ในหลวง-การดนตรี'เราต้องด้นเพลงเป็นหมู่'

ในห้อง 'Music & Karaoke' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 3 ธันวาคม 2010.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,487
    ในหลวง-การดนตรี 'เราต้องด้นเพลงเป็นหมู่'

    ศิริรัตน์ สิวราวุฒิ - รายงาน




    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    พระอัจฉริยภาพและความสนพระราชหฤทัยทางด้านดนตรีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช เป็นสิ่งหนึ่งที่ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระราชสมัญญาว่า "อัครศิลปิน"

    ทรงสร้างสรรค์บทเพลงพระราชนิพนธ์ที่ติดตรึงใจปวงชนชาวไทยตลอดมา ทั้งเนื้อหาและทำนองที่คุ้นหู ด้วยภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

    ในวโรกาสการเป็นมงคลที่จะครบ 84 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปี 2554 นายเบนจามิน จาฟฟี่ (Benjamin Jaffe) หัวหน้าวงดนตรี The Preservation Hall Jazz Band ผู้ถวายการแสดงดนตรีในรูปแบบนิวออร์ลีนส์ แจ๊ซ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หลายครั้ง รวมถึงงาน "กาลาดินเนอร์เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2553 ได้ร่วมจัดทำ "โครงการเพลงพระราชนิพนธŒเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา" ที่จัดทำขึ้นโดย บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ JAZZ SYNDICATE

    โดยคัดเลือกบทเพลงพระราชนิพนธ์ 14 เพลง รวมถึงประพันธ์เพลงพิเศษเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในชื่อ "The Royal Celebration 2011" และดำเนินการบันทึกเสียง ที่เมืองนิวออร์ลีนส์ รัฐหลุยเซียนา สหรัฐอเมริกา โดยได้รับพระมหา กรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงระนาดไฟฟ„าร่วมกับวงในแผ่นบันทึกเสียง

    ที่สำคัญทรงวาดภาพฝีพระหัตถ์เป็นภาพปีนักษัตรในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นปกของแผ่นบันทึกเสียงชุดนี้

    แผ่นบันทึกเสียงจะเริ่มจำหน่ายวันที่ 5 ธ.ค.นี้ ที่ร้านทรูช็อป



    นายเบนจามิน กล่าวว่า โครงการนี้ได้มีแนวคิดมานาน และดนตรีนิวออร์ลีนส์ แจ๊ซ เป็นแนวดนตรีที่ค่อนข้าง เก่าแก่ โดยวง The Preservation Hall Jazz Band ได้มีโอกาส มาประเทศไทยครั้งแรกเมื่อปี 2531 ซึ่งตอนนั้นได้รับพระมหากรุณาคุณให้เล่นถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากนั้นก็ได้มาประเทศไทยอยู่บ่อยครั้ง เพลงพระราชนิพนธ์นั้น เป็นเพลงที่ติดหู ฟังทำนองครั้งเดียวก็จำได้ มีการแสดงออกถึงอารมณ์ได้ดี มีความสนุกสนาน และได้รับความนิยมได้อย่างรวดเร็ว

    "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระปรีชาสามารถมาก เพลงอะไรที่เล่นก็ทรงได้หมด ไม่เพียงแต่พระราชนิพนธ์ เพลงของวง The Preservation Hall Jazz Band ทรงรู้จักหมด โปรดดนตรีแนวนิวออร์ลีนส์ แจ๊ซ เพราะมีลักษณะการเล่นที่ต้องเล่นพร้อมกัน ไม่ได้ผลัดกันเล่น ซึ่งผมเชื่อว่าเป็นสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวโปรด ผมรู้สึกได้
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ทรงรับว่าการเล่นดนตรีในแนวนิวออร์ลีนส์ แจ๊ซ เราต้องด้นเพลงเป็นหมู่ หมายถึงการเล่น ที่ไม่เพียงแค่ตามโน้ต ตามคอร์ดเท่านั้น การเล่นต้องเล่นด้วยกัน ไม่ขัดกัน แต่ละคนก็ไม่ได้ กำหนดว่าจะเล่นอย่างไร แต่ทุกคนมารวมกันเป็นกลุ่มได้นั้นคือสังคม ที่พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวทรงต้องการ ทรงเล็งเห็นว่ามันเป็นแบบอย่างที่ดี" นายเบนจามิน กล่าว





    หัวหน้าวงดนตรีเพรเซอร์เวชั่นฯ กล่าวว่า ภูมิใจในวัฒนธรรมของตนเอง และภูมิใจว่าครึ่งโลกดนตรีชนิดนี้เข้าถึงจิตใจ คนได้ และที่สำคัญคือ เข้าถึงพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แนวดนตรีนิวออร์ลีนส์ แจ๊ซ ไม่เหมือนดนตรีอย่างอื่น หรืองานอย่างอื่น ที่เลิกงานแขวนเสื้อแล้วก็จบงาน พอเราเป็นนักดนตรีโดยเฉพาะที่เล่นนิวออร์ลีนส์ แจ๊ซ เราเป็นนักดนตรีตลอด 24 ชั่วโมง

    "จากที่ได้สัมผัสถึงพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผมเชื่อว่าทรงเป็นเช่นนี้เหมือนกัน ซึ่งหลังจากที่ได้เล่นถวายครั้งล่าสุด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีรับสั่งกับผมด้วยว่า ขอบใจที่ได้เดินทางมาให้กำลังใจให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง รับสั่งถามถึงเพื่อนร่วมวงคนอื่นๆ ด้วย ทรงรู้จักทุกรุ่น โอกาสพิเศษนี้ ได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระเกียรติให้ทรงเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของวงแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถือเป็นพระองค์เดียวในโลกที่ถวายพระเกียรตินี้ โดยได้นำเสื้อแจ๊กเกตของวง ที่มีเฉพาะสมาชิกเท่านั้น นำถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และรู้สึกได้ว่าทรงยินดี" นายเบนจามิน กล่าว



    ด้าน ดร.ภาธร ศรีกรานนท์ ผู้ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร่วมบรรเลงดนตรีใน วงดนตรี อ.ส.วันศุกร์ หรือ อัมพรสถานวันศุกร์ ประพันธ์และเรียบเรียงเสียงประสานเพลงต่างๆ ถวาย กล่าวว่า ดนตรีแนวนิวออร์ ลีนส์ แจ๊ซ เป็นแจ๊ซที่ในหลวงฟัง ตั้งแต่ที่ประทับอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ โปรดสไตล์นี้เป็นพิเศษ

    หากเราดูจากเพลงพระราชนิพนธ์บทแรกแสงเทียนนั้น มีอายุกว่า 60 ปี แสดงว่าสมัยนั้น พระองค์ทรงล้ำสมัยมาก ทรงนำเพลงพระราชนิพนธ์ต่างๆ และเผยแพร่ให้กับประชาชนชาวไทย เพราะฉะนั้นเพลงพระราชนิพนธ์เป็นเพลงที่เป็นพื้นฐานที่สำคัญของเพลงสมัยนิยมในสมัยปัจจุบัน
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    1.แมนรัตน์ ศรีกรานนท์

    2.นายเบนจามิน จาฟฟี่-ดร.ภาธร ศรีกรานนท์


    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    เพลงพระราชนิพนธ์เป็นรากฐานที่สำคัญยิ่ง เพราะหลังจากนั้นมา ไม่ว่าจะเป็นสุนทราภรณ์ หรืออีกหลายๆ วง ก็มีพื้นฐานจากเพลงพระราชนิพนธ์ทั้งสิ้น และเพลงพระราชนิพนธ์ก็มีรากฐานมาจากเพลงนิวออร์ออร์ลีน แจ๊ซ ดนตรีแนวนี้ มีฟังก์ชันหลายอย่าง ทั้งการเต้นรำและรื่นรมย์ และขณะเดียวกันก็มีหลักสอนใจให้คนสามัคคีกัน เวลาเราเล่นด้นสดไปด้วยกัน ต้องอาศัยกันไม่ใช่ต่างคนต่างไป

    สำหรับเพลงพระราชนิพนธ์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเล่นเสมออันดับต้นๆ คือ เพลงเกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย ตาม ด้วย ใกล้รุ่ง ดวงใจกับความรัก และแสงเทียน ส่วนเครื่องดนตรีชิ้นโปรดนั้นคือ แซ็กโซโฟน คลาริเน็ต และทรัมเป็ต รวมถึงเครื่องดนตรีอีกหลายๆ ชิ้น



    "การทรงดนตรีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในความรู้สึกของผมนั้น ผมมองว่าคนส่วนมากจะรู้จากสื่อต่างๆ ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระปรีชาสามารถมากในการดนตรี แต่คนส่วนมากนั้น ไม่รู้ว่าพระองค์มีความสามารถเช่นไร อย่างนั้นมันไม่พอ ในสายตาของผมนั้น พระองค์เก่งจริงๆ คนเราเก่งอย่างใดอย่างหนึ่งได้มันก็มากพอ แต่สำหรับพระองค์นั้นเก่งหลายอย่าง ถามว่ารู้ได้อย่างไร ผมเป็นนักวิชาการด้านดนตรี วิจัยและวิเคราะห์เพลงได้

    จากการที่ผมได้มีโอกาสเฝ้าฯ รับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท ทำให้ผมรับรู้ได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีความคิดในแบบบูรณาการ เอาสิ่งหนึ่งมารวมกับสิ่งหนึ่งและต่อยอดได้อย่างดีเยี่ยม ทรงฉลาดมาก เวลาทรงดนตรี พระองค์เหมือนหลุดไปอีกโลกหนึ่ง เป็นเวลาที่ส่วนพระองค์มากๆ ซึ่งผมสัมผัสได้ด้วยญาณ เวลาทรงดนตรีจะทรงลึกซึ้งมาก โดยเฉพาะดนตรีแจ๊ซที่ไม่ง่าย แม้ว่าจะเป็นการด้นเพลงสด ก็ต้องมีไหวพริบเท่าๆ กับคนที่ร้องลำตัด ต้องมีการสื่อความหมายและภาษาต่างๆ สิ่งนี้ไม่ได้ทำได้ทุกคน" ดร.ภาธร กล่าว

    สมาชิกแห่งวง อ.ส.วันศุกร์ กล่าวด้วยว่า การถวายงานนั้นทำให้ได้แรงบันดาลใจในการทำงานด้านดนตรีในหลายๆ อย่าง ขณะนี้เป็นครูสอนดนตรี ได้เทคนิคการเล่น เทคนิคการประพันธ์ การเรียบเรียงเสียงประสาน หลายๆ อย่างเรียนมาจากพระองค์ เรียกได้ว่าตั้งแต่เด็กๆ ที่ได้มีโอกาสเห็นพระองค์ทรงดนตรีนั้น เป็นสิ่งที่ได้มาทั้งหมด



    ส่วนสิ่งที่ได้มาทางอ้อมนั้น คือ หลักการดำเนินชีวิต เช่น รับสั่งว่า "การเล่นดนตรีต้องอาศัยความสามัคคี เราต้องอยู่กันเป็นกลุ่มก้อน" ซึ่งผมมองว่าประชาธิปไตยไม่ได้คือ เสียงส่วนใหญ่ของประชาชน ประชาธิปไตยคือการอยู่ร่วมกันด้วยความสามัคคีและเสมอภาค ทุกส่วนมีความคิดเสมอกัน การเล่นดนตรีในวงหนึ่งวง สามารถตอบอะไรได้หลายอย่าง ถ้าเกิดเราเข้ากับวงไม่ได้ก็ตายตั้งแต่ต้น เหมือนความคิดเห็นที่ไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ ทุกคนมีพื้นที่ฐานที่ไม่เหมือนกัน เราสามารถปรับเข้ากันได้ แต่ถ้าหากว่าทุกคนต่างเล่นในแบบของตนเอง ไม่ต้องมายุ่งก็ต้องไปคนเดียว

    ดร.ภาธร กล่าวถึงบทเพลงพระราชนิพนธ์ ว่า แต่ละเพลงมีความหมายที่ไม่เหมือนกัน ให้ความรู้สึกที่ไม่เหมือนกัน เพลงที่ผมประทับใจที่สุดคือเพลง เกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย (When) เป็นเพลงที่เรารู้สึกว่าอยู่ในตัวเราตลอดเวลา ไม่ว่าจะหลับจะตื่นจะกินข้าว ส่วนเพลงที่ชอบคือ เพลงยิ้มสู้ (Smiles) ชอบในสิ่งที่พระองค์ต้องการสื่อ ซึ่งพระราชทานให้กับสมาคมคนตาบอดฯ



    ด้าน เรืออากาศตรี ศ.พิเศษ ดร.แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ ศิลปินแห่งชาติ (ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์) วัย 83 ปี บิดาของ ดร.ภาธร กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นนักดนตรีที่เยี่ยมมาก พระองค์ไม่ได้ศึกษาทางด้านนี้ แต่ทรงพระปรีชาอย่างมาก โน้ตต่างๆ ทรงได้หมดแม้กระทั่งไม่มีโน้ต อีกทั้งในเรื่องการนิพนธ์เพลงขึ้น ทรงพระอัจฉริยภาพในการแต่งเนื้อเพลง ฟังครั้งใดก็รู้สึกประทับใจ เวลาทรงดนตรีมักมี พระอารมณ์ขัน ด้วยการขึ้นเพลงและให้ผู้ร่วมวงทายชื่อเพลงอยู่เสมอ

    "พระองค์ทรงเป็นแบบอย่างด้านดนตรีแจ๊ซที่ดี ทรงแม่นยำ เรื่องโน้ตมาก จนทำให้เรารู้สึกเกร็งเพราะกลัวว่าจะเล่นผิด หากเมื่อคนในวงเล่นผิดพระองค์จะคอยสอน แต่ถ้าคนไหนที่รู้แล้วพระองค์จะไม่รับสั่งอย่างใด นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิ ได้ที่ได้รับใช้พระองค์ท่าน เป็นแมนรัตน์ทุกวันนี้ได้ด้วยพระมหา กรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน พระองค์ทรงเหมือนพ่อที่ทำทุกอย่างให้กับคนไทย ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญ" เรืออากาศตรี ศ.พิเศษ ดร.แมนรัตน์ กล่าว


    ----------
    ข่าวสดออนไลน์
    ����ǧ-��ô���� &#039��ҵ�ͧ�����ŧ��������&#039 : ����ʴ�͹�Ź�==
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. Pinit

    Pinit ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    2,736
    ค่าพลัง:
    +8,006
    แม้ปุ่มอนุโมทนาจะหายไป แต่ตุ่มอนุโมทนาด้วยหัวใจ ไม่เคยจาง

    เรารักในหลวง
    (f)​
     
  3. titawan

    titawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2008
    โพสต์:
    2,290
    ค่าพลัง:
    +5,139
    ขำพี่นิตอ่ะ ฟ้าขอโอ่งแล้วกันเนอะ ใหญ่กว่าตุ่มป่ะ โอ่งมังกรราชบุรีนะ อนุโมทนาสาธุคะพี่ตา
     
  4. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,487
    ฟ้าอ่ะ...๕๕๕๕๕๕
    อุตส่าห์ไม่แซวพี่นิจแล้ว..
    ตอนอ่าน ก็จะนั่งอมยิ้มอยู่
    ซึ้งกับถ้อยคำคอมเม๊นท์ซะมากกว่า
    ชอบตรงนี้อ่ะ มีความหมาย และดูเก๋ดี ^_^


    เรารักในหลวง
     
  5. Pinit

    Pinit ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    2,736
    ค่าพลัง:
    +8,006
    5555 ก็ในเว็บมีปุ่ม อนุโมทนา เพราะมันเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า
    แต่ในตัวผมหรือร่างกายของคนอะ มันไม่มีปุ่มกดหรอก
    มันจะมีได้แค่ตุ่ม เหมือนพวกถูกยุงกัดไง อิอิ
    หรือพวกอีสุกอีใส ก็เป็นตุ่มนะ
    ผมว่าผมคิดถูกแล้วเชียวนะ 555
    ดีไม่บอกว่าเป็นต่อม เหมือนต่อมทอมซิลอักเสบ

    แต่ช่วงนี้ผมรู้สึกว่าต่อมอิ่มมันอักเสบอยู่นะ
    เพราะกินเท่าไหร่ก็ไม่รู้สึกอิ่ม แฮ่ๆๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...