ใต้ร่ม ... พระบารมี

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย rungdao, 19 ธันวาคม 2013.

  1. rungdao

    rungdao เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    2,019
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +10,731
    [​IMG] [​IMG][​IMG]

    [​IMG]

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

    .......................................................................

    ข้าพเจ้า ขอตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาด้วยความนอบน้อมในมหากรุณาธิคุณ ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมคำสั่งสอน พระอริยสาวก และ พ่อแม่ครูบาอาจารย์ ไว้เป็นขวัญกำลังใจของข้าพเจ้าในการสืบทอดและบำรุงพระพุทธศาสนาสืบต่อไป
     
  2. rungdao

    rungdao เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    2,019
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +10,731
    [​IMG][​IMG]


    วันที่ ๑
    -วัดชัยมงคล จ. เชียงใหม่
    -วัดเชียงยืน
    -วัดเชียงมั่น
    [​IMG]

    “วัดเชียงยืน” หรือในเอกสารโบราณเช่นพงศาวดารโยนกอาจเรียกว่า “วัดฑีฆชีวะวัสสาราม” หรือในตำนานชินกาลมาลีปกรณ์เรียกว่า “วัดฑีฆายวิสาราม” หรือ “ฑีฆาชีวิตสาราม” ซึ่งล้วนแล้วแต่หมายถึงชีวิตที่ยืนยาวทั้งสิ้น เฉกเช่นชื่อวัดที่เรียกกันโดยทั่วไปนั่นเอง ทำให้หลาย ๆ คนต่างมุ่งที่จะได้ไปไหว้ไปสาที่วัดแห่งนี้ในวันสำคัญ ๆ ไม่ว่าจะเป็นวันปีใหม่สากล วันปีใหม่ไทย เป็นต้น
    ความเป็นมาของวัด ยังไม่แน่ชัด แต่ก็มีข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับที่มาเอาไว้ตามเอกสารของทางวัดว่าไว้ว่า น่าจะสร้างในสมัยพระญามังราย ด้วยสร้างไว้ให้เป็นคู่กันกับวัดเชียงหมั้น(เชียงมั่น) ที่เป็นวัดแรกในเวียงเชียงใหม่ ส่วนวัดเชียงยืนเป็นวัดที่สอง สร้างไว้นอกเวียงทางด้านหัวเวียง เพื่อให้มีความหมายว่า “มั่นคง” และ “ยั่งยืน” นอกจากนี้ ยังสร้างไว้ให้เป็นที่สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา สำหรับศรัทธาข้าเมืองทั้งหลายที่อยู่รอบนอกกำแพงเมือง ยามเมื่อประตูเมืองปิดลง
    การกล่าวถึงวัดเชียงยืนครั้งแรกนั้น ได้ปรากฏอยู่ในเอกสารที่ชื่อว่า ชินกาลมาลีปกรณ์ ที่รจนาโดยพระรัตนปัญญาเถระ ผู้เป็นปราชญ์แห่งล้านนาท่านหนึ่ง ซึ่งกล่าวไว้ว่า
    เมื่อปีเถาะ จุลศักราช ๘๘๑ (พ.ศ. ๒๐๖๒) พระเมืองแก้วและมหาเทวีพระมารดา “ได้ กระทำการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในพระสถูปใหญ่ที่วัดทีฆาชีวิตสาราม เมื่อวันพุธ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๓” ส่วนในปีถัดมา “ปีมะโรง จุลศักราช ๘๘๒ (พ.ศ. ๒๐๖๓) ฝ่ายพระราชากับพระราชมารดาได้โปรดให้จัดงานยกฉัตรมหาเจดีย์วัดทีฆาชีวิตสา ราม เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๘ ยามเที่ยง” ทำให้เชื่อกันว่า เจดีย์วัดเชียงยืนแห่งนี้สร้างในสมัยพระเมืองแก้ว และได้มีการบูรณะกันเรื่อยมา จนถึงปัจจุบัน องค์เจดีย์เป็นเจดีย์ทรงกลม ฐานเหลี่ยมสูง ย่อเก็จ มีรูปปั้นสิงห์ตัวใหญ่ ๑ ตัว เล็ก ๒ ตัวประดับมุมฐานเจดีย์ทั้ง ๔ ทิศ กอปรกับตัวองค์เจดีย์นั้นได้มีการประดับด้วยดอกไม้สีทองอยู่ทั่วไปอีกด้วย
    จน เมื่อวันจันทร์ ที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้มีการบวงสรวงอัญเชิญยอดฉัตรเจดีย์ลงเพื่อทำการบูรณะใหม่ ปรากฏว่ามีการพบองค์พระธาตุซึ่งประดิษฐานอยู่บริเวณข้างในดอกบัวตูมยอดฉัตร จำนวน ๗ องค์ และได้อัญเชิญนำไปประดิษฐานไว้ในวิหารพระสัพพัญญูเจ้า เพื่อรอการอัญเชิญนำขึ้นประดิษฐานที่เดิม ยามที่ทำการบูรณะเสร็จสิ้นแล้ว
    ส่วน จุดที่ทำให้วัดเชียงยืนกลายเป็นหนึ่งในสถานที่ ที่ผู้จักครองเมืองเชียงใหม่จะต้องมาทำการสักการะพระสัพพัญญู พระประธานในวิหารวัดเชียงยืนเสียก่อนทุกคราไปนั้น มาจากสมัยของพระไชยเชษฐาธิราช หรือในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่เรียกว่า พระญาอุปปโย ในคราวที่มาครองเมืองเชียงใหม่ต่อจากมหาเทวีจิรประภาผู้เป็นยาย
    หลัง จากที่พระญาอุปปโยเดินทางจากล้านช้าง มาพักอยู่ที่เชียงแสน เชียงรายตามลำดับ จนมาถึงเหมืองแก้ว ที่นั้นเหล่าบรรดาเสนาอามาตย์ได้นำเครื่องเทียมยศมาแห่ต้อนรับเอาพระญาอุป ปโยเข้าไปยังเวียงเชียงใหม่ เดินทางมาจนถึงวัดเชียงยืน ซึ่งในตำนานกล่าวไว้ว่า “อังคาสราธนาเข้ามาเถิงปะตูโขงวัดเชียงยืน พระเปนเจ้าถอดเครื่องประดับไว้ ทรงผ้าเสื้อขาว ทือขันเข้าตอกดอกไม้เทียนเงินเทียนคำ เข้าไพปูชาไหว้นบพระสัพพัญญูเจ้าวัดเชียงยืน” จากนั้นจึงทำการเข้าสู่เวียงทางประตูช้างเผือก อันถือเป็นด้านหัวเวียง ไปสู่ราชมณเฑียรหอคำแท่นแก้ว
    จารีต นี้ได้สืบทอดต่อกันมา แม้นว่าช่วงหนึ่งที่ล้านนาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่านานถึงสองร้อยกว่าปี ตราบจนฟื้นม่านสำเร็จ เจ้ากาวิละแห่งตระกูลเจ้าเจ็ดตน เมื่อจักครองเมืองเชียงใหม่ ก็ยังคงได้กระทำดังเช่นบูรพกษัตราธิราชได้กระทำมาแต่ก่อนนั้น ดังนี้
    “ดือ น ๖ ออก ๑๒ ฅ่ำ วัน ๕ ยามตูดเช้า ท้าวค็เสด็จเข้ายั้งอยู่วัดปุพพาราม ตามปุพพะทำนองโปราณะแห่งท้าวพระญาทังหลายฝูงอันเปนแล้วมาแต่ก่อน บ่ห่อนละเสียยังปเวณี ค็ปทักขิณวัฏฏ์กระหวัดไพทิสสะหนใต้ ลำดับไพด้วยด้านวันตกไพเถิงวัดเชียงยืนด้านเหนือ พระเปนเจ้าเข้าไพสักการบูชาไหว้พระเจ้าวัดเชียงยืนแล้ว เถิงเพลายามแตรจักใกล้เที่ยง ท้าวค็ยกเอาหมู่ยัสสปริวารเข้าเวียงหลวง ด้วยปะตูช้างเผือกทิสสะหนเหนือ หื้อลวะจูงหมา พาแชกนำเข้าก่อน”
    เหล่า นี้เป็นธรรมเนียมเกี่ยวกับกษัตริย์ผู้ครองล้านนาเชียงใหม่ ตกทอดสืบถึงรุ่นหลัง แต่ชาวบ้านทั่วไปก็เคารพนับถือพระสัพพัญญูเจ้าวัดเชียงยืนเป็นอย่างยิ่ง กอปรกับชื่อวัดอันเป็นมงคลมักนิยมที่จะมาทำการสืบชะตาที่วัดเชียงยืนนี้ เพื่อหวังให้มีอายุที่ยืนยาว ดังจะเห็นเมื่อครั้งยามที่พระเจ้าอินทวิชชยานนท์ หลังจากที่กลับมาจากกรุงเทพฯ โดยขึ้นที่ท่าน้ำวัดไชยมงคล ก็จำไปทำการลอยเคราะห์ที่วัดลอยเคราะห์และดับภัย ที่วัดดับภัย แล้วจึงมาทำการ สืบชะตาที่วัดเชียงยืนแห่งนี้
    ศาสนาสถานอีกแห่ง หนึ่งของวัดนี้ ที่มีความงดงามโดดเด่นไม่แพ้พระธาตุเจดีย์ หรือตัววิหารอันเก่าแก่แล้ว ยังมีอุโบสถทรง ๘ เหลี่ยม แตกแต่งตามสถาปัตยกรรมแบบพม่า ที่งดงามและสมควรที่จะอนุรํกษ์ไว้เป็นอย่างยิ่ง
    นับเป็นอาราม ที่อยู่คู่เมืองเชียงใหม่มายาวนาน และฝังรากลึกถึงความเคารพและศรัทธาของสาธุชนคนทั่วไปที่มีต่อวัดเชียงยืน และองค์พระสัพพัญญูเจ้าวัดเชียงยืน อย่างแน่นแฟ้น ดังจะเห็นว่าชุมชนที่เป็นศรัทธาวัดเชียงยืนมาจากหลายชุมชน ไม่ว่าจะเป็นชุมชนเชียงยืน ชุมชนอุ่นอารีย์ ชุมชนสามัคคีพัฒนา และชุมชนป่าเป้า จะร่วมมือกันดูแลอุปปัฏฐากวัดนี้ไม่เคยขาด โดยจะมีงานประจำปีคือประเพณีการสรงน้ำพระบรมธาตุวัดเชียงยืนในช่วงต้นเดือน เมษายน เป็นลำดับถัดจากวัดเชียงหมั้นเสมอ
    ฉะนั้นหากมา เชียงใหม่ ลองเข้าไปไหว้สาพระสัพพัญญูเจ้าที่วัดเชียงยืนสักครั้ง จะได้รู้ว่าเหตุใด วัดแห่งนี้จึงมีความสำคัญต่อเมืองเชียงใหม่ และชาวเชียงใหม่สืบจากอดีตถึงปัจจุบัน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • p 1 1536.jpg
      p 1 1536.jpg
      ขนาดไฟล์:
      2.4 MB
      เปิดดู:
      140
    • p 1 1535.jpg
      p 1 1535.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.7 MB
      เปิดดู:
      646
    • p 1 1529.jpg
      p 1 1529.jpg
      ขนาดไฟล์:
      2 MB
      เปิดดู:
      151
  3. rungdao

    rungdao เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    2,019
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +10,731
    [​IMG][​IMG][​IMG]วันแรก -ปล่อยปลาดุก ๑๐ กก. ที่วัดชัยมงคล
    -ทำสังฆทาน
    -ร่วมปล่อยโค-กระบือ
    -ร่วมถวายกระเบื้อง
    -สวดมนต์ถวาย
    -ชำระหนี้สงฆ์
    ที่วัดเชียงยืน
    -ทำสังฆทาน
    -ปฏิบัติบูชา (กระแสพลังงานดีมากๆ ตรงหน้าพระทันใจ)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • p 1 1542.jpg
      p 1 1542.jpg
      ขนาดไฟล์:
      2.9 MB
      เปิดดู:
      561
    • p 1 1543.jpg
      p 1 1543.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.6 MB
      เปิดดู:
      578
    • p 1 1546.jpg
      p 1 1546.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.6 MB
      เปิดดู:
      619
  4. rungdao

    rungdao เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    2,019
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +10,731
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG]

    วัดเชียงมั่น จ.เชียงใหม่

    วัดเชียงมั่น เป็นวัดแห่งแรกของเมืองเชียงใหม่ พญามังรายปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ล้านนา โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1839 ในบริเวณที่เรียกว่า เวียงเหล็ก ซึ่งเป็นบริเวณเดิมของพระราชวังของพระองค์ เมื่อครั้งสร้างเมืองเชียงใหม่ โดยมีพญางำเมือง พญาร่วง (พ่อขุนรามคำแหง) พระสหาย เสด็จมาร่วมดำเนินการสร้าง ครั้นสร้างเมืองเชียงใหม่เสร็จ พระองค์ได้พระราชทานเวียงเหล็กแห่งนี้เพื่อสร้างเป็นวัดเชียงมั่น โดยโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเจดีย์ช้างล้อม บริเวณพื้นที่หอประทับของพระองค์
    ?
    สิ่งสำคัญภายในวัด ประกอบด้วย
    พระวิหารใหญ่ เป็นพระวิหารทรงล้านนา สร้างขึ้นภายหลังให้ใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับพุทธศาสนิกชน และนักท่องเที่ยวที่มีมากขึ้นในยุคปัจจุบัน ภายในประดิษฐานพระประธาน
    พระวิหารเล็ก เป็นพระวิหารเดิมของวัด ภายในเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปสำคัญคือ พระเสตังคมณี หรือพระแก้วขาว และพระศิลาปางทรมานช้างนาฬาคีรี โดยพระแก้วขาวนั้น เป็นพระพุทธรูปประจำพระองค์ของพระนางจามเทวี แห่งแคว้นหริภุญชัย ครั้งพญามังรายตีเมืองหริภุญชัย ได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดเชียงมั่น เมื่อปี พ.ศ. 2022
    พระอุโบสถ ตั้งอยู่ด้านหลังพระวิหาร เป็นพระอุโบสถที่เป็นที่ตั้งของ ศิลาจารึกวัดเชียงมั่น ที่กล่าวถึงประวัติของวัดและการสร้างเมืองเชียงใหม่
    เจดีย์ช้างล้อม เป็นเจดีย์ประธาน ศิลปะล้านนา ตั้งอยู่บริเวณหอประทับของพญามังราย ด้านหลังพระวิหารใหญ่ ฐานเจดีย์ประดับด้วยช้างปูนปั้น จำนวน 16 เชือก ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย ด้านหน้ามีบันไดทางขึ้นสู่ซุ้มเรือนธาตุ ราวบันไดประดับด้วยปูนปั้นรูปนาค ส่วนยอดเป็นเจดีย์ทรงระฆัง
    หอไตรกลางน้ำ ตั้งอยู่ด้านหลังเจดีย์ช้างล้อม สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฎกและคัมภีร์ต่างๆ

    วัดเชียงมั่น ตั้งอยู่ที่ ถ.ราชภาคินัย ต.ศรีภูมิ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่


    ...........................................................................

    ที่นี่
    - ถวายสังฆทาน
    - ปล่อยนก ๑ กรง
    - ร่วมทำบุญ สมทบกองทุุนส่งเสริมการศึกษาภาษาบาลี คณะสงฆ์ภาค ๗ เชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน / ถวายทุนการศึกษา ภุตตาหาร น้ำปานะ และสนับสนุนการเรียนการสอนบาลี
    - ร่วมบริจาคสมทบทุน นิธิสงฆ์อาพาธ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • p 1 1595.jpg
      p 1 1595.jpg
      ขนาดไฟล์:
      2.2 MB
      เปิดดู:
      533
    • p 1 1597.jpg
      p 1 1597.jpg
      ขนาดไฟล์:
      2.5 MB
      เปิดดู:
      537
    • p 1 1600.jpg
      p 1 1600.jpg
      ขนาดไฟล์:
      2.3 MB
      เปิดดู:
      467
    • p 1 1611.jpg
      p 1 1611.jpg
      ขนาดไฟล์:
      2.5 MB
      เปิดดู:
      550
    • p 1 1614.jpg
      p 1 1614.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.9 MB
      เปิดดู:
      473
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ธันวาคม 2013
  5. rungdao

    rungdao เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    2,019
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +10,731
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]วันที่ ๒

    -ปล่อยปลาดุก ๑๖ กก. ปลานิล ๖ กก. สายห้วยแม่วะ ที่เขื่อนแม่งัด
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. rungdao

    rungdao เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    2,019
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +10,731
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]วัดป่าดาราภิรมย์

    [​IMG]

    ประวัติวัดป่าดาราภิรมย์

    วัดป่าดาราภิรมย์วัดป่าดาราภิรมย์ ตั้งอยู่ที่ตำบลริมใต้ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ด้านหน้าวัดมีคลองชลประทานแม่แตงไหลผ่าน ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่ริม และค่ายดารารัศมี ประมาณ ๑.๐๐ กิโลเมตร ตั้งอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ประมาณ ๑๐.๐๐ กิโลเมตร มีเนื้อที่อาณาเขตของวัด ๒๖ ไร่ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการตั้งเป็นวัด ลงวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๑ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๒ เนื้อที่กว้าง ๑๗.๐๐ เมตร ยาว ๓๐.๐๐ เมตร และได้ประกอบพิธีผูกพัทธสีมา เมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๓ ได้รับพระบรมราชานุญาต ให้ยกเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒ อันเป็นปีเฉลิมฉลองพระชนมายุครบ ๖ รอบ แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช

    ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๑ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาถระ พระกรรมฐานนักปฏิบัติธรรมผู้ยึดมั่นในการถือธุดงควัตร มักน้อย สันโดษ เจริญรอยตามปฏิปทาของพระมหากัสสปเถรเจ้า ผู้เอตทัตคะทางธุดงควัตร ได้รับอาราธนาจากพระเดชพระคุณพระอุบาลีคุณูปจาจารย์ ( จันทร์ สิริจันโท ) ให้มาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในจังหวัดเชียงใหม่ โดยเริ่มแรกที่วัดเจดีย์หลวง ซึ่งในขณะนั้นยังไม่พลุกพล่านด้วยผู้คน บรรยากาศภายในวัดเงียบสงบ พอออกพรรษาท่านก็ออกจาริกธุดงค์ ไปแสวงหาความสงบสงัด ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๓ ได้จาริกมาทางอำเภอแม่ริม ได้พักอยู่ที่ป่าช้าร้างบ้านต้นกอก ซึ่งในขณะนั้นเต็มไปด้วยป่าไม้สักและไม้เบญพรรณ อยู่ติดกับบริเวณสวนเจ้าสบาย ตำหนักดาราภิรมย์ ของพระราชายาเจ้าดารารัศมี ในรัชกาลที่ ๕ ที่ได้รับการก่อสร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔ ในขณะนั้นบริเวณวัดเป็นป่าไม้เบญพรรณ (ป่าแพะ ) อยู่เขตชายป่าเทือกเขาดอยสุเทพ และดอยม่อนคว่ำหล้อง (ในตำนานของขุนหลวงวิรังคะ) ยังไม่พลุกพล่านด้วยบ้านผู้คน เป็นสถานที่เงียบสงบสงัด วิเวก ร่ำลือกันว่าเป็นสถานที่ผีดุ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต อยู่พักชั่วระยะหนึ่ง แสวงจาริกไปที่พระธาตุจอมแตง เพื่อจำพรรษา ๑ พรรษา ไปห้วยน้ำริน ป่าช้าบ้านเด่น บ้านปง ( วัดอรัญญวิเวก ) เชียงดาว และพร้าว ต่อไป จากสถานที่ป่าช้าร้างที่พระอาจารย์มั่น ผู้บำเพ็ญเผาผลาญกิเลสจนบรรถุถึงอริยมรรคอริยผล ได้มาเจริญสมณธรรมอธิษฐานจิตภาวนา ทำให้สถานที่แห่งนี้ได้รับการก่อสร้างขึ้นเป็นเสนาสนะป่าขึ้น ด้วยกุฏิศาลา แบบชั่วคราว และมีพระธุดงค์กรรมฐานผู้เป็นศิษย์แห่งพระอาจารย์มั่นมาอยู่จาริกอาศัยบำเพ็ญสมณธรรมตามวิถีแห่งธุดงคกรรมฐาน เป็นการชั่วคาวบ้าง ถาวรบ้าง จึงกล่าวได้ว่าจุดเริ่มต้นของสถานที่แห่งนี้เกิดเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๗๓ โดยท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต หลังจากนั้นเป็นต้นมาก็มีพระธุดงคกรรมฐานมาอยู่ปฏิบัติที่ป่าช้าแห่งนี้เป็นครั้งคราว ในพุทธศักราช พ.ศ.๒๔๘๑ โดยคณะพุทธบริษัทกลุ่มหนึ่งมีความเลื่อมใสศรัทธาในปฏิปทาของพระธุดงค์กรรมฐานสายอาจารย์มั่น ภูริทตตมหาเถร ที่จาริกมาประพฤติปฏิบัติ จึงพร้อมใจกันสร้างเสนาสนะ มีกุฏิ และศาลา ถวายแก่พระกรรมฐานเหล่านั้น โดยได้ตั้งชื่อวัดว่า “วัดป่าวิเวกจิตตาราม” บางหมู่ก็เรียกว่า “วัดป่าเรไร” บางหมู่ก็เรียกว่า “วัดป่าแม่ริม” โดยมีพระอ่อนตา อคคธมโม เป็นประธานสงฆ์อยู่ โดยมีนายแก้ว รัตนนิคม, นายศรีนวล ปัณฑานนท์ เป็นหัวหน้า สถานที่ตั้งแห่งนี้เป็นป่าช้าติดกับตำหนักดาราภิรมย์ สวนเจ้าสบาย ของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี เมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๒

    ที่นี่

    -ถวายสังฆทาน
    -ร่วมบุญโรงทาน เจ้าฟ้าดารารัศมี
    -ชำระหนี้สงฆ์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • p 1 1698.jpg
      p 1 1698.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.3 MB
      เปิดดู:
      454
    • p 1 1666.jpg
      p 1 1666.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.4 MB
      เปิดดู:
      432
    • p 1 1665.jpg
      p 1 1665.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.7 MB
      เปิดดู:
      341
    • p 1 1640.jpg
      p 1 1640.jpg
      ขนาดไฟล์:
      2.4 MB
      เปิดดู:
      410
    • p 1 1683.jpg
      p 1 1683.jpg
      ขนาดไฟล์:
      2 MB
      เปิดดู:
      377
    • p 1 1674.jpg
      p 1 1674.jpg
      ขนาดไฟล์:
      2.4 MB
      เปิดดู:
      356
    • p 1 1676.jpg
      p 1 1676.jpg
      ขนาดไฟล์:
      2.5 MB
      เปิดดู:
      460
    • p 1 1677.jpg
      p 1 1677.jpg
      ขนาดไฟล์:
      2.9 MB
      เปิดดู:
      399
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ธันวาคม 2013
  7. rungdao

    rungdao เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    2,019
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +10,731
    " นิมิต" เห็นภาพหลวงปู่แหวนลอยเข้ามาในหัวอย่างชัดเจน ก่อนได้ไปกราบหลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป

    [​IMG]

    [​IMG]
    [​IMG] [​IMG]

    [​IMG]

    ประวัติย่อวัดอรัญญวิเวก
    วัดอรัญญวิเวกเดิมเป็นสำนักสงฆ์เก่าแก่มาแต่อดีตกาล ได้มีการจัดตั้งขึ้นจากบุคคลผู้ใฝ่ในทางพระพุทธศาสนาหลายตระกูลในหมู่บ้านปง ตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งล้วนแต่เป็นผู้ที่มีความเชื่อ ความเลื่อมใสในบวรพุทธศาสนา ได้ประชุมปรึกษาหารือกันว่าพวกเราควรที่จะหานิมนต์พระ ครูบาอาจารย์กัมมัฏฐานผู้มีคุณธรรม ให้มาอยู่ในที่ใดที่หนึ่งในหมู่บ้าน เพื่อฟังธรรมในคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อมาได้ยินข่าวคราวว่ามีพระกัมมัฏฐานมาพักอยู่ที่วัดเงี้ยว อ.แม่แตง จึงขออาราธนานิมนต์พระคุณท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ท่านหลวงปู่มั่นไม่ขัดข้องประการใด หลวงปู่มั่นก็ชวนคณะศรัทธาและศิษย์ของท่านเที่ยวหาสถานที่อื่นเพื่อพักเจริญภาวนา เที่ยวสำรวจอยู่ ๔ วัน ท่านหลวงปู่มั่นก็มาพบสถานที่แห่งนี้ ที่พวกคณะศรัทธาทุกคนอยู่เดี๋ยวนี้เอง เมื่อออกพรรษาแล้ว หลวงปู่มั่นจึงได้ชักชวนศิษยานุศิษย์ ปรารภจะออกจากที่นี่ไปเที่ยวธุดงค์ต่อไป จึงได้สั่งคณะศรัทธาบ้านปงที่มาอุปัฏฐากไว้ว่า สถานที่แห่งนี้ เราได้ตั้งชื่อว่า สำนักสงฆ์อรัญญวิเวก ณ สำนักสงฆ์แห่งนี้ก็ได้ชื่อว่า สำนักสงฆ์อรัญญวิเวก เป็นชื่อซึ่งหลวงปู่มั่นตั้งให้ ในสำนักนี้ได้มีพระอาจารย์กัมมัฏฐานหลายท่านหลายองค์มาจำพรรษา อาทิเช่น หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล อุดรธานี หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง หนองคาย หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ เลย หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ อุดรธานี หลวงปู่คำแสน เชียงใหม่ หลวงปู่โค่ง เชียงใหม่ หลวงปู่คำอ้าย เชียงใหม่
    ต่อมาประมาณปี ๒๔๙๕ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ได้กลับมาจำพรรษาอยู่ที่สำนักนี้อีก ๑๐ ปีติดๆ กัน ปีต่อมามีหลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม หลวงปู่สาม อกิญจโน หลวงปู่คำอ้าย ฐิตะธัมโม อยู่จำพรรษาด้วยกัน เป็นเวลา ๓ ปี เมื่อออกพรรษาแล้วต่างก็พากันเดินธุดงค์กันหมด ไม่มีพระเณรอยู่ที่สำนักสงฆ์ในหน้าแล้ง ต่อมาหาพระเณรมาอยู่ลำบาก เมื่อไม่มีพระเณรอยู่เช่นนี้ก็ว่างเปล่า มีเพียงวิหารหลังเก่าซึ่งชำรุดลงในภายหลังต่อมาหลวงพ่อเปลี่ยน ปัญญาปทีโป ท่านเป็นลูกศิษย์หลวงปู่พรหม หลวงปู่แหวน หลวงปู่ตื้อ ท่านได้ธุดงค์มาพักอยู่องค์เดียว ในปี พ.ศ. ๒๕๐๙ และจำพรรษาอยู่ในสำนักสงฆ์แห่งนี้จนถึงปัจจุบัน
     
  8. rungdao

    rungdao เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    2,019
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +10,731
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]ดิฉันจะกล่าวอย่างไรดี ตั้งแต่จำความได้ ก็ได้ยินแต่ชื่อ "หลวงปู่แหวนๆ" ลอยเข้ามาให้ได้ยิน จากพ่อแม่บ้าง คนในหมู่บ้านบ้าง รู้สึกจะเคยได้เหรียญของท่านมาแขวนคอด้วย(ได้มายังไงและไปยังไงนึกไม่ออกเลยค่ะ) ก็เคยเห็นภาพท่าน แต่ด้วยว่ายังเด็ก ตอนนั้นคงประมาณ ป.๑ หรือ ป.๒ คงด้วยในวัยนั้นทำให้ไม่รู้ประสีประสามากนัก เหรียญท่านก็หายไป พร้อมๆกับภาพของท่าน แต่รู้ว่าท่านคือหลวงปู่แหวน ถ้าได้เห็นภาพของท่านตามที่ต่างๆ คือ รู้จักท่าน(จากภาพ)นั่นเอง ...
    วันเวลาผ่านไปนานขนาดไหน ทำไมจู่ๆก็มีภาพท่านขึ้นมาได้ ...

    พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป
    ตอนที่นั่งรอท่านพร้อมๆกับญาติโยมคนอื่นๆที่มารอให้ท่านเมตตา ดิฉันก็นั่งดูภาพของท่านที่ติดข้างฝาผนัง และรู้สึกได้ถึงความ "มุ่งมั่น แน่วแน่" ซึ่งทำให้ดิฉันเกิดความเลื่อมใสในตัวท่านขึ้นมาตั้งแต่ตอนนั้นเลยทีเดียว
    พอตอนที่ท่านเดินออกมานั่งลง ท่านเทศน์ให้ธรรมมะ ตลอดช่วงระยะเวลานั้น ดิฉันยิ่งศรัทธาท่านมากกว่าเดิม ... ท่านเป็นพระผู้ที่มีความสง่างาม อ่อนน้อม ท่วงท่าที่ท่านเดินออกมาท่านดูสำรวมงดงาม เหมือนที่ข้าพเจ้าเห็นภาพยืนของหลวงปู่มั่นแบบนั้นเลย ซึ่งระหว่างนั้นดิฉันถึงกับยกให้ท่านเป็นพ่อแม่ครูบาอาจารย์ของดิฉันอีกท่านหนึ่งเลยทีเดียว ... แม้จะไม่มีเสียงออกมาจากปากดิฉันเลย แต่ดิฉันก็ทราบว่าเสียงของดิฉันคงดังอยู่อย่างนั้น ท่านทราบ

    ที่ดิฉันประหลาดใจคือ ท่านไม่เหมือนคนอายุ ๘๐ เลย ท่านดูผ่องใสมาก ฟันยังขาวเรียงอยู่ครบทุกซี่ แต่ก็ยังเห็นได้ถึงความไม่เที่ยงของสังขาร ที่บางครั้งเสียงท่านก็เหมือนขาดหายไปหรือพูดไม่ชัด ท่านได้แจกเหรียญและหนังสือของท่าน ซึ่งดิฉันได้ประวัติท่านมาอ่าน เลยเข้าใจว่าท่านเกี่ยวข้องกับหลวงปู่แหวนโดยที่ท่านเคยได้อยู่ดูแลรับใช้หลวงปู่แหวนนั่นเอง ซึ่งท่านเองก็มีครูอาจารย์หลายท่านเลยทีเดียว

    ที่นี่ได้
    -กวาดลานวัด (คุณพ่อของดิฉันได้ร่วมกวาดด้วย โดยดิฉันยื่นไม้กวาดให้ท่านเอง)
    -ถวายสังฆทาน
    -ถวายผ้าไตรจีวีร
    -ได้ฟังธรรม

    ถ้าได้กลับมาและขึ้นเหนือ ดิฉันคงไม่พลาดไปกราบท่านอีกแน่นอน ...

    [​IMG]พวกเรากราบลากลับโดยที่ไม่ต้องให้อุปฐากท่านเอ่ยเลย เพราะก็ได้รับความเมตตาจากท่านขนาดนี้แล้ว ก็เกิดความละอายและอยากให้ท่านได้ไปพักผ่อน ท่านพยักหน้ารับรู้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • p 1 1727.jpg
      p 1 1727.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.7 MB
      เปิดดู:
      360
    • p 1 1729.jpg
      p 1 1729.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.4 MB
      เปิดดู:
      389
    • p 1 1730.jpg
      p 1 1730.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.3 MB
      เปิดดู:
      104
    • p 1 1732.jpg
      p 1 1732.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.3 MB
      เปิดดู:
      358
    • p 1 1733.jpg
      p 1 1733.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.3 MB
      เปิดดู:
      318
    • p 1 1734.jpg
      p 1 1734.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.7 MB
      เปิดดู:
      309
    • p 1 1735.jpg
      p 1 1735.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.7 MB
      เปิดดู:
      327
    • p 1 1737.jpg
      p 1 1737.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.7 MB
      เปิดดู:
      382
    • p 1 1739.jpg
      p 1 1739.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.4 MB
      เปิดดู:
      322
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ธันวาคม 2013
  9. pco-

    pco- เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2010
    โพสต์:
    2,162
    ค่าพลัง:
    +12,252
    โมทนาสาธุอย่างยิ่ง ทุกรายการบุญทานกองการกุศลทั้งปวงนะครับ
     
  10. rungdao

    rungdao เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    2,019
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +10,731
    สาธุค่ะ และขอกราบสวัสดีค่ะท่าน PCO เข้ามาในเวปฯ มาตั้งกระทู้ได้สอง-สามคืนแล้ว แต่ยังไม่ได้ไปตอบหรือทักทายในกระทู้ท่านใดเลยค่ะ ด้วยภาระหน้าที่การงานแล้ว เวลาที่สะดวกที่สุดคือดึกๆแบบนี้แหละค่ะ ทุกคนสบายดีนะคะ และรู้สึกว่าทางเวปฯก็มีการปรับปรุงได้มากขึ้นกว่าเดิมแล้ว ยังคิดถึงทุกคนค่ะ :cool:
     
  11. rungdao

    rungdao เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    2,019
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +10,731
    [​IMG][​IMG] วันที่ ๓

    วันนี้เป็นวันสงเคราะห์ญาติ ดิฉันขอข้าม ค่ะ

    และที่ตกหล่นไปคือตั้งแต่วันแรกจนถึงวันสุดท้าย คือมีการใส่บาตรตอนเช้าเกือบทุกวัน มีพระมากว่า ๔ รูปขึ้นไป (จะมีบางวันเท่านั้นที่ไม่ได้ใสบาตร)

    ขอเข้ามาแก้ไขนิดนึงนะคะ วันนี้ได้ทำ สังฆทานที่วัด เจดีย์แม่ครัว
    เป็นวัดในหมู่บ้านที่คุณพ่อย้ายมาอยู่ที่นี่ค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • p 1 1622.jpg
      p 1 1622.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.5 MB
      เปิดดู:
      315
    • p 1 1715.jpg
      p 1 1715.jpg
      ขนาดไฟล์:
      2.1 MB
      เปิดดู:
      353
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ธันวาคม 2013
  12. rungdao

    rungdao เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    2,019
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +10,731
    วันที่ ๔

    เริ่มกันตอนเช้าที่ วัดป่าหมู่ใหม่ หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญญมากโร

    [​IMG]
    รูปแรกเป็นทางเข้ากุฎิของหลวงพ่อ ​
    [​IMG]
    รูปนี้เป็นทางเข้าวัด ก่อนจะเข้าไปถึงวัดด้านนอกนั้นก็หาสัญญาณโทรศัพท์ไม่เจอแล้วค่ะ​
    [​IMG]
    ทางวัดมีกฎเข้มงวดมากคือห้ามถ่ายรูปหลวงพ่อ แต่ที่ด้านบนนี้ดิฉันนำภาพมาจากเวปฯอื่นค่ะ ​
    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญฺญมากโร

    วัดป่าหมู่ใหม่
    ต.แม่แตง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่


    ถิ่นกำเนิด-ชาติสกุล

    หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญฺญมากโร เกิดที่บ้านหนองบัวบาน ตำบลหนองบัวบาน อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๕ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๔ บิดาชื่อ พ่อสนธิ์ มารดาชื่อแม่มุก นามสกุล สิมมะลี มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๗ คน เป็นชาย และหญิง ๔ คน ดังนี้

    ๑. นางสาวเสรี สิมมะลี ถึงแก่กรรมเมื่ออายุ ๒๕ ปี
    ๒. หลวงพ่อประสิทธิ์ ปญฺญมากโร อายุ ๗๒ ปี
    ๓. นายยสมคิด สิมมะลี ถึงแก่กรรมเมื่ออายุ ๓๖ ปี
    ๔. นายสวัสดิ์ สิมมะลี มีชีวิตอยู่ อายุ ๖๘ ปี
    ๕. เด็กหญิงเสาร์ศักดิ์มน สิมมะลี ถึงแก่กรรมเมื่ออายุ ๗ ปี
    ๖. นางทองใส คุนุ มีชีวิตอยู่ อายุ ๖๐ ปี
    ๗. นางสาวหนูพวน สิมมะลี ถึงแก่กรรมเมื่ออายุ ๒๘ ปี

    ชีวิตในวัยเด็ก

    หลวงพ่อประสิทธิ์ เท่ากับเป็นลูกชายคนโตของครอบครัว เมื่อมีอายุ ๗ ปี ได้เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนประชาบาล บ้านหนองบัวบาน ตำบลหนองบัวบาน อำเภอหนองวัวซอ สอบไล่ได้ตำแหน่งที่ ๑ หรือ ที่ ๒ เป็นประจำทุกปี ตลอดจนจบชั้นประถมปีที่ ๔ พอจบชั้นประถมแล้ว ครูใหญ่ชื่อ “ปรีชา” ให้ไปเรียนต่อที่โรงเรียนมัธยมพิทยานุกุล ในตัวจังหวัดอุดรธานี หลวงพ่อได้ถามบิดาว่า “ จะเรียนดีหรือไม่เรียนดี” และเมื่อบิดาบอกว่ “ทำไร่ทำนาดีกว่า สบายใจดี” หลวงพ่อฯ จึงตัดสินใจช่วยบิดามารดาทำไร่ทำนา
    หลวงพ่อประสิทธิ์ เมื่อเยาว์วัย จึงเป็นแรงสำคัญช่วยงานบิดา มารดา อย่างเต็มความสามารถ ตั้งแต่ยังเรียนหนังสือชั้นประถม จนเช้าสู่วัยหนุ่มอายุ ๑๙ ปี จึงเกิดความคิดอยากเข้าวัด เนื่องจากวัดป่า
    นิโครธาราม ของหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ อยู่ใกล้บ้าน ท่านได้ทบทวนชีวิตฆราวาส ผ่านมาได้ช่วยบิดามารดามา จนเป็นที่พอใจแล้ว ฐานะทางครอบครัวก็พอดีๆ ไม่รวยและไม่จน และพี่น้องต่างก็โต พอจะช่วยงานของครอบครัว พ่อแม่ได้แล้ว
    หลวงพ่อท่านคิดว่า ได้เกิดมาใช้หนี้บุญคุณพ่อแม่พอที่ได้อาศัย ท่านมาเกิดในชาตินี้แล้ว จึงคิดมองหา เส้นทางจิต ที่คิด ไม่อยากกลับมาเกิดเป็นหนี้ภพชาติอีกต่อไป โดยเกิดศรัทธาปัญญาในทางพระพุทธศาสนา คิดจะบวชไม่มีกำหนดตลอดชีวิต หวังอยู่ปฏิบัติ ตนเพื่อหลุดพ้น ความเกิดจนถึงอมตะพระนิพพาน

    บรรพชาและอุปสมบท

    ต่อมาครอบครัว ได้พาหลวงพ่อเข้าไปฝากตัวกับหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๓ เวลา ๑๙.๐๐ น. และได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๓ ณ วัดโพธสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล ) เป็นพระอุปัชฌาย์

    ครั้นเมื่ออายุครบ ๒๐ ปี พ.ศ.๒๕๐๔ จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดโพธิสมภรณ์ ในวันที่ ๑ มิถุนายน โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูอุดรคณานุศาสน์ เป็นพระ อนุสาวนาจารย์

     
  13. rungdao

    rungdao เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    2,019
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +10,731
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]ที่นี่มีกฎเข้มงวดมาก คือห้ามถ่ายรูปองค์หลวงพ่อ พอได้เวลาที่ท่านออกมามาพบญาติโยมที่กุฎิของท่าน จะพบป้ายที่เขียนติดไว้ว่า "กราบแล้วกลับ" ดิฉันเข้าใจว่า คงเป็นศาลานุศิษย์ที่เป็นห่วงธาตุขันธ์ท่านนั่นเอง ดิฉันได้แค่ตอบท่านว่ามาจากไหน เพราะท่านถาม แต่ไม่มีโอกาสนั่งอยู่ฟังท่านพูดคุยหรือให้ธรรมะเลย พอถวายสังฆทานเสร็จ พวกเราก็ต้องถอยออกมาแล้วเพื่อให้ญาติโยมคนอื่นๆที่มาพบท่านได้มากราบท่าน แต่ก็รู้สึกเป็นบุญอย่างล้นพ้น ที่ท่านได้เมตตาและให้โอกาส

    ที่นี่ได้
    - ถวายอาหารเช้า (ในวัดมีพระประมาณ ๕๐ รูป ฉันท์มื้อเดียว)
    - ถวายสังฆทาน ถวายดอกไม้
    - หยอดตู้ที่กุฎิหลวงพ่อ
    - ทานข้าวก้นบาตรหลวงพ่อ
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • p 1 1800.jpg
      p 1 1800.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.8 MB
      เปิดดู:
      361
    • p 1 1801.jpg
      p 1 1801.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.6 MB
      เปิดดู:
      313
    • p 1 1799.jpg
      p 1 1799.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.7 MB
      เปิดดู:
      297
    • p 1 1802.jpg
      p 1 1802.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.8 MB
      เปิดดู:
      313
    • p 1 1861.jpg
      p 1 1861.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.1 MB
      เปิดดู:
      310
    • p 1 1862.jpg
      p 1 1862.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.3 MB
      เปิดดู:
      287
    • p 1 1868.jpg
      p 1 1868.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1 MB
      เปิดดู:
      307
    • p 1 1870.jpg
      p 1 1870.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.1 MB
      เปิดดู:
      350
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ธันวาคม 2013
  14. rungdao

    rungdao เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    2,019
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +10,731
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]- ถ้ำเชียงดาว


    [​IMG][​IMG]

    [​IMG]
    [​IMG]

    [​IMG]
    ตำนานความศักดิ์สิทธิ์ของถ้ำเชียงดาว
    <!--menubar-->ถ้ำหลวงเชียงดาวเป็นโบราณสถานที่ผู้คนมากมายเลื่อมใสศรัทธา ซึ่งอาจเป็นเพราะได้รู้เรื่องราวอัศจรรย์แต่ในหน หลังที่เล่าสืบ ต่อกันมา นั่นก็คือเจ้าหลวงคำแดง เป็นบุตรชายของเจ้าผู้ครองเมืองพะเยา ได้ทิ้งบ้านเมืองเพื่อออกตามหาหญิงสาวที่แปลงร่าง เป็นกวางทอง เพราะหลงรูปโฉมที่สวยงาม ซึ่งหายลับเข้าไปในถ้ำหลวงเชียงดาว เจ้าหลวงคำแดงจึงได้ตามเข้าไปในถ้ำเช่นเดียวกัน โดยไม่ได้กลับออกมาอีกเลย หากแต่ไม่จุติใหม่เป็นเทวดาผู้มีฤทธิ์อยู่ในภายถ้ำ และปกปักรักษาถ้ำหลวงเชียงดาว ต่อมาชาวบ้านได้ สร้างศาลถวายท่านและตั้งชื่อว่า“ศาลพ่อหลวงคำแดง”ตามตำนานกล่าวไว้ว่า ในคืนที่มีนิมิตหมายอันดี อีกทั้งบนท้องฟ้าก็ ไร้เมฆ หมอก จะปรากฏลูกกลมๆ มีแสงสว่างคล้ายพระธาตุลอยออกมาจากหลังดอยเชียงดาวแล้ว เคลื่อนไปทางทิศตะวันออก เป็นเวลา 5 นาที ก็จะได้ยินเสียงดังคล้ายเสียงของปืนใหญ่พร้อมกับแสงสว่างนั้นก็หายไปด้วย ชาวบ้านมักจะเชื่อกันว่า เป็นวิญญาณของ เจ้าหลวงคำแดง ไปเยี่ยมบ้านเกิดเมืองนอนที่เมืองพะเยา

    นอกจากนี้ยังมีตำนานเรื่องเล่ากันต่อๆ มาอีกว่ามีฤาษี ชื่อว่า “พรหมฤาษี”เป็นผู้วิเศษด้วยฌานอันแก่กล้า ได้เรียกประชุมเทวดา อินทร์ พรหม ยักษ์ อสูร นาคราช เป็นต้น เพื่อมาเนรมิตสิ่งวิเศษต่างๆ เช่น พระพุทธรูปทองคำ ต้นโพธิ์ทองคำ ช้างวิเศษหรือ ช้างเอราวัณ ดาบวิเศษหรือดาบศรีกัญชัย อาหารทิพย์ ม้าวิเศษ เป็นต้น สิ่งต่างๆ เหล่านี้ถูกเก็บไว้ที่ส่วนลึกภายในถ้ำและได้รับ การดูแลรักษาเป็นอย่างดีจากเทวดาผู้มีฤทธิ์ชื่อว่า “เจ้าหลวงคำแดง” ครั้งหนึ่งมีชาวบ้าน 2 คนได้เข้าไปในถ้ำเพื่อ ค้นหาของวิเศษ และต้องการนำออกมาจากถ้ำด้วย แต่แล้วก็มีอันเป็นไป คือทั้ง 2 คนหาทางออกมาจากถ้ำไม่ได้ แม้ญาติพี่น้องจะเข้าไปตามหาก็ ไม่พบ ภายหลังมีชาวบ้านเข้าไปพบโดยบังเอิญ ปรากฏว่าคนหนึ่งเสียชีวิตไปแล้ว ส่วนอีกคนหนึ่งยังมีชีวิตอยู่ จึงนำมารักษาตัวที่บ้าน แต่เพียงไม่ถึงอาทิตย์ก็เสียชีวิตหลังจากนั้นก็มีเรื่องราวของคนที่เข้าไปในถ้ำแล้วหลงทางกลับออกมาไม่ได้ จนต้องเสียชีวิตอยู่ในถ้ำ เพราะ มีจิตอกุศลคิดอยากได้ของวิเศษนั้นมาเป็นสมบัติส่วนตัว ดังนั้นเรื่องราวในตำนานจึงกลายเป็นความเชื่อ ความศรัทธาในความ ศักดิ์สิทธิ์ของถ้ำหลวงเชียงดาวตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

    สำหรับเกร็ดความเชื่อความศรัทธาเกี่ยวกับถ้ำหลวงเชียงดาวยังมีอีกหลายเรื่อง เช่น พระพุทธรูปหินอ่อนที่อยู่คู่ถ้ำหลวงเชียงดาว มาเนิ่นนาน ได้มีคนขโมยไปแต่ก็เกิดเหตุร้ายเกือบถึงแก่ชีวิต จนต้องนำกลับไปคืนดังเดิม อีกเรื่องหนึ่งคือ “พระพุทธรูปทันใจ”ที่ อยู่ใน วัดถ้ำเชียงดาวซึ่งเชื่อกันว่าหากได้อธิษฐานขอพรแล้วจะสมหวังดังปรารถนาอย่างรวดเร็วทันใจ ดังเช่นชื่อของ พระพุทธรูป องค์นี้


    ที่นี่ได้ ถวายสังฆทาน
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • p 1 1877.jpg
      p 1 1877.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.8 MB
      เปิดดู:
      327
    • p 1 1960.jpg
      p 1 1960.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.5 MB
      เปิดดู:
      278
    • p 1 1897.jpg
      p 1 1897.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.7 MB
      เปิดดู:
      260
    • p 1 1981.jpg
      p 1 1981.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.4 MB
      เปิดดู:
      263
    • p 1 1983.jpg
      p 1 1983.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.5 MB
      เปิดดู:
      260
    • p 1 1994.jpg
      p 1 1994.jpg
      ขนาดไฟล์:
      2 MB
      เปิดดู:
      248
    • p 1 1998.jpg
      p 1 1998.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.8 MB
      เปิดดู:
      263
    • p 1 2002.jpg
      p 1 2002.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.5 MB
      เปิดดู:
      278
    • p 1 1967.jpg
      p 1 1967.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.4 MB
      เปิดดู:
      276
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ธันวาคม 2013
  15. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    ... สาธุ ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ ที่ได้ไปทำบุญกับพระสายพ่อแม่ครูบาจารย์มั่น ภูริทัตโต
     
  16. rungdao

    rungdao เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    2,019
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +10,731
    สาธุค่ะ กราบสวัสดีค่ะท่านธัมมะสามี การเดินทางโดยตั้งใจของดิฉันในครั้งนี้ จริงๆแล้วมีเพียงครึ่งเดียว หมายถึง วัดหรือสถานที่ที่ตั้งใจจะไปมีเพียงไม่กี่วัด แต่ที่ได้ไปมาโดยไม่คาดคิดนั้นเกือบเท่าตัวค่ะ เหมือนกับว่าการเดินทางในครั้งนี้ที่ผ่านมานั้น ได้ถูกจัดเตรียมไว้แล้ว เพราะเป็นที่น่าแปลกใจว่า มันช่างเป็นเรื่องที่บังเอิญเกินเหตุจริงๆ ทั้งการได้เจอคนขับรถนำทาง ที่เป็นคนที่เข้าวัดเข้าวา (แบบที่ว่าคอเดียวกันประมาณนั้น) รู้จักกันครั้งแรก เพียงวันเดียว คนขับรถเขาก็เรียกดิฉันว่า "ลูกในอดีตชาติ"
    และการเดินทางในภาคเหนือนี้ ก็ได้ท่านคนนี้ชี้แนะในหลายๆอย่าง ท่านคนนี้ชื่อว่า "ลุงบุญ" ค่ะ
    ... การเดิทางในครั้งนี้ ไม่มีแบบแผน ไม่มีการคิดไว้ล่วงหน้า ยกเว้นวัดที่ดิฉันอยากไป ดิฉันได้บอกลุงบุญไว้แล้ว และบางทีก็คิดๆกันตอนนั้นเลยว่า เดี๋ยวไปไหนต่อ พอดีเจอคนที่เข้าวัดเข้าวา ก็ว่ากันง่ายหน่อย
    ทำให้ดิฉันคิดได้ว่า นี้เอง ที่เป็นเพราะบารมีของพระท่านที่ช่วยสงเคราะห์ดิฉันตามคำอธิฐานให้เป็นจริง ซึ่งก็ไม่เคยพลาดเลยในการอธิฐานขอแทบทุกครั้ง และในครั้งนี้นั้นดิฉันเองก็พลาดในการตั้งกำลังใจไปหลายครั้ง เนื่องมาจากตื่นเต้นทำตัวไม่ถูกนั่นเองค่ะ

    ปล. ก่อนออกจากบ้าน สวดชิณบัญชร ๑๐ จบ อธิฐานเอา
    . ก่อนจะทำการใดๆ บอกพระท่านก่อนทุกครั้ง สวดมนต์แผ่เมตตา อธิฐานเอา จะทำอะไร อยากได้อะไร
    . ก่อนเดินทางไกลๆ สวดมนต์ครอบคลุมคุ้มครอง (ชิณบัญชร)
     
  17. rungdao

    rungdao เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    2,019
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +10,731
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG] ถ้ำผาปล่อง



    [​IMG]
    [​IMG]

    [​IMG]
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
    [​IMG]


    ประวัติของ หลวงปู่สิม พุทธจาโร (โดยย่อ)

    ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

    ท่านมีนามเดิมว่า สิม วงศ์เข็มมา เกิดเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๕๒ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีระกา เวลาประมาณ ๒๑.๐๐ น. ที่บ้านบัว ตำบลสว่าง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร บิดามารดาชื่อ นายสาน - นางสิงห์คำ วงศ์เข็มมา มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๑๐ คน ท่านเป็นคนที่ ๕

    สกุล "วงศ์เข็มมา" เป็นสกุลเก่าแก่สกุลหนึ่งของบ้านบัว ผู้เป็นต้นสกุล คือ ท่านขุนแก้ว และ อิทปัญญา น้องชาย ตัวท่านขุนแก้วก็คือ ปู่ของหลวงปู่สิมนั่นเอง เท้าความในคืนที่หลวงปู่เกิด ประมาณเวลา ๑ ทุ่ม โยมมารดาของท่านเคลิ้ม หลับไป ก็ได้ฝันเห็นพระสงฆ์รูปหนึ่งมีรัศมีกายสุกสว่างเปล่งปลั่งแลดูเย็นตาเย็นใจ อย่างบอกไม่ถูก ลอยลงมาจากท้องฟ้าลงสู่กระต็อบกลางทุ่งนาของนาง ต่อมาเวลาประมาณ ๓ ทุ่ม นางสิงห์คำก็ให้กำเนิดเด็กน้อยผิวขาวสะอาด และจากนิมิตที่นางเล่าให้ฟัง นายสานผู้เป็นบิดาจึงได้ตั้งชื่อลูกชายว่า "สิม" ซึ่งภาษาอีสานหมายถึง โบสถ์ อันอาจบ่งบอกถึงความใกล้ชิดพระพุทธศาสนา ซึ่งต่อมาเด็กชายสิมผู้นึ้ ก็ได้ครอง ผ้ากาสาวพัสตร์ บำเพ็ญสมณธรรม ใช้ชีวิตที่ขาวสะอาดหมดจดตลอดชั่วอายุขัยของท่าน เมื่อเริ่มเข้ารุ่นหนุ่ม อายุ ๑๕ - ๑๖ ปี ท่านมีความสนใจในดนตรีอยู่ไม่น้อย หลวงปู่แว่น ธนปาโล เล่าว่า ตัวท่านเองเป็นหมอลำ ส่วนหลวงปู่สิมเป็นหมอแคน

    สิ่งบันดาลใจให้หลวงปู่อยากออกบวชคือ ความสะดุ้งกลัวต่อความตาย ท่านเล่าว่า "ตั้งแต่ยังเด็กแล้วเมื่อได้เห็น หรือได้ข่าวคนตาย มันให้สะดุ้งใจ ทุกครั้ง กลัวว่าเราจะตายเสียก่อนได้ออกบวช" มรณานุสติได้เกิดขึ้นในใจของท่านอยู่ตลอดเวลา เฝ้าย้ำเตือนให้ท่านไม่ประมาท ในชีวิต ไม่ประมาทในวัยไม่ประมาทในความตาย เป็นเพราะหลวงปู่กำหนด "มรณํ เม ภวิสฺสติ" ของท่าน มาแต่ไหนแต่ไรแล้วนั่นเอง ตั้งแต่ยังไม่ได้ออกบวชจวบจนสิ้นอายุขัย ของท่าน หลวงปู่ก็ยังใช้อุบายธรรมข้อเดียวกันนี้อบรมลูกศิษย์ลูกหาอยู่เป็นประจำ เรียกว่า หลวงปู่เทศน์ครั้งใด มักจะมี "มรณํ เม ภวิสฺสติ" เป็นสัญญาณเตือนภัย จากพญามัจจุราชให้ลูกศิษย์ลูกหาตื่นตัวอยู่เสมอทุกครั้ง

    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

    เมื่อท่านอายุ ๑๗ ปี ได้ขอบิดามารดาบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดศรีรัตนาราม ซึ่งเป็นวัดมหานิกาย ณ บ้านบัว นั้นเอง ตรงกับวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๔๖๙ ตรงกับวัน อาทิตย์ แรม ๗ ค่ำ เดือน ๘ ปีมะโรง โดยมีพระอาจารย์สีทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาคณะกองทัพธรรมของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้เดินธุดงค์มาจากจังหวัดหนองคาย เพื่อมาเผยแพร่ธรรมปฏิบัติแก่ประชาชน โดยเดินทางมาถึงวัดศรีสงคราม ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม สามเณรสิม จึงได้มีโอกาสเดินทางไปฟังธรรม ทั้งจากพระอาจารย์ใหญ่ คือ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม และท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล สามเณรสิมได้เฝ้าสังเกต ข้อวัตรปฏิบัติของท่านพระอาจาย์มั่น ท่านพระอาจารย์สิงห์ และพระอาจารย์ มหาปิ่น และได้บังเกิดความเลื่อมใสอย่างมาก จึงตัดสินใจขอถวายตัวเป็นศิษย์ พระอาจารย์มั่น และได้ขอญัตติใหม่มาเป็นธรรมยุติกนิกาย แต่โดยที่ขณะนั้นยัง ไม่มีโบสถ์ของวัดฝ่ายธรรมยุติในละแวกนั้น การประกอบพิธีกรรมจึงต้องจัดทำที่โบสถ์น้ำ ซึ่งทำจากเรือ ๒ ลำ ทำเป็นโป๊ะลอยคู่กัน เอาไม้พื้นปูตรึงเป็นพื้นแต่ไม่มีหลังคา สมมติเอาเป็นโบสถ์ โดยท่านพระอาจารย์มั่นฯ เป็นประธาน และเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ ที่วัดป่าบ้านสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม จากนั้นสามเณรสิมได้ติดตามพระอาจารย์มั่นไปอยู่จำพรรษาที่ วัดป่าบ้านข่า ตำบลบ้านข่า อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม

    เมื่อสามเณรสินอายุครบบวช ได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดศรีจันทราวาส ตำบลพระลับ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ในวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ ตรงกับ วันอังคารขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๘ ปีมะเส็ง โดยมีเจ้าคุณพระเทพสิทธาจารย์ (จันทร์ เขมิโย) เมื่อครั้งยังเป็นพระครูพิศาลอรัญญเขต เจ้าคณะธรรมยุติจังหวัดขอนแก่น เป็นพระอุปัชฌาย์ และมีพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดดวงจันทร์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "พุทฺธาจาโร" จากนั้นท่านก็ได้เดินทางติดตามพระอาจารย์ของท่าน คือ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ไปจำพรรษาที่วัดป่าวิเวกธรรม (วัดป่าบ้านเหล่างา) อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น วัดป่าบ้านเหล่างานี้เป็นวัดอยู่ในเขตป่าช้า (บริเวณโรงพยาบาลขอนแก่นในปัจจุบัน) ซึ่งท่านพระอาจารย์สิงห์ และ ท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นสำนักอบรมกรรมฐาน แก่ญาติโยมชาวขอนแก่น

    ท่านพระอาจารย์สิงห์ ได้ออกอุบายสอนลูกศิษย์ของท่านให้ได้พิจารณา อสุภกรรมฐานจากซากศพ โดยพาพระเณรไปขุดศพขึ้นมาพิจารณา หลวงปุ่ได้เล่า ประสบการณ์ที่ท่านได้อสุภกรรมฐานจากซากศพและว่า "นี่แหละร่างกายนั้น พระพุทธองค์ท่านจึงทรงสอนให้กำหนดเป็นอสุภกรรมฐาน อย่าไปเห็นว่ารูป ไม่ว่ารูปหญิงรูปชาย ให้เข้าใจว่าเป็นอันเดียวกัน ไม่มีใครสวยใครงามกว่า กัน"

    "สมมติโลกว่าสวยว่างามสมมติธรรมมันไม่สวยงาม อสุภํ มรณํ ทั้งนั้น ถึงมันจะยังไม่ตาย ตอนเด็กตอนหนุ่มก็เถอะ ไม่นานละ เดี๋ยวมันก็ทยอยตายไปทีละคน สองคน หมดไป สิ้นไป ไม่เหลือ"

    ในชีวิตสมณะของท่าน ได้ปฏิบัติตามคำสั่งสอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ว่า "โสสานิ กังคะ" คือไปเยี่ยมป่าช้าเป็นธุดงควัตร และที่วัดป่าเหล่างานี้เอง ที่หลวงปูได้มีโอกาสปฏิบัติธรรมอย่างใกล้ชิดกับท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นเวลานาน ๓ - ๔ ปี ทั้งได้มีโอกาสมักคุ้นกับพระกรรมฐานองค์สำคัญๆ หลายองค์ เช่น หลวงปู่เทศก์ เทสฺรํสี, หลวงปู่ขาว อนาลโย, หลวงปู่ฝั้น อาจาโร, หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ, ท่านพ่อลี ธมฺมธโร, ท่านพระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน เป็นต้น

    ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๐๖-๒๕๐๙ หลวงปู่ได้มีปัญหาอาพาธด้วยโรคไตมาตลอด จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ด้วยปัญหาสุขภาพของหลวงปู่ หลวงปู่จึงได้ตัดสินใจวาง ภารกิจต่างๆ โดยลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสทุกวัดที่ท่านดูแลอยู่ จากนั้น ท่านก็มาจำพรรษา ณ ถ้ำผาปล่องตลอดมา

    หลวงปู่ได้รับสมณศักดิ์ "พระครูสันติวรญาณ" ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๐๒ และได้รับพัดยศโดยเลื่อนจากสมณศักดิ์ที่ "พระครูสันติวรญาณ" เป็น "พระญาณสิทธาจารย์" ในวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๓๕ และในคืนวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๓๕ พระเณรพร้อมด้วยอุบาสกอุบาสิกา ได้พร้อมใจกันเจริญพระพุทธมนต์ ฉลองสมณศักดิ์ถวายหลวงปู่ ที่ถ้ำผาปล่อง หลังจากเจริญพระพุทธมนต์หลวงปู่ได้พาพระเณรและญาติโยมนั่งภาวนา ต่อจนถึงเวลาประมาณ ๒๑.๓๐ น. แล้วท่านก็นั่งพักดู บริเวณ ภายในถ้ำอีกประมาณ ๒๐ นาที คล้ายกับจะเป็นการอำลา จนถึงเวลา ๒๒.๐๐ น. ท่านจึงกลับเข้ากุฏิที่พักด้านหลังภายในถ้ำผาปล่อง และได้มรณภาพในเวลาประมาณ ตีสาม สิริรวมอายุของหลวงปู่ ๘๒ ปี ๙ เดือน ๑๙ วัน อายุพรรษา ๖๓ พรรษา

    [​IMG]

    ในวันที่ ๔ นี้เป็นวันเกิดของดิฉัน จบการทำสังฆทาน ๙ วัดที่วัดนี้ ในวันนี้ยังได้ปล่อยปลาอีก ๙ ตัว ในเวลาหัวค่ำ ทำพิธีขอขมาคุณพ่อ



    ในวัดนี้ได้
    -ร่วมทำบุญถวายปัจจัยสี่ แก่ทางวัดด้วย
    -ปฎิบัติบูชาที่หน้ากุฎิหลวงปู่ (กระแสพลังงานดีมากๆๆ สัมผัสได้)
    -ทำสังฆทาน
    -เก็บกวาดใบไม้ตรงทางเดินขึ้น-ลงบันได



    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • p 1 2005.jpg
      p 1 2005.jpg
      ขนาดไฟล์:
      2.7 MB
      เปิดดู:
      277
    • p 1 2011.jpg
      p 1 2011.jpg
      ขนาดไฟล์:
      3.2 MB
      เปิดดู:
      250
    • p 1 2025.jpg
      p 1 2025.jpg
      ขนาดไฟล์:
      2.7 MB
      เปิดดู:
      254
    • p 1 2032.jpg
      p 1 2032.jpg
      ขนาดไฟล์:
      2 MB
      เปิดดู:
      264
    • p 1 2050.jpg
      p 1 2050.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.3 MB
      เปิดดู:
      261
    • p 1 2043.jpg
      p 1 2043.jpg
      ขนาดไฟล์:
      2.3 MB
      เปิดดู:
      258
    • p 1 2059.jpg
      p 1 2059.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.2 MB
      เปิดดู:
      170
    • p 1 2061.jpg
      p 1 2061.jpg
      ขนาดไฟล์:
      2 MB
      เปิดดู:
      244
    • p 1 2052.jpg
      p 1 2052.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.8 MB
      เปิดดู:
      276
    • p 1 2013.jpg
      p 1 2013.jpg
      ขนาดไฟล์:
      3.4 MB
      เปิดดู:
      274
    • p 1 2067.jpg
      p 1 2067.jpg
      ขนาดไฟล์:
      2.1 MB
      เปิดดู:
      249
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ธันวาคม 2013
  18. rungdao

    rungdao เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    2,019
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +10,731
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG] วันที่ ๕

    หลังจากร่ำลาคุณพ่อแล้ว ไปส่งน้องสาวและครอบครัวเขาที่สนามบิน จากนี้เป็นต้นไปก็ได้เวลาฉายเดี่ยวแล้ว มาคนเดียว เกิดคนเดียว ถ้าตายก็ตายคนเดียว (... คิดแบบนี้นะ)
    ก่อนจะเข้าถ้ำไปหาหลวงปู่ หลวงตา ครูบาอาจารย์ ดิฉันจะแวะที่นี่ก่อน และปีนี้ก็เป็นปีที่สองแล้ว ลุงบุญพาดิฉันไปใส่บาตรที่ตีนดอยสุเทพ ไปกราบครูบาศรีวิชัยแล้ว ก็ซื้ออาหารเตรียมไปใส่บาตรหรือถวายอาหารเพลกันต่อที่

    พระพุทธบาทสี่รอย

    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]

    [​IMG]


    เปิดตำนาน"พระพุทธบาทสี่รอย" "ครูบาศรีวิชัย"สร้างวิหารครอบ

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="99%" align=center border=0> <TBODY> <TR> <TD class=h13gray66 vAlign=top align=left>"วัดพระพุทธบาทสี่รอย" ตั้งอยู่ในหุบเขาป่าลึก เขตต.สะลวง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ และจากตัวอำเภอแม่ริม จนถึงวัดพระพุทธบาทสี่รอย มีระยะทาง 50 กิโลเมตร ถือเป็นวัดที่มีปูชนียสถานสำคัญทางประวัติศาสตร์

    รวมทั้งเป็นสถานที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง 4 พระองค์ ที่ล่วงเลยมาในภัทรกัปป์

    ประกอบด้วย รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้ากกุสันโธ ขนาดใหญ่ ยาว 12 ศอก, รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าโกนาคมโน ยาว 9 ศอก, รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้ากัสสโป ยาว 7 ศอก และรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าโคตโม (องค์ปัจจุบัน) ยาวเล็กสุด 4 ศอก

    โดยได้ทรงประทับรอยพระบาทไว้บนก้อนหินใหญ่ริม หรือเรียกว่า หินมหาศิลา จำนวน 4 รอยซ้อนไว้บนพื้นที่เดียวกัน

    พระพุทธบาทสี่รอย ได้รับการสักการบูชาจากเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่มาหลายยุคสมัย และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์เสมอมา

    ล่าสุด ครูบาศรีวิชัย ได้มาสร้างวิหารครอบพระพุทธบาทสี่รอยไว้จนถึงปัจจุบัน

    พ.ศ.2497 ได้รับการจดทะเบียนเป็นโบราณสถานของกรมศิลปากร มีประวัติเล่าขานถึงความเก่าแก่ จนนับเป็นพระพุทธบาทที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยก็ว่าได้


    พระพรชัย ปิยะวัณโณ (ครูบาพรชัย) เจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทสี่รอย เปิดเผยว่า พระพุทธบาทสี่รอย มีตำนานเล่าขานว่า เมื่อครั้งอดีตกาล มีพระสงฆ์รูปหนึ่ง นาม "พระวิปัสสี สัมมาสัมพุทธเจ้า" เป็นพระสังฆนายก ปกครองพระภิกษุเถรานุเถระเป็นจำนวนมาก

    แต่พระสังฆนายกรูปนี้กลับแสวงหาปัจจัยทั้งสี่ โดยออกประกาศไปทั่วสังฆมณฑล ว่า "วัดนี้ เป็นที่ชุมชนของพระมหาเถระเจ้าทั้งหลายอยู่เนืองนิตย์ ดังนั้น ขอให้พระภิกษุทั้งหลาย จงนำเอาปัจจัยสี่ อันได้แก่ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และปัจจัย รวมทั้งแก้วแหวนเงินทองทั้งปวง มาให้แก่วัดของเรา เพื่อจะได้นำมาถวายทานแก่พระมหาเถระเจ้าทั้งหลายต่อไป"

    เมื่อพระภิกษุทั้งหลาย ได้รับคำสั่งของพระสังฆนายก ต่างลำบากใจ ไม่กล้าทักท้วงคัดค้าน ด้วยเกรงจะมีความผิด ได้แต่จำใจนำของมามอบให้ที่วัด

    ท้ายที่สุด เมื่อพระสังฆนายกมรณภาพ ได้ตกนรกหมกไหม้อยู่ในอบายภูมิทั้ง 4 ด้วยผลกรรมที่ได้เบียดเบียนพระสงฆ์ให้ได้รับความลำบาก


    เมื่อชดใช้กรรมในนรกแล้ว อดีตพระสังฆนายกองค์นั้น ได้มาเกิดเป็นเปรต มีนามว่า "มหาศิลาหลวงใหญ่" (เปรตหิน) พูดวาจาใดๆ ไม่ได้ สรีระกลายเป็นหิน

    กาลเวลาได้ล่วงเลยมาถึง 92 กัปป์ เป็นยุคแรกของพระพุทธเจ้า องค์ที่ 1 คือ พระพุทธเจ้ากกุสันโธ ได้เสด็จมาโปรดมหาศิลาเปรต และทรงประทับรอยพระบาทไว้เหนือก้อนหินมหาศิลาเปรต เป็นรอยแรก

    จนถึงยุคสมัยของพระพุทธเจ้าองค์ที่ 2 ทรงพระนามว่า "พระพุทธเจ้าโกนาคมโน" ได้เสด็จมาที่มหาศิลาเปรต ได้ทรงประทับรอยพระบาทซ้อนไว้ในรอยพระบาทเดิม เป็นรอยที่ 2

    ต่อมา พระพุทธเจ้ากัสสโป องค์ที่ 3 ได้เสด็จมาโปรดมหาศิลาเปรตอีก และทรงประทับรอยพระบาทเป็นรอยที่ 3 ซ้อนไว้อีกครั้ง

    ถึงยุคของ พระพุทธเจ้าโคตโม หรือ พระสมณโคดม (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) ได้เสด็จมาโปรดมหาศิลาเปรตอีกครั้ง ทรงประทับรอยที่ 4 ลงบนหินศิลาเปรต บังเกิดพระพุทธบาทสี่รอย นับแต่นั้นเป็นต้นมา

    กาลเวลาล่วงเลยมา 2,000 ปี ได้มีเทวดาทั้งหลาย ต้องการให้พระพุทธบาทสี่รอยปรากฏ ตามที่พระองค์ทรงอธิษฐานไว้ จึงเนรมิตเป็นรุ้ง (เหยี่ยว) ตัวใหญ่ บินลงมาไปจับลูกไก่ของชาวบ้าน

    พรานป่าที่อาศัยอยู่เชิงเขาเวภารบรรพตเห็นเข้า จึงไล่ติดตามรุ้งสู่ยอดเขา เมื่อไปถึงยอดเขา พบรอยพระพุทธบาทสี่รอยอยู่บนพื้นใต้ต้นไม้ พรานป่าเกิดความเลื่อมใส จึงทำการสักการบูชา ก่อนนำเรื่องมาแจ้งให้แก่ชาวบ้าน

    เมื่อได้ยินคำบอกเล่า ชาวบ้านต่างพากันไปกราบสักการบูชา โดยเรียกขานพระพุทธบาทดังกล่าว ว่า "พระบาทรังรุ้ง (รังเหยี่ยว)"

    รอยพระพุทธบาท ถือเป็นรอยอันบริสุทธิ์แห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้น การกราบไหว้พระพุทธบาทสี่รอย ด้วยเครื่องสักการบูชา ดอกไม้ ธูปเทียน ยังนับไม่ได้ว่าเป็นการเจริญตามรอยพระพุทธองค์

    แต่ควรเจริญรอยตามด้วยการให้ทาน รักษาศีล สมาธิภาวนา จะได้ชื่อว่า เป็นคนหนึ่งที่พระพุทธองค์ ทรงโปรดให้พ้นทุกข์ได้ในที่สุด
    </TD></TR> <TR> <TD class=h13gray66bold vAlign=top align=left>
    [​IMG] http://www.matichon.co.th/khaosod/khaosod_detail.php?s_tag=03bud07100449&day=2006/04/10

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]ที่นี่ได้

    -ใส่บาตรพระ ๔ รูป
    -ถวายอาหารเพล
    -ปฎิบัติบูชา (ใครมาที่นี่ต้องปฎิบัติถวายเสียหน่อยนะคะ กระแสพลังงานหาประมาณมิได้ แต่วันนั้นอากาศเย็นมาก ดิฉันกลับง่วงมาก แต่ก็ได้ทำค่ะ เล็กๆน้อยๆ ก็ยังดี )
    -สวดบทจักพรรดิ์ ๙ จบ รอบวิหารที่มีรอยพระพุทธบาท
    -หยอดตามตู้รับบริจาค


    อากาศเช้าวันนั้นหนาวเย็นมากนะคะ ดิฉันไปนั่งรอจะใส่บาตรตัวนี้สั่นงกๆๆ เลยล่ะ และมีน้ำค้างมีหมอกเหมยด้วย
    แต่พระท่านก็ไม่ใส่รองเท้าค่ะ ทั้งสี่รูปก็ยังสำรวมอยู่ นี่แหละค่ะ พระทางเหนือล่ะ
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • p 1 2111.jpg
      p 1 2111.jpg
      ขนาดไฟล์:
      2.7 MB
      เปิดดู:
      245
    • p 1 2133.jpg
      p 1 2133.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.7 MB
      เปิดดู:
      236
    • p 1 2136.jpg
      p 1 2136.jpg
      ขนาดไฟล์:
      2.3 MB
      เปิดดู:
      246
    • p 1 2138.jpg
      p 1 2138.jpg
      ขนาดไฟล์:
      2.3 MB
      เปิดดู:
      245
    • p 1 2140.jpg
      p 1 2140.jpg
      ขนาดไฟล์:
      2.6 MB
      เปิดดู:
      288
    • p 1 2151.jpg
      p 1 2151.jpg
      ขนาดไฟล์:
      2.5 MB
      เปิดดู:
      253
    • p 1 2156.jpg
      p 1 2156.jpg
      ขนาดไฟล์:
      2.5 MB
      เปิดดู:
      245
    • p 1 2157.jpg
      p 1 2157.jpg
      ขนาดไฟล์:
      2.6 MB
      เปิดดู:
      243
    • p 1 2159.jpg
      p 1 2159.jpg
      ขนาดไฟล์:
      2.6 MB
      เปิดดู:
      238
    • p 1 2163.jpg
      p 1 2163.jpg
      ขนาดไฟล์:
      2.5 MB
      เปิดดู:
      252
    • p 1 2098.jpg
      p 1 2098.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.6 MB
      เปิดดู:
      235
    • p 1 2166.jpg
      p 1 2166.jpg
      ขนาดไฟล์:
      6.3 MB
      เปิดดู:
      274
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ธันวาคม 2013
  19. rungdao

    rungdao เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    2,019
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +10,731
    เมื่อมาถึงที่หมายก็ได้รู้ว่าจะไม่ได้เจอหลวงตา ส่วนศิษย์พี่ก็ติดตามหลวงตาไปยังไม่กลับ ต่อเมื่อขึ้นไปกราบครูบาดิฉันจึงได้ทราบว่าจะได้มีโอกาสไปร่วมถวายพระประธาน ที่เมืองโต๋น รัฐฉาน ประเทศพม่า
    งานวันเกิดหลวงตาที่ผ่านมา ก็ไม่ทันกับเขาอีกเหมือนเดิม แต่แม่ชีสมานและศิษย์พี่ ก็มีแหวนให้รออยู่แล้ว ดังนั้นจึงมีแหวนเพิ่มมาอีกวงเป็นกำลังใจ (ภายหลังได้ให้คนท้องที่ร่วมทางไปพม่าด้วยกันไป)
    ก็ร่ำลาลุงบุญ เพราะวันที่จะออกจากถ้ำจะเป็นคนอื่นมารับ แต่ดูท่าทางลุงบุญยังเป็นห่วงอยู่ ตอนที่ดิฉันบอกว่า ออกจากถ้ำแล้วจะลงไปกรุงเทพฯ ให้ช่วยๆกันหารถและคนขับที่นิสัยดีให้หน่อย นี่ถ้าไม่ติดว่าดิฉันซื้อตั๋วเครื่องเรียบร้อยแล้วคงได้นั่งรถลุงบุญทัวร์ภาคกลางแน่เลย

    คืนนั้นก็อยู่ปฎิบัติที่ถ้ำ เตรียมตัวเดินทางในเช้าตรู่วันรุ่งขึ้นประมาณ ๗ โมงเช้า

    นอนที่ถ้ำรับกระแสนอนสบายๆ แม้จะหนาวเย็นแต่อุ่นใจ ฟากฟ้าที่ไหนจะงามเหมือนฟ้าที่นี่เป็นไม่มี (อันนี้ความเห็นส่วนตัวค่ะ)
    เฮ้ออออ ... บรรยายไม่ถูก ดาวเต็มฟ้า อากาศเย็นๆ จะเดือนดับหรือเดือนเต็มดวง มันก็ยังงามอยู่อย่างนั้น นั่นๆ... ไปโน่นแล้ว พอดีกว่า ติดสภาพแล้วไงล่ะ
     
  20. rungdao

    rungdao เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    2,019
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +10,731
    [​IMG] วันที่ ๖


    เดินทางไปเมืองโต๋น รัฐฉาน ประเทศพม่า

    [​IMG] [​IMG] มารู้จักไทยใหญ่ รู้จักรัฐฉาน

    คนที่พูดภาษาตระกูลไต หรือไท มิใช่มีเฉพาะประเทศไทย แต่มีกระจายอยู่ทั่วไปในเอเซียอาคเนย์ โดยมีอยู่ในสิบสองปันนาของจีน ในรัฐอัสสัมของอินเดีย ในรัฐฉาน ในพม่า ในไทย ในลาว และเวียดนาม ด้วยเหตุที่คนตระกูลไต หรือไทเป็นกลุ่มคนที่มีมาก และอยู่ในที่ต่างกันห่างไกลกันอย่างนี้ ทำให้ภาษาพูด ภาษาเขียนผิดเพี้ยนแตกต่างกันไปบ้างตามท้องถิ่นนั้น ๆ
    ลักษณะการอยู่อาศัยของชนชาติตระกูลไต หรือไทมักอยู่กันเป็นกลุ่มใหญ่ และนำเอาชื่อท้องถิ่นที่อาศัยอยู่มาใช้ต่อท้ายคำว่า "ไต หรือไท"
    ไตอาหม (อยู่รัฐอัสสัม)
    ไตมาว (อยู่เมืองมาว)
    ไตใต้คง (อยู่ฟากใต้แม่น้ำคง)
    ไตเหนือคง (อยู่ฟากเนือแม่น้ำคง)
    ไตใหญ่ (กลุ่มใหญ่ที่สุด)
    ไตน้อย (ไทย)
    ไตโยน (อยู่ในแคว้นโยนก)
    ไตเหนือ
    ไตใต้ (อยู่ภาคใต้ของประเทศไทย)
    หรือไตอิสาน เป็นต้น

    ชนตระกูลไตเหล่านี้ แต่ละกลุ่มที่พูดสำเนียงเดียวกันจะอยู่กันเป็นกลุ่มใหญ่เป็นภูมิภาค หรือเป็นรัฐ แม้ว่าจะอยู่ห่างไกลกันมาก ต่างก็เข้าใจว่าภาษาที่ชนกลุ่มของตนพูดเป็นภาษาไต หรือภาษาไทแท้ ในส่วนศัพท์รากเหง้าของภาษานั้นเป็นคำเดียวกันและใช้พูดเหมือนกัน ก็เช่น
    ข้าว กิน แขน ขา เข่า หัว ตัว ไป มา พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย หรือช้าง ม้า วัว ควาย หมู หมา กา ไก่ เป็ด ฯลฯ
    คำศัพท์เหล่านี้เป็นคำไต หรือไทแท้ ไตทุกกลุ่มจึงใช้ศัพท์เดียวกันนี้พูดและสื่อสารต่อกัน

    ไทยใหญ่เป็นสาขาหนึ่งของชนชาติไต อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของจีน รัฐอัสสัมของอินเดีย พม่าทางตอนเหนือ รัฐฉาน และทางภาคเหนือของไทย มีภาษาพูดและภาษาเขียนเฉพาะตน มีเอกลักษณ์การแต่งกายที่สวยงามไปอีกแบบ ประเพณีวัฒนธรรมส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนา กิจกรรมอันเนื่องด้วยประเพณีส่วนใหญ่จึงเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา จิตใจอ่อนโยนเพราะอาศัยกระบวนการขัดเกลาทางศาสนาและสังคม จึงดูเหมือนว่าถูกเอารัดเปรียบได้ง่าย

    รัฐฉาน
    รัฐฉานเป็นรัฐที่มีชนเผ่าหลายเผ่าอยู่ร่วมกัน โดยมีชาวไทยใหญ่อยู่มากที่สุด ก่อนปี 1947 บรรดาเจ้าฟ้าได้ร่วมกันก่อตั้งเป็นสหพันธรัฐไทยใหญ่ แต่เมื่อพม่าขอเอกราชจากอังกฤษพม่าโดยอ่อง ซานได้กระตุ้นและชักชวนให้สหพันธรัฐไทยใหญ่ร่วมกับพม่าก่อตั้งสหภาพพม่า รัฐฉานจึงเป็นรัฐหนึ่งในสหภาพพม่าตั้งแต่ปี 1947 เป็นต้นมา แต่อย่างไรก็ตาม คำว่า "รัฐสหภาพพม่า" ก็มีแต่เพียงชื่อไว้เรียกให้สวยงามฟังง่ายเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้มีอำนาจจริงนั้นไม่มีชนชาติอื่นเลยนอกจากพม่า รัฐฉานติดกับประเทศไทย พม่า จีน และลาว ดังนี้
    ทิศตะวันตก ติดกับพม่า
    ทิศเหนือ ติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน
    ทิศตะวันออก ติดกับประเทศลาว และประเทศไทย
    ทิศใต้ ติดกับประเทศไทย

    หัวเมืองในรัฐฉานแต่ละภาค มีดังนี้
    หัวเมืองทางภาคเหนือ

    1. ล่าเสี้ยว 2. เหม่เมี้ยว 3. หนองเขียว 4. จ้อกเม 5. น้ำสั่น
    6. สี่ป้อ 7. เมืองมีด 8. เมืองกุ้ด 9. ก๊ดขาย 10. แสนหวี
    11. เมืองไหย๋ 12. ต้างยาน 13. เมืองเป็ง 14. หมู่เจ้ 15. น้ำคำ
    16. น้ำตู้ 17. กุ๋นโหลง 18. โหป่าง 19. กองแกง 20. เมืองใหม่
    21. ป๋างหวาย 22. นาพาน 23. ม่านพ่าง 24. ป๋างยาง

    หัวเมืองทางภาคใต้
    1. ต๋องกี 2. โหโปง 3.หยองห้วย 4.สี่แสง 5.กะลอ
    6.อ่องปาน 7.ปางตะระ 8.หยว่าหง่าน 9.ล๊อกจอก 10.ป๋างลอง
    11.ฝายขุน 12.หลอยแหลม 13.ป๋างโหลง 14.ลายค่า 15.น้ำจ๋าง
    16.กุ๋นฮิง 17.เมืองนาย 18.ลางเคอ 19.หมอกใหม่ 20.เมืองปั่น
    21.เกซี 22.เมืองกึ๋ง 23.เมืองสู้ 24.เมืองหนอง

    หัวเมืองทางภาคตะวันออก
    1.เชียงตุง 2.เมืองเป็ง 3.เมืองยาง 4.เมืองขาก 5.เมืองโต๋น
    6.เมืองสาด 7.ต้าขี้เล็ก 8.เมืองยอง 9.เมืองพยาก 10. เมืองลา

    ชนเผ่าต่าง ๆ ในรัฐฉาน

    ชนเผ่า
    ถิ่นที่อาศัย
    ไทยใหญ่
    กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของรัฐฉาน
    อาข่า
    ภาคตะวันออกแทบเชียงตุง
    อังซา
    หนองฮายหญ้า (ภาคใต้)
    แอ่น
    ทางตะวันออกเชียงตุง
    คะฉิ่น (ขาง)
    ภาคเหนือ
    จีน
    ส่วนใหญ่อยู่ภาคเหนือ แถบโกก้าง หลองหม่อ และทั่วไป
    ตะอาง (ปะหล่อง
    ภาคเหนือแถบดอยน้ำสั่น
    ต่องเลอ
    ภาคใต้และภาคตะวันตก
    ทะนุ
    ทางทิศตะวันตก (ติดพม่า) และภาคใต้
    ปะโอ (ต่องสู่)
    ทางทิศตะวันตกและภาคกลาง
    ปะต่อง (ยางแดง)
    ทางทิศใต้
    พม่า
    ส่วนใหญ่อยู่ในตัวเมือง
    กระเหรี่ยง
    อยู่ทางภาคกลางและทิศใต้
    ลาหุ
    อยู่ทางภาคตะวันออก
    ลิซอ
    อยู่ภาคเหนือและใต้
    ว้า
    อยู่ภาคตะวันออก


    เหตุการณ์ปัจจุบันในรัฐฉาน
    1. ประชาชนในตัวเมือง

    แต่ละเมืองจะมีกองทหารพม่าประจำอยู่ทางเข้าและทางออก สำหรับด้านที่ไม่มีกองทหารตั้งทัพอยู่ก็จะเกณฑ์ให้ชาวบ้านสร้างรั้วล้อมรอบเขตชานเมืองทุกด้าน ทางเข้าและทางออกจะมีด่านตรวจ และมีการเปิด-ปิดเป็นเวลา ด้านที่ไม่มีทหารอยู่ ประชาชนต้องทำด่านไว้ แล้วก็สับเปลี่ยนกันวันละบ้านไปเฝ้าเป็นยามตลอด 24 ชั่วโมง หากมีอะไรผิดสังเกตต้องรายงานให้ทราบทันที หากมีญาติมาพักแรมตามบ้าน หรือมีแขกมาพักตามโรงแรมต้องรายงานเจ้าหน้าที่ทหารให้ละเอียด แต่ละเมือง (จังหวัด) จะมีการเปิดบ่อนการพนัน และหวยอย่างเสรีทั้งกลางวันและกลางคืน โดยต้องส่งบำเหน็จให้ทหาร
    ระบบเก็บภาษีมีสองแบบ แบบหนึ่งต้องเสียเป็นรายปี แบบที่สองเป็นแบบที่ไม่มีข้อกำหนด โดยขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าหน้าที่ แต่ประชาชนต้องเสียทั้งสองรูปแบบ เจ้าหน้าที่จะทำหนังสือถึงผู้ใหญ่บ้านเองว่า ต้องการอะไร จำนวนเท่าใด และต้องส่งให้ถึงมือเจ้าหน้าที่เมื่อใด สิ่งที่ถูกสั่งให้จัดให้มีหลายรูปแบบ เช่น เงิน รถ เกวียน กำลังคนทำงาน มีทั้งงานลูกหาบ และงานอื่น ๆ (ทหารพม่าทำไร่ ทำนาเอง โดยบังคับให้ชาวบ้านทำให้) การขุดหลุมเพาะ การเก็บเกี่ยวพืชผล พืชธัญญาหารอื่น ๆ ไม้สัก ไม้ไผ่ ไม้ฝา ไม้พื้น ไม้รั้ว ฟืน น้ำ ม้า วัว ควาย ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดนี้ ไม่มีการกำหนดเป็นระยะเวลาที่แน่นอนที่จะต้องส่งให้ แต่ขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าหน้าที่ทั้งจำนวนรายการ และวันเวลาที่ต้องจัดส่งให้

    ชนบทเป็นถิ่นที่ทหารพม่าควบคุมไม่ถึง แต่จะมีการราดตระเวนเป็นครั้งคราว ในถิ่นชนบทที่ห่างไกลตัวเมืองประมาณ 10 กิโลเมตรขึ้นไป ถูกกำหนดให้เป็นเขตพื้นที่สีแดง


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...