โอ๊ย .... ทำไมมันมั่วขนาดนี้ ทนไม่ไหวแล้วนะ ...

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย Chaiyaboon, 1 พฤศจิกายน 2007.

  1. Chaiyaboon

    Chaiyaboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2007
    โพสต์:
    419
    ค่าพลัง:
    +1,803
    ผมมองข้ามความคิดเห็นผิด ๆ แบบนี้ไปได้อย่างไงเนี่ย ...

    แถมมีคนอนุโมทนาเพียบ กลุ้ม .....


    <TABLE class=tborder id=post774721 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead id=currentPost style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid"><!-- status icon and date -->[​IMG] 25-10-2007, 09:26 AM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right>#18 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>The Third Eyes<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_774721", true); </SCRIPT>
    สมาชิก ยอดนิยม

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: วันนี้ 09:02 PM
    วันที่สมัคร: Mar 2005
    ข้อความ: 1,020 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 161 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 29,545 ครั้ง ใน 1,279 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 3329 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]



    </TD><TD class=alt1 id=td_post_774721 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- message -->หลักของ วงแห่งกรรม หลักของ วัฏสงสาร
    ที่บอกไว้ เรื่อง ปกิจสมุปบาท
    เมื่อ มี กิเลส..ก็จะเกิด ชาติ ..เกิด ภพ.ฯลฯ
    ถ้าในแนววิทยาศาสตร์ คือ การทำให้ สมดุลย์

    เช่น ความคิดที่ ดี ทำดี..เป็น ผล บวก
    การคิด ที่ เป็นกิเลส การทำบาป เป็น ผลลบ

    การเป็นคน ย่อมมีการทำบาป ทั้งโดยตั้งใจ และไม่ตั้งใจเป้นธรรมดา
    เราจึงมีประจุลบ

    การทำบุญ ..นั่งสมาธิ..นั่ง กรรมัฐฐาน.. วิปัสนา..ย่อมได้ ประจุบวก
    คนที่มีกรรม มีเวร จึงมีการแนะนำว่า..ไปนั่ง สมาธิ บวช พราหมณ์ บวชชีพราหมณ์ เป็นระยะ สั้นๆๆ หรือ ยาว..ก็เพื่อ จะได้ ประจุ บวก

    การบวชเณร บวชเป็นพระ ก็เพื่อ จะได้ ประจุบวก หรือ ที่เรียกว่า ผลบุญ

    เมื่อบาปและบุญ ซึ่งอยู่คนละข้าง
    เหมือน ระบบ บัญชี ที่ มีสอง ขา คือ ราย จ่าย กับ รายรับ เท่า กัน
    ก็ ถือ ว่า สมบูรณ์

    เมื่อ บัญชี บาป กับ บุญ เท่า กัน
    ก็จะเกิด สมดุลย์ ไม่มีความแตกต่าง
    ก็จะเกิด ความว่างเปล่า..นั้นคือ เข้า สู่ นิพพาน

    ดังนั้น คนที่ รู้ วิธีว่า ที่ ง่ายที่สุด..คือ การ ทำ "อุเบกขาเป็นหลักใหญ่"

    เพราะ อุเบกขา นั้น
    จะฝึกจิต..ที่ไม่ให้ติด กับ สิ่ง ที่ ชอบ..(เพราะจะนำไปสู่การเกิด กิเลส)
    จะฝึกจิต ไม่ให้ ติด กับสิ่งที่ไม่ชอบ..(เพราะ จะพกไฟเผาใจไว้ในตัว)

    เมื่อฝึกจิต ไม่ให้ติด กับ สิ่งที่ ชอบ..ไม่ให้ติดกับ สิ่งที่ไม่ชอบ
    จิต จึงเกิด ความว่างเปล่า

    เมื่อไม่มีอะไร..มีแต่ความว่าง..การหลุดพ้น ก็จะมา
    การหลุดพ้น ไม่ต้องแสวงหา ที่ไหน..
    สวรรค์ และ นรก ก็ไม่ต้องไปแสวงหา..ที่ ใหน
    อยู่ที่ใจเราเอง..อยู่บตัวเอง

    ทั้งหมด ไม่ได้ เป็นการ สอน ศาสนา ที่ พิศดาร
    เป็นแนวคิด ของ The Third Eyes เพียงผู้เดียว
    ขอให้ พิจารณา และ คิดเอาเอง
    จะเชื่อ หรือ ไม่เชื่อ..ก็แล้วแต่สมาชิกที่เข้ามาอ่าน
    ขอให้โชคดี ครับ
    สาธุ...สาธุ...สาธุ
    ขอให้ คุณธรรม..ค้ำจุน โลกด้วยเถิด
    <!-- / message -->
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="99%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=tcat>สมาชิก 26 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ The Third Eyes ในข้อความที่เขียนด้านบน </TD></TR><TR><TD class=alt2 height=29>[​IMG] แม่หมูอ้วน (26-10-2007), ม้านิลมังกร (25-10-2007), A_wiwat (27-10-2007), เด็กออม (29-10-2007), CHAYA MARUTY (เมื่อวานนี้), chou (25-10-2007), dalink (26-10-2007), Kamphol (25-10-2007), nuaung (26-10-2007), Nu_Bombam (26-10-2007), pong10500 (25-10-2007), poom076 (26-10-2007), raquaz (25-10-2007), sid2 (29-10-2007), sudchewan (25-10-2007), thamruksaudon (26-10-2007), toplus99 (25-10-2007), TriKun (25-10-2007), Yamamoto (25-10-2007), yutkanlaya (25-10-2007), ลายสิงห์ (25-10-2007), ธัมมนัตา (26-10-2007), นพสร (26-10-2007), ปัชฌา (27-10-2007), พิชญ์ (26-10-2007), พงษ์พันธ์599 (26-10-2007) </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. Chaiyaboon

    Chaiyaboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2007
    โพสต์:
    419
    ค่าพลัง:
    +1,803
    <TABLE height=50 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=650 align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
    พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต
    )



    ปฏิจจสมุปบาท สภาพอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น, การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดมีขึ้น, การที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยต่อเนื่องกันมา มีองค์คือหัวข้อ ๑๒ ดังนี้
    ๑. อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา
    เพราะอวิชชา เป็นปัจจัย สังขารจึงมี
    ๒. สงฺขาราปจฺจยา วิญฺญาณํ
    เพราะสังขาร เป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
    ๓. วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ
    เพราะวิญญาณ เป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
    ๔. นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ
    เพราะนามรูป เป็นปัจจัย สฬายตนจึงมี
    ๕. สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส
    เพราะสฬายตนะ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
    ๖. ผสฺสปจฺจยา เวทนา
    เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
    ๗. เวทนาปจฺจยา ตณฺหา
    เพราะเวทนา เป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
    ๘. ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ
    เพราะตัณหา เป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
    ๙. อุปาทานปจฺจยา ภโว
    เพราะอุปาทาน เป็นปัจจัย ภพจึงมี
    ๑๐. ภวปจฺจยา ชาติ
    เพราะภพ เป็นปัจจัย ชาติจึงมี
    ๑๑. ชาติปจฺจยา ชรามรณํ
    เพราะชาติ เป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
    โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติ
    โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงมีพร้อม
    เอวเมตตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ
    ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมีด้วยประการฉะนี้


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. Chaiyaboon

    Chaiyaboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2007
    โพสต์:
    419
    ค่าพลัง:
    +1,803
    เรื่องสมดุลย์หรือไม่สมดุลย์ไม่เกี่ยวกับปฎิจจสมุปบาท เลยแม้แต่น้อย

    หลักนี้เป็นหลักของความต่อเนื่องของสิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นโดยมีเหตุปัจจัย
     
  4. Chaiyaboon

    Chaiyaboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2007
    โพสต์:
    419
    ค่าพลัง:
    +1,803
    ส่วนเรื่องประจุบวกลบอะไร ผมไม่ทราบ พุทธเจ้าไม่ได้สอน

    แต่มันมั่วตรง
    เมื่อ บัญชี บาป กับ บุญ เท่า กัน
    ก็จะเกิด สมดุลย์ ไม่มีความแตกต่าง
    ก็จะเกิด ความว่างเปล่า..นั้นคือ เข้า สู่ นิพพาน


    โอ้โห ... ศาสดาองค์ใหม่แล้วแบบนี้

    นิพพานแปลว่า "ดับ" มี 2 ภาวะคือ

    ๑. สอุปาทิเสสนิพพาน ดับกิเลสมีเบญจขันธ์เหลือ

    ๒. อนุปาทิเสสนิพพาน ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ


    ความว่าง ไม่ได้แปลว่านิพพาน ความว่างเป็น สภาวะหนึ่ง

    ไม่เที่ยง ถ้าจิตยึดความว่างคือยึดสภาวะ ๆ หนึ่ง ที่ไม่เที่ยง

    ว่างได้ก็ฟุ้งซ่านได้ ส่วนอุเบกขาก็ไม่เกี่ยวกับนิพพานอีกเหมือนกัน

    อุเบกขาก็เป็นสภาวะหนึ่ง แสดงไตรลักษณ์ได้เช่นกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 พฤศจิกายน 2007
  5. Chaiyaboon

    Chaiyaboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2007
    โพสต์:
    419
    ค่าพลัง:
    +1,803
    ส่วนเรื่องบาป-บุญ ก็คนละเรื่องอีก

    คือกุศลก็ส่วนหนึ่ง อกุศลก็ส่วนหนึ่ง จิตในขณะหนึ่งจะรับอารมณ์ได้

    อย่างเดียว จิตที่เป็นอกุศลไม่มีทางเกิดร่วมกับจิตที่เป็นกุศลได้ ฉะนั้น

    การเอามารวมกันให้สมดุลย์ ก็ได้ไปนิพพาน ทฤษฏีแบบนี้จึงปฏิบัติไม่

    ได้ ผู้พูดแบบนี้เป็นผู้ไร้ปัญญา ไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องจิต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 พฤศจิกายน 2007
  6. Chaiyaboon

    Chaiyaboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2007
    โพสต์:
    419
    ค่าพลัง:
    +1,803
    ถ้าเจริญสมถะสมาธิ จนจิตยึดอารมณ์ความว่างเปล่า ถ้าจุติในขณะนั้น

    จะไปเกิดใน อสัญญสัตตาภูมิ หรือ พรหมรูปฟัก ถ้าเดินสมถะต่อไป จะ

    พลิกไปเป็นอรูปพรหมก็ได้

    แต่ ..... นิพพานไม่เกี่ยว
     
  7. Chaiyaboon

    Chaiyaboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2007
    โพสต์:
    419
    ค่าพลัง:
    +1,803
    นิพพานเกิดจากการเจริญปัญญา จนรู้แจ้ง

    ไม่ใช่เกิดจากการเจริญอุเบกขา
     
  8. Chaiyaboon

    Chaiyaboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2007
    โพสต์:
    419
    ค่าพลัง:
    +1,803
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
    สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค</CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD width="100%" bgColor=darkblue hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER></CENTER><CENTER>นิพพานสูตร</CENTER><CENTER>เจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย</CENTER>[๔๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน? คือ สติสัมโพชฌงค์ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.
    </PRE>
     
  9. Chaiyaboon

    Chaiyaboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2007
    โพสต์:
    419
    ค่าพลัง:
    +1,803
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
    อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต</CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD width="100%" bgColor=darkblue hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER></CENTER><CENTER>๖. นิพพานสูตร</CENTER>[๓๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นนิพพานโดยความเป็นทุกข์ จักเป็นผู้ประกอบด้วยขันติที่สมควร ข้อนั้นย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้เธอไม่ประกอบด้วยขันติที่สมควรแล้ว จักก้าวลงสู่ความเป็นชอบและความแน่นอนข้อนั้นย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อไม่ก้าวลงสู่ความเป็นชอบและความแน่นอนจักกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรือ อรหัตผลข้อนั้นย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นนิพพานโดยความเป็นสุข จักเป็นผู้ประกอบด้วยขันติที่สมควร ข้อนั้นย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ เธอประกอบด้วยขันติที่สมควรแล้ว จักก้าวลงสู่ความเป็นชอบและความแน่นอน ข้อนั้นย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อก้าวลงสู่ความเป็นชอบและความแน่นอน จักกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรือ อรหัตผล ข้อนั้นย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ
    </PRE>
     
  10. Chaiyaboon

    Chaiyaboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2007
    โพสต์:
    419
    ค่าพลัง:
    +1,803
    อันนี้สำคัญ ขอให้สมาชิกอ่านและทำความเข้าใจให้ดีนะครับ

    -------------------------------------------------------


    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
    มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์</CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD width="100%" bgColor=darkblue hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER></CENTER><CENTER>๒. ฉวิโสธนสูตร (๑๑๒)</CENTER>[๑๖๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถ-*บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว ฯ [๑๖๗] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพยากรณ์อรหัตตผลว่า ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าเพ่อยินดี อย่าเพ่อคัดค้านคำกล่าวของภิกษุรูปนั้น ครั้นไม่ยินดีไม่คัดค้านแล้ว พึงถามปัญหาเธอว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ โวหารอันพระผู้มี-*พระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ตรัสไว้ชอบ นี้มี ๔ ประการ ๔ ประการเป็นไฉน คือ คำกล่าวว่า เห็นในอารมณ์ที่ตนเห็นแล้ว คำกล่าวว่า ได้ยินในอารมณ์ที่ตนฟังแล้ว คำกล่าวว่า ทราบในอารมณ์ที่ตนทราบแล้ว คำกล่าวว่า รู้ชัดในอารมณ์ที่ตนรู้ชัดแล้ว นี้แล โวหาร ๔ ประการอันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธตรัสไว้ชอบ ก็จิตของท่านผู้มีอายุ ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ อย่างไรเล่า จึงหลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในโวหาร ๔ นี้ ฯ [๑๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้วทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษแล้ว เพราะรู้ชอบ จึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัยไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมที่ข้าพเจ้าได้เห็น มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่ ข้าพเจ้าไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ... พรากได้แล้วในธรรมที่ข้าพเจ้าได้ยิน มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่ ข้าพเจ้าไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ... พรากได้แล้วในธรรมที่ข้าพเจ้าได้ทราบ มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่ ข้าพเจ้าไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ... พรากได้แล้วในธรรมที่ข้าพเจ้าได้รู้ชัด มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่ ดูกรท่านผู้มีอายุจิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ อย่างนี้แล จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในโวหาร ๔ นี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำกล่าวของภิกษุรูปนั้น พวกเธอควรชื่นชมอนุโมทนาว่า สาธุ ครั้นแล้วพึงถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ อุปาทานขันธ์อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมา-*สัมพุทธตรัสไว้ชอบ นี้มี ๕ ประการแล ๕ ประการเป็นไฉน คือ รูปูปาทานขันธ์เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์ดูกรท่านผู้มีอายุ นี้แลอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ตรัสไว้ชอบแล้ว ก็จิตของท่านผู้มีอายุ ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไรเล่า จึงหลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในอุปาทาน-*ขันธ์ ๕ นี้ ฯ [๑๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้วทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับสิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบ จึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้ารู้แจ้งรูปแล้วแลว่า ไม่มีกำลังปราศจากความน่ารัก มิใช่เป็นที่ตั้งแห่งความชื่นใจ จึงทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นในรูป และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นในรูปได้ ข้าพเจ้ารู้แจ้งเวทนาแล้วแลว่า ... จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นในเวทนา และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นในเวทนาได้ ข้าพเจ้ารู้แจ้งสัญญาแล้วแลว่า ... จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้นสำรอก ดับ สละ และสลัดคืน ซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นในสัญญา และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นในสัญญาได้ ข้าพเจ้ารู้แจ้งสังขารแล้วแลว่า ... จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นในสังขาร และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นในสังขารได้ข้าพเจ้ารู้แจ้งวิญญาณแล้วแลว่า ไม่มีกำลัง ปราศจากความน่ารัก มิใช่เป็นที่ตั้งแห่งความชื่นใจ จึงทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับสละ และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นในวิญญาณ และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นในวิญญาณได้ ดูกรท่านผู้มีอายุ จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำกล่าวของภิกษุรูปนั้น พวกเธอควรชื่นชมอนุโมทนาว่า สาธุ ครั้นแล้วพึงถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ธาตุอัน-*พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธตรัสไว้ชอบ นี้มี ๖ ประการ ๖ ประการเป็นไฉน คือปฐวีธาตุ อาโปธาตุเตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ ดูกรท่านผู้มีอายุ นี้แลธาตุ ๖ ประการอันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธตรัสไว้ชอบแล้ว ก็จิตของท่านผู้มีอายุ ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไรเล่า จึงหลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในธาตุ ๖ นี้ ฯ [๑๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้วทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับสิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบ จึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าครองปฐวีธาตุโดยความเป็นอนัตตามิใช่ครองอัตตาอาศัยปฐวีธาตุเลย จึงทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้นสำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นอาศัยปฐวีธาตุ และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นอาศัยปฐวีธาตุได้ ข้าพเจ้าครองอาโปธาตุโดยความเป็นอนัตตา ... เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นอาศัยเตโชธาตุ และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นอาศัยเตโชธาตุได้ ข้าพเจ้าครองวาโยธาตุโดยความเป็นอนัตตา ... เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละและสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นอาศัยวาโยธาตุ และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นอาศัยวาโยธาตุได้ ข้าพเจ้าครองอากาสธาตุโดยความเป็นอนัตตา...เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นอาศัยอากาสธาตุและอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นอาศัยอากาสธาตุได้ ข้าพเจ้าครองวิญญาณธาตุโดยความเป็นอนัตตา มิใช่ครองอัตตาอาศัยวิญญาณธาตุเลย จึงทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นอาศัยวิญญาณธาตุ และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นอาศัยวิญญาณธาตุได้ ดูกรท่านผู้มีอายุ จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แลจึงได้หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในธาตุ ๖ นี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำกล่าวของภิกษุรูปนั้น พวกเธอควรชื่นชม อนุโมทนาว่า สาธุ ครั้นแล้วพึงถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็อายตนะภายในอายตนะภายนอก อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ตรัสไว้ชอบ นี้มีอย่างละ ๖ แล อย่างละ ๖ เป็นไฉนคือจักษุและรูป โสตและเสียง ฆานะและกลิ่น ชิวหาและรส กายและโผฏฐัพพะมโนและธรรมารมณ์ ดูกรท่านผู้มีอายุ นี้แลอายตนะภายใน อายตนะภายนอกอย่างละ ๖ อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันต-*สัมมาสัมพุทธ ตรัสไว้ชอบแล้ว ก็จิตของท่านผู้มีอายุ ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไรเล่าจึงหลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในอายตนะทั้งภายในทั้งภายนอกอย่างละ ๖เหล่านี้ ฯ [๑๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้วทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับสิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษแล้ว เพราะรู้ชอบ จึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้วเพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่งความพอใจ ความกำหนัด ความยินดี ตัณหา อุปาทานที่ยึดมั่น และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่น ในจักษุ ในรูป ในจักษุวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ ข้าพเจ้าทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่งความพอใจ ความกำหนัด ความยินดี ตัณหา อุปาทานที่ยึดมั่น และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่น ในโสต ในเสียง ในโสตวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยโสตวิญญาณ ข้าพเจ้าทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้วเพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่งความพอใจ ความกำหนัด ความยินดีตัณหา อุปาทานที่ยึดมั่น และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่น ในฆานะในกลิ่น ในฆานวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยฆานวิญญาณ ข้าพเจ้าทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่งความพอใจ ความกำหนัด ความยินดี ตัณหา อุปาทานที่ยึดมั่น และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่น ในชิวหา ในรส ในชิวหาวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหาวิญญาณ ข้าพเจ้าทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้นสำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่งความพอใจ ความกำหนัด ความยินดี ตัณหาอุปาทานที่ยึดมั่น และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่น ในกาย ในโผฏฐัพพะ ในกายวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยกายวิญญาณ ข้าพเจ้าทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่งความพอใจ ความกำหนัด ความยินดี ตัณหา อุปาทานที่ยึดมั่น และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่น ในมโน ในธรรมารมณ์ ในมโนวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ ดูกรท่านผู้มีอายุ จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แลจึงได้หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในอายตนะทั้งภายในทั้งภายนอกอย่างละ ๖ เหล่านี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำกล่าวของภิกษุรูปนั้น พวกเธอควรชื่นชม อนุโมทนาว่า สาธุ ครั้นแล้วพึงถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า ก็เมื่อท่านผู้มีอายุ รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไร จึงถอนอนุสัยคือความถือตัวว่าเป็นเรา ว่าของเรา ในกายอันมีวิญญาณนี้และในนิมิตทั้งหมด ในภายนอกได้ด้วยดี ฯ [๑๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้วทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับสิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบ จึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อก่อน ข้าพเจ้าเป็นผู้ครองเรือน ยังเป็นผู้ไม่รู้ พระตถาคตบ้าง สาวกของพระตถาคตบ้าง แสดงธรรมแก่ข้าพเจ้านั้นข้าพเจ้าฟังธรรมนั้นแล้ว จึงได้ความเชื่อในพระตถาคต ข้าพเจ้าประกอบด้วยการได้ความเชื่อโดยเฉพาะนั้น จึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นช่องว่าง เรายังอยู่ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์ที่เขาขัดแล้ว นี้ไม่ใช่ทำได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์แล้วออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิดสมัยต่อมา ข้าพเจ้าจึงละโภคสมบัติน้อยบ้าง มากบ้าง ละวงศ์ญาติเล็กบ้าง ใหญ่บ้างปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ แล้วออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตข้าพเจ้าเมื่อเป็นผู้บวชแล้วอย่างนี้ ถึงพร้อมด้วยสิกขาสาชีพของภิกษุทั้งหลายเพราะละปาณาติบาต จึงเป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางอาชญา วางศาสตราแล้วมีความละอาย ถึงความเอ็นดู ได้เป็นผู้อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูต เพราะละอทินนาทาน จึงเป็นผู้เว้นขาดจากอทินนาทาน ถือเอาแต่ของที่เขาให้ หวังแต่ของที่เขาให้ มีตนเป็นคนสะอาด ไม่ใช่ขโมยอยู่ เพราะละกรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ จึงเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกลและเว้นจากเมถุนอันเป็นธรรมดาของชาวบ้าน เพราะละมุสาวาท จึงเป็นผู้เว้นขาดจากมุสาวาท เป็นผู้กล่าวคำจริง ดำรงอยู่ในคำสัตย์ เป็นหลักฐาน เชื่อถือได้ไม่พูดลวงโลก เพราะละวาจาส่อเสียด จึงเป็นผู้เว้นขาดจากวาจาส่อเสียด ได้ยินจากฝ่ายนี้แล้ว ไม่บอกฝ่ายโน้น เพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือได้ยินจากฝ่ายโน้นแล้วไม่บอกฝ่ายนี้ เพื่อทำลายฝ่ายโน้น ทั้งนี้ เมื่อเขาแตกกันแล้ว ก็สมานให้ดีกันหรือเมื่อเขาดีกันอยู่ ก็ส่งเสริม ชอบความพร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนที่พร้อม-*เพรียงกัน ชื่นชมในคนที่พร้อมเพรียงกัน เป็นผู้กล่าววาจาสมานสามัคคีกัน เพราะละวาจาหยาบ จึงเป็นผู้เว้นขาดจากวาจาหยาบ เป็นผู้กล่าววาจาซึ่งไม่มีโทษเสนาะหู ชวนให้รักใคร่ จับใจ เป็นภาษาชาวเมือง อันคนส่วนมากปรารถนาและชอบใจ เพราะละการเจรจาเพ้อเจ้อ จึงเป็นผู้เว้นขาดจากการเจรจาเพ้อเจ้อกล่าวถูกกาละ กล่าวตามเป็นจริง กล่าวอรรถ กล่าวธรรม กล่าววินัย เป็นผู้กล่าววาจามีหลักฐาน มีที่อ้าง มีขอบเขต ประกอบด้วยประโยชน์ ตามกาลข้าพเจ้าเป็นผู้เว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม เป็นผู้ฉันหนเดียว งดฉันในเวลาราตรี เว้นขาดจากการฉันในเวลาวิกาล เป็นผู้เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้องประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล เป็นผู้เว้นขาดจากการทัดทรงและตบแต่งด้วยดอกไม้ ของหอม และเครื่องประเทืองผิว อันเป็นฐานะแห่งการแต่งตัว เป็นผู้เว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงและใหญ่ เป็นผู้เว้นขาดจากการรับทองและเงิน เป็นผู้เว้นขาดจากการรับทาสีและทาส เป็นผู้เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ เป็นผู้เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร เป็นผู้เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา เป็นผู้เว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน เป็นผู้เว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้ เป็นผู้เว้นขาดจากการซื้อและการขาย เป็นผู้เว้นขาดจากการโกงด้วยตราชั่ง โกงด้วยของปลอม และโกงด้วยเครื่องตวงวัดเป็นผู้เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง เป็นผู้เว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น และการกรรโชก ข้าพเจ้าได้เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย และบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้องจะไปที่ใดๆ ย่อมถือเอาบริขารไปได้หมด เหมือนนกมีปีก จะบินไปที่ใดๆ ย่อมมีภาระคือปีกของตนเท่านั้น บินไป ฯ [๑๗๓] ข้าพเจ้าประกอบด้วยศีลขันธ์ของพระอริยะเช่นนี้แล้ว จึงได้เสวยสุขอันปราศจากโทษภายใน เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่เป็นผู้ถือเอาโดยนิมิตและโดยอนุพยัญชนะ ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์อันมีการเห็นรูปเป็นเหตุ ซึ่งบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ พึงถูกอกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้รักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์แล้ว ได้ยินเสียงด้วยโสตแล้ว...ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ... ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ...รู้ธรรมารมณ์ด้วยมโนแล้ว ไม่เป็นผู้ถือเอาโดยนิมิตและโดยอนุพยัญชนะ ปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์อันมีการรู้ธรรมารมณ์เป็นเหตุ ซึ่งบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ พึงถูกอกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ รักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์แล้ว ฯ [๑๗๔] ข้าพเจ้าประกอบด้วยอินทรียสังวรของพระอริยะเช่นนี้แล้ว จึงได้เสวยสุขอันไม่เจือทุกข์ภายใน ได้เป็นผู้ทำความรู้สึกตัวในเวลาก้าวไปและถอยกลับ ในเวลาแลดูและเหลียวดู ในเวลางอแขนและเหยียดแขน ในเวลาทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร ในเวลาฉัน ดื่ม เคี้ยว และลิ้ม ในเวลาถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ในเวลาเดิน ยืน นั่ง นอนหลับ ตื่น พูด และนิ่ง ฯ [๑๗๕] ก็ข้าพเจ้าประกอบด้วยศีลขันธ์ของพระอริยะเช่นนี้ ประกอบด้วยอินทรียสังวรของพระอริยะเช่นนี้ และประกอบด้วยสติสัมปชัญญะของพระอริยะเช่นนี้แล้ว จึงได้พอใจเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำบนภูเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง ข้าพเจ้ากลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลาอาหารแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า ละอภิชฌาในโลกได้แล้ว มีใจปราศจากอภิชฌาอยู่ ชื่อว่าได้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌาละความชั่วคือพยาบาทแล้ว เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่ ชื่อว่าได้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความชั่วคือพยาบาทละถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้มีจิตปราศจากถีนมิทธะ มีอาโลกสัญญา มีสติสัมปชัญญะอยู่ชื่อว่าได้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะแล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่านมีจิตสงบภายในอยู่ ชื่อว่าได้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉาแล้ว เป็นผู้ข้ามความสงสัยได้ ไม่มีปัญหาอะไรในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ชื่อว่าได้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา ฯ [๑๗๖] ข้าพเจ้าครั้นละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ อันเป็นเครื่องทำใจให้เศร้า-*หมอง ทำปัญญาให้ถอยกำลังแล้ว จึงได้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ได้เข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ได้เป็นผู้วางเฉย เพราะหน่ายปีติมีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌานที่พระอริยะเรียกข้าพเจ้านั้นได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่เป็นสุขอยู่ ได้เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ฯ [๑๗๗] ข้าพเจ้าเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่องยียวนปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว จึงได้น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ข้าพเจ้าได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่านี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ที่ดับทุกข์ นี้ปฏิปทาให้ถึงที่ดับทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ที่ดับอาสวะ นี้ปฏิปทาให้ถึงที่ดับอาสวะ เมื่อข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ได้มีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้วรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อข้าพเจ้ารู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แลจึงถอนอนุสัยคือความถือตัวว่าเป็นเรา ว่าของเรา ในกายอันมีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งหมดในภายนอกได้ด้วยดี ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำกล่าวของภิกษุรูปนั้น พวกเธอควรชื่นชม อนุโมทนาว่า สาธุ ครั้นแล้วพึงกล่าวแก่ภิกษุรูปนั้นอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เป็นลาภของพวกข้าพเจ้า พวกข้าพเจ้าได้ดีแล้ว ที่พิจารณาเห็นท่านผู้มีอายุ เช่นตัวท่านเป็นสพรหมจารี ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
    </PRE>
     
  11. Chaiyaboon

    Chaiyaboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2007
    โพสต์:
    419
    ค่าพลัง:
    +1,803
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
    สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค</CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD width="100%" bgColor=darkblue hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER></CENTER><CENTER>๕. อุปปาทสังยุต</CENTER><CENTER>๑. จักขุสูตร</CENTER><CENTER>ว่าด้วยความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปแห่งทุกข์</CENTER>[๔๗๙] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิดความปรากฏแห่งจักษุ นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ. ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งหู ฯลฯ แห่งลิ้น ฯลฯ แห่งกาย ฯลฯ แห่งใจ นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรคเป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ. [๔๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับโดยไม่เหลือ ความสงบระงับ ความดับสูญแห่งจักษุ นี้เป็นความดับโดยไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความดับสูญแห่งชราและมรณะ. ความดับโดยไม่เหลือ ความสงบระงับ ความดับสูญแห่งหู ฯลฯ แห่งจมูกฯลฯ แห่งลิ้น ฯลฯ แห่งกาย ฯลฯ แห่งใจ นี้เป็นความดับโดยไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความดับสูญแห่งชราและมรณะ.<CENTER>จบ สูตรที่ ๑.</CENTER><CENTER>๒. รูปสูตร</CENTER><CENTER>ว่าด้วยความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปแห่งทุกข์</CENTER>[๔๘๑] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิดความปรากฏแห่งรูป นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ. ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งเสียง ฯลฯ แห่งกลิ่น ฯลฯ แห่งรส ฯลฯ แห่งโผฏฐัพพะ ฯลฯ แห่งธรรมารมณ์ นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ. [๔๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับโดยไม่เหลือ ความสงบระงับ ความดับสูญแห่งรูปนี้เป็นความดับโดยไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความดับสูญแห่งชราและมรณะ. ความดับโดยไม่เหลือ ความสงบระงับ ความดับสูญแห่งเสียง ฯลฯ แห่งกลิ่น ฯลฯแห่งโผฏฐัพพะ ฯลฯ แห่งธรรมารมณ์ นี้เป็นความดับโดยไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความดับสูญแห่งชราและมรณะ.<CENTER>จบ สูตรที่ ๒.</CENTER><CENTER>๓. วิญญาณสูตร</CENTER><CENTER>ว่าด้วยความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปแห่งทุกข์</CENTER>[๔๘๓] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิดความปรากฏแห่งจักขุวิญญาณ ฯลฯ แห่งโสตวิญญาณ ฯลฯ แห่งมโนวิญญาณ นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ. [๔๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับโดยไม่เหลือ ความสงบระงับ ความดับสูญแห่งจักขุวิญญาณ ฯลฯ แห่งโสตวิญญาณ ฯลฯ แห่งฆานวิญญาณ ฯลฯ แห่งชิวหาวิญญาณ ฯลฯแห่งกายวิญญาณ ฯลฯ แห่งมโนวิญญาณ นี้เป็นความดับโดยไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความดับสูญแห่งชราและมรณะ.<CENTER>จบ สูตรที่ ๓.</CENTER><CENTER>๔. ผัสสสูตร</CENTER><CENTER>ว่าด้วยความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปแห่งทุกข์</CENTER>[๔๘๕] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิดความปรากฏแห่งจักขุสัมผัส ฯลฯ แห่งโสตสัมผัส ฯลฯ แห่งฆานสัมผัส ฯลฯ แห่งกายสัมผัส ฯลฯแห่งมโนสัมผัส นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ. [๔๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับโดยไม่เหลือ ความสงบระงับ ความดับสูญแห่งจักขุสัมผัส ฯลฯ แห่งโสตสัมผัส ฯลฯ แห่งฆานสัมผัส ฯลฯ แห่งชิวหาสัมผัส ฯลฯแห่งกายสัมผัส ฯลฯ แห่งมโนสัมผัส นี้เป็นความดับโดยไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความดับสูญแห่งชราและมรณะ.<CENTER>จบ สูตรที่ ๔.</CENTER><CENTER>๕. เวทนาสูตร</CENTER><CENTER>ว่าด้วยความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปแห่งทุกข์</CENTER>[๔๘๗] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิดความปรากฏแห่งจักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ แห่งโสตสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ แห่งฆานสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ แห่งชิวหาสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ แห่งกายสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ แห่งมโนสัมผัสสชาเวทนา นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ. [๔๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับโดยไม่เหลือ ความสงบระงับความดับสูญแห่งจักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ แห่งโสตสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ แห่งฆานสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯแห่งชิวหาสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ แห่งกายสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ แห่งมโนสัมผัสสชาเวทนานี้เป็นความดับโดยไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความดับสูญแห่งชราและมรณะ.<CENTER>จบ สูตรที่ ๕.</CENTER><CENTER>๖. สัญญาสูตร</CENTER><CENTER>ว่าด้วยความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปแห่งทุกข์</CENTER>[๔๘๙] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิดความปรากฏแห่งรูปสัญญา ฯลฯ แห่งสัททสัญญา ฯลฯ แห่งคันธสัญญา ฯลฯ แห่งรสสัญญาฯลฯ แห่งโผฏฐัพพสัญญา ฯลฯ แห่งธรรมสัญญา นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ. [๔๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับโดยไม่เหลือ ความสงบระงับ ความดับสูญแห่งรูปสัญญา ฯลฯ แห่งสัททสัญญา ฯลฯ แห่งคันธสัญญา ฯลฯ แห่งรสสัญญา ฯลฯ แห่งโผฏฐัพพสัญญา ฯลฯ แห่งธรรมสัญญา นี้เป็นความดับโดยไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความดับสูญแห่งชราและมรณะ.<CENTER>จบ สูตรที่ ๖.</CENTER><CENTER>๗. เจตนาสูตร</CENTER><CENTER>ว่าด้วยความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปแห่งทุกข์</CENTER>[๔๙๑] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิดความปรากฏแห่งรูปสัญเจตนา ฯลฯ แห่งสัททสัญเจตนา ฯลฯ แห่งคันธสัญเจตนา ฯลฯ แห่งรสสัญเจตนา ฯลฯ แห่งโผฏฐัพพสัญเจตนา ฯลฯ แห่งธรรมสัญเจตนา นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ. [๔๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับโดยไม่เหลือ ความสงบระงับ ความดับสูญแห่งรูปสัญเจตนา ฯลฯ แห่งสัททสัญเจตนา ฯลฯ แห่งคันธสัญเจตนา ฯลฯ แห่งรสสัญเจตนา ฯลฯแห่งโผฏฐัพพสัญเจตนา ฯลฯ แห่งธรรมสัญเจตนา นี้เป็นความดับโดยไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความดับสูญแห่งชราและมรณะ.<CENTER>จบ สูตรที่ ๗.</CENTER><CENTER>๘. ตัณหาสูตร</CENTER><CENTER>ว่าด้วยความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปแห่งทุกข์</CENTER>[๔๙๓] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิดความปรากฏแห่งรูปตัณหา ฯลฯ แห่งสัททตัณหา ฯลฯ แห่งคันธตัณหา ฯลฯ แห่งรสตัณหาฯลฯ แห่งโผฏฐัพพตัณหา ฯลฯ แห่งธรรมตัณหา นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ. [๔๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับโดยไม่เหลือ ความสงบระงับ ความสูญแห่งรูปตัณหา ฯลฯ แห่งสัททตัณหา ฯลฯ แห่งคันธตัณหา ฯลฯ แห่งรสตัณหา ฯลฯ แห่งโผฏฐัพพตัณหา ฯลฯ แห่งธรรมตัณหา นี้เป็นความดับโดยไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความดับสูญแห่งชราและมรณะ.<CENTER>จบ สูตรที่ ๘.</CENTER><CENTER>๙. ธาตุสูตร</CENTER><CENTER>ว่าด้วยความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปแห่งทุกข์</CENTER>[๔๙๕] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิดความปรากฏแห่งปฐวีธาตุ ฯลฯ แห่งอาโปธาตุ ฯลฯ แห่งเตโชธาตุ ฯลฯ แห่งวาโยธาตุ ฯลฯแห่งอากาสธาตุ ฯลฯ แห่งวิญญาณธาตุ นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรคเป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ. [๔๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับโดยไม่เหลือ ความสงบระงับ ความดับสูญแห่งปฐวีธาตุ ฯลฯ แห่งอาโปธาตุ ฯลฯ แห่งเตโชธาตุ ฯลฯ แห่งวาโยธาตุ ฯลฯ แห่งอากาสธาตุฯลฯ แห่งวิญญาณธาตุ ฯลฯ นี้เป็นความดับโดยไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรคเป็นความดับสูญแห่งชราและมรณะ.<CENTER>จบ สูตรที่ ๙.</CENTER><CENTER>๑๐. ขันธสูตร</CENTER><CENTER>ว่าด้วยความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปแห่งทุกข์</CENTER>[๔๙๗] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิดความปรากฏแห่งรูป นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ. ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งเวทนา ฯลฯ แห่งสัญญา ฯลฯ แห่งสังขาร ฯลฯ แห่งวิญญาณ นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ. [๔๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับโดยไม่เหลือ ความสงบระงับความดับสูญแห่งรูปนี้เป็นความดับโดยไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความดับสูญแห่งชราและมรณะ. ความดับโดยไม่เหลือ ความสงบระงับ ความดับสูญแห่งเวทนา ฯลฯ แห่งสัญญาแห่งสังขาร ฯลฯ แห่งวิญญาณ นี้เป็นความดับโดยไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความดับสูญแห่งชราและมรณะ.
    </PRE>
     
  12. Chaiyaboon

    Chaiyaboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2007
    โพสต์:
    419
    ค่าพลัง:
    +1,803
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
    ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค</CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD width="100%" bgColor=darkblue hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    [๒๐๒] ปัญญาในความต่างวิหารธรรม เป็นวิหารัฏฐญาณ ปัญญาในความต่างแห่งสมาบัติ เป็นสมาปัตตัฏฐญาณ ปัญญาในความต่างแห่งวิหาร-*สมาบัติ เป็นวิหารสมาปัตตัฏฐญาณอย่างไร ฯ พระโยคาวจรพิจารณาเห็นสังขารนิมิตโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีสังขารนิมิต ถูกต้องแล้วซึ่งสังขารนิมิตด้วยญาณ ย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรมนั้นชื่อว่า อนิมิตตวิหาร พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีตัณหาเป็นที่ตั้งถูกต้องแล้วซึ่งตัณหาด้วยญาณ ย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรม นั้นชื่อว่า อัปปณิหิตวิหาร พิจารณาเห็นความถือมั่นว่าตนโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างจากตน ถูกต้องแล้วซึ่งความถือมั่นว่าตนด้วยญาณย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรมนั้นชื่อว่า สุญญตวิหาร ฯ [๒๐๓] พระโยคาวจรพิจารณาเห็นสังขารนิมิตโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีสังขารนิมิต เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีสังขารนิมิตแล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อนิมิตตสมาบัติพิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีตัณหาเป็นที่ตั้ง เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีตัณหาเป็นที่ตั้ง แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อัปปณิหิตสมาบัติ พิจารณาเห็นความถือมั่นว่าตนโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างจากตนเพิกเฉยความเป็นไปแล้วคำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ว่างจากตน แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า สุญญตสมาบัติ ฯ [๒๐๔] พระโยคาวจรพิจารณาเห็นสังขารนิมิต โดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีสังขารนิมิต ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีสังขารนิมิตแล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อนิมิตตวิหารสมาบัติ พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีตัณหาเป็นที่ตั้ง ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีตัณหาเป็นที่ตั้ง แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อัปปณิหิต-*วิหารสมาบัติ พิจารณาเห็นความถือมั่นว่าตนโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างจากตน ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ว่างจากตน แล้วย่อมเข้าสมาบัตินี้ชื่อว่า สุญญตวิหารสมาบัติ ฯ [๒๐๕] พระโยคาวจรพิจารณาเห็นรูปนิมิตโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีรูปนิมิต ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไปวิหารธรรมนี้ชื่อว่า อนิมิตตวิหาร พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งรูปโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีที่ตั้ง ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรม นี้ชื่อว่า อัปปณิหิตวิหาร พิจารณาเห็นความถือมั่นว่ารูปโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างเปล่า ถูกต้องแล้วๆย่อมเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรมนี้ชื่อว่า สุญญตวิหาร ฯ [๒๐๖] พระโยคาวจรพิจารณาเห็นรูปนิมิตโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีนิมิต เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีนิมิต แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อนิมิตตสมาบัติ พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งรูปโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีที่ตั้ง เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีที่ตั้ง แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อัปปณิหิตสมาบัติ พิจารณาเห็นความถือมั่นว่ารูปโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างเปล่า เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ว่างเปล่าแล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่าสุญญตสมาบัติ ฯ [๒๐๗] พระโยคาวจรพิจารณาเห็นรูปนิมิตโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีนิมิต ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีนิมิต แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อนิมิตตวิหารสมาบัติ พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งรูปโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีที่ตั้ง ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับไม่มีที่ตั้ง แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อัปปณิหิตวิหารสมาบัติ พิจารณาเห็นความถือมั่นว่ารูปโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างเปล่า ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับว่างเปล่าแล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า สุญญตวิหารสมาบัติ ฯ [๒๐๘] พระโยคาวจรพิจารณาเห็นเวทนานิมิต ฯลฯ สัญญานิมิตสังขารนิมิต วิญญาณนิมิต จักษุ ฯลฯ พระโยคาวจรพิจารณาเห็นชราและมรณะนิมิตโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีนิมิต ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรมนี้ชื่อว่า อนิมิตตวิหาร พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งชราและมรณะโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีที่ตั้ง ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรมนี้ชื่อว่า อัปปณิหิตวิหาร พิจารณาเห็นความถือมั่นชราและมรณะโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างเปล่า ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรมนี้ชื่อว่า สุญญตวิหาร ฯ [๒๐๙] พระโยคาวจรพิจารณาเห็นชราและมรณนิมิตโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีนิมิต เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีนิมิต แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อนิมิตตสมาบัติพิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งชราและมรณะโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีที่ตั้ง เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีที่ตั้ง แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อัปปณิหิตสมาบัติ พิจารณาความถือมั่นและมรณะโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างเปล่าเพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ว่างเปล่า แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า สุญญตสมาบัติ ฯ [๒๑๐] พระโยคาวจรพิจารณาเห็นชราและมรณนิมิตโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีนิมิต ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไปเพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีนิมิต แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อนิมิตตวิหารสมาบัติ พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งชราและมรณะโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีที่ตั้ง ถูกต้องแล้วๆย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีที่ตั้ง แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อัปปณิหิต-*วิหารสมบัติ พิจารณาเห็นความยึดมั่นชราและมรณะโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างเปล่า ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ว่างเปล่า แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า สุญญตวิหารสมาบัติ อนิมิตตวิหารเป็นอย่างหนึ่ง อัปปณิหิต-*วิหารเป็นอย่างหนึ่ง สุญญตวิหารเป็นอย่างหนึ่ง อนิมิตตสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง อัปปณิหิตสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง สุญญตสมาบัติเป็นอย่างหนึ่งอนิมิตตวิหารสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง อัปปณิหิตวิหารสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง สุญญต-*วิหารสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง ฯ ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัดเพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งวิหารธรรม เป็นวิหารรัฏฐญาณ ปัญญาในความแตกต่างแห่งสมาบัติเป็นสมาปัตตัฏฐญาณ ปัญญาในความต่างแห่งวิหารสมาบัติ เป็นวิหารสมาปัตตัฏฐญาณ ฯ
    </PRE>
     
  13. Chaiyaboon

    Chaiyaboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2007
    โพสต์:
    419
    ค่าพลัง:
    +1,803
    อาชวินสอนคนผิด ๆ เกี่ยวกับการเจริญอุเบกขาให้มากเพื่อให้ถึงฝั่งพระ

    นิพพาน หรือ ความสมดุลย์แห่งกุศลและอกุศล เป็นทางนิพพาน เป็น

    การสอนที่ผิดอย่างมาก เป็นมิจฉาทิฐิ ใครได้ฟังได้อ่านแล้ว ห้ามนำ

    ความจากอาชวินไปสอนต่อโดยเด็ดขาด จะเป็นบาปอย่างมหันต์

    ที่ออกมาตั้งกระทู้ไม่ใช่เพื่อโจมตี เพราะรู้ว่าจบไปแล้ว แต่เห็นคน

    อนุโมทนาจำนวนหลายคน ขอให้อ่านจากพระสูตรให้ดีจะดีกว่าจะเป็น

    การสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง และเป็นกุศลต่อตัวเองอย่างใหญ่หลวง
     
  14. Chaiyaboon

    Chaiyaboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2007
    โพสต์:
    419
    ค่าพลัง:
    +1,803
    โพสมีสาระแบบนี้ จะมีคนอ่านสักกี่คน

    หึ หึ
     
  15. putipongb

    putipongb เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2007
    โพสต์:
    594
    ค่าพลัง:
    +3,843
    เห็นด้วยครับ พรหมวิหารสี่ไปได้แค่พรหมไม่ถึงนิพพาน นิพพานต้องเกิดปัญญาก่อนครับถึงจะพิจารณาจนตัดกิเลสได้หมด(bb-flower
     
  16. Chaiyaboon

    Chaiyaboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2007
    โพสต์:
    419
    ค่าพลัง:
    +1,803
    อย่าไปฟังแกมากเลย ตาแก่ขี้โม้ แทนที่จะช่วยให้พ้นอบาย เผลอ ๆ

    ลากลงโลกันตร์อีก ถ้าอยากจะปิดอบายจริง ๆ ต้องเป็นพระโสดาบัน

    ขึ้นไป อย่าไปยุ่งกะพวกโลกียะมากเลย มีฤทธิ์มากก็ไปนรกได้

    เทวทัตเหาะได้ยังต้องไปอยู่อเวจีเลย
     
  17. Chaiyaboon

    Chaiyaboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2007
    โพสต์:
    419
    ค่าพลัง:
    +1,803
    หมวดพระอริยเจ้า

    (โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง)

    (จากหนังสือ รวมคำสอนธรรมปฏิบัติของหลวงพ่อพระราชพรหมยาน เล่ม 2 ,
    วัดท่าซุง อุทัยธานี , 2527 , หน้า 354-368)


    พระโสดาบันและ
    พระสกิทาคามี


    เพื่อนพระโยคาวจรทั้งหลาย วันนี้มาฟังถึงหมวดพระอริยเจ้า หมวดนี้ให้นามว่า หมวดพระอริยเจ้า จะพูดถึงความเป็นอริยเจ้าโดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิบัติพระกรรมฐาน ถ้าผู้สอนฉลาดในการสอน หรือว่าผู้ปฏิบัติฉลาดในการปฏิบัติก็ควรที่จะเริ่มตั้งแต่หมวดนี้เป็นต้นไป ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าการปฏิบัติ เราหวังผล นั่นคือ พระนิพพานหรืออย่างน้อยเป็นพระอริยเจ้าเบื้องต้น

    ที่บรรดาท่านทั้งหลาย หลายท่าน จดหมายมาที่วัดบอกว่าปฏิบัติพระกรรมฐานมา 20 ปีเศษ ไม่มีอะไรคืบหน้า ก็เลยสงสัยเหมือนกันว่าการปฏิบัติของท่านปฏิบัติแบบไหน การจะเป็นพระอริยเจ้าหรือว่าการตัดกิเลส จะเป็นพระอริยะต้องตัดกิเลส 10 อย่าง หรือ ตัดกิเลสเพื่อความเป็นพระอริยะมี 10 อย่าง ท่านเรียกว่า สังโยชน์ คำว่าสังโยชน์แปลว่ากิเลสเป็นเครื่องร้อยรัด รัดใจจนกระทั่งเราต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ มี 10 อย่างด้วยกันคือ

    1. สักกายทิฏฐิ
    2. วิจิกิจฉา
    3. สีลัพพตปรามาส
    ละสามข้อนี่เป็น พระโสดาบัน ก็ได้ พระสกิทาคามี ก็ได้
    4. กามฉันทะ
    5. ปฏิฆะ
    ละสองข้อหลังนี่ต่อมาต้องได้ 1 2 3 ด้วยนะ แล้วต่อ 4 5 ถ้าได้ 4 5 มานี่ก็จะได้เป็น พระอนาคามี ต่อไปจะได้เป็นพระอรหันต์ ก็ต้องตัด
    6. รูปราคะ
    7. อรูปราคะ
    8. มานะ
    9. อุทธัจจะ
    10. อวิชชา

    ที่พูดอยู่นี่กำลังป่วย ก็จะเผลอไปบ้างผิดไปบ้างเป็นของธรรมดา เสียงก็ยังไม่ลงตัว กระแอมไอ ก็ขอนำสังโยชน์ 10 มาพูดกัน

    คำว่า สักกายทิฏฐิ ในพระโสดาบัน สักกายทิฏฐินี่จริง ๆ เป็นตัวกิเลสที่ตัดโดยเฉพาะ ตามที่พระสารีบุตรท่านแนะนำพระสงฆ์ ที่พระสงฆ์ไปลาพระพุทธเจ้าและพระพุทธเจ้าทรงให้ไปลาพระสารีบุตรเพื่อจะเข้าป่า

    พระได้ถามพระสารีบุตรว่า พวกผมยังเป็นปุถุชน ถ้าต้องการปฏิบัติให้เป็นพระอริยเจ้าเพื่อเป็นพระโสดาบันจะทำยังไงขอรับ พระสารีบุตรก็บอกว่า เธอจงปฏิบัติตามนี้ คือ มีความรู้สึกว่าร่างกาย ขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทั้ง 5 ประการนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา ถ้าเธอคิดอย่างนี้ได้อันดับต่ำ มีความทรงตัวอันดับต่ำ เธอก็จะเป็นพระโสดาบัน

    พระก็ถามต่อไปว่า ถ้าพวกผมเป็นพระโสดาบันแล้ว ต้องการเป็นพระสกิทาคามี จะมีความรู้สึกอย่างไร ต้องปฏิบัติแบบไหน พระสารีบุตรก็บอกว่า ข้อเดียวกันแหละ ถ้าเธอมีความรู้สึกว่าร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา จิตละเอียดลง ปัญญาเกิดมากขึ้น เธอก็เป็นพระสกิทาคามี

    พระก็ถามว่า ถ้าผมเป็นพระสกาทามีแล้ว ต้องการเป็นพระอนาคามีจะทำยังไง ท่านก็บอกเหมือนกัน จะทำยังไง ท่านก็บอกข้อเดียวกัน ก็รวมความว่าให้ พิจารณาขันธ์ 5 ว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา

    ตอนนี้ถ้าพูดเร็วก็ขอโทษ มันป่วย ป่วยและคอไม่ดี บรรดาท่านทั้งหลายฟังข้อนี้แล้ว ท่านอาจจะคิดว่าความเป็นพระอริยเจ้านี่เป็นของไม่ยาก แต่ความจริงมันก็ไม่ยาก แต่ว่าทั้งนี้ก็อย่าไปนึกว่าคนพูดเป็นพระอริยเจ้าไปด้วยก็แล้วกัน ว่ากันตามตำราของท่าน ไม่ยากจริง ๆ

    ทีนี้เพื่อความเข้าใจง่ายไปกว่านั้น หวนกลับมาจับอารมณ์ ของพระโสดาบันใหม่ ว่า คนที่จะเป็นพระโสดาบันจริง ๆ จะต้องมีอารมณ์เยือกเย็นจริง ๆ สามารถตัดกิเลส ได้จะทำยังไง ก็ต้องไปดูบาลีจุดหนึ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า พระโสดาบันก็ดี พระสกิทาคามีก็ดี ทั้ง 2 ประการนี้มีศีลบริสุทธิ์ และก็มีปัญญาเล็กน้อย มีสมาธิเล็กน้อย

    ถ้าว่ากันตามนี้ ก็จะเห็นว่าพระโสดาบันเป็นไม่ยากนัก ท่านบอกว่า ใช้สมาธิไม่มาก ไม่ต้องเครียด มีสมาธิเล็กน้อยขั้น ปฐมฌาน ก็พอ และมีปัญญาเล็กน้อยไม่มากนัก คำว่าปัญญาเล็กน้อยนี่มีความสำคัญ ต้องหวนกลับมาว่าปัญญาเล็กน้อยมีความรู้สึกยังไง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สักกายทิฏฐิ มีความสำคัญมาก สักกายทิฏฐิ ท่านแปลว่า มีความรู้สึกว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา

    ตอนนี้ก็มาตั้งจุดแค่เล็ก ๆ อันดับแรกที่เราจะทำ แรกที่สุดหาทางรู้จักหน้า นิวรณ์ 5 ประการเสียก่อน ว่านิวรณ์ 5 ประการนี่มีอะไรบ้าง อย่าให้มันกวนใจตลอดวัน ยังไง ๆ มันก็กวนใจแน่ ขั้นพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี นี่หลีกนิวรณ์ไม่พ้น และก็หาทางยับยั้งมัน วิธีหาทางยับยั้งก็คือว่า ไม่ต้องรู้จักหน้ามันเลย ใช้เวลาประเดี๋ยวเดียวสักครู่เดียว นั่นคือ ว่าอันดับแรกก่อนจะทำอะไรทั้งหมด (หมวดนี้มีความสำคัญนะ) จิตนึกถึงพรหมวิหาร 4 ก่อน พรหมวิหาร 4 นี่ ถ้าท่านมีกันแล้วนะเป็นประจำทานก็ดี ศีลก็ดี ภาวนาก็ตาม ทรงตัวหมด การตัดกิเลสก็เป็นของง่าย

    อย่างนี้ครบองค์พระโสดาบันกับสกิทาคามี คือ ตัดสังโยชน์ 3 ได้ แต่ว่าจะเป็นหรือไม่เป็น นักปฏิบัติต้องสังเกตตามนี้ ขณะที่ทำไป ขณะใดที่จิตทรงสมาธิ หรือว่าจิตทรงอารมณ์ทรงตัว เวลาที่ปฏิบัติอยู่ในตอนต้น อารมณ์จับพระนิพพานรู้สึกว่ามันยาก การนึกถึงพระนิพพานเป็นของยาก แต่ว่าพอจิตเข้ามาถึงใกล้ความเป็นพระโสดาบัน ท่านเรียกว่า โคตรภูฌาน ในตอนต้นนี่บรรดาท่านทั้งหลาย จิตจะรักพระนิพพานเป็นกรณีพิเศษ จิตมีความต้องการอย่างเดียวคือพระนิพพาน อย่างอื่นความต้องการของเราไม่มี เมื่อจิตมีความหน่วงเหนี่ยวพระนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นปกติอย่างนี้ ท่านเรียกว่า โคตรภูฌาน คือ จะถึงความเป็นพระโสดาบัน เป็นส่วนละวาง

    ต่อมาถ้าจิตเลือกขึ้นเป็นพระโสดาบันจริง ๆ ตอนนี้ อารมณ์ธรรมดา จะเกิด คำว่า ธรรมดานั้น หมายความว่าในตอนก่อนจากนี้ ความรุนแรงของจิตยังมีอยู่ ยกตัวอย่างเฉพาะ โทสะ สังเกตง่าย ใครพูดอะไรมาไม่ถูกใจอาจจะโกรธ อาจจะฉุนเฉียวง่าย แต่พอมาถึงความเป็นพระโสดาบันเกิดขึ้น อารมณ์ธรรมดาย่อมเข้ามาถึงใจง่ายขึ้น นั่นคือใครด่า ใครเขาว่า ใครเขานินทา อย่าลืมพระโสดาบันยังรู้สึกโกรธ สกิทาคามีก็ยังรู้สึกโกรธ แต่ความโกรธของพระโสดาบัน ไม่รุนแรงเท่าปุถุชน ความไม่พอใจของพระสกิทาคามี มีนิดหน่อย น้อยกว่าพระโสดาบันมาก

    ก็รวมความว่าพระโสดาบันยังมีความโกรธ แต่ความโกรธของท่านมันเบา แพล็บเดียวก็หายไป การจองล้างจองผลาญ จองเวรจองกรรม จะแก้มือ ไม่มีในพระโสดาบัน คนที่จะเป็นพระโสดาบันได้ต้องคิดตามนี้นะ นี่คือ ความธรรมดา ความธรรมดาเกิดขึ้นในบางขณะ รู้สึกโกรธบ้าง แต่มันหายเร็ว ถือว่าการถูกด่า ถูกว่า ถูกนินทา เป็นของธรรมดา

    ความอยากรวยมีในพระโสดาบัน ทว่าการอยากรวยก็ไม่ลักขโมย ไม่ยื้อแย่ง คดโกงใคร ทำมาหากินจนรวย ดูตัวอย่างนางวิสาขา หรือ ท่าอนาถบิณฑิกเศรษฐี 2 คนนี้รวยมาก แต่ก็ยังทำมาหากินอยู่ ยังมีคนงาน ฉะนั้น ท่านนักปฏิบัติทั้งหลายอย่าเมาเกินไป จงอย่าคิดว่าเป็นพระอริยเจ้าแล้วไม่ต้องทำมาหากินอย่างนี้อดตาย ยังไม่เต็มขั้นยังต้องทำมาหากิน จะทำมาหากินอย่างมีความซื่อสัตย์สุจริต สิ่งใดที่ต้องจ่ายก็จ่าย สิ่งใดควรรับก็รับ จ่ายคือ ค่าแรงงานก็ดี ค่าวัตถุก่อสร้าง ค่าวัตถุทำมาหากินหรือการค้าก็ตาม ภาษีอากร เราก็จ่ายไปตามปกติ ไม่เบียดไม่บังไม่คดไม่โกงใคร อย่างนี้เป็นอารมณ์ของพระโสดาบัน

    ทีนี้พระโสดาบันกับพระสกิทาคามี ยังไม่จำจัดเขต นั่นหมายความว่า พระโสดาบันยังมีความรักในระหว่างเพศ ทีนี้คนที่มีความรักในระหว่างเพศ จะมีความรู้สึกว่า ร่างกายไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา มันไม่ได้แน่นอน ถ้ามีความรู้สึกอย่างนี้ ความรักมันก็ไม่มี ความรักในระหว่างเพศมันก็ไม่มี แต่พระโสดาบันก็ยังมีความรักอยู่ อย่าง นางวิสาขาท่านเป็นพระโสดาบันตั้งแต่อายุ 7 ปี พออายุ 16 ปีท่านก็แต่งงาน ภรรยาของพรานกุกกุฏมิตร เป็นลูกของมหาเศรษฐี เพียงแค่อายุ 16 ปี เห็นนายพรานมาขายเนื้อ เป็นคู่เก่าในชาติก่อน เกิดมีความรัก นั่นไม่ใช่ผู้ชายพาผู้หญิง ผู้หญิงไปดักทางผู้ชาย ไปมีสามี ทิ้งความเป็นมหาเศรษฐี

    ความจริงพระโสดาบันนั้นยังเป็นแบบนี้ อย่าไปด่ากัน ก็รวมความว่าพระโสดาบันยังมีการแต่งงาน พระสกิทาคามีก็เหมือนกัน คนที่แต่งงานแล้วก็ไม่ต้องเลิกการแต่งงาน อยู่ในฐานะสามีภรรยาตามปกติ คนที่ยังไม่มีสามี ไม่มีภรรยา ก็แต่งงานได้ แต่ว่าจิตใจในครอบครัวมันเยือกเย็น มีความรักเฉพาะคู่ตัวผัวเมีย ไม่นอกใจซึ่งกันและกัน เกิดความสุขได้ ก็รวมความว่า พระโสดาบันยังมีความรัก และมีความอยากรวยต้องไม่เรียกว่า โลภ ถ้าโลภคืออยากได้ทรัพย์สมบัติของคนอื่น ถ้าอยากรวยไม่ใช่โลภ คือ ทำมาหากินให้มันรวย พระโสดาบันยังมีความโกรธ พระโสดาบันยังมีความหลง ก็ยังมีการแต่งตัวให้สวย ยังรักคนอื่น แต่ก็อยู่ในขอบเขตของธรรมะ ขอบเขตของศีล รวมความว่าอยู่ในขอบเขตของศีลและกรรมบท 10

    ก็รวมความว่าท่านทั้งหลาย วันนี้เราก็พูดจบแค่พระโสดาบัน ตอนนี้ตอนที่ 1 เป็นอันว่าพระโสดาบันนี้ควบพระสกิทาคามี ถ้าเป็นพระโสดาบันเบื้องต้น ความรุนแรงของจิตจะมีนิดหน่อย ความโกรธมี อาจจะแรงแต่หายเร็ว คำว่าพระโสดาบันขนาดโกลังโกละเบาลงไป ถ้าเอกพีชีพระโสดาบันละเอียด ความรัก ความโลภ ความหลง มันมีเหมือนกัน แต่รู้สึกว่าไม่ค่อยเกิด คนที่อยู่ระหว่างคู่ผัวตัวเมีย ระหว่างสามีภรรยาจะเฉยต่อกันมาก ในด้านของความรัก

    พอถึงพระสกิทาคามีละเอียด สังเกตได้ด้วย ตอนนี้เอา 2 อย่างติดกันไป พอถึงพระสกิทาคามีละเอียด ให้สังเกตตัวว่าอารมณ์ของเราจริง ๆ มันเฉยหมด ความรักในระหว่างเพศมันก็เฉย ความอยากรวยมันก็เฉย ความโกรธมันก็เฉย ความหลงมันก็เฉย มันเฉยซีด ๆ ไม่มีความรู้สึกในเรื่องนี้ทั้งหมด แต่ว่าในขณะบางครั้งจะแสดงอารมณ์ออก บางครั้งซึ่งไม่มีอะไรสัมผัสกัน ต่อหน้านี่ไม่มีความรู้สึกในความรัก แต่ว่าวัตถุทั้งหลายไม่ว่าจะดีแสนดีแค่ไหน เป็นเพชร เป็นทอง เป็นพลอยก็ตาม เจอเข้าไม่มีความรู้สึก แต่ทว่าอารมณ์สงัดมันโผล่หน้าเข้ามานิดหนึ่ง ๆ ทั้ง ๆ ที่ไม่มีวัตถุประจันหน้ากัน มันมีความรู้สึกว่าความรักนี่อาจจะดีนะ นึกถึงคนนั้นนิดหนึ่งนึกถึงคนนี้หน่อย มันจะตั้งอยู่เวลาอย่างนานไม่เกินสองนาที ก็สลายตัว จิตก็มีแต่ความเยือกเย็นเป็นปกติ

    ฉะนั้นพระสกิทาคามี ในระหว่างที่อยู่กับสามีภรรยา ก็คงจะอยู่กัน อย่างคนอยู่กับพระพุทธรูป หรือคนอยู่กับตุ๊กตา ความรักระหว่าเพศมันไม่มีเลย เกิดขึ้นมาไม่ได้ อารมณ์นี้เคยมีคนมาบ่นว่า ความรู้สึกเป็นอย่างนี้ แต่ภรรยาเขาต้องการ อันนี้มันก็เป็นเรื่องธรรมดาที่เรามีภรรยาก็ต้องเป็นอย่างงั้น ทางที่ดีก็หาคนใหม่ให้เขาก็แล้วกัน เราไม่ไหวก็

    ก็รวมความวันนี้พูดกันจบแค่พระโสดาบันกับสกิทาคามี เวลามันก็เหลือน้อยไม่ถึง 1 นาทีก็ขอยุติไว้เพียงเท่านี้ ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคล สมบูรณ์พูนผล จงมีแด่ท่านบรรดาพุทธศาสนิกชนผู้ฟังทุกท่าน สวัสดี
    <!--MsgEdited=6-->

     
  18. Chaiyaboon

    Chaiyaboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2007
    โพสต์:
    419
    ค่าพลัง:
    +1,803
    พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


    (กิเลสอันผูกใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์
    หรือผูกกรรมไว้กับผล - fetters; bondage)

    ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ 5
    (สังโยชน์เบื้องต่ำ เป็นอย่างหยาบ
    เป็นไปในภพอันต่ำ - lower fetters)

    1. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน
    เช่น เห็นรูป เห็นเวทนา เห็นวิญญาณ เป็นตน เป็นต้น
    - personality-view of individuality)

    2. วิจิกิจฉา (ความสงสัย, ความลังเล ไม่แน่ใจ
    - doubt; uncertainty)

    3. สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต
    โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย
    เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร
    - adherence to rules and rituals)

    4. กามราคะ (ความกำหนัดในกาม,
    ความติดใจในกามคุณ - sensual lust)

    5. ปฏิฆะ (ความกระทบกระทั่งในใจ,
    ความหงุดหงิดขัดเคือง - repulsion; irritation)


    ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ 5
    (สังโยชน์เบื้องสูง เป็นอย่างละเอียด
    เป็นไปแม้ในภพอันสูง - higher fetters)

    6. รูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน
    หรือในรูปธรรมอันประณีต, ความปรารถนาในรูปภพ
    - greed for fine-material existence;
    attachment to realms of form)

    7. อรูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน
    หรือในอรูปธรรม, ความปรารถนาในอรูปภพ
    - greed for immaterial existence;
    attachment to formless realms)

    8. มานะ (ความสำคัญตน คือ ถือตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่
    - conceit; pride)

    9. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน
    - restlessness; distraction)

    10. อวิชชา (ความไม่รู้จริง, ความหลง - ignorance)
     
  19. chinasungkia

    chinasungkia เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    159
    ค่าพลัง:
    +852
    ผมเห็นด้วยกับคุณไชยบูรณ์เป็นอย่างยิ่งครับ การยึดติดกับอภิญญาไม่ได้นำพาสู่นิพพาน ได้ แต่อภิญญา สามารถยืนยันว่า เรื่องที่กล่าวในพระไตรปิฏก (รวมทั้งเรื่องของอภิญญา) นั้นเป็นจริง..ขออนุโมทนากับคุณไชยบูรณ์ ครับ .... สาธุ
     
  20. prarahu

    prarahu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    842
    ค่าพลัง:
    +2,664
    อนุโมทนากับคุณ chaiyaboon ที่หักล้างข้อมูลของเดียรถีย์ที่บิดเบือนพุทธพจน์ตลอดมา ยังช่วยให้บุคคลที่ไม่มีความรู้ทางพุทธศาสตร์อย่างลึกซึ้งได้เข้าใจข้อมูลที่แท้จริง ถ้ายังฝืนที่จะชื่นชมและอนุโมทนากับเดียรถีย์ก็มีแต่ทางไปอบายภูมิเท่านั้น การที่คิดผิด เห็นผิด รู้ผิด มันตัดหนทางนิพพานอย่างถาวรพวกเราชาวเว็ปพลังจิตอยากเป็นเช่นนั้นหรือ
     

แชร์หน้านี้

Loading...