ใครต้องการถามเป็นการส่วนตัว ไปถามที่อื่น กลัวคนอื่นว่าให้มาที่นี่

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย nilakarn, 20 เมษายน 2013.

  1. อรรยาณัฏฐ์

    อรรยาณัฏฐ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2017
    โพสต์:
    88
    ค่าพลัง:
    +226
  2. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,606
    ค่าพลัง:
    +3,014

    ชี้แจงว่า
    คือ กระทู้นี้ สมัยก่อน
    ผมตั้งขึ้นมา แล้วก็ไปเก็บรวบรวม
    คำถามคำตอบที่ผมไปถาม และ ไปตอบที่อื่น เพื่อทดลองดูว่า ใครถึงขั้นไหนแล้ว
    ส่วนใครที่ผมถามตอบด้วย
    ก็แสดงว่า ผมสนใจเค้าแล้ว
    เค้าก็อาจจะเป็น คณะเรา ในภายหลังได้
    ผมต้องรู้ว่า ใครสั่งสอน อะไรได้บ้าง
    จะได้ใช้งานพวกเค้า ให้ถูกประเภทของงานครับ
    คำถามจึงงงๆ มั่วตั้วไปหมด
    ให้อ่านแล้วแยก แต่ละคำถามครับ
    จะได้ไม่งง หรือ สับสน
     
  3. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,606
    ค่าพลัง:
    +3,014
    สมาบัติ ๘

    วันนี้ หลวงพ่อจะได้น้อมนำเอา ธรรมะอันเป็นคำสั่งสอน ของ องค์สมเด็จ
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ซึ่งเป็น สมเด็จพ่อ ของพวกเราทั้งหลาย ในเรื่อง
    สมาบัติ ๘ ประการ มาบรรยายประกอบ การปฏิบัติของท่านทั้งหลายสืบไป

    ท่านนักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย
    คำว่า ฌาน กับคำว่า สมาบัติ นั้น ต่างกันโดยพยัญชนะ แต่โดยเนื้อความ
    คือ สภาวะแล้ว เป็นทำนองเดียวกัน


    คำว่า ฌาน แปลว่า เพ่ง ดังเช่นเราเอา ดิน มาเป็นอารมณ์ เราก็เอา สติ กับ
    จิต ของเราเข้าไปตั้งไว้ที่ ดวงกสิณ คือ ดิน นั้นแล้วบริกรรมว่า ปฐวีๆ ดินๆ อย่างนี้ จนสำเร็จเป็น อัปปนาสมาธิ ได้ เรียกว่า ฌาน หรือ เราเพ่งอาการพองอาการยุบก็ดี
    เพ่งเวทนา เพ่งจิตก็ดี จนสามารถทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ที่เราเพ่งนั้น
    ก็จัดว่าเป็นฌาน


    ฌานนั้นมีอยู่ ๒ ประเภท คือ

    ๑. อารัมมณูปนิชฌาน
    ได้แก่ ฌานที่เอาบัญญัติมาเป็นอารมณ์ เช่น
    กสิณ๑๐, อสุภะ๑๐, อนุสสติ๑๐, อาหาเรปฏิกูลสัญญา๑, จตุธาตุววัฏฐาน๑,
    พรหมวิหาร๔, อรูปกัมมัฏฐาน๔, (รวมกันเป็น สมถะ 40 อย่าง)
    การที่เราเอาอารมณ์เหล่านี้มาบริกรรมมาภาวนา หากว่าได้ฌานขึ้นมา
    เพราะการบริกรรมดังกล่าวมานี้ เรียกว่า อารัมมณูปนิชฌาน

    ๒. ลักขณูปนิชฌาน
    ได้แก่ ฌานที่เพ่งรูปนามเพ่งพระไตรลักษณ์เป็นอารมณ์
    เช่น พวกเราท่านทั้งหลายเพ่งอาการพอง อาการยุบ อาการนั่ง อาการถูกเพ่งเวทนา
    คือความสุข ความทุกข์ ความดีใจ ความเสียใจ ความเฉยๆ หรือเพ่งจิต คือ
    ความคิด เพ่งธรรมารมณ์ เหล่านี้เรียกว่า เพ่งรูป เพ่งนาม เพ่งพระไตรลักษณ์
    ถ้าเราเพ่ง หรือ บริกรรม ดังกล่าวมานี้ จนสามารถทำจิตให้สงบ เป็นอัปปนาสมาธิ
    เป็นฌาน ฌานนั้นก็เรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน

    คำว่า สมาบัติ แปลว่า สมบัติ หมายถึง สมบัติของผู้ได้ฌาน
    การเข้าอยู่ในฌาน หรือ เข้าสมาบัติ อุปมาเหมือนกับ บุรุษผู้หลบความร้อน
    เข้าไปอยู่ในบ้านที่ตนสร้างไว้ดีแล้ว
    ผู้ที่จะเข้าสมาบัตินั้น โดยมาคิดว่า
    ความสุขที่เกิดขึ้นจากปริตตารมณ์ ( เรียก ปริตตารมณ์ ว่า สิ่งที่ยึดจิตไว้ เช่น ญาน)
    เป็นความสุขเล็กๆน้อยๆ สู้ความสุขในฌานไม่ได้ จึงหลีกออกจากหมู่
    ไปสู่ที่สงบแห่งใดแห่งหนึ่ง ยกจิตของตนขึ้นสู่อารมณ์กัมมัฏฐาน บริกรรม
    จนจิตสงบเป็น อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ แล้วเข้าสู่ฌานธรรม

    ฌานธรรม นั้นมี ๘ ประการ คือ รูปฌาน๔, และ อรูปฌาน๔,

    มีปัญหาอยู่ว่า จะสังเกตหรือทราบได้อย่างไรว่า เราได้ฌานหรือสมาบัติชั้นไหน?
    (ตอบ) จะทราบได้อย่างนี้ คือ ในส่วนของรูปฌาน ๔ หรือ รูปสมาบัติ

    ๑. ปฐมฌาน
    เมื่อจิตเข้าถึงปฐมฌาน จะข่มนิวรณ์ธรรมลงได้ นิวรณ์ แปลว่า
    ธรรมอันกั้นจิต ไม่ให้บรรลุคุณงามความดี มีศีล สมาธิ ปัญญา มรรค ผล
    พระนิพพาน เป็นต้น หรือ กั้นศีล สมาธิ ปัญญา สมาบัติ มรรค ผล พระนิพพาน
    ไม่ให้เข้าถึงตัวเรา นิวรณ์ธรรมนี้ เป็นอันตรายของปฐมฌาน และของ
    ทุกๆ ฌานด้วย
    นิวรณ์นั้นมีอยู่ ๕ ประการ คือ
    ๑) กามฉันทะ
    พอใจในอารมณ์ เช่น พอใจในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
    หรืออารมณ์เหล่าใดที่เกิดขึ้นในขณะที่เจริญพระกัมมัฏฐาน จัดเป็นกามฉันทะ
    ๒) พยาบาท ไม่พอใจในอารมณ์ เช่น ไม่พอใจในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ที่ไม่ดี ซึ่งเกิดขึ้นตอนปฏิบัติ หรืออารมณ์ใดๆก็ดี ซึ่งเกิดขึ้นในเวลา
    ปฏิบัติ เราไม่พอใจ ไม่ชอบใจ จัดเป็นพยาบาท
    ๓) ถีนมิทธะ ความง่วงงุน ความหดหู่ ความท้อแท้ ความง่วงเหงาหาวนอน
    ๔) อุทธัจจกุกกุจจความฟุ้งซ่าน ความรำคาญ เมื่อนึกถึงบาปหรือความชั่วที่ตนทำไว้ แต่บุญไม่ได้ทำ
    ๕) วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย เช่น สงสัยในคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    สงสัยเรื่องโลกนี้โลกหน้า สงสัยเรื่องนรก สวรรค์ พระนิพพาน เป็นต้น
    เราจะรู้ได้อย่างไร สังเกตได้อย่างไร ว่าเราเข้าถึงปฐมฌาน หรือการฝึกสมาธิ
    อยู่ในขณะนี้ หรือการอธิษฐานจิตอยู่ในขณะนี้ เราได้ปฐมฌานหรือไม่นั้น
    เราพึงสังเกตดังนี้ คือ
    ในขณะเข้าถึงปฐมฌานนั้น ยังจะมีบริกรรมอยู่ ยังมีวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
    ยังมีบริกรรมว่า พองหนอ ยุบหนอ หรือ พุทโธ คำใดคำหนึ่งอยู่ เสียงก็ยังได้ยินอยู่
    แต่ได้ยินไม่เต็มที่ ไม่ได้ยินเหมือนอย่างธรรมดาที่เราได้ยินอยู่ในขณะนี้
    คือว่าเสียงนั้นลดน้อยลงไป หรือมีความรู้สึกว่าน้อยลงไป แต่ว่าในขณะนั้น
    จิตใจไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ซัดส่ายไปตามอารมณ์ต่างๆ ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต
    จิตใจของเราจดจ่ออยู่เฉพาะบทพระกัมมัฏฐาน
    สมมติว่าเรากำหนดอาการพองอาการยุบ จิตใจนั้นก็อยู่กับอาการพองอาการยุบ
    ไม่นึกถึงเรื่องอดีตอนาคต หากว่ามีเสียงอะไรเกิดขึ้นในขณะที่นั่งอยู่นั้น
    ก็ไม่สะดุ้งตกใจ เขาจะมาจุดประทัดอยู่ข้างๆก็ตาม จิตใจของเราเฉยอยู่
    ไม่มีการสะดุ้ง ไม่มีการตกใจ ไม่มีการฟุ้งซ่าน หรือว่าในขณะนั้นมีมะพร้าว
    ร่วงลงมาก็ดี กิ่งไม้ร่วงลงมาถูกสังกะสีก็ดี ก็เฉยอยู่ ไม่มีการสะทกสะท้าน
    ไม่มีการตกใจ ถ้าทำได้อย่างนี้แล้วก็แสดงว่าเข้าถึงปฐมฌานแล้ว
    ถ้าหากว่าฌานไม่เสื่อม ย่อมมีอานิสงส์ดังนี้
    ผู้ใดได้ปฐมฌานอย่างหยาบ ฌานไม่เสื่อม เวลาตายตายในฌาน ด้วย
    อำนาจของฌานนั้น ก็เป็นปัจจัยให้เกิดปฐมฌานวิบากปฏิสนธิจิต บังเกิด
    เป็นพรหมปาริสัชชา ในรูปพรหมชั้นที่ ๑ มีอายุยืน ๑ ใน ๓ ของมหากัป
    ผู้ได้ปฐมฌานอย่างกลาง ฌานไม่เสื่อม ตายในฌาน ด้วยอำนาจของฌานนั้น
    ก็เป็นปัจจัยให้เกิดปฐมฌานวิบากปฏิสนธิจิต เกิดเป็นพรหมปุโรหิตา
    ในรูปพรหมชั้นที่ ๒ มีอายุ ๑ ใน ๒ มหากัป
    ผู้ใดได้ปฐมฌานอย่างประณีต ฌานไม่เสื่อม ตายในฌาน ด้วยอำนาจ
    ฌานนั้น ก็เป็นปัจจัยให้เกิดปฐมฌานวิบากปฏิสนธิจิต เกิดเป็นมหาพรหม
    ในรูปพรหมชั้นที่ ๓ มีอายุยืน ๑ มหากัป
    ถ้าเอาสมาธิขั้นปฐมฌานนี้มาเป็นเครื่องรองรับการเจริญวิปัสสนา
    ก็สามารถบรรลุมรรค ผล นิพพาน เร็วขึ้นกว่าธรรมดา

    ๒. ทุติยฌาน
    หรือ ทุติยสมาบัติที่สอง เมื่อได้ปฐมฌานและฝึกให้
    ชำนาญในวสีทั้ง ๕ แล้ว ก็จะได้เจริญทุติยฌานต่อไป เมื่อเข้าถึง
    ทุติยฌานแล้ว มีแต่เพ่งอารมณ์ จิตตั้งมั่นแน่วแน่กับอารมณ์ แต่ไม่ได้
    บริกรรมว่า พุทโธๆ หรือยุบหนอพองหนอเลย
    เพราะเหตุไรจึงไม่ได้บริกรรม
    สาเหตุที่ไม่ได้บริกรรมเพราะว่า ฌานที่ ๒ คือทุติยฌานนี้ละวิตกวิจาร
    ได้แล้ว เหลือแต่ปีติ สุข และเอกัคคตาเท่านั้น ปีติ ความอิ่มใจนั้นมี
    ๕ ประการ
    คือ
    ๑) ขุททกาปีติ ปีติเล็กน้อย มีอาการน้ำตาไหล หรือขนลุกขนชัน เป็นต้น
    ๒) ขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะ มีอาการเกิดในจักษุทวารเหมือนกันกับ
    สายฟ้าแลบหรือตีเหล็กไฟเป็นต้น
    ๓) โอกกันติกาปีติ ปีติเป็นพักๆ มีอาการซู่ซ่าไปตามร่างกาย หรือ
    เป็นดุจระลอกซัด เป็นต้น
    ๔) อุพเพงคาปีติ ปีติโลดโผน ทำให้ใจฟู ตัวเบา ตัวลอย เป็นต้น
    ๕) ผรณาปีติ ปีติซาบซ่าน ทำให้ตัวเย็นซาบซ่านไปทั่วสรรพางค์กาย เป็นต้น
    ปีตินั้น เมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้จิตใจอิ่มเอิบ ชุ่มชื่น เป็นสุข สงบแน่วแน่
    อยู่กับอารมณ์พระกัมมัฏฐาน
    เราจะสังเกตอย่างไรว่าถึงฌานที่ ๒ แล้ว เราสังเกตเอาง่ายๆ คือ
    ในขณะนั้นความรู้สึกของเราก็ยังมีอยู่นิดๆ เสียงก็ยังมีอยู่นิดๆ แต่ว่า
    เราไม่ได้บริกรรมหรือภาวนา เพราะว่าผ่านวิตกวิจารไปแล้วจึงไม่มีการบริกรรม
    แต่เมื่อได้บริกรรมขึ้นมาเมื่อใด แสดงว่าจิตของเราตกจากทุติยฌาน
    ลงมาปฐมฌาน คือเมื่อจิตของเราตกลงมาอยู่ที่ฌานที่หนึ่ง ก็จะได้ภาวนาว่า
    พุทโธๆ หรือพองหนอยุบหนอ อย่างนี้เรียกว่า จิตลงมาปฐมฌาน
    ถ้าถึงทุติยฌานจะไม่มีบริกรรม แต่ว่าเราไม่ได้ตั้งใจหยุดบริกรรม หรือว่า
    เราไม่ได้คิดว่าเราจะหยุดบริกรรม แต่ว่าหยุดเองโดยธรรมชาติ เป็นไป
    ตามอัตโนมัติ
    อันตรายของทุติยฌาน คือ วิตก วิจาร หากวิตกวิจารเกิดขึ้นเมื่อไร
    ก็ได้บริกรรมบทพระกัมมัฏฐานเมื่อนั้น และแสดงว่าจิตนี้ตกจาก
    ทุติยฌานแล้ว เหตุนั้น พึงตั้งสติสัมปชัญญะไว้ให้ดี
    เมื่อได้ทุติยฌานแล้ว ก็พยายามประคับประคองจิตไว้ในทุติยฌานนั้น
    และถ้าหากว่าฌานไม่เสื่อม ย่อมมีอานิสงส์ดังนี้
    ผู้ได้ทุติยฌาน ถ้าหากว่าจุติด้วยอำนาจทุติยฌานกุศลอย่างต่ำคือ
    อย่างหยาบ ก็เป็นปัจจัยให้เกิดทุติยฌานวิบากปฏิสนธิจิต บังเกิด
    เป็นพรหมปริตตาภา คือรูปพรหมชั้นที่ ๔ มีอายุยืนถึง ๒ มหากัป
    ถ้าผู้ได้ทุติยฌานอย่างกลาง ฌานไม่เสื่อม ตายในฌาน ด้วยอำนาจ
    ฌานนั้น ก็เป็นปัจจัยให้เกิดทุติยฌานวิบากปฏิสนธิจิต บังเกิดเป็น
    พรหมอัปปมาณาภา คือรูปพรหมชั้นที่ ๕ มีอายุยืนถึง ๔ มหากัป
    ถ้าผู้ได้ทุติยฌานอย่างประณีต ฌานไม่เสื่อม ตายในฌาน ด้วยอำนาจ
    ของฌานนั้น ก็จะเป็นปัจจัยให้เกิดทุติยฌานวิบากปฏิสนธิจิต บังเกิด
    เป็นพรหมอาภัสสรา คือรูปพรหมชั้นที่ ๖ มีอายุยืน ๘ มหากัป
    ถ้าเอาสมาธิในขั้นทุติยฌานนี้มาเป็นพื้นฐานเครื่องรองรับการเจริญ
    วิปัสสนาภาวนา ก็สามารถที่จะบรรลุอริยมรรคอริยผลเร็วกว่าสมาธิ
    ในฌานขั้นที่ ๑

    ๓. ตติยฌาน
    หรือ ตติยสมาบัติที่สาม เมื่อปฏิบัติได้ถึงฌานที่ ๓ นี้แล้ว
    ปีติ ๕ ประการดังกล่าวมาข้างต้นนั้นก็หมดไป เหลือแต่สุขกับเอกัคคตา
    ความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงไม่มีแล้ว เมื่อมาถึงฌานนี้
    เราจะนั่งสักกี่ชั่วโมง ความเจ็บปวดก็ไม่มี เพราะว่าเมื่อถึงฌานนี้ เหลือแต่
    ความสุขกับเอกัคคตาเท่านั้น ความสุขที่ได้รับในฌานธรรมนี้ จะหา
    ความสุขใดที่เป็นโลกิยะมาเปรียบเทียบมิได้ หมายความว่า ความสุข
    ในโลกิยะนั้น มีความสุขในฌานเป็นความสุขอันยอดเยี่ยม
    ธรรมอันเป็นข้าศึกของฌานที่ ๓ คือ ปีติ ขณะใดที่มีอาการขนลุกขนชัน
    น้ำตาไหล มีอาการเสียวแปลบปลาบตามร่างกายเหมือนมีคลื่นกระทบฝั่ง
    หรือใจฟู ตัวเบาตัวลอย มีอาการซาบซ่านทั่วสรรพางค์กายเป็นต้น
    นั่นแสดงว่าจิตของเราตกจากฌานที่ ๓ มาถึงฌานที่ ๒ แล้ว
    เมื่อถึงฌานที่ ๓ แล้ว เราจะสังเกตได้ง่ายๆ คือ จะมีอาการตึงหรือเครียด
    ตามร่างกาย มือแข็ง แขนแข็ง ตัวแข็ง นิ้วมือนิ้วเท้าไม่สามารถกระดิกได้
    การก้มเงยคู้เหยียดก็ไม่อาจที่จะทำได้ ไม่สามารถที่เหลียวซ้ายแลขวาได้
    เพราะในขณะนั้น เหมือนกันกับเอาเหล็กแหลมๆ ไม้แหลมๆ ตอกลงที่ศีรษะ
    ไปตามตัวแล้วตรึงแน่นไว้กับพื้น ไม่สามารถที่จะขยับเขยื้อนได้
    และในขณะนั้น ความรู้สึกก็ยังมีอยู่นิดๆ เสียงก็ยังมีอยู่นิดๆ เกือบจะว่า
    ไม่มีในขณะนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ขอให้เข้าใจเถิดว่าถึงฌานที่ ๓ แล้ว
    และเมื่อถึงฌานที่ ๓ แล้ว ก็ขอให้พยายามประคับประคองตั้งสติสัมปชัญญะ
    รักษาไว้ให้ดี อย่าให้ต้องถอยออกจากฌานที่ ๓ จนกว่าจะฝึกชำนาญ
    ในวสีทั้ง ๕ ประการ เพื่อจะเป็นมรรคาไต่เต้าเข้าไปสู่จตุตถฌานที่ ๔ ต่อไป
    และผู้ที่ไม่เสื่อมจากฌานที่ ๓ ย่อมมีอานิสงส์ดังนี้ คือ
    ถ้าผู้ได้ตติยฌานอย่างหยาบหรืออย่างต่ำ ฌานไม่เสื่อม ตายในฌาน
    ด้วยอำนาจของฌานนั้น ก็เป็นปัจจัยให้เกิดตติยฌานวิบากปฏิสนธิจิต
    บังเกิดเป็นพรหมปริตตสุภา ในตติยฌานภูมิ คือรูปพรหมชั้นที่ ๗
    มีอายุยืน ๑๖ มหากัป
    ผู้ที่ได้ตติยฌานอย่างกลาง ฌานไม่เสื่อม ตายในฌาน ด้วยอำนาจของ
    ฌานนั้น ก็เป็นปัจจัยให้เกิดตติยฌานวิบากปฏิสนธิจิต บังเกิดเป็น
    พรหมอัปปมาณสุภา ในตติยฌานภูมิ คือรูปพรหมชั้นที่ ๘ มีอายุยืน ๓๒ มหากัป
    ผู้ที่ได้ตติยฌานอย่างประณีต ฌานไม่เสื่อม ตายในฌาน ด้วยอำนาจ
    ของฌานกุศลนั้น ก็เป็นปัจจัยให้เกิดตติยฌานวิบากปฏิสนธิจิต บังเกิด
    เป็นพรหมสุภกิณหกา ในตติยฌานภูมิ คือ รูปพรหมชั้นที่ ๙ มีอายุยืน ๖๔ มหากัป
    หากว่าเอาสมาธิในตติยฌานนี้มาเป็นพื้นฐานเครื่องรองรับการเจริญ
    วิปัสสนาภาวนา ก็สามารถที่จะได้บรรลุอริยมรรคอริยผลเร็วกว่าสมาธิในฌานที่ ๒

    ๔. จตุตถฌาน
    หรือ จตุตถสมาบัติที่สี่ เมื่อถึงฌานที่ ๔ แล้ว จะละสุขได้
    เหลือแต่เอกัคคตา และเกิดอุเปกขารมณ์เพิ่มขึ้นอีกองค์หนึ่ง
    เราจะทราบได้อย่างไรว่าถึงฌานที่ ๔
    เราสังเกตได้ด้วยหลัก ๒ ประการ คือ
    ๑) ความรู้สึกหมดไป
    ๒) ลมหายใจไม่มี
    ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคท่านกล่าวไว้ว่า ลมหายใจจะไม่มีในบุคคล ๗ จำพวก
    คือ เด็กอยู่ในครรภ์มารดา ๑, คนตาย ๑, คนดำน้ำ ๑, ผู้เข้าถึงจตุตถฌาน ๑,
    พรหมในอสัญญีภพ ๑, รูปพรหม-อรูปพรหม ๑, พระอริยเจ้าผู้เข้านิโรธ ๑,
    เมื่อเข้าถึงจตุตถฌานแล้ว ความรู้สึกจะไม่มี ลมหายใจก็ไม่มี เราจะเอา
    สำลีมาไว้ที่ปลายจมูกก็ไม่ปลิว หากว่าจับดูตามร่างกายจะรู้สึกเหมือนกับ
    จับคนที่ตายไปแล้วหลายชั่วโมง เย็นเหมือนจับน้ำแข็ง ถ้าท่านทั้งหลาย
    ทำได้ดังกล่าวมาแล้วนี้ ก็แสดงว่าท่านทั้งหลายถึงฌานที่ ๔ แล้ว
    สภาวธรรมที่เป็นข้าศึกแก่จตุตฌาน คือ ลมอัสสาสะปัสสาสะ คือถ้าปรากฏว่า
    หายใจเข้าหายใจออกขณะใด ขณะนั้น แสดงว่าจิตของเราถอยออกจาก
    จตุตถฌานแล้ว เหตุนั้น ขอให้นักปฏิบัติธรรมทั้งหลายพึงใช้สติสัมปชัญญะ
    รักษาไว้ให้ดี ไม่ให้ถอยออกจากฌานที่ตนได้ และจตุตถฌานนี้มีอานิสงส์ดังนี้
    ผู้ได้จตุตถฌานทั้งอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างประณีต หากฌานไม่เสื่อม
    ตายในฌาน ก็จะปฏิสนธิเป็นพรหมเวหัปผลา อันเป็นรูปพรหมชั้นที่ ๑๐
    มีอายุยืน ๕๐๐ มหากัป
    ผู้ได้จตุตถฌานที่เป็น พระอนาคามี ก็จะไปปฏิสนธิในขั้น สุทธาวาสภูมิ ๕ ชั้น
    ซึ่งมีอายุยืนตามลำดับ ดังนี้คือ
    ๑. ชั้นอวิหา มีอายุยืน ๑,๐๐๐ มหากัป
    ๒. ชั้นอตัปปา มีอายุยืน ๒,๐๐๐ มหากัป
    ๓. ชั้นสุทัสสา มีอายุยืน ๔,๐๐๐ มหากัป
    ๔. ชั้นสุทัสสี มีอายุยืน ๘,๐๐๐ มหากัป
    ๕. ชั้นอกนิษฐา มีอายุยืน ๑๖,๐๐๐ มหากัป
    และอานิสงส์ที่จะได้พิเศษจากรูปฌานที่ ๔ คือ เป็นปัจจัยให้ได้บรรลุ วิชชา ๓
    ได้แก่
    ๑. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ปัญญาระลึกชาติหนหลังได้
    ๒. จุตูปปาตญาณ ปัญญารู้จักการเกิดการตายของบุคคลอื่นและสัตว์อื่นได้
    ๓. อาสวักขยญาณ ปัญญารู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป
    นอกจากนี้ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ได้อภิญญา ๖ คือ
    ๑. อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้
    ๒. ทิพพโสตะ ได้หูทิพย์
    ๓. เจโตปริยญาณ รู้จักวาระจิตของผู้อื่น
    ๔. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติหนหลังได้
    ๕. ทิพพจักขุ มีตาทิพย์
    ๖. อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป
    อนึ่ง ผู้ที่ได้จตุตถฌานนี้ ผิวพรรณจะผ่องใส หน้าตาอิ่มเอิบ หากว่าเอาสมาธิ
    ขั้นจตุตถฌานนี้มาเป็นพื้นฐานรองรับในการเจริญวิปัสสนาภาวนา ก็สามารถ
    ที่จะได้บรรลุอริยมรรคอริยผลเร็วขึ้นกว่าฌานที่ ๓
    ต่อไปเป็นอรูปฌาน
    ส่วน อรูปฌาน หรือ อรูปสมาบัติ เป็น ฌานหรือสมาบัติที่เอาสิ่งที่ไม่มีรูป
    มาเป็นอารมณ์
    เช่น เอาอากาศมาเป็นอารมณ์ เป็นต้น ทีนี้เราจะทำอย่างไร
    ในขณะที่เจริญพระกัมมัฏฐานอยู่นี้ เราใช้ท้องพองท้องยุบเป็นอารมณ์
    หากว่าเราเจริญอรูปฌานทั้ง ๔ นี้ เราจะทำอย่างไร เราทำได้อย่างนี้คือ
    เมื่อเราทำสมาธิคือรูปฌาน ๔ ให้คล่องแคล่วชำนาญในวสีทั้ง ๕ ประการดีแล้ว
    ในขณะที่เจริญอรูปกัมมัฏฐานเราก็เพิกอาการพองอาการยุบนั้นออกไป
    ไม่กำหนดอาการพอง อาการยุบ ให้เห็นที่ท้องพองท้องยุบนั้นว่างเปล่า
    มีแต่อากาศอยู่เท่ากับที่เรากำหนดเมื่อก่อนแล้วก็เอาสติปักไว้ที่อากาศนั้น

    แล้วก็บริกรรมภาวนาว่า อากาโส อนันโตๆ อากาศไม่มีที่สุดๆ จนสามารถ
    ทำจิตใจให้สงบเป็นอัปปนาสมาธิ ก็แสดงว่าถึงอรูปฌานที่ ๑ แล้ว
    ถ้าหากฌานไม่เสื่อม การตายในฌานนี้ก็จะไปเกิดในอรูปพรหมชั้นที่ ๑
    คืออากาสานัญจายตนพรหม มีอายุยืนถึง ๒๐,๐๐๐ มหากัป
    เมื่อเราชำนาญในอรูปฌานที่ ๑ แล้ว ก็เจริญอรูปฌานที่ ๒ ต่อไป หลังจาก
    ที่เห็นโทษของอากาสานัญจายตนะว่ายังไม่ดีนัก ยังเป็นอรูปฌานชั้นต่ำ
    ยังใกล้ชิดกับรูปฌานอยู่ จึงจะละอากาศเสีย ไม่เอาอากาศมาบริกรรม
    เหมือนเมื่อก่อน เมื่อก่อนเรารู้ว่าที่นี้เป็นอากาศ เราก็ทิ้งอากาศแล้วเอาสติ
    มาจับเอาความรู้ คือ ตัววิญญาณ
    นั้นมาบริกรรมว่า วิญญาณัง อนันตังๆ
    วิญญาณไม่มีที่สุดๆ
    ร่ำไป จนสามารถทำจิตให้สงบเป็นอัปปนาสมาธิ
    ถ้าเราทำได้อย่างนี้ ก็แสดงว่าจิตของเราเข้าถึงอรูปฌานที่ ๒ คือ
    วิญญาณัญจายตนฌานแล้ว หากว่าฌานไม่เสื่อม ตายในฌานนี้ก็
    จะไปบังเกิดในอรูปพรหมชั้นที่ ๒ คือ วิญญาณัญจายตนพรหม
    มีอายุยืน ๔๐,๐๐๐ มหากัป
    เมื่อชำนาญในอรูปฌานที่ ๒ แล้ว พิจารณาเห็นโทษของอรูปฌานที่ ๒
    จึงได้ตั้งใจเจริญอรูปฌานที่ ๓ ต่อไป โดยที่มาสำเหนียกถือเอาความว่างเปล่า ความไม่มี ซึ่งเรียกว่า นัตถิภาวบัญญัติ มาบริกรรมมาภาวนาว่า นัตถิ กิญจิๆ
    นิดหนึ่งก็ไม่มี น้อยหนึ่งก็ไม่มี
    ร่ำไป จนสามารถทำจิตใจให้สงบเป็นอัปปนาสมาธิ
    เป็นอุเปกขารมณ์
    เมื่อทำได้ดังนี้ ก็แสดงว่าเราได้สำเร็จซึ่ง อรูปฌานที่ ๓ แล้ว หากว่า
    ฌานไม่เสื่อม ตายในฌาน ตายแล้วก็จะไปบังเกิดในอรูปพรหมชั้นที่ ๓
    คือชั้นอากิญจัญญายตนะอรูปพรหม มีอายุยืน ๖๐,๐๐๐ มหากัป
    เมื่อชำนาญในอรูปฌานที่ ๓ แล้ว ไม่พอใจเพียงแค่อรูปฌานที่ ๓ นั้น
    จึงมาเจริญอรูปฌานที่ ๔ ต่อไป วิธีเจริญอรูปฌานที่ ๔ นี้ เราเอา
    อากิญจัญญายตนฌานนั้นมาเป็นอารมณ์ แล้วเพิกอากิญจัญญายตนฌาน

    นั้นออกไป โดยบริกรรมหรือภาวนาว่า เอตัง สันตัง เอตัง ปณีตังๆ
    สงบหนอ ประณีตหนอๆ ร่ำไป จนสามารถทำจิตให้เป็นอัปปนาสมาธิ
    เป็นเอกัคคตารมณ์ เป็นอุเปกขารมณ์
    เมื่อทำได้อย่างนี้ แสดงว่าได้สำเร็จเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน คือ
    อรูปฌานที่ ๔ แล้ว เมื่อฌานไม่เสื่อม ตายในฌาน ตายแล้วก็จะไปบังเกิด
    ในอรูปพรหมชั้นที่ ๔ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม มีอายุยืน
    ๘๔,๐๐๐ มหากัป
    ถ้าเอาสมาธิในอรูปฌานทั้ง ๔ นี้มาเป็นเครื่องรองรับในการเจริญวิปัสสนา
    ก็จะสามารถบรรลุอริยมรรคอริยผลเร็วขึ้น เพราะว่าอรูปฌานทั้ง ๔ นี้
    มีอารมณ์คล้ายกันกับวิปัสสนาภาวนา คือวิปัสสนาภาวนาท่านสอน
    ให้ละอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดๆทั้งหมด ทั้งที่เป็นรูป ทั้งที่
    เป็นนาม สำหรับอรูปฌานทั้ง ๔ นี้ก็เหมือนกัน ท่านสอนให้ละรูปทิ้งไป
    ให้หมด เอาแต่นามมาบริกรรม เอาอากาศเอาวิญญาณมาบริกรรม อากาศ
    และ วิญญาณที่เอามาบริกรรมนั้นก็จะละเอียดเข้าเรื่อยๆ จนถึงสภาวะ
    ที่ละเอียดประณีตที่สุด คือเอาวิญญาณเอาความรู้ที่ประณีตที่สุดเกือบ
    จะว่าไม่มีในขณะนั้น เหตุนั้นเมื่ออารมณ์คล้ายคลึงกับวิปัสสนาจึงเป็น
    เหตุให้บรรลุอริยมรรคอริยผลเร็วขึ้น
    นอกจากนี้ เมื่อได้อรูปฌานที่ ๔ แล้ว มีอานิสงส์เป็นพิเศษ คือทำให้ได้
    สำเร็จปฏิสัมภิทาทั้ง ๔ หมายความว่า เราได้เพียงรูปฌาน ๔ ก็เป็นปัจจัย
    ให้ได้วิชชา ๓ อภิญญา ๖ เท่านั้น ไม่สามารถที่จะบรรลุปฏิสัมภิทา ๔ ได้
    เมื่อใดเราได้ทั้งรูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ รวมเป็นสมาบัติ ๘ เมื่อได้สมาบัติ ๘
    ประการนี้ ก็จะเป็นเหตุปัจจัยให้ได้บรรลุปฏิสัมภิทาทั้ง ๔ ซึ่งได้แก่
    ๑. อัตถปฏิสัมภิทา แตกฉานในอรรถ คือสามารถที่จะอธิบายความของ
    ภาษิตย่อๆ หรือหัวข้อธรรมย่อๆ ให้พิสดารได้
    ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา แตกฉานในธรรม คือ สามารถที่จะรวบรวมธรรมะที่
    ท่านกล่าวไว้โดยพิสดารมาสรุปให้เหลือสั้นๆลงได้ เหมือนกับธรรมะของ
    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระองค์ตรัสไว้ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
    วิจิตรพิสดารมาก แต่เมื่อย่อลงให้สั้นๆแล้วก็ได้แก่ อัปปมาทธรรม ความ
    ไม่ประมาทเพียงประการเดียว ผู้ได้ธัมมปฏิสัมภิทาก็เหมือนกัน สามารถ
    ย่อธรรมะหรือคำพูดที่ท่านพูดโดยพิสดารให้สั้นๆ เข้าใจได้ง่าย
    ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา แตกฉานในนิรุตติคือภาษา คำว่า แตกฉานในภาษา
    ในที่นี้ ไม่ได้หมายความว่าเราบรรลุแล้วเราสามารถจะพูดภาษาต่างประเทศได้
    หรือภาษาอะไรต่อมิอะไรก็ได้ ไม่ได้หมายความอย่างนั้น คำว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา
    แตกฉานในภาษานี้ หมายถึง รู้วิธีพูดให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่ายๆ
    ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา แตกฉานในปฏิภาณ หมายความว่า สามารถ
    ที่จะเทศน์ปฏิภาณโวหารได้ ยกภาษิตขึ้นมาก็สามารถที่จะเทศน์ได้
    แสดงได้ สามารถที่จะบรรยายได้ ปาฐกถาหรืออภิปรายได้
    คนที่ปฏิภาณปฏิสัมภิทาไม่เกิด แม้จะบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้วก็
    ไม่สามารถที่จะเทศน์จะแสดงได้ ถ้าจะเทศน์ให้ผู้อื่นฟังก็ต้องอดตาหลับ
    ขับตานอน ท่องบ่นสาธยายตั้ง ๙ คืน ๑๐ คืนจึงจะมาเทศน์ได้ เทศน์ไป
    ๓๐ นาทีก็หมดคำเทศน์แล้ว เพราะว่าไม่แตกฉานในปฏิภาณปฏิสัมภิทา
    แต่ถ้าผู้แตกฉานในปฏิภาณปฏิสัมภิทาแล้ว สามารถที่จะเทศน์ได้แสดงได้
    ปฏิสัมภิทาทั้ง ๔ นี้จะเกิดขึ้นได้ก็เมื่อสำเร็จอรูปฌานที่ ๔ เสียก่อนจึงจะเกิดขึ้น
    เมื่อท่านทั้งหลายได้สมาธิดังกล่าวมาตั้งแต่ขั้นปฐมฌานเป็นต้นไป
    ครูบาอาจารย์ท่านก็จะมาฝึกให้ชำนาญในวสีทั้ง ๕ เสียก่อน สมมติว่า
    เราได้เพียงปฐมฌานก็นำมาฝึกแล้ว เช่นที่คณะแม่ชีฝึกกันอยู่ในขณะนี้
    บางท่านก็อยู่ในขั้นปฐมฌาน บางท่านก็อยู่ในขั้นทุติยฌาน ตติยฌาน
    จตุตถฌาน ถึงจะได้ฌานใดก็ตาม ก็ต้องเอามาฝึกให้ชำนิชำนาญเสียก่อน
    หากว่าไม่ชำนาญแล้ว ก็ไม่สามารถใช้สมาธิได้ตามความประสงค์ เหตุนั้น
    จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องฝึกให้ชำนาญในวสีทั้ง ๕ ประการ คือ
    ๑. อาวัชชนวสี ชำนาญคล่องแคล่วในการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ หรือว่า
    ชำนาญในการพิจารณาองค์ฌาน เช่น เรากำหนดอาการพองอาการยุบก็มี
    ความคล่องแคล่วหรือว่องไว ยกจิตขึ้นสู่อาการพองอาการยุบ และก็
    บริกรรมว่าพองหนอ ยุบหนอ หรือ พุทโธๆ ได้ทันที
    ๒. สมาปัชชนวสี ชำนาญในการเข้าฌานเข้าสมาธิ อยากเข้าสมาธิ
    ภายใน ๓๐ วินาทีก็เข้าได้ อยากเข้าภายใน ๑ นาทีก็เข้าได้ ๒ นาทีก็เข้าได้
    หรือเราอธิษฐานจิตไว้ว่า เมื่อข้าพเจ้ากราบเป็นครั้งที่ ๓ แล้ว ขอให้สมาธิจิต
    ของข้าพเจ้าดับสนิทแน่นิ่งไป ๕ นาที หรือ ๑๐ นาที ก็สามารถเข้าได้
    โดยกราบลงไปครั้งที่ ๑ เรากำหนดว่า กราบหนอ กราบลงไปครั้งที่ ๒
    และครั้งที่ ๓ กำหนดว่า กราบหนอๆ พอกราบเสร็จก็เข้าสมาธิไปได้เลย
    หรือเราอธิษฐานว่า เมื่อข้าพเจ้าเดินจงกรมไปได้ ๗ ก้าว ขอให้สมาธิจิตของข้าพเจ้าดับสนิทแน่นิ่งไป ๕ นาที เราก็กำหนดว่า ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ
    พอถึงก้าวที่ ๗ ก็เข้าสมาธิไปเลย หมายความว่า อยากเข้าเวลาไหนก็ได้
    การเข้าสมาธิได้ตามต้องการนี้เรียกว่า สมาปัชชนวสี
    ๓. อธิษฐานวสี ชำนาญในการรักษาจิตไว้ไม่ให้ออกจากฌานก่อนเวลา
    สมมติว่าเราต้องการจะเข้าสมาธิ ๕ นาที ก็สามารถจะเข้าได้ครบ ๕ นาที
    ไม่ออกก่อนเวลา ถ้าออกก่อนเวลา เรียกว่ายังไม่ชำนาญในอธิษฐานวสี
    ถ้าเราอยากอยู่ในสมาธิ ๓๐ นาที ๑ ชั่วโมง ๑๒ ชั่วโมง ๒๔ ชั่วโมงก็ดี
    ก็จะอยู่ได้ตามต้องการนั้นๆ ไม่ออกก่อนเวลา ถ้าทำได้อย่างนี้ ก็เรียกว่า
    ชำนาญในอธิษฐานวสี
    ๔. วุฏฐานวสี ชำนาญในการรักษาจิตไว้ไม่ให้เลยเวลาที่กำหนด สมมติ
    ว่าเรากำหนดจะเข้าสมาธิ ๕ นาที ก็ไม่ให้เลยไปแม้วินาทีหนึ่ง เราต้องการ
    ที่จะอยู่ ๓๐ นาที หรือ ๑ ชั่วโมง ก็อยู่ได้ครบพอดี ไม่ให้เลยเวลาไปแม้แต่
    นาทีเดียว ถ้าเราทำได้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าชำนาญในวุฏฐานวสี
    ๕. ปัจจเวกขณวสี ชำนาญในการพิจารณา คือชำนาญในการพิจารณา
    ฌานที่ตนได้แล้ว ชำนาญในการเข้าการออก ตั้งแต่ฌานที่ ๑ จนถึงฌานที่ ๘
    ตามลำดับๆ ถ้าเราได้ฌานทั้ง ๘ ก็ชำนาญในการพิจารณาฌานทั้ง ๘
    พูดเอาง่ายๆว่า ชำนาญในการพิจารณาฌานของตน ได้ทั้งการเข้าการออก
    เรียกว่า ชำนาญในปัจจเวกขณวสี
    นี้แล ท่านนักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย เท่าที่หลวงพ่อให้ท่านทั้งหลายฝึกสมาธิ
    ก็เพื่อให้ท่านชำนาญในการเข้าสมาธิออกสมาธิ เพื่อที่จะเข้าสมาธิได้
    ตามกำหนดกฎเกณฑ์ และอยู่ในฌานตามที่เรากำหนดไว้ เมื่อเราทั้งหลาย
    ชำนาญในวสีทั้ง ๕ นี้แล้ว เราก็สามารถใช้สมาธิใช้ฌานของเราได้ตามประสงค์
    เอาละท่านทั้งหลายผู้พากเพียรภาวนา ธรรมะที่หลวงพ่อได้บรรยายมาในเรื่อง
    สมาบัติ ๘ ประการ ก็ได้ใช้เวลามาพอสมควร จึงขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 ธันวาคม 2018
  4. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,606
    ค่าพลัง:
    +3,014
     
  5. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,606
    ค่าพลัง:
    +3,014
    ขอให้ทุกท่านสุขสันต์ในวันปีใหม่ครับ
    ขอให้ระวังฝั่งศรีสวัสดิ์ ด้วยนะครับ
    ผู้ที่ดูแลฝั่งโน้นอยู่
     
  6. ฮักตัวน้อย

    ฮักตัวน้อย สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2017
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +28
    1.ผมสนใจอยากกสินคับ ส่วนตัวชอบกสินไฟ ใช้เพ่งเทียนภาพมักไม่ค่อยติดตา ต้องใช้กองไฟจะจำง่ายมาก พอหลับตาเพ่งไปเรื่อยๆ จะเห็นเป็นถ่านแดงบ้าง ไฟกองใหญ่ขึ้นกวาเดิมบ้าง อย่างนี้กสินโทษไหม ควรละภาพพวกนี้หรือเพ่งไปเรื่ิยๆ
    2. ถ้าเราต้องการให้มีครูบาอาจารย์ที่เป็นเทพพรหมมาสอนสมาธื ควรอธิบายยังไงคับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มกราคม 2019
  7. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    คุณนิลการ สอนคนมากมาย ท่านสำเร็จถึงไหนแล้วเป็นอริยะหรือยังครับ
     
  8. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,606
    ค่าพลัง:
    +3,014

    วิธีแก้
    ข้อที่ 1 ให้ทำวงกลม บังคับแสงไฟ ไว้ให้ดีครับ
    จะเพ่งไฟ หรือ จะเพ่งถ่าน เลือกเอาอย่างเดียว
    ฝึกครับ
    ข้อที่2 หากฝึกได้ดี จิตนิ่งพอ
    เดี๋ยว เทพ พรหม ก็มาหาเองครับ
     
  9. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,606
    ค่าพลัง:
    +3,014

    แล้วท่านคิดว่า ผมเป็นหรือยังครับ
    ตามที่ท่านคิดไว้ เป็นอย่างไร
    แต่ท่านสงบ บอกว่า เราเป็น โสดาบัน แค่นั้น
    เค้าเป็นสูงกว่าเราอีก
    ท่านคิดว่าไงครับ
     
  10. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ผมไม่รู้หรอกใครเป็นอะไร ผมถึงถามว่าคุณเป็นอริยะหรือยัง สรุปเป็นหรือยังครับ
     
  11. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,606
    ค่าพลัง:
    +3,014
    คุณยังไม่รู้ ก็แสดงว่า คุณยังไม่เป็น
    เพราะถ้าเป็นแล้ว ก็จะสรุปได้ว่า
    ผมเป็นหรือยังไม่ได้เป็น
    แล้วคุณฝึกถึงไหนแล้วครับ
    ลองเล่ามาดูที
     
  12. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    อ้อ ต้องรู้ถึงจะได้เป็น สรุปว่าคุณถึงไหนแล้ว
     
  13. ฮักตัวน้อย

    ฮักตัวน้อย สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2017
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +28
    ทำไมเวลามีตั้งกระทู้ช่วยแก้ปัญหาการภาวนา ต้องมีคนถามว่าถึงขั้นไหนตลอดคับ การช่วยคนที่ติดปัญหาการทำสมาธิน่าจะเป็นเรื่ิงดี น่าอนุโมทนาต่างหากคับ ยิ่งถ้าใครมีภูมิสูงกว่าผู้ตั้งกระทู้น่าจะยิ่งกันแก้ปัญหาสะอีก
     
  14. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,410
    ค่าพลัง:
    +12,662
    สามัคคีกันได้ก็ซิฮับ แต่คนไทยส่วนใหญ่
    มักจะสงสัยเสมอเมื่อพบว่ามีคนเก่งกว่า
    ตนเองโผล่ขึ้นมา เลยต้องตรวจสอบ
    กันนิดหน่อยเพื่อให้คลายสงสัย
    เช็คไปเช็คมาเลยกลายเป็น
    การประลองกำลังฮับ
     
  15. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    คุณนิลการมีวิธี นั่งสมาธิแล้วตายเลยมั้ยครับ จะปลงอายุสังขาร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มกราคม 2019
  16. ฮักตัวน้อย

    ฮักตัวน้อย สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2017
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +28
    แล้วเวลาเพ่งไฟ ถ้าภาพในนิมิตเปลี่ยนเป็นไฟกองใหญ่ หรือเปลี่ยนสี ควรจับภาพใหม่ หรือจับแต่เดิมไว้
     
  17. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,606
    ค่าพลัง:
    +3,014
    ผมรู้จัก มรรควิถี หรือ มรรควิธี แล้วครับ
    รู้แล้วว่า ปฏิบัติอย่างไรจึงจะทำให้พ้นทุกข์ได้
     
  18. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,606
    ค่าพลัง:
    +3,014
    ขณะที่ทำสมาธิ ก็ให้ พิจารณา
    ความตาย หรือ มรณะสติ ไปด้วยครับ เช่น
    พิจารณาว่า เรากำลังจะตายๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
    แล้วลองพิจารณาดูว่า จิตของเรายังกลัวตายอยู่ไหม
    ถ้ายังหวาดกลัวอยู่ ก็แสดงว่า ยังไม่พร้อมจะตาย
    หากตายไปจริงๆ อาจจะลง อบายภูมิ

    ให้ฝึกพิจารณาไปเรื่อยๆ ทุกวันๆ เป็นประจำ
    แล้วเราจะค่อยๆ หายกลัวตายไปเอง
    แต่ถ้าท่านไม่กลัวตายแล้ว
    ก็แสดงว่า ท่านเป็น พระอริยะเจ้าแล้ว
    ชั้นใดชั้นหนึ่ง โดยที่ท่านยังไม่แน่ใจ
    อย่างนี้จะต้องมีคนรับรอง
    แล้วท่านจะยอมรับได้จริงๆ
     
  19. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,606
    ค่าพลัง:
    +3,014
    ทุกคนอยากได้อาจารย์ ที่คอยสอนสั่งตนเอง
    แบบตัวเป็นๆ แต่ทุกคนที่พบเจอ กลับมีภูมิธรรม
    น้อยกว่าตนเองเสียอีก จึงเริ่มต้นด้วยความสงสัย
    ก็แบบเดียวกัน เมื่อก่อนผมก็สงสัยคนไปทั่ว
    จนพอเริ่มเข้าใจได้ ก็จะรู้เองว่า ใครคือระดับ
    พระอริยะเจ้า ใครยังไม่ถึง แล้วใครยังอีกนาน
    มันก็สรุปได้เองครับ ไม่ต้องมีใครบอก ก็เข้าใจได้
     
  20. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,606
    ค่าพลัง:
    +3,014
    ผมไม่ได้มาสอนครับ เพราะจิตของผม
    มีนิสัยขี้เกียจสอน เหมือน พระปัจเจกะพุทธเจ้า
    ผมแค่แนะนำต่อ จากที่พวกท่านปฏิบัติอยู่
    ผมเจอผมก็แนะนำต่อให้ แต่ทุกคน
    ก็ต้องไปฝึกกันเอง แล้วค่อยส่งการบ้านมา
    ผมจะพิจารณาอีกทีว่า ควรแนะนำต่อไหม
     

แชร์หน้านี้

Loading...