แตกต่างแต่ไม่เคยแตกแยก สัมพันธ์ "พระป่า-พระบ้าน"

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 19 ตุลาคม 2007.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    <TABLE height=30 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#000000>แตกต่างแต่ไม่เคยแตกแยก สัมพันธ์ "พระป่า-พระบ้าน"

    </TD><TD width=8>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=5 width=500 align=center bgColor=#dddddd border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=70 bgColor=#cccccc>โดย</TD><TD vAlign=top bgColor=#ffffff>: ดร.มงคล นาฏกระสูตร, ข่าวสด </TD></TR><TR><TD width=70 bgColor=#cccccc>วันที่ online</TD><TD bgColor=#ffffff>: 5/08/47</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center>[​IMG][​IMG][​IMG]

    </TD><TD vAlign=center width=20>[​IMG]</TD><TD vAlign=center>[​IMG][​IMG][​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    <TABLE cellPadding=10 width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE cellPadding=5 width=100 align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>"อยู่เรียบง่าย แต่จิตใจสูงส่ง" เป็นอุดมคติที่เราใช้มองรูปแบบของวิถีชีวิตพระสงฆ์ขั้นสูงสุด หรือเราเรียกว่า "พระอริยะเจ้า" สถานภาพพระสงฆ์จากทัศนะอันนี้ ทำให้พระสงฆ์ได้รับการปฏิบัติเหมือนบุคคลชั้นสูงในสังคม พระสงฆ์จึงได้รับการดูแลอย่างดี ได้รับความเคารพกราบไหว้ นับถือ บูชาสักการะ ได้รับการอุปถัมภ์ทางด้านวัตถุและปัจจัย 4 อันประณีต
    ทั้งนี้เนื่องมาจากบุคลิกภาพที่น่าประทับใจแก่พุทธศาสนิกชนทั่วไป อันได้แก่ ความเป็นอยู่เรียบง่ายในรูปแบบชีวิต (Life Style) ด้วยพระวินัย และสภาพจิตใจที่ประเสริฐและสูงส่งด้วยธรรมะ ที่เหนือกว่าสามัญชนทั่วไป
    พระวินัย-สิ่งที่สร้างรูปแบบชีวิตของพระสงฆ์
    ความเป็นอยู่อย่างเรียบง่ายอันประกอบไปด้วยสาระที่เรียกว่า "พระวินัย" เป็นตัวกำหนดวิถีชีวิตของพระ พระภิกษุ เมื่อเข้ามาบวชพระอุปัชฌาย์ได้แนะนำในสิ่งที่ปฏิบัติได้และปฏิบัติไม่ได้
    - สิ่งที่ปฏิบัติได้ เรียกว่า "นิสัย" มี 4 ประการคือ
    1. บิณฑบาต
    2. นุ่งห่มผ้าบังสุกุล
    3. อยู่โคนไม้
    4. ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า
    นิสัยถือว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตที่เอื้อต่อความเป็นพระที่สมบูรณ์ แต่เป็นทางเลือก มิได้บังคับ
    - สิ่งปฏิบัติไม่ได้เรียกว่า "อกรณียกิจ" มี 4 ประการเช่นกัน คือ
    1. เสพเมถุน
    2. ลักขโมย
    3. ฆ่ามนุษย์
    4. อวดอุตริมนุษยธรรม
    การล่วงละเมิดใน 4 ประการกนี้ ทำให้ชีวิตความเป็นพระสิ้นสุดลงทันที
    ทั้ง 2 ประการนี้ เป็นแบบแผนการดำเนินชีวิตของความเป็นพระแบบพุทธดั้งเดิมมาจนถึงปัจจุบัน
    ศาสนกิจแบ่งพระสงฆ์ตามความถนัด แต่จุดหมายเดียวกัน
    ศาสนกิจคือ สิ่งที่พระภิกษุต้องปฏิบัติหลังจากบวชแล้ว ท่านเรียกว่า
    "ธุระ" มี 2 อย่างคือ
    1. คันถธุระ = ธุระฝ่ายคัมภีร์ กิจด้านการเล่าเรียน, ศึกษาพระธรรมวินัย = คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมด
    2. วิปัสสนาธุระ = ธุระฝ่ายวิปัสสนากัมมัฏฐาน = กิจด้านการบำเพ็ญภาวนาหรือเจริญกรรมฐาน
    ตามระบบในพระวินัย พระภิกษุต้องอยู่ในสำนักเดียวกับอุปัชฌาย์ เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยอย่างน้อย 5 พรรษา (นวกภูมิ) จึงจะพ้นจากนิสัย (นิสัยมุตตกะ) ไปอยู่ที่อื่นได้และในระหว่างนั้นก็ต้องศึกษาด้านคันถธุระเป็นพื้นฐาน อาจจะมีการปฏิบัติที่หลังหรือควบคู่ไปกับการศึกษาก็ได้ตามความเหมาะสม ปริยัติเป็นบาทฐานสู่ปฏิบัติ ปฏิบัติเป็นบาทฐานสู่ปฏิเวธ
    มีพระสงฆ์จำนวนหนึ่งชอบและถนัดในด้านปริยัติ จึงมีหน้าที่รวบรวม ประมวล ถ่ายทอด เผยแพร่คำสั่งสอนของพระพุทธองค์ไปสู่ผู้อื่น และบริหารดูแลกิจการคณะสงฆ์ พระสงฆ์กลุ่มนี้เรียกว่า "พระสายปริยัติ" พระสายนี้มักจะอยู่กับที่ อยู่ในสำนัก ในวัดและอยู่ใกล้กับบ้าน ต่อมาก็อยู่ใกล้เคียงกับชาวบ้าน จึงมักถูกเรียกว่า "พระบ้าน" (คามวาสี)
    ธุดงควัตร-จุดกำเนิดของพระป่า
    ในการปฏิบัติ พระพุทธองค์ทรงแนะนำพระภิกษุไปอยู่ในสถานที่ที่เหมาะสม ที่ที่ทรงแนะนำ เช่น สุญญาคาร (เรือนว่าง) ป่าช้า ป่า โคนไม้ เป็นต้น ซึ่งเป็นที่สัปปายะ (สะดวกและเหมาะสม) สำหรับการปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง
    ในสมัยพุทธกาลพระมหากัสสปเถระนิยมชมชอบการปฏิบัติธรรมในลักษณะเช่นนี้ เท่านั้นยังไม่พอท่านยังปฏิบัติให้เคร่งครัดเพิ่มยิ่งขึ้นไปอีกโดยการปฏิบัติธุดงควัตร(ธรรมอันเป็นอุบายดับกิเลส และช่วยส่งเสริมความมักน้อยสันโดษ) จนพระบรมศาสดาสรรเสริญท่านให้เป็นเอตทัคคะในด้านนี้ ซึ่งมีพระอีกจำนวนมากที่ชอบและถนัดในการปฏิบัติในสายนี้
    ต่อมาพระในสายนี้ได้เป็นตัวแทนพระภิกษุที่ปฏิบัติเคร่งครัด ที่เราเรียกว่า " พระป่า" (อรัญวาสี)
    ข้อสังเกตประการหนึ่งต่อสายพระป่า ได้แก่ พระพุทธองค์ไม่ทรงบังคับให้พระภิกษุทุกรูปปฏิบัติเช่นนี้ตลอดเวลา หลักฐานที่ปรากฏชัด เช่น ข้อเสนอของพระเทวทัต 5 ประการ เช่น การอยู่ป่าเป็นวัตร บิณฑบาตเป็นวัตร เป็นต้น พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาต โดยให้ถือเป็นทางเลือกก็พอ
    ปฏิเวธ คือ จุดมุ่งหมายของพระทั้ง 2 สาย
    การบรรลุธรรม (วิมุตติ) เป็นจุดหมายสูงสุดของการบวชในพระพุทธศาสนา การบรรลุธรรมต้องอาศัยทั้งด้านปริยัติและปฏิบัติควบคู่กันไป ขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไปก็จะทำให้การบรรลุธรรมเป็นไปได้ยาก พระสงฆ์ที่เก่งด้านปริยัติอย่างเดียวไม่ปฏิบัติก็มืดบอด ปฏิบัติอย่างเดียวไม่มีปริยัติก็หลงทาง ทั้งสองฝ่ายต้องอาศัยซึ่งกันและกัน เพื่อไปสู่หนทางเดียวกันคือปฏิเวธ
    อีกประการหนึ่ง ในการธำรงและสืบทอดพระศาสนา ทั้งปริยัติและปฏิบัติ เป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องป้องกันพระศาสนาไม่เสื่อมลง เมื่อไม่มีปริยัติ ปฏิบัติก็ไม่มี ปฏิเวธไม่ต้องพูดถึง เพราะปริยัติ (พุทธธรรม) เป็นผลมาจากการปฏิบัติของพระพุทธเจ้าและพระสาวก ซึ่งได้แก่ ปฏิเวธนั่นเอง
    พระป่า-พระบ้านในเมืองไทยกับริบทที่แปรเปลี่ยน
    เมื่อประเทศไทยรับพระพุทธศาสนาเข้ามา เราไม่ได้รับเข้ามาเพียงหลักธรรมเท่านั้น แต่ยังได้รับวัฒนธรรมของสงฆ์เข้ามาอีกด้วย ในสมัยสุโขทัย มีการแบ่งพระสงฆ์ออกเป็น 2 ฝ่ายเช่นกัน คือ
    1. คามวาสี คือ คณะของพระภิกษุที่ศึกษาเน้นหนักในด้านพระพุทธวจนะในพระไตรปิฎก อรรถกถา และคัมภีร์ต่างๆ รวมทั้งวิทยาการต่างๆ อาศัยอยู่ในเขตเมืองหรือใกล้ชุมชน
    2. อรัญวาสี คือ คณะของพระภิกษุที่เน้นหนักในด้านการปฏิบัติ มุ่งบำเพ็ญภาวนา อยู่ในป่าและสถานที่ห่างไกลจากบ้านและชุมชนออกไป
    การแบ่งคณะสงฆ์ในลักษณะนี้ เนื่องจากเงื่อนไขทางสังคมเปลี่ยนไปจากเรื่องศาสนามาเป็นเรื่องสังคมและการเมือง เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม จนมาถึงรัตนโกสินทร์ คณะสงฆ์ได้แบ่งออกไปเป็น 2 นิกาย คือ
    1. มหานิกาย - พระสงฆ์จำนวนมากที่เป็นฝ่ายดั้งเดิม
    2. ธรรมยุต - พระสงฆ์คณะใหม่ มีระเบียบวิธีปฏิบัติและความเป็นอยู่ที่เปลี่ยนจากเดิม
    ทั้งมหานิกายและธรรมยุต มีพระทั้ง 2 แบบ คือ มีทั้งพระป่าและพระบ้านทั้ง 2 นิกาย ต่อมาพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ พระเถระที่ชาวบ้านนับถือว่าเป็นพระสุปฏิปันโน มีศีลาจารวัตรงดงามและเป็นต้นแบบพระสายป่าในเมืองไทย ท่านได้นำการธุดงค์และอยู่ป่าเป็นวัตร มาเผยแพร่จนเป็นที่ยอมรับในคณะสงฆ์และสร้างศรัทธาในหมู่ญาติโยม ข้อสังเกตจากพระภิกษุสายอาจารย์มั่น คือ เป็นฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ผู้คนส่วนใหญ่จึงมักจะคิดว่าพระสายป่าที่ปฏิบัติเคร่งครัดเป็นพระสายธรรมยุตไปด้วย
    เก่งกับเคร่ง-จุดแข็งและจุดอ่อนของพระทั้ง 2 สาย
    ดังกล่าวแล้วพระสายปริยัติ (พระบ้าน) มีความมุ่งมั่นและเชี่ยวชาญในพระปริยัติ รวมทั้งด้านการบริหารคณะสงฆ์ด้วย พระสงฆ์สายบ้านจึงมีความรู้ในพระปริยัติอย่างดี มีความสามารถในด้านบริหาร ซึ่งเห็นได้จากระบบการศึกษาสงฆ์และการปกครองคณะสงฆ์ทั้งหมดอยู่ในกำมือของพระสายบ้าน และพระสายนี้ถือเป็นรากฐานที่แท้จริงของคณะสงฆ์ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพของคณะสงฆ์ทั้งหมด อีกอย่างหนึ่งคณะสงฆ์สายนี้ได้มีส่วนร่วมในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับองค์การของรัฐ และมีส่วนช่วยอย่างมากในการสร้างความเป็นปึกแผ่นต่อชาติ และจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และรักษาคุ้มครองปกป้องพระศาสนาในคราวมีภัยในนามของพระสงฆ์ทุกฝ่าย เนื่องจากอยู่ใกล้ชิดกับบ้านเมืองและประชาชน นี้เป็นจุดแข็ง
    จุดอ่อนของคณะสงฆ์ฝ่ายคามวาสี คือ มักจะถูกชาวบ้านและคณะสงฆ์สายอื่นมองว่า "ไม่เคร่งครัด" ประพฤติย่อหย่อนในด้านพระวินัย ทั้งที่ความจริงอาจจะตรงกันข้ามก็เป็นได้ ซึ่งเป็นเรื่องส่วนบุคคลมากกว่า การที่พระสายบ้านถูกมองอย่างนี้อาจจะเป็นเพราะว่าวิถีชีวิตของพระสายบ้านใกล้ชิดและไม่แตกต่างกับชาวบ้านเท่าไร เช่น การปกครอง การศึกษา การใช้เทคโนโลยี การบริหารจัดการ ฯลฯ และความเก่งในสายปริยัติเอง ในบางครั้งอาจมองว่าพระสายอื่นว่ารู้น้อยกว่า จนเกิดการเปรียบเทียบได้
    ความเคร่งครัด สร้างศรัทธาให้พระป่า
    ค่านิยมทำบุญกุศลกับพระสายป่า มาจากการปฏิบัติที่เคร่งครัดในศีลาจารวัตรของแต่ละท่าน พระป่าเป็นที่นิยมของชาวบ้านในการทำบุญกุศล ชาวบ้านญาติโยมบางส่วนอาจจะคิดว่าทำบุญกับพระป่าได้บุญมากกว่าพระสายบ้าน ซึ่งเป็นความเชื่อที่ไม่มีพุทธพจน์รับรอง อันเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่เราสังเกตได้ ความเป็นอยู่เรียบง่าย วิถีชีวิตที่สันโดษ กอปรกับการปฏิบัติเคร่งครัดในด้านธุดงควัตร ทำให้พระป่าเป็นที่เคารพและนับถือยิ่งกว่าพระทุกสายในประเทศและยังเป็นที่เล่าลือและเชื่อถือกันว่า "วิธีแบบพระป่าคือวิถีแห่งพระอริยะ" จึงมีพระสายนี้หลายรูปได้รับการเล่าลือว่าบรรลุธรรมในระดับต่างๆ ทำให้พุทธศาสนิกชนศรัทธามากยิ่งขึ้น นี่เป็นจุดแข็งของพระป่า
    จุดอ่อนของพระป่า คือ ความรู้ในด้านวิชาการ การถ่ายทอด การเผยแพร่พุทธธรรม ที่ไม่เป็นระบบ สิ่งปรากฏออกมาจากท่านเหล่านั้นล้วนเป็นไปตามธรรมชาติ ถ้าถูกต้องก็เป็นสิ่งที่ดีไป แต่ถ้าผิดพลาดก็ยากจะแก้ไข เพราะมีความเชื่อเคารพศรัทธาอยู่เต็มไปหมดและสีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นในศีลพรต) โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบพระสายอื่น จะก่อให้เกิดทิฐิมานะถือตัวและเปรียบเทียบได้เช่นกัน
    สุดท้ายคือ เมื่อพระป่าเป็นที่เคารพของชาวบ้าน จึงเต็มไปด้วยอดิเรกลาภ ซึ่งอาจจะเปิดช่องให้ผู้ไม่หวังดี ได้ใช้โอกาสเลียนรูปแบบแล้วแต่แสวงผลประโยชน์จากความเคร่งครัดของท่านเหล่านั้นได้ เรื่องนี้มีปรากฏอยู่เนืองๆ
    ความแตกแยกไม่ได้อยู่ที่สายพระป่า-พระบ้าน
    ดังกล่าวแล้วข้างต้น พระสายป่าและพระบ้านล้วนเป็นทางเลือกในวิถีความเป็นพระ ตามถนัดของแต่ละบุคคล แต่ความเป็นพระภิกษุ
    (สมณภาวะ) คือมี 227 ข้อ และถือไตรสรณคมน์สมบูรณ์เท่าเทียมกัน ไม่มีความแตกต่างกัน
    ในสมัยพุทธกาล ในคราวพุทธปรินิพพานพระพุทธเจ้า พระป่าสายพระมหากัสสปะเถระ ออกจากป่ามาร่วมศาสนกิจและช่วยสังคายนากับพระสายบ้าน เช่น พระอานนท์ พระอุบาลี อนุรุทธะ เป็นต้น อย่างไม่มีข้อรังเกียจเดียดฉันท์ จนเป็นตันติ (แบบแผน) ที่ดีงามของคณะสงฆ์ตลอดมา
    ความแตกแยกของคณะสงฆ์ไม่เคยมีปรากฏในเรื่องสายที่ตนสังกัด แต่จะแตกแยกกันด้วย 2 ประการคือ
    1. สีลสามัญญตา = ศีลเสมอกันหรือไม่
    2. ทิฏฐิสามัญญตา = ความเห็นชอบร่วมกันมีหรือไม่
    ประวัติศาสตร์ในคณะสงฆ์ไทย พระสายป่าที่เราถือว่าเป็นพระสุปฏิปันโน ไม่เคยมีประวัติด่างพร้อยในการนำพระป่ามาทะเลาะกับพระบ้านสักครั้งเดียว พระเดชพระคุณเจ้าเหล่านั้นเข้าใจในสถานะที่เป็นอยู่และจุดมุ่งหมายของชีวิตของกันและกัน เราจะเห็นพระสายบ้านทั้งธรรมยุตและมหานิกายไปกราบเคารพสักการะ สนับสนุนพระสายป่าอยู่เป็นประจำ พระสายป่าก็สนับสนุนส่งเสริมกิจการคณะสงฆ์และให้ความร่วมมือกับพระสายบ้านเสมอมา
    ความแตกแยกที่เคยปรากฏในคณะสงฆ์ไทยเป็นเรื่องนิกายเสียส่วนใหญ่ เช่น ธรรมยุตกับมหานิกาย ปัจจุบันเรื่องนี้มีปรากฏอยู่บ้าง แต่ไม่รุนแรงเหมือนแต่ก่อน
    การพยายามโยงพระสายป่ามาทะเลาะกับพระสายบ้าน ในปัจจุบันซึ่งไม่น่าจะเข้ากับได้กับคติที่วิญญูชนทั้งหลายในพระพุทธศาสนาจะยอมรับได้ และการประกาศว่าพระป่าเป็นผู้ประท้วงก็มิสมควรอย่างยิ่ง เพราะพระป่าที่แท้ย่อมไม่ประท้วงมีแต่ประสานประโยชน์และสร้างสันติสุขแก่สังคม เราชาวพุทธไม่น่าสนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมใดๆ ที่จะก่อให้เกิดความแตกแยกในคณะสงฆ์ (สังฆเภท) ซึ่งเป็นไปความเสื่อมพระศาสนาโดยรวม และเป็นบาปที่สุดในพระพุทธศาสนา ถ้าฝ่ายใดที่จะเอาชนะให้ได้ ก็ให้ชนะไป
    เราชาวพุทธแท้ทุกคนขอเป็นผู้แพ้ เพื่อเป็นพระที่แท้จริงตลอดไป
    ที่มา http://www.dhammathai.org/articles/phra.php
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>ดร.มงคล นาฏกระสูตร
    ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
    มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    -ข่าวสด 5/08/47-​

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. หาธรรม

    หาธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,164
    ค่าพลัง:
    +3,739
    จะมหานิกายหรือธรรมยุทธ จะพระป่าหรือพระบ้าน ก็มีหลักธรรมและศีลสำหรับการปฏิบัติอันเดียวกัน เป็นลูกพระตถาตคองค์เดียวกัน และชาวพุทธเราในฐานะที่เป็นพุทธมามะกะไม่ควรแบ่งแยกหรือมีมานะว่าใครดีกว่าใคร ไม่ควรทำให้ความต่างในการปฏิบัติเล็กน้อยมาเป็นเหตุให้เกิดความแตกแยก ทั้งสองฝ่ายต่างก็มีข้อดีด้วยกันหลายด้าน ดังนั้นเราควรจะช่วยกันร่วมมือกันจรรโลงพระพุทธศาสนาให้มั่นเจริญรุ่งเรืองถาวรสืบไปเท่านานที่สุดเพื่อแผ่นดินไทยและลูกหลานของเราและชาวพุทธทั้งหลาย

    อีกอย่างหนึ่งเราชาวพุทธควรจะศึกษาแก่นแท้และวิธีปฏิบัติหลัก ๆ ที่ถูกต้องเพื่อใช้สำหรับเป็นแนวทางการปฏิบัติ วิธีการที่ต่างกันของแต่ละสำหนักไม่ควรจะเป็นปัญหาเช่นว่า วิธีการภาวนา มีมากกว่า 40 แบบ สำนักไหนแบบไหนก้ช่างเหอะ เมื่อได้ที่แล้วมันก็จะไปลงในร่องเดียวกัน ต้น ๆ ก็รูปฌาน แล้วหาวิธีวิปัสนาเอา อีกอย่างหนึ่งเราเลือเอาสิ่งที่ถูกจริตเราจากหลาย ๆ สำนักไม่เห็นจะเสียหายอะไร ไม่ต้องยึดมั่นว่าต้องอย่างนั้นอย่างนี้ ต้องเข้าใจว่า คนเรามีหลายแบบ ประสบการณ์ต่างกัน พื้นฐานต่างกัน บุญบารมีของที่เคยสะสมมาต่างกัน จะให้ทำอะไรที่ว่าดี ๆ perfect เหมือนกันหมดคงเป็นไปได้ยาก พระและสำนักที่มีแนวทางและวิธีปฏิบัติต่าง ๆ กัน ก็น่าจะเป็นผลดีสำหรับโปรดคนที่มีจริตต่าง ๆ กัน แต่ขออย่าให้ออกนอกลู่นอกทางเพราะจะเป็นปาบ และทำให้คนที่ไม่รู้หลงทางและเนิ่นนานในการที่จะบรรลุธรรม ธรรมมะคือธรรมชาติของกาย (รูป) และ จิตมันเป็นของมันอยู่อย่างนั้นเที่ยงตรงเสมอ
     

แชร์หน้านี้

Loading...