โปรดส่งข้อมูลเผื่อแผ่คนในพื้นที่แคดเมียมปนเปื้อน

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย อาม, 25 สิงหาคม 2007.

  1. อาม

    อาม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2005
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +314
    โปรดส่งต่อความรู้นี้เพื่อช่วยคนในพื้นที่แคดเมียมปนเปื้อน

    จากเหตุการณ์สารพิษแคดเมียมปนเปื้อนในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ทำให้คนในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อน ก็มีคนไทยบางกลุ่มพยายามหาทางช่วย บทความนี้จึงรวบรวมความรู้บางอย่างที่อาจจะมีส่วนช่วยป้องกันภัยได้บ้าง<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    สำนักน้ำแดง​
    สิงหาคม 2550​
    ต้นไม้ที่บ่งบอกการปนเปื้อนแคดเมียมได้

    ต้นถั่วเหลืองในดินที่มีแคดเมียมปนเปื้อนนั้น โคนใบหรือช่อใบจะมีสีม่วงหรือสีคล้ำ [1-2] (สามารถทดลองจากเมล็ดถั่วเหลืองที่เพิ่งผลิตเก็บไว้ไม่นาน เพราะเปอร์เซ็นต์การงอกยังไม่ลดต่ำ)
    ต้นถั่วแดง (Phaseolus vulgaris cv.) ที่ได้รับแคดเมียมตั้งแต่เพาะเมล็ด งานวิจัยระบุว่า มันจะมีสีเขียวน้อยกว่าปกติ และมีความโค้งงอมากในต้นถั่วแดงที่เพิ่งเริ่มงอก [3]
    ผักบุ้งในดินที่มีแคดเมียมเข้มข้นอย่างน้อย 1 ppm มีอาการใบเหลือง แต่ธาตุโลหะตัวอื่นก็ทำให้เกิดอาการนี้ได้ [4]
    ให้สังเกตโคนใบถั่วเหลือง และสังเกตพืชบางชนิด ซึ่งอาจมีใบม้วนและใบเหลืองเมื่อได้รับแคดเมียม และพวกพืชที่มีดอกสีเหลืองอาจเปลี่ยนไป [5]
    ขจัดแคดเมียมในดินอย่างไร

    ต้นไม้ที่ดูดแคดเมียมได้ดีมาก ควรปลูกเพื่อบำบัดดิน คือ ต้นยาสูบ (Nicotiana tabacum L.) ซึ่งจะดูดไอออนแคดเมียมเข้ามาในใบ แล้วเปลี่ยนรูปเป็นผลึกแคดเมียมคาร์บอเนต (CdCO<SUB>3</SUB>) ซึ่งไม่ละลายน้ำ อยู่ในใบที่แห้งตาย ช่วยให้ค่าแคดเมียมต่ำกว่าค่ามาตรฐานได้ เท่าที่ดูมาค่อนข้างดีกว่าพืชชนิดอื่น ต้นยาสูบต่างจากพืชชนิดอื่นตรงที่ดูดแคดเมียมมาสะสมไว้มากในใบ และถ้าเทียบกับโลหะหนักชนิดอื่น ยาสูบเป็นพืชที่เหมาะสำหรับดูดซับไอออนแคดเมียมโดยเฉพาะ [6-7] <O:p></O:p>
    ดินที่เป็นด่าง (ดินที่มีแคลเซียมคาร์บอเนต แคลเซียมฟอสเฟต) ดูดซับแคดเมียมได้ดี [8]
    แคดเมียมในต้นไม้

    แคดเมียมมักจะสะสมอยู่เฉพาะในรากในหัวของต้นไม้ ยากที่จะถูกส่งขึ้นไปในต้น ดังนั้น พืชที่เป็นหัวหรือราก มีความเสี่ยงมากกว่าที่จะมีแคดเมียมปริมาณสูง
    เคมี

    แคดเมียมเป็นธาตุโลหะ เป็นธาตุที่ไม่จำเป็นต่อร่างกาย ถ้าเข้าสู่ร่างกายเพียงเล็กน้อยอาจสร้างความเสียหายได้ เป็นพิษทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง มีพิษมากแม้ความเข้มข้นน้อย และสะสมในสิ่งมีชีวิต สาเหตุหนึ่งคือ มันเข้าไปรบกวนเกี่ยวกับเอนไซม์ในร่างกายที่ใช้ธาตุสังกะสี แคดเมียมปรากฏในธรรมชาติร่วมกับสังกะสีและบางครั้งกับตะกั่ว แคดเมียมออกมาจากการถลุงสังกะสีหรือถลุงตะกั่ว
    อันตรายจากแคดเมียมมาในรูปสารประกอบของแคดเมียม (Cd<SUP>2+</SUP>) ซึ่งละลายน้ำได้ การปนเปื้อนของแคดเมียมล้วนเกิดจากการกระทำของคนทั้งสิ้น ตำราทางวิทยาศาสตร์และนิเวศวิทยาระบุว่า แคดเมียมในธรรมชาติอยู่ในรูปที่ไม่เป็นภัยต่อสิ่งมีชีวิต สารแคดเมียมที่สร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมนั้น มักถูกแยกออกมาระหว่างการถลุงโลหะสังกะสี
    อาการพิษแคดเมียม

    พิษเริ่มแรก ปวดสะโพก แขนชา (ประคบหรือแช่น้ำร้อนจะหาย) บริเวณฟันที่ติดกับเหงือกจะมีสีเหลือง เรียกว่า วงแหวนแคดเมียม<O:p></O:p>
    พิษต่อมา อาการเจ็บปวดกระดูกอย่างรุนแรง กระดูกทุกข้อจะปวดร้าว คล้ายมีของแหลมมาทิ่มแทงกระดูกทั่วร่างกาย เนื่องจากแคลเซียมละลายจากกระดูก อาจเกิดกระดูกหัก เบื่ออาหาร<O:p></O:p>
    ถ้าได้รับนานๆ ก่อโรคถุงลมโป่งพอง มะเร็งปอด ปัญหาในระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง แคดเมียมสะสมในไตได้<O:p></O:p>
    การรักษาพิษแคดเมียม

    การบรรเทา มีผลงานวิจัยเล็กน้อยว่าผลของพืชในกลุ่มมะขามป้อมน่าจะช่วยได้ หมอจึงแนะนำให้กินผลมะขามป้อม (Phyllanthus emblica Linn.)
    ตำราทางเภสัชศาสตร์บอกว่า ห้ามใช้ยาไดเมอร์แคพรอล (Dimercaprol) เพราะจะยิ่งเกิดสารเชิงซ้อนของแคดเมียมที่ยิ่งดูดซึมเข้าไต อาจก่อความเสียหายกับร่างกายยิ่งขึ้น
    ข้อโต้แย้งคำกล่าวอ้าง

    เรื่องที่ว่าแคดเมียมมาจากธรรมชาติในรูปแคดเมียมซัลไฟด์ ที่มีหลายคนกล่าวอ้างนั้น ไม่น่าเป็นไปได้ เพราะค่าการละลายน้ำซึ่งคำนวณจากค่า K<SUB>sp</SUB> ของแคดเมียมซัลไฟด์มีค่าต่ำมาก จัดเป็นสารที่ไม่ละลายน้ำยิ่งกว่าสารอีกหลายชนิด (รายละเอียดมีในตำราและเอกสารอ้างอิงทางอางเคมีวิเคราะห์ หรือ Analytical Chemistry หรือ Handbook บางเล่ม) ในวิชาเคมีวิเคราะห์รู้กันดีว่าตะกอนสีเหลืองสว่างของแคดเมียมซัลไฟด์ (CdS) เป็นสารที่ไม่ละลายน้ำ ไม่ละลายในกรดเจือจาง [9] นอกจากนี้ ในธรรมชาติมีธาตุแคดเมียมเป็นส่วนเจือปนน้อยนิด เมื่อเทียบกับสังกะสี ซึ่งจะออกมามากกว่ามาก<O:p></O:p>
    ค่าการละลายน้ำของแคดเมียมซัลไฟด์ มีในเอกสารทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ [10-12]
    การตรวจแคดเมียมในดิน

    ในต่างประเทศมีชุดตรวจแคดเมียมแบบอยู่ในกล่องพกพาสะดวก เรียกว่า cadmium test kit<O:p></O:p>
    หน่วยงานในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่รับตรวจวิเคราะห์ปริมาณ คือ สวท.<O:p></O:p>
    การตรวจไอออนแคดเมียมทางเคมีด้วยตาเปล่า ทำได้โดยนำน้ำตัวอย่าง หรือน้ำที่ละลายดินที่ต้องสงสัย มาทดสอบด้วยสารซิลิกาพรุนที่มีสาร 4-(2-pyridylazo)resorcinol ที่ทำขึ้นด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ ถ้ามีแคดเมียมจะเปลี่ยนสีจากส้มเป็นม่วง [13]<O:p></O:p>
    มีวิธีทางเคมีสำหรับทดสอบแคดเมียมปริมาณน้อย ในระดับ 1 ppm ก็ตรวจพบ โดยนำสารตัวอย่างเติมสารละลายแอมโมเนียแล้วกรอง แล้วนำมาหยดลงบนกระดาษกรองที่เปียกด้วยสารละลายโพแทสเซียมไอโอไดด์ที่มีสารเชิงซ้อน ferrous-2:2
     

แชร์หน้านี้

Loading...