โรคแพนิก

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 15 กุมภาพันธ์ 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    0b899e0b8b4e0b881-e0b89ce0b8b9e0b989e0b888e0b8b1e0b894e0b881e0b8b2e0b8a3e0b8ade0b8ade0b899e0b984.jpg
    รศ.พญ.พรจิรา ปริวัชรากุล
    ภาควิชาจิตเวชศาสตร์

    อาการตื่นตระหนกหรือกลัวสุดขีดจนใจสั่น อาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน อาการทั่วไปดูธรรมดาแต่หากเป็นบ่อย ๆ จนมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วยไม่หายสักที จะมีโอกาสเป็นโรคแพนิกได้หรือไม่ มาหาคำตอบกัน

    โรคแพนิก (Panic disorder) คือ การที่คนไข้มีอาการแพนิก หรือที่เรียกว่า “Panic attack” เป็น ๆ หาย ๆ ติดต่อกันเป็นเวลาเกิน 1 เดือนขึ้นไป ส่งผลต่อชีวิตประจำวันทำให้ไม่สามารถที่จะไปทำงานได้ อาจจะหลีกเลี่ยงอันตรายต่าง ๆ โดยที่เกิดขึ้นติด ๆ กันโดยไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนมากระตุ้น

    สาเหตุที่พบได้ในคนที่เป็นโรคแพนิก คือ มีปัจจัยด้านพันธุกรรม ถ้าหากมีญาติสายตรงเป็นโรคแพนิกก็มีโอกาสจะเป็นมากกว่าคนอื่น 5 เท่า นอกจากนี้ก็ยังมีปัจจัยในเรื่องของระบบชีวภาพในร่างกาย คือ ระบบประสาทอัตโนมัติอาจจะทำงานไวเกินไปทำให้มีอาการใจสั่น เหงื่อแตกขึ้นมาได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องพบเหตุการณ์อะไรที่น่ากลัว โดยเกือบทั้งหมดของผู้ป่วยที่เป็นโรคแพนิกจะเริ่มมีอาการหลังจากเกิดเหตุการณ์ในชีวิตครั้งสำคัญ เช่น เกิดความสูญเสียร้ายแรงขึ้นมา

    โรคนี้มักพบในคนอายุน้อย อายุประมาณ 20 – 30 ปี ซึ่งหลายรายจะมาพบแพทย์ช้า กว่าจะมาพบแพทย์อายุประมาณ 40 – 50 ปีก็มี เพราะว่าอาการของโรคนี้ใกล้เคียงกับโรคอื่นหลายอย่าง เช่น ใจสั่น เหงื่อแตกง่าย หายใจไม่อิ่ม รู้สึกเจ็บหน้าอก บางรายมีอาการชาที่มือ ที่เท้า ที่ปาก หรือรู้สึกวิงเวียน กลัวว่าจะควบคุมตัวเองไม่ได้ กลัวว่าจะบ้า กลัวว่าจะเสียชีวิต ทั้งหมดนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะเป็นเหมือนกัน อาการเด่นชัดของแต่ละคนไม่เหมือนกัน

    การวินิจฉัยโรคแพนิก อันดับแรก แพทย์จะต้องดูให้แน่ชัดว่าไม่ได้เป็นโรคอื่นที่มีอาการใกล้เคียงกับแพนิก เช่น โรคไทรอยด์เป็นพิษ โรคหัวใจ โรคปอด หรือบางคนอาจเป็นภาวะวัยทอง หรือมีผลมาจากการใช้ยาเสพติดกระตุ้นรวมทั้งเครื่องดื่มและอาหารที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ โคล่า ชาเขียว และเครื่องดื่มชูกำลัง ทั้งหมดนี้ต้องดูให้แน่ชัดว่าไม่ได้มีมาจากสาเหตุอื่นถึงจะวินิจฉัยว่าเป็นโรคแพนิก

    การรักษาโรคแพนิก มีวิธีการรักษา2 หลักใหญ่ ๆ คือ การใช้ยาและการทำจิตบำบัดประเภทปรับความคิดและพฤติกรรม ในเบื้องต้นผู้ป่วยสามารถที่จะบอกตัวเองได้ โดยให้กำลังใจตัวเอง คือ บอกตัวเองว่าโรคนี้เป็นขึ้นมาแล้วรักษาได้แล้วไม่ทำให้ถึงแก่ชีวิต ส่วนมากคนที่มาแล้วรักษายากเป็นเพราะพยายามช่วยเหลือตัวเองในทางอื่น ๆ เช่น ดื่มแอลกอฮอล์ซึ่งดูเหมือนอาการจะสงบแต่จริง ๆ แล้วรุนแรงและรักษายากมากยิ่งขึ้น หากท่านสงสัยว่าตนเองมีอาการที่คล้ายโรคแพนิกควรจะมาพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ

    สำหรับผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคแพนิกแล้ว และเกิดอาการแพนิกขึ้น วิธีการปฎิบัติตัว อันดับแรกต้องตั้งสติ หายใจเข้า – ออกลึก ๆ ช้า ๆ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากอาการ โดยหายใจเข้าให้ท้องป่องและหายใจออกให้ท้องยุบในจังหวะที่ช้า ซึ่งจะทำให้ร่างกายค่อย ๆ ปรับตัว ในระหว่างที่ทำให้บอกกับตัวเองว่าอาการที่เกิดขึ้นเป็นชั่วคราว สามารถหายได้และไม่ถึงแก่ชีวิต หลังจากนั้นร่างกายจะค่อย ๆ ผ่อนคลายและอาการก็จะค่อย ๆ ดีขึ้นและหายไปเอง
    ***************************
    กิจกรรมดี ๆที่ศิริราช
    #ขอเชิญพุทธศาสนิกชร่วมกันปฏิบัติถวายเป็นธรรมบูชาใน“งานสัปดาห์ปฏิบัติธรรมวันมาฆบูชา” ระหว่างวันที่ 18, 20-22 กุมภาพันธ์ 2562 (เว้น19 กุมภาพันธ์) ณ ศาลาศิริราช ๑๐๐ ปี รพ.ศิริราชฟังบรรยายธรรม ทอดผ้าป่าสามัคคี และถวายสังฆทานพระเถรานุเถระ ช่วงเวลา 12.15-13.30 น. และ 16.00-18.00 น. สอบถามเพิ่มเติม งานคุณธรรมและจริยธรรม โทร. 0 2419 7246, 08 8874 1949

    #ขอเชิญนักศึกษาแพทย์ แพทย์ และผู้สนใจเข้าร่วมงานการแข่งขันตอบปัญหาจุลชีววิทยา ปรสิตวิทยา และวิทยาภูมิคุ้มกันทางการแพทย์นานาชาติ ปี 2562 (Siriraj International medical Microbiology, Parasitology Competition, SIMPIC 2019) ระหว่างวันที่ 15 -18 มีนาคม 2562 ณ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง www.simpicofficial.org, Facebook page หรือ contact.simpic@gmail.com


    ขอขอบคุณที่มา
    https://mgronline.com/qol/detail/9620000015871
     
  2. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,244
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,001
    ขอบคุณครับ สําหรับผมแล้ว วิธีที่ดีที่สุดสําหรับรักษาโรคนี้คือการทําสมาธิ และฝึกวิปัสสนาในการปฏิบัติธรรม ใครที่กําลังเป็นโรคนี้อยู่ อยากให้ลองไปปฏิบัติธรรมที่สถานปฏิบัติธรรมดูครับ แล้วเดี๋ยวจะเข้าใจเองว่า การปฏิบัติธรรมนั้นมีประโยชน์ และสามารถช่วยให้เราปล่อยวาง และมีสติกับทุก ๆ เรื่องที่เราทํามากเพียงใดในทุก ๆ วัน ตามนี้ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...