"ในกาลในสมัยเดียวนั้นเอง สามารถที่จะพิจารณาสติปัฏฐานทั้งสี่นี้ไปพร้อม ๆ กันได้"

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ปราบเทวดา, 25 พฤศจิกายน 2019.

  1. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    เกร็ดธรรม

    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

    คำว่าพิจารณาจิต จะพิจารณาอย่างไร..

    จิตก็พิจารณาเจตสิกซึ่งเกิดขึ้นจากใจนั่นเอง
    ว่าไปสำคัญมั่นหมายในกายในเวทนาเหล่านี้ เป็นอะไรบ้าง
    ปรุงแต่งจะเป็น กายนอกก็ตาม กายในก็ตาม ปรุงว่าอย่างไร หมายว่าอย่างไร
    กำหนดพิจารณาตามกระแสของใจ สิ่งที่ไปหมายหรืออารมณ์เหล่านั้น เป็นธรรมขึ้นมาแล้วที่นี่ เรียกว่าเป้าหมายนั่นเอง

    อารมณ์ที่จิตพิจารณา ที่จิตจดจ่อนั้น

    เรียกว่า

    เป็นเป้าหมายของใจ เป้าหมายนั้นเอง ท่านเรียกว่า ธรรม




    ทีนี้ ท่านว่าพิจารณา เวทนาใน เวทนานอก
    อันนี้เป็นปัญหาอันหนึ่ง ส่วนกายใน กายนอก เราพอทราบกันได้ชัด
    เช่น อย่างกายของคนอื่นหรือเราไปเยี่ยมป่าช้า ก็แสดงว่าเราไปพิจารณากายนอก
    แต่เวทนาในนี้ จะหมายถึงเวทนาอะไร เวทนานอกหมายถึง เวทนาอะไร
    เวทนานอก ถ้าเราจะไปหมายคนอื่นเป็นทุกข์ทนลำบาก
    หากเขาไม่แสดงกิริยามารยาทอาการให้เราเห็นว่าเขาเป็นสุขหรือเป็นทุกข์แล้ว
    เราจะมีช่องทางหรือโอกาสพิจารณาเวทนาของเขาได้อย่างไร นี่เป็นปัญหาอยู่

    แต่นี้ เพื่อจะให้เป็นสิ่งสำเร็จรูปในทางด้านปฏิบัติของเรา จะถูกก็ตามผิดก็ตาม
    ข้อสำคัญให้ถือเอาผลประโยชน์ซึ่งเกิดขึ้นในการกระทำของตน
    เป็นความสุข
    เป็นไปเพื่อความสงบ
    เป็นไปเพื่อความแยบคาย
    เป็นไปเพื่อความเฉลียวฉลาดแล้ว

    ให้ถือว่า นั้นเป็นของใช้ได้
    เป็นการถูกกับหลักธรรมของพระพุทธเจ้า

    เพราะฉะนั้น ในสถานที่นี้ หรือเวลานี้
    จะขออธิบายตามอัตโนมัติ
    หรือความรู้โดยตนได้พิจารณาอย่างไร ให้บรรดาท่านทั้งหลายฟัง
    เวทนานอกนั้นหมายถึงกายเวทนา เวทนาในหมายถึงจิตเวทนา
    คือ เวทนาซึ่งเกิดขึ้นในส่วนแห่งกาย จะเป็นการเจ็บท้อง ปวดหัวก็ตาม เจ็บส่วนแห่งอวัยวะ
    หรือปวดที่ตรงไหน ทุกข์ที่ตรงไหนก็ตาม

    ในส่วนแห่งอวัยวะนี้ ทั้งหมดเรียกว่าเป็น เวทนานอก
    จะเป็นสุขทางกายก็ตาม
    เฉยๆขึ้นทางกายก็ตาม
    จัดว่าเป็นเวทนานอกทั้งนั้น

    ส่วนเวทนาในนั้น หมายถึงใจได้รับอารมณ์อันใดขึ้นมา
    เพราะอำนาจของสมุทัยเป็นเครื่องผลักดัน
    เกิดความทุกข์ขึ้นมาบ้าง
    เกิดความสุขความรื่นเริงขึ้นมาบ้าง
    เฉยๆ บ้าง เรียกว่าเวทนาใน

    การพิจารณาเวทนานอก การพิจารณาเวทนาใน มีไตรลักษณ์เป็นเครื่องยืนยันหรือเป็นเครื่องตัดสิน
    เป็นเครื่องดำเนินด้วยกันทั้งนั้น

    แต่เมื่อเราได้พิจารณาในส่วนกายให้เห็นชัด
    ส่วนเวทนานอกขึ้นอยู่กับกายนี้ชัดแล้ว
    แม้จะพิจารณาเวทนาส่วนภายในนี้ก็ย่อมจะชัดไปได้
    เพราะอำนาจของปัญญาที่มีความละเอียดเข้าไปเป็นลำดับ

    นี่การพิจารณาสติปัฏฐานพิจารณาอย่างนี้

    พิจารณาจิต ตามปริยัติท่านกล่าวไว้นั้น
    บรรดาท่านผู้ฟังทั้งหลายก็พอเข้าใจแล้ว

    กระแสของใจเรามีความเกี่ยวข้องกระดิกพลิกแพลงไปในอารมณ์อันใด
    คอยสังเกตความเคลื่อนไหวของใจอยู่เสมอ นี่เรียกว่าพิจารณาจิต
    คือ พิจารณาในขณะเดียวกันนั่นเอง

    เวลานั่งหรือเวลายืนเวลาทำความเพียรอยู่นั้นเอง
    ในกาลในสมัยเดียวนั้นเอง
    สามารถที่จะพิจารณาสติปัฏฐานทั้งสี่นี้ไปพร้อม ๆ กันได้

    เพราะอาการทั้งสี่นี้เป็นสิ่งที่ปรากฏขึ้นสับสนปนเปกันอยู่ตลอดเวลา
    ไม่ได้มีการกำหนดว่า
    กายจะต้องปรากฏขึ้นก่อน
    แล้ว เวทนาเป็นที่สอง
    จิตเป็นที่สามธรรมเป็นที่สี่

    ไม่ใช่อย่างนั้น

    เป็นสิ่งที่สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน
    อยู่ทั่วสรรพางค์ร่างกาย
    และจิตใจของเราล้วนแล้วตั้งแต่เป็นเรื่องของสติปัฏฐาน ๔ ทั้งนั้น

    การที่เราจะพิจารณาในส่วนสภาวะทั้งหลาย
    ที่ปรากฏขึ้นมาสัมผัสกับใจของเราส่วนใดนั้นเป็นเรื่องถูกต้อง


    อ่านต่อที่นี่ http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/lt_bua/lt-bua_03.htm
     
  2. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    สจฺจํ เว อมตา วาจา
    อ่านว่า
    สัจจัง เว อะมะตา วาจา

    แปลว่า
    : คำจริงเป็นสิ่งไม่ตาย
     

แชร์หน้านี้

Loading...