โรคเลือดข้น(Polycythaemia Vera)

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย alfed, 31 ตุลาคม 2018.

  1. alfed

    alfed สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    209
    กระทู้เรื่องเด่น:
    15
    ค่าพลัง:
    +135
    โรคเลือดข้น(Polycythaemia Vera)
    44166172_263668824221852_672760292811210752_n.jpg?_nc_cat=104&_nc_ht=scontent.fbkk14-1.jpg
    #โรคเลือดข้น #PolycythaemiaVera #HealthyMe
    โรคเลือดข้น (โพลีไซทีเมีย เวอรา Polycythaemia Vera) คือโรคที่มีเม็ดเลือดแดงปริมาณมากกว่าปกติ (มากกว่า 6.5 ล้านเซลล์/ลูกบาศก์มิลลิลิตร)
    .
    อาการของเลือดข้น
    - ระยะเริ่มแรกไม่มีแสดงอาการ
    - ระยะแสดงอาการ
    วิงเวียน ปวดศีรษะ รู้สึกไม่สบายท้อง(ปวดท้องใต้ชายโครงขวา) ตาพร่า หน้าแดง(ผิวหนังทั่วไปเป็นสีแดงมากกว่าปกติ) อ่อนเพลีย ความดันโลหิตสูง เลือดกำเดาไหล ฟกช้ำ เจ็บหน้าอก หายใจเร็ว หายใจไม่สะดวก เมื่อนอนราบจะหายใจลำบาก อ่อนเพลีย คันตามผิวหนังโดยเฉพาะหลังอาบน้ำอุ่น มือเท้ามีสีแดงคล้ำ รู้สึกแน่นบริเวณใต้ชายโครงซ้าย (ม้ามโต)
    .
    ภาวะแทรกซ้อนจากเลือดข้น
    ภาวะเลือดข้นหรือเลือดหนืดสามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เช่น ส่งผลต่อระบบไหลเวียนโลหิต ทำให้เกิดลิ่มเลือด ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิต มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ถ้าอุดตันที่หลอดเลือดหัวใจ อาจทำให้หัวใจวาย ภาวะม้ามโต ภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน หรือโรคหลอดเลือดสมองได้(ใบหน้าเบี้ยว อ่อนแรง แขนขาชาหรืออ่อนแรงซีกเดียว พูดไม่ชัด พูดไม่ได้ พูดไม่รู้เรื่อง ระยะทีมีอาการต้องรักษาภายใน 3 ชม)มัยอีโลไฟโบรซิส (Myelofibrosis) ซึ่งเป็นภาวะที่ไขกระดูกทำงานลดลงไม่สามารถผลิตเซลล์เม็ดเลือดได้ตามปกติ โรคนี้อาจเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์มะเร็งในไขกระดูก มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลัน หรือลูคีเมีย (Leukemia) ได้ เป็นต้น ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ อาจทำให้เสียชีวิตได้ก่อนวัยอันควร
    .
    เป็นโรคเลือดข้น ควรปฏิบัติตัวอย่างไร
    - ดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสม คำนวณได้จาก น้ำหนัก x 2.2 x 30/2 = ปริมาณน้ำ(มล.) (ระหว่างวันควรจิบน้ำเรื่อยๆ จะช่วยในการรักษาระดับความเข้มข้นของเลือด) ไม่ควรดื่มน้ำมากเกินไป เพราะเป็นการเพิ่มภาระให้กับไต
    - ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและหลากหลาย เพื่อช่วยกระตุ่นการไหลเวียนเลือดและลดความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือด รวมถึงการยืดร่างกาย(เน้นการเหยีดขา หรือข้อเท้า) เพื่อให้เลือดไหลเวียนในร่างกายได้ดีขึ้น
    - ดูแลบำรุงผิวให้ชุ่มชื้น(ทาโลชั่นหลังอาบน้ำทุกครั้ง)
    - หลีกเลี่ยงมลพิษต่างๆ (เช่น ควันรถ ควันบุหรี่ เป็นต้น) ซึ่งมลพิษนี้จะมีผลต่อหลอดเลือดของผู้ป่วยทำให้แคบลง การสูดดมคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นประจำทำให้ฮีโมโกลบินในเลือดจับกับคาร์บอนมอนอกไซด์แทนที่จะจับกับออกซิเจน ออกซิเจนในร่างกายต่ำ จึงเกิดภาวะเลือดข้นขึ้นได้
    - หลีกเลี่ยงการอยู่ในท่าเดียวนานๆ ควรมั่นเปลี่ยนอิริยาบถ เพื่อให้เลือดไหลเวียนไม่ติดขัดและ ป้องกันกล้ามเนื้อเกร็งตัว
    - หลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่น เพื่อป้องกันการระคายเคืองของผิวและอาการคันตามผิวหนัง หากเกิดอาการคันสามารถทาครีมบำรุงหรือใช้ยาต้านฮีสตามีนได้ และไม่ควรเกาเพราะอาจทำให้เกิดแผลหรือเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางผิวหนัง
    - ดูแลไม่ให้เกิดบาดแผล
    - หลีกเลี่ยงสถานที่ที่ทำให้ร่างกายหนาวหรือร้อนมากเกินไป เพราะจะส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือด
    .
    วิธีลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ
    - การตรวจสุขภาพประจำปี (ตรวจเลือดซีบีซี)
    - ออกกำลังกายอย่าสม่ำเสมอ
    - เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
    - หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
    - หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
    - ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาชนิดต่างๆ
    - ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
    .
    การรักษา
    จุดมุ่งหมายคือเพื่อลดความหนืดของเลือดหรือ ลดจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ร่างกายผลิตออกมามากผิดปกติ และ ป้องกันการเกิดลิ่มเลือด รวมถึงภาวะแทรกซ้อนและบรรเทาอาการต่าง ๆ จากภาวะเลือดข้น (ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด)
    --------------------------------------------------------------------------------------
    Credit: Healthy Me
    https://www.facebook.com/Good.Healthy.Me/
     

แชร์หน้านี้

Loading...