โรคเก๊าท์

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย alfed, 6 กุมภาพันธ์ 2019.

  1. alfed

    alfed สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    209
    กระทู้เรื่องเด่น:
    15
    ค่าพลัง:
    +135
    โรคเก๊าท์
    #โรคเก๊าท์ #Gout
    51086944_304404643481603_3658166002694225920_n.jpg?_nc_cat=108&_nc_ht=scontent.fbkk22-1.jpg
    โรคเก๊าท์ เป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่ง พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ส่วนมากจะพบในผู้ชายอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป ส่วนผู้หญิงพบได้น้อย ถ้าพบมักจะเป็นหลังประจำเดือน โรคเก๊าท์เกิดจากร่างกายมีกรดยูริค(Uric acid) มากเกินไป กรดยูริคเป็นสารชนิดหนึ่งที่เป็นผลมาจากการเผาผลาญสารเพียวรีน(purine) ซึ่งมีมากในอาหารจำพวกเครื่องในสัตว์ ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ พืชผักหน่ออ่อนหรือยอดอ่อน เป็นต้น โรคเก๊าท์เป็นโรคที่มีทางรักษาให้หายได้ ต้องได้รับการดูแลรักษาต่อเนื่องตลอดชีวิต แต่ถ้าไม่ได้รักษา อาจมีภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้
    .
    อาการโรคเก๊าท์
    - มีอาการปวดข้อรุนแรง ข้อบวม บริเวณข้อมีลักษณะแดงร้อนและกดเจ็บ
    - อาการปวดสามารถเกิดได้กับหลายข้อ ตำแหน่งที่พบบ่อยได้แก่ นิ้วหัวแม่เท้า
    - ในการปวดข้อครั้งแรก มักจะเป็นอยู่เพี่ยงไม่กี่วัน ถ้าผู้ป่วยไม่ทำการรักษา อาการปวดข้อจะเป็นถี่ขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั้งหลายสัปดาห์หรือปวดตลอดเวลา เพิ่มจากข้อเดียวเป็น 2 -3 ข้อ จนกระทั่งเป็นเกือบทุกข้อ
    - ในระยะหลัง เมื่อข้ออักเสบหลายข้อ จะสังเกตว่ามีปุ่มก้อนขึ้นที่บริเวณที่เคยอักเสบบ่อยๆ เรียกว่า ตุ่มโทฟัส (tophus / tophi) ซึ่งเป็นแหล่งสะสมของสารยูริก ปุ่มก้อนจะโตขึ้นเรื่อยๆ จนบางครั้งจะแตกออกมีสารขาวๆออกมา และจะค่อยๆพิการ และใช้การไม่ได้
    .
    ปัจจัยที่กระตุ๋นโรคเก๊าท์
    - กินอาหารชนิดที่มีสารพิวรีนมาก เช่น สัตว์ปีก เครื่องในสัตว์
    - การดื่มแอลกอฮอล์
    - ยาบางชนิด เช่นยาลดความดันโลหิตบางตัวทำให้กรดยูริคสูงในเลือด ปัจจัยกระตุ้นอื่นๆได้แก่ ความเครียด หลังผ่าตัดใหม่ เป็นต้น
    .
    การป้องกันโรคเกาต์
    - เข้ารับการรักษาอย่างสม่ำเสมอตามที่แพทย์นัด และกินยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
    (ช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกิดขึ้น)
    - หากมีอาการผิดปกติ หรือมีผลข้างเคียงจากการรับประทานยาให้รีบปรึกษาแพทย์ทันที
    - ไม่ควรหยุดยา ปรับขนาดยา หรือซื้อยารับประทานเอง เพราะนอกจากจะเสี่ยงต่อการแพ้ยาแล้ว และอาจจะทำให้ควบคุมโรคได้ไม่ดี
    - ควรรับประทานอาหารให้ ครบ 5 หมู่
    - ควรดื่มน้้ำมากๆทุกวัน อย่างน้อยวันละ 3,000 มิลลิลิตร เพื่อป้องกันมิให้เกิดโรคนิ่วในไต
    - หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
    - ลดการกินอาหารประเภทเครื่องในสัตว์ สัตว์ปีก อาหารทะเล เป็นต้น
    - ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกต่อข้อที่รุนแรง
    - หลีกเลี่ยงการบีบ นวด ถู บริเวณข้อ เนื่องจากสามารถกระตุ้นให้ข้ออักเสบกำเริบได้
    - ผู้ที่มีญาติเป็นโรคเกาต์ ควรตรวจระดับกรดยูริกในเลือดเป็นระยะ และการทำงานของตับและไตเป็นระยะๆ

    --------------------------------------------------------------------------------------
    Credit: Healthy Me
    https://www.facebook.com/Good.Healthy.Me/
     
  2. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,286
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,002
    ขอบคุณครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...