เสียงธรรม โพชฌงค์ โปรดคนป่วย

ในห้อง 'ธรรมเพื่อความหลุดพ้น' ตั้งกระทู้โดย waroon, 30 ธันวาคม 2006.

  1. waroon

    waroon Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2005
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +31

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. ผู้หวังความเจริญ

    ผู้หวังความเจริญ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    สาธุ ขอบคุณครับ
     
  3. no-krama

    no-krama สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +2
    โพชฌงค์ 7 Jan 7, '08 10:02 PMhttp://bronxpanda.multiply.com/journal/item/4/4
    for everyone
    ในบทสวดโพชฌงค์ 7 นั้น

    แม้แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอาพาธด้วยโรคภัย พระจุนทะเถระก็ยังมาแสดงโพชฌงค์ เพื่อบำบัดอาการอาพาธของพระศาสดาจนหาย ความหมายในโพชฌงค์ 7 ประการ มีความหมายพิศดารประการใด อย่างไร

    จริงๆ แล้ว ความหมายในโพชฌงค์ 7 ประการนี่ เป็นข้อธรรม และก็เป็นกระบวนการกำจัดมลพิษภายในจิตวิญญาณ เป็นขบวนการในการจัดระเบียบของจิตวิญญาณความรู้สึกนึกคิดของตนให้เป็นผู้ซื่อตรงถูกต้องตามครรลองคลองธรรม หรือครรลองของสภาวะธรรมนั้นๆ ซึ่งมีอยู่ในตนของตน

    ฉะนั้น ความหมายของโพชฌงค์
    ในข้อแรกก็คือ สติสัมโพชฌงค์ นั่นก็คือ โพชฌงค์ข้อแรกต้องปฏิบัติตนให้เป็นคนมีสติ และในความหมายของโพชฌงค์ก็คือ วิถีแห่งการบรรลุธรรม วิถีแห่งความพ้นทุกข์หรือไม่ก็วิถีแห่งการตัดอาสวะกิเลส เป็นกระบวนการทางจิตชนิดหนึ่ง เป็นอารมณ์แห่งจิตที่ทำงานเป็นอารมณ์แห่งจิตที่มีสาระ เป็นอารมณ์แห่งจิตที่มีความหมายพัฒนาไปเป็นจิตที่ประเสริฐ ในสติสัมโพชฌงค์ เมื่อบุคคลใดเป็นผู้ยังให้เกิดขึ้น ยังให้ตั้งขึ้น และมีขึ้น พระพุทธเจ้ากล่าวว่าเมื่อมีสติแล้วจะต้องมีธัมมวิจยะ คือการวิจารณ์ธรรม เลือกเฟ้นธรรม แสวงหาธรรม ที่เหมาะตรงถูกต้องแก่ตนที่สามารถปฏิบัติได้ เมื่อมีสติมีการแสวงหาวิจารณ์ธรรมที่ดีอยู่แล้ว ที่ตรงถูกต้องก็ต้องทำด้วย
    ความเพียร มานะพยายามบากบั่นอย่างยิ่ง เมื่อมีความเพียรแล้ว ผลที่ได้รับกลับมาก็คือความปีติสุข นั่นก็คือเป็นอารมณ์หนึ่งในโพชฌงค์ เมื่อมีปิติสุขซึ่งเป็นผลที่ได้รับจากการทำด้วยความวิริยะพากเพียรแล้ว

    สิ่งที่จะตามมาจากปีติสุขก็คือ ความผ่อนคลาย ความปล่อยวาง ในสิ่งที่เป็นทาสจากตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส กายถูกต้องสัมผัสใดๆ ผ่อนคลายจากความชั่วเลวร้ายเสียหาย ทั้งกาย วาจาและใจ
    เมื่อมีความผ่อนคลายปล่อยวางแล้วก็จะขยับเข้าไปถึงความหมายหรือองค์คุณแห่งสมาธิ คือความตั้งมั่นแห่งจิต
    ผลแห่งสมาธินั้นเมื่อตั้งมั่นดีแล้ว จะเป็นเอกัคคตา คือเป็นหนึ่งเดียว มีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว กระบวนการต่างๆ

    เหล่านั้นทั้ง 7 ประการที่กล่าวมาแล้ว เป็นกระบวนการของโพชฌงค์ ทั้ง7 เราจะเห็นว่าเป็นกิริยาอาการของการที่จะนำพาเราเข้าไปสู่วิถีแห่งการพัฒนาจิตวิญญาณ ที่สามารถจะมีอิสระเสรีภาพในสิ่งที่ร้อยรัดผูกพัน
    หรือห่วงหาอาวรณ์ใดๆ ต่อตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส และกายถูกต้องสัมผัส

    ความหมายของโพชฌงค์ 7 ประการก็คือ กุญแจที่จะปลดปล่อยไขประตูและก็ปลดปล่อยเราให้ออกมาจากคุกของอารมณ์ คุกที่กักขังเราไว้ คุกที่ควบคุมกักขังตัวเรานั้น ไม่ใช่เป็นคนอื่น ใครอื่น สิ่งอื่น หรือที่อื่นๆ แต่เป็นตัวเราเองที่เรากักขังตัวเองไว้ ในอารมณ์ใดๆ โดยที่เราไม่รู้เท่าทันมัน
    รวมทั้งขังตัวเองเอาไว้ในสุข ทุกข์ เวทนา และก็กิจกรรมหรือการที่เป็นไปในกาย เช่นเกิดอาพาธ เกิดโรค หรือกักขังตัวเองไว้ในเวทนาของโรคนั้นๆ
    ฉะนั้นการเจริญโพชฌงค์ก็คือการปลดปล่อยตัวเองออกจากเวทนา
    และโรคร้ายเหล่านั้นก็จะหมดออกไปจากอารมณ์ เมื่อโรคออกจากอารมณ์เหล่านั้น ใจก็เป็นปรกติ




    โดยหลักวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติของร่างกายแล้ว โรคทั้งหลายเกิดจากใจบกพร่องไม่ถูกต้องกันเสีย 90 กว่าเปอร์เซนต์ เมื่อใจเป็นปรกติถูกต้องไม่บกพร่อง ร่างกายก็จะสร้างแอนตี้บอดี้ สามารถที่จะมีกระบวนการกำจัดขัดเกลา ทำลายร้างสิ่งที่แปลกปลอม หรือสิ่งที่เข้ามาเกาะกินสุขภาพของกายสุขภาพของจิตหรือสุขภาพของใจ ร่างกายก็จะสร้างสารชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นสารที่จะทำลายศัตรูที่แปลกปลอมเข้ามาในกายนี้ เรียกว่าเป็นการต้านทานและก็ภูมิคุ้มกัน ขบวนการของโพชฌงค์ก็คือกระบวนการที่เหมือนยารักษาโรค เป็นสูตรสำเร็จในการที่จะชำระ แกะ แคะ เกา และก็ขัดสีฉวีวรรณจิตนี้ให้ผุดผ่อง และก็เป็นกระบวนการของจิตที่ปล่อยวางจากอารมณ์สุขทุกข์และเวทนาทั้งปวงได้อย่างที่สุด

    หวังว่าพวกเราจะเข้าใจความหมายของโพชฌงค์ได้อย่างพอสมควร


    สติสัมโพชฌงค์(ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง)

    ธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์( ความเฟ้นธรรม,ความสอดส่องค้นหาธรรม )

    วิริยะสัมโพชฌงค์(ความเพียร)

    ปีติสัมโพชฌงค์(ความอิ่มใจ)

    ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์(ความสงบกายสงบใจ)

    สมาธิสัมโพชฌงค์(ความมีใจตั้งมั่น,จิตแน่วในอารมณ์)

    อุเบกขาสัมโพชฌงค์(ความมีใจเป็นกลางเพราะเห็นตามเป็นจริง)




    จากหนังสือพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตโต)

    โพชฌงค์ 7

    สติ ระลึกได้
    อยู่ข้างกาย อย่าให้ห่าง
    แนบจิต ติดตรงกลาง
    กลายเป็นใจ หทัยเย็น

    ธัมมา วิจะยะ
    เฟ้นธรรมะ ดับทุกข์เข็ญ
    หายร้อน กิเลสเห็น
    มองดูทาง สว่างใส

    วิริยะ ความเพียรพร้อม
    อดทนออม กำลังใจ
    ปัดเป่า ความร้ายให้
    ห่างจากไป ไกลจากตน

    ปีติ ก็บังเกิด
    สามสิ่งเลิศ จากบทบน
    ใจอิ่ม ดั่งชิมพรหม
    ส่างระทม ที่ตรมตรอม

    ปัสสัท ธิแลสุข
    สยบทุกข์ ให้ก้มยอม
    ใจสบาย กายก็น้อม
    สู่จิตหนึ่ง ถึงปัญญา

    สมาธิ อันเลิศแล้ว
    จิตผ่องแผ้ว สว่างจ้า
    ปัญญา เกิดตามมา
    พิจารณา สิ่งเป็นธรรม

    อุเบก ขาวางทุกข์
    บังเกิดสุข ปล่อยวางกรรม
    จิตใส ไร้ กิเลสทำ
    สิ่งสุดล้ำ คำ นิพพาน

    สิ่งกล่าว มาทั้งหมด
    โพฌงค์บท อันเลิศขาน
    หนทาง แห่งนิพพาน
    พ้นบ่วงมาร พาลผจญ


    บทสวดโพชฌงค์ ๗ ประการ
    โพชฌังโคปริตร

    โพชฌังโค สะติสังขาโต
    โพชฌงค์ ๗ ประการคือ สติสัมโพชฌงค์
    ธัมมานัง วิจะโย ตะถา
    ธรรมะวิจะยะสัมโพชฌงค์
    วิริยัมปีติ ปัสสัทธิ
    ปีติสัมโพขฌงค์
    โพชฌังคา จะ ตะถาปะเร
    ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
    สะมาธุเปกขะโพชฌังคา
    สมาธิ อุเบกขาสัมโพชฌงค์
    สัตเตเต สัพพะทัสสินา
    เหล่านี้ อันพระมุนีเจ้า
    มุนินา สัมมะทักขาตา
    ผู้ทรงเห็นธรรมทั้งปวง ตรัสไว้ชอบแล้ว
    ภาวิตา พะหุลีกะตา
    อันบุคคลเจริญและทำให้มากแล้ว
    สังสวัตตันติ อะภิญญายะ
    ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง
    นิพพานายะ จะ โพธิยา
    เพื่อความตรัสรู้และเพื่อพระนิพพาน
    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
    ด้วยการกล่าวคำสัจนี้
    โสตถิ เต โหนตุ สัพพะทา
    ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ

    เอกัสมิง สะมะเย นาโถ
    ในสมัยหนึ่งพระโลกนาถเจ้า
    โมคคัลลานัญจะ กัสสะปัง
    ทอดพระเนตร พระโมคคัลลนะและพระกัสสะปะ
    คิลาเน ทุกขิตา ทิสวา
    เป็นไข้ได้รับความลำบากถึงทุกขเวทนาแล้ว
    โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ
    ทรงแสดงโพชฌงค์ ๗ ประการให้ท่านทั้งสองฟัง
    เต จะ ตัง อะภินันทิตวา
    ท่านทั้งสองก็เพลิดเพลินพระธรรมเทศนานั้น
    โรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ
    หายโรคในบัดดล
    เอ เต นะ สัจจะวัชเชนะ
    ด้วยการกล่าวคำสัจนี้
    โสตถิ เต โหนตุ สัพพะทา
    ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ


    เอกะทา ธัมะราชาปิ
    ครั้งหนึ่งแม้พระธรรมราชาเอง
    เคลัญเญนาภิปีฬิโต
    ทรงประชวรเป็นไข้
    จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ
    รับสั่งให้พระจุนทเถระ
    ภะณาเปตวานะ สาทะรัง
    แสดงโพขฌงค์นั้นถวายโดยความเคารพ
    สัมโมทิตวา จะ อาพาธา
    ก็ทรงบันเทิงพระหฤทัย
    ตัมหา วุฏฐาสิ ฐานะโส
    หายจากพระประชวรนั้นโดยพลัน
    เอ เต นะ สัจจะวัชเชนะ
    ด้วยการกล่าวคำสัจนี้
    โสตถิ เต โหนตุ สัพพะทา
    ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ
    ปะ***นา เต จะ อาพาธา
    ก็อาพาททั้งหลายนั้น
    ติณณันนัมปิ มะเหสินัง
    อันพระมหาฤาษีทั้งสามองค์หายแล้วไม่กลับเป็นอีก
    มัตคาหะตะกิเลสาวะ
    ดุจดังกิเลสอันมรรคกำจัดแล้ว
    ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง
    ถึงซึ่งความไม่เกิดอีก เป็นธรรมดาฉะนั้น
    เอ เต นะ สัจจะวัชเชนะ
    ด้วยการกล่าวคำสัจนี้

    โสตถิ เต โหนตุ สัพพะทา
    ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อเทอญ
    Tags: พุทธศาสนากับชีวิต
    Prev: ความน่าสนใจของหนังสือเรื่อง "อิฐ" โดย นิ้วกลม
     
  4. dangcarry

    dangcarry เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +4,305
    อนุโมทนาสาธุ
     
  5. adisak007

    adisak007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    859
    ค่าพลัง:
    +699
    อนุโมทนาสาธุ ด้วยครับ
     
  6. thananyi

    thananyi Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2006
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +45
    อนุโมทนาครับ
     
  7. บูรพาผู้อิสระ

    บูรพาผู้อิสระ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +0
    สาธุ อนุโมทนาคาบ...
    (b-smile)
     
  8. dangcarry

    dangcarry เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +4,305
    อนุโมทนาสาธุ
     
  9. คุณเสรี ลพยิ้ม

    คุณเสรี ลพยิ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +472
    ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ
     
  10. nunnath555

    nunnath555 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    อนุโมทนา สาธุ
     
  11. miss_figs/คุณมะเดื่อ

    miss_figs/คุณมะเดื่อ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +9
    ขออนุโมทนา ด้วยค๊า บทสวดแปล ดีจริง เคยคิดอยู่ว่าจะได้มาอย่างไร ตอนนี้ พบแล้ว ขอบพระคุณมากค่ะ
     
  12. Igiko_L

    Igiko_L เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,407
    ค่าพลัง:
    +2,836
    หาจนเจอ แต่น่าเสียดายที่นำออกมาให้แม่ฟังด้วยไม่ได้ อนุโมทนา ด้วคะ
     
  13. หางอื่ง

    หางอื่ง สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +5
    อนุโมทนา สาธุ<!-- google_ad_section_end -->
     
  14. น้องอานนท์

    น้องอานนท์ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +0
    อนุโมทนาสาธุด้วยนะครับ
    ขอให้เจริญในธรรมนะครับผม
     
  15. suksitkata

    suksitkata สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +4
    :)ขออนุโมทนาสาธุในธรรมทานครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...