แม่ไก่ฟังธรรม

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย NUI, 24 มกราคม 2005.

  1. NUI

    NUI เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    389
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +983
    แม่ไก่ฟังธรรม
    จากหนังสือธรรมะของพระธรรมธีรราช มหามุนี (โชดก ญาณสิทธิ ป.ธ. ๙) ซึ่งเป็นเรื่องราวที่ท่านนำออกมาจากพระไตรปิฏกอีกทีหนึ่ง และชี้ให้เห็นว่าผู้ที่เจริญสมถกรรมฐานจนได้ฌานไปเกิดอยู่ในพรหมโลกแล้ว เมื่อหมดบุญก็สามารถกลับมาเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานได้อีก

    มีเรื่องเล่าไว้ว่า ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ มีแม่ไก่ตัวหนึ่งอยู่ในที่ใกล้อาสนะศาลา
    แม่ไก่ตัวนั้นได้ฟังเสียงประกาศธรรมของภิกษุผู้เป็นนักปฏิบัติธรรมรูปหนึ่งกำลังสาธยายเรื่องวิปัสสนากรรมฐานอยู่ ขณะนั้นเอง เหยี่ยวตัวหนึ่งบินมาโฉบเอาแม่ไก่ไปกินเสีย พอแม่ไก่ตัวนี้ตายไปในขณะที่ฟังธรรมอยู่ จึงได้เกิดมาเป็นพระราชธิดานามว่า อุพพรี และได้ออกบวชในสำนักของปริพาชิกา
    ทั้งหลาย วันหนึ่งนางได้เข้าไปสู่ในเว็จกุฎี(ห้องส้วม) ทอดพระเนตรเห็นหมู่หนอนแล้ว
    ได้เจริญสมถกรรมฐานโดยเอาหนอนเป็นอารมณ์ เรียกว่า ปุฬุวกสัญญา ได้บรรลุปฐมฌาน เพราะ
    สามารถฝึกสมาธิจนได้ฌาน ตายจากชาตินั้นจึงได้ไปเกิดในพรหมโลก อยู่บนนั้นเสียนาน ตายแล้ว
    มาเกิดในตระกูลเศรษฐี จากนั้นก็ตายไปเกิดเป็นลูกนางสุกรในกรุงราชคฤห์ ซึ่งเป็นกาลแห่ง
    พระพุทธเจ้าของเรานี้
    พระบรมศาสดาได้ทอดพระเนตรเห็นลูกนางสุกรตัวนั้นจึงทรงแย้มพระโอษฐ์ พระอานนท์เถระจึงได้ทูลถาม พระพุทธองค์จึงได้ตรัสตอบข้อความนั้นทั้งหมด (คือเล่าตั้งแต่แม่ไก่มาถึงลูกนางสุกร)
    ภิกษุทั้งหลายมีพระอานนท์เป็นประมุขได้สดับเรื่องนั้นแล้ว ต่างพากันสังเวชสลดใจเป็นอันมาก
    พระศาสดายังความสังเวชสลดใจให้เกิดแก่ภิกษุเหล่านั้นแล้ว จึงประกาศโทษแห่งราคะตัณหา
    ทั้งๆที่ประทับยืนอยู่ในระหว่างถนนนั่นเอง ท่านตรัสเป็นพระคาถาแปลเป็นใจความว่า ต้นไม้
    เมื่อรากไม่มีอันตราย ยังมั่นคง ถึงจะถูกบุคคลตัดแล้ว รากก็ยังขึ้นได้อีก แม้ฉันใดทุกข์นี้ก็ฉันนั้น
    คือเมื่อตัณหานิสัยอันบุคคลยังขจัดไม่ได้แล้ว ย่อมเกิดขึ้นได้อยู่ร่ำไปเหมือนกันอย่างนั้น
    .........หมู่สัตว์เกิดตัณหาผู้ทำความดิ้นรนล้อมไว้แล้ว ย่อมกระเสือกกระสนเหมือนกระต่ายที่
    นายพรานดักได้แล้วนั้น เพราะเหตุนั้นผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร หวังธรรมเป็นที่สำรอกกิเลสแก่ตน
    พึงบรรเทา พึงกำจัด พึงนำออก พึงละตัณหา ผู้กระทำการดิ้นรนนั้นเสียด้วยญาน มีโสดาปัตติมรรคญาน เป็นต้นดังนี้
    ฝ่ายลูกนางสุกรตัวนั้น ตายจากชาตินั้นแล้วได้ไปเกิด ในราชตระกูลในสุวรรณภูมิ ไปเกิดใน
    กรุงพาราณสี เกิดในเรือนพ่อค้าม้าที่ท่าสุปปารกะเกิดในเรือนของกฎุมพีชื่อสุมนะ ในเภกกันตคาม มีชื่อว่าสุมนา ต่อมาบิดาย้ายไปสู่แคว้นทีฆวาปีอยู่ในหมู่บ้านชื่อมหามุนีคาม อำมาตย์ของพระเจ้าทุฏฐคามณี นามว่า ลกุณฏอติมพระไปที่หมู่บ้านนั้นด้วยกิจบางอย่าง เห็นนางสุมนาแล้วเกิดรักใคร่ จึงทำการมงคลให้อย่างใหญ่โต และได้พานางไปสูบ้านมหาปุณณคาม
    ครั้งนั้นพระมหาอตุลเถระเที่ยวไปบิณฑบาตในบ้านนั้น ยืนอยู่ที่ประตูเรือนของนาง เห็นนางแล้วจึงกล่าวกับภิกษุทั้งหลายว่า ผู้มีอายุทั้งหลายลูกนางสุกรถึงความเป็นภรรยาของอำมาตย์ชื่อลกุณฏอติมพระแล้ว โอ.....น่าอัศจรรย์จริง นางสุมนาเมื่อได้ฟังคำของพระเถระแล้ว สามารถระลึกชาติในอดีตได้ทันทีและเกิดความสลดสังเวชใจเป็นอย่างยิ่ง อ้อนวอนสามีขอบวชในสำนักพระเถรีผู้ประกอบด้วยพละ๕ ด้วยอิสริยยศชั้นสูงได้ฟังกถาพรรณนามหาสติปัฏฐานสูตรในติสสมหาวิหาร ได้สำเร็จโสดาปัตติผล
    ภายหลังเมื่อพระเจ้าทุฏฐคามณีทรงปราบทมิฬได้แล้ว พระนางสุมนาเถรีได้เดินทางไปสู่บ้านเภกกันตคามซึ่งเป็นที่อยู่ของมารดาบิดา ขณะอยู่ในบ้านนั้นได้ฟังอาสีวิสูปมสูตรในกัลลกมหาวิหาร จนบรรลุพระอรหันต์ในวันปรินิพพาน นางอันพวกภิกษุณีได้ถามแล้วได้เล่าประวัติทั้งอย่างละเอียดแก่ภิกษุณีสงฆ์ แล้วสนทนากับพระมหาติสสเถระ ผู้กล่าวบทแห่งธรรม ผู้มีปกติอยู่ในมณฑลาราม ณ ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ผู้ประชุมกันแล้วกล่าวว่า
     

แชร์หน้านี้

Loading...