ใครฝึกเสี่ยวโจวเทียนมั่ง ขอคุยด้วยหน่อย

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย anubist, 14 ตุลาคม 2010.

  1. anubist

    anubist Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2007
    โพสต์:
    89
    ค่าพลัง:
    +73
    ฝึกมาตั้งนานไม่ไปไหนซักที ใครฝึกสำเร็จแล้ว ขอคำชี้แนะด้วย ทั้งอีเมล์ไว้ก็ได้
     
  2. userx

    userx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กันยายน 2007
    โพสต์:
    636
    ค่าพลัง:
    +1,062
    ผมฝึกแต่ เซียงซุนครับผม หนักมาก ฝึกนานๆควบคุมร่างกายไม่ค่อยได้ ตอนนี้เลิกฝึกแล้วครับ กลัวเป็นโรคตับ


    ข้างบนล้อเล่นนะครับ อิๆ ว่าแต่เสี่ยวโจวเทียนมันคือไรอ่า
     
  3. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    906
    ค่าพลัง:
    +3,887
    จักรวาลน้อยคือฝึกกำลังภายในโดยเน้นพลังจากจุดท้องน้อย
    สะสมน้ำทิพย์คือน้ำอสุจิโดยไม่เสพกาม มุ่งทะลวงพลังขี้นสู่กระหม่อม
    ฝึกผิดไฟธาตุจะแตกตายเพราะความกำหนัดทางเพศที่ข่มไว้
    ต้องหามวยเรียนด้วยเพราะจะได้เอาความงุ่นง่านไประบายออกทางกาย
    เป็นเคล็ดการฝึกของเต้าหยิน ลัทธิเต๋า
     
  4. Jinha

    Jinha เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +119
    แนะนำให้ไปหาอาจารย์ดีกว่าครับ ผมเคยหาหนังสือของ อาจารย์ หยาง เผย ซิน มาอ่านอ่าแรกเขาก็ให้ฝึกหายใจแบบ เข้า ท้องแฟบ นับ 1-2-3-4... จนไม่ไหว แล้วอัดลมหายใจเข้าไปอีก นับ1-2-3-4... จนไม่ไหว หายใจออกท้องพอง ช้าๆ แล้วหายใจเข้าใหม่ทำไปเรื่อยๆ (วิธีก็ประมาณนี้ ถ้าผมจำไม่ผิดนะ แต่แนะนำว่าให้หาอาจารย์ดีักว่า) มีใครเคยอ่านฝ่าหลุนกงไหมครับ อ่านเจอมาคือเหมือนฝึกทางสายนี้ง่ายกว่า แต่ต้องได้รับการถ่ายทอดพลังกงจากอาจารย์ผู้สอน เส้นลมปราณนับพันเส้นจะถูกเิปิดหมดในทีเดียวแล้วพลังกงจะหมุนเองตลอดเวลาแม้จะไม่ได้นั่งบำเพ็ญซึ่งแตกต่างจากสายเสี่ยวโจวเทียน แต่ต้องนั่งบำเพ็ญเพื่อเปิดลมปราณสายหลักเพื่อเหนี่ยวนำให้เปิดลมปราณสายที่เหนือนับพันเส้น ซึ่งใช้เวลานานมากหนึ่งช่วงชีวิตก็อาจจะยากสำเร็จ อ่านแล้วมีความคิดเห็นยังไงกันครับ ช่วยแลกเปลี่ยนความรู้กันหน่อย (ที่พิมพ์ไปอาจมั่วมั้ง ผิดตรงไหนท้วงได้ครับจะได้เก็บเป็นความรู้)
     
  5. anubist

    anubist Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2007
    โพสต์:
    89
    ค่าพลัง:
    +73
    อยากหาอาจารย์อยู่เหมือนกันครับ แต่ค่าเรียนแพงมาก
     
  6. Tapakon

    Tapakon สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +2
    คุณอัคนีวาตครับ การฝึกแบบนั้นเรียกว่า กุณฑาลิณี ครับไม่ใช่เสี่ยวโจวเทียน
    • กุณฑาลิณี ภาษาไทยเรียก พลังงูไฟ กุณฑาลิณีผู้ฝึกต้องงดการหลั่งน้ำกามเพื่อสะสมเป็นพลัง
    โดยเดินพลังจากจักระที่1 ให้พุ่งทะลวงจักระที่ 7 ให้อาบรดตัวดั่งน้ำพุ



    แล้วดูดพลังจักรวาลเข้าสู่ตัว มีต้นกำเนิดมาจากพระลามะธิเบต
    • ส่วน เสี่ยวโจวเทียน ภาษาไทยเรียก โครจรจักรวาลน้อย หรือ ผ้าผืนเล็ก
    เป็นการเดินพลังจากจักระที่ 2 ลงไปจักระที่ 1 แล้วเคลื่อนพลังกลับขึ้นไปจักระที่ 3,4,5,6,7 จากด้านหน้าตามลำดับ
    แล้วส่งพลังกลับไปทางด้านหลังจากจักระที่ 7 ไปจักระที่ 6,5,4,3,1 แล้วกลับมาจักระที่ 2 ตามลำดับ
    โครจรเป็นลักษณะวงกลมเช่นนี้ไปเรื่อยๆ มีต้นกำเนิดจากลัทธิเต๋า




    วิชาทั้งสองมีความสามารถทางด้านอายุวัฒนะ แต่ต่างกันที่
    • กุณฑาลิณี เมื่อฝึกสำเร็จจะสามารถหยุดอายุของผู้ฝึกได้ จึงควรฝึกตอนวัยหนุ่ม ไม่เด็กหรือแก่จนเกินไป
    วิชามีความเสียงสูงหากฝึกผิดธาตุไฟแตก อาจทำให้สติเลอะเลือนมีความคิดแบบเดี๋ยวเด็กเดี๋ยวแก่



    หรืออาจเป็นบ้าได้ถ้าหักโหมมากไป
    • เสี่ยวโจวเทียน เมื่อฝึกสำเร็จจะย้อนอายุของผู้ฝึก ทำให้ดูเด็กลง
    ดังนั้นหากอายุยังไม่ถึง 16 ปี ห้ามฝึกเด็ดขาด และเครงครัดเรื่องการเดินพลังที่ถูกต้อง
    มิฉะนั้นจะเป็นผลเสียต่อสุขภาพขั้นร้ายแรง หรืออาจทำให้ร่างกายแก่ก่อนวัย ตายเร็วขึ้นได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มีนาคม 2011
  7. Sinderking

    Sinderking เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    316
    ค่าพลัง:
    +673
    ฝ่าหลุนกง ถ้าไม่เจออาจารย์จริง ยากครับ เพราะมันอาศัยช่วงสมาธิเหมาะเจาะพอดี ปราณถึงทะลวง ผมฝึกอย่างหนัก เช้า กลางวัน เย็น ยังไปได้ไม่ไกลครับ

    แต่เสี่ยวโจวเทียนฝึกตามหนังสืออาจมีแววครับ เพราะเป็นการอัดพลังเข้าท้อง รอเคลื่อนอย่างเดียว แต่ที่สำคัญคือห้ามหลั่งอสุจิ ถ้าหลั่งก็เริ่มใหม่ ผมเคยเห็นฝรั่ง ก่ะ คนไทยอ่านจากหนังสือ แล้วก็สำเร็จได้ ปรากฏอายุแก่แล้ว แต่ยิ่งฝึก หน้ายิ่งใส ยิ่งหนุ่ม ร่างกาย reset ระบบใหม่หมด ค่อยๆแข็งแรง แล้วก็ความจำ สติปัญญา IQ เพิ่มพูนขึ้นมาก

    ของหลวงพ่อโตก็สอนพลังปราณคล้ายๆเสี่ยวโจวเทียน แต่ไม่ต้องหายใจอัดขนาดอาจารย์หยาง เป็นการหายใจจนสมาธิเฉียดๆฌาน สามารถเห็นหรือสัมผัสพลังความร้อนในท้องได้ ก็พาวนจากท้ายไปหัว หน้า-หลัง ทะลวงลมปราณ ช่วงรอบเข็มขัดด้วย สรุปว่าเป็นจักรวาลน้อยแบบไทย อาศัยสมาธิฌาน ไม่ใช่สะสมพลัง

    และสมาธิในเว็บบอร์ด ลืมแล้วว่าใคร กระทู้ จำความได้ว่า ฝึกจนสมาธิได้ประกายเพชร (ฌาน4) แล้วอธิษฐานทับอธิษฐาน ให้ปราณทะลวงให้หมด แล้วก็จะทะลวงครับ

    ส่วนตัวผมนั้น อยากคุยกับคนที่ฝึกสำเร็จแล้วมาก ว่า 'นายทำได้อย่างไร?' T.T

    ปล. ผมเห็นว่าจักรวาลน้อย แบบคนไทย ฝึกได้ง่ายสุด และไวสุดครับ แต่พลังมันจะอ่อนกว่าช่วงแรก เพราะไม่ได้เก็บสะสมพลังไว้เลย อยู่ดีๆทะลวงปราณเลย แต่มันพัฒนาให้มีประสิทธภาพได้ภายหลังครับ
     
  8. วสันตฤดู

    วสันตฤดู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,321
    ค่าพลัง:
    +8,714
    ผู้หญิงฝึกได้ไหมคะ เเล้ววิธีฝึกทำอย่างไรบ้าง
     
  9. Plagruy

    Plagruy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    196
    ค่าพลัง:
    +130
    อาจารย์เก่งๆตามสวนลุมฟรีๆก็เห็นมีอยู่หนิ

    ส่วนตัวผม คิดว่าเสี่ยวโจวเทียนต่างจากพวกการฝึกพลังแบบอื่นก็แค่ไล่ตามจุดลมปราณของเส้นเริ่นกับตูให้ครบ

    แต่ผมก็ไม่ได้ไปเน้น เลยไม่ทราบว่าคำว่าฝึกสำเร็จจะกำจัดความยังไง

    บางคนก็บอกต้องฝึกจนจิตใจผ่องใสด้วยถึงจะเรียกว่าของจริง

    บางคนก็บอกต้องฝึกตันเถียนด้วย ก็เลยไม่รู้แฮะ แล้วแต่สำนัก

    ส่วนตัวผมคิดว่าแค่โคจรครบวงได้คล่องแคล่วก็พอแล้ว มันช่วยสมดุลพลังงาน

    แต่ที่แน่ๆน้ำทิพย์คือสารคัดหลั่งตอนฝึกรวมถึงน้ำลายใสด้วย
     
  10. chevasit

    chevasit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    175
    ค่าพลัง:
    +424
    ประมาณ 2 เดือนที่แล้วเคย ตั้งใจฝึก จนทำให้รู้สึกว่า ท้องน้อยมันอุ่นๆ แต่ก็เลิกฝึกไป เพราะงานยุ่งๆ อยู่ เลยไปไม่ถึงใหน
     
  11. Sinderking

    Sinderking เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    316
    ค่าพลัง:
    +673
    ได้สิคัรบ ข้างล่างนี่วิธีฝึก วงจรจักรวาลน้อย (ฉบับไทย ตามแบบสมเด็จโต)

    สำหรับวิชชาตามแบบสมัยไทยนี้ จะมีความแตกต่างกับของจีน "เสี่ยวโจวเทียน" เล็กน้อย เพราะจุดตั้งช้าง หรือจุดตันเถียนของไทยต่ำกว่าสะดือ 3 นิ้ว ซึ่งจะลึกกว่าของจีน นิ้วหนึ่ง และการหายใจไม่ต้องอัดลม ไม่ต้องทำย้อนกลับ แต่หายใจธรรมชาติ ลึก-ยาว พอถึงช่วงเดินจักรวาลใหญ่ ไม่ต้องกำหนดจิตเดินแบบของจีน แต่ปราณจะเดินเอง (สมเด็จโตเรียกว่า กระแสพลังปราณเข็มขัด 36 รอบ ทั้งหมดนี่ถ้าสำเร็จขั้นต้น มันจะเดินของมันเองไปทั่วตัวตั้งแต่หัวจรดเท้า, ของจีนมีแบบกระแสใหญ่36รอบขวา และ26รอบซ้าย ต้องกำหนดจิตทะลวงเองหมดทีละจุด) ที่สำคัญคือ อย่าหลั่งน้ำกาม น้ำกามเป็นพลังงานที่ต้องใช้ทะลวงจุดต่างๆ ต้องหัดกักเก็บไว้

    คำสอนสมเด็จโต จากหนังสือ สมาธิ ทางสงบ ถอดจิต
    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> หน้า79
    ฝึกลมปราณสร้างกำลังภายใน
    วิธีการฝึกลมปราณนี้ เป็นวิธีฝึกการหายใจให้เกิดความเคยชิน และสืบเนื่องจนเป็นนิสัยที่ดีของการหายใจ เพื่อใช้นำการหายใจในการฝึกปฏิบัติสมาธิจิตทุกๆครั้ง และหลังจากออกจากสมาธิแล้ว
    อนึ่งเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในระหว่างฝึก “ลมปราณ ” พร้อมทั้งข้อปฏิบัติระหว่างฝึกนั้นมีส่วนคล้ายคลึงกับเหตุที่จะเกิดขึ้นในระหว่างฝึกปฏิบัติจิตด้วย
    ส่วนท่าฝึกใช้ร่วมกันได้
    ด้วยเหตุนี้ จึงได้เขียนรวมไว้ในที่นี้
    ฝึกลมปราณสร้างกำลังภายใน
    ก่อนอื่น ใจเย็นๆ นั่งลงหายใจตามปรกติก่อน สัก 1 หรือ 2 นาที ถ้าเหนื่อยมาจากงาน หรือเพิ่ง

    หน้า80
    เดินทางมาถึง นั่งพักสักครู่ก่อน เพื่อให้ใจสงบลงพร้อมที่จะฝึกต่อไป
    จากนี้ เลือกท่าฝึกที่เหมาะสมกับสังขารท่านท่าใดท่าหนึ่ง
    โดยปกติคนเราจะหายใจช่วงสั้นและตื้น
    ไม่ได้ใช้ความสามารถของปอดที่สามารถขยาย และหดอย่างเต็มที่ จึงทำให้ปอดไม่ได้หายใจเอาอากาศดีเข้าและขับอากาศเสียออกจากร่างกายอย่างเต็มที่ ปอดจึงไม่สามารถฟอกโลหิตให้สดใสสมบูรณ์ดีเท่าที่ควรเป็นผลให้ร่างกายเจ็บป่วยได้ง่าย
    การฝึก “ ลมปราณ ” ต่อไปนี้จะช่วยป้องกันและรักษาท่านหายจากโรคภัยไข้เจ็บได้
    ฝึกลมปราณก็ต้องอาศัยการฝึกจิตให้สงบก่อน
    การฝึกนี้ไม่ต้องใจร้อนรีบเร่ง ไม่ฝืนสังขารและฝืนจิตใจ ทำใจสบายๆ ค่อยๆฝึก และฝึกจนจิตรวมเป็นหนึ่ง จึงจะเป็นพื้นฐานที่ดีของการฝึกลมปราณต่อไป

    หน้า81
    1. ทำใจให้สงบแล้วค่อยๆหลับลง หุบปากแล้วใช้ปลายลิ้นคํ้า แตะเพียงเบาๆที่เพดาน
    2. หายใจตามปรกติวิสัยจนกว่าจะสงบ รวมจิตเป็นหนึ่งก่อน แล้วจึงหายใจเข้าค่อยๆ ลึกขึ้นด้วย วิธีถอนหายใจลึกเข้าๆจนสุดแรงดูดลม ลมหายใจนั้นจากหยาบให้ค่อยๆปรับให้ละเอียดมากขึ้น จากการหายใจตื้นให้ค่อยๆ ลึกจากการหายใจช่วงสั้นให้ค่อยๆเป็นช่วงยาวขึ้น ค่อยๆเพิ่มขึ้นทีละขั้นอย่างช้าๆ ตามลำดับ
    แล้วค่อยๆผลักดันนำส่งลมหายใจที่ดูดเข้ามานั้นให้ตำลงๆ จนกว่าจะเลยสะดือลงไป 3 นิ้วเป็นตำแหน่งที่ตั้งของจุด “ ตั้งช้าง ”
    การนำล่องลมหายใจให้ตำนี้ ไม่ควรจงใจใช้แรงบีบเกร็งกล้ามเนื้อให้ดันลมหายใจตำลงไป แต่เป็นการทำงานที่เรียกว่าจิตสำนึกว่า ความรู้สึกของจิตใจไปจับที่กองลม จึงสมมุติว่าเห็นกองลมที่หายใจเข้านั้นเป็นกลุ่มลมสีขาวกำลังถูกนำผ่านรูจมูก ผ่านหลอดลม ผ่านปอดแล้วผ่านช่องท้องและลงตํ่าจนถึงท้องน้อย ซึ่ง


    หน้า82
    ที่ตั้งของจุด “ ตั้งช้าง ”เมื่อลมหายใจถึงจุด “ ตั้งช้าง ” แล้วค่อยๆ ปล่อยลมหายใจออก ช่วงที่ลมหายใจเข้าและออก จะต้องฝึกให้ใช้ระยะเวลายาวเท่าๆกัน จิตใจก็จะค่อยๆสงบลงมา
    การหายใจเข้าออกตามวิธีนี้ จะต้องเป็นลักษณะธรรมชาติ หายใจไม่มีเสียง ไม่ใจร้อนรีบเร่ง การหายใจเป็นไปอย่างมั่นคง เชื่องช้า ต่อเนื่องไม่ขาดช่วง ละเอียดนิ่มนวล ลึก ยาว
    ลักษณะการฝึกการหายใจที่ถูกต้อง คือหายใจแล้วไม่รู้สึกลำบากและเหนื่อย ประสาทผ่อนคลายความตึงเครียด จิตใจสงบว่างเปล่า จึงเป็นการถูกต้อง
    3. เมื่อฝึกลมหายใจแบบนี้ผ่านไประยะหนึ่งจะ รู้สึกว่าลมหายใจเข้านั้น มีกระแสลมพัดจากเบื้องบนลงสู่เบื้องตำจนถึงจุด “ ตั้งช้าง ” เหตุที่รู้สึกว่ามีกระแสลมนั้นก็เพราะว่าเวลาถอนหายใจเข้านั้น กล้ามเนื้อซี่โครงจะหดตัวดึงกระดูกซี่โครงให้ยกขึ้นและบานออก ทรวงอกจะพอกโตขึ้นช้าๆ ท้องน้อยก็จะค่อยๆหดเข้าช่วงนี้ปอดก็จะขยายพองตัวออกดูดอากาศดีเข้าเต็มที่

    หน้า83
    ปอดจึงขยายตัวพองโตตั้งแต่ใต้ขั้วปอดลงมาจนถึงปลายกีบของปอด และที่ใต้ปอดนั้นมี “ กระบังลม ” ที่มีโครงสร้างคล้ายพังผืดกั้นขวางระหว่างทรวงอก กับ ช่องท้อง เมื่อปอดขยายตัว ก็จะผลักดันให้กระบังลมหดตัวขยับลดตำลงมา พอตอนที่ปอดคลายลมหายใจออกนั้น กล้ามเนื้อซี่โครง และกระบังลมจะคลายตัวออกก็จะแฟบลงท้องน้อยก็จะพองคืนสู่สภาพปรกติ
    การหายใจเข้าและออกเช่นนี้ จึงเกิดการบีบรัดและผ่อนคลายของอวัยวะภายในทรวงอก และที่ช่องท้องเป็นการเพิ่มการเคลื่อนไหวภายในมากขึ้น จึงรู้สึกว่าเป็นกระแสลมวิ่งตามลมหายใจที่เรียกว่า “ กระแสพัดพาภายในร่างกาย ”นั้น การเคลื่อนไหวเช่นนี้จึงเป็นการบริหารภายในร่างกาย
    กำลังภายในเคลื่อนไหวภายในร่างกาย
    หลังจากฝึก ลมปราณ หรือ ฝึก สมาธิ ไปได้ระยะหนึ่งแล้ว ท่านอาจจะรู้สึกว่าท้องน้อยที่เป็นที่ตั้งของจุด " ตั้งช้าง " มีกลุ่มความร้อนเกิดขึ้น

    หน้า84
    ระยะเวลาที่ฝึกแล้วจะเกิดกลุ่มความร้อนนี้ใช้เวลาไม่เท่ากันทุกคน ต้องแล้วแต่ความสมบูรณ์ของสังขารและความพร้อมของจิตใจที่ได้ฝึกมาถูกต้อง เข้าหลักได้ดี เพียงใดก็จะเกิดผลเร็วเพียงนั้น บางท่านฝึกไปในทางจิตสงบ หลายท่านตั้งแต่เริ่มฝึกใหม่ๆ จนถึงขั้นจิตสงบอาจจะไม่มีกลุ่มความร้อนนี้เกิดขึ้นก็ได้
    กลุ่มความร้อนนี้เราเรียกกันว่า “ กลุ่มกระแสกำลังภายใน ” เป็นพลังงานที่เกิดจากการฝึก ลมปราณ
    กลุ่มความร้อนนี้เมื่อเกิดขึ้นใหม่ๆ อาจจะเกิดขึ้นชั่วครู่หนึ่งหรือเกิดความรู้สึกเพียงบางครั้งบางคราวของการฝึก แต่เมื่อใดที่เราจับจุดที่จะเกิดความสำเร็จนี้ได้แล้ว เมื่อคราวใดที่เกิด “ กลุ่มความร้อน ”นี้แล้วใจเย็นๆ อย่าเพิ่งลุกจากที่ ไม่ตื่นเต้นดีใจ ไม่เสียใจ ที่เพิ่งจะสำเร็จ ทำใจสบายๆ วางตัวเป็นกลาง คงฝึกลมปราณธรรมดาต่อไป โดยไม่ต้องเพิ่มแรงบีบรัดกดดันหรือว่า เกร็งบีบประสาท ไม่ช้า กลุ่มความร้อนนั้นก็จะร้อนมากพอสมควรที่เรียกว่า “ ไออุ่น ” (แต่ไม่ใช่รู้สึกว่าความร้อนมากจนกระวนกระวาย)

    หน้า85
    วิธีนำส่ง “ กลุ่มไออุ่น ” ให้พัดพาโคจรไปทั่วร่างกาย
    “ กลุ่มไออุ่น ” นี้เมื่อเกิดขึ้นแล้ว อาจจะมีโอกาสโคจรไปตามร่างกายเอง โดยเราไม่ต้องนำพาก็ได้ แต่เขียนไว้เป็นลักษณะแผนที่ การเดินทาง ของกลุ่มไออุ่น เพื่อว่าถ้าเหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นที่ใดและจุดใดแล้ว ควรที่ทำอย่างไรต่อไป จะได้ไม่ต้องตกใจ ถ้าประสบกับเหตุการณ์นั้นๆ
    เมื่อเกิด “ กลุ่มไออุ่น ” ที่จุด “ ตั้งช้าง ” แล้วยังคงฝึกลมปราณไปตามปรกติ
    ตั้งสมมุติฐานจินตนาการว่า เมื่อฝึกลมปราณจนกระแสกำลังภายในทับถม เสริม เพิ่มเติม ที่กลุ่ม ไออุ่น มากขึ้นๆ กลุ่มไออุ่นก็เพิ่มจำนวนหนาแน่นรวมกลุ่มใหญ่มากขึ้นหนักขึ้น (ทั้งนี้เป็นเพียงความรู้สึกเท่านั้นไม่ใช่แสร้งออกแรงบีบรัดบังคับกล้ามเนื้อ)หลังจากนั้นจึงรวบรวมความสนใจเพื่อใช้เสริมความรู้สึกมากขึ้น จะมีอาการคล้ายๆกับ กำลังถ่ายอุจจาระอยู่ และเมื่อฝึกไปๆอาจจะรู้สึกว่ากำลังถ่ายออกมาจริงๆ ขอให้อั้นกลั้นไว้

    หน้า86
    ก่อนฝึกต่ออีกระยะหนึ่ง “ กลุ่มไออุ่น ” ก็จะไหลผ่านจุด “ ฝีเย็บ ” (ตำแหน่งนี้อยู่ระหว่างช่องถ่ายเบากับทวารหนัก) มีข้อสังเกต คือ มีกลุ่มไออุ่นไหลผ่านต่อเนื่องหรือเหมือนกระแสไฟฟ้าไหลกระโดด ข้ามทวารหนัก อยู่ตลอด เวลาไปสู่จุดก้นกบ (ตำแหน่งนี้อยู่ที่ปลายสุดของกระดูกสันหลัง) เมื่อกลุ่มไออุ่น รวมถึงจุดก้นกบแล้ว ก็จินตนาการต่อว่า นำกลุ่มไออุ่น ส่งต่อขึ้นไปกระดูกสันหลัง (การนำส่งช่วงนี้ จะรู้สึกว่า มีอาการหดช่องทวารหนักขึ้นไป) กระแสกลุ่มไออุ่นก็จะผลักดันขึ้นสันหลังเอง (โดยไม่ต้องแสร้งชักนำ)
    ระหว่างที่ไออุ่น ยังเคลื่อนไหวโคจรไปสู่ทั่วร่างกายนั้น ก็ยังคงหายใจฝึกลมปราณเสริมทับถมให้กับจุด “ ตั้งช้าง ” ต่อไป เหมือนกับว่า เรากรอกนํ้าเติมใส่ที่กรวยอยู่ตลอดเวลา เป็นการผลักดันนํ้าที่ไหลไปก่อน และนํา(กลุ่มไออุ่น) นั้นก็จะไหลไปตามท่อ คือ ผ่านตามจุดต่างๆของร่างกาย “ กลุ่มไออุ่น ” ก็ไหลขึ้นตามกระดูกสันหลัง ผ่าน “ จุดบั้นเอว ” ผ่านขึ้นไปที่ “ จุดคอพับ ” (จุดนี้อยู่ระหว่างกระดูกสันหลังช่วงระหว่าง



    หน้า87
    กระดูกต้นคอต่อกับไหล่พอดี สังเกตได้จากเวลาพับคอ จะมีกระดูกนูนขึ้นมาตรงจุดนั้น ) ขึ้นผ่าน “ จุดท้ายทอย ” (จุดที่กระดูกคอต่อกับหัวกะโหลก) ขึ้นไปสู่จุดกระหม่อม (ตรงกลางของหัวกะโหลกตำแหน่งนี้สังเกตได้จากตอนที่เด็กยังอ่อนๆอยู่ กลางกระหม่อมนั้น จะผุดขึ้นลงตามกระแสผลักดันของเลือดที่หัวใจสูบฉีดขึ้นมา หล่อเลี้ยงจุดนั้น) จากนั้น ก็เคลื่อนผ่านกระหม่อม มายัง “ จุดหน้าผาก ” (กึ่งกลางระหว่างคิ้ว) ลงสู่ “ จุดลิ้นไก่ ” (จุดนี้อยู่รอยต่อระหว่างโคนลิ้นกับลิ้นไก่ที่เพดานปาก )และไหลผ่านลงมา “จุดกึ่งกลางของกระดูกหน้าอก ” (อยู่กึ่งกลางของกระดูกไหปลาร้าหรือเรียกว่าใต้จุดคอหอย)ลงสู่จุดกลางอก (จุดผ่ากลางระหว่างหัวนมทั้งสองข้าง) ผ่านสะดือและลงสู่ “ จุดตั้งช้าง ” อีกครั้ง โคจรหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลาที่นั่งฝึกอยู่
    ยังมีอีกกระแสหนึ่ง เรียกว่า “ กระแสขวาง ”หรือเรียกว่า “ กระแสเข็มขัดรัดเอว” ฝึกลมปราณไปพักหนึ่งแล้ว อาจจะเกิดกระแสขวางนี้ขึ้นมาเมื่อใดก็ได้ คือเมื่อเริ่มมี “ กลุ่มไออุ่น ” นั้น บางครั้งไม่วิ่งขึ้นสู่ศีรษะ

    หน้า88
    แต่กลับจะวิ่งเป็นแนวขวางบั้นเอว ครบรอบเป็นลักษณะ เข็มขัด ซึ่งบางครั้งก็จะวิ่งอ้อมจากซ้ายไปขวา บางครั้ง ก็จะวิ่งจากขวาไปซ้ายอย่างมีระเบียบโดยประมาณวิ่งรอบครั้งละ36 รอบ
    และเมื่อฝึกไปอีกระยะหนึ่ง กระแสไออุ่นก็จะกระจายไปทั่วถึงปลายเท้า ปลายมือ
    การเคลื่อนโคจรของไออุ่นนี้ อาจจะเคลื่อนโคจรผ่านไปทีละจุด และอาจจะต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งจึงสามารถผ่านอีกจุดหนึ่งจนถึงขั้นโคจรครบทุกจุดทั่วกาย
    บางท่านฝึกเป็นปีๆ จึงจะสามารถโคจรครบรอบกาย
    ในระหว่างที่ “ กลุ่มไออุ่น ” จากลมปราณกำลังโคจรผ่านจุดต่างๆ ของร่างกาย อยู่นั้น เกิดมีความจำเป็นต้องออกจากสมาธิในขณะที่ไออุ่นยังโคจรไม่ครบรอบใดรอบหนึ่ง ก็ค่อยๆ คลายออกสมาธิได้
    และเมื่อเสร็จธุระแล้ว ควรหาโอกาสฝึกต่ออีกในระยะเวลาที่ใกล้เคียงได้ยิ่งดีซึ่งก็เท่ากับเริ่มต้นใหม่ เพื่อเดินลมปราณให้คล่องสะดวก

    หน้า89
    ฝึกลมปราณที่ไหนก็ได้
    การฝึกลมปราณนี้ก็คล้ายกับการฝึกสมาธิ ซึ่งฝึกจนคล่องตังแล้ว ชำนาญในการเจริญก็สามารถฝึกได้ในทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะนั่งรถเดินทางหรือยามที่ว่าง
    ต่างกันเพียงแต่ฝึกสมาธิทั่วไป ไม่ได้เน้นหนักให้หายใจลึก
    แต่ฝึกลมปราณ เน้นหนักให้หายใจลึกๆ ด้วยใจที่เป็นสมาธิ
    พอมีจังหวะ 5-10 นาที เราก็สามารถเดินลมปราณ โดยไม่จำเป็นต้องหลับตาเพียงแต่ค่อยๆ ถอนหายใจให้ลึกตามแบบฝึกลมปราณด้วยสมาธิ อันจดจ่อกับลมหายใจเข้าออก
    เมื่อฝึกจนคล่องตัวแล้ว เวลาอากาศหนาวๆ เราก็เดินลมปราณสักครู่หนึ่ง ก็จะเพิ่มความอบอุ่นในร่างกายขึ้น ทำให้ร่างกายแข็งแรงไม่เป็นหวัดได้ง่ายด้วย
    การฝึกลมปราณอยู่เสมอ ยังเป็นการรักษาโรคปวดเมื่อยตามเอ็นตามข้อ

    หน้า90
    “ มีดดาบจะคมต้องหมั่นฝน
    คนจะฉลาดต้องหมั่นเรียน
    ฌานจะแก่กล้าต้องหมั่นฝึก
     
  12. cosmiccell

    cosmiccell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    184
    ค่าพลัง:
    +253
    ลองทำตามที่คุณ Jinha และคุณ Tapakorn แนะนำ รวมกับท่านอื่นๆ
    แล้วรู้สึกตามนี้ครับ

    เริ่มแรก ต้องฝึกลมหายใจเข้าออกให้ยาว ช้าๆ เนิบนาบ ใช้พื้นที่ของปอดให้เต็มที่
    เมื่อวอร์มเครื่องได้ที่แล้ว

    หายใจเข้า ช้าๆ พร้อมกับเกร็งหน้าท้อง กั้นหายใจ รวบรวมลมปราณที่จุดตันเถียน
    จะมีไออุ่นก่อตัวขึ้นที่จุดนี้

    เมื่อรู้สึกถึงไออุ่นภายในแล้ว เติมลมหายใจเพิ่มเข้าไปอีก กลุ่มลมปราณที่ท้องน้อย จะลงไปรวมที่ตำแหน่งฝีเย็บ
    ตอนนี้ยังกั้นลมหายใจอยู่นะครับ

    ระหว่างนี้ เส้นประสาทที่ฝีเย็บจะได้รับการกระตุ้น และอุ่นขึ้นเรื่อยๆ

    จากนั้นหายใจออก เคลื่อนกลุ่มลมปราณ เคลื่อนขึ้นไปด้านหน้า จากท้อง ขึ้นไปหน้าอก คอ หน้าผาก กลางกระหม่อม แล้วย้อนกลับมาที่ท้ายทอย กระดูกคอ ไล่ลงมาตามแนวกระดูกสันหลัง ลงมาที่ก้นกบ ฝีเย็บ และมาที่จุดตันเถียน

    เป็นการเคลื่อนที่ครบ 1 รอบ

    ทำไปเรื่อยๆ จนลมหายใจเริ่มละเอียดขึ้นๆ แล้วเราเป็นผู้เฝ้าดู การเคลื่อนที่ของกลุ่มลมปราณนี้ครับ

    จะย้อนวัยรึเปล่าไม่ทราบเหมือนกันนะครับ แต่ที่รับรู้ได้ก็คือ จะรู้สึกว่าเส้นประสาทภายในจะได้รับการกระตุ้น เหมือนไฟฟ้าช๊อต

    แลกเปลี่ยนกันครับ
     
  13. Plagruy

    Plagruy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    196
    ค่าพลัง:
    +130
    ไหนๆฝึกกั้นหายใจแล้วลองกั้นตอนท้องแฟบพองด้วย
    ตันเถียนเล่นง่ายๆคือยืดหดลูกบอลในท้องตอนหายใจ
    พองก็พองให้สุดๆ แฟบก็ให้ติดกระดูดสันหลังไปเลย
    พอหายใจได้ค่อยทำแบบท้องไม่ขยับ แต่ยืดหด
    ส่วนหายใจมีแบบธรรมชาติเข้าพอง กับฝืนธรรมชาติ

    ปล.ฝึกแล้วพุงป่อง แต่ป่องเป็นลูก
     
  14. anubist

    anubist Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2007
    โพสต์:
    89
    ค่าพลัง:
    +73
    พอจะได้คำตอบแล้วหล่ะว่าทำไมเราถึงฝึกไม่สำเร็จ
    เคล็ดลับจริงๆ คือสมาธิ กับการใช้ใจ(ไม่ใช่สมอง) อันหลังเนี่ยสำคัญและยากมากสำหรับผมเพราะเราเป็นคนใช้สมองมากเกินไป มีความลังเลสงสัยตลอดเวลา ไม่เชื่อไม่ศรัทธาอะไรทั้งนั้น มันเกิดมาเป็นอย่างนี้เอง ใครทำให้เราเปลี่ยนได้จะกราบงามๆเลย
     
  15. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    สาธุครับ ต้องสะสมน้ำอสุจิ ซึ่งเป็น(จิง)อย่างนึง เคล็ดคือสะสมจิง เป็นสร้างชี่ เปลี่ยนชี่ให้เป็นเสินหรือพลังของจิตวิญญาณ แต่สำหรับเพศฆราวาสไม่จำเป็นต้องงดการเสพกามก็ได้ แต่พยายามควบคุมไม่ให้หลั่ง โดยการกดจุดตรงฝีเย็บก่อนจะหลั่งครับ... หากสร้างปราณเองแล้วช้าไป ก็สามารถดูดซับได้ครับ แต่หาแหล่งดูดซับดีๆแล้วกัน หรืออาจจะดูดซับจากแสงจันทร์(ได้พลังเย็น และรู้สึกเย็นยะเยือก) หรือแสงอาทิตย์ก็ได้... แต่ถ้าดูดซับจากแหล่งที่ไม่ดี ก็สวัสดีครับ

    อีกอย่างลองหายใจแบบก่อนกำเนิดดูครับ คือเข้าท้องยุบ(แต่กระบังลมดันไปข้างหลังแล้วยกขึ้น) ออกท้องพอง(นิดเดียว)
    ฝึกปราณไม่จำเป็นต้องเชื่อหรืออะไรครับ ถ้าเดินปราณได้นิดหน่อยแล้วก็ลองฝึกดูดดู แล้วก็ดูดซับมาเยอะๆ แต่อย่าไปดูดของคนอื่นนะครับ ถ้าไปดูดคนที่ไม่ค่อยแข็งแรงแล้วเขาจะป่วยเลย แล้วถ้าเขาป่วยอยู่แล้ว ไปดูดมา ถ้าเราแปลงไม่ได้เราก็ป่วยตาม หรือจะขอให้คนที่เดินปราณได้ ถ่ายปราณให้ ถ้าสนิทกัน ก็ให้อัดปราณมากลางอกหรือกลางท้องเลยก็ได้ครับ พอเราได้มาเยอะๆแล้ว เราก็มั่นใจ เชื่อสนิทใจไปเอง

    แต่ถ้าอยากจะสร้างเองแล้วเห็นผลชัดๆ ก็หาโสมมาทาน หรือขิงก็ได้ครับ ออกกำลังกายด้วย ปราณที่สร้างเองมันจะเป็นปราณร้อน ถ้าอยากได้ปราณเย็นต้องดูดซับ หรือแปลงปราณเอา ตรงบริเวณจักระสวาธิษฐาน แต่ดูดมาจากหยก หรืออัญมณีที่มีคุณสมบัติเย็น สมุนไพรเย็น แสงจันทร์ จะดีกว่าครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤษภาคม 2011
  16. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    ส่วนที่กักเก็บปราณ ขอให้เก็บไว้ในไขกระดูกสันหลังนะครับ แต่ถ้าเป็นปราณเย็นอย่าเก็บในไขกระดูกนะครับ ไม่อย่างนั้นจะพบกับคำว่าหนาวเข้ากระดูก ให้เก็บไว้กลางอกแทนครับ ส่วนปราณที่ไม่ร้อนไม่เย็น มีความรู้สึกคล้ายๆประจุไฟฟ้าจะเก็บที่ไหนก็ได้ครับ หรือจะเอาไปผสมกับปราณคุณสมบัติอื่นก็ได้ครับ... ฝึกแล้วก็ได้สมาธิ ได้สุขภาพ ได้ด้านความงามครับ หรือช่วยในศิลปะการป้องกันตัว(ได้บ้าง) แต่จะเอาไปใช้เป็นพลังพิเศษ พลังเวทย์มนตร์ อันนี้ทำไม่ได้ครับ หรือไม่รู้ว่าจะทำยังไง ถ้าจะฝึกวิชาตัวเบาด้วยก็ต้องฝึกต้าโจวเทียน หรือวงจรมหาจักรวาล ก็ช่วยให้เคลื่อนที่คล่องแคล่วว่องไวขึ้นเยอะ แต่จะเหาะเหิน เหยียบน้ำ กระโดดลอยตัวสูงๆ อันนี้ก็ทำไม่ได้ หรือไม่รู้ว่าทำยังไงเช่นกัน

    สู้ๆครับเพื่อสุขภาพกายใจจิตวิญญาณ และการย้อนวัย ^^
     
  17. Plagruy

    Plagruy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    196
    ค่าพลัง:
    +130
    ขอบคุณมากเลยครับ นานๆทีจะมีคนอธิบายได้ตรงขนาดนี้
    อยากถามว่าการแปลงปราณตรงสวาธิษฐานคือจักระอยู่ด้านหน้าหรือด้านหลังหรือภายในตัวครับ
    เพราะความเชื่อแบบทิเบตน่าจะอยู่กึ่งกลางตัวเป็นจุดเดียวกับตันเถียนล่าง
     
  18. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    อยู่แกนกลางตัวครับ ส่วนตำแหน่งให้วัดจากหัวเข่าไปสุดหัว หรือจากฝีเย็บไปเหนือสะดือสองนิ้วมือ ตรงกลางนั้นพอดีอยู่ที่ท้องน้อยด้านล่าง (แนะนำให้คำนวณจากภาพวิทรูเวียนแมน ที่ดาวินชีเขียนไว้นะครับ) บ้างก็ว่าลงจากสะดือสามนิ้วมือ ก็ใช้ได้หมดครับ เพราะว่าอยู่ในบริเวณที่สัมพันธ์กับไตและต่อมเพศอยู่แล้ว ตรงนี้เขาถือว่าเป็นทะเลของชี่เลยครับ...
     
  19. anubist

    anubist Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2007
    โพสต์:
    89
    ค่าพลัง:
    +73
    มีใครเดินปราณ ถ่ายปราณให้ได้บ้างครับ
     
  20. 5314786

    5314786 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    737
    ค่าพลัง:
    +3,800
    ขอแนะนำหลวงปู่พุทธะอิสระ วัดอ้อน้อย นครปฐมครับ

    ท่านไม่ใช่แค่อาจารย์ แต่เป็น ปรมาจารย์ ทางด้านลมปราณทั้งหมดครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...