โสตวิญญาณคืออะไรคะ ( หาอ่านแล้วไม่เข้าใจ )

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย แว๊ด, 7 สิงหาคม 2013.

  1. แว๊ด

    แว๊ด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    982
    ค่าพลัง:
    +509
    โสตวิญญาณคืออะไรคะ หาอ่านไม่เข้าใจ เพราะไม่มีอธิบายในแง่ปฏิบัติ เลยงงมั่ก

    และมีไว้ทำอะไรคะ ( แว๊ดไม่ได้ล้อเลียน แต่อยากรู้จริงๆ นะ )

    อธิบายให้ฟังหน่อย แล้วจะมาบอกอาการที่เป็นจ้า

    ขอบคุณค้าบ
     
  2. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,077
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,669
    สวัสดีแว็ด ไม่รู้ช่วยได้ไหม

    ธรรมที่รู้ได้ทางหู เช่น เสียง รับรู้ได้ทำหู
    รูป รู้ได้ทางตา
    หู รู้รสไม่ได้
    ลิ้น รู้รสได้

    มันก็เีกี่ยวเนื่องกันไป ขันธ์ ผัสสะ อายตนะ ทุกข์ สมุทัย อะไรทำนองนี้ครับ
     
  3. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    877
    ค่าพลัง:
    +1,844
    โสตวิญญาณ แปลตามตัวอักษรว่า การรู้ทางเสียง ซึ่งหมายถึงการได้ยินของเสียงโดยประสาทหู
    เสียงเกิดขึ้นก็หมายถึงขันธ์๕เกิดขึ้นด้วย
    เสียงที่กระมากระทบก็เป็นรูป ประสาทหูที่รับเสียงก็เป็นรูป
    การรับรู้เสียงเป็นวิญญาณ เกิดทุกข์สุขกับเสียงเป็นเวทนา จำได้ว่าเป็นเสียงอะไรเป็นสัญญา เกิดความคิดปรุงแต่งไปกับเสียงนั้นเป็นสังขาร
    เสียงนั้นมีทั้งเสียงภายนอกและภายใน
    เสียงภายนอกก็เป็นเสียงที่เราได้ยินโดยทั่วไป ทั้งเสียงคน เสียงสัตว์ ฯลฯ เสียงภายนอกนี้ผู้อื่นก็สามารถได้ยินด้วย
    เสียงภายในก็เป็นเสียงที่เกิดอยู่ในความคิดของเรา การพูดในใจตรงนี้ก็จะเกิดเสียงภายในซึ่งเราจะได้ยินเพียงคนเดียว คิดรักหรือคิดชังใครเราก็ได้ยินอยู่คนเดียว การคิดขอเรานั้นคล้ายกับหนังซึ่งจะมีทั้งภาพและเสียงอยู่ในตัวครับ แต่จะมีตัวเราปรากฏติดกับกับอารมณ์ของความคิดเสมอ
    ในทางปฏิบัตินั้นให้มุ่งไปที่เสียงภายในเป็นหลัก จะกำหนดรู้ จะกำหนดละ ก็แล้วแต่ตามวิธีที่ท่านจะปฏิบัติกัน
    ระหว่างปฏิบัติบางครั้งก็คิดติดกับอารมณ์ปฏิบัติ ในความคิดตรงนี้จะเกิดวิตกวิจารณ์ไปกับอารมณ์ปฏิบัติ เช่นว่า "ใช่หรือไม่ใช่ จริงหรือไม่จริง ตรงนี้คืออะไร ต่อไปจะเป็นอะไร" คำวิตกและวิจารณ์นี้ก็เป็นเสียงครับ เป็นเสียงที่พูดกับตัวเอง หรือบางครั้งความคิดมันก็คิดไปของมันเรื่อยๆ ไม่ได้ติดอยู่กับอารมณ์ปฏิบัติ ที่เราเห็นว่ามันคิดไปเรื่อยเปลื่อยนั้นละ ตรงนี้ในระหว่างที่คิดบางครั้งก็พูดกับตัวเอง บางครั้งก็พูดกับอารมณ์นั้นๆ ทุกๆขณะที่คิดมันก็เป็นเสียงที่เกิดขึ้นในความคิด ในจิตในใจของเราครับ บางครั้งถึงกับคิดฟุ้งซ่านก็จะได้ยินเสียงที่สลับสับสนวนเวียนไปมาไร้ระบบ จับต้นชนปลายไม่ถูก ซึ่งเราจะไม่ค่อยชอบเสียงประเภทอย่างนี้
    เจริญในธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 สิงหาคม 2013
  4. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย วิญญานเป็นอย่างไรเล่า ภิกษุทั้งหลาย หมู่แห่งวิญญานหกเหล่านี้คือ วิญญานทางตา วิญญาญทางหู วิญญานทางจมูก วิญญานทางลิ้น วิญญานทางกาย และวิญญานทางใจ ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า วิญญาน----ขนธ.สํ.17/75/117..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 สิงหาคม 2013
  5. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย วิญญานทางตา เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้ ภิกษุทั้งหลาย วิญญานทางหู เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่น ภิกษุทั้งหลาย วิญญานทางจมูก เป็นของไม่เที่ยงมีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้ ภิกษุท้้งหลาย วิญญานทางลิ้น เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวนมีความเป้นโดยอย่างอื่นได้ ภิกษุทั้งหลาย วิญญานทางกาย เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวนมีความเป็นโดยอย่างอื่น ภิกษุทั้งลาย วิญญานทางใจ เป้นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้แล...ขนธ.สํ.17/279/471...
     
  6. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย เมื่อไม่รู้ยิ่ง ไม่รู้รอบ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละขาด ซึ่งสิ่งทั้งปวง ย่อมไม่เป็นผู้สมควรเพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์ สิ่งทั้งปวง อะไรกันเล่า สิ่งทั้งปวงคือ.........อายตนะภายในหกประการ อายตนะภายนอกหกประการ วิญญานหกประการ สัมผัส หกประการ เวทนา หกประการ..........ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล คือ สิ่งทั้งปวง วึ่งเมื่อไม่รู้ยิ่ง ไม่รู้รอบ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละขาดแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์---สฬา.สํ.18/21/27-28...(อริยสัจจากพระโอษฐ์ท่านพุทธทาส)
     
  7. แว๊ด

    แว๊ด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    982
    ค่าพลัง:
    +509
    สวัสดีค่ะ พี่ ๆ

    แบบว่า อาการของแว๊ด คือ ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน ทั้งปฏิบัติหรือชีวิตปกติ แว๊ดจะได้ยินเสียงหึ่ง ๆ วิ้งๆ บอกเสียงไม่ถูกอะ (แต่แว๊ดจะชอบเรียกว่า เสียงแห่งความเงียบ) อยู่เกือบตลอดเวลา

    บางทีเสียงหึ่ง ๆ วิ้ง ๆ นี้ที่กระจายอยู่รอบ ๆ ตัว บางครั้งเหมือนรวมตัวกันแล้ว เป็นเสียงกริ๊งงงงงง จะได้ยินอยู่บ่อย ๆ ทุกอิริยาบท แม้แต่ตอนนอน จะตื่นเพราะได้ยินเสียงนี้ มันเหมือนได้ยินทางกระโหลก ทางกระหม่อม ศรีษะ แล้วแต่คนเรียกกัน แต่ไม่ใช่ได้ยินทางหู

    แว๊ดเคยนอนเล่น จับพองยุบ สองสามครั้ง จากนั้นได้ยินเสียงกริ๊งงงงงงงงงงงง ดังมาก มากเหมือนแก้วหูจะแตก จากนั้นรู้สึกว่าร่างกายสั่นแรง ถี่ แต่อารมณ์เฉย ตามดูรู้เฉย ๆ พร้อมกับแสงสว่างจ้ามาก แต่ไม่รู้สึกร่างกายภายนอก รู้แต่ข้างใน พอสว่างมากเหมือนจะมองแสงสว่างไม่ได้ แว๊ดก็หลับตาทั้ง ๆ ที่หลับตาอยู่แล้ว แล้วก็ตัดอาการทั้งหมด

    ลืมตาตื่นขึ้นมา มองไปรอบตัว ก็คือห้องตัวเอง แต่ว่าได้ยินเสียงสวดมนต์ด้านบน เป็นบทสวดอิติปิโส แต่ที่นี่ไม่มีคนไทยอยู่ ก็คิดว่าตัวเองคงตายแล้ว เลยเตรียมตัวตาย พนมมือจะไปกราบพระบาทพระพุทธเจ้า จากนั้นก็ตัด (ไม่ทราบจะใช้คำอะไรดีกับอาการนี้) ก็ลืมตา แต่แว๊ดไม่ได้พนมมือ แต่ยังนอน บริกรรมปกติ

    บางครั้งก็ได้ยินเสียงผู้หญิง ร้องเพลงไทยโบราณ ในกระโหลก จะเป็นเสียงก้องกังวาล ไม่ใช่ได้ยินทางหู อาการแปลก ๆ ยังมีอีก แต่จะไม่เกี่ยวกับหัวข้อกระทู้ แว๊ดเลยอยากรู้ว่า เอาไว้ทำอะไร... โสตวิญญาณ ในการปฏิบัติเป็นแบบนี้ใช่ไหม อะไรทำนองนี้น่ะค่ะ
     
  8. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    620
    ค่าพลัง:
    +697
    หู มีอารมณ์เป็นเสียงเท่านั้น นี้เป็นสัจจะ

    หู นึกคิดไม่ได้

    หู รู้รสไม่ได้

    ไม่ว่าจะเสียงคน เสยงสัตว์ เสียงไหล เสียงไกล้ เสียงที่เสพคุ้น เสียงที่เพิ่งเคยได้ยิน เสียงที่เข้าใจ เสียงที่ไม่เข้าใจ ฯลฯ

    หากได้ยินอยู่ พึงกำหนดรู้ ว่าได้ยินหนอ

    ไม่ปล่อยจิตล่วงไปกลับความพอใจ ความสงสัย ความติดข้อง เพราะธรรมเหล่านี้ไม่ใช่ โสตวิญญาณ

    แต่เป็นสังขาร อันเกิดจากการรับเสียงมาเป็นอารมณ์

    พึงกำหนดรู้โดย อาการที่ได้ยิน กับ เสียงที่ปรากฏ ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน

    พึงกำหนดรู้ อาการกระทบ กับ ได้ยินเสียง ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน

    พึงกำหนดรู้ ได้ยินเสียง กับ รู้ความหมายของเสียง ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน

    ในธรรมแต่ละอย่างที่สติระลึกได้นั้น ให้รู้ลงไปที่ลักษณะความมีอยู่ให้รู้อยู่ชั่วขณะแล้วดับไป คลายไป เนืองๆ

    หรือ ได้ยินหนอ ได้ยินหนอ ถี่ๆ ให้ตรงกับสภาวะลักษณะ ที่แปลไป เปลี่ยนไป เป็นคำๆก็ได้

    จนประจักษ์ชัด ในความ มีแล้วหาย แล้วมีในเสียงนั้น

    หรือ พิจารณาเสียงที่ได้ยินขณะนั้น เสียงเกิดจากกรรม จากจิต จากอุตุ จากอาหาร ก็ได้

    เพื่อคลายความสงสัย และแทงตลอดในอายตนะ คลายความยึดมั่น ติดใจในเสียงต่างๆ


    เรื่องเสียงในความคิด ที่จริงเป็นสัญญา

    ไม่ใช่เกิดจากการกระทบอารมณ์ทางโสตวิญญาณ นี่ต้องพิจารณาให้ดี

    ควรกำหนดได้ยินไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 สิงหาคม 2013
  9. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494

    พึงกำหนดรู้สิ่ง/เสียงที่ได้ยินนั้นๆทุกๆขณะด้วย "เสียงหนอๆๆๆ" ไม่พึงปล่อยล่วงไปเฉยๆ
     
  10. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    วิญญานมีหก นะครับ จักขุวิญญาน โสตะวิญญาน ฆานะวิญญาน กายะวิญญาน มโนวิญญาน...........แยกด้วย การรู้จากอายตนะใดนะครับ...ก็ เราเองยังมีอุปาทานักขันธิ์ในขันธิ์5ว่าเป็นเราเป็นของเราเป็นตัวตนของเรา...บางครั้งมันเป็นสังขาร(คิดปรุงแต่ง) จิตสังขาร(โทสะ โมหะ) บางครั้งมันคือเวทนา...(สุข ทุกข์ เฉย)...แต่ทั้งหมดก็คือยังไงมันต้องอยู่ในขันธิ์ใดขันธิ์หนึ่งในขันธิ์5...อันเป็นทุกข์อริยสัจจ์ที่ควรกำหนดรู้......สติปัฎฐานสี่ รู้ กาย เวทนา จิต ธรรม นั้น เพื่อ รู้เท่าทัน กายใจ อันเกิด จากเหตุปัจจัย เป็นปฎิจสมุปบาท....ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา...เพือ่ความเข้าใจอย่างถึงที่สุด ละอภิชฌาและโทมนัส รวม ทั้งตัณหาด้วย....เพื่อ เข้าใจ อย่างถึงที่สุด ในการภาวนา ข้างหน้าครับ..(ถ้ายกการภาวนาเข้าสู่สติปัฎฐานสี่หรือพูดง่ายง่ายว่า มีสติ สัมปชัญญะ...ขณะนั้นก็ดูกายในกายไปเลยก็ได้เช่น สั่น วูบ หวิว หรือดูจิตสังขารไปเลยก้ได้เช่น จิตหดหู่ จิตมีโทสะ ในเมื่อมันเป็นปฎิจสมุปันธรรม มันย่อมเกิดขึ้นจากเหตุ และ ใหลไปสู่การปรุงแต่งต่อต่อมา....ก็แค่ รู้กาย รู้ใจไป)ในที่สุดมันก็ดับ...อยู่ดีครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 สิงหาคม 2013
  11. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    กรณีที่นักภาวนา มี จิตโลดโผน ( คำสุภาพอื่น ล่วงวิสัยมนุษย์ปรกติ )

    ก็ให้ เสพส่องอย่างนั้นบ่อยๆ หรือ กรณีที่เป็นการ แฉลบ ของจิต คือ
    เราทำ สมาธิอย่างอื่นเพื่อเก็บกำลัง แต่ พอเรา สติอ่อน ตกจาก กรรมฐานหลัก
    จิตมันจะ อาศัย " ภวังค์ " ที่ยังมีในจิต ( พระอรหันต์ จะไม่มี ภวังคจิต )
    นั้นเป็น ช่องบันทอนกำลังสมาธิ

    ภวังค์ จะเป็น เครื่องมือของ มาร หาก นักภาวนาท่านนั้นๆ ยังมี แนวโน้ม
    ยึดถือขันธ์ แยกธาตุแยกขันธ์ยังไม่เป็น มารก็จะอาศัย จิตที่กำลังมีกำลัง
    กำลังเดินผ่าน ภวังคจิต มันก็ หยอด หรือ หลอกล่อ ด้วย ผัสสะ บางอย่าง
    ที่นักภาวนาเห็นแล้วไม่เป็นกลาง ก็จะถูกชัดชวนให้ออกนอก

    ก็จะเห็นว่า

    หากสดับธรรมะ เราจะ อาศัย การส่งจิตออกนอก รับรู้ไปว่า " เราย่ำเข้า
    เขตแดนข้าศึก " ทำไมถึงไป " เพราะ ผัสสะ ที่กระทบ แล้ว รู้ไม่ทัน "
    หรือที่เรียกว่า " เผลอ " เผลอแล้วรู้ ก็เรียก

    อนึ่ง พึงทราบว่า การเผลอของผู้ประกอบฌาณ ของผู้มีกำลัง จัดเป็นเผลอ
    ที่ไม่ผิดศีล ยังไม่เป็นการผิดศีล เพราะยังไม่ได้ อาศัยไป ทำอะไรอย่างอื่น
    ที่เป็นไปเพื่อ โลกธรรม8 [ พระพุทธองค์ทรงอนุเคราะห์เพิ่มว่า ก็อย่า
    ไปเผลอคุยกับพวก อนุสัมปบัน ทั้งหลาย ปลอดภัยที่สุด ]


    การเห็นจึงเป็นอัพพยากตา คือ ขณะเห็นในสมาธิ จะมีความ เฉย
    [ ความเฉยในการเห็นนิมิต นั้นมีอยู่ จิตรำพึงเพิ่ม ยกไว้ จัดเป็น
    เหตุที่ทำไว้ก่อนหน้า ไม่ว่ากัน ]


    ถ้ากำหนด " การรู้เฉย " หรือ เอา อัพพยากตาธรรม มาระลึกเพื่อ
    เจริญสติ ก็จะไปไวกว่า ไปเอา กุศลมาพิจารณา เอาอกุศลมาพิจารณา
    เพราะ การไปเอา กุศลมาพิจารณา หรือ เอาอกุศลมาพิจารณา ย่อม
    ล่วงเขตแดนข้าศึกมากกว่า

    ดังนั้น

    นักภาวนา ที่มันมีจิตแฉลบออก ก็เพียง แต่กำหนดรู้ สภาวะ ก่อนเข้าไปเห็น
    ระหว่างที่เห็น กับ หลังการเห็น ว่า " จิตแปรปรวน ไม่เที่ยง "

    เน้นว่า เอามา พิจารณาเห็น " จิตแปรปรวน ไม่เที่ยง "

    เน้นอีกทีว่า เอามา พิจารณาเห็น " จิตแปรปรวน ไม่เที่ยง "

    ทำไมแปรปรวน เพราะ มีฉันทะเป็นมูล ...........

    ต่อจาก ฉันทะ ตัณหาเป็น มูล ที่เหลือ ลองไล่ หรือ สอบสวน ทบทวน
    เอาจากข้อธรรมต่อไป

    ที่สำคัญ จะไปหยุดที่ ธรรมชาติใดที่พ้นความแปรปรวน มีอยู่ไหม น้อม
    มาเห็นหรือเปล่า หรือ ยังจะมุ่ง โกยทุกข์ ไม่เห็นโทษ ไม่เห็นภัย


    สิ่งที่ล่วงวิสัยมนุษย์ มีเอาไว้ทำอะไร ...... ก็เพื่อ เจริญสติ
    สัมปชัญญะ ไม่ประมาท ไม่ต่างจาก เอา สภาพธรรมใดๆ มา
    เจริญสติ สัมปชัญญะ ไม่ประมาท เหมือนกันหมด ไม่มีน้ำหนัก
    ไม่มีการให้ค่า " เข้าไปเห็นวิเศษ แต่ ไม่มีการสะเทือน หรือ แส่ส่าย"

    ถ้าเอามาเห็นโทษ เห็นภัยได้ ก็จะเข้าใจ อัปณิหิตสมาธิ สมาธิที่
    ไม่มีที่ตั้ง พ้นอยาตนะ ได้เนืองๆ ทั้งๆที่ เห็นอยู่ตำอยาตนะ

    " มี ก็เหมือนไม่มี "
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 สิงหาคม 2013
  12. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    โสตะวิญญาน คือ การรับรู้ทางเสียง

    โสตะวิญญาน คือ การรับรู้ทางเสียง ด้วย การติดต่อสื่อสารทางเสียง ซึ่งละเอียดกว่าการฟังตามปกติ เช่น ดูหนังฟังเพลง หรือพูดคุยกันตามธรรมดา โสตะวิญญาน มักใช้กับการได้ยินเสียงในความละเอียดระดับ จิตใต้สำนึก รวมถึงเสียงในขณะที่ สติมีความละเอียดดีเพียงพอ เช่น เสียงรำพึงรำพันของตัวเองในใจ หรือ เสียงของคลื่นความถี่สูง ซึ่งเสียงเหล่านี้ ไม่ใดใช้ "หู" เป็นเครื่องฟัง แต่การ "ได้ยินเสียง" ยังมีอยู่

    วิธีทดสอบ ในขณะที่อ่านอยู่นี้ "ให้ทำความรู้สึกไปที่ ใบหูรวมทั้งรูหูทั้งสองข้าง" แล้วปล่อยไว้เฉย ๆ

    ผลลัพธ์ย่อมได้ยิน "เสียงของคลื่นความถี่สูง" ซึ่งมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ หากปล่อยเอาไว้เฉย ๆ สักครู่ บางคนอาจได้ยิน "เสียงรำพึงรำพันของตัวเองในใจ" อีกด้วย ซึ่งเสียงนี้ตามคำศัพท์แล้ว เป็นการทำงานของ "วจีจิตตะสังขารขันธ์" ซึ่งมีอยู่แล้วตามธรรมชาติของทุกคน ผู้ที่ฝึก สติ ได้แล้วมักจะต้อง ฝ่าด่านนี้กันทั้งนั้น และผู้ที่ฝ่าด่านนี้ได้แล้ว จะเข้าใจ "คนบ้าที่พูดกับตัวเอง" ได้เป็นอย่างดีว่า เหตุ คืออะไรและมาจากไหน และ "ตัวบ้า" ที่ หลวงตามหาบัว พูดถึงคืออะไรกันแน่

    มีตัวอย่างจากในหนังสือ "หลวงปู่ฝากไว้" จาก หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ในตอนที่ พระกลุ่มหนึ่งจะไปจำพรรษา โดยสัญญาว่าจะไม่คุยกันตลอดพรรษา แล้วมาลาหลวงปู่ โดยที่หลวงปู่พูดว่า "มันไม่พูดกับใคร มันก็พูดกับตัวมันเอง นั่นแหละ" "มีแต่พระอริยะเจ้า ที่เข้า นิโรธสมาบัติ เท่านั้น ที่จะทำให้มันหยุดพูดได้" เป็นลักษณะทำนองนี้นะครับ ข้อความเต็มผมจำไม่ได้

    ในหนังการ์ตูนเด็ก ๆ ของฝรั่งชอบนำไปทำในรูปของ การ์ตูนตัวปีศาจน้อยมีเขาถือหอกและมีหางคล้ายลูกศร ยืนอยู่ทางหูซ้าย กับ การ์ตูนตัวเทวดาน้อยมีปีกมีวงกลม ๆ อยู่บนหัว ยืนอยู่ทางหูข้างขวา ตัวปิศาจน้อยพยายามเป่าหูเจ้าของต่าง ๆ นา ๆ ส่วนตัวเทวดาน้อยก็พยายามแก้ทางให้เจ้าของไปเรื่อย ๆ จนกว่าเจ้าตัวจะทำการตัดสินใจว่าจะทำอะไรเป็นต้น ตรงนี้คือ วิวัฒนาการจาก มโนกรรม (คิดในใจ) สู่ วจีกรรม (พูดออกมา) หรือ กายกรรม (ลงมือทำ) ก็ได้

    สังเขปมาพอเป็นที่เข้าใจในคำศัพท์ "โสตะวิญญาน" ไว้แต่เพียงแค่นี้ก่อน นะครับ
     
  13. เมิล

    เมิล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    421
    ค่าพลัง:
    +3,132
    อ้อมันเป็นจั๋งซี้ เมื่อคืนตื่นมาเพราะเสียงรำพึงรำพันนี่แหละ
    ที่เมิลบอกว่าจิตเงียบก็คือเงียบจากเสียงพวกนี้ ถ้าแช่อยู่ในฐานจะไม่มีนะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 สิงหาคม 2013
  14. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    กรณีคนที่มีอาการ 32 สมบูรณ์ครบมาแต่เกิด


    อย่างน้อย ก็ได้ความรู้ด้วยตัวเองที่ว่า

    คนเราไม่มีหูก็สามารถได้ยินเสียงได้

    ทำไมถึงกล่าวอย่างนั้น

    หู(โสต)ที่คนเราเข้าใจ เป็นส่วนประกอบของร่างกาย

    กระบวนการทำงานของร่างกาย
    ทางกายภาพ ก็จะบอกว่าไม่มีหูก็จะไม่สามารถได้ยินได้

    ทีนี้ ในกรณีเริ่มฝึกปฏิบัติจิต

    สังเกตุไหม
    หากการปฏิบัติจิต ผ่านการแยกร่างออกมา

    ตา หู จมูก ลิ้น มันอยู่ที่ร่างกาย
    แต่พอแยกร่างออกมาแล้ว

    ตา หู จมูก ลิ้น มันก็ยังอยู่ที่ร่างกาย
    แต่ว่า

    ร่างที่แยกออกมานั้น มันก็สามารถ มองเห็น ได้ยินเสียง ได้กลิ่น
    แม้ไม่อาศัย ตา หู จมูก ที่เป็นส่วนประกอบของร่างกายนั้นก็ได้

    จริงมั๊ย
     
  15. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    ทีนี้ หากมีคำถามว่า เอาไว้ทำอะไร

    ก็เอาไว้ ปฏิบัติจิตเช่นเดิม

    เพียงแต่ มันเข้าไปสู่ความละเอียดมากขึ้น

    กรณีที่เกิดขึ้นมานี้ จี้ลงไปที่จิตอย่างเดียว

    จิตเป็นอย่างไร กำหนดรู้อย่างนั้น บ่อยๆ เนืองๆ
    พละ 5 จะกล้าแข็งขึ้นตามลำดับ
     
  16. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,862
    ค่าพลัง:
    +1,818
    โสตวิญญาณ คือ ธรรมชาติการรับรู้อารมณ์ทางด้านการได้ยิน หรือ ธรรมชาติการรับรู้อารมณ์ทางด้านเสียง
    ถ้าคุณมีอาการที่ผิดปกติจากการได้ยินเสียงทั่วๆไป แสดงว่า อวัยวะภายในช่องหูของคุณผิดปกติ เช่นอาจมีลมออกหูหรืออากาศเคลื่อนผ่านช่องหูจากด้านในออกมา ทำให้เกิดอาการได้ยินเสียงแปลกๆ ถ้าเป้นบ่อยต้องไปปรึกษาแพทย์
    ส่วนการปฏิบัติ เกี่ยวกับ การรับรู้อารมณ์ทางด้านการได้ยิน ก็คล้ายกับการปฏิบัติสมาธินั่นแหละขอรับ หรือจะเรียกว่า เวลาปฏิบัติสมาธิ ต้องรู้จักควบคุมอารมณ์มิให้ไหลตามสิ่งที่ได้ยิน อย่างนี้เป็นต้น
     
  17. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ตอนนี้คุณแว๊ดอยู่ประเทศ หากมีปัญหาภาคปฏิบัติ เชิญตั้งคำถามได้นี่

    นิพพานคืออะไร ? - Wunjun Group

    และขออนุญาตนำปัญหานี้ไปไว้ที่บอร์ดตามลิงค์นั่นด้วย
     
  18. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ มันเป็นจั๋งสั้น แรก ๆ ก็ต้องพึ่งพาอาศัยฐาน (ทั้ง 4) ไปก่อน จนกว่า สติ จะสามารถอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง จนเป็นอิสสระจากฐานจิต (สัญญา) และฐานธรรมารมณ์ (เวทนาจิต) หรือจะใช้การ วางตรง ๆ ไปที่เวทนาจิตเลยก็ได้ แล้วจะเข้าใจเรื่อง นิโรธสมาบัติ ได้เองมันเป็นจั๋งสั้นแหละ
     
  19. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    หู จะไปรับรู้เสียงไม่ได้ หู มีหน้าที่กระทบกับเสียง
    จิตเกิดขึ้นระหว่างหูกระทบกับเสียง เรียกว่าโสตวิญญาน
    เพื่อรับรู้เสียงที่มากระทบกับหู เท่านั้นเอง
    โสตวิญญาน จะไปรู้เรื่องราวที่หูก็ไม่ได้
    สิ่งที่จะรู้เรื่องราวที่หูได้ ได้แก่ มโนวิญญาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 สิงหาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...