคประดิษฐ์ก่อน ไม่ใช่ปุ๊บปั๊บกราบเลย นี่วิธีที่เราเคลื่อนออกมาใช้ ถ้าหากเรากำหนดจุดไหน มันจะอยู่จุดนั้นตลอดเวลา เราต้องพยายามหาอุบายวิธีเอาออกมาใช้ อย่างสมมุติเราจะพูดกับหญิงก็ตามชายก็ตาม เราฝึกเอาไว้ เราก็อย่าไปมองหน้าเขา ทอดสอยตา ๔ ศอก หรืออาจจะสั้นกว่านั้นก็ได้ พยายามคุยธรรมดา เราประคองเราไว้ พยายามคุยให้เป็นปกติ อย่าโยกโคลง แม้แต่ผมจะทำงานอะไรก็ตามครับ คำที่ว่าคะนองของผมไม่มี จะแบกไม้แบกอะไรก็แล้วแต่ ผมจะต้องคลุกของผมอยู่ตลอดเวลา


    บรรดาครูบาอาจารย์ที่เรียกว่าเชี่ยวชาญสามารถ เข้มแข็งที่ทำร่วมกันกับผม ผมไม่เคยเห็นองค์ไหนที่จะเข้มแข็งเท่าไรนัก เข้มแข็งหรอกวันสองวัน ทำท่าโครมครามตูมตาม ไม่หลับไม่ฉันข้าวฉันปลาก็มี แต่มันทำไม่เป็นนิตย์ครับ อย่างของผมนี่ผมทำของผมตลอดเวลา เช่น กลางวันนี้ผมไม่นอนเลยครับ ถ้าไม่มีเหตุจำเป็นผมไม่นอน ผมจะต้องเดินจงกรมทำสมาธิ นอกนั้นจะซักผ้าเช็ดเท้าบ้าง แล้วก็ทำความสะอาดตรงนู้นบ้างตรงนี้บ้าง หยากไย่ไยแมงมุมผมเป็นคนเกลี่ยครับ ผมต้องทำของผม ตลอดจนอุบายวิธีที่แสวงหาบุญเป็นส่วนภายนอก การสะสมบุญของผมนี่ผมทำได้ดีครับ ถึงเป็นเหตุให้มีประสิทธิภาพหลายอย่าง นี่แหละครับเล่าเรื่องจริงสู่กันฟัง ไม่ยากหรอกครับทำง่าย ๆ ครับ


    ๒๙๐ถาม : มีพระนักศึกษาบางท่านเคยมีประสบการณ์บางอย่างเกิดขึ้น คือ เมื่อสมัยเป็นสามเณร ท่านบอกว่าเคยนั่งได้จนตลอดรุ่ง และบอกว่ามีความสุขมาก เคยเกิดขึ้นครั้งหนึ่ง แต่พอมาคราวนี้ จะให้ได้แบบนั้นอีกมันก็ไม่ได้ ทำอย่างไรมันก็ไม่ได้แบบที่เคยได้มา มันเป็นเพราะเหตุใดครับ..”


    ตอบ : อ้อ.. ถ้ามีความอยากอยู่ มันไม่ได้หรอกครับ ทิ้งความอยากเสียก่อน ประคองจิตของเราให้ได้รับรู้อยู่ในจิตที่ตัวของเรา อย่าไปมัวมองผลของสมาธิ ผู้ที่จะทำสมาธิถ้าไปพบผลแล้ว โดยมากมักจะประกอบผล และพะวงอยู่ในผลตลอดเวลา แทนที่จะประกอบเหตุกับไม่... เราต้องสามารถรับรู้ในจุดที่เราต้องการได้ แจ๋วอยู่ตลอดเวลา..แล้วการแจ๋วนี้ จะไม่มีการกด ไม่มีการดัน ไม่มีการเพ่งไม่มีมึนงง ตรงไหนสักอย่าง แต่งได้ถูกต้องหมด เป็นอันว่ารับรู้อยู่ที่ปลายจมูก แจ๋วอยู่ตลอดเวลา ต่อจากนั้นไป การน้อมเข้าสู่ฐานแห่งความสงบง่าย เพราะว่าจิตของเราอยู่ในอำนาจของตัวบังคับตัวคุ้มครองที่เราเรียกว่า ตปธรรมนั้นสมบูรณ์แล้ว


    ทีนี้ ลักษณะการน้อมเราก็ย่อมรู้นะครับ พออารมณ์กลมกล่อมแล้ว ก็จะรู้สึกมีลักษณะการลงของจิต มีขึ้นมาทันที มีลักษณะ วูบลงไป ลักษณะ เหมือนอย่างลงลิฟท์ครับ ถ้าสังเกตดี ๆ ผมขอเล่าอย่างเปิดเผยตามประสบการณ์นะครับ เมื่อลงถึงอันดับที่ ๑ มีลักษณะอิ่ม มันอิ่มเต็มในหัวอกหัวใจ มันอิ่มจริง ๆ อิ่มอย่างบอกไม่ถูก จะไม่เหมือนอิ่มข้าว มันอิ่มเต็ม ถึงแม้ว่าจะออกจากสมาธิไปแล้ว การเดินเหิน ก็จะไม่เหมือนบุคคลธรรมดา เป็นบุคคลสมบูรณ์ สุขุม หนักแน่น การก้าวขา การมองซ้าย แลขวา สุขุม....


    ถาม : บางท่านสงสัยว่า อุคคหนิมิตมันเกิดจากอะไร ทำไมมันจึงปรากฏขึ้นมาได้ บางท่านก็กลัวกัน บางท่านเคยนั่งเกิดนิมิตขึ้นก็กลัว ไม่อยากทำต่อ มันเกิดจากอะไร มันของจริงหรือไม่จริงแค่ไหนเพียงใดครับ


    ตอบ : มันก็มีหลายแบบเหมือนกัน คือ ในตัวขณิกะ ในระหว่างช่วงมันมีลักษณะของจิตอยู่ ๓ ลักษณะด้วยกัน คือ ลักษณะธรรมธรรมดาหนึ่ง อีกลักษณะหนึ่งมันจะอยู่ในลักษณะครึ่ง ๆ สำนึก อันนี้พอนึกถึงอะไรเห็นอันนั้นทันที เราจะสันนิษฐานได้ ในระหว่างเรากำลังนอนหลับฝัน ถ้าหลับสนิทก็จะไม่ฝัน ถ้าครึ่งหลับครึ่งตื่นสะลืมสะลือ กำลังเคลิ้ม ๆ นี่แหละครับฝันแน่ ถ้าตื่นปกติจะไม่ฝัน คิดอะไรก็ไม่ฝัน ฉันใด ในระหว่างทำสมาธิที่จะเข้าสู่ขณิกะ ถ้าเข้าไปถึงขณิกะ เข้าไปแล้ว มันเป็นอีกแบบหนึ่งนะครับ ถ้าอยู่ในระหว่างจะเข้าแหล่ไม่เข้าแหล่ สติมันอาจจะขาด ๆ นิด ๆ นึกไม่ได้ นึกอะไรเป็นอันนั้นขึ้นมาทันทีเลย เพราะฉะนั้น ที่ว่าเหนือสำนึกจริง ๆ มันก็ไม่เห็น จะเห็นในช่วงที่ลงไปในระหว่างกลาง ๆ ถ้าเข้าไปถึงจุดของขณิกะจริง ๆ มันก็ไมเห็น ถ้าหากทุกท่านทำความเข้าใจเอาไว้ว่านี่เราทำสมาธิ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดเป็นอุคคหนิมิต ก็เป็นอันแล้วกันไป สรุปง่าย ๆ มันเหมือนกันกับว่ามโนภาพนั่นเองแหละครับ มันขึ้นมาเอง


    ถาม : คือมันเป็นอย่างนี้สำหรับผู้ฝึกใหม่ ๆ จะเกิดมาก พอนั่งหลับตาภาวนา บางทีได้ ๓ นาที ใจก็ไปอีกแล้ว พอดึงกลับมาได้ มันก็ไปอีกแล้ว ทำอย่างนี้บ่อยที่สุด จะมีวิธีใด อย่างไร จะให้มันหยุดได้ไว และจะให้มันอยู่ อยู่กับที่ได้นาน ๆ


    ตอบ : อันนี้ก็มีอยู่ว่าโดยมากผู้ปฏิบัติก็มักจะมีความโมโหเข้าประกอบ พอจิตมันไปเราดึงกลับมา มันก็ยังไปอีก เป็นบ่อย ๆ มันก็ชักจะเอาละครับ ชักจะมีอารมณ์หงุดหงิด อาการหงุดหงิดชักจะกระแทกกันละทีนี้ ยิ่งเอาเลย ยิ่งเอาไม่อยู่เลยครับ จับไม่อยู่ เพราะฉะนั้น การทำสมาธิต้องนิ่มนวล ถ้าเรากำหนด รู้ว่านี่เป็นสมาธิ เราจะทำใจดี ๆ ไว้ เอาละทีนี้กำหนดใหม่ ทำใจเย็น ๆ สบาย ๆ อย่าให้มีอารมณ์โมโหเข้ามาประกอบง่ายกว่าอะไรทั้งหมด แล้วการกำหนดนั้น เราต้องกำหนดแบบที่เรียกว่า อย่าไปคิด อย่าไปค้น รับรู้เฉย ๆ ก็จะสบายมาก สบายโปร่ง และก็พยายามสังเกตอยู่เรื่อย ๆ ไป ในเวลาพักบำเพ็ญ เมื่อรากำหนดลมหายใจเข้าออก ถ้าเรามีอาการเพ่งหรือกดดันตัวเอง เราจะมีความรู้สึกหลายอย่าง เช่น มีอาการมึน งงศีรษะ อันนี้หยุด อย่าทำต่อเด็ดขาด เดี๋ยวได้เรื่อง ให้กำหนดใหม่ เพียงรับรู้เฉย ๆ ไม่เพ่ง ไม่กดดัน จะสบายโปร่ง หรือกำหนดไปแล้วคอมันแห้ง ไม่มีน้ำลายจะไออยู่ท่าเดียว หรือกำหนดแล้วจะมีน้ำลายสอไหลไม่หยุด ไหลอยู่เรื่อย ๆ อยู่ทั้งกะปี เพราะไปกดต่อมน้ำลาย อันนี้ใช้ไม่ได้


    ในเมื่อกำหนดลงไปแล้ว จังหวะการเต้นของหัวใจเป็นปกติ โล่งสบาย อันนั้นถึงแม้ประคองจิตก็ดีกว่าอะไรทั้งหมด ง่าย ถ้าเรามีการกดดัน ไม่สบายตั้งแต่เริ่มต้น แสดงว่าเราเริ่มบังคับจิตของตัวเอง ต้องทำให้ถูกตั้งแต่เริ่มต้น ทำให้นิ่มนวล อย่าให้มีอารมณ์โมโห แล้วอย่าให้มีอาการเกร็งหรือกดดัน เพราะกลัวว่าจะไปเกร็ง หรือกดดันอย่างเดียว อันนี้จำไว้ให้ดี”


    ๑๘๕เพราะฉะนั้น พวกเราผู้บำเพ็ญทั้งหลายควรต้องพิจารณาหาช่องทางอุบายวิธีดำเนินในรูปแบบผู้ที่มีสมาธิเหมือนดังที่เล่าสู่ฟัง ทีนี้ถ้าจะพูดถึงเรื่องผลแล้ว ปัจจุบันนี้ผู้บำเพ็ญสมาธิยังมีความสุขสบาย เหตุการณ์ทั้งหลายแหล่ ถึงแม้จะปรากฏสักแค่ไหนก็ตาม ไม่เป็นไปตามรูปของเหตุการณ์ เหตุการณ์จะชวนให้ทุกข์มันก็ไม่ทุกข์ เหตุการณ์จะชวนให้เพลิดเพลินเจริญใจก็ไม่เป็นไปตามรูปของเหตุการณ์ มันอยู่ในสภาวะที่เรียกว่าปกติอยู่ ไม่หวั่นไหว สบายมาก หากจิตใจของเราอยู่ในอำนาจของคุณธรรมนำพาอยู่อย่างนี้แล้ว เมื่อถึงวันที่เราจะจากร่างนี้ไป รับรองว่าไม่มีความเศร้าหมอง เพราะอำนาจตัวคุ้มครองนำพาจิตของเราให้ยึดเอาธรรมหรือความดีที่เรากระทำมาแล้ว เป็นอารมณ์คู่ใจอยู่ตลอดเวลา มีหวังสุคติภพคือสวรรค์ย่อมเป็นสถานที่ไปของพวกเรา สูงสุดก็คือนิพาน


    ตรงกันข้ามกับผู้ที่ไม่มีสมาธิจิต หากในเมื่อถึงวันแล้ว ไม่รู้ว่าอารมณ์อะไรเข้ามาสุมใจตัวเอง เมื่อเรานึกถึงอารมณ์อย่างไรได้ อารมณ์เหล่านั้นแหละจะเป็นสิ่งนำพาเราไปสู่ความวุ่นวายตามเรื่องของตนเองนั่นแหละ


    เพราะฉะนั้น ขอให้พวกเราจงพากันฝึกฝนจิตใจของตนเอง ให้ใจของเราเบิกบานอยู่ตลอดเวลา ถ้าเราทำได้อย่างนี้นั้น ไม่เสียทีที่เกิดมาพบปะพระพุทธศาสนา ไม่เสียทีที่พวกเราเสียสละมาบำเพ็ญ ถ้าพวกเรากระทำไม่ได้แล้ว ไม่สู้จะแน่นักนะ หากในเมื่อเราพลาดในชาติปัจจุบันนี้แล้ว โอกาสที่เราจะได้พบปะพระพุทธศาสนา ไม่รู้จะพบอีกเมื่อไร เพราะพระพุทธเจ้าไม่ได้มาตรัสรู้อยู่เสมอไป นาน ๆ จึงจะมาตรัสรู้องค์หนึ่ง เราก็ต้องไปเกิดตามดวงดาวบนท้องฟ้า ดูซิดวงดาวมีหลายดวง แต่ละดวงก็เป็นแต่ละจักรวาลหนึ่ง ๆ บางจักรวาลก็เต็มไปด้วยความสุข บางจักรวาลก็เต็มไปด้วยความทุกข์เรียกว่านรก บางจักรวาลก็เป็นแสงสว่างหรือให้ความอบอุ่นแก่โลกอื่น เรียกว่า โลกพระอาทิตย์เป็นต้น


    เพราะฉะนั้น ขอให้พวกเราจงหาช่องทางดำเนินตัวของตัวเองให้เข้าสู่อารมณ์ที่ดีงามเป็นคู่ของใจไว้ จึงไม่เสียทีที่เกิดมาพบปะพระพุธศาสนา ในวันที่เราจะจากร่างนี้ไป หากในเมื่อเราไปสู่สัคคาลัยคือ สวรรค์ มีโอกาสที่จะต้องมาเกิดอีก เราจะได้มาเกิดในยุคคราวที่มีพระพุทธศาสนา ได้ต่อเติมบารมีให้ยิ่งขึ้นต่อไป จึงขอให้พวกเราพากันดำเนินเถิด จะได้ประสบแต่ความสุข ความเจริญตลอดกาล


    " ยากนักที่จะได้เกิดมาบนโลกมนุษย์ เกิดมาแล้วก็ยังยากที่ได้มาเป็นคน เกิดเป็นคนแล้วก็ยังยากที่จะได้พบพระพุทธศาสนา แล้วยังเอาตัวเข้ามาบวชด้วย ถือว่าเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุด ให้ตั้งใจเถอะ

    ผมเห็นพระเณรบำเพ็ญ ผมก็ดีใจ เป็นไม่เป็นก็เดินไปเถอะ เดี๋ยวก็เป็นไปเอง ระวังอย่าไปกด อย่าไปดัน อย่าไปเพ่งนะ ให้รับรู้เฉยเฉย ๆ ให้คิดเสียว่าเราเอาเนกขัมบารมี ให้มาบำเพ็ญร่วมกัน ที่ตึก ๖๐ ปีฯ นี้ น่าเดิน สมัยบำเพ็ญอยู่กับครูบาอาจารย์ลำบาก ไฟก็ไม่มี ต้องระวังตะขาบ ระวังงูมัน จะมากัดเอา แต่อยู่ที่นี่สะดวกมาก ให้พากันมา ตอนเช้า รอบนึง ตอนเย็นรอบนึง และหลังทำวัตรรอบนึง เดินเหนื่อยก็มานั่ง นั่งเมื่อยก็มาเดิน เอาอยู่อย่างนี้แหละ ถ้าทำได้อย่างนี้ มันจะไปไวกว่าคนที่บำเพ็ญมาเป็นสิบ สิบปีอีก


    เรื่องเจดีย์นั้น ผมสร้างเอง (โดยมีพระผู้ใหญ่คอยสนองนโยบาย)ส่วนพระเณรนั้นผมอยากให้บำเพ็ญภาวนา บางท่านบางองค์เอาพระเณรของผมไปทำงาน ผมมองดูแล้วงานบางอย่างมันไม่เหมาะกับสมณะ ผมอยากให้บำเพ็ญภาวนามากกว่า จะได้เห็นคุณค่าประโยชน์ของพระศาสนา ทุกวันนี้ ผมสงสารพระเณรที่บำเพ็ญยังไม่เป็น แต่ขอให้บำเพ็ญไปเถอะ เป็นไม่เป็นเดี๋ยวมันก็เป็นไปเอง "




    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ


    ขอน้อมรับเอา
    พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์
    เป็นที่พึ่งของข้าพเจ้าตั้งแต่บัดนี้ตลอดไป
    ชั่วกาลนาน


    ผู้จัดทำ...
    พระบุญฤทธิ์ อิทธิปุญฺโญ
    ----------------------------------------------------------------------------
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ธันวาคม 2011

แชร์หน้านี้

Loading...