โน้ตธรรมะ : พระอาจารย์ทูล ขิปปปญโญ

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย วิปัศย์, 6 ตุลาคม 2012.

  1. วิปัศย์

    วิปัศย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    178
    ค่าพลัง:
    +1,443
    [​IMG]


    <TABLE class=Table_Yellow width="100%"><TBODY><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_PaleGreen vAlign=top>1.
    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_PaleGreen vAlign=top>การพิจารณาที่สำคัญคือต้องทำใจได้ เพราะถึงแม้จะพิจารณาถูกต้องตามเป็นจริงแต่ทำใจไม่ได้ก็ไม่มีประโยชน์
    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_Yellow vAlign=top>2.
    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_Yellow vAlign=top>เอาธรรมะ (ความจริง) มาหลอกใจ เมื่อใจเชื่อก็จริงไปเลย ดีกว่าเอาตัณหามาหลอก
    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_PaleGreen vAlign=top align=middle>3.
    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_PaleGreen vAlign=top>วิปัสสนาแปลว่าปัญญา เหมือนรับประทานกับค่าว่ากิน ความหมายเดียวกันแต่ความสละสลวยต่างกัน ปัญญาแปลว่าความคิด
    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_Yellow vAlign=top>4.
    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_Yellow vAlign=top>ถ้าความคิดใดเป็นไปตามคำสอนของพระพุทธเจ้า คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เราก็เรียกว่า วิปัสสนา ถ้าความคิดเป็นไปตามรูปเสียงกลิ่นรส ก็เรียกว่าเป็นไปตามกระแสโลก
    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_PaleGreen vAlign=top align=middle>5.
    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_PaleGreen vAlign=top>ทุกวันนี้ไม่มีใครเจริญวิปัสสนาเพราะว่า รู้แล้ว รู้ได้อย่างไร รู้จากตำรา อยากรู้อะไรก็ไปอ่านเอา เพราะฉะนั้นจึงมีแต่ความรู้ ความรู้เอาไปละกิเลสไม่ได้ คนเราไปเอาตำรามาพูดกันก็ถูกแต่เป็นปริยัติ รู้ตามปริยัติ การปฏิบัติจึงไม่ก้าวหน้า
    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_Yellow vAlign=top>6.
    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_Yellow vAlign=top>ตำราใครก็เขียนขึ้นมาได้ จึงเอาเป็นพยานไม่ได้ ต้องเอาตัวบุคคลมาเป็นพยาน ตั้งแต่ครั้งพุทธกาลเป็นต้นมาไม่มีผู้ใดเลยที่จะสามารถทำจิตให้สงบแล้วปัญญาจะเกิดขึ้นเองได้
    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_PaleGreen vAlign=top>7.
    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_PaleGreen vAlign=top>อภิธรรมเกิดขึ้นในพรรษาที่ ๗ ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่มี พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้สอน ทั้งที่มีพระสาวกสำเร็จมรรคผลมากมาย โดยพระพุทธเจ้าไม่ได้สอนพระอภิธรรมเลย พระพุทธเจ้าสอนมรรคแปด เป็นต้น เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาที่ดาวดึงส์ เพื่อโปรดพระพุทธมารดา จึงได้แสดงพระอภิธรรมให้เหล่าเทวดาฟัง หลังจากพระองค์เสด็จกลับลงมา ก็ไม่ได้แสดงให้พระอานนท์ฟัง ทั้งที่พระอานนท์ขอพรไว้ว่า ไม่ว่าพระองค์จะแสดงธรรมอะไร ถ้าหากว่าพระอานนท์ไม่ได้ฟังด้วย ขอให้แสดงให้พระอานนท์ฟังในภายหลัง แต่เพราะพระอานนท์มีภูมิธรรมโสดาบันไม่สามารถเข้าใจพระอภิธรรมได้ พระพุทธองค์จึงไม่แสดงให้ฟัง เพราะไม่มีประโยชน์ มีเพียงพระสารีบุตรองค์เดียวเท่านั้นที่มีภูมิธรรมสูงพอที่จะรับฟังได้ พระพุทธเจ้าจึงแสดงให้พระสารีบุตรฟังเท่านั้น
    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_Yellow vAlign=top>8.
    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_Yellow vAlign=top>การฝึกคิดต้องสร้างเรื่องขึ้นมาเหมือนแต่งนิยาย เช่น เรื่องอนิจจัง
    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_PaleGreen vAlign=top>9.
    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_PaleGreen vAlign=top>คิดทางโลกทำไมจึงคิดได้ดีนัก คิดทางธรรมทำไมไม่ทำ ไม่ฝึก ไม่ปรุงแต่งทางธรรมะ
    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_Yellow vAlign=top>10.
    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_Yellow vAlign=top>ทำใจไม่ให้ห่วงของสิ่งใด จะได้ไม่มาเกิดกับของสิ่งนั้น
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. วิปัศย์

    วิปัศย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    178
    ค่าพลัง:
    +1,443
    <TABLE class=Table_Yellow width="100%"><TBODY><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_PaleGreen vAlign=top>11.
    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_PaleGreen vAlign=top>รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เป็นแม่เหล็กใหญ่ของโลก จะดึงให้มาเกิดอีก ตัวแก้คือปัญญา อยู่กับโลกแต่ไม่ติดกับสิ่งเหล่านี้
    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_Yellow vAlign=top>12.
    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_Yellow vAlign=top>เรามาเกิดก็เพื่อมาสร้างบารมี ให้สมกับมาสร้างบารมี เราจะไม่ผูกพันสิ่งใด ใดในโลก ไม่ยึดติดกับของสิ่งใด
    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_PaleGreen vAlign=top>13.
    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_PaleGreen vAlign=top>ความคิดจะเป็นเข็มทิศให้กับใจตัวเอง เมื่อเราคิดทางไหนบ่อย ๆ ใจก็จะไปทางนั้น ถ้าคิดเรื่องโลกบ่อย ๆ ใจก็จะไปทางโลก
    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_Yellow vAlign=top>14.
    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_Yellow vAlign=top>ถึงของสิ่งนี้เป็นของเราก็จริง ให้เป็นเพียงสมมุติว่าเป็นของเรา อีกสักวันหนึ่งก็ไม่เป็นของเรา
    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_PaleGreen vAlign=top>15.
    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_PaleGreen vAlign=top>การทำสมาธิอย่าหวังเอาความสงบ ถ้าสงบก็อย่าหลงความสงบ เมื่อจิตถอนจากความสงบก็คิดต่อ อย่าห่วงความสงบ อย่าหลงความสงบ ทำสมาธิเพียงให้เกิดความตั้งใจมั่น
    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_Yellow vAlign=top>16.
    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_Yellow vAlign=top>กุศลและบุญเป็นวัฏฏะ เกิดจากตัณหา กุศลและบุญมีส่วนดีเวลาตายไปจะได้ไปเกิดที่ดีพ้นทุกข์ได้บ้างแล้วก็เสื่อมได้
    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_PaleGreen vAlign=top>17.
    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_PaleGreen vAlign=top>ทำบุญกุศลก็อย่าติด เพราะหมดได้ต้องหาต่ออีก
    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_Yellow vAlign=top>18.
    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_Yellow vAlign=top>ถ้ายังหลงบุญอยู่ก็เกิดอีก เกิดดีพอควร ก็หลงอีก ทำบุญก็เอาหน้าเอาตาเฉย เฉย จึงได้บุญน้อยมาก ชาติหน้าเกิดมาหาขอทานต่อ
    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_PaleGreen vAlign=top>19.
    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_PaleGreen vAlign=top>การภาวนาปฏิบัติต้องอย่าหลงสิ่งใด ๆ ในโลกนี้
    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_Yellow vAlign=top>20.
    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_Yellow vAlign=top>พระพุทธศาสนาไม่มีการเพ่งลูกแก้ว แต่มีการเพ่งกำหนดรู้ความจริง ความจริงของร่างกายเรา คือเอากายเป็นนิมิต คนเราร่างกายไม่มีลูกแก้วมีแต่ธาตุ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. วิปัศย์

    วิปัศย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    178
    ค่าพลัง:
    +1,443
    <TABLE class=Table_Yellow width="100%"><TBODY><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_PaleGreen vAlign=top>21.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_PaleGreen vAlign=top>ความเห็นผิดเหล่านี้ที่ขัดแย้งกันว่านิพพานเป็นอย่างไร ไม่สำคัญ ที่สำคัญอยู่ที่แนวทางปฏิบัติ ต้องปฏิบัติในแนวทางที่ถูกต้องเป็นสำคัญ เหมือนต้นไม้มีผล คนกลุ่มหนึ่งได้กินผลไม้ คนที่ปลูกต่อมาอีกกลุ่มหนึ่ง ก็เถียงกันว่ารสชาดของผลไม้นี้เป็นอย่างไร เมื่อปลูกและดูแลรักษาจนออกผล คนกลุ่มนี้ได้กิน เมื่อได้กินแล้วจะไม่เถียงกันเกี่ยวกับรสชาดของมัน

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_Yellow vAlign=top>22.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_Yellow vAlign=top>สำคัญต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามแนวทางที่พระพุทธเจ้าวางไว้ เมื่อบรรลุมรรคผลจะรู้เองไม่ต้องถามใคร เพราะฉะนั้นพระอริยเจ้าท่านจะไม่เถียงกัน เหมือนเอาน้ำตาลทรายมาวางไว้ให้กิน คนกินจะไม่ถามกันเองว่ารสชาดเปรี้ยวไหม รสชาดเป็นอย่างไร คนที่ถามคือคนที่ยังไม่ได้กิน

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_PaleGreen vAlign=top>23.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_PaleGreen vAlign=top>การศึกษาสำคัญที่ ปริยัติ ปฏิบัติและปฏิเวธ ถ้าเข้าใจปริยัติถูก การปฏิบัติก็ถูกตามไปด้วย เมื่อปฏิบัติถูกก็ได้รับผลเป็นปฏิเวธ

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_Yellow vAlign=top>24.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_Yellow vAlign=top>ถ้ามีความเป็นมิจฉามากกว่าสัมมา จะทำอะไรไม่ได้เลย ต้องสัมมามากกว่ามิจฉาจึงจะไปกันได้

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_PaleGreen vAlign=top>25.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_PaleGreen vAlign=top>ความเห็นที่ว่าทำสมาธิแล้วปัญญาจะเกิด นี่ก็ผิดแล้ว ผิดเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่ใช่ผิดธรรมดา คำพูดนี้เป็นต้นทางของการปฏิบัติ เมื่อเดินทางผิดการปฏิบัติก็ผิดตามไปหมด เป็นมิจฉาในภาคปริยัติ เมื่อเกิดมิจฉาในภาคปริยัติ ก็เป็นมิจฉาในภาคปฏิบัติ หมดสิทธิ์ไปเลยคือความเห็นไม่ตรงต่อความเป็นจริงในภาคปริยัติ

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_Yellow vAlign=top>26.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_Yellow vAlign=top>สมัยก่อน ๆ คนไม่มีความรู้มากขนาดนี้ ก็เป็นพระอริยเจ้ากันได้มากมาย พระพุทธเจ้าสอนประโยคสองประโยค ท่านเอาไปปฏิบัติ สมัยนี้รู้มาก ลังเลมาก เรียกว่ารู้มากยากนาน เหมือนอาหารมากเครื่องปรุงมากกลับไม่อร่อยเพราะเครื่องปรุงไม่สมบูรณ์แบบ

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_PaleGreen vAlign=top>27.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_PaleGreen vAlign=top>คนเราที่ว่าเป็นอัตตา ๆ ลองแยกดูซิ แยกผม แยกขน แยกเล็บ แยกฟัน แยกหนัง แยกดูซิว่าส่วนไหนเป็นอัตตา มันไม่มี มันหมดสภาพอัตตา เรียกว่าอนัตตา คือการแยกรูป

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_Yellow vAlign=top>28.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_Yellow vAlign=top>แยกนาม คือแยกอารมณ์ของใจ แยกเวทนา แยกสัญญา แยกสังขาร แยกวิญญาณ มันละเอียดอ่อนถี่ยิบ ปัญญาธรรมดาแยกไม่ได้

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_PaleGreen vAlign=top>29.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_PaleGreen vAlign=top>อารมณ์ของใจมันสัมพันธ์กับรูปภายนอก มีรูป เสียง กลิ่น รส สัญญาความจำ จำอะไรบ้าง แยกดูซิ ขันธ์ทั้ง ๕ สัมพันธ์กันหมด ถ้าปัญญาดีจะโยงรูปกับนามได้ ถ้าปัญญาไม่ดีอย่าโยงไป แยกรูปหยาบ ๆ ให้ชำนาญก่อน

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_Yellow vAlign=top>30.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_Yellow vAlign=top>เมื่อตั้งนาม เวทนาตัวเดียวมีความสัมพันธ์กับสัญญาอย่างไรบ้าง มีความสัมพันธ์กับสังขารอย่างไรบ้าง มีความสัมพันธ์กับวิญญาณอย่างไรบ้าง สัญญามีความสัมพันธ์กับสังขารอย่างไรบ้าง มีความสัมพันธ์กับวิญญาณอย่างไรบ้าง หรือสังขาร ตั้งสังขารแล้วพิจารณาเชื่องโยงกันกับขันธ์ทั้ง ๕ อย่างไร ถ้าไม่มีปัญญาจะไม่รู้เรื่องเลย การโยงอย่างนี้ได้ต้องภูมิธรรมพระอรหันต์

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ตุลาคม 2012
  4. วิปัศย์

    วิปัศย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    178
    ค่าพลัง:
    +1,443
    <TABLE class=Table_Yellow width="100%"><TBODY><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_PaleGreen vAlign=top>31.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_PaleGreen vAlign=top>เพ่งให้เห็นความจริงในกาย มีธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ที่มีการเปลี่ยนแปลงไป ให้พิจารณาในส่วนนี้จนเป็นนิพพิทาความเบื่อหน่าย การเพ่งคือเพ่งเพื่อพิจารณา

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_Yellow vAlign=top>32.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_Yellow vAlign=top>พิจารณาแยกแยะคือพิจารณาธาตุของร่างกายเราแยกเป็นธาตุ ๔ โดยสมมุติ มีการเน่าเปื่อย มีแต่ของสกปรก

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_PaleGreen vAlign=top>33.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_PaleGreen vAlign=top>การเพ่งต้องกำหนดด้วยใจ โดยเอาตาเนื้อจำไว้ก่อน เช่น จำลักษณะของผมเป็นอย่างไร มีสีอย่างไร จำมาเป็นสมมุติเพื่อให้จิตอยู่กับการเพ่ง

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_Yellow vAlign=top>34.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_Yellow vAlign=top>การเพ่งต้องไม่แส่ส่ายไปที่อื่นเหมือนเราตั้งใจเขียนหนังสือ

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_PaleGreen vAlign=top>35.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_PaleGreen vAlign=top>ตนในตัวเรามี ๒ ตน คือ ตนในรูปและตนในนาม ฝึกแยกตนในรูปก่อนจนเคยชินจึงฝึกแยกตนในนาม

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_Yellow vAlign=top>36.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_Yellow vAlign=top>เมื่อเกิดความเข้าใจแล้วเรามองตนไม่มีสาระอะไรเลย เมื่อตนไม่มีสาระแล้ว ความรักความกำหนัดจะไม่มี

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_PaleGreen vAlign=top>37.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_PaleGreen vAlign=top>ตั้งเข็มทิศในการปฏิบัติให้ตรงก่อนนั้นคือทางไปนิพพาน

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_Yellow vAlign=top>38.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_Yellow vAlign=top>เราหลงตนก่อนจึงทำให้หลงคนอื่นได้ ถ้าเราไม่มี เขาจะมีได้อย่างไร คำว่าเราและเขาก็เหมือนกัน ต้องเริ่มจากเราก่อน

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_PaleGreen vAlign=top>39.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_PaleGreen vAlign=top>ร่างกายของเรามีส่วนไหนบ้างที่หอมที่สุดในโลก - ไม่มีเลย มีแต่ของสกปรกทั้งนั้น เมื่อสกปรกกลิ่นไอสกปรกทั้งหลายก็ออกมา เมื่อพิจารณาบ่อย ๆ เอาความคิดเป็นตัวเบิกทาง เหมือนตาเราเห็นก่อนเป็นตัวเบิกทางจึงรู้ ปัญญาก็เหมือนกันเป็นตัวเบิกทางให้เห็นก่อนรู้

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_Yellow vAlign=top>40.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_Yellow vAlign=top>คำว่าเห็นคือเห็นโดยสมมุติก่อน คือคาดการณ์แต่คาดการณ์ถูกกับความเป็นจริง

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ตุลาคม 2012
  5. วิปัศย์

    วิปัศย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    178
    ค่าพลัง:
    +1,443
    <TABLE class=Table_Yellow width="100%"><TBODY><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_PaleGreen vAlign=top>41.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_PaleGreen vAlign=top>ถ้าตายแล้วก็แล้วกันไป ถ้ายังไม่ตายเมื่อตื่นนอนทุกเช้าก็ทำใจไว้ว่า วันนี้กับวันที่ผ่านมาแล้วแต่ละวัน ๆ จะไม่เหมือนกัน วันนี้เราจะเจอเหตุการณ์อะไรอีก ไม่มีความแน่นอนอะไรเลย เราต้องเตรียมตัวเอาไว้อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด นี่นักปฏิบัติต้องทำอย่างนี้

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_Yellow vAlign=top>42.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_Yellow vAlign=top>ชาตินี้เกิดมาต้องตายแน่ ไม่เป็นไรเกิดใหม่ได้ เมื่อเกิดมาแล้วก็ต้องตายอีก ตายแล้วก็เกิดอีก ที่สำคัญจะทำอย่างไรไม่ให้เกิดอีกในชาติหน้า เกิดในอดีตก็ตายในอดีต เกิดในอนาคตก็ตายในอนาคต ทุกข์ก็เหมือนกัน เกิดในอดีตก็ทุกข์ในอดีต เกิดในอนาคตก็ทุกข์ในอนาคต

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_PaleGreen vAlign=top>43.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_PaleGreen vAlign=top>ต้องสอนใจตัวเองให้มาก ไม่ให้ยึดมั่นในสิ่งใดในโลก หลักใหญ่คือโมหะ อวิชชา ความหลง ความหลงคืออะไร คือไม่รู้จริงตามความเป็นจริง ถ้ารู้จริงตามความเป็นจริง ไม่ยึดมั่นถือมั่นก็จะไม่เกิด ที่เกิดเพราะความหลงนั่นเอง

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_Yellow vAlign=top>44.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_Yellow vAlign=top>เมื่อก่อนเราก็หลงเหมือนเขานั่นแหละ เมื่อเราไม่หลงมามองดูคนอื่นเขาก็หลงอยู่เหมือนเราในอดีต พอเราไปบอกเขา เขาก็ไม่เชื่อเพราะเขายังหลงอยู่ เหมือนอยู่ในคูถ บอกว่าอย่าไปกิน อย่าไปกินก็ไม่เชื่อ ก็ยังกินเพราะคิดว่าเป็นของดี

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_PaleGreen vAlign=top>45.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_PaleGreen vAlign=top>พิจารณาพุทโธ พิจารณาลมหายใจเข้าออก หายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้ พิจารณากาย ลักษณะเหล่านี้จริง ๆ เป็นการกำหนดรู้ พิจารณาไม่ได้

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_Yellow vAlign=top>46.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_Yellow vAlign=top>ต้องเข้าใจคำว่าพิจารณาก่อนว่าหมายถึงอะไร คำว่ากำหนดรู้แปลว่าอะไร

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_PaleGreen vAlign=top>47.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_PaleGreen vAlign=top>การพิจารณาลมหายใจเข้าออก อันนี้ไม่ใช่พิจารณา เป็นการกำหนดรู้ เป็นสมถะธรรมดา ๆ ทั่ว ๆ ไป

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_Yellow vAlign=top>48.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_Yellow vAlign=top>นิพพานไม่ใช่อัตตาและไม่ใช่อนัตตาด้วย เพราะเหนือคำที่จะสมมุติพูดได้ในโลกนี้

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_PaleGreen vAlign=top>49.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_PaleGreen vAlign=top>สิ่งใดมีอัตตา สิ่งนั้นมีอนัตตา อนัตตามีอยู่ใน ๓ ภพนี้ มีกามภพ รูปภพและอรูปภพ เท่านั้นเอง

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_Yellow vAlign=top>50.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_Yellow vAlign=top>นิพพานไม่มีสมมุติพูดกัน สูญสภาพไปไม่เหมือนนามที่มาเกิดใหม่ได้

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ตุลาคม 2012
  6. วิปัศย์

    วิปัศย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    178
    ค่าพลัง:
    +1,443
    <TABLE class=Table_Yellow width="100%"><TBODY><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_PaleGreen vAlign=top>51.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_PaleGreen vAlign=top>เขียนหนังสือโดยไม่มีที่รองรับ เขียนแล้วไม่มีตัวอักษรปรากฏให้เห็น เหมือนการเพ่งโดยไม่มีสมมุติที่เป็นจริงมารองรับ

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_Yellow vAlign=top>52.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_Yellow vAlign=top>การคิดเป็นตัวเบิกใจ ให้ใจเห็นความจริง ตัวอวิชชาความมืดบอดของใจเป็นตัวปิดบังใจ

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_PaleGreen vAlign=top>53.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_PaleGreen vAlign=top>เอาปัญญาซึ่งเป็นตาของใจ มาเบิกทางให้ใจเห็นความจริง ปัญญาทำให้แจ้งเหมือนตาทำให้มองเห็น

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_Yellow vAlign=top>54.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_Yellow vAlign=top>เราทำใจไว้ว่า ถ้าเราสัมผัสของสิ่งใด เราจะไม่ยึดติดของสิ่งนั้น

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_PaleGreen vAlign=top>55.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_PaleGreen vAlign=top>ความอยากคนเรามีอยู่ แต่ต้องอยากให้พอเหมาะ เลือกอยากให้เป็น ถ้าอยากทางธรรมต้องอยากให้มาก เช่นอยากทำบุญ อยากรักษาศีล

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_Yellow vAlign=top>56.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_Yellow vAlign=top>ความทุกข์เกิดจากความอยาก ความทุกข์เกิดจากความรัก

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_PaleGreen vAlign=top>57.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_PaleGreen vAlign=top>ความอยากต้องมีปัญญาควบคุมไม่ให้เลยเถิด เช่นความอยากในรถยนต์ รถยนต์จะทำให้เรามีความสุข รถคันนี้จะทำให้เรามีความทุกข์บ้างไหม ความทุกข์ที่เกิดจากรถมีอะไรบ้าง นับดูซิว่ามีเท่าไร พิจารณาอย่างนี้เป็นการใช้ปัญญา (ได้รถมามีความสุข ก็สุขละ สุขเพราะหลง)

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_Yellow vAlign=top>58.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_Yellow vAlign=top>อย่ามองสิ่งเดียวโดด ๆ ต้องมองเป็นคู่กันไป (เช่น ด้านสุข ด้านทุกข์)

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_PaleGreen vAlign=top>59.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_PaleGreen vAlign=top>อย่าหลงความอยากของตัวเอง ให้พิจารณารู้ทันความอยาก คือทำสิ่งใดอย่าหลงสิ่งนั้น

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_Yellow vAlign=top>60.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_Yellow vAlign=top>ถ้ามีสติปัญญาเฉียบขาดจะมองเห็นทุกข์ของโลก มองเห็นโลกเป็นไฟเมื่อมองเห็นอย่างนั้นทำให้ไม่กล้าเข้าไปในไฟนั้น ถ้าเราเห็นเราจะไม่เข้า ที่เข้าไปเพราะเราไม่เห็น

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ตุลาคม 2012
  7. วิปัศย์

    วิปัศย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    178
    ค่าพลัง:
    +1,443
    <TABLE class=Table_Yellow width="100%"><TBODY><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_PaleGreen vAlign=top>61.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_PaleGreen vAlign=top>ใจเราเคยผิดพลาดเรื่องความอยากอย่างนี้บ่อย ๆ เราก็สอนใจเราเรื่องนี้บ่อย ๆ เหมือนพ่อแม่สอนลูกบ่อย ๆ ใจเปรียบเหมือนเด็ก พ่อแม่เปรียบได้กับปัญญา

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_Yellow vAlign=top>62.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_Yellow vAlign=top>การพิจารณาความจริงนี้คือพุทโธ คือรู้จริงตามความเป็นจริง เมื่อรู้จริงใจก็ตื่น ใจไม่ยึดกับของสิ่งใด ใจก็เบิกบาน หมดภาระที่ต้องทำ

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_PaleGreen vAlign=top>63.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_PaleGreen vAlign=top>คำบริกรรมเป็นเพียงเปลือกนอกเหมือนชื่อคนไม่ใช่ตัวเราจริง ๆ เป็นเพียงชื่อ เหมือนกับพูดว่ากินข้าว ๆ ๆ บ่นไปก็ไม่อิ่มแต่ถ้ากินข้าวจะพูดหรือไม่พูดก็อิ่ม

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_Yellow vAlign=top>64.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_Yellow vAlign=top>รู้จริง เห็นจริงตามหลักความเป็นจริงคือตัวพุทโธแท้ ๆ

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_PaleGreen vAlign=top>65.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_PaleGreen vAlign=top>ถ้าเราพิจารณาจนรู้จริงเห็นจริงตามหลักความเป็นจริง เราก็มีพุทโธ

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_Yellow vAlign=top>66.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_Yellow vAlign=top>ถ้าเรารู้จริงเห็นจริงของสิ่งใด เราจะละวางเองในของสิ่งนั้น เหมือนรู้ว่าคนนั้นเป็นโจรเราก็จะไม่ไปเกี่ยวข้องกับคนนั้น

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_PaleGreen vAlign=top>67.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_PaleGreen vAlign=top>การบวชชีพราหมณ์เป็นอุบายเฉย ๆ ถ้าปัญญาไม่มีก็ไม่มีประโยชน์อะไร สมัยพุทธกาลไม่มีชีพราหมณ์ การนุ่งขาวต้องเอาการนุ่งมาพิจารณาเป็นปัญญาให้ได้ คนนุ่งขาวเวลาจะนั่งต้องระวัง ระวังไม่ให้สกปรก ใจเราก็เช่นกันต้องระวังไม่ให้สกปรก

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_Yellow vAlign=top>68.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_Yellow vAlign=top>การดูถ้ามีปัญญาจะเห็นเป็นธรรมะล้วน ๆ แต่ถ้าใจเป็นโลกก็เห็นเป็นโลกทั้งหมด ตัวอย่างเช่นพระสารีบุตรพระโมคคัลลานะออกบวชเพราะการดู

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_PaleGreen vAlign=top>69.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_PaleGreen vAlign=top>การแต่งหน้าถ้าทำเพื่อเข้าสังคม เพื่อให้สังคมยอมรับ ไม่หลง ก็ไม่ผิดศีลแต่อย่างใด ไม่ใช่ทำเพื่อตัวเราเพื่อให้คนมาหลงเรา พระก็ทาหน้าได้ถ้าเป็นการทายารักษา

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_Yellow vAlign=top>70.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_Yellow vAlign=top>ไม่เร็ว ไม่ช้า จะกลัวตายหรือไม่ ไม่สำคัญ ต้องตายกันทุกคน เหมือนเสื้อขาดก็ต้องทิ้งไป

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ตุลาคม 2012
  8. วิปัศย์

    วิปัศย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    178
    ค่าพลัง:
    +1,443
    <TABLE class=Table_Yellow width="100%"><TBODY><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_PaleGreen vAlign=top>71.
    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_PaleGreen vAlign=top>จิตกับใจก็อันเดียวกัน แยกพูดกันเฉย ๆ คือคนเราคนเดียวทำได้หลายอย่าง ถ้านั่งก็ว่าเรานั่ง เราสุขก็ว่าเราเป็นสุข เราทุกข์ก็ว่าเราทุกข์ แยกพูดได้หลายอย่าง บางทีก็พูดว่าจิต บางทีก็พูดว่าใจ
    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_Yellow vAlign=top>72.
    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_Yellow vAlign=top>ใจดวงเดียวมันทำได้หลายอย่าง เหมือนคนคนเดียววางตัวได้หลายอย่าง เช่นเป็นพระเอก เป็นพ่อ ฯลฯ ใจเราที่เป็นไปตามกิเลส กิเลสอย่างหนึ่งใจก็เป็นอย่างหนึ่ง เวลาโกรธขึ้นมาใจเป็นอย่างไร ความรักหายหมด เวลารักโกรธหายหมดเช่นกัน ใจดวงเดียวกันนี้แหละ สมัยพุทธกาลเขาไม่แยกหลอกว่าอะไรจิตอะไรใจ เขารู้อย่างเดียวว่าจะแก้อาการของจิตเวลามีความรักความโกรธได้อย่างไร
    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_PaleGreen vAlign=top>73.
    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_PaleGreen vAlign=top>เราเกิดมาก็คิดเสียว่าเกิดมาดูโลก ดูซิว่าโลกนี้มีอะไรดี มีอะไรที่น่าอยู่บ้าง ไม่มีเลย อยากเกิดอีกไหมกับโลกอันนี้
    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_Yellow vAlign=top>74.
    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_Yellow vAlign=top>หลวงปู่ขาวสอนว่า “ทูล ทำตัวเป็นผ้าขี้ริ้วนะ” ผ้าขี้ริ้ว ใคร ๆ จะทำอะไรกับมันก็ได้ จะเหยียบจะย่ำจะด่าจะว่าก็ได้
    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_PaleGreen vAlign=top>75.
    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_PaleGreen vAlign=top>ตามธรรมดาคนเรามีความคิดแต่คิดไม่เป็น หมายถึงคิดทางธรรมะไม่เป็น เก่งแต่คิดทางโลก ทำไมทางโลกจึงคิดเก่งนักแต่ทำไมไม่คิดทางธรรมกันบ้าง
    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_Yellow vAlign=top>76.
    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_Yellow vAlign=top>ตัวความคิดเป็นตัวสร้างปัญหานานาประการมากมายเหลือเกิน การจะแก้ปัญหาจึงต้องใช้ความคิดตัวมันเองนั่นแหละเพื่อแก้ปัญหาตัวเอง
    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_PaleGreen vAlign=top>77.
    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_PaleGreen vAlign=top>เพราะใจเราดวงเดียวนี้โง่ก็ได้ ฉลาดก็ได้ ทำอย่างไรให้ใจฉลาดก็โดยการฝึก
    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_Yellow vAlign=top>78.
    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_Yellow vAlign=top>ถ้าเรามีปัญญา เราสามารถฝึกใจให้ฉลาดได้
    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_PaleGreen vAlign=top>79.
    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_PaleGreen vAlign=top>ความคิด ความเห็นเป็นของคู่กัน บางอย่างมีความเห็นก่อนความคิด อุบายบางอย่างมีความคิดก่อนความเห็น
    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_Yellow vAlign=top>80.
    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_Yellow vAlign=top>เอาความคิดมาคลายความคิด คลายว่าอะไรเป็นความคิดสัมมา อะไรเป็นความคิดมิจฉา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. วิปัศย์

    วิปัศย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    178
    ค่าพลัง:
    +1,443
    <TABLE class=Table_Yellow width="100%"><TBODY><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_PaleGreen vAlign=top>81.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_PaleGreen vAlign=top>เมื่อมีความเห็นถูกแล้ว แนวความคิดก็จะถูกซึ่งจะนำไปสู่มรรคผลนิพพาน ต้องตั้งตรงนี้ให้ได้ ถ้าตั้งตรงนี้ไม่ได้ก็ทิ้งไปเฉย ๆ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไม่ได้อะไรเลย พระพุทธเจ้าท่านจึงสอนสัมมาทิฏฐิขึ้นก่อน

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_Yellow vAlign=top>82.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_Yellow vAlign=top>การปฏิบัติทางธรรมจริง ๆ ง่ายนิดเดียว แต่เราทำให้ยากเอง เพราะเราไม่มีสูตรปฏิบัติจึงยุ่งไปหมด เหมือนคนไม่มีสูตรคิดเลข ถ้าหากเราทำตามสูตรแล้วไม่ยาก

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_PaleGreen vAlign=top>83.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_PaleGreen vAlign=top>ในครั้งพุทธกาลสอนปัญญาก่อนสมาธิ ซึ่งแตกต่างกับสมัยปัจจุบันนี้

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_Yellow vAlign=top>84.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_Yellow vAlign=top>ตัวสมาธิยิ่งทำยิ่งโง่ ตัวฉลาดทำไมไม่ฝึก ไปสุมหัวกันทำสมาธิ ทำให้โง่ ยิ่งผิด ยิ่งมืด

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_PaleGreen vAlign=top>85.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_PaleGreen vAlign=top>สมัยครั้งพุทธกาลกับสมัยนี้จึงทำกันคนละมุม คือคนละมุมโลกเลย ในศาสนาของพระพุทธเจ้าไม่มีการสอนทำสมาธิเพื่อให้ปัญญาเกิด คนเป็นร้อยเป็นพันพระพุทธเจ้าสอนปัญญาก่อนทั้งนั้น

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_Yellow vAlign=top>86.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_Yellow vAlign=top>ทุกวันนี้ทำกันแบบฤๅษีทั้งนั้น แต่ต้องการละกิเลสจึงทำไม่ได้เพราะมันคนละเรื่องกัน ทำแบบฤๅษีแต่กลับไปอ้างเอาพระพุทธเจ้า

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_PaleGreen vAlign=top>87.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_PaleGreen vAlign=top>เมื่อพิจารณาบ่อย ๆ เข้า จะเป็นสมาธิไปในตัวเรียกว่า ปัญญาอบรมสมาธิ

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_Yellow vAlign=top>88.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_Yellow vAlign=top>สิ่งใดที่เราทำอยู่ก็ดี คิดอยู่ก็ดี พูดอยู่ก็ดี ถ้าเราตั้งใจทำ ตั้งใจคิด ตั้งใจพูด นั่นแหละเรียกว่า สมาธิตั้งใจมั่น

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_PaleGreen vAlign=top>89.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_PaleGreen vAlign=top>หลักภาวนามีอยู่ ๒ หลัก หลักหนึ่งคือฝึกความคิด อีกหลักหนึ่งคือฝึกห้ามความคิด

    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 60px" class=Table_Yellow vAlign=top>90.

    </TD><TD style="WIDTH: 100%" class=Table_Yellow vAlign=top>การภาวนาเป็นเรื่องของจิต ไม่ใช่เรื่องของกาย จึงไม่ผูกขาดว่าจะต้องนั่งเท่านั้น ดังนั้นถ้าไม่หลับจะภาวนาได้ทุกที่

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    http://dharma-gateway.com/monk/monk-main-page.htm
     

แชร์หน้านี้

Loading...