แพทย์แผนไทยอาชีวะ-เลี้ยงตัวได้แถมพ่วงปริญญา

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 12 กันยายน 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,487
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=567 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>แพทย์แผนไทยอาชีวะ เลี้ยงตัวได้แถมพ่วงปริญญา

    </TD></TR><TR><TD class=Text_Story vAlign=top><!-- [​IMG] "ต้นไม้ทุกชนิดรอบตัวเราเป็นสมุนไพรได้หมด เพียงแต่เราไม่รู้จักสรรพคุณและวิธีนำมาใช้ การได้มาเรียนวิชาเทคโนโลยีสมุนไพรดีใจมาก สามารถนำพืชสมุนไพรมาใช้ได้จริง ไม่กระทบงานประจำเพราะมาเรียนเพียงอาทิตย์ละครั้ง จากนั้นก็ทำงานส่งครูประจำกลุ่ม แถมยังได้วุฒิ ปวส.ด้วย " นางพิไลภรณ์ ภุมรินทร์ อาชีพแม่ค้า วัย 26 ปี กล่าวด้วยรอยยิ้ม




    เช่นเดียวกับ นายศราวุธ กะสิรักษ์ ประกอบอาชีพเป็นมัคคุเทศก์ (ไกด์) วัย 31 ปี บอกว่า ที่มาเรียนไม่ได้หวังได้วุฒิ ปวส. แต่มาเรียนเพราะต้องการความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพร ที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวันและใช้ความรู้ที่ได้เรียนมาแนะนำสรรพคุณพืชสมุนไพรให้ลูกทัวร์ได้รู้จัก ไม่ต้องพึ่งแพทย์แผนปัจจุบัน และดีใจมากที่เรียนเพียงสัปดาห์ละครั้ง เป็นการสร้างโอกาสให้กับคนทำงานแล้วได้เรียนรู้เพิ่มอีก
    ทั้งสองคนเป็นนักศึกษารุ่นแรก ของสาขาเทคโนโลยีสมุนไพร วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพังงา (วษท.พังงา) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 2 ชื่อกลุ่ม "บ่อแสนสมุนไพร" ตั้งอยู่ที่บ้านของ "นายหมัน หวันเมือง" แพทย์แผนไทยประจำตำบลบ่อแสน อ.ทับปุด จ.พังงา
    "ความแตกต่างจากนักศึกษาทั่วไป อยู่ที่ทุกคนทั้ง 23 คน ไม่ต้องไปเรียนที่วิทยาลัยทุกวัน แต่มาเรียนที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน (สรช.) มีครูประจำกลุ่มมาสอนทุกวันพฤหัสบดี ทุกคนมีงานประจำทำอยู่แล้วแต่มาเรียนรู้เพิ่มเติม" นายหมัน กล่าว
    นายชัยชัด ดวงจันทร์ อาจารย์ วษท.พังงา ซึ่งเป็นอาจารย์ประจำกลุ่ม เล่าว่า ครูให้ความรู้ในทฤษฎี โดยมีหมอยาประจำตำบลเป็นผู้ให้ความรู้อีกคน เน้นให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง มีการทำเอกสารความรู้รวบรวมรายชื่อ สรรพคุณ จัดหาพันธุ์มาปลูกไว้ในสวนสมุนไพร และการออกไปดูงานนอกสถานที่ ทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร เช่น ยาหม่อง เทียนหอมไล่ยุง และในอนาคตทางกลุ่มจะผลิตสมุนไพรป้อนสปา
    "ผมมีความรู้แค่ในตำรา แล้วเอามาแลกเปลี่ยนกับหมอยา ซึ่งความรู้ส่วนใหญ่มาจากตรงนี้ และการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งอื่นๆ ด้วย ครูที่มาสอนในโครงการนี้ต้องเสียสละอดทน เพราะต้องขับรถมาสอนนักศึกษานอกพื้นที่ทุกสัปดาห์ แต่ก็ดีใจลึกๆ ว่าหลายคนที่มาเรียนไม่ได้มาเพื่อหวังวุฒิการศึกษาแต่มาเพราะอยากเรียนรู้จริงๆ" ครูประจำกลุ่มบ่อแสนสมุนไพร กล่าว
    ในขณะที่ นายหมัน หวันเมือง แพทย์แผนไทย ครูประจำกลุ่มอีกคน กล่าวว่า มาสอนไม่ได้หวังค่าตอบแทน แต่หวังมากที่สุดคือการได้ถ่ายทอดความรู้เรื่องสมุนไพรของบรรพบุรุษไม่ให้สูญหายไปจากสังคมไทย ทำให้คนที่ไม่เคยรู้ได้เรียนรู้และสืบทอดต่อไปในอนาคต
    "ดีใจที่มีคนสนใจเรื่องสมุนไพรกันมากขึ้น อย่างน้อยภูมิปัญญาของรุ่นปู่ย่าจะไม่สูญหายไปไหน เพราะคนรุ่นใหม่มักมองหายาสมัยใหม่ แต่ลืมไปว่าพืชสมุนไพรใกล้ตัวนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง" นายหมัน กล่าว
    เพื่อการอนุรักษ์พืชสมุนไพรรุ่นปู่ย่าสู่รุ่นลูกหลานนี่เอง เป็นจุดเริ่มต้นของหลักสูตร "เทคโนโลยีสมุนไพร" ของ วษท.พังงา ในยุคที่ นายประกอบ บ่มเกลี้ยง เป็นผู้อำนวยการ
    "หลักสูตรนี้อยู่ในโครงการอาชีวศึกษาเพื่อพัฒนาชนบท (อศ.พช.) ต้องเรียน 2 ปีถึงได้วุฒิ ปวส. ผู้มาเรียนต้องจบชั้น ม.6 หรือ ปวช. ซึ่งได้รับความสนใจจากชาวบ้านและธุรกิจสปามาก และนับวันธุรกิจสปายิ่งเติบโตและใช้สมุนไพรเป็นหลัก
    การดึงชาวบ้านให้มาเรียนต้องออกไปสอนในพื้นที่ เพราะเขามีงานประจำทำ เราไปสอนทฤษฎีให้เขาปฏิบัติเองในบ้าน แล้วเอางานมาส่งก็จะผ่านในรายวิชานั้นๆ ซึ่งทุกคนที่จบมีศักดิ์และสิทธิเท่ากับเรียนในระบบทุกอย่าง เพราะยึดหลักสูตรของอาชีวศึกษาเหมือนกันทั้งด้านทฤษฎี ปฏิบัติ การฝึกงาน และเข้าร่วมกิจกรรม" ผอ.วษท.พังงา กล่าว
    "การเรียนรู้คู่การทำงาน" ของ วษท.พังงา นับเป็นการจัดการเรียนการสอนที่มาจากความต้องการของตลาดและผู้เรียน เปิดโอกาสให้คนที่ทำงานแล้วมาเรียนเพิ่ม โดยไม่กระทบงานประจำ เป็นอีกทางเลือกของผู้ที่ต้องการเรียนต่อแต่ไม่มีเวลา นี่คือก้าวใหม่อันยิ่งใหญ่ของการอาชีวศึกษาที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ
    0 กรรณิกา ลือโสภา 0
    ไฟล์รูปอยู่ถัง edu ของซับ
    1.ภาพเปิด sa1-นายประกอบ บ่มเกลี้ยง ผอ.วษท.พังงา ชมการสาธิตต้มยาสมุนไพร
    2.ภาพมาร์คช๊อทsa2-นายหมัน หวันเมือง ครูภูมิปัญญา





    -->
    "ต้นไม้ทุกชนิดรอบตัวเราเป็นสมุนไพรได้หมด เพียงแต่เราไม่รู้จักสรรพคุณและวิธีนำมาใช้ การได้มาเรียนวิชาเทคโนโลยีสมุนไพรดีใจมาก สามารถนำพืชสมุนไพรมาใช้ได้จริง ไม่กระทบงานประจำเพราะมาเรียนเพียงอาทิตย์ละครั้ง จากนั้นก็ทำงานส่งครูประจำกลุ่ม แถมยังได้วุฒิ ปวส.ด้วย " นางพิไลภรณ์ ภุมรินทร์ อาชีพแม่ค้า วัย 26 ปี กล่าวด้วยรอยยิ้ม


    เช่นเดียวกับ นายศราวุธ กะสิรักษ์ ประกอบอาชีพเป็นมัคคุเทศก์ (ไกด์) วัย 31 ปี บอกว่า ที่มาเรียนไม่ได้หวังได้วุฒิ ปวส. แต่มาเรียนเพราะต้องการความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพร ที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวันและใช้ความรู้ที่ได้เรียนมาแนะนำสรรพคุณพืชสมุนไพรให้ลูกทัวร์ได้รู้จัก ไม่ต้องพึ่งแพทย์แผนปัจจุบัน และดีใจมากที่เรียนเพียงสัปดาห์ละครั้ง เป็นการสร้างโอกาสให้กับคนทำงานแล้วได้เรียนรู้เพิ่มอีก
    ทั้งสองคนเป็นนักศึกษารุ่นแรก ของสาขาเทคโนโลยีสมุนไพร วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพังงา (วษท.พังงา) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 2 ชื่อกลุ่ม "บ่อแสนสมุนไพร" ตั้งอยู่ที่บ้านของ "นายหมัน หวันเมือง" แพทย์แผนไทยประจำตำบลบ่อแสน อ.ทับปุด จ.พังงา
    "ความแตกต่างจากนักศึกษาทั่วไป อยู่ที่ทุกคนทั้ง 23 คน ไม่ต้องไปเรียนที่วิทยาลัยทุกวัน แต่มาเรียนที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน (สรช.) มีครูประจำกลุ่มมาสอนทุกวันพฤหัสบดี ทุกคนมีงานประจำทำอยู่แล้วแต่มาเรียนรู้เพิ่มเติม" นายหมัน กล่าว
    นายชัยชัด ดวงจันทร์ อาจารย์ วษท.พังงา ซึ่งเป็นอาจารย์ประจำกลุ่ม เล่าว่า ครูให้ความรู้ในทฤษฎี โดยมีหมอยาประจำตำบลเป็นผู้ให้ความรู้อีกคน เน้นให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง มีการทำเอกสารความรู้รวบรวมรายชื่อ สรรพคุณ จัดหาพันธุ์มาปลูกไว้ในสวนสมุนไพร และการออกไปดูงานนอกสถานที่ ทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร เช่น ยาหม่อง เทียนหอมไล่ยุง และในอนาคตทางกลุ่มจะผลิตสมุนไพรป้อนสปา
    "ผมมีความรู้แค่ในตำรา แล้วเอามาแลกเปลี่ยนกับหมอยา ซึ่งความรู้ส่วนใหญ่มาจากตรงนี้ และการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งอื่นๆ ด้วย ครูที่มาสอนในโครงการนี้ต้องเสียสละอดทน เพราะต้องขับรถมาสอนนักศึกษานอกพื้นที่ทุกสัปดาห์ แต่ก็ดีใจลึกๆ ว่าหลายคนที่มาเรียนไม่ได้มาเพื่อหวังวุฒิการศึกษาแต่มาเพราะอยากเรียนรู้จริงๆ" ครูประจำกลุ่มบ่อแสนสมุนไพร กล่าว
    ในขณะที่ นายหมัน หวันเมือง แพทย์แผนไทย ครูประจำกลุ่มอีกคน กล่าวว่า มาสอนไม่ได้หวังค่าตอบแทน แต่หวังมากที่สุดคือการได้ถ่ายทอดความรู้เรื่องสมุนไพรของบรรพบุรุษไม่ให้สูญหายไปจากสังคมไทย ทำให้คนที่ไม่เคยรู้ได้เรียนรู้และสืบทอดต่อไปในอนาคต
    "ดีใจที่มีคนสนใจเรื่องสมุนไพรกันมากขึ้น อย่างน้อยภูมิปัญญาของรุ่นปู่ย่าจะไม่สูญหายไปไหน เพราะคนรุ่นใหม่มักมองหายาสมัยใหม่ แต่ลืมไปว่าพืชสมุนไพรใกล้ตัวนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง" นายหมัน กล่าว
    เพื่อการอนุรักษ์พืชสมุนไพรรุ่นปู่ย่าสู่รุ่นลูกหลานนี่เอง เป็นจุดเริ่มต้นของหลักสูตร "เทคโนโลยีสมุนไพร" ของ วษท.พังงา ในยุคที่ นายประกอบ บ่มเกลี้ยง เป็นผู้อำนวยการ
    "หลักสูตรนี้อยู่ในโครงการอาชีวศึกษาเพื่อพัฒนาชนบท (อศ.พช.) ต้องเรียน 2 ปีถึงได้วุฒิ ปวส. ผู้มาเรียนต้องจบชั้น ม.6 หรือ ปวช. ซึ่งได้รับความสนใจจากชาวบ้านและธุรกิจสปามาก และนับวันธุรกิจสปายิ่งเติบโตและใช้สมุนไพรเป็นหลัก
    การดึงชาวบ้านให้มาเรียนต้องออกไปสอนในพื้นที่ เพราะเขามีงานประจำทำ เราไปสอนทฤษฎีให้เขาปฏิบัติเองในบ้าน แล้วเอางานมาส่งก็จะผ่านในรายวิชานั้นๆ ซึ่งทุกคนที่จบมีศักดิ์และสิทธิเท่ากับเรียนในระบบทุกอย่าง เพราะยึดหลักสูตรของอาชีวศึกษาเหมือนกันทั้งด้านทฤษฎี ปฏิบัติ การฝึกงาน และเข้าร่วมกิจกรรม" ผอ.วษท.พังงา กล่าว
    "การเรียนรู้คู่การทำงาน" ของ วษท.พังงา นับเป็นการจัดการเรียนการสอนที่มาจากความต้องการของตลาดและผู้เรียน เปิดโอกาสให้คนที่ทำงานแล้วมาเรียนเพิ่ม โดยไม่กระทบงานประจำ เป็นอีกทางเลือกของผู้ที่ต้องการเรียนต่อแต่ไม่มีเวลา นี่คือก้าวใหม่อันยิ่งใหญ่ของการอาชีวศึกษาที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ

    0 กรรณิกา ลือโสภา 0



    </TD></TR></TBODY></TABLE>ที่มา: คมชัดลึก
     

แชร์หน้านี้

Loading...