ใคร บ้าง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Picolo Fanta, 28 มิถุนายน 2020.

  1. กระร่อน

    กระร่อน จิตฺเตน นียติ โลโก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2020
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +994
     
  2. กระร่อน

    กระร่อน จิตฺเตน นียติ โลโก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2020
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +994
    เพลงมาทันที55
     
  3. maokvid-1800

    maokvid-1800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,923
    ค่าพลัง:
    +2,262
    การ้อง ไหน ลองบริกรรม จิ๊

    มโน ลวกพ่อง

    มโน ลวกพ่อง

    ฯลฯ

    บักขำแจสั้น คือ ปาย
    มโน ขำน้อยคือ มา
     
  4. maokvid-1800

    maokvid-1800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,923
    ค่าพลัง:
    +2,262
    ก็ รู้ไป ตรงๆ แบบนั้น ไม่ต้อง ดัดแปรง

    หาก เป็นกลางได้ แล้ว หยุด ( หลุดพ้น )

    เหมือน รถแบล๊กโฮตกหล่ม แล้ว แล่นออกได้ ฉะนั้น
     
  5. กระร่อน

    กระร่อน จิตฺเตน นียติ โลโก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2020
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +994
  6. ละอองไฟ

    ละอองไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2020
    โพสต์:
    2,469
    ค่าพลัง:
    +1,398
    ผมหมายถึง เคยได้ยินแต่นาม
    ก็ต้องตามหารูป เห็นแต่รูปก็ต้องหานาม
    ว่านามสมมุติว่าอะไร
    เหมือนตามหาคนหาย
    ไม่มีรูปไม่มีนามโอกาสหาเจอแทบไม่มี
    รู้จักรูปรู้จักนามจะหาง่ายกว่าคับ
    ไม่เกี่ยวอะไรกับไสยศาสตรคับ
     
  7. กระร่อน

    กระร่อน จิตฺเตน นียติ โลโก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2020
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +994
  8. maokvid-1800

    maokvid-1800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,923
    ค่าพลัง:
    +2,262
    แป่วว...

    ก็ขออำภัยฮับ ปม ได้ยินเรื่อง กินแบล๊ด(เรื่องiฤทธิ์)
    ก็จะเน้น ประเคน สันติ ติดข้างฝา สถาณเดียว(ทั้งนี้
    เพราะ มันแก้ยากสุด )

    กลับมาเรื่อง หา นาม หา รูป

    อะไรที่ ลวกเพ่ตรึก ตอนนี้ การไปเน้นหานาม
    เพื่อมาเรียกรูป อะไรแบบนี้เขาเรียกว่า กว้าน
    ฝืนใส่ตัว ( เติมเชื้อกรรม เติมเชื่ออวิชชา หรือ
    สร้าง กรรมใหม่ ที่ไม่เคยเกิด ให้เกิด )

    เขามีแต่ ภาวนาไม่สร้างกรรมใหม่ แล้วตาม
    เห็นให้ชัดๆว่า กรรมเก่าดับลง(เหมือน เทียน
    หมดเชื้อ) เพื่อที่จะ พยากรณ์การ สิ้นอาสวะ

    ลวกเพ่ ภาวนาเพื่อ หา อาสวะ มาเพิ่ม

    แน่ใจ หรอฮับว่า กำลัง ปรารภความเพียร
    ในการออกจาก สังสารวัฏ มันกลับตาลาปัด
    เกินกว่า จะเชื่อมขนมกินได้ว่า ปรารภเป็น
    " พุทธมามะกะ "
     
  9. Pngtree

    Pngtree เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2018
    โพสต์:
    1,612
    ค่าพลัง:
    +1,335
    แกนั่นแหล่ะเมา การรู้ตามอายตนะได้ เหตุมันมาจากไหน ก็เชื้อข้างในมันมี ก็คือเกิดจากจิตส่งออกไปตามรู ...แต่เขาให้รู้ตามอายตนะก่อนคือมันเป็นเบื้องต้นขั้นง่ายสุดๆ ในการเริ่มฝึก ....งงไรป่ะ ...
     
  10. ละอองไฟ

    ละอองไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2020
    โพสต์:
    2,469
    ค่าพลัง:
    +1,398
    ไม่เห็นรูปไม่เห็นนาม
    มันจะเห็นกรรมได้ยังไงคับ
    ไม่เห็นรูปไม่เห็นนามไม่เห็นกรรม
    มันจะออกจากรูปนามกรรมได้ยังไงคับ
    ไม่รู้จักอะไรเลย ออกแบบไม่รู้เรื่องอะไรเลย
    จะมาเรียนรู้ให้เหนื่อยทำไมคับ
     
  11. ชื่อใหม่นะ5

    ชื่อใหม่นะ5 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2020
    โพสต์:
    917
    ค่าพลัง:
    +346
    ร่อง อันนี้เคยเห็นยัง อกุศลมูล ๓
    อกุศลมูล ๓ (อกุศล=ความไม่ฉลาด, มูล=รากเหง้า)แปลตามตัวอักษรว่า รากเหง้าของความไม่ฉลาด หมายถึง รางเหง้าหรือต้นตอของความชั่วทั้ง
    ปวง เมื่อกำเริบจะแสดงออกมาเป็นทุจริตทางกาย วาจา ใจ รวมเป็นเหตุให้เกิดกิเลส มี ๓ ประการ คือ

    ๑. โลภะ ความอยากได้ โลภะ คือ ความอยากได้ของคนอื่นมาเป็นของตน อยากให้ตนมีเหมือนคนอื่น หรือมีมากกว่าผู้อื่น ความอยากมีหลายรูปแบบซึ่งจะก่อให้เกิดรากเหง้าของความชั่วทั้งปวง เช่น อิจฉา ความอยาก ปาปิจฉา ความอยากอย่างชั่วช้าลามก มหิจฉา ความอยากรุนแรง อภิชฌาวิสมโลภะ
    ความอยากได้ถึงขั้นเพ่งเล็ง ความอยากจะเกิดมากขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความชั่วในตัวเอง วิธีแก้ไขความอยากคือการใช้สติ ระลึกรู้ในตน

    ๒. โทสะ ความคิดประทุษร้าย โทสะ คือ ความคิดประทุษร้าย ได้แก่ การอยากฆ่า การอยากทำลายผู้อื่นๆ ความคิดประทุษร้ายเป็นรากเหง้าให้เกิดกิเลสได้หลายอย่าง เช่น ปฏิฆะ ความหงุดหงิด โกธะ ความโกรธ อุปนาหะ ความผูกโกรธ พยาบาท ความคิดปองร้าย ถ้าปล่อยให้มีโทสะมาก ผู้นั้นจะเป็นคนชั่ว คน
    พาล และเป็นภัยต่อสังคม วิธีแก้ไขโทสะ คือการใช้สติระงับตน และฝึกตนให้เป็นผู้มีอโทสะ

    ๓. โมหะ ความหลงไม่รู้จริง โมหะ คือ ความหลงไม่รู้จริง ได้แก่ ความไม่รู้ไม่เข้าใจ ความมัวเมา ความประมาท เป้นรากเหว้าให้เกิดกิเลสได้ต่างๆมากมาย เช่น มักขะ ลบหลู่คุณท่าน ปลาสะ ตีเสมอ มานะ ถือตัว มทะ มัวเมา ปมาทะ เลินเล่อ โมหะทำให้ขาดสติ ไม่รู้ผิดชอบร้ายแรงกว่าโลภะ และโทสะ รวมทั้งส่งเสริมให้โลภะและโทสะมีกำลังมากขึ้นยิ่งด้วย วิธีที่จะทำให้โมหะลดลงนั้นจะต้องปฏิบัติตนเป็นผู้ที่มี อโมหะ ความไม่หลงงมงาย

    อุปกิเลส ๑๖ ก็คือ กิเลส แต่เป็นการจำแนกแตกธรรมของกิเลส ไปในลักษณะอาการที่เกิดหรือแสดงออกมา อันท่านจำแนกแตกธรรมออกเป็น ๑๖ อาการ ดังนี้๑. อภิชฌมวิสมโลภะ คือความละโมภ อยากได้ อยากมี อยากเป็นอย่างไม่รู้จักพอ เห็นแก่ได้จนลืมตัว
    ๒. พยาบาทคือความคิดร้าย มุ่งจะทำร้ายเขา ใครพูดไม่ถูกใจก็คิดตำหนิเขา คิดจะทำร้ายฆ่าเขาก็มี บางครั้งทำร้ายผู้อื่นไม่ได้ ก็หันมาตำหนิตัวเอง ทำร้ายตัวเอง จนฆ่าตัวตายก็มีซึ่งเป็นเพราะอำนาจพยาบาท เป็นอาการอย่างหนึ่งของโทสะ
    ๓. โกธะคือความโกรธ มีอะไรมากระทบก็โกรธ เป็นลักษณะโกรธง่าย แต่เมื่อหายแล้วก็เหมือนกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น คือไม่ผูกใจเจ็บ ไม่พยาบาท เป็นอาการอย่างหนึ่งของโทสะ
    ๔. อุปนาหะ คือการผูกโกรธ ใครพูดอะไร ทำอะไรให้เกิดความโกรธแล้วจะผูกใจเจ็บ เก็บไว้ ไม่ปล่อย ไม่ลืม เป็นทุกข์อยู่อย่างนั้น กระทบอารมณ์เมื่อไร ก็เอาเรื่องเก่ามาคิดรวมกันคิดทวนเรื่องในอดีตว่าเขาเคยทำไม่ดีกับเราขนาดไหน เป็นอาการอย่างหนึ่งของโทสะ
    ๕. มักขะ คือการลบหลู่คุณท่าน ปิดบังความดีของผู้อื่น ลบหลู่ความดีของผู้อื่น เช่น เขาให้ของแก่เรา แทนที่จะขอบคุณกลับนึกตำหนิเขาว่า เอาของไม่ดีมาให้ หรือเมื่อมีใครพูดถึงความดีของเขา เราทนไม่ได้ เราไม่ชอบ จึงยกเรื่องที่ไม่ดีของเขามาพูด เพื่อปฏิเสธว่าเขาไม่ใช่คนดีถึงขนาดนั้น เป็นต้น
    ๖. ปลาสะ คือการตีเสมอ ยกตัวเทียมท่าน ไม่ยอมยกให้ใครดีกว่าตน แต่ชอบยกตัวเองดีกว่าเขา มักแสดงให้เขาเห็นว่าเราคิดเก่งกว่า รู้ดีกว่า ถ้าให้เราทำ เราจะทำให้ดีกว่าเขาได้
    ๗. อิสสาคือความริษยา เห็นเขาได้ดี ทนไม่ได้ เมื่อเห็นเขาได้ดีมากกว่าเรา เขาได้รับความรักความเอาใจใส่มากกว่าเรา เรารู้สึกน้อยใจ อยากจะได้เหมือนอย่างเขา ความจริงเราอาจจะมีมากกว่าเขาอยู่แล้ว หรือเรากับเขาต่างก็ได้รับเท่ากัน แต่เราก็ยังเกิดความรู้สึกน้อยใจ ทนไม่ได้ก็มี
    ๘. มัจฉริยะ คือความตระหนี่ ขี้เหนียว เสียดายของ ยึดในสิ่งของที่เราครอบครองอยู่อย่างเหนียวแน่น อยากแต่จะเก็บเอาไว้ ไม่อยากให้ใคร
    ๙. มายา คือเจ้าเล่ห์หลอกลวง ไม่จริงใจ พยายามแสดงบทบาทตัวเองเกินความจริง หรือจริงๆ แล้วเรามีน้อยแต่พยายามแสดงออกให้คนอื่นเข้าใจว่ามั่งมี เช่น ด้วยการแต่งตัว กินอยู่อย่างหรูหรา หรือบางกรณี ใจเราคิดตำหนิติเตียนเขา แต่กลับแสดงออกด้วยการพูดชื่นชมอย่างมาก หรือบางทีเราไม่ได้มีความรู้มาก แต่ของคุยแสดงว่ารู้มาก เป็นต้น
    ๑๐. สาเถยยะ คือการโอ้อวด หลอกลวงเขา ชอบอวดว่าดีกว่าเขา เก่งกว่าเขา พยายามแสดงให้เขาเห็น เพื่อให้เขาเกิดอิจฉาเรา เมื่อได้โอ้อวดแล้วมีความสุข
    ๑๑. ถัมภะคือความดื้อ ความกระด้าง ยึดมั่นถือมั่นในตัวเอง ใครแนะนำอะไรให้ก็ไม่ยอมรับฟัง
    ๑๒. สารัมภะคือการแข่งดี มุ่งแต่จะเอาชนะเขาอยู่ตลอด จะพูดจะทำอะไรต้องเหนือกว่าเขาตลอด เช่นเมื่อพูดเถียงกันก็อ้างเหตุผลต่าง ๆ นานา เพื่อเอาชนะให้ได้ ถึงแม้ความจริงแล้วตัวเองผิด ก็ไม่ยอมแพ้
    ๑๓. มานะคือความถือตัว ทะนงตน
    ๑๔. อติมานะ คือการดูหมิ่นท่าน ความถือตัวว่าเราดียิ่งกว่าเขา ทำให้ดูถูกดูหมิ่นคนอื่น
    ๑๕. มทะคือความัวเมา หลงว่ายังเป็นหนุ่มเป็นสาว ยังไม่แก่ ยังไม่ตาย หลงในอำนาจ หลงในตำแหน่ง คิดว่าเราจะเป็นอย่างนี้ตลอดไปแล้วทำอะไรเกินเหตุ
    ๑๖. ปมาทะ คือความประมาท เลินเล่อ ไม่คิดให้รอบคอบ อาการที่ขาดสติ ขาดปัญญา
     
  12. ชื่อใหม่นะ5

    ชื่อใหม่นะ5 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2020
    โพสต์:
    917
    ค่าพลัง:
    +346
    อันนี้ก็ยกให้ร่องมาอ่านเล่นเหมือนกัน เผื่อฟลุ๊ค
    ดูจิตจริงๆมันต้องเจอ ทั้งความสุขและความทุกข์ ที่เกิดจากตัณหาและวิภาวะตัณหา

    วันนี้เราถามเขาว่า สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา อันเดียวกับสุขวิปัสสโก ใช่ไหมครับ แล้วถามเขาต่อไปว่า แล้วรู้ไหมว่าท่านเหล่านั้นไม่ได้กำหนดตนว่าทำแบบนี้แล้วเป็น ท่านพิจารณาธรรมตามสมควรจนถึงที่สุด ไม่ใช่บอกว่า เอารู้กับเห็น เพราะรู้กับเห็นเหี้ยมันไม่ตาย ยังไม่อาจเข้าข่ายความหมายของสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญากับสุขวิปัสสโกได้ และแนวทางก็ไม่ใช่ เพราะไม่ว่าแต่เจโตวิมุติ ก็รู้เห็นเช่นเดียวกัน และการรู้กับเห็นมีได้ทุกแบบไม่ได้เลือกว่า แบบไหนต้องเป็นแบบนั้น มันเป็นเพียงจุดเริ่มต้น คนธรรมดาที่ฝึกมาใหม่หากพิจารณาดีๆยังรู้ได้เห็นได้เลยมันขึ้นอยู่กับสิ่งที่ฝังลึกอยู่ในจิตว่ามากหรือน้อย ถ้ามากก็ไม่อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาหรือสุขวิปัสสโก เพราะไม่ใช่ฐานะจะมีได้ นี่แหละที่ต้องพิจารณาว่า เหี้ย ที่มีในตนนั้นมันมีมากคำว่ามากคือกำลังมาก มันไม่เหนื่อยมันเทียวเข้าเทียวออกผลุบๆโผล่ๆ อย่างกับเด็กวัยรุ่นไหม แล้วต้องพิจารณาว่าทำไมแรงมันเยอะจัง เพราะแบบนี้รู้กับเห็นก็ยังไม่สามารถจับมันได้ จึงไม่น่าจะกล่าวได้ว่า เป็นแบบสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาหรือสุขวิปัสสโก เพราะเมื่อรู้ว่า กำลังของเหี้ยนั้นมีมาก ผู้มีปัญญาจะรู้แล้วว่าจะต้องลดทอนกำลังมันลง วิธีการลดทอนก็มีหลายวิธีคือ กดข่ม อุดรู แต่อุดหมดไม่ได้เพราะมันไม่เห็นเหี้ย และวิธีการกดข่มก็คือการตัดกำลังของมัน มันเหี้ยแบบไหนก็เอาธรรมที่ตรงกันข้ามมาประกบ ต้องขออภัยที่มีคำไม่ดีมากนะครับแต่ยังไงเสียผมก็หมายถึงเพียงเหล่ากิเลสทั้งหลาย หาได้อยากด่าหรือว่าใครครับ มาดูลักษณะของมันกันว่ามันมีอะไร เพราะแท้ที่จริงมันก็คือ อกุศลมูล ๓ ดีๆนั่นเอง และก็เป็นเหตุของ อุปกิเลส ๑๖ นั่นเอง จะทอนกำลังมันลงก็ต้องอย่าไปให้อาหารมันอย่าไปสงสารมัน มันชอบกินโทสะ ก็เอาเมตตาให้มันกิน มันชอบกินมานะก็เอาความนอบน้อมถ่อมตน(พรหมวิหารธรรม)ให้มันกิน สรุปคือมันชอบอะไรก็ไม่เอาไอ้นั่นให้มันกิน เท่านี้มันก็หมดกำลัง ที่กล่าวมานี้คือวิธีการหนึ่งในการทำจิตให้เป็นสมาธิเพื่อทอนกำลังมันลง จึงยังกล่าวไม่ได้ว่าเพียงรู้กับเห็นจะเป็นสิ่งใด ขอให้พิจารณาดีๆครับ ลองอ่านดูครับในลิ้งค์ว่ามันเป็นแบบไหนแล้วจะทำยังไง

    แล้วรู้ไหมว่า มันเป็นเรื่องของอุปมา หรือ อุบาย เท่านั้น แต่คนเรานั้นเวลาที่ไม่รู้ว่า อะไรสุขอะไรทุกข์ เพราะไม่รู้สาเหตุของมันก็จะไม่เข้าใจ ไปยึดไปถือเอามาเป็นอารมณ์ว่า เขาด่าเรา เราจึงต้องหาทางเอาคืน ทั้งๆที่ เหมือนจะรู้ว่าไม่ควรทำแบบนั้น แต่ก็ยังทำ จึงพอพิสูจน์ได้อย่างหนึ่ง คือ แม้การเห็นจิตก็ไม่ใช่ เพราะเมื่อใดก็ตามที่เห็นจิต ก็จะต้องเห็นกิเลสด้วย เพราะจิตและเจตสิกมันของคู่กัน ใครที่ชอบยกตำรามาอ้างว่ามี ๑๒๑ ดวง นั้น นั่นมันตำรา แต่ความจริงแล้ว มันดวงเดียวกันแต่ความปรุงแต่งไปของเจตสิกแต่ละชนิดที่แตกต่างกันจึงทำให้เห็นเป็นหลายดวง เหมือนกับ เหี้ย ตัวเดียวแต่เวลามันออกมาแต่ละครั้ง สีมันไม่เหมือนเดิม อาจเพราะเป็นเวลาหิวเวลาโกรธเวลาเกิดกำหนัด มันเลยมีสีไม่เหมือนกัน ท่วงท่าก้าวย่างเลยไม่เหมือนกัน เป็นไปตามปัจจัย เช่นเดียวกันกับ เจตสิก ที่ปรุงแต่งนั้นทำให้เหมือนมีหลายอัน หลายดวง ทั้งๆที่มันดวงเดียวกันแต่พอมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยมันจึงเป็นจิตสังขารมีเกิดดับ ถ้าจิตเพียวๆ หรือจิตบริสุทธิ์อย่างที่บางท่านเคยเห็นนั้น ที่ปราศจากกิเลสจรมาคือไม่มีเจตสิกอื่นปะปน มันจึงไม่ใช่จิตสังขาร แต่ที่เราพิจารณากันนั้นเราจะพิจารณาจิตสังขาร คือ จิตที่มีเจตสิกร่วมด้วยเสมอจึงจะเห็นความเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปได้ และเห็นเหตุต่างๆของมัน จึงจะใช้ปัญญาดับลงได้ แต่ปัญหาคือ เขาเห็นอะไรกัน ดูแล้วไม่เหมือนเห็น เหมือนกำลังโดนเห็นโดนสั่งการมากกว่า เพราะอะไรเพราะไม่ได้ขัดเกลาจิต ทอนกำลังกิเลสลงไง มันก็มีเท่านี้แหละ ชีวิตและวัฏสงสารของสัตว์ทั้งหลาย

    "กัมมุนา วัตตติ โลโก"
    สัตว์โลกทั้งหลายต้องเป็นไปตามกรรม
    อุทฺเทส กมฺมปจฺจโย เพราะมีเจตนาตั้งใจเป็นปัจจัย
    กัมมปัจจัย หมายถึงการกระทำของจิตใจที่เป็นเหตุให้เกิดผล หรือให้สำเร็จกิจในหน้าที่ของตนเรียกว่า "กรรม"
    ดังพุทธภาษิตกล่าวไว้ในอังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาตว่า...
    "เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ เจตยิตฺวา กมฺมํ กาเยน วาจาย มนสา"
    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า เจตนาคือตัวกรรม สัตว์ทั้งหลายที่ทำกรรม ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจก็ดี ย่อมมีการปรุงแต่ง คือคิดนึกก่อนแล้วจึงทำ
    ดังจะเห็นได้ว่าการกระทำด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ จะเป็นกุศล หรืออกุศลก็ตาม ต้องอาศัยเจตนาเป็นใหญ่ เป็นหัวหน้าในการกระทำนั้นๆ ฉะนั้น เจตนาจึงเป็นตัวกรรม หรือเป็นหัวหน้าของสังขารขันธ์ทั้งหลาย
    [FONT=courier new,courier,monospace]กัมมปัจจัยที่กล่าวว่า เป็นปัจจัยให้เกิดผล ก็เพราะทำหน้าที่เพาะพืชพันธุ์ให้เกิดผลในอนาคต เรียกว่า พีชนิธานกิจ คือ ทำกิจสั่งสมพืชเชื้อเพื่อให้งอกต่อไปในอนาคต เป็นนานักขณิกกัมมปัจจัย[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]พุทธศาสนา เป็นศาสนาที่ถือการกระทำเป็นใหญ่ เป็นกรรมนิยม ซึ่งผิดกับศาสนาอื่นที่ถือเทวนิยม เป็นต้น เพราะเข้าใจว่าทุกสิ่งเกิดขึ้นด้วยการบันดาลของเทพเจ้า[/FONT]
    แต่ส่วนของพระพุทธศาสนาถือว่า สัตว์ทั้งหลายจะดีหรือชั่วย่อมขึ้นอยู่กับการกระทำของตนเอง ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับผู้อื่น หรือขึ้นอยู่กับวงศ์ตระกูล เพราะการทำดีทำชั่วต้องทำด้วยตนเอง ไม่ใช่มีผู้อื่นมาทำให้ได้ เหตุนี้สัตว์ทั้งหลายจึงมีกรรมเป็นของตน เรียกว่า...
    กมฺมสฺสโกมฺหิ เมื่อทำกรรมไว้อย่างไร ก็ต้องรับผลของกรรมนั้นตามที่ทำไว้
    กมฺมทายาโท คือเป็นทายาทของกรรมที่ทำแล้ว จึงจำแนกสัตว์ให้ไปเกิดในที่ต่างๆกัน
    กมฺมโยนิ คือมีกรรมเป็นกำเนิด และกรรมที่ทำแล้วยังจะติดตามไปทุกหนทุกแห่ง จะไม่สูญหายไปใหน
    กมฺมพนฺธู คือมีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ แม้พ่อ-แม่ญาติพี่น้อง ก็ไม่ชื่อว่าเป็นเผ่าพันธุ์วงศ์ญาติที่แท้จริง คือชาตินี้เป็นญาติกัน แต่พอตายแล้วก็แยกย้ายกันไป แต่ส่วนกรรมที่ทำแล้วย่อมจะติดตามตนไปทุกภพทุกชาติ จนกว่าจะเข้าสู่พระนิพพาน.
    ถ้าทำกรรมดีก็เหมือนมีวงศ์ญาติที่ดี ญาติดีก็จะอุปถัมภ์ค้ำชูให้มีความสุข ความเจริญ แต่ถ้าทำกรรมชั่ว ก็เหมือนมีวงศ์ญาติที่ชั่ว ญาติชั่วก็จะติดตามล้างผลาญให้เป็นทุกข์เดือดร้อนเรื่อยไป กรรมจึงเป็นที่พึ่งอาศัยของสัตว์โลก
    กมฺมปฏิสรโณ เพราะเมื่อกรรมชั่วให้ผลอยู่ แม้ญาติพ่อ-แม่พี่น้องตลอดจนผู้มีอำนาจราชศักดิ์ ก็ไม่อาจช่วยให้พ้นจากทุกข์ได้ แต่ถ้ากรรมดีให้ผลอยู่ แม้ใครจะคิดร้ายทำลาย ชีวิตก็ไม่อาจถูกทำลายได้เลย.
    อีกนัยหนึ่ง ท่านเปรียบกรรมคือการทำกุศล อกุศล ส่วนผลคือวิบาก เปรียบเหมือนเงา เมื่อมีคนที่ใหนก็ต้องมีเงาที่นั่น คือมีกรรมก็ต้องมีวิบากรับผล.
     
  13. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,301
    ค่าพลัง:
    +12,628
    ก็พูดให้ละเอียดไม่ได้เหมือนกัน
    เพราะธรรมะที่ทรงตรัสรู้นั้น
    ทุกคำมีความละเอียดจนจดจำ
    ได้ไม่หมด
    แต่ย่อๆพอได้ว่า รูปนามขันธ์5ของ
    แต่คนมันดำเนินไปตามเหตุปัจจัย
    (ที่เรียกว่าวิบาก)แต่ตนเองเข้าใจ
    ว่ากูคิด กูทำ
    กูคือผู้จัดการตัวเอง
    แต่พระพุทธเจ้าตรัสว่าไม่มีตัวใคร
    เป็นผู้จัดการตัวใคร
    ทุกความความคิด และทุกการ
    เคลื่อนไหว ล้วนเป็นสภาพธรรมะ
    ที่เกิดขึ้น
    และดับไปตามเหตุปัจจัย
    อย่างต่อเนื่องไม่มีเวลาหยุดนิ่ง
    เพราะไม่มีผู้บังคับบัญชาสภาพ
    ธรรมะเหล่านั้น
    ได้
    คับ
    เช่นเราจะสงสัย หรือจะหายสงสัย
    ตอนไหนเมื่อรัญ ต่อเมื่อถึงเวลา
    มันจะเกิดสงสัยเอง
    และมันก็จะหายสงสัยเอง
    ( คำตอบ... ไม่ใช่ ก็เพราะกูสงสัยเอง
    และเพราะกูหายสงสัยเอง)
     
  14. กระร่อน

    กระร่อน จิตฺเตน นียติ โลโก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2020
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +994
    พระบอกมาห้ามประมาท
    แต่ไม่เคยทำได้เลย55
     
  15. กระร่อน

    กระร่อน จิตฺเตน นียติ โลโก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2020
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +994
    ปรกติไม่ค่อยสอนผมหลอกนั่งยิ้มเฉยๆ
    ผมไม่ค่อยถามคิดว่าทำไปเดียวกะรู้เอง
     
  16. แค่พลัง

    แค่พลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    2,792
    ค่าพลัง:
    +1,565
    เขาปล่อยวาง..เพราะไม่รู้จะเติมยังไง ดี
     
  17. กระร่อน

    กระร่อน จิตฺเตน นียติ โลโก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2020
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +994
    กะนั้นดิแค่ถือศีลได้นี้ยังพออีกเหรอผมงงตรงนี้ละ
     
  18. ชื่อใหม่นะ5

    ชื่อใหม่นะ5 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2020
    โพสต์:
    917
    ค่าพลัง:
    +346
    คนที่ปิดมรรคผล นิพพานของตนเองส่วนใหญ่เขามักจะดำเนินไปตามธรรมแบบนี้แหละ มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ที่เรียกว่า ปิดมรรค ปิดผล ก็เพราะเขาทำตัวเขาเองนั่นแหละ ไม่มีใครทำให้เขาได้
     
  19. กระร่อน

    กระร่อน จิตฺเตน นียติ โลโก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2020
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +994
    มีแต่คนเรียกร้องต้องแบบนั้นแบบนี้
    ผมเป็นหนี้เค้าเท่ารัยถึงมาเรียกร้องผมอยากรู้
     
  20. แค่พลัง

    แค่พลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    2,792
    ค่าพลัง:
    +1,565
    เข้าใจเรื่องศีลเมื่อไร แล้วค่อยคุยเนอะ โอเครเนอะ หรือไม่คุยก็ได้เนอะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...