โครงการการตรวจวัดพลังจิตสำนึก Consciousness Project วัดผลกระทบจากน้ำท่วมที่ไทยกับประท้วงที่กรีซ

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย zipper, 4 ธันวาคม 2011.

  1. zipper

    zipper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2004
    โพสต์:
    5,228
    ค่าพลัง:
    +10,593
    อันนี้เป็นกระทู้ต่อเนื่องจากกระทู้นี้ http://palungjit.org/threads/โครงการการตรวจวัดพลังจิตสำนึก-consciousness-project.61786/ ซึ่งห่างกันยาวนานมากจนไม่รู้ว่ายังจะมีใครจำได้หรือเปล่า ถ้าจะให้อธิบายคร่าวๆ ก็คือเป็นโปรเจคต่อเนื่องยาวนานของมหาวิทยาลัย Princeton ในสหรัฐอเมริกาที่เคยทดลองพบว่า white noise ที่เกิดขึ้นมันจะได้รับผลกระทบต่อความคิดของผู้คนที่อยู่รอบๆ ดังนั้นเค้าจึงลองเอาเครื่องที่สร้าง white noise ไปวางไปทั่วโลกแล้วลองวัดผลดูว่าเหตุการณ์สำคัญๆ แต่ละเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกมันจะส่งผลกระทบต่อค่า white noise ที่ได้หรือเปล่า

    ซึ่งการทดลองก็เก็บค่ามาตั้งแต่ปี 98 จนกระทั่งถึงบัดนี้ก็ยังเก็บค่าอยู่เลย และเนื่องด้วยว่าในช่วงที่ผ่านมาภัยพิบัติน้ำท่วมที่ไทยก็ได้เป็นข่าวใหญ่โตไปทั่วโลกเหมือนกัน ทางมหาวิทยาลัยก็เลยลองเอาค่าที่เก็บได้มาวาดกราฟดู แต่ว่าในช่วงเวลาที่เกิดน้ำท่วมที่ไทยก็ได้เกิดเหตุประท้วงที่กรีซซึ่งก็เป็นเหตุการณ์ใหญ่โตเหมือนกัน ดังนั้นค่าที่ได้ก็เลยเป็นค่าผสมของสองเหตุการณ์นี้ ซึ่งทางเค้าก็บอกมาว่าไม่สามารถที่จะแยกได้ว่าค่าที่ได้มาเป็นค่าของเหตุการณ์ไหนกันแน่

    และอีกอย่างนึงค่าที่ได้จะเป็นค่าทางสถิติซึ่งก็ต้องมีความรู้ทางสถิติหน่อยจึงจะพอดูออกว่ามันพอจะเชื่อถือได้แค่ไหนและแต่ละค่าหมายถึงอะไร(เช่นรู้ว่าค่า Z หมายถึงอะไร, standard deviation หมายถึงอะไร) ซึ่งก็ร้างราเรื่องสถิติไปนานเลยไม่สามารถจะเขียนอธิบายได้ก็ต้องให้พิจารณากันเอง

    ต่อไปก็จะขอยกที่แปลมาให้อ่านละกัน บางส่วนที่อ่านงงๆ หน่อยก็จะแปลมางงๆ หน่อย ก็ต้องขออภัย
    <hr>
    น้ำท่วมในประเทศไทย, จราจลในกรีซ

    โน้ต: เหตุการณ์นี้ถูกวิเคราะห์โดยใช้ข้อมูลจากแค่ 34 egg เหตุการณ์นี้จะถูกวิเคราะห์อีกครั้งในภายหลังเมื่อได้ข้อมูลทั้งหมดจากเครือข่ายหลังจากการเปลี่ยน server

    ระหว่างการประท้วงอย่างรุนแรงของมวลชนต่อรัฐบาลในกรีซ ในขณะเดียวกันก็มีภัยพิบัติธรรมชาติเกิดขึ้นในประเทศไทย นี่เป็นเนื้อข่าวส่วนนึงจาก Southgate Amateur Radio News:

    "ตอนนี้มียอดผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ภัยพิบัติน้ำท่วมที่ร้ายแรงที่สุดในรอบ 60 ปีอันสืบเนื่องมาจากมีฝนตกอย่างหนักตั้งแต่เดือนกรกฏาคมเพิ่มขึ้นเกือบถึง 300 คนแล้ว

    เกือบสามล้านคนได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม, และภัยพิบัติในครั้งนี้ได้ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงแก่เกษตรกรรมและอุตสาหกรรมอื่นๆ ของประเทศ เช่น โรงงาน Toyota, Sonyและ Honda ของญี่ปุ่นและ Western Digital ของสหรัฐอเมริกาและโรงงานอื่นๆ ที่อยู่ทางตอนเหนือของกรุงเทพส่งผลให้หยุดการผลิตจนกว่าเหตุการณ์จะดีขึ้น

    ค่าความเสียหายประเมินว่ามากกว่า 20 พันล้านบาทและ 26 จังหวัดจากทั้งหมด 77 จังหวัดได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมครั้งนี้, ระหว่างที่กรุงเทพกำลังรอรับน้ำจำนวนมากที่กำลังมาถึงก็เจอกับน้ำทะเลหนุนสูงโดยบังเอิญทำให้เป็นเรื่องยากขึ้นที่น้ำท่วมจะไหลลงสู่ทะเล"

    สถานะการณ์ในกรีซส่งผลลบต่อ Eurozone และเศรษฐกิจโลก, ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสนใจ และกับน้ำท่วมที่ตอนนี้อันตรายขึ้นและบางส่วนก็เริ่มเข้าสู่กรุงเทพแล้ว, สื่อต่างๆ ในโลกมีการรายงานนี้มากขึ้นถึงแม้ว่าจะมุ่งไปยังปัญหาทางด้านการเมือง ภรรยาของผมเสนอว่านี่เป็นเรื่องที่ไม่ธรรมดาแต่ยังจะเป็นเหตุการณ์ที่มีความหมายลึกซึ้งอีกด้วยที่ก่อให้เกิดผลในระดับโลก เหตุการณ์ทั้งคู่เป็นภัยพิบัติที่เป็นไปอย่างช้าๆ ในประเทศไทยพวกเราหวังว่าผู้นำจะสามารถนำเอาความรู้ความสามารถมาป้องกันไม่ให้เกิดโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ สำหรับกรีซมีการประท้วงใหญ่โตและความรุนแรงก็มากขึ้นเรื่อยๆ พวกเราได้แต่หวังว่าจะไม่มีคนตายเกิดขึ้น

    การพูดถึงเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เริ่มขึ้นในวันที่ 19 ดังนั้นวันนี้จึงเป็นวันที่ถูกกำหนดว่าเป็นวันที่ความสับสนอลม่านอย่างยาวนานได้เกิดขึ้น ผลการทดลองจากการเก็บข้อมูลเป็นเวลา 24 ชั่วโมง(ตามเวลา UTC) ได้ค่าออกมาดังนี้ มีค่า Chisquare = 85185.209, df = 86400, p = 0.990 และ Z = -2.935 กราฟแสดงให้เห็นถึงค่า deviation ที่ค่อยๆ สะสมขึ้นอย่างคงที่ในทางลบในวันนั้น ตรงกันข้ามกับค่าการทำนายมาตรฐานจาก GCP มันจึงดูมีความหมายมาก

    [​IMG]

    ความวุ่นวายในกรีซที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและเหตุการณ์น้ำท่วมในประเทศไทยที่ยังไม่คลี่คลายแสดงให้เห็นถึงเหตุการณ์ที่เทคโนโลยีของเราที่ไม่สามารถแยกแยะผลของแต่ละเหตุการณ์ได้ ไม่เพียงแต่เหตุการณ์เหล่านี้เป็นเหตุการณ์ที่ใช้ระยะเวลานาน แต่ยังจะมีช่วงเวลาที่ซ้อนทับกันอีกด้วยดังนั้นมันจึงไม่มีวิธีที่ระบุุถึงค่า attribute ที่ correlations(ความสัมพันธ์) กับเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งหรือเหตุการณ์อื่นๆ พวกเราจึงทำได้แต่ระบุถึงช่วงเวลาที่ "ควรจะ" ใช้ในการอ้างอิงถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ทำให้สามารถใช้การแสดงผลในทางสถิติได้ กราฟข้างล่างแสดงถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและกรีซ ในระหว่างวันที่ 17-19 และผลลัพธ์ก็แสดงให้เห็นว่าในช่วงเวลาท้ายๆ นั้นไม่ค่อยมีผลกระทบเท่าไหร่ กราฟ deviation ที่แสดงผลในช่วงเวลา 3 วันนี้จึงเป็นที่น่าสังเกต มีสองแนวโน้มที่ส่งผลรุนแรงอันนึงเป็นไปในทางบวกและอีกอันไปในทางลบ, ซึ่งมันจะหักล้างกันเองจึงส่งผลให้ค่าในตอนท้ายๆ มีค่า deviation เข้าใกล้ศูนย์

    [​IMG]

    มันเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องจำไว้ว่าพวกเรามีแค่ผลทางสถิติเป็นจำนวนเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้นจึงเป็นการแยกที่จะแยกสัญญาณออกจาก noise นี่จึงหมายความว่าในทุกๆ "success" อาจจะเกิดจากโอกาส(ตรงนี้แปลงงๆ อาจจะแปลผิดก็ได้), และทุกๆ "null"(ค่าว่าง) อาจจะเป็นค่าจริงที่ถูกกลบโดย noise ก็ได้ ในระยะยาวผลกระทบที่แท้จริงสามารถถูกระบุโดยการวิเคราะห์ที่คล้ายๆ กันจากการเกิดขึ้นที่ซ้ำๆ กันของค่าผลลัพธ์ที่ได้
    <hr>
    ที่มา Flooding in Thailand and Crisis in Greece
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ตุลาคม 2016

แชร์หน้านี้

Loading...