โบราณสถาน บอกได้จากอายุ ยืนยันได้ด้วยหลักฐาน

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 29 มิถุนายน 2007.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,487
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    สถานที่ที่ได้ชื่อว่าโบราณสถาน ล้วนมีคุณค่าและประวัติศาสตร์ทั้งสิ้น ควรค่าแก่การอนุรักษ์ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาและภาคภูมิใจกับโบราณสถานต่าง ๆ ที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์และสั่งสมไว้ให้

    สถานที่แต่ละแห่งที่ได้รับการยกย่องให้เป็นโบราณสถาน จะถูกขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2535) ซึ่งเป็นกฎหมายสำคัญที่กรมศิลปากรใช้ในการอนุรักษ์ ปกป้อง คุ้มครอง และรักษาโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ สมควรที่จะเผยแพร่แก่ประชาชนชาวไทยให้ได้รับความรู้ ความ เข้าใจมากขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ในการร่วมกันดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒน ธรรมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณา จักรไทย พ.ศ. 2540 ได้ระบุไว้

    จากกรณีวัดมังกรกมลาวาส หรือวัดเล่งเน่ยยี่ ถนนเจริญกรุง จะมีการปรับภูมิทัศน์ภายในวัด รวมทั้งจะทำการรื้อถอนพระเจดีย์ แต่ได้รับการคัดค้านจากกลุ่มชาวจีนเชื้อสายไทยว่า เป็นสถานที่บรรจุอัฐิขององค์ชาย 2 แห่งราชวงศ์ชิง ทรงลี้ภัยทางการเมืองเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในสมัยรัชกาลที่ 3 และใช้ชื่อว่า ฉี่หยี่กง จากนั้นรัชกาลที่ 3 ทรงมอบที่ดินให้และบริจาคให้เป็นที่ตั้งบางส่วนของวัด และสร้างเจดีย์ไว้เพื่อให้ลูกหลานได้ระลึกถึง

    ธราพงศ์ ศรีสุชาติ ผอ.สำนัก โบราณคดี กรมศิลปากร อธิบาย ความหมายของคำว่าโบราณสถานให้ฟังว่า ตามมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติ โบราณสถาน หมายความว่า อสังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยอายุหรือโดยลักษณะแห่งการก่อสร้าง หรือโดยหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของอสังหาริมทรัพย์ นั้น เป็นประโยชน์ทางศิลปะ ประวัติศาสตร์หรือโบราณคดี ทั้งนี้ให้รวม ถึงสถานที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี แหล่งประวัติศาสตร์และอุทยานประวัติศาสตร์ด้วย

    ด้านวิชาการตรวจสอบข้อมูลขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้ว จะ อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.ฉบับนี้ ซึ่งครอบคลุมโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนแล้วและโบราณสถานที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน สถานที่ใดได้รับการยกย่องให้เป็นโบราณสถานจะได้รับการประกาศในราชกิจจานุเบกษา และจะมีบางส่วน ที่เป็นโบราณสถานแต่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน ซึ่งทั้งสองลักษณะนี้จะมีความแตกต่างกันในส่วนของบทลงโทษ มาตรา 32 ผู้ใดบุกรุกโบราณสถาน หรือทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งโบราณสถาน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินเจ็ดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

    ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำต่อโบราณสถานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้ว ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

    วรรณนี ภูมิจิตร หัวหน้ากลุ่มทะเบียนโบราณสถานและสารสนเทศ สำนักโบราณคดี กล่าวถึงโครงการ ในการอนุรักษ์ รักษาโบราณสถาน ว่าเมื่อมีการตรวจสอบสถานที่แล้ว ทางกรมจะมีหนังสือแจ้งให้เจ้าของหรือผู้รับผิดชอบดูแลอยู่ทราบ ว่าควรดูแล รักษาอย่างไร จากโครงการต่าง ๆ อาทิ โครงการจัดตั้งอาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม (อส.มศ.) เริ่มเมื่อปี 2532 จัดตั้งจากกลุ่มประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่ ที่มีโบราณสถาน จะเลือกแต่ในเขต จังหวัด อำเภอ ที่มีโบราณสถานตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ประมาณ 30-40 คน มีหน้าที่ช่วยดูแลโบราณสถานเพื่อรักษาโบราณสถานนั้น ๆ ให้คงอยู่

    ในกรณีที่เป็นวัดที่ได้รับการยกย่องให้เป็นโบราณสถาน ต้องอยู่ภายใต้การปฏิบัติตาม พ.ร.บ.กรมศิลปากรมีโครงการ คือ โครงการดูแลทรัพย์สินทางศิลปวัฒนธรรมของชาติของพระสังฆาธิการ เป็นโครงการที่ถวายความ รู้ให้กับพระสังฆาธิการ เริ่มมาตั้งแต่ ปี 2537 โดยการนิมนต์พระสังฆาธิการ ซึ่งก็คือ เจ้าอาวาสของวัดที่เป็นโบราณสถานมาประชุมเพื่อชี้แจงว่า ในเรื่องการดูแลรักษามรดกภายในวัด หากมีการชำรุดเล็กน้อยสามารถซ่อมแซมได้เอง แต่ถ้าเป็นการซ่อมแซมชุดใหญ่ต้องแจ้งให้ทางกรมทราบเพื่อช่วยดูแลทางด้านเทคนิค รูปแบบ

    บางครั้งก็เกิดปัญหาในส่วนของพระสังฆาธิการที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงต้องมีการ ถวายความรู้เป็นระยะ ๆ และในบางครั้งพระสังฆาธิการไม่ได้เดินทางมารับฟังด้วยตนเอง จึงต้องส่งหนังสือไปที่วัดเพื่อให้เจ้าอาวาสทราบ รวมทั้ง โครงการทดลองนำร่องการบริหารจัด การมรดกทางศิลปวัฒนธรรมสู่พื้นที่ตาม พ.ร.บ. เป็นการถ่ายทอดโอนอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้อง ถิ่น ประกอบด้วย อบต. อบจ. และเทศบาล มีการผ่องถ่ายโบราณสถานในระดับหนึ่งให้กลุ่มบุคคลเหล่านี้ดูแล เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542

    สำหรับกรณีของพระเจดีย์ภายในวัดมังกรกมลาวาสนั้น จิราพร เพชรหยอย นักโบราณคดี เล่าให้ฟังว่า อยู่ระหว่างการดำเนินการตรวจสอบข้อมูลว่าเป็นโบราณสถานหรือไม่ ส่วนวัดมังกรกมลาวาสนั้น มีหนังสือแจ้งให้ทางวัดทราบแล้วว่า วัดจัดเป็นโบราณสถานที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน จึงถือว่า พื้นที่ของวัดทั้งหมดเป็นโบราณสถานซึ่งจะดำเนินการใด ๆ ขอให้ประสานกับทางกรมศิลปากรเพื่อควบคุมการก่อสร้าง รูปแบบ ฝีมือช่าง
     

แชร์หน้านี้

Loading...