ใช้ประคำสวดมนต์สำหรับผู้เริ่มต้น ทุกท่านนับประคำยังไงเหรอครับ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ในนภา, 2 พฤศจิกายน 2011.

  1. ในนภา

    ในนภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    709
    ค่าพลัง:
    +1,689
    ใช้ประคำสวดมนต์สำหรับผู้เริ่มต้น ทุกท่านนับประคำยังไงเหรอครับ
    อยากให้ร่วมแสดงความเห็นเป็นวิทยาทานด้วยครับ
     
  2. ในนภา

    ในนภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    709
    ค่าพลัง:
    +1,689
    การใช้ประคำ

    การภาวนานั้น มีกุศโลบายต่างๆ มากมายในการที่จะทำให้การภาวนาสัมฤทธิผลมากที่สุด
    การนับลูกประคำก็เป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้การทำภาวนามีผลดี

    โดยส่วนตัวจะภาวนาคาถาเงินล้านเป็นปกติ โดยการว่าคาถา ๑ คำต่อ ๑ เม็ด(ลูกประคำ)
    เพราะถ้าเป็น ๑ จบคาถา ต่อ ๑ เม็ด(ลูกประคำ) รู้สึกจะนานไป อันนี้สุดแท้แต่ความชอบความถนัด ของแต่ละคน


    ความจริงแล้วจะใช้คาถาอะไรก็ได้ทั้งนั้นไม่ได้บังคับ แล้วแต่ความสบายใจของแต่ละบุคคล
    เคยถามพระอาจารย์ว่า ท่านมีวิธีการในการนับประคำอย่างไร
    ท่านบอกว่า ผมทำอะไรไม่ค่อยเหมือนชาวบ้าน แต่ก็ถูกและได้ผลทุกที
    ท่านแนะนำว่า เวลาที่ท่านสอยลูกประคำท่านจะนึกว่าลูกประคำ ๑ เม็ด คือพระ ๑ องค์
    พร้อมกับนึกถึงภาพองค์พระแต่ละองค์เลื่อนไปตามเข็มนาฬิกา ตามจังหวะของการสอยลูกประคำ

    ทำไปพร้อมๆ กัน ถ้าทำได้จิตจะเพลิดเพลินและเป็นสุขอย่างบอกไม่ถูก
    จะว่าคาถาอะไรก็สัมฤทธิผลใหญ่ ถ้าทำกันจริงๆจังๆถือว่าเป็นของไม่ยาก
    ไอ้ที่ว่ายาก คือยากที่จะทำมากกว่า (ไม่ยอมทำ)

    ลองคิดดูว่า ถ้าต่างคนต่างสอยลูกประคำ หรือภาวนาตลอดด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง
    มันจะมีเวลาที่จะไปเกกะ หาเรื่อง ชาวบ้านได้ตอนไหน
    เพียงแค่เริ่มจากกลุ่มนักปฏิบัติ กลุ่มเล็กๆ นี้ไปก่อน
    ความสงบสุขก็จะค่อยๆบังเกิดขึ้นเอง

    จาก หลวงพี่เมตตา

    อันนี้ไปเจอมา ผมกำลังจะลองทำตามดู อยากนำมาแชร์เผื่อจะมีเพื่อนมาลองทำไปด้วยกันครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 เมษายน 2013
  3. ในนภา

    ในนภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    709
    ค่าพลัง:
    +1,689
    มีผู้ใช้เว็บลานธรรมบุ๊ดดิสซึ่ม นามว่า "อีกา" ได้กล่าวไว้ว่า

    เคยได้ยินท่านอาจารย์เมตตาสอนถึงการนับประคำโดยกำหนดภาพองค์พระไปพร้อมกันว่าเป็นการเสกประคำไปด้วย

    ครั้งบวชอยู่กับหลวงปู่ครูบาพรหมา วัดพระพุทธบาทตากผ้า
    หลวงปู่เคยเมตตาบอกเล่าให้ฟังถึงความศักดิ์สิทธิ์ของประคำที่เราใช้ภาวนา ประจำว่า แม้ผียังกลัว

    การภาวนาอย่างต่อเนื่องนี้ อีกาเคยไปกราบขออาศัยพักที่เกาะพระฤๅษี นานๆ ได้อยู่วัดจึงอยากทำอะไรหลายๆอย่างพร้อมกัน
    ทั้งความเคยชินกับการใช้ชีวิตทางโลก ทำให้ไม่ค่อยถนัดในการภาวนาอยู่กับที่
    จึงกวาดวัดไป ภาวนา อิติปิโส ห้องพระพุทธคุณไปเรื่อยๆ
    เกิดความชุ่มเย็นเพลินเพลิด

    กวาดวัดไม่หยุดซะหลายชั่วโมงจนมือพองก็ไม่ทุกข์อะไร เพลินกับการภาวนาและกวาดวัดอยู่อย่างนั้น
    ท่านอาจารย์ผ่านมา หัวเราะอย่างเมตตา บอกว่า นี่แหละคุณของสมาธิ นอนน้อย กินน้อย แต่ได้งานเยอะ

    อันนี้ไปเจอมาอีกอันครับ ต่อจากโพสต์ก่อนหน้านี้ โดยคุณ กากะปูด 30 พ.ย. 2549 เวลา 12:08
    ที่มา : http://www.larnbuddhism.com/webboard/showthread.php?t=592
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 เมษายน 2013
  4. ในนภา

    ในนภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    709
    ค่าพลัง:
    +1,689
    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    ประคำ
    หมายถึง ลูกกลมๆ ที่ร้อยเป็นพวงสำหรับเป็นเครื่องหมายการนับในเวลาบริกรรมภาวนา หรือสำหรับใช้เป็นเครื่องราง
    เรียกโดยทั่วไปว่า "ลูกประคำ"

    ประคำทำด้วยวัสดุต่างชนิด เช่น ไม้จันทน์ ไม้เนื้อแข็ง ผลไม้ตากแห้ง หินสี พลาสติก ตลอดถึงหยก
    โดยเจาะรูตรงกลาง ร้อยด้วยด้าย หรือเอ็น เป็นพวง
    พวงหนึ่งนิยมมีจำนวน 108 ลูก หรือน้อยกว่านั้นตามต้องการ
    ที่นิยม 108 เพราะถือคติตามบทบริกรรมภาวนาคือ อิติปิโส 108

    ประคำ นิยมพกติดตัวไปในที่ต่างๆ โดยถือไปบ้าง ห้อยคอไปบ้าง
    เพื่อสะดวกในการใช้ได้ทันทีเมื่อมีโอกาส เช่นขณะนั่งรถ นั่งรอเวลา หรือขณะอยู่คนเดียวเงียบๆ

    นอกจากที่มีใช้ในพุทธศาสนาแล้ว
    ยังมีการใช้ลูกประคำในการสวดภาวนาในศาสนาอื่นๆ เช่น คริสต์ (โรมันคาทอลิก)
    และ อิสลาม เป็นต้น

    อ้างอิง
    พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
    http://th.wikipedia.org/wiki/ประคำ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 เมษายน 2013
  5. ในนภา

    ในนภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    709
    ค่าพลัง:
    +1,689
    [​IMG]

    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="432"><tbody><tr align="LEFT" valign="TOP"><tr align="LEFT" valign="TOP"><td colspan="3" class="TextObject" width="407">“การ สวดสาย-ประคำเป็นรูปแบบหนึ่งของการอุทิศตนแด่พระนางมารีย์ที่เป็นที่นิยม อย่างมาก ซึ่งเด่นชัดที่สุดในช่วงปลายศตวรรษที่ 12 ฤาษีคณะซิส-เตอร์เซียนได้เริ่มในศตวรรษต่อมา และฤาษีคณะโดมินิกันซึ่งมีส่วนในการเผยแพร่อย่างมาก โดยมีความตั้งใจที่จะสู้กับคำสอนนอกรีต...

    เม็ด ของสายประคำใช้เหมือนกับการวอนขอเช่นกัน ซึ่งมีการปรับให้ง่ายขึ้น และสร้างความสนใจให้มากขึ้น หลังจากนั้นมีการเริ่มการสวดด้วยการกล่าวถึงพระธรรมล้ำลึกแห่งชีวิตของพระ เยซูเจ้าและพระนางมารีย์...

    นักบุญดอมินิกและบรรดานักพรตของท่าน ได้เทศน์สอนประชาชนในการแพร่ธรรมของท่านในเรื่องการสวดสายประคำเป็นอย่างมาก แต่ไม่ง่ายนักที่จะกำหนดรูปแบบที่แน่นอนในการปฏิบัติ และเผยแพร่รูปแบบหนึ่งที่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการจากสมเด็จพระสันตะปาปา ปีอุส ที่ 5 คือ กำหนดและให้มีรูปแบบเดียวกันในข้อความของบทวันทามารีอา”

    พระนางพรหมจารีย์ได้ปลุกเร้าให้ประชาชนสวดสายประคำ ทั้งจากการประจักษ์ที่เมืองลูร์ด และฟาติมา

    ใน ระหว่างสหัสวรรษที่ 2 สมเด็จพระสันตะปาปาได้สนับสนุนให้มีการวอนขอพระนางมารีย์ และตั้งแต่สมณสมัยของสมเด็จพระสันตะปาปาเลโอที่ 13 ซึ่งได้รับพระนามว่า “พระ-สันตะปาปาแห่งสายประคำ” ทรงแนะนำให้ทุกคนสวดสายประคำ และทรงเพิ่มความสำคัญด้วยการประทานพระคุณการุณย์ในการสวดสายประคำด้วย

    สมเด็จ พระ-สันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 ทรงอุทิศพระองค์เองเป็นพิเศษแด่พระชนนีของพระเจ้า ตราประจำพระองค์ก็มีอักษรตัวแรกของพระนาง (Totus tuus) เป็นการวิงวอนของพระนางพรหมจารีมารีย์ พระองค์ทรงมีสายประคำอยู่กับพระองค์เสมอ และสวดเป็นประจำ สมณสาสน์เรื่องการสวดสายประคำเป็นสิ่งที่ยืนยันอย่างมั่นคงถึงความนับถือของ พระองค์ต่อการสวดสายประคำ
    </td></tr></tr></tbody></table>​
     
  6. ในนภา

    ในนภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    709
    ค่าพลัง:
    +1,689
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="773"><tbody><tr align="LEFT" valign="TOP"><td><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="341"><tbody><tr align="LEFT" valign="TOP"><td colspan="3" class="TextObject" width="341">สายประคำ

    สาย ประคำ หรือ “มงกุฎดอกกุหลาบ” เป็นการสวดภาวนาแบบไตร่ตรองถึงชีวิตของพระเยซูเจ้า ซึ่งเกี่ยวพันกับการรำพึงไตร่ตรองเหตุการณ์ในพระวรสาร พระธรรมล้ำลึกที่เกี่ยวกับพระนางมารีย์ การสวดสายประคำมิใช่อะไรอื่นนอกจากการเพ่งพินิจดูพระพักตร์ของพระคริสตเจ้า พร้อมกับพระแม่มารีย์” (ข้อ 3)

    การสวดสายประคำมีมานานหลายศตวรรษ มีนักบุญจำนวนมากรักการภาวนาแบบนี้ พระศาสนจักรผู้มีอำนาจสอนก็ส่งเสริมเชิญชวนคริสตชนให้ภาวนาด้วย
    มี เหตุการณ์หลายอย่างที่เชื่อมโยงกับพระนางพรหมจารีย์มารีย์ซึ่งพระนางได้ส่ง เสริมให้สวดสายประคำ ทุกคนมีอิสระที่ได้รับประโยชน์จากสารของเหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้

    บทรำพึงในหนังสือ เล่มนี้อยู่บนพื้นฐานของพระคัมภีร์ คำสอนของพระศาสนจักรคาทอลิกและสมณสารเรื่องการสวด สายประคำ ของสมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2

    นี่เป็นวิธีการที่รับรองด้วยความซื่อสัตย์ที่วางไว้ในความเชื่อสมเด็จพระ สันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 ได้ทรงเพิ่มเติมมิติทางคริสตวิทยาของสายประคำ โดยเพิ่ม พระธรรมล้ำลึกแห่งความสว่าง ซึ่งเป็นเหตุการณ์เกี่ยวกับพระชนมชีพเปิดเผยของพระคริสตเจ้า ด้วยเหตุผลนี้จึงสามารถกล่าวได้อย่างแท้จริงว่า การสวดสายประคำเป็นการ “สรุปพระวรสาร”

    </td></tr></tbody></table></td><td><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="432"><tbody><tr align="LEFT" valign="TOP"><td height="24" width="25">[​IMG]</td><td width="103">[​IMG]</td><td>
    </td><td width="64">[​IMG]</td></tr><tr align="LEFT" valign="TOP"><td>
    </td><td colspan="3" class="TextObject" width="407">“การ สวดสาย-ประคำเป็นรูปแบบหนึ่งของการอุทิศตนแด่พระนางมารีย์ที่เป็นที่นิยม อย่างมาก ซึ่งเด่นชัดที่สุดในช่วงปลายศตวรรษที่ 12 ฤาษีคณะซิส-เตอร์เซียนได้เริ่มในศตวรรษต่อมา และฤาษีคณะโดมินิกันซึ่งมีส่วนในการเผยแพร่อย่างมาก โดยมีความตั้งใจที่จะสู้กับคำสอนนอกรีต...

    เม็ด ของสายประคำใช้เหมือนกับการวอนขอเช่นกัน ซึ่งมีการปรับให้ง่ายขึ้น และสร้างความสนใจให้มากขึ้น หลังจากนั้นมีการเริ่มการสวดด้วยการกล่าวถึงพระธรรมล้ำลึกแห่งชีวิตของพระ เยซูเจ้าและพระนางมารีย์...

    นักบุญดอมินิกและบรรดานักพรตของท่าน ได้เทศน์สอนประชาชนในการแพร่ธรรมของท่านในเรื่องการสวดสายประคำเป็นอย่างมาก แต่ไม่ง่ายนักที่จะกำหนดรูปแบบที่แน่นอนในการปฏิบัติ และเผยแพร่รูปแบบหนึ่งที่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการจากสมเด็จพระสันตะปาปา ปีอุส ที่ 5 คือ กำหนดและให้มีรูปแบบเดียวกันในข้อความของบทวันทามารีอา”

    พระนางพรหมจารีย์ได้ปลุกเร้าให้ประชาชนสวดสายประคำ ทั้งจากการประจักษ์ที่เมืองลูร์ด และฟาติมา

    ใน ระหว่างสหัสวรรษที่ 2 สมเด็จพระสันตะปาปาได้สนับสนุนให้มีการวอนขอพระนางมารีย์ และตั้งแต่สมณสมัยของสมเด็จพระสันตะปาปาเลโอที่ 13 ซึ่งได้รับพระนามว่า “พระ-สันตะปาปาแห่งสายประคำ” ทรงแนะนำให้ทุกคนสวดสายประคำ และทรงเพิ่มความสำคัญด้วยการประทานพระคุณการุณย์ในการสวดสายประคำด้วย

    สมเด็จ พระ-สันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 ทรงอุทิศพระองค์เองเป็นพิเศษแด่พระชนนีของพระเจ้า ตราประจำพระองค์ก็มีอักษรตัวแรกของพระนาง (Totus tuus) เป็นการวิงวอนของพระนางพรหมจารีมารีย์ พระองค์ทรงมีสายประคำอยู่กับพระองค์เสมอ และสวดเป็นประจำ สมณสาสน์เรื่องการสวดสายประคำเป็นสิ่งที่ยืนยันอย่างมั่นคงถึงความนับถือของ พระองค์ต่อการสวดสายประคำ
    </td></tr><tr align="LEFT" valign="TOP"><td colspan="4" height="6">
    </td></tr><tr align="LEFT" valign="TOP"><td colspan="2" height="321">
    </td><td align="CENTER" valign="MIDDLE" width="240">[​IMG]</td><td>
    </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="763"><tbody><tr align="LEFT" valign="TOP"><td height="6" width="763">[​IMG]</td></tr><tr align="LEFT" valign="TOP"><td class="TextObject" width="763">การสวดสายประคำ เป็นการภาวนาแบบใด

    ใน พระสมณสาสน์ เรื่องการสวดสายประคำ ของสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ทรงเขียนไว้ว่า “เนื่องจากการสวดสายประคำเริ่มต้นจากประสบการณ์ของแม่มารีย์ จึงเป็นการภาวนาแบบเพ่งพินิจที่วิเศษสุด ถ้าหากว่าการสวดสายประคำขาดมิติการเพ่งพินิจนี้แล้ว ก็จะไม่มีความหมายอะไร ดังที่สมเด็จพระสันตะปาปา เปาโล ที่ 6 ทรงเตือนไว้อย่างชัดเจนว่า “ถ้าการสวดสายประคำไม่มีการเพ่งพินิจ ก็เป็นเหมือนร่างกายไร้วิญญาณ และการสวดก็จะกลายเป็นการท่องสูตรอย่างเครื่องจักร”

    การ สวดสายประคำ ซึ่งเป็นการพูดซ้ำ การคาดคะเนล่วงหน้าถึงความเชื่อที่มีพลัง และความรักจริงใจต่อพระคริสตเจ้าพระผู้ไถ่กู้ และพระนางพรหมจารีมารีย์


    “การสวดสายประคำไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากวิธีการเพ่งพินิจแบบหนึ่ง ในฐานะที่เป็นวิธีการ จึงเป็นเพียงอุปกรณ์ที่นำไปสู่จุดหมาย และจะเป็นจุดหมายไปไม่ได้ ถึงกระนั้นในฐานะที่เป็นผลจากประสบการณ์นานหลายศตวรรษ วิธีการนี้จึงต้องไม่ถูกมองว่าไม่สำคัญ ประสบการณ์ของบรรดาผู้ศักดิ์สิทธิ์จำนวนมากเป็นพยานได้ในเรื่องนี้”

    เม็ดของสายประคำ

    “สายประคำนับเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เป็นธรรมเนียมตลอดมา สำหรับการสวดแบบนี้ ถ้าจะพิจารณาโดยผิวเผิน เม็ดของสายประคำเป็นเพียงหน่วยนับจำนวนบท “วันทามารีอา” ที่สวดต่อเนื่องกันเท่านั้น” (ข้อ 36)

    “การ สวดสายประคำเป็นการแสดงความรักอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยต่อผู้ที่เรารัก แม้จะใช้ถ้อยคำเดียวกัน แต่ความรู้สึกที่แสดงออกมานั้นใหม่สดอยู่เสมอ” (ข้อ 26)

    “สิ่งแรกที่น่าสังเกตคือ ไม้กางเขนที่เป็นจุดเริ่ม และจุดจบของการสวดสายประคำ ชีวิตและคำภาวนา ของผู้ที่มีความเชื่อจึงมารวมอยู่ที่พระคริสตเจ้า” (ข้อ 36)
    </td></tr></tbody></table>

    อันนี้ไปเจอมา
     
  7. ในนภา

    ในนภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    709
    ค่าพลัง:
    +1,689
    แล้วท่านทั้งหลายสวดกันยังไงเหรอครับ
     
  8. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    เราเองก็ไม่รู้ความหมายลูกประคำเหมือนกันนะ

    แต่ส่วนใหญ่ลูกประคำ 1 เส้น มักจะมี 108 เม็ด สำหรับเราใช้เป็นเครื่องมือในการนับเวลาสวดอิติปิโสฯ 108 จบ และสวดบทสรรเสริญเทวดาประจำตัว 108 จบบ้าง 972 จบบ้าง แล้วแต่สภาวะจิตตอนที่สวด แล้วก็หาซื้อจากร้านสังฆภัณฑ์ทั่วไป ไม่ได้ให้หาตามวัดที่เค้าปลุกเสกอะไรหรอกนะ เลือกที่ทำจากไม้ เม็ดไม่เล็กไม่ใหญ่ขนาดพอดี ตอนที่ใช้สวดมือขวาก็จะจับเม็ดเริ่มต้น มือซ้ายจับสายประคำไว้หลวม ตอนสวดมนต์ก็จะเพ่งมองที่องค์พระ จิตอยู่ที่คำสวด หูฟังเสียงสวด มือนับลูกประคำ อวัยวะทุกส่วนต่างทำหน้าที่ได้อย่างสอดคล้องกัน เกิดสมาธิดีมาก

    ถ้าใช้สวดทุกวัน มันจะชินและรู้สึกว่า 108 จบทำไมเร็วจัง สมาธิยังไม่เกิดเลย สวดจบแล้ว ทำให้ต้องเพิ่มจำนวนการสวด ถ้าสวดมากๆ สมาธิดีมากๆ ก็จะนิ่งไปถึงฌานเลย

    การนับลูกประคำเป็นกุศโลบาย สำหรับผู้ที่เกิดสมาธิยากจากการสวดมนต์ และเป็นการสร้างจังหวะให้กับบทสวด สามารถเร่งการสวดให้เร็วขึ้นหรือช้าลงได้ตามการนับลูกประคำ
     
  9. ttt2010

    ttt2010 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,754
    ค่าพลัง:
    +904
    ใช้ภาวนาทำสมาธิ

    คาถาหลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม จังหวัดกาญจนบุรี
    "นะโมพุทธายะ ยะธาพุทโมนะ มะอะอุ อุอะมะ" 1 จบ 1 เม็ด

    อนุโมทนาสาธุ กับความรู้จากหลายหลายแห่งเพื่อเป็นการประดับปัญญาครับ
     
  10. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,275
    ค่าพลัง:
    +82,733
    พี่ใช้แบบนี้ค่ะ
    เช่นจะสวดพระคาถาใดสัก ๑๐๘ จบ(สมมุติ)
    สวด ๑ จบ ก็เลื่อนประคำ ๑ เม็ด

    แต่บางทีพี่ก็นับนิ้วแทนค่ะ
    บางทีก็นับข้อของนิ้ว (และก็มีการทดเหมือนทดเลข)
    บางทีก็ใช้การนับไปเลย...
     
  11. EUROPE

    EUROPE Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    69
    ค่าพลัง:
    +93
    ผมสมาธิไม่ค่อยจะยาว เลยแบ่งสวดคาถาเงินล้าน เป็นตอนๆ ครับ
    1.สัมปะจิตฉามิ 2.นาสังสิโม 3.พรหมา จะ มหาเทวา 4. สัพเพ ยักขา 5.ปะรายันติ
    6.พรหมา จะ มหาเทวา 7.อภิลาภา 8.ภะวันตุ เม 9.มหาปุญโญ 10.มหาลาโภ 11.ภะวันตุ เม 12.มิเตพาหุหะติ 13.พุทธะมะอะอุ 14.นะโม พุทธายะ 15.วิระทะโย 16.วิระโคนายัง 17.วิระหิงสา 18.วิระทาสี 19.วิระทาสา 20.วิระอิตถิโย 21.พุทธัสสะ 22.มานีมามะ 23.พุทธัสสะ 24.สวาโหม 25.สัมปะฏิจฉามิ 26.เพ็งๆ พาๆ 27.หาๆ ฤาๆ

    1 คาถาเท่ากับ 27 เม็ด *4 = 108 เม็ด เท่ากับประคำ 1 พวง ท่องได้ 4 จบพอดี
    ประคำมือของผมก็มี 27 เม็ดพอดี
    ถ้าอยู่ที่บ้าน ก็ใช้ประคำ 108 เม็ดภาวนา
    แต่ถ้าอยู่ที่ทำงาน หรือนั่งรถ ก็ ใช้ประคำมือภาวนาครับ
     
  12. ในนภา

    ในนภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    709
    ค่าพลัง:
    +1,689
    ขอบคุณมากนะครับที่มาร่วมแบ่งปันความรู้ เรื่องการสวดมนต์ โดยใช้ประคำเป็นเครื่องประกอบ
    อนุโมทนาด้วยครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...