เรื่องเด่น แบบอย่างผู้ที่ศึกษา “พระธรรมวินัย”ด้วยความเคารพ

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 10 สิงหาคม 2017.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    “พระพุทธศาสนา” อุบัติขึ้นจากการตรัสรู้ความจริงอันประเสริฐ (อริยสัจ) ของ พระบรมศาสดา พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงเปี่ยมด้วยพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาคุณที่มีต่อสัตว์โลกเพื่อให้พ้นทุกข์จากการเวียนว่ายตายเกิด (สังสารวัฎ)

    ด้วยเหตุที่พระพุทธองค์ทรงไม่ได้แต่งตั้งผู้ใดเป็นศาสดาแทน จึงทรงฝาก “พระพุทธศาสนา” ไว้กับ “พุทธบริษัท” ทั้งภิกษุ อุบาสก อุบาสิกา การที่พุทธบริษัทมีความรู้ความเข้าใจในพระธรรม ซึ่งเป็นคำสอนของพระพุทธองค์อย่างถูกต้องจะมีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของพระพุทธศาสนาให้มีความเจริญมั่นคงสืบไป

    การศึกษาพระธรรมจึงเป็นหน้าที่ของ “พุทธบริษัท” ทุกคนเพื่อจะได้มีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องและมีความเห็นถูก (สัมมาทิฎฐิ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งภิกษุต้องทำหน้าที่ของตนให้ถูกต้องสมบูรณ์ ทั้งด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระ ส่วนอุบาสก อุบาสิกามีหน้าที่ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ฟังธรรมเทศนาของภิกษุและฟังการบรรยายธรรมของอุบาสก อุบาสิกาที่ศึกษาพระธรรมจากพระไตรปิฎก

    0b8b2e0b887e0b89ce0b8b9e0b989e0b897e0b8b5e0b988e0b8a8e0b8b6e0b881e0b8a9e0b8b2-e0b89ee0b8a3e0b8b0.jpg

    การศึกษาพระธรรมตาม “พระไตรปิฎก” นั้นประกอบด้วยพระวินัยปิฎก ซึ่งเป็นพุทธบัญญัติเกี่ยวกับความประพฤติ ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมและการดำเนินกิจการต่างๆ ของภิกษุสงฆ์มี 21,000 พระธรรมขันธ์ พระสุตตันตปิฎก (พระสูตร) ซึ่งเป็นพระธรรมเทศนา คำบรรยายธรรมต่างๆ ที่ตรัสให้เหมาะกับบุคคลและโอกาสตลอดจนบทประพันธ์ เรื่องเล่า

    และเรื่องราวทั้งหลายที่เป็นชั้นเดิมในพระพุทธศาสนามี 21,000 พระธรรมขันธ์ พระอภิธรรมปิฎก ซึ่งเป็นหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์มี 42,000 พระธรรมขันธ์ รวมมี 84,000 พระธรรมขันธ์

    การศึกษาพระธรรมตามพระไตรปิฎกเป็นหนทางเดียวเท่านั้นที่จะเป็นเหตุในการนำ “พุทธบริษัท” ทั้งเพศบรรพชิตและเพศคฤหัสถ์ ไปสู่ผู้มีความรู้ความเข้าใจในพระธรรมวินัยอย่างถูกต้อง ผู้ที่เข้าถึงหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์และประพฤติปฏิบัติรักษากาย วาจา ใจให้สุจริตย่อมมีโอกาสบรรลุธรรมถึงระดับขั้นอริยบุคคล ซึ่งเกิดขึ้นได้กับทั้งภิกษุในเพศบรรพชิตและอุบาสก อุบาสิกาในเพศคฤหัสถ์ เพียงแต่หากอุบาสก อุบาสิกาที่บรรลุธรรมในระดับขั้นอนาคามีบุคคลแล้วหากจะมีความเจริญก้าวหน้าถึงระดับขั้นอรหันตบุคคล ดังเช่นภิกษุก็ต้องสละจากเพศคฤหัสถ์ไปสู่เพศบรรพชิต

    8b2e0b887e0b89ce0b8b9e0b989e0b897e0b8b5e0b988e0b8a8e0b8b6e0b881e0b8a9e0b8b2-e0b89ee0b8a3e0b8b0-1.jpg


    ผู้ที่ศึกษาพระธรรมจากพระไตรปิฎกในเพศคฤหัสถ์ ซึ่งเป็นแบบอย่างแก่อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย โดยศึกษาพระธรรมด้วยความเคารพ และมีความมั่นคงในพระธรรมวินัยจนมีความรู้แตกฉาน คือ อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ซึ่งเป็นผู้ที่สะสมความรู้ในพระธรรมมาก่อน และมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า จึงได้เริ่มศึกษาพระธรรมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2496 ที่พุทธสมาคมซึ่งมีการเปิดสอนพระอภิธรรมเป็นครั้งแรก

    โดยมี อาจารย์แนบ มหานีรานนท์ อาจารย์บุญมี เมธางกูร คุณพระชาญบรรณกิจ และคุณหญิงระเบียบ สุนทรลิขิต เป็นผู้บรรยายธรรม ต่อมาได้ศึกษาค้นคว้าพระธรรมจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาด้วยตนเอง โดยมีพระเถระผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นผู้แปลภาษาบาลีของสภาการศึกษา มหามกุฎราชวิทยาลัยเป็นผู้คอยให้คำแนะนำ

    หลังจากนั้น อาจารย์สุจินต์ ได้เริ่มบรรยายธรรมแก่ชมรมพุทธศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยต่างๆ อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร ฯลฯ และมีการบรรยายธรรม ตอบปัญหาธรรมแก่ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา และผู้สนใจในสถานที่ต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด

    นอกจากนี้ยังมีการบรรยายธรรมเป็นภาษาอังกฤษแก่ภิกษุ อุบาสก อุบาสิกาที่เป็นชาวต่างประเทศ ซึ่งมาศึกษาพระอภิธรรมที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ การที่ชาวต่างประเทศมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนามากขึ้นจึงมีการตั้งกลุ่มศึกษาธรรม (Dhamma Study Group) รวมถึงมีการสนทนาธรรมกับชาวต่างประเทศทุกวันพุธที่ตึกสภาการศึกษา มหามกุฏราชวิทยาลัย และตึก สว. ธรรมนิเวศ วัดบวรนิเวศวิหาร อีกทั้งยังได้จัดพิมพ์หนังสือธรรมะฉบับภาษาอังกฤษเผยแพร่ความรู้ทางพระพุทธศาสนาแก่ชาวต่างประเทศให้กว้างขวางออกไปยิ่งขึ้น

    b2e0b887e0b89ce0b8b9e0b989e0b897e0b8b5e0b988e0b8a8e0b8b6e0b88-2e0b8a9e0b8b2-e0b89ee0b8a3e0b8b0-2.jpg

    อาจารย์สุจินต์ ได้รับพระราชทานโล่จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในฐานะที่เป็นผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ได้รับรางวัลสตรีดีเด่นในพระพุทธศาสนา เนื่องในวันสตรีสากลของสหประชาชาติ ได้รับปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพุทธศาสตร์จากมหามกุฎราชวิทยาลัย ได้รับโล่และประกาศเกียรติคุณรางวัลพุทธคุณูปการระดับกาญจนเกียรติคุณ

    แม้ว่าปัจจุบัน อาจารย์สุจินต์ จะล่วงพ้นวัยมาเป็นเวลา 91 ปีแล้ว แต่ก็ยังมีสุขภาพพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์ มีการบรรยายธรรมและสนทนาธรรมในสถานที่ต่างๆ ทุกวัน ส่วนวันเสาร์และวันอาทิตย์มีการบรรยายธรรมและสนทนาธรรมที่อาคารมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนาซึ่งตั้งอยู่ที่ถนนเจริญนคร ซอย 78 เขตธนบุรี กรุงเทพฯ วันเสาร์ภาคเช้ามีการสนทนาพระสูตร ภาคบ่ายมีการสนทนาปรมัตถธรรม และวันอาทิตย์ภาคเช้ามีการสนทนาพระวินัย สนทนาพื้นฐานพระอภิธรรม ภาคบ่ายมีการสนทนาพื้นฐานปัจจัยสภาพธรรม และสนทนาเรื่องปฏิบัติธรรม

    3e0b887e0b89ce0b8b9e0b989e0b897e0b8b5e0b988e0b8a8e0b8b6e0b88-3e0b8a9e0b8b-3-e0b89ee0b8a3e0b8b0-3.jpg

    การบรรยายธรรมและสนทนาธรรมที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา นอกจากจะมี อาจารย์สุจินต์ แล้ว ยังมีคณะผู้บรรยายธรรมซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญภาษาบาลี ผู้ที่จบเปรียญธรรม 9 ประโยค ผู้ที่ศึกษาพระธรรมมาอย่างถ่องแท้ ส่วนผู้ฟังการบรรยายธรรมและการสนทนาธรรมมีทุกเพศ ทุกวัยซึ่งมาจากอาชีพที่หลากหลาย

    ได้แก่ พ่อค้า นักธุรกิจ ผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ ข้าราชการ ประชาชนทั่วไปตลอดจนนักเรียน นิสิต นักศึกษา ผู้ที่สนใจศึกษาพระธรรมยังสามารถติดตามทางเว็บไซต์ www. Dhammahome.com อีกทั้งติดตามฟังการบรรยายธรรมจากสถานีวิทยุคลื่นต่างๆ ได้ทุกวัน ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด อีกทั้งติดตามชมทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 สถานีโทรทัศน์รัฐสภาได้อีกด้วย

    วันเสาร์ที่12 สิงหาคม 2560 นี้ เป็นวันแม่แห่งชาติ พาแม่ไปฟังการบรรยายธรรมและการสนธนาธรรมที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา จะส่งผลให้แม่มีความรู้ความเข้าใจในพระพุทธศาสนาที่ประกอบด้วยปัญญา ลูกๆ จะได้รับอานิสงส์จากกุศลผลบุญที่ได้กระทำเป็นอย่างมาก

    ……………………………………

    คอลัมน์ : ว่ายทวนน้ำ

    โดย “ทวีศักดิ์ อุ่นจิตติกุล”

    ขอบคุณภาพบางส่วน : www.dhammahome.com

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.dailynews.co.th/article/590783
     

แชร์หน้านี้

Loading...