โควิด-19 ไม่เข้าใครออกใคร อย่าได้ประมาท

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 26 มีนาคม 2020.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    การได้เกิดมาเป็นมนุษย์ซึ่งเป็นสุคติภูมิในชาตินี้เป็นเพราะการกระทำความดี(กุศลกรรม) มาแต่ในอดีตชาติ จึงก่อให้เกิดผลของกรรมดี(กุศลวิบาก)ในปัจจุบันชาตินับเป็นบุญที่ได้เกิดมาในประเทศที่เหมาะสมซึ่งเป็นดินแดนแห่งพระพุทธศาสนาและยังได้นับถือพระพุทธ

    ศาสนาอีกด้วย สิ่งที่ประเสริฐที่สุดของชาวพุทธคือการได้ฟังพระธรรมซึ่งเป็นคำสอนของพระบรมศาสดาพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นการละความไม่รู้(อวิชชา)และมีการสะสมความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องจนนำไปสู่ความเห็นถูก(สัมมาทิฏฐิ)ปัญญาจากการฟังพระธรรม มี 3 ระดับ เป็นไปตามลำดับขั้น ได้แก่ ปัญญาที่เกิดจากการฟังธรรม(สุตตมยปัญญา) ปัญญาที่เกิดจากการพิจารณา(จินตมยปัญญา)และปัญญาที่เกิดจากการอบรมตามสภาวธรรม (ภาวนามยปัญญา)โดยทั่วไปแล้วชาวพุทธมีการฟังธรรมตามกาลอยู่บ้าง

    หากมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องตามกำลังของปัญญาก็จะเป็นผู้เห็นโทษของการกระทำความชั่ว(อกุศลกรรม) และเห็นประโยชน์ของการกระทำความดี (กุศลกรรม) มีความละอายชั่วกลัวบาปมีการให้ทาน เว้นจากการทุจริตทางกายและวาจาจึงเป็นผู้มีการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างเป็นปรกติสุขตามอัตภาพของแต่ละบุคคลเป็นผู้ประมาทในการดำเนินชีวิต เมื่อถึงแก่กรรมแล้วย่อมไปเกิดในภพภูมิที่ดี (สุคติภูมิ) ส่วนชาวพุทธที่มีความเห็นผิด( มิจฉาทิฏฐิ) ย่อมไปเกิดในภพภูมิที่มีความยากลำบาก(ทุคติภูมิ)


    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท มีใจความว่า ความไม่ประมาทเป็นเครื่องถึงอมตะความประมาท เป็นทางแห่งมัจจุ ผู้ไม่ประมาทแล้ว ชื่อว่า ย่อมไม่ตาย ผู้ใดประมาทแล้ว ผู้นั้นย่อมเป็นเหมือนคนตายแล้ว; บัณฑิตรู้ความนั่นโดยแปลกกันแล้ว ตั้งอยู่ในความไม่ประมาทบันเทิงอยู่ในความไม่ประมาท ยินดีในธรรมเป็นที่โคจรของพระอริยะทั้งหลายบัณฑิตผู้ไม่ประมาทเหล่านั้น มีความเพ่ง มีความเพียรเป็นไปติดต่อ บากบั่นมั่นเป็นนิตย์ เป็นนักปราชญ์ย่อมถูกต้องพระนิพพาน อันเป็นแดนเกษมจาก โยคะอันยอดเยี่ยม

    2808b-e0b984e0b8a1e0b988e0b980e0b882e0b989e0b8b2e0b983e0b884e0b8a3e0b8ade0b8ade0b881e0b983e0b884.jpg

    เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 63 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ประทานพระคติธรรมแก่พุทธศาสนิกชนเพื่อเป็นกำลังใจในสภาวการณ์ที่ไวรัส โคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019 กำลังแพร่ระบาดขยายวงกว้างอย่างรวดเร็ว ความตอนหนึ่งว่า “ไม่มีชีวิตใดประสบแต่ความเกษมสุขปราศจากทุกข์ภัยไปได้ตลอด เมื่อเกิดมาแล้ว จึงจำเป็นต้องขวนขวายสั่งสม ‘สติ’ และ ‘ปัญญา’ สำหรับเป็นอุปกรณ์บำบัดความทุกข์อยู่ทุกเมื่อเพื่อให้สมกับที่ดำรงอัตภาพแห่งมนุษย์ผู้มีศักยภาพต่อการพัฒนาท่ามกลางสถานการณ์โรคระบาดซึ่งก่อให้เกิดความหวาดหวั่นครั่นคร้ามกันทั่วหน้าทุกคนมีหน้าที่แสวงหาหนทางเพิ่มพูน ‘สติ’ และ ‘ปัญญา’ พร้อมทั้งแบ่งปันหยิบยื่นให้แก่เพื่อนร่วมสังคมอย่าปล่อยให้ความกลัวภัยและความหดหู่ท้อถอย คุกคามเข้าบั่นทอนความเข้มแข็งของจิตใจในอันที่จะอดทน พากเพียร เสียสละ และสามัคคี

    มีธรรมภาษิตบทหนึ่งในพระพุทธศาสนา พึงน้อมนำมาเตือนใจในยามนี้ ว่า “เมื่อถึงยามคับขันประชาชนต้องการผู้กล้าหาญ, เมื่อถึงคราวปรึกษางาน ต้องการผู้ที่ไม่พูดพล่าม, ยามมีข้าวน้ำ ต้องการผู้เป็นที่รัก, ยามเกิดปัญหา ต้องการบัณฑิต’ ขอทุกท่านจงเป็น ‘ผู้กล้าหาญ’ ที่จะละความดื้อด้านเห็นแก่ตัว ความเคยตัว และความไม่ระมัดระวังตัว ขอจงเป็น ‘ผู้ที่ไม่พูดพล่าม’ โดยปราศจากสาระ ก่อความร้าวฉานชิงชัง ในยามที่สังคมต้องการสาระ คำปรึกษาหารือ และกำลังใจแต่จงประพฤติตนเป็น ‘บัณฑิต’ ผู้รู้รักษากายใจของตัวให้ปลอดจากโรคกายโรคใจ เป็นผู้ฉลาดศึกษาค้นคว้า วางแผน ชี้แนะ และลงมือทำ

    ทั้งนี้ ถ้าแต่ละคนแม้เพียงตั้งจิตไว้ในธรรมฝ่ายสุจริต ไม่ถลำลงสู่ความคิดชั่วอันนำไปสู่การพูดชั่วและทำชั่วซ้ำเติม ก็นับว่าได้ช่วยบรรเทาปัญหาของโลกแล้วและยิ่งหากท่านมีดวงจิตผ่องแผ้วด้วยเมตตาการุณยธรรมนำความปรารถนาดีเผื่อแผ่ไปสู่ทุกชีวิตอย่างเสมอหน้า ความทุกข์ยากที่เราทั้งหลายต่างเผชิญย่อมจะคลี่คลายได้ในไม่ช้า…”

    08b-e0b984e0b8a1e0b988e0b980e0b882e0b989e0b8b2e0b983e0b884e0b8a3e0b8ade0b8ade0b881e0b983e0b884-1.jpg


    เมื่อวันที่ 24 มี.ค.63 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 เพื่อควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยจะเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค. – 30 เม.ย.. 63 เป็นระยะเวลา 1 เดือน ต่อมาเมื่อวันที่ 25 มี.ค.63 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม แถลงการณ์ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยถึงการตั้งศูนย์อำนวยการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินโควิด-19 โดยมีตนเองเป็นอำนวยศูนย์ฯ และมีปลัดกระทรวงต่างๆ ร่วมเป็นกรรมการศูนย์ฯ ทำงานร่วมกับททารและตำรวจซึ่งเป็นฝ่ายความมั่นคงในการปฏิบัติภารกิจให้ลุล่วงเพื่อความปลอดภัยของประชาชนและความมั่นคงของประเทศชาติ ทำงานร่วมกันในเชิงบูรณาการในทุกมิติอย่างเป็นเอกภาพและมีประสิทธิภาพและในวันเดียวกันมีการประกาศข้อปฏิบัติ 16 ข้อ แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ ห้ามทำ ให้ทำ และควรทำ


    สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในเช้านี้ วันที่ 26 มี.ค. 63 มีรายงานล่าสุดว่าทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อราว 463, 000 ราย เสียชีวิตราว 21,000 ราย ใน 196 ประเทศและเขตปกครอง ในขณะนี้ประชากรทั่วโลกราว 3,000 ล้านคนต้องกักตนอยู่กับบ้านเพื่อความปลอดภัยและเป็นไปตามมาตรการของแต่ละประเทศ ส่วนประเทศไทย เมื่อวานนี้มีรายงานผู้ติดเชื้อ 934 ราย เสียชีวิต 4 ราย รักษาหาย 70 ราย

    อยู่ระหว่างการรักษา 860 ราย

    08b-e0b984e0b8a1e0b988e0b980e0b882e0b989e0b8b2e0b983e0b884e0b8a3e0b8ade0b8ade0b881e0b983e0b884-2.jpg

    อย่างไรก็ดีใคร่ขอนำทัศนะและมุมมองของ นางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ซึ่งเป็นผู้นำประเทศมาต่อเนื่อง 4 สมัยนับตั้งแต่ปีค.ศ.2005 (พ.ศ.2548) และเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรป(European Union - EU) และมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก กล่าวถึงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในเยอรมนีเป็นครั้งแรกไว้อย่างน่าสนใจ เมื่อวันที่ 11 มี.ค. 63 ว่า ชาวเยอรมนีมากถึงร้อยละ 70 ของประชากรหรือราว 58 ล้านคน อาจจะติดเชื้อไวรัสโคโรนา ในขณะที่ยังไม่มียารักษา
    สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญในตอนนี้ก็คือการชะลอการระบาดให้ช้าลง โดยเป็นการซื้อเวลา

    ต่อมาเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 63 นายกรัฐมนตรีเยอรมนี แถลงผ่านสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ มีสาระสำคัญว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 มีความรุนแรงมากขึ้น ขอให้ประชาชนทุกคน “จริงจังกับเรื่องนี้” โดยให้ทัศนะว่านับตั้งแต่ผ่านพ้นสงครามโลกครั้งที่สอง
    เยอรมนีไม่เคยเผชิญกับวิกฤติด้านสาธารณสุขในระดับเลวร้ายถึงเพียงนี้มาก่อน สถานการณ์ที่เป็นอยู่ “มีความท้าทาย” แต่ในเวลาเดียวกันความสามัคคีและความร่วมมือจากทุกภาคส่วนรวมถึงชาวเยอรมันทุกคน “เป็นสิ่งสำคัญ” อีกทั้งยังย้ำว่า จิตสำนึกของประชาชนทุกคนในช่วงเวลาไม่ปกติเช่นนี้ “สำคัญอย่างยิ่ง” โดยขอให้ทำตามหน้าที่ของตัวเองด้วยความรับผิดชอบ ประชาชนต้องไม่กักตุนสินค้า “อย่างตื่นตระหนก” และยืนยันว่าขณะนี้รัฐบาลทำทุกอย่างที่เหมาะสมและจำเป็นในเขตอำนาจ เพื่อนำพาบ้านเมืองให้พ่านผ้นช่วงเวลาที่ยากลำบาก และ “เป็นบททดสอบ” ของทุกฝ่ายได้


    …………………………
    คอลัมน์ : ว่ายทวนน้ำ
    โดย “ทวีศักดิ์ อุ่นจิตติกุล”
    ขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก : @dwnews , Pixabay ขอขอบคุณที่มา
    https://www.dailynews.co.th/article/764851
     

แชร์หน้านี้

Loading...