ไตรภูมิพระร่วง ฉบับสมบูรณ์...เผยความลับ 31 ภูมิ

ในห้อง 'ภพภูมิ-สวรรค์ นรก' ตั้งกระทู้โดย สัตบุรุษ, 3 กุมภาพันธ์ 2009.

  1. สัตบุรุษ

    สัตบุรุษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    733
    ค่าพลัง:
    +840
    ไตรภูมิกถา หรือ ไตรภูมิพระร่วง เป็นวรรณคดีทางพุทธศาสนาที่เก่าแก่และสำคัญเล่มหนึ่งของไทย มีอายุกว่า 600 ปี แต่งขึ้นโดยพญาลิไทย (พระมหาธรรมราชาที่ 1) พระมหากษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์พระร่วง เมื่อ พ.ศ. 1888 นับเป็นเวลา 7 ปีก่อนที่จะเสด็จออกผนวชในพ.ศ. 1905






    <CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>ไตรภูมิพระร่วง</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER>
    ไตรภูมิพระร่วง ทรงแต่งขึ้นเพื่อเทศนาแก่พระมารดาและสั่งสอนประชาชน ได้ทรงแสดงข้อคิดเห็นเกี่ยวกับหลักในพระพุทธศาสนา ตลอดจนชี้ให้เห็นผลบาปและผลบุญที่คนทั้งหลายได้กระทำไว้ แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถและอัจฉริยภาพของบรรพบุรุษไทยในการนิพนธ์วรรณคดี และเป็นผู้มีจิตวิทยาสูง



    เนื่องจากการก่อตั้งอาณาจักรขึ้นใหม่ ย่อมต้องการความร่วมมือร่วมใจของประชาชนให้อยู่ในศีลธรรม ระเบียบวินัย รู้บาปบุญคุณโทษ และยึดมั่นในศาสนา เพื่อสามารถต่อสู้กับศัตรูรอบด้านที่คอยคุกคาม อีกทั้งยังแสดงความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและวิทยาศาสตร์ เช่นตอนพรรณาถึงกำเนิดมนุษย์ ทั้ง ๆ ที่ในสมัยสุโขทัย วิทยาศาสตร์ยังไม่ก้าวหน้าดังเช่นปัจจุบัน จุดมุ่งหมายสำคัญในไตรภูมิพระร่วงนี้ เพื่อให้คนเกรงกลัวต่อบาป ประกอบแต่กรรมดี โดยแบ่งออกเป็น 3 ภูมิใหญ่ คือ กามภูมิ 11 รูปภูมิ 16 อรูปภูมิ 4 รวมเป็น 31 ภูมิ เรียกว่า ไตรภูมิ ผลบาปและผลบุญของผู้กระทำจะส่งให้ผู้นั้นไปเกิดในภูมิต่าง ๆ กัน ผู้กระทำแต่บาปหยาบช้า อกตัญญูไม่รู้คุณบิดามารดา เมื่อตายจะไปเกิดในภูมิชั้นต่ำคือนรกภูมิ ภูมิชั้นต่ำสุดในกามภูมิ ที่มีขุมนรกลดหลั่นลึกลงไปถึง 8 ขุม หรือเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เปรต หรือ อสุรกาย ตามแต่ผลบาปที่ได้กระทำไว้

    ถ้าประพฤติตนอยู่ในศีลในธรรมประกอบแต่กรรมดี ก็จะได้ไปเสวยสุขในภูมิที่สูงขึ้นไปตามผลบุญที่ได้กระทำ ผู้ที่ทำทั้งบุญและบาป ก็จะไปเกิดเป็นเปรตสลับกับเทวดา จนหมดสิ้นกรรมที่ทำไว้ เมื่อเกิดเป็นเทวดาในสวรรค์แล้วไม่หลงในสุขสมบัติ ฝึกจิตสมาธิให้หมดจากกิเลส ก็จะได้ไปเกิดเป็นพรหมในรูปภูมิและอรูปภูมิ แม้จะอยู่ในอรูปภูมิที่มีเพียงแต่จิต แต่จิตยังดับกิเลสไม่หมด จิตนั้นก็ยังมีดับและเกิดใหม่ ในไตรภูมินี้ได้แสดงให้เห็นความน่ากลัวในนรก และความสุขความสวยงามในสวรรค์อย่างชัดเจน

    เพื่อให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจได้ง่ายถึงผลของการทำดีและทำชั่ว และการเวียนว่ายตายเกิด อันเป็นผลจากกรรมที่ผู้นั้นได้กระทำไว้ จุดมุ่งหมายสำคัญก็คือ ให้หมั่นฝึกจิตสมาธิเพื่อเข้าถึง ศีล สมาธิ ปัญญา ตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ อริยสัจ 4 และ มรรค 8 ให้เกิดปัญญาในการพิจารณาปัญหาต่าง ๆ ถ้าเราปฏิบัติได้ดั่งนี้ เราก็สามารถลดปัญหาและความทุกข์ต่าง ๆ ที่เผชิญอยู่ลงไปได้มาก จึงให้รู้ ลด ละ เลิก ในโลภ โกรธ หลง หมั่นฝึกจิตสมาธิให้ปราศจากกิเลส

    ตามหลักการของพระพุทธศาสนา อันว่าเกิดมาจะได้สสุขสมบัติในเทวโลกก็ดี มนุษยโลกก็ดี ยังคงแตกดับสูญสลายไป มีแต่นิพพานสุขเท่านั้นที่หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้








    <CENTER></CENTER><CENTER></CENTER>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 สิงหาคม 2009
  2. สัตบุรุษ

    สัตบุรุษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    733
    ค่าพลัง:
    +840
    <CENTER>ไตรภูมิพระร่วง ของ พระญาลิไทย</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๐๖</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>เตภูมิกกถา</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>บานแพนก</CENTER>
    หนังสือไตรภูมิฉบับนี้ ว่าเป็นของพระเจ้ากรุงศรีสัชนาลัยสุโขทัย ผู้ทรงพระนามว่าพระญาลิไทยได้แต่งขึ้นไว้เมื่อปีระกา ศักราชได้ ๒๓ ปี ต้นฉบับหอสมุดวชิรญาณได้มาจากเมืองเพชรบุรี เป็นหนังสือ ๑๐ ผูก บอกไว้ข้างท้ายว่า พระมหาช่วย วัดปากน้ำ ชื่อวัดกลาง (คือวัดกลางเมืองสมุทรปราการเดี๋ยวนี้) จารขึ้นไว้ในรัชกาลเจ้าเมืองกรุงธนบุรีเมื่อ ณ เดือนสี่ ปีจอสัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๑๔๐



    เมื่ออ่านตรวจดู เห็นได้ว่า หนังสือเรื่องนี้เป็นหนังสือเก่ามาก มีศัพท์เก่า ๆ ที่ไม่เข้าใจและที่เป็นศัพท์ อันเคยพบแต่ในศิลาจารึกครั้งสุโขทัยหลายศัพท์ น่าเชื่อว่าหนังสือไตรภูมินี้ ฉบับเดิมจะได้แต่งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยจริง แต่คัดลอกสืบกันมาหลายชั้นหลายต่อ จนวิปลาสคลาดเคลื่อน หรือบางทีจะได้มีผู้ดัดแปลงสำนวนและแทรกเติม ข้อความเข้าเมื่อครั้งกรุงเก่าบ้าง ก็อาจจะเป็นได้ ถึงกระนั้นโวหารหนังสือเรื่องนี้ยังเห็นได้ว่าเก่ากว่าหนังสือเรื่องใดใดในภาษาไทย นอกจากศิลาจารึกที่ได้เคยพบมา จึงนับว่าเป็นหนังสือเรื่องดีด้วยอายุประการ ๑


    ว่าถึงผู้แต่งหนังสือไตรภูมินี้ พระเจ้าแผ่นดินสยามที่ได้ครอบครองราชสมบัติครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ตามที่สอบในศิลาจารึกประกอบกับหนังสืออื่น ๆ ได้ความว่า มี ๖ พระองค์ คือ


    ๑.ขุนอินทราทิตย์ หนังสือตำนานพระสิหิงค์เรียกว่า พระเจ้าไสยณรงค์ หนังสือชินกาลมาลินีเรียกว่า โรจนราชา เสวยราชย์เมื่อใดอยู่ในราชสมบัติเท่าใดไม่ปรากฎ


    ๒. ขุนบาลเมือง หนังสืออื่นเรียก ปาลราช เป็นราชบุตรของขุนอินทราทิตย์ ศักราชไม่ปรากฎเหมือนกัน


    ๓. ขุนรามคำแหง หนังสืออื่นเรียก รามราช เป็นราชบุตรขุนอินทราทิตย์ เสวยราชย์เมื่อไรไม่ปรากฎ แต่เมื่อจุลศักราช ๖๕๔ ขุนรามคำแหง ครองราชสมบัติอยู่


    ๔. พระญาเลลิไทย หรือ เลือไทย หนังสืออื่นเรียก อุทโกสิตราชบ้าง อุทกัช์โฌต์ถตราชบ้าง ความหมายว่าพระยาจมน้ำ เห็นจะเป็นพระร่วงองค์ที่ว่าจมน้ำหายไปในแก่งหลวง เป็นราชบุตรขุนรามคำแหง ศักราชเท่าใดไม่ปรากฎ


    ๕. พระญาลิไทย หรือ ฤไทยราช หรือ ฤๅไทยไชยเชฐ พระนามเต็มที่ถวายเมื่อราชาภิเษกว่า ศรีสุริยพระมหาธรรมราชาธิราช ซึ่งแต่งหนังสือไตรภูมินี้ เป็นราชบุตรพระญาเลลิไทย หนังสืออื่นเรียก ลิไทยราช เมื่อจุลศักราช ๖๗๙ เสวยราชย์อยู่สิ้นพระชมน์เมื่อจุลศักราช ๗๐๙


    ๖. พระเจ้าศรีสุริยพงษ์รามมาธรรมิกราชาธิราช นอกจากศิลาจารึก หนังสืออื่นไม่ได้กล่าวถึง เป็นราชบุตรพระญาลิไทย เสวยราชย์เมื่อจุลศักราช ๗๐๙ อยู่จนเสียพระนครแก่สมเด็จพระบรมราชาธิราชกรุงศรีอยุธยา เมื่อจุลศักราช ๗๓๐


    บรรดาพระเจ้ากรุงสุโขทัย ดูเหมือนจะปรากฎพระนามในนานาประเทศ แลข้าขัณฑสีมาเรียกว่า สมเด็จพระร่วงเจ้า ต่อ ๆ กันมาทุกพระองค์ ไม่เรียกแต่เฉพาะพระองค์หนึ่งพระองค์ใดใน ๖ พระองค์นี้ และมูลเหตุไม่น่าเชื่อว่าเกี่ยวแก่เรื่องนายร่วง นายคงเครา อะไรอย่างที่เพ้อในหนังสือพงศาวดารเหนือซึ่งคนภายหลังอธิบาย เมื่อยังอ่านอักษรจารึกศิลาไม่ออก เพราะฉะนั้นเมื่อพิมพ์หนังสือนี้ จึงให้เรียกว่าไตรภูมิพระร่วง จะได้เป็นคู่กับหนังสือสุภาษิตพระร่วง ซึ่งคนภายหลังได้แต่งเป็นสำนวนใหม่เสียแล้ว


    ในศิลาจารึก ปรากฎว่าพระญาลิไทยอยู่ในราชสมบัติกว่า ๓๐ ปี และทรงเลื่อมใสในพระศาสนามาก อาจจะให้แต่งหนังสือเช่นเรื่องไตรภูมินี้ได้ด้วยประการทั้งปวง แต่ศักราชที่ลงไว้ในหนังสือ ว่าแต่งเมื่อปีระกา ศักราชได้ ๒๓ ปีนั้น จุลศักราช ๒๓ เป็นปีระกาจริง แต่เวลาช้านานก่อนรัชกาลพระญาลิไทยมากนัก จะเป็นจุลศักราชไม่ได้ เดิมเข้าใจว่าจะเป็นพุทธศักราชหรือมหาศักราช แต่ถ้าหากผู้คัดลอกทีหลังจะตกตัวเลขหน้าหรือเลขหลังไปสองตัว ลองเติม ลองสอบดูหลายสถาน ก็ไม่สามารถจะหันเข้าให้ตรง หรือแม้แต่เพียงจะให้ใกล้กับศักราชรัชกาลชองพระญาลิไทย ตามที่รู้ชัดแล้วในศิลาจารึกได้ ศักราช ๒๓ นี้จะเป็นศักราชอะไร ต้องทิ้งไว้ให้ท่านผู้อ่านสอบหาความจริงต่อไป

    เรื่องไตรภูมิ เป็นเรื่องที่นับถือกันแพร่หลายมาแต่โบราณ ถึงคิดขึ้นเป็นรูปภาพเขียนไว้ตามฝาผนังวัด และเขียนจำลองลงไว้ในสมุด มีมาแต่ครั้งกรุงเก่ายังปรากฎอยู่จนทุกวันนี้ แต่ที่เป็นเรื่องหนังสือในครั้งกรุงเก่า จะมีฉบับอื่นนอกออกไปจากไตรภูมิพระร่วงฉบับนี้หรือไม่มี ไม่ทราบแน่ ด้วยยังไม่ได้พบหนังสือไตรภูมิครั้งกรุงเก่า นอกจากที่เขียนเป็นรูปภาพไว้ในสมุด แต่ในกรุงรัตนโกสินทร์นี้


    เมื่อปีเถาะ จุลศักราช ๑๑๔๕ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงพระกรุณาโปรดให้พระราชาคณะและราชบัณฑิตช่วยกันแต่งนังสือไตรภูมิขึ้นจบ ๑ ต่อมาอีก ๑๙ ปี เมื่อปีจอจุลศักราช ๑๑๖๔ ทรงพระราชดำริว่า หนังสือไตรภูมิที่ได้แต่งไว้แล้วคารมไม่เสมอกัน ทรงพระกรุณาโปรดให้พระยาธรรมปรีชาแต่งใม่อีกครั้ง ๑ แต่ในบานแพนกพระราชดำริเรื่องแต่งหนังสือไตรภูมิทั้ง ๒ ฉบับนั้น ไม่ได้กล่าวให้ปรากฎว่ามีหนังสือไตรภูมิของพระญาลิไทยเลย

    แม้เพียงแต่จะว่าไตรภูมิของเก่าเลอะเทอะวิปลาส จึงให้แต่งใหม่ก็ไม่มี ไตรภูมิฉบับซึ่งหอพระสมุดได้มาจากเมืองเพชรบุรีนี้ ก็เป็นหนังสือจารแต่ครั้งกรุงธนบุรี เห็นจะซุกซ่อนอยู่แห่งใดที่เมืองเพชรบุรีในเวลานั้นไม่ปรากฎในกรุงเทพฯ จึงมิได้กล่าวถึงในบานแพนก โดยเข้าใจกันในครั้งนั้นว่า หนังสือไตรภูมิของเดิม จะเป็นฉบับพระญาลิไทยนี้ก็ตาม หรือฉบับอื่นครั้งกรุงเก่าก็ตาม สาบสูญไปเสียแต่เมื่อครั้งเสียกรุงเก่า


    จึงโปรดให้แต่งขึ้นใหม่ อย่างไรก็ดี หนังสือไตรภูมิพระร่วงนี้เป็นหนังสือเก่าซึ่งมีต้นฉบับแต่ในหอพระสมุดวชิรญาณจบ ๑ กับมีผู้ได้จำลองไว้ที่เมืองเพชรบุรีอีกจบ ๑ สมควรจะพิมพ์ขึ้นจนไว้ให้แพร่หลายมั่นคงอย่าให้สาบสูญไปเสีย กรรมการหอพระสมุดวชิรญาณคิดเนดังนี้ เมื่อเจ้าภาพในงานพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประสานศรีใส พระองค์เจ้าประเพศรีสอาด มีความประสงค์จะพิมพ์หนังสือแจกในงานพระเมรุพระเจ้าบรมวงศ์เธอทั้งสองพระองค์นั้ นมาขอความแนะนำกรรมการจึงได้เลือกเรื่องไตรภูมิพระร่วงให้พิมพ์ ด้วยเห็นความสมควรมีอยู่เป็นหลายประการ คือ


    <DL><DD> <DD>เป็นหนังสือเก่า ยังไม่มีใครจะได้เคยพบเห็น ประการ ๑ </DD></DL><DL><DD> <DD>เป็นหนังสือหายาก ถ้าไม่พิมพ์ขึ้นไว้ จะสูญเสียประการ ๑ </DD></DL><DL><DD> <DD>เป็นหนังสือชนิดที่ไม่มีใครจะพิมพ์ขาย เพราะจะไม่มีใครซื้อ ควรพิมพ์ได้แต่ในการกุศล ประการ ๑ </DD></DL>
    ถ้าท่านผู้ใดอ่านหนังสือนี้เกิดความเบื่อหน่าย ขอจงได้คิดเห็นแก่ประโยชน์ที่ได้พรรณนามาแล้ว และอนุโมทนาเฉพาะต่อที่ความเจตนาจะรักษาสมบัติของภาษาไทยมิให้สาบสูญเสียนั้นเป็นข้อสำคัญ



    หนังสือไตรภูมิพระร่วงนี้ ต้นฉบับเดิมเป็นอักษรขอม และมีวิปลาสมากดังกล่าวมาแล้ว ในการคัดเป็นหนังสือไทย นอกจากตัวอักษรแล้ว ไม่ได้แก้ไขถ้อยคำแห่งหนึ่งแห่งใดให้ผิดจากฉบับเดิมเลย แม้คาถานมัสการเอง ถ้าจะแปลเป็นภาษาไทย จะต้องแก้ไขของเดิมบ้าง จึงมิได้ให้แปล ทิ้งไว้ทั้งรู้ว่าบางแห่งผู้ลอกคัดเขียนผิดต่อ ๆ กันมาแต่ก่อน ขอให้ท่านผู้อ่านพิจารณาดูตามอัตโนมัติแห่งตน ๆ เทอญฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กุมภาพันธ์ 2009
  3. สัตบุรุษ

    สัตบุรุษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    733
    ค่าพลัง:
    +840
    <CENTER>หอสมุดวชิรญาณ วันที่ ๑ พฤษภาคม รัตนโกสินทร ศก ๑๓๑ คาถานมัสการ</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>วัน์ ทิต์วา สิรสา พุท์ธํ สหัส์ส ธัม์มํ คณมุต์ตมํ</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>อิทํ ติสํ เขปํ ปวัก์ขามิ กถํ อิธ ฯ</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>สุจิร ภฎิตุกามํ สัช์ชนาลิยสโมหํ</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>มธุร สมคนานํ ปารมี ปารุฬ์หถา</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>คุณยํ สรคัน์ธํ กัณ์ณิกา ฉกวัณ์ณํ</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>ชณจรณสโวชํ ปีติปาโมช์เฌ ภิวัน์เท</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>วิกสิตวิทิตานํ สัช์ชราโธตุณ์ณนํ</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>สัช์ชนหทยสา เม สาวนาภาเม กุสลยุเทน์ตํ</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>มกุสลติมรัน์ธํ ธสนํ ปาภูตํ</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>มุนิวร มวลัต์ธํ ธัม์มทีปภิวัน์เทมิ</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>สชนมนสโรชํ พุท์ ธิวารี สชผล</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>อุภริยภชิตัต์ต ธัม์มสการ สํกตํ</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>วิมลธวลสิสํ รสิธัญ์ญายุเปต</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>สสธรวรสยํ อุต์ตมัค์เค ภิวันต์เท</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>ชโนรณาวิณารวิภาเวน์โต เห อปาสาปัญ์ญวา</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>สัท์ธามลผลาพุท์ธํ พาสัจ์จธนาลโย</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>กูปภูปัน์ธยัน์โตโย ราชาสุนุรัท์ธชโก</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>สุโชเทย์ยนิริน์ทัส์ส ลิเทย์โยนามอัต์รโช</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>อภิราโมมหาปัญ์โญ ธิติมาจวิสารโธ</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>ทานาสีลลคุณูเปโต มาตาปิตุภโรปิจ</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>ธัม์มธโรสกุสโล สัพ์พสัต์เถจสุปากโฏ</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>อยํภูมิกถานาม รัญ์ญา เภเทนจ</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>สัช์ชนาลัย์ยธรัม์หิ ถปิตาทยภาสโต</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>พุช์ฌิตุสาสนัญ์เจว สัก์กัจ์จํสัพ์พโสเจทา ฯ</CENTER>
     
  4. สัตบุรุษ

    สัตบุรุษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    733
    ค่าพลัง:
    +840
    บานแพนกเดิม


    เนื้อความไตรภูมิกถานี้ มีในในกาลเมื่อใดไส้ และมีแต่ในปีระกาโพ้นเมื่อศักราชได้ ๒๓ ปี ปีระกาเดือน ๔ เพ็งวันพฤหัสบดีวาร ผู้ใดหากสอดรู้บมิได้ไส้สิ้น เจ้าพระญาเลไทยผู้เป็นลูกแห่งเจ้าพระญาเลลิไทย ผู้เสวยราชสมบัติในเมืองศรีสัชชนาไลยและสุโขทัย และเจ้าพระญาเลเลิไทยนี้ธเป็นหลานเจ้าพระญารามราชผู้เป็นสุริยวงศ์ และเจ้าพระยาเลไทยได้เสวยราชสมบัติในเมืองสัชชนาไลยยอยู่ได้ ๖ เข้า

    จึงได้ไตรภูมิถามุนใส่เพื่อใด ใส่เพื่อมีอัตถพระอภิธรรมและจะใคร่เทศนาแห่พระมารดาท่าน อนึ่งจะใคร่จำเริญพระอภิธรรมโสด พระธรรมไตรภูมิกถานี้ธเอาออกมาแก่พระคัมภีร์ใดบ้าง เอามาแต่ในพระอัตถกถาพระจตุราคนั้นก็มีบ้าง ฯ ในอัตถกถาฎีกาพระอภิธรรมวดารก็มีบ้างฯ พระอภิธรรมสังคก็มีบ้าง ในพระสคมังคลวิลาสินีก็มีบ้าง ฯ ในพระปปัญจสูทนีก็มีบ้าง ฯ ในพระสารัตถปกาสินีก็มีบ้าง ฯ ในพระมโนรถปุรณีก็มีบ้าง ในพระสิโนโรถปกาสินีก็มีบ้าง ฯ ในพระอัตถกถาฎีกาพระวิไนยก็มีบ้าง ฯ ในพระธรรมบทก็มีบ้าง ในพระธรรมมหากถาก็มีบ้าง ฯ ในพระมธุรัตถปรุณีวิลาสินีก็มีบ้าง ในพระธรรมชาดกก็มีบ้าง ฯ ในพระชินาลังการก็มีบ้าง ฯ ในพระสารัตถทีปนีก็มีบ้าง ในพระพุทธวงษ์ก็มีบ้าง ฯ ในพระสารสังคหก็มีบ้าง ในพระมิลินทปัญหาก็มีบ้าง ในพระปาเลยยกะก็มีบ้าง ฯ ในพระมหานิทานก็มีบ้าง ฯ ในพระอนาคตวงษ์ก็มีบ้าง ในพระจริยาปิฎกก็มีบ้าง ในพระโลกบัญญัติก็มีบ้าง ฯ ในพระมหากัลปก็มีบ้าง ฯ ในพระอรุณวัตติก็มับ้าง ฯ ในพระสมันตปาสาทิกาก็มีบ้าง ฯ ในพระจักษณาภิธรรมก็มีบ้าง ฯ ในพระอนุฎีกาหิงสกรรมก็มีบ้าง ในพระสาริริกวินิจฉัยก็มีบ้าง ฯ ในพระโลกุปปัตติก็มีบ้าง ฯ และพระธรรมทั้งหลายนี้ เอาออกมาแลแห่งแลน้อยและเอามาผสมกัน จึงสมมุติชื่อว่าไตรภูมิกถา แลฯ

    พระธรรมทั้งหลายนี้เจ้าพระญาเลไทยอันเป็นกระษัตรพงษ ดังหรือละมาอาจผูกพระคัมภีร์ไตรภูมิกถานี้ได้ไส้ เพราะเหตุท่านนั้นทรงพระปิฎกไตรธรรม ธได้ฟังได้เรียนแต่สำนักนิ์พระสงฆ์เจ้าทั้งหลาย คือว่ามหาเถรมุนีฟังเป็นอาทิครูมเรียนแต่พระอโนมทัสสิ และพระมหาเถรธรรมปาลเจ้าบ้าง ฯ พระมหาเถรสิทธัฏฐเจ้าบ้าง ฯ พระมหาเถรพงษะเจ้าบ้าง ฯ พระมหาเถรปัญญาญาณทันธส ฯ เรียนแต่ราชบัณฑิตย์ ผู้ ๑ ชื่ออุปเสนราชบัณฑิตย์ ผู้ ๑ ชื่ออทรายราชบัณฑิตย์ เรียนแต่ใกล้ด้วยสารพิไลยแต่พระมหาเถรพุทธโฆสาจารยในเมืองหิภุญไชยฯ


    ผู้ใดจักปรารถนาสวรรค์นิพพานจงสดับนิ์ฟังไตรภูมิกถาด้วยทำนุกอำรุง อย่าได้ประมาทสักอันดังนี้ จึงจะได้พบพระศรีอาริยไมตรีเจ้า เอจะลงมาตรัสแก่สัพพัญญุตญาณในโลกนี้แล ฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กุมภาพันธ์ 2009
  5. สัตบุรุษ

    สัตบุรุษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    733
    ค่าพลัง:
    +840
    เตภูมิกถา



    อันว่าสัตว์ทั้งหลายย่อมจะเวียนวนไปมา และเกิดในภูมิ ๓ อันนี้แล ฯ อันใดแลชื่อภูมิ ๓ อันนั้นเล่า อนึ่งชื่อว่ากามภูมิ อนึ่งชื่อว่ารูปภูมิ อนึ่งชื่อว่าอรูปภูมิ ณ กามภูมินั้นยังอันเป็นประเภท ๑๑ อันใดโสด


    อนึ่งชื่อว่าเปรตวิสัยภูมิ อนึ่งชื่อว่าอสุรกายภูมิ ๔ อนึ่งชื่อว่าอบายภูมิก็ว่า ชื่อว่าทุคติภูมิก็ว่า ฯ อนึ่งชื่อว่ามนุสสภูมิ อนึ่งชื่อจาตุมหาราชิกาภูมิ หนึ่งชื่อตาวติงษภูมิ หนึ่งชื่อยามาภูมิ อนึ่งชื่อตุสิตาภูมิ หนึ่งชื่อนิมมารนรดีภูมิ อนึ่งชื่อปรมิตวสวัตติภูมิ ๗ อนึ่งชื่อสุคติภูมิผสมภูมิทั้ง ๑๑ แห่งนี้ชื่อกามภูมิแล ฯ

    ในรูปภูมินั้นยังมีภูมิอันเป็นประเภท ๑๖


    อนึ่งโสดหนึ่งชื่อพรหมปาริสัชชาภูมิ หนึ่งชื่อพรหมปโรหิตาภูมิ อนึ่งชื่อมหาพรหมาภูมิ และพรหม ๓ อันนี้ชื่อปฐฐมณานภูมิแลฯ อนึ่งชื่อปริตตาภาภูมิ อนึ่งชื่ออัปปมานาภาภูมิ อนึ่งชื่ออาภัสสราภูมิ และพรหม ๓ ชั้นนี้ชื่อว่าทุติยฌานภูมิแลฯ อนึ่งชื่อปริตตสุภาภูมิ หนึ่งชื่อัปปมานสุภาภูมิ อนึ่งชื่อสุภกิณภูมิและพรหม ๓ ชั้นนี่อตติยฌานภูมิแล ฯ อนึ่งชื่อเวัปผลาภูมิ อนึ่งชื่ออเวหาภูมิ อนึ่งชื่ออตัปปาภูมิ อนึ่งชื่อสุทัสสีภูมิ อนึ่งชื่ออกนิฎฐาภูมิ ทั้ง๗ ชั้นนี้ชื่อจตุตถฌานภูมิแลฯ แต่อเวหาภูมินี้เถิงอกนิฎฐาภูมิ ๕ ชั้นนั้นชื่อปัญจสุทธาวาศแลฯ ผสมทั้ง ๑๖ ชั้นนี้ชื่อรูปภูมิแลฯ


    และในอรูปภูมินั้นยังมีประเภททั้ง ๔ อันโสด อนึ่งชื่ออากาสานัญจายตนภูมิ หนึ่งชื่อวิญญาณัญจายตนภูมิ อนึ่งชื่ออากิญจัญญายตนภูมิ หนึ่งชื่อเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิแลฯ จึงผสมภูมิทั้งลายนี้ได้ ๓๑ จึงชื่อว่าไตรภูมิแล ฯ


    และสัตว์ทั้งหลายอันจักเอาโยนิปฏิสนธิเกิดในภูมิ ๑ นี้ มีโยนิปฏิสนธิเท่าใดเล่า มีโยนิปฏิสนธิ ๔ อัน อนึ่งชื่ออัณฑชโยนิ อนึ่งชื่อชลาพุชโยนิ อนึ่งชื่อสังเสทชโยนิ อนึ่งอุปปาติกโยนิฯ อนึ่งชื่ออัณฑชโยนินั้น คือสัตว์อันเป็นแต่ไข่เป็นต้นว่างูและไก่และนกและปลาทั้งหลายนั้นแลฯ อนึ่งอันชื่อวาชลามพุชนั้นได้แก่สัตว์อันเป็นแต่ปุ่มเปือกและมีรกอันหุ้มห่อนั้น เป็นต้นว่าช้างและม้าวัวควายแล ฯ สังเสทชโยนินั้นได้แก่สัตว์อันเป็นแต่ใบไม้และละอองดอกบัวแลหญ้าเน่าเนื้อเน่าเหงื่อไคนั้น เป็นต้นว่าหนอนแลแมลงบุ้งริ้นยุงปลาแลฯ สัตว์อันเอาปฏิสนธิในโยนิ ๓ อันนี้ คือ เกิดแต่รกหุ้มห่อก็ดี เกิดแต่ไข่ก็ดี เกิดแต่เหงื่อและไคก็ดี ๓ อันนี้ จึงค่อยใหญ่ขึ้นโดยอันดับแลฯ อนึ่งและชื่อว่าอุปปาติกโยนินั้น


    หากเกิดเป็นตัวเป็นตนใหญ่แล้วทีเดียวนั้น เป็นต้นว่าเทพยดาและพรหมสัตว์แห่งนรกนั้นแล ฯ อันว่าปฏิสนธิมี ๒๐ อันแล อนึ่งชื่ออกุศลวิบากอุเบกขาสันติรณปฏิสนธิฯ อนึ่งชื่อกุศลวิบากสันติรณปฏิสนธิฯ อนึ่งชื่อโสมนัส์สสหคตญาณสัมปยุตอสังขารวิบากปฏิสนธิฯ อนึ่งชื่อโสมนัส์สสหคตญาณสัมปยุตสสังขารวิบากปฏิสนธิฯ อนึ่งชื่อโสมนัส์สสคตญารวิป์ปยุตตอสังขารวิบากปฏิสนธิฯ อนึ่งชื่อโสมนัส์สสหคตญาณวิปปยุตตสสังขาริกวิบากปฏิสนธิฯ อนึ่งชื่ออุเบกขาสหคตญาณวิปปยุตตอสังขาริกวิบากปฏิสนธิฯ อนึ่งชื่ออุเบกขาสหคตญาณ



    สัมปยุตตสสังขาริกวิบากปฏิสนธิฯ (แต่ ๑๐ อันนี้ชื่อกามาพจรปฏิสนธิฯ อนึ่งชื่ออุเบกขาสหคตยาณวิปปยุตตอสังขาริกวิบากปฏิสนธิฯ อนึ่งชื่ออุเบกขาสหคตญาณสัมปยุตตสสังขาริกวิบากปฏิสนธิฯ) แต่ ๑๐ อันนี้ชื่อกามาพจรปฏิสนธิฯ แต่ฝูงอันยังกามราคย่อมเอาปฏิสนธิ ๑๐ อันนี้แลฯ อนึ่งชื่อวิตักกาปฏิสนธฺฯ อนึ่งชื่อวิจาราวิบากปฏิสนธิฯ อนึ่งชื่อปีตาทิวิบากปฏิสนธิฯ อนึ่งชื่ออสุขาทิวิบากปฏิสนธิฯ อนึ่งชื่ออุเบกขากัคคตาวิบากปฏิสนธิฯ อนึ่งชื่อรูปเมวปฏิสนธิฯ แต่ฝูงพรหม ๖ อันนี้ ย่อมเอาปฏิสนธิด้วยปฏิสนธิ ๖ อันนี้แลฯ อนึ่งชื่ออากาสานัญจายตนวิบากปฏิสนธิฯ อนึ่งชื่อวิญญานัญจายตนวิบากปฏิสนธิฯ อนึ่งชื่ออากิญจัญญายตนวิบากปฏิสนธิฯ อนึ่งชื่อเนวสัญญานาสัญญายรตวิบากปฏิสนธิฯ แต่ฝูง ๔ อันนี้ชื่ออรูปาวจรปฏิสนธิ แต่หมู่พรหมอันหารูปบมิได้และมีแต่จิตย่อมเอาปฏิสนธิ ๔ อันนี้แล ฯ ผสมปฏิสนธิทั้งลายได้ ๒๐ จำพวกดังกล่าวมานี้แลฯ สัตว์ทั้งหลายอันเกิดในนรกภูมิ ย่อมเอาโยนิด้วยปาฏิกโยนิอันเดียวไส้ หยมว่าเขาเอาด้วยโยนิด้วยอุปปาฏิกโยนินั้น


    เพื่อเขาภูลเกิดเป็นรูปกายเทียว เอาปฏิสนธิก็เอาด้วยอกุศลวิบากอุเบกขาสหคตสันติรณปฏิสนธิ สัตว์ทั้งหลายอันเกิดในเปรตวิไสยภูมิก็เอาปฏิสนธินั้นแลฯ ปฏิสนธินั้นคือใจอันเอาปฏิสนธินั้นพิจารณาด้วยบาปและอุเบกขา จึงเอาปฏิสนธิและเกิดที่นั้น ๆ สัตว์อันเกิดในติรัจฉานภูมิ สัตว์อันเกิดในอสุรกายภูมิทั้ง ๓ ภูมินี้ย่อมเอาปฏิสนธิดังกันแลฯ เอาโยนิ ๔ จำพวกนั้นได้ทุกอัน และลางคาบเอาด้วยชลามพุชโยนิก็มี ลางคายเอาด้วยสังเสทชโยนิก็มี ลางคาบเอาด้วยอุปปาติกโยนิก็มี เอาปฏิสนธิด้วยอกุศลวิบากอุเบกขาสหคตสันติรณอันเดียวไส้ ผิว่าผู้มีบุญยังมีปฏิสนธิ ๙ จำพวก สัตว์อันเกิดในมนุสภูมิโยนิด้วยปฏิสนธิ ๑๐ อันนั้นได้ทุกอันแล เอาปฏิสนธิพิจารณาบุญและเอาปฏิสนธิ ๙ จำพวกฯ ผิฝูงคนอันมีมงทินและฝูงวินิบาติกาสูรเอาปฏิสนธิทีเดียว


    ด้วยอกุศลวิบากอุเบกขาสหคตสันติรณอันเดียวไส้ ส่วนปฏิสนธินั้นว่าดังนี้ฯ เอาปฏิสนธินั้นพิจารณาบาปและเอาปฏิสนธิจึงเกิดที่นั้นฯ ปฏิสนธินั้นแต่ ๔ จำพวกนั้นเอามิได้ คนผู้รู้หลักมีปรีชชารู้บุญรู้ธรรมเป็นต้นว่าโพธิสัตว์ เอาปฏิสนธิด้วยปฏิสนธิ ๘ จำพวกนั้นแลฯ ฝูงใดควรแก่ปฏิสนธิอันใดก็เกิดด้วยปฏิสนธิอนนั้นแลฯ อันว่าปฏิสนธิ ๘ อันนั้น

    อันหนึ่งชื่อโสมนัสสสหคตญาณสัมปปยุตตอสังขาริกวิบากปฏิสนธิฯ ปฏิสนธินั้นดังนี้ ใจอันเอาปฏิสนธินั้นเห็นและรู้ด้วยปัญญาอันหาบุคคลบอกบมิได้และยินดีจึงเอาปฏิสนธิ


    อนึ่งชื่อ โสมนัสสสหคตญาณสัมปยุตตสสังขาริกวิบากปฏิสนธิฯ ปฏิสนธิว่าอันนี้ จิตเอาเอาปฏิสนธินั้นมีคนบอกจึงจะเห็นแล เอารูปด้วยปรีชาและยินดีจึงเอาปฏิสนธิฯ อนึ่งชื่อว่าโสมนัสสสหคตญาณวิปปยุตตอสังขาริกวิบากปฏิสนธิ จิตอันเอาปฏิสนธิบมิรู้แท้ หาบุคคลบอกบมิได้ และยินดีจึงเอาปฏิสนธิฯ อนึ่งโสมนัสสสหคตญาณวิปปยุตตสสังขาริกวิบากปฏิสนธิ จิตอันเอาปฏิสนธินั้นบมิรู้แท้และมีผู้บอกจึงยินดีจึงเอาปฏิสนธิฯ


    อนึ่งชื่ออุเบกขาสหคตญาณสัมปยุตตอสังขาริกวิบากปฏิสนธิ จิตนั้นปฏิสนธินั้นแท้และรู้ด้วยปริชาหาบุคคลบอกบมิได้ จึงเอาปฏิสนธิด้วยจิตอันประกอบฯ อนึ่งชื่ออุเบกขาสหคตญาณสัมปยุตตสสังขาริกวิบากปฏิสนธิ จิตอันเอาปฏิสนธินั้นคนบอกจึงจะเห็น และรู้ด้วยปรีชาจึงเอาปฏิสนธิด้วยอันจักวายฯ อนึ่งชื่ออุเบกขาสหคตญาณวิปปยุตตอสังขาริกวิบากปฏิสนธิ จิตเอาเอาปฏิสนธินั้นบมิรู้แท้ และหาคนบอกบมิได้จึงปฏิสนธิด้วยใจอันประกอบฯ อนึ่งชื่ออุเบกขาสหคตญาณวิปปยุตตสสังขาริกวิบากปฏิสนธิ ใจอันเอาปฏิสนธินั้นมีคนบอกบมิรู้แท้จึงเอาปฏิสนธิด้วยใจอันประกอบฯ สัตว์อันเกิดในกามพจรภูมิ


    เป็นต้นว่า จาตุมหาราชิกาภูมิเอาปฏิสนธิโยนิด้วยอุปปาติกโยนิอันเดียวไส้ เอาปฏิสนธิด้วยปฏิสนธิ ๘ อันดังกล่าวมา นี้แลฯ ผสมปฏิสนธิในกามาพจรภูมิได้ ๑๐ จำพวก ผสมกับโยนิ ๔ จำพวกฯ สัตว์อันเกิดในปถมญาณภูมิเป็นพรหมนั้นเอาโยนิด้วย อุปปาติกโยนิไส้ฯ เอาปฏิสนธิด้วยวิตกวิจารปีติสุข เอกัคคตา สหิตํปถมญาณวิบากปฏิสนธิจิต ใจอันเอาปฏิสนธินั้นรำพึงดูและพิจารณาจึงมักยินดียินสุขนัก หน้าตาและตนและใจอันเป็นอันเดียวจึงเอาปฏิสนธิ ผิรำพึงปฏิสนธิน้อยไปได้เกิดในพรหมปาริสัชชาภูมิ ผิรำพึงทรามไปไส้ได้ไปเกิดในพรหมปโรหิตาภูมิ ผิรำพึงนักหนาไส้ได้ไปเกิดในมหาพรหมภูมิ ๆ


    ทั้ง ๓ นี้ ชื่อ ปถมฌานภูมิดลฯ สัตว์อันเกิดในทุติยฌานภูมิ เป็นพรหมด้วยอุปปาติกโยนิอันเดียวแลฯ เอาปฏิสนธิด้วยวิจารปีติสุเขกัคคตาสหิตํทุติฌานวิบากปฏิสนธิจิต ๆ อันเอาปฏิสนธินั้น พิจารณาจึงมักยินดียินสุขนักหนาจึงตาตนใจไปอันเดียวจึงเอาปฏิสนธิ ผิว่ารำพึงปฏิสนธินั้นสะหน่อยไส้ได้ไปเกิดในพรหมปริตตาภาภูมิ ผิรำพึงทรามไส้ได้ไปเกิดในพรหมอัปปมาณาภาภูมิ ผิรำพึงนักหนาไส้ได้ไปเกิดในพรหมอาภัสราภูมิ ๆ ทั้ง ๓ ชั้นนี้ชื่อทุติยฌานภูมิแลฯ สัตว์อันเกิดในตติยฌานภูมิเป็นพรหมเอาโยนิด้วยอุปปาติกโยนิอันเดียว


    และเอาปฏิสนธิด้วยปีติสุเขกัคคตาสหิตตติยฌานวิบาก ปฏิสนธิจิตตํใจอันเอาปฏิสนธินั้นบมิรำพึงพิจารณาเลย เนสากแสกยินดีสุขนักหนาจึงเอาปฏิสนธิฯ ผิรำพึงปฏิสนธินั้นสะน้อยไส้ได้ไปเกิดในพรหมปริตตสุภาภูมิ ผิรำพึงทรามไส้ได้ไปเกิดในพรหมสุภกิณหาภูมิ ภูมิทั้ง ๓ ชั้นนี้ชื่อตติยฌานภูมใแลฯ สัตว์อันเกิดในจตุตถฌานภูมิเป็นพรหมเอาโยนิอันเดียวไส้ฯ เอาปฏิสนธิด้วยอุเบกขาคคตาสหิตํจตุต์ถัชฌานวิบากปฏิสนธิจิต ใจอันเอาปฏิสนธินั้นเห็นปฏิสนธินั้นสุขแท้


    และเพื่อค้ำตนไปด้วยอุเบกขายินดี จึงเอาปฏิสนธิและได้ไปเกิดในเวหัปผลาภูมิฯ สัตว์อันเกิดเอาปฏิสนธิในอสัญญิตภูมินั้นเอาปฏิสนธิอันเดียวไส้ฯ ปฏิสนธิ ๖ จำพวกนี้ชื่อรูปาวจรปฏิสนธิแลฯ สัตว์อันเอาปฏิสนธิในอรูปาวจรภูมิ ๔ ชั้น อันหนึ่งชื่อปัญจฌานนั้นเอาปฏิสนธิในอากาสานัญจายตนภูมินั้น เอาปฏิสนธิด้วยอากาสานัญจายตนวิบากปฏิสนธิอันเดียวนั้นไส้ ใจอันเอาปฏิสนธิว่าบมิรู้ครนอันใดเลยเอาอากาสานัญจายตนฯ เอาใจจับอยู่ในอากาสน้อยหนึ่งจึงเอาปฏิสนธิ ว่าบมิเห็นอากาสเลยจึงเอาปฏิสนธิ ฯ สัตว์อันเอาปฏิสนธิในอากิญจัญญายตนภูมินั้น เอาอากิญจัญญายตนวิบากปฏิสนธิอันเดียวนั้นไส้


    ใจอันเอาปฏิสนธินั้น เอาปฏิสนธิด้วยวิญญาณอันละเอียดแลจึงเอาปฏิสนธิฯ สัตว์อันเอาปฏิสนธิในเนวสัญญานาสัญญายตนภูมินั้น เนวสัญญานาสัญญายตนวิบากปฏิสนธิอันเดียวนั้นไส้ ใจอันเอาปฏิสนธิดังจักมีดังจักบมีจึงเอาปฏิสนธิฯ แต่ฝูงสัตว์ทั้งหลายอันเอาโยนิปฏิสนธิแห่งภูมิ ๓๑ เป็นประเภทในไตรภูมิดังกล่าวมานี้แลฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กุมภาพันธ์ 2009
  6. สัตบุรุษ

    สัตบุรุษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    733
    ค่าพลัง:
    +840
    นรกภูมิ


    สัตว์อันเกิดในนรกภูมินั้น เป็นด้วยอุปปาติกโยนิ ภูลเป็นรูปได้ ๒๘ คาบสิ้นคาบเดียว รูป ๒๘ นั้นคืออันใดบ้าง คือ ปถวี อาโป เตโช วาโย จักขุ โสต ฆาน ชิวหาร กาย มน รูป สัทท คันธรส โผฏฐัพพ อิตถีภาว บุรุษภาว หทย ชีวิตินทรีย อาหาร ปริจเฉท กายวิญญัต์ติ วจีวิญญัต์ติ สหุตา กัม์มัญ์ญตา อุปัจ์จโย สัน์ติ รูปปัส์ส ชรโตฯ อันว่าปถวีรูปนั้นคือกระดูกและหนังแลฯ อาโปรูปนั้นคือน้ำอันไหลไปมาในตนนั้นแลฯ


    เตโชรูปนั้นคือว่าไฟอันร้อนและเกิดเป็นเลือดในตนแลฯ อันว่าวาโยรูปนั้น คือลมอันทรงสกลและให้ติงเนื้อติงตนแลฯ จักษุรูปนั้นคือตาอันแต่งดูฯ โสตรูปนั้นคือหูอันได้ฟังนั้นฯ ฆานรูปนั้น คือจมูกอันแต่งดมให้รู้รสทั้งหลายฯ ชิวหารูปนั้นคือลิ้น อันรู้จักรสส้มและฝากและรสทั้งลายนั้น ๆ กายรูปนั้น คือ รูปอันรู้เจ็บรู้ปวดอันถูกต้องฯ รูปารูปนั้น คือรูปอันเห็นแก่ตาฯ สัททารูป คือรูปอันได้ยินดีฯ คันธารูปนั้น คือรูปอันเป็นกลิ่นเป็นคันธอันหอมฯ รสารูปนั้นเป็นรสฯ โผฎฐัพพารูปนั้น คือรูปอันถูกต้องฯ อิตถีรูป คือรูปเป็นผู้หญิงฯ บุรุษรูปนั้น คือรูปอันเป็นผู้ชายฯ หทยรูปนั้น คือรูปอันเป็นต้นแก่รูปทั้งหลายอันอยู่ภายในฯ ชีวิตินทรียรูปนั้น คือชีวิตอันอยู่ในรูปทั้งหลายฯ อาหารรูปนั้น คืออาหารอันกินฯ ปริจเฉทรูปนั้น คือรูปที่ต่อที่ติดกันฯ กายวิญญัติรูปนั้น คือรูปอันรู้แต้ตนฯ วจีวิญญัติรูปนั้น คือ รูปอันรู้แต่ปากฯ รูปัสสรูปลุตารูปนั้น คือรูปอันรู้พลันฯ รูปัสสมุทุตารูปนั้น คือรูปอันอ่อนฯ รูปัสสกัมมัญญตารูปนั้น คือรูปอันควรรูปฯ รูปัสสอุปัจจโยรูปนั้น คือรูปอันให้เป็นอีกฯ รูปัสสสันตติรูปนั้น คือรูปอันสืบอันแท่งดังฤๅจึงว่าสืบว่าแท่งนั้นสืบหลากวันคืนนั้นแลฯ รูปัสสชรตารูปนั้นคือรูปอันแก่อันเฒ่าฯ รูปัสสอนิจจาตารูปนั้น คือรูปอันยินดีรูปอันจะใกล้ตายนั้น และรูปทั้ง ๒๘ รูปนี้มีแก่สัตว์ในนรกแลฯ ฝุงสัตว์อันไปเกิดในที่ร้ายที่เป็นทุกขลำบากใจเขานั้นเพื่อใจเขาร้าย และทำบาปด้วยใจอันร้ายมี ๑๒ อันแลฯ อนึ่งคือ

    โสมนัสสสหคตทิฏฐิคตสัมปยุตตอสังขาริเมกํ ใจนี้มิรู้ว่าบาปและกระทำบาปด้วยใจอันกล้าและยินดีฯ

    อนึ่งคือโสมนัสสสหคตทิฏฐิคตสสังขาริกเมกํ ใจอันหนึ่งมิรู้ว่าบาปและยินดีและกระทำบาปนั้น เพื่อมีผู้ชักชวนฯ อนึ่งคือ โสมนัสสสหคตทิฏฐิคตวิปปยุตตอสังขาริกเมกํ ใจอันหนึ่งรู้ว่าบาปและกระทำด้วยใจของตนเองอันกล้าแข็งและยินดีฯ

    อนึ่งคือโสมนัสสสหคตทิฏฐิคตวิปปยุตตสสังขาริก ใจอันหนึ่งรู้ว่าบาปและยินดีกระทำบาป เพื่อมีผู้ชักชวนฯ

    อนึ่งคืออุเบกขาสหคตทิฏฐิคตสัมปยุตตอสังขาริก ใจอันหนึ่งรู้ว่าบาปและกระทำเพื่อมีผู้ชักชวน และกระทำด้วยใจอันร้ายใจกล้าบมิยินดียินร้ายฯ

    หนึ่งคืออุเบกขาสหคตทิฏฐิคตสัมปยุตตสสังขาริก ใจอันหนึ่งรู้ว่าบาปและกระทำเพื่อมีผู้ชวนและกระทำด้วยใจอันร้ายและใจกล้าฯ

    อนึ่งคืออุเบกขาสหคตทิฏฐิคตวิปปยุตตอสังขาริก ใจอันหนึ่งรู้ว่าบาปและกระทำเองกับด้วยใจอันร้ายอันกล้าฯ

    อนึ่งคืออุเบกขาสหคตทิฏฐิคตสสังขาริก ใจอนึ่งรู้ว่าบาปมีผู้ชวนและกระทำด้วยใจอันกล้าฯ

    อนึ่งคือโทมนัสสสหคตปฏิฆสัมปยุตตอสังขาริก ใจอนึ่งประกอบไปด้วยโกรธขึ้งเคียดกระทำบาปด้วยใจอันกล้าแข็งเองและร้ายฯ

    อนึ่งคือโทมนัสสสหคตปฏิฆสัมปยุตตสสังขาริก อนึ่งกอบไปด้วยโกรธขึ้งเคียดกระทำบาปเพื่อเหตุมีผู้ชวนฯ

    อนึ่งคืออุเบกขาสหคตวิจิกิจฉาสัมปยุตตํ ใจอนึ่งบมิเชื่อบุญและกระทำบาปด้วยใจประกลายฯ

    อนึ่งคืออุเบกขาสหคตอุทธัจจสัมปยุตต ใจอันหนึ่งย่อมขึ้นไปฟุ้งดังก้อนเถ้าและเอาก้อนเส้าทอดลงย่อมปาลงทุกเมื่อ และกระทำบาปด้วยใจปกลายฯ ใจร้ายทั้ง ๑๒ นี้ผิและมีแก่คนผู้ใดผู้นั้นได้ไปเกิดในที่ร้ายเป็นต้นว่าจตุราบายแลฯ

    เหตุการเท่าใดและมีใจร้ายฝูงนี้แก่สัตว์ทั้งลาย เหตุการนั้นยังมี ๓ อัน อนึ่งชื่อว่า โลโภเหตุ อนึ่งชื่อว่โทโสเหตุ อนึ่งชื่อว่าโมโหเหตุฯ อันชื่อว่าโลโภเหตุนั้น เพื่อมักได้สินท่าน มักฆ่ามักตีท่านเพื่อจะเอาสินท่านและใจนั้นชวนกระทำบาปฯ อันชื่อว่าโทโสเหตุนั้นเพื่อตู่ท่านถูกใจ ขึ้งเคียดหิงษาแก่ท่าน มักคุมนุคุมโทษชวนใจกระทำบาปฯ อันชื่อว่าโมโหเหตุนั้น บมิรู้บุญธรรมใจพาลใจหลงไปกระทำบาปไปชวนพบทุกเมื่อแลฯ

    เพราะเหตุ ๓ อันนี้แหากพาสัตว์ทั้งหลายไปเกิดในที่ร้ายคือจตุราบายแลฯ ด้วยสุภาวกระทำบาปฝูงนั้นมี ๑๐ จำพวกโสด กาเยนติวิธํ กัม์มํปาณาติปาตา อทิน์นาทานา กาเมสุมิจ์ฉาจาราฯ วาจากัม์ม จตุพ์พิธํ มุสาวาทา อสุสวาจาร เปสุญ์ญาวาจา สัมผัป์ปลาปาวาจาฯ มนสาติวิธัญ์เจว มิจ์ฉาทิฏ์ฐิพ์ยาปาทวิหิษา ทสกัม์มปถาอิเมฯ สุภาวอันกระทำบาปด้วยตน ๓ จำพวกฯ สุภาวพดอันกระทำบาปดด้วยปาก ๔ จำพวกฯ สุภาวอันกระทำบาปด้วยใจ ๓ จำพวกฯ ผสมเข้าด้วยกันเป็น ๑๐ จำพวกแลฯ

    อันว่ากระทำบาปด้วยตัวมี ๓ จำพวกนั้นฉันนี้ คือว่าฆ่าคนและฆ่าสัตว์ อันรู้ติงด้วยมือด้วยตีนตนฯ อนึ่งคือว่าลักเอาสินท่านอันท่านมิได้ให้แก่ตนและเอาด้วยตีนมือตนฯ อนึ่งคือทำชู้ด้วยเมียท่านผู้อื่นฯ อันว่าทำบาป ด้วยปากมี ๔ จำพวกนั้นฉันนี้

    อนึ่งคือว่ากล่าวถ้อยคำมุสาวาทและส่อเสียดเอาทรัพย์สิ่งสินของท่าน ๑ ฯ อนึ่งคือว่ากล่าวถ้อยคำอันท่านบมิพึงเอาเอานั้น ๑ อนึ่งคือว่ากล่าวถ้อยคำติเตียนนินทาท่านและกล่าวคำอันบาดเนื้อผิดใจท่าน กล่าวถภ้อยคำอันหยาบช้าและยุยงให้ท่านผิดใจกัน อนึ่งคือกล่าวด่าประหลกหยอกเล่นอันมิควรกล่าว และกล่าวอันเป็นถ้อยคำติรัจฉานกถานัะนแลฯ


    อันว่าเกิดบาปด้วยใจนั้นมี ๓ จำพวก

    อนึ่งคือมิจฉาหิงษาทิฏฐิถือมั่นบมิชอบบมิพอและว่าขอบว่าพอ อันชอบพอและว่าบมิชอบบมิพอนั้น

    อนึ่งคือว่าเคียดฟูนแก่ผู้ใดและถือมั่นว่าเป็นข้าศึกตนต่อตายสู้ความโทษใร้ายและคุมความเคียดนั้นไว้มั่นึงฯ

    อนึ่งคือว่าปองจะทำโทษโภยท่านจะใคร่ฆ่าฟันเอาทรัพย์สินท่านฯ สุภาวอันเป็นบาปนั้นมี ๑๐ จำพวกดังกล่าวมานี้แลฯ

    และแต่ใจบาปทั้งหลายดังกล่าวมานี้แลยังมีเพื่อใจอันเป็นเจตสิกแต่งมายังใจให้กระทำบาปนั้น ๒๗ นั้นคือ ผัสโส เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินท์รียํ มนสิกาโร วิตัก์โก วิจาโร อธิโมก์โข วิริยํ ปีติฉัน์โท โมโห อหิริกํ อโนต์ตัป์ปํ อุท์ธัจ์จํ โลโภ ทิฏ์ฐิ มาโน โทโส อิส์สา มัจ์ฉิริยํ กุก์กุจ์จํ ถีนํ มิท์ธํ วิจิกิจ์ฉา

    อันนี้ฯ ผัส์โส มาให้ต้องใจฯ เวทนามาให้เสวยฯ สัญญาให้รู้ฯ เจตนาให้รำพึงฯ เอกัค์คตาให้ถือมั่นฯ ชีวิติน์ทริยํแต่ให้เป็นเจตสิกฯ มนสิการมัวมูนไปฯ วิตักกแต่ตริบริทำนำบาปฯ วิจารใพิจารณาแก่บาปฯ อธิโม์กโขนั้นให้จำเตุเฉพาะแก่บาปฯ วิริยํให้พยายามทำบาปฯ ปีตินั้นให้ชื่นชนยินดีกระทำบาปฯ ฉันทะนั้นเหนี่ยวแก่บาปฯ โมโหนั้นให้หลงแก่บาปฯ อหิริกฺนั้นให้บมีความละอายแก่บาปฯ อโนต์ตัปปํนั้น บมิให้กลัวแก่บาปฯ อุท์ธัจ์จํให้ขึ้นฟุ้งฯ โลโภนั้นให้โลภฯ ทิฏ์ฐินั้นให้ถืดบาปมั่นฯ มานะนั้นให้ดุดันเยียสำหาวฯ โทโสนั้นให้เคียดฟูนฯ อิส์สานั้นให้ริษยาหิงษาเบียดเบียนหวงแหนฯ มัจ์ฉิริยํนั้นให้ตระหนี่ฯ กุก์กุจ์จํนั้นให้สนเท่ห์ฯ ถีนํนั้นให้เหงาเหงียบบมิให้รู้สึกตนฯ มิท์ธํนั้นให้หลับฯ วิจิกิจ์ฉานั้นท่านว่าชอบว่าพอก็ดีบมิให้ยินดีฯ

    เพราะใจนั้นฟุ้งซ่านชวนทำบาปนั้นได้ ๒๗ ดังกล่าวมานี้แลฯ ฝูงสัตว์ทั้งหลายอันได้กระทำบาปด้วยปากด้วยใจดังกล่าวแล้วนี้ ย่อมได้ไปเกิดในจตุราบายมีอาทิคือนรกใหญ่ ๘ ชุมนั้น ๆ ฯ


    สัญ์ชีโวกาล สุต์โตจ สังฆาโฏ โรรุโวตถา มหาโรรุวตาโปจ มหาราโปจาติ วีจิโยฯ อนึ่งชื่อสัญชีพนรก อนึ่งชื่อโรรุพนรก อนึ่งชื่อดาปนรก อนึ่งชื่อมหาอวิจีนรก ฝูงนรกใหญ่ ๘ อันนี้อยู่ใต้แผ่นดินอันเราอยู่นี้และถัดกันลงไป และนรกอันชื่อว่าอวิจีนรกนั้นอยู่ใต้นรกทั้งหลาย และนรกอันชื่อว่าสัญชีพนรกนั้นอยู่เหนือนรกทั้ง ๗ อันนั้น ฝูงสัตว์อันเกิดในนรกอันชื่อว่าสัญชีพนรกนั้นยืนได้ ๕๐๐ ปีด้วยปีในนรก และเป็นวัน ๑ คืน ๑ ในนรกได้ ๙ ล้านปีในเมืองมนุษย์นี้ ๕๐๐ ปีในสัญชีพนรกได้ล้าน ๖ แสนล้านหยิบหมื่นปี ในเมืองคนนี้ ๑,๖๒๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ ฯ ฝูงสัตว์อันเกิดในกาลสูตตนรกนั้นยืนได้ ๑,๐๐๐ ปี ในนรกนั้น วัน ๑ คืน ๑ ในกาลสูตตนรกนั้นได้ ๓๖,๐๐๐,๐๐๐ ปีในมนุษย์ ๑,๐๐๐ ปี ในนรกได้มหาปทุมปทุมประติทธ ๑๒,๙๖๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ ปีในมนุษย์ฯ ฝูงสัตว์อันเกิดในสังฆาฎนรกนั้นยืนได้ ๒,๐๐๐ ปี ในสังฆาฎนรกวัน ๑ คืน ๑ ได้ ๑๔๕,๐๐๐,๐๐๐ ปี ในมนุษย์ ๒,๐๐๐ ปี ในสังฆาฏนรกนั้นเป็นปีนั้นได้ ๑๐๓,๖๘๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ เป็นปีในมนุษย์แลฯ ฝูงสัตว์อันเกิดในโรรุพนรกยืนได้ ๔,๐๐๐ ปี ในโรรุพนรกวัน ๑ คืน ๑ ได้ ๕๗๖,๐๐๐,๐๐๐ ปีในมนุษย์นี้ ทั้ง ๔,๐๐๐ ปี ในโรรุพนรกนั้นได้ปี ๘๒๙,๔๔๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ ปี ในมนุษย์เรานี้แลฯ ฝูงสัตว์อันเกิดในมหาโรรุพนรกนั้นยืนได้ ๘,๐๐๐ ปีในนรก วัน ๑ คืน ๑ ในนรกนั้นได้ ๒๓๐,๕๐๐,๐๐๐ ปี ในมนุษย์นี้ ทั้ง ๘,๐๐๐ ปีในนรกนั้นได้ ๖,๖๓๕,๕๒๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ ปี ในมนุษย์เรานี้แลฯ ฝูงสัตว์อันเกิดในดาปนรกนั้นยืนได้ ๑๖,๐๐๐ ปี ในนรก วัน ๑ คืน ๑ ในดาบนรกนั้นได้ ๙,๒๑๖,๐๐๐,๐๐๐ ปี ในมนุษย์ ทั้ง ๑๖,๐๐๐ ปี ในดาบนรก ๕๓,๐๘๔,๑๖๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ ปี

    ในมนุษย์เรานี้แลฯ ฝูงสัตว์อันเกิดในนรกอันชื่อว่ามหาดาปนรกนั้นแลฯ จะนับปีและเดือนอันเสวยทุกข์ในนรกนั้นบมิถ้วนย่อมนับด้วยกัลป ๑ แลฯ ฝูงนรกใหญ่ ๘ อันนี้ย่อมเป็น ๔ มุมและมีประตูอยู่ ๔ ทิศ พื้นหนต่ำก้อนเหล็กแดง และฝาอันปิดเบื้องบนก้อนเหล็กแดง และนรกฝูงนั้นโดยกว้างและสูงเท่ากันเป็นจตุรัส และด้านละ ๑,๐๐๐ โยชน์ด้วยโยชน์ ๘,๐๐๐ วา โดยหนาทั้ง ๔ ด้านก็ดี พื้นเบื้องต่ำก็ดี ฝาเบื้องบนก็ดี ย่อมหนาได้ละ ๙ โยชน์ และนรกนั้นบมีที่เปล่าสักแห่ง เทียรย่อมฝูงสัตว์นรกทั้งลายหากเบียดเสียดกันอยู่เต็มนรกนั้น และไฟนรกนั้นบมิดับเลยสักคาบแล ไหม้อยู่รอดชั่วต่อสิ้นกัลปแล กรรมบาปคนฝูงนั้นหากไปเป็นไฟลุกในตัวตนนั้นเป็นฟืนลุกเองไหม้ไฟนั้นแลบมิแล้วสักคาบเพื่อดังนั้นแล นรกใหญ่ ๘ อันนั้นมีนรกใหญ่อยู่รอบแล ๑๖ อันอยู่ทุกอันแลอยู่ละด้าน ๔ อันแล นรกบ่าว ๔ ฝูงนั้นยังมีนรกเล็กน้อยอยู่รอยนั้นมากนักจะนับบมิถ้วนได้เลย ประดุจที่บ้าน ๆ นอกและในเมือง ๆ มนุษย์เรานี้แลฯ ฝูงนรกบ่าวนั้นโดยกว่างได้แล ๑๐ โยชน์ทุกอันแล ฝูงนรกบ่าวนั้นอีกนรกหลวงได้ ๑๓ อัน แต่นรกใหญ่ ๔๘ อันนั้นหายมบาลอยู่นั้นบมิได้ไส้ ที่ยมบาลอยู่นั้นแต่ฝูงนรกบ่าวและนรกเล็กทั้งหลายฯ หากมียมบาลอยู่ไส้ แต่ฝูงนรกบ่าวมียมบาลอยู่ดังนั้นแลเรียกชื่อว่าอุสุทธนรกผู้ ๔ อันเป็นบมบาลดังนั้น เมื่ออยนู่เมืองคนบาปเขาก็ได้ทำบุญ เขาก็ได้ทำ ปางเมื่อตายก็ได้ไปเกิดในนรกนั้น ๑และมียมบาลฝูงอื่นมาฆ่าฟันพุ่งแทงกว่าจะถ้วน ๑๕ วันนั้นแล้วจึงคืนมาเป็นบมบาล ๑๕ วัน เวียนไปเล่าวียนมาเล่าดังนั้งหึงนานนัก เพราะว่าไป่มิสิ้นบาปอันเขากระทำนั้นดุจว่ามานี้ก็เป็นจำพวกหนึ่ง อันนี้ชื่อว่าเปรตวิมานนั้นแลฯ ลางคนนั้นกลางวันเป็นเปรต


    ครั้งกลางคืนเป็นเทวดา ฯ ลางคนกลางวันเป็นเทวดา ครั้นกลางคืนเป็นเปรตฯ ลางคนเดือนขึ้นเป็นเปรต เดือนแรมเป็นเทวดาฯ ลางคนเดือนขึ้นเป็นเทวดาเดือนแรมเป็นเปรต ด้วยบาปกรรมเขาฝูงนี้ไป่บมิสิ้นเป็นดังนี้ทุกเดือนหลายปีนักแลฯ ฝูงเปรตฝูงนั้นและยมบาลตูคู่กันแลยังไป่บมิสิ้นกรรมดังนั้น ยังเวียนไปมาเป็นคนนรกเป็นยมบาลทุกเมื่อบมิได้อยู่สักคาบผิว่าสิ้นกรรมนั้น จึงเป็นยมบาลแล้วก็ตายไปเกิดเป็นแห่งอื่นแลฯ แลมีเมืองพระญายมราชนั้นใหญ่นักและอ้อมรอบประตูนรกทั้ง ๔ ประตูนรกนั้นแล พระญายมราชนั้นทรงธรรมนักหนาพิจารณาถ้อยความอันใด ๆ และบังคับโจทก์และจำเลยนั้นด้วนสัจซื่อและชอบธรรมทุกอันทุกเมื่อ ผู้ใดตายย่อมไปไหว้พระญายมราชก่อนฯ พระญายมราชจึงถามผู้นั้นยังมึงได้กระทำบาปฉันใด แลมึงเร่งคำนึงดูแลมึงว่าโดยสัจโดยจริงฯ


    เมื่อดังนั้นเทวดาทั้ง ๔ องค์อันแต่งมาซึ่งบาญชีบุญและบาปแห่งคนทั้งหลายก็ได้ไปอยู่ในแห่งนั้นด้วย แลถือบาญชีอยู่แห่งนั้นผู้ใดกระทำบุญอันใดไส้ เทพยดานั้นเขียนชื่อผู้นั้นใส่แผ่นทองสุกแล้วทูนใส่เหนือหัว ไปถึงพระญายมราช ๆ ก็จบใส่หัวแล้วก็สาธุการอนุโมทนายินดีแล้ว ก็วางไว้แท่นทอง อันประดับนี้ด้วยแก้วสัตตพิธรัตนะ และมีอันเรืองงามแล ผู้ใดอันกระทำบาปไส้ เทวดานั้นก็ตราบาญชีลงในแผ่นหนังหมาแลเอาไว้แง ๑ เมื่อพระญายมราชถามดังนั้น

    ผู้ใดกระทำบุญด้ยอำนาจบุญผู้นั้นหากรำพึงรู้ทุกอันแลกล่าวแก่พระญายมราชว่า ข้าได้ทำบุญธรรมดังนั้นเทพยดาถือบาญชีนั้น ก็หมายบาญชีในแผ่นทองนั้นก็ดุจความอันเจ้าตัวกล่าวนั้น พระญายมราชก็ชี้ให้ขึ้นไปสู่สวรรค์อันมีวิมานทองอันประดับนี้ด้วยแก้ว ๗ ประการ แลมีนางฟ้าเป็นบริวารแลมีบริโภคเทียรย่อมทิพย์

    แลจะกล่าวเถิงความสุขนั้นบมิได้เลยฯ ผิแลผู้ใดกระทำบาปนั้นบันดาลตู่ตนมันเองนั้นแลมันมิอาจบอกบาปได้เลย จึงเทพยดานั้นเอาบาญชีในแผ่นหนังหมามาอ่านให้มันฟัง มันจึงสารภาพว่าจริงแล้วพระญายมราชและเทพยดานั้น ก็บังคับแก่ฝูงยมบาลให้เอามันไปโดยบาปกรรมมันอันหนาและเบานั้นแลฯ บังคับอันควรในนรกอันหนังและเบานั้นแล ความทุกขเวทนาแห่งเขานั้นจะกล่าวบมิถ้วนได้เลยฯ

    ผู้กระทำบุยก็ได้กระทำบาปก็ได้กระทำ เทพยดานั้นจะชักบุยและบาปนั้นมาดูทั้งสองฝ่าย ๆ ใดหนักก็ไปฝ่ายนั้น แล้วแม้นว่าผู้บุญหนักแลไปสวรรค์ก็ดี เมื่อภายหลังยังจะมาใช้บาปตนนั้นเล่าบมิอย่าเลยฯ ผู้ส่วนผู้บาปหนักและไปในนรกก่อนแล เมื่อภายหลังนั้นจึงจะได้เสวยบุญแห่งตนนั้นบมิอย่าแลฯ อันว่าคนผู้กระทำบุญกระทำบาปเสมอกันนั้นไส้ พระญายมราชและเทพยดาถือบาญชีนั้นบังคับให้เป็นยมราช เป็นยมบาล ๑๕ วันมีสมบัติทิพยดุจเทพยดา และตกนรก ๑๕ วันนั้น ต่อสิ้นบาปมันนั้นแลฯ คนผู้ใดเกิดมาและมิรู้จักความบุญและมิรู้จักคุณพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์

    และมิได้ให้ทานตระหนี่ทรัพย์และเมื่อท่านจะอวยทานไส้ มันห้ามปรามท่าน อนึ่งมันมิรู้รักพี่รักน้องบมิรู้เอ็นดูกรุณาเทียรย่อมฆ่าสิ่งสัตว์อันรู้ติงและลักเอาสินท่านอันท่านเจ้าสินมิได้ให้แก่ตน มักทำชู้ด้วยเมียท่านและลอบรักเมียท่านผู้อื่นและเจรจาเลาะและลู่ยล่ายมักกล่าวความร้ายส่อเสียดเบียดเบียนท่าน กล่าวความสระประมาทท่านและกล่าวความหยาบช้ากล้าแข็ง ให้ท่านบาดเนื้อผิดใจ ให้ท่านได้ความเจ็บอายและกล่าวความมุสาวาทโลเลอันมิได้เป็นประโยชน์เป็นติรัจฉานกถา

    และมักกินเหล้าเมามายและมิได้ยำเกรงผู้เม๋าผู้แก่สมณะพราหมณาจารย์ อันว่าคนผู้กระทำร้ายฉันนี้ไส้ ครั้นว่าตายไปก็ได้ไปเกิดในนรกอันใหญ่ ๘ อันนั้นแล อันว่าความอันเขาเจ็บปวดทนทุกขเวทนาแห่งเขานั้นจะกล่าวบมิได้เลยฯ ในฝูงนรกเล็กอันอยู่เป็นบริวารนรกบ่าวนั้นมากนั้น เรามิอาจกล่าวได้เลย

    แต่จะกล่าวแต่ฝูงนรกบ่าว ๑๖ อัน อยู่ล้อมรอบสัญชีพนรก อันอยู่บนนรกทั้งหลายอันพระมาตะลีนำพระเจ้าเนมีราชไปทอดพระเนตรนั้น เมื่อธไปดูสัญชีพนรกอันใหญ่อันอยู่ท่ามกลางนั้นให้ดูแต่นรก ๑๖๙ อันอยู่รอบสัญชีพนรกนั้นชื่ออุสุทธนรก แลนรกอันเป็นอาทิชื่อไพตรณีนรก

    คนหมู่อยู่ในแผ่นดินนี้แม้นเป็นดีมีข้างของมากไพร่ฟ้าข้าไทยมากหลายนั้น มากหลายนั้นมักกระทำร้ายแก่ผู้อื่น ชิงเอาทรัพย์ข้าวของ ๆ ท่านผู้อื่นด้วยตนมีกำลังกว่า ครั้นว่าตายได้ไปเกิดในนรกอันชื่อเวตรณีนั้นยมบาลอยู่ในเวตรณีนั้นเทียรย่อมถือไม้ค้อน มีดพร้า หอกดาบ หลาวแหลน เครื่องฆ่า เครื่องแทง เครื่องยิง เครื่องตีทั้งหลาย

    ฝูงนั้นย่อมเหล็กแดงและมีเปลวพุ่งขึ้นไปดังไฟฟ้าลุกดังนั้นบมิวายแล ยมบาลจึงถือเครื่องทั้งนั้นไล่แทง ไล่ตีฝูงคนนรกด้วยสิ่งนั้น เขาก็เจ็บปวดเวทนานักหนาอดทนบมิได้เลย ในนรกนั้นมีแม่น้ำใหญ่อันชื่อว่าไพตรณีและน้ำนั้นเค็มนักหนา

    ครั้งว่าเขาแล่นหนีน้ำนั้นเล่าหวายเครือหวายดาสไปมา แลหวายนั้นมีหนามอันใหญ่เท่าจอมเทียรย่อมเหล็กแดงเป็นเปลวไฟลุกทุกเมื่อแล ลงน้ำนั้นก็ขาดดังท่านเอามีดกรดอันคมมาแล่มากันเขาทุกแห่ง แลเครือหวายเทียรย่อมขวากใญ่ แลยาวย่อมเหล็กแดงลุกเป็นเปลวไฟไปไหม้ตัวเขาดังไฟไหม้ต้นไม้ในกลางป่า

    ครั้งว่าตัวเขาตรลอดตกลงหนามหวายนั้น ลงไปยอกขวากเล็กอันอยู่ใต้นั้น ตัวเขานั้นก็ขาดห้อย ณ ทุกแง เมื่อขวากเล็กนั้นยอกตัวเข้าดังท่านเสียบปลานั้นแล บัดเดี๋ยวหนึ่งเปลวไฟไหม้ขาวขึ้นมาแล้ว ลุกขึ้นเป็นไฟไหม้ตนเขาหึงนานนักแล ตนเขานั้นสุก เน่าเปื่อยไปสิ้น ใต้ขวากเหล็กในน้ำเวตรณีนั้น มีใบบัวหลวงและใบบัวนั้นเทียรย่อมเหล็กเป็นคมรอบนั้นดังคมมีด และใบบัวนั้นเป็นเปลวลุกอยู่บมิดับเลยสักคาบ

    ครั้นว่าตนเขานั้นตรลอดจากขวากเหล็กนั้นตกลงเหนือใบบัวเหล็กแดงนั้น ใบบัวเหล็กแดงอันคมนั้น ก็บาดขาดวิ่นทุกแงดังท่านกันขวางกันยาวนั้นไส้ เขาตกอยู่ในใบบัวเหล็กแดงนั้นช้านานแล้ว จึงตรลอดตกลงไปในน้ำ ๆ นั้นเค็มนักหนาแล แสบเนื้อแสบตัวเขาสาหัสดังปลาอันคนตีที่บนบกนั้น บัดเดี๋ยวแม่น้ำนั้นก็กลายเป็นเปลวไฟไหม้ตนเขานั้น ดูควันฟุ้งขึ้นทุกแห่งรุ่งเรืองเทียรย่อมเปลวไฟในพื้นแม่น้ำเวตรณีนั้น เทียรย่อมคมมีดหงายขึ้นทุกแห่งคมนักหนา

    เมื่อคนนรกนั้นร้อนด้วยเปลวไฟไหม้ดังนั้น เขาจึงคำนึงในใจว่า มากูจะดำน้ำนี้ลงไปชะรอยจะพบน้ำเย็นภายใต้โพ้น แลจะอยู่ได้แรงใจสะน้อยเขาจึงดำลงไปในพื้นน้ำนั้น จึงถูกคมมีดอันหงายอยู่ใต้น้ำนั้น ตัวเขาก็ขาดทุกแห่งดังท่านแสร้งกันเขานั้นยิ่งแสบสาหัส แลร้องล้มร้องตายเสียงแรงแข็งนักหนา บางคาบน้ำพัดตัวเขาพุ่งขึ้น ลางคาบพัดตัวเขาดำลงนั้นเองเทียรย่อมทุกขเวทนานักหนา

    ฝูงอันเกิดในนรกอันชื่อว่าเวตรณีนั้นเป็นทุกข์เจ็บปวดดังกล่าวมานี้แลฯ นรกอันเป็นคำรบ ๒ นั้นชื่อว่าสุนักขนรก คนผู้ใดกล่าวคำร้ายแก่สมณพราหมณ์ผู้มีศีล และพ่อแม่และผู้เฒ่าผู้แก่ครูบาทยาย คนผู้นั้นตายไปเกิดในนรกอันชื่อว่าสุนักขนรกนั้นแล ในสุนักขนรกนั้นมีหมา ๔ สิ่ง หมาจำพวก ๑ นั้นขาว หมาจำพวก ๑ นั้นแดง หมาจำพวก ๑ นั้นดำ หมาจำพวก ๑ นั้นเหลือง แลตัวหมาผู้นั้นใหญ่เท่าช้างสารทุกตัว ฝูงแร้งและกาอันอยู่ในนรกนั้นใหญ่เท่าเกวียนทุก ๆ ตัว ปากแร้งและกาและตีนนั้น เทียรย่อมเหล็กแดงลุกเป็นเปลวไฟอยู่บ่อมิได้เหือดสักคาย แร้งแลกาหมาฝูงนั้นเทียรย่อมจิกแหกหัวอกขบตอดคนทั้งหลายในนรกนั้นด้วยกรรมบาปของเขานั้นแล มิให้เขาอยู่สบาย

    แลให้เขาทนเจ็บปวดสาหัส ได้เวทนาพ้นประมาณทนอยู่ในนรกอันชื่อสุนักขนรกนั้นแลฯ นรกบ่าวอันดับนั้นไปเป็นคำรบ ๓ ชื่อว่าโสรชตินรก คือผู้ได้กล่าวร้ายแก่ท่านผู้มีศีล อันท่านบมิได้ให้ความผิดแก่ตนแต่สิ่งใดสิ่งหนึ่งเลย แลมากล่าวร้ายแก่ท่านดุจดังเอาหอกมาแทงหัวใจท่านให้ได้ความเจ็บอาย คนผู้นั้นครั้งว่าตายก็ได้ไปเกิดในนรกนั้นแล

    ในพื้นนรกนั้นย่อมเล็กแดงเป็นเลวไฟลุกอยู่บมิเหือดเลยสักคาบ ฝูงนรกนั้นไส้เหยียบเหนือแผ่นเหล็กแดงนั้น แลฝุงยมบาลถือค้อนเหล็กแดงอันใหญ่เท่าลำตาลไล่ตีฝูงนนรกนั้น ๆ ก็แล่นไปบนแผ่นเหล็กแดง ๆ ลุกเป็นไฟเร่งไหม้ตีนเขาแลร้อนเวทนานักหนาแล ยมบาลไล่ตีคนนรกนั้นเนื้อและตนเขาก็แหลกเป็นภัสมะไปสิ้น บัดเดี๋ยวไส้ ก็เกิดเป็นตนเขาคืนมาดังเดียวนั้นเล่า

    เพราะว่าบาปกรรมแห่งเขาไป่มิสิ้นตราบใดแล ทนเวทนาไปในนรกอันชื่อว่โสรชตินรกตราบนั้นแลฯ นรกบ่าวอันเป็นคำรบ ๔ นั้น ชื่อว่อังคารกาสุมนรก คนผู้ใดแลชักชวนท่านผู้อื่นว่าจะกระทำบุญและทานเอาทรัพย์มาให้แก่ตนว่าให้ทำบุญ แลตนมิได้กระทำบุญและลวงเอาทรัพย์ของท่านมาไว้เป็นอนาประโยชน์แก่ตน

    คนผู้นั้นตายไปได้เกิดในนรกอันชื่อว่าอังคารกาสุมนรกนั้น แลฝูงยมบาลอันอยู่รักษานรกนั้นบ้างก็ถือหอกดาบ บ้างถือค้อนเหล็กแดงลุกเป็นเปลวไฟขับต้อนบ้าง แทงบ้าง ฟันบ้าง ตีบ้าาง ไล่ผลักไล่ให้ตกลงไปในหลุมถ่านไฟอันแดง แลถ่านไฟอันแรงนั้นไหม้ตนเขา ๆ ร้อน ๆ ทนเวทนานักหนา ฝูงยมบาลจึงเอาจะหวักเหล็กอันใหญ่ตักเอาถ่านไฟแดงหล่อรดเหนือหัวเขาลง เขาก็มิอาจจะอดร้อนได้ เขาก็ร้องไห้ด้วยเสียงอันแข็งนักหนา แลกรรมบาปแห่งเขานั้นจึงมิให้เขาตาย

    ครั้งเขาตายจากขุนถ่านไฟนั้น ๆ ฯ อันดับนั้นเป็นคำรบ ๕ ชื่อว่าโลหกุมภีนรก แลคนผู้ใดอันตีสมณพราหมณ์ผู้มีศีลไส้ คนผู้นั้นตายได้ไปเกิดในโลหกุมภีนรก ๆ มีเหล็กแดงอันใหญ่เท่าหม้ออันใหญ่นั้น แลเต็มด้วยเหล็กแแดงเชื่อมเป็นน้ำอยู่ฝูงยมบาลจับ ๒ ตีนคนนรก ผันตีนขึ้นแลหย่อนหัวเบื้องต่ำแล้วและพุ่งตัวคนนั้นลงในหม้ออันใหญ่นั้น แลสัตว์นั้นร้อนนักหนาดิ้นไปมาอยู่ในหม้อนั้น ทนเวทนาอยู่ดังนั้นหลายคาบหลายคราแลทนอยู่กว่าจะสิ้นอายุสัตว์ในนรกอันชื่อว่โลหกุมภีนรกนั้นแลฯ นรกบ่าวอันดับนั้นเป็นคำรบ ๖ ชื่อว่าโลหกุมภนรก

    แลคนผู้ใดฆ่าสัตว์อันมีชีวิต เชือดคอสัตว์นั้นให้ตายไส้ คนผู้นั้นครั้นว่าตายไปเกิดในนรกนั้น แลสัตว์นรกนั้นมีตัวอันใหญ่และสูงได้ ๖ พันวา ในนรกนั้นมีหม้อเหล็กแดงใหญ่เท่าภูเขาอันใหญ่ แลฝูงยมบาลเอาเชือกเหล็กแดงอันลุกเป็นเปลวไฟไล่กระวัดรัดคอเข้าแล้วตระบิด ให้คอเขานั้น ขาดออกแล้ว ๆ เอาหัวเขาทอดลงในหม้อเหล็กแดงนั้น เมื่อแลหัวเขาด้วนอยู่ดังนั้นไส้ บัดเดี๋ยวก็บังเกิดหัวอันหนึ่งขึ้นมาแทนเล่า ฝูงยมบาลจึงเอาเชือกเหล็กแดงบิดคอให้ขาด แล้วเอาหัวทอดลงไปหม้อเหล็กแดงอีกเล่า แต่ทำอยู่ดังนี้หลายคาบหลายครานัก

    ตราบเท่าสิ้นอายุ แลบาปกรรมแห่งเขานั้นแลฯ นรกบ่าวอันดับถัดนั้นเป็นคำรบ ๗ ชื่อว่าถูสปลาจนรก แลคนฝูงใดเอาข้าวลีบก็ดีแกลบก็ดี ฟางก็ดี มาระคนปนด้วยข้าวเปลือกแลเอาไปพรางขายแก่ท่านว่าข้าวดี คนฝูงนั้นตายได้ไปเกิดในนรกนั้น ๆ มีแม่น้ำอันหนึ่งเล็งเห็นมานั้นไส้ งามดีไหลไปบมิขาดสักคาบ

    ในพื้นน้ำนรกนั้นดาษไปด้วยเหล็กแดงเป็นเปลวไฟลุกไหม้ตนคนนั้น เขาร้อนเนื้อตนเขานักหนา แลเขากระหายอยากน้ำนักหนาเพียงไส้จะขาดออก เขาจึงเอามือทั้ง ๒ พาดเหนือหัวเขาแล้วร้องไห้แล่นไปเหนือเหล็กแดงดังไฟก็เร่งไหม้ตีนเขา ๆ แล่นไปสู่แม่น้ำอันใสงามนั้น เขาโจนลงในน้ำนั้น บัดเดี๋ยวน้ำนั้นก็กลายเป็นไฟขึ้นทั้ง ๒ ฟากนั้นมาไหม้ตนเขากลายเป็นข้าวลีบ แลแกลบก็เป็นไฟมาไหม้ตัวเขาลุกนักหนาแลฯ เขานั้นให้อยากน้ำนักหนา อดบมิได้เขาก็ร้องไห้แล้วเขากำเอาข้าวลีบและแกลบนั้นให้กิน

    เมื่อกินครั้นว่ากลืนข้าวลีบและแกลบนั้นเขาไปเถงท้องแล้วดังนั้น ก็กลายเป็นไฟออกเบื้องทวารภายต่ำ แลเป็นไฟข้าวลีบและแกลบพุ่งออกจากตัวเขานั้น เขาก็ร้องไห้นักหนา อดบมิได้จึงเอามือมาพาดเหนือหัวแล้วร้องไห้ด้วยเสียงแรงนักหนา สิ้นกาลหึงนานนักฯ แลนรกบ่าวอันเป็นคำรบ ๘ นั้นชื่อลคติหสลนรกนั้น คนฝูงใดเร่งลักสินท่าน แลคนฝูงกล่าวร้ายแก่เขา

    ผู้เป็นโจรแลให้เจ้าของแพ้แรงพรางเอาของท่านสิ้นบมิได้เขาโสด คนฝูงนั้นตายได้ไปเกิดในนรกนั้น แลยมบาลฝู่งรักษานรกนั้นยืนอยู่รอบคนทั้งหลายหมู่ตกนรกนั้น ๆ ระแวดระวังขับเนื้อทั้งหลายในกลางป่าทุกแห่งทุกพายแลมิให้หนีรอดได้นั้น ฝูงยมบาลเอาหอกชนักไล่แท ไล่พุ่งเขาทั้งหลาย ๆ ที่ก็ถูกบาดเจ็บทั่วตัวคนฝูงนั้น หลายแห่งนั้นดุจดังใบตองแห้ง อันท่านเอามาสับให้แหลกนั้นแล

    ฝูงคนนรกทั้งหลายนั้นก็แหลกไปดุจดังนั้นแลฯ นรกบ่าวอันดับเป็นคำรบ ๙ นั้นชื่อสีลกัตตนรก คนฝูงใดฆ่าปลาแลหาบมาขายในกลางตลาดไส้ ตายได้ไปเกิดในนรกนั้น ฝูงยมบาลเอาเชือกเหล็กแดงคล้องคอ แล้วลากเอาไปทอดลงเหนือแผ่นเหล็กแดงแล้วจึงแทงด้วยหอกชนัก แล้วจึงฟันด้วยพร้า แล่เอาเนื้อเขาออกเรียงขาย ดังท่านเรียงชื้นเนื้อชิ้นปลาขายกลางตลาดนั้นแล แล้วก็คืนเข้าเป็นตัวดังเก่าเล่าแลฯ นรกบ่าวอันดับนั้นเป็นคำรบ ๑๐ นั้นชื่อว่า โมราปมิลหนรก

    คนฝูงท่านท้ายพระญาใช้ให้ไปสิ่งสารากรแก่ไพร่ฟ้าราษฎรกรมทั้งหลาย แลเรียกเอามากกว่ากำหนดท่าน แลกล่าวร้ายแก่ท่านเป็นต้นว่าาท่านตีท่านผู้มีไมตรีรักตน แลเป็นมิตรโทษทรหดดังนั้น ครั้นตายไปเกิดในนรกนั้น

    บาปกรรมอันกระทำคุกคามคำรามแก่เขาว่าจะใส่ชื่อและคาผูกตีนและมือเขา ทำข่มเหงเอาแก่เขา แลคนหมู่กระทำร้ายแก่ผู้รักตน และกระทำแก่ท่านเป็นต้นว่าฆ่าท่านตีท่านผุ้มีไมตรีและเป็นมิตร โทษดังนั้น ครั้นว่าตายไปเกิดในนรก คนนรกนั้นอยุ่ในแม่น้ำใหญ่อันหนึ่ง แลเต็มไปด้วยลามกอาจมและเหม็นนักหนา แม้นว่าอยู่ไกลได้ ๑๐๐ โยชน์ ๑ ก็ดียังเหม็นอยู่เลย เขายืนอยู่นักหนา เขาอดบมิได้ เขาก็กินอาจมนั้นต่างข้าวต่างน้ำทุกวารแลฯ นรกบ่าวอันดับนั้นเป็นคำรบ ๑๑ ชื่อโลหิตบุพนรกนั้น คนฝูงกระทำร้ายแก่พ่อแม่และสงฆ์ และคนผู้มีคุณและท่านผู้มีศีลก็ดี คนฝูงนั้นตายไปเกิดในนรกนั้เน

    คนในนรกนั้นอยู่ในแม่น้ำอันใหญ่อัน ๑ เทียรย่อมเต็มไปด้วยเลือดและหนองทั้งหลาย แบเขานั้นหาอันจะกินบมิได้ แลร้อนใจเพื่ออยกานั้นนักหนา คนนรกนั้นจึงกินเลือดและหนองนั้น เมื่อเขากินเลือดและหนองนั้นเข้าไปเถิงท้องเขาไส้ ก็กลายเป็นไฟไหม้แลลอดลงไปใต้ท้ายทวารหนต่ำเป็นไฟพุ่งออกฯ นรกบ่าวอันดับนั้นเป็นคำรบ ๑๒ ชื่อโลหพลิสนรก คนฝูงอันเจรจาซื้อสิ่งสินท่านแลไปพรางว่าจะให้เบี้ยให้เงินท่าน แลตนใส่กลเอาสินท่านด้วยตราชั่งก็ดี ด้วยทะนานก็ดี ก็ใส่กลให้เขาพลั้งพลาดแลประบัดสิ่งสินเขา แลบมิได้ให้เงินแก่เขา ครั้นว่าตายได้ไปเกิดในนรก

    ฝูงยมบาลเอาคีมคาบลิ้นเขาชักออกแล้วเขาเอาเบ็ดเกี่ยวลิ้นเขา ลำเบ็ดนั้นใหญ่เท่าลำตาล เทียรย่อมเหล็กแดงลุกบมิเหือดสักเมื่อ ฝูงยมบาลเขาลากไปผลักไป ให้ล้มหงายเหนือแผ่นเหล็กแดงเป็นเปลวพุ่งไหม้ตนเขาโสด ฝูงยมบาลเถือเอาหนังเขาออกแลขึงดังขึงหนังวัว ฝูงคนนรกอดเจ็บบมิได้ร้องไห้นักหนา แลมีคนอันสั่นระทดดังปลาอันหักคอนั้นแลขึ้นเหนือบกนั้น เขาย่อมรากเลือดออกดังนั้นหลายคาบแก่เขาแลฯ

    นรกบ่าวอันดับนั้นเป็นคำรบ ๑๓ ชื่อว่าสังาฏนรกผู้ชายแรงทำชู้ด้วยเมียท่าน ผู้หญิงทำชู้จากผัวตน ครั้นว่าตายไปเกิดในนรกนั้น ๆ มีผู้หญิงก็หลายมีผู้ชายก็มาก ฝูงยมบาลเอาหอกแทงตนเขาบาดขาดวิ่นนักหนา มีเลือดและน้ำหนองย้อยนักหนา ดุจดังวัวอันท่านเอาหอกแทงเป็นหลายแง แลมีเลือดอันย้อยเต็มตัวทุกแห่ง แลคนนรกนั้นจมอยู่ในแผ่นเหล็กแดงจมลงครึ่งตน เขาทุกคนเทียรย่อมเอามือพาดเหนือหัวเขาร้องไห้อยู่นักนา ตนเขาฝังอยู่ในนั้นดังคนแสร้งฝังไว้แล ยังมีเขาเหล็กแดงอัน ๑ ลุกเป็นเปลวไฟแลกลิ้งเข้ามาแลมีเสียงอันดัง เสียงฟ้าแลกลิ้งมาทั้งสองข้างหนีบตนเขาดังท่านหนีบอ้อยดังนั้นเป็นหลายคาบแลฯ

    นรกบ่าวถัดนั้นเป็นคำรบ ๑๔ ชื่อวสิรนรก คนฝูงอันกระทำชู้ด้วยเมียท่านตายไปเกิดในนรกนั้นแลฯ นรกนั้นเทียรย่อมผู้หญิงทั้งหลายผู้ชายก็หลายนัก ยมบาลจบ ๒ ตีนเข้า แลหย่อนหัวลงในขุมนรกนั้นแล้วจึงเอาค้อนเหล็กแดงตีตนเขาให้ยับย่อยไปเล่าแลฯ

    นรกบ่าวถัดนั้นอันคำรบ ๑๕ ชื่อโลหสิมพลีนรก ฝูงคนอันทำชู้ด้วยเมียท่านก็ดี และผู้หญิงอันมีผัวแล้วแลทำชู้จากผัวก็ดี คนฝูงนั้นตายไปเกิดในนรกนั้น ๆ มีป่าไม้งิ้วป่า ๑ หลายต้นนัก แลต้นงิ้วนั้นสูงได้แลโยชน์ แลหนามงิ้นนั้นเทียรย่อมเหล็กแดงเป็นเปลวลุกอยู่ แลหนามงิ้วนั้นยาวได้ ๑๖ นิ้วมือเป็นเปลวไฟลุกอยู่บห่อนจะรู้ดับสักคาบแล

    ในนรกนั้นเทียรย่อมฝูงหญิงฝูงชายหลาดแลคนฝูงนั้นเขาได้รักใคร่กันดังกล่าวมาดุจก่อนนั้นแล ลางคาบผู้หญิงอยู่บนปลายงิ้วผู้ชายอยู่ภายต่ำ ฝูงยมบาลเขาก็เอาหอกดาบแหลนหลาวอันคมเทียมย่อมเหล็กแดงแทงตีนผู้ชายนั้น จำให้ขึ้นไปหาผู้หญิงชู้ของสูอันอยู่บนปลายงิ้วโพ้นเร็วอย่าอยู่

    แลฝูงผู้ชายทนเจ็บบมิได้จึงปีนขึ้นไปบนต้นงิ้วนั้น ครั้นว่าขึ้นไปไส้หนามงิ้วนั้นบาดทั่วตนเขาขาดทุกแห่งแล้วเป็นเปลวไฟไหม้ตนเขา ๆ อดบมิได้ จึงบ่ายหัวลงมา ฝูงยมบาลก็เอาอกแทงซ้ำเล่า ร้องว่าสูเร่งขึ้นไปหาชู้สูที่อยู่บนปลายงิ้วโพ้นสูจะลงมาเยียใดเล่า เขาอดเจ็บบมิได้ เขาเถียงยมบาลว่า ตูมิขึ้นไปเขาก็มิขึ้นไป แลหนามงิ้วบาดทั่วทั้งตัวเขา ๆ เจ็บปวดนักหนาดังใจเขาจะขาดตาย แลเขากลัวฝูงยมบาลเขาจึงขึ้นไปเถิงปลายงิ้วนั้น

    ครั้นจะใกล้เถิงผู้หญิงนั้นไส้ ก็แลเห็นผู้หญิงนั้นกลับลงมาอยู่ภายต่ำเล่า ยมบาลหมู่ ๑ แทงตีนผู้หญิงให้ขึ้นไปหาผู้ชายผู้เป็นชู้สูอันอยู่บนปลายงิ้วนั้นเล่า แลว่าเมื่อเขาขึ้น เขาลงหากันอยู่ฉันนั้น เขาบมิได้พบกัน ยมบาลขับผู้หญิง ผู้ชายจำให้ขึ้นให้ลงหากันดังนั้นหลายคาบหลายครา ลำบาดนักหนาแลฯ

    นรกบ่าวถัดนั้นเป็นคำรบ ๑๖ ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐินรกแล ฝูงใดอันอยู่ในเมืองมนุษย์นี้ย่อมถือมิจฉาทิฏฐิ ๆ มีสองประการ ๆ หนึ่งชื่อเหตุทิฏฐิ อนึ่งชื่อรสาทิฏฐิ หมู่มิจฉาทิฏฐินี้บุญเขาบมิรู้จักบาปเขากระทำ ฝูงคนนรกนั้นโสดความเขาร้ายในนรกนั้น และมียมบาลนั้นใหญ่นักหนาเทียรย่อมถืออกดาบและหลาวแหลน และค้อนเหล็กแดงเทียรย่อมลุกเป็นเปลวไฟอยู่ทุกคาบ เขขาทิ่มเขาแทงเขาฆ่าฟัน และงคนนรกนั้นเจ็บปวดเวทนากว่าตนพ้นประมาณ ดูลำบากนัก เทียรย่อมทนทุกข์มากกว่านรกทั้งหลายอันกล่าวแล้วนั้นแลฯ

    อันกล่าวแล้วนี้ คือนรกบ่าว ๑๖ อัน ๆ อยู่รอบสัญชีพนรกอันอยู่บนนรกทั้งหลายนั้นไส้ และนรกบ่าวทั้งหลายซึ่งอยู่รอบนรกใหญ่ ๗ อันนั้นซึ่งอยู่ใต้สัญชีพนรกลงไปภายใต้นั้น เราบมิกล่าวเถิงได้เลยร้ายกว่านี้ยิ่งนักหนาแลฯ


    อันว่าโลกันตนรกนั้นมีดังนี้ ฝูงจะกล่าวพาลหลงทั้งหลายนี้แล ๓ อันอยู่ใกล้กันดังเกวียน ๓ อัน แลวางไว้ข้างกันดังบาตร ๓ ลูกอันไว้ใกล้กันนั้นหว่างจักรวาล ๓ อัน และมีนรกชื่อว่าโลกันตนรกแล อันแลอันในโลกันตนรกนั้นกว้างได้ ๘,๐๐๐ โยชน์ด้วยหลายนักหนาและจะนับบมิได้ มีคูลึกวงรีหาพื้นน้ำบมิได้ หาฝาเบื้องบนบมิได้ไส้ เมื่อใต้น้ำอันชูแผ่นดินนี้หากเป็นพื้นขึ้นชื่อว่าโลกันตนรกนั้น และเบื้องบนเป็นปล่องขึ้นไปถึงพรหมโลกย์ อันว่าจะมีวิมานอยู่ตรงบนโลกันตนรกขึ้นไปนั้นหามิได้

    เนตรแลในโลกันตนรกนั้นมืนักหนา ฝูงสัตว์ซึ่งได้ไปเกิดในโลกันตนรกนั้นดังหลับตาอยู่เมื่อเดือนดับนั้นแล เมื่อดาวเดือนแลตระวันอันไปส่องให้คนทั้งหลาย ๔ แผ่นดินนี้ให้เห็นหนทุกแห่ง ดังนั้นก็มิอาส่องให้เห็นหนในโลกันตนรกนั้นได้

    เพราะว่าเดือนและตระวันอันเป็นไฟและส่องให้คนทั้งหลาย ๔ แผ่นดินนี้ไปส่องสว่างกลางหาวแต่เพียงปลายเขายุคุนธรไส้ และส่องสว่างไปแต่ในกำแพงจักรวาล และโลกันตนรกนั้นอยู่นอกกำแพงจักรวาลไส้

    อยู่หว่างเขาจักรวาลภายนอกเรานี้จึงบมิได้เห็นหนไส้ เพื่อดังนั้นแลฯ เพราะว่าเดือนแลตระวันมิได้ส่องได้ เพราะว่าปลายเขากำแพงจักรวาลนั้นสิ สูงกว่าปลายเขายุคุนธร อันเพียงหนทางเดือนตระวันส่องไปนั้นแลฯ ถ้าและว่าต่อเมื่อใดโพธิสัตว์ผู้จะลงมาอุบัติตรัสแก่สัพพัญญุตญาณ และเมื่อท่านเสด็จลงไปเอาปฏิสนธิในครรภ์พระมารดานั้นก็ดี

    แลเมื่อท่านสมภพจาตุโกรธรนั้นก็ดีแล เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสแก่สัพพัญญุตญาณนั้นก็ดีแล เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสเทศนาพระธรรมจักรนั้นก็ดีแล เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่นิพพานนั้นก็ดี ในกาล ๕ ที่นี้ในโลกันตนรกนั้นจึงได้เห็นหนแท้นักหนา คนซึ่งอยู่ในนรกนั้นจึงได้เห็นกัน และสัตว์ในฦดลกันตนรกก็คือว่าฉันนี้กูเดียว ว่าแต่กูมาอยู่ที่นี้คนเดียวแลหรือฯ อันว่าเขาและบ่อนกันดังนั้นก็ดีบมิได้เห็นอยู่นาน เห็นเร็วประมาณดีดนิ้วมือเดียวไส้ เห็นปานดังสายฟ้าแมลบคาบเดียวไส้ เมื่อดังนั้นเขาทั้งหลายนั้นมิได้ว่าอันใด

    ครั้นเขาว่าแต่เท่านั้นแล้วไส้ก็กลับมืดไปดังเก่าเล่าแลฯ ผิเมื่อพระพุทธเจ้าตรัสเทศนาธรรมจักรนั้น ยังค่อยเรืองอยู่เว้นนานกว่าทุกคาบสะน้อยแสนสายจึงวายเรือง คนฝูงใดอันกระทำร้ายแก่พ่อและแม่และสมณพราหมณาจารย์ผู้มีศีล และยุยงพระสงฆ์ให้ผิดกัน ครั้นว่าตายไปเกิดในนนรกอันชื่อว่าโลกันตนรกนั้นและเขานั้นใหญ่หนักหนาโดยสูงได้ ๖,๐๐๐ วา เล็บตีนเล็บมือเขานั้นดังคั้งคาวและใหญ่ยาวนักหนา สมควรด้วยตัวอันใหญ่นั้นเล็บนั้นสมนักหนา ผิละเกาะแห่งใดก็ติดอยู่แห่งนั้น เขาเอาเล็บเขานั้นเกาะกำแพงจักรวาลมั่นหน่วงอยู่ และเขาห้อยตนเขาอยู่ดังคั้งคาวนั้นแล

    เมื่อเขาอยากอาหารไส้ เขามิได้ไปาเพื่อจะหากิน ครั้นได้ต้องมือกันเข้าไส้ ใจเขานึกว่าเขากินก็จับกุมกันกิน คนผู้นึ่งก็นึกว่าเขากิน จึงคนทั้งสองนั้นก็จับกุมกันกิน ต่างคนต่างตระครุบกันกินก็รัดเอาด้วยกันทั้งสองคนในน้ำอันชูแผ่นดิน เมื่อเขาตกลงในน้ำนั้นดุจลูกไม้อันใหญ่แลหล่นลงในน้ำนั้น และใต้น้ำนั้นโสดแต่แรกตั้งแผ่นดินแดดบห่อนจะไปต้องน้ำนั้นบัดเดี๋ยวใจไส้ ตนเขาก็เปื่อยแหลกออกไปสิ้นดังก้อนอาจมซึ่งตกลงในน้ำนั้นก็ตายบัดใจ แล้วจึงกลายเป็นตนเขาขึ้นอีกเล่าโสด เขาจึงปีนขึ้นไปเกาะกำแพงจักรวาลภายนอกนั้นอยู่ดังก่อนเล่าแล แต่เขาตายเขาเป็นอยู่ดังนั้นหลายคาบหลายครานักหนาแล แต่เขาทนทุกขเวทนาอยู่ที่นั้นช้าหึงนานนักชั่วพุทธันดรกัลปหนึ่งแลฯ


    ฝูงสัตว์อันเกิดในมหาอวิจีนรกนั้น ทนทุกขเวทนาคาบหึงนานสิ้นกัลป ๑ จึงพ้นแล กัลป ๑ นั้นช้าหึงนานประมาณเท่าใดเล่า และจะนับด้วยปีและเดือนไส้ บมิอาจนับได้เท่าเว้นไว้แต่อุประมาให้รู้ฯ ว่ายังมีภูเขาอันหนึ่งโดยสูงไส้ได้ โยชน์ ๑ โดยรอบเขานั้นไส้ได้ ๓ โยชน์แล ถึงร้อยปีเอาผ้าทิพย์อันอ่อนดังควันไฟมากวาดภูเขาแต่แลคาบ เมื่อใดภูเขานั้นราบเพียงแผ่นดินจึงเรียกว่าสิ้นกัลป ๑ แล ฯ


    ผิแลมีผู้โจทนาว่าดังนี้ ว่าคนอันที่ได้กระทำบาปอันเป็นปัญจานันตริยกรรมแลได้ไปตกในนรกอันชื่อว่ามหาอวิจีนรกนั้นดังฤๅและจะนับถ้วนกัลปดังกล่าวนั้นเลย เพราะว่ากัลปหนึ่งพ้นไปแล้ว ๓ ส่วน และยังส่วนเดียวไส้ และไฟจักไหม้กัลปฯ ท่านผู้เฉลยว่าฉันนี้ ฝูงที่ไปตกในมหาอวิจีนรกตราบใด แลไปบมิถ้วนกัลปดังกล่าวนั้น ผิแลไฟกัลปมาก็ดีบมิไหม้คนนรกนั้นได้เพื่อดังฤๅไส้

    ครั้นว่าไฟกัลปไหม้มาเถิงมหาอวิจีนรกนั้นและว่ายังมีลมอันหนึ่งเป็นบาปก็พัดเอาตัวสัตว์อันอยู่ในอวิจีแลไปบมิถ้วนกัลปนั้นก็พัดเอาสัตว์นั้นไปไว้มหาอวิจีนรก อันมีในจักรวาลอันอื่นที่ไฟไหม้ไปบมิเถิงนั้น ลมพัดเอาเขาไปพลันนัก ผิจะอุปมาดุจนกตัว ๑ จับต้นไม้อันสูงและสูงเท่าใดก็ดี ครั้นว่านกนั้นบมิไปจากต้นไม้นั้นตราบใดยังเห็นเงานกตกอยู่ที่กลางดินนั้น พร้อมกับบมิทันรู้ว่าอันก่อนอันหลังนั้นและมีฉันใดคนอันจากอวิจีอยู่ในจักรวาลอันไฟไหม้นั้น แลไปอยู่ในอวิจีอันอื่นในจักรวาลอันอื่นอันไฟไหม้บมิเถิงนั้นดุจดังเงานก สัตว์คนนรกนั้นตราบได้บมิถ้วนกัลปดังกล่าวมานั้นบมิพ้น บาปอันใดและบาปแห่งพระเทวทัตอันได้ไปไหม้อยู่ในมหาอวิจีนรกนั้น ไกลแต่เราอยู่นี้ไปเถิงยมโลกย์ได้ ๑๕๐ โยชน์

    แต่ยมโลกย์ลงไปถึงอวิจีได้พันโยชน์ ลมอันจรดได้โยชน์ และแผ่นดินอันเราอยู่นี้ โดยกว้างได้หมื่นโยชน์ โดยหนาได้ ๒๔,๐๐๐ โยชน์ และน้ำอันทรงแผ่นดินไว้หนาได้ ๔๘๐,๐๐๐ โยชน์ ลมอันทรงน้ำและแผ่นดินบมิให้จมบมิให้ไหว โดยหนาได้ ๙๖๐,๐๐๐ โยชน์ ฝูงนรกทั้งหลายนั้นย่อมอยู่ใต้แผ่นดินที่เราอยู่นี้แลฯ กล่าวเถิงฝูงสัตว์อันเกิดในนรกภูมิ อันเป็นปถมกัณฑ์โดยสังเขปกถาเท่านี้แลฯ
    <!-- Saved in parser cache with key panyathai_wiki:pcache:idhash:10441-0!1!0!!th!2 and timestamp 20090202202253 -->
    <!-- end content -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กุมภาพันธ์ 2009
  7. สัตบุรุษ

    สัตบุรุษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    733
    ค่าพลัง:
    +840
    ดิรัจฉานภูมิ


    และสัตว์อันเกิดในติรัจฉานภูมินั้น ลางคาบเป็นด้วยอัณฑชะโยนิ ลางคาบเป็นด้วยชลามพุชะโยนิ ลางคาบเป็นด้วยสังเสทชะโยนิ ลางคาบเป็นด้วยอุปปาติกะโยนิ แต่สิ่งอันดังนี้ชื่อติรัตฉาน มีอาทิคือว่าครุฑแลนาคสิงห์ช้างม้าวัวควายเนื้อถึกทุกสิ่ง เป็ดและห่านไก่และนกและสัตว์ทั้งหลาย ฝูงนี้สิ่งอันมี ๒ ตีนก็ดี ๔ ตีนก็ดี หลายตีนก็ดี เทียรย่อมเดินไปมาและคว่ำมาอกลงเบื้องต่ำ และฝูงตกนรกชื่อติรัจฉาน

    อันว่าฝูงติรัจฉานนั้นเทียรย่อมพลันด้วย ๓ ชื่อ อนึ่งชื่อกามสัญญา อนึ่งชื่ออาหารสัญญา อนึ่งชื่อมรณสัญญาฯ อันชื่อว่ากามสัญญานั้น เขาพลันด้วยกามกิเลสแลฯ อันชื่อว่าอาหารสัญญานั้นเขาพลันด้วยอาหารนั้นหากมีฯ อันชื่อว่ามรณสัญญา เขาพลันด้วยความตาย คือ อายุสม์แห่งเขาน้อย เขาอ่อนด้วยพลันสามนี้ชื่อทุกเมื่อฯ อันว่าติรัจฉานนี้แลจะมีธรรม

    สัญญานั้นหาบมิได้มากนักหนาแลฯ อันว่าธรรมสัญญานั้นรู้จักบุญจักธรรม เลือกติรัจฉานจะรู้จักบุญจักธรรมไส้ฯ อันว่าเป็นติรัจฉานนี้บห่อนจะเลี้ยงตนด้วยค้าและขายและทำไร่ไถนาเลี้ยงชีวิตหาบมิได้ฯ ลางสิ่งกินลำเชือกเขากินใบเชือกเขากินใบไม้ฯ มีลางสิ่งกินแต่เพื่อนฝูงตนเอง มีลางสิ่งกินอันบแรงหลักฐานเขา

    เนื้ออันบแรงนั้นกลัวเขาก็แล่นไปเร้นที่ลับเขาไล่ทันจึงกินสิ่งนั้น ฝูงติรัจฉานนั้นย่อมข้าศึกอันรู้พึงมาเลี้ยงตนรอดชั่วตนเขา เมื่อเขาตายไปแลเขาย่อมไปเกิดในจตุราบายไส้ เลือกแลนักจริงสัตว์จะได้เกิดเมืองฟ้าไส้ ฝูงนั้นเดินไปมาย่อมท้ำอกลงต่ำดังนั้นมีสิ่งร้ายไส้ฯ ซึ่งว่าสิ่งอันดีนั้นคือราชสีห์

    อันว่าราชสีห์นั้นมี ๔ สิ่ง ๆ หนึ่งชื่อติณะสิงหะ สิ่งหนึ่งชื่อกาละสิงหะ สิ่งหนึ่งชื่อบัณฑรสิงหะ สิ่งหนึ่งชื่อไกรสรสิงหะฯ อันว่า ติณสิงหะ นั้นมีตนมันดังปีกนกเขา ย่อมกินแต่หญ้ามาเป็นอาหาร กาลสีหะนั้นดำดังวัวดำ ย่อมกินหญ้าเป็นอาหาร บัฑรสีหะนั้นมีตนเหลืองดังใบ ย่อมกินเนื้อเป็นอาหาร ไกรสรสีหะนั้นมีฝีปากแลปลายตีนทั้ง ๔ นั้นแดงดังท่านเอาน้ำครั่งละลายด้วยน้ำชาดหรคุณทา

    ทั้งปากทั้งท้องแดงดังนั้นโสดเป็นแนวแดงแต่หัวตลอดรอบบนหลังอ้อมลในแค่งซาบ สอดหลังแดงดังรส เอวนั้นงามดังท่านแสร้งแต่ง ตนราชสีห์นั้นมีสร้อยอันอ่อนดังนั้น งามดังท่านเอาผ้าแดงอันมีค่าได้แสนตำลึงทองแลเอามาพาดเหนือตนไตรสรสิงหะนั้น

    ในตัวไกรสรสิงหะนั้นที่ขาวก็ขาวนักดังหอยสังข์อันงามท่านผินใม่ ผิเมื่อไกรสรสิงหะนั้นออกจากคูหาทองก็ดีเงินก็ดี คูหาแก้วก็ดีอันเป็นที่อยู่แห่งไกรสรสิงหะนั้น ตนจึงไปยืนอยู่เหนือแผ่นศิลาเลืองอันเรืองงามดังทอง สี่ตีน ๒ ตีนหลังเหยียบเพียงกันและเหยียบสองตีนหน้าจึงขัดขนหลังนั้น

    และเหยียบสองตีนเบื้องหน้าจึงฟุบสองตีนหลังลงและยืนตัวขึ้นแล้วจึงกระทำเสียงออกดังเสียงฟ้าลั่น แล้วจึงสั่นขนฟุ้งในตนเสีย แล้วจึงแต่งตนไปเดินเล่นไปมาดังลูกวัวแล่นนั้น เมื่อไกรสรสิงหะนั้นเดินไปเดินมาครั้งดูพลันงามนักดังผู้มีกำลังและถือดุ้นไฟแกว่งไป โดยกำลัง เมื่อเดือนดับนั้นแล เมื่อเดินบ่ายไปบ่ายมาดังนั้นก็ร้องด้วยเสียงอันแรง ๓ คาบและเสียงนั้นไปไกลได้ ๓ โยชน์แล แต่บรรดามีสัตว์ ๒ ตีน ๔ ตีนอยู่แห่งใด ๆ ก็ดี

    และเสียงได้ยินเถิงใด ๆ กลัว มีตัวนั้นสั่นแลตกใจสลบอยู่บมิรู้สึกตนเลย เขาหนีจากที่นั้นสิ้นแล แต่ฝูงสัตว์ซึ่งว่าอยู่ในถ้ำ ก็ดำหนีลงไปเถิงพื้นถ้ำพื้นพ่าง แลครางอยู่ช้างสารอยู่ในป่าครั้นได้ยินกล่าวและร้องจำร้อง ฝ่ากลางป่าผิมีช้างบ้านอันหาญผูกด้วยเชือกเหล็กอันมั่นก็ดี ครั้นว่าได้ยินเสียงไกรสรสิงหะนั้นก็ตื่นนักดังเชือกจะขาด ออกทั้งชี้เยี่ยวราดแล่นหนีไปสิ้นแต่ไกรสรสิงหราชดังกันเองแล และฝูงม้าแก้วอันชื่อว่า พลาหกตระกูล และผู้มีบุญคือ

    โฑธิสัตว์และอรหันตาขีณาสพเจ้า หากจะฟังเสียงไกรสรสิงหะนั้นได้ไส้ และไกรสรสิงหะนั้น เมื่อยืนอยู่ในที่เล่นนั้นและเดินเบื้องซ้ายเบื้องขวาไกลได้และชั่ววัวมอ เมื่อขึ้นมาเบื้องบนลางคาบสูงได้ ๗ ชั่ววัวมอ ลางคาบเดินสูงขึ้นได้ ๗ ชั่ววัวมอ เมื่อเดินเบื้องหน้าเหนือที่เพียงไกลได้ ๑๖ ชั่ววัวมอ ลางคาบไกลได้ ๒๐ ชั่ววัวมอไส้ ผิอยู่เนือหลังก็ดีเหนือเขาก็ดีและเดินหนต่ำ ลางคาบไกลได้ ๑๖ โยชน์ ลางคาบได้ ๘๐ โยชน์ ผิเมื่อเดินไปในกลางหาวและมันแลเห็นต้นไม้ใหญ่ออกมันหลีกผิดเบื้องซ้ายเบื้องขวาก็ดี ยังได้แลชั่ววัวมอเลย และเมื่อหยุดแห่งเมื่อร้องด้วยเสียงแรง ๓ คาบดังนั้น

    ครั้นว่าหาย้รองไส้ มันจึงเต้นแล่นไปหน้าได้แล ๓ โยชน์ เมื่อมันเดินไปนั้นเร็วนักแลฯ สวนลมบันริเรียนอยู่ฟังมันได้ยินเสียงภายหลังเล่าเพราะมันเร็วนักฯ อันว่าไกรสรสิงหะนั้นมีกำลังหนักหนาดังกล่าวมานี้แลฯ แต่ติรัจฉาน ๔ ตีนเท้าอย่านับช้างแก้วทั้งหลาย อันว่าจะไปลวงอากาศนั้นแลจะยิ่งกว่าไกรสรสิงหะนี้หาบมิได้เลยฯ


    ฝูงช้างแก้วนั้นมี ๑๐ จำพวก ๆ หนึ่งชื่อเหกาลาพกหัตถีกูล สิ่งหนึ่งชื่อกังเขยกหัตถีกูล สิ่งหนึ่งชื่อจันทรหัตถีกูล สิ่งหนึ่งชื่อตามพหัตถีกูล สิ่งหนึ่งชื่อมังคลหัตถีกูล สิ่งหนึ่งชื่อคันธหัตถีกูล สิ่งหนึ่งชื่อมัลคลหัตถีกูล สิ่งหนึ่งชื่อโปจัตถีกูล สิ่งนึ่งชื่ออุโบสถหัตถีกูล สิ่งหนึ่งชื่อฉัททันตกูล ฝูงช้างนั้นโสดเทียรย่อมอยู่ในคูหาทองและใหญ่งามนักหนา แดงแลรอบโสด แต่ติรัจฉานอันหาตีนบมิได้ปลา ๆ ๗ ตัว ๆ หนึ่งชื่อติรนยาวได้ ๗๕ โยชน์ ตัวหนึ่งชื่อติปังคลนั้นยาวได้ ๒๕๐ โยชน์ ตัวหนึ่งชื่อ ติรปิงคลยาวได้ ๕๐ โยชน์ ตัวหนึ่งชื่ออานนท์ ตัวหนึ่งชื่อนิรย ตัวหนึ่งชื่ออชนาโรหน ตัวหนึ่งชื่อมหาติ และปลา ๔ ตัวนี้ย่อมยาวและตัวและ ๑,๐๐๐ โยชน์ ผิเมื่อปลาตัวชื่อติมรปิงคลอันยาวได้ ๕,๐๐๐ โยชน์และติงปีกซ้ายก็ดีติงปีกขวาก็ดี และติงปลายหางก็ดีติงหัวก็ดี และน้ำในสมุทรนั้นก็สะเทือนตีฟองดังหม้อแกงเดือดไกลได้ ๔๐๐ โยชน์ ผิมันติงปีกทั้งสองข้างและแกว่งหางแกว่งัววัดแวงตีน้ำเล่น น้ำนั้นสะเทือนดินตีฟองไกลได้ ๗๐๐ โยชน์ ลางคาบตีฟองไกลได้ ๘๐๐ โยชน์ แรงปลาตัวอันชื่อติมิรปิงคลนั้นมีกำลังดังกล่าวนี้แลฯ และปลา ๔ ตัวนั้นยังใหญ่กว่านี้ยิ่งมีกำลังนักแลฯ ฝูงติรัจฉานดังครุฑราชดังเมื่อเป็นดุจดังติรัจฉานทั้งหลายแล

    เครื่องเขากินเขาอยู่นั้นเทพยดาในสวรรค์ไส้ และมีเดชนตระบะศักดานุภาพ รู้หลักรู้นิมิตดังเทพยดาในสวรรค์ โสดดังนั้นเรียกเขาชื่อเทพโยนิเลฯ และตีนเขาพระสุเมรุราชนั้น มีสระใหญ่อันหนึ่งได้ชื่อว่าสิมพลีสร้างโดยกว้างได้ ๕๐๐ โยชน์ รอบนั้นเทียรย่อมป่าไม้งิ้วเป็นรอบปลายไม้งิ้วนั้นสูงเพียงกัน ดังแสร้งปลูกและเห็นเขียวงามและพึงพอใจนักหนาแล มีงิ้วใหญ่ต้นหนึ่งโดยธรรมดาใหญ่เท่าไม้ชมพูทวีปเรานี้แล ต้นงิ้วนั้นใหญ่ฝูงงิ้วนั้นเป็นหนารอบ ฝั่งสระนั้น ๆ เป็นที่อยู่แก่ฝูงครุฑทั้งหลายนั้น และสัตว์อันมีปีกและจะเสมอด้วยครุฑหาบมิได้เลย ครุฑราชตัวเป็นพระญาแก่ครุฑทั้งหลายนั้น มีตนนั้นใหญ่ได้ ๕๐ โยชน์ ขนปีกซ้ายก็ดีขนปีกขวาก็ดีหางก็ดีคอก็ดีย่อมยาว ๕๐ โยชน์ ปากนั้นยาวได้ ๙ โยชน์ และตีนทั้งสองยาวได้ ๑๒ โยชน์แล ผิแลเมื่อครุฑนั้นกางปีกไปล่วงกลางหาวเต็มที่ไปได้ ๗๐ โยชน์ ผิเมื่อครุฑนั้นอ้าปีกออกให้เต็มที่ไส้ได้ ๘๐ โยชน์

    ตนครุฑนั้นมันใหญ่ดังนั้นเรี่ยวแรงนักหนาแล ผิแลเมื่อจะเฉี่ยวเอานาคในกลางมหาสมุทร น้ำสมุทรนั้นแตกออกทั้งรอบนั้นทุกแห่งได้แล ๑๐๐ โยชน์ มันจึงเอาเล็บรัดเอาหางนาคนั้นพาบินไปกลางหาวเอาหัวนาคหย่อนลงมาเบื้องต่ำจึงพาไปยังที่อยู่แลก็กิน เมื่อครุฑราชเอานาคกินดังนั้น เอาแต่นาคอันเท่าตนและน้อยกว่าตนดังนั้นบมิได้เอากินไส้ แลใหญ่กว่าตนนั้นก็เอากินบมิได้แลฯ

    ครุฑราชอันเป็นชลาพุชโยนิและอัณฑชโนยิใดไส้ อันจะเอานาคอันสังเสทชโยนิ แลอุปปาติกโยนินั้นดีกว่าตน ดังนั้นบมิได้ ฝูงครุฑก็ดีเทียรย่อมเป็นในโยนิ ๔ อันแลฯ เมื่อไฟไหม้กัลปแล้วแลตั้งแผ่นดินใหม่ บมิได้ตั้งทุกแห่งบมิเป็นโดยธรรมดาแต่ก่อนมีที่เปล่า ยังมีลางแห่งเปล่าโดยกว้างโดยสูงได้แล ๓๐๐ โยชน์ก็ยังมี ลางแงโดยกว้างโดยสูงแลได้ ๔๐๐ โยชน์ก็มี ลางคาบลางแงโดยกว้างโดยสูงได้ ๗๐๐ โยชน์ก็มี แลที่นั้นกลายเป็นแผ่นดินเสมอกันทุกแห่ง

    เลื่อมขาาวงามดังแผ่นเงินยวงมีหญ้าแพรกเขียวมันเหมือนตามกันโดยสูง ๔ นิ้วมือ เขียวงาม ๓ นิ้วมือ ดังแผ่นแก้วไพฑูรย์ฉันนั้นแลฯ ดูรุ่งเรืองทั่วแผ่นดินมีเหมือนดังนั้นทุกแห่ง และมีสระหลายอันเทียรย่อมดาษไปด้วยดอกบัว ๕ สิ่งแลดูงามนักหนา มีฝูงต้นไม้ทั้งหลายเป็นต้นเป็นลำงามแลมิได้เป็นด้วงเป็นแลง แลเป็นลูกเป็นดอกดูตระการงามนักหนา แลมีเชือกเขาเถาวัลย์ลางสิ่งเป็นดอกแดงลางสิ่งเป็นดอกขาว ลิงสิ่งเป็นดอกเหลือง ดูรุ่งเรืองงามแต่ที่นั้นทุกแห่งดังท่านแสร้งแต่งไว้ แลแห่งนั้นเรียกชื่อว่านาคพิภพแลเป็นที่อยู่แก่ฝูงนาคทั้งหลายแล แลมีปราสาทแก้วแลมีปราสาทเงินแลมีปราสาททองงามนักหนา แลมีที่อันเปล่าอยู่นั้นลางแห่งหาสิ่งอันจะอยู่บมิได้ หากเป็นที่กลวงอยู่เปล่าอยู่ไส้ในใต้เขาพระมพานต์กว้างได้ ๕๐๐ โยชน์ เป็นเมืองแห่งนาคราชจำพวก ๑ อยู่แงนั้น

    แลมีแก้ว ๗ ประการเป็นแผ่นดินงามดังไตรตรึงษ์อันเป็นที่อยู่ของพระอินทร์เจ้านั้น แลมีสระใหญ่ ๆ นั้นหลายอันอยู่ทุกแห่ง แลเป็นที่อยู่แห่งฝูงนาคแต่ไปเล่นทุกตาไป แลน้ำนั้นใสงามบมิชระไชรยดุจแผ่นแก้วอันใหญ๋และท่านชัดหลายคราแลมีท่าอันราบนักหนา ที่นาคแรงอาบแรงเล่นนั้นมีฝฝุงปลาใหญ่ไหลไปขบปลาเล็กแฝงจอกดอกบัว ๕ สิ่งบานอยู่ดูตระการทุกแห่ง ดอกบัวหลวงดวงใหญ่เท่ากงเกวียน ผิเมื่อน้ำสะเทือนไหวไปมาดูงามนักหนาดังแสร้งแต่งไว้นั้นแลฯ

    นาคจำพวกหนึ่งในสมุทรถ้าแลเมื่อใดฝูงนาคตัวเมียแลมีครรภ์แก่ แลเขาคำนึงในใจเขาว่าฉันนี้ผิแลว่าออกลูกในกลางสมุทรนี้ ๆ ตีฟองนักหนา แลอีกทั้งนกน้ำก็ตีฟองด้วยลมปีกครุฑโสดฝูงตัวมีครรภ์อันแก่นั้นเขาก็ดำน้ำลงไปออกจากแม่น้ำใหญ่ ๕ อัน อันชื่อว่ คงคา ยมนา อจิรวดี สรภู มหิ มหานทีอันใหญ่ไปสู่มหาสมุทรใหญ่ นั้นจึงดำน้ำนั้นขึ้นไปเถิงป่าใหญ่อันชื่อพระหิมพานต์นั้น มีถ้ำคูหา คำหมู่ครุฑไปบมิเถิงจึงคลอดลูกไว้ในที่แห่งนั้นแล้ว แลอยู่เลี้ยงดูลูกในที่นั้น ต่อเมื่อลูกตนนั้นกล้าแล้วจึงพาไปยังน้ำลึกเพียงหน้าแข้ง แลสอนให้ว่ายน้ำแรงว่ายวังแรงพาไปเถิงที่น้ำลึกแลน้อยถ้วน ๒ ครี้งว่าเห็นลูกตนนั้นใหญ่แลรู้ว่ายดีแล้วจึงพาลูกนั้นว่ายแม่น้ำใหญ่ตามไปตามมา ผิว่าลูกนั้นตามพลันแล้วนาคนั้นจึงนฤมิตให้ฝนนั้นตกหนัก

    และให้น้ำนั้นนองเต็มป่าพระหิมพานต์ค่าน้ำสมุทรแล้ว จึงนฤมิตปราสาททองคำอันประดับนิ์ด้วยแก้วสัตตพิธรัตตะอันรุ่งเรืองงามนักหนาแล ในปราสาทนั้นมีเครื่องประดับนิ์แลเครื่องบริโภคทั้งเครื่องกินเครื่องอยู่นั้นเทียรย่อมเป็นทิพย์ทุกประการดังวิมานเทพยดาในสวรรค์นั้นแลฯ นาคนั้นจึงเอาลูกตนขึ้นอยู่บนปราสาทนั้นแล้ว แล้วจึงเอาปราสาทนั้นลอยล่องน้ำลงมาเถิงมหาสมุทรที่ลึกได้ ๑,๐๐๐ วา

    จึงพาเอาปราสาทแลลูกตนนั้นดำน้ำลงไป อยู่สมุทรนั้นแลฯ นาคนั้นยังมีสองสิ่ง ๆ หนึ่งชื่อ ถลชะ สิ่งหนึ่งชื่อ ชลชะ ฯ นาคอันชื่อถลชะนั้นนฤมิตตนได้แต่บนบกไส้ แลในน้ำนั้นนฤมิตบมิได้ฯ นาคอันชื่อชลชะนั้นนฤมิตตนได้แต่ในน้ำ แลบนบกไส้ตนนฤมิตรบมิได้ ที่เขาเกิดที่เขาตายก็ดีที่เขานอนก็ดีที่เขาสมาคมด้วยกันนั้นก็ดี ที่เขาลอกคราบเขาก็ดี แลในสถานทั้งนี้แลเขาอยู่แห่งใดแห่งหนึ่งก็ดี เขาบมิอาจนฤมิตตนเขาให้เป็นอันอื่นไส้หาบมิได้ ผิแลเขาไปสถานแงอื่นไส้เขาจึงนฤมิตตนเขาใเป็นอันอื่นไปแล

    แม้นว่าเขาจะนฤมิตตนเขาให้งามดังเทพยดาก็ได้แล ผินาคตัวเมียจะนฤมิตตนให้งามดังนางเทพยธิดาอัปสรก็ได้แลฯ ผิเมื่อนาคนั้นจะไปล่าหากินแลเป็นสิ่งใด อันหาเยื่อกินได้ง่ายนั้นไส้ เขาก็ย่อมนฤมิตตนเขาเป็นสิ่งนั้นแล แล้วเขาจึงเที่ยวขึ้นมาล่าหากินในแผ่นดินนี้ ลางคาบเขาเป็นงูไซ ลางคาบเขาเป็นงูกระสา ลางคาบเขาเป็นงูเห่า ลางคาบเขาเป็นงูเขียว ลางคาบเขาเป็นงูอื่น ลางคาบเขาเป็นสัตว์อื่น แลเขาล่าหากินแลเตุว่าเขานั้นชาติติรัจฉานแลฯ

    แต่แผ่นดินอันเราอยู่นี้ลงไปเถิงนาคพิภพอันชื่อว่าติรัจฉานภูมินั้นโดยลึกได้โยชน์ ๑ แล ผิจะนับด้วยวาได้ ๘,๐๐๐ วาแลฯ แต่ติรัจฉานคือราชหงส์อันอยู่ในเขาคิชฌกูฏแลอยู่ในคูหาคำก็ดี อันอยู่ในปราสาททั้งลายด้วยฝุงนกก็ดี อยู่ด้วยหมู่สัตว์ในป่าพระหิมพานต์นั้นก็ดี ก็มีอยู่เป็นอันมากนักหนาแล

    แลอยู่ในบ้านในเมืองไส้ คือว่าเป็ดแลไก่อันคนเลี้ยงกินดังนี้ก็มี แลอย่างว่านกว่าหมานั้นก็มีฯ ครุฑกินนาค ๆ นั้นกินกบกินเขียด กบแลเขียดนั้นกินแมลงบุ้งก็ดีฯ แลติรัจฉานลางสิ่งย่อมกินติรัจฉานอันน้อยกว่าตนฯ ส่วนว่าเสื่อโคร่งเสือเหลืองอันเป็นตัวเมียนั้น ครั้นว่าเขามีลูกมีเต้าเลี้ยงกันดังนั้น แลเมื่อเขาไปล่าหากินไส้ เขาอยากพ้นกว่าอยากนัก เขาอดบมิได้เขาเห็นลูกเขาเข้ามาสู่เขาเพื่อความรักจะกินนมดังนั้นแลเขาบมิได้รักลูกเขาเลยเขาก็กินลูกเขาเอง

    เพราะว่าเขาอยากนักแลเขาอดบมิได้แลฯ ติรัจฉานลางจำพวกเป็นนอกเนื้อลางจำพวกเป็นในเนื้อติรัจฉานเองโสด างจำพวกเป็นที่ร้ายแลมันหากเลี้ยงตนเอง ผิเมื่ออันร้ายสิ้นเข้าาจะกินบมิได้ เขาก็ตายในที่ร้ายนั้นฯ ลางจำพวกนี้ก็เป็นในท้องเรานี้ได้ ๘ ครอก มีนอนฝูงอื่นออกลูกออกเต้าากตายในท้องเรานี้ก็มีแล แลในท้องสิ่งอื่นใหญ่กว่าคนนี้ ในท้องเขาเป็นขี้เป็นเรือนในท้องนั้น ยังมีหลายกว่านี้ก็มีคือว่าไส้เดือนอันมีในท้องคนนั้นแลฯ ฝูงสัตว์ลางจำพวกโสด มีขนมีเล็บมีหนังมีเนื้อมีเอ็นมีกระดูกมีเขามีงาอันจักเข้าการตน

    แม้นชื่อว่าสัตว์นั้นบมีความผิดเข้าสักสิ่งก็ดี ฝูงอื่นปล่าหาฆ่าแทงตีสัตว์ฝูงได้เอามาเป็นประโยชน์แก่ตน ลางจำพวกดังวัวควายช้างม้า และมาให้คนทั้งหลายใช้ต่างทำนักนาโสด แลจะอยู่พักก็บมิได้เลยสักคาบ ผิแลว่าอยากญ้าแลอยากน้ำแลจะอยู่กินก็ดี เขาก็ตีด่าจนจำใจโสด กล่าวเถิงฝูงเกิดในติรัจฉานภูมินั้น อันเป็นทุติยด้วยสังเขปแล้วเท่านี้แลฯ
    <!-- Saved in parser cache with key panyathai_wiki:pcache:idhash:10443-0!1!0!!th!2 and timestamp 20090203072317 -->
    <!-- end content -->
    <!-- end --><!-- end maincontent -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กุมภาพันธ์ 2009
  8. สัตบุรุษ

    สัตบุรุษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    733
    ค่าพลัง:
    +840
    เปตภูมิ


    สัตว์อันเกิดในเปรตภูมิก็เอาโยนิทั้ง ๔ นั้นทุกอันแล ฝูงเปรตอันมีดังนี้อยู่รอบเมืองราชคฤนครนั้น ภายนอกเมืองราชคฤ์นั้นมีถิ่นฐานบ้านเมือง ฝูงเปรตอยู่แงนั้นเรียกชื่อว่าเปรตยมโลกย์แลอันว่าเปรตชื่อว่ายมโลกย์นั้น

    แลมีงเปรตอยู่มากมายนักหนาแลเปรตลางจำพวกอยู่ในกลางสมุทร เปรตลางจำพวกอยู่เหนือเขา เปรตลางจำพวกอยู่กลางเขา แลเปรต ๓ จำพวกนี้ จำพวก ๑ ชื่อตรีเตุปฏิสนธิ จำพวก ๑ นั้นดีมีปราสาทแก้วแลมีกำแพงแก้วล้อมรอบ มีคูล้อมรอบดูงามนักหนาแลฯ เปรตจำพวก ๑ มีช้างม้าข้าคนมียั่วยาน คานามทอง ขี่เที่ยวไปโดยอากาศ

    แม้นชื่อว่าเปรตฝูงนั้นแม้นจะเป็นดีมียศศักดิ์เท่าใด ๆ ก็ดี บมิดุจเทวดาในสวรรค์แล ฝูงเปรตลางจำพวกเมื่อเดือนขึ้นได้เป็นเปรต เมื่อเดือนแรมเป็นเทพยดา ฝูงเปรตลางจำพวกเมื่อเดือนแรมเป็นเปรต

    เมื่อเดือนขึ้นเป็นเทพยดา ฝูงเปรตลางจำพวกเป็นเปรตนานนักรอด ชั่วพุทธันดรกัลปโสด เปรตลางจำพวกที่เป็นเปรตตรีเตุปฏิสนธินั้นก็รู้พระจตุราริยสัจจธรรม เปรตลางจำพวกไปอยู่แฝงต้นไม้ใหญ่ เปรตลางจำพวกอยู่แทบที่ราบ แลย่อมกินอันร้ายเป็นอาารเลี้ยงตนเขา เปรตลางจำพวกมีปราสาททิพย์มีเครื่องกินนั้นย่อมเป็นดังเทพยดา



    ฝูงผีเสื้อลางจำพวกอยู่ในต้นไม้แลย่อมกินข้าวเป็นอาาร ฝูงผีเสื้อเป็นตรีเตุปฏิสนธิก็รู้พระจตุราริยสัจธรรมฯ แลฝูงฝีทั้งลายอยู่ในแผ่นดินอันชื่อปิสาจซ่อนตนอยู่ แม้นว่าเขาอยู่ลับต้นไม้รากไม้น้อยหนึ่งก็ดี คนทั้งลายบมิเห็นตัวเขาเลยฯ ฝูงเปรตแลฝูงผีเสื้อทั้งลาย เมื่อจะตายเขากลายเป็นมดตะนอยดำ ลางคาบเป็นตะเข็บแลแมลงป่อง แมลงเม่า ลางคาบเป็นตักแตนเป็นนอน ลางคาบเป็นเนื้อแลนกแสกน้อยดังฝูงนกจิบนกจาบนั้น ลางคาบกลายเป็นเนื้อเถื่อน ผิแลว่าเขาตายไส้เนื้อเขากลายเป็นดังนั้นทุกเมื่อแลฯ

    เปรตลางจำพวกยืนได้ ๑๐๐ ปี ลางจำพวกยืนได้ ๑๐๐๐ ปี ลางจำพวกยืนชั่วพุทธันดรกัลปฯ แม้นว่าข้าวเมล็ด ๑ ก็ดี น้ำหยาด ๑ ก็ดี แลจะได้เข้าไปในปากในคอเขานั้นหาบมิได้เลยฯ เปรตลางจำพวกตัวเขาใหญ่ปากเขาน้อยเท่ารูเข็มนั้นก็มีฯ

    เปรตลางจำพวกผอมนักหนาเพื่ออาหารจะกินบมิได้ แม้นว่าจะขอดเอาเนื้อน้อย ๑ ก็ดี เลือดหยด ๑ ก็ดีบมิได้เลย เท่าว่ามีแต่กระดูกแลหนังพอกกระดูกภายนอกอยู่ไส้ หนังท้องนั้นเหี่ยวติดกระดูกสันหลังแลตานั้นลึกและกลวงดังแสร้งควักเสีย ผมเขานั้นยุ่งรุ่ยร่ายลงมาปกปากเขา มาตรว่าผ้าร้ายน้อย ๑ ก็ดี แลจะมีปกกายเขานั้นก็หาบมิได้เลยเทียรย่อมเปลือยอยู่ชั่วตน ตัวเขานั้นเหม็นสาบพึงเกลียดนักหนาแล

    เขานั้นเทียรย่อมเดือดเนื้อ้อนใจเขาแล เขาร้องไห้ร้องครางอยู่ทุกเมื่อแล เพราะว่าเขาอยากอาหารนักหนาแล ฝูงเปรตทั้งหลายนั้นเขายิ่งหาแรงบมิได้เขาย่อมนอนหงายอยู่ไส้ เมื่อแลฝูงนั้นเขานอนอยู่แลหูเขานั้นได้ยินประดุจเสีงคนร้องเรียกเขาว่า สูทั้งหลายเอ๋ยจงมากินข้าวกินน้ำ แลฝูงเปรตทั้งหลายนั้เขาได้ยินเสีงดังนั้นเขาก็ใส่ใจว่เขามีข้าวมีน้ำ จึงเขาจะลุกไปหากินไส้ก็ยิ่งหาแรงบมิได้ เขาจะชวนกันลุกขึ้นต่างคนต่างก็ล้มไปล้มมา

    และบางคนล้มคว่ำบางคนล้มหงาย แต่เขาทนทุกข์อยู่ฉันนั้นหลายคาบนักแล แต่เขาล้มฟัดกันหกไปหกมาและค่อยลุกไปดังนั้น แลเขาได้ยินดับงนั้นแลเขามิใช่ว่าแต่คาบเดียวไส้ ได้ยินอยู่ทั้งพันปีนั้นแล ผิแลว่าเขาอยู่เมื่อใดหูเขานั้นเทียรย่อมได้ยินดังนั้นทุกเมื่อ

    ครั้นว่าเขาลุกขึ้นได้เขาเอามือทั้งสองพาดเหนือหัวแล้วแล่นชืนชมดีใจไปสู่ที่เสียงเรียกนั้นเร่งไปเร่งแลหาที่แห่งใดแลจักมีข้าวแลน้ำไส้ก็หาบมิได้ เขาจึงร่ำร้องไห้ด้วยเสียงแรงแล้วเขาเป็นทุกข์นักหนา เขาก็ล้มนอนอยู่เหนือพื้นแผ่นดินนั้นแล

    เปรตทั้งหลายเมื่อเขาแล่นไปดังนั้นไกลนักหนาแล เปรตเหล่านี้ไส้เมื่อเป็นคนอยู่นั้นมักริษยาท่าน เห็นท่านมีดูมิได้ เห็นท่านยากไร้ดูแคลนเห็นท่านมีทรัพย์สินจะใคร่ได้ทรัพย์สินท่านย่อมริกระทำกลที่จะเอาสินท่านนั้นมาเป็นสินตน แล ตระหนี่มิได้ให้ทาน รั้นว่าเห็นเขาจะให้ทานตนย่อมห้ามปรามมิให้เขาให้ทานได้แล ฉ้อเอาทรัพย์สินสงฆ์มาไว้เป็นประโยชน์แก่ตน คนจำพวกนี้แลตายไปเกิดเป็นเปรตอยู่ที่ร้ายนักดังนั้นทุกตนแลฯ

    แลเปรตจำพวก ๑ มีตัวดังมหาพรหมแลงามดังทอง แลปากนั้นดังปากหมูแลอดอยากนักหนาหาอันจะกินบมิได้สักสิ่งสักอัน เขานั้นมีตนงามดังทองนั้นเพื่อฤๅสิ้น เมื่อก่อนเขาได้บวชเป็นชีจำศีลบริสุทธิ์ฯ อันว่ามีปากดังปากหมูนั้นเพราะว่าเขาได้ประมาทและกล่าวขวัญครูบาอาจารย์แลเจ้ากูสงฆ์ผู้มีศีลฯ เปรตจำพวก ๑ ตัวงามดังทอง แลปากนั้นเหม็นนักหนา หนอนก็ออกเต็มปากแลหนอนนั้นย่อมบ่อนกินปากเขาเจาะกินหน้าตาเขา ๆ มีตัวงามดังทองนั้นเพราะเขาได้รักษาศีลเมื่อก่อนแล ปากเขาเหม็นเป็นหนอนออกบ่อนกินปากเขานั้น เพราะว่าเขาได้ติเตียนยุยงสงฆเจ้าให้ผิดกันฯ

    เปรตฝูงผู้หญิงจำพวก ๑ เทียรย่อมเปลือยอยู่แลมีตนอันเหม็นนักหนา ทั่วสารพางค์แลมีแมลงวันตอมอยู่เจาะกินตนเขามากนักแล ตนเขานั้นผอมนักหนาหาเนื้อบมิได้เลยสักหยาดเท่าว่ามีแตจ่เอ็นแลหนังพอกกระดูกอยู่ไส้

    เปรตเหล่านี้อดอยากนักหนาหาสิ่งอันจะกินบมิได้เลยสักหยาด แลเมื่อเขาจะคลอดลูกแลลูกเขานั้นได้แลเจ็ด ๆ คน เขาหากกินเนื้อลูกเขานั้นเองเขาก็บมิอิ่มโสด เมื่อเขาคลอดลูกเขาได้แลเจ็ดคนโสดเขาหากกินลูกเขาเองก็บมิรู้อิ่มโสดฯ แลเขากินเนื้อลูกเขานั้นเพราะเขาอยากนักเขาอดอยากบมิได้แล เปรตฝูงนี้เมื่อเขาเป็นคนอยู่นั้น เขาให้ยาแก่ผู้หญิงอันมีท้องนั้นกินแล ให้ลูกเขาตกจากครรภ์แล้ว ๆ เขาทนสบกว่าฉันนี้

    ผิว่ากูให้ยาตนกินแลให้ลูกตนตกไส้แลให้กูเป็นเปรตมีเนื้อตัวอันเหม็นและมีแมลงวันอยู่เจาะตอมกูกินทุกเมื่อแลให้กูคลอดลูกกูเมื่อเช้า ๗ คนทุกวัน แลให้กูกินเนื้อลูกกูเองทุกวั้นจง อย่ารู้สิ้นสักคาบเลย ด้วยบาปกรรมอันเขาได้ให้ยาแก่ผู้หญิงอันมีครรภ์นั้นกินแลให้ลูกเขาตกจากครรภ์แล้ว ๆ เขาก็ได้สบถดังนั้นเขาก็อยู่เปลือแลมีแมลงวันตอมตนเขา ๆ ผอมหาเนื้อบมิได้

    แลย่อมฉีกเนื้อลูกตนกินเองทุกวันเสมอวันแล ๑๔ คนเพื่อดังนั้นแลฯ เปรตฝูงหญิงจำพวกนี้ย่อมอยู่เปลือยบมิงามสักแห่งเทียรย่อมอยากเผ็ดนักหนาแล ครั้นว่าเขาเห็นข้าวแลน้ำมาซึ่งหน้าเขา ครั้งเขาหยิบเอามากินไส้ข้าวแลน้ำนั้นก็กลายเป็นก้อนอาจมเป็นเลือดเป็นหนองไปฯ ครั้นเขาเห็นผ้ามาซึ่งหน้าเขา ครั้นเขาเอาผ้านั้นมาห่มไส้ ผ้านั้นก็กลายเป็นแผ่นเหล็กแดงไหม้ทั้งตัวเขาทุกแห่งแล

    เปรตฝูงนี้เมื่อเขาอยู่เป็นคนไส้ ผัวเขานั้นให้ข้าวน้ำผ้าผ่อนเป็นทานแก่สงฆ์แลเขาขึ้งเคียดด่าทอผัวตนด้วยถ้อยคำว่าฉันนี้ อันมึงทำบุญให้ทานข้าวน้ำผ้าผ่อนทั้งนี้แก่ชีนั้น จงกลายเป็นลามกอาจมแลเป็ฯเลือดเป็นหนองให้มึงกินจงทุกคำเถิด แลผ้าผ่อนนั้นจงกลายเป็ฯเหล็กแดงไหม้มึงจงทุกแห่งเถิด ด ้วยบาปกรรมอันตนได้ดาผัวแช่งผัวเขาดังนั้น เหตุเขาได้กระทำแลได้เป็นเปรตเพื่อดังนั้นแลฯ

    เปรตจำพวก ๑ มีตนใหญ่สูงเพียงลำตาล แลมีผมนั้นหยาบนัก แลมีตัวนั้นเหม็นนักหนาหาที่จะดีบมิได้สักแห่ง เขานั้นอดอยากเผ็ดเร็ดไร้นักหนาหาที่จะดีบมิได้สักแห่ง เขานั้นอดอยากเผ็ดเร็ดไร้นักหนา แม้นว่าข้าวเมล็ด ๑ ก็ดี น้ำหยาด ๑ ก็ดี ก็มิได้เข้าท้องเลยสักน้อยแล เปรตฝูงนี้เมื่อกำเนิดเกิดก่อน

    เขานี้ตระหนี่นักแล เขาบมิมักกระทำบุญให้ทานเลย เขาเห็นท่านกระทำบุญให้ทานไส้ มันย่อมห้ามปรามเสียมิให้ท่านทำบุญให้ทานได้

    ด้วยบาปกรรมอันตระหนี่และมิมักทำบุญให้ทานดังนั้น เขาได้ไปเป็นเปรตแลอดอยากนักหนา อาหารจะกินไส้ก็หาบมิได้สักอันนั้ เพราะบาปแลกรรมเขาอันได้กระทำบมิดีนั้นแลฯ เปรตจำพวก ๑ ไส้เขาเทียรย่อมเอาสองมือกอบเอาข้าวลีบอันลุกเป็นไฟนั้นมาใส่บนหัวตนเองอยู่ทุกเมื่อไส้ เปรตจำพวกนี้เมื่อกำเนิดเขากระทำก่อนนั้นเขาเอาข้าวลีบปนด้วยข้าวดีแล้วเอาไปลวงขายแก่ท่านฯ และด้วยบาปเขาดังนี้

    เขาจึงเอามือเขากอบเอาข้าวลีบเป็นไฟนั้นมาใส่เหนือหัวเองไว้ลุกเป็นไฟไหม้หัวเขาอยู่ทุกเมื่อ เพราะบาปกรรมเขาได้กระทำเขาจึงทนทุก ๆ เมื่อดังนี้แลฯ เปรตจำพวก ๑ เขาย่อมเอาค้อนเหล็กอันแดงตีหัวเขาเองอยู่ทุกเมื่อบมิวายไส้

    แลเปรตจำพวกนี้เมื่อกำเนิดเขาแต่ก่อนไส้ เขาได้ตีหัวพ่อแม่แห่งเขาด้วยมือก็ดี ด้วยไม้ก็ดี ด้วยเชือกกก็ดี ด้วยบาปกรรมเขาอันได้ตีหัวพ่อแม่เขานั้น เขาก็เอาค้อนเหล็กแดงตีหัวเขาเองอยู่ทุกเมื่อเพื่อบาปกรรมเขาทำเองนั้นแลฯ

    แลเปรตจำพวก ๑ นั้นอดอยากนักหนา แลเห็นข้าวน้ำเป็นอันหวาน อันนี้แลมีรสนัก เปรตนั้นจึงเอามากิน ครั้นว่ากินเข้าไปนั้น ๆ ก็กลายเป็นลามกอาจมเป็นเน่าเป็นหนอนเหม็นนักบมิวาย สักคาบด้วยบาปเขาเองแก่ก่อนโพ้น เขาเห็นท่านมาขอทานข้าวแก่เขาแลข้าวเขามีอยู่ไส้แลเขาพรางเสียว่าข้าวข้าหามิได้ ผู้น้นก็เร่งขอซ้ำเล่า เขานั้นมิให้จึงวบถว่าดังนี้ ผิแลว่ามีข้าวแลกูพรางว่ามิได้ไส้แลขอให้กูกินลามก อาจม อันระคนด้วยเน่าแลหนอนอันเหม็นนักหนานั้นเถิด ด้วยบาปกรรมเขาอันได้สบถแลพรางท่านว่าหาบมิได้นั้น

    ครั้นว่าตายไปเป็นเปรตอยู่ เขาก็ทนทุกข์กินแต่ลามกอาจมอันระคนด้วยเน่าแลหนอนเหม็นนักหนาอยู่ดังนั้นทุกเมื่อเพื่อบาปแห่งเขาได้พรางแลทนสบถนั้นแลฯ แลเปรตฝูงหญิงจำพวก ๑ เล่า เทียรย่อมมีเล็บมืออันใหญ่ยาวแลคนดังมีดกรดนั้นย่อมขูดเอาเนื้อแลหนังของตนกินเองทุกเมื่อแล เปรตฝูงนี้เมื่อาติก่อนโพ้นเขาได้ลักเนื้ออันเป็นส่วนของผู้อื่นนั้นมากิน ครั้นว่าท่านเจ้าของถามตนไส้ ตนมิรับ ๆ แต่ว่ข้ามิได้ลักของท่าน มันจึงสบถว่าฉันนี้ผิแลว่าข้าได้ลักของท่านกินจริงไส้ขอให้กูเอาเล็บมือกูขูดเนื้อแลหนังกูกินเถิด ครั้นว่าตายไปเป็นเปรตอยู่ก็เอาเล็บมือตนขูดเนื้อตนหนังตจนกินเอง อยู่ทุกเมื่อ เพื่อบาปตนลักของท่านแลสบถให้ท่านเชื่อตนนั้นแลฯ

    ยังมีเปรตจำพวก ๑ เมื่อกลางวันไส้ เขายิงเขาตีเขาด่าเขาฆ่าเขาแทงตน แลมีหมาใหญ๋เท่าช้างสารมันไล่ขบไล่กัดกินเนื้อเขา ๆ ลำบากทนทุกขเวทนานักหนาอยู่ฉันนี้ทุกเมื่อ ๆ กลางคืนไส้เขาได้เป็นเทพยดา แลมีนางฟ้าเฝ้าจำเริญแลได้เสวยสมบัติอันเป็นทิพย์ดังเทพยดาแล เขาเป็นดังนี้ทุกวารทุกเดือนตราบเท่าสิ้นบาปกรรมเขานั้น อันว่าเปรตฝูงนี้ไส้เมื่อก่อนเป็นพราน เมื่อกลางวันเขาเข้าป่าล่าเนื้อ เมื่อกลางคืนไส้เขาจำศีล ด้วยบาปกรรมเขาอันได้ฆ่าเนื้อเมื่อกลางวันนั้นแลจึงท่านได้ฆ่าได้ตีได้พุ่งได้แทง แลจึงมีหมาเท่าช้างสารไล่ขบกินเนื้อเขาดังนี้ เพราะว่าฝูงเปรตฝูงนี้ทำบาปกลางวันไส้จึงได้ทนทุกข์กลางวันเพื่อดังนี้แลฯ แลด้วยผลบุญอันเขาได้จำเริญศีลเมื่อกลางคืนนั้นเขาจึงได้เป็นเทพยดา แลมีนางฟ้าเฝ้าจำเริญเสวยสมบัติอันเป็นทิพย์เมื่อกลางคืนนั้นทุกคืนไส้ ได้ด้วยกุศลผลบุญอันเขาได้จำศีลนั้นแลฯ

    แลมีเปรตจำพวก ๑ มีวิมานดังเทพยดา แลมีเครื่องประดับนิ์ด้วยเทียรย่อมแล้วไปด้วยเงินแลทองของแก้ว แลเครื่องประดับนิ์อาภรณ์ไส้แล้วด้วยแก้วสัตตพิธรัตนแลมีนางฟ้าหมื่น ๑ ห้อมล้อมเป็นบริวาร เปรตนั้นอยากเผ็ดเร็ดไร้นักหนาหาอาหารจะกินบมิได้ แลย่อมเอาเล็บมือของตนอันคมดังมีดกรดนั้นมาช่วนมาชูกเอาเนื้อแลหนังขอตนออกมากินต่างอาหารไส้ เปรตเหล่านี้เมื่อก่อนโพ้นมันได้เป็นนายเมืองแลแต่งบังคับความราษฎรทั้งหลายไส้ แลมันย่อมมักกินสินจ้างของเขา ที่ผู้ชอบไส้มันว่าผิด ที่ผู้ผิดไส้มันว่าชอบ มันมิได้กระทำโดยแพ่งธรมหามิได้แลฯ

    ยังมีในกาลวงันหนึ่งไส้ พอเป็นวันจำศีล พระญาผู้เป็นเจ้าเมืองนั้นธทรงศีล ๘ อันแล ฝูงขุนนางอีกด้วยมุนนายทั้งหลายก็จำศีลด้วยพระญาผู้เป็นเจ้าเป็นนายเมืองนั้นทุกคน ส่วนว่านายเมืองนั้นมิได้จำศีลไส้ แลนายเมืองนั้นมันไปเฝ้าพระญาด้วยมันกับคนทั้งหลายซึ่งเป็นข้าเฝ้านั้น พระญาก็ตรัสถามมันว่าดังนี้ มึงจำศีลหรือว่ามึงมิได้จำศีล

    แลนายเมืองนั้นมันมิได้จำศีลไส้ มันก็จะอายแก่คนทั้งหลายมันก็กราบทูลแด่พระญาว่าข้าพระเจ้าได้จำศีลฯ ยังมีเกลอมันคน ๑ อยู่แทบข้างมัน เกลอคนนั้นรู้ใจมันว่ามันรู้มิจำศีลมิรู้ทำบุญ ฃทำธรรมจึงเกลอผู้นั้นก็ค่อยลอบถามมันว่า เกลอเหยเกลอจำศีลจริงหรือมันก็บอกแก่เกลอมันตามจริงว่ามิได้จำศีล รั้นว่ากูจะว่ากูมิได้จำศีลไส้กูจะได้ความละอายแก่คนทั้งหลาย แลกูกด็สับปลับว่าว่ากูได้จำศีลแลฯ

    เกลอจึงว่าแก่มันฉันนี้ ผิแลว่าดังน้นแต่วันนี้ไปพหน้าเถิงคืนก็ดีเถิงค่ำก็ดี เกลออย่ากินข้าวเพราเลยเกลออดข้าวเพราให้เถิงรุ่ง ครั้นว่ารุ่งแล้วจึงกินข้าวได้บุญแก่เกลอแล อนึ่งเกลอก็ได้กราบทูลท่านแล้วว่าเกลอได้จำศีลด้วยท่านทั้งหลาย ๆ จะว่แก่สหายว่า

    สหายพรางเจ้าพรางนายไส้ฯ นายเมืองมันจำความเกลอมัน มันก็เห็นความด้วยวันนั้นมันก็อดข้าวเพรานอนในกลางคืนวันนั้น เหตุว่ามันมิเคยอดข้าวเพราครั้นว่ามันอดข้าวเพรานอน ลมก็ถือตนมัน ๆ ก็ตายในกลางคืนวันนั้นแล ด้วยบาปกรรมของมันที่มันเป็นนายเมืองแลกินสินจ้าง แลมิบังคับความโดยคลองธรรมดังนั้น มันจึงเป็ฯเปรตอยากเผ็ดเร็ดไร้ใหญ่หลวงนักหนาหาอาหารจะกินบมิได้เลยสักหยาดแล ย่อมเอาเล็บมือของตนอันคมดังมีดตรีแล่ขอดเอาเนื้อหนังของตนกินเองทุกเมื่อดังนั้น

    เพราะบาปกินสินจ้างบังคับความมิโดยคลองธรรมนั้นแลฯ ด้วยผลบุญอันได้ฟังคำสหายให้โอวาทสั่งสอน แลได้จำศีลแลอดข้าวเพราเถิงตัวตายดังนั้น มันก็ได้วิมานแลเครื่องประดับนิ์ตนอันแล้วไปด้วยสัตตพิธรัตนะแลมีนางฟ้าหมื่น ๑ เป็นบริวารนั้นไส้ ได้ด้วยบุญอันจำศีลนั้นแลฯ แลยังมีเปรตจำพวก ๑ ไส้ ย่อมกินแต่เศลษม์แลรากแลน้ำลายไคลกินน้ำเน่าน้ำหนอง แลกินลามกอาจมอันร้ายแลเหม็นนั้นอยู่ทุกเมื่อแล

    เปรตนั้นเมื่อชาติก่อนนั้นเขาย่อมเอาข้าวแลน้ำอาหารอันเป็นเดนเป็นชายนั้นไส้ แลเอาไปให้แก่พระสงฆเจ้าผู้มีศีล ด้วยบาปกรรมอันเขาได้ให้ขั้าวแลน้ำอาหารที่เป็นเดนเป็นชานนั้นแก่พระสงฆเจ้าฉันนั้น ครั้นว่าเขาตายจึงได้เป็ฯเปรตก็กินแต่เศลษม์แลรากแลน้ำลาย น้ำเน่าน้ำหนองลามกอาจม อันเหม็นเป็นอาหารทุกเมื่อเพื่อบาปกรรมเขาดังนี้แลฯ

    ยังมีเปรตจำพวก ๑ เล่าเขาเทียรย่อมกินแต่น้ำหนองเน่แลหมาเน่าหมาพอง อันเขาเอาไปทอดเสียในป่าช้าทุกเมื่อแล เปรตผู้นี้เมื่อาติก่อนโพ้นเขาย่อมได้เอาเนื้อช้างเนื้อหมาแลเนื้อสัตว์ทั้งหลายอันมีเล็บก็ดี หาเล็บมิได้ก็ดี

    ในลักขณะพระวินัยอันพระพุทธเจ้าบัญญัติไว้มิให้พระสงฆเจ้าฉันไส้ แลเขาได้เอามาอำพรางให้พระสงฆเจ้าฉัน ด้วยความอำพรางให้ท่านฉันนั้น ครั้นว่าตนตายได้เป็นเปรตจำพวกนี้ เพราะว่าบาปกรรมอันเขาได้พรางพระสงฆเจ้าแลให้มีใจโมหดังนั้น จึงเขาได้กินแต่น้ำเลือดน้ำหนองหมาเน่าหมาพองเป็นอาหารทุกเมื่อ เพื่อบาปกรรมเขาเพราะเขาอำพรางพระสงฆเจ้าให้ฉันนั้นแลฯ

    ยังมีเปรตจำพวก ๑ เล่า แลมีเปลวไฟพุ่งออกแต่อกแต่ลิ้นแต่ปากแห่งเขาแล้ว ๆ เ ปลวไฟนั้นลามไหม้ทั้งตัวเขาทุกแห่งแล เปรตจำพวกนี้เมื่อชาติก่อนโพ้นไส้ เขาได้ด่าแลสบประมาทพระสงฆเจ้า อันหนึ่งเขากล่าวคำมุสาวาทแก่พระสงฆ์ผู้เฆ่าผู้แก่ผู้มีศีลด้วยคำอำพรางท่านก็ดี ครั้นตายไปเป็นเปรตอยู่ด้วยบาปกรรมเขาอันเขาได้ด่าทอไส้ แลกล่าวประมาทแลกล่าวไส้ความแก่ท่านแลพรางท่านผู้มีศีลดังนั้น แลเปลวไฟจึงพุ่งออกแต่อกแต่ปากแต่ลิ้นแลลามไปไหม้ทั่วตัวเขาดังนั้นทุกเมื่อเพื่อบาปกรรมเขาได้กระทำดังกล่าวมานี้แลฯ

    ยังมีเปรตจำพวก ๑ เล่าร้ายนักหนา หาน้ำจะกินบมิได้เลยสักหยาด แลเปรตนั้นอยากน้ำนักหนาดังว่าใจจะขาด จึงแล่นไปข้างซ้ายข้างขวาเพื่อจะหาน้ำกิน จึงแลเห็นน้ำใสงามแก่ตา ครั้นว่าเขาเอามือกอบเอาน้ำนั้นมากินไส้ น้ำนั้นก็กลายเป็นไฟไหม้ทั้งตัวเขา ๆ ก็เกลือกไปเกลือกมาเขาก็ตายในไฟนั้นหึงนานนักหนาแล เปรตฝูงนี้เมื่อก่อนโพ้นเขาย่อมข่มเหงคนเข็ญใจด้วยอันหาความกรุณาปรานีบมิได้แล เห็นของท่านจะใคร่ได้แก่ตนเห็นสินท่านจะใคร่เกียดเอา ท่านหาความผิดบมิได้ใส่ตนว่าท่านผิด ครั้นว่าตายก็เป็นเปรตอยู่หึงนานด้วยบาปกรรมเขาอันเขาได้กระทำข่มเหงผู้เข็ญใจให้เขาร้อนเนื้อเดือดใจเขาดังนั้นแล เปรตนั้นผอมบางร้ายนักหนาหาอันจะกินบมิได้เลย อดอยากนักหนาดังใจเขาจะขาด ครั้นเขาเห็นน้ำใสแลกอบเอามากินไส้ น้ำนั้นกลายเป็นไฟไหม้ทั้งตนเขา ๆ ก็กลิ้งเกลือกตายในไฟนั้นนานนักหนา เพราะว่าบาปเขา ๆ ทำข่มเหงท่านผู้อื่นเพื่อดังนั้นแลฯ

    ยังมีเปรตจำพวก ๑ เล่าเทียรย่อมมีตัวเปื่อยเน่าแลผอมนักมีหลังก็ขดมือก็เน่าตีนก็เปื่อย แลเอาย่อมเอาไฟมาคลอกตัวเขาเองอยู่ทุกเมื่อ แลตัวเขานั้นดังขอนไม้อันกลิ้งอยู่ ณ กลางไร่แลเขากลิ้งไปกลิ้งมาทนทุกขเวทนานักหนาดังนั้นเป็นช้านานนัก แลเปรตฝูงนี้ไส้เมื่อก่อ่นเขาคลอกป่าเผาป่า แลสิงสัตว์อันใดที่หนิมิทันนั้นไฟก็ไหม้ลามตาายฯ

    ยังมีฝูงเปรตจำพวก ๑ มีตนนั้นใหญ่เท่าภูเขา แลมีเส้นขนอันรียาวแลเสียบแหลมนักหนา ทั้งเล็บตีนเล็บมือใหญ่แลเล็บนั้นคมนักดังมีดกรดแลหอกดาบ ครั้นว่าเล็บตีนเล็บมือแลขนนั้นฟัดกันเมื่อใดได้ยินดัง ๆ เสียงฟ้าลั่นแล้วเป็นเปลวไฟลุกขึ้นไหม้ทั้งตนเขา แลบาดตัวเขาดุจดังขวานฟ้าผ่าลงทั่วตนเขาทุกแห่งแล เปรตฝูงนี้เมื่อก่อนเขาได้เป็นนายเมืองแลแต่งความเมืองมิชอบทางธรรม ย่อมเห็นแก่สินจ้างแลสินสอดบมิเป็นกลาง การย์ ผู้ชอบไส้ว่าผิด การย์ ผู้ผิดไส้ว่าชอบ ด้วยบาปกรรมแต่งความบมิชอบธรรมดังนั้นไส้ ครั้นว่าเขาตายไปเขาไปเป็ฯเปรตอยู่แลมีตัวใหญ่เท่าภูเขา แลมีขนมีเล็บตีนเล็บมืออันใหญ่อันาวแลคมดังมีดตรีแลดาบหอก ครั้นแลฟัดกันดังดังเสียงสายฟ้าผ่า เส้นขนแลเล็บตีนเล็บมือเขานั้นลุกเป็ฯเปลวไฟสะเทือนมาแทงตัวเขาเองอยู่ทุกเมื่อแล เมื่อบาปกรมกินสินจ้างสินสอดแลแต่งความเมืองมิเป็นธรรมนั้นแลฯ แลกล่าวเถิงสัตว์อันเกิดในสเปรตภูมิ อันเป็นตติยกัณฑ์โดยสังเขปกถา จบเท่านี้แลฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กุมภาพันธ์ 2009
  9. สัตบุรุษ

    สัตบุรุษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    733
    ค่าพลัง:
    +840
    อสุรกายภูมิ


    จะกลาวเถิงสัตว์อันเกิดในอสุรกายภูมินั้นย่อมเอาปฏิสนธิในโยนิทั้ง ๔ อันแล ฯ ลางอสุรเอาด้วยอัณฑชะโยนิ ลางอสูรเอาด้วยชลามพุชะโยนิ ลางอสุรเอาด้วยสังเสทชะโยนิ ลางอสุรเอาด้วยอุปปาติกโยนิแลฯ


    อันว่าสุรกายทั้งนี้มีเป็นคำรบ ๒ สิ่ง ๆ หนึ่งื่อกาลกัญชกาสุรกายฯ สิ่งหนึ่งชื่อว่าทิพพอสุรกายแลฯ อันว่ากาลกัญชกาอุรนั้นมีตนสูงได้ถึงคาพยุต ๑ ผิจคณนาด้วยวามนุษย์นี้ได้ ๒๐๐๐ วา แลมีตัวนั้นผอมนักหนา มาตรว่เนื้อน้อยหนึ่งก็ดีเลือดน้อยหนึ่งก็โ ก็หาบมิได้ในตัวเขานั้นแล ตัวเขานั้นดังใบไม้อันแห้งนั้นแล มีตาอันน้อยดังตาปูแล ตาเขานั้นขึ้นไปตั้งอยู่เหนือกระหม่อมแล ปากเขานั้นน้อย ๆ เท่ารูเข็มแล ปากนั้นอยู่เหนือกระหม่อมโสด ผิแลว่าเขาเห็นสิ่งอันใดแลเขาจะใคร่เอากินไส้เทียรย่อมปักหัวลง เอาตีนชันขึ้นจึงได้กิน แลที่เขาอยู่ไส้เทียรย่อมอยู่ถือสากแต่ตีกันทุกเมื่อ แลฝูงกัญชกาสุรกายนี้หาความสุขบมิได้ ยากเย็นเข็ญใจ นักหนากว่าอสุรกายฝูงอื่นแลฯ อันว่ากาลกัญชกาสูรกายนั้นมี ๒ จำพวก ๆ ๑ ไส้ เป็นทุกข์ลำบากเข็ญใจนัก


    ดังกล่าวมานี้แลฯ แลจำพวก ๑ นั้นไส้มีตนสูงได้คาพยุต ๑ ดุจเดียว แต่ว่ามีรูปนั้นต่าง ๆ กัน แลมีหน้าบมิงามท้องยานฝีปากใหญ่ แลมีเล็บตีนเล็บมืออันรี แลมีตานั้นฝังตาดำสูง หลังหัก จมูกเบี้ยวใจกล้าหน้าแข็งแรง มักเคียด มักพูดแก่กาลกัญชกาสูรกายฝูงนั้น ยังมี ๆ ช้างมีม้ามีข้ามีไทยแกล้วหาญ มีรี้พลเพียงดังพระอินทร์ อันว่ที่อยู่แห่งอสูรกายนั้นเขาย่อมอยู่ใต้เขาพระสุเมรุราช ยังมีที่อันหนึ่งชื่อว่าอสูรพิภพ โดยกว้างได้หมื่นโยชน์เทียรย่อมแผ่นทองคำดูเรืองงามนักหนา ที่นัน้นเป็นเมืองพระญาอสูรราชอยู่หนแลฯ แต่มนุษย์เรานี้ลงไปเถิงอสูรพิภพอยู่นั้นลึกได้ ๘๔๐๐๐ โยชน์ มีเมืองอสูรใหญ่ ๔ เมือง แลเมืองมีพระญาอสูรอยู่ละเจ้า ๆ ละแห่งละสอง ๆ พระญา แลเมืองนั้นมีปราสาทราชบัณฑิต ความเป็นมณเทียรย่อมแล้วด้วยทองแลประดับนิ์ด้วยแก้วสัตตพิธรั้ตนะ แลมีกำแพงทองประดับนิ์ด้วยแก้วอันมีค่าได้อนันต์ แลมีปราการประตูเมืองได้แล ๑๐๐๐ ประตูย่อมสรรพด้วยแวอันมีค่า แลประดับนิ์ด้วยแก้วมีประตูล้อมรอบโดยบลึกได้ชั่วลำตาล ๑ กลางเมืองนั้นมีสระทองมีดอกบัว ๔ สิ่ง บนงามนักรุ่งเรืองดังทองแล ย่อมประดับนิ์ด้วยแก้วสัตตพิธรัตนะ พระญาอสูรย่อมลงเล่นสนุกนิ์ดุจดังนันทโบกขรณีอันมีในไตรตรึงษาสวรรค์ แลมีเมืองน้อยก็มาก มีบ้านใหญ่บ้านน้อยก็มาก แลมีน้ำสมุทรท่วมครึ่งกลางเมืองอสูรนั้น


    ในท่ามกลางแผ่นดินอันชื่ออสูรพิภพนั้น แลมีไม้ต้น ๑ เกิดแต่อาทิตั้งแผ่นดินเป็นธรรมดา แลไม้ต้นนั้นใหญ่เท่าไม้ปาริกชาตอันมีในไตรตรึงษาสวรรค์นั้น แลไม้ต้นนั้นแต่ต้นขึ้นไปค่าคงได้ ๔๐ โยชน์ แต่ค่าคบเถิงยอดได้ ๔๐ โยชน์ มีตารอบนั้นย่อมยาวแลตา แลได้ ๕๐ โยชน์ ใต้ต้นไม้นั้นมีศิลา ๔ แผ่นอยู่รอบต้นไม้แคฝอยนั้น โดยทิศใหญ่ทั้ง ๔ ทิศแลแผ่นศิลานั้นแต่แลแผ่นโดยกว้างได้ ๓ โยชน์จตุรัส

    ครั้นว่าเมื่อใดวันดีคืนดี แลพระญาอสูรทั้งหลายย่อมไปเล่นสนุกนิ์สำราญด้วยกันแห่งนั้นแล อสูรฝูงนั้นเป็นดีนักแล มีปราสาทราชมณเฑียรย่อมเงินแลทอง แลประดับนิ์ด้วยแก้วทั้ง ๗ ประการ แล้วแลรุ่งเรืองงามนักหนา เท่าว่ายังถ่อมกว่าเมืองไตราตรึงษานั้นน้อย ๑ แลฯ เมืองทิศตระวันออกนั้นมีพระญาอสูรสองตน ตนหนึ่งชื่อว่าเวปจิตราสูร ๆ นั้นเป็นพระญาแก่อสูรทั้งหลายอยู่เมืองบุพวิเทหนั้นแลฯ เบื้องทักษิณทิศมีพระญาอสูร ๒ ตน ๆ หนึ่งชื่อว่าอสัพพร ตน ๑ ชื่อว่าสุลิเป็นพระญาแก่อสูรทั้งหลายอยู่เมืองชมพูทวีปนี้แล

    ฝ่ายตระวันตกมีพระญาอสูร ๒ ตน ๆ หนึ่งชื่อว่าเวราสูร ตน ๑ ชื่อว่าปริกาสูรเป็ฯพระญาแก่อสูรทั้งหลายอันอยู่เมืองอมรโคยานีทวีปแล เมืองอุตรกุรุทวีป มีพระญาอสูร ๒ ตน ๆ หนึ่งชื่อพรหมทัต ตน ๑ ชื่อราหู เป็นพระญาแก่หมู่อสูรทั้งหลายอันอยู่เมืองอุตรกุรุทวีปนั้นแลฯ พระญาอสูรผู้ชื่อว่าราหูนั้นมีอำนาจแลมีกำลังกล้าแกล้วหาญกว่าพระญาอสูรทั้งหลาย ใหญ่กว่าเทพยดาทั้งหลายในสวรรค์โดยสูงได้ ๙๘๐๐๐ โยชน์ฯ แลอ้อมรอบหัวโดยใหญ่ ๘๐๐ โยชน์ แลหัวเขากว้างได้ ๑๒๐๐ โยชน์ แต่ข้างแลข้างได้ ๒๖๐๐ โยชน์ แลหน้าผาากโดยกว้างได้ ๓๐๐ โยขน์ แลจมูกโดยยาวได้ ๓๐๐ โยชน์ แต่หว่างคิ้วก็ดีหว่างตาก็ดีได้ ๙๐ โยชน์ แต่หัวคิ้วมาเถิงหางคิ้วได้ ๒๐๐ โยชน์ แต่หัวตามาเถิงหางตาได้ ๒๐๐ โยชน์ แต่ปากโดยกว้างได้ ๒๐๐ โยชน์ โดยลึกปากได้ ๓๐๐ โยชน์ โดยกว้างฝ่ามือได้ ๒๐๐ โยชน์ ขนตีนขนมือขนนั้นแลยาวได้เถิง ๓๐ โยชน์ ฯ ครั้นเมื่อวันเดือนเพ็งแลเดือนนั้นงามฯ

    ครั้นเมื่อวันเดือนดับแลตระวันงามแลราหูนั้นมีหน้าจะมักเห็นพระอาทิตย์ แลพระจันทร์อันงามดังนั้น แลมันมีใจหึงษามันจึงขึ้นเหนือจอมเขายุคุนธรนั้นแล ก็นั่งอยู่ถ้าพระอาทิตย์อันอยู่ในปราสาทอันสถิตอยู่ในเกวียนทองพายทอง แลประดับนิ์ด้วยแก้วอันชื่ออินทนิลแลมีรัสมีได้พัน ๑ อันงามนักแล มีม้าสินธพชาติพัน ๑ เข็นเกวียนทองนั้นไปล่วงอากาศ เลียบรอบขอบพระสิเนรุราชไปด้วยเพียงปลายเขายุคุนธรแลฯ พระจันทร์เจ้าไส้อยู่ในปราสาทไส้อันมีอยู่ในเกวียนแก้วมณีรัตนแล มีม้าสินธพชาติ ๕๐๐ เข็นไปล่วงอากาศต่ำกว่าทางพระอาทิตย์นั้นโยชน์ ๑ เลียบรอบเขาพระสิเนรุราชแลดาษไปด้วยดาวดารากรทั้งกลาย


    ครั้งไปเถิงราหูอยู่นั้นลางคาบราหูอ้าปากออกเอาพระอาทิตย์แลพระจันทร์วับเข้าไปไว้ในปาก ลางคาบเอานิ้วมือบังไว้ ลางคาบเอาไว้ใต้คาง ลางคาบเอาไว้ใต้รักแร้ แลกระทำดังเมื่อกระทำดังนั้นไซร้ อันว่ารัสมีพระอาทิตย์ก็โ พระจันทร์ก็ดีเศร้าหมองบมิงามได้เลย แลคนทั้งหลายว่ามีสุริยคาธแลฯ จะกล่าวถึงพระพุทธศรีสากยมุนีโคดมเจ้าเรา

    เมื่อเสด็จยังธรมานอยู่ในโลกย์นี้แลยังมิไปเสด็จเข้าสู่พระนิพพานไส้ฯ ในกาลคาบ ๑ พระเจ้าเสด็จอยู่ในเชตุพนมหาวิหารอันเป็นอารามแห่งนายอนาถบิณฑิกเศรษฐีแลอาศัยแก่เมืองสาวัตถีมหานคร ในกาลเมื่อวันเพ็งบุณณมีทิวสแลเกิดมีจันทคาธ จึงพระจันทร์เทพบุตรก็ระลึกเถิงพระพุทธเจ้าก็นมัสการแด่พระพุทธเจ้าแล้วแล

    กล่าวด้วยคาถาว่าดังนี้ว่า ข้าแต่พระพุทธเจ้าผู้เพียร ข้าก็ไหว้พระบาทแห่งพระผู้มีพระภาคยน์พระองค์อังพ้นจากกิเลสทั้งปวง แลบัดนี้ข้าผู้เเป็นข้าพระองค์เจ้ามาบังเกิดภัยอันตรายยากเนื้อแค้นใจนักหนา แลพระองค์เจ้าจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าแลช่วยทุกข์ข้าผู้ลำบากใจดังนี้ฯ ในกาลนั้นพระสัพพัญญูเจ้าผู้เป็นโลกวิทูธก็ตรัสรู้อาการดังนั้น พระองค์เจ้าก็มีพระกรุณาแก่จันทรเทวบุตร พระองค์เจ้าจึงมีพุทธบัณฑูรแก่อสุรินทร์ราหูด้วยพระคาถาว่าดังนี้ฯ ตถาคตํอรหัน์ตํ จัน์ทิมาสรณํคโต ราหุจัน์ทํปมุญ์จัส์สุ พุท์ธาโลกานุกัม์ปกาติ ว่าดูกรราหู อันว่าจันทรเทวบุตรนี้ลุแก่สรณาคม พระตถาคตไส้จะยังราหูอสุรินทร์นี้ให้ปล่อยซึ่งจันทรเทพบุตร

    เพื่อดังฤๅแลว่าสิ้น ชื่ออันว่พระพุทธเจ้าทั้งหลายไส้ ก็ย่อมมีพระกรุณาอันอนุเครมะห์แก่โลกย์ทั้งหลายฯ ในกาลดังนั้นราหูอสุรินทร์ ครั้นได้ยินพระพุทธบัณฑูรดังนั้นจึงวางแก่จันทรเทพบุตรนั้นเสียแล้วก็แล่นหนีไปสู๋พระญาอสูรอันชื่อว่าไพจิตราสูรราช แลราหูอสุรินท์นั้นก็มีใจยินร้ายคนลุกหนังหัวพองจึงยืนอยู่ในสถานแห่ง ๑ พระญาอสูรผู้ชื่อว่าไพจิตราสูรราชนั้น จึงถามอสุรินทร์ว่า ฉันนี้ว่

    ดูกรราหูท่านเป็นฉันใดแล ราหูจึงวางจันทรเทวบุตรเสียแลมาด้วยด่วนนักหนา มายืนอยู่แลมีสวภาพอันยินร้ายแล ตระหนกตกใจกลัวนักหนาบารนีฯ ราหูอสุรินทร์นั้นจึงขานไพจิตราสูรว่าด้วยถ้อยคำดังนี้มหาราช ข้าแต่เจ้ากู บัดนี้ข้ากลัวแต่คาถาพระพุทธเจ้าบัณฑูรว่า แลข้าก็วางจันทรเทวบุตรนั้นเสีย เพื่อดังนั้นไส้ ผิแลว่าข้าบมิได้วางจันทรเทวบุตรนั้นเสียไส้ อันว่าศีรษะแห่งข้าเพียงจะแตกออกไปเป็น ๗ ภาคแล แม้นว่าศีรษะบมิแตกบมิตาย แลว่ายังมีชีวิตอยู่ไส้แล ความทสุขจะมีแต่ใดแก่ข้าเลยฯ

    ในกาลคาบ ๑ พระพุทธเจ้าเสด็จอยู่ในเชตุพนมมหาวิหารอันเป็นอารามแห่งอนาถบิณฑิตกมหาเศรษฐี อาศัยแก่เมืองสาวัตถีมหานครในกาลเม่อวันเาพระวัสสาแลเกิดมีสุริยคาธ แลสุริยเทพบุตรนั้นตระหนกตกใจนักหนาก็ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ก็นมัสการแก่พระพุทธเจ้าว่าดังนี้ ข้าแต่พระทศพลเจ้าผู้มีเพียรไส้พระองค์พ้นจากกิเลสทั้งมวล

    บัดนี้ข้าผู้เป็นข้าพระองค์เจ้าเกิดความทุกข์มากนักแลลำบากยากเนื้อแค้นใจนักหนา จงพระพุทธเจ้ามาเป็นที่พึ่งแก่พระเจ้าบัดนี้เถิด เพื่อดังนั้นพระโลกวิทูเจ้าตรัสรู้อาการทั้งปวงนรั้น พระสัพพัญญูเจ้าก็ทืรงพระกรุณาแก่สุริยเทพบุตร พระพุทธเจ้าจึงมีพุทธฎีกาแก่อสุรินทราหูว่าดังนี้ ดูกรราหู อันว่าอสุรินทเทวบุตรนี้ลุแก่สรณาคมน์พระตถาคตผู้บำบัดกิเลสทั้งมวล แลอสุรินทราหูท่านจงปล่อยสุริยเทวบุตรนั้นเสีย เพราะว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย


    แต่ก่อนเทียรย่อมอนุเคราะห์แก่โลกย์ทั้งหลายแล ดูกรราหูอันว่าพระอาทิตย์อันมีรัสมีอันรุ่งเรือง แลบรรเทามืดมนอนธการทั้งหลายแลย่อมเสร็จใน แลราหูอสุรินท์อย่าได้กลืนพระอาทิตย์ มึงเร่งปล่อยพระอาทิตย์ผู้ลุแก่ไตรสรณาคมน์ของพระตถาคตนี้เสี

    เมื่ออสุรินทราหูได้ยินพุทธบัณฑูรจึงวางพระอาทิตย์เสีย แล้วก็แล่นไปยังพระญาอสูรอันชื่อไพจิตราสูรราชนั้น แลราหูอสุรินทนี้มีใจยินร้ายตระหนกตกใจนักหนา มีขนลุกหนังหัวพองแล้วก็ยืนอยู่ในสถานแห่ง ๑ แล ไพจิตราสูรมหาราชจึงถามอสุรินทราหูด้วยถ้อยคำว่าดังนี้ว่า

    ดูกรราหูท่านเป็นฉันใดแลราหูท่นจึงวางพระอาทิตย์เสียแลวิ่งมาด้วยด่วนอันมีสวภาพยินร้ายแลตระหนกตกใจนักหนาแลมายืนอยู่เห็นปานดังนี้ แลอสุรินทราหูจึงขานไพจิตราสูรราชด้วยคำดังนี้ ข้าแต่เจ้ากูบัดนี้ ข้ากลัวแต่คาถาพระพุทธเจ้าบัณฑูรแลข้าจึงวางพระอาทิตย์เทพบุตรเสียไส้ ผิแลว่าข้ามิได้วางสุริยเทพบุตรเสียไส้ ศีรษะแห่งข้าจะแตกได้ ๗ ภาค

    แม้นว่ข้ามิตายแลมีชีวิตอยู่ไส้ความสุขนั้นจักมีแก่ข้าแต่ที่ใดเลยฯ ราหูนั้นมีดำนาจอาจนักหนา แลเป็นพระญาแก่ฝูงทิพยอสุรกายอันอยู่ทิศอุดร แลเป็นใหญ่กว่าฝูงกาลกัญชกาสูรกายทั้งสองหมู่นั้นด้วยแลฯ กล่าวเถิงสัตว์อันเกิดในอสูรกายภูมิเป็นจตุตถกัณฑ์ โดยสังเขปแล้วแต่เท่านี้แลฯ อันว่าภูมิทั้ง ๔ นี้

    อันหนึ่งชื่อว่านรกภูมิ อันหนึ่งชื่อว่าติรัจฉานภูมิ อันหนึ่งชื่ออสุรกายภูมิ อันหนึ่งชื่อเปรตภูมิ แลผสมภูมิทั้ง ๔ อันเข้าด้วยกันเรียกชื่อว่าจตุรายาบภูมิก็ว่า ชื่อทุคติภูมิก็ว่า ทั้งนี้ก็ย่อมสงเคราะห์เข้าในกามภูมิด้วยมนุษย์แลฉกามาพจรภูมิแลฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กุมภาพันธ์ 2009
  10. สัตบุรุษ

    สัตบุรุษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    733
    ค่าพลัง:
    +840
    มนุสสภูมิ


    ฝูงสัตว์อันเกิดในมนุษย์ภูมินี้ย่อมเกิดในโยนิ ๔ อันนั้นทุกอัน โยนิ ๓ อัน ครากาลจึงเกิดไส้ ย่อมเกิดในชลามพุชโยนิกว่าทุกอันไส้ ที่ท้องคนทั้งหลายอันมีผู้มาเกิดเอาปฏิสนธิมีดังนี้

    หญิงทั้งหลายอันยังหนุ่มแล จะควรมีลูกนั้นที่ใต้ท้องน้อยภายในแห่งคนแร่งมาเกิดนั้น มีก้อนเลือดอันหนึ่งซึ่งหนักอันนั้นผิบุตรนั้นแร่งมาบุตรนั้นแร่งใหญ่แลแดงดังลูกผักปลัง ผิเมื่อใดผู้หญิงนั้นเถิงรดูโดยเดือนแล้วแลเลือดไหลออกจากท้องที่นั้นแล้ว

    แต่นั้นไปเมื่อหน้า ๗ วัน ชื่อเชตุผู้มีสิ่งอันมาเกิดเอาปฏิสนธิไส้ แต่นั้นไปเลือบมิได้ไหลออกจากท้องที่เคยปรกติดังก่อนเลย แต่ฝูงหญิงทั้งหลายอันไปมิเฒ่ามิแก่นั้นไส้ควรมีลูกทุกคนแลฯ ผู้หญิงอันหาลูกบมิได้นั้นไส้เพราะว่บาปกรรมของคนผู้มาเกิดนั้น

    แลให้บังเกิดเป็นลมในท้องผู้หญิงนั้นแลลมนั้นหากพัดต้องครรภ์นั้นก็แท้งก็ตายฯ ลางคาบมีตืดมีเอือนในท้องนั้น แลติฃืดแลเดือนนั้นหากไปกินครรภ์นั้นก็ตาย ทว่าผู้หญิงอันหาลูกบมิได้เพื่อดังนั้น ผู้หญิงอันมีครรภ์ด้วยชลามพชโยนิ เมื่อแรกก่อเป็นนั้นน้อยนักหนาเรียกชื่อว่ากัลละหัวปีมีเท่านี้

    เอาผมคนในแผ่นดินเราอยู่นี้มาผ่าออกเป็น ๘ คาบ เอาแต่คาบเดียวมาเปรียบเท่าผมคนในแผ่นดินอันชื่อว่าอุตตรกุรุนั้น แลเอาเส้นผมของชาวอุตตรกุรุนั้นแต่เส้นหนึ่งขุบน้ำมันงาอันใสงามนั้นเอามาสลัดได้ ๗ คาบแล้วจึงถืออยู่ น้ำมันนั้นย้อยลงมาปลายผมนั้นท่านว่ายังใหญ่กว่ากัลละนั้นเลยฯ ทรายอันชื่อชาติอุนนาโลมอันอยู่ในตีนเขาพระหิมพานต์ แลเส้นขนนั้นยังน้อยกว่าเส้นผมชาวอุตตรกุรุทวีปนั้นเล่า

    ให้เอาชนทรายอันชื่อชาติอุนนาโลมเส้นหนึ่งชุบน้ำมันงาอันใสงามเอาออกมาสะลัดเสียได้ ๗ คาบ แล้วจึงถืออยู่ น้ำมันนั้นย้อยลงมาในปลายขนทรายนั้น จึงเท่ากัลลละนั้นไส้ กัลลละนั้นไสงามนักหนาดังน้ำมันงาอันพึ่งตักใหม่ งามดังเปรียงประโคอันแรกออกใหม่ แต่นั้นจึงก่อเป็นลม ๕ สิ่งอันถือตีนคนนี้ให้แร่งก็มาอยู่กลนั้น

    ลมทั้งหลาย ๕ สิ่งนั้นมาพร้อมกันทีเดียวแล เมื่อแรกจะก่อเป็นกัลลละนั้น มีรูป ๘ อันแล รูป ๘ อันนั้นคือรูปอันหนึ่งชื่อว่าปถวีรูป อันหนึ่งนั้นเป็นน้ำชื่อว่าอาโปรูป อันหนึ่งเป็นตัวชื่อกายรูป อันหนึ่งให้เป็นผู้หญ้งผู้ชายชื่อภาวรูป รูปอันเป็นไปชื่อหทัยรูป รูปอันหนึ่งให้ตั้งรูปทั้งหลายชื่อชีวิตรูป ในรูปฝูงนั้นมีผิชีวิตอันให้เป็น ๓ ก้อนอันเกิดด้วยชีวิตอันให้เป็น ๓ อันนั้นเกิดรูปคืออันใดเล่าชีวิตอันเกิดในกายรูป

    ชีวิตอันหนึ่งเกิดในหทัยรูปมีรูป ๓ อีนนั้นมีองค์แล ๙ แล ๙ เป็นบริวารโสด อันใดสิ้นคือปถวี อาโป เตโช วาโย วัณโณ คันโธ รโส โอชา องค์ฝูงนี้ผสมเข้าด้วยกาย เอากายใส่อีกเป็นคำรบ ๙ ผิเลเข้าในภาวเอาภาวอีกเป็นคำรบ ๙ ผิเข้าในหทัยเอาหทัยเป็นคำรบ ๙ เพื่อดังนั้นจึงว่ามีแล ๙ แล ๘ เป็นองค์แก่ชีวิต เพื่อดังนั้นได้ ๓ เกิดด้วยเมื่อเอาปฏิสนธิแต่อาทิพร้อมกันทีเดียวแลฯ ฝูงสัตว์อันเกิดในท้องแม่

    เมื่ออาทิมีรูปเท่าดังกล่าวแล้วนั้นแลฯ อันว่าจักษุรูปแลโสตรูป ฆานรูป ชิวหารูป รูป ๕ อันนี้จึงเกิดโดยอันดับกันชอบกาล แลรูปอันเกิดแต่กรรมชรูปไส้อาศัยแก่สันตติจึงเกิดฯ ถัดนั้นรูปอันเกิดแต่อาหารชรูปนั้น อาศัยแก่อาหารอันแม่กินจึงบังเกิดรูป รูปฝูงนี้เกิดเมื่อภายหลังเป็นโดยอันดับกันถ้วน ๒ โดยดังกล่าวมานี้แลฯ

    เมื่อรูปอันเกิดแต่ใหม่อันใสแก่ท์วิติยจึงเกิดนั้น รูปได้ ๘ อันรูปนั้นชื่อจิตรสมุฏฐานกลาปแลฯ เมื่อรูปอันเกิดแต่รูปนั้นอาศัยแก่สันตติจึงเกิดรูปนั้น เกิดรูปได้ ๘ อันโสด รูปอันนั้นชื่ออุตุสมุฏฐานกลาปแลฯ

    เมื่อรูปอันเกิดแต่อาหารนั้น อาศัยแก่โอชารสอันแม่ตนเกิดข้าวน้ำนั้นเกิดรูปได้ ๘ อันโสด รูปชื่ออาหารสมุฏฐานกลาปแลฯ ผิรูปอันจะเกิดเป็นชายก็ดีเป็นหญิงก็ดีเกิดมีอาทิต่เกิดเป็นกัลลละนั้น โดยใหญ่แต่วันละวันแลน้อย ครั้งเถิง ๗ วันตั้งแต่น้ำล้างเนื้อนั้นเรียกว่าอัมพุทธ ๆ นั้นโดยใหญ่ไปทุกวารไส้ ครั้นได้เถิง ๗ วารข้นเป็นดังตะกั่วอันเชื่อมอยู่ในหม้อตยกชื่อว่าเป็นเปสิ ๆ นั้นค่อยใหญ่ไปทุกวัน ครั้งเถิง ๗ วันแข็งเป็นก้อนดังไข่ไก่เรียกว่า ฆณะ ๆ นั้นค่อยใหญ่ไปทุกวัน ครั้นเถิง ๗ วันเป็นต่มออกได้ ๕ แห่งดังหูดนั้นเรียกว่าเบญจสาขาหูด ๆ นั้นเป็นมือ ๒ อันเป็นตีน ๒ อัน หูดเป็นหัวนั้นอันหนึ่ง แลแต่นั้นค่อยไปเบื้องหน้าทุกวัน ครั้ง ๗ วันเป็นฝ่ามือเป็นนิ้วมือ แต่ไป ๓๒ จึงเป็นขนเป็ฯเล็บตีนเล็บมือเป็นเครื่องสำหรับเป็นมนุษย์ถ้วนทุกอันแลฯ

    แต่รูปอันมีกลางตนไส้ ๕๐ แต่รูปอันมีหัวได้ ๘๔ แต่รูปอันมีเบื้องต่ำได้ ๕๐ ผสมรูปทั้งหลายอันเกิดเป็นสัตว์อันอยู่ในท้องแม่ได้ ๑๘๔ แลกุมารนั้นนั่งกลางท้องแม่แลเอาหลังมาต่อหนังท้องแม่ อาหารอันแม่กินเข้าไปแต่ก่อนนั้นอยู่ใต้กุมารนั้น อาหารอันแม่กินเข้าไปใหม่นั้นอยู่เหนือกุมารนั้น

    เมื่อกุมารอยู่ในท้องแม่นั้นลำบากนักหนา พึงเกลียดพึงหน่ายพ้นประมาณนัก ก็ชื้นแลเหม็นกลิ่นตืดแลเอือนอันได้ ๘๐ ครอกซึ่งอยู่ในท้องแม่เป็นที่เหม็น แลที่ออกลูกออกเต้าที่เฒ่าที่ตายที่เร้ว ฝูงตืดแลเอือนทั้งหลายนั้นคนกันอยู่ในท้องแม่ ตืดแลเอือนฝูงนั้นเริ่มตัวกุมารนั้นไส้ ดุจดังหนอนอันอยู่ในปลาเน่าแลหนอนอันอยู่ในลามกอาจมนั้นแลฯ

    อันว่าสายไส้ดือแห่งกุมารนั้นกลวงดังสายก้านบัวอันมีชื่อว่าอุบล จะงอยไส้ดือนั้นกลวงขึ้นไปเบื้องบนติดหลังท้องแม่แลข้าวน้ำอาหารอันใดแม่กินไส้แลโอชารสนั้นก็เป็นน้ำชุ่มเข้าไปในไส้ดือนั้นแลเข้าไปในท้องกุมารนั้นและน้อย ๆ แลน้อยนั้น ก็ได้กินค่ำเช้าทุกวัน แม่จะพึงกินเข้าไปอยู่เหนือกระหม่อมทับหัวกุมารนั้นอยู่

    แลลำบากนักหนาแต่อาหารอันแม่กินก่อนไส้แลกุมารนั้นอยู่เหนืออาหารนั้นเบื้องหลังกุมารนั้นต่อหลังท้องแม่แลนั่งยองอยู่ในท้องแม่แลกำมือทั้งสอง คู้ตัวต่อหัวเข้าทั้งสองเอาหัวไว้เหนือหัวเข่า เมื่อนั่งอยู่ดังนั้นเลือดแลน้ำเหลืองย้อยลงเต็มตนหยดทุกเมื่อแลทุกเมื่อ ดฃแลดุจดังลิงเมื่อฝนตกแลนั่งกำมือเซาเจ่าอยู่ในโพรงไม้นั้นแล ในท้องแม่นั้นร้อนหนักหนาดุจดังเราเอาใบตองเข้าจะต้มแลต้นในหม้อนั้นไส้

    สิ่งอาหารอันแม่กินเข้าไปในท้องนั้นไหม้แลย่อยลงด้วยอำนาจแห่งไฟธาตุอันร้อนนั้น ส่วนตัวกุมารนั้นบมิไหม้เพราะว่าเป็นธรรมดาด้วยบุญกุมารนั้นจะเป็นคนแลยมิไหม้ตายเพื่อดังนั้นแล แต่กุมารนั้นอยู่ในท้องแม่บห่อนได้หายใจเข้าออกเลย บห่อนได้เหยียดตีนเหยียดมือออก ดังเราท่านทั้งหลายนี้สักคาบหนึ่งเลย แลกุมารนั้นเจ็บเนื้อเจ็บตนดังคน

    อันท่านขันไว้ในไหอันคับแคบนักหนา แค้นเนื้อแค้นใจแลเดือดเนื้อร้อนใจนักหนา เหยียดตีนมือบมิได้ดับงท่านเอาใส่ไว้ในที่คับฯ ผิแลว่าเมื่อแม่เดินไปก็ดีนอนก็ฟื้นตนก็ดี กุมารอยู่ในท้องแม่นั้นให้เจ็บเพียงจะตายแลดุจดังลูกทรายอันพึ่งออกแลอยู่ธรห้อย ผิบมีดุจดังคนอันเมาเล่า ผีบมีดุจดังลูกงูอันหมองูเอาไปเล่นนั้นแลฯ

    อันอยู่ลำบากยากใจ ดุจดังนั้นบมิได้ลำบากแต่สองวารสามวารแลจะพ้นได้เลย อยู่ยากแลเจ็ดเดือน ลางคาบ ๘ เดือน ลางคาบ ๙ เดือน ลางคาบ ๑๐ เดือน ลางคน ๑๑ เดือน ลางคนคำรบปีหนึ่งจึงคลอดก็มีแลฯ คนผู้ใดอยู่ในท้องแม่ ๖ เดือน

    แลคลอดนั้นบห่อนจะได้สักคาบฯ คนผู้ใดอยู่ในท้องแม่เจ็ดเดือนแล คลอดนั้นแม่เลี้ยงเป็นคนก็บมิได้กล้าแข็งบมิทนแดดทนฝนได้แลฯ คนผู้ใดจากแต่นรกมาเกิดนั้น

    เมื่อคลอดออกตนกุมารนั้นร้อน เมื่อมันอยู่ในท้องแม่นั้นย่อมเดือดเนื้อร้อนใจและตระหนกกระหาย อีกเนื้อแม่นั้นก็พลอยร้อนด้วยโสดฯ คนผู้จากแต่สวรรค์ลงมาเกิดนั้น เมื่อจะคลอดออกตนกุมารนั้นเย็น ๆ เนื้อเย็นใจ เมื่อยังอยู่ในท้องแม่ก็ดีแม่นั้นอยู่เย็นเป็นสุขสำราญบานใจแลผู้อยู่ในท้องแม่ก็ดี


    เมือเถิงจักคลอดนั้นก็ด้วยกรรมนั้น กลายเป็นลมในท้องแม่สิ่งหนึ่ง พัดให้ตัวกุมารนั้นขึ้นหนบน ให้หัวลงมาสู่ที่จะออกนั้นดจดังฝูงนรกอันยมบาลกุมตีนแลหย่อนหัวลงในขุมนรกนั้นอันลึกได้แลร้อยวานั้น

    เมื่อกุมารนั้นคลอดออกจากท้องแม่ออกแลไปบมีพ้นตน ๆ เย็นนั้นแลเจ็บเนื้อเจ็บตนนักหนา ดังช้างสารอันท่านชักท่านเข็นออกจากประตูลักษอันน้อยนั้น แลคับตัวออกยากลำบากนั้น ผิบมิดังนั้นดังคนผู้อยู่ในนรกแลฯ ภูเขาอันชื่อคังเคยยปัพตหีบแลแห่งแลบดนฃบี้นั้นแลฯ ครั้นออกจากท้องแม่ไส้ ลมอันมีในท้องผู้น้อยค่อยพัดออกก่อน ลมอันมีภายนอกนั้นจึงพัดเข้านั้นนักหนา พัดเข้าเถิงตนลิ้นผู้น้อยนั้นจึงอย่า

    ครั้นออกจากท้องแม่แตี่นั้นไปเมื่อหน้ากุมารนั้นจึงรู้หายใจเข้าออกแลฯ ผิแลคนอันมาแต่นรกก็ดีมาแต่เปรตก็ดี มีนคำนึงเถิงความอันลำบากนั้น ครั้นว่าออกมาก็ร้อยไห้แลฯ ผิแลคนมาแต่สวรรค์แลคำนึงเถิงความาขแต่ก่อนนั้น

    ครั้นว่าออกมาไส้ก็ย่อมหัวร่อก่อนแลฯ แต่คนผู้มาอยู่ในแผ่นดินนี้ทั่วทั้งจัวาลอันใดอันอื่นก็ดี เมื่อแรกมาเกิดในท้องแม่ก็ดี

    เมื่อออกจากท้องแม่ก็ดี ในกาลทั้ง ๓ นั้นย่อมหลงบมิได้คำนึงรู้อันใดสักสิ่ง ฯ ฝูงที่อันมาเกิดเป็นพระปัจเจกโพธิเจ้าก็ดี แลเป็นพระอรหันตาชีณาสพเจ้าก็ดี แลมาเป็นพระองค์อรรคสาวกเจั้าก็ดี เมื่อธแรกมาเอาปฏิสนธินั้นก็ดี เมื่อธอยู่ในท้องแม่นั้นก็ดีแล สองสิ่งนี้ เมื่ออยู่ในท้องแม่นั้นบห่อนจะรู้หลงแลยังคำนึงรู้อยู่ทุกวัน

    เมื่อจะออกจากท้องแม่วันนั้นไส้เ จึงลมกรรมชวาตก็พัดให้หัวผู้น้อนนั้นลงมาสู่ที่จะออกแล คับแคบแอ่นนัยนักหนาเจ็บเนื้อเจ็บตนลำบากนักหนา เจ็บเนื้อเจ็บตนลำบากนักดังกล่าวมาแต่ก่อน แลพลิกหัวลงบมิได้รู้สึกสักอันบเริ่มดังท่านผู้จะออกมาเป็นพระปัจเจกโพธิเจ้าก็โ ผู้จะมาเกิดเป็นลูกพระพุทธเจ้าก็ดี คำนึงรู้สึคกตนแลบมิหลงแต่สองสิ่งนี้ คือเมื่อจะเอาปฏิสนธิแลอยู่ในท้องแม่นั้นได้แลฯ

    เมื่อจะออกจากท้องแม่นั้นย่อมหลงดุจคนทั้งหลายนี้แลฯ ส่วนว่าคนทั้งหลายนี้ไส้ย่อมหล่งทั้ง ๓ เมื่อควรอิ่มสงสารแลฯ พระโพธิสัตว์เจ้าเมื่อชาติลงมาตรัสแก่สัพพัญญุตญาณ เมื่อแรกเอาปฏิสนธิก็ดี เมื่ออยู่ในคตรรภ์ก็ดี แลเสด็จจากครรภ์ก็ดี พระมารดาก็ดี บห่อนจะรู้หลงสักทีย่อมคำนึงรู้ทุกประการแลฯ

    เมื่อพระโพธิสัตว์อยู่ในครรภ์พระมารดานั้นบมิเหมือนดุจคนทั้งหลายเบื้องหลัง พระโพธิสัตว์ผูกหลังท้องแม่แลนั่งพแนงเชิงอยู่ดังนักปราชญ์ผู้งามนั้นนั่งเทศนาในธรรมาสนนั้น ตัวแห่งพระโพธิสัตว์เจ้านั้นเรืองงามดังทอง

    เห็นออกมารอง ๆ ดังจะออกมาภายนอกท้อง มารดาโพธิสัตว์ก็ดีแลผู้อื่นก็ดี ก็เห็นรุ่งเรืองงามดังท่านเอาไหมอันแดงนั้นมาร้อยแก้วขาวนั้นแบฯ เมื่อพระโพธิสัตว์เสด็จออกจากท้องแม่ ลมอันเป็นบุญนั้นบมิได้พัดให้หัวลงมาเบื้องต่ำแลให้ตีนขึ้นเบื้องบนดังสัตว์ทั้งหลายนั้นหาบมิได้ฯ

    เมื่อพระโพธิสัตว์จะออกจากครรภ์มารดานั้ นธเหยียดตีนแลเมื่อธออกแล้วธลุกยืนขึ้นแล้วธจึงออกจากท้องแม่ธแลฯ แต่เมื่อธยังเป็นฯ แต่มนุษย์ทั้งหลายอันมาเกิดในท้องแม่มนั้น และจะมีประดุจเป็นโพธิสัตว์เมื่ปัจฉิมชาติจักได้ตรัสเป็นพระนี้บห่อนมีเลย แต่ก่อน ๆ โพ้นไส้ย่อมเป็นโดยปรกติคจนทั้งหลายนี้แลฯ

    เมื่อพระโพธิสัตว์เนสด็จลงมาเอาปฏิสนธิเมื่อธสมภพก็ดี แผ่นดินไหวได้แลหมื่นจักรวาลทั้งน้ำอันชูแผ่นดินก็ไหว ทั้งน้ำสมุทรก็ฟูมฟอง เขาพระสุเมรุราชก็ทรงอยู่บมิได้ ก็หวั่นไหวด้วยบุญสมภารพระโพธิสัตว์เจ้าผู้มาตรัสเป็นพระพุทธเจ้านั้นแลฯ

    อันว่าปรกติคนทั้งหลายในโลกย์นี้ก็โ องค์พระโพธิสัตว์เจ้าก็ดี ติรัจฉานทั้งหลายก็ดี ครั้นว่าออกมาจากท้องแม่แลไส้ อันว่าเลือดซึ่งมีอยู่ในอกแม่นั้นเหตุว่าแม่ตจนมีใจรักนัก จึงเลือดที่ในอกของแม่นั้น ก็กลายเป็นน้ำมันไหลออกมาของแม่ให้ลูกนั้นได้ดูดกิน

    อันนี้เป็นวิสัยแห่งโลกย์ทั้งหลายแลฯ อันว่ามนุษย์ทั้งหลายนี้ ครั้นว่าผู้น้อยนั้นใหญ่ก็มาอาศัยแก่พ่อแม่นั้นเจรจาภาษาอันใด ๆ ก็ดี ครั้นแลว่าลูกนั้นได้ยินพ่อแม่เจรจาโดยภาษาอันนี้นั้น ๆ ตามภาษาพ่อแม่เจรจานั้นแลฯ ผิว่าผู้น้อยนั้นเกิดมาแล้วใหญ่มากล้าแข็งแล้วไส้ ถ้าแลว่าบมิได้ภาษาอันใด ๆ เลยไส้ กุมารนั้นก็เจรจาโดยสัจจบาลีแล โดยกำหนดท่านว่าไว้ต่อได้ ๑๖ ปี จึงหย่านมแลฯ ฝูงกุมารมนุษย์ทั้งหลายอันเกิดมานี้มี ๓ สิ่ง ๆ หนึ่งชื่อว่าอภิชาติบุตร สิ่งหนึ่งชื่ออนุชาติบุตร สิ่งหนึ่งชื่ออวชาติบุตรฯ อันว่าอภิชาติบุตรนั้นไส้

    ลูกนั้นเฉลียวฉลาดช่างเชาว์เหล่าเกลี้ยงดียิ่งกว่าพ่อกว่าแม่ แลรู้หลักนักปราชญ์ยิ่งกว่าพ่อกว่าแม่ ทั้งรูปนั้นก็งามกว่าพ่อกว่าแม่ มั่งมีเป็นดีมียษฐาศักดิ์มีกำลังยิ่งกว่าพ่อกว่าแม่ ลูกอันดีกว่าพ่อแม่ดังนี้ไส้ชื่อว่าอภิชาติบุตรแลฯ ลูกอันเกิดมาแลรู้หลักเรี่ยวแรงแลรูปโฉมแต่พอเพียงพ่อเพียงแม่ทุกประการดังนั้นชื่อว่าอนุชาติบุตรแลฯ

    ลูกอันเกิดมานั้นแลถ่อยกว่าพ่อกว่าแม่ทุกประการ ดังนั้นไส้ชื่อว่าอวชาติลบุตรแลฯ อันว่ามนุษย์ทั้งหลายนี้ ๔ จำพวก ๆ หนึ่งชื่อว่าคนนรก อันหนึ่งชื่อคนเปรต จำพวกหนึ่งชื่อคนติรัจฉาน อันหนึ่งชื่อคนมนุษย์ ฝูงคนอันที่ฆ่าสิงสัตว์อันรู้กระทำการอันเป็นบาปนั้นมาเถิงตน แลทื่านได้ตัดตีนสินมือแลทุกข์โศกเวทนานักหนาดังเรียกชื่อว่าคนนรกแลฯ จำพวกหนึ่งคนอันหาบุญอันจะกระทำบมิได้ แลแต่เมื่อก่อนแลเกิดมาเป็นคนเข็ญใจนักหนาแลจะมีผ้าแลเสื้อรอบตนนั้นหาบมิได้ อยู่หาอันจะกินบมิได้ อยากเผ็ดเร็ดไร้นักหนาแลมีรูปโแมโนมพรรณนั้นก็บมิงาม คนหมู่นี้ชื่อว่าเปรตมนุษย์แลฯ

    คนอันที่มีรู้ว่าบุญแลบาปย่อมเจรจาที่อันหาความเมตตากรุณามิได้ ใจกล้าหาญแข็งบมิรู้ยำเกรงท่านผู้เฒ่าผู้แก่ บมิรู้ปฏิบัติพ่อแม่แลครูบาธยายลมิรู้รักพี่รักน้อง ย่อมกระทำบาปทุกเมื่อ คนผู้นี้ชื่อว่าติรัจฉานมนุษย์แลฯ คนอันที่รู้จักผิดแลชอบ แลรู้จักที่อันเป็นบาปแลบุญ แลรู้จักประโยชน์ในชั่วนี้ชั่วหน้า แลรู้กลัวแก่บาปแลละอายแก่บาป รู้จักว่ายากว่าง่าย แลรู้รักพี่รักน้องแลรู้เอ็นดูกรุณาคนผู้เข็ยใจ แลรู้ยำเกรงพ่อแม่ผู้เฒ่าผู้แก่สมณพราหมณาจารย์อันอยู่ในสิกขาบทของพระพุทธเจ้าทุกเมื่อ

    แลรู้จักคุณแก้ว ๓ ประการไส้ แลคนฝูงนี้แลชื่อว่ามนุษยธรรมแลฯ คนทั้งหลายอันชื่อว่ามนุษย์นี้มี ๔ จำพวก จำพวกหนึ่งเกิดแลอยู่ในชมพูทวีปนี้แลฯ คนจำพวกหนึ่งเกิดแลอยู่ในแผ่นดินบุรพวิเทหเบื้องตระวันออกเรา คนจำพวกหนึ่งเกิดแลอยู่ในแผ่นดินอุตรกุรุทวีปอยู่ฝ่ายเหนือเรานี้ คนจำพวกหนึ่งเกิดแลอยู่ในแผ่นดินอมรโคยานทวีปเบื้องตระวันตกเรานี้ ฯ คนอันอยู่ในแผ่นดินชมพูทวีปอันเราอยู่นี้ หน้าเขาดังดุมเกวียน ฝูงคนอันอยู่ในบุรพวิเทหะหน้าเขาดังเดือนเพ็งแลกลมดังหน้าแว่นฯ ฝูงคนอันอยู่ในอุตรกุรุนั้นแลหน้าเขาเป็น ๔ มุมดุจดังท่านแกล้งถากให้เป็น ๔ เหลี่ยมกว้างแลรีนั้นเท่ากันแลฯ

    ฝูงคนอันอยู่ในแผ่นดินอมรโคยานทวีปนั้น หน้าเขาดังเดือนแรม ๘ ค่ำนั้นแลฯ อายุคนทั้งหลายอันอยู่ในชมพูทวีปนี้บห่อนจะรู้ขึ้นรู้ลง เพราะเหตุว่าดังนี้ลางคาบคนทั้งหลายมีศีลมีธรรม ลางคาบคนทั้งหลายหาศีลหาธรรมบมิได้ฯ ผิแลว่าเมื่อคนทั้งหลายนั้นมีศีลอยู่ไส้ ย่อมกระทำบุญแลธรรมแลยำเยงผู้เฒ่าผู้แก่พ่อแม่ แลสมณพราหมณาจารย์ดังนั้นแลอายุคนทั้งหลายนั้นก็เร่งจำเริญขึ้นไป ๆ เนือง ๆ แลฯ ผิแลว่าคนทั้งหลายมิได้จำศีลแลมิได้ทำบุญ

    แลมิได้ยำเกรงผู้เฒ่าผู้แก่พ่อแม่แลสมณพราหมณาจารย์ครูบาธยายแล้วดังนั้นไส้ อันว่าอายุคนทั้งหลายนั้นก็เร่งถอยลงมา ๆ เนือง ๆ แลฯ แลอายุคนในแผ่นดินชมพูทวีปเรานี้ว่าหากำหนดมิได้เพราะเหตุดังนั้นแลฯ อันว่าฝูงคนอันอยู่ในบุรพวิเทหะนั้นแลอายุเขายืนได้ ๑๐๐ ปี เขาจึงตายฯ อันว่าฝูงคนทั้งหลายอันอยู่ในอมรโคยานทวีปนั้นอายุเขายืนได้ ๔๐๐ ปีจึงตายแลฯ อันว่าฝูงคนอันอยู่ในอุตรกุรุทวีปนั้น อายุเขายืนได้ ๑๐๐๐ ปีจึงตายแลฯ แลอายุคนทั้ง ๓ ทวีปนั้นบห่อนจะรู้ขึ้นรู้ลงเลยสักสาบ

    เพราะว่าเขานั้นอยู่ในปัญจศีลทุกเมื่อบมิได้ขาด เขาบห่อนจะรู้ฆ่าสัตว์ตัวเป็นให้จำตายเขาบห่อนจะรู้ลักเอาทรัพย์สินท่านมากก็ดีน้อยก็ดีอันเจ้าของมิได้ให้ เขาบห่อนจะรู้ฉกลักเอา อนึ่งเขาบห่อนจะรู้ทำชู้ด้วยเมียท่านผู้อื่น ส่วนว่าผู้หญิงเล่าเขาก็บห่อนจะรู้ทำชู้ด้วยผัวท่านแล ผู้อื่นแลเขาบห่อนจะรู้ทำชู้จากผัวของตน อนึ่งเขาบห่อนจะรู้เจราจามุสาวาทแลเขาบห่อนจะรู้เสพย์สุรายาเมา แลเขารู้ยำรู้เกรงผู้เม่าผู้แก่พ่อแลแม่ของเขา ๆ รู้รักพี่รู้รักน้องของเขา ๆ ก็ใจอ่อนใจอดเขารู้เอ็นดูกรุณาแก่กัน เข่บห่อนจะรู้ริษยากัน เขาบห่อนจะรู้เสียดรู้ส่อรู้ด่ารู้ทอรู้พ้อรู้ตัดกันแล เขาบห่อนจะรู้เฉลาะเบาะแว้งถุ้งเถียงกัน เขาบห่อนจะรู้ชิงช่วงหวงแหนแดนแลที่บ้านรู้ร้าวของกันแล เขาบห่อนจะรู้ทำข่มเหงเอาเงินเอาทองของแก้วลูกแลเมียแลข้าวไร่โคนาหัวป่า ค่าที่ห้อยละหานธารน้ำเชิงเรือนเรือกสวนเผือกมันหัวหลักหัวต่อหัวล้อหัวเกวียน

    เขามิรู้เบียดเบียนเรือชานาวาโคมหิงษาช้างม้าข้าไทย สรรพทรัพย์สิ่งสินอันใดก็ดี เขาบห่อนรู้ว่าของตนท่านดูเสมอกันสิ้นทุกแห่งแล เขานั้นบห่อนทำไร่ไถนาค้าขายหลายสิ่งเลยฯ เบื้องตระวันนตกเขา พระสุเมรุใหญ่ อันชื่อว่า อมรโคยาน ทวีปนั้นโดยกว้างได้ ๙๐๐๐ โยชน์ แลมีแผ่นดินล้อมรอบเป็นบริวาร ฝูงคนอันอยู่ที่ในแผ่นดินนั้นหน้าเขาดังเดือนแรม ๘ ค่ำ แลมีแม่น้ำใหญ่แลแม่น้ำเล็บแลเมืองใหญ่แลเมืองน้อย มีนครใหญ่กว้าง ๆ น้ำนั้นเบื้องตระวันออกเขาพระสุเมรุนั้น มีแผ่นดินใหญ่อันหนึ่งชื่อว่าบุพพวิเทหทวีป ๆ นั้นโดยกว้างได้ ๗๐๐๐ โยชน์ ด้วยปริมณฑลรอบไส้ได้ ๒๑,๐๐๐ โยชน์

    แลมีแผ่นดินเล็กได้ ๔๐๐ แผ่นดินล้อมรอยเป็นบริวาร ฝูงคนอยู่ที่นั้นหน้าเขากลมดังเดือนเพ็ง แลมีแม่น้ำใหญ่แม่น้ำเล็กมีเขามีเมืองใหญ่เมืองน้อย ฝูงคนอันอยู่ที่นั้นมากมายหลายนักแลมีท้าวพระญาแลมีนายบ้านนายเมืองฯ แผ่นดินเบื้องตีนนอนพระสิเนรุนั้นชื่อว่าอุตตรกุรุทวีปโดยกว้างได้ ๘,๐๐๐ โยชน์ แผ่นดินเล็กได้ ๕๐๐ แผ่นดินนั้นล้อมรอบเป็นบริวาร ฝูงคนอยู่ในที่นั้นหน้าเขาเป็น ๔ มุมแลมีภูเขาทองล้อมรอบ ฝูงคนทั้งหลายอยู่ที่นั้นมากหลายนัก เทียรย่อมดีกว่าคนทุกแห่งเพื่อว่าเพราะบุญเขาแลเขารักษาศีล

    แลแผ่นดินเขานั้นราบเคียงเรียงเสมอกันดูงามนักหนา แลว่าหาที่ราบที่ลุบขุบที่เทงมิได้ แลมีต้นไม้ทุกสิ่งทุกพรรณแลมีกิ่งตาสาขางามดีมีค่าคลบมั่งคั่งดังแกล้งทำไว้ ไม้ฝูงนั้นเป็นเย่าเป็ฯเรือนเลือนกันเข้ามอง งามดังปราสาทเป็นที่อยู่ที่นอน ฝูงคนในแผ่นดินชาวอุตรกุรุทวีป แลไม้นั้นหาด้วงหาแลงมิได้แลไม่มีที่คดที่โกง หาพุกหาโพรงหากลวงมิได้ ซื่อตรงกลมงามนักหนาแลมีดอกเทียรย่อมมีดอก

    แลลูกอยู่ทุกเมื่อบมิได้ขาดเลยฯ อนึ่งที่ใดแลมีบึงมีหนองมีตระพังทั้งนั้น เทียรย่อมมีดอกบัวแดงบัวขาวบัวเขียวบัวหลวง แลกระมุทอุบลจลกรณีแลนิลุบลบัวเผื่อนบัวขม ครั้งลมพัดต้องมีกลิ่นอันหอมขจรอยู่มิรู้วายสักคาบฯ

    คนฝูงนั้นบมิต่ำ บมิสูง บมิพี บมิผอม ดูงามสมควรนัก คนฝูงนั้นเรี่ยวแรงอยู่ชั่วตนแต่หนุ่มเถิงเฒ่าบมิรู้ถอยกำลังเลย แลคนชาวอุตรกุรุนั้นหาความกลัวบมิได้ด้วยจะทำไร่ไถนาค้าขายวายล่องทำมาหากินดังนั้นเลยสักคาบอนึ่งชาวอุตรกุรุนั้นเขาบห่อนจะรู้ร้อนรู้หนาวเลย แลมิมีใญ่ข่าวแลริ้นร่านหานยุง แลงูเงี้ยงเปียวของทั้งหลายเลแลสารพสัตว์อันมีพิษ บห่อนจะรู้ทำร้ายแก่เขาเลยทั้งลมแลฝนก็บห่อนจะทำร้ายแก่เขา

    ทั้งแดดก็บห่อนจะรู้ร้อนตัวเขาเลย เขาอยู่แห่งนั้นมีเดือนวันคืนบห่อน จะรู้หลากสักคาบหนึ่งเลย แลชาวอุดรกุรุนั้นบห่อนจะรู้ร้อนเนื้อเดือดใจ ด้วยถ้อยความสิ่งอันใดบห่อนจะมีสักคาบ แลชาวอุตรกุรุนั้นมีช้าวสารสิ่งหนึ่ง ขชีเตนสาลีบมิพัดทำนาแลข้าวสาลีนั้นหากเป็น้ต้นเป็นรวงเอง เป็นข้าวสารแต่รวงนั้นมาเองแล ข้าวนั้นข้าวแล หอมปราศจากแกลบแลรำบมิพักตำ แลฝัดแลหากเป็นข้าวสารอยู่แล เขาชวนกันกินทุกเมื่อแล

    ในแผ่นดินอุตรกุรุนั้นยังมีศิลาสิ่งหนึ่งชื่อโชติปราสาท คนทั้งหลายฝูงนั้นเอาข้าวสารนั้นมาใส่ในหม้อทองอันเรืองงามดังแสงไฟ จึงยกไปตั้งลฝงเหนือศิลาอันชื่อว่าโชติปราสาท บัดใจหนึ่งก็ลุกขึ้นแต่ก้อนศิลา อันชื่อว่าโชติปราสาทนั้น ครั้นว่าข้าวนั้นสุกแล้วไฟนั้นก็ดับไปเองแลฯ เขาแลดูไฟนั้น ครั้นเขาเห็นไฟนั้นดับแล้วเขาก็รู้ว่าข้าวนั้นสุกแล้ว เขาจึงเอาถาดแลตระไลทองนั้นใสงามนั้นมา คดเอาข้าวใส่ในถาดแลตระไลทองนั้นแลฯ อันว่าเครื่องอันจะกินกับข้าวนั้นฉแม่นว่าเขาพอใจจักใคร่กินสิ่งใด ๆ เขามิพักหาสิ่งนั้น

    หากบังเกิดขึ้นมาอยู่แทบใกล้เขานั้นเองแลฯ คนผู้กินข้าวนั้นแลจะรู้เป็ฯหิดแลเรื้อนเกลื้อนแลกากหูแลเปา เป็นต่อมเป็นเตาเป็นง่อยเป็ฯเพลียตาฟูหูหนวกเป็นกระจอกงอกเงือยเปือยเนื้อเมื่อยตน ท้องขึ้นท้องพองเจ็บท้องต้องไส้ปวดหัวมัวตา ไข้เจ็บเหน็บเหนื่อยวิการดังนี้ไสบห่อนจะบังเกิดมีแก่ชาวอุตรกุรุนั้นแต่สักคาบหนึ่งเลยฯ ผิว่าเขากินข้าวอยู่แลมีคนไปมาหาเมื่อเขากินข้าวอยู่นั้น เขาก็เอาข้าวนั้นให้แก่ผู้ไปเถิงเขานั้นกินด้วยใจอันยินดีบห่อนจะรู้คิดสักเมื่อเลนยฯ แลในแผ่นดินอุตรกุรุทวีปนั้น

    มีต้นกัลปพฤกษ์ต้นหนึ่งโดยสูงได้ ๑๐๐ โยชน์ โดยกว้างได้ ๑๐๐ โยชน์ โดยรอบบริเวณมณฑลได้ ๓๐๐ โยชน์ และต้นกัลปพฤกษ์นั้นผู้ใดจะปราถนาหาทุนทรัพย์สรรพเหตุอันใด ๆ ก็ดี ย่อมได้สำเร็จในต้นไม้นั้นทุแประการแลฯ ถ้าแลคนผู้ใดปราถนาจะใคร่ได้เงินแลทององแก้วแลเครื่องประดับนิ์ทั้งหลาย เป็นต้นว่าเสื้อสร้อยสนิมพิมพาภรณ์ก็ดี แลผ้าผ่อนท่อนแพรพรรณสิ่งใด ๆ ก็ดี แลข้าวน้ำโภชนาหารของกินสิ่งใดก็ดี

    ก็ย่อมบังเกิดปรากฎขึ้นแต่ค่าคบต้นกัลปพฤกษ์นั้น ก็ให้สำเร็จความปรารถนาแก่ชนทั้งหลายนั้นแลฯ แลมีฝูงผู้หญิงอันอยู่ในแผ่นดินนั้นงามทุกคนรูปทรงเขานั้นบมิต่ำบมิสูงบมิพีบมิผอมบมิขาวบมิดำ สีสมบูรณ์งามดังทองอันสุกเหลืองเรืองเป็นที่พึงใจฝูงชายทุกคนแลฯ นิ้วตีนนิ้วมือเขานั้นกลมงามนะแน่ง เล็บตีนเล็บมือเขานั้นแดงงามดังน้ำครั่งอันท่านแต่งแล้วแลแต้มไว้ แลสองแก้มเขานั้นไสงามเป็นนวลดังแกล้งเอาแป้งผัด หน้าเขานั้นหมดเกลี้ยงปราศจากมลทินหาผ้าหาไผบมิได้ แลเห็นดวงหน้าเขาใสดุจดวงพระจันทร์อันเพ็งบูรณ์นั้น เขานั้นมีตาอันดำดังตาแห่งลูกทรายพึ่งออกได้ ๓ วันที่บูรณ์ขาวก็ขาวงามดังสังข์อันท่านพึ่งฝนใหม่แลมีฝีปากนั้นแดงดังลูกฝักข้าวอันสุกนั้น

    แลมีลำแข้งลำขานั้นงามดังลำกล้วยทองฝาแฝดนั้นแล แลมีท้องเขานั้นงามราบเพียงลำตัวเขานั้นอ้อนแอ้นเกลี้ยงกลมงาม แลเส้นขนนั้นละเอียดอ่อนนัก ๘ เส้นผมเขาจึงเท่าผมเรานี้เส้นหนึ่ง แลผมเขานั้นดำงามดังปีกแมลงภู่เมื่อประลงมาเถิงริมบ่าเบื้องต่ำ แลมีปลายผมเขานั้นงอนเบื้องบนทุกเส้น แลเมื่อเขานั่งอยู่ก็ดี ยืนอยู่ก็ดี เดินไปก็ดี ดังจักแย้มหัวทุกเมื่อ แลขนคิ้วเขานั้นดำแลงามดังแกล้งก่อ เมื่อเขาเจรจาแลน้ำเสียงเขานั้นแจ่มใส่ปราศจากเสมหเขฬทั้งปวงแล ในตัวเขานั้นเทียรย่อมประดับนิ์ด้วยเครื่องถนิมอาภรณ์บวรยุคันฐี แลมีรูปโฉมโนมพรรณอันงามดังสาวอันได้ ๑๖ เข้า แลรูปเขานั้นบห่อนรู้เฒ่ารู้แก่แลหนุ่มอยู่ดังนั้นชั่วตนทุก ๆ แลฯ อันว่าฝูงผู้ชายอันอยู่ในแผ่นดินอุตรกุรุนั้นโสด รูปโฉมโนมพรรณเขานั้นงามดังบ่าวหนุ่มน้อยได้ ๒๐ ปี มิรู้แก่บมิรู้เฒ่าหนุ่มอยู่ดังนั้นชั่วตนทุก ๆ เลย แลเขานั้นไส้เทียรย่อมกินข้าวแลน้ำสรรพหารอันดีอันโอชารสนั้น แลแต่งแต่เขาทากระแจะแลจวงจันทน์น้ำมันอันดี

    แลมีดอกไม้หอมต่าง ๆ กัน เอามาทัดมาทรงเล่นแล้วก็เที่ยวไปเล่นตามสบาย บ้างเต้นบ้างรำบ้างฟ้อนระบะบรรลือเพลงดุริยดนตรี บ้างดีดบ้างสี บ้างตีบ้างเป่า บ้างขับสรรพสำเนียงเสียงหมู่นักคุนจุนกันไปเดียรดาษ พื้นฆ้องกลองแตรสังข์ระฆังกังสดาลมโหรทึกกึกก้องทำนุกดี ที่มีดอกไม้อันตระการต่าง ๆ สิ่งมีจวงจันทน์กฤษณาคันฦธาทำนองลบองดังเทพยดาในเมืองฟ้าสนุกนิ์ทุกเมื่อบำเรอกันบมิวายสักคาบหนึ่งเลย ลางหมู่ชวนเพื่อนกันไปเล่นแห่งที่ตระการสนุกนิ์นั้นก็มี ลางหมู่ไปเล่นในสวนที่สนุกนิ์ที่มีดอกไม้อันตระการต่าง ๆ สิ่งมีจวงจันทน์กฤษณาคนธาปาริกชาตนาคพฤกษ์ รำดวนจำปาโยทกามาลุตีมณีชาติบุตรทั้งหลาย อันมีดอกอันบานงามตระการแลหอมกลิ่นฟุ้งขจรไปบมิรู้วายฯ

    ลางหมู่ก็ชวนกันไปเล่นในสวนอันมีสรรพลูกไม้อันตระการแลมีลูกอันสุกแลหวาน คือว่าขนุนนั้นไส้ลางลูกนั้นใหญ๋เท่าไหหาม ลางลูกเท่ากลออมหอมก็หอมหวานก็หวาน เขาชวนกันกินเล่นสำราญบานใจในสวนนั้นฯ ลบางหมู่ชวนกันไปเล่นน้ำใหญ่อันมีท่าอันราบอันปราศจากเปือกแลตม เขาเขาชวนกันว่ายล่องท่องเล่นเต้นเด็ดเอาดอกไม้อันมีในแม่น้ำนั้นด้วยกันแล้ว แลลงอาบฉาบตัวเก็บเอาดอกไม้มราทัดตรงไว้เหนือหูแลหัว

    บ้างก็ชวนกันเล่นเหนือกองหาดทรายอันงาม เมื่อจะพากันลงอาบน้ำนั้น เขาก็ถอดเอาเครื่องประดับนิ์นั้นออกวางไว้เหนือหาดทราบแลฝั่งน้ำนั้นด้วยกันแล้ว ๆ ก็ลงอาบเล่นวายเล่นในน้ำนั้น ถ้าแลผู้ใดขึ้นมาก่อนไส้ ผ้าใครก็ดี เครื่องประดับนิ์ใครก็ดี เอานุ่งเอาห่มเอามาประดับนิ์ตนก่อนแลฯ ส่วนว่าผู้ขึ้นมาภายหลังเล่าไส้ เครื่องประดับนิ์ใครก็ดี ผ้าใครก็ดี เอามานุ่งมาห่ม แลเขาบมิได้ว่าของตนของท่าน เขาบห่อนยินร้ายแก่กันด้วยความดังนี้เลย เขาบห่อนด่าบห่อนเถียงกันเลย

    ผิว่ามีรูไม้อยู่ที่ใดแลเขาเข้าอยู่อาศัย ในที่นั้นก็พูนเกิดขึ้นมาเป็นเสื้อสาดอาสนะ แลเป็นฟูกนอนหมอนอิงเป็นม่าน แลเพดานกางกั้นแลสนุกนิ์ถูกเถิงพึงใจเขาทุกเมื่อแลฯ ผิว่าเมื่อเขาพึงใหญ่ขึ้นก็ดี เมื่อเขายังหนุ่มอยู่นั้นก็โ เมื่อเขาแรกจะรักใคร่กันก็ดี เมื่อเขาแรกได้กันเป็นผัวเป็นเมียก็ดี แลเขาอยู่ด้วยกันแลเสพเมถุนไส้แต่ ๗ วันนั้นแลฯ

    พ้นกว่านั้นไปเขามิได้เสพด้วยเมถุนเลยฯ เขาอยู่เย็นเป็นสุขนักหนา แลตราบเท่าสิ้นชนมายุเขาพันปีนั้นบมิได้มีอาวรสิ่งใด ๆ ดังอรหันตาขีณาสพเจ้าอันขาดกิเลสแล้วนั้นแลฯ ฝูงผู้หญิงอันอยู่ในแผ่นดินนั้น เมื่อเขามีครรภภ์และจะคลอดลูกไส้ในที่อยู่นั้นบห่อนจะรู้เจ็บท้องเจ็บพุง ครั้นว่าท้องนั้นสนใจรู้ว่าจะคลอดลูกแลแม่อยู่แห่งใดก็ดี เทียรย่อมเป็นแท่นเป็นที่อยู่ที่นอนเกิดขึ้นมาเองดังกล่าวมาแต่ก่อนนั้นฯ เขาจึงคลอดลูกในที่นั้น เขาบห่อนจะรู้เจ็บท้องเจ็บไส้บห่อนรู้แค้นเนื้อแค้นใจด้วยคลอดลูกนั้นสักอันเลยฯ

    ครั้นว่าเขาออกลูก ๆ เขานั้นหมดใสปราศจากเลือดฝาดแลเปลือกคาวทั้งปวงแลหามุลทินบมิได้เลย งามแลงามดังแท่งทองดอันสุกใสอันปราศจากราคี เขาบมิได้ล้างได้สีได้ลูบได้คลำ เขาบมิให้ลูกกินน้ำกินนมเลยฯ เขาเอาลูกเขานั้นไปนอนหงายไว้ในริวหนทืางที่คนทั้งหลายเดินไปมากล้ำกลายนั้นแลฯ แลที่นั้นมีหญ้าอันอ่อนดังสำลี แลแม่นั้นมิได้อยู่ด้วยลูกอ่อนนั้นเลย แม่นั้นก็คืนไปยังที่อยู่สู่ที่กินของเขานั้นแลฯ จึงผู้คนผู้หญิงก็ดีผู้ชายก็ดี คนทั้งหลายนั้นเดินไปมากล้ำกลายครั้นว่าแลเห็นลูกอ่อนนอนหงายอยู่ดังนั้น

    เทียรย่อมเอานิ้วมือเขาป้อนข้าวไปในปากลูกอ่อนนั้น ด้วยบุญของลูกอ่อนนั้นก็บังเกิดเป็นน้ำนมไหลออกมาแต่ปลายนิ้วมือเขาก็ไหลเข้าไปในคอลูกอ่อนนั้น หากเป็นข้าวกล้วยอ้อยของกินบำเรอลูกอ่อนนั้นทุกวันฯ ครั้นว่าหลายเดือนแล้วลูกอ่อนนั้นใหญ่ รู้เดินไปมาได้แล้วไส้ ถ้าว่าลูกอ่อนนั้นเป็นผู้หญิงก็ไปอยู่ด้วยเพื่อนเด็กผู้หญิงทั้งหลายหนึ่งกันนั้นแลฯ ถ้าว่าเด็กลูกอ่อนนั้นเป็นผู้ชายไส้ก็ไปอยู่ด้วยฝูงเด็กผู้ชายทั้งหลายนั้นแลฯ ลูกเต้าเขานั้นหากใหญ๋กลางบ้านลูกก็มิรู้จักแม่ ๆ ก็มิรู้จักลูก ถ้อยทีถ้อยมิได้รู้จักกัน

    เพราะว่าคนฝูงนั้นงามดังกันทุกคนแลฯ อนึ่งเมื่อเขาแรกรักกันและจะอยู่ด้วยกันแรกเป็นผัวเป็นเมียกันวันนั้น แม่แลลูกก็ดีพ่อแลลูกก็ดี เขาบห่อนได้กันเป็นผัวเป็นเมีย เพราะว่าเขาฝูงนั้นเป็นคนนักบุญแลเทพยดาหากตกแต่งเขาให้เป็นธรรมดาาเขาแลฯ ผิแลว่าเมื่อเขาแลตายจากกัน เขาบมิได้เป็นทุกข์เป็นโศก แลมิได้ร้องไห้รักกันเลย เขาจึงเอาศพนั้นมาอาบน้ำแลแต่งแง่ทากระแจะแลจวงนจันทน์น้ำมันอันหอมแลนุ่งผ้าห่มผ้าให้แล้วพระดับนิ์ด้วยเครื่องถนิมอาภรณ์แลทั้งปวงให้แล้ว ๆ จึงเอาศพนั้นไปวางไว้ในที่แจ้งยังมีนกสิ่ง ๑ เทียรย่อมบินเที่ยวไปทั่วแผ่นดินอุตรกุรุทวีปนั้น นกนั้นครั้นว่าแลเห็นซากศพไส้

    นกนั้นก็คาบเอาซากศพนั้นไปเป็นกำนันบ้านนกนั้น เพราะว่าบมิให้เป็นอุกกรุกในแผ่นดิน เขานั้นได้ลางคาบ ๆ ไปเสียในแผ่นดินอันอื่นก็ว่า บางคาบ ๆ ไปเสียในฝั่งทะเลว่าชมพูทวีปอันเราอยู่นี้ก็ว่า เหตุให้พ้นอันตรายในแผ่นดินอุตรกุรุทวีปนั้นแลฯ อันว่านกนั้นไส้ ลางอาจารย์ว่านกหัสดีลึงค์ ลางอาจารยว่านกอินทรี ลางอาจารย์ว่านกกด

    อันมาคาบเอาศพไปเสียนั้น ลางอาจารย์ว่าเอาตีนคีบไปเสียฯ ฝูงคนอยู่ในอุตรกุรุทวีปนั้น เมื่อเขาตายเขาบห่อนได้ไปเกิดในจตุราบางทั้ง ๔ คือว่านรกแลเปรตแลติรัจฉานอสูรกายนั้นนั้นเลยฯ เขาไส้เทียรย่อมไปเกิดในที่ดีคือสวรรค์ชั้นฟ้าแล เพราะว่าเขานั้นย่อมตั้งอยู่ในปัญจศีลนั้นทุกเมื่อแลบมิได้ขาดฯ เครื่องเป็นดีคนฝูงนั้นบมิรู้สิ้นสุดเลย ยังคงบริบูรณ์อยู่ต่อเท่ากาลบัดนี้แลฯ

    ในพระคัมภีร์อัน ๑ ว่าดังนี้ แผ่นดินในอุตรกุรุทวีปนั้นราบคาบเสมอกันงามนักหนา มิได้เป็นขุมรูบมิได้ลุ่มบมิได้เทงอันว่าคนทั้งหลายอันที่อยู่นั้ บห่อนจะรู้มีความทุกข์ความโศกเลยฯ อันว่าสิงสีตว์ทั้งหลายหลายมีอาทิ คือ หมูแลหมีหมาแลงูเงี้ยวเกี่ยวข้อง แลสรรพสัตว์อันร้ายอันคะนองแลจะได้เบียดเบียนคนทั้งหลายอันอยู่ในที่นั้นหาบมิได้เลยฯ แลว่ายังมีหญ้าสิ่ง ๑ ชื่อว่าฉพิการทัตรเป็นขึ้นในแผ่นดินนั้น แลเห็นเขียวงามต่ำงามนักดังแววนกยูงแลบละเอียดอ่อนดังฟูกดังสำลีแลสูงขึ้นพ้นดิน ๔ นิ้ว

    แลน้ำนั้นไสเย็นสะอาดกินหวานเซาะ ท่าน้ำนั้นดูงามเทียรย่อมเงินทองแลแก้วสัตตพิธรัตนะไหลเรียงเพียงเสมอฝั่งกากินบมิพักก้ม คนแห่งนั้นลางคนสูงค่าคนในบุรพวิเทหทวีป แลคนในอุตรากุรุทวีปนั้นเขานุ่งผ้าขาว อันเขานึกเอาแต่ต้นกัลปพฤกษ์นั้น แลต้นกัลปพฤกษ์นั้นโดยสูงได้ ๑๐ วา ๒ ศอก โดยกว้างได้ ๑๐ วา คนแห่งนั้นเขาบห่อนรู้ฆ่าสิงสัตว์อันรู้ติงแลเขาบห่อนรู้กินเนื้อฯ ผิว่าคนแห่งนั้นเขาตายไส้เขาบมิพักเอาศพนั้นไปเสียเลย แลยังมีนกสิ่งหนึ่งชื่อว่านกอินทรี ๆ นั้นหากมาคาบเอาไปเสียกลางป่าแลฯ

    ฝูงคนทั้งหลายคือว่าผู้หญิงผู้ชายในแผ่นดินนั้น เมื่อเขาจะรักกันเป็นผัวเมียนั้นเขาบมิพักเสียสิ่งอันใดอันหนึ่งเลย ใจเขารักใคร่กันเขาก็อยู่ด้วยกันเองแล ครั้นว่เขาเห็นกันเมื่อใดใจเขาผู้กพันกันเข้า หากโสดตาแลหากันเข้าก็รักกันแลฯ

    อันนี้ฎีกาแต่อยู่หั้นต่อเท่าเถิงไฟไหม้กัลป ๔ อันในนี้รูปกระต่ายอันอยู่ในพระจันทร์แลโยคาทิโพธิสัตว์เป็นนกขุ้มอยู่ในรัง ไฟบมิไหม้ได้ต่อเท่าสิ้นกัลป ๑ ฯ อันว่าคำในที่นี้เรื่องโฑธิสัตว์เมื่อท่านมลวงคาไปมุงสลิงเจ้าไท แลฝนบมิได้รั่วไหลในเรือนอันลางคาออกนั้น ฝนบมิได้รั่วเลยตราบเท่าสิ้นกัลป ๑ แลฯ ไม้อ้ออันอยู่รอบริมสระพังเมื่อโพธิสัตว์เป็นพระญาแก่วานรแลมีบริวารได้ ๘ หมื่น แลท่านอธิษฐานว่าให้ไม้อ้อนั้นกลวงรอดอยู่ต่อเท่าสิ้นกัลป ๑ แลฯ คนแห่งนั้นแต่บ่าวแต่สาวตราบเท่าเถิงแก่ เถิงเฒ่าเขาเสพเมถุนก้วยกัน ๔ คาบไส้ ลางคาบเล่าคนนั้นแต่หนุ่มเถิงเฒ่าบมิได้เสพเมถุนเลยสักคาบ ฯ

    คนผู้นั้นเขากินข้าวเขาบห่อนรู้ทำนา เขาเทียรย่อมเอาข้าวสารอันเป็นเองนั้นมากิน แลข้าวสารนั้นหากขาวอยู่ บมิพักตากพักตำ พักฝัด พักซ้อมเลย หากเป็นข้าวสารมาเองแลฯ ยังมีลูกไม้สิ่ง ๑ ชื่อว่า คุทิ เครื่องลูกไม้นั้นเกิดมาเป็นหม้อข้าวของเขา เขาเอาน้ำใส่ในข้าวแล้วเขาตั้งขึ้นเหนือศิลา อันชื่อว่าโชติปราสาท ๆ นั้นก็เป็นไฟลุกขึ้นเองแล ๆ ครั้งว่าเข้านั้นสำเร็จดีแล้วไฟนั้นก็ดับไปเองแลฯ เขาก็คดเอาข้าวนั้นมากิน ข้าวนั้นก็หวานนักแลฯ อันว่าชาวอุตตรกุรุทวีปนั้นเขาบห่อนรู้ทำเรือนอยู่เลย

    ยังมีไม้สิ่ง ๑ เทียรย่อมเป็นทองชื่อว่าแมลชุสเป็นดังเรือน แลไม้นั้นเป็นเหย้าเป็นเรือนของเขาทั้งหลายอันอยู่ในอุตตรกุรุทวีปนั้นแลฯ สมเด็จพระเจ้าบัณฑูรเทศนาดังนี้ว่า พระพุทธเจ้าก็ดีแลพระปัจเจกโพธิเจ้าก็ดี แลพระอรรคสาวกเจ้าก็ดี แลพระอรหันตาขีณาสพเจ้าก็ดี แลโพธิสัตว์อันจะได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าก็ดีแล พระญาจักรพรรดิราชก็ดีอันว่าผู้มีบุญทั้งหลายดังกล่าวมานี้ไส้ ท่านบห่อนรู้ไปเกิดในแผ่นดิน ๓ อันนั้นเลย

    ท่านย่อมมาเกิดในแผ่นดินชมพูทวีปอันเราอยู่นี้แลฯ คนอันเกิดในแผ่นดินชมพูทวีปนี้เขาบป่อนไปเกิดในแผ่นดิน ๓ อันนั้นเลยฯ ฝูงคนอันอยู่ในแผ่นดินใหญ่ใหญ่ ๓ อันนั้นก็ดี และคนอันอยู่ในแผ่นดินเล็กเล็กทั้ง ๒ พันนั้นก็ดีผิแลว่าเมื่อใดมีพระญาจักรพรรดิราชไส้ คนทั้งหลายฝูงนัน้นย่อมมาเฝ้ามาแหนท่านนั้นดังคนทั้งหลายอันอยู่ในแผ่นดินเรานี้แลฯ เทียรย่อมไหว้นบคำรพยำเยงพระญาจักรพรรดิราชเจ้านั้นแลฯ

    ท่านผู้เป็นพระญาจักรพรรดิราชนั้นท่านมีศักดิ์มียศดังนี้แลจะกล่าวแลลน้อยฯ แต่พอให้รู้ไส้คนผ้ใดที่ได้กระทำบุญแต่ก่อนคือว่าได้ปฏิบัติบูชาแก่พระศรีรัตนตรัยแลรู้จักคุณพระพุทธเจ้าพระธรรมเจ้าพระสงฆ์เจ้าแลให้ทานรักษาศีลเมตตาภาวตา ครั้นตายก็เอาตนไปเกิดในสวรรค์ ลางคาบเล่าได้ไปเกิดเป็นท้าวเป็ฯพระญาผู้ใหญ่ แลมีศักดิ์มียศบริวารเป็นอเนกอนันต์ไส้ ได้ปราบทั่วทั้งจักรวาลแลฯ

    แม้ท่านว่ากล่าวถ้อยคำสิ่งใดก็ดีแล บังคับบัญชาสิงใดก็ดีเทียรย่อมชอบด้วยทรงธรรมทุกประการแลฯ ท่านนั้นเป็นพระญาทรงพระนามชื่อว่าพระญาจักรพรรดิราชแลฯ พระญามีบุญดังนั้นใจฉมักใคร่ฟังธรรมเทศนานัก ย่อมฟังธรรมเทศนาแต่สำนักนิ์สมษพราหมณาจารย์ แลนักปราชผู้รู้ธรรมฯ แลพระญานั้นธทรงปัญจศีลทุกวารบมิได้ขาดในวันอุโบสถศีลไส้ย่อมทรงอัฏฐศีลทุกวันอุโบสถมิขาดฯ

    ในวันเพ็งบูรณไส้ ครั้นเมื่อเช้าธย่อมให้แต่ธนทรัพย์สรรพเหตุอันอเนกนั้นแล้ว ธให้ขนเอามากองไว้ที่หน้าพระลานไชย แลธแจกให้เป็นทานแก่คนอันเที่ยวมาขอ ครั้นว่าธแจกทานสิ้นแล้วธจึงชำระสระพระเกษแลสรงน้ำด้วยกัลออมทองคำอันอบไปด้วยเครื่องหอม ได้ละพันกัลออมแล้ว ธจึงทรงผ้าขาวอันเนื้อละเอียดนั้นแล้ว ธจึงเสวยโภชนาหารอันมีรสอันดีดุจมีในสวรรค์นั้นฯ แล้วธจึงเอาผ้าขาวอันเนื้อละเอียดอันชื่อว่าผ้าสุกุลพัตร์มาห่มแลพาดเหนือจะงอยบ่าแล้วจึงสมาทานเอาศีล ๘ อัน

    แล้วธจึงเสด็จลงไปนั่งกลางแผ่นดินทองอันประดับนิ์ด้วยแก้วแลรุ่งเรืองงามดังแสงพระอาทิตย์แล กอประด้วยฟูกเมาะเบาะแพรแลหมอนทอง สำหรับย่อมประดับนิ์ด้วยแก้วสั้ตตพิธรัตนะแท่นทองนั้นอยู่ในปราสาทแก้วอันรุ่งเรืองงามนักหนา แลพระญานั้นธรำพึงเถิงทานอันธให้นั้นแลรำพึงเถิงศีลอันธรักษาอยู่นั้น แลธรำพึงเถิงธรรมอันทรงไว้นั้นธก็เมตตาภาวนาแล ด้วยอำนาจบุญสมภารนั้นธจึงได้ปราบทั่วทั้งจักรวาลดังนั้นแล ฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กุมภาพันธ์ 2009
  11. สัตบุรุษ

    สัตบุรุษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    733
    ค่าพลัง:
    +840
    ยังมีกงจักรแก้วอันหนึ่งชื่อว่า จักรรัตนะ แลประดับนิ์ด้วยแก้วทั้ง ๗ ประการแลมีกำนั้นได้พัน ๑ อยู่รอบดุมนั้นดูงามนักหนา แลจมอยู่ในท้องมหาสมุทรโดยลึกไส้ได้ ๘๔,๐๐๐ โยชน์ แลกงจักรนั้นแก้วแลดุมนั้นแก้วอินทนิล หัวกำอันฝังเข้าไปในดุม ๆ นั้นย่อมเงินแลทองงามนักหนา เมื่อแลเห็นปานดังดุมนั้นรู้หัว แลพรรณขาวงามนัก

    โดยปากดุมนั้นหุ้มด้วยแผ่นเงินแลเห็นงามดังเดือนเมื่อวันเพ็งบูรณ์ เท่าว่ากลางนั้นเป็นรูตระลอดไปโดยรอบหัวกำนั้น เทียรย่อมประดับนิ์ ด้วยแก้ว ๗ ประการแลบ่อนเลื่อมใสงามดังฟ้าแมลบแลมีรัศมีดีงพระอาทิตย์เมื่อพิจารณาดูใสเหลื้อมพรายงามดังสายฟ้าแมลบรอบ ๆ ไพล ๆ ไขว่ ๆ ไปมาดูงามนักหนาทั่วทุกแห่งแลฯ

    ชื่อว่านาภีสัพพการบริบูรณ์ฯ แต่กาลใดพัน ๑ นั้นเทียรย่อมประดับนิ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ ดูเหลื้อมงามดังฟ้าแมลบรุ่งเรืองด้วยรัศมีดังรัศมีพระอาทิตย์ เทียรย่อมแก้วอันตีเป็นตาปูดูลายงามแลมีรัศมีฉวัดเฉวียนไปมาดังเทพยดาผู้ชื่อว่าพระวิษณุกรรม์นั้น แลกงนั้นเทียรย่อมแก้วพระพาฬรัตนะ ดูเกลี้ยงดุจดังแสร้งทำแลมีรัศมีดังพระอาทิตย์เมื่อพึ่งขจึ้นแลเต็มงามบมิเบี้ยวบมิผึ่ง เมื่อแลดูในหน้ากลองนั้นรูปล่องตระลอดไปมาดังกลอง

    อันชื่อว่าพังกาอันเทพยดาเจ้าในเมืองฟ้านั้น กลองแก้วประพาฬรัตนนั้นแพ่งเอาลมแลได้ยินเสียงมีเสียงดีนักหนา เสียงเผ่งเสียงผ่อนเสียงกลมเสียงกล้าเสียงหือพึงฟัง แก้วร้อยหนึ่งอยู่เหนือรอบลากลอง ฝูงนั้นกลองแก้ว ฝูงนั้นรองตีนตนกลมละขาว ร้อยหนึ่งโสดแลกลอนั้นมี หากคาบแลแห่งรอบอยู่รอบกลดนั้นโสดเหนือกลดซึ่งกลางนั้นมียอดทองเรืองงามดังแสงไฟฟ้า เหนือจักรแก้วนั้นมีราชสีห์ทอง ๒ ตัวประดับนิ์ด้วยแก้วสัตตพิธรัตนะ แลมีแสงทองงามนักหนา

    เมื่อกงจักรแก้วนั้นหันไปเบื้องบนอากาศแลดูพรายงาม ดังไกสรสีหะสองตัวนั้นเหาะแลหว้ายหน้าออกมาแห่งชายกงจักรแก้วนั้น ดุจดังเข้าขับเข้าแหาเอาฝูงข้าศึกนั้นแลฯ เมื่อแลคนทั้งหลายเห็นดังนั้น คนทั้งหลายนั้นว่าดังนี้ว่าบุญเจ้านายเรา ผู้เป็นพระญามหาจักรพรรดิราชมีมากนักหนาแลฯ มเริ่มว่าราชสีห์อันมีกำลังแลมีชัยชำนะแก่สัตว์ทั้งหลายดังนี้ก็ดี สิยังอยู่มิได้แลยังมาไหว้มาถวาายบังคม แลมาสวามิภักดิแก่พระญาท่านผู้เะป็นเจ้านายแห่งเราฯ

    อันว่าฝูงคตนที้งหลายต่างคนต่างยกมือขึ้นเพียงหัวแล้วไหว้วันทนาการ แล้วว่าดังนี้ ว่าเชาวเราทั้งหลายเอ๋ยมิใช่แต่ปากราชสีห์สองตัวนั้นหาบมิได้ มีหมู่สร้อยมุกดาสองอันด้วยเล่าใหญ่เท่าลำตาลดูรุ่งเรืองงามดังรัศมีพระจันทร์

    เมื่อวันเพ็งบูรณ์แลปากราชสีห์นั้นคาบสร้องมุกดานั้นเลื้อยลงมา แก้วนั้นอันอยู่ในชายมุกดานั้นเหลื้อมดูแต่ดุจรัศมีพระอาทิตย์เมื่อแรกขึ้นมานั้น ผิเมื่อกงจักรแก้วนั้นลอยอยู่บนอากาศแลบไหวดุจสร้อยมุกดานั้นพรายงาม ดังน้ำอันชื่ออากาศคงคาอันไหลลงมานั้น ขณะเมื่อกงจักรแก้วยังลอยอยู่อากาศไส้ แลฝูงมุกดานั้นพองออกรอบกงจักร์แก้วนั้น

    แลดุมกงจักรแก้ว ๓ อันหันผันไปด้วยกันคาบเดียวนั้น ๆ อันว่ากงจักรแก้วนั้นไส้ใช่อินท์แลพรหมเทพยดาผู้มีฤทธานุภาพ กระทำกงจักรแก้วนั้นหามิได้ แลกงจักรแก้วนั้หากเป็นเองแลเกิดสำหรับบุญท่านผู้เป็นพระญามหาจักรพรรดิราชเจ้านั้นแลฯ ผิเมื่อว่ากัลปอันใดแลบมีพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกโพธิไส้ จึงมีพระญามหาจักรพรรดิแทนไส้ กัลปอันมีดังนั้นครั้นไฟไหม้แผ่นดินแล้วด้วยบุญท่านอันจะมาเป็นพระญาจักรพรรดิราชนั้น กงจักรแก้วนั้นหากเป็นก่อนแลจมอยู่ในมหาสมุทรนั้นหากอยู่ท่าท่านผู้จะมาเป็นจักรพรรดิราชนั้นแลฯ แลเครื่องอันเป็นสำหรับท่านผู้มีบุญนี้คือสิ่งใด แลจักรเสมอด้วยกงจักรแก้วนั้นหาบมิได้เลย แลกงจักรแก้วนั้นเกิดมาเพื่อว่าจะให้รู้จักคนมีบุญกว่าคนทั้งหลายไส้ แลจะให้ฝูงคนทั้งหลาย ๔ แผ่นดินรักกันดังใจเดียวเพื่อบุญท่านผู้เป็นพระญาจักรพรรดิราชนั้นแลฯ

    จักรแก้วนั้นมีศักดานุภาพนักหนา ผิแลว่ามีผู้ใดไปไหว้นบคำรพบูชาแก่กงจักรแก้วนั้นด้วยข้าวตอกดอกไม้ไส้ แลกงจักรแก้วนั้นเทียรย่อมบำบัดเสียซึ่งความไข้ความเจ็บ ประพฤติให้อยู่ดีกินดีสรรพสวัสดิพิพัฒนาการ ด้วยทรัพย์ สิ่งสินแลสมบัตินั้นมากนักแลฯ กงจักรแก้วนี้ประเสริฐกว่าแก้วอันชื่อว่า สรรพกามททนั้นได้ละแสนเท่าไส้ แลกงจักรแก้วนั้นหาใจมิได้ดุจดังมีใจฯ

    เมื่อแลกงจักรแก้วนั้นเหาะขึ้นมาแลยังมิทันที่จะพ้นท้องพระมหามุทรดังนั้น แลน้ำพระมหาสมุทรนั้นก็หลีกแตกออกให้กงจักรแก้วนั้นเหาะขึ้นมาเถิงบนอากาศแลเห็นดุจดังกงจักรแก้วนั้น แก้วเป็นเครื่องประดับนิ์บนอากาศ เลื่อมพรรณรายพรายงามดังเมื่อพระจันทร์เมื่อเพ็งบูรณ์แลฯ ในกาลวันนั้นพอเป็นวันเดือนเพ็งแล ฝูงคนทั้งหลายแต่งแง่แผ่ตนแล้วแลนั่งอยู่ในที่สำราญ แลเจรจาเล่นหัวไปมา ด้วยกันสบายพร้อมเพรียงกัน

    ทั้งฝูงบ่าว แลฝูงสาวเด็กเล็ก หญิงชายทั้งหลายยย่อมแต่งแง่แผ่ตนแล้วไปเล่นด้วยกัน บางหมู่ก็เล่นในกลางป่า บ้างเล่นในกลางน้ำกลางนาแลหนทางหลวง วันนั้นคนทั้งหลายอยู่ในเมืองพระญาผู้เป็นมหาจักรพรรดิราชเจ้าอยู่นั้น แลเมื่อกงจักรแก้วนั้นพุ่งขึ้นเทียมพระจันทร์เจ้านั้น พอเมื่อยามค่ำสนธิบาตร์แล้วแลเท่าพระจันทร์มาดูพระจันทร์ขึ้นมาวันนั้นสองดวง ครั้นมาใกล้ยัง ๑๒ โยชน์ จักรนั้นก็จะมาเถิงฯ

    เมื่อนั้นคนทั้งหลายได้ยินเสียงแห่งกงจักรแก้วอันผันแลต้องลม เสียงนั้นดังเพราะนักหนาแล เพราะกว่าเสียงพาทย์ แลพิณฆ้อง กลองแตรสังข์ กังสดาล ดุริย ดนตรี ทั้งหลายนั้น ๆ ฯ จึงคนทั้งหลายนั้นได้ยินเสียงอันเพราะแลถูกเนื้อจำเริญใจนักหนา แลยินหลากยินดีทุกคนแล้วก็ชวนกันว่าฉันนี้หลากหนอวันนี้เป็นไฉนอันว่าเราทั้งหลายแต่ก่อนบห่อนแลมาให้เห็นเป็นอัศจรรย์ฉันนี้ วันนี้เล่าพระจันทร์เจ้าขึ้นมาเป็นสองดวง แลเต็มงามบริบูรณ์เสมอกันทั้งสองอันแล ขึ้นมาเทียมกันดังราชหงส์ทองสองตัวนั้นแลเทียมกันขึ้นมาบนอากาศ เขาจึงร้องเรียกกันให้มาแลดูทั้งหลายแลฯ ลางคนไส้ว่าพระจันทร์ออกสอดดวงฯ ลางคนร้องว่าสูนี้เป็นบ้า ชั่วปู่ชั่วย่ายังจะห่อนได้นิยว่ามีเดือนสองอันบ้างหรือ

    อันนี้ตระวันไส้มันหากพ้นที่ที่จจะร้อนแลมันบมิร้อนแลฯ คนจำพวกหนึ่งร้องว่ามาดังนี้ เหวยชาวเราสูมาดูเขาเหล่านั้นเป็นบ้าทุกอัน ก็ทุกว่าใช่ความที่จะกล่าวแลมากล่าวบัดแปรว่าเดือนขึ้นเป็นสองอัน ตรงบัดแห่งว่าอันนี้เป็นอันหนึ่งเป็นตระวัน ฉันนั้นน่าใคร่หัวเขาฝูงนี้เป็นบ้าจริงแลฯ ตระวันสิพึงตกไปบัดเดี๋ยวนี้ไส้ ดังฤๅแลว่าตระวันจะมาออกด้วยเดือนบัดเดียวทันตระวันปานนี้ อันนี้มิใช่อันอื่นเลย อันนี้คือว่าปราสาทของเทพยดาแล จึงดูรุ่งเรืองสุกใสเพราะว่าแก้วแหวนเงินทองอันที่ประดับประดาปราสาทนั้นแลฯ คนจำพวกหนึ่งร้องหัวแลว่าเขาฝูงนั้นมาว่าดังนี้เล่าไส้ เหวย ๆ สูชาวเจ้าทั้งหลายอย่าได้โจทย์เถียงกีนไปมาเลย อันนี้มิใช่เดือนมิใช่ตระวันมิใช่ปราสาทแก้วเทพยดาฯ อันสูทั้งหลายว่าเดือนก็ดี ตระวันก็ดี ว่าปราสาทแก้วเทพยดาก็ดี แลบห่อนเคยได้ยินเสียงมี่เสียงก้องเสียงดังนักหนาดังนี้สักคาบ อันนี้ถ้าจะมีไส้ก็คือกงจักรแก้วอันชื่อว่าจักรรัตนนั้น

    ได้ยินท่านย่อมกล่าวมาแต่ก่อนดังนี้แลฯ อันว่ากงจักรแก้วนั้นย่อมมาด้วยบุญท่านผู้มีบุญแลจะได้เป็นพระญามหาจักรพรรดิราชนั้นไส้ฯ คนทั้งหลายต่างคนก็ต่างว่าไปว่ามาแก่กันอยู่ดังนั้น เาบมิได้เชื่อถ้อยเชื่อคำของกันของกันแต่สักคนเลยฯ จึงกงจักรแก้วนั้นจากพระจันทร์เจ้ามาแลเข้าใกล้กว่าเก่ายังแต่โยชน์หนึ่งจึงจะเถิงเมืองนั้น ๆ จึงชนทั้งหลายเห็นแท้แลเห็นงามนัก แลมีใจรักทุก ๆ คนแล เสียงกงจักรนั้นดังมี่ก้องนักหนาดังท่านให้เลืองลือชาปรากฎว่า พระญาองค์นั้นธจะได้เป็นพระบรมมหาจักรพรรดิราชเจ้าแลฯ จึงมาเถิงพระนครที่พระญาผู้มีบุญเสด็จอยู่นั้น ๆ เมื่อดังนั้นคนทั้งหลายจึงว่าดังนี้

    อันว่ากงจักรแก้วดวงนี้จะไปสู่พระญาองค์ใดหนอ คนจำพวกหนึ่งนั้นจึงว่ดังนี้เล่า อันว่ากงจักรแก้วดวงนี้ไส้มิได้มาด้วยบุญพระญาองค์อื่นเลย ดีร้ายมาด้วยบุญพระญาท่านผู้เป็นเจ้าเป็นนายนี้แลฯ ท่านนี้ไส้มีบุญนักหนา ท่านจะได้เป็นบรมมหาจักรพรรดิราชแล ท่านคำนึงเถิงกงจักรแก้วอยู่แล จึงกงจักรแก้วดวงนี้มาหาท่านแลฯ จึงกงจักรแก้วนั้นก็มาเถิงเมืองนั้นแล้วร่อนลงที่ประตูเมืองท่านแล้ว ๆ กระทำประทักษิณ ๓ รอบเมืองนั้น ๗ รอบ แล้วแลเขช้าล่วงอากาศโดยหนทางหลวง แล้วก็เข้ามาสู่พระราชมณเฑียรของพระญาแล ประทักษิณพระญานั้น ๓ รอบ พระราชมณเฑียรพระญานั้น ๗ รอบแล้วก็เข้ามาสู่พระญานั้นดุจดังมีใจ และจะมานบมานอบแก่พระญานั้นแล้วแลเข้ามาอยู่แทบตีนนอนนั้น ที่นี้แลที่แห่งใดก็ดีไส้กงจักรแก้วนั้นก็อยู่ในสถานที่นั้นฯ

    จึงฝูงคนทั้งหลายเขาก็เอาข้าวตอกแลดอกไม้บุปผชาติเทียนแลธูปวาดชวาลา แลกระแจะจวงจันทน์น้ำมันหอมมาไหว้มานบคำรพวันทนาการบูชากงจักรแก้วนั้นฯ แลมีกงจักรแก้วแลสถิตย์ตั้งอยู่ในที่อันบังควรแลไส้ แลยนังมีรัศมีกงจักรแก้วนั้นก็รุ่งเรืองรอบคอบทั่วทั้งพระราชมณเฑียรนั้นทุกแห่งดังยอดเขายุคุนธร เมื่อเพ็งบูรณ์ แลเมื่อพระจันทร์เสด็จขึ้นมาเหนือจอมเขานั้นแลรุ่งเรืองนักหนาแลฯ เมื่อนั้นพระญานั้นจึงเสด็จมาออกมาจากปราสาทเพื่อว่าจักมาชมกงจักรแก้วนั้น

    จึงอำมาตย์ก็ทูลแด่พระญาว่าขออังเช้ญ พระองค์เจ้าชมกงจักรแก้วอันมีรัศมีรอันรุ่งเรืองงาม ๆ ทั่วทั้งพระราชมณเฑียรพระองค์เจ้านี้ฯ พระญาองค์นั้นจึงเสด็จมานั่งในแท่นทองอันประดับนิ์ด้วยแก้วนั้นอันมีอยู่แทบบัญชรนั้น พระมหากษัตริย์เจ้านั้น ก็ชมกงจักรแก้ว อันรุ่งเรือง ด้วยแก้ว ๗ ประการนั้นงามนักหนาหาที่จะอุปมาบมิได้ดังนั้นฯ พระญาองค์นั้นจึงมีพระโองการประกาศด้วยอำมาตย์ราชมณตรีทั้งหลายว่าฉันนี้ฯ

    ดังได้ยินมา พระอาจารย์ท้งหลายกล่าวมาแต่ก่อนว่า พระญาแลองค์ใดมีบุญไส้ แลจะได้เป็นพระมหาจักรพรรดิราชแลปราบได้ทั่วทั้งจักรวาลไส้ แลกงจักรแก้วอันชื่อว่าจักรรัตนะนั้นย่อมมาสู่ด้วยบุญสมภารพระญาองค์นั้น ๆ แลว่าคราวทีนี้เยียวว่าเราไส้ได้กระทำบุญแต่ก่อน แลบุญนั้นจะมาเถิงแก่เราจริง ๆ กงจักรแก้วอันมาหาเราบัดนี้ ฯ

    รู้ว่าวันนั้นพอเป็นวันเพ็งอุโบสถศีลแลพระญาองค์นั้นธให้ทานแล้วแลรักษาศีล ๘ อันแล้วเมตตาภาวนาอยู่ แลรำพึงเถิงทานแลศีลภาวนาแลจึงกงจักรแก้วนั้นมาหาเราในเมื่อกลางคืนนี้แลฯ พระญาองค์นั้นจึงเอาผ้าอันขาวอันเนื้อละเอียดนั้นมา พาดเหนือพระอังษาทั้งสอง สองกราบ หลายด้วยผ้าเล็กหลกผ้าสาลี มีลางพวกห่มพ้าชมพูผ้าหนังผ้ากรอบเทียรย่อมถือเครื่องฆ่าน่าไม้กับธนูหอกดาบแหลนหลาว หมอกในหัวเขามวกส่วนใส่เครื่องเงินคำถมอยอกลบิ้งกลดชุมสายหลายคัน กั้นไปชมหมู่ไม้ในกลางป่าดง มีพวกถือธงเล็กแลธงใหญ่ธงราม ธงแดง ธงขาวดูงามด้วยพิสดารแลเมาเป็นแองชัพพนิกาอันติ มีอันขาวอันดำอันแดงมีอันเหลืองเรืองทุกแห่งทุกพายพรางามดังแสงตระวันเรืองทั่วแผ่นดินเป็ฯได้แก่สี่แผ่นดิน จึงเสด็จไปล่วงอากาศกลางหาวด้วยพระญาจักรพรรดิราชฯ

    เมื่อนั้นเสนาบดีผู้ใหญ่จึงบังคับเจ้าเมืองทั้งหลายให้เอากลาองอันงามอันท่าวเอาทองเป็นสายแลมีแสงเป็นอันแดงงามดังแสงไฟนั้นไปตีป่าวแก่ฝูงราษฎรทั้งหลายด้วยคำว่าดังนี้ ท่านผู้เป็นพระญาผู้เจ้านายของเรานี้ธได้เป็นมหาบรมทจักรพัตราธิราชแล

    บัดนี้ปราบทวีปได้ทั้ง ๔ ทวีปนี้แล้ว ผู้ใดจะใคร่ไหว้ใคร่ชมบุญเจ้านายไส้ เร่งให้ชักชวนกันมาไหว้ชมเจ้านายเถิดฯ บัดนี้เจ้านายเราเสด็จไปปราบทวีปทั้ง ๔ แล จงท่านทั้งหลายเร่งแต่งแง่ตนแลพากันไปโดยเสด็จเจ้านายเรา แลพลางชมสมภารเจ้านายเราด้วยเถิดฯ เมื่อนั้นคนทั้งหลายได้ยินเสียงกงจักรแก้วนั้นเพราะดังไปก่อนหน้าพระญามหาจักรพรรดิราชเจ้านั้นโดยอากาศเวหาฯ จึงคนทั้งหลายต่าง ๆ ก็ละการงานอันตนทำค้างอยู่นั้นก็ละไว้ แล้วจึงชักชวนกันแต่งแง่แผ่ตนทากระแจะแลจันทน์น้ำมันหอม แลมีมือถือข้าวตอกดอกไม้ไปบูชากงจักรแก้วนั้นแลฯ เมื่อนั้นคนทั้งหลายยินดีลากยินดีแล้วก็ไปโดยเสด็จทุกคนแล ฯ

    ครั้นว่าเขานึกในใจเขาว่าไปโดยเสด็จท่านไส้ คนทั้งหลายนั้นหากเปลี่ยนใจโดยอากาศ ด้วยบุญอำนาจแห่งกงจักรแก้วนั้นแลฯ ฝูงพราหมณษจารย์ก็ดี แลลูกเจ้าลูกไทยทั่วบ้านทั่วเมืองแลลูกขุนมนตรีหัวหมื่นหัวพัน แลไพร่กุฎมพีเศรษฐีพยารีพ่อค้าพ่อครัวสูทร์แพศย์ทั้งหลายฝงนี้ เทียรย่อมมีกายอันงามบริสุทธิทุกคนหามลทินบมิได้เลยสักคน แม้นว่าแต่ก่อนโพ้นไส้ตัวเขานั้นกอประด้วยมวลทินด้วยการณ์ใด ๆ ก็ดี แลด้วยเดช บุญอำนาจแห่งกงจักรแก้วนั้นแล อาจสามารถมาบรรเทาเสียซึ่งสัพพทงทิน อันมีในกายแห่งมนุษย์บุถุชนทั้งหลายนั้นเสียสิ้นทุกประการแลฯ แลจะกล่าวให้รู้ ๆ ว่ากำลังรี้พลโยธาแห่งพระมหาบรมจัพรพัตราธิราชเจ้านั้นเท่าใดฯ ผิจะใคร่รู้ไส้ว่ายังมีที่ทำเนแห่งหนึ่งโดยกว้าง ๑๒ โยชน์แลโดยปริมณฑลรอบนั้นได้ ๓๖ โยชน์ แล้วจึงให้รี้พลทั้งหลายนั้นนั่งอยู่ในที่แห่งนั้นจึงกงจักรแก้วก็พออยู่ไส้

    พระองค์สมเด็จมหาจักรพรรดิพัตราธิราชเจ้านั้นก็ดี แลรี้พลทั้งหลากนั้นก็ดี ก็ย่อมไปโดยอากาศดุจดังวิชาธรีอันมีฤทธิ์ด้วยสาตราคม สมถนำอันพิเศษแลไปบนอากาศนั้นทุกเมื่อ พระญาก็ดี รี้พลก็โ ไปบนอากาศดังนั้นเพื่อเพราะอำนาจแห่งกงจักรแก้วนั้นแลฯ องค์พระยามหากฃจักรพรรดิราชนั้นรุ่งเรืองงามดังเดือนเพ็งูรณ์แล มีลูกเาเหง้าขุนทั้งหลายที่ไปด้วยเสด็จท่านนั้นก็รุ่งเรืองงามดังดารากรทั้งหลาย อันห้องล้อมเป็นบริวารพระจันทร์เจ้านั้นแลฯ อันว่าชนทั้งหลายนั้นยินดีตรีสนุกนิ์สุขสารสำราญบานใจแลชมชื่นหืนเริงตาเกิงบันจงมีองค์แต่งแง่แผ่ตนชมเลบ่นชมหัว แล้วแลร้องก้องขับเสียงพาทย์เสียงพิณแตรสังข์

    ทั้งเสียงกลองใหญ่แลกลองรามกลองเล็ก แลฉิ่งแฉ่งบัณเฑาะว์แสนาะวังเวง ลางคนตีกลองตีพาทย์ฆ้องตีกรับสัพพทุกสิ่ง ลางจำพวกดีดพิณแลสีซอพุงตอแลกั้นฉิ่งริงรำ จับระบะเต้นเล่นสารพนักคุนทั้งหลายสัพพดุริยดนตรีอยู่ครืนเครง อลวลเลวงดังแผ่นดินจะถล่มแลฝูงคนทั้งหลายอันเป็นบริวาร ซึ่งไปโดยเสด็จพระมหาจักรพรรดิราชเจ้าในกลางอัมพรากาศวันนั้นงามนักหนา ดังเทพยดาทั้งหลายซึ่งเป็นบริวารแห่งสมเด็จอัมรินทราธิราชเจ้านั้นแลฯ เมื่อธเสด็จไปในอากาศนั้นแลกงจักรแล้วนั้นไปก่อน พระองค์ไส้ไปถัด แลฝูงรี้พลทั้งหลายก็ดีแลพฤกษาชาติทั้งหลายอันใหญ่แลน้อย แลมีลูกและดอกตระการนั้นก็พรำไปด้วยเสด็จทั้งสองตราบข้างหนทางแลฯ อันว่าฝูงคนทั้งหลายหมู่ใดแลมีใจจะใคร่กินผลไม้สิ่งใดก็ได้โดยใจผู้นั้น แลคนผู้ใดจะใคร่ได้ออกไม้สิ่งใดมาทัดทรงไส้ก็ได้สิ่งนั้นโดยใจแล คนผู้ใดจะใคร่อยู่ร่มก็เข้าในร่มไม้นั้นโดยใจฯ

    อันว่าฝูงคนทั้งหลายใดอันอยู่ต่ำไส้ ก็แลดูรี้พลของท่านอันไป วันนั้น แลมีใจว่าจะใคร่รู้จักลูกเจ้าลูกไทยก็ดี ขุนนางหัวหมื่นหัวพันทมุนทนายทั้งหลายคือผู้ใดชื่อใด ๆ ดังนั้นไส้ ด้วยเดชอำนาจแห่งกงจักรแก้วนั้นดัง แลดังรู้เจรจาแลไปบอกชื่อคนทั้งหลายนั้นแก่บุคคลอันที่จะใคร่รู้จักชื่อเขานั้น ๆ เขาก็หากรู้จักชื่อลูกเจ้าลูกไทยอีกด้วยคนทั้งหลายนั้นเอง เพราะด้วยเสียงแห่งกงจักรแก้วนั้นหากพรรณนาให้เขารู้ได้ยิน เขาจึงรู้จักชื่อทั้งหลายแล ฯ จะกล่าวเถิงฝูงคนทั้งหลายไส้ผิแลว่าผู้ใดแลจะใคร่ไปด้วยเสร็จพระญามหาจักรพรรดิราช นั้นแม้นว่ายืนก็ดี นั่งก็ดีนอนก็ดี หากปลิวขึ้นไปโดยอากาศเองแลมิพีกย่างพักเดินเลย ทั้งเสื่อสาดอาสนที่นั่งที่นอนที่อยู่ที่กินแลจะใคร่เอาไปด้วยไส้ สิ่งนั้นก็ไปด้วยแลฯ

    ถ้าว่าผู้ใดจะใคร่ยืนไปผู้นั้นก็ยืนไปแลฯ ผู้ใดจะใคร่นั่งไปผู้นั้นก็นั่งไปแล ผู้ใดจะใคร่นอนไปผู้นั้นก็นอนไปแล ผู้ใดจะใคร่ทำการงานไปก็ทำการงานไป ถ้าแลผู้ใดทำการงานค้างอยู่ไส้ ครั้นนึกว่ามิเอาไปการงานทั้งปวงนั้นก็มิได้ไปด้วยแล ผู้ใดจะใคร่ไปโดยอากาศด้วยท่านแลใคร่ทำการงานไปด้วยเล่า เขาฝูงนั้นกระทำการงานไปพลางแลบมิได้ป่วยการของเขาเลยฯ ตระวันออกกลางเขาพระสุเมรุราชแลเขาสัตตภัณฑ์ฝ่ายบ้าน ฝ่ายแลข้ามสมุทรอันมีฝ่ายทิศตระวันออกนั้นจึงไปเถิงแผ่นดินอันมีฝ่ายตะวันออกชื่อว่า บุพเพวิเทหะ นั้นแลกว้างได้ ๗๐๐๐ โยชน์

    ครั้นไปเถิงแห่งหนึ่งที่นั้นราบเพียงดีสนุกนิ์มีน้ำสุกใสงามบมิหาท่าบมิได้ มลึกที่นั้นดังแสร้งแต่งแสร้งถากด้วยพร้าด้วยขวานได้ ๑๒ โยชน์ โดยมณฑลรอบได้ ๓๖ โยชน์ แลที่นั้นที่ทับหลวงพระญามหาจักรพรรดิราชแต่โบราณ เมื่อธเสด็จไปพิพาศเหล้นนั้นแลฯ จึงกงจักรแก้วนั้นก็หยุดอยู่ในอากาศอุจดังมีเพลาหลักขัดไว้แล บมิได้ติงได้ไหว้แลมิได้ผัดไปเลยฯ ครั้นว่ากงจัพรแก้วแลหยุดอยู่ดังนั้น องค์พระญามหาจักรพรรดิราชแลรี้พลทั้งหลายจึงลงมาจากอากาศ แลมายังพื้นดินแผ่นดินดูรุ่งเรืองงามดังดาว ผิบมิดังนั้นดังฟ้าแมลบ ผิบมิดังนั้นดังแสงแห่งอินทรธนูแลลงมาอยู่ที่สนุกนิ์ทุกคน ผู้ใดจะใคร่อาบน้ำก็ได้อาบโดยใจ ผู้ใดจะใคร่กินข้าวแลน้ำก็ได้กินโดยใจ ปรารถนาสิ่งใดก็ได้สิ่งนั้นทุกคนฯ

    เมื่อพระญามหาจักรพรรดิราชเจ้าเสด็จไปอยู่ดังนั้น แลท้าวพระญาทั้งหลายแต่บรรดามีอยู่ในแผ่นดินบุรพวิเทหะนั้นฯ ครั้งเขารู้ว่าพระญามหาจักรพรรดิราชเสด็จไปเถิงแผ่นดินที่เขาอยู่นั้น แลพระญาใหญ่ก็ดี น้อยก็ดี แลพระญาองค์ใดองค์หนึ่งก็ดี แลจะอาจสามารถแลจะแต่งเครื่องสัพพยุทธ์แลจะมารตบพุ่งด้วยพระญามหาจักรพรรดิราชนั้น มิอาจสามารถเพื่อจะทำได้เลย เทียรย่อมมีใจรักใจใคร่ ชักชวนกันมานบมาไหว้มาเฝ้ามาแหนองค์สมเด็จพระญามหาจักรพรรดิราชเจ้าอยู่แลฯ สัพพปีศาจแลผีสางก็ดี สัพพสิงสัตว์อันใดอันหนึ่งอันรู้ฆ่ามนุษย์ให้ตายนั้นก็ดี แลจะบมิใจนึกร้ายต่อสมเด็จพระญามหาจักรพรรดิราชนั้น แต่น้อยหนึ่งก็หามิได้เลย

    เพราะเหตุว่ากลัวบูญแลอำนาจแห่งสมเด็๗พระญามหาจักรพรรดิราชเจ้านั้นแลฯ เมื่อกงจักรแก้วแรกมาแต่มหาสมุทรไส้ชื่อว่าจักรรัตนะแล แลเมื่อพระญามหาจักรพรรดิราชธไปปราบทั้ง ๔ แผ่นดินได้แล้วไส้ แลกงจักรแก้วนั้นจึงได้ชื่อว่าอรินทแล เป็นสองชื่อดังนี้แลฯ อันว่าท้าวพระญาทั้งหลายอันอยู่ในแผ่นดินบุรพวิเทหะนั้น ต่างองค์ต่างแต่งเครื่องบรรณาการทั้งหลาย มีอาทิคือเทียนแลธูปวาตสุคนธชาติ อันดีอันตระการอุดมและประณีต แล้วก็ชวนกันมาไหว้นบคำรพยำเยง แต่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชเจ้านั้นแล้วก็มาเฝ้ามาถวายบังคม แล้วก็ถวายตัวเป็นข้าพระญามหาจักรพรรดิราชนั้นทุกคนแลฯ

    เมื่อท้าวพระญาทั้งหลายมาเฝ้ามาคัลพระยาจักรพรรดิราชเจ้าอยู่นั้น ดูรุ่งเรืองงามด้วยกุตกาลถิแลเครื่องประดันิ์สัพพาภรณ์ อันประดับนิ์ตนแลท้าวพระญาทั้งหลายนั้นเทียรย่อมประดับนิ์ตนแล้วด้วยสัตตพิธรัตนะแลดูรุ่งเรืองงามนักหนา ดังฟองน้ำแต่คนทีทองแลมาล้างตีนพระญามหาจักรพรรดิราชเจ้านั้นแลฯ อันว่าท้าวพระญาทั้งหลายครั้นว่าถวายบังคมแล้วก็กราบถวายตัวแต่ท่านว่าดังนี้ บพิตรท่านแต่นี้ไปพหน้าตูทั้งหลายถวายตัวเป็นข้าท่านแก่ท่านผู้เป็นเจ้า ๆ จะปรารถนาสิ่งใดตูข้าทั้งหลายจะหามาถวายแก่ท่านผู้เป็นเจ้า ๆ ใช้ตูข้าทั้งหลายให้กระทำการงานสิ่งใดแล้ว ตูข้าท่านทั้งหลายจะทำการงานสิ่งนั้นถวายแด่ท่านผู้เป็นเจ้า ฯ อันว่าบ้านแลเมืองแห่งตูข้าทั้งหลายหมู่นี้แลขอถวายเป็นอำเภอแก่ท่านผู้เป็นเจ้าแล อังเชิญท่านผู้เป็นเาได้โปรดเกล้ากระหม่อมผู้ข้าทั้งหลายนี้เถิดฯ

    เมื่อแลท้าวพระญาทั้งหลายควงายบังคมประนมนอบนบคำรพ ยำเยงแด่พระญามหาจักรพรรดิราชแล้วกล่าวดังนั้นฯ ส่วนอันว่าพระญามหาจักรพรรดิราชบพิตรท่านนั้น แลพระองค์จะได้กล่าวถ้อยคำตอบท้าวพระญาทั้งหลายฝูงนั้น ว่าเราจะเอาทรัพย์สิ่งสินส่ยสาอากรแก่ท้าวพยะญาองค์ใดองค์หนึ่งนั้นหามิได้เลยฯ เพราะเหตุท่านนั้นมีสมบัติเหมือนทิพย์อยู่แล้วด้วยเดชอำนาจแห่งกงจักรแก้วนรั้น

    อนึ่งเล่าท่านบมิถอดถ้อยร้อยความการงานท้าวพระญาทั้งหลายให้เขาพรัดที่นาคลาที่อยู่ให้เขาน้อยเนื้อน้อยใจดังนั้นก็หามิได้เลย พระองค์เจ้าไส้เทียรย่อมอนุเคร่ะห์เขาให้เขาชื่นเนื้อชื่นใจเขา ให้เขาได้ความสุขเกษมเปรมปรีดิ์ยินดีมิให้เป็นอันตรายแเขาเลยฯ สมเด็จมหาจักรพรรดิราชนั้น ธรู้บุญรู้ธรรมรู้สั่งสอนคนทั้งหลายให้รู้ในธรรมเพียงดังพระพุทธเจ้าเกิดมา แลสั่งสอนโลกย์ทั้งหลายให้อยู่ในธรรมไส้ฯ

    ครั้งนรั้นพระญามหาจักรพรรดิราชนั้น ธก็สั่งสอนแก่ท้าวพระญาทั้งหลายให้อยู่ในธรรมจึงกล่าวดังนี้ว่า ท้าวพระญาทั้งหลายจงตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมทั้งหลาย ๑๐ ประการอย่าให้ขาด จงรักลูกเจ้าเง้าขุนทมุนทนายไพร่ฟ้าข้าไทยทั้งหลาย อ่าได้เลือกที่รักอย่าได้มักที่ชังแลรักเขาจงเสมอกันแล สัตว์ที้งหลายนี้ยากที่จะเกิดมาเป็นคน ครั้นว่าเกิดมาได้เป็นท้าวเป็นพระญาดังชาวเจ้าทั้งหลานยนี้ ย่อมมีบุญสมภารมากแล้ว จึงชาวเจ้าทั้งหลายรู้บุญรู้ธรรมรู้กลัวรู้ละอายแก่บาปนั้นจงนักเถิด จะบังคับถ้อยความสิ่งใดอันใดก็ดี ด้วยใจอันซื่ออันชอบด้วยทางธรรมอย่าให้พ้นวันพ้นคืน ถ้าแลทำดังนี้ไส้เทพยดาแลมนุษย์ทั้งหลายก็จะสรรเสริญคุณแลท่านแลฯ

    อันว่าชาวเจ้าทั้งหลายเกิดมาแลได้เป็นท้าวเป็นพระญาดังนี้ไส้ สูชาวเจ้าหากอยู่แลหากเกิดมาเมื่อไร แลสูชาวเจ้าทั้งหลายเทียรย่อมย่อมได้ทำบุญแลธรรมแลทำกุศลมาแต่ก่อนโพ้น จึงได้เกิดมาเป็นท้าวเป็นพระญาดังนี้ไส้แล สู่ชาวเจ้าทั้งหลายได้รู้จักคุณแก้ว ๓ ประการ คือพระพุทธเจ้าพระธรรมเจ้าพระสงฆเจ้าได้ไหว้นบคำรพแต่ก่อน แลพระธรรมอันโบราณาจารย์มีต้นว่าพระพุทธเจ้าเทศนาไว้ แลมีนักปราชญ์ผู้รู้เทศนาให้ท่านทั้งหลายฟังว่าอันใดชอบธรรม ควรชาวเจ้าจำแลทำตามอันนั้น

    อันใดว่ามิชอบธรรมควรชาวเจ้าทั้งหลายเว้นเสียฯ แลเราจะกล่าวเถิงบาป ๕ ประการอันควรเว้นเสียนั้น ให้ชาวเจ้าทั้งหลายฟังบัดนี้ฯ บาปอันหนึ่งไส้คือว่าสัพพสัตว์ทั้งหลายอันมีชีวิตจิตวิญญาณรู้ไหวรู้ติง ประดาว่ามดตัวหนึ่งก็ดี ปลวกตัวหนึ่งก็ดี มิควรฆ่าให้ตายเลยมาตรว่าคนผู้ใดกระทำร้ายด้วยประการใด ๆ ก็ดี บมิควรฆ่าให้ตาย ควรสั่งสอนโดยธรรมแล เพราะว่าปลงชีวิตสัตว์อันรู้ติงนั้นเป็นบาปนักหนา ครั้นว่าตายไปเกิดในนรกทนทุกขเวทนาเดือนร้อนอยู่หึงนานนัก เมื่อพ้นจากนรกแล้วขึ้นมาเกิดเป็นคน ย่อมได้เป็นคนทุกข์โศกเดือดร้อน ท่านย่อมได้ทำร้ายแก่ตนลำบากนัก แลหาความสุขเย็นใจบมิได้ ๆ ร้อยชาติพันชาติแลย่อมได้พลัดพรากจากญาติกาที่รักทั้งหลายแลฯ

    ผิแลว่าคนมิกลัวบาปนั้นแลยังทำบาปอีกเล่า ก็เร่งสืบบาปนั้นไปอีกบมิรู้สิ้เนสุดเลยฯ อันหนึ่งชื่อว่าทรัพย์สิ่งสินท่านเจ้าองเขามิได้ให้แก่ตนชาวเจ้าอย่าควรเอา อนึ่งตนมิได้เอาแลใช้ให้ผู้อื่นเอาก็ดี มิควรใช้ผํ้อื่นเอาเลยฯ ได้โลภแลผู้ใดอันเอาสินท่านอันท่านมิได้ให้แก่ตนดังนั้น ครั้นว่าไปเกิดในนรกแล้วทนทุกขเวทนาหึงนานนัก

    ครั้นว่าพ้นจากนรกนั้นขึ้นมาเป็นคนโหดปรีชานักหนายากเผ็ดเร็ดไร้เข็ยใจนักหนา แลมิอาจพรรณนาเถิงความยากไร้นั้นถ้วนถี่ได้ แม้นมาตรว่าจักมีทรัพย์อันใด ๆ แลเป็นสินของตนเล็กน้อยก็ดี ย่อมมีผู้มาชิงช่วงฉกลักเอา แม้นใส่พวกไว้ก็ตกเสีย บมิไฟไหม้เสียบมิก็น้ำพัดพาเอาไป แต่เป็นคนเข็ญใจอยู่ดังนี้ได้เถิงพันกำเนิดจึงสิ้นบาปนั้นแลฯ ผิคนแลมิรู้จักบาปกรรมวิบากตนดังนั้น แลตนยังกระทำบาปไปเบื้องหน้าอีกเล่าไส้ก็เร่งสืบบาปนั้นไปอีกเล่า บมิรู้สิ้นบมิรู้สุดบาปนั้นเลยฯ

    อนึ่งอันว่าบาปปรทารกรรม คือว่าทำชู้ด้วยเมียท่านนั้นแลชาวเจ้าทั้งหลายอย่าควรกระทำเลยมาตรว่าน้อย ๑ ก็ดีอย่าได้กระทำเลยฯ ผิแลผู้ใดแลกระทำปรทารกรรมไส้ จะไปตกนรกสิมพลีวันไม้งิวนั้นเป็นเหล็ก แลหนามนั้นยาวย่อมมเหล็กแหลมคมนักแลมีเปลวไฟลุกอยู่บมิรู้เหือดแล มีฝูงยมบาลถือหอกทิ่มแทงขับให้ขึ้นให้ลงทนทุกขเวทนาอยู่หึงนานนัก

    ครั้นว่าพ้นจากนรกขึ้นมาเป็นสระสเจทินเป็นกระเทยได้พันชาติ ผิเกิดมาเป็นผู้ชายก็ดีไส้ เาย่อมได้สืบหลายกำเนิดนักแลฯ อนึ่งอันว่าความมุสาวาทคือว่าหาคำบมิได้ แลกล่าวนั้นสูชาวเจ้าทั้งหลายอย่าควรกล่าว ถ้าแลว่าผู้ใดกล่าวคำมุสาวาทไส้ผู้นั้นแลจะตกนรก แลมีฝูงยมบาลทั้งหลายหากกระทำให้ทนทุกขเวทนาหึงนานนัก

    ครั้นพ้นจากนรกขึ้นมาเป็นคนไส้ ย่อมเหม็นกลิ่นลามกอาจมทั้งหลายนักหนา แลมีรูปกายอันให้หืนนักหนา ผิผิดท่านแลท่านจะกระทำร้ายหนีท่านบห่อนจะรอด ท่านได้กระทำร้ายทุกชาติ ซึ่งว่าผ้าอันจะนุ่งจะห่มนั้นก็เหม็นสาบเหม็นสางพึงเกลียดนักหนาได้พันชาติจึงสิ้นบาปนั้น ผิแลมิรู้จักกรรมวิบากของตนดังนั้น แลยังกล่าวมุสาวสาทไปภายหน้าอีกเล่าไส้ แลบาปนั้นหาที่สุดที่แล้วบมิได้เลยฯ อันหนึ่งว่าเห้านั้นแลสูชาวเจ้าทั้งหลายอย่าพึงคบหากันกินเลย ถ้าแลว่าผู้ใดคบหากันกินเหล้า ไส้บาปนั้นจะตกนรกแล มียมบาลทั้งหลายทำร้ายแก่ตน ๆ ทนทุกขเวทนาหึงนานนักหนาแล เมื่อพ้นจากนรกขึ้นมาได้เป็นผีเสื้อ ๕๐๐ ชาติแลเป็นสุนัขบ้า ๕๐๐ ชาติ แม้นเกิดมาเป็นคนไส้ก็เป็นบ้า อนึ่งแลมีรูปกายนั้นบมิงามเป็นคนอัปลักษณ์ใจพาล แลมิรู้จักความผิดแลชอบแลเป็นคนโหดหืนนักหนา ผิว่ามิรู้จักบาปตนนั้นแลยังจะทำบาปนั้นสืบไปเล่า แลบาปนั้นก็เร่งมากไปเล่าแล ยากที่จะพ้นจากบาปทั้งหลาย แลกรรมอันใดอันมิควรกระทำ แลชาวเาทั้งหลายอ่าได้กระทำสืบไปอีกเลยฯ อันว่าถ้อยคำที่เรากล่าวมานี้ชื่อเบญจศีลแลควรแก่เจ้าทั้งหลาย ผู้เป็นท้าวเป็นพระญาเร่งจำไว้ให้มั่นแลสั่งสอนท้าวพระญาลูกเจ้าเหง้าขุนทมุนทนายไพร่ฟ้าข้าไทยทั้งหลายอันมีในอาณาราช เพราะตนให้รู้แลให้อยู่ในความชอบ

    ดังนั้นให้จำเร้ญสวัสดีทุก ๆ ชาติแลฯ ดูกรชาวเจ้าท้าวพระญาทั้งหลาย ประการหนึ่งด้วยไพร่ฟ้าข้าไทยราษฎรทั้งหลายทำไร่ไถนากินในแผ่นดินเรานี้ เมื่อได้าวนั้นเป็นรวงไส้ให้ผู้ดีเข็ญใจชื่อนั้นไปดูปันค่าโดยอุดมเทียบนั้น และกระทำข้าวเปลือกนั้นเป็น ๑๐ ส่วนแลเอาเป็นหลวงนั้นแต่ส่วน ๑ แล ๙ ส่วนนั้นให้แก่เขา ผิแลดูเห็นว่าเขามิได้ข้าวนั้นไส้มิควรเอาแก่เขาเลยฯ อนึ่งควรให้ข้าวสักส่วนแก่ไพร่แลทแกล้วทหารทั้งหลายเพื่อลลหกคาบจึงพอเขากินอย่าให้เขาอดเขาอยาก ผิว่าจะใช้เขากระทำการอันใด ๆ ไส้ให้ใช้เขาแต่พอบังควรแล อย่าใช้เขานักหนาให้ล้ำเหลือใจฯ ผิผู้ใดเฒ่าแก่ไส้ผู้นั้นบมิควรใช้เขาเลยปล่อยเขาไปตามใจเขาแล อนึ่งด้วยเอาสินส่วยแก่ราษฎรทั้งหลายไส้ให้เอาโดยโบราณท้าวพระญาทั้งหลายแต่ก่อนอันนั้นแล ผู้เฒ่าผู้กแทั้งหลายสรรเสริญว่าชอบธรรมนั้นบมิควรเอายิ่งเอาเหลือไปเลย ผิว่าเราเอาของเขาให้ยิ่งให้เหลือไปไส้แลท้าวพระญาผู้ใดแลจะมาเสวยราชย์ภายหน้าเรานั้น จักได้เอาเป็นอย่างแลธรรมเนียมสืบ ๆ กันไปแลจะได้บาปแก่เรานี้นักหนา เพราะว่าเราทำความมอันมิชอบธรรมฝูงนี้ไว้กับแผ่นดินแลฯ อนึ่งไพร่ฟ้าข้าไทยทั้งหลายอันอยู่แว่นแค้นแดนดินเมืองเรา ผิแลว่เขาจะไปค้าขายกินก็ดี แลว่าเขาหาทุนบมิได้ แลเขามาหาขอเราผู้เป็นเจ้านาย แลขอกู้เงินทองไปเป็นทุนค้าขายกินดังนั้นเราผู้เป็นท้าวพระญานี้ควรปลงเงินทองในท้องพระคลังนั้นให้แก่เขา แลว่าเขาเอาไปมากน้อยเท่าใดก็ดี ให้ตราเป็นบาญชีไว้แต่ต้น ๆ ปีไส้ เราผู้เป็นไทยบมิควรเอาเป็นดอกเป็นปลายแก่เขาเลย ควรให้เรียกเอาแต่เท่าทุนเก่านั้นแลคืน แลภาษีแลดอกนั้นอย่าได้เอาของเขาเลยฯ

    อนึ่งผู้เป็นท้าวเป็นพระญาควรให้ทรัพย์สิ่งสินแก่ลูกแก่เมีย ชาวแม่ชาวเจ้าผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งหลายเพื่อเป็นเสบียงเลี้ยงเขากินอยู่เป็นกำลัง เป็นเครื่องแต่งแง่แผ่ตนนั้นควรให้แก่เขา ๆ จึงเต็มใจเขาแล เราผู้เป็นท้าวพระญาอย่าควรคิดเสียดายทรัพย์นั้นเลยฯ อนึ่งเมื่อเรานั่งอยู่ไส้เมื่อแลลูกขุนทั้งปวงเข้าเฝ้านั้น ผู้เป็นท้าวพระญานี้แม้นจะพิพาทเจรจาสิ่งใดก็ดีอย่าเจรจามาก แม้นจะยิ้มแย้มด้วยสิ่งใดอย่ายิ้มแย้มมากแต่พอประมาณเถิด เร่งให้รำพึงเถิงความชอบอย่าได้ประมาทลืมตนเลย

    แม้จะบังคับถ้อยความของไพร่ฟ้าข้าไทยทั้งหลายไส้ อย่าได้ว่าโพ้น ๆ ว่าพี้ ๆ ด่าตีกันบังคับถ้อยความนั้นให้ถูกถ้วนโดยธรรมพิจารณารูปความนั้น แต่ต้นจนปลายให้ตรลอดรอดแล้ว จึงบังคับด้วยใจอันซื่ออันตรงนั้นแลฯ อนึ่งได้เลี้ยงดูรักษาสมณพราหมณ์แลนักปราชญ์ราชบัณฑิตย์ผู้รู้ธรรม ๆ มานั้นให้นั่งอยู่ที่สูงแล้ว ๆ จึงถามเถิงธรรมอันประเสริฐนั้นแลฯ อนึ่งข้าคนไพร่ฟ้า ข้าคนคือว่าผู้ใด ๆ ก็ดี แลกระทำความชอบให้ได้เป็นประโยชน์แก้ท้าวพระญาด้วยความอันชอบของเขานั้นไส้ ด้วยให้รางวัลแก่ผู้นั้นตามมากแลน้อยนักแลเบา

    โดยอำเภอคุณแลอำเภอประโยชน์ของเขานั้นแลฯ ผิแลว่าท้าวพระญาองค์ใดแลเสวยราชสมบัติแล้วแลทำความชอบธรรมไส้ไพร่ฟ้าข้าไทยทั้งหลายก็อยู่เย็นเป็นสุขได้หลกขาดดีในศรีสมบัติเพราะด้วยบุญสมภารของท่านผู้เป็นเจ้าเป็นจอม แลข้าวน้ำช้ำปลาอาหารแก้วแหวนแสนสัตเนาวรัตนะ เงินทองผ้าผ่อนแพรพรรณนั้นก็บริบูรณ์ อีกฝูงเทวาฟ้าฝนนั้นก็ตกชอบฤดูกาลบมิน้อยบมิมาก

    ทั้งข้าวในนาทั้งปลาในน้ำก็บห่อนรู้ร่วงโรยเสียไปด้วยฝนด้วยแล้งเลย อนึ่งวันคืนแลปีเดือนทั้งหลายบป่อนรู้ยากเลย อนึ่งฝูงเทพยดารักษาทั้งหลายอันอยู่รักษาเป็นเสื้อบ้านทรงเมืองนั้น ท่านก้รักษาดุจเกรงท้ายพระญาผู้ได้กระทำความอันชอบด้วยคลองธรรมนั้นแลฯ แลท้าวพระญาองค์ใดกระทำความอันบมิชอบคลองธรรมไส้เทวาฟ้าฝนนั้นก็พิปริต แม้นทำไร่ไถนาก็บันดาลให้เสียหายตายด้วยแล้งแลฝนแล

    อนึ่งผลไม้ทั้งหลายแลพืชอันเกิดเหนือแผ่นดินอันมีโอชารสอันดีอร่อยนั้นกลับหายเสียไปเพื่อโอชารสนั้นจมลงไปใต้แผ่นดินสิ้น ทั้งต้นแลลำอันปลูกนั้นมันก็มิงามเลย ทั้งแดดแลลมทั้งฝนแลเดือนดาวก็บมิชอบอุตุกาลดังเก่าเลย เพราะว่าท้าวพระญากระทำบมิชอบธรรมนั้นฯ แลเทพยดาทั้งหลายเขาเกลียดเขาชังพระญาอาธรรมนั้นนักเขาบมิใคร่แลดูหนานคนนั้น แม้นว่าเขาแลดูก็ดีบห่อนแลงดูซึ่งหน้าย่อมแลดูแต่หางตาเขาไส้ฯ ดูกรชาวเจ้าทั้งหลาย ตราบใดชาวเจ้าทั้งหลายแลมีอายุอยู่ไส้ จงชาวเจ้าจำคำที่กูสั่งสอนนี้ไว้จงมั่น แลเร่งทำตามความชอบธรรมนี้ไว้เถิดฯ ในกำเนิดนี้ก็โ กำเนิดหน้าโพ้นก็ดี เทียรย่อมจะจำเริญสัพพสวัสดีทุกประการแลฯ

    เมื่อสิ้นชนมาพิธีไส้ไปเกิดกำเนิดหน้าย่อมได้ไปเกิดในชั้นฟ้า ๖ ชั้น แม้นเกิดในมนุษย์ก็ดีย่อมได้เกิดที่ตระกูลอันมียศศักดิ์มีบุญสมภารทุกประการนั้นแลฯ ผิว่าได้เห็นมีคนโจทย์ว่าเมื่อพระญามหาจักรพรรดิราช ธ สั่งสอนท้าวพระญาทั้งหลายครั้งนั้น แลท้าวพระญาทั้งหลายฝูงนั้นเขายังยินดีด้วยพระญามหาจักรพรรดิราชนั้นบ้างหรือ ๆ ว่เขาบมิได้ยินดีแลมิได้ตั้งอยู่ในความอันสั่งสอนนั้นให้ประเสริฐเลยดังนี้ฯ ว่บรมพระพุทธเจ้าพระองค์สร้างสมภารมามาก แลเถิงได้ตรัสแก่สัพพัญญุตญาณดังนั้นก็ดี พระเจ้าบมิยินมิทำตามบัณฑูรเทศนานั้น สั่งสอนโลกย์ทั้งหลายลางคนยินดีแลทำตามพระบัณฑูร ลางคนสิยังบมิยินดีบมิทำตามพระบัณฑูรพระพุทธเจ้าไส้ ผู้ใดมีบูญมีสมภารจึงกระทำตามไส้ฯ

    ผู้ใดบุญน้อยบมิอาจทำตามได้ เทียรย่อมกระทำตามความอันมิชอบดังนั้นก็ยังมีมากนัก พระญามหาจักรพรรดิราชบมิดูบมิเหมือนด้วยพระพุทธเจ้า แลค่ลาดกันไกลกันมากนัก ดังฤๅแลท้าวพระญาทั้งหลายจะทำตามคำสั่งสอนนั้นได้ถ้วนคน ลางคนเอาคำสั่งสอนแลทำตาม ลางคนบมิเอาคำสั่งสอนบมิได้ทำตามคำสั่งสอนนั้นแลฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กุมภาพันธ์ 2009
  12. สัตบุรุษ

    สัตบุรุษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    733
    ค่าพลัง:
    +840
    เมื่อครั้งนั้นพระญามหาจักรพรรดิราชเทศนาธรรมอันชื่อว่าไชยวาศ สั่งสอนท้าวพระญาทั้งหลายอันมีฝ่ายตระวันออกในแผ่นดินอันชื่อว่าบุพพวิเทหะนั้นแล้วจึง ธจึงเลี้ยงลาอามสายท้าวพระญาทั้งหลาย อีกลูกเจ้าเหง้าขุนทมุนนายไพร่ฟ้าทั้งหลาย ด้วยช้าวแลน้ำโภชนาหารทั้งปวงอันมีโอชารสอันมีสำเร็จฯ จึงกงจักรแก้วนั้นก็เหาะขึ้นไปบนอากาศแล้วก็นำพระญาจักรพรรดิราชแลรี้พลทั้งหลายไปโดยอากาศไปสู่ทิศตระวันออก แล้วจึงบ่ายหน้าไปยังกำแพงจักรวาลฝ่ายบุพทิศแล้วจึงลุเถิงฝั่งมหาสมุทรอันมีฝ่ายบุพทิศ จึงกงจักรแก้วนั้นลงสู่น้ำมหาสมุทร ๆ อันเร่งตีฟองนองระลอกนั้นนัก แลน้ำมหาสมุทรนั้นกลัวกงจักรแก้ว แลมิอาจตีหองนองระลอกขึ้นมาได้เลยฯ ผิจะอุประมาดุจพระญานาคราชอันเลิกพังพานอยู่แล้วแลถูกไอยาแลกลัวไอยานั้นแลก้มหัวซบลงเร้นอยู่นั้นแลมีดังฤๅคือมหาสมุทรกลัวบุญแห่งกงจักรแก้ว นั้นแลบมิอาจตีฟองนองระลอกขึ้นได้เลนฯ


    เมื่อกงจักรแก้วนั้นไปสู่สมุทรอันนั้น แลน้ำมหาสมุทรนั้น้อยหลีกแยกแตกเป็นคลอดไปโดยกว้างได้โยชน์ ๑ ผิจะนับโดวาได้ ๘๐๐๐ วาแล แลเห็นน้ำสองข้างนั้นงามดังกำแพงแก้วไพรฑูริย์ฯ จึงกงจักรแก้วนั้นลงไปเถิงพื้นพระสมุทร แลน้ำนั้นก็หลีกกงจักรแก้วแปลงพื้นสมุทรด้วยวาไส้ได้ ๘๐๐๐ วาแล


    อันว่าแก้วสัตตพิธรัตนะ ๗ ประการอันมีในพื้นพระสมุทรนั้นแล แก้วสัตตพิธรัตนะอันประเสริฐดีต่าง ๆ ก็มาเองแล อยู่ซึ่งทางที่พระญาจักรพรรดิราชเสด็จไปด้วยแลรี้พลทั้งหลายนั้น ด้วยเดชอำนาจแห่งกงจักรแก้วนั้นแล โดยหนทางแต่ฝั่งมหาสมุทรข้างนี้ไปบนเถิงฝั่งข้างโพ้นแลตรลอดไปเถิงพื้นกำแพงจักรวาลนั้นแลฯ กล่าวเถิงเมืองนั้นฝูงคนทั้งหลายนั้นไปโดยเสด็จวันนั้น ต่างคนต่างแลเห็นแก้วแหวนเงินทองอันดี ต่างคนต่างก็เลือกเอาอันดีอันพึงใจตน ลางคนกวาดเอาใส่พกใส่ห่อผ้า แลคนทั้งหลายนั้นย่อมชื่นชมยินดีทั่วทุกคน ร้องชมว่าแต่ก่อนเรามาเราบห่อนได้พบได้เห็น แลบัดนี้เรามาได้พบได้เห็นดังนี้


    เพราะบุญสมภารเจ้านายเราแลฯ จึงกงจักรแก้วนั้นก็นำไปเถิงสมุทร ฝั่งสมุทรข้างโพ้นจรดตีนเขากำแพงจักรวาลฝ่ายบุรพทิศ พระญาจักรพรรดิราชนั้นจึงจับเอาสุวรรณภิงคาร อันเต็มไปด้วยน้ำอันหอมนั้นมาแล้วธจึงหลั่งน้ำลงแล้วธก็ว่าดังนี้ แดนนี้เป็นแดนเมืองแห่งกู แลเป็นอาณาราฐแห่งกูฝ่ายหนตระวันออกแกฯ ครั้นธว่าเท่านั้นแล้วพระญามหาจักรพรรดิราชเจ้านั้นก็กลับคืนมาโดยหนทางเก่านั้นเล่าแลฯ จึงลูกเจ้าเหง้าขุนแลไพร่ฟ้าข้าไทยทั้งหลายบางคนมาก่อนบางคนมาหลัง พระญามหาจักรพรรดิราชนั้นแลฯ


    ส่วนว่ากงจัพรแก้วนั้นจึงค่อยมาภายหลังคนทั้งหลาย เพราะว่ามิให้น้ำในสมุทรนั้นกลัดหนทางคนทั้งหลายเสียฯ ส่วนว่าน้ำพระสมุทรนั้นมีใจรักกงจักรแก้วนักหนามิใคร่จะให้ไปจากเลย ผิจะอุปมาดุจนางผู้หนึ่งแลมีรูปงามแลได้ผัวอันพึงใจ แลผัวนั้นไปจากตนช้านานแล้วแลคืนมาหาตนเล่าแล้วสิว่าผัวนั้นจะไปจากตนอีกเล่า แลว่าใจตนรักผัวตนมิใคร่ให้ไปจากเลย แลกล่าวถ้อยคำเล้าโลม ผัวตนเพราะมิให้ใคร่ไปจากตนนั้นแลมีดังฤๅ คือว่าน้ำมหาสมุทรมิใคร่ให้กงจักรแก้วนั้นไปจากตนแลมีอุปมาดุจนั้นแล แลน้ำพระมหาสมุทรมีใจรักนักอดทนมิได้จึงตามมาส่งกงจักรแก้วนั้ น้ำนั้นคอยกลบหนทางตามมา แต่ว่าน้ำนั้นมิได้ถูกต้องริมกงจักรแก้วนั้นฯ แก้วแหวนเงินทองทั้งหลายก็มีใจรักกงจักรแก้วนั้นนักหนา จึงชวนกันมาส่งกงจักรแก้วเถิงฝั่งสมุทรข้าง ๑ แลฯ


    ครั้นว่ากงจักรแก้วขึ้นจากพระมหาสมุทร ๆ นั้นก็เต็มมาดังเก่าแลฯ เมื่อนั้นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชบพิตร ธปราบแผ่นดิเมืองเบื้องตระวันออกอันชื่อว่าบุรพวิเทหะ แลเอาน้ำสมุทรแลตีนเขากำแพงจักรวาลเป็นแดนเมืองฝ่ายข้างตระวันออกแลฯ แลจะใคร่มาปราบแผ่นดินชมพูทวีปอันเราอยู่นี้แลมีพระสมุทรหากเป็นแดนนั้น ธก็เสด็จมาโดยทางอากาศเวหาเล่าแลฯ เมื่อนั้นจึงกงจักรแก้วนั้นหากชักชวนพระองค์เสด็จไปโดยอัมพรากาศ โดยนิยมดังกล่าวมาแต่ก่อนนั้นดุจเดียวแล แล้วจึงมาในแผ่นดินอันเราอยู่นี้แลฯ


    อันว่าท้าวพระญาทั้งหลายซึ่งอยู่ในแผ่นดินชมพูทวีปนี้ ต่างองค์ก็ต่างมาถวายเครื่องบรรณาการแลไหว้นำคำรพยำเยงแต่บรมมหาจักรพรรดิราช แลมหาจักรพรรดิราชนั้นตรัสสั่งสอนด้วยบุญแลธรรม อันชื่อว่าไชยวาทาสาสน์แล้ว ธก็เสด็จไปยังพระสมุทร แลน้ำในพระสมุทรก็หลีกออกสองข้างให้เป็นทางดังกล่าวมาแล้วแต่ก่อนนั้นฯ อันว่ารี้พลทั้งหลายก็เก็บเอาแก้วแหวนในท้องสมุทรตามใจ เขาปรารถนาเก็บเอาเต็มหอบเต็มพกแล้ว จึงนำไปเถิงกำแพงจักรวาลเองทักษิณแลฯ จึงพระญามหาจักรพรรดิราชจึงเอาน้ำในสุวรรณภิงคารหลั่งลงแล้วดังนี้ แต่นี้เป็นแดนเมืองเป็นอาณาราฐแห่งกูเบื้องทักษิณแล


    ครั้นว่าแล้วจึงคืนมาโดยหนทางเก่าอันเดินในสมุทรนั้น ครั้นคืนมาน้ำสมุทรก็กลบรอบเต็มงามดังเก่าเล่าแลฯ เมื่อนั้นพระญามหาจักรพรรดิราชนัน้น ธ ปราบแผ่นดินเบื้องตระวันออกแล้ว ๆ มาปราบแผ่นดินอันเราอยู่นี้ กว้างได้ ๑๐๐๐๐ โยชน์ อันชื่อว่าชมพูทวีปแล้วฯ แล้วธ จักใคร่ไปปราบแผ่นดินเบื้องข้างตระวันตก อันกว้างได้ ๑๐๐๐ โยชน์ ชื่อว่าอมรโคยานี อันมีน้ำสมุทรเป็นแดน จึงจากน้ำสมุทรไปหนปัจฉิมทิศ ธ จึงปราบแผ่นดินนั้น แล้ว ธ ก็สั่งสอนท้าวพระญาทั้งหลายนั้นโดยดังกล่าวก่อนนั้นแล้ว ๆ ก็ข้ามสมุทรไปเถิงตีนเขากำแพงจักรวาลฝ่ายข้างปัจฉิมทิศ แล้ว ธ จึงเอาน้ำในคนที่ทองหลั่งลงแล้วฯ ว่าแต่นี้เป็นแดนเมืองกู เป็นอาณาราฐกูดแล แล้ว ธ จึงคืนมาแลฯ แล้ว ธ จะใคร่ไปปราบแผ่นดินเมืองอุตตรกุรุทวีปอันกว้างได้ ๘๐๐๐ โยชน์ อันชื่อว่าอุตตรกุรุทวีปนั้นแล ท้าวพระญามาไหว้นบ ธ แล้ว ธ จึงสั่งสอนท้าวพระญาทั้งหลายเสร็แล้ว ๆ ข้ามน้ำสมุทรไป ๆ เถิงตีนเขากำแพงจักรวาลเบื้องอุตรทิศนั้นแล้ว จึงเอาน้ำในคนทีทองมาหลั่งลงแล ว่าแต่นี้เป็นแดนเมืองกูนี้เป็นอาณาราฐแห่งกูแลฯ แล้วจึงคืนมาโดยทางในกลางสมุทรดังเก่า

    ครั้น ธ มาแล้วน้ำสมุทรคอยกลบตามมาเต็มงามดังเก่าแลฯ ฝูงท้าวพระญาทั้งหลายอันมีในแผ่นดินเล็กน้อย ๒ พันนั้นเล่า เขาหากมาเองออกหาเอง แลมิพักไปปราบเขาเลยฯ แลกล่าวเถิงแผ่นดิน ๒๐๐๐ นั้นเพราะว่าแผ่นดิน ๒๐๐๐ นั้นเป็นบริวาร แผ่นดินใหญ่ ๔ อันนั้นแลฯ แผ่นดินใหญ่อันหนึ่งแลมีบริวารได้ ๕๐๐ แผ่นดินแล แลสัพพทรัพย์อันมีในแผ่นดินทั้งหลายอันมีในสัพพจักรวาลแล มีอยู่ในน้ำสมุทรทั้ง ๔ อันฯ สมุทรแต่ล้วน ๆ รัศมีพระอาทิตย์ พระจันทร์จะมารส่อนไปย่อมเป็นสมบัติแห่งจักรพรรดิราชแล เมื่อดูมหิมาเพียงดังกงจักรเทียมพระอินทร์ผู้เป็นเจ้าไตรตรึงษาสวรรค์นั้นแลฯ


    เมื่อพระญาจักรพรรดิราช ธ ปราบทวีปจักรวาล แล้ว ธ ก็คำนึงในพระหทัยแลมีพระทัยจะใคร่แลดูสทบัต้อันมหิมาของพระองค์ทั้งมวลฯ ครั้งว่า ธ คำนึงดังนั้น อัน่ากงจักรแก้วนั้นดุจดังว่ารู้พระทัยท่าน จึงกงจักรแก้วนั้นก็ผันเหาะพุ่งขึ้นไปเบื้องบนอากาศ แลมีรัศมีดังพระจันทร์พุ่งขึ้นแวดเขาพระสิเนรุราชนั้น ดุจดังพระอาทิตย์สองอันเป็นใต้แผ่นดินขึ้นทั้งมวลนี้เงพุ่งขึ้นไปบนแล ฝูงคนทั้งหลายเห็นเลื่อมใสดูรุ่งเรืองงาม ชนทั้งปวงมุงว่าพระอาทิตย์เป็นสองดวงแลฯ เมื่อพระมหาจักรพรรดิราชเจ้า แลรี้พลทั้งหลายอันมาด้วยพระองค์ดังกล่าวมานั้น ก็ขึ้นไปเถิงบนอากาศด้วยอำนาจแห่งกงจักรแก้วนั้น เขาก็แลเห็นทั่วทุกแห่งทุกตำบลแลเห็นเขาพระสิเนรุราชนั้นอยู่ท่ามกลางแลเขาเห็นแผ่นดินอันใหญ่ แลกว้างอยู่รอบเขาพระสุเมรุทั้ง ๔ ทิศแล้วก็แลเห็นแผ่นดินน้อย ๒๐๐๐ ซึ่งเป็นบริวารแห่งแผ่นดินใหญ่ ๔ ทิศนั้นแล ก็แลเห็นน้ำพระมหาสมุทรทั้ง ๔ อันอยู่ขั้นทุกแดน เห็นแม่น้ำใหญ่แลแม่น้ำน้อยทั้งหลายเห็นยอดภูเขาใหญ่ทุกอัน เห็นป่าใหญ่ทั้ง ๔ แผ่นดินนั้นแล้ว แลเห็นเมืองน้อยแลเมืองใหญ่เมืองรามแลถิ่นถามคามชนบทอันมิรู้จักชื่อนามนั้นจะนับบมิถ้วนได้เลยฯ อนึ่งเล่าเขาเห็นห้วยหนองคลองน้ำบึคงใหญ่บางน้อยท่อธารละหานสระอันมีประทุมกุสุมทุกสิ่งทุกพรรณ มีดอกแลเหง้าขึ้นแลดูตระการนักหนาแลฯ แลกงจักรแล้วนั้นให้พระญามหาจักรพรรดิราชเจ้าทอดพระเนตรแลดูถ้วนทุกสิ่งทุกพรรณแล้วไป แลกงจักรแก้วนั้นจึงนำลงสู่แผ่นดินอันเราอยู่นี้แลฯ ลงมาสู่เมืองที่พระมหาจักรพรรดิราช ธ เสด็จอยู่นั้นแลฯ เมื่อกงจักรแก้วนั้นมาเถิงประตูเรือนหลวงแห่งพระญามหาจักรพรรดิราชนั้น ก็อยู่เหนือกลางอากาศนั้นบมิต่ำบมิสูงแต่พอประมาณสมควรดีนั้น ที่ฝูงคนทั้งหลายเอาข้าวตอดแลดอกไม้มาไหว้นบคำรพบูชา


    เมื่อพระญามหาจักรพรรดิราช ธ มาเถิงเรือนหลวงแล้ว ธ จึงตรัสสั่งให้ปลูกมณฑปฝาแก้วอันหนึ่งที่ดีแล้ว แลมีแก้ว ๘ ประการเป็นเครื่องประดับนิ์มณฑปฝาแก้วนั้น แลมีประตูคูหานั้นแล้วด้วยแก้วแลทองรุ่งเรืองงามนักหนา แล้วให้กงจักรแก้วนั้นอยู่ที่นั้น แลให้คนทั้งหลายเอาข้าวตอดดอกไม้มาไหว้นบคำรพบูชากงจักรแก้วนั้นจึงมาอยู่ในมณฑปฝแก้วนั้นฯ อันว่าในปรางค์ปราสาทที่พระญามหาจักรพรรดิราชเาอยู่นั้ ธ มิพักตามประทีปแลชวาลาลาเลย หากสว่างอยู่ด้วยรัศมีแห่งกงจักรแก้วนั้นส่องไปให้รุ่งเรืองทั่วทุกแห่ง แม้นว่ากลางคืนก็ดีเหมือนดังกลางวันแล ผู้ใดแลมีใจจะใคร่ให้มืดไส้ก็มืดไปโดยใจเขาผู้นั้นแลฯ กล่าวเถิงกงจักรแก้วแล้วเท่านี้แลฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กุมภาพันธ์ 2009
  13. สัตบุรุษ

    สัตบุรุษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    733
    ค่าพลัง:
    +840
    เมื่อนั้นฝูงลูกเจ้าเหง้าขุนทมุนทนาย จึงให้ปลูกโรงช้างอัน ๑ งามนักหนา หลังคาแลเสานั้นเทียรย่อมแลทองกับด้วยแก้ว ๗ ประการ แล้วจึงทากระแจะจวงจันทน์อันหอมไวั้ในกลางโรงช้างนั้น จึงปูผ้าหลายชั้นเหมือนแท่นทองอันมีในโรงช้างนั้น เบื้องบนดาดด้วยผ้าพิดานมีแก้ว ๕ เป็นคาบดูเรืองทุกแห่ง แล้วจึงใส่บนชัพพนิการย่อมแก้วแกว้งไปแกว่งมางามนักหนาด้วยแก้ว ๗ ประการไส้ แก้วเขาฤๅดูงามดังดาวในเมืองฟ้าเหนือผ้าแลเสื้อนั้น หอมอบแลรมด้วยกระแจะจวงจันทน์ท่านเอาข้าวตอดดอกไม้อันหอมทุกสิ่งมาลาดลงเหนือ ๆ นั้ ท่านกรองเป็นสร้อยผูกย้อยเป็นพู่พวงทั่วกลางโรงช้าง ท่านแสร้งแต่งล้วนแต่ด้วยแก้ว ๗ ประการ แลมีรัศมีเขีวขชาวแดงเหลืองดูรุ่งดูเลื่อมใสในโรงช้างนั้น ท่านใส่ผ้าเขียวผ้าขาวผ้าดำผ้าแดงผ้าเหลืองเรืองด้วยแก้ว ๗ ประการ ยิ่งดูยิ่งเรืองดังวิมานเทวดาในเมืองฟ้าฯ


    ครั้นเขาแต่งโรงช้างนั้นแล้วเขาจึงทูลบอกแด่พระญามหาจักรพรรดิราชว่า ตูข้าท่านแต่งโรงช้างต้นผู้เป็นเจ้าท่านแล้วสัพพอังเชิญผู้เป็นเจ้าท่านเถิด คราทีนั้นสมเด็จพระญามหาจักรพรรดิราชนั้น ธ จึงอวยทานรักษาศีลสิ้น ๗ วัน แลคำนึงเถิงบูญ อันกระทำคำนึง เถิงธรรมอัน ธ รู้ดังกล่าวมาแต่ก่อนนั้น แล้ว ธ จึงคำนึงเถิงช้างแก้วอันตัวดีฯ ด้วยเดชบุญพระญามหาจักรพรรดิราชนั้นแล ฯ

    อันว่าฝูงช้างแก้วทั้งหลายนั้นอันชื่อฉัททันต์ก็ดี แลฝูงช้างแก้วทั้งหลายอันชื่ออุโบสถตระกูลก็ดี เทียมย่อมตัวใหญ่ตัวสารอันงามขาวดังเดือนเมื่อวันเพ็งบูรณ์นั้น แลมีตีนแดงงามดังตระวันแรกออกแล มีลักษณะเท้า ๙ แห่งดูงามดังแสร้งปั้น มีวงวแดงงามดังดอกบัวแดงอาจไปได้โดยอากาศดังอรหันต์ผู้มีอำนาจแลไปโดยอากาศเร็วนักช้างนั้นสูงงามดังเขาเงิน แลพิษณูกรรมเอาชาติหิงคลาให้งามอันมาก อันดีอันมีลักษณะดังนั้นด้วยบุญพระญามหาจักรพรรดิราช ช้างนั้นหากมาเองโดยอากาศดังราชหงส์ทอง อันชื่อธรรมราช แลบินมายังเมืองพระญามหาจักรพรรดิราชนั้น ช้าวแก้วนั้นจึงมาเถิงเมืองพระญามหาจักรพรรดิราชนั้น จึงเข้าไปในโรงทองอันทองอันท่านแต่งไว้ถ้าแลงามนันกหนา จึงมาอยู่เหนือฟูกผ้าอันท่านลาดปูไว้แล้ว ก็ยยืนอยู่เหนือแท่นทองนั้นแล ช้างนั้นรู้เชื่องแลชำนิดีนักหนา ดังช้างเก่าอันสำเรียกเสียกสาร ช้าหึงนานแล้ว แลช้างนี้ดีนักหนาผิมาแต่ฉัททันตตระกูลก็ดี ผิมาแก่อุโบสถตระกูลก็ดี เทียรย่อมตัวดียิ่งกว่าช้างทั้งหลายจึงมรแลฯ คราทีนั้นเขาจึงขึ้นไปไหว้ทูลบอกแต่พระญาจักรพรรดิราชเจ้าแลว่าช้างเผือกผู้ตัวงามมาอยู่ในโรงแล้ว

    ขออังเชิญท่านผู้เป็นเจ้าเสด็จไปชมช้างเผือกผู้เถิดฯ คราทีนั้นจึงพระมหาจักรพรรดิราช ท่านนั้นจึงเสด็จไปยัโรงแลทอดพระเนตรดูช้าง ๆ นั้นงามนักหนา ฯ พระญา ธ มีใจรักแลยินดีนักหนา ฯ พระองค์จึงยื่นพระหัตถ์ไปลูกคลำช้างแก้ว ๆ นั้นจึงค่อยชะม้อยหัวแล้วก้อมลงเอางาเท้าดินไว้สำคัญว่า ไหว้พระมหาจักรพรรดิราชเจ้า ๆ นั้ ธมีใจจะใคร่ขี่ช้างนั้แลฝูงขุนนางทั้งหลายรู้พระทัยพระญามหาจักรพรรดิราชนั้น เขาจึงตบแต่งเครื่องประดับนิ์ช้างนั้นให้ทั่วสารพางค์ด้วยสิ่งทั้งหลาย เป็นต้นว่าเงินแลทองแก้วแหวนทั้งหลายแลผ้าอันมีค่าอันควร ผิจะคณนาเงินทืองของแก้วทั้งนั้นบมิได้เลย ดูรุ่งเรืองงามดังดาวในเมืองฟ้าฯ พระญามหาจักรพรรดิราชนั้น ธจึงขึ้นขี่ช้างและธมีพระทัยจะใคร่ไปโดยอากาศ ช้างนั้นจึงเหาะขึ้นไปบนอากาศดังราชหงส์ทองอันเป็นพระญาแก่หงส์ทั้งหลายพระญาหงส์นั้นชื่อพยะญาธรรมราชแลฯ

    จึงฝูงรี้พลทั้งหลายไปในอากาศด้วยเมื่อไปด้วยกงจักรแก้วนั้นแลฯ องค์พระญาจักรพรรดิราชนั้นงามนัก ดังสมเด็จพระอินทราเมื่อธทรงช้างไอยราวรรณนั้น แลมีหมู่เทพยดาทั้งหลายล้อมเป็นบริวารฯ อันว่าพระญาจักรพรรดิราชเจ้ากดีแลฝูงรี้พลทั้งหลายก็ดี ก็ไปเวียนเขาพระสุเมรุราชแล้วจึงไปเลียบกำแพงจักรวาล แล้วจึงเสด็จกลับคืนมาสู่พระนครที่พระองค์เสด็จอยู่เร็ว แต่เช้าก่อนงายไปแล้วกลับมากินข้าวยังมิทันสายเลยแล หัตถีรัตนวัณณนานิฏ์ฐิตา ฯ


    ตโต ถัดนั้น จึงลูกเจ้าเหง้าขุนทมุนทนายเสวกทั้งหลายจึงแต่งโรงม้าอันงามหนักหนา แลประดับนิ์สัพพทกประการดังโรงช้างแก้วอันกล่าวแต่ก่อนนั้นแลฯ ครั้นว่าเขาแห่งสัพพแล้ว เขาจึงไปไหว้ทูลบอกแต่พระญามหาจักรพรรดิราชเจ้าว่า ตูข้าเราทั้งหลายแต่งโรงม้าต้นสำเร็จแล้ว บัดนี้ขอเชิญพระองค์เจ้าเสด็จคำนึงเถิงม้าแก้วอันจะมาด้วยบุญของพระองค์เถิดฯ


    กาลนั้นจึงพระญาจักรพรรดิราชนั้นธจึงอวยทานแล้วรักษาศีล ๘ ประการแล้วธจึงคำนึงเถิงบุญแลกรรมอันกระทำแลรู้แล้ว จึงคำนึงเถิงม้าแก้วทั้งหลายอันตัวดีตัวประเสริฐกว่าม้าทั้งหลายฯ ครั้นว่าพระองค์ธคำนึงเถิงดังนั้นไส้บัดใจจึงม้าแก้วตัวประเสริฐตัวดีตัวเร็วอันชื่อว่าม้าพลาหกอัสวราชตัวดีกว่าม้าทุกตัว อันเกิดในตระกูลสินธพชาติอันงามดีดังสีเมฆแลหมอกขาว แลมีรุ่งเรืองเขียวดังสายฟ้าแมลบรอบไส้แกมีกีบเท้าทั้ง ๔ แลหน้าผากแดงดังน้ำครั่ง ดูตัวนั้นพิลึกกำยำดังนายช่างหากแสร้งปั้น ดูสันหลังนั้นขาวงามเกลี้ยงเรืองงามดังเดือนแลดูขนหัวนั้นดำเหลื้อมงามดังดำกา เรืองงามดังแก้วอินทนิล แลดูเสฐดำอ่อนชื่นบานดังหญ้าปล้องแลท่านแสร้งเอามาเรียงไว้ดูงามนักหนาฯ แลม้านั้นอาจไปโดยอากาศดุจดังฝูงฤๅษีสิทธิ์ผู้มีศักดิ์แลไปโดยอากาศนั้นแลฯ


    ด้วยบุญญานุภาพพระญามหาจักรพรรดิราชนั้นหากให้ชักนำม้าแก้วนั้น มาโดยอากาศแลเห็นเรืองดังหมอกเมฆขาวแลรุ้งเขียวนั้นมาอยู่ในโรงทองที่ท่านกระทำด้วยแก้ว ๗ ประการนั้นเองแลฯ จึงลูกเจ้าเหง้าขุนทั้งหลายเขาจึงมาไหว้ทูลบอกแต่พระญามหาจักรพรรดิราชเจ้าให้ธรู้ ครั้นว่าธรู้แล้วธจึงสั่งให้ประดับประดาม้าแก้วตัวประเสริฐนั้นด้วยเครื่องประดับทั้งหลาย มีอาทิคือใส่กระดึง แลพรวนทองเครื่องสนิมอาภรณ์ช้องหางผ่านหน้าสำหรับประดับอานแก้วแววสะอาดพาดเหนือหลังพระญาพาชีเท้าทั้ง ๔ มีด้วยพรวนทองสอดหูไส้ใส่ปลอกแก้ว แลจึงใส่สร้อยทองในคอเรืองงามดังแสงไฟฟ้าเบื้องหน้าเฉลิมตาบทองคำ แลว่าท่านทำเครื่องประดับทั้ง ๔ กีบนั้น แลเครื่องในตัวม้านั้น เทียรย่อมแต่ล้วนทองแลแก้ว ๗ ประการ ดูเรืองงามยิ่งกว่าเดือนเมื่อเพ็งบูรณ์นั้นแลฯ


    ครั้นว่าเขาประดับนิ์ม้าต้นนั้นแล้วจึงเอาไปถวาย แก่พระญามหาจักรพรรดิราช ๆ ธจึงึ้นขี่ม้สนั้น ๆ จึงพาพระองค์เหาะไปโดยอากาศกับด้วยรี้พลทั้งหลายฯ ธก็เสด็จไปเลียบกำแพงจักรวาลดุจช้างแก้วแลกงจักรแก้วนั้นแลฯ ครั้นว่าธเลียบแล้วธจึงกลับคืนมาเถิงที่อยู่ธนั้น พอทันกินข้าวงายบมิทันสายเลยแลฯ อัสวรัตนวัณณนานิฎ์ฐิตาฯ

    ดัพนั้นจึงลูกเจ้าเหง้าขุนแลโหราจารย์ทั้งหลาย เขาจึงกราบทูลแด่พระญามหาจักรพรรดิราชว่าฉันนี้ ว่าเครื่องสำหรับบุญของพระองค์เจ้าไป่มีถ้วนตก่อน แลขอเชิญพระองค์เจ้าคำนึงเถิงแก้วอันเกิดสำหรับบุญของพระองค์เจ้าก่อนเถิดฯ


    เมื่อแลเขากราบทูลแก่พระองค์ดังนั้นกาลนั้นจึงพระญามหาจักรพรรดิราชนั้น ธจึงอวยทานแลรักษาศีล ๘ ประการ ธจึงรำพึงเถิงบุญอันกระทำแลธรรมอันรู้ แลคำนึงเถิงแก้วอันเป็นของแห่งพระญามหาจักรพรรดิราชเจ้าแต่ก่อนนั้นแลฯ จะกล่าวเถิงแก้วดวง ๑ โดยยาวได้ ๔ ศอกโดยใหญ่เท่าดุมเกวียนใหญ่ สองหัวแก้วนั้นมีดอกบัวทองสอดดอกออกแห่ง มีสายมุกดามากหลายติดในกลางมุกดาแลดอกบัวทองนั้นโสดดูขาวใสงามตั้งอยู่ในกลีบดอกบัวทองนั้นแลฯ แก้วอันเป็นพระญาแก่แก้วทั้งหลายได้ ๘๔,๐๐๐ จำพวกแลแก้วทั้งหลายฝูงนั้น ลางจำพวกเท่าลูกฟัก ลางจำพวกเท่าลูกตาล ลางจำพวกเท่าลูกมะตูม ลางจำพวกเท่าลูกมะนาว ลางจำพวกเท่าลูกมะม่วง ลางจำพวกเท่าลูกมะขามป้อม ลางจำพวกเท่าลูกมะกล่ำ ลางจำพวกยาว ลางจำพวกกลม ลางจำพวกเป็น ๔ เหลี่ยมดูงามนักหนาฯ ลางอันมีพรรณอันแดง ลางอันสีขาวลางอันเขียว ลางอันทราม ลางอันแดงกล่ำ ลางอันหม่น ลางอันก่าน ลางอันเหลืองดูรุ่งเรืองนักหนา เทียรย่อมเข้ามาเฝ้าพระญาแก้วดวงนั้น(ดุจดัง) พระญาหงส์ตัวหนึ่งชื่อพยะญามัททราชแลมีหมู่หงสฺ์ทั้งหลายได้ ๘๔,๐๐๐ มาล้อมรอบเป็นบริวารนั้นแล


    เมื่อนั้นแก้วอันมีศักดิ์นักหนาแล มีแก้วทั้งหลายเป็นบริวารแก้วนั้นอยู่ในยอดภูเขาอันชื่อพิปุลบรรพตโพ้นไส้ฯ ด้วยบุญแห่งพระญามหาจักรพรรดิราชนั้น หากไปชั้กไปชวนเอาแก้วดวงนั้นมาแลแก้วนั้นบมิอาจอยู่ในที่อยู่แห่งตนนั้นได้เลยฯ แก้วนั้นจึงเหาะมาโดยอากาศแลมีหมู่แก้วบริวรได้ ๘๔,๐๐๐ ตามกันมาวันนั้น ดูรุ่งเรืองเต็มทั้งอากาศแลฯ อันว่าแก้วจำพวกนี้ต่อว่าเมื่อใดแลมีพระญามหาจักรพรรดิราชไส้ แก้วนั้นจึงมาแข่งด้วยรัศมีแห่งพระจันทร์นั้นทุกเมื่อแลฯ ผิแลว่าเมื่อใดพระญามหาจักรพรรดิราชนั้น แลสวรรคาไลยแล้วแก้วนั้นจึงคืนไปอยู่ในยอดเขาอันชื่อวิบูลบรรพตนั้นช้าหึงนานนักแลฯ มิได้เปล่งรัศมีออกแข่งด้วยรัศมีแห่งพระจันทร์นั้นเลยฯ


    เพราะว่าอยู่ถ้าท่านผู้มีบุญที่ท่านจะมาเป็นพระญาจักรพรรดิราชภายหน้าโพ้นแลฯ แลแก้วนั้นจึงมิได้เปล่งรัศมีออกแข่งด้วยพระจันทร์เพื่อดังนั้นแลฯ เมื่อใดมีพระญามหาจักรพรรดิราช ๆ นั้นคำนึงเถิงแก้วนั้น ๆ จึงมาหาพระญามหาจักรพรรดิราชแลเปล่งรัศมีออกแข่งด้วยรัศมีพระจันทร์ แลรัศมีแห่งแก้วนั้น แลเห็นดูรุ่งเรืองงามดังรัศมีพระจันทร์เมื่อวันเพ็งบูรณ์นั้นแลฯ


    แลมีแก้วทั้งหลายเป็นบริวารล้อมมาทั้ง ๔ ด้าน คือหน้าแลหลังซ้ายขวาตามกันมาโดยอากาศแล้ว ๆ ก็เข้าไปในปราสาทแห่งพระญามหาจักรพรรดิราชนั้นแลฝูงแก้วบริวารตามล้อมมารุ่งเรืองงามนักหนาเหมือนดาวดารากรอันล้อมพระจันทร์ในเมื่อเพ็งบูรณ์นั้นแลฯ แลพระญาแก้วนั้นก็มาเฝ้าพระญาจัพรกรรดิราชอยู่ดังนั้น จึงพระญามหาจักรพรรดิราชพระองค์นั้นมีพระทัยจะใคร่ลองตะบะของพระญาแก้ว อันชื่อว่ามณีรัตนะนั้น ธจึงให้ทำไม้ลำหนึ่งยาว ๑๖ ศอก แลพอกทอมถามแล้ว ๆ


    จึงให้ตีตระเคียีวทองใส่พระญาแก้วนั้นแล้วจึงเอาสายทองคำผูกแขวนไว้กับปลายไม้แล้ว ๆ ยกไม้นั้นให้คนถือไปก่อน แล้วจึคงดูเห็นรุ่งเรืองสว่างส่องให้เห็นหนทางทุกแห่ง แม้นมืดทั้ง ๔ ประการก็ดี มืดประการ ๑ คือว่าเดือนดับมืด มืดกลางคืนก็ดี มืดประการ ๑ คือว่าป่าชัด มืดประการ ๑ คือว่ามืดฟ้ามืดฝน มือประการ ๑ คือมืดเที่ยงคืน แม้นว่ามืดทั้ง ๔ ประการดังนี้ก็ดีบมิอาจมืดอยู่ได้เลย ด้วยอำนาจรัศมีพระญาแก้วนั้นก็สว่างให้เห็นทางทั่วทุกแห่งดังลกางวันนั้นแลฯ แลพระญามหาจักรพรรดิราชนั้นก็เสด็จไปด้วยรี้พลทั้งหลายแลเห็นหนทางรุ่งเรืองใสสว่างดังกลางวัน


    ฝูงคนที่ทำไร่ไถนาเขาก็ไปทำดังกลางวันนั้นแลฯ คนทั้งหลายที่ซื้อขายก็ไปซื้อชายดังกลางวันนั้นแลฯ คนทั้งหลายที่ช่างถากไม้แลฟันไม้เขาก็ไปถากไม้ฟันไม้เมื่อกลางคืน ได้สัพพการทั้งปวงเหมือนกลางวันแลฯ ฝูงคนกระทำสิ่งใดเขาที่กระทำสิ่งนั้นทุกประการ แม้นกลาคืนก็ดี เหมือนดังกลางวันสิ้นแลฯ แลคนทั้งหลายพึงรู้จักศักดิ์ฤทธิ์ตะบะแห่งพระญาแก้วนั้น เพราะด้วยบุญสมภารแห่งพระญามหาจักรพรรดิราชนั้นแลฯ ท่านผู้มีบุญดังนี้ได้เสวยราชสมบัติเย็นเนื้อใจนักหนา ฝูงอาณาราษฎรทั้งหลายได้ความสุขสำราญปูนปานดังเทพยดาในสวรรค์นั้นแลฯ มณีรัตนวัณณนาทิฏฐิตา กล่าวเถิงพระญาแก้วอันชื่อว่ามณีรัตนโดยสังเขปแล้วเท่านี้แลฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กุมภาพันธ์ 2009
  14. สัตบุรุษ

    สัตบุรุษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    733
    ค่าพลัง:
    +840
    ด้วยเดชบุญท่านผู้ได้เป็นพระญามหาจักรพรรดิราชนั้น แลว่ายังมีนางแก้วผู้หนึ่งไส้ ลางคาบมีผู้หญิงผู้มีบุญอันได้กระทำมาแต่ก่อน แลนางนั้นมาเกิดในแผ่นดินเราอยู่นี้ ย่อมมาเกิดในเมืองอันชื่อมัททราฐเกิดในตระกูลกษัตริย์ดังทั้งหลายจึงได้กล่าวมาเป็นเมียของพระญามหาจักรพรรดิราชนั้นแลฯ ผิแลว่าหาผู้หญิงอันมีบุญบมิได้ในแผ่นดินเราอยู่นี้ไส้ อันเพื่อบุญของพระญามหาจักรพรรดิราชนั้นไปชักนำมา


    นางแก้วอันมีอยู่ในแผ่นดินอันชื่อว่อุตรนั้นมากับทั้งเครื่องสำหรับสัพพาภรณ์ อันแล้วด้วยแก้วสัตตพิธรัตน แลรุ่งเรืองงามนักหนาแลมาโดยอากาศดุจดังนางฟ้าแลลงมาไหว้มานบพระญามหาจักรพรรดิราชเจ้านั้นแลฯ อันว่านางแก้วนั้นโสดบมิต่ำบมิสูงพองามพอดี สมควรถูกเนื้อจำเริยใจฝูงคนทั้งหลาย แลมีฉวีวรรณเกลาเกลยงหมดใสงามหนักหนา มาตรว่าละอองธุลีผงน้อยหนึ่งจะติดแปดกายนั้นก็บมีเลยดุจดังดอกบัวแลถูกน้ำนั้นแลฯ


    ในกายแห่งนางแก้วนั้นมีลักษณะอันอุดมถ้วนทุกแห่ง งามเพิงใจคนทั้งหลายทุกคนในเมืองมนุษย์เรานี้แลฯ แต่เท่าว่ามิเท่านางฟ้าเมืองไตรตรึงษาสวรรค์นั้น เพราะเหตุหารัศมีบมิได้แลฯ อันว่านางฟ้าทั้งหลายในสำนักนิ์พระอินทร์มีรัศมีออกจากตัวเขาไกลนัก เมื่อนั้นบุญนางแก้วนั้นมีรัศมีไหลออกจากตัวนางแก้วนั้นได้แล ๑๐ ศอก ทั้งหลายรอบตัวนางนั้ นแม้นว่ามืดเท่าใดก็ดีบมิพักหาเทียนแลชวาลาเลย แลนางแก้วมีพระพักตร์เกลาเกลี้ยงหมดใสงามนักหนา แลเนื้อแลหนังนั้นอ่อนดังสำลีอันพานสพัดได้ละร้อยคาบแลชุบเปรียงประโคจามรีอันใสงามนักหนาฯ


    เมื่อตัวพระญามหาจักรพรรดิราชนั้นเย็นแลหนาวไส้ตัวนางแก้วนั้นอุ่น เมื่อใดมหาจักรพรรดิราชนั้นร้อนไส้ตัวนางแก้วนั้นเย็น ตัวนางแก้วนั้นหอมดังแก่นจันทน์กฤษณษอันบดแล้วแลปรุงลงด้วยคันธรสอันหอมทั้ง ๔ ประการแลห้องฟุ้งอยู่นักหนาทุกเมื่อแลฯ เมื่อแลนางแก้วเจรจาก็ดี หัวร่อก็ดี กลิ่นปากนางแก้ว นั้นหอมฟุ้งออกดังกลิ่นดอกบัวอันชื่อว่า นิลุบบล แลจงกลนี เมื่อบานอยู่นั้น อันว่ากลิ่นปากแห่งนางแก้วนี้หอมอยู่ดังนั้นทุกเมื่อแลฯ เมื่อใดแลพระญามาหามาสู่นางแก้ว ๆ นั้นมิได้นั่งอยู่ในที่อยู่ตนนั้นย่อมลุกไปต้อนรับพระญาแล้ว ๆ เอาหมอนทองมานั่งเฝ้าอยู่พัดพระญานั้น ๆ แล้ว ๆ นางจึงนวดฟั้นคั้นบาทาแลกรของพระญานั้นแล้วจึงนั่งอยู่เบื้องต่ำ นางแก้วนั้นบห่อน จะขึ้นนอน เหนือแท่นแก้ว ก่อนพระญามหาจักรพรรดิราชนั้นเลยสักคาบ นางแก้วนั้นบห่อนลงจากแท่นแก้วนั้นภายหลังพระญาเลยสักคาบฯ แม้นว่านางแก้วนั้นจะกระทำการงานอันใด ๆ ก็ดีย่อมไหว้ทูลแต่พระญานั้นให้ธรู้ก่อน เมื่อใดพระญาสั่งให้นางทำจึงทำ นางนั้นบห่อนละเมิดท่านผู้ป็นผัวเลยสักคาบ กระทำอันใด ๆ ก็ดีย่อมชอบใจผัวทุกประการ ว่ากล่าวอันใด ๆ ก็ดีย่อมพึงพอใจผัวทุกประการแล เท่าแต่พระญาจักรพรรดิราชผู้เดียว แลหากได้เป็นผัวนางไส้ส่วนอันว่าชายผู้อื่นไส้จะได้เป็นผัวนางแก้วนั้นหาบมิได้ฯ อันว่านางแก้วนั้นจักได้เอาใจออกหากพระญานั้นน้อยหนึ่งก็บมีแก่นางเลยฯ อิตถีรัตนวัณณนานิฏฐิตาฯ กล่าวเถิงนางแก้วแล้วเท่านี้ โดยสังเขปแลฯ



    กาลนั้นเมื่อฝูงโหราพฤฒาจารย์ทั้งหลาย จึงกราบทูลแต่พระญามหาจักรพรรดิราชว่าดังนี้ อันว่าพระองค์เจ้าได้เป็นมหาจักรพรรดิราชดังนี้ อันว่เครื่องสำหรับบุญแห่งพระองค์ไส้ไปบมิถ้วนสิ่งก่อนเลยฯ จึงพระญามหาจักรพรรดิราชัน้น ธก็ให้ทานรักษาศีลแลรำพึงเถิงขุนคลังผู้จะมาเป็นขุนคลังแห่งพระองค์นั้นฯ


    เมื่อนั้นยังมีมหาเศรษฐีผู้หนึ่งอันเป็นวงศ์แห่งมหาเศรษฐีผู้ประเสริฐแต่โบราณฯ แลขุนคลังผู้นั้นอาจสามารถจะทำการย์ให้พอใจพระญามหาจักรพรรดิราชทุกประการ ผิว่าพระญาจักรพรรดิราช คำนึงทรัพย์สิ่งสินอันใดแลจะใคร่เอาไส้ แลขุนคลังผู้นั้นอาจสามารถนำมาถวายแด่พระญานั้นได้ทุกประการแลฯ ขุนคลังผู้นั้นจึงเอามาตั้งให้เป็นขุนพระคลังแก้วสำหรับพระญามหาจักรพรรดิราชนั้นฯ ด้วยอำนาจบุญธรรมของพระองค์นั้นแล จึงขุนพระคลังผู้นั้น ดุจมีตาทิพย์หูทิพย์ ดังเทพยดาในสวรรค์นั้นแลฯ ส่วนอันว่าแก้วแหวนเงินทองทั้งหลาย อันมีในแผ่นดินนี้ก็ดี


    แม้นว่าอยู่ในสใต้แผ่นดินแลลึกลงไปได้ ๑๖ โยชน์ก็ดี แม้นว่าอยู่ในท้องมหาสมุทรก็ดี แลขุนพระคลังนั้นอาจสามารถแลเห็นทั่วทุกแห่งแลฯ ผิว่าเมื่อใดขุนพระคลังนั้นคำนึงจะใคร่เอาเงินทองแก้วแหวนสิ่งใดก็ดี อันว่าเงินทองแก้วแหวนนั้น หากขึ้นมาสู่ขุนพระคลังนั้นเองแลได้โดยใจขุนพระคลัง ผิว่าขุนพระคลังนั้นจะใคร่ให้เป็นเครื่องสนิมพิมพาภรณ์สิ่งใด ๆ ก็ดี เงินทองแก้วแหวนฝูงนั้นหากเป็นเองโดยใจ ขุนพระคลังนั้นอันคำนึงทุกดประการ แลขุนพระคลังนั้นขึ้นไปทูลแด่พระญาจักรพรรดิราชว่า


    ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเจ้าเป็นนายแลพระองค์เจ้าเสวยสมบัติจงเป็นสุขเย็นใจอย่ามีกังวลในพระทัยของพระองค์เจ้าสักอันเลยฯ ถ้าว่าพระองค์เจ้าจะปรารถาเอาทรัพย์สมบัติเท่าใด ก็ดี เชิญพระองค์เจ้าเรียกเอาแก่ข้าผู้เดียว แลข้าพระพุทธเจ้าผู้เดียวหากจะประกอบมาถวายแด่พระองค์จงทุกประการแลฯ ผิว่าพระองค์เจ้ามีพระทัยจะใคร่ให้รางวัลแก่ข้าไทยของพระองค์ก็ดี ข้าพระพุทธเาจะประกอบมาถวายแด่พระองค์เจ้า ๆ จงประสาทให้ตามพระหฤทัยพระองค์เจ้า ๆ อย่าได้คิดสงสัยเลยฯ ผิพระองค์เจ้าจะใคร่ให้มากน้อยเท่าใด ๆ ก็ดีโดยพระทัยพระองค์เจ้าอย่าคิดเลย เมื่อนั้นขุนพระคลังแก้วแลดูรำพึงนึกในใจว่าจะใคร่เอาสิ่งใด สิ่งนั้นก็พูนเกิดขึ้นมา แลเทียรย่อมเต็มด้วยแก้ว ๗ ประการแลมาเดียรดาษอยู่เต็มทั้งท้องพระคลังหลวงแลฯ จึงขุนพระคลังแก้วนั้นก็กราบทูลแด่พระญามหาจักรพรรดิราชดังนี้ฯ บพิตรข้าแต่พระองค์เจ้าแต่นี้ไปเบื้องหน้าอันว่า


    แก้วสัตตพิธรัตนอันอุดมดังนี้ ข้าพระพุทธเจ้าจะประกอบถวายแด่พระองค์เจ้าทุกเมื่อแลฯ อังเชิญพระองค์เจ้าเร่งให้ทาน แก่ฝูงไพร่ฟ้าข้าไทยทั้งหลายอย่าได้คิดเสียดายเลย พระองค์เร่งให้ทานตามพระอัชฌาสัยพระองค์เจ้าบัดนี้เถิดฯ


    เมื่อนั้นพระญามหาจักรพรรดิราชพระองค์ใคร่จะลองเดชตะบะแลศักดานุภาพของขุนพระคลังแก้วอันนั้นไส้ พระองค์ให้แต่งเรือทั้งหลายอันประดับนิ์ด้วยแก้วทั้ง ๗ ประการแล ให้มีปราสาทเงินแลปราสาททองอันประดับนิ์ด้วยแก้ว ๗ ประการทั้งหลาย พระญามหาจักรพรรดิราชจึงเสด็จขึ้นเรือแล้วเสด็จนั่งอยู่ในปราสาทอันมีที่ในเรนือนั้น พระองค์จึงเสด็จออกไปเถิงกลางพระมหาสมุทรนั้น แลมีสำเภาทั้งหลายอันตามเสด็จไปเป็นบริวารวันนั้นได้ ๘๓,๐๐๐ ลำ แลมีเรือเนเรือทองแลสำเภาเภตรา เล่นด้วยนาคราชทั้งหลายในกลางน้ำนั้นฯ กาลวันนั้นพระญามหาจักรพรรดิราช ธจึงตรัสสั่งแก่ขุนพระคลังแก้วนั้นว่าฉันนี้ ดูกรขุนพระคลังแก้วบัดนี้กูมีพระทัยจะใคร่เอาแก้ว ๗ ประการ ขงขุนพระคลังแก้วเร่งหามาให้แก่กูทันใจกูบัดในท่ามกลางพระสมุทรเร็วบัดนี้


    เมื่อนั้นจึงขุนพระคลังแก้วก็รับพระโองการว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะประกอบถวายแด่พระองค์ดุจมีพระโองการบัดนี้ ขุนพระคลังแก้วนั้นจึงเล็งลงไปในน้ำพระมหาสมุทรนั้น บัดเดี๋ยวก็พูนเกิดเป็นตุ่มแลไหทั้งหลายนั้นขึ้นมาย่อมเต็มด้วยแก้วแลแหวนเงินทองทั้งหลาผุดขึ้นมาเต็มทั้งแม่น้ำมหาสมุทรนั้นฯ จึงขุนพระคลังก้วนั้นก็เอามาถวายแด่พระญามหาจักรพรรดิราชเจ้า ๆ นั้น ก็ประสาทพรให้เป็นรางวัลแก่ฝูงไพร่ฟ้าข้าไทยทั้งหลายวันนั้นบมิรู้สิ้นเลย อันว่าขุนพระคลังแก้วแห่งพระญามหาจักรพรรดิราชนี้มีเดชะตะบะศักดานุภาพดังกล่าวมานี้แลฯ คหปติรัตนวัณณนานิฏฐิตา ฯ


    อันว่าพระญาผู้เป็นมหาจักรพรรดิราชนั้นย่อมมีลูกชายพันพระองค์ แลมีรูปโฉมอันงามแลย่อมรู้หลักนักปราชญืแกล้วหาญทุกคน ส่วนลูกชายผู้เป็นพี่เอื้อยทั้งหลายนั้นแลรู้หลักยิ่งกว่าทั้งหลาย แลประเสริฐกว่ายิ่งกว่าน้องชายทั้งหลายนั้นแล ด้วยบุญของพระญามหาจักรพรรดิราชนั้น อันธได้ทำมาแต่ก่อนไส้ แลลูกแก้วของพระองค์นั้นอาจสามารถรู้เนื้อรู้ใจคนทั้งหลายคือว่าผู้นี้ดีก็รู้ผู้นี้ร้ายก็รู้


    แม้นว่าอยู่ไกลได้ ๑๒ โยชน์ก็ดีอาจสามารถล่วงรู้เนื้อรู้ใจคนทั้งหลายนั้นสิ้นแล อันว่าลูกแก้วแห่งพระองค์นั้นธ จึงกราบทู่ลแพระญามหาจักรพรรดิราชผู้บิดาว่าดังนี้ว่า ข้าแต่สมเด็จพระราชบิดาเจ้าแต่นี้ไปเบื้องหน้า อันว่าความบ้านความเมือง แลราชกิจอันใด ๆ ก็ดี ขออย่าได้เคืองพระราชหฤทัยพระองค์เจ้าเลย จงพระองค์เจ้าอยู่เสวยสุขทุกประการเถิด ส่วนอันว่าความบ้าน ความเมืองกิจการใด ๆ ก็ดี ไว้หนักงานตูข้าทั้ง ๒ หากรู้ว่ารู้แต่งให้จบชอบธรรมทุกอันแลฯ


    แต่วันนั้นไปพระญามหาจักรพรรดิราช ธหาความกังวลความบ้านความเมืองแลกิจการใด ๆ ก็ดีธมิได้อาวรณ์สักสิ่งเลย พระญามหาจักรพรรดิราชนั้นธมีลูกแก้วอาจต่างเนื้อต่างใดธดังนั้นถ้วน ๗ ประการ โดยสำหรับเครื่องอันเป็นพระญามหาจักรพรรดิราชแลฯ พระญาจักรพรรดิราชนั้น ธ เป็นเจ้าเป็นนายแก่คนทั้งหลายอันมีใจแผ่นดินใหญ่ ๔ แผ่น แลแผ่นดิน้อยทั้งหลาย ๒๐๐๐ อันมีในขอบจักรวาลนี้แลฯ แลท่านนั้นย่อมอยู่ในทศพิธราชธรรมทุกเมื่อแล คนทั้งหลายอันตั้งอยู่ในโอวาทานุสาสน์คำสั่งสอนของพระองค์ไส้


    ครั้นว่าตายวายชีพไปก็ได้เกิดในเมืองฟ้าแลฯ ที่ผู้ใดอันใจบาปร้ายนั้น พระญาจักรพรรดิราชเจ้านั้นธบห่อนเจรจาด้วยเลย ตราบใดพระญากรพรรดิราชยังอยู่ไส้ อันว่ากงจักรแก้วนั้นก็ยังอยู่ด้วยตราบนั้นบมิได้เคลื่อนคลาเลย เมื่อใดพระญาจักรพรรดิราชนั้น ธสวรรคตแล้วไส้กงจักรแก้วนั้นจึงคลาดจากที่อยู่ แลกงจักรแก้วนั้นก็คือลงไปในท้องมหาสมุทรโพ้นดังเก่าเล่าแลฯ ด้วยประการทั้งหลาย ๗ ดังนี้ อนึ่งคือว่ายัง ๗ วันพระญามหาจักรพรรดิราชจะทิวงคต อนึ่งคือว่ายังอีก ๗ วันพระญาจะออกทรงผนวช อนึ่งคือว่าพระพุทธเจ้าจะอุบัติ ถ้าแลเมื่อใดแลมีดังนี้ไส้แลกงจักรแก้วนั้นจึงจากพระญาจักรพรรดิราชแล คือไปอยู่ในท้องพระมหาสมุทรดังเก่าเล่าแลฯ


    เมื่อใดแลเกิดพระญาจักรพรรดิราชเล่าไส้ จึงกงจักรแก้วนั้นคืนมาหาพระญาจักรพรรดิราชองนั้น ดังกล่าวมาแต่ก่อนโพ้นนั้นแลฯ เมื่อใดกงจักรแก้วอันเป็นนายกแก่ฝูงแก้วทั้งหลายนั้นไปจากพระญาจักรพรรดิราชแล้วไส้ อันว่าช้างแก้วอันประเสริฐนั้น คือว่าอุโบสถตระกูลก็ดี แลช้างฉัททันตตระกูลก็ดี แลช้างแก้วแลม้าแก้วตระกูลอันใด ช้างแก้วนั้นก็คืนไปอยู่ที่ตระกูลนั้นดังเก่าเล่าแลฯ ทั้งม้าแก้วนั้นเล่าก็ดี ก็คืนไปอยู่ในพลาหกตระกูลดังเก่าเล่าแลฯ ทั้งแก้วมณีรัตนแลบริวารแก้วทั้งหลายได้ ๘๔๐๐๐ จำพวกนั้นก็ดี ก็คืนไปอยู่ในเขาวิบุลบรรพตนั้นดังเก่าเล่าแลฯ แลนางแก้วก็ดี ผิแลมาแต่อุตรกุรุทวีปไส้ก็คืนไปยังที่อยู่คืออุตรกุรุทวีปโพ้นดังเก่า ผิแลว่านางแก้วนั้นมาเกิดในแผ่นดินที่เราอยู่นี้ก็ดี อันว่ารัศมีที่ออกจากตัวนางนั้นก็หายไปสิ้นแลฯ อยู่เป็นปรกติดังผู้หญิงเราทั้งหลายนี้ฯ อันว่ขุนพระคลังแก้วนั้น แลตานั้นก็มิได้เห็นไปไกลดังก่อนเลย แม้นว่าคำนึงจะใคร่เอาอันใด ๆ ก็โก็มิลุดังใจดุจก่อนนั้นเลยแลฯ


    ทั้งลูกแก้วพระญามหาจักรพรรดิราชนั้นก็ดี ก็มิได้รู้หลักเลยแลคำนึงรู้ทุกสิ่งนั้นก็ดี ก็มิได้คำนึงรู้ดังเก่าเลยแลฯ แลว่าลาคาบลูกแก้วพระญามหาจักรพรรดิราชนั้นแลมีบุญหากได้กระทำมาแต่ก่อนมากนักหนาเล่า แลได้เป็นพระญาจักรพรรดิราชแทนพ่อนั้นก็มี ถ้าแลว่าเป็นแทนพ่อไส้เทียรย่อมรู้บุญรู้ธรรมอันประเสริฐทุกประการดังพ่อนั้นแลฯ เมื่อนั้นจึงพระญาจักรพรรดิราชนั้นธก็ทิพพชงคคตพิธรชะโลมด้วยกระแจะจวงจันทน์ แล้วจึงเอาผ้าขาวอันเนื้อละเอียดนั้นมาตราสังศพพระญาจักรพรรดิราชนั้น แล้วจึงเอาสำลีอันดีดด้วยสพัดได้แลร้อยคาบมาห่อชั้น ๑ แล้วเอาผ้าชาวอันละเอียดมาห่อชั้น ๑ เล่า


    แล้วเอาสำลีอันละเอียดมาห่อเล่า ดังนั้นนอกผ้าตราสังทั้งหลายเป็นพันชั้นคือว่าห่อผ้า ๕๐๐ ชั้น แลสำลีอันอ่อนนั้นก็ได้ ๕๐๐ ชั้น จึงรดด้วยน้ำหอมอันอบได้แลร้อยคาบแล้วเอาใส่ในโกฐทองอันประดับนิ์คำถมอ แลรจนาด้วยวรรณลวดลายทั้งหลายอันละเอียดนักหนา แล้วจึงยกศพไปสงสักการด้วยแก่นจันทน์ กฤษณาทั้งหลายแล้วบูชาด้วยข้าวตอกดอกไม้ทั้งหลาย


    ครั้นว่าสงสักการเสร็จแล้วคนทั้งหลาย จึงเก็บเอาธาตุพระญามหาจักรพรรดิราชนั้นไปบรรจุ แลก่อพระเจดีย์แทบทางคบแห่งกลางเมือง นั้นแต่งให้คีนทั้งหลายไปไหว้นบบูชาฯ ผู้ใดแลได้ไหว้นบคำรพบูชาไส้ ผู้นั้นครั้นตายไปได้เกิดในเมืองฟ้า ดุจดังได้ไหว้พระปัจเจกโพธิเจ้าพระอรหันต์เจ้าไส้อาจให้สมบัติ ๓ ประการ คือมนุษยสมัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติแลฯ ถ้าผู้ใดได้ไหว้บูชาพดระญามหาจักรพรรดิราชไส้ ก็จะให้ได้สมบัติ ๒ ประการ คือมนุษยสมบัติแลสวรรค์สมบัติบมิอาจให้นิพพานสมบัติได้


    เพราะเหตุว่าพระญามหาจักรพรรดิราชนั้นเป็นปุถุชนไส้ฯ แม้นเถิงว่าพระญามหาจักรพรรดิราชองค์ผู้มีบุญแล้วสิปราบได้ทั้ง ๔ แผ่นดินดังนี้ไส้ ยังว่ารู้ถิงแก่ทิวงคตแล้วแลว่ยังมิตั้งอยู่มั่นคงได้ สังสารวัฏนี้เมื่อใดได้เถิงแก่นฤพานแล้วไส้จึงพ้นทุกข์ทั้งหลายในสงสารนี้แลฯ พรรณาเถิงพระยามหาจักรพรรดิราชแล้วแต่เท่านี้แลฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กุมภาพันธ์ 2009
  15. สัตบุรุษ

    สัตบุรุษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    733
    ค่าพลัง:
    +840
    อันว่าพระญาจักรพรรดิราชนี้ยังมีจำพวก ๑ เล่าไส้ ยังมีพระญาองค์หนึ่งทรงพระนามชื่อพระญาศรีธรรมาโสกราชธเสวยราชสมบัติในเมืองอันหนึ่งสมญาชื่อว่าปาตลีบุตรมหานคร เมื่อพระญานั้นเสวยราชพระพุทธเจ้าแห่งเราเสด็จเข้าสู่นิพพานแล้วได้ ๒๑๙ พระพรรษา พระญานั้นมีสนมได้ ๑๖๐๐๐ นางผู้เป็นอรรคมเหษีนั้นชื่อว่า นางอสันธมิตตา


    ครั้นว่าพระญานั้นธได้เสวยราชสมบัติไส้ ฝูงท้าวพระญาทั้งหลายในชมพูทวีปมาไหว้มานบทุกพระองค์ ด้วยบุญพระญามหากษัตริย์นั้นเองฯ มิใช่แต่ว่าท้าวพระญาทั้งหลายหากมาไหว้มานบพระญาองค์นั้นเมื่อไรฯ ทั้งหมู่เทพยดาทั้งหลายแลหมู่สัตว์ทั้งหลายอันอยู่แดนแผ่นดินนี้ลงไปภายใต้แผ่นนี้ลึกลงไปได้โยชน์ ๑ อันอยู่แผ่นนี้ขึ้นไปเบื้องบนได้โยชน์ ๑ เทียรย่อมมาไหว้มาเฝ้ามาแหนบำเรอเชอภักดีพระญาศรีธรรมาโสกราชทุกทิพาราตรีกาลบมิได้ ขาดด้วยบุญพระญาองค์นั้นแลฯ


    หมู่เทพยดาอันอยู่ในหิมพานต์เทียรย่อมเอาน้ำในอโนตัตสระอันหอมอันใสผ่องดังแก้วผลึกรัตนะเย็นกินหวาานอันมีรสนักหนาเอามาถวายเสมอแล วันละ ๖ กลออมทุกวาร ถวายแด่พระบาทพระเจ้าศรีธรรมาโสกราชนั้นทุกวันฯ พระบาทพระเจ้าศรีธรรมาโสกราชให้เอาน้ำ ๘ กลออมไปถวายแก่พระสงฆ์น้ำ ๒ กลออมไปถวายแก่พระสงฆ์ ๑๖ พระองค์ อันทรงพระปิฎกไตรย น้ำ ๒ กลออมให้แก่นางอสันธมิตตาผู้เป็นอรรคมเหษีฯ แลน้ำ ๒ กลออมไส้ให้แก่นางพระสนมทั้งหลาย ๑๖๐๐๐ ฯ น้ำ ๒ กลออมไส้ไว้เป็นสำหนรับน้ำสรงแลน้ำเสวย พระองค์แต่งดังนั้นทุกวารบมิได้ขาดฯ เทพยดาลางจำพวกเอาเชือกเขาอันชื่อนาคลดาวันนั้นเป็นอันอ่อนแลหอมมาถวายให้เป็นไม้สีพระทนต์ทุกวันฯ แลไม้สีพระทนต์นั้นพระองค์ให้ไปถวายแก่พระสงฆ์แลอัน ๖๐๐๐๐ พระองค์ทุกวาร แล้วธจึงแจกให้แก่พระสนมทั้งหลาย ๑๖๐๐๐ ทุกวาร เทพยดาลางจำพวกเอาผลมะขามป้อมอันมีรสหวานและหอมนักมีพรรณดังทองแลเสวยเป็นยาทิพย์นั้น เอามาแต่ป่าหิมพานต์นั้นมาถวายทุกวารฯ เทพยดาลางจำพวกเอาผลสมออันงามดังทองแลหอมนักแลเสวยเป็นยาทิพย์ แลเอามาแตจ่ป่าหิมพานต์มาถวายแด่พระญาศรีธรราโสกราชทุกวารฯ เทพยดาลางจำพวกเอาผลมะม่วงสุก อันมีพรรณดังทองกินหวานหอมเอามาแต่ป่าหิมพานต์ และเอามาถวายแด่พระญาศรีธรรมาโสกราชทุกวันฯ เทพยดาลางจำลางพวกเอาผ้าทิพย์อันงามนักหนามีพรรณ ๔ สิ่งเอามาแต่ฉัททันตสระ เอามาถวายแด่พระเจ้าศรีธรรมาโสกราชให้นุ่งให้ห่มทุกวารฯ เทพยดาลางจำพวกเอาผ้าเช็ดหน้าทิพย์อันงามมีพรรณ ๕ สิ่ง สีดำสีแดงสีขาวสีเหลืองสีเขียวมาแต่ฉัททันตสระ นำมาถวายพระญาศรีธรรมาโสกราชแต่งให้เช็หน้าแลเนื้อตัวพระองค์ทุกวันฯ


    อันว่าผ้าทิพย์ฝูงนั้นโสด ถ้าแลว่าแปดเหื่อแลไคแลเก่าหม่นหมองไปไส้บมิพักซักฝาดด้วยน้ำเลย ก่อไฟขึ้นให้ลุกเป็นเปลวแล้วเอาผ้าฝูงนั้นทอดเข้าในเปลวไฟ ๆ บมิไหม้ผ้านั้นเลย เหื่อแลไคซึ่งบันดาติดแปดผ้านั้นหมดสิ้นแล แลดูผ้านั้นใหม่ออกหมดใสงามดีมีพรรณดังผ้าใหม่แลฯ เทพยดาลางจำพวกเอาเกือกทองของทิพย์ อันดีมีพรรณอันงามมาถวายแด่พระญาศรีธรรมาโสกราช แต่งรองฉลองพระบาทท่านแลฯ เทพยดาลางจำพวกเอากาทองทิพย์อันดี มีพรรณคันธอันหอมนักหนามาถวายแด่พระญาศรีธรรมาโสกราช แต่งสรงพระเกษุทุกวันน เทพยดาลงจำพวกเอาอ้อยอันหวานแลหอมแลมีโอชารสอันอุดม แลมีลำเท่าลำหมากเอามาแต่หิมวันต์เป็นกระยาเสวยทุกวันฯ เทพยดาลางจำพวกเอาผลมะพร้าวอันดุดมมาถวายฯ เทพยดาลางจำพวกเอาลูกตาลอันอุดมมาถวายฯ เทพยดาลางจำพวกเอาผลลูกลานมาถวายฯ เทพยดาลางจำพวกเอาผลไม้หว้าอันอุดมมาถวายฯ เทพยดาลางขจำพวกเอาผลไม้ไทรอันอุดมมาทวายฯ เทพยดาลางจำพวกเอาผลกระสังแลหมากหาดอันอุดมมาถวายฯ เทพยดาลางจำพวกเอาชนมอันอุดมมาถวานาฯ เทพยดาลางจำพวกเอาลูกแฟงแตงเต้าอันอุดมมาถวายฯ นกเปล้าแลนกแขกเต้านกคลานกจริง คาบเอารวมข้าวอันชื่อเสญชติสาลิ


    อันมีในที่ริมฉัททันตสระนั้นมาถวายทุกวันเสมอวันละ ๙๐๐๐ เกวียน แลข้าวนั้นโสดบมิพักตำมิพักฝัดบมิพักร่อนเลย แลฝูงหนูป่าทั้งหายหากมาเกล็ดให้เป็นข้าวสาร แลข้าวสารนั้นโสดแม้นเมล็ดหนึ่งก็ดีบมิได้หักเลย ข้าวนั้นเป็นข้าวต้นเป็นกระยาเสวยแด่สมเด็จพระบาทท้าวศรีธรรมาโสกราชทุกเพราทุกงาน ทั้งผอกทั้งแลงทุกวันทุกคืนบมิขาดสักเามื่อเลยฯ ฝูงผึ้งฝูงบินทั้งหลายหากมาทำรวงแล้วแลไว้น้ำผึ้งในโอ่งในออมเป็นกระยาเสวยทุกเมื่อฯ ฝูงชาวครัวทั้งหลายมิพักยากใจด้วยฟืนด้วยไม้สักอัน แลฝูงหมีทั้งหลายอันอยู่ในป่าหากหั่นฟืนมาส่งแก่ชาวครัวทั้งหลายทุกวัน


    ด้วยบุญแห่งพระญาศรีธรรมโสกราชนั้นแลฯ อันว่านกทั้งหลายอันมีในป่ามีอาทิ คือนกกรวิก แลนกฝูง แลนกกระเรียน แลนกดุเหว่าทั้งหลาย เทียรย่อมชวนกันมาห้อนรำตีปีกฉีกหาง แลร้องด้วยสัพพสำเนียงอันไพเราะมาถวายแด่พระญาศรีธรรตมาโสกราชทุกวันบมิได้ขาดแลฯ นกฝูงนั้นเทียรย่อมูงนกอันอุดมแลมาแต่ป่าพระหิมพานต์ต์โพ้นไส้ เสียงนกอันชื่อว่านกกรวิกนั้นไส้แลมีเสียงอันไพเราะมาถูกเนื้อพึงใจ แก่ฝูงสัตว์ทั้งหลายยิ่งนักหนา แม้นว่าเสือจะเอาเนื้อไปกินได้เลยแล แม้นว่าเด็กอันท่านไล่ตีแลแล่นหนีครั้นว่าได้ยินเสียงนกนั้นร้องก็ บมิรู้สึกที่จักแล่นหนีได้เลย แลว่านกทั้งหลายอันที่บินไปบนอากาศครั้นว่าได้ยินเสียงนกกรวิกก็บมิรู้สึกที่จะบินไป ปลาในน้ำก็ดีครั้นว่าได้ยินเสียงนกนั้นร้องก็บมิรู้สึกที่ว่าจะายไปได้เลย ว่าเสียงแห่งนกกรวิกนั้นมันเพราะนักหนาแลเป็นฉงนอยู่แลฯ


    แต่ฝูงสัตว์อยู่เหนือแผ่นดินแลกลางอากาศ ย่อมมากระทำบำเรอมาแต่พระบาทพระเจ้าศรีธรรมโสกราชดังกล่าวมานี้แลฯ ทั้งฝูงเทพยดาอันอยู่ในน้ำพระมหาสมุทรก็ย่อมเอาแก้วแหวนเงินทองทั้งหลายมาถวาย แลฝูงนาคราชทั้งหลาย เอาผ้าอันงามดังดอกชาติบุตร อันบริสุทธิ์บมิได้ระคนด้วยด้ายไทยแล้วด้วยไหมเทศวิเศษดังผ้าทิพย์ เอามาถวายให้ห่มแลแต่งรองพระองค์แลพระบาทพระเจ้าศรีธรรมาโสกราช นาคราชลางจำพวกเอากระแจะจวงจันทน์คนธรส อันประเสริฐอันดีมาถวายทุกเมื่อพระบาท พระเจ้าศรีธรรมาโสกราชนี้ธมีบุญสมภารมากนักหนา ดังกล่าวมานี้แลฯ แลพระญาศรีธรรมาโสกราชนั้นธได้ฟังพระธรรมเทศนา แต่เจ้าไทยพระองค์ ๑ ชื่อว่าเจ้านิเถรนั้นไส้ พระญานั้นธมีใจใสศรัทธาในศาสนาพระพุทธเจ้านักหนา ใจธอ่อนน้อมพระศรัรัตนะไตตรยนั้นนักหนาธแต่งฉันจังหันหกหมื่นสำรับอันพระญาพิมพิศาลราช ผู้เป็นพระบิดาพระญาศรีธรรมาโสกราชแต่งให้บริพาชกทั้งหลาย ๖ หมื่นกินแต่ก่อนมาทุกวัน พระญาาศรีธรรมาโสกราชให้เอามาจากบริพาชกทั้งหลายนั้น ก็เอามาถวายแก่พระสงฆ์ทั้งหลาย ๖ หมื่นพระองค์ทุกวารแลฯ พระญานั้นธให้ทำมหาวิหารในอุทยานนั้น สร้างเป็นอารามชื่ออสการาม ถวายเป็นสำนักนิ์แก่พระสงฆ์ทั้งหลายแลฯ แต่นั้นไปเมื่อหน้าของสรรพของควายอันเขาทั้งหลายเอามาถวายดี ฝูงเทพยดาทั้งหลายเอามาถวายแต่ป่าหิมวันต์ก็ดี มนุษย์ทั้งหลายเอามาก็ดี สิงสัตว์ทั้งหลายเอามาถวายก็ดี พระญานั้นย่อมเอาไปบูชาแก่พระศรีรัตนไตรยก่อน แล้วจึงให้แก่นางอสันธมิตตาแล้วจึงแจกแก่พระสนม ๑๖๐๐๐ แลจึงแจกแก่เทวราชแล้วจึงแจกแก่ลูกเจ้าลูกขุนทมุนทนายไพร่ฟ้าข้าไทยทั้งหลายในเมืองนั้นทุกคนฯ กล่าวเถิงเมืองนั้นยังมีกาลวัน ๑ เทพยดาทั้งหลายเอาลำอ้อยอันใหญ่เท่าลำหมากอีกด้วยของฝากหมากไม้ทั้งหลายมากนักหนามาถวายแด่พระญาศรีธรรมาโสกราช แลย่อมเอามาแต่ป่าหิมวันต์ อ้อยฝูงนั้นโสดกินหวานกินอ่อนนักหนา พระองค์ให้บีบอ้อยที้งหลายนั้นอังคาสแก่พระสงฆ์ทั้ง ๖ หมื่นพระองค์ด้วยจังหันวันเมื่อไปฉันในราชมณฑีร


    เมื่อพระสงฆ์ทั้งหลายฝฉันแล้ว พระองค์จึงหลั่งน้ำทักษิโณทกแล้ว แลเมื่อพระสงฆ์ไปสู่อารามไส้ พระองค์ตามลงมาส่งพระสงฆ์ทั้งหลายเถิงพื้นอัฒจันท์พระราชมณฑิรนั้นแล ธนมัสการพระสงฆ์ถ้วนทุกพระองค์แล้ว ก็สรรเสริญคุณพระศรีรัตนไตรยแล้วจึงพระองค์เสด็จเข้าไปในพระราชมณฑิรแล ในวันนั้นไส้นางอสันธมิตตาราชเทวีนั้น ครั้นรุ่งเช้านางก็ลุกจากที่นอนแล้วก็ชำระพระองค์แล้วนางจึงแต่งจังหันแล้วข้าวยาคู อีกสรรพาหารแลหมากพลูอันคาสแก่พระสงฆ์ทั้งหลาย ๖ หมื่นพระองค์ แล้วแลหลั่งน้ำทักษิโณทกแล้วแลไหว้นบคำรพแลนางก็อำลาพระสงฆ์เข้าไปในพระราชมณฑิรน ด้วยบริวารทั้งหลายฯ นางอสันธมิตตานั้นนั่งอยู่บนแท่นแล้วแลเห็นอ้อยที่เทวดาทั้งหลาย เอามาถวายแก่พระญาศรีธรรมาโสกราชนั้น นางจึงไปปอกอ้อยท่อน ๑ แล้วนางจึงเสวยอ้อนนั้นในท่ามกลางฝูงนางทั้งหลาย ๆ


    เมื่อนั้นพระญาศรีธรรมาโสกราชนั้นลงไปสู่พระสงฆ์ทั้งหลาย แลเดินขึ้นมาแลเสด็จเข้าสู่พระราชมณฑิร พระองค์จึงแลเห็นนางอสันธมิตตานั้นนั่งอยู่เหนือแท่นแลเสวยอ้อยอยู่ ณ ท่ามกลางนางนักสนมทั้งหลาย แลนางนั้นมีรูปโฉมโนมพรรณตระศักดิ์พระองค์มีพระทัยรักยิ่งกว่านางนักสนมทั้งหลาย จึงกล่าวด้วยคำสรรเสริญทรงพระสรวลเล่นตัวคดีว่าฉันนี้ ใครนี้หนอแลมานั่งอยู่แลมากินอ้อยอยู่ในที่ท่ามกลางนางนักสนมทั้งหลาย แลมีหน้าอันงามนักหนา เจ้านั้นจะว่าผู้หญิงหรือว่าระเบงระบำ อันแสร้งแต่งแลงามพ้นแพ่งพรรณ เมื่อดังนั้นพระองค์ยืนอยู่ซึ่งหน้านางนั้น แลกล่าวถ้อยคำหยอกเล่นเท่านี้แลฯ


    ครั้นว่านางอสันธมิตตาได้ยินพระราชสามีตรัสทักดังนั้นนางก็รำพึงว่าดังนี้ อันว่าพระองค์เจ้ากูนี้เสวยราชย์ แลได้เป็นใหญ่แก่ท้าวพระญาทั้งหลายในชมพูทวีป แต่เหนือแผ่นดินนี้ลงไปเบื้องต่ำได้โยชน์ ๑ แลแต่เหนือแผ่นดินนี้ขึ้นไปเบื้องบนได้โยชน์ ๑ เทพยดาแลครุฑราชนาคราชแลยักษ์คนธัพกินนรกินนร แลวิทยาธรแลหมาผีหมาใน แลราชสีห์แลหมีแลเสือเหลืองเสือโคร่ง ก็มาไหว้มากลายท่านนี้อีกทั้งช้างม้าข้าไทย เสนาพลาพลไพร่มากนักหนาแลมีเงินทองของแก้ว ผ้าผ่อนข้าวน้ำเต็มยุ้งเต็มฉางมากหลายนักหนา แลพระองค์เจ้ากูนี้เสวยราชสมบัติในกลางชมพูทวีปนี้ แลมีหมู่ท้าวพระญาทั้งหลายแลสมณพราหมณาจารย์แลคฤหัสถ์ลูกเจ้าเหง้าขุนทั้งหลายเป็นบริวารดัง พระอินทร์อันอยู่ท่ามกลางฝูงเทพยดาทั้งหลาย แลท่านเสด็จมากลายข้าพระบาทเห็นข้าพระบาทนั่งอยู่แลกินอ้อน แลพระองค์กล่าวถ้อยคำ ดุจมิรู้จักข้าพระบาทเลย แลมากล่าวเยอะไยไพข้าพระบาทเล่นว่ากระนี้หนอแลามานั่งกินอ้อย พระองค์เจ้าดูถูกข้าพระบาทแลว่ากล่าวข้าพระบาทดังนี้เพื่อพระองค์ทรงยศศักดิ์ใหญ่อิศรสมบัติอันมโหฬาร แลว่ากล่าวข้านี้หาบุญบมิได้เลย แลข้านี้ย่อมกินเพราะบุญพระองค์ทุกวันมิคลาแลฯ นางอสันธมิตตารำพึงดังนั้น จึงมีใจอันร้ายแก่พระญาศรีธรรมาโสกราชผู้เป็นภัศดาภร


    จึงกราบทูลแด่พระบาทพระเจ้าศรีธรรมาโสกราช ว่าฉันนี้มหาราชข้าแต่บพิตร์อันว่า อ้อยนี้บมิพักปลูกพักฝัง อ้อยนี้ หากเป็นเองอยู่ในป่าหิมวันต์ แลเทพยยดาทั้งเอามาถวายด้วยอำนาจบุญข้าพระบาทไส้ ข้าพระบาทจึงกินอ้อยนี้เพราะบุญข้าพระบาทเองแลฯ เมื่อนั้นพระญาศรีธรรมาโสกราชได้ยินคำนางอสันธมิตตากล่าวดังนั้น พระองค์จึงรำพึงในพระทัยดังนี้ นางจึงรำพึงทุกวันว่าตัวนางนี้มีบุญแลว่ากูนี้พึ่งบุญนางมิอย่าแล พระองค์จึงกล่าวแก่นางอสันธมิตตาพระองค์จึงว่าเป็นคำซ้ำแดกเมาะ ว่าประชดให้แก่นางดังนี้ ว่าดูกรเจ้าอสันธมิตตา ผิว่าเทพยดาทั้งหลายเอาอ้อยมาแต่ป่าหิมวันต์ แลมาถวายแก่เจ้าด้วยบุญเจ้าจริงไส้ อันว่าราชสมบัติทั้งหวงอันมีสนสกลชมพูทวีปทั้งปวงนี้ เจ้าว่าเราได้เพราะบุญเจ้าแลฤๅฯ ส่วนว่าบุญเจ้าไส้เจ้ายอขึ้นไปไว้เถิงอักนิฐมหาพรหม ส่วนว่าบุญของเราไส้เจ้าข่มลงไปไว้เถิงมหาอวินรกฯ ผิแลว่าเจ้ามีบุญกว่าเราจริงไส้ก็ดียิ่งนักหนาแลไว้ เราจะลองบุญของเจ้าดูพรุกนี้ และเมื่อเช้าพระสงฆ์เจ้าทั้งหลายจะมาฉันจังหันในพระราชมณฑิร ๖ หมื่นพระองค์ ครั้นพระสงฆ์ทั้งหลายภฤตากริตย์แล้ว เราจะถวายไตรจีวรแต่พระสงฆ์ทั้งหลาย ๖ หมื่นสำรับ จึงถ้วนพระสงฆ์ทั้ง ๖ หมื่นพระองค์นั้น แลพรุกนี้ เมื่อเช้าเจ้าเร่งหาไตรจีวรไว้ให้เราจงได้ ๖ หมื่นสำรับในวันพรุกนี้เช้าเถิดฯ ถ้าว่าเจ้าหาไว้ให้แก่เราได้ดุจดังคำเราว่าดังนี้ เรางจะได้รู้ว่านางมีบุญจริงแลปรากฎบุญนางทั่วทั้งชมพูทวีปนี้จริงแลฯ ถ้าแลว่านางหาให้แแก่เรามิได้ดุจดังคำเราว่านี้ไส้ เราก็จะรู้บุญนางในวันพรุกนี้แล


    ครั้นว่าพระองค์ตรัสเท่านั้นแล้วก็เสด็จไปจากที่นั้นแลฯ เมื่อนั้นนางอสันธมิตตาครั้นได้ยินพระภัสดาภรกล่าวแก่นางดังนั้น นางก็เร่งเป็นทุกข์นักหนา นางก็คิดในสใจว่าชะรอยพระบาทพระราชนสามีนี้เคียดแก่กูแล้วมิอย่า จึงกล่าวดังนี้แก่กูนางก็คิดเล่าว่าชะรอยพระองค์เจ้าว่ากูเคียดแก่พระองค์ ๆ จึงกล่าวนักหนาดังนี้ ฯ นางอสันธมิตตาก็เป็นทุกข์โศกนักหนา แลหายใจใหญ่แล้วก็นอนกลิ้งไปกลิ้งมาเหนือเขนยทอง แต่ชิพพค่ำเท่าเถิงเที่ยงคืนแลนอนบมิหลับเลยสักน้อย นางอสันธมิตตาเร่งหายใจใหญ่แล้วแลคำนึงในใจดังนี้ แลว่ากูจะได้ไตรจีวรมาแต่ที่ใด แลจะถ้วน ๖ หมื่นสำรับหังหนอฯ


    วันนั้นไส้เดือนเพ็งบูรณ์วันอุโบสถมีแล ในเมื่อราตรีกาลเที่ยงคืนวันจึงพระจตุโลกบาลทั้ง ๔ ตน ๆ หนึ่งชื่อท้าวกุเวรุราช คนหนึ่งชื่อว่าท้าวธตรฐราช คนหนึ่งชื่อว่าท้าววิรูปักขราช คนหนึ่งชื่อว่าท้าววิรุฬหกราช แลพระจตุโลกบาลทั้ง ๔ ตนนี้ไส้เถิงวันดับก็ดี วันเพ็งก็ดี เดือนขึ้น ๘ ค่ำ เดือนแรม ๘ ค่ำก็ดี ย่อมไปเที่ยวดูคนทั้งหลายอันทำบุญแลทำบาปในแผ่นดินนี้ฯ กล่าวเถิงพระจตุโลกบาล

    เมื่อนั้นก้าวกุเวรุราชคือองค์พระไพสพมหาราชนั้นธมีหมู่ยักษ์เสนาบดีเป็นบริวาร แลเสร็จไปในยานทิพย์อันดีแต่อาลกมันทาพิมาน อันมีเบื้องอุตตรทิศ แล้วจึงเสด็จมาล่วงทักษิณทิศไส้ฯ พระไพศพมหาราชธคลายผ่านหน้าบัญชรวรราชมณฑิรนางอสันธมิตตานอนอยู่นั้นจึงพระไพศพมหาราชนั้นธได้ยินเสียงนางอสันธมิตตาทอดใจใหญ่อยู่เพราะว่าอยู่ ยังหาผ้าไตรจีวรมิได้ถ้วน ๖ หมื่นสำรับดังคำท่านผู้เป็นสามีกล่าวนั้นฯ และพระไพศพมหาราชนั้นธจึงลงจากยานทิพย์แล้วแลเข้าไปใกล้นางอสันธมิตตาแล้วว่าดังนี้ว่า ดูกรเจ้าอสันธมิตตาแม่เจ้าอย่าได้เป็นทุกข์เป็นโศกเลย เมื่อกำเนิดแต่กอนโพ้นเจ้าไส้ได้ให้ทานผ้าผึ้งแก่พระปัเตยกโพธิเจ้าพระองค์ ๑ บุญของเจ้านั้นยังมากนักหนาแล


    ด้วยเดชอำนาจบุญเจ้าอันเจ้าได้ถวายผ้าแก่พระปัเตยกโพธิเจ้าแต่ก่อนนั้น ผลบุญนั้นจะได้แก่เจ้าแลจงเจ้ามารับเอาเถิด ครั้นพระไพศพกล่าวแก่นางให้รู้แล้วดังนั้นฯ ึงพระไพศพมหาราช ธจึงเอาประอบแก้วทิพย์อันหนึ่งมา ด้วยฤทธิแห่งธพระไพศพ ๆ จึงเปิดผาประอบแก้วนั้นแล้วธก็ยืนให้แก่นางอสัธมิตตาแลดูผ้าทิพย์ อันมีที่ในประอบแก้วนั้นฯ ครั้นว่าพระไพศพมหาราชส่งประอบแก้วนั้น ให้แก่นางอสันธมิตตาแล้ว ๆ ธก็สั่งสอนนางอสันธมิตาด้วยถ้อยคำว่าดังนี้ ภัท์เท ดูกรเจ้าอสันธมิตตา ผิแลว่าเจ้ามีประโยชน์ด้วยผ้าไส้ เจ้าจึงเผยฝาประอบผ้าทิพย์นี้แล้ว ๆ เจ้าจึงชักเอาผ้าออกจากประอบแก้วนี้เถิด ผ้าทิพย์อยู่ในประอบแก้วนี้แล ผิแลว่าเาจะเอาเท่าใด ๆ ก็ดีบมิรู้สิ้นสุดเลย ผ้าฝูงนี้ไส้แม้นแลว่าจะปรารถนาเอายาวเท่าใดก็ดี ได้ดังใจทุกเมื่อแลฯ พระไพศพมหารากล่าวเท่านั้นแล้วธก็เสด็จขึ้นสู่ยานทิพย์แล้ว ก็เสด็จไปสู่อาลกมันทาพิมานอันเป็นที่อยู่โดยอุดรทิศพระสิเนรุราชบรรพตนั้นแลฯ


    ครั้นว่ารุ่งขึ้นเมื่อเช้าพระเจ้าศรีธรรมาโสกราชธก็อังคาสจังหันแก่พระสงฆ์ทั้ง ๖ หมื่นพระองค์ ครั้นว่าภัตตากิจแล้ว จึงพระเจ้าศรีธรรมาโสกราชธก็บูชาพระสงฆ์เจ้าด้วยธูปแลเทียนข้าวตอกดอกไม้ แลกระแจะจวงจันทน์ทั้งหลายเสร็จแล้ว จึงนางอสันธมิตตาเทวีนางก็เอาข้าวตอกดอกไม้อันเป็นพู่พวงแลผูกปลายห้อยร้อยแลกรองด้วยดีมีพรรณสิ่งต่างกัน อันจะแต่งก้ำปลายห้อยทุกประการไส้เต็มประอบทองอันใหญ่ เอาจ้ำเท่าจันทน์จุรณ อันหอมเทียนธูป นางอสันธมิตตาจึงเอาประอบแก้วอันเต็มด้วยผ้าทิพย์ใส่ในประอบสุวรรณรัตนะอันหนึ่งแล้วจึงให้เอาประอบทองอันอื่น ครอบเหนือนั้นจึงให้สาวใช้ผู้เชื่อใจถือไปด้วย เมื่อนางอสันธมิตตาไปด้วยบริวารทั้งหลาย นางจึงอังคาสจึงหันแก่พระสงฆ์ทั้งหลาย ๆ ฉันแล้ว นางจึงบูชาพระสงฆ์ด้วยข้าวตอกดอกไม้เทียนธูปประทีปชวาลาธูปจ้ำเท่าจันทน์น้ำมันหอมหมากพลูแล้วนางจึงนั่งอยู่ พระเจ้าธรรมาศรีโสกราชแลฯ


    กาลนั้นพระญาจึงแลดูหน้านางอสัธมิตตาแล้ว ธนึงกล่าวดังนี้ ดูกรเจ้าอสันธมิตตาเจ้าจงเอาผ้าให้แก่เรา ๖ หมื่นสำรับเร็วบัดนี้ เราจะให้ทาน ครานี้เราจักพึ่งบุญเจ้าแล เราจะถวายเป็นไตรจีวรแก่พระสงฆ์ทั้งหลายจงถ้วน ๖ หมื่นพระองค์แลฯ เมื่อนั้นนางอสันธมิตตาจึงรับพระองค์การด้วยดีแล้ว ก็กราบทูลดังนี้ข้าแต่บพิตรผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าจักถวายผ้าแก่พระสงฆ์บัดนี้จงถ้วน ๖ หมื่นสำรับ แลพระเจ้าเร่งอวยทานแก่พระสงฆ์ให้ถ้วน ๖ หมื่นพระองค์ โดยพระหฤทัยแห่งพระองค์เจ้าบัดนี้เถิดฯ


    ครั้นว่า นางอสันธมิตตากราบทูลแล้ว บมิช้า นางพระญาจึงเผยประอบสุวรรณรัตนอันใส่ประอบแก้วนั้นออก นางจึงเอาประอบแก้วทิพย์นั้นชขูอยู่ด้วยมือข้างซ้าย นางจึงไขฝาประอบแก้วนั้นขึ้นด้วยมือข้างขวาแล้ว แลจึงเอาฝาประอบขวางไว้จึงเอามือข้างขวาชักเอาผ้าทิพย์ออกจากประอบแก้วนั้นแต่ทีละผืน ๆ นั้นพอได้เป็นไตรจีวรแก่พระสงฆ์ พระองค์นางถวายผืนหนึ่งก่อน พระบาทพระเจ้าศรีธรรมาโสกราชจึงรับเอาผ้าผืนหนึ่งก่อนนั้น ถวายแก่เจ้าไทยผู้เป็นพฤฒาาจารย์อันแก่กว่าพระสงฆ์ทั้งหลายนั้นก่อนแล อันว่าผ้านั้นมีพรรณเป็นอันงามประดุจเกิดมาแต่ต้นกัลปพฤกษ์อันมีในอุตรกุรุทวีปนั้นฯ ดัพนั้นนางจึงชักเอาผ้าออกจากประอบแก้วนั้น เอามาถวายแก่พระสงฆ์เจ้าโดยอันดับไปถ้วนพระสงฆ์ทั้ง ๖ หมื่นพระองค์นั้นแลฯ นางอสันธมิตตาเอาผ้าออกจากประอบแก้วดังนั้นก็ดี แลผ้าในประอบแก้วนั้นบมิรู้สิ้นบมิรู้สุดเลย แลผ้าทิพย์นั้นยังเต็มประอบแก้วนั้นอยู่ดังเก่า บมิได้บกพร่องแต่น้อย ๑ เลยฯ พระบาทพระเจ้าศรีธรรมาโสกราชเห็นเป็นมหัศจรรย์ก็ยินดีนักหนา ธก็นั่งอยู่นมัสการแก่พระสงฆ์ทั้งหลาย ๆ ธจึงให้อนุโมทนาด้วยทานอันพระบาาทพระเจ้าศรีธรรมาโสกราชให้นั้น ถ้วนทุกพระองค์ เสร็จแล้วจึงพระสงฆ์ไปจากพระบาทพระเจ้าศรีธรรมาโสกราช ๆ ก็เสด็จลงไปส่ง พระสงฆ์ทั้งหลายเถิงพระตูราชมณเฑียร ไหว้พระสงฆ์เจ้าแล้ว ๆ พระองค์จึงกลับคืนมาส่พระราชมณเฑียรเป็นปรกติดังนั้นบมิขาดฯ


    ครั้นว่าธคืนมาเถิงในปราสาทแล้ว ๆ ธจึงเจรจาด้วยนางอสันธมิตตาว่าดังนี้ ภัท์เท ดูกรเจ้าอสันธมิตตาผู้เป็นกัลยานีทิพย์แต่วันนี้ไปเมื่อหน้าถิ่นฐานบ้านเมืองปราสาทเรือนหลวงช้างม้าข้าไทย ไพร่พลทั้งผองเงินทองของแก้วแลนางนักสนมทั้งหมื่น ๖ พันร้อยมอบเวณให้แก่เจ้าแลนางจงเป็นเจ้าแก่เขาเถิดฯ อนึ่งแต่วันนี้ไปเมื่อหน้าผิแลว่าเจ้ามีใจจะใคร่ทำการอันใด ๆ กดีไส้จงเจ้ากระทำโดยใจเจ้า พี่จะตามใจเจ้าจงทุกประการแลฯ แต่นั้นไปก็ดีแล อันว่านางอสันธมิตตาผู้เป็นบาทบริจาแห่งพระเจ้าศรีธรรมาโสกราช ๆ ธให้อนุญาตคดังนั้นก็ดี อันว่านางผู้เป็นบาทบริจานั้นนางก็บมิอาจละเมิดท่านผู้ป็นผัวนั้นแต่น้อย ๑ เลย แม้นว่านางจะทำการอันใด ๆ น้อยหนึ่งก็ดี เทียรย่อมร่ำเรียนแต่พระบาทธผู้เป็นผัวแล้ว แลท่านบัญชาด้วยนาง ๆ จึงกระทำไส้แลอย่าว่ากว่านั้นอื่นเลยฯ พระบาทศรีธรรมาโสกราชไป่บมิเสวยข้าว นางอสันธมิตตาบมิอาจเสวยก่อนฯ แม้นว่าพระบาทบมิได้บันธมไส้นางนั้นก็มิอาจบันธมก่อนเลย


    เมื่อใดแลพระองค์ผู้ผัวหลับแล้วนางจึงนอน แลแม้นว่านางนอนภายหลังดังนี้ก็ดีนางบห่อนตื่นภายหลังสักคาบเทียรย่อมตื่นก่อนท่านผู้เป็นผัวทุกเมื่อเมื่อแลฯ พระเจ้าอสันธมิตตาผู้นี้แลมีมารยาทแลปรากฎด้วยรู้ด้วยหลักเฉลียวฉลาด คนรักก็หลายทั้งมิตรสหายก็มากรู้เจรจาปราศรัยแลมิเกียจคร้านอุสาหนักหนามักทำบุญให้มีพิจารณาได้ราชาภิเษกด้วยสมเด็จพระบาทในปราสาท แลได้เกป็นใหญ่แก่พระสนมทั้งหลายหมื่น ๖ พันนั้นแลฯ


    เมื่อนั้นจึงฝูงนางทั้งหลายซึ่งบันดาเป็นเมียรักแก่พระบาทศรีธรรมาโสกราชมาแต่ก่อนนั้น เขาทั้งหลายเห็นว่าพระองค์รักนางอสันธมิตตา ดังนั้นเขาก็ยินร้ายแลมีใจหิงษาเขาจึงเจรจาด้วยกันนี้ อันว่าท่านผู้เป็้นเจ้าเราพระบาท คิดรำพึงในใจท่านว่า นางอสันธมิตตานี้ หากเป็นหญิงคนเดียวไส้ อันจะเป็นผู้หญิงกว่านางอสันธมิตตานี้ชะรอยว่าหาบมิได้เลยฯ เหมือนท่านรำพึงในใจท่านดังนี้บมิอย่าแลท่านจึงบมิดูเราเถิงสองตาเพื่อดังนั้น ฯ อันว่เนื้อความนั้นรู้เถิงพระกรรณสมเด็จพระบาทพระเจ้าศรีธรรมาโสกาชฯ นั้นธก็รำพึงในพระทัยว่าดังนี้ อันว่าฝู่งนางทั้งหลายแลเขาว่ากล่าวดังนี้ เขาฝูงนี้เป็นคนพาบนักหนารู้แต่ติเตียนนินทาผู้มีบุญ อันว่าผู้หญิงมีหญิงมีบุญมักใหญ่ ใฝ่อันใดมาหาอันใดมาได้ดังเจ้าอสันธมิตตานี้เขาไป่มิรู้จักว่าผู้มีบุญ ผิดังนั้นมากูจะสำแดงให้เขารู้จักเจ้าอสันธมิตตาว่าผู้มีบุญ เพราะว่าเขานี้ย่อมคนใจพาลแลเขาบมิรู้กฯ กาลวันหนึ่งพระองค์จึบงให้หาขนมต้มได้ ๑๖,๐๐๐ ลูก พระองค์จึงถอดแหวนพระธรรมรงค์ดวง ๑ ออกจากพระกรแห่งพระองค์ ๆ จึงใส่เข้าในขนมนั้นแล้วฯ พระองค์จึงเอาขนาอันที่ใส่แหวนนั้นวางไว้เหนือขนมทั้งหลายนั้น แล้วพระองค์จึงให้เรียกนางทั้ง ๑๖,๐๐๐ มาชุนุกันแล้ว พระองค์จึงตรัสว่าฉันนี้


    ดูกรนางทั้งหลายขนมที่ในตระไลทองนั้นลูกใดลูกหนึ่งที่พึงใจสูไส้สูเลือกเอาแลคนละดวง แลถือขนมนั้นอยู่ในมือสู เมื่อใดสูทั้งหลายเอาขนมนั้นแล้วถ้วนทั้ง ๑๖,๐๐๐ แลยังขนมแต่ลูกเดียวไส้กูจึงจะให้แก่เจ้าอสันธมิตตาเอาต่อภายหลังสู่ทั้งหลาย เพราะว่าขนมทั้งหลายทั้ง ๑๖,๐๐๐ แลกับดวงหนึ่งนี้ไส้ กูถอดพระธำมรงค์จากมือกู ๆ เอาใส่ไว้ในขนมนั้นแลกูอธิฐานวว่านางผู้ใดมีบุญไส้จงได้ขนมอันกูใส่แหวนนี้เถิดฯ แลสูทั้งหลายจงอธิฐานในใจสูแล้ว ๆ เลือกเอาคนละดวงโดยชอบใจแห่งสู่เถิดฯ เมื่อนั้นนางทั้งหลาย ๑๖,๐๐๐ นั้นเลือกเอาขนมนี้นตระไลทองละคนละดวงโดยพึงใจเขาสิ้นทั้ง ๑๖,๐๐๐ ดวงแล้ว แลมิอาจเอาขนมดวงที่ใส่แหวนนั้นได้เลย ส่วนว่าขนมดวงเดียวอันที่ใส่แหวนนั้นยังคงอยู่ในตระไลทองนั้น พระองค์จึงให้นางอสันธมิตตาไปเอา นางอสันธมิตตาจึงค่อยลุกไปแลมีดำเนินเป็นอันงาม แลหยิบเอาขนมดวงนั้นมาถืออยู่ในมือนาง


    พระญาธจึงตรัสแก่นางทั้งหลายว่าสูทั้งหลายนี้มีขนมถืออยู่ในมือสูนั้นสูบิออกดู ผิว่าผู้ใดแลได้แหวนพระธำมรงค์กูใส่เอามาให้แก่กู ๆ จึงจักรู้ว่าผู้นั้นมีบุญจริงแลฯ เมื่อนั้นอันว่านางทั้งหลาย ๑๖,๐๐๐ นั้นต่างคนต่างแบะขนมในมือตนออกทุก ๆ คน ก็มิได้แหวนพระธำมรงค์สักคน พระองค์จึงจับเอาขนมที่ในมือนางอสันธมิตตาพระองค์จึงแบะขนมนั้นออกต่อหน้านางทั้งหลาย แลเตือนให้นางทั้งหลายแลดูพระองค์จึงได้แหวนพระธรรมรงค์ในขนมดวงนั้นต่อหน้านางทั้งหลาย พระองค์เจ้าจึงเจ้าอสันธมิตตานี้มีบุญมากกว่านางทั้งหลายแล สูหากมิรู้ว่านางอสันธมิตตานี้มีบุญได้กระทำมาแต่ก่อน แลสูย่อมกล่าวขวัญกูแลเห็นว่ากูรักนางอสันธมิตตาไส้ แลกูสำแดงบุญนางอสันธมิตตาให้สูรู้ไส้


    ครั้นนางอสันธมิตตาได้ยินพระองค์มีพระโองการดังนั้น นางจะใคร่จะแดงบุญแห่งตนซึ่งได้กระทำมาแต่ก่อน นางจึงถือประอบแก้วด้วยมือข้างซ.าย แล้วเอามือข้างขวาชักเอาผ้าทิพย์ ในประอบแก้วนั้นออกได้พันผิน นางจึงเอามาถวายแด่พระบาทพระเจ้าศรีธรรมาโสกราชต่อหน้านางทั้งหลาย ๑๖,๐๐๐ แล้วนางอสันธมิตตาจึงเอาผ้าทืพย์นั้นออกจากประอบแก้วนั้นให้แก่ท้าวพระญาทั้งหลายอันกินบ้านนอกแลคนละ ๕,๐๐๐ ผืน ให้แก่เยาวราชอันต่าง ๆ องค์พระญาแลองค์ละ ๑๐๐ ผืน แลให้แก่ชาวเจ้าราชตระกูลทั้งหลายแลคนละ ๕๐ ผืน ให้แก่นางทั้งหลายอันเป็นเมียพระญาที่กินเมืองบ้านนอกออกแก่นางนั้นแล คนละ ๕๐ ผืน แลให้แก่หมู่มนตรีเสนาบดีคนละ ๕๐ ผืนฯ แลให้แก่พระสนมทั้งหลายได้ หมื่น ๖ พันแลคนละ ๒๕ ผืน แลให้แก่ไพร่ข้าไทยทั้งหลายด้วยกันทั้งหญิงแลชายใหญ่น้อยอันมีในเมืองปาตลีบุตรมหานครนั้นแลคนละ ๒๒ ผืนทั่วทุกคนบมิได้เปล่าเลยสักคนแลฯ


    เมื่อนั้นพระญาศรีธรรมาโสกราชแลท้าวพระญาสามนตราชตระกูล พระหลวงขุนหมื่นทมุนทนายพลไพร่ฟ้าข้าไทยทั้งหลาย อันมาชุมนุมมั่วมู่ลกันแห่งนั้นเห็นนางอสันธมิตตาเอาผ้าทิพย์ออกจากประอบแก้วลูกเดียวนั้นบมิรู้สิ้นบมิรู้สุดดังนั้นคนทั้งหลายเห็นเป็นอัศจรรย์ยิ่งนักหนา จึงโห่ร้องส้องสาธุการถวายด้วยเสียงมี่ก้องเสียงร้องเยงชุรงมในวันนั้นดังตลาดเบื้องพื้นได้ยินทั่วทุกสถานแล พระญาศรีธรรมาโสกราชเห็นของอันตระการอันบห่อนมีแลมีดังนั้น พระองค์ยิ่งอัศจรรย์นักหนา แลจะใคร่รู้อำเภอบุญนางอสันธมิตตา อันได้กระทำมาแต่ก่อนนั้น พระองค์ธจึงตรัสถามว่าฉันนี้ ภัท์เท ดูกร เจ้าอสันธมิตตาราชเทวี อันว่าประอบแก้วนี้พี่เห็นเจ้าได้มาแลพแลดูสู้พิศวงแก่ใจพี่เพราะว่าพี่มิรู้แห่งประอบแก้วนี้มาแลฯ
    ประอบแก้วนี้เจ้าได้มาแต่ใดเชิญเจ้ามา บอกแก่พี่แลพี่จะขอชมบูญเล่าเถิด ฯ เมื่อนั้นนางอสันธมิตตาเมื่อนางจะสำแดงบุญแห่งนางอันได้กระทำมาแต่ก่อน แลนางพระญานั้นจึงกราบทูลดังนี้เทว ข้าแต่บพิตรพุทธเจ้าข้าเมื่อกำเนิดก่อนโพ้นข้าพระบาทได้ถวายผ้าเช็ดหน้า ๑ แก่พระปัเตยกโพธิเจ้าพระองค์หนึ่ง


    เมื่อข้าได้ถวายผ้านั้นพระไพศพมหาราชเป็นทืพย์พญาณแก่ข้าแลฯ เมื่อวันพระองค์กล่าวแก่ข้าพระเจ้าว่าจะเอาผ้าไตรจีวรก่ข้าจงได้ ๖ หมื่นสำหรับจะถวายแก่พระสงฆ์ ๖๐,๐๐๐ พระองค์นั้นข้าก็หาให้พลันนั้น พระหฤทัยพระองค์เจ้าบมิได้แล ข้าก็เป็นทุกข์โศกนักหนา แลข้านอนกลิ้งเกลือกไปมาเหนือที่นอน เมื่อนั้นพระไพศพมหาราชเจ้าจึงเสด็จมาด้วยยักขเสนาทบดีทั้งหลาย ก็กลายหน้าต่างปรสาสาทราชมณฑิรที่ข้านอนแลได้ยินเสียงข้าหายใจใหญ่ใฝ่หาผ้าจะใคร่ได้ไตรจีวรอยู่ดังนั้น พระไพศพมหาราชธจึงลงจากยานมาใกล้ที่นอนข้าพระบาท จึงพระไพศพมหาราชก็กล่าวแก่ข้าดังนี้ ดูกรเจ้าอสันธมิตตาเทวีอย่ามีทุกข์โศกสักอัน จงเจ้าคำนึงดูเมื่อก่อนเมื่อกำเนิดฑ้นเจ้าสิยังได้อวยทานผ้าเช็ดหน้าผืน ๑ แก่พระปัเตยกโพธิเจ้าพระองค์ ๑ นั้นเลยเจ้าอย่าร้อนใจเลย แลเจ้าจะได้ด้วยผลบุญของเจ้าอันใดอวยทาน แก่พระปัเตยกโพธิเจ้านั้น


    หากจะให้ได้ผ้าทิพย์แก่เจ้าบัดนี้แลฯ ครั้นพระไพศพกล่าวแล้วธจึงเอาประอบแก้วดวง ๑ มายื่นให้ในมือข้าแลแสสอนข้าดังนี้ ผิแลเจ้ามีประโยชน์ด้วยผ้าเจ้าถือประอบแก้วนี้ด้วยมือข้างซ้าย แลเจ้าถือชายผ้าทิพย์ด้วยมือข้างขาวา แล้วจึงเอาผ้าทิพย์ในประอบแก้วนี้เถิดฯ จำเดิมแต่ข้าได้ประอบแก้วแต่สำนักพระไพศพมหาราชนั้นมาไว้ ผิแลข้าจะปรารถนาเอาผ้าเท่าใด ๆ ก็ดีก็ได้ดังใจข้าใฝ่แลฯ ผิข้าจะใคร่ได้ผ้าขาวก็ได้ผ้าขาวผิช้าจะใคร่ได้ผ้าแดงก็ได้ผ้าแดงโดยใจ ผิข้าจะใคร่ได้ผ้าดำก็ได้ผ้าดำโดยใจผิข้าจะใคร่เอาผ้าเหลืองก็ได้ผ้าเหลืองโดยใจ ผิข้าจะใคร่ได้ผ้าแดงอ่อนก็ได้ผ้าแดงอ่อนโดยใจฯ ผินึกในใจว่าจะใคร่ได้ผ้าพรรณสิ่งใด ๆ ก็ดีก็ได้โดยใจข้าทุกอันแลฯ ผิแลข้าจะใคร่เอาผ้าที่ในประอบแก้วนี้ออกลาดไปให้เต็มทั่วทั้งชมพูทวีปอันกว้างได้ ๑๐,๐๐๐ โยชน์นี้ก็ดีก็จะทั่วทั้งมวลอันจะสิ้นจะสุดในที่ประอบแก้วนี้เลย เพื่ออำนาจผลบุญอันข้าได้อวยทานผ้าเช็ดหน้าผืน ๑ แก่ประปัเตยกโพธิเจ้าแต่ก่อนนั้น แลผลบุญนั้นก็จึงมาได้แก่ข้าในบัดนี้แลฯ นางอสันธมิตตาราชเทวีสำแดงผลบุญนั้นอันได้กระทำแต่ก่อนให้พระญาศรีธรรมาโสกราชฟังดังนั้น แล้วนางอสันธมิตตาจึงสั่นสอนอนุโมทนารพะญาศรีธรรมาโสกราชด้วยคลอดธรรมดังนี้ว่ ข้าแต่พระราชสมภารเจ้า


    อันว่าฝูงเทพยดาแลมนุษย์ทั้งหลายอันเกิดในโลกนี้ ได้พบพระพุทธเจ้าพระธรรมเจ้าพระสงฆเจ้าไส้ทุกข์นักยากนักหนา แลผู้ใดแลมีปรีชารู้หลักแลขวนขวายทำบุญทำไส้ก็จะได้เถิงพระนวโลกุตรธรรมแลฯ ก็จะพาตนเข้าสู่นครนิพพานตนเป็นข้าแต่ผู้เป็นเจ้า อันว่าคนทั้งหลายนี้จะได้มาเกิดเป็นมนุษย์ในเมืองดินนี้ก็ยากนักหนา แลผู้ใดมาเกิดเป็นมนุษย์ดังนั้นโสดแลจะมีใจใสสัทธาแลจะรู้หลักเชื่อบุญเชื่อบาปนั้นก็ยากนักหนาแลฯ อนึ่งโสดผิว่ามีใจใสสัทธาเชื่อบุญเชื่อบาปแลรู้หลักดังนั้นก็ดี แลจะได้ฟังธรรมอันพระพุทธเจ้าบัณฑูรไว้นั้นก็ยากนักหนาไส้ ผิแลว่าได้ฟังธรรมดังนั้นก็โแลจะจำไว้ได้เป็นมั่นคงแล้วและจะยังเทศนาให้ท่านผู้อื่นฟังสืบไปเล่าได้ฟังด้วยดังนั้นก็ดี ยากนักหนาแลคนเป็นข้าแต่ผู้เป็นเจ้า อันว่าเกิดมาเป็นคนแลยากนักหนาดังนั้นก็ผู้เป็นเจ้าก็ยังตรัสรู้แล้ว แลอันว่าเป็นคนแลมีใจในสัทธาในศาสนาพระพุทธเจ้าแลรู้หลักเชื่อบุญเชื่อบาปดังนั้นก็ดี พระองค์เจ้าก็ตรัสรู้แล้ว อันว่ามีใจใสสัทธาแลได้ฟังพระธรรมเทศนาดังนั้นพระองค์เจ้าก็ย่อมตรัสรู้แล้ว อันว่าฟังธรรมแล้วแลจำพระธรรมนั้นแลเทศนาให้ผู้อื่นฟังสืบไปภายภาคหน้าก็ดี พระองค์เจ้าก็ตรัสรู้แล้วแลทั้งนี้ไส้ ย่อมการกระทำยากนักหนาทุกประการ พระองคืเจ้าพร่ำตรัสรู้อยู่ทุกประการแล เหตุดังนี้แลข้าจึงผิดแต่พระองค์เจ้าฯ


    แต่นี้ไปเมื่อหน้าจงผู้เป็นเจ้าเอาพระองค์เจ้าผู้เป็นเจ้าประกเอบ ในศาสนาพระพุทธเจ้าแลพระองค์เจ้าเร่งสดับนิ์ฟังธรรมจำศีลทำบุญนักหนา ในศาสนาพระพุทธเจ้าเถิดเหตุการณ์ใดเหตุการณ์นั้น อันว่าเราท่านจะได้พบศาสนาพระพุทธเจ้านี้ยากนักหนาแล อันว่าบุญแลธรรมอันได้กระทำในสำนักนิ์พระพุทธเจ้าแลประปัเตยกโพธิเจ้าแลพระอรหันตาขีณาสพเจ้าทั้งหลาย อันว่าผลบุญนั้นมีมากนักหนา ถ้าจะนับจะคณนาไส้บมิถ้วนได้เลยฯ ด้วยการดังนี้แล แต่นี้ไปเบื้องหน้าจงท่านหมั่นทำบุญ หมั่นอวยทานหมั่นสดับนิ์ฟังธรรมจำศีลหมั่นสอนใจอย่าได้เคียดเสพย์ด้วยมิตรสหายผู้ดี แลพระองค์เจ้าอย่ามีความประมาทแก่พระธรรมสักเมื่อเลยฯ ครั้นว่าพระบาทพระเจ้าศรีธรรมาโสกราชได้ฟังคำนางอสันธมิตตาอนุโมทนาสอนดังนั้น พระองค์ธจึงกล่าวแก่นางพระญาว่าดังนี้


    ดูกรเจ้าอสันธมิตตาแต่นี้ไปเมื่อหน้าพี่จะฟังคำเจ้าผิดแลชอบฉันใดก็ดี เจ้าผู้มีบุญกล่วแก่พี่ไส้พี่ก็จะฟังเจ้าทุกอันแลฯ แต่นั้นไปพระญาศรีธรรมาโสกราชผ้มีอำนาจจึงกระทำบุญทำกรรมนั้นนักหนาธให้กระทำพระมหาธาตุได้ ๘๔,๐๐๐ พระองค์กลางชมพูทวีปถ้วนพระนครทุกแห่ง ให้ทำพระวิหารได้ ๘๔,๐๐๐ แลถวายจันหันแก่เจ้าไทย พระสงฆ์ทั้งหลายแลวันละ ๖๐,๐๐๐ สำรับถ้วนพระสงฆ์ทั้งหลายแลวันละ ๖๐,๐๐๐ พระองค์เช้าทุกวารชั่วตนฯ แลกล่าวเถิงยศศักดิ์สมบัติแห่งพระญาศรีธรรมโสกราชผู้เป็นจุลจักรพรรดิราชแง้วแลฯ อันว่ฝูงบุญแลได้เป็นลาภเป็นดีมีราชสมบัติมากนักหนาในแผ่นดินนี้มิเท่าปรกติจักรพรรดิราชแล พลจักรพรรดิราชแห่งหนึ่ง


    อนึ่งโสดผู้ใดกระทำบุญแลมียศศักดิ์สมบัติยิ่งกว่าพระญจักรพรรดิราชทั้ง ๒ สิ่งนี้ ก็ยังมีดังพระญามันธาตุราชได้เสวยราชในตุมหาทีปกับทั้งเมืองฟ้า อันชื่อว่าจาตุมหาราชิกาแลดาวดึงษาแลยาที่โภคอันดีแลมีนางฟ้าทั้งหลายอันมีรูปโฉมโนมพรรณ์วรรณเนื้อตัวแลหน้าตาเพราพร้อยเฉิดฉายงามนักหนาเป็นบริวารอีกที้งหมู่เทพยดามาไหว้มาคัลจำเริญ อยู่ทุกวารทุกคืนดุจดังขุนนางทั้งหลายอันไผเฝ้าคัลยท้าวพระญานั้น และพรรณาบุญนั้นมิถ้วนได้เลยประเสริฐผู้อยู่ในเมืองท่านแลมีบุญ ดังโชติกเศรษฐีนั้นยังมี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กุมภาพันธ์ 2009
  16. สัตบุรุษ

    สัตบุรุษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    733
    ค่าพลัง:
    +840
    เมื่อนั้นยังมีเศรษฐีผู้หนึ่งชื่อโชติกเศรษฐี แลอยู่ในเมืองราชคฤห์มหานคน แลเศรษฐีนั้นมีปราสาท ๗ ชั้นพรรณย่อมแก้ว ๗ ประการสัตติพิธรัตนะฯ แลพื้นแผ่นดินบ้านนั้นย่อมผลึกรัตนะอันใสแลงามนักหนาดังหน้าแว่นอันท่านขัดสีได้แลพันคาบนั้นแล รอบบ้านนั้นมีกำแพงแก้วล้อมได้ ๗ ชั้นเทียรย่อมแก้วสัตตพิธรัตนะ แลในหว่างกำแพงนั้นมีต้นกัลปพฤกษ์เรียงกันเป็นถ้องแถวไปทุกชั้น มีซึ่งมุมปราสาทนั้นในมุมบ้านนั้นมีขุมทองทั้ง ๔ มุม ขุมทองหนึ่งนั้นกว้างได้ ๘,๐๐๐ วา ขุมทองอันหนึ่งกว้างได้ ๖,๐๐๐ วา ขุมทองหนึ่งกว้างได้ ๔,๐๐๐ วา ขุมทองขุม ๑ กว้างได้ ๒,๐๐๐ วา แลขุมทองทั้ง ๔ ขุมนี้โดยลึกนั้นยินแสน ๔ หมื่นโยชน์แล ขุมทองฝูงนั้นย่อมเต็มด้วย กองเงิน กองทอง กองแก้ว สัตตพิธรัตนะ เต็มปากขุมแลสูงขึ้น ดังท่านกองลูกตาลไว้นั้นแลฯ ผิแลว่าไปตักเอาเท่าใด ๆ ก็ดีบมิรู้บกรู้พร่องเลยาสักคาบ เงินทองแก้วแหวนอันอยู่ใต้นั้นหากพูนขึ้นมาเต็มดีดังเก่า บมิรู้บกรู้พร่องดังน้ำอันไหลออกมานั้นแลฯ แล ๔ มุมปราสาทนั้นมีอ้อยทอง ๔ ลำ ๆ ลำใหญ๋เท่าลำตาลอันใหญ่ แลใบอ้อยนั้นเทียรย่อมแก้วมณีรัตนะแล ข้ออ้อยนั้นเทียรย่อมทอ ในปากประตูกำแพงทั้ง ๗ ชั้นนั้นมียักษ์อันเป็นใหญ่ ๗ ตนอยู่เฝ้าอีกด้วยบริวาร ในปากประตูชั้นนอก มียักษ์ผู้หนึ่ชื่อว่ยมโกลิยักษ์แลมียักษ์บริวรพันหนึ่งอยู่เฝ้าในปากประตูกำแพงแก้วอันเป็นคำรบ ๒ ชั้นนั้นมียักษ์ผู้หนึ่งชื่ออุลลแลมีบริพารยักษ์สองพัน อู่เฝ้าในปากประตูคำรบ ๓ เหมือนนั้นยักษ์ชื่ออมิละยักษ์มีบริวาร ๓,๐๐๐ อยู่เฝ้าฯ ในปากประตูอันเป็นคำรบ ๔ ชั้นมียักษ์ผู้ใหญ่ชื่อวชิระวามยักษ์อีกด้วยบริวาร ๔,๐๐๐ อยู่เฝ้า ในปากประตูกำแพงเป็นคำรบ ๕ ชั้น มียักษ์ผู้ ๑ ผู้ใหญ่ชื่อสกนยักษ์มีบริวาร ๕,๐๐๐ อยู่เฝ้าพยาบาลในปากประตูกำแพงอันเป็นคำรบ ๖ ชั้นนั้นมียักษ์ผู้ใหญ่คนหนึ่งชื่อกตารตยักษ์แลมียักษ์บริวาร ๖,๐๐๐ อยู่เฝ้า ในปากปากประตูกำแพงแก้วอันเป็นคำรบ ๗ ชั้นนั้นมียักษืผู้ใหญ่ผู้หนึ่งชื่อทิสาปาโมกขยักษ์ มียักษ์บริวาร ๗,๐๐๐ อยู่เฝ้าพยาบาล แลสมบัติเศรษฐีนั้นโอฬาริกดังนั้น


    คนทั้งหลายจึงไปพิดทูลแก่พระเจ้าพิมพิสารราชผู้เสวยราชในเมืองราชคฤห์นครนั้น พระญานั้น ธ จึงให้เอาเศวตรฉัตรมาอ๓เษกมหาเศรษฐี แลนางเมียโชติกมหาเศรษฐีนั้น นางแก้วอันมาแต่อุตรกุรุทวีปเมื่อมาแต่อุตรกุรุทวีปนั้น นางเอาหม้อข้าวแก้วมาด้วยลูกหนึ่ง แลเอาก้อนเส้าเท่าลูกฟักมาด้วย ๓ ก้อนแลแก้วนั้นชื่อโชติปาสาณ แลเอาข้าวสารมาด้วย ๓ ทะนานอันชื่อว่าสัญชาติสาลีนั้น ๒ ทะนานข้าวอันมีคนธรสหอมนักหนา ข้าว ๒ ทะนานหุงให้โชติกเศรษฐีกินรอดชั่วตนข้าวนั้นมิรู้สิ้นเลย ครั้นเอาข้าวสารใส่หม้อแล่งใส่ข้าวสารนั้นก็เต็มมาดังก่อนแล ข้าวสารนั้นบมิรู้สิ้นเลยสักคาบผิจะใส่เต็มร้อยเกวียนก็ดี ข้าวสาร ๒ ทะนานนั้นบมิรู้บกรู้พร่องไปเลยเต็มอยู่ทั้ง ๒ ทะนานนั้นดังก่อนแล เมื่อจะหุงข้าวเอาข้าวสาร ๒ ทะนานนั้นไส่ลงในหม้อแก้วแล้ว


    จึงตั้งขึ้นเหนือก้อนเส้าแก้วอันชื่อว่าโชติกปาสาณนั้น ครั้นเอาหม้อตั้งขึ้นบัดเดี๋ยวไฟหากลุกขึ้นในก้อนเาแก้วนั้นเอง ครั้นว่าข้าวนั้นสุกไส้ไฟหากดับไปเองแลฯ เมื่อแกงแลทำขนมขต้มของกินอันใด ๆ ก็ดุจเดียว แลฝู่งอันใดปราสาทเหย้าเรือนเศรษฐีนั้นเทียรย่อมรุ่งเรืองด้งแก้วรัศมีแก้วทุกเมื่อแล ไต้ไฟประทีปเทียรแห่งเขานั้นบมิขาดเลย สมบัติเป็นมลากเป็นดีแห่งโชติกเศรษฐ๊นั้นลือชาทั่วแผ่นดินชมพูทวีปนี้ทุกแห่ง แลฝูงมหาชนคนทั้งหลายต่างคนต่างขึ้นยานคานหามจึงมาดูสมบัติแห่งโชติกเศรษฐ๊นั้น ๆ จึงให้หุงข้าว ๒ ทะนานอันเอามาแต่อุตตรกุรุทวีปนั้นให้แก่ฝูงคนทั้งหลายอันที่มาดูเล่นนั้นกินแล จึงไปเอาเครื่องสนิมพาภรณอันเป็นเครื่องประดับนิ์ตนเขานั้น แลเอามาแต่ต้นกัลปพฤกษ์นั้นมาประดับนิ์ให้เขาที่ไปดูนั้นทุกคนแลฯ แล้วเศรษฐีจึงเผยขุมทองอันกว้างได้ ๒ วานั้นให้แลดู แลเศรษฐีจึงว่าคนผู้ใดจะใคร่จะเอาเงินทองแก้วแหวนเท่าใดก็ดี แลให้เก็บเอาโดยใจท่านผู้จะปรารถนาเถิดฯ ฝูงคนทั้งหลายในชมพูทวีปนั้นต่างคนต่างมาตักเอาโกยเอาเงินทองแก้วแหวนที่ในขุสมทองอันเดียวนั้น ๆ บมิรู้บกรู้พร่องเลยสักคาบแล ว่าจะลงประมาณมือหนึ่งบมีแลฯ เมื่อนั้นพระญาพิมพิสารผู้ราชเสวยราชสมบัติในเมืองราชคฤห์นครนั้น แลมีพระทัยจะใคร่เห็นสมบัติ แห่งโติกเศรษฐีนั้น


    พระองค์จึงเสด็จมาด้วยบริวรทั้งหลายเถิงปากประตูกำแพงแก้วชั้นนอกนั้นก่อนฯ แลข้าหญิงเศรษฐีนั้นแต่งกวาดแผ้วหยากเยื่อเสียนั้นแลมีรูปโฉมเป็นอันงามนัก แลทาสีผู้นั้นก็ยื่นมือไปเพื่อว่าจะให้พระญานั้นหน่วงขึ้นที่ปากประตูนั้นแล พระญานั้นมิทันหน่วงมิทันขึ้นเลย เพราะว่าพระญานั้นเป็นทาสีผู้นั้นงามแลพระองค์ใส่ใจว่าเมียของโชติกเศรษฐี แลพระญานั้นธบมิได้ต้องถือมือแห่งทาสีผู้นั้น เพราะพระองค์เห็นงามทแลขามใจ แลอายบมิยุดมือถือแขนทาสีนั้น แต่หมู่ผู้หญิงทั้งหลายอันอยู่กวาดแผ้วแลเอาหยากเยื่อเสียที่ปากประตูชั้นนอกนั้น้ พระญาเห็นเขานั้นงามทุกคนพระญาย่อมใส่ใจว่าเมียโชติกเศรษฐีสิ้นทั้งนั้น พระญามิอาจจับมือถือแขนเขานั้นสักแต่คนเลยฯ


    เมื่อนั้นโชติกเศรษฐีนั้นก็มาต้องรับพระญาพิมพิสารราชบพิตรนั้นเถิงปากประตูชั้นนอกปราสาท แลเชิญพระญาไปก่อนเศรษฐีจึงค่อยเดินตามหลังฯ ครั้นว่าพระญาแลยกเท้าย่างเข้าไปในปราสาทนั้นเห็นแก้วมณีรัตนะ อันเป็นพื้นปราสาทนั้นแสงใสรุ่งเรืองตรลอดลงไปเบื้องต่ำนั้น ขุมดุจอันลึกได้ ๗ ชั่วบุรุ าพระญาธจึงคำนึงในพระทัยว่าเศรษฐีนี้ขุดหลุมไว้แลหวังจะให้กูนี้ตกลงบมิหย่าแลพระญาจึงหยุดดูท่าเศรษฐี เศรษฐีแลเห็นพระยาหยุดอยู่ดังนั้น เศรษฐีจึงทูลแด่พระญาว่าข้าแต่พระองค์เจ้าข้าอีนนี้มิใช่หลุม คือว่าแก้วมณษีรัตนะไส้เศรษฐีจึงไปก่อนพระญาแลว่าดังนี้ ขอเชิญพระองค์เจ้าเสด็จมาตามข้าพระบาทนี้เถิดฯ พระญาจึงค่อยเสด็จไปตามหลังเศรษฐีนั้นแลที่ใดที่เศรษฐีเหยียบไส้พระญาจงเหยียบตามไปแล พระญาเดินไปตามเศรษฐีวันนั้นพระญาจึงแลดูปราสาท แต่สถานต่ำเถิงสถานเบื้องบนด้วยประการดังนั้น พระญาอชาตสัตรูผู้เป็นลูกพระญาพิมพิสารก็มาด้วยพระบิดา แลถือปลายมือพระบิดาพระญาผู้เป็นบิดาไปดูปราสาทแก้วอันงามดังนั้น จึงคำนึงแต่ในใจว่าดังนี้


    อันว่าพ่อกูนี้เป็นใหญ่ไปจริงดังฤๅ แลเศรษฐีนี้แลมาอยู่ปราสาทแก้วสัตตพิธรัตนะแลผู้เป็นใหญ่ในปราสาทไม่ผิแลวันใดแลกูได้เป็นพระญาไส้ แลกูจะชิงเอาปราสาทนี้แก่กูแลฯ เมื่อนั้นพระญาธจึงขึ้นไปเถิงชั้นนั้น พอยามบ่ายแลพระญาจึงว่าแก่เศรษฐีดังนี้ กูจะกินข้าวในปราสาทมหาเศรษฐี ๆ นั้นจึงว่าสาธุข้ายินดีนักแลฯ เศรษฐีจึงอังเชิญพระญาให้สรงน้ำอันหอมแล้ว อังเชิญพระญานั่งเหนือรัตนะบัลลังก์ทองอันตั้งในบัลลังก์แก้วสัตตพิธรัตนะที่เศรษฐีเคยนั่งให้แก่พระญาธนั่งฯ เมื่อนั้นฝูงชางครัวก็หาข้าวนั้นเอากิลินปายาศ ใส่เต็มตระไลทองอันมีค่าได้แสนตำลึง แลจึงมาตั้งไว้ซึ่งหน้าพระญานั้นฯ ก็ใส่ใจว่าข้าวตัง พระญาจึงล้างมือจักเสวยข้าวปายาศนั้นฯ เศรษฐีแลเห็นพระญาจะเสวยกิลินปายาศอันแต่งไว้รองตระไลข้าวต้นดังนั้น แลเศรษฐีนั้นจึงห้ามพระญาว่าดังนี้


    ข้าแต่บพิตรเจ้าข้าวอันนี้มิใช่ข้าวต้น แลข้าวกิลินปายาศต่างหาก ๆ แต่งรองตระไลข้าวต้นไส้ แลพระองค์เจ้าอย่าเพ่อเสวย กิลินปายาศนี้ไส้ไว้แต่งรองดังนี้เพื่อจะใคร่เอาอย่านั้นอย่าให้ข้าวเย็นไส้ เศรษฐีว่าดังนั้นแล้วจึงให้ข้าวต้นอันหุงด้วยข้าวสารอันมาแต่อุตรกุรุทวีปนั้นเต็มตระไลทองอันนึ่งมาตั้งเหนือตระไลข้าวกิลินปายาศนั้น แลจึงอังเชิญให้พระญาธเสวยข้าว พระญานั้นก็เสวยข้าว ข้าวนั้นก็เร่งหอมเร่งอร่อยเร่งมีโอชารสนักหนา แลหารสอันจะเสมอบมิได้เลย กินเท่าใด ๆ บมิรู้อิ่มเลยฯ มหาเศรษฐีแลเห็นพระญาเสวยข้าวนั้นมากนักแล้ว เศรษฐีจึงกราบไหว้พระญาแลขอห้ามดังนี้ ข้าแต่บพิตรเจ้าข้า ๆ เสวยข้าวแต่เท่านั้นเถิดแต่พอบังควรแลพระองค์เจ้าเสวยข้าวนี้มากนักแล้วเหยียวว่าจะเป็นอเชียระแต่พระองค์ เหยียวว่าจะเป็นโทษเพราะอาหารฯ พระญาจึงว่าแก่มหาเศรษฐีดังนี้ มหาเศรษฐีท่านคิดเสียดายข้าวแก่เรา กลัวว่าเราจะกินของท่านไปเปลืองไปหรือ มหาเศรษฐีก็ว่าดังนี้ ข้าพระบาทนี้บมิได้คิดเสียดายแก่พระองค์หาบมิได้ แลจะกลัวเปลืองก็หาบมิได้ แลข้าวข้าหม้อเดียวนี้ แกะข้าหม้อเดียวนี้


    แม้นว่ารี้พลบ่าวไพร่ข้าไทยของพระองค์ทั้งหลายจะมากินสักเท่าใด ๆ ก็ดีบมิรู้บกพร่องจากหม้อนี้เลย อันว่าข้าห้ามพระองค์เจ้าไส้ข้ากลัวเหยียวพระองค์จะมีอันเป็น เพื่อเสวยอาหารพ้นประมาณ พระองค์เจ้าเสด็จยังเรือนข้าพระบาทนี้แล้วแลดีไปถ้าพระองค์เจ้าหาอันเป็นบมิได้ก็ดีอยู่ ถ้าแลพระองค์เจ้าแลมีอันเป็นไส้ ไพร่ฟ้าข้าไทยทั้งหลายจะว่าได้ ว่าพระองค์มีอันเป็นไส้ เพราะไปเรือนเศรษฐี ๆ นี้หากทำร้ายแก่พระองค์เจ้าแลฯ พระญาจึงกล่าวแก่เศรษฐีว่าสาธุดีแล้ว ผิว่าดังนั้นเราจะเสวยแต่เท่านั้นแลฯ พระญาจึงหยุดเสวย ครั้นว่าพระญาหยุดเสวยแล้วไส้ เศรษฐีจึงให้หาข้าวน้ำเลี้ยงลูกเจ้าลูกขุนทมุนทนาย ไพร่ฟ้าข้าไทยทั้งหลายอันไปด้วยพระญานั้นกินให้ทั่วทุกคน ๆ ทั้งหลายอันไปเป็นบริวารพระญานั้นกินข้าวกินแกงทุกคน ทั้งชาวเมืองทั้งหลายอันที่หากไปเองนั้นก็โ เศรษฐ๊ก็เลี้ยงให้กินทุกคน แต่ข้าวหม้อเดียวนั้นแลกับแกงหม้อเดียวนั้นกินบมิรู้สิ้นสักคาบ ผิว่าตักเอาเท่าใดก็ดีก็ยังเต็มอยู่ดังเดียวแลพระญาจึงถามมหาเศรษฐีว่าเมียของเจ้ายังมีหรือ ฯ เศรษฐีก็ทูลแด่พระญาว่าเมียข้าพระองค์มีแล นางนั้นเป็นนางแก้วมาแต่อุตรกุรุทวีปฯ พระญาก็ถามว่านางแก้วเมียของท่านนั้นอยู่แห่งใด ๆ เศรษฐีจึงขานแก่พระญาว่า


    ข้าแต่บพิตรนางแก้วนั้นอยู่ในครรภ์ที่นอนภายในปราสาทโพ้นแล พระองค์เจ้ามาเถิงปราสาทข้าดังนี้ก็โ ข้าพระเจ้านี้บมิรู้เพราะว่าข้าพระเจ้านี้อยู่ในสุขสมบัติแลบมิรู้เพื่อดังนั้น แลเศรษฐีนั้นจึงรำพึงในใจว่าเหมือนหนึ่งพระญาใคร่จะเห็นเมียกูแล เศรษฐีก็ว่าข้าจะไปหาเมียข้าพระเจ้านั้นมาให้ไหว้พระองค์บัดนี้ ครั้นว่ากล่าวแล้วก็ลุกไปสู่ครรภ์ที่นอนอันมีในปราสาทที่นางแก้วอยู่นั้น จึงเจนจาด้วยนางแก้วว่าดังนี้ ว่าดูกรเจ้าบัดนี้พระบาทพระเจ้าพิมพิสารราชผู้เป็นพระญาเสวยราช ในเมืองราชคฤหนครมาเถิงปราสาทแห่งเราพี่น้องนี้ แลท่านมานั่งอยู่ที่นั่งพี่ห้องนอกโพ้นแลพี่ให้เสวยข้าวแล้วแลเชิญเจ้าออกไปไหว้ท่านเถิดฯ นางจึงนึกว่าดังนี้พระญาท่านเป็นดังฤๅ แลท่านจะให้ข้าออกไปไหว้ท่านนั้นฯ เศรษฐีก็บอกว่าท่านนั้นเป็นเจ้าเป็นพระญาเสวยราชเมืองนี้ ท่านนั้นเป็นเจ้าแก่เราแลดังฤๅแลว่ามิรู้จักฯ นาวงก็ว่าข้าอยู่ทุกวันนี้ข้าบมิรู้ว่าเรานี้มีเจ้าแล ข้าพึ่งรู้ว่าเรานี้มีเจ้าในวันนี้แล บุญเรามีเพียงนี้แลมีเจ้าดังนี้ชะรอยว่าเราทำบุญแต่ก่อนโพ้น เรานี้บมิได้กระทำด้วยสัทธาอันมิยิ่งแลเราจึงเกิดมาแลมีเจ้าดังนี้


    ชื่อว่าเรากระทำบุญด้วยอันยิ่งจริงไส้เราก็หาเจ้าบมิได้แลฯ เจ้าจักได้เป็นเจ้าแก่คนทั้งหลายดังท่านผู้เป็นพระญานี้แลฯ ครั้นว่านางกล่าวนางจึงว่าแก่เศรษฐีแลว่าเมื่อท่านจะให้ข้าไปไหว้ท่านผู้เป็นพระญานี้ ควรจะให้ข้าปฏิบัติเพียงใดจงเจ้ากูได้บอกแก้ข้าฯ เศรษฐีจึงว่าเจ้าไปไหว้ท่านนั้นแลเจ้านั่งอยู่ถือพัชนีวีพัดท่านอยู่เถิดฯ เมื่อนั้นนางจึงค่อยลีลาออกไปแล้ว แลยกมือไหว้พระญาแล้ว ๆ ก็ถือพัดอยู่พัดพระญาเจ้าแลฯ พัดนั้นใบตาลแก้วแลนางถืออยู่พัดพระองค์ดังนั้น ลมพัดออกแลอายธูปอันที่เขาอบผ้าทรงแลโพกพระญานั้นแลมีกลิ่นอันอบไฟนั้นไปต้องตานางแก้ว ตานางแก้วนั้นก็แสบนักหนาแลมีน้ำตานั้นไหลออกมา นางจึงเอาผ้ามาเช็ดน้ำตาเสียฯ พระญาเห็นนางเอาผ้าเช็ดตมานางนั้นพระญาใส่ใจว่านางนั้นร้อยไห้พระญาจึงกล่าวแก่โชฏิกเศรษฐีว่าดังนี้


    ดูกรเจ้าโชฏิกเศรษฐีแลนางผู้เป็นเมียเจ้านี้ไป่งามนักหนาแลเห็นกูมาดังนี้ไส้ ใช่เราจะมาชิงเอาสมับัติอันเป็นมลากเป็นดีแห่งเจ้าแลนางจึงร้องไห้ฤๅ ครานี้เรามาไส้แต่ว่าเรามาชมบุญเจ้าไส้ จงเจ้าว่าแก่นางอย่าให้นางร้องไห้เลยฯ เศรษฐีกราบไหว้ทูลแดพระญาว่าดังนี้ตนเป็นข้าผู้เป็นเจ้าแลว่านางบมิได้ร้องไห้ บัดนี้อายรูปอันอบรมเครื่องสนิมอาภรณ์ อันที่พระเจ้าทรงนั้นหากมาต้องตานางข้าผู้เป็นเจ้า


    เพราะว่าอบด้วยไฟแลแสบตาข้าพระผู้เป็นเจ้าแล น้ำตาข้าท่านตกไส้ เพราะว่าในปราสาทข้านี้ กินอยู่สิ่งใดก็ดีอบรมสิ่งใดก็ดี ย่อมอาศัยแก่รัศมีแก้วมณีรัตนะ บห่อนอาศัยแก่ไฟเลยสักคาบ อันว่าในปราสาทพระองค์เจ้าไส้ย่อมอาศัยแก่รัศมีเพลิงแลฯ ครั้นว่าเสรษฐีกล่าวแล้วเศรษฐ๊จึงว่าดังนี้สืบไปเล่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเจ้าแต่นี้ไปเมื่อหน้า ข้าจะให้พระองค์ผู้เป็นเจ้าอาศัยแก่รัศมีแก้ว แลข้าบมิให้พระองค์เจ้าอาศัยแก่รัศมีเพลิงเก่าเลยฯ ครั้นเศรษฐ๊พิดทูลแด่พระญาแล้วเศรษฐีจึงเอาแก้วดวงหนึ่งเท่าลูกแตงโมลูกใหญ่ แลคณนาค่าแก้วดวงนั้นบมิได้เลยเศรษฐีจึงควายแด่สมเด็จพระบาทพระเจ้าพิมพิสารราช ๆ เห็นสมบัติแห่งโชติกเศรษฐ๊อันโอฬาริกประเสริฐพ้นประมาณดังนั้น ท้าวธก็มีใจโสมนัสยินดีนักหนา ธจึงจากปราสาทมหาเศรษฐ๊แล้วก็ลีลาคืนมาด้วยยศบริวาร สู่พระราชมณเฑียรแห่งพระองค์ดังเก่าแลฯ


    เมื่อนั้นพระญาอชาตสัตรุกุมารผู้ลูก (ทูล) พระญาพิมพิสารผู้เป็นบิดาด้วยถ้อยคำว่าดังนี้ สมบัติโอฬาริกแห่งมหาเศรษฐีนั้นบมิควรแก่มหาเศรษฐีอันอยู่อาศัยแก่เมืองเรานี้ ครั้นว่าเราชิงเอาก็เป็นสมบัติของเราผู้เป็นท้าวเป็นพระญาจึงควรไส้ฯ ท้าวพิมพิสารราชผู้เป็นบิดาจึงว่าดังนี้ อันว่าจะชวนต่อพ่อไปชิงเอาสมบัติแห่งโชติกมหาเศรษฐีนั้นบมิชอบในคลองธรรม เพื่อดังฤๅแลพ่อจึงว่าเหตุสมบัตินั้นบมิเกิดด้วยบุญเราพ่อลูกหาไม่ แลสมบัตินั้นเกิดเพราะบุญโชติกมหาเศรษฐี


    เมื่อมหาเศรษฐีได้กระทำบุญแต่ก่อนแลพระวิษณุกรรม มานิมิตรให้แก่มหาเศรษฐีไส้ แลมิได้ด้วยประการอื่น แลว่าเราจะชิงเอานั้นบมิควรฯ อยู่จำเนียรกาลไปพระญาอชาตสัตรุมาสมาคมด้วยเทวทัต เอาเทวทัตเป็นครู แลเทวทัตนั้นจึงสอนให้ชิงเอาสมบัติแห่งพ่อตนพระญาอชาตสัตรุนั้นก็ชิงเอาราชสมบัติถิ่นฐานบ้านเมือง แต่พ่อตนแล้วจึงฆ่าพ่อด้วยเสีย ครั้นได้ราชสมบัตินั้นแก่ตนแล้ว จึงรำพึงในใจตนว่าฉันนี้ทีนี้ควรกู ไปชิงเอาประสาทแก้วของโชติกมหาเศรษฐี พระญาอชาตสัตรูจึงเอารี้พลไปสะพัดบ้านโชติกมหาเศรษฐี วันนั้นพอเป็นวันศีล มหาเศรษฐีกินข้าวแล้ว แลไปจำศีล ๘ อันอยู่ฟังพระธรรมเทศนา แต่สำนักนิ์พระพุทธเจ้าในพระเวฬุวันพระญาอชาตสัตรุมิรู้ เศรษฐีไปฟังพระธรรม พระญาใส่ไจว่าเศรษฐีอยู่ในปราสาท แลเมื่อพระญาเอารี้พลไปสะพัดนอกกำแพงแก้วชั้นนอกนั้น ช้างม้ารถบทจรทั้งหลายแลเห็นเงาของตนเองในกำแพงแก้วนั้น เขาใส่ใจว่ามีรี้พลอยู่ภายในจะออกมาก่อรบเขา ๆ มีใจกลัวบมิอาจเข้าไปแล ช้างม้าทั้งหลายย่อมเอางาลงปักดิน อยู่แลบมิอาจเข้าไปสู่กำแพงแก้วนั้นได้เลยฯ



    เมื่อนั้นจึงพระญาอชาตสัตรุเร่งขับรี้พลเข้าไปฯ เมื่อนั้นจึงยักษ์ผู้หนึ่งชื่อยมโกลียักษืแลอยู่เฝ้าประตูกำแพงแก้วชั้นนอกด้วยบริวารพันหนึ่ง ยักษ์นั้นเห็นพระญาอชาตสัตุไปนั้น ยักษ์ผู้นั้นจึงร้องถามว่าเหวยพระญาอชาตสัตรุท่านจะมาเยียใดยมโกลียักษ์แลบริวารทั้งนั้นเขาก็ถือกระบองเหล็กแล้วเขาสำแดง ดังจะตีแล้วเขาตระหวาด เขาก็ไสพระญาอชาตสัตรุแลบริวารทั้งหลายกระจัดกระจายแล่นหนีพรัดพรายกันไปสิ้นฯ พระญาอชาตสัตรุตระหนกตกใจนักหนา จึงแล่นหนีเข้าไปสู่อารามพระพุทธเจ้าด้วยด่วนนักหนาฯ โชฏิกเศรษฐีลุกขึ้นจากที่นั้นแลถามพระญาว่าดังนี้ วันนี้เป็นใดพระองค์ผู้เป็นเจ้ามาด่วนนักหนาปานฉะนี้ฯ พระญาจึงว่าแก่โชฏิกเศรษฐี ๆ ใช้ให้เขาทั้งหลายรบเร้าไล่เรามาแล้ว เศรษฐีก็แล่นมาก่อนเราใส่กลนั่งอยู่ฟังธรรมแลใส่กลว่าบมิรู้ฯ เศรษฐีจึงว่าดังนี้ผู้เป็นเจ้าจะไปชิงเอาปราสาทข้าหรือ ฯ พระญาก็ว่าเราชิงเอาปราสาทเศรษฐีจริงแลฯ เศราฐ๊ก็ว่าดังนี้สมบัติแห่งข้าสิ่งใด ๆ ก็ดีมาตรว่าด้วยชิงเชิงหูกก็ดีแลข้าบมิได้ให้แก่ผู้ใด แลผู้นั้นก็บมิอาจเอาสมบัติข้าได้ฯ พระญาจึงว่าแก่เศรษฐีเจรจาใหญ่ดังว่าตนเป็นพระญาแลฯ เศรษฐ๊ก็ว่าข้ามิใช่พระญาแต่เท่าว่าข้าเชื่อบุญแห่งข้านั้นไส้ สมบัติแห่งข้าบมิได้ให้อย่าว่าท่าวพระญาปานดังพระองค์เจ้านี้ แต่พระองค์เดียวเลย แม้นว่าท้าวพระญาผู้มีศักดานุภาพปานดังผู้เป็นเจ้าท่านนี้ได้พัน ๑ ก็ดี บมิอาจเอาสมบัติแห่งข้านี้ได้เพราะว่าข้าบมิได้ให้


    ต่อว่าเมื่อข้าให้จึงเอาได้แลฯ ถ้าว่าผู้เป็นเจ้ามิเชื่อบุญข้าไส้ข้าจะให้ผู้เป็นเจ้าเชื่อบุญข้า อันข้าได้กระทำมาแต่ก่อนโฑ้นมาตรว่าแต่แหวนข้า ๒๐ ดวงนี้ อันมีในมือข้า ๑๐ นิ้วเมื่อข้าบมิได้ให้แด่ผู้เป็นเจ้าฉันใดผู้เป็นเจ้าจะเอาได้อังเชิญท่านถอดเอาโดยใจท่านเถิดฯ เมื่อนั้นพระญาอชาตสัตรู ครั้นว่าได้ยินโชฏิกเศรษฐีกล่าวดังนั้นก็มีใจเดือดฟุ้งนักหนา อุปมาดังนาคราชแลท่านเอาค้อนเหล็กตีที่โคนหางแล พระญานั่งอยู่แลกระหย่อนองค์โลดขึ้นทั้งนั้นก็ดีขึ้นสูงได้ ๑๘ ศอกฯ ลงยืนอยู่กลางแผ่นดินจึงโจนขึ้นอีกที ๑ เล่าโดยสูงได้ ๗๐ ศอก พระญาอชาตสัตรูผู้มีกำลังนักหนาดังนั้น ตระเบงเร่งบิดตนไปมาเบื้องขวา แล้วจึงถอดเอาแหวนในมือโชฏิกเศรษฐีทั้งล้มทั้งลูกกระคุกหัวเข่า เหงื่อหายอายย้อยนักหนาดันั้นก็ดี บมิอาจเอาแหวนนั้นได้แลตระดวงหนึ่งเลยพระญาจึงนั่งอยู่แลฯ เมื่อนั้นโชฏิกเศรษฐีก็ว่าแด่พระญาดังนี้แหวนข้าทั้ง ๒๐ นี้ ทีนี้ข้าให้แด่ผู้เป็นเจ้าแลเชิญผู้เป็นเจ้าเอาภูษามารองรับเอาเถิดฯ เมื่อนั้นพระญาอชาตสัตรุจึงผ้าเช็ดหน้าผืน ๑ ปูลง ณ กลางดนฯ โชฏิกเศรษฐีจึงหยอดมือลงเหนือผ้าเช็ดหน้านั้น เฉพาะซึ่งหน้าพระญาอยู่นั้น บัดเดี๋ยวตระบัดใจแหวนทั้ง ๒๐ ดวงนั้นก็ลอยออกจากนิ้วมือโชฏิกเศรษฐี แลตกลงเหนือผ้าเช็ดหน้านั้นแล โชฏิกเศรษฐีจึงกล่าวแก่พระญาอชาตสัตรุดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเจ้า


    อันว่าสมบัติแห่งข้าบมิได้ให้ไส้ อาจเอาของข้าบมิได้ดังนี้แล เมื่อใดแลข้าให้ไส้แลจึงได้ของข้าดังนี้ดังผู้เป็้นเจ้าเห็นดังนี้แลฯ ครั้นโชฏิกเศรษฐ๊กล่าวแล้วดังนั้นก็ยืนดูสังเวชแก่ใจตัวแลฯ เศรษฐ๊จึงทูลแด่พระญาว่าข้าพระพุทธเจ้า จะขออำลาพระองค์บวชถวายพระราชกุศลแด่พระองค์เจ้า ๆ จงให้อนุญาตแก่ข้าแลว่าให้ข้าบวชเถิด เศรษฐีทูลลาบวชวันนั้นไส้ฯ พระญาอชาตสัตรุได้ยินพระญาก็ยินดีนักหนาแลคิดในใจว่าปราสาทนั้นจะได้แก่ตน พระญาจึงว่าแก่เศรษฐีดังนี้ ถ้าว่เศรษฐีท่านจะบวชเราก็จะให้อนุญาตแก่ท่าน ๆ จงบวชเถิดฯ เมื่อนั้นจึงโชฏิกเศรษฐีก็โกนเกล้าเข้าบวชในศาสนาพระพุทธเจ้า แล้วก็ลุเถิงอรหัตตผลอำพลด้วยพระปฏิสัมภิทาญาณ แลมีนามอันปรากฎเจ้าโชติกเถรแลฯ


    ครั้นว่าบวชในพระศาสนาพระพุทธเจ้าแล้วไส้ อันว่าสมบัติทั้งหลายก็หายไปสิ้นแล มีอาทิคือว่านางแก้วอันชื่อว่านางอตุลตายํ เทวีผู้เป็นเมียโชติกเศรษฐีนั้น เทวดาเอาคืนไปสู่แผ่นดินอันชื่ออุตรกุรุทวีปดังเก่าแลฯ ทั้งปราสาท ๗ ชั้นอันแล้วด้วยแก้วสัตตพิธรัตนะก็ดีแลกำแพงแก้ว ๗ ชั้นอันล้อมรอบปราสาทแก้วนั้นก็ดี แลต้นกัลปพฤกษ์อันเรียงกันไปรอบทั้ง ๗ ชั้นนั้นก็ดี แลทั้งขุมเงินขุมทองอันมี ๔ มุมปราสาทนั้นก็ดี ทั้งหม้อข้าวแก้วมณีรัตนะก็ดี อันว่าสมบัติอันเป็นมลากเป็นปีแลเกิดมาด้วยบุญโชติกมหาเศรษฐีนี้ แลสมบัติทั้งมวลนั้นก็จมลงไปในแผ่นดินสิ้นทุกอันแลฯ กล่าวสเถิงโชติกเศรษฐีโดยสังเขปแล้วเท่านี้แลฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กุมภาพันธ์ 2009
  17. สัตบุรุษ

    สัตบุรุษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    733
    ค่าพลัง:
    +840
    ฝูงคนทั้งหลายอันเกิดในมนุษย์ได้เป็นมลากเป็นดีมีสรรพทรัพย์แลว่าได้เป็นท้าวเป็ฯพระญา แลท่านผู้เป็นท้าวพระญามหาจักรพรรดิราชนั้นได้กระทำบุญดังฤๅศีลแลทานจึงเป็นมลากเป็นดีดังนั้น แต่บุญทั้งหลาย อันมีในกามภูมินี้ได้ ๑๓๔,๒๘๐ ฉันใด


    อนึ่งรู้จักบุญแลบาปแลกระทำบุญด้วยใจรักฯ อนึ่งบมิรู้จักบุญแลบาปแท้บมิใจจะมักกระทำบุญฯ อนึ่งรู้จักบุญแลบาปแท้แลใจบมิรู้มักบาปหากกระทำบุญเอง ฯ อนึ่งมิรู้จักบุญแลบาปแท้ หินใจตนก็บมิโสดเพื่อเห็นท่านทำบุญแลกระทำด้วยท่านฯ อนึ่งรู้จักบุญแลบาปแลบมิกระทำบุญ ครั้นว่ามีผู้มาชวนแลมีใจรักหนักหนาจึงกระทำบุญโสดฯ อนึ่งบมิรู้จักบุญแลบาปแท้หินบมิกระทำบุญโสดฯ ครั้นว่ามีคนมาชวนไส้แลมีใจรักนักหนาจึงกระทำบุญโสดฯ อนึ่งรู้จักบุญแลบาปแลบมิกระทำบุญ


    ครั้นว่ามีคนมาชวนไส้ใจก็บมิมักกระทำบุญสักอันโสด สักอันแล ยังกระทำบุญโสดฯ อนึ่งบมิรู้จักบุญแลบาปสักอันแลยินละอายแก่คำอันท่นมาชวนจึงกระทำบุญฯ บุญทั้งหลาย ๘ จำพวกนี้แล ๑๐ อันโสดฯ อันใดสิ้นหนึ่งบันดาบใจดังกล่าวนี้แล จึงอวยทานมีต้นว่าข้าวน้ำหมากพลูฯ อนึ่งจำศีล ๕ อันก็ดี ๘ อันก็ดี ๑๐ ก็ดีฯ อนึ่งภาวนาเป็นต้นว่าสวดมนต์แลสวดพระพุทงธคุณแลระลึกถึงคุณพ่อแม่เจ้าไทยท่านผู้มีคุณแก่ตนแล ภาวนาอนิจจสังขารแลฯ อนึ่งคณนาบุญญานิสงส์อันได้กระทำแก่เทวดามนุษย์สัตว์ทั้งหลายอันมีคุณแก่ตนฯ อนึ่งอนุโมทนาด้วยทานแห่งท่าน ให้ทนแลกระทำบุญแลมีใจยินดีแลเอาช่วยท่านแล สัทธาด้วยท่านฯ อนึ่งกระทำด้วยกายแลบำเรอแก่พ่อแลแม่ครูบาธยาย แลกวาดวัดปัดแผ้วแผ่นดินที่พระพุทธรูปแลที่สถูปพระเจดีย์พระรีรมหาโพธิฯ


    อนึ่งกระทำบุญด้วยกายคือว่ายำเยงพ่อแลแม่ผู้เฒ่าผู้แก่แลครูบาอาจารย์ แลมิได้ประมาทท่านสักอันฯ อนึ่งเทศนาธรรมสั่งสอนท่านฯ อนึ่งหมั่นฟังพระธรรมเทศนาอันใดอันตนกระทำบำเพ็งบมิแท้ไส้ หมั่นถามท่านรู้ผู้รู้หลักโสดฯ อนึ่งเอาใจปลงใจเชื่อแก่ดพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ พ่อแม่ครูอาจารย์เจ้าไทยผู้ได้เลี้ยงตนด้วยใจอันซื่อตรง ฯ บุญทั้ง ๑๐ จำพวกนี้แลอันมีบุญอันเป็นอารมณ์แล ๖ โสดฯ บุญอันใดอันเป็นอารมณ์สิ้นฯ อนึ่งเห็นอารมณ์เพื่ออันเป็นบุญด้วยตาแลบันดาลใจเป็นอารมณ์แล้วจึงมากระทำบุญฯ อนึ่งได้ยินเสียงอันจะเป็นบุญด้วยเป็นอารมณ์จึงมาทำบุญฯ อนึ่งหอมกลิ่นอันเป็นบุญด้วยจมูกเป็นอารมณ์จึงมากระทำบุญฯ อนึ่งกินอาหารสะอาดเพื่ออันเป็นบุญด้วยลิ้นเป็นอารมณ์จึงมาทำบุญแลให้ทานฯ อนึ่งท่านผู้ใดถือผิด อนึ่งเพื่ออันเป็นบุญด้วยตนเป็นอารมณ์จึงมากระทำบุญฯ อนึ่งหากคำนึงธรรมในใจตนเป็นอารมณ์จึงมาทำบุญฯ บุญทั้ง ๖ จำพวกนี้แลอันมีบุญอันเป็นอธิบดีแล ๔ แล ๔ อันโสด ๆ อนึ่งมีใจเที่ยงแก่บุญจึงกระทำฯ อนึ่งพยายามแก่บุญแลกระทำฯ หนึ่งให้มั่นแก่บุญแลจึงกระทำฯ


    อนึ่งพิจารณาแก่บุญแลยินดีจึงทำฯ บุญทั้ง ๔ จำพวกนี้แลอัน ๆ มีบุญสุตวาภาพ แล๓ แล ๓ โสดฯ อันใดสิ้นฯ อนึ่งกระทำด้วยตนฯ อนึ่งกระทำบุญด้วยถ้อยคำฯ อนึ่งกระทำบุญด้วยใจฯ บุญทั้งหลายอันนั้นแลอันยังมีแล ๓ โสดฯ อนึ่งเมื่อกระทำบุญจริง แต่เท่าว่ากระทำสเล็กสน้อยฯ อนึ่งกระทำแต่พอปรามฯ แต่ใจอันบังเกิดบุญในกามภูมิได้ ๑๗๓๘๐ ดังนี้ คือว่าให้เอามหากุศล ๘ ตั้งเอาทศบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ คูณแล้วเอาอารมณ์ ๖ คูณแล้ว เอาอธิบดี ๔ คูณแล้ว เอากรรม ๓ คือ กายกรรมวจีกรรมมโนกรรมนั้นคูณ แลเอาหินติก ๓ คือหินมัชฌิมปณีตนั้นคูณได้ ๑๗๒๘๐


    แลฯ จิตผู้นี้โสดยังมีเจตสิกอันเป็นเพื่อนจิต แต่งมายุยงให้ใจให้กระทำบุญได้ ๓๘ จำพวกคืออันใดสิ้นฯ อนึ่งให้ต้องใจ อนึ่งให้เสวยคือให้ฟังให้ดูฯ อนึ่งให้รู้ อนึ่งให้คำนึงดู อนึ่งให้ถือบุญมั่น อนึ่งให้รักษาเพื่อนใจฝูงนั้น อนึ่งเอาเพื่อนใจฝูงนั้นมาหมัวกันให้จากกัน อนึ่งให้ดำริเถิงบุญ อนึ่งให้พิจารณาบุญ อนึ่งให้จำหุตให้กระทำบุญ อนึ่งให้พยายามกระทำบุญ อนึ่งให้ชื่นชมกระทำบุญ อนึ่งให้ใจเที่ยงแก่บุญ อนึ่งให้สัทธาแก่บุญ อนึ่งบมิให้ลืมแก่บุญ อนึ่งให้ละอายแก่บาปแลกระทำบุญ อนึ่งให้กลัวแก่บาปแลกระทำบุญ อนึ่งบมิให้โลภอันจะห้ามบุญ อนึ่งบมิให้เคียดอันจะเสียบุญ อนึ่งให้ใจเคียดประกลาย อนึ่งให้ตนเบาแก่บุญ อนึ่งให้ใจเบาแก่บุญ อนึ่งให้ตนพลันแก่บุญ อนึ่งให้ใจพลันแก่บุญ อนึ่งให้ตนอ่อนแก่บุญ อนึ่งให้ใจอ่อนแก่บุญ อนึ่งให้ตนด่วนแก่บุญ อนึ่งให้ใจด่วนแก่บุญ อนึ่งให้ตนบาหนดอ่อนแก่บุญ อนึ่งให้ใจลำอุดแก่บุญ อนึงให้ตนซื่อแก่บุญ อนึ่งให้ใจซ์อแก่บุญ อนึ่งให้กล่าวอันซื่อ อนึ่งให้กระทำเนียรโทษ อนึ่งให้กินอาหารเนียรโทษ


    อนึ่งให้เอ็นดูสัตว์ทั้งหลาย อนึ่งให้ใจอ่อนแก่สัตว์ทั้งหลาย อนึ่งให้มีปรีชาฯ ผสมทั้งปวงได้ ๓๘ จำพวกนี้ย่อมเป็นเพื่อนใจ บุญทั้งหลายนี้ใช่แต่เมืองมนุษย์ยภูมิกระทำแลฯ ได้บุญในแผ่นดินนี้ทั้งฝูงเทพยดาอันอยู่ในฉกามาพจรภูมิก็ดี ก็ย่อมกระทำบุญฝูงนี้แลจึงได้เป็นพระอินทร์เทวดาในเมืองฟ้าไส้ฯ บุญฝูงนั้นให้ได้สมบัติเป็นมลากเป็นดีในกามโลกย์นี้ได้ไส้ อาจให้ได้สมบัติในพรหมโลกย์นั้นก็จะกล่าวภายหน้าโพ้น อันกล่าวมาแล้วนี้ย่อมกามาพจรกุศลแล ฯ



    จะกล่าวเถิงมนุษย์ทั้งหลายแรกมาเอาปฏิสนธิในท้องแม่ชื่อว่าชลามพุชโยนินั้น อันจะเกิดรูป ๒๘ ครรภทีเดียวดุจอุปปาติกนิกนั้น เป็นต้นว่า มนุษย์อันเกิดในนรกภูมินั้น อันมีรูป ๒๘ นั้นโดยอันเกิดโดยอันดับดังกล่าวนั้นแลฯ อันว่ารูป ๒๘ นั้นมีรูปเปํนอันองค์อีกได้ ๕๓ ผสมมาทั้งมูล ๘๑ นั้น รูปฝูงนั้นยังมีชีวิตอันแต่งเลี้ยงเนื้อเลี้ยงตนอยู่ ๗ แห่งนั้น คือแห่งใดสิ้นฯ ชีวิตอันหนึ่งอยู่ในจักษุนั้นแต่งให้รู้ดู ฯ ชีวิตอันหนึ่งอยู่ในกายแต่งให้รู้อันยินอันเจ็บอันปวดฯ ชีวิตอันหนึ่งอยู่ในภาวแต่งให้รู้รสกามตัณหา ชีวิตอันหนึ่งอยู่ในหัวใจแต่งให้รู้รำพึงคำนึงมีทุกอันแลฯ


    อันว่าฝูงผู้หญิงทั้งหลายทั้งปวงแลมีครรภไส้ย่อมมีด้วยประการ ๗ สิ่งฯ อันใดสิ้น อนึ่งชื่อกายสังสัคคคัพภนั้น อนึ่งชื่อว่าโปลนคัพภ อนึ่งชื่อว่าอโลฉปานคัพภ อนึ่งชื่อว่านาภีปรามาสนคัพภ อนึ่งชื่อว่าสัททคัพภ อนึ่งชื่อว่าคันธคัพภ อนึ่งชื่อว่าสัททนคัพภ แลคัพภทั้งหลาย ๗ ประการ ประการ ๑ ดังนี้แลฯ อันว่ากายสังสัคคคัพภนั้น


    คือเมื่อแรกบังเกิดมีครรภในขณะเมื่อบุรุษสมาคมด้วยนั้นแลฯ อันว่าโปลนคัพภนั้นคือผู้หญิงลางคนรักผู้ชายผู้ใดแลว่ามันเอาผ้าผู้ชายนั้นมานุ่งมาห่ม ชมเชยต่างตัวชายนั้น หญิงนั้นมีครรภในขณะเมื่อชมผ้านั้นแลก็ได้ชื่อว่าโปลนคัพภแลเพื่อดังนั้นแลฯ หญิงลางคนมีใจรักใคร่ผู้ชายแล เมื่อใดราคะผู้ชายนั้นตก แลหญิงนั้นได้กินน้ำราคะนั้นก็มีครรภแลครรภนั้นเรียกชื่อว่าอโลฉปานคัพภดุจดังแม่เนื้ออันเป็นแม่เจ้าฤๅษีผู้ชื่อว่าสิงคดาบสนั้นแลฯ หญิงลางคนผู้ชายลูกคลำเนื้อก็ดีคลำตัวแลท้อง แลหญิงนั้นยินดีแลมีใจรักบุรุษนั้นนัก บังเกิดมีครรภดังนั้นเรียกชื่อว่านาภีปรามาสคัพภะ ดุจดังปาลิกาดาบสินีผู้เป็นมารดาเจ้าสุวัณณสาม แลดังนางพระญาผู้เป็นมารดาพระญาจันทรโชติ แลนางพระญาผู้เป็นมารดาเจ้านันทกุมารนั้นฯ สตรีลางคนมีใจรักบุรุษ ๆ ผู้นั้นมากลายสตรี ๆ นั้นยินดีก็มีครรภฯ


    ดังนี้ชื่อว่าทัสนคัพภะแลฯ สตรีลางคนมีใจรักใจใคร่บุรุษผู้ใดแลบุรุษผู้นั้นเจรจาพาที แลสตรีผู้นั้นแต่ได้ยินเสียงบุรุษผู้นั้นแลยินดีก็มีครรภบังเกิดครรภ ๆ นั้นชื่อว่าทัททคัพภะดุจนักนกยางทั้งหลายมีแต่ตัวเมียแลว่าหาตัวผู้มิได้ เมื่อใดแลเขาได้ยินเสียงฟ้าร้องไส้เขาหากไข่เองแลดุจดังแม่ไก่แลได้ยินเสียงไก่ตัวผู้ร้องขันแลมีไข่ดังนั้นก็มี ดังแม่วัวอันได้ยินเสียงพ่อวัวถึกหูดอัวแลมีครรภนั้นฯ อันชื่อว่าคันธคัพภะนั้นดังแม่วัวอันได้ดมกลิ่นดมอายวัวถึก แลมีครรภดังนั้นก็มีแลฯ ดังฤๅแลว่ามนุษย์เรานี้เกิดในอัณฑชโยนิก็ได้ แลชลามพุชโยนิก็ได้ แลสังเสทชโยนิก็ได้ แลอุปปาติกโยนิก็ได้ แลโยนิทั้ง ๔ นี้ย่อมได้ดังรมาแลฯ อาจาริยผู้เฉลยว่าดังนี้ อันว่าเกิดอุปปาติกโยนินั้นดุจนางผู้หนึ่ง ชื่อนางอัมพปาลิกา นั้นแล นางนี้เกิดเป็นอุปปาติกโยนิแลฯ จะกล่าวเถิงนิทานนางนั้นดังนี้ แลว่ายังมีกัลปหนึ่งแต่ก่อนโพ้น แต่กัลปนั้นมาเถิงภัททกัลปเราได้นี้ นับถอยหลังลงไปได้ ๓๐ กัลปแล ในกัลปนั้นมีพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งทรงพระนามชื่อพระพุทธสิขิเจ้า ๆ นั้นเสร็จมาโปรดโลกย์ทั้งหลาย แลในศาสนาพระพุทธเจ้านั้น ยังมีนางผู้หนึ่งชื่อว่านางอัมพปาลิกา แล นางนั้นได้บวชเป็นภิกษุณีในศาสนาพระพุทธเจ้านั้น แลนางนั้นถือศีลาทิคุณมั่นคงนักหนาอุปฐากรักษากวาดวัดผัดแผ้วทุกเมื่อ


    เมื่อในกาลวันหนึ่ง นางเจ้าภิกษุณิหนึ่งนั้นไปปทักษิณพระเจดีย์เจ้าด้วยหมู่ชาวเจ้าเถรีทั้งหลายด้วยกันฯ เมื่อนั้นยังมีเจ้าไทยเถรีองค์ ๑ ธเป็นอรหันตาขีณาสพ แลแก่กว่าเจ้าไทยทั้งหลาย แลท่านนั้นปทักษิณไปก่อนท่านทั้งหลายแลท่านมาพลันนักแลมิทันแปรหน้าหนีพระเจดียฺเจ้า แลน้ำลายเหนียวของนางเถรีอรหันต์ก็เล็ดออกก้อน ๑ ต้องพระเจดีย์เจ้าแล ท่านนั้นก็บมิทันเห็นแลธก็เดินไปภายภาคหน้าฯ

    เมื่อนั้นจึงเจ้าภิกษุนีผู้ชื่อนางอัมพปาลิกนิกานั้นเห็นก้อนน้ำลายนั้น จึงนางอัมพปาลิกนิกานั้นจึงด่าว่าดังนี้ ว่าผู้หญิงแม่ร้ายผู้ใดแลมาถ่มน้ำลายลงเต็มพระเจดีย์เจ้าอันเป็นเจ้ากูดังนี้แล กูเจ็บใจกูนักหนาหาที่อุปมามิได้เลย นางอัมพปาลิกนิกาด่าแล้วดังนั้นก็เดินไปแลฯ เมื่อนั้นนางอัมพปาลิกนิกาภิกษุณี จึงจะมารำพึง ต่อควงามอันท่านกล่าวแลบอกข่าวทุกขเวทนาในท้องแม่มนุษย์นี้ร้ายนักหนา แลนางนั้นก็มีใจเกลียดอายยิ่งนักหนา นางนั้นมิได้ปรารถนามาเกิดที่ในท้องของมนุษย์เลย แลนางผู้นั้นจึงปรารถานาขอเกิดเป็นอุปปาติกโยนิ แลนางนั้นอยู่สร้างสมณธรรมบวชเป็นภิกษุณีอยู่ตราบเท่าเถิงชนมายุ


    ครั้นว่านางนั้นสิ้นชนมาพิธีแล้ว นางก็ได้ไปตกนรกด้วยบาปกรรมขของนางที่นางได้ด่าพระมหาเถรีขีณาสพนั้น แลนางได้ทนทุกขเวทาอยู่ในนรกโพ้นหึงนานหลายปีนักหนา แลว่าสิ้นบาปพ้นจากนรกขึ้นมาแลได้เกิดเป็นผู้หญิงแม่ร้ายแพศยาได้หมื่นชาติ เพราะบาปอันตนได้ด่าพระมหาเถรีขีณาสพเจ้านั้น ว่าผุ้หญิงแม่ร้ายนั้นแลจึงเป็นหญิงแพศยา ครั้นว่าสิ้นแต่นั้นแล้วจึงได้มาเกิดที่ในค่าคบไม้ม่วงต้น ๑ อันมีที่ในอุทยานของพระญาในเมืองไพสาลีนครนั้น ด้วยเดชอำนาจศีลอันที่นางได้รักษามั่นคงแต่เมื่อยังได้บวชเป็นภิกษุณีในกำเนิดก่อนนั้น แลนางมีรูปโฉมโนมพรรณ์งามทั้วทั้งสารพางค์ แลงามกว่านางทั้งหลายชาวเมืองไพสาลีนครนั้นฯ ครั้นว่าในค่าคบไม้ม่วงบัดเดี๋ยวก็ใหญ่เป็นสาวดีควรที่มีเหย้ามีเรือนในทันใดนั้นแลฯ เมื่อนั้นคนหมู่อยู่เฝ้าอุทยานของพระญานั้นเขาเห็นนางนั้นงามนักหนา เขาจึงเอานางนั้นไปถวายแก่พระญาผู้เสวยราชในเมืองไพสาลีนครนั้น แลเขาทูลแด่พระญาว่าตูข้าพระเจ้าได้นางผู้นี้ ๆ เกิดที่ในค่าคบไม้ม่วงแลฯ พระญาตรัสผิดังนั้นจริงไส้เราจะให้ชื่อนางแลเรียกว่าอัมพปาลิกนิกกาเถิดฯ


    เมื่อแลนางอัมพปาลิกนิกาอยู่ในเมืองไพสาลีนั้น เขาก็เกิดด่าทอกันผิดกันผิดใจกันนักหนา เพราะว่าต่างคนต่างชิงกันกล่าวขอนางนั้นมาเป็นเมียแล ความดังนี้ก็เป็นกุลาหลฟุ้งเฟื่องไปนักหนา เพราะว่าเขาทั้งหลายเห็นรูปนางนั้นแลงามชิงกันกล่าวเอามาเป็นเมียแลฯ ด้วยบาปกรรมอั้นนางอัมพปลิกนิกาอันได้ด่าพระมหาเถรีอันเป็นขีณาสพนั้นไปบมิสิ้น แลเศษบาปนั้นยังติดตัวนางอยู่พระญาจึงว่าดังนี้ บัดนี้ท้าวพระญาแลลูกขุนทั้งหลายสในเมืองเรานี้เขาด่าทอกันนัก เพราะว่าจะชิงเอานางอัมพปาลิกนิกายบมิรู้แล้วดังนี้ มาเราจะไว้นางให้เป็นแพศยาเถิดฯ


    จึงท้าวพระญาแลลูกเจ้าเหง้าขุนทั้งหลายจึงจะหายความผิดแผดด่าทอกันแล พระญาธจึงตั้งนางอัมพปาลิกนิกานั้นไว้ให้เป็นนางนครโสภีณีให้เป็นสาธารณะ แก่ท้าวพระญาลูกเจ้าเหง้าขุนทั้งหลายแลฯ อยู่จำเนียรกาลไปนางจึงเกิดลูกชายคน ๑ ชื่อเจ้าโกณฑัญกุมาร แลนางนั้นมีใจใสสัทธาในศาสนาพระสัพพัญญูพุทธเจ้าเรานี้นักหนา แลจึงสร้างอารามกับทั้งด้วยพระวิหารอันหนึ่งแล้วจึงให้เจ้าโกณฑัญกุมารผู้ลูกนั้นบวชในศาสนาแห่งพระพุทธเจ้าเรา แลเจ้าโกณฑัญกุมารนั้นก็สร้างสมณธรรมก็บรรลุเถิงแก่อรหัตเป็นขรณาสพอำพลด้วยปฏิสัมภิทาญาณ ทรงพระนามชื่อเจ้าโกณฑัญเถรแลฯ


    เมื่อนั้นนางอัมพปลิกนิกานั้นได้ฟังพระธรรมเทศนาแต่สำนักนิ์พระโกณฑัญเถรผู้ลูกแห่งตนนางก็ยินดีแลมีใจสัทธานางก็บวชในศาสนาพระพุทธเจ้าเรานี้อยู่จำเนียรเจียรกาลนางก็ลุเถิงอรหัตเป็นขีณาสพแล ครั้นว่าสิ้นชนมาพิธีแล้วไส้ก็เถิงแก่มหานครนิพพานแลฯ อันว่ามนุษย์เรานี้เกิดในอุปปาติกโยนิไส้ คือว่านางอัมพปาลิกนิกานี้แลฯ แลอันว่ามนุษย์เรานี้แลว่าเกิดในอัณฑชโยนินี้นั้นก็มีดุจนิทานดังนี้แลฯ




    จะกล่าวเถิงนิทานมนุษย์เกิดในอัณฑชโยนิฯ เมื่อนั้นยังมีพราหมณ์ผู้หนึ่งอยู่ในเมืองใหญ่เมืองหนึ่ง แลเมืองนั้นชื่อว่าปาตลีบุตรมหานครฯ แลพราหมณ์ผู้นั้นออกไปจากพระนครสัญชรเข้าไปสู่ป่าใหญ่อันหนึ่ง แลพราหมณ์ผู้นั้นจึงพบกินนรตัว ๑ ชื่อแห่งกินนรนั้นบมิปรากฎเลย และพราหมณ์ผู้นั้นเห็นโฉมนางกินนรนั้นก็มีใจปดิพัทธ์รักนักหนา จึงสมาคมด้วยนางกินนรนั้น แลสังวาสอยู่ด้วยกันในกลางป่านั้น มิช้าแลากินรีก็มีครรภ์แลเกิดเป็นไข่สองดวง นางกินรีก็ฟังไข่ ๆ แตกออกเป็นมนุษย์สองคน ผู้พี่นั้นชื่อเจ้าดิสสกุมาร ผู้น้องนั้นชื่อเจ้ามิตรกุมาร ครั้นว่ากุมารทั้งสองพี่น้องนั้นรู้ความแลเขาแลดูหน้าพ่อแม่เขา ๆ บมิดุจกันเลย แลเขาทั้งสองนั้นดูอนิจจาแก่ใจ เขาพี่น้องจึงเจรจาด้วยกันว่าดังนี้


    ชื่อว่าเกิดมาในสงสารนี้ ย่อมเป็นอนิจจาบมิเที่ยงสักอันเลย มาเราพี่น้องจะไปบวชเป็้นสมณภาพแล้วแลจะเอาตนเข้าสู่นิพพานเถิดฯ เจ้าพี่น้องทั้งสองจึงจากที่นั้นไป จึงไปบวชอยู่ในสำนักนิ์พระมหาเถรองค์หนึ่ง ทรงนามชื่อว่าพระพุทธเถร อยู่จำเนียรเจียรกาลไปเจ้าไทยสองนั้นก็บรรลุเถิงแก่อรหัตตมรรคญาณ ครั้นว่าสิ้นชนมาพิธีแล้วก็เสด็จเข้าสู่นฤพานแลฯ ฝูงคนอันเกิดในอัณฑชโยนินี้ไส้ คือว่าได้แก่เจ้าพี่น้องนี้แล ฯ



    อันว่าคนทั้งหลายอันเกิดในสังเสทชโยนินั้น ก็เทียรย่อมดังนางผู้หนึ่งชื่อนางปทุมาวดีแลมีลูกชาย ๕๐๐ คน เมื่อชาติก่อนโฑ้นนางนั้นเป็นดังนี้ เมื่อนั้นยังมีนางผู้หนึ่งเข็ญใจแลผู้นั้นไปไถนาแลนางจะเอาข้าวไปส่งผัวนางฯ นางนั้นจึงเอากระเชอข้าวใส่ไปบนหัวเมาะ ว่าทูนหัวไปแลฯ ครั้นว่าไปเถิงหนทางแม่นางจึงเห็นพระปัเตยกโพธิเจ้า ๑ งามนักหนาแลนางนั้นมีใจใส่สัทธายินดีจึงรำพึงในใจว่า ควรกูถวายบิณฑบาตแก่ประปัเตยกโพธิเจ้า แลนางนั้นจึงเอาข้าวใส่บาตรแล้วนางจึงเอาข้าวตอกอันระคนด้วยน้ำผึ้ง แลปั้นเป็นก้อนได้ ๕๐๐ ก้อน แล้วจึงเอาใส่บาตรลงเหนือข้าวสุกนั้นเล่า นางจึงทอดตาไปแลเห็นดอกบัวหลวงหมู่ ๑ เกิดมีในสระแทบหนทางนั้น นางจึงไปเก็บเอาดอกบัวนั้นมาแล้ว นางจึงเอาดอกบัวนั้นทอดลงในบาตรนั้น แลดอกบัวที่เหลืออยู่นั้น แลจึงวางลงในที่พระบาทพระปัเตยกโพธิเจ้าแล้วนางถวายบูชาแล้วไหว้คารวะพระปัเตยกโพธิเจ้านางจึงปรารถนาว่าดังนี้


    ด้วยผลาอานิสงฆ์แห่งข้าแลข้าได้บูชาพระปัเตยกโฑิเจ้าด้วยข้าวตอกอันระคนด้วยน้ำผึ้ง ๕๐๐ ก้อนนี้ ขอจงข้ามีลูกชาย ๕๐๐ คน ด้วยผลบุญอันข้าได้เอาดอกบัวหลวงมาบูชาพระบาทของผู้เป็นเจ้านี้ ถ้าแลว่าข้าเดินไปแห่งใดขอจงมีดอกบัวพูนเกิดขึ้นมารองตีนข้าไปจงได้ทุก ๆ ย่างสบสถานทุกเมื่ออย่าได้ขาดสายเลยฯ ครั้นว่านางปรารถนาแล้วก็ไหว้อำลาพระปัเตยกโพธิเจ้าไปโดยกิจของนางนั้นแลฯ อยู่จำเนียรเจียรกาลไปครั้นว่านางนั้นสิ้นอายุศม์ในเมืองคนจึงเอาตนไปเกิดในเมืองฟ้าแลเสวยสมบัติอันเป็นทิพย์นั้นฯ ครั้นว่าสิ้นอายุในเมืองฟ้าแล้วจึงมาเกิดในมนุษย์โลกย์นี้ไส้ นางก็มีใจเกลียดในครรภ์ท้องแม่นั้ แลปรารถนาลงมาเกิดในดอกบัวดอก ๑ อันมีอยู่ในสระ ๆ หนึ่งมีอยู่แทบตีนเขาพระหิมวันต์ฯ เมื่อนั้นยังมีฤๅสิทธ์องค์ ๑ ธนั้นอยู่ในป่าพระหิมพานต์ธย่อมลงมาอาบน้ำในสระนั้นทุกวัน ธเห็นดอกบัวทั้งปวงนั้นบานสิ้นแล้วทุกดอก ๆ แลว่ายังแต่ดอกเดียวนี้บมิบานแล ดุจอยู่ดังนี้บมิบานด้วยทั้งหลาย ๆ ได้ ๗ วัน ฯ พระมหาฤๅษีนั้นธก็ดลยลมหัศจรรย์นักหนา ธึงหันเอาดอกบัวดวงนั้นมา ธจึงเห็นลูกอ่อนอยู่ในดอกบัวนั้นแล เป็นกุมารีมีพรรณงามดั่งทองเนื้อสุก พระมหาฤๅษีนั้นธมีใจรักนักหนา


    จึงเอามาเลี้ยงไว้เป็นพระปิยบุตรบุญธรรม แลฤๅษีเอาแม่มือให้ผน้อยดูดกินนม แลเป็นน้ำนมไหลออกมาแต่แม่มือมหาฤๅษีนั้นด้วยอำนาจบุญพระฤๅษี และบุญกุมาริกานั้นด้วยแลเหตุว่านางนั้นเกิดในดอกบัวจึงพระมหาฤษีเจ้าธจึงให้ชื่อว่านางปทุมาวดีแลฯ เมื่อนั้นยังมีพรานเนื้อผู้ ๑ เดินไพรไปมาในป่ากิมวันต์ พรานนั้นเห็นนางงามนักหนา พรานนั้นจึงไปทูลแด่พระญาพรหมทัตราชอันเสวยราชสมบัติในเมืองพาราณสีมหานครนั้นฯ พระญพรหมทัตจึงไปไหว้มหาฤๅษีกล่าวขอนางนั้นไปเป็นภรรยาฯ แลนางเกิดมาไส้


    ครั้นว่านางรู้ย่างรู้เดินเล่นไส้ครั้นว่านางย่างเดินไปแห่งใด ๆ ก็ดีเทียรย่อมมีดอกบัวหลวงอันบาน พูนเกิดขึ้นมาแต่แผ่นดินแลมารับมารองเอาตีนนางทุกย่างนางเดินไปนั้นฯ ด้วยผลบุญคานิสงส์แห่งนางอันได้เอาดอกบัวหลวงบูชาพระบาทพระปัเตยกโพธิเจ้าแต่ก่อนฯ และนางได้ปรารถนานั้นแลฯ อยู่จำเนียรเจียรกาลไปนางก็ทรงครรภ์ถ้วน ๑๐ เดือนจึงคลอดชาวเจ้าราชกุมามารทั้งหลาย ๕๐๐ คนในพระราชมณเฑียรนั้นแลฯ เจ้ากุมารผู้เป็นพี่ใหญ่นั้นไส้อยู่ภายในรกแต่คนเดียว ส่วนว่าเจ้าราชกุมารทั้งหลาย ๔๙๙ คนั้นไส้ติดอยู่แต่ภายนอกรกนั้นแลฯ เจ้าราชกุมารผู้พี่อันมีรกหุ้มห่ออยู่นั้นไส้เรียกชื่อว่าเจ้าพระญามหาปทุมกุมาร แลฯ ครั้นว่าชาวเจ้าทั้งหลายนั้นใหญ่แล้ว เจ้าก็ชวนกันไปบวชก็ตรัสเป็นพระปัเตยกโพธิเจ้าทั้ง ๕๐๐ พระองค์แลฯ อยู่จำเยรเจียรกาลไส้ครั้นว่าสิ้นพระชนมาพิธีเสด็จเข้าสู่นิพพานแลฯ เจ้ามหาปทุมาวดีผู้พี่อันเกิดในครรภ์แล ว่าอยู่ภายในรกนั้นเรียกชื่อว่าเกิดเป็นชลามพุชโยนิแลฯ แต่ฝูงเจ้าพี่น้องทั้งหลาย ๔๙๙ คนนั้นแลนางผู้เป็นแม่อันชื่อว่าปทุมาวดีนั้นเรียกชื่อว่าเกิดแต่สังเสทชโยนิแลฯ อันว่าฝูงคนอันเกิดสังเสทชโยนิก็มีดังนี้แลฯ

    แลสัตว์ทั้งหลายนี้เมื่อจะสิ้นอายุไส้แลมี ๔ ประการดังนี้แลฯ ประการ ๑ ชื่อว่าอายุไขยแล ประการ ๑ ชื่อว่กรรมไชยแล ประการ ๑ ชื่อว่อุภยไชยแล ประการ ๑ ชื่อว่าอุปัจเฉทกรรมไชยแลฯ อันว่าอายุควรสิ้นแต่น้อยแลตายดังนั้นชื่ออายุไขย อันว่าอายุศม์ยังมิควรที่ตายแลมาตายดังนั้นชื่อว่ากรรมไขยแลฯ คนจำพวกใดจำพวกหนึ่ง ที่ว่าเฒ่าว่าแก่แล้วควรตายดังนั้น ชื่ออุภยไขยแลฯ คนจำพวกใดจำพวก ๑ อยู่ดีกินดีแลมีอันตราย


    คือว่าเขาตีเขาแทงแลตกต้นไม้ แลตกน้ำปัจจุบันตายดังนั้น ชื่ออุปัจเฉทกรรมไขยแลฯ อันว่าอุปัจเฉทกรรมลางคาบดานผู้เยียวยาเฝ้าเหนือกรรมใด ผู้กรรมอันจะเอาสัตว์ทั้งหลายเวียนไปมานี้ยังมีเท่านี้โสดฯ กรมอันเป็นต้นแก่กรรมทั้งหลาย มี ๔ จำพวก หนึ่งชื่อชนกกรรม อนึ่งชื่ออุปถัมภกกรรม์ อนึ่งชื่ออุปปิฬกกรรม์ อนึ่งชื่ออุปฆาฏำกรรม ๔ จำพวกดังนี้ ฯ อันชื่อว่าชนกกรรมนั้น คือว่าเกิดเป็นคนทั้งหลายนี้แลฯ อันชื่ออุปถัมภพกรรมนั้น หากให้สุขทุกข์ให้ยินดีแลยินร้ายนั้นแลฯ อันชื่อว่าอุปปิฬกกรรมนั้นหากให้ชุมแห่งเนื้อตน แลให้เป็นทุกข์ประการนี้แลฯ


    อันชื่อว่าอุปฆาฎกกรรมนั้น คือว่าบำบัดชีวิตสัตว์ทั้งหลายฯ กรรมวิบากอันจะต่งให้เป็นทุกข์นั้นมี ๔ จำพวกดังนี้ฯ อนึ่งคือว่าปัญจานันตริยกรรมฯ อนึ่งคือว่าอาสันนกรรมฯ อนึ่งคือว่าอาจิณณกรรมฯ อนึ่งคือว่ากัตตากรรมฯ อันชื่อว่าอาสันนกรรมนั้น คือให้วิบากด่วนดับพลันแลฯ อันื่อว่าอาจิณณกรรมนั้นให้ลำอุติเป็นอุปทรัพย์บมิขาดให้คำนึงแลฯ อันชื่อว่ากัตตากรรมนั้นหากให้วิบากอันเป็นบุญก็ดีบาปก็ดี ให้ด้วยด่วนนักหนาแลฯ กรรมตายอันให้วิบาก อันอาจเพื่อตนกระทำนั้นมี ๔ จำพวกนั้นโสดฯ อนึ่งชื่อทิฏฐธรรมเวทนิยกรรม อนึ่งชื่ออุปปัชชเวทนิยกรรม อนึ่ชื่ออปราปรเวทนิยกรรม อนึ่งชื่ออโหสิกกรรมแลฯ อันชื่อว่าทิฏฐธรรมเวทนิยกรรมนั้น คือว่าได้ทำบุญทำบาปก็ดีในกำเนิดนี้ แลกรรมนั้นหากให้พิบากได้ทั้งกำเนิดนี้แลฯ อันชื่อว่าอุปปัชชเวทนิยกรรมนั้นฯ จงให้ได้วิบากในกำเนิดหน้าโพ้นแลฯ อันชื่อว่าปอราปรเวทนิยกรรมนั้น ๆ ตามให้วิบากคราบใดเถิงนิพานแลฯ อันชื่อว่อโหสิกรรม ๆ นั้น คือให้หายไปบมีวิบากเลยฯ ฝูงสัตว์ทั้งหลายนี้เมื่อจะใกล้ขาดใจตายนั้น ผิว่าจะได้ไปตกนรกผู้นั้นเห็นเปลวไฟแลเห็นไม้งิ้วเหล็กเห็นฝูงผีถือไม้ค้อนแลฯ ถือหอกดาบมาลากชักตัวไปแลฯ ผิแลว่าตายจะได้ไปเกิดเป็นมนุษย์ไส้แลว่าเห็นก้อนเนื้อแลฯ ผิตายไปเกิดในสวรรค์ไส้เห็นต้นไม้กัลปพฤกษ์เห็นเรือนทองเห็นปราสาทแก้วงมนักหนาเห็นฝูงเทพยดาฟ้อนรำเล่นฯ ผิตายแลเป็นเปรตไส้เห็นแกลบแลข้าวลีบแลให้กระหายน้ำ ด้วยเห็นเลือดแลน้ำหนองแลฯ ผิตาแลจะไปเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน


    คือนกแลเนื้อฟานถึกหมูหมาไส้เห็นป่าแลต้นไม้เห็นกอไผ่แลเชือกเขาแลหยากเยื่อเนื้อถึกอันมีในป่าในบ้านแลฯ ฝูงสัตว์ทั้งหลายเมื่อจะใกล้ขาดใจตายและจะไปเอาปฏิสนธิแห่งอื่น แลเมื่อใกล้จะขาดแลเกิดนั้นแลยังรำพึงในใจตนนั้นได้ ๔๑ ดวงจิต ตนจึงขาดใจตายจากนี้แล ๆ เอาปฏิสนธิเกิดโพ้นฯ จิต ๔๑ ดวงคืออันใดบ้างเล่ ภวังคจละ อันชื่อว่าภวังคจละนั้ นอุปาทัฏฐิติภังคาอันให้รำพึง ๖ อัน ปัญจทวราวัชนะ ให้รู้รำพึง ๓ อันฯ วิญญาณอันให้รู้แลรำพึงนั้น ๓ อันฯ สัมปฏิจฉันนะอันให้อันเห็นอันรู้นั้น ๓ อันฯ สันติรณ อันให้พิจารณาข้ามนั้นฯ โวฏฐัพพนะให้จำหุดมั่นแก่อันพิจารณานั้น ๓ อันฯ ชวนะ อันเสวยวาจอันกล่าวก่อนนี้ได้ ๒๑ อันฯ ตทาลัมพณะ ให้ฟังอันเสวยนั้นได้ ๖ อันฯ ภวังคจละ อันใจให้ตาย ๓ อันจึงตายผสมจิตวิถีนั้นได้ ๔๑ ดวงแลฯ อันมีฝูงสัตว์แล ๗ อันเป็นมหันตารมณ์นั้นแล ครั้นว่าขาดใจตายแล้วก็ไปแล อันว่าปัญจสกลบมิไปด้วยเลย อันไปด้วยนั้นเท่าเว้นไว้แต่บุญแลบาปนั้นหากไปบังเกิดวิบากแลฯ เป็นตนไส้แต่บาปแลบุญหากให้เป็นดีแลเข็ยใจ ลางคนไส้งาม ลางคนไส้บมิงามลางคนไส้ยืน ลางคนไส้บมิยืน ลางคนไส้เป็นเจ้าท่านลางคนไส้เป็นข้าท่าน ลางคนไส้เป็นคนดี ลางคนไส้เข็ญใจ ลางคนมีปรีชาลางคนหาปริชาบมิได้ฯ ผู้ใดเรียนพระอภิธรรมมด้วยอมฤตย์จึงจะรู้แท้ไส้ ผู้ใดบมิได้เรียนบมิได้ฟังไส้แลจะรู้แท้แก่ใจก็ยากนักหนาแลฯ กล่าวเถิงฝูงสัตว์อันเกิดในมนุษยภูมิอันเป็นปัญจกัณฑ์โดยสังเขปแล้วแต่เท่านี้แลฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กุมภาพันธ์ 2009
  18. สัตบุรุษ

    สัตบุรุษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    733
    ค่าพลัง:
    +840
    ฉกามาพจรภูมิ


    ทีนี้จะพรรณาเถิงฝูงเทพยดาอันเกิดในฉกามาพจรภูมิโลกย์แลฯ อันว่าเทพยดามี ๓ จำพวกโสด อนึ่งชื่อว่าสมมุติเทวดาแลฯ อนึ่งชื่อว่าอุปปัติเทวดาแลฯ อนึ่งชื่อว่าวิสุทธิเทวดาฯ ฝูงท้าวแลพระญาในแผ่นดินเรานี้ผิแลว่ารู้หลักแลรู้บุญรู้ธรรม แลกระทำโดยพิธราชธรรมทั้ง ๑๐ ประการดังนั้น ท่ารเรียกชื่อว่าสมมุตเทพยดาแลฯ แต่ปักข์ชั้นฟ้าเบื้องบนชื่อว่าฉกามาพจรเท่าเถิงพรหมโลกเบื้องบนนั้นชื่อุปปัติเทพยดาแลฯ


    พระพุทธปัเตยกโพธิเจ้าพระอรหันตาขีณาสพสาวกเจ้าแต่เสร็จ เข้าสู่นิพพานดังนั้นไส้เรียกชื่อว่า (วิสุทธิ) เทยดาแลฯ ฝูงเทพยดาอันเกิดในปักข์ขั้นฟ้าก็ดี และฝูงเทพยดาอันเกิดในอากาศก็ดีแลอาศัยในแผ่นดินนี้ขึ้นไปแลย่อมเอาปฏิสนธิอุปปาติกโยนิอันเดียวไส้ เอาปฏิสนธิด้วยปฏิสนธิ ๙ จำพวก ดังกล่าวก่อนนั้นแลฯ เทพยดาจำพวก ๑ พึงรู้แง่ภูเขาอันอยู่ในแผ่นดินนี้ก็อยู่เป็นพิมานเทพยดาจำพวก อยู่กลางพอเชิงเหนือต้นไม้ขึ้นเป็นพิมานอยู่มีปราสาทอยู่เหนือต้นไม้ใหญ่พุ่งไม้นั้นเป็นพิมานฯ ผิมีต้นฟัดตาไม้นั้น ขาใต้วิมานนั้นพังแลฯ ผิไม้นั้นหากหักเองก็ดี ปราสาทเทพยดานั้นพังฉลายแลฯ ผิว่าค่าคบไม้นั้นยังค้างใต้ปราสาทพิมานยังค้างแลฯ ผิค่าไม้หักสิ้นทุกพายไส้ ปราสาทเทพยดานั้นหักสิ้นแลฯ ฝูงเทพยดาอันอยู่ในพฤกษาพิมานนั้นถ้าต้นไม้หักพิมานก็หักสิ้นแลฯ ถ้ายังแต่ตอไม้ก็ดีปราสาทแก้วนั้นบมิพังสักอันยังตั้งดังเก่าไส้ ผิต้นไม้นั้นฉค่นลงทั้งรากสิ้นไส้ ปราสาทนั้นจึงหายแลบมิเห็นสักแห่งแล ปราสาทแก้วนั้นฝูงนั้นคนทั้งหลายแลดูบมิได้เห็นสักคาบ ฝูงฝีแลเทพยดาหากเห็นไส้ที่วิมานดังนั้นก็ดี พระจตุโลกบาลหากใช้ฝูงเทพยดานั้นมาแจกให้แก่เขาไส้ แลใจเขานั้นจะใคร่เอาที่ใดหากจะเลือกเอาเองนั้น บมิได้แต่แผ่นดินเราอยู่นี้ขึ้นไปเบื้องบนได้ ๓๓๖,๐๐๐,๐๐๐ ผิจะนับด้วยโยชน์ได้ ๔๖,๐๐๐ โยชน์ไส้ว่าจึงเถิงชั้นฟ้าอันชื่อว่าจาตุมหาราชิกาภูมิ


    อันตั้งอยู่เหนือจอมเขายุคุนธรฝ่ายตระวันตกตระวันออกก็ดี ฝ่ายหนทักษิณเขาพระสิเนรุราชมีเมืองใหญ่เทพยดาอยู่ ๔ เมือง โดยกว้างโดยยาวเมืองนั้นใหญ่ได้ ๔,๐๐๐,๐๐๐ วา รอบนั้นไส้เทียรย่อมกำแพงทองประดีบนิ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ แลกำแพงอัรอบนั้นโดยสูงได้ ๘,๐๐๐ วา บานประตูนั้นเทียรย่อมแก้วแลมีปราสาทอยู่เหนือประตูนั้นทุกอัน ในเมืองนั้นเทียรย่อมปราสาทแก้วฝูงเทพยดาอยู่ในแผ่นดินนั้นเป็นแผ่นดินทองพรายงามราบนักหนาดังหน้ากลองแลอ่อนนดังฟูกผ้า แลแก้วนั้นเมื่อเหยียบลงอ่อนสน้อยแล้วก็เต็มขึ้นมาเล่าบมิเห็นรอยตีนีเลยฯ


    นอกนั้นมีน้ำใสกว่าแก้วแลมีดอกบัวบาน ๕ สิ่งในสระน้ำนั้นหอมดังแสร้งอบ แลมีสรรพดอกไม้อันงามแลมีต้นไม้อันประเสริฐงามมีลูกอันประเสริฐแลมีโอชารสอันยิ่งแลไม้ฝูงนั้นเป็นดอกเป็นลูกทุกเมื่อแลบห่อนจะรู้วายเลยฯ เทพยดาผู้เป็นพระญาแก่เทพยดาทั้งหลายฝ่ายตระวันออกเขาสิเนรุราชนั้นชื่อว่าท้าวธตรัฐราชเป็นพระญาแก่เทพยดาทั้งหลายรวดทั่วกำแพงจักรวาลฝ่ายตระวันออกแลฯ เทพยดาผู้เป็นพระญาแก่เทพยดาแลฝูงครุฑราช แลฝูงนาคราชเถิงกำแพงจักรวาลเบื้องตระวันตกแลฯ เทพยดาผู้เป็นพระญาฝ่ายทักษิณชื่อท้าววิรุฬหกราช เป็นพระญาแก่ฝูงยักษ์อันชื่อกุมภัณฑ์ แลเทพยดาทั้งหลายรวดไปเถิงกำแพงจักรวาลฝ่ายทักษิณ แลเทพยดาผู้เป็นพระญาฝ่ายอุดรชื่อท้าวไพศพมหาราชเป็นพระญาแก่หมู่ยักษ์ทั้งหลาย แลเทพยดาฝ่ายอุดรทิศเขาพระสิเนรุราชรวดไปเถิงกำแพงจักรวาลฝ่ายดุดรทิศนั้นแลฯ อายุเทพยดาทั้งหลายในจาตุมหาราชิกานั้นได้ ๕๐๐ ปีทิพย์ ผิว่าจะนับปีในมนุษย์เรานี้ได้ ๙ ล้านปีในมนุษย์เราแลฯ


    แลฝูงเทพยดาอันอยู่เหนือกลางอากาศนั้ นลางจำพวกมีปราสาทแก้วโดยกว้างได้ ๘๐,๐๐๐ วาก็มี ลางจำพวกมีปราสาทแก้วโดยกว้างได้ ๑๖,๐๐๐ วาก็มี ลางจำพวกมีปราสาทแก้วโดยกว้างได้ ๘๐,๐๐๐ วา ลางจำพวกมีปราสาทแก้วโดยกว้างได้ ๘๘,๐๐๐ วาก็มี แลอยู่ทั้ง ๔ ด้านเขาพระสิเนรุราชเพียงเมืองใหญ่ เทพยดาทั้ง ๔ อัน ๆ อยู่เหนือจอมเขายุคุนธรนั้นแลฯ แม้นว่าใกล้กำแพงจักรวาลก็ดี


    แต่ดังนั้นเรียกชื่อว่าจาตุมหาราชิกาแลฯ พระอาทิตย์ก็ดี พระจันทร์ก็ดี แลฤกษ์ทั้ง ๒๗ ก็ดี ดาวดารากรทั้งหลายก็ดี เทียรย่อมเวียนไปรอบเขาพระสิเนรุราชนั้นทุกเมื่อฯ อันว่าพระญาเทพยดาทั้ง ๔ องค์นั้น พระอินทร์ให้แต่งเมืองฟ้าเมืองดินทั้งมวลทุกแห่งก็มาเรียกชื่อว่าพระญาจตุโลกบาลเพื่อดังนั้นฯ พระองค์พระญาเทวดานั้นโดยสูงได้ ๖,๐๐๐ วา องค์เทวดาทั้งหลายที่เป็นบริวารสูงได้ ๔,๐๐๐ วาฯ ผู้ใดได้กระทำบุญได้ไปเกิดเป็นเทพยดาย่อมมีปราสาทแก้วเงินทองสมบัติเป็นทิพย์อันอเนกแลฯ


    เมื่อนั้นเทพยดาอยู่ในปราสาท แลมีเทพยดาองค์ ๑ ไปเกิดในผ้าภัพพก็ดีดังนั้นชื่อว่าเป็นลูกสาวของเทพยดาองค์นั้นแลฯ เทพยดาลางจำพวกไปเกิดเหนือที่นอนไส้ เทพยดาองค์นั้นชื่อว่าเป็นเมียเทพยดาผู้เป็นเจ้าพิปารนั้นแลฯ เทพยดาลางจำพวกไปเกิดแทบตีนแท่นเทพยดาผู้ใด ๆ ไส้ แลเทพยดาผู้นั้นเป็นสาวใของเทพยดาผู้นั้น ๆ แลฯ เทพยดาผู้ใดแลได้กระทำบุญน้อยไส้ได้ไปเกิดในประตูปราสาทก็ดี แลเกิดในที่กำแพงแห่งเทพยดาตนใดได้เป็นข้าเทพยดาตนนั้น แต่ว่าใช่ภายนอกแลฯ ชื่อว่าเกิดนอกกำแพงแก้วอันที่ล้อมปราสาทแก้วเทพยดาดังนั้น ผิว่าเกิดในที่ในแดงเทพยดาองค์ใดเป็นไพร่ฟ้าแก่เทพยดาองค์นั้นแลฯ ผิว่าผู้ใดเกิดหว่างแผนเทพยดาทั้งสอง ๆ เอาไปเถิงพระอินทร์ให้ธบังคับ ิพรอินทร์ธจึงบังคับใช้ให้เทวดาองค์ ๑ มาวัดวาดูที่นั้น ฝ่ายใดใกล้ส่งให้แก่เทพยดาองค์นั้นแลฯ ผิว่าเท่ากันทั้ง ๒ ฝ่ายเล่า พระอินทร์เจ้าจึงถามว่าเมื่อเทพยดาตนนี้เกิดนั้นบ่ายหน้าไปข้างใดแลส่งให้เทพยดาผู้อยู่ข้างนั้นฯ ผิเทพยดาผู้เกิดนั้นแลเมื่อแรกเกิดแลนอนเงยหน้าขึ้นไปบนแล บมิโดยทิศดังนั้น พระอินทร์ธบมิให้แก่เทพยดาผู้วิวาทแก่กันนั้นเลย พระอินทร์ธเอาไว้เป็นไพร่ฟ้าธเองแลฯ


    เมื่อเทพยดาไปเกิดในสวรรค์ดังนั้น ครั้นว่าเกิดเป็นตัวก็ใหญ่ขึ้นในที่นั้นบัดเดียว แลประดับนิ์ด้วยสนิมอาภรณ์รุ่งเรือง แลมีรูปโฉมโนมพรรณ์นุ่มแลงามดังสาวอันได้ ๑๖ ปีอยู่ชั่วตน แลเขามีตัวอันบริสุทธิ์หามลทินบมิได้เลยสักอันแล ว่าในกายเขานั้นแลจะมีสิ่งอันเหม็นแลเป็นกลิ่นอันร้ายในกายเขาน้อยหนึ่ง ก็บห่อนจะรู้มีในกายเขานั้นเลย แลเทพยดาทั้งหลายนั้นเขารู้นิมิตไส้แลจะใคร่ให้ตัวเขาใหญ่เท่าใดก็ใหญ่เท่านั้นโดยใจ ผิจะใคร่น้อยเท่าใด ๆ ก็น้อยเท่านั้นโดยใจแลฯ


    แม้นว่าที่อนึ่งแลน้อประมาณเท่าปลายเส้นผมก็ดี แลเทพยดาจะอยู่ที่นั้น ๒๐ อง์ก็ได้ ๔๐ องค์ก็ได้ ๖๐ องค์ก็ได้ ๘๐ องค์ก็ได้ ด้วยอำนาจเทพยดานฤมิตนั้นแลฯ ฝูงเทพยดากินอาหารทิพย์ทุกวารดังนั้น อาหารนั้นหากแห้งหายไปในตนเทพยดานั้นแล จะมีมูตคูธอาจมดังมนุษย์เราท่านทั้งหลายนี้หาบมิได้ ตราบเท่าสิ้นอายุเทพยดานั้นทั้งหลายเท่าใด สดชื่อว่าพยาธิอาพาธสิ่งใด ๆ ก็ดี แลจะเกิดมีแก่เทพยดาทั้งหลายนั้นหาบมิได้ เขาบห่อนจะรู้ไข้รู้เจ็บเทียรย่อมอยู่สุขสำราญใจเขาทุกเมื่อแล ย่อมเล่นด้วยลูกแลเมียเขาสนุกนิ์ทุกเมื่อแลฯ กล่าวเถิงชั้นเทพยดาในจาตุมหาราชิกาภูมิแล้วแต่เท่านี้แลฯ แต่ชั้นฟ้าอันชื่อว่าจาตุมหาราชิกาขึ้นไปไกลได้ ๓๓๖,๐๐๐,๐๐๐ วา


    จึงจะเถิงชั้นฟ้าอันชื่อว่าดาวดึงษานั้น ๆ ตั้งอยู่เหนือจอมเขาพระสิเนรุราชบรรพต อันปรากฎเป็นเมืองพระอินทร์ผู้เป็นพระญาแก่เทพยดาทั้งหลาย ในยอดเขาพระสิเนรุราชนั้นเป็นเมืองของพระอินทร์ โดยกว้างคณนาไว้ได้ ๘,๐๐๐,๐๐๐ วา มีปรางคปราสาทแก้วเฉพาะซึ่งจอมเขาพระสิเนรุราชบรรพต แลมีที่เล่นที่หัวสนุกนิ์นักหนาโสด แต่ประตูเมืองหลวงฝ่ายตระวันออกเมืองแห่งสมเด็จอมรินทราธิราชไปเถิงประตูเมืองฝ่ายตระวันตกโดยไกลได้ ๘,๐๐๐,๐๐๐ วา มีกำแพงแก้วล้อมรอบมีประตูรอบนั้นได้ ๑๐๐๐ หนึ่ง แลมียอดปราสาทอันมุงเหนือประตูนั้นทุกประตู เทียรย่อมทองแลประดับนิ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ แต่ตีนประตูขึ้นไปเถิงยอดปราสาทนั้นสูงได้ ๒๕๐,๐๐๐ วา


    แลเมื่อเผยประตูนั้นได้ยินเสียงสรรพไพเราะนักแลเทพยดาทั้งหลายอยู่ในนครดาวดึงษ์นั้นย่อมได้ยินเสียงช้วแก้วแลราชรถแก้วอันดังไพเราะถูกเนื้อพึงใจนักหนาที่ในท่ามกลางนครไตรตรึงษ์นั้น มีไพชยนตปราสาทโดยสูงได้ ๒๕,๖๐๐,๐๐๐ วา ปราสาทนั้นงามนักงามหนาเทียรย่อมแก้วสัตตพิธรัตนทั้งหลายโดยสูงได้ ๒,๔๐๐,๐๐๐ วา เทียรย่อมสัตตพิธรัตนรุ่งเรืองงามพ้นประมาณถวายแก่พระอินทร์ผู้เป็นเจ้าไพชยนตปราสาทนั้นแลฯ แลเมืองนครไตรตรึงษ์เบื้องบุรพทิศมีอุทยานทิพย์อันหนึ่ง ชื่อว่านันทวนุทยานโดยรอบอุทยานนั้นได้ ๘๐๐,๐๐๐ วา มีกำแพงแแก้วล้อมรอบ มีปราสาทแก้วมุงเหนือประตูทุกอันแล สวนขวันั้นสนุกนิ์พ้นประมาณ แลมีสมบัติแลสรรพต้นไม้สรพันลูกไม้สรพันดอกไม้ อันประเสริฐแลอุดมแลที่เล่นแสนสนุกนิ์สุขสำราญแก่เทพยดาทั้งหลาย อันอยู่ในไตรตรึงษ์นั้นแลฯ แทบอุทยานฝ่ายจะเข้าสู่เมืองนั้น มีสระใหญ่ ๆ อัน ๆ หนึ่งชื่อว่านนันทาโบกขรณี อนึ่งชื่อจุลนันทางโบกขรณีแลว่าสระนั้นมีน้ำนั้นใสงามดังแผ่นแก้วอินทนิลดูรุ่งเรืองงามดังฟ้าแมลบแทบฝั่งน้ำนั้นแลมีศฺลาแก้วแทบสระนั้นสองแผ่น ๆ หนึ่งชื่อว่านันทาปริถิปาสาณ แผ่น ๑ ชื่อว่าจุลนันทาปริถิปาสาณ แลศิลาทั้งสองแผ่นนั้นมีรัศมีอันเรืองนัก


    เมื่อจับดูไส้ศิลานั้นอ่อนดังว่าถือหนังเหนฯ นอกเมืองไตรตรึงษ์ฝ่ายทักษิณ แลมีสวนอุทยานใหญ่อัน ๑ ชื่อผรุสกวัน แลไม้อันมีในสวนนั้นอ่อนน้อมค้อมงามนักหนาดังแสร้งดัดไว้ แลมีกำแพงแก้วล้อมรอบแลมีปราสาททำเหนือประตูเทียรย่อมแก้วดูงามนักหนารอบอุทยานนั้นได้ ๕,๖๐๐๐,๐๐๐ วา แทบอุทยานเข้ามาฝ่ายหนเมืองแลมีสระใหญ่ ๒ อัน ๆ หนึ่งชื่อภัทราโบกขรณะ


    อนึ่งชื่อสุภัทราโบกขรณีแลฝั่งสระนั้นแลอันใส แลมีก้อนแก้ว ๆ ก้อนหนึ่งชื่อภัทราปริถิปาสาณ อนึ่งชื่อสุภัทราปริถิปาสาณ ผิได้ต้องถือและอ่อนเกลี้ยงนักหนาดังถือหนังสานนั้นไส้ฯ นอกนครไตรตรึงษ์ฝ่ายปัจฉิมทิศ แลมีอุทยานใหญ่อันหนึ่งสนุกนิ์นักหนา แลพึงใจแก่ฝูงเทพยดาทั้งหลาย แลอุทยานนั้นงามนักหนาเรียกชื่อว่าจิตรลดาวัล ฝูงไม้แลฝูงเชือกเขาอันเป็นในสวสนนั้นดูงามดังแสร้งประดับนิ์แลกำแพงแก้วล้อมรอบแลมีปราสาทแวมุง ประตูทุกประตูแลดูเรืองงามทุกแห่งทุกพายรอบอุทยานนั้นได้ ๔๐๐,๐๐๐ วา แทบเบื้องฝ่ายเข้ามาสู่เมือง มีสระสองอัน ๆ หนึ่งชื่อจิตรโบกขรณะ อนึ่งชื่อจุลจิตรโบกขรณี แลสระแลอัน ๆ อันนั้นมีแผ่นศิลาแก้วแลอันหนึ่งชื่อ จิตรปาสาณ อนึ่งชื่อจุลจิตรปาสาณดูรุ่งเรืองแลเหลืองงามนักหนา ผิได้ต้องถือดูอ่อนงามดังหนังสานฝูงเทพยดายอมไปเล่นในที่นั้น เป็นที่สนุกนิ์แก่เทพยดาทั้งปวงทั้งฝูงหญิงแลฝูงชายทั้งหลายแลฯ ฝ่ายอุดรทิศนครไตรตรึงษ์มีสวนอุทยานใหญ่


    อนึ่งชื่อสักกวันอันมีไม้แลเชือกเขาทั้งหลายงามดุจแสร้งแต่งแลมีกำแพงแก้วล้อมรอบ แลมีปราสาทแก้วกรวมประตูทุกประตูรอบอุทยานนั้นได้ ๔๐๐,๐๐๐ วา แทบอุทยานฝ่ายมาสู่เมืองแลมีสระใหญ่สองอีน ๆ หนึ่งชื่อธรรมาโบกขรณี อันหนึ่งชื่อสุธรรมาโบกขรณี แลฝั่งสระนั้นแลมีศิลาแก้ว ๒ อัน ๆ หนึ่งชื่อธรรมาปริถิปาสาณ อนึ่งชื่อสุธรรมาปริถิปาสาณ แลศิลานั้นมีรัศมีอันรุ่งเรืองงามแลอ่อนดังหนังเห็นฯ นอกเมืองไตรตรึงษ์ฝ่ายอีสานทิศมีสวนใหญ่อันหนึ่ทงชื่อมหาพล แลสวสนนั้นสนุกนิ์นักหนาแลมีกำแพงทองคำล้อมรอบ แลมีปราสาทแก้วกรวมประตูทุกประตูรอบสวนนั้นได้ ๖๐๐,๐๐๐ วา ในสวนมหาวันนั้นมีปราสาททองคำได้ ๑,๐๐๐ หนึ่ง เทียรย่อมประดับนิ์ด้วยแก้วสัตตพิธรัตนในหว่างมหาพลวนุทยาน แลนันทวนุทยานนั้นมีสระแก้วอนึ่งงามนักหนา เทียรย่อมแก้ว ๗ สิ่งเป็นพื้นนั้นได้ ๘๐๐,๐๐๐ วา แลมีแท่นแก้วอนึ่งในรถนั้นกว้างได้ ๘,๐๐๐ วา โดยรีได้ ๘,๐๐๐ วา ท่านใส่กลดแก้วหนึ่งที่กลางแท่นแก้วนั้นกว้างได้โยชน์ ๑ แลดูแท่นแก้วนั้นขาว แลดูกลดแก้วนั้นเหลื่อมดังแสงพระอาทิตย์อันส่องลงมาปกพระจันทร์เมื่อเดือนดีบในหัวไพชยนตรถนั้นแลมีม้าแก้ว ๒๐๐๐ ตัว เทียมรถแลข้างละพันตัว แลมีเครื่องแก้วประดับนิ์ทุก ๆ ตัว แลรถนั้นเทียรย่อมทองคำแลประดับนิ์ด้วยแก้วสัตพิธรัตนแลมีสร้อยมุกดาห้อยย้อยลง แลมีดอกไม้ทิพย์แลราจะพรรณาถึงความงามนั้นกรองเป็นมาลัย แลมีทั้งแกวแลทั้งทองห้อยย้อยลงพาย แลมีระไบแก้วแลพรวนทองอันมีรัศมีรุ่งเรืองดังสายอินทรธนูแลฟ้าแมลบดังแสงพระอาทิตย์ แลราจะพรรณนาเถิงความงามนั้นบมิถ้วนได้เลยฯ ผิแลว่าลมรำพายพัดแลได้ยินเสียงสรรพดังมี่ก้องดุจดังเสียงพิณพาทย์ ฆ้องกลองแตรสังข์อันเทพยดาเป่าแลตีในเมืองฟ้านั้นฯ


    ผิแลเมื่อเดือนขึ้น ๘ ค่ำก็ดี เดือนเพ็งก็ดี เดือนแรมก็ดี อัมมาพัสสาก็ดี พระญาเทพยดาฝูงอันชื่อธตัฐราชอันเป็นพระญาแก่เทพยดาทั้งหลายในจอมเขายุคุนธรฝ่ายบุรพทิศเถิงเขากำแพงจักรวาล แลมีฝูงคนธรรพ์ทั้งหลายเทียรย่อมแต่งเครื่องประดับนิ์ประดาตัวด้วยเงินแลทองทั้งหลาย ทั้งเครื่องประดับนิ์เหนือหัวแลเนื้อตัวทั้งมวลเทียรย่อมเงินยวงอเนกอนันต์แลมากกว่าร้อยล้านนั้น ทั้งเครื่องแห่เครื่องแหนเขานั้นเทียรย่อมเงินแลทองทั้งหอกดาบ แลจามรจามรีเทียรย่อมเงินทอง เทพยดาลางจำพวกถือธงเทียรย่อมเงินทองแลออกจากเมืองที่จอมเขายุคุนธรนั้นด้วยฝูงเทพยดาทั้งหลายจึงขึ้นเขานั้นไปเถิงกำแพงจักรวาลเบบื้องบุรพทิศแล ขับฝูงเทพยดาทั้งหลายมาโดยอากาศจึงเถิงจอมเขายุคุนธรเบื้องบุรพทิศฯ ถัดนั้นพยะญาองค์ ๑ ชื่อว่าท้าววิรุฬหกราชอันเป็นพระญาแก่ผีเสื้อผีกุมภัณฑ์ทั้งหลายเถิงแดนเขากำแพงจักรวาลเบื้องทักษิณทิศเครื่องประดิบนิ์กายท้าววิรุฬหกราชแลบริวารทั้งหลายนั้นย่อมล้วนแก้วมณีรัตนแลงามนักหนามิรู้ดีร้อยขีพันล้าน ฝูงเทพยดาถือค้อนแลตระบองเทียรย่อมแแก้วมณีรัตนเป็นบริวาร ท้าววิรุฬหกราชขึ้นขี่ม้าตัว ๑ แลเครื่องประดับนิ์ม้านั้นเทียรย่อมแก้วมณีรัตนโสดฯ จึงขับพลไปเถิงกำแพงจักรวาลเบื้องทักษิณทิศ ฯ ถัดนั้นพระญาเทพยดาองค์หนึ่งชื่อท้าววิรุปักขราช แลเป็นพระญาแก่ฝูงนาคราชทั้งหลายเถิงแดนกำแพงจักรวาลเบื้องปัจฉิมทิศ


    ฝูงเทพยดาราชอันเป็นบริวารบมิรู้ขีร้อยล้าน แลมีเครื่องประดับนิ์ตัวเทียรย่อมประพาฬรัตนะ ฝูงเทพยดาถือสากแลค้อนถือจามรีเทียรย่อมแก้วประพาฬรัตนะ แลท้าววิรูปักขราชจึงขับพลไปเถิงเขากำแพงจักรวาลเบื้องปัจฉิมทิศมาโดยอากาศถึงจอมเขายุคุนธรเบื้องปัจฉิมทิศพระสุเมรุราชแลฯ ถัดนั้นพระญาเทพยดาตน ๑ ชื่อว่าท้าวไพศพมหาราช เป็นพระญาแก่ฝูงยักษ์แลเทพยดาทั้งหลายฝ่ายอุดรทศเถิงกำแพงจักรวาลเบื้องอุดรทิศพระสุเมรุราช แลเครื่องประดับนิ์ตัวพระไพศพนั้น แลบริวารทั้งหลายเทียรย่อมทองเนื้อสุก ฝูงยักษ์ทั้งหลายนั้นบ้างถือค้อนถือสากแลจามรีเทียรย่อมทองคำบมิรู้ขีร้อยล้าน แลยักษ์ฝูงนั้นมีหน้าอันพึงกลัว แลท้าวไพศพมหาราชจึงขึ้นม้าเหลืองตัว ๑ ดูงามดังทองจึงไปขับพลเถิงกำแพงจักรวาลเบื้องอุดรทิศเขาพระสุเมรุราชนั้นฯ ยังมีช้างตัว ๑ ชื่อว่าไอยราพรต แลว่าช้างตัวนั้นมิใช่สัตว์ดิรัจฉาน อันว่าในเมืองฟ้าโพ้นบมีสัตว์ดิรัจฉานตัวน้อยก็ดีตัวใหญ่ก็ดีหาบมิได้ เทียรย่อมเทพยดาสิ้นไส้ฯ แลว่ายังมีเทพยดาองค์หนึ่ง ๑ ชื่อไอยราวรรณเทพบุตร ผิแลเมื่อพระอินทร์เจ้าแลมีที่เสร็จไปเล่นแห่งใด ๆ ก็ดี แลธจะใคร่ขี่างไปเล่นจึง ไอยราวรรณเทพบุตรก็นิมิตตัวเป็นช้างเผือกตัว ๑ ใหญ่นัก

    โดยสูงได้ ๑,๒๐๐,๐๐๐ วา แลมีหัวได้ ๓๓ หัว ๆ น้อย ๆ อยู่สองหัวอยู่สองข้าง นอกหัวทั้งหลายนั้นแลว่าหัวใหญ่ได้ ๒,๐๐๐ วา แลหัวถัดนั้นเข้าไปทั้งสองข้างแลหัวแล ๓,๐๐๐ วา ถัดนั้นเข้าไปแลหัวแล ๔,๐๐๐ วา ถัดนั้นเข้าไปแลหัวแล ๕,๐๐๐ วา ถัดนั้นเข้าไปกว้างแลหัวแล ๖,๐๐๐ วา เร่งเข้าไปเถิงในก็เร่งใหญ่ถัดกันเข้าไปดังกล่าวนี้แล ส่วนหัวใหญ่อันที่อยู่ท่ามกลางทั้งหลายชื่อสทัสเป็นพระที่นั่งแห่งพระอินทร์ โดยกว้างได้ ๒,๔๐๐,๐๐๐ วาแลฯ เหนือหัวช้างนั้นแลมีแท่นแก้วหนึ่งกว้างได้ ๙๖,๐๐๐ วา แลมีปราสาทกลางแท่นแก้วทั้งนั้นมีทั้งสองฝูงโดยสูงได้ ๘,๐๐๐ วา ทั้งฝูงนั้นเทียรย่อมแก้ว ๗ สิ่ง

    แลมีพรวนทองคำห้อยย้อยลงทุกแห่งแกว่งไปมา แลมีเสียงนั้นไพเราะนักหนาดังเสียงพาทย์พิณในเมืองฟ้า ในปราสาทนั้นเทียรย่อมดัดเพดานผ้าทิพย์ แลมีแท่นนอนอยู่ในที่นั้นกว้างได้ ๘,๐๐๐ วา แลมีราชอาสน์หนาหมอนใบใหญ่หมอนน้อยหมอนอิง องค์พระอินทร์นั้นสูงได้ ๖,๐๐๐ วา แลประดับนิ์ด้วยแกว้ถนิมอาภรณ์ทั้งหลายแล ธนั่งเหนือแท่นแก้วนั้นหัวช้างได้ ๓๓ หัวไส้ พระอินทร์ให้เทพยดาทั้งหลายขี่ ๓๒ หัวนั้นมีบุญเพียงปรดุจพระอินทร์ไส้ฯ อันว่าหัวช้างทั้ง ๓๓ หัวแลหัว ๆ มีขา ๗ อันแลงาละอันยาวได้ ๔๐๐,๐๐๐ วา แลงานั้นมีสระได้ ๗ สระ ๆ แลสระนั้นมีบัวได้ ๗ กอ ๆ บัวแลกอนั้นมีดอก ๗ ดอก ๆ แลอันนั้นมีกลีบ ๗ กลีบ ๆ แลอัน ๆ นั้นมีนางฟ้ายืนรำระบำบรรพตแล ๗ คน นางแลคน ๆ นั้นมีสาวใช้ได้ ๗ คนโสด ช้าง ๓๓ หัวนั้นได้ ๒๓๑ งา สระนั้นได้ ๑,๖๑๗ สระแลกอบัวในสระนั้นได้ ๑๑,๓๑๙ กอ แลดอกบัวนั้นได้ ๗๙,๒๓๓ ดอกแลมีดอกบัวนั้นไส้ได้ ๕๕๔,๖๓๑ กลีบ แลนางฟ้าอันรำระบำนั้นได้ ๓,๘๘๒,๔๑๗ นาง แลสาวใช้นางระบำนั้นได้ ๒๗,๑๗๖,๙๑๙ คน


    แลมีอยู่ในงาช้างไอยราวรรณ์นั้น แลมีสถานที่แห่ง ๑ โดยกว้างได้ ๕๐ โยชน์ เป็นที่อยู่แห่งฝูงนางรำระบำแลบริวารของนางทั้งหลายนั้นด้วยฯ แลว่าเมื่อพระอินทร์ผู้ประเสริฐกว่านางทั้งหลาย ชื่อนางสุธรรมาอีกด้วยบริวารทั้งหลายแลประดับนิ์ถ้วยถนิมอาภรณ์ แลรุ่งเรืองงามด้วยสัตตพิธรัตนนั้นนั่งเฝ้าพระอินทร์อยู่ฝ่ายซ้าย นางผู้เมียคนหนึ่งเล่าชื่อว่เจ้าสุชาดาอันทรงศีลมั่นบมิขาดแล ประดับนิ์ดวยอาภรณ์อีกด้วยบริวารทั้งหลายก็ไปนั่งเฝ้าพระอินทร์เจ้าฝ่ายขวนั้นฯ นางเมียผู้ ๑ ชื่อเจ้าสุนันทา แลประดับนิ์ด้วยถนิมอาภรณ์เทียรย่อมแก้ว ๗ สิ่งอีกด้วบริวาร นางนั้นก็ไปนั่งเฝ้าพระอินทร์ฝ่ายหลัง ๆ ถัดนั้นนางเมียคน ๑ ชื่อนางสุจิตราประดับนิ์กาย นั้นรุ่งเรืองงามด้วยบริวารทั้งหลายไปนั่งเผ้าพระอินทร์เจ้าเบื้องซ้ายฯ ถัดนั้นชั้นนอกออกไปแลมีหมู่นางฟ้าทั้งหลายย่อมนางใหญ่เป็นเมียพระอินทร์ได้ ๙๒ คน มีหน้าอันงามนักหนา แลแต่งแง่แผ่ตนด้วยเรื่องประดับนิ์ด้วยเทียรย่อมแก้วแหวนเงินทองทั้งหลาย บ้างถือกลออมแก้ว บ้างถือคนที บ้างถือจามรีแลจามรแก้ว บ้างถือธงแก้วแลธงทองแกว่งแล เครื่องฝูงนี้เทียรย่อมประดับนิ์ด้วยแก้วสัตตพิธรัตนไปนั่งเฝ้าธอยู่รอบนั้นฯ


    ถัดนั้นออกมามีนางทั้งหลายเป็นสาวใช้นางทั้งหลายเล่า รอบออกไปเล่ามากนักหนา ลางหมู่ถือคคนทีทองแลกลออมทองเฝ้าอยู่ฯ ถัดนั้นออกไปเล่ามีนางฟ้าทั้งหลายมากนัก แลสาวสวรรค์ฟ้อนระบำ ระบำถวายแด่พระอินทร์เจ้านั้นมากนักฯ แลยังมีนางเทพยธิดาองค์ ๑ ชื่อคีตวาแลถือพิณอนึ่งชื่อว่ามหาวิณา

    ครั้นว่านางนั้นดีดพิณดวงนั้นไส้แลพิณทั้งหลายอันได้ ๖๐,๐๐๐ อันที่เป็นเพื่อนพิณนั้นหากดังเองแลฯ ได้ยินเพเราะเพราะนักหนาฯ แลว่ายังมีนางเทพยธิดาคน ๑ แลเทพยธิดาผู้นั้นก็เป่ากลองคู่ ๑ ชื่อว่าสุภัทรา ครั้นว่านางนั้นเป่ากลองคู่นั้นไส้ แต่บันดากลองทั้งหลายที่เป็นเพื่อนกลองได้ ๖๐,๐๐๐ คู่นั้นหากดังไปเอง แลได้ยินเสียงเพราะนักหนาดุจดับว่าเป่าทุกคู่นั้นแลฯ ยังมีนางฟ้าผู้หนึ่งเล่าชื่อว่าหสัจนารีดีดพิณอัน ๑ ชื่อว่ามธุรตรได้ยินเสียงไพเราะ แลถูกเนื้อพึงใจนักหนาฯ ยังมีนางเทพยธิอง์หนึ่งชื่อว่ามณีเมขลาแลเป่าสังข์ใหญ่อัน ๑ ชื่อพิชัยสังขะ ครั้นว่าเป่าสังข์ดวงนั้นแลสังข์ทั้งหลายได้ ๖๐,๐๐๐ ลูกอันที่เป็นเพื่อนสังข์นั้นหากดังเองดุจมีผู้เป่าทุกดวง แลมีเสียงไพเราะเพราะนักหนาแลฯ ยังมีเทพยธิดาตน ๑ ชื่อมหาติมุทิงคสังขะ แลเป่าสังข์อันหนึ่งชื่อปุถุพิมพนะ ครั้นว่าเป่ามุทิงคสังข์นั้นไส้ แลมุทิงคสังข์ทั้งหลายได้ ๖๐,๐๐๐ อันเป็นเพื่อนมุทิงคสังข์นั้นหากดังเอง ดุจมีผู้ตีทุกอันแลมีเสียงนั้นไพเราะนักหนาฯ ยังมีเทพยธิดาตนหนึ่งชื่อตปก็ดีตีกลองหน้าเดียวลูกหนึ่งชื่อว่านันทเภรี


    ครั้นว่าเทพยดาตนนั้นตีนั้นไส้อันว่ากลองทั้งหลายได้ ๖๐,๐๐๐ อัน ๆ เป็นเพื่อนกลองนั้นหากดังเอง ดุจมีผู้ตีทุกอันแลมีเสียงนั้นเพราะดีนักหนาฯ ยังมีเทพยธิดาองค์ ๑ ชื่อปนก็ดีตีกลองหน้าเดียวลูก ๑ ชื่อรณมุขเภรี ครั้นว่าตีกลองลูกนั้นไส้ อันว่าหมู่กลอหน้าเดียวทั้งหลายได้ ๖๐,๐๐๐ อัน ๆ เป็นเพื่อนกลองนั้นหากดังเอง ดุจมีผู้ตีทุกอันแลมีเสียงนั้นไพเราะนักหนาฯ ยังมีเทพยธิดาตน ๑ ชื่อนันทาและตีกลองใหญ่อันหนึ่งชื่อว่าโกพัมธุรสสุรเภรี ครั้นว่าตีไส้อันว่ากลองใหญ่ทั้งหลายอันได้ ๖๐,๐๐๐ อัน ๆ เป็นเพื่อนกลองนั้นหากดังเองดุจมีผู้ตีแลฯ ยังมีเทพยธิดาตน ๑ ชื่อว่ยามาแลตีบัณเฑาะว์อัน ๑ ชื่อว่าโบกขรบัณเฑาะว์ ครั้นว่าตีบัณเฑาะว์นั้นอันว่าบัณเฑาะว์ทั้งหลายได้ ๖๐,๐๐๐ อัน ๆ เป็นเพื่อนบัณเฑาะว์นั้น หากดังเองดุจมีผู้ตีทุกอันแล มีเสียงเพราะนักหนาแลฯ ยังมีเทพยดาตน ๑ ชื่อว่าสรโฆสสุรเป่าปี่ไฉนแก้วเหล่าหนึ่งชื่อว่านันทไฉน


    ครั้นว่าเป่าปี่นั้นไส้อันว่าปี่ทั้งหลายอันได้ ๖๐,๐๐๐ อันเป็นเพื่อนปี่นั้นหากดังเอง ดุจมีผู้เป่าทุกอันแลมีเสียงนั้นเพราะหนักหนาแลฯ ยังมีเทพยดาตนหนึ่งชื่อว่าสัพพางคณาตีกลองใหญ่ลูกหนึ่งชื่อว่าทัสสโฏส ครั้นว่าตีกลองลูกนั้นไส้ อันว่ากลองทั้งหลายอันได้ ๖๐,๐๐๐ อันเป็นเพื่อนกลองนั้นหากดังเองดุจมีผู้ตีทุกอันแลมีเสียงนั้นเพราะนักหนาแลฯ แลฝูงเทพยธิดาทั้งหลายมากนักแลมีชื่อต่าง ๆ กีนเทียรย่อมถือบัญจางคิกดุริยแล


    อันว่าบัญจางคิกดุริยนั้นมี ๕ สิ่ง ๆ ใน(อภิธานว่า อาตต, วิตต, อาตตวิตต, ฒณ, สุสิร รวม๕) หนึ่งชื่อว่าอาตนะสิ่งหนึ่งชื่อว่าคตะสิ่งหนึ่งชื่อว่านันทะสิ่งหนึ่งชื่อว่าสิริเทียรย่อมมีสิ่งต่าง ๆ กันเป็นดังนั้นแลทำให้ดังด้วยกันคาบเดียว คือว่าเสียงนั้นซ่านด้วยกันแลเป็นเพลงเสียงเป็นอันเดียวไปด้วยกันดังนั้นไส้ ชื่อว่าบัญจางคิกดุริยนั้นทั้ง ๖๐,๐๐๐ อัน ๆ เป็นเพื่อนบัญจางคิกดุริยนั้นหากดังเอง ดุจมีผู้เป่าผู้ตีแลมีเสียงซ่านด้วยกันแลไพเราะนักหนาแลฯ ถัดนั้นยังมีคนธัพผู้ ๑ ชื่อว่าสุมธัมมาตีกลองใหญ่ใบ ๑ ชื่อสุรันธะ สะพายเหนือบ่าซ้าย ๑ แลตี ยังมีกลองใหญ่ทั้งหลายได้ ๖๘๐,๐๐๐ อัน ๆ เป็นเพื่อนกลองนั้น จึงดังตามเพลงระด้วยระบำบัพพถ้วนด้วยกันแลเพราะนักหนาแลฯ ในสถานที่แห่ง ๑ โดยบริมณฑลรอบได้ ๔๐,๐๐๐ วา แลฟ้อนรำด้วยกลอง คนธัพนั้นเหนือจอมเขาจักรวาลเบื้องบุรพทิศแล ฝูงคนธัพทั้งหลายแลเทพยธิดาทั้งหลายอันเป็นพลระบำด้วยมากอเนกอนันต์ฯ ยังมีคนธัพผู้ ๑ ชื่อว่าพิมพสุรกสะสะพายกลองหน้าเดียวลูก ๑ ใหญ่ แลตีด้วยเพลงคนธัพ แลหมู่กลองหน้าเดียวทั้งหลายได้ ๖๘,๐๐๐ อัน ๆ เป็นเพื่อนกลองห้าเดียวนั้นหากดังเอง ดุจมีผู้ตีด้วยเพลง แลกลองนั้นเพเราะนักหนาแลฯ ในสถานที่ควรแห่งหนึ่ง ๑ โดยบริมณฑลรอบ ๔๐๐,๐๐๐ วา แลฟ้อนรำระบำด้วยกลองคนธัพนั้น เทพดาแลคนธัพฟ้อนรำระบำมากนักหนา


    ในที่นั้น ๆ อยู่ปลายกำแพงจักรวาลฝ่ายทักษิณทิศพระสิเนรุราชแลฯ ยังมีคนธัพเทพดาตน ๑ ชื่อว่าทีรมุขะ สะพายกลองใหญ่ใบ ๑ แลตีในบนกำแพงจักรวาล ฝ่ายปัจฉิมทิศพระเมตุ ครั้นว่าตีกลองใบนั้นอันว่ากลองทั้งหลายอันได้ ๖๘,๐๐๐ อัน ๆ เป็นเพื่อนกลองนั้นหากดังเองโดยฉันท์ตามกีนตามกลองนั้นเป็นเพลงเดียว ฝูงคนธัพแลเทพดาทั้งหลายฝูงระบำรำด้วยกันแห่งนั้นมากนักหนาในที่นั้น โดยปริมณฑลน้อยได้ ๔,๐๐๐ วา ในบนกำแพงจักรวาลฝ่ายปัจฉิมทิศพระเมรุราชฯ ยังมีคนธัพเทพยดาผู้ ๑ ชื่อว่าปัญจสิชรเทวบุตรสะพายกลองใหญ่ลูก ๑ ชื่อสัสสสุระนั้น ครั้นว่าตีกลองนั้นไส้ อันว่ากลองทั้งหลายได้ ๖๘,๐๐๐ อัน ๆ เป็นเพื่อนกลองนั้นด้วยฉันท์อันดีในที่ควรแห่ง ๑ โดยมณฑลรอบได้ ๔๐๐,๐๐๐ วา จึงขับเสพย์แลฟ้อนรำระบำด้วยคนธัพนั้นเหนือจอมเขาจักรวาล


    เบื้องอุดรทิศเขาพระสุเมรุราชนั้นฯ ฝูงคนธัพแลเทพยดาทั้งหลายรำระบำด้วยกันมากนักแลฯ ไพร่ฟ้าข้าไทยพระอินทร์เานั้นธมีมากนักดังกล่าวมีนี้แลฯ อีกท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ ตนย่อมเอาบริพารไปด้วยแลย่อมไปเฝ้าพระอินทร์แลฯ อีกพระญายักษ์ทั้งหลาย ๒๘ พระญาย่อมถือเครื่องอาวุธแล้วย่อมมาแห่แหนพระอินทร์เจ้าแล้วก็เฝ้าธอยู่แลฯ พระองค์พระอินทราธิราชนั้นธประดับนิ์อาภรณ์งาม นักหนาดังกล่าวแล้วนั้นแล


    ทั้งฝูงเทพดาทั้งหลายอันเป็นบริวารนั้น ย่อมประดับนิ์ด้วยถนิมอาภรณ์ทั้งปวงอันสมัยด้วยแก้ว ๗ ประการ แลงามมีพรรณ์ต่าง ๆ แล้ว ย่อมเข้ามาเฝ้ามาคัลพระอินทร์เจ้ามากนักจะนับบมิถ้วนได้เลยฯ อิกนางฟ้าทั้งหลายอันเป็นเมียพระอินทร์เจ้า ๒๔,๐๐๐,๐๐๐ คน บ้างือกาน้ำมีอาทิ คือว่ากลออมแก้วกลออมทอง ฉัตรธวัชพัดจามรีทั้งหลายนั้นย่อมประดับนิ์ด้วยถนิมอาภรณ์ในตนดูงามพ้นประมาณ จะคณาบมิได้เลยฯ อิกฝูงคนธัพเป็นพลระบำได้ ๒๔๐,๐๐๐,๐๐๐ ตีกลองแลฉิ่งแฉ่ง แต่งขับกับเสียงพิณพาทย์นาดรำระบำเล่นเต็มเขากำแพงจักรวาล ๔ ทิศใหญ่ทั้งมวล แลหอมกระแจะจวงจันทน์ อิกพรรณดอกไม้อันขจรทุกแห่งแต่พัดเข้าเร้าเถิงพระอินทร์หอมฟุ้งทุกแห่ง พระอินทร์จึงไปเล่นที่สรุนั้นสนุกนิ์นักลางคาบพระอินทร์ลงจากช้างไอยราพตเดินดินไปเล่น แลมีฝูงนางฟ้าทั้งหลายเป็นบริวารงามสลอน เทียรย่อมทรงอาภรณ์อันประเสริฐต่าง ๆ ได้หนทงในเมืองฟ้าอันหว่างกว้างได้ ๔๐,๐๐๐ วา


    แลไปเล่นในสวนที่สนุกนิ์แลฯ นอกพระนครไตรตรึงษ์ฝ่ายเคเนทิศ มีพระเจดีย์เจ้าพระองค์ ๑ ทรงพระนามชื่อพระจุฬามณีเจดีย์เจ้า แลรุ่งเรืองงามดเทียรย่อมแก้วอินทนิลแล แต่กลางไปเถิงปลายเทียรย่อมทองเนื้อแล้ว แลประดับนิ์ไปด้วยแก้วสัตพิธรัตนแลจะคณนาโดยสูงได้ ๘๐,๐๐๐ วา แลที่นั้นมีกำแพงทองเนื้อแล้วล้อมรอบ แลกำแพงนั้นแต่แลอันละด้าน ๆ ละ ๑๖๐,๐๐๐ วา มีธงประฎากแลธงไชยแลกลดชุมสายทั้งหลาย ย่อมประดับนิ์ด้วยแก้วแลเงินทอง บ้างดำบ้างแดงบ้างเหลืองบ้างขาวแลเขียวย่อมแล้วแต่แก้ว ๗ สิ่งซึ่งท่านผูกในใจกลดแลธง ดูงามเลื่อม ๆ พรายงามตามกนทั้งหลายมากนักหนาแล แลเทพยดาทั้งหลายถือเครื่องเป่าแลตีดีดสีคีตสัพพดุริยดนตรีทั้งหลายไปบำเรอถวายบูชาพระเจดีย์เจ้าทุกวารบมิขาด พระอินทร์ย่อมไปนมัสการแต่พระเจดีย์เจ้ากับด้วยเทพยดาแลนางฟ้าทั้งหลายเป็นบริวร ย่อมมีถือข้าวตอกแลดอกไม้เทียนธุปวาศสุคนธชาติบูชาชวาลาทั้งหลายไปถวาย ก่พระเจดีย์เจ้าบมิขาดแลย่อมกระทำปทักษิณแก่พระเจดีย์ เจ้าทุกวารแลฯ นอกเมืองไตรตรึงษ์ฝ่ายอีสานทิสแลมีสวนอุทยานอันหนึ่งชื่อ่าบุณฑริกวันอยู่แทบสวนอุทยานอันหนึ่งชื่อมหาวันนั้น สวอุทยานอันชื่อบุณฑริกวันน้นมีกำแพงล้อมรอบทั้ง ๔ ด้านแลด้านแลด้าน ๆ ละ ๑๖๐,๐๐๐ วา ยังมีประตูแก้วแลปราสาทแก้ว มุมประตูทุกอันดังกล่าวก่อนนั้นแลฯ


    สวนอุทยานนั้นมีไม้ทองหลางใหญ่ต้น ๑ ชื่อปาริกชาติกัลปพฤกษ์ รอบพุ่มไม้นั้นได้ ๒,๔๐๐,๐๐๐ วา โดยสูงได้ ๘๐๐,๐๐๐ วา รอบต้นไม้นั้นได้ ๑๒๐,๐๐๐ วา โดยกว้างพุ่มไม้นั้นได้ ๘๐๐,๐๐๐ วา แลใต้ต้นไม้นั้นมีแท่นศิลาแก้วอันหนึ่ง ชื่อว่าปัณฑุกัมพล โดยรีได้ ๔๘๐,๐๐๐ วา โดยกว้างได้ ๔๐,๐๐๐ วา โดยหนาได้ ๑๒๐,๐๐๐ วา แต่เข้มแดงฉันดังดอกสะเอ้ง แลอ่อนดังฟูกผ้าอ่อนดังหงอนราชหงส์ทอง ผิเมื่อพระอินทร์นั่งเหนือแผ่นศิลานั้นอ่อนจุลงไปเพียงสะดือฯ ผิเมื่อพระอินทร์ธลุกลงจากศิลา ๆ นั้นเต็มขึ้นมาดังก่อนเล่า แทบปาริกชาติกัมพลนั้นออกไปภายนอกมีศษลาใหญ่อนึ่งสุธัมมาเทพยสภาคศาลางามแลดูประเสริฐกว่าศาลาทุกอันโดยกว้างได้ ๒,๔๐๐,๐๐๐ วา มณฑลขวางก็เท่ากันโดยสูงได้ ๔,๐๐๐,๐๐๐ วาโดยมณฑลรอบได้ ๗,๒๐๐,๐๐๐ วา พื้นศาลานั้นเทียรมย่อมแก้วผลึกรัตนแลประดับด้วยแก้ว ๗ สิ่ง แลมีกำแพงทองล้อมรอบมีดอกไม้สิ่ง ๑ ชื่ออสาพติหอมนักหนาแล ดอกไม้นั้นบานนานนักแม้นว่ายังจะพันปีจึงจะบานก็ดี ฝูงเทพยดาทั้งหลายมีจรักใคร่ชมใคร่ทัดดอกไม้นั้น เทพยดาทั้งหลายถ้าเห็นดอกไม้นั้นบาน แล้วย่อมปันกันไปอยู่เฝ้าดอกไม้อันคหวานบบานแลอยู่รอดถ้วนพันปีแล เพราะว่ารักดอกไม้นั้นแล ดอกทองหลางอันชื่อว่าปาริกชาตินั้นแม้นว่าร้อยปีดอกไม้นึ้งจึงบานก็ดี


    ฝูงเทพยดายินรักยินใคร่นักหนาแล ถ้าแลดอกไม้หงาบบานเทียรย่อมปันกันให้ฝูงเทพยดาไปอยู่เฝ้าดอกไม้นั้นกว่าจะบาน ผิว่าดอกไม้นั้นแลบานล้วนทุกกิ่งทุกก้านแล้ว แลมีแสงอันรุ่งเรืองงามนักหนา รัศมีดอกปาริกชาตินั้นเรืองไปไกลได้ ๘๐๐,๐๐๐ วา ถ้าแลว่าลมรำพายพัดไปข้างใดหอมกลิ่นดอกไม้นั้นฟุ้งไปไกลได้ละ ๘ แสนวาหอมไปฝูงเทพยดาทั้งหลายบห่อนพัดขึ้นเอาดอกไม้นั้นเลยสักคาบ เทวดาผู้ใด ๆ จะใคร่เอาดอกไม้นั้น ผิแลว่าเอาผ้าไปห่อเอาก็ดี เอาประอบไปใส่ก็ดี ยังมีลมอันหนึ่งพัดให้ดอกไม้นั้นหล่นตกลงสู่ที่อันจะใส่นั้นเองแล เมื่อเทพยดาทั้งหลายแลยังไป่ทันรับเอาก่อนไส้ ยังมีลมสิ่งหนึ่งพัดมาชูดอกไม้นั้นไว้บนอากาศบมิได้ตกลงเถิงต่ำได้ ยังมีลมสิ่งหนึ่งแต่งพัดดอกไม้นั้นเข้าไปในสุธัมมาเทวสภาคศาลานั้นฯ ยังมีลมสิ่งหนึ่งแต่งพัดดอกไม้นั้นให้เรียงกันดังแสร้งร้อยเรียบแล


    ผิเมื่ออุดอกไม้นั้นเหี่ยวแล้วไส้ ยังมีลมสิ่งหนึ่งแต่งพัดดอกไม้นั้นออกไปเสียจากสุธัมาเทวสภาคศาลานั้นฯ แลมีธัมมาสน์แก้วอันหนึ่งโดยใหญ่ได้ ๘,๐๐๐ วา เป็นธัมมาสน์อยู่ในศาลานั้นแล แลมีที่นั่งพระอินทร์อันเป็นราชอาสนทิพย์ แล้วจึงมีที่นั่งของเทพยดาทั้ง ๓๒ องค์อันได้กระทำบุญด้วยพระอินทร์เจ้าแต่ก่อนเทียรย่อมเป็นอาสนทิพย์ แลจึงมีที่นั่งของเทพยดาทั้งหลายอันเป็นใหญ่โดยอันดับกันเทียรย่อมปูลาดอาสน์ย่อมผ้าทิพย์ เทพยดาลางหมู่มีดอกไม้ทิพย์เป็นที่นั่ง เทพยดาลางหมู่มีดอกไม้ทิพย์กัณณิการ์ทิพยฺเป็นที่นั่งโสด ดูเหลืองงามดังทองเนื้อสุกย่อมเป็นที่นั่งแห่งเทพยดาทั้งหลายถ้วนทุกตนแลฯ พระอินทร์จึงไปในสุธัมมาเสทวภาคศาลา


    เพื่อจะให้เทพยดาทั้งหลายมาชุมนุมกันในศาลานั้นแล แต่พรรณดอกไม้ทิพย์อันหอมดีมีในเมืองไตรตรึงษ์นั้นมีลมพัดซัดละอองเกสรดอกไม้นั้นเข้ามาในสุธัมมาเทวสภาพศาลา แลตกเหนือตัวเทพยดา ๆ นั้นสูงได้ ๖,๐๐๐ วา แลดูเหลืองงามดังท่านแสร้งเอาน้ำครั่งมาแต้มนั้นแล ฝูงเทพยดาทั้งหลายเล่นอยู่ดังนั้นได้ไส้ ๔ เดือนจึงแล้วฯ ผิเมื่อเทพยดาทั้งหลายสดับธรรมไตรตรึงษ์สวรรค์นั้นไส้ ยังมีพรหมตนหนึ่งชื่อว่าพรหมกุมารลงมาแต่พรหมโลกย์โพ้น แลลงมานฤมิตรตนเป็นดังคนธัพผู้หนึ่งชื่อว่ปัญจสิขร คนธัพจึงขึ้นเหนือธัมมาสน์แลเทศนาธรรม แลพรหมตนนั้นแสร้งนฤมิตตัวดังคนธัพเทพบุตรผู้ชื่อว่าสิขรนั้น เพราะว่าคนธัพเทวบุตรตนนั้นงามถูกเนื้อพึงใจฝูงเทพยดาทั้งหลายฯ


    อันว่าคนธัพเทวบุตรนั้นเมื่อยังอยู่ในเมืองมนุษย์โลกย์นี้ แลว่าได้กระทำบุญมามากแล้ว แลได้ไปเกิดในจาตุมหาราชิกา แลเทพยดาตนนั้นสูงได้ ๖,๐๐๐ วา แลประดับนิ์ด้วยเครื่องสนิมอาภรณ์ทั้งหลาย เทียรย่อมแก้วแหวนเงินทองแลดูรุ่งเรืองงามดังภูเขาทองแลฯ อันว่าอาภรณ์นั้นถ้าแลว่าจะถอดออกไส่เกวียนในมนุษย์นี้ได้ ๑,๐๐๐ เกวียนแลฯ อันว่ากระแจะแลจวงจันทน์นอันเทพยดาทาตัวนั้นถ้าแลว่าจะขูดออกใส่ตุ่มแลไหได้ ๙ ตุ่มแล อันว่าตุ่มลแไหแต่ละลูกนั้นใหญ่จุข้าว ๔ กระเชอแล


    ท่านจึงนุ่งผ้าขาวอันบริสุทธิ์แล้วจึงสอดกุณฑลในกรทั้งสองงามนักหนา แล้วจึงเกล้าผมเป็น ๕ เกล้าแลชักมวยออกอันทั้ง ๕ อันนั้นแลไว้ปลายผมนั้นห้อยลงไปข้างหลังทุกอัน แลคนธัพผู้นั้นเกล้าผม ๕ อัน เหตุดังนั้นจึงเรียกว่าปัญจสิขรเพื่อดังนั้นแล คนธัพเทพบุตรคนนั้นชอบเนื้อพึงใจแก่เทพยดาทั้งหลายนั้นแลฯ ผิพรหมผู้หนึ่งชื่อว่าสันตกุมารแลมาแต่พรหมโลกย์ แลมานฤมิตตนเป็นดังคนธัพเทพบุตรผู้ชื่อว่าปัญจสิชร แลมาเทศนาธรรมให้เทพยดาทั้งหลายฟังฯ ลางคาบเทพยดาในสวรรค์มีผู้รู้ธรรมไส้ แลเทพยดาทั้งหลายก็เชิญขึ้นเทศนาธรรมในที่นั้นฯ ลางคาบเล่าพระอินทร์ขึ้นบนธรรมาสน์นั้นแล้วเทศนาธรรมเอง ผิเมื่อพระอินทร์เจ้าเทศนานั้น ท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ เอาบริวารไปเฝ้าไปคัลทั้ง ๔ ทิศ แห่งสุธรรมาเทวสภาพศาลานั้น แลคนธัพเทพบุตรทั้งหลายก็เอาสัพพดุริยดนตรีทั้งหลายไปบำเรอ บ้างดีดบ้างสี บ้างตีบ้างเป่า บ้างขับ


    บ้างรำในปลายเขากำแพงจักรวาลทั้ง ๔ ด้านถวายแด่พระอินทร์เจ้าดังกล่าวก่อนนั้นแลฯ อันว่าพระจตุโลกบาลเดินดูดีดูร้ายแห่งโลกย์ทั้งหลายนี้ทุกวัน ยอมใช้ให้เทพยดาองค์อื่นมาต่างตัวในวันศีลน้อย คือวันอัฏฐมีนั้นไส้ยอมใช้ลูกมาต่างตน ผแลวันศีลใหญ่คือวันบุรณมีแลอมาพัสสานั้นไส้ ท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ ย่อมมาเองเดินดูเองฯ เมื่อเทพยดามาต่างตนก็ดี ลูกธมาเองก็ดี แลตัวธมาเองก็ดี เทียรย่อมถือแผ่นทองเนื้อสุกแลถือดินสอนั้นอันทำด้วยชาติหิงคุนั้นมาด้วย แลเดินไปดูทุกแห่งทั่วถิ่นฐานบ้านเมืองใหญ่น้อยทั้งหลาย ในมนุษยโลกย์นี้ทุกแห่งแล ถ้าแลว่าผู้ใดทำบุญทำธรรมไส้ ธจึงเขียนนามผู้นั้นลงในแผ่นทองเนื้อสุกนั้นว่าดังนี้


    ท่านผู้นี้ชื่อนี้อยู่บ้านนี้เรือนนี้ได้ทำบุญธรรมฉันนี้ ๆ มีอาทิคือไหว้นบคำรพสมาบูชาแลประติบัติแก่พระศรีรัตนไตรย แลเลี้ยงดูพ่อแลแม่ยำเยงผู้เฒ่าผู้แก่รักพี่รักน้อง แลรักท่านผู้อื่นแลชีต้นอาจารย์แลครูบาธยาย แลให้ผ้ากฐินแลก่อพระเจดีย์กระทำคูหาปลูกกุฎีวิหารแลปลูกพระศรีมหาโพธิแลสดับนิ์ฟังพระธรรมเทศนาแลจำศีลเมตตาภาวนาสวดมนต์ไหว้พระ แลอำนวยทานยำเกรงสมณพราหมณ์ผู้มีศีลแลบูชาธรรมทั้งปวงนี้ ถ้าแลว่ผู้ใดกระทำแต่ละสิ่ง ๆ ดังนั้นก็ดี เทพยดาก็เขียนนามลงในแผ่นทองดังกล่าวมานั้นแลฯ แล้วจึงเอาแผ่นทองนั้นไปให้แก่ปัญจสิขรเทวบุตรฯ นั้นจึงเอาไปให้แก่พระมาตลี ๆ นั้นจึงเอาไปทูลถวายแด่พระอินทร์เจ้าแลฯ จึงเทพยดาทั้งหลายก็อ่านดูในแผ่นทอง ถ้าว่าเห็นบาญชีในแผ่นทองนั้นมากไส้ จึงเทพยดาทั้งหลายก็ศ้องสาธุการยินดีนักหนา


    ด้วยคำว่าดังนี้มนุษย์ทั้งหลายจะได้ขึ้นมาเกิดเป็นเพื่อนเรานี้มากนักหนา แลว่าจตุราบาโพ้นจะเปล่าอยู่แล ฯ ผิว่าเทพยดาทั้งหลายเห็นบาญชีในแผ่นทองนั้นน้อยไส้ จึงเทพยดาทั้งหลายก็ยินร้ายแล้วชวนกันว่าดังนี้ โออนิจจาคนทั้งหลายในมนุษยโลกย์โพ้นกระทำบุญน้อยนักหนา ชะรอยว่าเขาชวนกันกระทำบาปมากนักแล เขาจะได้ไปเกิดในจตุรบายโพ้นมากนักแล กลัวว่าจำเนียรไปภายหน้าเหยียว่าเมืองฟ้านี้จะเปล่าเสียแลฯ แลพระอินทร์จึงถือเอาแผ่นสุวรรณบัฏอันมีอักษรจารึกนามสัปปุรุษทั้งหลายอันกระทำบุญนั้น พระอินทร์เจ้าจึงอ่านหนังสือในแผ่นทองนั้นให้เทพยดาทั้งหลายฟังฯ


    เมื่อว่าพระอินทร์ค่อยอ่านไส้ได้ยินออกไปไกลได ๘๐,๐๐๐ วาแล ถ้าว่าพระอินทร์ธร้องอ่านด้วยเสียงแข็งไส้ ได้ยินเสียงนั้นไส้เพราะเป็นกังวานทั่วทั้งเมืองไตรตรึงษ์ อันกว้างโดยคณนาว่าไว้ได้ ๘๐,๐๐๐,๐๐๐ วานั้นทั่วทุกแห่งสิ้นแลฯ แต่มีปราสาทแก้วแลปราสาททองทั้งหลาย อันเป็นวิมานเทพยดาทั้งหลายอยู่ในอากาศแลสูงเพียงจอมพระสุเมรุ เลื่อนไปเถิงปลายกำแพงจักรวาลดังนั้นก็ดีแล ท่านก็เรียกว่าไตรตรึงษ์แลฯ อายุเขายืนได้ ๑,๐๐๐ ปีทิพย์ได้ ๓๖,๐๐๐,๐๐๐ ปีในมนุษย์แลฯ อันว่ายศศักดิ์ก็ดีสมบัติแห่งพระอินทร์ แลฝูงเทพยดาทั้งหลายมีดังกล่าวมานี้แลฯ เพราะว่าได้กระทำกุศลบุญธรรมมาแต่ก่อนแลฯ ผู้ใดแลจะปรารถนาไปเกิดในเมืองสวรรค์ไส้ อย่าได้ประมาทลืมตนควรเร่งขวนขวายกระทำกุศลบุญธรรมให้ทานรักษาศีลเมตตาภาวนาอุปฐากรักษาศีล บิดามารดาผู้เฒ่าผู้แก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์แลสมณพราหมณ์ผู้มีศีลไส้ ก็จะได้ไปเกิดในสวรรค์แลฯ กล่าวเถิงไตรตรึงษ์เมืองสวรรค์แล้วแต่เท่านี้แลฯ



    แต่ไตรตรึงษ์สวรรค์นั้นขึ้นไปเบื้องบนสูงได้ ๖,๗๒๐,๐๐๐,๐๐๐ วา ผิจะคณนาด้วยโยชน์ได้ ๘๔,๐๐๐ โยชน์ จึงเถิงชั้นฟ้าอันชื่อว่ายามา แลมีฝูงเทพยดาทั้งหลายนั้นอยู่ในชั้นฟ้า แลมีปราสาททองปราสาทเงินเป็นงิมานแลมีกรฃำแพงแก้วรอบ แลมีสวนแก้วอุทยานอันดีแลมีสรระโบกขรณีแลฯ อันว่าเทพยดาทั้งหลายหมู่นั้นมีองคืแลหน้าตารุ่งเรืองงามนักหนาโดยสูงตัวเขาไส้ได้ ๘,๐๐๐ วาทุก ๆ องค์แลฯ อันว่าเทพยดาผู้เป็นพระยาแก่เทพยดาทั้งหลายในชั้นฟ้านั้นชื่อว่าสุยามเทวราช ในชั้นฟ้าบมิเห็นพระอาทิตย์เลย เพราะว่าสูงกว่าพระอาทิตย์นัก แล้วเทพยดานั้นเทียรย่อมเห็นด้วยรัศมีแก้วทั้งหลายแลรัศมีเทพยดาทั้งหลายด้วยแลฯ ซึ่งว่ารู้จักรุ่งแลค่ำนั้นได้แลมาอาศัยแก่ดอกไม้ทิพย์นั้นแลฯ


    ซึ่งว่ารู้จักรุ่งแลค่ำนั้นได้แลมาอาศัยแก่ดอกไม้ทิพย์นั้นแลฯ ผิว่าเมื่อใดเห็นดอกไม้นั้นบานไส้จึงรู้ว่ารุ่งแลฯ ถ้าแลว่าเห็นดอกไม้นั้นหุบเข้าไส้จึงรู้ว่าค่ำเมื่อนั้นแล ๆ ว่าอาศัยแก่ดอกไม้ฉะนี้จึงรู้แลฯ อันว่าอายุเทพยดาชั้นนั้นยืนได้ ๒,๐๐๐ ปีทิพย์ แลได้ ๑๔๒,๐๐๐,๐๐๐ ปีในเมืองมนุษย์เรานี้แลฯ แต่ชั้นฟ้าอันชื่อว่ายามานี้ขึ้นไปเบื้องบนสูงได้ ๑,๓๔๔,๐๐๐,๐๐๐ วา ผิจะคณนาด้วยโยชน์ได้ ๑๖๘,๐๐๐ โยชน์ จึงเถิงชั้นอันชื่อว่าดุสิดาสวรรค์นั้น ๆ มีปราสาทแก้วปราสาทเงินแลปราสาททองเป็นวิมาน แลมีกำแพงแก้วล้อมรอบโดยกว้างโดยสูงโดยงามนั้นยิ่งกว่าปราสาทของเทพยดาทั้งหลายอันอยู่ชั้นยามานั้นแลมีบรรณาการทุกสิ่ง คือสระแลสวนดุจกันชั้นฟ้าทั้งหลายแลฯ อันว่าเทพยดาอันเป็นพระญาแก่เทพยดาทั้งหลายในชั้นนั้น แลธชื่อว่าสันตุสิตเทพยราฃแล


    หมู่เทวดาทั้งหลายอันอยู่ในตุสิตานั้น รู้บุญรู้ธรรมทั้งพระโพธิสัตว์เจ้าผู้สร้างสมภารอันจะลงมาตรัสเป็นพระพุทธเจ้าไส้เทียรย่อมสถิตในชั้นฟ้านั้นแลฯ บัดนี้พระศรีอริยเมไตรยเจ้าผู้จะได้ลงมาตรัสเป็นพระพุทธเจ้าภายหน้าในภัททกัลปนี้ก็เสด็จสถิตในที่นั้นแล ย่อมตรัสเทศนาธรรมให้เทพยดาทั้งหลายฟังอยู่ทุกเมื่อบมิขาดแลฯ แลว่าอายุไส้ได้ ๔,๐๐๐ ปีทิพย์ ได้ ๕๖๗,๐๐๐,๐๐๐ ปีในมนุษย์นี้แลฯ แต่ชั้นฟ้าอันชื่อว่าตุสิตานั้นขึ้นไปเบื้องบนได้ ๓๓๖,๐๐๐ โยชน์จึงเถิงชั้นฟ้าอันชื่อว่านิมมานรดีนั้น ๆ เทียรย่อมมีปราสาทแก้วแลปราสาทเงินปราสาททองเป็นวิมาน แลมีกำแพงแก้วกำแพงทองล้อมรอบ แลมีแผ่นดินทองราบเพียงเสมอกันงามทุกแห่งแลมีสระน้ำอาบแลน้ำสรงสัพพทุกสิ่งทุกอัน แลมีสวนแก้วเหมือนกันดังชั้นอันชื่อว่าดุสิตสวรรค์นั้นแต่ว่ายังงามยิ่งดีขึ้นไปกว่าแลฯ ฝูงเทพยดาที่อยู่ในชั้นนั้น ถ้าแลว่ามีใจปรารถนาจะใคร่หาอันใด ๆ ก็ดีเขาหากนฤมิตตนให้เป็นเองโดยใจรักเขาไส้ได้ทุกประการแลฯ เขาเล่นด้วยหมู่นางฟ้าทั้งหลายโดยใจเขานั้นแล จึงเรียกชื่อว่านิมมานรดีเพื่อดังนั้นแลฯ ฝูงเทพยดาอันอยู่ในชั้นฟ้านั้นอายุยืนได้ ๘,๐๐๐ ปีทิพย์ ผิจะคณนาปีในมนุษย์โลกย์ได้ ๒,๓๐๔,๐๐๐,๐๐๐ ปีแลฯ


    แต่ชั้นฟ้าอันชื่อนิมมานรตีขึ้นไปเบื้องบนโดยสูงได้ ๕,๓๗๖,๐๐๐,๐๐๐ วา ผิจะคณนาด้วยโยชน์ได้ ๖๗๒,๐๐๐ โยชน์จึงเถิงชั้นฟ้า อันชื่อว่าปรนิมมิตวสวัตตีสวรรค์ แลแต่ชั้นฟ้า ๖ อันชื่อฉกามาพจรสวรรค์แลฯ อันว่าชั้นฟ้า ๖ ชั้นนี้ไส้ประเสริฐด้วยสุขสมบัติยิ่งชั้นฟ้าทั้งหลายนั้นแลฯ ผิจะใคร่ได้สัพพทิพยโภชนาหารสิ่งใด ๆ ก็ดี แลมีเทพยดาองค์อื่นหากมานฤมิตเป็นสิ่งนั้นแลได้โดยใจเองทุกประการ จึงเรียกชื่อว่าปรนิมมิตรวสวัตตีสวรรค์เพื่อดังนั้นแลฯ อันว่าเทพยดาในชั้นนั้นตัวเขาสูงได้ ๖๔,๐๐๐ วาทุก ๆ ตนแลฯ อันว่าเทพยดาผู้เป็นพระญาในชั้นชื่อปรนิมมิตวสวัตตีเทวราชแล เป็นพระญาแก่เทพยดาทั้งหลายอยู่ฝ่าย ๑ แลพระญามาราธิราชผู้เป็นพระญาแก่หมู่มารทั้งหลายอยู่ฝ่าย ๑ แลในชั้นฟ้านี้มีพระญาสององค์แลบห่อนได้ไปเฝ้าไปคัลกัน แต่ชั้นฟ้าทั้งมวลอันมีเทียรย่อมแดนเถิงแดนกำแพงจักรวาลทุกชั้นฟ้าแล แต่ ๖ ชั้นฟ้านี้ชื่อฉกามาพจรภูมิแลฯ อายุเทพยดาในชั้นปรนิมมิตวสวัตตีนั้นยืนได้ ๑๖,๐๐๐ ปีฯ อายุเทพยดาในชั้นปรนิมมิตวสวัตตีนั้นยืนได้ ๑๖,๐๐๐ ปีทิพย์ ผิว่าจะนับปีในมนุษย์นี้ได้ ๙๒๑,๖๐๐,๐๐๐ ปีในมนุษย์เรานี้แล ฯ หมู่เทวดาทั้งหลายจะสิ้นอายุจากเมืองฟ้านั้นมี ๔ สิ่ง ๆ หนึ่งชื่ออายุขัย สิ่งหนึ่งชื่อบุญญขัย สิ่งหนึ่งชื่ออาหารขัย สิ่งหนึ่งชื่อโกธาพลขัยฯ ผิว่าเทพยดาหมู่ใด ๆ กระทำบุญแต่หลังมาแลสิ้นอายุในชั้นฟ้าตนอยู่นั้น แลไปเกิดในชั้นฟ้าเมืองบนก็ดี แลลงมาเกิดในชั้นฟ้าเดียวนั้นเล่าก็ดี ดังนั้นชื่อว่าอายุขัยแลฯ ฝูงเทพยดาอันได้กระทำบุญแต่ก่อนแลได้ไปเกิดในเมืองฟ้า แลอายุเทพยดานั้นบมิเถิงกำหนดโดยอายุเทพยดาในชั้นฟ้านั้น แบบุญเทพยดานั้นหากสิ้นก่อนเทพยดานั้นก็จุติจากสวรรค์นั้นไปเกิดแห่งอื่น


    เพราะว่าบุญสิ้นดังนั้นเรียกชื่อว่าบุญขัยแลฯ เทพยดาลางจำพวกอยู่เล่นสนุกนิ์ด้วยนางฟ้าแลลืมกินอาหารทั้งหลายเทพยดานั้นก็สิ้นชีวิต แม้นว่าลืมกินแต่งายดังนัน้นก็ดี ลืมกินแต่เพราเดียวดังนั้นก็ดี แม้นว่ามากินเมื่อภายหลังได้แลรอยคาบก็ดีก็มิอาจคงชีวิตคืนได้เลย เหตุว่าเนื้อของเทพยดานั้นอ่อนอุปมาดังดอกบัว แลเอาไปตากไว้หน้าศิลาเมื่อแดดร้อนนั้นวันหนึ่งยังค่ำแล้วแลเอามาแช่น้ำเล่าแม้นว่าแช่ไว้นานเท่าใด ๆ ก็ดี อันว่าดอกบัวก็มิอาจคืนสดชื่นมาดังเก่าเลย แลมีดังฤๅไส้ตัวเทพยดาอดอาหารแลตายนั้น แลเทพยดาทั้งหลายตนใดสิ้นชีวิตด้วยประการดังนั้นไส้เรียกชื่อว่าอาหารขัยแล เทพยดาลางจำพวกเห็นเทพยดาตนอื่นเป็นดี แลมียศถาศักดิ์ดียิ่งกว่าตนก็มีใจริษยา


    แลมีใจโกรธก็บังเกิดถ้อยความถุ้งเถียงกันแลด่าทอกัน เทพยดาทั้งสองนั้นถ้าแลว่าผู้ใดก็ดีแลผู้ใดอดได้บมิได้โกรธไส้ เทพยดาทั้งหลายนั้นมีชีวิตคงอยู่แล เพราะเหตุใดเพราะว่าใจของเทพยดาผู้โกรธนั้นเป็นไฟ แลใจของเทพยดาผู้มิได้โกรธนั้นเป็นน้ำแลไปดับไฟ คือใจเทพยดาผู้โกรธนั้นเสียจึงคงชีวิตอยู่เพื่อดังนั้นแลฯ ถ้าแต่ว่าเทพยดาทั้งหลายสองตนนั้นต่างตนต่างย่อมตั้งความโกรธต่อกัน แลมิได้อดกันต่อด่าต่อเถียงดังนั้น อันว่านางฟ้าทั้งหลายที่เป็นบริวารทั้งสองฝ่ายนั้น เขาเทียรย่อมสยายผมเขาลงแล้วก็ร้องไห้ทุก ๆ ตนแล เทพยดาทั้งสองนั้นตั้งความโกรธต่อกันดังนั้น อันว่าหัวใจเทพยดาทั้งสองนั้นก็เป็นไฟไหม้ตัวเขาทั้งสอง ๆ นั้นก็สิ้นชีวิตตายแล แลว่าเทพยดาหมู่ใดแลสิ้นด้วยประการดังนี้ไส้เรียกชื่อว่าโกธาพลขัยแลฯ พิไสยของเทพยดาทั้งหลายฉันนี้


    แม้นว่ากินอาหารไส้แลจะมีลามกอาจมมูตรคูถดังมนุษย์เราท่านนี้หาบมิได้แล เทพยดาอันจุติจากสวรรค์แลจะมีอศุภดังมนุษย์เราท่านนี้ก็หาบมิได้ ครั้นว่าจุติไส้ทั้งกายนั้นก็หายไปด้วยทีเดียวแลฯ ผิว่าเทพยดาผู้มีบุญนั้น ครั้นว่ายัง ๗ วันจะสิ้นชนมาพิธีจะจุติไส้ ย่อมอุบัติให้เห็นนิมิต ๕ อันเห็นนิมิตดังนี้ไส้แล แลเทพยดาตนนั้นก็รู้ซึ่งสภาวตนจะจุติแลฯ อันนิมิต ๕ อันนั้นฉันนี้ อนึ่งคือว่าเห็นดอกไม้อันมีในวิมานตนนั้นเหี่ยวแลบมิหอมไส้ เพราะว่าแต่ก่อนนั้นหอมนักแลมิรู้เหี่ยวจึงรู้ด้วยดังนี้ ๑ นิมิตอนึ่งเห็นผ้าอันทรงอยู่นั้นไส้ดูหม่นดูหมองไป เพราะว่าแต่ก่อนบห่อนรู้หม่นรู้หมอง แลว่าผ้านั้นสุกใสงามอยู่ทุกเมื่อแลรู้ด้วยดังน้ ๑ นิมิตอนึ่งคือว่าอยู่สุขแล้วอุบัติหาสุขบมิได้ แลมีเหงื่อไหลแลไคลออกกแต่รักแร้ตน เพราะว่าแต่ก่อนไส้ย่อมมีสุขทุกเมื่อเหงื่อแลไคลบห่อนไหลออกจากตัวไส้แลรู้ด้วยดังนี้ ๑ ฯ อนึ่งอาสน์ที่ตนนั่งแลนอนก็ดูร้อนแก่ใจดูแข็งกระด้างแก่ใจ


    เพราะว่าแต่ก่อนบห่อนรู้ร้อนรู้แข็งแลกระด้างแลมาร้อนแลกระด้างนัก รู้ด้วยดังนั้น ๑ อนึ่งกายของเทพยดานั้นเหี่ยวแห้งแลเศร้าหมองหารัศมีบมิได้ดุจก่อน แลให้เหน็ดเหนื่อยเมื่อยตีนมือแลกระศัลโสด เพราะว่าแต่ก่อนตัวเทพยดานั้นมีรัศมีรุ่งเรืองงามทุกเมื่อ บห่อนรู้เศร้าหมอง บห่อนรู้เหน็ดเหนื่อยเมื่อยตีนมือ แลกระศัลรู้ด้วยดังนี้ ๑ ฯ อันว่าการณ์อันเห็นนิมิต ๕ อันดังนี้แลมีแก่เทพยดาผู้มีบุญแลจะจุติไส้อุปมาดังท้าวพระญาในมนุษย์อันจะพิลาลัยแล้วให้เห็นนิมิตอุปมาดังอุบายนี้แลฯ ส่วนว่าเทพยดาทั้งหลายอันมีบุญน้อยหากอยู่หากจุติแลฯ ส่วนว่าเทพยดาที่มีบุญสั้น ครั้นว่าเห็นนิมิต ๕ อันดังนั้นแล้ว อันว่าเทพยดาทั้งหลายอันเป็นที่รักตนก็ดี แลนางฟ้าทั้งหลายอันเป็นบริวารตนก็ดี ย่อมมาสู่มาหาทั้ง ๗ วันนั้นแลมีทุกข์โทมนัสด้วยกันแล้วก็ชักชวนไปเล่นสระแลที่สนุกนิ์


    เพื่อจะให้เทพยดาองค์นั้นเคลื่อนคลายหายทุกข์แล อันว่านางฟ้าทั้งหลายซึ่งเป็นบริวารของเทพยดาตนนั้นเทียรย่อมร้องห้ทุกตน ๆ แล้วแลว่าดังนี้จงท้าวธรมาเกิดในวิมานแห่งเดียวนี้เถิดฯ ครั้นว่าถ้วน ๗ วันจึงเทพยดาตนนั้นก็จุติแลฯ แล้วเทพยดานั้นก็ไปเกิดภายหน้าด้วยอำเภอบุญแลบาปแห่งเทพยดานั้นจะชักไปเอง แลเมื่อแลว่าเทพยดาองค์นั้นพิลาลัยแล้วดังนั้น ครั้นว่าเครื่องถนิมอาภรณ์ของเทพยดานั้นหากหายไป แลตัวเทพยดานั้นก็หายไป แม้นว่าผมเส้นหนึ่งก็ดี บมิเห็นปรากฏเลยฯ อันว่าคณะเทพยดาทั้งหลายแลมีสุขสมบัติบารณดังนี้ไส้ก็ดีแล แลว่ายังรู้สิ้นจากความสุขสมบัติไส้ อย่าว่าแต่มนุษย์เราท่านทั้งหลาย แลจะมั่นคงแก่สมบัติแลอายุอยู่ได้เลยฯ เหตุดังนั้นแล จึงองค์พระพุทธเจ้าก็ดี แลพระปัเตยกโพธิเจ้าก็ดี พระอรหันตาขีณาสพเจ้าทั้งหลายก็ดี ท่านจึงมิใคร่ปรารถนาแก่สุขสมบัติในสงสารนี้แล


    ท่านจึงเสด็จไปสู่นิพพานสุขเพราะเพื่อดังนี้แลฯ อันว่าเกิดมาแลจะได้สุขสมบัติในเทวโลกย์ก็ดี มนุษย์โลกย์ก็ดี เพราะเหตุได้กระทำบุญแต่ก่อนแลประกอบด้วยไตรเหตุ ๓ อนึ่งชื่ออโลโภเหตุ เหตุบมิได้โลภเพื่อจะเอาสินท่านผู้อื่น ฯ อนึ่งชื่อว่าอโทโสเหตุ เหตุว่าบมิได้ขึ้งเคียดบมิได้รู้คุมนุมคุมโทษบมิรู้ริษยาแก่ท่านผู้อื่นแลฯ อนึ่งชื่อว่าอโมโหเหตุ เหตุว่าบมิหลงแลบมิได้กระทำการณ์อันเป็นบาป แลเทียรย่อมกระทำการณ์อันเป็นบุญเพื่อเหตุ ๓ อันดังกล่าวนี้แล้วจึงมียษศักดิ์แลสุขสมบัติเพื่อดังนั้นแลฯ อันว่าบุญทั้งหลายแลจิตจะเป็นบุญนี้ ก็มีใจทั้งกลายได้ ๑๗,๒๘๐ ดวง ดังกล่าวก่อนนั้นแลฯ กล่าวเถิงสวรรค์อันเกิดในฉกามาพจรภูมิอันเป็นอัฏฐกัณฑ์โดยสังเขปแล้วแต่เท่านี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กุมภาพันธ์ 2009
  19. สัตบุรุษ

    สัตบุรุษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    733
    ค่าพลัง:
    +840
    พรหมรูป


    อันว่าพรหมทั้งหลายอันเกิดในรูปพรหมรูปทั้ง ๑๖ ชั้นนั้นย่อมเกิดด้วยอุปปาติกโยนิสิ่งเดียวไส้ เอาปฏิสนธิ ๖ จำพวกมีอาทิ คือว่าวิตกวิจารอันกล่าวก่อนโพ้นแลฯ แต่ชั้นฟ้าอันชื่อประนิมมิตรสวัตติสวรรค์นั้นขึ้นไปเถิงพรหมโลกย์จะนั้บจะคณนาด้วยโยชน์ก็ดีด้วยวาก็ดีบมิได้เลย เพราะว่าไกลนัก แต่พรหมชั้นต่ำทั้งหลายอันชื่อว่าพรหมปาริสัชชาภูมินั้นลงมาเถิงแผ่นดินนี้โดยไกลยิ่งนัก


    แม้ว่ามีศิลาก้อน ๑ เท่าปราสาทเหล็กอันชื่อโลหปราสาทนั้น อันที่มีอยู่ในลังกาทวีปโพ้น แลว่าเอาทอดลงมาแต่ชั้นพรหมปาริสัชชานี้นั้น แลบมิได้ข้องขัดสักแหงเลยแม้ว่าดังนั้นก็ดีได้ ๔ เดือนจึงเถิงแผ่นดินเรานี้ไส้ อันนี้กล่าวแต่พรหมชั้นต่ำไส้ แลยังมีชั้นพรหมทั้งหลายได้ ๒๐ ชั้นบนขึ้นไปเหนือกันขึ้นไปเถิงชั้น ๆ แลโดยกว้างโดยแดนปริมณฑลเถิงเขากำแพงจักรวาลอันเราอยู่นี้ แลเทียรย่อมมีปราสาทแก้ว แลเครื่องประดับนิ์สำหรับทั้งหลาย งามนักหนายิ่งปราสาทเทพยดาทั้งหลาย อันอยู่ภายต่ำใต้ได้ประมาณพันเท่าแลฯ พรหมชั้น ๑ ชื่อว่าพรหมปาริสัชชาภูมิฯ ชั้น ๑ ชื่อว่าพรหมปโรหิตา" ชั้น ๑ ชื่อว่ามหาพรหมาภูมิ" พราหมณ์ก็ดี ฤๅษีก็ดี อันท่านได้ภาวนาได้ฌานอัน ๑ ชื่อว่า ปฐมฌานได้น้อยทุกเมื่อรอดชั่วสัตว์


    ครั้นว่าตายได้เกิดเป็นพรหมในชั้นอันชื่อพรหมปาริสัชชาภูมิ อยู่หึงนานนักแลได้อสงไขยกัลปหนึ่งแลแบ่งเป็น ๓ ภาค แลเอาแต่ภาค ๑ เป็นอายุพรหมทั้งหลายในชั้นนั้นแลฯ ผู้ใดแลได้ปฐมฌานรอดสุดชั่วตนครั้นว่าตายได้ไปเกิดในพรหมอันชื่อว่าพรหมปโรหิตาภูมินั้นเสวยสุขโดยนาน ผิว่าจะคณนาได้อสงไชย ๑ แบ่งเป็น ๒ ภาค เอาแต่ภาค ๑ เป็นอายุแห่งพรหมทั้งหลายในนั้นแลฯ ผู้ใดแลได้ปฐมฌานอันอุดมนักหนาทุกเมื่อชั่วตัวตน ครั้นว่าตายไปเกิดในพรหมนั้นอันชื่อว่ามหาพรหมภูมิ แลมหาพรหมชั้นนั้นอยู่เสวยสุขอายุยืนได้มหากัลปนั้น อายุพรหมนั้นบมิได้นับด้วยอสงไขยเลย เทียรย่อมนับด้วยกัลปแลฯ เมื่อแลไฟไหม้กัลปไส้ไหม้ทั้งพรหม ๓ ชั้นนั้นด้วยแลฯ แต่นั้นขึ้นไปเบื้องบนไกลนักหนาแลจึงเถิงพรหม ๓ ชั้น พรหมชั้น ๑ ชื่อปริตตาภูมิ ชั้นหนึ่งชื่ออัปปมาณาภูมิ พรหมชั้นหนึ่งชื่ออภัสสราภูมิ เทียรย่อมเป็นชั้นขึ้นเหนือกันไปพรหม ๓ ชั้นนั้นชื่อทุติยฌานภูมิ


    ฝูงเทพยดาแลคนทั้งหลายผู้ใดเถิงทุติยฌานได้น้อยทุกเมื่อรอดชั่วสุดชั่วตน ครั้นตายไปได้เกิดในพรหมชั้นชื่อปริตตาภาภูมิ ยืนได้ ๒ มหากัลปฯ ผู้ใดได้ทุติยฌานแต่มัธยมทุกเมื่อรอดชั่วตน ครั้นตายไปเกิดในพรหมชั้นอันชื่ออัปปมาณาภูมิ ยืนได้ ๔ มหากัลปฯ เทพยดาแลมนุษย์ทั้งหลายผู้ใดได้เถิงแก่ทติยฌานอันประณีตด้วยนักหนาทุกเมื่อรอดชั่วตน ครั้นตายได้ไปเกิดในชั้นพรหมอันชื่ออาภัสสราภูมิยืนได้ ๘ มหากัลปฯ เมื่อไฟไหม้กัลปแล้วน้ำท่วมอาภัสสราพรหมภูมินั้นแล


    แต่นั้นขึ้นไปเบื้องบนไกลนักหนาแล้วจึงเถิงพรหมชั้นโสดพรหมชั้น ๑ ชื่อปริตตาสุภาภูมิพรหม ชั้น ๑ ชื่ออัปมาณสุภาภูมิ พรหมชั้น ๑ ชื่อสุภกิณหาภูมิ ย่อมเป็นชั้นเหนือกันไปไกลนักหนา แลพรหม ๓ ชั้นนั้นชื่อตติยฌานภูมิ เทพยดาแลคนทั้งหลายผู้ใดได้เถิงตติยฌานน้อยทุกเมื่อรอดสุดชั่วตน ครั้นตายได้ไปเกิดในพรหมชั้นอันชื่อปริตตาสุภาภูมิยืนได้ ๑๖ มหากัลปฯ ผิแลผู้ใดเถิงตติยฌานแต่มัชฌมิปานกลางทุกเมื่อ ครั้นตายไปเกิดในชั้นพรหมอันชื่ออัปปมาณสุภาภูมิยืนได้ ๓๒ มหากัลปฯ ผู้ใดได้เถิงตติยฌานอันเป็นประณีตด้ยวยนักหนาทุกเมื่อรอดสุดชั่วตน ครั้นตายไปเกิดในพรหมอันชื่อสุภกิณหายืนได้ ๖๔ มหากัลปฯ เมื่อน้ำท่วมแล้วแลลม ๔ อันพัด พรหม ๓ ชั้นนี้เพื่อสิ้นแล้ววายลมแต่นั้นฯ แต่นั้นขึ้นไปเถิงบนไกลนักหนาแลจึงเถิงพรหมสองชั้นโสดฯ พรหมชั้น ๑ ชื่อเวหับผลาภูมิ พรหมชั้น ๑ ชื่ออสัญญีภูมิ แลบพรหมสองชั้นนั้นชื่อจตุตุถฌานภูมิ ฝูงเทพยดาแลมนุษย์ทั้งหลายอันเถิงแก่จตุตถฌานอันประณีตนักหนาทุกเมื่อรอดสุดชั่วตน ครั้นตายไปเกิดในพรหมชั้นอันชื่อเวหัปผลาภูมิยืนได้ ๔๐๐ มหากัลปฯ ผู้ใดได้เถิงแก่จตุตถฌานด้วยนักด้วยหนาแลเขาบมิได้มีลูกมีเมียแลเขาเทียรย่อมรำพึงในใจเขาฉันนี้


    อันว่าสัตว์ทั้งหลายอันไปทนทุกขเวทนาในจตุราบายในโยนิ ๑๐ อัน ก็โ ๕ อัน อัญญาณ ๗ อัน แลอยู่ในสัตว์พาสา ๙ อัน เพื่อมีใจแลรู้รำพึงมากนักหนาแลรู้มีใจรักแลมีใจชัง ผิเมื่อใดแลให้ใจนี้หายจากตนแลบมิรู้รำพึงอันใดสักสิ่งทุกปีจะแลฯ เขารำพึงดังนั้นแล้วเขาจึงปรารถนาดังนี้ จงกูอย่ามีลูกอย่ามีเมียอย่ามีใจเลย เขาจึงภาวนาดังนี้ อสัญญีปิ เขาย่อมปรารถนาดังนั้นแล ภาวนานั้นทุกเมื่อรอดชั่วตนเขา


    ครั้นว่าเขาตายได้ไปเกิดในชั้นพรหม อันชื่ออสัญญีพรหมนั้นแลฯ ฝูงพรหมทั้งหลายอันอยู่ในชั้นนั้นตนสูงได้ ๙๖,๐๐๐ วา แม้นว่าใจน้อยหนึ่งก็บมีเลยฯ หน้าตาเนื้อตัวพรหมนั้นดังรูปพระปฏิมาทองอันช่างหากขัดใหม่แลงามนักหนานั้น ผิผู้ใดนั่งอยู่แลตายในเมื่อคำนึงไปเป็นพรหมในชั้นนั้นนั่งอยู่ต่อสุดอายุ ผู้ใดยืนอยู่จึงตายในมนุษยโลกย์นี้ก็ดี แลไปเป็นพรหมยืนอยู่ในเมืองพรหมโลกย์นั้นบมิกระเหม่นบมิตกบมิติงสักแห่ง ทั้งตาก็บมิพริบดูชั่วสุดพรหมนั้นแลมิรู้สักสิ่งเลย แลว่าในปราสาทแก้วพระพรหมนั้นกว้างขวางนักหนาแล มีดอกไม้คันธรสของหอมทั้งหลายประเสริบดีนักหนาอยู่ทุกเมื่อดูสุดชั่วครหมทั้งหลายนั้น แลดอกไม้นั้นบห่อนรู้เหี่ยวบห่อนรู้แห้งแลโรย แลคันธรสของหอมนั้นบห่อนรูเผือดหายกลิ่นเลย ดอกไม้นั้นดังว่าแสร้งเรียงแลเรียบระเบียบงามนักหนาอยู่รอบพรหมนั้นทุกทิศ แลพรหมทั้งหลายอยู่ในชั้นนั้นมากนักหนาบมิรู้กี่ล้านกี่โกฏิเลย อายุเขายืนได้แล ๕๐๐ มหากัลป ผิแลเมื่อใดสิ้นอายุแลจะจากเมืองพรหมแลพรหมนั้นมีบุญอันได้กระทำแต่ก่อน แลสิ้นใจนั้นก็คืนมาเป็นปรกติดังคนทั้งหลาย แลไปเกิดโดยอำเภอบุญแลบาป


    เพราะว่าบมิได้เถิงนิพพานฯ แต่นั้นขึ้นไปเถิงชั้นบนไกลนักหนา แลจึงเถิงเมืองพรหม ๕ ชั้น พระพรหมชั้นหนึ่งชื่ออวิหาภูมิ ชนหนึ่งชื่ออตัปปาภูมิ ชั้นหนึ่งชื่อสุทัสสีภูมิ ชั้นหนึ่งชื่ออกนิฏฐาภูมิ พรหมทั้งหลาน ๕ ชั้นนี้ชื่อปัญจสุทธาวาสเป็นจตุตถฌานภูมิโสดแต่ฝูงใดได้อนาคามิผลแลได้จตุตถฌานก็โ เถิงแก่ปัญจฌานก็ดีรอดสุดชั่วตน ครั้นตายได้ไปเกิดในพรหม ๕ ชั้น อันชื่อปัญจพิธสุทธาวาสนั้นเลยแลบมิคืนมาเกิดในเมืองมนุษย์นี้เลยฯ ผิว่าสิ้นอายุในเมืองพรหมนั้นก็เสร็จเข้าสู่นิพพาน แลอายุพรหมในอวิหายืนนับด้วยมหากัลปได้ ๑,๐๐๐ มหากัลป แลอายุพรหมในอตัปปายืนได้ ๒,๐๐๐ มหากัลป อายุพรหมในสุทัสสายืนได้ ๔,๐๐๐ มหากัลป อายุพรหมในชั้นสุทัสสียืนได้ ๘,๐๐๐ มหากัลป อายุพรหมในชั้นอกนิฏฐายืนได้ ๑๖,๐๐ มหากัลป แต่พรหม ๑๖ ชั้นนั้นชื่อโสฬสรูปพรหม แลเป็นที่อยู่แพรหมทั้งหลายอันมีรูปแลฯ แลพรหมทั้งหลายแต่ล้วนผู้ชาย แลจะมีพรหมผู้หญิงดังเทพยดาทังหลายอันอยู่ในชั้นต่ำไส้หาบมิได้ แต่เท่าว่าพรหมอันอยู่ในชั้นอสัญญีนั้น แต่เป็นรูปอยู่ดังนั้นแลบมิรู้ไหวรู้ติงแต่ชั้นเดียวนั้นฯ แลพรหมทั้ง ๑๕ ชั้นนั้นย่อมรู้ไหรู้ติง แลมีจักษุก็รู้ดู แลมีโสตก็รู้ฟัง แลมีฆานก็รู้หายใจเข้าออก แลเท่าว่าบมิได้รู้ว่ารสหอมแลเหม็นแลมีชิวหารู้เจรจาพาที เท่าว่าบมิรู้จักรสส้มแลรสหวานแลเผ็ดแลจืดเค็ม แลเนื้อหนังพรหมนั้นแม้นว่ามือต้องก็บมิรู้สึกเจ็บโสด


    พรหมทั้งกลายนั้นบห่อนรู้กินข้าวกินน้ำสักคาบเท่าแต่ฌานสมาบัติด้วยตนเอง อันว่าจะยินดีด้วยถูกต้องผู้อื่นดังนั้นบมีแลหน้าตาเนื้อตัวพระพรหมทั้งหลายนั้นเกลาเกลี้ยงงามนัก แลว่ารุ่งเรืองกว่าพระจันทร์พระอาทิตย์พันเท่าไส้ แต่มือพรหมแต่มือหนึ่งก็ดีจะให้เรืองไปทั่วทั้งจักรวาลทั้งหลายได้หมื่นจักรวาลดังกล่าวถ้วนทุกแห่ง พระพรหมทั้งหลายนั้นเทียรย่อมมีปราสาทแก้วทองแลย่อมปูด้วยอาสน์ทิพย์ทุกแห่งทั้งม่านแลวิดานเทียรย่อมทิพย์แล แลประดับนิ์ด้วยแก้ว ๗ ประการดูงามยิ่งกว่าเทพยดาทั้งหลายอันอยู่ชั้นต่ำได้ละพันเท่าไส้ แลมีเกศเกล้าดูงามนักหนาแลหัวเป็นชฎาทุกองค์ ๆ ดูเรืองงามต่าง ๆ แลตนพรหมนั้นงามนักหนาหัวเข่าก็ดีแขนก็ดีที่ต่อกันก็ดี กลมงามนักบมิได้เห็นที่ต่อกัน พรหมทั้งหลายนั่นบห่อนรู้มีองค์อันใดในตนน้อยหนึ่ง แลจะมีลามกอาจมไส้หาบมิได้โสด พรหมทั้งหลาย ๒๐ ชั้นนั้นแม้นว่าผู้หญิงตนหนึ่งก็บมิ


    แม้นว่าพรหมผู้หนึ่งก็ดีแลจะเหมือนกังนั้นก็ดีก็บมีโสดแล พรหมทั้งหลายนั้นจะมีใจกำหนัดกระศัลย์ยินดีแก่ผู้หญิงน้อยหนึ่งก็ดีก็บมี พรหมทั้งหลายนั้นแลจะรู้ขับรำกระทำการดุริยดนตรีทั้งหลายสิ่งใด ๆ ก็บห่อนรู้โสด ลางจำพวกอยู่ด้วยฌานอันชื่อว่าอริยวิหาร ลางจำพวกอยู่ด้วยฌานอันชื่อทิพยวิหาร ลางจำพวกอยู่ด้วยฌานอันชื่อพรหมวิหาร พรหมทั้งหลายอันอยู่ในอกนิฏฐพรหมนั้น ผิแลเมื่อพระโพธิสัตว์ผู้จะได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าไส้ในเมื่อวันพระโพธิสัตว์ เจ้าจะเสด็จออกทรงผนวชไส้ พรหมนั้นเอาผ้าไตรจีวรแลเครื่องบริขารลงมาแต่พรหมโลกย์โพ้น แลมาถวายแด่พระโพธิสัตว์เจ้า ๆ รับเอาไตรจีวรแต่พระพรหมแล้ว พระเจ้าจึงทรงไตรจีวรนั้น พระเจ้าจึงถอดผ้าขาวอันพระองค์ทรงนั้นออกจากพระกายพระเจ้าจึงยื่นให้แก่พรหมนั้น ๆ จึงรับเอาขึ้นไปไว้เถิงอกนิฏฐพรหม แล้วจึงนฤมิตเป็นพระเจดีย์แก้วกรวมประอบแก้วอันใสงามนั้น โดยสูงพระเจดีย์นั้นได้ ๙๖,๐๐๐ วา แลมีพระนามชื่อว่าทุศเจดีย์แล พรหมทั้งหลายนั้นย่อมไปอุปฐากบูชาแลวันจะ ๗ แสนบมิขาดฯ พรหมชั้นนั้นเพื่อไฟไหม้แผ่นดินนี้แล้วแลแผ่นดินนั้นไส้เมื่ออาทิพรหมชั้นนั้นลงมาดูดอกบัวอันเกิดในแผ่นดินนี้ พรหมนั้นจึงเอาบาตรจีวรแลเครื่องบริขารนับทั้งบาตรแลจีวรด้วยเป็น ๘ สิ่ง ชื่ออัฏฐบริขารอยู่ในดอกบัวนั้นแลฯ คือว่ผ้าสบง ๑ ผ้าจีวร ๑ ผ้าสังฆาฏิ ๑ บาตร ๑ ผ้าประคด ๑ มีดโกณ ๑ เข็มเย็บผ้า ๑ ผ้ากรองน้ำ ๑ อันว่าเครื่อง ๘ สิ่งนี้ชื่ออัฏฐบริขารแลพรหมเอาอัฏฐบริขารนี้ขึ้นไปไว้เถิงพรหมโลกย์ ชั้นอันชื่ออกนิฏฐพรหมนั้นแลฯ เถิงเมื่อพระโพธิสัตว์เจ้าออกทรงผนวชไส้พรหมเอาลงมาถวายฯ แลกัลปอันใดจะมีพระพุทธเจ้าแต่องค์ ๑ ไส้ จึงดอกบัวเกิดขึ้นดอก ๑ แลกลปนั้นชื่อว่าสารกัลปแลฯ กัลปได้จักเกิดมีพระพุทธเจ้า ๒ องค์ไส้ดอกบัวเกิด ๒ ดวงแลกัลปนั้นชื่อปลากัลปแลฯ กัลปอันใดแลจะมีพระพุทธเจ้า ๓ พระองค์ไส้ดอกบัวเกิดขึ้น ๓ ดอก กัลปนั้นชื่อว่าวรกัลปแลฯ กัลปใดแลมีพระพุทธเจ้า ๔ พระองค์ได้ดอกบัวเกิด ๔ ดอกกัลปนั้นชื่อว่าสารปัณฑกัลปแลฯ กัลปใดจะมีพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ไส้ดอกบัวเกิดขึ้น ๕ ดอกแล กัลปนั้นชื่อภัททกัลปแลฯ กัลปใดอันหาพระพุทธเจ้าเกิดบมิได้ไส้ กัลปนั้นชื่อสุญญูกัลปแลฯ แต่กัลปละอันละอันจะเกิดมีพระพุทธเจ้าไส้แต่เต็ม ๕ องค์ไส้บห่อนมี อันว่าอัฐฏบริขารอันเกิดมีในดอกบัวดังนี้ ย่อมเกิดเป็นธรรมดาโดยสมภารพระเจ้าแลฯ


    ฝูงอันไปเกิดในพรหมโลกนั้นกระทำบุญธรรมดังฤๅ แลจึงได้ไปเกิดสิ้นฯ ผู้ใดก็ดีแม้นว่าได้ทำบุญธรรมบวชเป็นสมณะ แม้นว่ามีศีลเท่าใดก็ดีแลบมิได้ฌานว่าจะไปโดยอากาศดำดินไปดังนั้นบห่อนไปเกิดในพรหมโลกย์สักคาบ ผู้ใดกอปร์ด้วยฌานรอดชั่วตนแลมิได้ถอยฌานจึงได้ไปเกิดในพรหมโลกย์ไส้ฯ


    เมื่อจะภาวนาให้ได้ฌานนั้นย่อมกระทำดังนี้ ชาวภิกษุอันเป็นศิษย์แห่งพระพุทธเจ้าก็ดีฤๅษีผู้มีศีลก็ดี นั่งสมาธิภาทวนาจำเริญกรรมฐานว่าปฐวิกสิณํ กลางวันกลางคืนบำบัดปัญจนิวรณ์ คือพยาบาทนิวรณ์ ๑ ถีนมิทธนิวรณ์ ๑ อุทธัจจนิวรณ์ ๑ กุกกุจจนิวรณ์ ๑ วิจิกิจฉานิวรณ์ ๑ จึงจะกอปร์ด้วยองค์ ๕ อัน อันชื่อว่าวิตก ๑ วิจาร ๑ ปิติ ๑ สุข ๑ เอกกัคคตา ๑ จึงจะกอปร์ด้วยญาณ ๕ อัน ๆ หนึ่งคืออิทธิวิธิญาณ ๑ ทิพยโสตญาณ ๑ ทิพยจักษุญาณ ๑ ปรจิตตวิชชาญาณ ๑ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ๑ อันเป็นสุภาวบุญ อันกระทำแลได้ไปเกิดในโลกย์นี้แล้วเมื่อใดไปเกิดในรูปพรหม ๑๕ ชั้นอันเว้นแต่อสัญญีพรหมนั้น เมื่อเกิดนั้นพุพพะ ๒๓ ขึ้นทีเดียวบมิได้เกิดรูป ๒๘ ทีเดียว ดุจเทพยดาอันเกิดในกามภูมินั้น พรหมเกิดนั้นแต่รูป ๒๓ แลรูป ๕ บมิเกิดนั้นรูป ๕ อันนั้นอันใดสี้นฯ อันหนึ่งชื่อว่าฆานรูป คือรูปอันรู้จักอันหอมอันเหม็นฯ อนึ่งชื่อชิวหารูป คืออันรู้จักรสอันกินแลรู้จักรสฯ อนึ่งชื่อกายรูป คือรู้สึกอันเจ็บอันปวดแต่ตนฯ อนึ่งชื่อปุริสภาวรูป คืออันรู้กระกัติกามตัณหาดังผู้ชายฯ เกิดชีวิต ๔ อันด้วยทรงรูปพระพรหมนั้นโสดฯ ชีวิตอันอยู่ในรูปนั้นอันใดสิ้นฯ ชีวิตหนึ่งอันอยู่ในจักษุรูป คือแต่งรักษาตาฯ ชีวิตหนึ่งอันอยู่ในโสตรูปแต่งรักษาหูฯ อนึ่งอยู่ในมนรูปแต่งรักษาใจฯ อนึ่งอยู่สัททัฏฐกรูปอันแต่งรูปรักษาเสียงฯ พรหมอันเกิดในชั้นอสัญญีนั้นก็ย่อมพลเกิดดังฝูงพรหมทั้งหลายอันกล่าวก่อน


    แต่รูปทั้งหลายอันเกิดด้วยอสัญญีพรหมนั้นได้ ๑๗ จำพวกอันใดบ้างสิ้นฯ สัททัฏฐรูปมี ๘ อันชีวิตรูป ๑ อากาศรูป วิการรูป ๒ สชนรูป ๔ ผสมได้ ๑๗ เกิดเป็นชีวิตอันเดียวไส้ ชีวิตอยู่ในสัททัฏฐกรูปฝูงพรหมอันมีจิตแลอยู่ภาวนาจำเริญฌานนั้น ยังมีเจตสิกอันเป็นเพื่อนจิตแต่งมาจำเริญใจพรหมนั้นได้เท่าใดสิ้นฯ ในกุศลนั้นมีเจตสิกอันเป็นเพือ่นจิตได้ ๒๒ จำพวกอันใดสิ้นฯ อนึ่งชื่อสัทธาย่อมสัทธาเถิงบุญธรรมทุกเมื่อ อนึ่งชื่อสติบมิรู้สมฤดีบมิรู้ลืมบุญธรรมสักเมื่อ อนึ่งชื่อหิริรู้ละอายบมิอาจประมาทสักอันฯ อนึ่งชื่อโอตัปป รู้กลัวสภาวอันจะเป็นบาปฯ อนึ่งชื่ออโลโภบมิโลภ อนึ่งชื่ออโทโสบมิรู้เคียดบมิรู้หิงษาบมิรู้คุมนุมโทษฯ อนึ่งชื่อตัตรมัชฌัตตา คือกระทำอันใดด้วยใจบกลายฯ อนึ่งชื่อกายปัสสัทธิ กระทำอันใดในสภาวธรรมฯ อนึ่งชื่อกายลหุตา มีตนอันพลันธรรมฯ อนึ่งชื่อจิตตลหุตา มีใจอันพลันแก่ธรรมฯ อนึ่งชื่อกายมุทุตา มีตนอันก่อนแก่ธรรมแลสภาวทั้งหลายฯ อนึ่งชื่อจิตตมุทุตา มีใจอันอ่อนแก่ธรรมแลสภาวทั้งหลายฯ อนึ่งชื่อกายกัมมัญญตา มีตนอันควรแก่สภาวแลธรรมทั้งหลายฯ อนึ่งชื่อจิตตกัมมัญญตา มีใจอันควรแก่สภาวธรรมทั้งหลายฯ อนึ่งชื่อกายปาคุญญตา มีตนอันลำอุดแก่ธรรมฯ อนึ่งชื่อจิตตปาคุญญตามีใจอันลำอุดแก่ธรรมฯ อนึ่งชื่อกายุชุตตา มีตนซื่อแก่ธรรมฯ อนึ่งชื่อจิตตุชุตตา มีใจซื่อแก่ธรรมฯ อนึ่งชื่อกรุณา แลมีใจอันกรุณาแก่สัตว์ทั้งหลายฯ อนึ่งชื่อมุทุตา มีใจอันอ่อนแก่สัตว์ทั้งหลายฯ อนึ่งชื่อปัญจินทรีย ว่าปัญญาอันเป็นใหญ่แก่อินทรีย์ทั้งหลายฯ ผสมได้ ๒๒ จำพวกนี้ แลเป็นเพื่อนใจเป็นต่างอาหารแก่ฝูงพรหมทั้งหลายแลฯ กล่างเถิงพรหมทั้งหลายอันมีรูปชื่อว่ารูปาวจรภูมิเป็นสัตตกัณฑ์ด้วยสังเขปแล้วแต่เท่านี้แลฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กุมภาพันธ์ 2009
  20. สัตบุรุษ

    สัตบุรุษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    733
    ค่าพลัง:
    +840
    อรูปพรหม




    ทีนี้จะรำพรรณเถิงฝูงอันไปเกิดในอรูปพรหมโพ้น เอาปฏิสนธิด้วยอรูปปฏิสนธิแลแต่อกนิฏฐขึ้นไปเบื้องบนเปล่าไกลกันนักหนาแลจึงมีพรหมโลกย์ ๔ ชั้น ๆ หนึ่งชื่ออากาสายัญจายตนภูมิชั้น๑ ชื่อวิญญาณัญจายตนภูมิชั้น ๑ ชื่ออากิญจัญญายตนภูมิชั้น ๑ ชื่อเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิฯ อันว่าพรหมโลกย์ ๔ ชั้นนี้ชื่อปัญจฌานภูมิ พรหม ๔ ชั้นนี้แลว่าหาตัวหาตนบมิได้บมิได้เปล่าอยู่ไส้แต่เท่าว่ายังแต่จิต พรหมฝูงนั้นหากตั้งอยู่ในที่นั้นแลฯ แม้มาตรว่าตัวแต่น้อยนี้ก็หาบมิได้เลย แลมีแต่จิตหากตั้งอยู่นั้นไส้เป็นกลางหาว แลที่เปล่านั้นไส้แต่พรหม ๔ ชั้นนั้นเป็นที่ของฝูงพรหมอันหารูปบมิได้อยู่ ชื่อว่าอรูปพรหมโลกย์เพื่อดังนั้นเมื่อเขาอยู่ในมนุษย์เรานี้เขาย่อมคะนึงในใจเขาว่าดังนี้ฯ


    อันว่าน้ำจิตวิริยานี้ให้ใจคนหายไป ดังนั้นจะเป็นกลเป็นการณะอันใด แม้นว่าใจยังอยู่ก็ดีเหลอนว่าดังนี้หาบมิได้ ครั้นว่าตัวแลตนนั้นหาบมิได้ไส้ตนจะกระทำร้ายแก่ท่านบมิได้ แลท่านจะกระทำร้ายแก่ตนก็หาบมิได้ ควรปรารถนาให้ดงนี้หายไปแลยังแต่จิตเขา ๆ ภาวนากระทำฌาน ๕ สิ่งแลปรารถนาดังนี้เมื่อแลกูจะเอาอากาศอันเปล่าอันบมีสักสิ่งในอรูปพรหมโลกย์ชั้นต่ำเป็นที่อยู่แห่งกูเขาว่าดังนี้เขาจึงภาวนา แลความปรารถนาให้ตัวตนหายว่าดังนี้ฯ อากาโส อนัน์โต ๆ อากาโส อรูปํ ภวิส์สามีติฯ อากาศอันมากหลายนักหนา ผลอันกูกระทำแลใฝ่ใจใคร่ขอจงอย่ามีสักอันเลย เขากระทำฌานดังนั้นแลให้ปรารถนาทุกเมื่อแล้ว แลจึงได้อากาสานัญจายตนฌานสุดชั่วตน


    ครั้นว่าได้ไปเป็นพรหมอยู่ในอากาสานัญจายตนพรหมโลกย์ใจนั้นยังน้อยหนึ่งดังกล่าวก่อน แลว่าบมีหน้าแลตาตีนแลมือแต่น้อยนี้ก็หามิได้เลย พรหมชั้นนั้นอายุเขายืนได้ ๒๐,๐๐๐ มหากัลปแลฯ ฤๅษีลางจำพวกกระทำฌาน ๕ สิ่งในชั้นต่ำแล้วแลได้อากาสานัญจายตนสมาบัติเห็นอากาสานัญจายตนสมาบัตินั้นบมิพอใจ เพราะว่าใจนั้นยังมากกว่าชื่นแลบมิมักเอาอากาสานัญจายตนสมาบัติ แลย่อมปรารถนาจะใคร่เถิงวิญญาณัญจายตนสมาบัติอยู่เหนืออากาศ แห่งเปล่าดายทุกเมื่อแลมิได้ไปล่วงอื่นเทียรย่อมใฝ่ใจภาวนาดังนี้ฯ วิญญาณัญจายตนอิมินาเนว อรูปีโหติฯ บมิได้เอาไปล่วงอื่นเลยเทียรย่อมใฝ่ด้วยความดังนั้นทุกเมื่อสุดชั่วตน ครั้นว่าตายได้ไปเกิดในวิญญาณัญจายตนพรหมโลกย์


    อายุพรหมนั้นยืนได้ ๔๐,๐๐๐ มหากัลปฯ ฤๅษีลางจำพวกก็กระทำฌาน ๕ สิ่งในชั้นต่ำแล้วได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ เห็นวิญญาณัญจายตนสมาบัตินั้น ๆ มิพอใจเพื่อจิตยังมากหลายกว่าชื่น แลเห็นอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้นหากสุขแลเย็นกว่า แลเทียรย่อมจะใคร่เถิงอากิญจัญญายตนสมาบัติอันอยู่เหนืออากาศเปล่าดายทุกเมื่อ แลมิได้ไปล่วงอื่นเลยเทียรย่อมใฝ่ใคร่ในใจแลภาวนาดังนี้ทุกเมื่อ นัตถิกิญจิ บมิเอาใจใส่ไปล่วงอื่นเทียรย่อมใฝ่ด้วยความดังนั้นทุกเมื่อสุดชั่วตน


    ครั้นตายได้ไปเกิดในอากิญจัญญายตนพรหมโลกย์ แลมีอายุยืนได้ ๖๐,๐๐๐ มหากัลปฯ ฤๅษีลางจำพวกกระทำฌาน ๕ สิ่งในชั้นต่ำแล้ว แลได้อากิญจัญญายตนสมาบัติแลเห็นอากิญจัญญาสมาบัตินั้นบมิเต็มใจ เพราะว่าใกล้ฝูงอันมีรูปแลบมิยินดีในใจดุจดังตนอันอยู่ใกล้ข้าศึกอันมีหอกแลดาบแลบมิเย็นใจแลเขาคำนึงดังนี้ เขามิได้ปรารถนาอากิญจัญญายตนสมาบัติอันมีในอากิญจัญญายตนสมาบัติพรหมโลกย์นั้น เทียรย่อมจะใคร่ได้ไปเกิดในพรหมโลกย์ชั้นอื่นนั้นจงไกลฝูงมีรูปนั้นดังข้าศึกแลมิได้เอาใจไปล่วงอื่นเลย เทียรย่อมใฝ่ใคร่ไปเถิงเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัตินั้นแล เขาว่าดังนี้มีใจมากนักยังอันคำนึงหลายสิ่งจึงภาวนาดังนี้ฯ เนสัญญานาสัญญา ภวิสสมาสิ เขาย่อมว่าดังนี้ ขอจงกูนี้มีใจนั้นน้อยนักหนาแลอยู่ดุจดังว่าหายไปที่ในอากาศนั้นร้อยเท่าพันเท่ากว่าใจพรหมชั้นต่ำใจนั้นจักมีดังว่า บมีเพราะว่าน้อยนักแลพรหมชั้นนั้นมีอายุยืนได้ ๘๔,๐๐๐ มหากัลปฯ แลว่าจักกระทำอันใดบมิได้เลยเพราะว่าใจนั้นน้อยนักแล พรหมโลกย์ชั้นนั้นมีสมาบัติยิ่งกว่าพรหมเทวโลกย์ทุกแห่ง แม้นว่าใจแลน้อยฉันนั้นก็ดียังมีเพื่อนใจบุญอันเป็นเจตสิก ๒๐ จำพวกเป็นเพื่อนใจนั้นดังกล่าวก่อนนั้นแลฯ แต่เท่าว่าเอากรุณาแลมุทุตาออกเสียยังคงแต่ ๒๐ เพื่อนดังนั้น ยังมีอัญญสมานอันนั้นออกรู้ฉนี้บมิเว้นเลยฯ กล่าวแต่โสภณเจตสิกอาศัยอรูปโลกย์นี้ว่าใจน้อยดังนี้ก็ดีน้อยเพื่ออยู่สุขสมาบัติไส้ ผิเมื่อเถิงพระพุทธเจ้าเสด็จมาเกิดในโลกย์นี้อรูปพรหมทั้งหลายนั้นยังมีใจสัทธาแลบูชาพระเจ้าแลฯ จะเริ่มว่าฝูงอันหาจิตบมิได้สิยังเป็นดังว่ามีใจแลกระทำบูชาฯ


    ดังเมื่อพระพุทธเจ้ากระทำยมกปาฏิหาริย์ด้วยฤทธิ์อันชื่อว่าอิทธิวิธิฌาณด้วยใจอันชื่อโสมนัสสสหคตญาณสัม์ปยุต์ตอสํขาริกจิตตมหาฉพรรณรังษีพระรัศมีทั้ง ๖ สิ่งฯ แลว่าพระรัศมีฝูงนั้นมีพรรณดังฤๅบ้างสิ้นฯ พระรัศมีอันหนึ่งแลมีพรรณเขียวงามดังดอกอัญชัน แลดังดอกนิลลุบลแลดอกผักตบดังแววนกยูงแลปีกแมลงภู่ฯ แลว่าพระรัศมีอันหนึ่งมีพรรณอันเหลืองงามดังดอกกัณณิการ์แลหรดาลแลทองสุกอันชื่อว่าชมพูนุทฯ แลว่าพระรัศมีอันหนึ่งมีพรรณแดงดังแสงน้ำครั่งแลชาติหิงคุ แลดอกชบาดังดอกถีทับทิมฯ แลพระรัศมีอันหนึ่งมีพรรณขาวแลงามดังดอกพุดแลสังข์ฯ แลพระรัศมีอันหนึ่งแดงอ่อนแลงามดังดอกอโนชา แลดอกชบาเทศแลดอกเทียนไทยแลดอกทองฟ้าอันออกแสงดังทองแดงอันท่านขัดฯ แลพระรัศมีอันหนึ่งมีพรรณอันใส แลเหลืองแลงามดังดาวประกายกรึกแลผลึกรัตนะแลแล้วจึงฉวัดเฉวียนเวียนให้รุ่งเรือง แลฝูงพระรัศมีทั้งหลายอันออกจากองค์พระพุทธเจ้าแลฯ อันว่าพระรัศมีอันเขียวงามดังดอกอัญชันแลดอกผักตบแลนิลลุบลแลแววนกยูงปีกแมลงภู่นั้นออกแต่พระเกสแลโลมาพระเนตรขนหนวดแลเคราทุกเส้นพระโลมาถ้วนทิศฐานดำทุกแห่งแลฯ อันว่าพระรัศมีมีพรรณเหลืองเรืองงามดังดอกกัณณิการ์แลหรดาลแลทองสุกชมพูนุทนั้นออกแต่หลังพระพุทธเจ้าแลฯ


    อันว่าพระรัศมีมีพรรณขาวงามดังดอกพุดบริสุทธิ์ดังสังข์นั้น ออกแต่พระเนตรอันขาวแลพระทนต์พระพุทธเจ้าแลฯ อันว่าพระรังษีอันที่แดงออกดังดอกอโนชา และดอกชบาเทศแลเทียนไทยแลดอกทองฟ้าอันออกแสงดังทองแดงอันขัดนั้นออกแพนข้อพระหัตถ์เล็บพระบาท แห่งพระพุทธเจ้าแลฯ อันว่าพระรัศมีอันหนึ่งมีพรรณงามดังดาวผกายพรึกแลผลึกรัตนนั้น ออกแต่พระอุณาโลมคืนขนแก้วอันอยู่ในพระพักตร์พระพุทธเจ้าแลฯ พระรัศมีทั้ง ๖ ประการดังนี้สลวลอันเขียวงามยิ่งเขียว อันที่ขาวงามยิงขาว อันที่เหลืองงามยิ่งเหลือง อันที่แดงงามยิ่งแดง อันที่แดงอ่อนงามยิ่งแดงอ่อน อันที่พรายเรืองดังดาวประกายพรึกฯ พระรัศมีทั้ง ๖ ประการออกแต่พระองค์พระพุทธเจ้าแล้ วกลับกลอกฉวัดเฉวียนเวียนไปมาแล พระรัศมีทั้งหลายนั้นบห่อนรู้เศร้ารู้หมอง ลางอันก็ก่อง ลางอันก็รายไป ลางอันก็ว่ามา ลางอันหนา ลางอันน้อย ลางอันห้อย ลางอันไหลไป ลางอันอยู่ ลางอันเป็นหมู่ ลางอันเป็นตัว ลางอันเป็นลมล้อม ลางอันค้อมลงดิน ลางอันขึ้นไปเมืองฟ้า ลางอันไปหน้า ลางอันไปหลัง ประนังกันออกแลฯ


    พระรัศมีอันที่เขียวไปก่อน พระรัศมีอันที่เหลืองไปตาม พระรัศมีอันที่แดงไปอับดับ พระรัศมีขาวไปอันดับ พระรัศมีแดงอ่อนไปอันดับ พระรัศมีอันพรายงามดังดาวผกายพรึกไปภายหลังทั้ง ๖ หมู่ พระรัศมีที่เหล่องนั้นดุจรู้จักรู้ว่าแก่หมู่พระรัศมีอันที่เขียวนั้นดังนี้ ดูกรรัศมีเขียว แลท่านจงหยุดอยู่ดุจถามท่านดูดังฤๅแลท่านไปก่อนตู เพื่อกำเนิดเกิดบุญสมภารแห่งท่านเป็นดังฤๅฯ


    อันว่าพระรัศมีที่เขียวนั้นกระทำดังเหลียวแลแปรมาขานว่าดังนี้ อันว่าตูนี้ไส้มีบุญเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเรายังเป็นโพธิสัตว์อันทรงพระนามชื่อพระเจ้าสีพีราช วันนั้นไส้ท่านควักพระเนตรออกให้เป็นทานแก่พระอินทร์ อันนฤมิตเป็นพราหมณ์มาขอวันนั้น ด้วยเดชะพระสมภารบารมีดังนี้ตูก็เกิดพระรัศมีมีพรรณเขียว แลตูจึงนำหน้าท่านทั้งหลายไปก่อนเพื่อดังนี้แลฯ เมื่อนั้นจึงพระรัศมีอันแดงใสเรืองรุ่งพุ่งออกไปจึงแลเห็นหมู่พระรัศมีอันเหลืองแลไปก่อนหน้านั้น จึงหมู่พระรัศมีอันแดงนั้นประดุจดังจักรู้ว่าดังนี้ ว่าดูกรหมู่พระรัศมีอันเหลืองเพราะเหตุอันใดแลท่านจึงไปก่อนตูแล บุญสมภารบารมีท่าน ๆ ทำเป็นดังฤๅบ้างฯ จึงหมู่พระรัศมีอันที่เหลืองนั้น กระทำอาการดังจะรู้แลแปรคืนมาขานตอบพระรัศมีอันแดงนั้นว่าฉันนี้


    ครั้งเมื่อพระพุทธเจ้าเราสร้างสมภารเป็นเจ้าวิริยบัณฑิตวันนั้นไส้ ท่านเชือดเนื้อออกมาให้แด่พระอนทร์อันธนฤมิตลงมาเป็นช่างทองแลให้ตีเป็นแผ่นทองปิดพระพุทธรูปเจ้าด้วยใจอันสัทธาแลยินดีนักหนา เหตุนี้แลตูจึงมาได้เป็นพระรัศมีสีเหลืองเรืองรุ่งงามดังทอง แลตูจึงไปก่อนหน้าท่านด้วยบุญสมภารบารมีดังนั้นแลฯ เมื่อนั้นจึงหมู่พระรัศมีอันมีพรรณขาวนั้นเห็นหมู่พระรัศมีสีอันแดงนั้นไปก่อน แลพระรัศมีขาวทำอากานดุจดังจักรู้ว่าแก่หมู่พระรัศมีอันสีแดงนั้นฉันว่านี้ ดูกรหมู่พระรัศมีอันสีแดง แลท่านไส้ไปก่อนตูเยียใดแล บุญสมภารบารมีท่านเป็นดังฤๅแลท่านจึงไปก่อนเราดังนี้ฯ


    จึงหมู่พระรัศมีอันสีแดงนั้นดุจดังจะแปรแลมาขานตอบคำหมู่พระรัศมีอันสีขาวนั้นให้แจ้งแถลงว่าดังนี้ ว่าบุญสมภารบารมีเรานี้ไส้ คือว่าเมื่อพระพุทธเจ้าเรานี้เมื่อครั้งธสร้างสมภารเป็นเจ้ารนครชีวมานพ วันนั้นแลในนิยายหนึ่งว่าเจ้าปทุมกุมารเอามีดมาผ่าอกยกเอาหัวใจเอาทำเป็นยาให้แก่แม่ตนอันงูขบ แลตายแล้วให้คืนเป็นขึ้นมาด้วยเดชบุญสมภารบารมีดังนี้ ตูไส้จึงได้เป็นพระรัศมีอันสีแดงแลตูจึงไปก่อนท่านด้วยบุญสมภารดังนี้แลฯ เมื่อนั้นพระรัศมีอันสีเหลืองอ่อนดังท่านระบายรงหงส์สิบบาท เห็นหมู่พระรัศมีอันสีขาวนั้นไปก่อนหมู่พระรัศมีสีแดงเหลืองอ่อน ดังจักรู้ถามแลว่าแก่หมู่พระรัศมีอันสีขาวนั้นว่าฉันนี้ว่าดูกรท่านพระรัศมี หมู่พระรัศมีอันสีขาวท่านไส้ไปก่อนเราเยียใด แลบุญสมภารบารมีท่านไส้ได้กระทำเป็นดังฤๅ


    แลท่านจึงไปก่อนเราดีงนี้ จึงหมู่พระรัศมีอันสีขาวนั้นดุจดังจะรู้แลแปรคืนมาขานตอบว่าฉันนี้ ว่าบุญสมภารเรานี้ไส้ครั้งเมื่อพระพุทธเจ้าเรานี้สร้างสมภารเป็นพระญาเวสสันดร อันอวยทานช้างเผือกตัวชื่อปัจจยนาเคนทร์ แก่พราหมณ์ทั้งหลายอันมาแต่เมืองกลึงคราฐด้วยใจสัทธาด้วยบุญสมภารบารมีดังนั้นตูจึงได้มาเป็นพระรัศมีอันขาวแลตูได้ไปก่อนหน้าท่านด้วยบุญสมภารเราดังนี้แลฯ เมื่อนั้นจึงพระรัศมีสีอันใสดังดาวผกายพรึกและผลึกรกัตน ก็เห็นหมู่พระรัศมีสีแดงเหลืองดังระบายรงหงส์สิบบาทนั้นไปก่อน อันว่าหมู่พระรัศมีสีใจดังกาวผกายพรึกผลึกรัตนนั้นดังจักรู้ถามแล ว่าแก่พระรัศมีสีเหลืองระบายรงหงส์สิบบาทว่าฉันนี้ ว่าดูกรพระรัศมีสีแดงเหลืองอ่อนดังระบายรงหงส์สิบบาท เหตุดังฤๅไส้ แลท่านจึงไปก่อนตู แลบุญสมภารบารมีของท่านกระทำธเป็นดังฤๅแลท่านจึงไปก่อนเรา


    บัดนี้กาลนั้นอันว่าพระรัศมีสีแดงเหลืองอ่อนดังท่านระบายรงหงส์สิบบาทนั้นดุจดังจะรู้แปรแลมาขานตอบแลบอกคดีว่า ตูนี้มีบุญสมภารบารมีในเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าสร้างสมภารเมื่อเป็นวิชชาธรโพธิสัตว์วันนั้น แลธเชือดเนื้อออมาให้เป็นทานแก่ผีเสื้อเป็นอาหาร ด้วยบุญสมภารบารมีดังนี้ ตูจึงได้เป็นพระรัศมีสีแดงเหลืองอ่อนดังท่านระบายรงหงส์สิบบาท ทั้งนี้ตูจึงไปก่อนท่นเพราะบุญสมภารบารมีเราดังนี้ตูจึงไปก่อนท่านแลฯ


    เมื่อนั้นจึงหมู่พระรัศมีสีพรรณดังดาวผกายพรึกแลผลึกรัตน ก็เหาะฉวัดไปเบื้องหน้าก่อนพระรัศมีสีแดงเหลืองอ่อนอังระบายรงหงส์สิบบาทนั้น จึงหมู่พระรัศมีสีแดงเหลืองอ่อนดังระบายรงหงส์สิบบาทนั้น เห็นรัศมีพรรณดังดาวผลายพรึกผลึกรัตนนั้นไปก่อน แลพระรัศมีสีแดงเหลืองอ่อนนั้นดุจดังจะรู้ถามรัศมีซึ่งไปก่อนนั้น ว่าดูกรพระรัศมีพรรณดังดาวผกายพรึกผลักรัตนนั้น ว่าเหตุใดท่านไส้จึงไปก่อนเรา แลบุญสมภารบารมีของท่านกระทำเป็นดังฤๅแล ท่านไปก่อนเราบัดนี้ จึงกาลนั้นอันว่าหมู่พระรัศมีมีพรรณดังดาวผกายผลึกรัตนนั้นดุจดังแปรมาบอก่าบุญสมภารบารมีเรานี้ไส้ ได้เมื่อพระเจ้าสร้างสมภารเมื่อครั้งธเป็นสสบัณฑิต วันนั้นธมีใจสัทธาแลประดิษฐานตัวให้เป็นทาน แลทอดตัวลงในไฟอันพระอินทร์กองเผาตัวให้เนื้อเป็นทานแก่พราหมณ์ ด้วยเดชบุญสมภารบรมีเราดังนี้ จึงให้ได้มาเป็นพระรัศมีมีพรรณดังดาวผกายพรึกผลึกรัตนเราจึงได้ไปก่อนดังนี้แลฯ เมื่อนั้นอันว่าหมู่รัศมีเจ้าทั้งหลายก็แข่งกันเหาะไปเบื้องหน้าแล้ว ก็คล้อยลงข้างใต้เถิงทุกแห่งทุกพายฉายพระรศมีเถิงอวิจีนรกเถิงแดนสุดปฐพีดลได้ ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์ แล้วก็เถิงลมอันทรงน้ำแลดินไว้บมิให้ไหว ๙๖๐,๐๐๐ โยชน์ แล้วดนไปเถิงอัชดากาศอันต่อภายใต้เบื้องโพ้นไส้ พุ่งขึ้นไปโดยอันดับแลพ้นอรูปพรหมขึ้นไปเถิงลมอัชดากาศอันต่อฝ่ายบนแล ฝ่ายทั้ง ๘ ทิศพุ่งไปถึงอนันตจักรวาลทุกด้าน ๆ แลพระรัศมีทั้งหลายนั้นเห็นสว่างเข้าไปทุกรูทุกซอกห้วยเนินเขา ในถ้ำแลปลองช่องเหวเงื้อมแง่ แลที่มือนั้นอันรัศมีแห่งพระอาทิตย์แลเห็นพระจันทร์ส่องเข้าไปบมิได้นั้น


    อันว่าพระรัศมีพระพุทธเจ้าวันนั้นอาจส่องให้เห็นทุกแห่งแพร่งพรายแล เมื่อพระพุทธเจ้ากระทำปาฏิหาริย์ครั้งนั้นแผ่นดินไหวทั้งปวงทั้งพระสมุทรก็ตีฟองนองระลอกทั้งพระสุเมรุราช ก็อ่อนน้อมค้อมดังยอดหวายอันท่านลนไฟแลอ่อน สรรพดุริยดนตรีทั้งหลายอันหาจิตบได้ก็ดีหากดังเอง ดุจดังมีคนตีแลเป่าแลหากอยู่หากเปล่งเสียงนั้นออกเอง แลเพราะนักหนาถวายบูชาแก่พระพุทธเจ้าแลหมู่พรหมทั้งหลายคือรูปพรหมก็ดี ก็ลงมานมัสการแด่พระพุทธเจ้าด้วยเพราะดังนั้นฯ แลกล่าวเถิงพระพรหมอันชื่อว่ารูปาพจรภูมิ อันเป็นอัฏฐกัณฑโดยสังเขปแล้วแต่เท่านี้แลฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กุมภาพันธ์ 2009

แชร์หน้านี้

Loading...